RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273540
ทั้งหมด:13584836
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 298, 299, 300 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2018 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน ซีพีเสนอราคาต่ำกว่าบีทีเอส จริง!!
ศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 เวลา 12.41 น.

รฟท. เผย ซีพี เสนอราคาต่ำกว่าบีทีเอส จริง!! โครงการไฮสปีดเทรน เชื่อมสามสนามบิน ลุยเปิดซองที่ 4 สัปดาห์หน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 21 ธ.ค. 61 ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่า รฟท. เปิดเผยภายหลัง การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานอู่ตะเภา ระยะทางจาก กทม.-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. งบประมาณ 224,544.36 ล้านบาท ว่าคณะกรรมการได้มีการพิจารณาตัวเลข ซองที่ 3 (ด้านการเงิน) ที่ได้เปิดไปเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาประชุมกันถึง 9 ชั่วโมง ซึ่งมีผลสรุปออกมาว่า กลุ่มซีพี เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด คือต่ำกว่าเงินอุดหนุนรัฐตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติกรอบวงเงินไว้ตามมูลค่าปัจจุบัน 119,425,750,000 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มบีทีเอส ที่เสนอมา ซึ่งวันนี้กลุ่มซีพี ได้มีการยืนยันตัวเลขที่เสนอมาอีกครั้งซึ่งพบว่า กลุ่มซีพีเสนอต่ำกว่าบีทีเอส จริง ซีพีเสนอในวงเงิน 117,227 ล้านบาท ส่วนกลุ่มบีทีเอสเสนอเสนอในวงเงิน 169,934 ล้านบาท



นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า ทั้งกระบวนการยังไม่เสร็จสิ้น โดยในวันที่ 24 ธ.ค.61 จะเชิญกลุ่มซีพี มาเปิดซองที่ 4 ข้อเสนอพิเศษ หากผ่านการพิจารณาจะเรียกมาเจรจาต่อรองในวันที่ 3 ม.ค. 62 เพื่อดูเงื่อนไขและต่อรองสัญญากันคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ แต่หากเจราจรแล้วพบว่ารัฐไม่ได้ประโยชน์ทางคณะกรรมการฯก็จะมีเรียกกลุ่มบีทีเอสเปิดซอง 4 และเจรจาเป็นลำดับต่อไป อย่างไรก็ตามมั่นใจว่าจะได้ผู้ชนะภายในเดือน ม.ค.ปี 62 ซึ่งผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด ยังไม่ใช่ผู้ชนะการประมูล จนกว่า ครม. จะเห็นชอบและมีการลงนามสัญญา ส่วนการส่งมอบที่ดิน เพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์นั้น ก็จะมีการส่งมอบให้ในวันทำสัญญา และผู้ชนะการประมูลสามารถดำเนินการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ไปพร้อมๆ กับการก่อสร้างโครงการไฮสปีดเทรน ยกเว้นพื้นที่บริเวณพวงราง ที่จะเข้าโรงงานมักกะสัน โดยการรถไฟฯ จะสามารถส่งมอบได้ภายใน 5 ปี

สำหรับสถานีรถไฟไฮสปีดเทรน จะมีทั้งหมด 15 สถานี ประกอบด้วยในส่วนเมือง คือ สถานีดอนเมือง, บางซื่อ, พญาไท, ราชปรารภ, มักกะสัน, รามคำแหง, หัวหมาก, ทับช้าง, ลาดกระบัง, และสถานีสุวรรณภูมิ ส่วนสถานีรถไฟระหว่างเมือง จะมีสถานีฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ศรีราชา และพัทยา สิ้นสุดที่สถานีอู่ตะเภา

เปิดราคาซี.พี.เสนอราคาต่ำสุด 117,227 ล้าน ประมูลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ต่ำกว่าเพดาน 2 พันล้าน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 21 ธันวาคม 2561 เวลา 11:37 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภุมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท หลังจากตรวจสอบข้อเสนอซองที่3 ด้านการเงินของกลุ่มซี.พี.และพันธมิตรที่เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดแล้ว

โดยทางกลุ่มซี.พี.ขอเงินสนับสนุนจากรัฐคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุม้ติไว้ 119,425 ล้านบาท อยู่ที่ 2,198 ล้านบาท ส่วนกลุ่ม BSR เสนอวงเงินขอให้รัฐสนับสนุนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 169,934 ล้านบาท

“วันที่ 24 ธ.ค.นี้จะเปิดข้อเสนอซองที่4 ของกลุ่มซี.พี.เพราะเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด จากนั้นจะทำการเจรจาในรายละเอียดต่างๆ คาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณกลางเดือนม.ค.และเซ็นสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค.2562 ได้ตามเป้า อย่างไรก็ตามหากเจรจาแล้วไม่มีข้อยุติ จะเชิญกลุ่มBSR มาเปิดซองที่4 และเจรจาต่อไป”นายวรวุฒิกล่าว

//------------------


เปิดราคา ซีพี ขอรัฐหนุนไฮสปีด3 สนามบิน10 ปี 1.17แสนล.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 21 ธันวาคม 2561 เวลา 1 12:27

ซีพี กดราคา ประมูลรถไฟเชื่อม3 สนามบิน ขอรัฐอุดหนุนที่ 117,227 ล. ต่ำกว่ากรอบ กว่า 2 พันล. ส่วนบีทีเอส เสนอที่ 169,934 ล. สูงกว่ากรอบถึง 5 หมื่นล.”วรวุฒิ”เผย 24ธ.ค.เปิดซอง4 ข้อเสนอเพิ่มเติมเริ่มเจรจา 3 ม.ค. 62 คาดจบใน2 อาทิตย์

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มีการพิจารณาและตรวจสอบข้อเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ในซองที่ 3 (ด้านการเงิน) ของกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซี.พี.) และพันธมิตร ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ถือว่า ไม่มีปัญหาด้านตัวเลข ซึ่งกลุ่มซีพี ได้ชี้แจงชัดเจน

โดยวงเงินการอุดหนุนจากรัฐ ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชนวงเงินไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท เป็นเวลา10 ปี ซึ่งกลุ่มซี.พี.ขอเงินสนับสนุนจากรัฐคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 117,227 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ากรอบวงเงินที่ครม.อนุมัติประมาณ 2,198 ล้านบาท ส่วนกลุ่มBSR เสนอวงเงินขอให้รัฐสนับสนุนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 169,934 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าข้อเสนอกลุ่ม ซี.พี. ประมาณ 52,707 ล้านบาท

นายวรวุฒิกล่าวว่า วันนี้ถือว่าได้ข้อสรุปในข้อเสนอซองที่3 แล้ว ซึ่งในวันที่ 24 ธ.ค. คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะเปิดซองที่4(ข้อเสนอเพิ่มเติม) ของกลุ่ม ซี.พี. และจะเชิญมาเจรจาในวันที่ 3 ม.ค.2562 โดยข้อเสนอใดเป็นประโยชน์กับรัฐ และประชาชนจะรับพิจารณา โดยจะไม่มีผลต่อการตัดสิน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการเจรจาประมาณ 2 สัปดาห์ จะได้ข้อสรุปประมาณกลางเดือนม.ค.2562 และลงนามสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค.2562

“อย่างไรก็ตาม ทางกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ถือว่าผ่านซองคุณสมบัติ เทคนิค. และการเงิน ซึ่งตามเงื่อนไขหากเจรจากับรายแรกไม่สำเร็จ จะเรียกกลุ่ม บีเอสอาร์ มาเจรจา แต่หากเจรจาซอง4 กับซีพี จบเรียบร้อย จบไม่มีปัญหา จึงจะคืนซอง 4 ของกลุ่ม บีเอสอาร์ “นายวรวุฒิกล่าว
https://www.facebook.com/Tuafakamanakom/posts/2224258344456991?hc_location=ufi
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/2460331030648420

แถลงทางการ! 'ซีพี'ยื่นราคาไฮสปีด ต่ำแค่1.49แสนล้าน แซง'บีเอสอาร์'
21 ธันวาคม 2561

คกก.คัดเลือกฯ ลงทุนไฮสปีดเทรน เคาะ "กลุ่มซีพี" เสนอราคาต่ำจริง มีเหตุผล เผยราคายื่นเสนอขอเงินรัฐอุดหนุน 1.49 แสนล้าน ต่ำกรอบครม.เดินหน้าเปิดซอง 4 สัปดาห์หน้า พร้อมเจรจาต้นปี 2562

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ร่วมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วันนี้ (21 ธ.ค.) โดยระบุว่า วันนี้กลุ่มซีพี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยื่นเสนอขอเงินอุดหนุนจากรัฐต่ำสุด ได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการฯ ขอไป โดยข้อมูลในเอกสารสามารถตอบคำถามให้เกิดความชัดเจนได้ในทุกประเด็น คณะกรรมการจึงคำนวณวงเงินทั้งหมด และพบว่ากลุ่มซีพีเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดจริง

โดยเสนอราคา Net Present Value (มูลค่าปัจจุบันสุทธิ) เมื่อรวมดอกเบี้ย ระยะ10 ปี ยอดเงินที่รับอุดหนุนจากรัฐ รวม 149,659 ล้านบาท ส่วนกลุ่มบีเอสอาร์ เมื่อรวมดอกเบี้ย ระยะ10 ปี ยอดรวม 238,330 ล้านบาท ทำให้ยอดต่างกัน 88,680 ล้านบาท

“กลุ่มซีพีถือเป็นผู้ผ่านซอง 3 ไปเปิดซอง 4 (ข้อเสนอพิเศษ) และเป็นผู้ถูกเรียกเจรจารายแรก ซึ่งจะมีการเรียกซีพีมาเปิดซอง 4 ในวันจันทร์ที่ 24 ธ.ค.นี้ หลังจากนั้นมีกำหนดเรียกเจรจาวันที่ 3 ม.ค.2562 ใช้เวลาเจรจาราว 2 สัปดาห์ จึงยังคงกรอบเสนอเข้า ครม.และลงนามสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค.2562 ส่วนกลุ่มบีเอสอาร์ ก็ยังเป็นผู้ผ่านการพิจารณาซอง 3 แต่จะถูกเรียกมาเปิดซอง 4 และเจรจาก็ต่อเมื่อการเจรจากับกลุ่มซีพีไม่เป็นผล”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2018 11:21 am    Post subject: Reply with quote

ปิดดีลโปรเจ็กต์ไฮสปีดส่งท้ายปี ‘ซี.พี.’ชนะห่าง‘บีทีเอส’ 5 หมื่นล้าน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 22 ธันวาคม 2561 เวลา 18:22 น.

