Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181401
ทั้งหมด:13492639
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 332, 333, 334 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2019 2:47 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (10)
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ตีพิมพ์ในฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3501 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 1-4 กันยายน พ.ศ. 2562



สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล(11)
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562
ตีพิมพ์ในฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3502 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน พ.ศ. 2562


โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทย ที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด บัดนี้เป็นเวลากว่า 8 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐบาล” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน
อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไมยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้
สัญญาติดขัดตรงไหน ตอนที่แล้วเป็นสัญญาว่าด้วยเรื่องมาตรการทางการเงิน ตอนนี้ผมพามาติดตามร่างสัญญาตอนที่ 11 ซึ่งว่าด้วย มาตรการสนับสนุนโครงการฯที่ไม่ใช่ทางการเงิน ซึ่งในข้อ 8.3(3) ระบุเช่นนี้
(3) มาตรการสนับสนุนโครงการฯ ไม่ใช่ทางการเงิน รฟท. จะประสานงานกับหน่วยงานของรัฐเพื่อให้เอกชนคู่สัญญาได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายอื่นๆ
กรณีเอกชนคู่สัญญาร้อง รฟท. จะประสานงานกับหน่วยงานของรัฐรวมถึงสำนักงานเพื่อให้เอกชนคู่สัญญาได้รับสิทธิและประโยชน์ตาม พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สำหรับพื้นที่ของโครงการฯ ที่อยู่ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสัญญาเช่าและการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ รฟท. ตามสัญญาร่วมลงทุน
ในการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินการให้อยู่ภายใต้กฎหมายไทย รวมทั้งเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนด และเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน โดยเอกชนคู่สัญญามีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดเก็บและได้รับรายได้ ดังต่อไปนี้
(ก) รายได้จากการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
(ข) เอกชนคู่สัญญามีสิทธิได้รับรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการพัฒนาและประกอบกิจการในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1 โดยเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่า ให้แก่ รฟท. ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8.1 และ
(ค) รายได้จากการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ เอกชนคู่สัญญามีสิทธิได้รับรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ภายในขอบเขตตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4.1 (5)

9. ค่าโดยสาร
9.1 ตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1 (2)งานในระยะที่ 2 ของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(1)(ข) และงานในระยะที่ 2 ในส่วนแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(2)(ข) คู่สัญญาตกลงว่า รฟท.จะประกาศกำหนดอัตราค่าโดยสาร ซึ่งกำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 3 (อัตราค่าโดยสาร) และเอกชนคู่สัญญามีสิทธิเก็บค่าโดยสารตามอัตราค่าโดยสาร ซึ่งกำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 3 (อัตราค่าโดยสาร)
9.2 เอกชนคู่สัญญาตกลงว่าจะไม่เรียกเก็บค่าโดยสารในส่วนของค่าแรกเข้าระบบหากผู้ใช้บริการเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟสายอื่นที่ใช้ระบบรถไฟเดียวกันกับระบบรถไฟประเภทรถไฟความเร็วสูง หรือแอร์พอร์ต เรลลิงค์หรือแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย แล้วแต่กรณี โดยระบบที่ผู้ใช้บริการขึ้นก่อนเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้าตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงคมนาคม
9.3 กรณีที่รัฐบาลหรือ รฟท. มีความประสงค์จะลดหรือยกเว้นค่าโดยสาร (นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ 9.1) ในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งของระยะเวลาของโครงการฯ เมื่อ รฟท. แจ้งความประสงค์มายังเอกชนคู่สัญญา คู่สัญญาจะมาตกลงกันเกี่ยวกับแนวทางการลดหรือยกเว้นค่าโดยสารเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล หรือ รฟท. นั้น รวมถึงแนวทางการเยียวยาผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของเอกชนคู่สัญญาที่เกิดขึ้นจากการลดหรือยกเว้นค่าโดยสารดังกล่าว
9.4 ในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาประสงค์ที่จะเรียกเก็บค่าโดยสารในอัตราพิเศษที่สูงกว่าอัตราค่าโดยสารปกติตามที่กำหนดไว้ในข้อ 9.1 สำหรับที่นั่งผู้โดยสารชั้นหนึ่ง (First Class) และ/หรือผู้โดยสารชั้นธุรกิจ (Business Class) เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการได้โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัดส่วนของจำนวนที่นั่งทั้งหมดของผู้โดยสารชั้นหนึ่งและ/หรือผู้โดยสารชั้นธุรกิจรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินกว่าร้อยละยี่สิบหก (26) ของจำนวนที่นั่งของผู้โดยสารทั้งหมดในแต่ละขบวนรถไฟที่วิ่งให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในแต่ละรอบ
10. หลักประกันสัญญาและหนังสือรับประกัน
10.1 หลักประกันสัญญา เอกชนคู่สัญญาตกลงจัดหาหลักประกันสัญญาซึ่งออกโดยธนาคารที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในประกาศสำนักงานและเอกสารการคัดเลือกเอกชนของโครงการฯ ให้แก่ รฟท. โดยในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาได้ส่งมอบหลักประกันสัญญาให้กับ รฟท.เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าสองพันล้าน (2,000,000,000) บาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา

โดยหลักประกันดังกล่าวต้องมีผลบังคับได้ตลอดเวลาตั้งแต่วันที่ส่งมอบหลักประกันสัญญาจนถึงวันที่ รฟท. ออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (“ระยะเวลาที่หนึ่ง”) และในวันที่ รฟท.ออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน ให้หลักประกันสัญญามีจำนวนไม่น้อยกว่าสี่พันห้าร้อยล้าน (4,500,000,000) บาท (“ระยะเวลาที่สอง”) และในวันที่ รฟท. ออกหนังสือแจ้งรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ ให้หลักประกันสัญญา ลดลงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในระยะเวลาห้า (5) ปี นับจากวันที่ รฟท. ออกหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ (“ระยะเวลาที่สาม”) ให้หลักประกันสัญญามีมูลค่าไม่น้อยกว่าสี่พันล้าน (4,000,000,000) บาท
(2) ในระยะเวลาห้า (5) ปี นับจากวันสิ้นสุดของระยะเวลาที่สาม (“ระยะเวลาที่สี่”) ให้หลักประกันสัญญามีมูลค่าไม่น้อยกว่าสามพันห้าร้อยล้าน (3,500,000,000)
(3) ในระยะเวลาห้า (5) ปี นับจากวันสิ้นสุดของระยะเวลาที่สี่จนถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ (“ระยะเวลาที่ห้า”) ให้หลักประกันสัญญามีมูลค่าไม่น้อยกว่าสามพันล้าน (3,000,000,000) บาท
ณ วันสิ้นสุดระยะเวลาในแต่ละช่วงดังกล่าวข้างต้น (ยกเว้นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่ห้า) เอกชนคู่สัญญาจะนำหลักประกันสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งออกโดยธนาคารที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ใน ประกาศสำนักงานและเอกสารการคัดเลือกเอกชนของโครงการฯ ให้แก่ รฟท. เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา และ รฟท. จะคืนหลักประกันสัญญาที่เอกชนคู่สัญญาได้ส่งมอบให้แก่ รฟท. ในแต่ละระยะเวลาก่อนหน้านั้นให้แก่เอกชนคู่สัญญา และ รฟท. จะคืนหลักประกันสัญญาเมื่อเอกชนคู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาร่วมลงทุน โดยหลักประกันสัญญาตามข้อนี้มีรูปแบบและเนื้อหาเป็นไปตามเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 8 (หลักประกันสัญญาและหนังสือรับประกัน) ภาคผนวกหมายเลข 1 (หลักประกันสัญญา)
ในกรณีที่ รฟท. ใช้สิทธิบังคับชำระเอาจากหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1 เอกชนคู่สัญญาจะต้องนำหลักประกันสัญญามาวางเพิ่มเติมให้แก่ รฟท. หรือดำเนินการให้จำนวนเงินประกันตามหลักประกันสัญญาดังกล่าว กลับเป็นเท่าเดิมเต็มตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อนี้ ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาสมควรนับตั้งแต่วันที่มีการใช้สิทธิเรียกร้องโดย รฟท.
ตอนหน้ามาดูหนังสือรับประกันนะครับ อย่าเพิ่งเบื่อนะครับพี่น้อง มหากาพย์สัญญารถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ยังมีอีกยาว!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2019 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

ชงบอร์รถไฟเห็นชอบ"ยูนิค" ชนะประมูลไฮสปีดไทย-จีน(สัญญา4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง31.60กม.) 9.429 พันล้าน(ต่ำกว่าราคากลาง16.1%) ในวันพรุ่งนี้ (6 ก.ย.62 เวลา 09.00 น.)

https://www.thebangkokinsight.com/203267/



“รถไฟไทย-จีน” …สปีดไม่ทันใจ ประมูลสุดอืด-รื้อ EIA ใหม่
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2562 เวลา 18:00 น.


กลายเป็นโปรเจ็กต์ที่มีสไตล์การก่อสร้างแบบ “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” สำหรับรถไฟไทย-จีนหรือรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท มี “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการนับจากปี 2557 จาก “รัฐบาลประยุทธ์ 1” มาสู่ “รัฐบาลประยุทธ์ 2” มี “เสี่ยโอ๋-ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เจ้ากระทรวงคนใหม่ พรรคภูมิใจไทยรับไม้ต่อ

ฉุดเบิกจ่าย 1.8 หมื่นล้าน

ผลจากความล่าช้า ยังกระทบชิ่งการเบิกจ่ายงบฯลงทุนของ ร.ฟ.ท.หลุดเป้าจากในแผนลงทุนทั้งปี 2562 ของ ร.ฟ.ท.อยู่ที่ 76,183.96 ล้านบาท ณ วันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมาสามารถเบิกจ่ายได้ 26,976.26 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีจะเบิกจ่ายได้ถึงครึ่งทาง อยู่ที่ประมาณ 45%

ในไส้ในมีรถไฟไทย-จีนเป็นโครงการใหญ่แห่งปี มีเงินลงทุนทั้งปี 20,081 ล้านบาท แต่ทำผลงานเบิกจ่ายได้แค่ 1,029 ล้านบาท ยังตกค้างอยู่ 18,168 ล้านบาท สาเหตุมาจาก ร.ฟ.ท.ยังประมูลก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ

ความคืบหน้าล่าสุด แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.วันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา เห็นชอบผลการประมูลรถไฟไทย-จีน จำนวน 2 สัญญา วงเงินรวม 20,151 ล้านบาท

รับเหมาจีน-ไทยแข่งหั่นราคา

ได้แก่ สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. ราคากลาง 10,917 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ซิโนไฮโดร จำกัด บริษัท สหการวิศวกร จำกัด และบริษัท ทิพากร จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 8,626 ล้านบาท

และสัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. ราคากลาง 13,293 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 11,525 ล้านบาท คาดว่าจะเซ็นสัญญาในเดือน ก.ย.นี้”

ขณะเดียวกันกำลังตรวจสอบผลการเสนอราคาอีก 3 สัญญา รวม 99.26 กม. วงเงิน 33,958 ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญาช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บ้านม้า 30.21 กม. เป็นงานระดับดิน 10.18 กม. และยกระดับ 20.03 กม. วงเงิน 11,064 ล้านบาท มี บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เสนอราคาต่ำสุด 9,330 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 15.7% หรือ 1,736 ล้านบาท

