RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311329
ทั่วไป:13290963
ทั้งหมด:13602292
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 336, 337, 338 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/09/2019 5:40 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
'อนุทิน' ขีดเส้นลงนามไฮสปีด 15 ต.ค.นี้
23 กันยายน 2562

ขีดเส้นซีพีเซ็นไฮสปีด15ต.ค. ยื้อยึด2พันล้าน-ขึ้นแบล็กลิสต์
เผยแพร่: 24 ก.ย. 2562 05:28 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ผู้จัดการรายวัน360-"อนุทิน-ศักดิ์สยาม"ขีดเส้นตาย15 ต.ค.62 เซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลังเรียกคณะกรรมการคัดเลือกชี้แจง ยันเจรจาและดำเนินการตามเงื่อนไข RFP ครบถ้วนแล้ว ลั่นการส่งมอบพื้นที่ ไม่ใช่ข้ออ้าง ขู่ยึดหลักประกันซอง 2 พันล้านและแบล็คลิสต์ พร้อมเรียกกลุ่ม BSR เจรจา

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ได้ให้เร่งพิจารณาหาข้อสรุปในการดำเนินโครงการรถไฟความความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา" ระยะทาง 220 กิโลเมตร (กม.) มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ว่า วานนี้ (23 ก.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้เชิญนายคณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มาร่วมประชุม และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ซึ่งมีนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นประธาน ได้เข้าชี้แจงอธิบายรายละเอียดขั้นตอนการพิจารณาการประมูล ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ยืนยันว่าได้ดำเนินการตามกรอบที่กำหนดไว้ในเอกสารการคัดเลือกเอกชน หรือ REQUEST FOR PROPOSAL (RFP) อย่างครบถ้วนแล้ว ที่ประชุมจึงมีมติให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ จัดประชุมในวันที่ 27 ก.ย.2562 เวลา 16.00 น. และทำหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นข้อเสนอ คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) มาลงนามสัญญาในวันที่ 15 ต.ค.2562 หากกลุ่ม CPH มาลงนามตามกำหนด จะทำให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเงื่อนไข RFP โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี ส่วนกรณีที่การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างมีปัญหา สามารถใช้เป็นเหตุผลในการขยายเวลาก่อสร้างเฉพาะพื้นที่ๆ มีปัญหา ซึ่งเป็นไปตาม RFP และเหมือนกับการก่อสร้างโครงการอื่นๆ

ทั้งนี้ หากกลุ่ม CPH ไม่มาลงนามสัญญาตามกำหนด จะถูกริบหลักประกันซอง 2,000 ล้านบาท และอาจถูกพิจารณาเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของทางราชการ ซึ่งเป็นไปตาม RFP และเป็นไปตามพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะเชิญผู้ยื่นข้อเสนอรายที่ 2 คือ กลุ่ม กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR) ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ , บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น , บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง มาเจรจาต่อไป โดยกรณีนี้ มีเงื่อนเวลาในการยืนราคาประมูลของผู้เสนอราคาทั้ง 2 ราย ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 7 พ.ย.2562 ดังนั้น จะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนที่จะครบกำหนดวันยืนราคา แม้ว่า ใน RFP จะให้ผู้เสนอราคาขยายเวลาได้ เพราะหากเอกชนไม่ขยาย คณะกรรมการฯ จะต้องรับผิดชอบ เป็นการตัดสินใจภายใต้ผลประโยชน์ของประเทศ

"รองนายกฯ อนุทิน เห็นว่า โครงการนี้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ มีผลต่อความเชื่อมั่นกับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน จึงหวังว่าวันที่ 15 ต.ค.2562 จะมีการลงนามสัญญาโครงการนี้ เพราะเรามีเงื่อนไขเวลาในการยืนราคาถึงวันที่ 7 พ.ย. หากไม่ดำเนินการ รัฐจะต้องรับผิดชอบ ส่วนอะไรที่อยู่ในระเบียบ ข้อกฎหมาย และ RFP ที่รัฐต้องดำเนินการ รัฐจะดำเนินการให้ ไม่ต้องกังวลว่ารัฐจะเอาเปรียบหรือกลั่นแกล้งเอกชน หรือมีการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด ซึ่งเงื่อนไข RFPได้ให้เอกชนได้ศึกษาก่อนที่จะตัดสินใจยื่นประมูลแล้ว”นายศักดิ์สยามกล่าว

สำหรับวงเงินที่กลุ่ม CPH ต้องการอุดหนุนจากรัฐ 117,227 ล้านบาท ดังนั้น กรณีที่เรียกรายที่ 2 คือ กลุ่ม BSR มาเจรจา ซึ่งเสนอวงเงินอุดหนุนจากรัฐที่ 169,934 ล้านบาท หากผลการเจรจาที่ยุติ และมีวงเงินที่ขออุดหนุนสูงกว่ากลุ่ม CPH ส่วนต่างที่เกิดขึ้นนั้น รายที่ 1 จะต้องรับผิดชอบ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบพัสดุการจัดซื้อจัดจ้าง เพราะรัฐคงจะไม่สามารถรับภาระที่เพิ่มขึ้นได้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2562 กลุ่ม CPH ได้มีหนังสือถึง รฟท. ขอเวลาในการพิจารณา 3 สัปดาห์ ซึ่งไม่ได้บอกว่าเป็นกำหนดที่จะลงนามหรือไม่ โดย 3 สัปดาห์จะครบในวันที่ 1 ต.ค. แต่เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะประชุมวันที่ 27 ก.ย. ดังนั้น จึงเห็นว่าให้เวลาที่ทางกลุ่ม CPH จะมีเวลาในการหารือกับกลุ่มพันธมิตร จึงกำหนดลงนามในวันที่ 15 ต.ค.

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ในการประมูลมี RFP กำหนดรายละเอียดอย่างครบถ้วน โดยให้เอกชนยื่นข้อเสนอ ซองที่ 1 เป็นคุณสมบัติทั่วไป ซองที่ 2 เป็นข้อเสนอด้านเทคนิค เรื่องโครงสร้างองค์กร ผู้ร่วมทุน แผนงานก่อสร้าง การจัดการต่างๆ ซึ่งมีเงื่อนไขกำหนดแนวทางการดำเนินงานและความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคงานโยธาอย่างไร และมีหัวข้อย่อยว่าให้เสนอแนวทางและวิธีการเตรียมงานก่อนเริ่มการก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ รฟท. และกรอบข้อกำหนดรายละเอียดเทคนิค โดยต้องมีข้อกำหนดดังนี้ คือ การเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง การประสานงานหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง , แนวทางและการเตรียมการประสานงานก่อสร้าง , การเตรียมเอกสาร วิธีการทดสอบการก่อสร้าง เป็นต้น และยังมีเรื่องการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคด้วย ซองที่ 3 เป็นข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ส่วนซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการรถไฟ โดยทั้งหมดคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณาสมบูรณ์แล้ว

ดังนั้น หากยังไม่ดำเนินการ ซึ่ง RFP ข้อ 56.5 กำหนดว่า หลักประกันซองจะถูกริบ คือ 1.ผู้ยื่นข้อเสนอขอถอนเอกสารข้อเสนอในช่วงเวลาที่เอกสารยังไม่หมดอายุ หรือ 2.ผู้ยื่นข้อเสนอไม่ยอมรับการแก้ไขข้อมูลที่เสนอไปตามที่ระบุไว้ 3.กรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก แต่ไม่ดำเนินการ ดังนี้ ข้อ ก. ลงนามสัญญาในสัญญาร่วมลงทุน หรือ ข. ยื่นหลักประกันสัญญา วงเงิน 4,500 ล้านบาท ในวันลงนามสัญญา

