Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287826
ทั้งหมด:13599150
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 340, 341, 342 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2019 5:10 pm    Post subject: Reply with quote

อนุทิน เดินหน้าเรื่องรถไฟ 3 สนามบิน
วันที่ 3 ตุลาคม 2562 - 13:04 น.

"อนุทิน" ยันไม่คิดหัก CPH แต่เดินหน้าเรื่องรถไฟ 3 สนามบินเพื่อประโยชน์ชาติ มั่นใจ 15 ตุลาฯ ฝ่ายเอกชนเซ็นเดินหน้าโครงการแน่นอน



3 ต.ค.2562 -นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าในโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งกำหนดให้กลุ่มบริษัทเอกชนผู้ชนะประมูล หรือกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ต้องมาเซ็นรับงานในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ว่า มันมีการสื่อสารว่าตนหักกับกลุ่ม CP แต่ความเป็นจริง ไม่ได้เป็นเป็นเช่นนั้นเลย ขอให้เข้าใจว่าในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องนี้อยู่ มันจำเป็นต้องทำงาน หากอยู่เฉยๆ จะจ้างตนทำไม และกลุ่ม CPH ก็ชนะการประมูลมาจะครบปีแล้ว จำเป็นต้องเดินหน้ากันเสียที ทั้งนี้ เมื่อทางเอกชนเสนอราคาต่ำสุดถูกกว่าคู่แข่งประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ก็ต้องยอมรับว่าภาครัฐเอง ยังตะลึงกับราคานี้ และพอใจมาก แน่นอนว่าพร้อมจะช่วยเหลือฝ่ายเอกชน แต่ก็ขอให้เป็นไปตามสัญญาที่ให้ไว้






พรีมาเนสท์ เติมออร่า พิสูจน์ผลลัพธ์ผิวสวยด้วยคุณค่าจาก "รังนกแท้"
ลดเลือนริ้วรอยแห่งวัยและปรับผิวให้กระจ่างใสขึ้น ด้วยสารสกัดจากรังนกธรรมชาติ บำรุงเป็นประจำ เห็นผลชัดเจน
อ่านต่อ

Advertiser



อีกอย่างคือ ที่เราทำ เพราะว่าเรามองถึงอนาคต เนื่องจากหากเซ็นรับงานไปทำแล้ว รู้ราคาแน่นอน ทางเอกชน จะได้ไปคุยกับซัพพลายเออร์ได้ งานจะได้เดินหน้าเสียที ยิ่งกว่านั้น กรอบการยืนราคา ไปถึงแค่วันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ ทั้งนี้ การดำเนินการให้ CPH มาเซ็นรับงาน มันเป็นการทำเพื่อชาติ เพราะถ้ารถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังคาราคาซังกันอยู่ จะไปลดทอนความเชื่อมั่นนักลงทุน ที่จะมาลงทุนในโครงการ EEC โครงการทั้งหมดจะเกิดปัญหาทันที ดังนั้น ตนจำเป็นต้องทำ โครงการอื่นที่เกี่ยวกับ EEC ภาครัฐเดินหน้าเต็มที่ การที่เราออกจดหมายเรียกกลุ่ม CPH มาเซ็นสัญญา ก็เท่ากับทางนั้นรับทราบไปหมด

เมื่อถามว่า ทางกลุ่ม CPH ต้องการให้รัฐ ส่งมอบพื้นที่ครบ 100% จึงจะลงนามสัญญาก่อสร้าง นายอนุทิน กล่าวว่า แต่ตามสัญญากำหนดเรื่องการส่งมอบพื้นที่ไว้แค่ 50% และตอนนี้รัฐ ก็ทำได้ตามสัญญา ถ้าจะขอเพิ่มไปกว่านี้ การรถไฟฯ ที่ดูแลรับผิดชอบ ต้องไม่ยอมแน่นอน ส่วนที่มีการบอกว่ากลุ่ม CPH กำลังหาแหล่งทุน อันนั้น ไม่ทราบ เป็นเรื่องของฝ่ายเอกชน แต่ส่วนตัวมองว่าทางผู้ชนะการประมูล แค่ต้องการเงื่อนไขที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ แต่เชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพ ฝ่ายเอกชนทำโครงการนี้ได้แน่นอน และขอยืนยันว่าภาครัฐจะทำทุกอย่างให้ถูกต้องตาม TOR