สัญญาช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด 37.45 กม. เป็นงานระดับดิน 14.12 กม. และยกระดับ 23.33 กม. วงเงิน 11,656 ล้านบาท มี บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) เสนอราคาต่ำสุด 9,788 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16% หรือ 1,864 ล้านบาท

และสัญญาช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.60 กม. เป็นงานระดับดิน 7.02 กม. และยกระดับ 24.58 กม. วงเงิน 11,240 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคาต่ำสุด 9,429 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16.1% หรือ 1,809 ล้านบาท โดยทั้ง 3 สัญญาผู้รับเหมายื่นต่ำกว่าราคากลาง คิดเป็นวงเงินรวม 9,468 ล้านบาท

เหลือ 3 สัญญา 2 หมื่นล้าน

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา เปิดยื่นเสนอราคา จำนวน 4 สัญญา วงเงินรวม 38,461 ล้านบาท แยกเป็นสัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) มีผู้ยื่นเอกสาร 3 ราย มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 4,279.328 ล้านบาท ต่ำจากราคากลาง 5,359.162 ล้านบาท ประมาณ 25.23% หรือ 1,079.83 ล้านบาท

สัญญาที่ 3-3 งานโยธา ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง มีผู้ยื่นเอกสาร 8 ราย โดยบริษัท กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 9,838 ล้านบาท ต่ำกว่าจากราคากลาง 12,043.417 ล้านบาท อยู่ที่ 22.42%หรือ 2,205.41 ล้านบาท

สัญญาที่ 3-5 งานโยธา ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา มีผู้ยื่นเอกสาร 5 ราย มีบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 7,750 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 9,257.373 ล้านบาท อยู่ที่ 19.45% หรือ 1,507.373 ล้านบาทและสัญญา 4-5 งานโยธาช่วงบ้านโพ-พระแก้ว มีผู้ยื่นเอกสาร 7 ราย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 9,913 ล้านบาท ต่ำจากราคากลาง 11,801.216 ล้านบาท อยู่ที่ 19.05% หรือ 1,888.216 ล้านบาท โดยผลประมูลภาพรวมทำให้ ร.ฟ.ท.ประหยัดค่าก่อสร้างไปได้รวม 6,680 ล้านบาท

ยังเหลือสัญญางานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,093.037 ล้านบาท และช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ระยะทางกว่า 10 กม.ที่ยังไม่ออกประกาศทีโออาร์ ส่วนอีก 1 สัญญาที่ออกประกาศใหม่จะเคาะราคาภายในกลางเดือน ก.ย.นี้ คือ สัญญาช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 10,421.014 ล้านบาท โดยทั้งหมด ร.ฟ.ท.จะให้ได้ผู้รับเหมาภายในสิ้นปีนี้

ถกจีนเร่งสัญญางานระบบ

ขณะที่สัญญา 2.3 งานระบบราง ไฟฟ้าและครื่องกล จัดหาขบวนรถไฟฟ้า วงเงิน 50,633 ล้านบาท รอเจรจาจีนให้ยุติเพื่อระบุลงในสัญญาจะเสนอ ครม.เซ็นสัญญาต่อไป

“ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รถไฟไทย-จีนยังติดการเจรจากับจีนในสัญญาที่ 2.3 เป็นงานระบบ วงเงิน 50,633 ล้านบาท ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ จึงทำให้ไม่สามารถเสนอให้ ครม.พิจารณาเพื่อเซ็นสัญญาร่วมกันได้ ทั้งนี้ตนและนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลงานกระทรวงคมนาคม จะนำรายละเอียดที่ไม่มีข้อสรุปร่วมกันไปหารือกับทูตจีนประจำประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีนต่อไป จะเร่งให้มีการเซ็นสัญญาภายในเดือน พ.ย.นี้

“มั่นใจว่าการเจรจาจะมีข้อยุติร่วมกัน เพราะทั้งฝ่ายไทยและจีน ต้องการให้โครงการเกิดและเดินหน้า เร่งให้รถไฟรวบรวมรายละเอียด รวมถึงร่างสัญญาที่อัยการสูงสุดมีความเห็นเพิ่มเติม ติดแค่เรื่องถ้อยคำในร่างสัญญาที่จีนอาจรู้สึกว่าเป็นการผูกมัด ส่วนการประมูลให้รถไฟเร่งงานที่เหลือให้เสร็จ ก.ย.-ธ.ค.นี้”

เวนคืนที่ดินไม่ได้ติด EIA

ระหว่างที่ ร.ฟ.ท.กำลังเร่งการประมูลให้จบ ยังมีเรื่องของ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินที่จะต้องเวนคืนที่ดิน 2,800 ไร่ วงเงิน 13,000 ล้านบาท จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถคลอดออกมาได้ ติดการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติมช่วงลำตะคอง หลังมีปรับแบบก่อสร้างจากระดับเป็นอุโมงค์แทน เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1A จะกระทบต่อแผนการก่อสร้างไม่มากก็น้อย

ถึงขณะนี้ทั้งโครงการสร้างได้ 3.5 กม. ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก กำลังเดินหน้าอีก 11 กม. ส่วนที่เหลือรอผล EIA ที่ทำเพิ่ม และเวนคืนที่ดิน ยังไม่รู้จะคิกออฟได้ในปี 2563 หรือไม่ ในเมื่ออุปสรรคปัญหามีมากกว่าที่คิด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2019 5:45 pm    Post subject: Reply with quote

งานใหญ่อืด!”ไฮสปีดไทย-จีน-สายสีแดง-ด่วนพระราม3” ฉุดเบิกจ่ายงบลงทุนปี62 ต่ำเป้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2562 เวลา 17:14


“ปลัดคมนาคม”จี้รฟท.เร่งตรวจรับงานก่อสร้างรถไฟสีแดง และรถไฟไทย-จีน สัญญา2.3 เผยงานอืด ฉุดเบิกจ่ายงบลงทุน ปี 62 หลุดเป้า ส่วนทางด่วน”พระราม 3-ดาวคะนอง”ติดปมร้องเรียน เซ็นสัญญาไม่ได้ เร่งปรับแผนปี 63 ตั้งงบต้องทำได้จริง