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 30 ก.ย.2562จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะรายงานความคืบหน้าการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบินต่อที่ประชุมด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2019 10:52 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
'อนุทิน' ขีดเส้นลงนามไฮสปีด 15 ต.ค.นี้
23 กันยายน 2562

ขีดเส้นซีพีเซ็นไฮสปีด15ต.ค. ยื้อยึด2พันล้าน-ขึ้นแบล็กลิสต์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 24 กันยายน 2562 05:28


หมดเวลาเจรจา! บีบเซ็นไฮสปีด 3 สนามบิน 15 ต.ค. ลั่นยึด 2 พันล้าน-แบล็กลิสต์ “ซีพี” ทั้งกลุ่ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 23 กันยายน 2562 20:37
ปรับปรุง: 24 กันยายน 2562 07:40


“อนุทิน-ศักดิ์สยาม” ขีดเส้นตาย 15 ต.ค. 62 เซ็นสัญญารถไฟ 3 สนามบิน หลังเรียก กก.คัดเลือกฯ ชี้แจง ยันดำเนินการตามเงื่อนไข RFP ครบถ้วนแล้ว ลั่นส่งมอบพื้นที่ไม่ใช่ข้ออ้าง ไม่เซ็นยึดหลักประกัน 2 พันล้าน โดนแบล็กลิสต์ พร้อมเรียก BSR เจรจาแทน


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ ได้ให้เร่งพิจารณาหาข้อสรุปในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ในวันนี้ (23 ก.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เชิญ นายคณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ร่วมประชุม และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ซึ่งมีนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธาน ได้เข้าชี้แจงอธิบายรายละเอียดขั้นตอนการพิจารณาการประมูล ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ยืนยันว่าได้ดำเนินการตามกรอบที่กำหนดไว้ใน เอกสารการคัดเลือกเอกชน หรือ REQUEST FOR PROPOSAL (RFP) อย่างครบถ้วนแล้ว

ดังนั้น ที่ประชุมได้มีมติให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ จัดประชุมในวันที่ 27 ก.ย. 2562 เวลา 16.00 น. และทำหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นข้อเสนอ คือกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) มาลงนามสัญญาในวันที่ 15 ต.ค. 2562 ทั้งนี้ หากกลุ่ม CPH มาลงนามตามกำหนดจะทำให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเงื่อนไข RFP โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี ส่วนกรณีที่การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างมีปัญหา สามารถใช้เป็นเหตุผลในการขยายเวลาก่อสร้างเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหา ซึ่งเป็นไปตาม RFP และเหมือนกับการก่อสร้างโครงการอื่นๆ

หากกรณีที่กลุ่ม CPH ไม่มาลงนามสัญญาตามกำหนด จะถูกริบหลักประกันซอง 2,000 ล้านบาท และอาจถูกพิจารณาเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของทางราชการ ซึ่งเป็นไปตาม RFP และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะเชิญผู้ยื่นข้อเสนอรายที่ 2 คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR) ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง มาเจรจาต่อไป

โดยกรณีนี้มีเงื่อนเวลาในการยืนราคาประมูลของผู้เสนอราคาทั้ง 2 ราย ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 7 พ.ย. 2562 ดังนั้นจะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนที่จะครบกำหนดวันยืนราคา แม้ว่าใน RFP จะให้ผู้เสนอราคาขยายเวลาได้ เพราะหากเอกชนไม่ขยาย คณะกรรมการฯ จะต้องรับผิดชอบ เป็นการตัดสินใจภายใต้ผลประโยชน์ของประเทศ

“รองนายกฯ อนุทินเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ มีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน จึงหวังว่าวันที่ 15 ต.ค. 2562 จะมีการลงนามสัญญาโครงการนี้ เพราะเรามีเงื่อนไขเวลาในการยืนราคาถึงวันที่ 7 พ.ย. หากไม่ดำเนินการรัฐจะต้องรับผิดชอบ ส่วนอะไรที่อยู่ในระเบียบ ข้อกฎหมาย และ RFP ที่รัฐต้องดำเนินการ รัฐจะดำเนินการให้ ไม่ต้องกังวลว่ารัฐจะเอาเปรียบหรือกลั่นแกล้งเอกชน หรือมีการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด ซึ่งเงื่อนไข RFP ได้ให้เอกชนได้ศึกษาก่อนที่จะตัดสินใจยื่นประมูลแล้ว” นายศักดิ์สยามกล่าว

สำหรับวงเงินที่กลุ่ม CPH การอุดหนุนจากรัฐ 117,227 ล้านบาท ดังนั้น กรณีที่เรียกรายที่ 2 คือกลุ่ม BSR มาเจรจา ซึ่งเสนอวงเงินอุดหนุนจากรัฐที่ 169,934 ล้านบาท หากผลการเจรจายุติ มีวงเงินที่ขออุดหนุนสูงกว่ากลุ่ม CPH ส่วนต่างที่เกิดขึ้นนั้น รายที่ 1 จะต้องรับผิดชอบ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบพัสดุการจัดซื้อจัดจ้าง เพราะรัฐคงจะไม่สามารถรับภาระที่เพิ่มขึ้นได้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ก.ย. กลุ่ม CPH ได้มีหนังสือถึง ร.ฟ.ท.ขอเวลาในการพิจารณา 3 สัปดาห์ ซึ่งไม่ได้บอกว่าเป็นกำหนดที่จะลงนามหรือไม่ ทราบว่าซีพีกังวลเรื่องส่งมอบพื้นที่และยังมีปัญหาเรื่องแหล่งเงินกู้ ซึ่งหากนับ 3 สัปดาห์จะครบในวันที่ 1 ต.ค. แต่เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะประชุมวันที่ 27 ก.ย. ดังนั้นจึงเห็นว่าให้เวลาที่ทางกลุ่ม CPH จะมีเวลาในการหารือกับกลุ่มพันธมิตร จึงกำหนดลงนามในวันที่ 15 ต.ค. 2562

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ในการประมูลมี RFP กำหนดรายละเอียดอย่างครบถ้วน โดยให้เอกชนยื่นข้อเสนอ ซองที่ 1 เป็นคุณสมบัติทั่วไป ซองที่ 2 เป็นข้อเสนอด้านเทคนิค เรื่องโครงสร้างองค์กร ผู้ร่วมทุน แผนงานก่อสร้าง การจัดการต่างๆ ซึ่งมีเงื่อนไขกำหนดแนวทางการดำเนินงานและความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคงานโยธาอย่างไร และมีหัวข้อย่อยว่าให้เสนอแนวทางและวิธีการเตรียมงานก่อนเริ่มการก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ ร.ฟ.ท. และกรอบข้อกำหนดรายละเอียดเทคนิค โดยต้องมีข้อกำหนดดังนี้


คือ การเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง การประสานงานหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง, แนวทางและการเตรียมการประสานงานก่อสร้าง, การเตรียมเอกสาร วิธีการทดสอบการก่อสร้าง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคด้วย

ซองที่ 3 เป็นข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ส่วนซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการรถไฟ โดยทั้งหมดคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณาสมบูรณ์แล้ว