ปิดดีลอภิมหาโปรเจ็กต์ส่งท้ายปี กลุ่ม ซี.พี.เสนอ 117,227 ล้าน ซิวไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ต่ำกว่าเพดาน ครม. 2.1 พันล้าน ทิ้งห่างบีทีเอส 5.2 หมื่นล้าน ให้รัฐอุดหนุนปีละ 14,965 ล้าน คณะกรรมการคัดเลือกเตรียมเปิดซอง “ข้อเสนอพิเศษ” ต้นปีหน้าหวังเซ็นสัญญา 31 ม.ค. 62

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ประธานคณะกรรมการคัดลือกเปิดเผยว่า ที่ประชุม (21 ธ.ค. 261) คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ 
อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท พิจารณาเอกสารชี้แจงและตรวจสอบซองที่ 3 สรุปข้อเสนอของกลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตร คือ บมจ.อิตาเลียนไทย บริษัท CRCC บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด แผนการเงินสอดคล้องทั้งการเดินรถ ปริมาณผู้โดยสาร และอัตราค่าโดยสาร

ทิ้งห่างบีทีเอส

โดยกลุ่ม ซี.พี.ขอเงินสนับสนุนจากรัฐต่ำสุดอยู่ที่ 117,227 ล้านบาท หรือต่ำกว่า 2,198 ล้านบาท จากกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ 119,425 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ากลุ่ม BSR ของ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ บมจ.ซิโน-ไทยฯ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี 52,707 ล้านบาท โดยกลุ่มนี้ขอให้รัฐสนับสนุน 169,934 ล้านบาท

หากคิดเป็นจำนวนเงินรวมดอกเบี้ย 10 ปี ที่เอกชนจัดหาเงินกู้มาให้ในส่วนของกลุ่ม ซี.พี.อยู่ที่ 149,652 ล้านบาท ต่ำกว่ากลุ่มบีทีเอสที่เสนอ 238,330 ล้านบาท อยู่ที่ 88,678 ล้านบาท โดยกลุ่ม ซี.พี.ผู้เสนอราคาต่ำสุดให้รัฐจ่ายเงินสนับสนุนเป็นระยะเวลา 10 ปี จำนวน 14,965 ล้านบาท ตั้งแต่ปีที่ 6-15

“ขอยืนยันทางกลุ่ม ซี.พี.ยังไม่มีเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติม รวมทั้งการรับประกันรายได้หรือกำไร” นายวรวุฒิกล่าวและว่า

เดินหน้าเปิดซองต่อ

“วันที่ 24 ธ.ค.นี้ คณะกรรมการคัดเลือกจะเปิดซองที่ 4 เป็นข้อเสนอเพิ่มเติมของกลุ่ม ซี.พี. เพราะเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด โดยจะพิจารณาข้อเสนอที่เป็นประโยชน์กับรัฐและประชาชน จากนั้นวันที่ 3 ม.ค. 2562 จะเจรจาในรายละเอียดต่าง ๆ คาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณกลางเดือน ม.ค. และเซ็นสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค. 2562 ได้ตามเป้า อย่างไรก็ตาม หากเจรจาแล้วไม่มีข้อยุติ จะเชิญกลุ่มบีทีเอสที่ผ่านการพิจารณาซอง 3 มาเปิดซองที่ 4 และเจรจาต่อไป เพื่อไม่ให้โครงการต้องเริ่มกระบวนการเปิดประมูลใหม่” นายวรวุฒิกล่าวและว่า

ส่วนอัตราค่าโดยสารและปริมาณผู้โดยสาร ทางกลุ่ม ซี.พี.เสนอมาใกล้เคียงกับผลการศึกษาที่ ร.ฟ.ท.ศึกษาไว้ โดยในปี 2566 ซึ่งเป็นปีแรกเปิดบริการจะมีผู้โดยสารช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 103,920 เที่ยวคนต่อวัน และช่วงสุวรรณภูมิ-ระยอง อยู่ที่ 65,630 เที่ยวคนต่อวัน ด้านอัตราค่าโดยสารจากมักกะสัน-พัทยา อยู่ที่ 270 บาท/เที่ยว และจากมักกะสัน-อู่ตะเภาอยู่ที่ 330 บาท/เที่ยว

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า การพิจารณาซองที่ 3 ซึ่งเป็นข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน จะพิจารณา 8 ด้าน ได้แก่ 1.บัญชีปริมาณงาน รวมภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2.แผนธุรกิจในการดำเนินโครงการ 3.แผนการเงิน 4.การจัดหาแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินโครงการ 5.ทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินโครงการและกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินดังกล่าว

6.การคำนวณผลตอบแทนทางการเงินของโครงการตลอดอายุของสัญญาร่วมทุน 50 ปี 7.การคำนวณผลประโยชน์ที่ภาครัฐจะได้รับและการขอรับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ และ 8.อัตราค่าโดยสาร

แถม 300 ล้านให้รัฐ

รายงานข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่ม ซี.พี.นอกจากจะขอรัฐอุดหนุนค่างานโยธาต่ำแล้ว ในซองที่ 3 กลุ่ม ซี.พี.ยังเสนอรายได้เพิ่มเติมให้รัฐอีกปีละ 30 ล้านบาท รวม 10 ปี เป็นวงเงิน 300 ล้านบาท อีกทั้งยังเสนอผลตอบแทนรายได้การพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 25 ไร่ให้รัฐ เพิ่มเติมจากค่าเช่าที่ดิน ในกรณีที่มีรายได้เกินจากที่ประมาณการไว้เป็นระยะเวลา 10 ปี เกือบ 10,000 ล้านบาท นอกจากจากค่าเช่าที่จ่ายให้ตลอดอายุสัญญา 50 ปี 56,138 ล้านบาทแล้ว

มั่นใจ 5 ปีเสร็จ

แหล่งข่าวจากกลุ่ม ซี.พี.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการคัดเลือกทำหนังสือแจ้งมาว่า กลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตรผ่านการพิจารณาซองที่ 3 และจะเปิดซองที่ 4 ข้อเสนอเพิ่มเติมในวันที่ 24 ธ.ค. เพื่อเจรจาต่อรองกันต่อไป ทั้งนี้ทางกลุ่มขอยืนยันว่า ราคาที่เสนอนั้นสามารถดำเนินการโครงการให้ก่อสร้างแล้วเสร็จใน 5 ปี ได้ตามกำหนด

โดยกลุ่มบริษัทมีสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศให้การสนับสนุนร่วม 10 แห่ง ได้แก่ Japan Overseas Infrastructure Investment 
Corporation for Transport and Urban Development (JOIN) จากประเทศญี่ปุ่น, องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น 
(ไจก้า), ธนาคาร ICBC จากประเทศจีน 
และสถาบันการเงินในประเทศอีก 
4-5 ราย

นอจากนี้ ทางกลุ่มมีความพร้อมทั้งการก่อสร้าง การเดินรถ และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากมีพันธมิตรที่มีประสบการณ์ โดย ซี.พี.จะเป็นผู้พัฒนาเชิงพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่มักกะสัน ศรีราชา และที่ดินแปลงอื่น ๆ งานการก่อสร้างจะให้ บมจ.อิตาเลียนไทย ช.การช่าง และ CRCC เป็นผู้ก่อสร้าง

ส่วนการบริหารโครงการให้บริษัท Ferrovie dello Stato Italiane หรือ FS จากอิตาลี มีรัฐบาลถือหุ้น 100% มีความเชี่ยวชาญด้านบริหาร บำรุงรักษาระบบรางและรถไฟความเร็วสูงมายาวนาน คัดเลือกระบบและบริหารต้นทุนโครงการให้ ทั้งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่จะต้องยกเครื่องใหม่ และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมี BEM มาช่วยดำเนินการ

ขณะที่ตัวระบบและขบวนรถ ทาง ซี.พี.มีซัพพลายเออร์หลายรายให้เลือก ทั้งเอเชียและยุโรป ไม่ว่าซีเมนส์จากเยอรมนี, ฮุนได โรเทม จากเกาหลี ที่ได้ไลเซนส์อัลสตรอมของฝรั่งเศส, ทาลาสผู้ผลิตระบบจากฝรั่งเศส และ CRRC รัฐวิสาหกิจและผู้ผลิตระบบรถไฟฟ้ารายใหญ่ของจีน ที่สนใจร่วมติดตั้งและผลิตขบวนรถให้ ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้ระบบและรถของจีน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2018 11:24 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดจิ๊กซอว์ใหม่”ซีพี” พลิกมักกะสันเชื่อมแปดริ้ว
พร็อพเพอร์ตี้
วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 เวลา - 16:10 น.

