Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273153
ทั้งหมด:13584449
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 303, 304, 305 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2019 10:12 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงและ ‘กับดักหนี้’ ที่ตามมา

26 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 00:01 น.

เมื่อมีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในปี 2562 และ กกต.มีมติให้จัดการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคมแล้ว รัฐบาลชุดของนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ควรจะต้องระงับการตัดสินใจใดๆ ที่มีผลต่อโครงการใหญ่ๆ หรือกิจกรรมใดที่ควรจะเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลที่จะมาจากการเลือกตั้ง


หนึ่งในโครงการที่ควรจะรอให้รัฐบาลใหม่มาตัดสินคือ การกู้เงินเพื่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่โยงไปถึง One Belt One Road ของจีน
เพราะโครงการนี้ไม่ได้มีมิติเฉพาะเรื่องการลงทุนทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่ยังมีผลทางด้านการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศด้วย
ระหว่างนี้เมื่อมีข่าวว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาจะกู้เงินต่างประเทศ (รวมถึงจีน) เพื่อเดินหน้าสร้างโครงการนี้ รัฐบาลก็ควรจะต้องชี้แจงแถลงไขให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลให้ชัดเจน
เพราะข่าวที่ออกมามีความสับสนว่า ตกลงไทยเราจะขอกู้จากจีนหรือไม่อย่างไร
ข่าวเมื่อเช้าวันพฤหัสฯ จาก “โพสต์ทูเดย์” อ้างคุณจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) บอกว่า หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคจาก กทม.-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กทม.-นครราชสีมา) โดยมีวงเงินลงทุนรวม 1.79 แสนล้านบาททางกระทรวงการคลังได้เริ่มกู้เงินแล้ว 4,000 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายแล้ว 2,000 ล้านบาท
คุณจินดารัตน์บอกว่า วงเงินลงทุนรวม 1.79 แสนล้านบาทนี้ แบ่งเป็นเงินงบประมาณ 1.32 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการเวนคืนที่ดินและเงินกู้ 1.66 แสนล้านบาท
ในจำนวนนี้เป็นเงินกู้ต่างประเทศ 3.85 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ที่เหลือกู้ในประเทศสำหรับว่าจ้างผู้ประกอบการในประเทศไทยในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน วงเงินประมาณ 1.27 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 80% ของวงเงินกู้ทั้งหมด
ท่านยืนยันว่าประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคเองทั้งหมด ไม่ได้ร่วมทุนกับฝ่ายจีน ไทยจึงเป็นเจ้าของโครงการแต่เพียงผู้เดียว โดยจีนเป็นเพียงผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูงเท่านั้น
คุณจินดารัตน์สรุปว่า “จึงเป็นไปไม่ได้ที่ไทยจะติดกับดักหนี้จีน”
ณ จุดนี้ท่านบอกว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องกู้เงินต่างประเทศ หากจะกู้ก็จะพิจารณาจากทุกแหล่ง ทั้งจีน, ญี่ปุ่น และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) โดยจะต้องเป็นข้อเสนอต้นทุนต่ำและเงื่อนไขดีที่สุด เพื่อนำมาใช้ในช่วนที่มีรายการค่าใช้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งยังไม่มีการผูกพันสัญญาเงินกู้กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน (CEXIM) หรือแหล่งเงินกู้ต่างประเทศอื่น
ท่านบอกว่าขอให้มั่นใจว่าคลังจะพิจารณาจัดหาแหล่งทุนที่มีเงื่อนไขและต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด
คุณจินดารัตน์ไม่ได้พูดถึงข่าวก่อนหน้านี้ว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน ที่ปักกิ่งในสัปดาห์นี้ จะมีการพูดถึงเรื่องไทยขอกู้เงินจากจีนเพื่อโครงการนี้หรือไม่
และไม่ได้ปฏิเสธหรือยืนยันข่าวก่อนหน้านี้ว่า ไทยจะกู้จาก CEXIM ของจีน เพราะดอกเบี้ยถูกกว่าเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินต่างประเทศอื่นๆ
คนไทยที่ห่วงเรื่อง “กับดักหนี้จีน” มีเหตุผลน่าฟัง เพราะกรณีเช่นนี้เกิดกับบางประเทศที่ร่วมโครงการ One Belt One Road ของจีน มีตัวอย่างในเพื่อนบ้านเราที่ได้กลายเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของจีน
ในบางกรณีต้องยอมยกผลประโยชน์จากเหมืองบางแห่งให้จีนเป็นการจ่ายหนี้แทน
และเมื่อประเทศใดกลายเป็นลูกหนี้ใหญ่ของจีน เพราะโครงการเช่นนี้แล้วก็จะมีประเด็นเรื่องความสัมพันธ์กับจีนในด้านอื่นๆ ที่ทำให้อำนาจต่อรองของประเทศนั้นๆ อ่อนลงไปอย่างเห็นได้ชัด
ในกรณีของไทยนั้น รัฐบาลยังจะต้องแถลงแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมให้ประชาชนคนไทยได้ทราบ เพื่อจะได้ซักถามพรรคการเมืองทั้งหลายที่เสนอตัวมาเป็นรัฐบาลหลังเลือกตั้งว่าท่านเหล่านั้นมีนโยบายต่อเรื่องนี้อย่างไร
เพราะเรื่องนี้มิใช่เพียงแค่ประเด็น “เงินกู้และดอกเบี้ย” เท่านั้น หากแต่โยงใยไปถึงจุดยืนของประเทศต่อมหาอำนาจและเพื่อนบ้านในอาเซียนและเวทีระหว่างประเทศอีกด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2019 12:02 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟชงบอร์ดเคาะชื่อ”ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง”สร้างไฮสปีดไทย-จีนตอน2 ปลายปีปิดจ็อบประมูลทางคู่4เส้น3แสนล้าน
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2562 18:03 น.


นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธาสำหรับช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ราคากลาง 3,350.475 ล้านบาท หลังจากเปิดให้มีการคัดเลือกแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Bidding) และมี บจ.ซีวิล เอนจิเนียริ่ง เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดนั้น จะเสนอให้คณะกรรมการรร.ฟ.ท. (บอร์ดรถไฟ) พิจารณาวันที่ 8 ก.พ.นี้

@เม.ย.-พ.ค.ประมูลสัญญา 3



โดยจะมีการรับรองผู้ชนะในสัญญาดังกล่าวด้วย และจะมีการประกาศราคาที่เสนอต่ำสุดในวันเดียวกัน จากนั้นก็จะเข้าสู่การร่างสัญญาเพื่อลงนามก่อสร้างต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน ส่วนตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในช่วง เม.ย.-พ.ค.นี้

ส่วนความคืบหน้าโคงการก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. เงินลงทุน 425 ล้านบาท ที่มีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้รับผิดชอบ ขณะนี้คืบหน้าไปแล้ว 60% กำหนดการแล้วเสร็จยังวางไว้ที่กลางปีนี้ตามเดิม โดยอยู่ระหว่างการทดสอบความแข็งแรงของคันทางตามมาตรฐานทางวิศวกรรมของประเทศจีน เพื่อให้มีความปลอดภัยสูงสุด ความคืบหน้าของโครงการจึงล่าช้าออกไปบ้าง เนื่องจากประเทศไทยไม่เคยมีประสบการณ์ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงมาก่อน

@เร่งทางคู่ 4 สายประมูลปลายปีนี้

รักษาการผู้ว่า ร.ฟ.ท. กล่าวต่อว่า ขณะที่ความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. เงินลงทุน 85,345 ล้านบาท หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติไปเมื่อปีที่แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างพระราชกฤษฎีกา เวนคืนที่ดิน เพราะเป็นรถไฟเส้นทางใหม่ การรถไฟฯ ต้องเวนคืนเพิ่มเพื่อทำเส้นทางใหม่ 323 กม.

เช่นเดียวกับโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. เงินลงทุน 6.79 หมื่นล้านบาท ที่ต้องดำเนินการเวนคืนที่ดิน เพื่อดำเนินการก่อสร้างเป็นเส้นทางใหม่รวมกว่า 300 กม.

ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น – หนองคาย ระยะทาง 167 กม. เงินลงทุน 26,647 ล้านบาท และรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี ระยะทาง 307 กม. เงินลงทุน 37,523.61 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือบอร์ดสภาพัฒน์ ก่อนเสนอ ครม. ให้ความเห็นชอบต่อไป โดยคาดว่าทั้ง 4 โครงการจะสามารถเปิดประมูลก่อสร้างได้ประมาณปลายปีนี้

ชงบอร์ดรฟท.ไฟเขียว “ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง” ชนะประมูลไฮสปีด “สีคิ้ว-กุดจิก”
วันจันทร์ 28 มกราคม 2562 / 18:48 น.


“วรวุฒิ” ชงบอร์ดรฟท. อนุมัติ “ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง” ชนะประมูลก่อสร้างงานโยธารถไฟไทย-จีน ช่วง สีคิ้ว-กุดจิก” ขณะที่ รฟท.ดันประมูลรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 4 เส้นทาง 2.17 แสนล้านบาทปีนี้

เมื่อวันที่ 28 ม.ค. นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ รฟท. (บอร์ดรฟท.) วันที่ 8 ก.พ.นี้ รฟท.จะเสนอรายชื่อบริษัทที่เสนอราคาก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ช่วงที่ 2 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ต่ำสุด คือ บริษัท ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ให้ที่ประชุมเห็นชอบ ก่อนเสนอให้กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป

นายวรวุฒิ กล่าวว่า ปีนี้ รฟท.ตั้งเป้าเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 4 เส้นทาง มูลค่าลงทุนรวม 2.17 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.รถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 326 กม. มูลค่า 85,345 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลในช่วงปลายปี 2562 ทั้งนี้ แม้ว่ารถไฟทางคู่เส้นดังกล่าวจะได้รับการอนุมัติจากครม.แล้ว แต่ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเวนคืนที่ดิน

2.รถไฟทางคู่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 355 กม. มูลค่า 67,965 ล้านบาท ซึ่งจะมีเสนอให้ที่ประชุมครม.อนุมัติในเร็วๆนี้ หลังจากผ่านการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แล้ว แต่กว่าจะเปิดประมูลได้น่าจะอยู่ในช่วงปลายปีเช่นกัน เนื่องจากรเป็นรถไฟทางคู่เส้นทางใหม่ และรฟท.มีเพียงที่ดินบริเวณสถานีบ้านไผ่เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะต้องทำการเวนคืน

3.รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 169 กม. มูลค่า 26,663 ล้านบาท ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจาณาของสภาพัฒน์ ซึ่งหากสภาพัฒน์และครม.เห็นชอบ น่าจะเปิดประมูลได้โดยเร็ว เพราะโครงการนี้ก่อสร้างในเขตเดินรถไฟเดิม จึงไม่ต้องเวนคืนที่ดิน และ4.รถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 308 กม. มูลค่า 37,527 ล้านบาท ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาพัฒน์ และไม่ต้องมีการเวนคืนที่ดินเช่นกัน

นายวรวุฒิ กล่าวว่า ภายในเดือนก.พ.นี้ รฟท.จะเสนอประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณาอนุมัติจัดตั้งบริษัทลูก 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท เดินรถไฟฟ้าสายสีแดง และบริษัท บริหารทรัพย์สิน หากคนร.เห็นชอบจะเสนอครม.อนุมัติต่อไป ทั้งนี้ รฟท.ตั้งเป้าว่าบริษัท เดินรถไฟฟ้าสายสีแดง จะเข้ามาให้บริการเดินรถไฟฟ้าวสายสีแดงในเดือนม.ค.2564


Last edited by Wisarut on 29/01/2019 12:11 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2019 12:09 am    Post subject: Reply with quote

เอาให้สุดทาง! ยกแรกเจรจาไฮสปีด3สนามบิน “กลุ่มซี.พี.” ขอความร่วมมือห้ามเปิดเผยข้อมูลลุยถกต่อ 1 ก.พ.นี้
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 28 มกราคม 2562 17:36 น.