ดังนั้น หากยังไม่ดำเนินการ ซึ่ง RFP ข้อ 56.5 กำหนดว่า หลักประกันซองจะถูกริบ คือ 1. ผู้ยื่นข้อเสนอขอถอนเอกสารข้อเสนอในช่วงเวลาที่เอกสารยังไม่หมดอายุ หรือ 2. ผู้ยื่นข้อเสนอไม่ยอมรับการแก้ไขข้อมูลที่เสนอไปตามที่ระบุไว้ 3. กรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกแต่ไม่ดำเนินการ ดังนี้ ข้อ ก. ลงนามสัญญาในสัญญาร่วมลงทุน หรือ ข. ยื่นหลักประกันสัญญา วงเงิน 4,500 ล้านบาท ในวันลงนามสัญญา

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 30 ก.ย.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะรายงานความคืบหน้าการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินต่อที่ประชุมด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=EQqS1kTyC30


Last edited by Wisarut on 25/09/2019 7:51 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2019 10:59 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเทรนอาจเปลี่ยนมือ หากยอมรับเงื่อนไขส่งมอบพื้นที่ล่าช้ากว่า 2 ปี จาก ร.ฟ.ท. และยอมออกค่าย้ายตอม่อโฮปเวลล์ล่วงหน้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 23 กันยายน 2562 11:05
ปรับปรุง: 23 กันยายน 2562 14:03

กลุ่มบีทีเอสมีลุ้นเสียบไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินแทนกลุ่มซีพี หากยอมรับเงื่อนไขส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดล่าช้ากว่า 2 ปี จาก ร.ฟ.ท. และยอมออกค่าย้ายตอม่อโฮปเวลล์ล่วงหน้า รออนุทินร่วมเคาะ 23 ก.ย.

วันนี้คงต้องมองอีกทางเลือก หากกลุ่มบีทีเอสสามารถรับความเสี่ยงกรณี ร.ฟ.ท.ส่งมอบพื้นที่ล่าช้าเกินกว่า 2 ปีได้ ทำให้เหลือเวลาก่อสร้างแค่ 3 ปี และหากเลยเวลาจะถูกปรับหลายพันล้าน และหากกลุ่มบีทีเอสยอมเป็นผู้ประสานและออกค่าใช้จ่ายไปก่อน ในการย้ายตอม่อโฮปเวลล์ รวมถึงประสานย้ายท่อน้ำมันตลอดแนววิภาวดีรังสิต ก็มีสิทธิ์ลุ้นเสียบแทนกลุ่มซีพี เพราะนักลงทุนต่างชาติกังวลเรื่องจะส่งมอบพื้นที่ได้ตามสัญญาหรือไม่ ความเสี่ยงว่ารัฐจะรับรองการรถไฟในการลงนามหรือไม่ เพราะ ร.ฟ.ท.มีฐานะทางการเงินขาดทุนสูง รวมถึงความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ทำให้ไฮสปีดเป็นประเด็นทางการเมืองมากกว่าวาระแห่งชาติในการสร้างการแข่งขันให้กับประเทศ อย่างไรก็ดี ต้องมารอ ร.ฟ.ท.หลังกลุ่มซีพีกำหนดเวลาให้ 3 สัปดาห์ รอการรถไฟเลือกวันลงนาม

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กล่าวว่า กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี ส่งหนังสือตอบกลับเอกสารแนบท้ายสัญญาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ พร้อมกำหนดวันลงนามสัญญา หากคณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นชอบตามหนังสือตอบกลับของซีพี ก็พร้อมลงนามหลังจากนั้นภายใน 3 สัปดาห์

ทั้งนี้ ในวันที่ 23 ก.ย.นี้ เวลา 13.00 น. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการ โดยให้คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความชัดเจน และเชิญนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เข้าร่วมประชุมด้วย

“หากการเจรจายังไม่จบ ต้องสอบถามคณะกรรมการคัดเลือกฯ ว่ามีเหตุผลอะไร และแนวทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศคืออะไร ต้องชี้แจงมา เพราะถ้าจะเจรจากันต่ออีกต้องไปดูว่า TOR เขียนไว้อย่างไร แต่ละเรื่องที่ยังเจรจาไม่ยุติ ในTOR เขียนไว้ว่าอย่างไร เป็นหน้าที่ของใคร ซึ่งเราไม่สามารถแก้ TOR ได้ และการเจรจาจะทำนอกกรอบ TOR ไม่ได้เช่นกัน” นายศักดิ์สยามกล่าว


ซีพี-พันธมิตรเร่ง ร.ฟ.ท.กำหนดวันลงนามใน 3 สัปดาห์ เดินหน้าไฮสปีด!!
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 21 กันยายน 2562 19:10
ปรับปรุง: 22 กันยายน 2562 20:41

หลังจากที่รอการรถไฟฯ ทำแผนการส่งมอบพื้นที่โครงการไฮสปีดมาอย่างยาวนาน เพราะความกังวลว่า ร.ฟ.ท.จะไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ และหากลงนามไปก่อนเท่ากับดอกเบี้ยจะเริ่มเดิน ทำให้รอวันลงนามกันมายาวนาน จนกลุ่มซีพีและพันธมิตรจากญี่ปุ่นและจีนเร่ง ร.ฟ.ท.กำหนดวันลงนามสัญญาไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ภายใน 3 สัปดาห์ นับตั้งแต่วันที่ตกลงกันได้ หรือวันที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นชอบ

นอกจากนี้ ชื่อคู่สัญญาในการลงนามในสัญญาก็น่าเห็นใจการรถไฟฯ เพราะหาก ร.ฟ.ท.เป็นผู้ลงนาม ฐานะทางการเงินก็ไม่เอื้ออำนวย ทำให้กระทรวงการคลังต้องรับรองทางการเงินให้กับ ร.ฟ.ท.ว่าจะจ่ายเงินได้ตามสัญญา เพราะหากดูฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุน ณ 30 ก.ย. 2560 แสดงรายได้ 17,470 ล้านบาท รายจ่าย 35,369 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 17,899 ล้านบาท แต่ได้รับเงินชดเชยผลขาดทุนตามกฎหมาย 17,899 ล้านบาท เนื่องจากตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 43 ถ้ารายได้จำนวนไม่พอสำหรับรายจ่าย และการรถไฟฯ ไม่สามารถหารายได้จากทางอื่น รัฐพึงจ่ายให้แก่การรถไฟฯ เท่าจำนวนที่ขาด ดังนั้นโครงการรถไฟไฮสปีด รัฐก็ต้องเข้ามาช่วยรับรองในการลงนาม มิเช่นนั้นการรถไฟจะถูกลอยแพเป็นหนี้ก้อนโต หากไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ หรือชำระเงินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในขณะที่ปีที่เริ่มจ่ายคือปีที่ 6 ซึ่งไม่รู้ว่าตอนนั้นสถานการณ์การเมืองจะเป็นเช่นไร ดังนั้น คู่สัญญาลงนามจึงเป็นประเด็นที่การรถไฟฯ จะต้องได้การรับรองจากกระทรวงการคลัง ซึ่งต้องตกลงกันภายในให้ได้เพื่อกำหนดวันลงนาม ซึ่งเอกชนก็รอความชัดเจน

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท เปิดเผยว่า “หากคณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นชอบรายละเอียดตามที่ CPH เสนอก็จะนัดวันลงนามสัญญา เบื้องต้น CPH เสนอให้ลงนามสัญญาภายใน 3 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่ตกลงกันได้ หรือวันที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นชอบ” ดังนั้น ต้องมาดูว่า ร.ฟ.ท.จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน กำหนดวันลงนามตามกำหนดเวลาได้หรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2019 11:00 am    Post subject: Reply with quote