มองข้ามชอต เจ้าสัวธนินท์คว้าชัยไฮสปีด เดิมพันอนาคตใหม่เครือซีพี ลุยอสังหาฯ คมนาคม โลจิสติกส์เต็มสูบ ขยายอาณาจักรรับภาคตะวันออก รื้อยกแผงระบบเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ ทุ่มกว่า 8 หมื่นล้านผุดโปรเจ็กต์มิกซ์ยูสมักกะสันกว่า 1 ล้าน ตร.ม. “โรงแรม-ศูนย์ประชุม-ออฟฟิศ-รีเทล” จับตาข้อเสนอซองที่ 4 ทุ่มไม่อั้น สร้างฟีดเดอร์ดึงคนเข้าสถานีเมืองใหม่แปดริ้ว ต่อขยายเส้นทาง “อู่ตะเภา-ระยอง”

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกตาม พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 21 ธ.ค.นี้ คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท จะเชิญผู้เสนอราคาต่ำสุด คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรมาคอนเฟิร์มวงเงินที่ยี่นเสนอให้รัฐสนับสนุนต่ำกว่าเพดานที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ 119,425 ล้านบาท ส่วนกิจการร่วมค้า BSR (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชบุรีโฮลดิ้ง) เสนอเกินเพดานอยู่มากพอสมควร
ซี.พี.ให้รัฐอุดหนุน 1.19 แสนล้าน

“ซองที่ 3 ดูว่าใครให้รัฐอุดหนุนเท่าไหร่ รัฐได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ แล้วคิดคำนวณออกมาเป็นวงเงินที่รัฐต้องร่วมลงทุนกับเอกชน ใครให้รัฐร่วมลงทุนน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ โดยที่รัฐไม่มีการการันตีใด ๆ ทั้งสิ้น ตอนนี้ ซี.พี.เสนอต่ำสุด แต่ยังขาดการเชื่อมโยงของตัวเลข จึงให้ตรวจสอบและยืนยัน 21 ธ.ค.นี้ หากไม่มีอะไรจะทราบผลผู้ชนะในวันนั้น และเปิดซองที่ 4 ข้อเสนอพิเศษที่จะเพิ่มประสิทธิภาพโครงการต่อไป คาดว่าได้ผู้ชนะก่อนปีใหม่ และเซ็นสัญญา 31 ม.ค. 2562”

รายงานข่าวเปิดเผยว่า ถึงวินาทีนี้ กลุ่ม ซี.พี.ยังเป็นผู้ชนะ แต่คณะกรรมการต้องการตรวจสอบความถูกต้องว่าสิ่งที่เสนอมานั้นดำเนินการได้จริง เพราะเสนอต่ำกว่ากลุ่มบีทีเอสกว่า 89,000 ล้านบาท โดย ซี.พี.เสนอต่ำกว่าเพดาน 119,425 ล้านบาท แต่เมื่อรวมดอกเบี้ย 10 ปีจะอยู่ที่กว่า 140,000 ล้านบาท โดยรัฐจ่ายคืนปีละ 14,000 ล้านบาท ส่วนบีทีเอสรวมดอกเบี้ย 10 ปีเสนออยู่ที่กว่า 230,000 ล้านบาท

“ซี.พี.มีต้นทุนการเงินต่ำ ได้แบงก์รัฐบาลจีนและญี่ปุ่นซัพพอร์ต นอกจากแบงก์ไทย 4-5 แห่ง ยังได้อิตาเลียนไทยฯ ช.การช่าง และ CRCC จากจีนมาช่วยก่อสร้างให้โครงการเสร็จ 5 ปี เพราะ 5 ปีแรกนี้เป็นช่วงที่เอกชนต้องใช้เงินก่อสร้างก้อนใหญ่ เพราะรัฐจะจ่ายเงินอุดหนุนให้ปีที่ 6-15 ตอนนี้รอ ซี.พี.คอนเฟิร์มตัวเลขเกี่ยวกับต้นทุนดอกเบี้ยจะจ่ายต้นปีหรือปลายปี เพราะหากจ่ายต้นปีเงินอุดหนุนจะไม่เกินเพดาน ถ้าปลายปีจะเกินเพดานเล็กน้อย”

แลกสัมปทานเดินรถ-ที่ดิน 50 ปี

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า สิ่งที่ ซี.พี.มองไม่ใช่การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงอย่างเดียว แต่มองถึงสิทธิการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่ได้สัมปทาน 50 ปี จะมาต่อยอดโครงการ เนื่องจากค่าโดยสารอย่างเดียวจะไม่สามารถเลี้ยงโครงการให้อยู่ได้ โดยสิทธิที่ ซี.พี.จะได้ อาทิ 1.บริหารพื้นที่สถานีแอร์พอร์ตลิงก์ 8 แห่ง ได้แก่ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ

2.พื้นที่เชิงพาณิชย์รถไฟความเร็วสูง 9 สถานี ได้แก่ ดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา โดยดอนเมืองและบางซื่อจะได้สิทธิบางพื้นที่ เช่น พื้นที่ขายตั๋ว การให้บริการเสริมบนขบวนรถ เนื่องจากเป็นพื้นที่ร่วมกับสายสีแดง รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนและไทย-ญี่ปุ่น 3.ใช้โครงสร้างและให้บริการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์รูปแบบซิตี้ไลน์จากพญาไท-สุวรรณภูมิ และ 4.ที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ และศรีราชา 25 ไร่พัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์

“TOR ให้สิทธิเอกชนพัฒนามิกซ์ยูสมักกะสัน 150 ไร่ มีพื้นที่อาคารไม่น้อยกว่า 850,000 ตร.ม. ลงทุนไม่น้อยกว่า 42,000 ล้านบาท และศรีราชา 25 ไร่ มีพื้นที่อาคารไม่น้อยกว่า 20,000 ตร.ม. มูลค่าลงทุนไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน) เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ ถ้าลงทุนรถไฟความเร็วสูงอย่างเดียวกว่าจะคืนทุนใช้เวลานับ 10 ปี การพัฒนาขึ้นอยู่กับ ซี.พี.” รายงานข่าวกล่าวและว่า
ผุดมิกซ์ยูสมักกะสัน

สำหรับสถานีมักกะสันจะเป็นเกตเวย์อีอีซี ในเบื้องต้น ซี.พี.เสนอเงินลงทุนมากว่า 80,000 ล้านบาท โดยมักกะสันมีแผนจะพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส ขนาดพื้นที่กว่า 900,000 ตร.ม. ถึงกว่า 1 ล้าน ตร.ม. ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม โรงแรม รีเทล ที่อยู่อาศัย โดยออกแบบมีทั้งตึกสูงและไม่สูง และมีพื้นที่สีเขียวปกคลุมโดยล้อม ทั้งนี้เมื่อดูโดยรวมแล้วขนาดพื้นที่น่าจะใกล้เคียงกับโครงการ “วัน แบงค็อก” ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี มีพื้นที่ 1.8 ล้าน ตร.ม. ส่วนศรีราชาจะเป็นโครงการมิกซ์ยูสแต่คงไม่ใหญ่มาก เนื่องจากที่ดินมีขนาดเล็กและรูปแบบที่ดินเป็นแปลงยาว หากจะพัฒนาให้ได้มากขึ้น ต้องสร้างสถานีใหม่และต้องย้ายบ้านพักรถไฟไปอยู่อีกฝั่ง

“การพัฒนาเชิงพาณิชย์ ซี.พี.มีบริษัทลูก คือ แมกโนเลียฯและ ซี.พี.แลนด์ มีประสบการณ์ด้านอสังหาฯมาซัพพอร์ตอยู่แล้ว อาจจะมีต่างชาติร่วมด้วย นอกจากค่าเช่า 50 ปีกว่า 50,000 ล้านบาทที่จ่ายให้รัฐแล้ว ซี.พี.แบ่งผลตอบแทนให้อีก 10 ปีเกือบ ๆ 10,000 ล้านบาท” รายงานข่าวกล่าวและว่า