นายวร​วุฒิ​ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ได้พิจารณาให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซี.พี.ในฐานะผู้เสนอให้รัฐอุดหนุนน้อยที่สุด 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุม้ติไว้ 119,425 ล้านบาท อยู่ที่ 2,198 ล้านบาท ผ่านการพิจารณาซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพของโครงการไปแล้วนั้น

วันที่ 28 ม.ค. คณะกรรมการคัดเลือกได้เชิญกลุ่ม ซี.พี. เพื่อเริ่มกระบวนการเจรจาก่อนลงนามในสัญญา โดยเป็นการเจรจาครั้งแรก ซึ่งได้นำข้อเสนอที่ ซี.พี.ส่งเพิ่มเติมมาเมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา เป็นเอกสารจำนวน 200 หน้า 108 ประเด็นมาเป็นประเด็นการเจรจาหลัก



แต่อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถเปิดเผยกรอบการเจรจาและรายละเอียดที่พูดคุยในวันนี้ได้ เนื่องจากมีผลกับการเจรจาต่อรองกัน และเกี่ยวพันไปกับเรื่องอื่นๆ ด้วย บอกได้แค่ว่า การเจรจาเป็นไปด้วยดี มีประเด็นที่หารือกัน 30-40 ประเด็น และได้ยกประเด็นที่มีความยากขึ้นมาคุยกันก่อน เรื่องง่ายๆ เอาไว้เจรจาในภายหลัง

เบื้องต้นคณะกรรมการคัดเลือกจะมีการประชุมกันในวันที่ 1 ก.พ.นี้ และคาดว่าในช่วงบ่ายวันเดียวกันจะเชิญกลุ่ม ซี.พี.เข้ามาเจรจาครั้งที่ 2 เป็นลำดับถัดไป ส่วนกรอบการเจรจามีเงื่อนไขอีกมาก ต้องใช้เวลาคุยกัน แต่คงไม่คุยหลายครั้งแบบเดียวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนแน่นอน

“ส่วนตัวไม่มีเรื่องหนักใจอะไรกับโครงการนี้ ต้องคุยกันให้สุดทาง เพียงแต่ว่าการเจรจาของรัฐและเอกชนต้องใช้เวลานานอยู่แล้ว รัฐเองก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบดูปัจจัยต่างๆ ให้มากที่สุดอยู่แล้ว ส่วนเอกชนก็ต้องสู้เพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร”

รักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวต่อว่า กรอบเวลาของโครงการขณะนี้ ขอให้ยึดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมาไปก่อน คาดว่าจะเจรจาจนได้ผลสรุปในช่วงกลางเดือน ก.พ. จากนั้นจะส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และรายงานผลการเจรจาให้บอร์ดอีอีซีได้ภายในเดือน ก.พ.เช่นกัน ก่อนที่จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ และลงนามในสัญญาได้ภายในเดือน มี.ค.นี้

ส่วนความคืบหน้าการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ขณะนี้กำลังจะส่งรายงานให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ คาดว่าจะส่งได้ในเดือน ก.พ.นี้ ซึ่งถือเป็นรอบสุดท้ายแล้ว

//------------------------------------
เลื่อนเซ็นสัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
เศรษฐกิจ
28 มกราคม 2562 17:01:51
กรุงเทพฯ 28 ม.ค. – รฟท.เผยรายละเอียดสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจำนวนมาก เจรจาเพิ่ม 1 กุมภาพันธ์ คาดส่ง ครม.พิจารณาเดือนกุมภาพันธ์ และเซ็นสัญญาเดือนมีนาคม

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. กล่าวว่า จากกการที่ รฟท.นัดเจรจาเงื่อนไขสัญญากับกลุ่มซีพี หรือกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งใช้เวลาร่วม 5 ชั่วโมง แต่ยังไม่เสร็จ เนื่องจากรายละเอียดของสัญญามีกว่า 200 หน้า ซึ่งมีรายละเอียดที่สำคัญจะต้องพิจารณาประมาณ 30-40 ข้อ รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยในข้อความของสัญญา จึงยังต้องใช้เวลาเจรจาพูดคุย ในวันนี้ถือว่ามีความคืบหน้า มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปทั้งหมด ซึ่งจะมีการนัดเจรจากันอีกครั้ง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562

ทั้งนี้ จากกำหนดเดิมที่เคยวางไว้ว่าจะมีการลงนามสัญญาในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินวันที่ 31 มกราคม 2562 ไม่สามารถทำได้ตามแผน เนื่องจากมีข้อพิจารณาและเจรจาจำนวนมาก ดังนั้นได้วางกรอบขั้นตอนใหม่ โดยจะเจรจาเสร็จกลางเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากนั้นจะยื่นสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาและส่งต่อคณะกรรมการอีอีซีและ ครม.ต่อไป คาดว่าเดือนมีนาคมจะสามารถลงนามเซ็นสัญญาได้.-สำนักข่าวไทย

//-------------------

รฟท.-ซีพีฯเลื่อนจดปากกาเซ็นสัญญารถไฟเชื่อม3สนามบินเดือนมี.ค.
สยามรัฐออนไลน์
เศรษฐกิจ
28 มกราคม 2562 17:23

วันนี้ (28ม.ค.2562)นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยว่า ได้มีการเจรจาเงื่อนไขสัญญากับกลุ่มซีพี หรือกิจการร่วมค้า บ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง และพันธมิตรในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ เพราะมีรายละเอียดของสัญญามีกว่า 200 หน้า และรายละเอียดของสัญญาบางข้อจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบครอบ แต่ก็ถือว่าการเจรจามีความคืบหน้าอย่างมาก โดยจะมีการเจรจาอีกครั้งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นี้

ทั้งนี้จากที่ได้มีกำหนดลงนามสัญญาในโครงการฯในวันที่ 31 มกราคม 2562 แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีข้อพิจารณาและเจรจาจำนวนมาก ดังนั้นได้วางกรอบขั้นตอนใหม่ โดยจะเจรจาให้แล้วเสร็จกลางเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นจะยื่นสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และส่งต่อคณะกรรมการอีอีซี และครม.ต่อไป คาดว่าเดือนมีนาคมจะสามารถลงนามเซ็นสัญญาได้

//----------------------

เจรจา”ซีพี”ต้องเคลียร์ทุกเงื่อนไข วางเป้าเซ็นสัญญาไฮสปีด3 สนามบิน มี.ค.62
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 มกราคม 2562 19:25



รฟท.เจรจาต่อรอง ซีพี ร่างเงื่อนไขสัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เผยมีอีก 30-40 หัวข้อที่ยังไม่จบ ยันสุดท้ายต้องเห็นตรงกันหากมีข้อขัดแย้งต้องล้มโต๊ะเจรจา “วรวุฒิ”เชื่อ ลงนามมี.ค.ได้ตามเป้า EEC

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (28 ม.ค.) คณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ได้เชิญกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซี.พี.) และพันธมิตรเจรจาต่อรองนัดแรก ในเรื่องเงื่อนไขสัญญา หลังจากได้ข้อสรุปการพิจารณาข้อเสนอเพิ่มเติม โดยใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งมีการเจรจาเพียง 1 หัวข้อ ในแต่ละหัวข้อมีการเกี่ยวเนื่องกันซึ่งการเจรจาเป็นไปด้วยดี ซีพีได้อธิบายถึงเหตุผลในแต่ละประเด็น เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยจะนัดเจรจากับกลุ่มซีพีอีก