“คิดว่าวันที่ 15 ตุลาคม กลุ่ม CPH มาลงนามสัญญาก่อสร้างแน่นอน เพราะถ้าหากไม่มา จะต้องโดนแบล็กลิสต์จากรัฐ เป็นการเสียชื่อบริษัท ยิ่งกว่านั้น มันหมายถึงว่านอกจาก CP แล้ว กลุ่มบริษัทที่ร่วมทุนทั้ง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก็จะได้รับผลกระทบในการประมูลงานรัฐในอนาคตด้วย เรียกว่าผลเสียมหาศาลจริงๆ” นายอนุทิน กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2019 7:35 pm    Post subject: Reply with quote

คลังเร่งรัฐวิสากิจลงทุน โครงการรถไฟเร็วสูงไทยจีนยังอืด

วันที่ 3 ตุลาคม 2562 เวลา 15:36 น.


สคร. ติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีวงเงินลงทุนสูงอย่างใกล้ชิดและเร่งแก้ไขอุปสรรคการเบิกจ่ายงบลงทุน หวังเบิกจ่ายเข้าเป้าไตรมาสสุดท้ายปี 2562

นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ภาพรวมการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจ ณ สิ้นเดือนส.ค. 2562 ของรัฐวิสาหกิจ 45 แห่ง มีผลการเบิกจ่ายสะสม จำนวน 169,883 ล้านบาท หรือคิดเป็น 80% ของแผนเบิกจ่ายสะสม

ทั้งนี้ เป็นผลการเบิกจ่ายสะสมของรัฐวิสาหกิจ 45 แห่ง แบ่งเป็นรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ 11 เดือน (ต.ค. 2561 – ส.ค. 2562) จำนวน 34 แห่ง เบิกจ่ายจริงสะสม 89,315 ล้านบาท หรือคิดเป็น 68% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม และรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน 8 เดือน (ม.ค. 2562 – ส.ค. 2562) จำนวน 11 แห่ง เบิกจ่ายจริงสะสม 80,568 ล้านบาท หรือคิดเป็น 98% ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม

สำหรับการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจ 45 แห่ง ณ เดือนสิงหาคม 2562 มีโครงการขนาดใหญ่ ที่สามารถเบิกจ่ายเป็นไปตามแผน ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการลงทุนโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และงานก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปาของการประปาส่วนภูมิภาค
ธุรกิจโฆษณา
inRead invented by Teads

ทั้งนี้ มีโครงการขนาดใหญ่ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามแผน ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่ง สคร. ได้ติดตามโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐวิสาหกิจที่เบิกจ่ายงบลงทุนล่าช้าเพื่อแก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ล่าช้า รวมทั้งได้ประสานงานกับรัฐวิสาหกิจปีปฏิทินที่มีแผนการเบิกจ่ายสูงให้สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

นายประภาศ กล่าวว่า สคร. ได้ทำงานเชิกรุกในการผลักดันการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2562 ที่จะสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงผลักดันให้รัฐวิสาหกิจ ที่มีศักยภาพพิจารณาเร่งการลงทุนโครงการใหม่ๆ เพิ่มเติมให้สามารถดำเนินโครงการได้เร็วขึ้น เพื่อสนับสนุน การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยตามยุทธศาสตร์ชาติอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2019 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดจ่อขยับ จับซีพีตอกเข็ม
ออนไลน์เมื่อ 3 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3510 วันที่ 3-5 ตุลาคม 2562

รฟท. ยันส่งมอบพื้นที่ล็อตแรก 3,000 ไร่ ภายใน 1 เดือนนับจากเซ็นสัญญา เปิดทางกลุ่มซีพีลงพื้นที่ตอกเข็มมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 9/2562 เห็นชอบให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงนามในสัญญากับกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) วันที่ 15 ตุลาคม 2562

สะท้อนความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีว่า การตอกเสาเข็มต้นแรกของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอนาคตอันใกล้หากไม่มีเหตุการณ์เหนือความคาดหมายเกิดขึ้น