จับตาข้อเสนอพิเศษ

อีกทั้ง ซี.พี.ยังมีข้อเสนอซองที่ 4 เพื่อเสริมประสิทธิภาพโครงการ เช่น ระบบฟีดเดอร์จะป้อนคนเข้ากับสถานีในแนวเส้นทาง พัฒนาเชิงพาณิชย์โดยรอบสถานี (TOD) อาทิ สถานีฉะเชิงเทราที่ตำแหน่งสถานีจะสร้างบนพื้นที่ใหม่ 70 ไร่ที่ ร.ฟ.ท.เตรียมจะเวนคืนที่ดิน ซึ่ง ซี.พี.มีที่ดินอยู่ใกล้ ๆ ก็สามารถขยับสถานีเข้าไปในพื้นที่ได้ นอกจากนี้มีสถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังลุ้นว่า ซี.พี.อาจจะเสนอลงทุนต่อขยายจากอู่ตะเภา-ระยอง ระยะทาง 30-40 กม. เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท โดยมีสถานีจอดที่ระยอง เนื่องจากผลการศึกษาเดิมระบุไว้โครงการจะคุ้มทุนต่อเมื่อสร้างไปถึงระยองที่เป็นแหล่งงานและที่อยู่อาศัยทั้งคนไทยและต่างชาติ ขณะเดียวกัน ซี.พี.มีที่ดิน 3,068 ไร่ พัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีนที่อยู่ใกล้กับสถานี ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.กำลังปรับแนวใหม่ไม่ผ่านนิคมมาบตาพุดและรอการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

มั่นใจก่อสร้างเสร็จ 5 ปี

แหล่งข่าวจากกลุ่ม ซี.พี.กล่าวว่า มั่นใจว่าราคาที่เสนอจะทำให้โครงการสำเร็จ และจากการตรวจสอบไม่มีปัญหา เพราะการลงทุนโครงการนี้ไม่ได้หวังผลกำไร ต้องการจะสนับสนุนภาครัฐพัฒนาโครงการให้สำเร็จเพื่อรองรับอีอีซี ถึงจะเป็นธุรกิจที่ ซี.พี.ไม่เคยดำเนินมาก่อนก็ตาม แต่มีพันธมิตรที่เชี่ยวชาญงานก่อสร้างสามารถจะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาก่อสร้างให้เสร็จใน 5 ปี ด้านการเดินรถมีบริษัท FS จากอิตาลีและ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) มาช่วยบริหารรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ตลิงก์

ซึ่งแอร์พอร์ตลิงก์ต้องรื้อระบบอาณัติสัญญาณและการเดินรถใหม่ เพราะต้องใช้รางร่วมกับรถไฟความเร็วสูงช่วงในเมือง จะมีสถานีจอดที่มักกะสัน ส่วนขบวนรถยังพิจารณามีทั้งซีเมนส์ อัลสตอม และจีน ซึ่งการเลือกขบวนรถอาจจะต้องดูให้ต่อเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-นครราชสีมาที่กำลังก่อสร้างด้วย

“การพัฒนา TOD ซี.พี.เป็นผู้ดำเนินการเองทั้งพื้นที่มักกะสัน ศรีราชา รวมถึงพื้นที่บนสถานีและโดยรอบในแนวเส้นทาง” แหล่งข่าวกล่าว

เจ้าสัวธนินท์เปิดโมเดลเมืองใหม่

ทั้งนี้เมื่อปลายเดือน ส.ค. 2561 นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสให้สัมภาษณ์ว่า กลุ่ม ซี.พี.มีแผนลงทุนหลายแสนล้านบาทสร้างเมืองใหม่ที่ จ.ฉะเชิงเทรา 10,000 ไร่ ในคอนเซ็ปต์เมืองอัจฉริยะ (smart city)

โดยแนวคิดเมืองใหม่ คือ รถต้องไม่ติดคนสามารถเดินไปทำงานได้ ด้วยการทำข้างบนเป็นสวนสาธารณะ รองรับไม่ต่ำกว่า 300,000 คน เพื่อให้ธุรกิจและบริการคุ้มทุน เมืองยิ่งใหญ่ยิ่งดี เพราะจะคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภค อยู่ระหว่างให้สถาปนิกและที่ปรึกษาจากสหรัฐและอังกฤษออกแบบ

นายธนินท์เห็นว่า เมืองใหม่ในอีอีซีควรมี 3 แห่ง คือ แปดริ้ว พัทยา และระยอง และน่าจะมี 20 แห่งทั่วประเทศ รองรับประชากรให้ได้ 6 ล้านคน กลุ่ม ซี.พี.ไม่ลงทุนคนเดียว แต่จะชวนนักธุรกิจทั่วโลกมาร่วมลงทุนด้วย

เปิด 8 กลุ่มธุรกิจ ซี.พี.

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทาง ซี.พี.ยังสนใจเข้าร่วมประมูลอีก 2 โครงการใหญ่ในอีอีซี คือ พัฒนาสนามบินและเมืองการบินอู่ตะเภา 6,500 ไร่ เงินลงทุน 290,000 ล้านบาท เพื่อต่อยอดรถไฟความเร็วสูง เพราะจะสร้างสถานีอยู่ใต้อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 คาดว่าร่วมกับกลุ่มเดิมที่ยื่นประมูลรถไฟความเร็วสูง เช่น อิตาเลียนไทยฯ ช.การช่าง และบริษัทต่างชาติ จีน ญี่ปุ่น โดยกองทัพเรือเปิดให้ยื่นซอง 28 ก.พ. 2562 กับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 พื้นที่ 1,600 ไร่ 84,361 ล้านบาททางการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดยื่นซอง 14 ม.ค. 2562

ปัจจุบันภายใต้อาณาจักรเครือเจริญโภคภัณฑ์ แบ่งโครงสร้างธุรกิจเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ 1.ธุรกิจการเกษตรอาหาร 2.ธุรกิจค้าปลีก 3.สื่อสารและโทรคมนาคม 4.ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 5.ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและดิจิทัล 6.ธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมทั่วไป 7.ธุรกิจเวชภัณฑ์ ผลิตและทำการตลาดยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและสมองในประเทศจีน และ 8.ธุรกิจการเงินและการธนาคาร และการประกันภัยในประเทศจีน

//-------------------------

เปิดราคาซี.พี.เสนอราคาต่ำสุด 117,227 ล้าน ประมูลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ต่ำกว่าเพดาน 2 พันล้าน
พร็อพเพอร์ตี้
วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 เวลา 11:37 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภุมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท หลังจากตรวจสอบข้อเสนอซองที่3 ด้านการเงินของกลุ่มซี.พี.และพันธมิตรที่เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดแล้ว

โดยทางกลุ่มซี.พี.ขอเงินสนับสนุนจากรัฐคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุม้ติไว้ 119,425 ล้านบาท อยู่ที่ 2,198 ล้านบาท ส่วนกลุ่ม BSR เสนอวงเงินขอให้รัฐสนับสนุนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 169,934 ล้านบาท

“วันที่ 24 ธ.ค.นี้จะเปิดข้อเสนอซองที่4 ของกลุ่มซี.พี.เพราะเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด จากนั้นจะทำการเจรจาในรายละเอียดต่างๆ คาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณกลางเดือนม.ค.และเซ็นสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค.2562 ได้ตามเป้า อย่างไรก็ตามหากเจรจาแล้วไม่มีข้อยุติ จะเชิญกลุ่มBSR มาเปิดซองที่4 และเจรจาต่อไป”นายวรวุฒิกล่าว


ซีพีชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เสนอ 117,227 ล้านบาท – ต่ำกว่าบีทีเอส 52,707 ล้านบาท
23 ธันวาคม 2561

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มา:แฟ้มภาพ

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมคณะกรรมการรถไฟฯ ตึกบัญชาการรถไฟ นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ได้มีการพิจารณารายละเอียดในซองที่ 3 เกี่ยวกับด้านการเงิน ข้อเสนอด้านการลงทุน และผลตอบแทนของผู้เข้าร่วมประมูลเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมทั้งเชิญผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 2 ราย คือ กิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ซึ่งผ่านเกณฑ์พิจารณาเข้ามาชี้แจงตัวเลขข้อมูลการเสนอราคา

ทั้งนี้ผลการยื่นซองที่ 3 ด้านการเงินพบว่า กิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด โดยมีการเสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลต่ำสุดในราคา 117,227 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มบีเอสอาร์ ที่เสนอขอรับอุดหนุนจากรัฐบาล 169,934 ล้านบาท ถึง 52,707 ล้านบาท

นายวรวุฒิ กล่าวว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ในวันที่ 24 ธันวาคม 2561 จะเป็นการพิจารณาซองที่ 4 ซึ่งเป็นข้อเสนอพิเศษของกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และจะเรียกมาเจรจาอีกครั้งในวันที่ 3 มกราคม 2562 ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าสำเร็จลุล่วงก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนลงนามสัญญาต่อไปได้ แต่กรณีหากการเจราจรแล้วพบว่ารัฐไม่ได้ประโยชน์ ทางคณะกรรมการคัดเลือกฯมีสิทธิเรียกกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์มาเปิดซอง 4 และเจรจาเป็นลำดับต่อไป

อนึ่ง เมื่อได้ผลสรุป คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ต้องนำสัญญาเสนอให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาในรายละเอียด จากนั้นจึงนำเสนอชื่อผู้ชนะการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ฯ ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในช่วงกลางเดือนมกราคม 2562 เพื่อลงนามสัญญาให้ได้ภายในวันที่ 31 มกราคม 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2018 5:58 pm    Post subject: Reply with quote