ครั้ง ในเวลา 13.00 น.วันศุกร์ที่ 1 ก.พ. 2562 ซึ่งเป้าหมาย จะเจรจาให้จบในเดือนก.พ.
โดยจากข้อมูล การเจรจาถือว่าเพิ่งเริ่มต้นคงต้องใช้เวลาสักระยะ โดยจะเริ่มจากเรื่องยากไปหากง่าย ทั้งนี้คาดว่าการเจรจาจะได้ข้อยุติไม่เกิน กลางเดือนก.พ.นี้ จากนั้นจะส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด EEC พิจารณาอีกครั้งก่อนและ คาดว่า จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในเดือนมี.ค. และจะลงนามสัญญาได้ในเดือนมี.ค. 2562 ซึ่งยังเป็นไปตามกรอบ ที่ EEC กำหนด

"ยังมีเงื่อนไขที่เจรจากันอีกมาก จะต้องพิจารณาทุกหัวข้ออย่างถี่ถ้วน เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ การพิจารณายังมีเงื่อนไข และรายละเอียดที่ต้องให้ซีพี จัดทำข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม โดยพิจารณาตามกรอบการเจรจาทั้ง 4 หัวข้อ นอกจากนี้ยังรายละเอียดที่ต้องพิจารณาอีก 30-40 หัวข้อหลักๆ ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิจารณาพอสมควร การเจรจาจะต้องเห็นด้วยตรงกัน ก็จะถือว่าจบ ถ้าไม่ตรงกัน ต้องล้มโต๊ะเจรจา ดังนั้นตอนนี้ยังถือว่า การเจรจายังไม่สรุป ”นายวรวุฒิกล่าว

ทั้งนี้เอกสารเงื่อนไขสัญญามีมากกว่า 200 หน้าดังกล่าว คณะกรรมการคัดเลือกฯ จัดแบ่งไว้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มข้อเสนอที่อยู่นอกกรอบอำนาจคณะกรรมการคัดเลือกฯ 2.กลุ่มข้อเสนอที่ไม่เป็นไปตามทีโออาร์ 3.กลุ่มข้อเสนอที่มีผลต่อรัฐบาล และ รฟท. และ 4. กลุ่มข้อเสนอที่เจรจาได้ง่าย

ในส่วนของรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ฉบับปรับปรุง นั้น ได้เสนอต่อ คณะกรรมการสางแวดล้อมแห่งชาติ(สผ,) ซึ่งจะเข้าที่ประชุม คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ คชก. ในเดือนก.พ.นี้ พร้อมกับรายงาน EIA ของโครงการรถไฟชานเมือง (Missing Link) สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2019 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเปิดประมูลทางคู่ปีนี้ 4 เส้นทาง - มี.ค.เซ็นไฮสปีดไทย-จีนตอน2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 29 มกราคม 2562 09:14
ปรับปรุง: 29 มกราคม 2562 12:29


คาดเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ตอน 2 เริ่มก่อสร้าง มี.ค.นี้ ขณะที่ปีนี้ตั้งเป้าประมูลรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 4 เส้นทาง วงเงินรวม 2.1 แสนล้าน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท ภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้เปิดประมูลสัญญาที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,350.47 ล้านบาท โดยบริษัท ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาประมูลงานโยธาต่ำสุด ซึ่งอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบคุณสมบัติ คาดว่าจะเสนอผลประมูลต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ในวันที่ 8 ก.พ. 62 ขออนุมัติเพื่อทำสัญญากับผู้รับจ้างและเริ่มการก่อสร้างในเดือน มี.ค. และจะทยอยเปิดประมูลในตอนที่ 3 ได้ตั้งแต่เดือน เม.ย.เป็นต้นไป

ส่วนการจัดตั้ง 2 บริษัทลูกของ ร.ฟ.ท. คือ บริษัท เดินรถไฟสายสีแดง และบริษัท บริหารทรัพย์สินนั้น นายวรวุฒิกล่าวว่า อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ในเดือน ก.พ.นี้ จากนั้นจะนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ต่อไป

เล็งเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่ เฟส 2 ปีนี้ได้ 4 เส้นทาง

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เฟส 2 นายวรวุฒิกล่าวว่า ในปีนี้คาดว่าจะเปิดประมูลจำนวน 4 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. มูลค่าโครงการ 85,345.00 ล้านบาท ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. มูลค่าโครงการ 67,965.33 ล้านบาท ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 169 กม. มูลค่าโครงการ 26,663.26 ล้านบาท และช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. มูลค่าโครงการ 37,527.10 ล้านบาท

โดยช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่เป็นเส้นทางใหม่นั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแล้ว และ ร.ฟ.ท.ต้องออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน เพื่อเวนคืนพื้นที่ก่อสร้างอีกประมาณ 323 กม. เนื่องจากมีที่ดินเขตทางบริเวณเด่นชัยเท่านั้น คาดว่าจะใช้เวลาในการเวนคืนประมาณ 1 ปี และเปิดประมูลได้ในปลายปี 2562

ส่วนรถไฟทางคู่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) เห็นชอบแล้ว คาดว่าจะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้ ซึ่งจะต้องออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน เช่นกันเนื่องจากเป็นเส้นทางสายใหม่

ส่วนอีก 2 โครงการ ได้แก่ ช่วง ขอนแก่น-หนองคาย และ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เป็นการก่อสร้างทางเพิ่มในแนวเส้นทางเดิม อยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ด สศช.

//----------------------------------------------

รฟท.เลื่อนลงนามไฮสปีด เจรจาซีพีไม่ยอมสะเด็ดน้ำ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
29 มกราคม 2562 07:20 น.