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการเร่งรัดติดตามการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณของกระทรวงคมนาคม ครั้งที่ 4/2562 (งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ) ว่า ปี 2562 กรอบวงเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจ 13 แห่ง มีแผนการลงทุนรวม 141,005.87 ล้านบาท ซึ่งการเบิกจ่าย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2562 จำนวน 73,773 ล้านบาท คิดเป็น 52.32% และจะมีการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนกันยายน 2562 จำนวน 11,664 ล้านบาท คาดว่าจะมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุน ประจำปี 2562 (เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) จำนวนเงิน 85,437 ล้านบาท คิดเป็น 60.59% ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้กว่า 70%

ทั้งนี้ หน่วยงานที่ยังมีการเบิกจ่ายล่าช้า ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ยังไม่สามารถลงนามในสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือ ไทย-จีน ซึ่งตั้งกรอบวงเงินในปี 2562 กว่า 10,000 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ –ดอนเมือง ซึ่งได้เร่ง รฟท.ตรวจรับงานเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ อีกประมาณ 400 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมี โครงการทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ระยะทาง 18.7 กม. งานโยธา จำนวน 4 สัญญา วงเงินรวม 29,154.230 ล้านบาท ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่ยังไม่ได้ลงนามสัญญา เนื่องจากยังมีปัญหาผู้รับเหมาร้องเรียน โดยตั้งวงเงินในปี 2562 ไว้ประมาณ 3,000 ล้านบาท และโครงการจัดซื้ออะไหล่เครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อีกประมาณ 800 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการบินไทยคาดว่าจะเร่งดำเนินการและเบิกจ่ายงบได้ทันปี 2562 ขณะที่รฟท.จะต้องเร่งตรวจรับงานก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ส่วน สัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีน และทางด่วนพระราม3- ดาวคะนอง-วงแหวนฯนั้น คาดว่าจะไม่ทัน และต้องปรับแผนงานไปดำเนินการในงบปี 2563

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ได้ให้การบ้านหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทั้ง13 แห่ง ให้ทบทวนกรอบงบในปี 2563 เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตั้งงบไว้แล้วไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะกระทบทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณต่ำกว่าเป้าหมาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2019 12:15 pm    Post subject: Reply with quote

ระทึก! 11 ก.ย.นี้ชี้ชะตาซีพี เดินหน้าลุยหรือทิ้งไฮสปีด
09 กันยายน 2562

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ออกมาย้ำมาโดยตลอดว่าพร้อมส่งมอบพื้นที่ 80% หรือกว่า 3,000 ไร่ ให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งจำกัด (ซีพี) และพันธมิตร CPH ท่ามกลางความนิ่งเฉยของอีกฝั่ง

ล่าสุด วันที่ 9กันยายน 2562 นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่าการรฟท. กล่าวว่า ได้ มีหนังสือเชิญซีพีเข้ามาทำความเข้าใจว่า “ จะเอาอย่างไร” จะเซ็นสัญญาไฮสปีดเทรน เชื่อม3สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ –อู่ตะเภา ) มูลค่า 2.2แสนล้านบาทหรือไม่เพราะเจรจาทุกอย่างจบทั้งหมดแล้ว


แต่กลุ่มซีพีตอบว่า เจรจาจบเพียงเบื้องต้น แต่รายละเอียดการส่งมอบพื้นที่ยังไม่ชัด ในที่สุดทั้งรฟท.กับซีพีก็ตกลงกันได้โดยวันที่ 11 กันยายนนี้ จะนำ ผลการเจรจา แผนส่งมอบพื้นที่เข้าสู่ คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟ(ความเร็วสูง) เชื่อม 3 สนามบินพิจารณาอีกครั้ง หากไม่ติดปัญหาก็กำหนดวันเซ็นสัญญาได้ภายในกันยายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2019 3:20 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล(12)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 8 กันยายน 2562
ตีพืมพ์ใน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3503 หน้า 6
ระหว่างวันที่ 8-11 กันยายน 2562

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด บัดนี้เป็นเวลากว่า 7-8 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน
อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไมยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้
สัญญาที่ ติดขัดตรงไหน ตอนที่แล้วเป็นสัญญาว่าด้วยเรื่องมาตรการทางการเงิน ตอนนี้ผมพามาติดตามร่างสัญญาตอนที่ 11 ซึ่งว่าด้วยข้อ 10.2 เรื่อง หนังสือรับประกัน สัญญาระบุดังนี้...
(1) ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาต้องส่งมอบหนังสือรับประกันทุกฉบับให้แก่
รฟท. เพื่อรับประกันชดใช้ค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน โดยหนังสือรับประกันแต่ละฉบับจะระบุว่าผู้ยื่นข้อเสนอและ/ หรือผู้ถือหุ้นในเอกชนคู่สัญญาที่ออกหนังสือรับประกัน ต้องร่วมกันรับผิดกับผู้ออกหนังสือประกันรายอื่นอย่างลูกหนี้ร่วม แต่ผู้ยื่นข้อเสนอและ/หรือผู้ถือหุ้นนั้นแต่ละรายจะรับผิดไม่เกินกว่าสัดส่วนการลงทุนของตนในโครงการฯ และจำนวนเงินสูงสุดที่รับประกันตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับประกันของตน
ทั้งนี้ เมื่อรวมจำนวนเงินสูงสุดที่รับประกันตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับประกันทุกฉบับแล้ว จะต้องมีมูลค่าเท่ากับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ และในกรณีที่จำนวนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงสำหรับงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟน้อยกว่าจำนวนเงินที่ระบุไว้ในข้อ 8.3(2)(ก) จำนวนเงินที่รับประกันจะลดลงเป็นจำนวนเท่ากับเงินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ณ วันที่ รฟท. ออกหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ ตามที่ได้คำนวณในข้อ 8.3 (2)(ข) โดย รฟท. จะส่งมอบหนังสือรับประกันแต่ละฉบับคืนแก่ผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายและ/หรือผู้ถือหุ้นแต่ละรายของเอกชนคู่สัญญา
เมื่อผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายและ/หรือผู้ถือหุ้นแต่ละรายของเอกชนคู่สัญญา ส่งมอบหนังสือรับประกันของตนฉบับใหม่ที่มีจำนวนเงินรับประกันที่ลดลงดังกล่าวให้แก่ รฟท. โดยหนังสือรับประกันตามข้อนี้มีรูปแบบและเนื้อหาเป็นไปตามเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 8 (หลักประกันสัญญาและหนังสือรับประกัน) ภาคผนวกหมายเลข 2 (หนังสือรับประกัน)

หนังสือรับประกันจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่สัญญาร่วมลงทุนมีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญาปฏิบัติหน้าที่ทั้งหมดในสัญญาร่วมลงทุนแล้วเสร็จและหลุดพ้นจากภาระหน้าที่ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เว้นแต่เกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) ให้ถือว่าหนังสือรับประกันมีผลสิ้นสุดลงในทันทีที่กรณีดังกล่าวเกิดขึ้น
(ก) กรณีเอกชนคู่สัญญาระดมทุนในตลาดทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงการนำหุ้นของเอกชนคู่สัญญาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ หรือการระดมทุนฝ่ายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure Fund) แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการระดมทุนผ่านทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust : REIT) หรือ
(ข) กรณีผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดในเอกชนคู่สัญญาลดสัดส่วนการถือหุ้นทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมถือหุ้นรวมกันทั้งหมดในเอกชนคู่สัญญาน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด (51) ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของเอกชนคู่สัญญา
(2)ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นหรือสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นในเอกชนคู่สัญญาตามข้อ 11(1) ในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(2) หากจะมีการเปลี่ยนแปลงหนังสือรับประกันที่เอกชนคู่สัญญาได้ส่งมอบให้แก่ รฟท. ตามข้อ 10.2 (1) เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นหรือสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว คู่สัญญาตกลงให้เอกชนคู่สัญญามีสิทธิเปลี่ยนหนังสือรับประกันตามข้อ 10.2 ได้โดยอยู่บนเงื่อนไขที่ รฟท. เห็นว่าภายหลังการเปลี่ยนหนังสือรับประกันตามข้อ 10.2 นั้นเมื่อรวมมูลค่าการรับประกันทั้งหมดในหนังสือรับประกันตามข้อ 10.2 ทุกฉบับแล้ว จะต้องมีมูลค่าการรับประกันไม่น้อยกว่าเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ
10.3 หากเอกชนคู่สัญญาไม่ปฏิบัติหน้าที่ใดตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน รฟท. มีสิทธิเรียกให้เอกชนคู่สัญญาชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับ รฟท. รวมถึงค่าใช้จ่าย ค่าปรับ และดอกเบี้ย (ถ้ามี) ตามจำนวนและอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุน โดยหากเอกชนคู่สัญญาไม่ชำระภายในระยะเวลาที่ รฟท. กำหนด รฟท. มีสิทธิบังคับชำระจากหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1 และหากไม่สามารถชำระได้เพียงพอ รฟท. สามารถใช้สิทธิบังคับชำระจากหนังสือรับประกันตามข้อ 10.2 และ/หรือใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชนคู่สัญญาในความเสียหายที่เกิดขึ้น
11. โครงสร้างผู้ถือหุ้น กรรมการ ผู้บริหารของเอกชนคู่สัญญา
(1) ตลอดระยะเวลาของสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาตกลงดังต่อไปนี้
(ก) เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก รฟท. เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการลดทุน หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของทุนของเอกชนคู่สัญญาซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาตามสัญญาร่วมลงทุนไม่ได้

(ข) เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก รฟท. หรือเป็นกรณีการระดมทุนในตลาดทุนตามข้อ 24.1(8) เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเอกชนคู่สัญญาหรือลดสัดส่วนการถือหุ้น (ไม่ว่าจะเป็นการลดครั้งเดียวหรือหลายครั้ง) ซึ่งทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเอกชนคู่สัญญาลดลงไม่ได้ ทั้งนี้ในกรณีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ลดสัดส่วนการถือหุ้นของตนลง รฟท. จะพิจารณาอนุมัติการลดสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ดังกล่าว หากปรากฏว่าการเข้ามาถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายใหม่ไม่ทำให้มีผลกระทบต่อคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอตามที่ปรากฏในเอกสารการคัดเลือกเอกชน (ยกเว้นคุณสมบัติด้านเทคนิค) ทั้งนี้ ภายในหกสิบ (60) วัน นับจากวันที่เอกชนคู่สัญญาขออนุมัติและ รฟท. ได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าวครบถ้วน
ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใดๆ เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นหรือสัดส่วนการถือหุ้นแล้วทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดของเอกชนคู่สัญญาถือหุ้นรวมกันแล้วน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด (51) ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของเอกชนคู่สัญญาในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.1(1) ไม่ได้
(ค) เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก รฟท. หรือกรณีการระดมทุนในตลาดทุนตามข้อ 24.1 (8) เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น กรรมการ และผู้บริหารของเอกชนคู่สัญญา ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาภายใต้สัญญาร่วมลงทุนและสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนไม่ได้ และ
(ง) เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก รฟท. เอกชนคู่สัญญาจะต้องมีนิติบุคคลไทยอย่างน้อยหนึ่ง (1) ราย เป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้า (25) ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของเอกชนคู่สัญญา
(2) กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังต่อไปนี้ เอกชนคู่สัญญาจะใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยหากไม่สามารถดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาจะต้องรายงานให้แก่ รฟท. ทราบภายในสามสิบ(30) วัน หลังจากที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
(ก) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการของเอกชนคู่สัญญาหรือ
(ข) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Offcer) และ/หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน (Chief Finance Offcer) และ/หรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน โดยในวันที่ลงนามในสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาจะส่งรายชื่อบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ 11 (2) ให้แก่ รฟท.
นี่คือสัญญาว่าด้วยเรื่องของหนังสือรับประกันที่จะการันตีการทำงานและความเสี่ยงในอนาคต!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2019 3:30 pm    Post subject: Reply with quote