490 บาทสำหรับ ไฮสปีดเทรนจากดอนเมืองไปอู่ตะเภา

แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ
รถไฟธรรมดา จอดทุกสถาน ซึ่งจะคล้ายกับ City Line ของ Airport Link แบ่งเป็นเส้นทางหลักๆคือ
1. ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ใช้เวลา 41 นาที (City line) 35 นาที (HSR)
2. ดอนเมือง-ศรีราชา ใช้เวลา 70 นาที
3. ดอนเมือง-อู่ตะเภา ใช้เวลา 101 นาที
4. ดอนเมือง-ระยอง ใช้เวลา 115 นาที


รถไฟด่วน ซึ่งแบ่งย่อยได้หลายเส้นคือ
1. สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ใช้เวลา 45 นาที - 397 บาท
2. มักกะสัน-อู่ตะเภา ใช้เวลา 56 นาที - 446 บาท
3. ดอนเมือง-อู่ตะเภา ใช้เวลา 65 นาที - 490 บาท
4. บางซื่อ - อู่ตะเภา 465 บาท
5. มักกะสัน - อู่ตะเภา 446 บาท
6. ฉะเชิงเทรา - อู่ตะเภา 326 บาท
7. ชลบุรี - อู่ตะเภา 249 บาท
8. ศรีราชา - อู่ตะเภา 205 บาท
9. ดอนเมือง-ระยอง ใช้เวลา 82 นาที
https://www.facebook.com/anwar.deae/posts/2588269411189270
https://www.thebangkokinsight.com/63202/
https://www.facebook.com/491766874595130/photos/a.533929433712207/587403291698154/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2018 6:15 pm    Post subject: Reply with quote

“ซีพี” ลุ้นอีกยก! ข้อสนอเพิ่มเติม “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ร.ฟ.ท.ย้ำหากเจรจาล้มเหลวดึงบีทีเอสเสียบ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 24 ธันวาคม 2561 เวลา 13:39
ปรับปรุง: 24 ธันวาคม 2561 เวลา 16:49


ร.ฟ.ท.เปิดซอง 4 กลุ่มซีพี ข้อเสนอเพิ่มเติมรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน กก.คัดเลือกฯ นัด 3 ม.ค. 62 หารือวางกรอบ ก่อนเรียกซีพีเจรจา “วรวุฒิ” เผยหากตกลงกันไม่ได้ พร้อมเรียก “กลุ่มบีเอสอาร์” เปิดซอง 4 เจรจา

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในวันนี้ (24 ธ.ค.) คณะกรรมการคัดเลือกฯ ครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ได้ทำการเปิดซอง 4 (ข้อเสนอเพิ่มเติม) ของกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร ซึ่งเสนอขอรัฐอุดหนุนราคาต่ำสุด คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 117,227 ล้านบาท ในช่วงเวลา 10 ปี

ทั้งนี้ เนื่องจากข้อเสนอซองที่ 4 เอกชนเสนอได้โดยไม่มีข้อจำกัด โดยเงื่อนไขให้เสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ดังนั้น โดยคณะกรรมการจะพิจารณาข้อเสนอเพิ่มเติม จัดหมวดหมู่ เช่น ด้านการเงิน เทคนิค และดูความเป็นไปได้ เพื่อวางกรอบแนวทางการเจรจาต่อไป ซึ่งตั้งแต่วันนี้คณะกรรมการคัดเลือกฯจะทำการบ้าน และในวันที่ 3 ม.ค. 2562 เวลา 09.00 น. ที่สำนักงานการรถไฟฯ คณะกรรมการคัดเลือกฯจะประชุมร่วมกันก่อน เพื่อสรุปกรอบการเจรจาจากนั้นจะเชิญกลุ่มซีพีมาเจรจาต่อรอง

ทั้งนี้ ในซอง 4 เอกชนอาจจะเสนอระบบ หรือจะสร้างส่วนต่อขยายจากอู่ตะเภาไประยอง คืออะไรก็ได้ที่นอกเหนือจากซอง 3 คณะกรรมการฯ จะดูว่าข้อเสนอไหนเป็นไปได้ ก็ไปเจรจาต่อรอง ข้อเสนอไหนเป็นไปไม่ได้ก็ตัดทิ้งไป

นายวรวุฒิกล่าวว่า ในเงื่อนไขข้อเสนอซอง 4 เอกชนมีสิทธิ์เสนอ ส่วน ร.ฟ.ท.จะรับว่าจะพิจารณาหรือไม่ โดยยึดหลักว่าข้อเสนอต้องเป็นประโยชน์กับรัฐเป็นหลัก และเมื่อเจรจาแล้วหากทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ก็ถือว่าสรุปผลการประมูลได้ แต่หากรัฐไม่รับข้อเสนอ หรือ เอกชนไม่ยินยอมในการเจรจา คือ มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับ หรือถึงที่สุดแล้วทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันไม่ได้ ในการเจรจาซองที่ 4 ตามเงื่อนไข ร.ฟ.ท.จะเรียกกลุ่มที่ได้อันดับที่ 2 คือ กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) มาเปิดซอง 4 และเจรจาต่อไป เนื่องจากถือว่าผ่านซองคุณสมบัติ เทคนิค และการเงิน มาเช่นกัน

“นี่คือประเด็นที่ ร.ฟ.ท.พูดมาตลอดว่าตอนนี้ยังไม่ถือว่าซีพีเป็นผู้ชนะประมูล เพราะแม้ผ่านซอง 3 มาเปิดซอง 4 ก็ยังต้องรอผลการเจรจาต่อรองซอง 4 ก่อนว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ เพราะอาจจะเกิดกรณีที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ หรือกรณีภาครัฐตกลงรับแค่บางเงื่อนไข แต่ซีพีเกิดไม่ยอม ต้องการให้รับทั้งหมดแบบนี้ถือว่าเจรจาไม่ยุติ ร.ฟ.ท.จะเรียกกลุ่ม BSR มาเปิดซอง 4 และเจรจาต่อรองต่อไป”

อย่างไรก็ตาม หลังวันที่ 3 ม.ค. 2562 คาดว่าจะใช้เวลาในการเจรจาประมาณ 2 สัปดาห์จะได้ข้อสรุปประมาณกลางเดือน ม.ค. 2562 และลงนามสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค. 2562 แต่หาก ร.ฟ.ท.และซีพีไม่สามารถตกลงกันได้ และมีการเรียกรายที่ 2 กลุ่ม BSR มาเปิดซอง 4 และต้องเจรจาต่อรอง อาจจะใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะนำเสนอเหตุผลต่อรัฐบาลต่อไป

//-----------------

รฟท.เผยคณะกรรมการคัดเลือกฯ เปิดซอง 4 กลุ่มซีพีชิงรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน คาดเคาะกรอบเจรจา 3 ม.ค.62
ข่าวเศรษฐกิจ
โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/ธนวัฏ/ศศิธร
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
จันทร์ที่ 24 ธันวาคม 2561 13:40:16 น.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันนี้ คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้เปิดซอง 4 ซึ่งเป็นข้อเสนอพิเศษของกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งและพันธมิตร จากนั้นจะให้คณะทำงานและที่ปรึกษาเปิดดูเงื่อนไข และจัดหมวดหมู่ของเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาได้ง่ายขึ้น

นายวรวุฒิ กล่าวว่า จะเรียกประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ในวันที่ 3 ม.ค.62 เพื่อวางท่าที หรือวางกรอบการเจรจากับเอกชน หลังจากนั้นจึงจะนัดกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งที่เป็นผู้เสนอด้านราคาดีที่สุดเข้ามาหารือและเจรจากัน สำหรับเอกสารซอง 4 จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาซอง 3 ซึ่งซอง 4 เป็นข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะรับหรือไม่รับพิจารณาก็ได้ โดยตนเองจะเป็นคนนำทีมการเจรจาครั้งนี้ด้วยตัวเอง
"ซอง 4 จะเสนออะไรก็ได้ที่อยู่นอกเหนือจากซอง 3 (ราคา) ไปแล้ว...การเจรจาให้หรือไม่ให้ก็ขึ้นกับผลประโยชน์ของรัฐ"นายวรวุฒิ กล่าว

สำหรับการเจรจากับกับกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง หากไม่สามารถตกลงกันได้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็มีสิทธิเรียกกลุ่ม BSR มาเจรจาได้ แต่ก็อาจจะทำให้กระบวนการเสร็จสิ้นไม่ทันกำหนดการในวันที่ 31 ม.ค.62

ทั้งนี้ กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS), บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC), บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH)

ส่วนกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) , บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) , China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) , บมจ. ช.การช่าง (CK), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/12/2018 11:09 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเชื่อม 3 สนามบินปิดบัญชีไม่ลง
ไทยรัฐออนไลน์ 2018-12-25 07:01:00+07:00

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา รฟท.ได้เปิดซองที่ 4 ซึ่งเป็นข้อเสนอพิเศษของกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งส์ และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) เบื้องต้นคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนจะแยกข้อเสนอพิเศษของกลุ่มซีพีออกเป็นหมวดหมู่ว่ามีเรื่องใดบ้าง จากนั้นจึงจะทราบว่าข้อเสนอพิเศษที่กลุ่มซีพีเสนอเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ หลังจากเปิดซองที่ 4 เพื่อแยกหมวดหมู่ข้อเสนอพิเศษของกลุ่มซีพี เช่น เรื่องของการใช้ระบบที่เป็นออโตเมติก หรืออื่นๆแล้วเป็นต้น โดยในวันที่ 3 ม.ค.2562 รฟท.จะประชุมเพื่อพิจารณาหมวดหมู่ทั้งหมด เพื่อเจรจาต่อรองราคาตามขั้นตอนของการประกวดราคา จากนั้นจึงจะเชิญกลุ่มซีพีมาเจรจาคาดว่าใช้เวลา 2 สัปดาห์ หากได้ข้อยุติก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ และลงนามในสัญญาไม่เกินวันที่ 31 ม.ค.2562