รมว.คค.นัด CP-CPH หารือโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินบ่ายนี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 23 กันยายน 2562 13:12
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระบุว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เตรียมหารือกับ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (CP) และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ในช่วงบ่ายวันนี้ (23 ก.ย.) หลังคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เจรจาถึงรายละเอียดในร่างสัญญาแล้ว

“อนุทิน” เรียกเลขาฯ อีอีซีเข้าพบ หาทางออกรถไฟ 3 สนามบิน ย้ำ “ซีพี” ต้องเซ็นตามทีโออาร์ เตือนถูกขึ้นบัญชีดำ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 23 กันยายน 2562 13:24
ปรับปรุง: 23 กันยายน 2562 14:34

“อนุทิน” เรียกเลขาฯ อีอีซี พร้อมคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เร่งหาทางออกเซ็นสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าซีพี ยันรอให้มอบพื้นที่ครบค่อยเซ็นเป็นไปไม่ได้ ต้องเซ็นก่อนแล้วที่เหลือร้อยละ 20 ค่อยทยอยส่งมอบ ย้ำต้องทำตามทีโออาร์ หากไม่เซ็นจะถูกขึ้นบัญชีดำ กระทบการลงทุน EEC ย้ำตนเองพร้อมช่วยแก้ปัญหาทุกอย่าง

วันนี้ (23 ก.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่าในวันนี้ ได้เรียกนายคณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC พร้อมด้วยคณะกรรมการคัดเลือกโครงการ มาประชุมร่วมกันเพื่อหารือ ข้อสรุปให้มีความชัดเจนในเรื่องของการส่งมอบพื้นที่รวมถึงพิจารณาว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตาม TOR ที่กำหนดไว้กับกลุ่มกิจการร่วมค้าซีพี

“ยืนว่าขณะนี้ยังเป็นไปตามกรอบเวลาที่จะสามารถเซ็นสัญญาลงนามได้ จะภายใน 3 วัน 10 วันก็ยังดำเนินการได้ ไม่ได้เกิดความเสียหายต่อโครงการแต่อย่างใด แต่สิ่งสำคัญคือต้องยึด TOR ที่ผู้ประมูลนั้นต้องรับทราบและยอมรับในเงื่อนไขนั้น เพราะไม่เช่นนั้นจะเข้าประมูลไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการเจรจาเพิ่มอีก ขอให้ทำตาม TOR ซึ่งรัฐบาลก็ยึดใน TOR ไม่สามารถไปปรับแก้เงื่อนไขใดๆ ใน TOR ได้ เพราะถ้ารัฐบาลมีการปรับแก้ รายที่แพ้ประมูล ก็จะมีการฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายกลับได้ ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุด ระหว่างรัฐบาลและผู้รับสัมปทาน ก็ต้องปฎิบัติตาม TOR ที่เขียนไว้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องไปเปิดพจนานุกรมใดๆ ว่าขั้นตอน การดำเนินโครงการ การส่งมอบพื้นที่เป็นอย่างไร”

นายอนุทินกล่าวต่อว่า เห็นว่าการเรียกร้องส่งมอบพื้นที่ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วจะเซ็นสัญญาเป็นไปไม่ได้ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 20 ก็ดำเนินการตามกรอบทยอยส่งไป ถ้าหากมีการส่งมอบล่าช้า ผู้รับสัมปทานก็สามารถใช้สิทธิ์ในการต่ออายุสัญญาได้ ถือเป็นการปฏิบัติทั่วไปที่เกิดขึ้นกับทุกหน่วยงาน

ผู้สื่อข่าวถามว่าภายหลังการหารือแล้วจะมีโอกาสที่สดใสขึ้นหรือไม่ และจะเซ็นสัญญาภายในสิ้นเดือนกันยายนหรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า ถ้าทำทุกอย่างตาม TOR ก็จะสดใส ไม่มีปัญหาใดๆ เพราะถ้าไม่ทำก็เกิดความไม่มั่นคง ต่างชาติไม่มั่นใจ ทั้งนี้ ยืนยันว่าแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงคนรับผิดชอบ จากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี มาเป็นตนเองก็ไม่มีผล เพราะคู่สัญญาคือ ร.ฟ.ท. แม้จะเปลี่ยนรัฐมนตรีไปกี่คนก็ตามการดำเนินการของ ร.ฟ.ท.ก็เป็นไปตามเวลา

เมื่อถามว่าจะให้ระยะเวลากลุ่มกิจการร่วมค้าซีพีเซ็นสัญญาไปจนถึงเมื่อไร นายอนุทินกล่าวว่า ทราบว่าเรื่องนี้ใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว แต่ยืนยันก็ต้องเซ็นสัญญา ซึ่งรัฐบาลพร้อมให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาที่ติดขัด ให้กับคู่สัญญาของรัฐ เพื่อให้งานเกิดความสำเร็จ เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลที่จะต้องกลัวการเซ็นการสัญญา ยิ่งตนเองรับผิดชอบแล้วติดขัดปัญหาใดก็พร้อมลงไปช่วยด้วยตนเอง

“เวลาเข้ามาประมูลไม่ใช่มายื่นกระดาษเพียงใบเดียว แต่มีหนังสือค้ำสัญญาธนาคาร ถ้าไม่เซ็นสัญญาตาม TOR ก็จะถูกยึดหนังสือค้ำสัญญาธนาคาร นอกจากนี้อาจจะถูกขึ้นบัญชีดำในฐานะที่เข้าข่ายว่าเป็นผู้ทิ้งงานด้วย ทางเลือกแทบไม่มี ต้องเซ็นให้ได้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ประมูลแล้วต้องทำ ขอให้ตั้งใจทำ เราก็ตั้งใจช่วย” อนุทินกล่าว

นายอนุทินยังกล่าวว่า หากไม่เซ็นสัญญาแล้วเปลี่ยนสัมปทาน รัฐก็ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นในการว่าจ้างรายอื่น ส่วนต่าง กลุ่มรับสัมปทานเดิมก็ต้องชดใช้ส่วนต่างอยู่ดี ดังนั้นเมื่อยังต้องชดใช้ส่วนต่างอยู่แล้วก็ควรดำเนินการเอง รัฐบาลพร้อมที่จะช่วยแก้ปัญหาให้งานเดินหน้าไปได้ เพราะหากงานไม่เดิน EEC ก็ไม่เกิด ส่งผลให้การลงทุนสนามบิน ท่าเรือก็จะไม่เกิดขึ้นด้วย เพราะไม่มีใครกล้ามาลงทุน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2019 1:30 pm    Post subject: Reply with quote

‘ไฮสปีดไทย-จีน’ฉลุย พ.ย.นี้ลงนาม ‘หลี่ เค่อเฉียง’ ‘วางราง-หาขบวนรถ’
24 กันยายน 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3507 ระหว่างวันที่ 22 - 25 กันยายน 2562

ไฮสปีดไทย-จีน ฉลุย “ศักดิ์สยาม” นำทีม เซ็นสัญญาฉบับที่ 2.3 ระบบอาณัติสัญญาณ-ราง-จัดหาขบวนรถ-อบรมบุคลากร กับนายกรัฐมนตรีจีน “หลี่ เค่อเฉียง” ในงานยอดผู้นำอาเซียน พ.ย.62 นี้