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังเจรจากับกลุ่มซีพี หรือกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี ผู้เสนอราคาต่ำสุดเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

การเจรจาครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากยังมีหลายเรื่องที่ต้องพิจารณา จึงจะมีการเจรจาร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 1 ก.พ.62 นี้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามกำหนดเดิมที่จะต้องลงนามได้ภายใน 31 ม.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าไม่มีปัญหาแน่นอน จะสามารถได้ข้อสรุปภายในกลางเดือน ก.พ.62 และลงนามในสัญญาได้ในเดือน มี.ค.62

“การลงนามตามกรอบเดิมคงไม่ทัน หากการเจรจาครั้งต่อไปได้ข้อสรุป ก็จะเสนอคณะกรรมการอีอีซี และคณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ในเดือน ก.พ. จากนั้นจะลงนามในสัญญาได้ในเดือน มี.ค.62 ตามกรอบที่คณะกรรมการอีอีซีกำหนด แต่หากยังไม่สามารถตกลงได้ก็คงต้องเจรจาไปเรื่อยๆจนกว่าจะตกลงกันได้ และล้มโต๊ะเจรจาในที่สุด”

อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดของการเจรจากันได้ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง เพราะทุกเรื่องจะเกี่ยวโยงกันหมด และยังไม่ได้ข้อสรุป หากพูดเรื่องหนึ่งไปก็จะโยงไปถึงเรื่องอื่นด้วย จึงต้องขอให้ได้ข้อสรุปก่อนจึงจะให้รายละเอียดได้ แต่เบื้องต้นสามารถให้ข้อมูลได้ว่า จากเอกสารข้อเสนอที่กลุ่มซีพีส่งมาประมาณ 200 หน้า ได้มีการพิจารณาหัวข้อที่เป็นเรื่องยากก่อนประมาณ 30-40 หัวข้อ ส่วนความคืบหน้าการประกวดราคาโครงการรถไฟไทย-จีน หรือรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตอน 2 ช่วงกุดจิก-สีคิ้ว ระยะทาง 11 กม. ราคากลาง 3,350 ล้านบาทนั้น อยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติทั่วไป และด้านเทคนิคของบริษัท ซีวิล เอนจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2019 7:59 pm    Post subject: Reply with quote

ที่นี่ไม่มีความลับ : รถไฟความเร็วสูง รฟท.อย่า "ตุกติก" ช่วยซีพี!
29 มกราคม 2562
คอลัมน์ : ที่นี่ไม่มีความลับ
โดย : เอราวัณ
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3440 หน้า 16
ระหว่างวันที่ 31 มกราคม -2 กุมภาพันธ์ 2562



ยื้อมา 4 รอบในการต่อรองกับกลุ่มบริษัทร่วมค้าที่นำโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ของ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ยื่นเสนอราคาเพื่อรับก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2561 และมีการเปิดซองครบทั้ง 4 ซองของเอกชนทุกรายที่ยื่นข้อเสนอ ซึ่งพบว่าราคาของกลุ่ม ซีพี ต่ำสุด จึงเรียกกลุ่ม ซีพี มาเจรจา แต่เจรจาไป 4 รอบ ก็ยังไม่จบ เนื่องจากข้อเสนอประกอบการยื่นที่ “ปิดลับ” (แต่ไม่ลับ) เป็นข้อเสนอที่กรรมการพิจารณาคัดเลือกยากจะทำใจรับได้ เพราะมันออกจะเกินเลย TOR การประมูล ตามที่ประกาศเชิญชวนเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561
มีการเปิดซองการยื่นข้อเสนอครบทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2562 แต่ไม่สามารถประกาศให้กลุ่ม ซีพี ชนะการประกวดราคาได้ เพราะเงื่อนไขที่ส่งมาทั้งเรื่อง การประกันอัตราดอกเบี้ย, การประกันกำไรขั้นต้น และการจ่ายงวดเงินที่รัฐต้องจ่ายให้เอกชนที่ก่อสร้างเสร็จ ไม่ต่างกับที่กำหนดไว้ใน TOR บางข้อเรียกร้องไม่มีอยู่ในเงื่อนไข ทำให้กรรมการคัดเลือก “มึน” ไม่เชื่อลองไปถาม วรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก็น่าจะรู้ดี

เพิ่มเพื่อน


มีเสียงกระซิบบอกว่าที่เลื่อนสรุปกันมาถึง 4 รอบ จากวันที่ 24 ธันวาคม 2561 เป็น 4 มกราคม 2562 และเลื่อนเป็น 18 มกราคม 2562 เลื่ิอนอีกเป็น 28 มกราคม 2562 เจรจากัน 4 หน กับเอกชนรายเดียวแต่ไร้ข้อสรุป จึงมีกรรมการบางคนคิด “ผ่าทางตัน” โยนไปให้คณะกรรมการ EEC ที่มี ลุงตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินเอง กรรมการพิจารณาคัดเลือกจะได้พ้น “ความเสี่ยง” ในเลขหมาย 157 แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิด
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน โดย ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ ตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ว่า ในเมื่อ TOR ก่อนการประกวดราคา เขียนทุกอย่างไว้อย่างชัดเจน ทำไมต้องเจรจากับเอกชนหลายรอบ เป็นเรื่องที่น่าสงสัยถึงความตรงไปตรงมา

ตามวิธีปฏิบัติ หากคนที่ได้รับคัดเลือกให้เจรจารายที่ 1 ผิดเงื่อนไขใน TOR ต้องหยุดเจรจากับรายนั้น แล้วต้องเลื่อนรายถัดไปเข้ามาเจรจา แต่เหตุไฉน ถึงเจรจากับกลุ่มเอกชนรายนี้ถึง 4 รอบ ยังไม่มีข้อยุติ ยังนัดเจรจาอีก จะไม่ให้คนทั่วไปมองว่า ไม่มี “ตุกติก” กันได้อย่างไร

อย่าให้เป็นไปตามข่าวลือตั้งแต่ตอนต้นรัฐบาล คสช. ว่ารถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกมี “ทุนใหญ่” รายหนึ่งของประเทศจองไว้แล้ว แบ่งเค้กกับ “ทุนใหญ่” อีกราย ที่จองสายใต้ (กรุงเทพฯ-หัวหิน) เพราะทุนใหญ่ทั้ง 2 รายกว้านซื้อที่ดินไว้ในครอบครองหลายหมื่นไร่ เพราะหวังว่าจะได้ประโยชน์จาก “ฮุบ” รถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 ราย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2019 11:43 am    Post subject: Reply with quote

Timeline รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3สนามบิน

...ไฮสปีดวุ่น! เจรจา "ซีพี" เหลว


http://inews.bangkokbiznews.com/read/358717
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/01/2019 12:16 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ไฮสปีดวุ่นเจรจา‘ซีพี’เหลว

"ซีพี" ยื้อเจรจา รฟท.ชิงประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เผยนัดถกต่อวันที่ 1 ก.พ.นี้ เล็งรับรอง 11 ข้อเสนอ "วรวุฒิ" ยืนยันไม่หนักใจ เดินหน้ายื้อเจรจาจนกว่าจะได้ข้อสรุป มั่นใจเคาะร่างสัญญากลาง ก.พ.นี้ก่อนชง ครม.เดือน มี.ค.นี้

การประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบมาตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.2561 ใช้เวลากว่า 10 เดือน ยังไม่ได้ผู้ชนะการประมูล และทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเสนอ ครม.ในเดือน ม.ค.2562 ออกไป