"ตอนนี้ยังไม่ทราบจริงๆว่าในซองที่ 4 มีข้อเสนออะไรบ้าง เพราะต้องใช้เวลาพิจารณาข้อเสนอออกเป็นหมวดหมู่ก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณา เมื่อแยกออกมาแล้ว จึงจะทราบว่ามีเรื่องอะไรบ้าง และต้องประชุมเป็นการภายใน รฟท. เพื่อเตรียมตัวเจรจากับทางกลุ่มซีพีด้วย"

นายวรวุฒิ กล่าวว่า สำหรับกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำรองลงมานั้น หาก รฟท.เจรจาเรื่องข้อเสนอพิเศษกับกลุ่มซีพี ไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน ก็ต้องเชิญบีเอสอาร์มาเจรจา เพื่อต่อรองราคาตามเงื่อนไขการประกวดราคาที่กำหนดไว้ ถึงแม้การลงนามในสัญญาจะล่าช้ากว่าแผนงานเดิมที่กำหนดไว้บ้าง ก็ยังดีกว่าต้องเริ่มประกวดราคาใหม่ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาเริ่มต้นใหม่อีกนาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุนรวม 220,000 ล้านบาท กลุ่มซีพี เสนอต่ำสุดที่ 117,227 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลาง 119,425 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มบีเอสอาร์เสนอราคาที่ 169,934 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 50,066 ล้านบาท โดยกลุ่มซีพีเสนอราคาต่ำกว่ากลุ่มบีทีเอสอาร์ 52,707 ล้านบาท เพราะฉะนั้นกลุ่มซีพีจึงเป็นผู้ชนะประมูลในโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินดังกล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2018 10:18 pm    Post subject: Reply with quote

ขอแชร์ข้อมูลจาก TNN 24 พูดถึงภาระที่ CP จะได้รับหลังจากได้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามข้อมูลดังนี้ครับ

งานหินรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน



1.จำนวน ผสด. ที่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีหลังจากก่อสร้างเสร็จ ในการสร้างชุมชนเมืองรองตามแนวรถไฟขนาดใหญ่พอ เท่ากับว่าใน 10 ปีแรกซึ่งเป็นช่วงตั้งไข่โครงการ ผดส.จะน้อยมาก

2.ดอกเบี้ยเงินกู้มาลงทุนในช่วง 5 ปีแรกที่ต้องแบกภาระนับหมื่นล้านบาท ตามด้วยความเสี่ยงที่ไม่ใช่การลงทุนครั้งเดียว จบ ต้องมีการ Maintence และปรับปรุงระบบเป็น Maglev(คงไม่น่าเกิดขึ้นจริง เพราะในระยะเท่านี้เร็วกว่านี้ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่าง)

3.ความเสี่ยงทางการเมือง ซึ่งมีคนพูดกว่าเอาทรัพย์สินของรัฐไปให้เอกชน ทั้งที่เค้าก็จ่ายค่าเช่า ซึ่งไม่ใช่น้อยเลย และมีอายุแค่ 50 ปี แล้วอาจจะมีปัญหาส่งมอบพื้นที่ล่าช้า (แต่เอาจริงๆ ถ้าล่าช้าก็ควรฟ้อง รฟท เพราะพื้นที่ๆ ให้ในโครงการเป็นพื้นที่สุสานรถไฟเก่า ซึ่งทุกวันนี้ก็เอาไว้เป็นป่าเก็บซากรถเก่า ที่ตัดบัญชีไว้ ถ้าให้พื้นที่ตรงนี้ไม่ได้ ควรจะพิจารณาถึงตัวองค์กรแล้ว) และมีเรื่องราคาที่ดินที่ รฟท ใช้ที่ปรึกษาตีราคาที่สูงกว่าความจริง อยู่ที่ 600,000 บาท/ตรว ซึ่งเอาไปคำนวนค่าเช่า รฟท จะได้ค่าเช่าตลอดสัญญา 50,000 ล้านบาท ซึ่งอาจจะเป็นภาระของโครงการได้

4.การรวมกับ ARL ซึ่งมีมูลค่าโครงการ อยู่ที่ 40,000 ล้านบาท แต่ต้องรับพร้อมหนี้ที่ยังเหลือมากกว่า 30,000 ล้านบาท และขาดทุนปีละ 300 ล้านบาท ซึ่ง รฟท จะได้เงินจากการส่งมอบโครงการ ARL ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งรวมกับเงินค่าเช่าส่วนแรก รฟท สามารถปลดหนี้ได้มากกว่าครึ่งที่รฟท มีอยู่โดยไม่ใช้เงินของรัฐเลย (ซึ่งโครงการส่วนที่เองชนได้ไปจะทำให้มูลค่าที่ๆเหลือส่วนเหลือของ รฟท แพงขึ้นด้วย เนื่องจากเชื่อมต่อกับโครงการใหญ่มาก) แต่ทางเอกชนต้องรอการคืนทุนอีกนานมาก

5.ปัญหาความสามารถในการจ่ายคืนของส่วนต่างสนับสนุนโครงการ ของ รฟท ซึ่งต้องจ่ายคืนภายในระบบ 10 ปี (ซึ่งไม่มันใจว่าในสัญญาให้รฟท จ่าย หรือ คลังจ่าย)

6.ราคาที่ดินตลอดรางรถไฟของโครงการซึ่งขึ้นรอไปหมดแล้ว ถ้าคนที่ได้จะมาซื้อหลังจากที่ได้โครงการก็คงต้องลงทุนอีกมหาศาล

7.กว่าจะได้ผู้โดยสารรายแรกใช้เวลา 5 ปี และกว่าจะได้เงินสนับสนุนจากภาครัฐ ก็อีก 10 ปี และกว่าผู้โดยสารมากพอใช้เวลาอีก 5 ปี ไหนจะต้องลุ้นกับโครงการอื่นๆของ EEC ว่าจะเกิดรึเปล่า (ถ้าไม่เกิดก็เจ๊งรอได้เลยครับ โดยเฉพาะแผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ถ้าไม่พัฒนาเป็นศูนย์เศรษฐกิจใหม่ ก็จบครับ)
และกว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 ปีกว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งถ้าตามที่เอกชนคาดหวังว่าจะคืนทุนภายใน 30 ปี แต่กลับกัน ถ้ามีอะไรผิดพลาด อาจจะคืนทฺนภายใน 50 ปีแทน ซึ่งคนที่จะทำโครงการนี้ได้จะต้องถึกอย่างมาก ถ้าสำเร็จจะช่วยให้พัฒนาพื้นที่ EEC และ ประเทศชาติอย่างมาก

และจะขอเพิ่มเรื่องค่าตั๋ว โดน Fixed ค่าตั๋วที่ไม่เกิน 500 บาท ซึ่งเดินรถให้ตายก็ไม่คุ้มครับ

กลัวที่สุดคือเป็น Hopewell 2 ครับ เพราะ Hopewell ก็มีTimeline และ story คล้ายกัน

คือเริ่มปลายสมัย รัฐบาลนายกชาติชาย มีการให้พื้นทีการรถไฟในการพัฒนา แต่ตอนนั้นมีรัฐประหาร แล้วทหารเข้ามาก ก็จะมารื้อสัญญา ทุกรัฐบาลที่เข้ามาก็เล็งแต่จะรื้อสัญญา ทำให้เอกชนก็ไม่กล้าเดิน จนมาถึงยุครัฐบาลนายกชวน ถ้าผมจำไม่ผิด สั่งเดินหน้า เพื่อให้ทัน Asian game 40 แต่ก็ jackpot แตกเศรษฐกิจพัง เลยล้ม เองชนขาดสภาพคล่อง จนช้า สุดท้ายรัฐบาลก็ยกเลิกสัญญาเลยมีปัญหาคาราคาซังมาถึงทุกวันนี้ อย่างที่ทราบ ผมกลัวจริงๆ แต่อย่างน้อย CP ก็มีเส้นใหญ่อยู่ในทุกพรรค ก็น่าจะผ่านจุดนี้ไปได้ครับ

https://www.youtube.com/watch?v=l5JP7wTDUfo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 31/12/2018 11:25 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่คึก! ประมูลสัญญา2ไฮสปีดไทย-จีนหงอย บิ๊กรับเหมาถอย “ซีวิล เอนจิเนียริ่ง”เสนอต่ำสุดฟันราคา7%
พร็อพเพอร์ตี้

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 2561 เวลา - 1612 น.