ขณะความล่าช้าเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ที่กลุ่มซีพี พยายามนำมาเป็นเงื่อนไขยื้อเซ็นสัญญา ที่ว่ารฟท.ต้องส่งมอบพื้นที่ 100% ล่าสุด ได้ข้อยุติกพอ.มอบให้รฟท. เร่งส่งมอบพื้นที่ 72% ภายใน 1 ปี ส่วนพื้นที่ไหนไม่ติดปัญหาก็สามารถลงมือได้ทันที ทั้งนี้ การแก้ปัญหาในเชิงรุกของกพอ.เพื่อให้อีอีซีขับเคลื่อนได้ในครั้งนี้ ประเมินว่ากลุ่มซีพีน่าจะเซ็นสัญญาตามนัด มั่นใจ100% ซีพีมาตามนัด

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า รฟท.มั่นใจ 100% ว่าวันที่ 15 ตุลาคม 2562 กลุ่มซีพี จะลงนามร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3สนามบิน

เนื่องจากรฟท. เตรียมส่งมอบพื้นที่ล็อตแรกที่ปราศจากสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 3,000 ไร่ ภายใน 1 เดือนนับจาก ลงนามในสัญญา ช่วยให้กลุ่มซีพี เข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ทันที

ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณช่วงปลาย โครงการสนามบินอู่ตะเภา พัทยา และพื้นที่อื่นๆบางบริเวณขณะพื้นที่ที่ยังติดปัญหากรณีบุกรุก เขตทางรถไฟ มี 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงตั้งแต่ ดอนเมือง-ฉะเชิงเทรา ประมาณ 200-300 ครอบครัว และ ช่วงบริเวณสถานีศรีราชา อีก จำนวนหนึ่งนับ 100 ครอบครัว

เร็วๆนี้ รฟท.เตรียมลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับผู้บุกรุกให้ออกจากพื้นที่ โดยเริ่มจากช่วงดอนเมืองเป็นต้นไป เจรจาปรับแนวท่อสำหรับการเจรจาการรื้อย้ายสาธารณูปโภค เช่นท่อส่งนํ้ามัน ท่อส่งก๊าซ กับ ปตท. เสาไฟฟ้ากับ ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ท่อประปากับการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค เป็นต้น จะใช้วิธีออกแบบ หลบแนวเส้นทางไฮสปีด ส่วนค่าใช้จ่ายรื้อย้ายเอกชนตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้“

กพอ. เห็นชอบให้กระทรวงพลังงานเร่งรัดการรื้อย้ายท่อก๊าซยาว 12 กม. ยกเสาไฟฟ้าแรงสูง 16 จุด กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดย้ายท่อประปาขนาดใหญ่ยาว 2 กม. และกระทรวงคมนาคมโดย รฟท.ใช้สิทธิ์เร่งรัดให้ย้ายท่อนํ้ามันของบริษัทเอกชน ระยะทาง 44 กม .”

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า มั่นใจจะสามารถส่งมอบที่ดิน 72% และที่ยังติดปัญหาได้ภายใน 1 ปี หลังลงนามในสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้เอกชนเริ่มก่อสร้างโครงการส่วนสัญญาแนบท้ายกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ เช่น ใช้เวลา 2 ปีในการแก้ปัญหาบุกรุก

รวมถึงการรื้อย้ายสาธารณูปโภคเพื่อส่งมอบพื้นที่ ได้ถูกยกเลิกไปสำหรับพื้นที่เวนคืน 850 ไร่ 12 แปลง ส่วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา 400 ไร่ จำนวน 1 แปลง เพื่อก่อสร้างสถานีและอู่ซ่อม พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวน คืนที่ดิน ปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาประเมินว่าอีกไม่นาน น่าจะประกาศใช้

ตอม่อโฮปเวลล์ ซีพีต้องจ่ายแหล่งข่าวจากรฟท.เสริมว่า ส่วนตอม่อโฮปเวลล์ จำนวน 200 ต้น มูลค่า 200 ล้านบาทยืนยันว่าเอกชนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและรื้อถอนซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณ บางซื่อ