ภาพล่าสุด สีคิ้ว - กุดจิก 11 กิโลเมตร
https://www.youtube.com/watch?v=SjTfFrTZEAs
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2019 4:57 pm    Post subject: Reply with quote

จับตาพรุ่งนี้ ประชุมร่วมทุนไฮสปีดนัดสุดท้าย ก่อนกำหนดลงนามสัญญา
10 กันยายน 2562

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (11 ก.ย.) เวลา 13.00 น. จะมีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ร่วมกับตัวแทนจาก กิจการร่วมค้าบริษัทกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) เพื่อสรุปรายละเอียดแผนส่งมอบพื้นที่ร่วมกัน หากทั้งสองฝ่ายไม่ติดปัญหา ก็จะสามารถกำหนดวันลงนามสัญญาร่วมลงทุน เพื่อเสนอให้คณะกรรมการอีอีซีเห็นชอบ

"ผมว่าการประชุมครั้งนี้จะใช้เวลาไม่นาน เพราะเราจะคุยกันในประเด็นที่ว่า รับได้หรือไม่ได้กับข้อเสนอที่คณะทำงานทั้งสองฝ่ายคุยกันมาตลอด หากว่ารับได้ก็ตกลงวันลงนามที่ทั้งสองฝ่ายพร้อมเลย ซึ่งทราบว่า เอกชนจะต้องไปหารือกับพันธมิตรและนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดด้วย ดังนั้นอาจจะต้องให้เวลาเอกชนในการเตรียมตัวลงนามสัญญา"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/09/2019 11:47 am    Post subject: Reply with quote

เคาะแผนส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟ 3 สนามบินบ่ายนี้
เศรษฐกิจ 11 ก.ย. 2019 11:19:53

กรุงเทพฯ 11 ก.ย. - รฟท.ถกซีพี บ่ายนี้ สรุปส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท ) เปิดเผยถึงการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ในช่วงบ่ายวันนี้ ซึ่งที่ประชุมจะมีวาระสำคัญหารือร่วมกัน 2 เรื่อง คือ เรื่องการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการ ซึ่งขณะนี้ รฟท.ได้จัดทำแผนรายละเอียดไว้พร้อมแล้ว เชื่อว่าการเจรจาวันนี้จะได้ข้อสรุปประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการจัดทำตัวชี้วัดของโครงการ (KPI) ซึ่งมีประเด็นต้องหารือร่วมกันว่าจะเริ่มใช้ตัวชี้วัดเมื่อใด เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

ส่วนการประชุมวันนี้จะนำไปสู่ข้อสรุปนัดหมายให้มีการลงนามร่วมกันหรือไม่ ประเด็นเรื่องนี้กลุ่ม CP ได้แจ้งให้ทราบว่าจะให้คำตอบแก่ รฟท.ภายในสัปดาห์นี้ เนื่องจากกลุ่ม CP ซึ่งมีพันธมิตรร่วมลงทุนเป็นบริษัทข้ามชาติ ก็ต้องใช้เวลาในการนัดหมายให้ตรงกันกับพันธมิตรอีกครั้ง ดังนั้น ขณะนี้จึงยังไม่สามารถระบุวันที่จะมีการลงนามร่วมกันได้อย่างชัดเจน .-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2019 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟโดดอุ้ม”ซีพี” เซ็นสัญญาไฮสปีด ก่อนส่งมอบพื้นที่
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 11 กันยายน 2562 - 17:31 น.

ร.ฟ.ท.อุ้ม ซี.พี.เซ็นสัญญาไฮสปีด3 สนามบิน ให้เวลา 3 สัปดาห์เคลียร์พันธมิตร ชงบอร์ดเปิดทางยืดเวลาเริ่มงานก่อสร้างเมื่อพร้อม ขอเวลา 2-3 ปีส่งมอบพื้นที่ 4 พันไร่ คาดสร้างเกิน 5 ปี หวั่นค่าโง่โผล่ จ่ายดอกเบี้ย ค่าปรับบาน หากงานไม่เสร็จตามเป้า “เลขาฯอีอีซี” ยันเอกชนไม่ถอดใจ ลั่นทุกอย่างจบ ก.ย.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท เปิดยื่นซองประมูลตั้งแต่ 12 พ.ย. 2561 รูปแบบ PPP net cost เวลา 50 ปี โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ชนะและร่วมลงทุน 117,227 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว 28 พ.ค.ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการลงนามสัญญา

ซี.พี.ขอเวลาเคลียร์

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อ 9 ก.ย.ได้หารือกับกลุ่ม ซี.พี. หลังส่งร่างมอบพื้นที่ก่อสร้างให้พิจารณา เบื้องต้นเห็นชอบด้วยกับแผน ร.ฟ.ท. แต่มีข้อเสนอเพิ่ม 20 หน้ากระดาษที่ให้ ร.ฟ.ท.นำมาพิจารณา เรื่องส่งมอบพื้นที่ที่ยังเป็นปัญหา เช่น กำหนดเครื่องมือชี้วัดโครงการ (KPI) ในการเปิดบริการต้องทำความเข้าใจทั้ง 2 ฝ่ายภายในกี่ปี จากเดิมเปิดปีที่ 6 ซึ่งวันที่ 11 ก.ย.คณะกรรมการจะประชุม เมื่อได้ข้อยุติก็จะลงนามในสัญญาได้

“ทุกคนกังวลเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ต้องทำให้รอบคอบ ให้เข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเป็นความเสี่ยงทั้งรัฐและเอกชน ตอนนี้ ซี.พี.ขอนำผลหารือให้พันธมิตรไทยและต่างประเทศรับทราบ เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการของแต่ละบริษัทเห็นชอบ จะใช้เวลา 1-3 สัปดาห์ ซึ่งเป้าหมายการเซ็นสัญญาคือเดือน ก.ย.ปีนี้ ตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกำหนด ถ้าไม่ได้ต้องรายงานข้อเท็จจริงให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับทราบ”

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ในฐานะประธานคณะทำงานการส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทั้ง ร.ฟ.ท.และ ซี.พี.เห็นตรงกันว่า จะร่วมลงนามในสัญญาไปก่อน จะยังไม่ส่งหนังสือให้เริ่มต้นทำงาน (notice to proceed : NTP) ของโครงการให้ เพื่อทั้ง 2 ฝ่ายจะได้มีเวลาเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อย ดังนั้นจะทำให้เงื่อนไขการนับเวลาเริ่มก่อสร้างต้องยืดออกไปจากเดิมกำหนด 5 ปี

“คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณารายละเอียด พร้อมส่งมอบและเคลียร์ผู้บุกรุก ที่ดินเวนคืน ระบบสาธารณูปโภค อาจเซ็นสัญญาไปก่อน ส่วนการเริ่มโครงการก็รอจนกว่าแผนส่งมอบพื้นที่ชัดเจน ซึ่งเราบอกว่าใช้เวลา 1-2 ปี แต่ ซี.พี.ขอ 2-3 ปี ซึ่งการรีบออกหนังสือให้เริ่มงานทันทีที่เซ็นสัญญา ทาง ซี.พี.ก็เสี่ยง หากเริ่มงานแล้วโครงการสะดุด จะมีค่าใช้จ่ายตามมา”

พื้นที่สร้างติดปัญหา

สำหรับพื้นที่ที่เป็นอุปสรรค ทาง ร.ฟ.ท.จะเร่งเคลียร์ ส่วน ซี.พี.จะรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคที่กีดขวางแนวเส้นทางร่วมกับหน่วยงานสาธารณูปโภคนั้น ๆ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะช่วยดำเนินการ ทั้งโครงการจะใช้พื้นที่ก่อสร้าง 3,571 ไร่ รวมเวนคืนอีก 850 ไร่ เป็น 4,421 ไร่ พร้อมส่งมอบ 3,151 ไร่ หรือคิดเป็น 88% ของพื้นที่ทั้งหมด ยังมีพื้นที่อุปสรรค 2 ส่วนคือ ที่บุกรุก 210 ไร่ มีผู้บุกรุก 513 ราย พื้นที่เช่า 83 สัญญา 210 ไร่ ส่วนสถานีมักกะสันส่งมอบได้ 100 ไร่ ศรีราชา 25 ไร่ ยังมีรื้อย้ายเสาไฟฟ้าแรงสูง ท่อน้ำมัน ท่อก๊าซบริเวณคลองแห้งและโค้ง ถ.พระราม 6, ท่อน้ำมัน บจ.ท่อส่งปิโตรเลียมไทย (แทปไลน์) ช่วงลาดกระบัง กม.68 มุ่งหน้าอู่ตะเภา เป็นแนวยาว 40 กม., ท่อก๊าซ ปตท.หน้าวัดเสมียนนารี-สนามบินดอนเมือง 11 กม., ท่อระบายน้ำ กทม.บริเวณสามเสน คาดใช้เวลาส่งมอบพื้นที่ใน 2-3 ปี

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่า ร.ฟ.ท.และ ซี.พี.กำลังเร่งส่งมอบพื้นที่ให้จบภายในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อเดินหน้าเซ็นสัญญา ซึ่งการส่งมอบพื้นที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ทั้งรื้อย้ายเสาไฟฟ้าแรงสูง ท่อต่าง ๆ ที่อยู่ใต้ดิน

“ซี.พี.ยังไม่ถอดใจ เพราะโครงการเดินหน้ามาถึงขนาดนี้แล้ว ติดแผนส่งมอบพื้นที่ ร.ฟ.ท.ก็กลัวถูกฟ้องถ้าส่งมอบไม่ทัน เอกชนก็กลัวถูกปรับ ถ้างานไม่เสร็จตามกำหนด จึงต้องเร่งเคลียร์”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2019 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟโดดอุ้ม”ซีพี” เซ็นสัญญาไฮสปีด ก่อนส่งมอบพื้นที่
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 11 กันยายน 2562 - 17:31 น.


รถไฟเร็วสูงไม่สตาร์ต รฟท.ขีดเส้นซีพีเซ็นสัญญาก่อนสิ้นเดือนก.ย.
ออนไไลน์เมื่อ 11 กันยายน 2562
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3504 วันที่ 12-14 กันยายน 2562

รฟท.บีบซีพี นัดวันเซ็นสัญญาสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ค่า 2.2 แสนล้าน ดีเดย์ 11 ก.ย. บอร์ดคัดเลือก “วรวุฒิ-ศักดิ์สยาม” ลั่น ไม่เซ็นดึงบีทีเอสเสียบ ชี้อู่ตะเภาตัวแปร ซีพีเล็งต่อยอดขุมทรัพย์มักกะสันเจ้าสัวธนินท์ลั่นเพื่อชาติ