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้าง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าผลการเคาะราคาอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Bidding โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,412 ล้านบาท งานสัญญาที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,350.47 ล้านบาท เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2561 ที่ผ่านมา

มีบริษัทรับเหมาร่วมเคาะราคา 5 ราย อาทิ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ซีวิล เอนจิเนียริ่ง, หจก.บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง, กลุ่ม KTE จอยต์เวนเจอร์ โดยผู้เสนอราคาต่ำสุดคือ บจ.ซีวิล เอนจิเนียริ่ง ซึ่งเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง 3,350.47 ประมาณ 7% หรืออยู่ที่ประมาณ 3,100 กว่าล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ถึงจะได้ผู้เสนอราคาต่ำสุด แต่ตามกระบวนการของการประมูล e-Bidding ยังไม่สามารถประกาศผลในทันที ต้องเปิดซองคุณสมบัติก่อน ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเปิดในวันที่ 28 ธ.ค. 2561 ซึ่งผู้ยื่นที่ผ่านคุณสมบัติจะเปิดซองเทคนิค เช่น ระบบไฟฟ้า หลังจากตรวจสอบเทคนิคแล้วจะเปิดซองราคา ถึงประกาศผู้เสนอราคาตำ่สุด เป็นผู้ชนะการประมูล คาดว่าจะใช้เวลาตรวจซองเทคนิคประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะทราบผลอย่างเป็นทางการ



“ผู้เสนอราคาต่ำสุด ถ้าไม่ผ่านเทคนิคก็ไม่ใช่ผู้ชนะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของการรถไฟฯ จะใช้ด้านเทคนิคหรือราคาเป็นตัวตั้ง”
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า โครงการนี้ที้ผู้รับเหมารายใหญ่ร่วมประมูลน้อย เนื่องจากพบว่าแบบรายละเอียดที่ออกแบบโดยจีนนั้น เมื่อกำหนดวิธีก่อสร้างและ Specification แล้วพบว่าไม่เหมาะสมกับประเทศไทยทำให้ราคาแพงขึ้น ไม่สอดคล้องกับราคากลางที่กำหนด ซึ่งขณะนี้มีผู้ยื่นร้องเรียนไปที่การรถไฟฯแล้วถึงประเด็นกล่าว

แหล่งข่าวจาก บจ.ซีวิล เอนจิเนียริ่ง กล่าวว่า การที่บริษัทเสนอราคาได้ต่ำ เนื่องจากโครงการอยู่ใกล้กับไซด์งานมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ที่บริษัทได้งานก่อสร้างช่วงลำตะคอง มี 4 ตอนมีตอนที่ 16, 29, 30 และ 31 คิดเป็นมูลค่างานร่วม 5,000-6,000 ล้านบาท จะทยอยเสร็จตั้งแต่เดือน ม.ค.2562เป็นต้นไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเนื้องานสัญญาที่ 2 รถไฟไทย-จีน เป็นการก่อสร้างทางรถไฟ ระยะทาง 11 กม. แบ่งเป็นคันทางรถไฟระดับดิน 7 กม. โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ 4 กม. ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง 1 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมการเดินรถ หอพัก ที่ล้างรถ และงานระบายน้ำ งานรื้อย้ายราง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และงานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2019 10:22 am    Post subject: Reply with quote

'ญี่ปุ่น' ย้ำไทย ไม่ร่วมโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงิน 5.26 แสนล้าน
เศรษฐกิจ
อังคารที่ 1 มกราคม 2562 เวลา 18:53
'ไจก้า' ยืนยันคำเดิมกับฝั่งไทย ยังไม่สนใจร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ วงเงินลงทุน 5.26 แสนล้านบาท ย้ำเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ประเทศไทยต้องลงทุนเอง ฟากสื่อญี่ปุ่นวิเคราะห์ ไทยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางระบบรางภูมิภาค แต่การลงทุนรถไฟความเร็วสูงอาจประสบปัญหาผู้โดยสารใช้งานน้อย

รายงานข่าวจากเว็บไซต์ 'เดลินิวส์' ระบุถึงนายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงิน 5.26 แสนล้านบาทนั้น จากการประชุมกับตัวแทนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) เมื่อช่วงเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมาได้รับการยืนยันคำตอบเหมือนเดิมคือ ทางฝ่ายญี่ปุ่นไม่สนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว

"เพราะเห็นว่าเป็นงานโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลไทยควรลงทุนเองทั้งหมด เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศระยะยาว"

ขณะที่ เมื่อต้นเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา นิคเคอิ เอเชี่ยน รีวิว เผยแพร่รายงาน เรื่อง ประเทศไทยบนเส้นทางการพัฒนาศูนย์กลางระบบรางภูมิภาค โดยระบุว่า ประเทศไทยอยู่ระหว่างความมุ่งมั่นพัฒนาเส้นทางรถไฟ เพื่อให้หลุดจากประเทศที่ใช้รถยนต์ไปสู่การเดินทางด้วยรถไฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมๆ กับการยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางระบบรางของภูมิภาค

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยใช้เงินกว่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8 แสนล้านบาท) สำหรับสร้างโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง ซึ่งในจำนวนนี้ใช้เงิน 1.6 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 485 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสร้างสถานีชุมทางหลักบางซื่อในกรุงเทพฯ ซึ่งขณะนี้ การก่อสร้างได้ดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 60 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 โดยคาดว่า จะสามารถรองรับผู้โดยสาร 4 แสนคนต่อวัน พร้อมกับใช้สถานที่นี้เป็นศูนย์กลางคมนาคมหลักของประเทศ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงสายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นและต่อเชื่อมกับรถไฟในเมืองสายอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม นิคเคอิ เอเซี่ยน รีวิว ตั้งข้อสังเกตว่า โครงข่ายรถไฟของประเทศไทยมีระยะทางทั้งสิ้น 4,000 กิโลเมตร แต่ส่วนใหญ่เป็นรางเดียว รถไฟเก่า ระบบปฏิบัติการขาดประสิทธิภาพ การเดินทางด้วยรถไฟผู้โดยสารต้องทนใช้เวลานานถึง 11-14 ชั่วโมงสำหรับการเดินทางขึ้นเหนือไปเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ ซึ่งมีผลทำให้ผู้โดยสารจำนวนมากเปลี่ยนใจเลือกเดินทางเครื่องบิน ซึ่งเร็วกว่ามาก หรือเดินทางด้วยรถบัสที่มีระยะทาง 670 กิโลเมตรแทน

ดังนั้น ความหวังกับเส้นทางรถไฟเส้นใหม่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จึงอยู่ที่การช่วยย่นระยะเวลาในการเดินทางลงอย่างน้อย 3 ชั่วโมงครึ่งจากเวลาปกติ แต่ก็ต้องใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างมากถึง 4.2 แสนล้านบาท สำหรับการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีรถไฟหัวกระสุนของญี่ปุ่น

อีกด้านหนึ่ง ประเทศไทยมีโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 250 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา และต่อเชื่อมกับสนามบินนานาชาติในกรุงเทพฯ และอู่ตะเภาในจ.ระยอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี

รวมถึงการต่อเชื่อมระบบรางขนานใหญ่ของประเทศ เพื่อยกระดับและขยายเส้นทางรถไฟที่วิ่งขึ้นเหนือและลงใต้ผ่านกรุงเทพฯ ตามเส้นทางที่มีอยู่ผ่านชุมทางสถานีหลักบางซื่อ เป็นความพยายามของประเทศไทยที่จะริเริ่มการลงทุนใหม่ๆ ด้วยความหวังจะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระบบรางเพื่อผลักดันประเทศไทยหลุดกับดับประเทศรายได้ปานกลางให้ได้ตามระดับเศรษฐกิจที่พัฒนาไปข้างหน้า

แต่ประเทศไทยก็ยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ประเทศไทยไม่ได้มีเมืองขนาดใหญ่อย่างญี่ปุ่นที่จะรองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการรถไฟความเร็วสูงจำนวนมาก ประเทศไทยมีเพียงกรุงเทพ เชียงใหม่ และเมืองขนาดกลางไม่กี่แห่ง ที่จะทำได้ ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นข้อจำกัดในเรื่องปริมาณความต้องการใช้บริการรถไฟความเร็วสูงของไทย และประเด็นนี้ก็ทำให้บริษัทญี่ปุ่นหลายรายยังไม่มีใครแสดงความสนใจอย่างมากที่จะเข้ามาดำเนินการสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย อย่างที่ผู้บริหารรายหนึ่งของบริษัทญี่ปุ่นกล่าวกับนิคเคอิฯ ว่า "มีโอกาสสูญเสียอย่างไม่จำกัด หากเราเข้าไปทำโครงการรถไฟในประเทศไทย"

สนข.เร่งจัดแผนแม่บทแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ

นอกจากนี้ นายชยธรรม์ พรหมศร รอง ผอ.สนข. ยังเปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนแม่บทแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครตามคำสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่า ขณะนี้ สนข.ได้หารือร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อวางแผนแก้ไขร่วมกันอย่างเป็นระบบ เบื้องต้นต้องเร่งจัดทำแผนลงทุนระยะเร่งด่วน และระยะกลาง

เช่น การทำทางลอดอุโมงค์และทางยกระดับ รวมถึงแผนปรับปรุงบริเวณจุดตัดแยกต่างๆ เพื่อระบายการจราจรให้ไหลลื่นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่วงแหวนกรุงเทพฯ ชั้นใน

ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหารถติดอย่างมาก อาทิ ถนนรัชดาภิเษก เป็นต้น สำหรับแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาจราจรนั้นจะเสนอไปยังที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในช่วงต้นเดือน ม.ค. 2562 สำหรับภาพรวมนั้นจะมีการแยกแผนแก้ปัญหารถในกรุงเทพฯ เป็น 10 ระเบียงเส้นทาง