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา กพอ. ได้เร่งรัดให้รฟท.ดำเนินการ จัดทำแผนการส่งมอบพื้นที่ให้ได้มากที่สุดและพร้อมเซ็นสัญญาในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ด้านความก้าวหน้าโครงการอีอีซี

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผยว่าภายในปีนี้ โครงการขนาดใหญ่ได้รับอนุมัติโครงสร้างพื้นฐานอยู่ระหว่างการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังมีการเซ็นสัญญาขณะไฮสปีดของรฟท. ก็จะมีการลงนาม กับกลุ่มซีพี วันที่ 15 ตุลาคมนี้

ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินจะขยับอีก รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนที่ ก้าวเข้ามาใน 3 จังหวัดอีอีซี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2019 11:10 am    Post subject: Reply with quote

“อนุทิน” ไม่คิดแตกหักซีพี ยันเดินหน้า รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อประโยชน์ชาติ

วันที่ 3 ตุลาคม 2562
วันที่ 3 ต.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าในโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งกำหนดให้กลุ่มบริษัทเอกชนผู้ชนะประมูลหรือกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ต้องมาเซ็นรับงานในวันที่ 15 ต.ค.นี้ ว่า มีการสื่อสารว่าตนหักกับกลุ่ม CP แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ขอให้เข้าใจว่าในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องนี้ จำเป็นต้องทำงาน หากอยู่เฉยๆ จะจ้างตนทำไม และกลุ่ม CPH ก็ชนะการประมูลมาจะครบปีแล้ว จำเป็นต้องเดินหน้ากันเสียที

ทั้งนี้ เมื่อทางเอกชนเสนอราคาต่ำสุดถูกกว่าคู่แข่งประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ก็ต้องยอมรับว่าภาครัฐเองยังตะลึงกับราคานี้ และพอใจมาก แน่นอนว่าพร้อมจะช่วยเหลือฝ่ายเอกชน แต่ก็ขอให้เป็นไปตามสัญญาที่ให้ไว้ นอกจากนี้เรามองถึงอนาคต เนื่องจากหากเซ็นรับงานไปทำแล้ว รู้ราคาแน่นอน ทางเอกชนจะได้ไปคุยกับซัพพลายเออร์ได้ งานจะได้เดินหน้า


“การดำเนินการให้ CPH มาเซ็นรับงาน เป็นการทำเพื่อชาติ เพราะถ้ารถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินยังคาราคาซังกันอยู่ จะไปลดทอนความเชื่อมั่นนักลงทุน ที่จะมาลงทุนในโครงการ EEC โครงการทั้งหมดจะเกิดปัญหาทันที ดังนั้น ผมจำเป็นต้องทำ โครงการอื่นที่เกี่ยวกับ EEC ภาครัฐเดินหน้าเต็มที่ การที่เราออกจดหมายเรียกกลุ่ม CPH มาเซ็นสัญญา ก็เท่ากับทางนั้นรับทราบไปหมด” นายอนุทิน กล่าว

เมื่อถามว่าทางกลุ่ม CPH ต้องการให้รัฐ ส่งมอบพื้นที่ครบร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงจะลงนามสัญญาก่อสร้าง นายอนุทิน กล่าวว่า ตามสัญญากำหนดเรื่องการส่งมอบพื้นที่ไว้แค่ 50 เปอร์เซ็นต์ และตอนนี้รัฐก็ทำได้ตามสัญญา ถ้าจะขอเพิ่มไปกว่านี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยที่ดูแลรับผิดชอบ ต้องไม่ยอมแน่นอน

ส่วนที่บอกว่ากลุ่ม CPH กำลังหาแหล่งทุน อันนั้นไม่ทราบ เป็นเรื่องของเอกชน แต่ส่วนตัวมองว่าทางผู้ชนะการประมูล แค่ต้องการเงื่อนไขที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ แต่เชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพฝ่ายเอกชนทำโครงการนี้ได้แน่นอน และขอยืนยันว่าภาครัฐจะทำทุกอย่างให้ถูกต้องตาม TOR