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังเจรจาร่วมกับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) วานนี้ (28 ม.ค.) ว่า การเจรจาครั้งนี้ได้ยกเอาประเด็นเรื่องยากมาคุยก่อน เพราะต้องการจบประเด็นเรื่องยาก ก่อนจะเข้าสู่การหารือเรื่องง่ายที่จะใช้ระยะเวลาพิจารณาน้อย แต่ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดของข้อเสนอที่นำมาเจรจากันได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ผูกพัน เกี่ยวโยงกับประเด็นอื่น

"การเจรจาเป็นไปได้ด้วยดี ไม่หนักใจอะไร แต่ก็ยังพบว่ามีเงื่อนไขการเจรจาอีกมาก เพื่อความรอบคอบ และวันนี้ก็ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดไปมากกว่านี้ได้ เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนเจรจา แต่แน่นอนว่าเรื่องที่ต้องมาเจรจากันนั้น เพราะภาครัฐและเอกชนมองคนละมุม ซึ่งเราจะเดินหน้าขั้นตอนเจรจาไปจนกว่าจะล้มโต๊ะ ในที่นี้คือ เจรจาจนกว่าจะสุดทาง ไม่สามารถตกลงกันได้"

เจรจาจนกว่าจะได้ข้อยุติ

สำหรับ การเจรจากับกลุ่มซีพีครั้งนี้ยังมีเงื่อนไขและรายละเอียดที่ต้องให้กลุ่มซีพีทำข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม โดยพิจารณาตามกรอบการเจรจาทั้ง 4 หัวข้อรวมทั้งยังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาอีก 30-40 หัวข้อหลักซึ่งต้องใช้เวลาในการพิจารณาพอสมควร โดยถ้าการเจรจายังไม่ได้ข้อยุติก็จะมีการเจรจาจนกว่าจะได้ข้อยุติจากทั้ง 2 ฝ่าย

นายวรวุฒิ กล่าวว่า เจรจาครั้งแรกนี้ รฟท.ยังไม่ได้ตัดสินใจรับข้อเสนอข้อใดจากกลุ่มซีพี พร้อมทั้งกำหนดนัดวันเจรจาอีกครั้งเพื่อลงรายละเอียดในวันที่ 1 ก.พ.นี้ เวลา 13.00 น. โดยเบื้องต้นประเมินว่าจะสามารถเจรจาร่วมกับซีพีแล้วเสร็จภายในกลางเดือน ก.พ.นี้ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดพิจารณาราว 2 สัปดาห์ ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และ ครม.เห็นชอบ เพื่อลงนามสัญญาร่วมลงทุนภายในเดือน มี.ค.2562

เล็งรับรองข้อเสนอซีพี1กพ.

รายงานข่าวระบุว่า การประชุมในวันที่ 1 ก.พ.นี้ คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูง กำหนดให้กลุ่มซีพี มาชี้แจงเกี่ยวกับข้อเสนอ 11 ประเด็น ที่ยื่นมาในซอง 4 ที่เป็นข้อเสนอพิเศษ ซึ่งการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้พิจารณารับข้อเสนอของกลุ่มซีพี 3 ข้อ เช่น การสร้างศูนย์ความเป็นเลิศระบบราง และไม่รับข้อเสนอ 8 ข้อ โดยข้อเสนอของกลุ่มซีพีที่ไม่ได้รับไว้จะถูกแยกออกมาไว้ในภาคผนวกของร่างสัญญาที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ต้องเจรจากับกลุ่มซีพี

ทั้งนี้ การประชุมในช่วงเช้าวันที่ 1 ก.พ.นี้ อาจจะได้ข้อสรุปว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะรับรองข้อเสนอใดบ้างของกลุ่มซีพี และในช่วงบ่ายของวันเดียวกันจะเชิญกลุ่มซีพีมาเพื่อเจรจาก่อนหาข้อสรุปเพื่อเสนอ กพอ.และ ครม.

ส่วนรายละเอียดที่ต้องเจรจามีส่วนที่ครอบคลุมประเด็นข้อเสนอขยับแนวสถานี เพิ่มสถานี และข้อเสนอการก่อสร้างส่วนต่อขยาย โดยข้อเสนอพัฒนาส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจะต้องนำไประบุไว้ในสัญญา เพราะต้องยอมรับว่าอนาคตโครงการต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่เอกชนจะพัฒนาเส้นทางอย่างไร ก็จำเป็นต้องเสนอมา

ซีพีกังวลความเสี่ยงโครงการ

นอกจากนี้ ที่ผ่านมากลุ่มซีพีได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของโครงการ ซึ่งความเสี่ยงที่กังวลมีทั้งเรื่องปริมาณผู้โดยสาร และปัญหาเหล็กขาดตลาด ซึ่งทำให้กลุ่มซีพีมีความเห็นแตกต่างจากมติ ครม.บางส่วน จึงมีข้อเสนอเพื่อทำให้ความเสี่ยงลดลง แต่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ไม่สามารถตอบรับได้ทันทีจึงต้องเป็นรายละเอียดที่เข้าสู่ขั้นตอนเจรจา

สำหรับ รายละเอียดของเงื่อนไขสัญญาที่อยู่ระหว่างเจรจากับซีพี รฟท.กำหนดออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มอยู่นอกอำนาจของกรรมการ 2.กลุ่มที่ไม่เป็นไปตามเอกสารขอให้เสนอโครงการ (RFP) 3.กลุ่มที่ส่งผลทางลบต่อรัฐและ รฟท. และ 4.กลุ่มที่เจรจาง่าย โดยในกรอบการเจรจาดังกล่าวมีข้อเสนอของซีพีที่เคยเสนอในซอง 4 แต่อยู่นอกเอกสารขอให้เสนอโครงการจึงจะถูกนำมาเจรจา เช่น ข้อเสนอขยับแนวสถานี เพิ่มสถานี และข้อเสนอการก่อสร้างส่วนต่อขยาย

รฟท.เร่งไฮสปีดไทย-จีน

นายวรวุฒิ กล่าวถึงการพัฒนารถไฟทางคู่ปีนี้ว่า รฟท.จะเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่ 4 เส้นทาง ประกอบไปด้วย
1.สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มูลค่า 95,345 ล้านบาท ซึ่ง ครม.อนุมัติแล้ว
2.รถไฟสายใหม่ ช่วงบ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 67,965 ล้านบาท ปัจจุบันสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อนุมัติแล้ว 3.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 26,654 ล้านบาท 4. ช่วงจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,523 ล้านบาท โดยปัจจุบัน รฟท.ได้เสนอโครงการให้ สศช.แล้ว อยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติ