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง หรือคุ้นหูในชื่อ “รถไฟไทย-จีน” ถือเป็นความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐหรือแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างไทยกับจีน โดยโครงการดังกล่าวจะเชื่อมต่อเส้นทางจากกรุงเทพฯไปยังหนองคาย ซึ่งผู้โดยสารสามารถข้ามชายแดนจากหนองคายเข้าสู่ สปป.ลาว และขึ้นรถไฟต่อจากนครหลวงเวียงจันทน์ผ่านเข้าทางตอนเหนือของ สปป.ลาว มุ่งหน้าสู่เมืองคุนหมิง ประเทศจีนบริเวณตอนใต้ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังมีความสำคัญในแง่ของความสัมพันธ์ภายใต้ความริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ - นครราชสีมา) จะใช้งบประมาณ 1.79 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่ารื้อย้าย 1.3 หมื่นล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 1.22 แสนล้านบาท งานระบบไฟฟ้า 3.4 หมื่นล้านบาท ค่าจัดหาตู้รถไฟ 4.4 พันล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษา 5.1 พันล้านบาท โดยงานก่อสร้างนั้นแบ่งย่อยออกเป็น 14 สัญญา วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ล่าสุดมีความคืบหน้าไปมาก และช่วงที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางกว่า 300 กิโลเมตร ได้รับอนุมัติจากครม.ให้ดำเนินโครงการต่อเนื่อง

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การเจรจาร่างสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ฉบับที่ 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,600 ล้านบาท มีความคืบหน้าเป็นระยะ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายสามารถแก้ปัญหาข้อติดขัดที่ผ่านมาจำนวน 11-12 ประเด็นได้แล้ว โดยลำดับต่อไป ทางฝ่ายจีนจะไปหารือกับทางคณะทำงาน ขณะที่ฝั่งไทยนั้นก็ต้องนำข้อสรุปไปหารือต่อเช่นกันกับทางอัยการสูงสุด

ทั้งนี้เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายเห็นตรงกันด้วยข้อสรุปดังกล่าว ขั้นตอนต่อไปจะต้องนำร่างสัญญามาตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง จากนั้นฝ่ายไทยต้องเสนอร่างสัญญาให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและลงนามสัญญาต่อไป ซึ่งทาง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายไทย ตั้งเป้าจะลงนามสัญญาฉบับที่ 2.3 ในระหว่างที่นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน เดินทางมาร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ในเดือน พฤศจิกายน 2562 นี้

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน สัญญาฉบับ 2.3 มีอายุสัญญาประมาณ 3-4 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเปิดให้บริการในปี 2566 โดยเบื้องต้นดำเนินงานเป็น 3 ส่วนตามการส่งหนังสือให้เริ่มงาน (NTP) ได้แก่ NTP ฉบับที่ 1 งานออกแบบระบบและขบวนรถ NTP ฉบับที่ 2 งานก่อสร้างและติดตั้งระบอาณัติสัญญาณ รวมถึงผลิตขบวนรถ และ NTP ฉบับที่ 3 งานฝึกอบรม ซึ่งทั้งนี้ ฝ่ายจีนจะต้องทำงานใน NTP ฉบับที่ 1 ให้แล้วเสร็จก่อน ฝ่ายไทยจึงเริ่มออก NTP ฉบับที่ 2 ได้

ด้านการประมูลโยธาที่เหลืออีก 2 สัญญา ได้แก่ สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อยและสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ทางคณะทำงานจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 นี้ โดยพิจารณาผลการประกวดราคาให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ ในส่วนของการเวนคืนนั้น ขณะนี้ รฟท.ได้ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนดำเนินการเวนคืนที่ดินและจัดกรรมสิทธิ์ต่อไป ทั้งนี้สำหรับโครงการรถไฟไทย-จีน เฟสที่ 2 (ช่วงนครราชสีมา- หนองคาย) ขณะนี้การรถไฟฯ อยู่ระหว่างดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธา คาดว่าการประมูลทั้งหมดจะแล้วเสร็จในปีนี้ และสามารถเปิดใช้เส้นทางเฟสแรกได้ภายในปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2019 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

อนุทินสั่งตัดส่วนแนบท้ายสัญญา ที่เขียนเกิน TOR ออกให้หมด
https://www.thebangkokinsight.com/212755
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2019 12:57 pm    Post subject: สหภาพ รฟท. เปิดศึกกับซีพี และ รัฐบาล เรื่องรถไฟความไวสูง Reply with quote

สหภาพฯ รฟท.แถลงค่าโง่รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 24 กันยายน 2562 เวลา 11:44

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.) ออกแถลงการณ์เรื่อง ระวัง..ความเสียหายของรัฐ (ค่าโง่) หากลงนามในสัญญาก่อนส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าโครงการรถไฟความความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ผู้ที่ชนะการประมูลคือกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ซึ่งโครงการดังกล่าวรัฐร่วมลงทุนประมาณ 149,650 ล้านบาท และมีความล่าช้า อันเนื่องมาจากผู้ชนะการประมูลสร้างเงื่อนไขในการเจรจานอกกรอบ TOR จำนวน 12 ข้อ แม้จะมีข่าวว่าคณะอนุกรรมการเจรจาที่ตั้งขึ้นมาไม่รับข้อเสนอและเจรจาในประเด็น 12 ข้อ แต่ก็ไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการให้แก่สาธารณชนได้รับทราบ เพราะ 12 ข้อที่กล่าวมาเป็นสาระสำคัญที่ทำให้รัฐ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เสียเปรียบและความเสียหายจะตามมาในอนาคต จนถึงปัจจุบันการเซ็นสัญญาโครงการดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นมีการเลื่อนมาหลายครั้ง อันเนื่องมาจากข้อกังวลของผู้ชนะการประมูลในเรื่องผู้บุกรุกในพื้นที่ การส่งมอบพื้นที่และการหารือกับพันธมิตรร่วมทุนเนื่องจากงบลงทุนค่อนข้างสูง



โครงการดังกล่าวเบื้องต้นที่สาธารณชนรับทราบกันว่าจะมีการใช้ที่ดินของการรถไฟฯที่มักกะสันประมาณ 150 ไร่ และที่ดินบริเวณสถานีศรีราชา 25 ไร่ผลตอบแทนประมาณ 52,000 ล้านบาท และต่อมามีพื้นที่จากโครงการที่งอกมาใหม่ ซึ่งรัฐโดยการรถไฟฯ จะต้องเวนคืน และส่งมอบให้เอกชนทันทีหลังจากลงนามในสัญญาประมาณ 3,571 ไร่ (พื้นที่ที่จะใช้ในโครงการจำนวน 4,300 ไร่) จากจำนวนที่ดินที่ต้องส่งมอบมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และยังไม่มีการคำนวณค่าตอบแทนจากที่ดินที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งแน่นอนว่าไม่เป็นธรรมต่อการรถไฟฯและรัฐ ซึ่งเวลาต่อมามีความพยายามในการเร่งรัดให้มีการลงนามในสัญญาแม้ว่าโครงการจะมีปัญหามากมาย เช่น พื้นที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง การแก้ไขปัญหาชุมชน ผู้บุกรุก ประชาชนที่เข้ามาใช้พื้นที่ในเส้นทางซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เรื่องการยกเลิกสัญญาเช่าในพื้นที่อีกกว่า 300 สัญญา

เรื่องการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ของ 6 หน่วยงาน เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการรื้อย้ายและยังไม่ทราบว่าหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องได้เตรียมงบประมาณไว้หรือไม่ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นปัญหาอุปสรรคที่ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะดำเนินการสำเร็จหรือไม่ ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการอื่นๆ รวมทั้งโครงการของการรถไฟฯเองที่มีปัญหาพิพาทกับบริษัทโฮปเวลล์ โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซึ่งมูลค่าสูงจากเดิมล้วนมาจากรากของปัญหาคือการส่งมอบพื้นที่ไม่ทันเวลาที่กำหนด