คิดว่าวันที่ 15 ต.ค. กลุ่ม CPH มาลงนามสัญญาก่อสร้างแน่นอน เพราะหากไม่มาจะต้องโดนแบล็กลิสต์จากรัฐ เป็นการเสียชื่อบริษัท ยิ่งกว่านั้นหมายถึงว่านอกจาก CP แล้ว กลุ่มบริษัทที่ร่วมทุนทั้ง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น บมจ.ช.การช่าง และบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนต์ ก็จะได้รับผลกระทบในการประมูลงานรัฐในอนาคตด้วย เรียกว่าผลเสียมหาศาลจริงๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2019 11:36 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ไฮสปีด” ติดหล่มที่ดินรถไฟ วิบากกรรมสัมปทานเมกะโปรเจ็กต์ “โฮปเวลล์-แอร์พอร์ตลิงก์-สายสีแดง”
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 3 ตุลาคม 2562 - 09:05 น.


เปิดพื้นที่ก่อสร้าง 'ไฮสปีดเทรน' มหาโหด ทุบตึกกรมทางหลวง-รพ.รามา!
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 4 ตุลาคม 2562 เวลา 10:36

เปิดพื้นที่อุปสรรคในการก่อสร้างไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ของกลุ่มซีพี คาดจะเซ็นสัญญาได้ภายใน 15 ตค.นี้ ตามที่ 'เสี่ยหนู' กำหนดเส้นตายไว้ ระบุ พื้นที่มหาโหดจะอยู่ช่วงพญาไทไปจนถึง รพ.วิชัยยุทธ ที่ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ ชี้ต้องทุบอาคารและปั๊มน้ำมันในกรมทางหลวง รวมทั้งตึกพยาบาลในโรงพยาบาลรามาฯ ด้าน FPT เจ้าของท่อส่งน้ำมัน บ่นอุบงานนี้หืดขึ้นคอ ขณะที่ท่อไซฟอนของ กทม.ปัญหาหนักอกซีพี-ร.ฟ.ท. ส่วนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กฟผ.500 KV เพื่อเชื่อมกำลังผลิตไฟฟ้าในภาคตะวันออกทั้งหมดและภาคกลางเพื่อความมั่นคงของพลังงานไทยจะทำอย่างไร!

ในที่สุดกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มCPH) ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูล โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร ต้องมาเซ็นสัญญาโครงการนี้แน่นอน เพียงแต่ว่าจะเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ซึ่งเป็นเส้นตาย (Deadline) ตามที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบกระทรวงคมนาคม กำหนดไว้หรือไม่?

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า เวลานี้ยังมีบางส่วนที่ทั้งกลุ่มซีพี และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยังมีความเข้าใจไม่ตรงกัน จึงจะใช้เวลาจากนี้ไปจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม ประชุมหารือเพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่สามารถสรุปได้ให้แล้วเสร็จ เพื่อจะได้ลงนามในสัญญาได้ทัน แต่ถ้าการเจรจายังไม่ชัดเจนก็อาจจะมีการขยับเวลาเซ็นสัญญาไปบ้าง

“ทุกอย่างต้องชัดเจน ถ้าเข้าใจตรงกันได้เร็วก็อาจเซ็นก่อน 15 ตุลาฯ หรือวันที่ 15 ตุลาฯ ตามกำหนด แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็อาจเลื่อนออกไปได้บ้าง ก็ไม่ใช่เพื่อจะช่วยกลุ่มซีพี แต่ต้องการให้โครงการนี้เกิดได้ การรถไฟฯ ก็จะต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐให้มากที่สุด”


อย่างไรก็ดี สิ่งที่กลุ่มซีพีมีความกังวลในเรื่องของการส่งมอบที่ดิน เพราะมีอุปสรรคในเรื่องของการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่างๆ และการบุกรุกของประชาชน ทำให้ไม่สามารถเข้าไปทำการก่อสร้างได้ หรือถ้าก่อสร้างได้ ก็จะทำได้เป็นจุดๆ แล้วก็ต้องหยุดไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้อีก ซึ่งจะทำให้กลุ่มซีพีต้องแบกรับดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งเป็นภาระด้านต้นทุนที่สูงอยู่แล้วเพิ่มมากขึ้น ทาง ร.ฟ.ท.ก็ได้เร่งรัดเพื่อแก้ไขปัญหานี้แล้ว