ขณะที่ความคืบหน้าการประกวดราคาโครงการไฮสปีดเทรน ภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-จีน ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ช่วงกุดจิก-สีคิ้ว ระยะทาง 11 กิโลเมตร ขณะอยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติทั่วไปและด้านเทคนิค ของบริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด หากผ่านคุณสมบัติ จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ รฟท.อนุมัติวันที่ 8 ก.พ.นี้ ก่อนลงนามสัญญา

โดยจะวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ราคากลาง 3,350 ล้านบาท มีผู้ซื้อทีโออาร์ทั้งหมด 34 ราย ผู้ยื่นข้อเสนอ 5 ราย ได้แก่ บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง จำกัด กิจการร่วมค้า KTE-C และกิจการร่วมค้า D.T.N.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2019 5:33 pm    Post subject: Reply with quote

คลังยืนยันโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนใช้เงินกู้ในประเทศ80%
วันที่ 31 มกราคม 2562 เวลา 13:32 น.

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะแจงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศ 80% ของวงเงินรวม ขณะที่อีก 20% ใช้เงินกู้ต่างประเทศ.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/02/2019 7:36 am    Post subject: Reply with quote

‘ไฮสปีด’โปรเจคตั้งต้นอีอีซี
กรุงเทพธุรกิจ 1 ก.พ. 62

Click on the image for full size

โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนบริหารโครงการรถไฟ และพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟ และมุ่งให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการเชื่อมระหว่างอีอีซีกับกรุงเทพฯ

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประเมินว่าโครงการนี้จะลดเวลาและต้นทุนการเดินทาง การขนส่ง เมื่อเทียบกับการเดินทางรูปแบบอื่น ช่วยขนถ่ายผู้โดยสารเดินทางระหว่างสนามบินเข้าสู่เขตเมืองและเขตธุรกิจได้สะดวกและรวดเร็ว และส่วนสำคัญจากมูลค่าการลงทุนสูงถึง 2.2 แสนล้านบาท แต่มีการศึกษาว่าโครงการนี้จะช่วยสร้างผลตอบแทนต่อเศรษฐกิจ ตลอดอายุโครงการ 7 แสนล้านบาท

สำหรับการดำเนินโครงการขณะนี้อยู่ระหว่างการประมูล โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่เดือน ก.พ.2561 และคณะกรรมการพิจารณาเอกชนร่วมลงทุนกำลังเจรจาเงื่อนไขสัญญาร่วมกับกลุ่มซีพี หรือกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งเป็นผู้เสนอขอเงินอุดหนุนจากรัฐต่ำสุด โดย รฟท.มีเป้าหมายเจรจาให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อลงนามสัญญาภายในเดือน มี.ค.2562
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2019 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

บีบ”ซีพี”ต่อรองทิ้งทวนไฮสปีด รถไฟเร่งเกมเซ็นสัญญามี.ค.
พร็อพเพอร์ตี้
วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08:11 น.

ยกแรกยังไม่จบ ซี.พี.เจรจารายละเอียดสัญญาร่วมทุนไฮสปีด ขอความร่วมมือห้ามเปิดเผยข้อมูล จนกว่าจะได้ข้อยุติ หวั่นส่งผลต่อภาพลักษณ์ไม่ดีต่อองค์กร เผยกลุ่ม ซี.พี.ยื่นข้อเสนออีกเพียบ คณะกรรมการคัดเลือกนัดถกต่อ ให้สมประโยชน์รัฐ-เอกชน หากไม่ลงตัว เชิญกลุ่มบีทีเอสเจรจาทันที หวังปิดดีลเสนอบอร์ดอีอีซีเคาะ เซ็นสัญญา มี.ค.นี้ บิ๊กบีทีเอสพร้อมคุยทุกประเด็น



ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544 ล้านบาท เชิญกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม ซี.พี.) ผู้เสนอวงเงินให้รัฐอุดหนุนต่ำสุด 117,227 ล้านบาท ร่วมประชุมนัดแรกเพื่อเจรจารายละเอียดเงื่อนไขที่กลุ่ม ซี.พี.เสนอเพิ่มกว่า 200 หน้า 108 ประเด็น หาข้อยุติก่อนยกร่างสัญญา มีนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ร่วมประชุมด้วย โดยใช้เวลาร่วม 6 ชั่วโมง แต่ยังไม่มีข้อสรุป

ซี.พี.ห้ามเผยข้อมูลเจรจา

รายงานข่าวแจ้งว่า บรรยากาศการเจรจาเป็นไปด้วยความตึงเครียด เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกหยิบกรอบการเจรจาที่ยากที่สุดมาเจรจาก่อน โดยเป็นเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ และคณะกรรมการคัดเลือกไม่มีอำนาจพิจารณา เช่น เงื่อนไขด้านการเงินที่จะปิดสุดเสี่ยงของโครงการ การจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ

“การเจรจายังไม่จบ คงต้องเจรจากันอีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งท่าทีของกลุ่ม ซี.พี.ก็ยังไม่ถอย เพียงแต่จะเจรจาอย่างไรให้ข้อเสนอที่ลงตัวกันระหว่างรัฐและเอกชน ทั้งนี้กลุ่ม ซี.พี.ได้ขอความร่วมมือให้คณะกรรมการคัดเลือกอย่าเพิ่งให้ข่าวออกไปก่อนจนกว่าการเจรจาจะได้ข้อยุติ เนื่องจากบางอย่างยังสามารถพลิกแพลงได้อีก หากมีข่าวออกไปโดยที่การเจรจายังไม่ยุติจะทำให้บริษัทได้รับความเสียหายได้”

เงื่อนไขสัญญาละเอียดยิบ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการคัดเลือกได้พิจารณาให้กลุ่ม ซี.พี.ผ่านการพิจารณาซองที่ 4 ข้อเสนออื่น ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพของโครงการไปแล้ว ขณะนี้เข้าสู่การเจรจารายละเอียดข้อเสนอต่าง ๆ ก่อนจะมีการลงนามสัญญา จะเป็นเงื่อนไขทุกอย่างที่บรรจุในสัญญาร่วมทุนที่ต้องบังคับใช้ตลอดอายุสัมปทาน 50 ปี ไม่ใช่แค่รถไฟความเร็วสูง ยังมีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่เอกชนผู้ชนะจะต้องบริหารการเดินรถและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่สถานีมักกะสัน 150 ไร่ กับสถานีศรีราชา 25 ไร่อีกด้วย