ดังนั้นจากสภาพปัญหาต่างๆที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้และยังจะเดินหน้าเร่งลงนามในสัญญาไปก่อนแล้วแก้ปัญหากันภายหลังซึ่ง สร.รฟท. ไม่เห็นด้วย และมีความกังวล ห่วงใย พร้อมมีข้อเสนอดังนี้

1.บุคคลของรัฐและการรถไฟฯที่เกี่ยวข้องที่จะลงนามในสัญญาหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในอนาคตมีหลายกรณีให้ศึกษาว่าความรับผิดจะเกิดขึ้นเฉพาะตนคือบุคคลที่ลงนามเท่านั้น

2.เมื่อลงนามในสัญญาไปแล้วหากรัฐไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญา โดยจะเป็นมูลเหตุให้เอกชนผู้ได้สัมปทานฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐได้ (ค่าโง่) ดังที่เกิดขึ้นจากหลายโครงการของหน่วยงานรัฐ ซึ่งค่าเสียหายหากจะต้องจ่ายก็ล้วนมาจากภาษีของประชาชน

3.สร.รฟท. ยืนยัน ข้อเสนอเดิม คือ ก่อนลงนามในสัญญาต้องเปิดเผยรายละเอียดในสัญญาให้สาธารณชนได้รับทราบเพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐร่วมลงทุนในงบประมาณเกินว่าร้อยละ 50 โดยต้องส่งมอบทรัพย์สินของรัฐทั้งที่ดิน กว่า 4,000 ไร่ และโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้แก่ผู้รับสัมปทานในราคาที่ต่ำมากให้เอกชนที่รับสัมปทาน

4.สร.รฟท. ยืนยัน ในข้อเสนอเดิมที่จะให้รัฐบาลพิจารณาคือโครงการดังกล่าวหากรัฐดำเนินโครงการเองน่าจะมีประโยชน์มากกว่า โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีข้อพิพาทเกิดขึ้นและในเส้นทางเดียวกันก็มีเส้นทางของการรถไฟฯสายตะวันออกแยกจากฉะเชิงเทราไปสุดปลายทางที่สัตหีบอยู่แล้วเพียงแค่ทำทางคู่เพิ่มและขยายเส้นทางเข้าไปยังสนามบินอู่ตะเภาจะประหยัดเงินไม่เป็นภาระด้านงบประมาณแก่รัฐ

//----------------------------

'ไพศาล'เตือนกรณีค่าโง่รถไฟความเร็วสูงระวังซ้ำรอย'ยิ่งลักษณ์' ชี้กองเชียร์ไม่ได้ติดคุกด้วย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 25 กันยายน 2562 เวลา10:29

นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก“Paisal Puchmongkol”โดยแชร์ข่าวสหภาพแรงงานรถไฟฯ ออกแถลงการณ์เตือน ค่าโง่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน



โดย นายไพศาล ระบุว่า ระวังจะซ้ำรอยคุณยิ่งลักษณ์ ถึงวันนั้นพวกกองเชียร์มันไม่ได้ติดคุกด้วยนะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2019 3:45 pm    Post subject: Reply with quote

‘ซีพี’ขี่แพะไล่รัฐบาล ‘สัญญารถไฟฟ้า’แสลงใจดำ
โดย... พรานบุญ
คอลัมน์ข่าวห้ามเขียน
ออนไลน์เมื่อ 25 กันยายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3508 หน้า 20 ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2562

เสียงฉิ่ง ฉับ กลับ ฆ้อง เพลงโบว์แดงแสลงใจดำ ดังลั่นสนั่นป่าคอนกรีต เคล้าคลอเสียงหวูดๆ วาวๆ จากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขบวนประวัติศาสตร์ 2.27 แสนล้านบาท
เมื่อ “หมอหนู-อนุทิน ชาญวีระกูล” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณสุข ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ออกเล่นบทแข็ง ประกาศเสียงดังฟังชัดว่า...
“ในวันที่ 27 กันยายน คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะทำหนังสือถึงกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (CPH) ผู้ชนะการประมูล เพื่อให้มาลงนามสัญญาในวันที่ 15 ตุลาคม ก่อนที่จะสิ้นสุดวันลงนาม (หมดระยะเวลายืนราคา) ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 หลังจากกลุ่ม CPH ใช้เวลาเจรจารายละเอียดมายาวนานเกือบ 1 ปีแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้าและยังไม่ได้ลงนามในสัญญาก่อสร้าง”
นังบ่างผู้มีรสนิยมอันวิไลสไตล์ลูกทุ่งบันเทิงบอกว่า ท่วงทำนองที่ “หมอหนู” บรรเลงนั้นเหมือนบอกให้รู้ว่า “เซ็นซะ ให้รู้แล้วรู้รอด แล้วจะไปกอดกับใครก็เชิญ... ไปเลย ไปเลย ไปเลย ไปเลย ไปเลย ....ต่างคน ต่างเดิน แล้วอย่ายูเทิร์น อย่ากลับ มาหา ไม่อ้าแขนรอ...”
อีเห็นใช้แว่นขยายสแกนคำสั่งของหมอหนูแล้วร้องตะโกนก้องว่า...พรานฯเอ้ย... รอบนี้รัฐบวมเอาจริงแน่นอน เพราะลั่นว่าจาว่า รัฐบาลไทยในฐานะคู่สัญญาจะปรับปรุงเงื่อนไขแก้สัญญาไปมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว เพราะจะมีผู้เสียหายเกิดขึ้น และผู้แก้ไขสัญญาจะมีความผิดมาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่...
พรานฯผู้ท่องไพรมาทั้งชีวิตขอบอกว่า ที่เห็นนั้นคือฉากหน้า แต่วันนี้ขออนุญาตพามาดูฉากหลังว่าทำมั้ย ทำไม ยักษ์ใหญ่ซีพีจึงไม่ลงนามในสัญญาการประมูล แถมเจรจายืดเยื้อยาวนานนับปี
พรานฯ พาทุกท่านมาทัศนา หนังสือฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 19 กันยายน 2562 ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมการค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ทำถึง วรวุฒิ มาลา ประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนของโครงการ สำเนาถึง คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี สุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการ รฟท. ประธานคณะทำงาน