ล่าช้ามานานสำหรับการลงนามในสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 2.2 แสนล้านบาท ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับ กิจการร่วมค้า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โอลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (กลุ่ม CPH ) นับตั้งแต่ชนะประมูลเมื่อปลายปี2561 ทั้งที่เป้าหมายเซ็นสัญญากำหนดไว้ วันที่ 15 มิถุนายน 2562

อู่ตะเภาตัวแปรเซ็นไฮสปีด

ขณะเบื้องลึก หลายฝ่ายมองว่าอาจเกิดจากกลุ่มซีพี ต้อง การรอความชัดเจนจากพันธมิตรกลุ่มหนึ่ง หากทุนกลุ่มนี้ชนะประมูลกลุ่มซีพีจะเข้าร่วมพัฒนาโครงการเมืองการบิน และสนามบินอู่ตะเภา มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท หลังพลาด ไม่สามารถเปิดซองราคาต่อได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ กลุ่มซีพีมั่นใจว่าจะชนะประมูลเพื่อต่อยอดควบคู่ไปกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งซีพีได้อานิสงส์ ขุมทรัพย์รอบสถานีรถไฟทั้งมักกะสัน ศรีราชา และ รอบเมืองการบินสร้างเมืองดึงคนเข้าพื้นที่มหาศาล แหล่งข่าวจากวงการรับเหมายํ้าว่า

ขณะการกำหนดวันเซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงถูกบีบเข้ามา ทั้งจากพล.อ. ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุหาก กลุ่มซีพีไม่เซ็นสัญญาตามเวลาที่กำหนดจะเรียกกลุ่มบีทีเอส ผู้ชนะประมูลอันดับ 2 เข้าเจรจา ล่าสุดรฟท.ส่งหนังสือ ถึงกลุ่มซีพี ให้หารือร่วมกัน วันที่ 9 กันยายน 2562 เพื่อขอความชัดเจน ว่าจะเดินหน้าโครงการและพร้อมเซ็นสัญญาหรือไม่ ซึ่งซีพี ได้ให้คำตอบว่า ยังไม่สามารถลงนามได้ หากรฟท.แก้ปัญหาบุกรุกเขตทางไม่จบ ทั้งนี้แหล่งข่าวจากผู้รับเหมายืนยันว่า รฟท.ต้องการเซ็นสัญญาตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน แต่เอกชนยืน
ยันไม่พร้อม จึงเกิดการเจรจากันขึ้น

11 กันยานัดชี้ชะตา

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่าการรฟท. กล่าวว่า วันที่ 11 กันยายน ได้ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ โดยพิจารณาแผนส่งมอบพื้นที่และ กำหนดวันเซ็นสัญญาภายในเดือนนี้

“เมื่อ วันที่ 9 กันยายน 2562 รฟท.เชิญกลุ่มซีพี สอบถาม ข้อเท็จจริงว่าพร้อมจะเดินหน้าโครง การและเซ็นสัญญาหรือไม่ เนื่องจากการเจรจาทุกอย่างจบแล้ว ซึ่งก็ได้รับคำตอบจากซีพีว่า พร้อมลงทุนร่วมกับรฟท. แต่ การเจรจา ระหว่างซีพีกับรฟท. จบแค่เบื้องต้น รฟท.ต้องแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งมอบพื้นที่ ปัญหาการบุกรุก บริเวณตอม่อโฮปเวลล์ที่ต้องรื้อถอนว่าอยู่บริเวณใด ซึ่งความหมายของซีพีคือรฟท. ต้องเคลียร์พื้นที่ให้จบพร้อมก่อสร้าง จากข้อตกลงเบื้องต้น”

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าหาก ซีพีไม่เซ็นสัญญาตามกำหนด จะเรียกรายที่ 2 คือบีทีเอสเข้าเจรจาและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

เคลียร์บุกรุก-รื้อท่อจบแน่

แหล่งข่าวจากรฟท.เสริมว่าการเซ็นสัญญาถูกลากยาว เกิดจากรฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ทั้ง 4,000 ไร่ได้ทั้งหมด เพราะบางบริเวณติดผู้บุกรุก ต้องเจรจารื้อย้ายท่อส่งนํ้ามันขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาแต่มั่นใจจบ ส่วนที่เหลือจะใช้วิธีเซ็นแนบท้ายสัญญา ทยอยส่งมอบพื้นที่ เพราะการก่อสร้างไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวต้องใช้เวลาสร้างนานถึง 5 ปี

ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยืนยันว่า ทางรฟท.ได้ส่งหนังสือ แจ้งมาขอคำตอบ เกี่ยวกับการย้ายท่อ นํ้ามันและท่อก๊าซ ตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแล้ว ซึ่งไม่น่ามีปัญหา




Ads by AdAsia

เจ้าสัวลั่นเพื่อชาติ

ทั้งนี้นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กล่าวเปิดใจในงานสัมมนาวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ครั้งที่ 3/2019 ณ สถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ที่ผ่านมาว่า เครือซีพีได้เข้ามาลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นการช่วยประเทศชาติ ทำให้ประเทศไทยเป็นที่จับตามองของนักลงทุนที่จะย้ายฐานการผลิตเข้ามา แม้ว่าโครงการนี้จะ มีความท้าทาย นับตั้งแต่ทีโออาร์ที่มีความยาก เพราะรัฐต้องการให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด จึงยากมากสำหรับเอกชนที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างยั่งยืน แต่ซีพีก็ต้องศึกษา นำมาเรียนรู้ ถือเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เครือ ได้ทำเรื่องใหม่

“เมื่อเราเป็นผู้นำเราต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงต้องกล้าเสี่ยง ถ้าสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติประชาชน และองค์กรดังนั้นต้องทำโครงการนี้ให้สำเร็จให้ได้ หากไม่สำเร็จ จะกลายเป็นภาระของประเทศ”
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 332, 333, 334 ... 542, 543, 544  Next
Page 333 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©