รายละเอียดของสัญญามีตั้งแต่คำจำกัดความ วันเริ่มต้นสัญญา เหตุบอกเลิกสัญญา ส่วนแบ่งรายได้ ค่าปรับ ค่าชดเชย คาดว่าจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) คณะรัฐมนตรี (ครม.) และเซ็นสัญญาก่อสร้างภายในเดือน มี.ค.นี้ ตามที่บอร์ดอีอีซีตั้งเป้าไว้

“เป็นการเจรจาครั้งแรก นำข้อเสนอที่ ซี.พี.ส่งเพิ่มเติมเมื่อ 9 ม.ค. เป็นเอกสาร 200 หน้า 108 ประเด็น มาเป็นประเด็นการเจรจาหลัก มีประมาณ 30-40 ข้อ เจรจาเรื่องยาก ๆ ก่อน แต่เปิดเผยกรอบการเจรจาและรายละเอียดที่ไม่ได้ เพราะมีข้อห้าม ซึ่งผมก็ถูกผู้ใหญ่ดุเรื่องการให้ข้อมูลด้วย เพราะอาจจะมีผลกับการเจรจาต่อรองกันได้ บอกได้แค่ว่า การเจรจาเป็นไปด้วยดี เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในด้านแนวคิด ทาง ซี.พี.อธิบายรายละเอียด ข้อเสนอต่าง ๆ ที่เขาคิดว่าสมเหตุสมผลในการเป็นผู้ร่วมลงทุน ยังไม่มีการตัดสินใจใด ๆ”

เจรจาจบกลาง ก.พ.นี้

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า ช่วงเช้าวันที่ 1 ก.พ.นี้คณะกรรมการคัดเลือกจะประชุมเป็นการภายใน จากนั้นช่วงบ่ายจะเชิญกลุ่ม ซี.พี.เจรจากันต่อเป็นครั้งที่ 2 จะได้ผลสรุปหรือไม่ยังตอบไม่ได้ ต้องรอให้เคลียร์ทุกอย่างก่อน ยังมีเงื่อนไขอีกมาก เนื่องจากเป็นข้อเสนอและความเห็นของเอกชน ที่พันไปกันหมดทุกข้อรวมถึงภาคผนวกด้วย ต้องใช้เวลาคุยกันให้รอบคอบ แต่คาดว่าคงไม่หลายครั้งเหมือนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน คาดว่าการเจรจาน่าจะได้ข้อสรุปก่อนหรือกลางเดือน ก.พ.นี้ จากนั้นจะส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนจะ

รายงานผลการเจรจาให้บอร์ดอีอีซีรับทราบถึงภาพรวมการเจรจาทั้งหมด รวมถึง 11 ข้อเสนอพิเศษในซองที่ 4 ที่กลุ่ม ซี.พี.เสนอ ซึ่งใน 11 ข้อ ทางคณะกรรมการคัดเลือกรับไว้พิจารณา 3 ข้อ เช่น การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านระบบราง

“ส่วนตัวไม่หนักใจอะไรกับโครงการนี้ เพราะมีคณะกรรมการที่เข้าใจกันดี เป็นเรื่องธรรมดาของการเจรจาร่วมทุนที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่รัฐและเอกชนจะมีมุมมองต่างกัน ก็ต้องเจรจากันให้สุดทาง จนคุยกันไม่สำเร็จ ภาครัฐก็ต้องรักษาผลประโยชน์ พิจารณาให้รอบคอบ อาจจะต้องใช้เวลานานอยู่แล้ว ส่วนเอกชนก็ต้องสู้เพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดของธุรกิจ ทั้งนี้หากถึงที่สุดแล้วไม่สามารถเจรจากับกลุ่ม ซี.พี.ได้ จะเชิญกลุ่มบีทีเอสผู้เสนอวงเงินขอให้รัฐสนับสนุน 169,934 ล้านบาทมาเจรจาต่อไป”

รอลุ้นรายงานอีไอเอ

สำหรับความคืบหน้าการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) นายวรวุฒิกล่าวว่า ภายในเดือน ก.พ.นี้จะส่งรายงานอีไอเอให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับ 11 ข้อเสนอพิเศษที่กลุ่ม ซี.พี.เสนอให้รัฐ มี 3 ข้อที่คณะกรรมการคัดเลือกรับพิจารณา คือ การสร้างศูนย์ความเป็นเลิศ โรงงานประกอบรถไฟฟ้า และพัฒนาโครงการร่วมกับชุมชน อีก 8 ข้อเสนอ มีไม่รับพิจารณา ได้แก่ การันตีผลตอบแทนโครงการ 6.75% ต่อปี ขอรัฐจ่ายค่าอุดหนุนปีแรก ขอรัฐสนับสนุนแหล่งเงินที่เหมาะสม ปรับบางช่วงสร้างเป็นทางระดับดิน ส่วนการขยายเส้นทางอู่ตะเภา-ระยอง สร้างเส้นทางย่อยเชื่อมสถานี ย้ายตำแหน่งสถานี ลดสัดส่วนการถือหุ้น จะเป็นข้อเสนอที่นำมาพิจารณาภายหลังได้โดยใส่ไว้ในแนบท้ายสัญญา เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกมองว่าเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้อยู่ในขั้นเจรจา และเอกชนมีสิทธิ์ที่จะเสนอได้ในฐานะผู้ร่วมลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการ เช่น การย้ายตำแหน่งสถานีในทีโออาร์ก็เปิดทางให้เอกชนเสนอได้

BTS พร้อมเจรจาทุกประเด็น

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า กลุ่มบีเอสอาร์เสนอราคาประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินสูงกว่ากลุ่ม ซี.พี. ขอยืนยันว่าเป็นราคาที่ดำเนินการได้และมาจากการคำนวณบนพื้นฐานข้อเท็จจริงตามที่ทีโออาร์กำหนด ทั้งนี้ด้วยเป็นโครงการขนาดใหญ่จึงทำให้ต้นทุนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูง ซึ่งกลุ่มบีทีเอสอาจจะเสียเปรียบกลุ่ม ซี.พี.ในด้านนี้

“ยินดีกับกลุ่ม ซี.พี.ด้วยที่ชนะประมูล เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ มีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ โครงการจะได้เริ่มต้นเสียที แต่ถ้าสุดท้ายแล้ว การเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ กลุ่มบีทีเอสก็พร้อมเจรจา เพราะเป็นอาชีพของเราอยู่แล้ว แม้ว่าโครงการนี้จะทำไม่ง่ายก็ตาม”
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 303, 304, 305 ... 547, 548, 549  Next
Page 304 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©