อะแฮ่ม หนังสือดังกล่าวว่าดังนี้ ...ตามหนังสือที่ รฟ1/ 2028/2562 ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2562 ถึงกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ และในหนังสือดังกล่าวได้อ้างถึงการที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้มีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุน โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ เป็นเอกชนที่ได้รับคัดเลือกตามที่ รฟท.เสนอและคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบผลการประชุมของกพอ. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562
ต่อมา กพอ.ได้มีมติให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ รฟท. และที่ปรึกษาของโครงการ จัดทำร่างเอกสารแนบท้ายของร่างสัญญาร่วมลงทุนของโครงการให้แล้วเสร็จ และเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ เพื่อลงนามสัญญาร่วมลงทุนของโครงการภายในเดือนสิงหาคม 2562 และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 20/2562 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 กำหนดในวันที่ 9 กันยายน 2562 เป็นวันสิ้นสุดการเจรจาร่างเอกสารแนบท้าย
ต่อมาประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ส่งหนังสือถึง กลุ่มกิจการร่วมค้าฯ เพื่อแจ้งมติคณะกรรมการคัดเลือกฯ เรื่อง การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการเจรจาร่างเอกสารแนบท้ายของร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ และการสละเอกสิทธิ์และความคุ้มกันในการไม่ขึ้นศาลไทย และสิทธิในการฟ้องร้องหรือการบังคับคดีซึ่งได้รับการคุ้มครองในศาลไทย
ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ได้ส่งหนังสือชี้แจงประเด็นต่างๆ ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และจำเป็นที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะต้องร่วมพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน เนื่องจากมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่กำหนดให้สิ้นสุดการเจรจาร่างเอกสารแนบท้ายของสัญญาร่วมลงทุนฯ ตามหนังสือที่อ้างถึงไม่สมเหตุสมผล
คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงได้ขอให้กลุ่มกิจการร่วมค้าฯ เข้าประชุมเจรจาร่วมกับผู้แทนคณะกรรมการคัดเลือกฯ เกี่ยวกับประเด็นที่เจรจาไม่แล้วเสร็จในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 โดยรักษาการผู้ว่าการ รฟท. ตัวแทนจาก กพอ.และตัวแทนจากคณะกรรมการคัดเลือกฯ เข้าร่วมประชุม ได้มีข้อสรุปในประเด็นที่ยังเจรจาไม่แล้วเสร็จ และให้นำข้อสรุปดังกล่าวไปปรับแก้ร่างเอกสารแนบท้ายของร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ ให้สอดคล้องกับข้อสรุปที่ได้จากที่ประชุม
ต่อมาคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ประชุมในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562 และส่งหนังสือที่ รฟ1/2028/2562 ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562 มายังกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ โดยมีมติเห็นชอบและจัดส่งร่างเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 3 (อัตราค่าโดยสาร) เอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 6 (แผนการส่งมอบพื้นที่ของโครงการ) และร่างเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 12 (ข้อกำหนดดัชนีชี้วัด) และเอกสารแนบท้ายอื่นๆ บางส่วนมาให้ โดยจะไม่มีการเจรจาเอกสารแนบท้ายดังกล่าวอีก
และกำหนดให้กลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ส่งหนังสือเพื่อตกลงและยอมรับว่า ให้ใช้ร่างเอกสารแนบท้ายทั้งหมดดังกล่าว เป็นเอกสารแนบท้ายของร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ เพื่อลงนาม โดยให้กลุ่มกิจการร่วมค้าฯส่งหนังสือเพื่อตกลงและยอมรับภายในวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 15.00 น. ซึ่งมีระยะเวลาเพียงแค่ 3 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก

นอกจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ยังกำหนดว่า หากกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ไม่ส่งหนังสือเพื่อตกลงและตอบรับภายในวันและเวลาที่กำหนดดังกล่าว คณะกรรมการคัดเลือกฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควร ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายและเอกสารการคัดเลือกเอกชนของโครงการกำหนดต่อไป และหากกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ส่งหนังสือยอมรับร่างเอกสารแนบท้ายฯ ที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นชอบอย่างไม่มีเงื่อนไขในวันและเวลาที่กำหนดดังกล่าว จะถือว่ากลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ยอมรับให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ กำหนด วัน เวลา และสถานที่ ในการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ
ขอเรียนชี้แจงว่า กลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ไม่อาจเห็นพ้องกับมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562 และข้อกำหนดใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ดังกล่าว
เพราะ 1. เป็นการตั้งกรอบเวลาที่ไม่เหมาะสม ข้อมูลที่ รฟท.มีอยู่ยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่สามารถรวบรวมได้ครบถ้วน และข้อมูลที่มีอยู่ยังไม่เป็นข้อมูลในปัจจุบัน ประกอบกับมีประเด็นที่หาข้อสรุปไม่ได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนการส่งมอบพื้นที่ของโครงการค่าใช้จ่ายในการรื้อย้าย ข้อกำหนดเรื่องดัชนีชี้วัด อัตราค่าโดยสาร และข้อ 39.7 ของร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ ยังมีปัญหา
2. กลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ได้พิจารณาและตรวจสอบร่างเอกสารแนบท้ายทั้งหมดที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ให้ความเห็นชอบซึ่งที่ปรึกษาของรฟท.ได้จัดส่งให้แล้ว พบว่าร่างเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนบางส่วนในส่วนที่สำคัญ ไม่เป็นไปตามแนวทางที่กลุ่มกิจการร่วมค้าฯ และผู้แทนคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ตกลงกันในการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 ประกอบกับเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนฯ ในส่วนอื่นๆ ที่ส่งมาให้ยังไม่ครบถ้วน
เห็นชัดมั้ยว่าซีพีจะเซ็นลงนามลงทุนรถไฟที่รู้ทั้งรู้ว่าขาดทุนหรือไม่!
จะยื้อไปอีกนานแค่ไหน! พรานฯไม่รู้ รู้แต่ว่ารถไฟความเร็วสูงกลายเป็นโบว์แดงแสลงใจคนจริงๆ เลยขอรับนายท่าน...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2019 7:53 pm    Post subject: Reply with quote

เจาะสัญญาไฮสปีดก่อสร้างช้าปรับ3.2พันล้าน/ปี

22 กันยายน 2562

การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท ใกล้ความจริงมากขึ้น หลังจากกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการคัดเลือกฯโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตอบรับการลงนามในสัญญาตามกำหนดเวลา แต่ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการล่าช้า จำนวนผู้โดยสารไม่ได้ตามเป้าอีกทั้งการจัดหาขบวนรถ ไม่ตรงตามเวลาที่อาจส่งผลให้ผู้รับสัมปทานก่อสร้างล่าช้าต้องจ่ายค่าปรับ

"ฐานเศรษฐกิจ"ตรวจสอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะลงนามกับกลุ่มซีพี พบว่าในร่างสัญญาได้กำหนดค่าปรับ เกี่ยวกับการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเอกชนจะต้องรับผิดชําระค่าปรับให้แก่ รฟท. เป็นจํานวนเงิน 9,000,000 บาทต่อวัน หรือปีละ 3,240 ล้านบาท

กรณีที่เอกชนคู่สัญญาดําเนินงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนต่อขยายไม่แล้วเสร็จเอกชนคู่สัญญา จะต้องชําระค่าปรับให้แก่ รฟท. เป็นจํานวนเงิน 2,280,000 บาทต่อวัน แต่ถ้ามีความล่าช้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ รฟท. และค่าเสียหายมีจํานวนมากกว่าค่าปรับที่กําหนดไว้ เอกซนคู่สัญญาจะต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่ รฟท. เท่ากับค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้นจริง

ขณะเดียวกันยังกำหนดว่า กรณีที่เอกชนคู่สัญญาดําเนินงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วน งานโครงสร้างพื้นฐานหรือสิ่งปลูกสร้างทางโยธาที่จะเป็นโครงสร้างของโครงการ รถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และโครงการรถไฟ สายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลําโพง ซึ่งอยู่บริเวณหน้าพระตําหนักจิตรลดารโหฐาน ไม่แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาห้5ปีนับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของ โครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชําระค่าปรับให้แก่ รฟท. เป็นจํานวนเงิน 320,000 บาทต่อวัน

กรณีที่เอกชนคู่สัญญาดําเนินงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของ งานโครงสร้างพื้นฐานหรือสิ่งปลูกสร้างทางโยธาที่จะเป็นโครงสร้างทางวิ่งร่วมกับ โครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและโครงการรถไฟความเร็วสูงสาย ตะวันออกเฉียงเหนือช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองไม่แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลา5 ปี นับจากวันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชําระ ค่าปรับให้แก่ รฟท. เป็นจํานวนเงิน 400,000 บาทต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2019 11:03 pm    Post subject: Reply with quote