โดยจะมีทั้งลงทุนงานก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจราจร และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้บริหารการจราจร ขณะเดียวกันรายงานข่าวจาก สนข. ระบุว่า สำหรับแผนแก้ไขปัญหารถติดในเส้นทางที่มีปัญหาสะสมมายาวนานนั้นคือถนนรัชดาภิเษก

ซึ่งปัจจุบันมีปัญหารถติดตามจุดตัดบริเวณแยกทำให้ส่งผลกระทบไปยังถนนเส้นอื่น ดังนั้นจึงมีแผนก่อสร้างสะพานยกระดับและอุโมงค์ทางลอดบริเวณแยกที่ยังมีปัญหาจราจรในปัจจุบัน อาทิ แยกรัชดาภิเษกตัดกับถนนเพชรบุรี แยกรัชดาภิเษกตัดกับถนนสุขุมวิท และแยกรัชดาภิเษกตัดกับถนนพระรามเก้า

นอกจากนี้ยังเตรียมเสนอโครงการก่อสร้างทางยกระดับช่วงสุขุมวิท-พระราม 3 ระยะทาง 10 กม. วงเงินลงทุน 1-2 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2019 10:43 am    Post subject: Reply with quote

รีวิวไฮสปีดเทรนไทยแลนด์ ซี.พี.ทุ่มแสนล้านปลุก EEC ไทย-จีนอืด “เจริญ” รอตีตั๋วสายใต้ไปสุราษฎร์ฯ
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 2 มกราคม 2562 เวลา 08:30 น.


แผนการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง เชื่อม 4 ภูมิภาค มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท ภายใต้การขับเคลื่อนของรัฐบาลทหาร ผ่านมา 4 ปียังไม่ลื่นไหลอย่างที่ใจหวัง

ครบรอบ 4 ปีไปเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,412 ล้านบาท โปรเจ็กต์ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน นับจากเซ็น MOU ร่วมกันวันที่ 19 ธ.ค. 2557

4 ปีรถไฟไทย-จีน

เพิ่งมาสะเด็ดน้ำตอกเข็มต้นแรกเมื่อเดือน ธ.ค. 2560 งานสัญญาแรกจากสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ทั้งโครงการจะเปิดใช้ในปี 2566 โดยรัฐบาลไทยเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างทั้งหมด มีรัฐบาลจีนช่วยออกแบบรายละเอียดและจัดหาระบบให้

“ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ” ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีแผนผลักดันลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ประกอบด้วย

กรุงเทพฯ-หนองคาย, กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-หัวหิน และเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ โดยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แบ่งสร้าง 15 สัญญา ความคืบหน้าสัญญาที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท ที่กรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้รับผิดชอบมีผลงานอยู่ที่ 60-70% คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปี 2562

“ความล่าช้ามาจากการที่ฝ่ายจีนมีการตรวจสอบงานด้านวิศวกรรมทุกขั้นตอนค่อนข้างละเอียด ต้องยอมรับว่าไทยไม่เคยมีประสบการณ์ทำรถไฟความเร็วสูงมาก่อน งานถมคันทาง 3.5 กม.ที่ทางหลวงรับผิดชอบจึงไม่ใช่การทำคันทางธรรมดา แต่ต้องเป็นคันทางมีความแข็งแรงสูงกว่าปกติ สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้ การที่คันทางทรุดตัวเพียง 1 ซม.ก็ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้แล้ว ดังนั้น ทางจีนจึงต้องคุมงานอย่างเคร่งครัด”

เร่งออกแบบช่วงโคราช-หนองคาย

ส่วนความคืบหน้าการเจรจากับจีนสัญญางานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 38,558 ล้านบาท อยู่ระหว่างหารือ เช่น เรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ที่ขอในอัตรา 2.6% คาดว่าจะเซ็นสัญญาในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 27 วันที่ 25 ม.ค. 2562 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ขณะที่อีก 12 ตอน ระยะทาง 238.5 กม. ค่าก่อสร้างกว่า 1.1 แสนล้านบาท จะทยอยเปิดให้เอกชนประกวดราคาต่อไป ล่าสุด ร.ฟ.ท.เปิดประมูลสัญญาที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,350.47 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม.ไปพร้อมกันด้วย ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างปรับลดค่าจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดโครงการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ จากเดิมเสนอมา 1,200 ล้านบาท

ญี่ปุ่นยังไม่โอเคร่วมหุ้นสายเหนือ

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ หรือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ระยะทาง 672 กม. เงินลงทุนประมาณ 508,637 ล้านบาท ที่ญี่ปุ่นมาช่วยศึกษาให้แต่ยังไม่ตกลงปลงใจร่วมลงขัน

ปลัดคมนาคมอธิบายว่า เนื่องจากวงเงินลงทุนสูงมาก สาเหตุสำคัญมาจากแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ที่มีภูเขาเป็นจำนวนมาก อาจจะต้องเจาะอุโมงค์ในหลายพื้นที่ อีกทั้งผลการศึกษาให้สร้างเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. เงินลงทุน 276,226 ล้านบาท

“ไม่ได้มองทั้งเส้นทาง แต่หากมองทั้งเส้นค่าก่อสร้างก็จะทวีคูณ เราก็พยายามชักชวนญี่ปุ่นมาลงทุนอยู่ แต่ญี่ปุ่นยังไม่ตัดสินใจ ให้เหตุผลว่าโครงการนี้เป็นโครงการของประเทศไทยควรจะลงทุนเอง แต่อย่างไรก็ตาม เรากำลังหาโมเดลการลงทุนใหม่อยู่ เช่น การกู้เงินกองทุน JOIN ที่เป็นกองทุนของญี่ปุ่นที่ช่วยด้านโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของต่างประเทศ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะพูดคุยเจรจากันในรอบต่อไป”

ยืดสายใต้ถึงสุราษฎร์ฯ

ด้านโครงการกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. เงินลงทุน 100,125 ล้านบาทที่เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี สนใจจะลงทุนเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ปลัดคมนาคมอัพเดตข้อมูลว่า กำลังรอประเมินผลจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่อยู่ใกล้กันคุ้มค่าหรือไม่ เนื่องจากโครงการนี้จะเป็นการลงทุนโดยให้เอกชนร่วมลงทุน PPP เช่นกัน

“เดิมที่ศึกษาไว้เป็นรัฐลงทุน 100% จึงวางเส้นทางถึงแค่หัวหิน เพื่อให้รัฐลงทุนน้อยที่สุด แต่ในผลการศึกษาระบุว่า ต้องต่อลงไปถึง จ.สุราษฎร์ธานีถึงจะคุ้มทุน จึงเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนเป็น PPP Net Cost ซึ่งเอกชนมีคำถามว่า การก่อสร้างถึงแค่หัวหินไม่คุ้มค่า จึงให้ ร.ฟ.ท.ไปศึกษาออกแบบเพิ่มให้ถึง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งอยู่ในงบประมาณปี 2562 ของ ร.ฟ.ท.”

ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มธุรกิจของเจ้าสัวเจริญเตรียมจองลงทุนในเส้นทางนี้มองว่า แม้ว่ากลุ่มของเจ้าสัวเจริญจะมีความพร้อมทั้งด้านการเงินและที่ดิน แต่ก็ต้องหาพันธมิตรมาร่วมลงทุนเหมือนกรณีกลุ่ม ซี.พี.ที่ร่วมประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

และการมองว่าเหมือนแบ่งเค้กให้เฉพาะกลุ่มทุนใหญ่ลงทุนนั้นตนมองว่า ต้องยอมรับว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีกำลังที่จะพัฒนาโครงการใหญ่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้กลุ่มคนเหล่านี้กระจายโอกาสให้กลุ่มอื่น ๆ เช่น การจ้างงาน เพราะมีงานในมือมหาศาล จะจ้างคนภายในประเทศไปร่วมทำงานได้หรือไม่

ม.ค. 62 ไฮสปีดอีอีซีเซ็นสัญญา

ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท หลังเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP net cost ระยะเวลา 50 ปี ก่อสร้าง เดินรถ บริหาร และซ่อมบำรุงโครงการ พร้อมพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 25 ไร่

ผลการพิจารณาราคาเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ากลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตรเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด โดยให้รัฐอุดหนุนเงินลงทุนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ 119,425 ล้านบาท อยู่ที่ 2,198 ล้านบาท หากรวมดอกเบี้ย 10 ปี คิดเป็นวงเงิน 149,652 ล้านบาท โดยรัฐผ่อนชำระคืน 10 ปี ตั้งแต่ปีที่ 6-15 จำนวน 14,965 ล้านบาทต่อปี

ตามไทม์ไลน์ของ ร.ฟ.ท.หลังปีใหม่จะเร่งเจรจารายละเอียดกับกลุ่ม ซี.พี.รวมถึงข้อเสนอซอง 4 ให้จบโดยเร็ว เพื่อเซ็นสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค. 2562 ส่วนการก่อสร้างจะเริ่มดำเนินการได้ต่อเมื่อรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้รับไฟเขียว คาดว่าได้เริ่มต้นลงเข็มต้นแรกภายในปี 2562 ที่จะถึงนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 298, 299, 300 ... 547, 548, 549  Next
Page 299 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©