"อนุทิน" ฟิวส์ขาดกลุ่มซีพียื้อไฮสปีด
วันที่ 25 กันยายน 2562 -

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วงเงิน 2.2 แสนล้านบาทว่า การเจรจาสัญญาโครงการฯ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุมซีพี มีประเด็นเรื่องการรื้อถอนเสาตอหม้อโฮปเวลล์เพื่อเปิดพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งต้องหาผู้รับผิดชอบว่า ใครต้องเป็นผู้ทุบเสาโฮปเวลล์ระหว่างการรถไฟฯ หรือกลุ่มซีพี

อย่างไรก็ตามนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ได้ให้ความเห็นต่อประเด็นนี้ว่า ยินดีจะออกทุนส่วนตัวจำนวน 200 ล้านบาทเพื่อใช้ในการทุบเสาโฮปเวลล์และแก้ปัญหาดังกล่าว ถ้าหากจะส่งผลดีให้โครงการฯ เดินหน้าต่อไปได้

“เรื่องเงิน 200 ล้านบาท ท่านรองนายกบอกว่า ยินดีใช้เงินส่วนตัวจ่ายให้ ถ้าเป็นประเด็นที่จะทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเดินหน้าต่อไปได้ เพื่อประโยชน์ของประเทศไทยและพี่น้องประชาชน” นายศักดิ์สยามกล่าว

ทั้งนี้นายอนุทินได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ว่ามีทรัพย์สินจำนวน 4,248.82 ล้านบาท

สำหรับการลงนามในสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบินระหว่างรฟท. ยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุน และคณะรัฐมนตรีก็มีมติรับทราบพลการประชุมของกพอ.ไปตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถลงนามร่วมกันได้ เนื่องจากคณะทำงานและกลุ่มซีพีได้มีการเจรจาต่อรองในรายละเอียดเอกสารแนบท้ายสัญญาในหลายประเด็น

ล่าสุดเมื่อวันที่่ 19กันยายน 2562 กลุ่มซีพีได้ส่งหนังสือแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนดในรายละเอียดของเอกสารแนบท้ายสัญญา พร้อมขอประชุมร่วมกับคณะกรรมการคัดเลือกโครงการฯเพื่อแก้ไขเอกสารแนบท้ายสัญญาทีร่วมลงทุนที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้อีกครั้ง

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบของ “ฐานเศรษฐกิจ” พบว่าเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562 กลุ่มซีพีและคณะกรรมการคัดเลือกฯได้ประชุมร่วมกัน และมีมติเห็นชอบให้มีการปรับแก้ร่างเอกสารแนบท้ายของร่างสัญญาร่วมลงทุนฯในหลายประเด็นหนึ่งในนั้นคือ กรณีคณะกรรมการคัดเลือกฯยังได้สอบถามกลุ่มซีพีถึงข้อเสนอของกลุ่มซีพีเกี่ยวกับงบประมาณจำนวน 2,500 ล้านบาทที่ระบุไว้ในข้อเสนอของกลุ่มซีพี ซึ่งกลุ่มซีพีชี้แจงว่าเป็นค่าใช้จ่ายประมาณการสำหรับการดำเนินโครงการในส่วนงานปรับปรุงพื้นที่โครงการทั่วไปก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ พร้อมระบุว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายสําหรับการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรวมถึงตอม่อและเสาโฮปเวลล์ที่มีอยู่ในพื้นที่ของโครงการ เนื่องจากกลุ่มซีพีไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสามารถประเมินและระบุค่าใช้จ่ายสําหรับ งานดังกล่าวในข้อเสนอที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการคัดเลือกฯในเวลานั้นได้




ถอย 1 ก้าว “อนุทิน” ยืนเป้าเซ็นไฮสปีด 15 ต.ค. กล่อมบอร์ดคัดเลือกฯ อะไรยอมซีพีได้ ก็ยอม
พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 25 กันยายน 2562 - 21:09 น.

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ในฐานะกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูม – อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท มาสั่งให้เจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เอกชนผู้ผ่านการคัดเลือกที่เสนอให้รัฐอุดหนุนโครงการน้อยที่สุด 117,227 ล้านบาท ให้จบ อะไรยอมได้ก็ต้องยอม เพื่อให้เกิดการเซ็นสัญญาในวันที่ 15 ต.ค.นี้ให้ได้

ส่วนกรณีของเอกสารแนบท้ายสัญญา คณะกรรมการคัดเลือกกล่าวในที่ประชุมว่าได้ยอมรับเงื่อนไข 11 ข้อครึ่ง จาก 12 ข้อ อย่างไรก็ตาม ได้แนะนำไปว่า ถ้ามีข้อใดติดขัดยอมรับไม่หมด ทั้ง 2 ฝ่าย ก็ต้องทำตาม TOR เป็นหลัก ไม่ใช่เอาสัญญาแนบท้ายมาดึงเรื่องกัน หากสามารถเห็นตรงกันในเอกสารแนบท้ายสัญญาได้หมด การลงนามในสัญญาก็สามารถทำได้ทันที โดยจะไม่มีการประมูลใหม่เด็ดขาด ผู้ชนะการประมูลจะต้องได้งาน ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกจะไม่ได้งาน ทุกอย่างต้องเป็นไปตาม TOR

“ทาง CPH มีการยื่นขอความช่วยเหลือ แต่ถ้ามันมากเกินที่ TOR กำหนด ก็ไม่สามารถให้ความช่วเหลือได้ เช่น การรื้อย้ายโฮปเวลล์ CPH แจ้งว่าไม่สามารถทำได้ เพราะยังไม่เห็นโครงสร้างเดิมที่ต้องทุบทั้งหมด แต่คณกรรมการคัดเลือกและอีอีซี บอกว่า จะมาอ้างว่าไม่เห็นไม่ได้ เพราะใน TOR ระบุให้เป็นหน้าที่ของเอกชนต้องรับภาระนี้ไป แต่ถ้าพื้นที่ไหนที่มันไม่ชัดเจนจริงๆก็มาคุยกันได้ ดังนั้น อย่าให้ส่วนงานที่ติดขัดเรื่องรื้อโฮปเวลล์เพียง 200 ล้านบาทมาทำให้เลิกการเจรจา แล้วให้รัฐไปซื้อขอแพงดึงอีกกลุ่มที่เสนอแพงกว่าตั้ง 50,000 ล้านบาทมาทำแทน”

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ส่วนเงิน 2,500 ล้านบาทที่กลุ่ม CPH ขอรัฐนั้นก็ไม่ใช่ จริงๆแล้วกลุ่ม CPH ได้จัดงบของตัวเองไว้ 2,850 ล้านบาท เพื่อใช้ในงานรื้อถอนพื้นที่อุปสรรค แต่มีปัญหาเรื่องการตีความกรณีรื้อถอนโครงสร้างเดิมของโฮปเวลล์ ฝ่าย CPH เห็นว่าไม่ควรจะมาอยู่ในงบประมาณที่จัดไว้ แต่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เห็นว่าควรจัดให้การรื้อโฮปเวลล์อยู่ในพื้นที่อุปสรรคที่กลุ่ม CPH ต้องทำด้วย ซึ่งร.ฟ.ท.เสียแค่ 200 ล้านบาทจะเอาไปแลกกับการดึงอีกกลุ่มที่เสนอเกินกรอบ 50,000 ล้านบาท มันคุ้มกันหรือไม่?
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 336, 337, 338 ... 549, 550, 551  Next
Page 337 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©