เราบอกส่งมอบที่ดินได้ถึง 72% แต่กลุ่มซีพีก็ยังไม่เข้าใจอีกว่า 72% คิดอย่างไร เป็นที่ดินที่พร้อมทำงานได้เลยมั้ย เพราะเดิม ร.ฟ.ท.กับซีพี กำหนดส่งมอบที่ดินเป็น 2 ส่วน คือพื้นที่พร้อมส่งมอบ กับพื้นที่ส่งมอบภายหลัง เราก็ต้องนำปัญหาที่ดินมานั่งคุยกันให้ชัดเจน”

โดยที่ดินพร้อมส่งมอบนั้น ที่มีการเจรจาไว้ก่อนหน้านี้ก็คือ พื้นที่ที่มีอุปสรรคในเรื่องของการรื้อย้ายสาธารณูปโภค เมื่อส่งมอบมาให้แล้วทาง ร.ฟ.ท.และกลุ่มซีพี จะต้องไปร่วมกันย้ายสิ่งที่เป็นอุปสรรคด้วยกัน เพื่อให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่พร้อมทำงานก่อสร้างได้

“พื้นที่ประเภทอุปสรรคมีจำนวนมาก และบางแห่งจะย้ายยากมากๆ ซึ่งรถไฟฯ ก็มีความหนักใจ แม้จะเป็นเจ้าของพื้นที่ก็จริง แต่การจะไปให้หน่วยงานอื่นที่มาขอใช้พื้นที่รื้อย้าย ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ติดอุปสรรคเยอะมากๆ และบางแห่งก็ยังไม่ได้ไปบอกให้เขารู้ว่าต้องรื้อย้าย“

แต่หลังจากที่มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด EEC ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้รับทราบการวางกำหนดส่งมอบที่ดินโครงการไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ที่มีการรายงานว่า ร.ฟ.ท.จะส่งมอบที่ดิน 72% ภายใน 1 ปี หลังลงนามในสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้เอกชนเริ่มก่อสร้างได้ และรับทราบถึงอุปสรรคต่างๆ จึงได้มีการเร่งรัดให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการร่วมกับ ร.ฟ.ท.หาทางรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่หน่วยงานนั้นๆ เป็นเจ้าของและเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ

“บิ๊กตู่ลงมาดำเนินการเรื่องนี้เอง ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน ลงมาช่วยกัน ก็ทำให้กลุ่มซีพีรู้สึกมั่นใจว่าน่าจะสามารถเข้าไปทำการก่อสร้างในพื้นที่ได้”

โดยเฉพาะ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้มีการขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว โดยเรียก ร.ฟ.ท.และหน่วยงานในสังกัด ทั้งการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรุงเทพมหานคร ฯลฯ มาร่วมประชุมหารือกัน ว่าตรงไหนเป็นอุปสรรคก็ให้รีบไปดำเนินการแก้ไขเพื่อให้โครงการนี้เกิดได้


แหล่งข่าวบอกอีกว่า ในการก่อสร้างไฮสปีดเทรน หากจะพูดถึงการทำงานช่วงต่อขยายจากพญาไท-ดอนเมือง เป็นระยะทางแค่ 21 กิโลเมตร ถือเป็นช่วงที่มหาโหดที่สุด โดยเฉพาะจุดเริ่มต้นจากพญาไท ซึ่งเป็นพื้นที่แคบ จะต้องมีการรื้อรางรถไฟสายตะวันออกที่ปัจจุบันยังใช้วิ่งอยู่ทั้ง 2 ราง ออกไป 1 ราง โดยพื้นที่จากกำแพงแนวเขตรถไฟ ขยับเข้ามาจนถึงรางรถไฟ ประมาณ 1 เมตร จะมีท่อส่งน้ำมันใต้ดินขนาด 14 นิ้ว เพื่อใช้ส่งน้ำมันไปในสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ของบริษัท Fuel Pipeline Transportation Limited : FPT วางขนานแนวเส้นทางรถไฟ ซึ่งจะต้องรื้อย้ายหรือขยับไปตรงอื่นก่อน เพื่อให้กลุ่มซีพีเข้ามาทำการเปิดหน้าดินเพื่อสร้างอุโมงค์ วิ่งแบบคลองแห้ง (Open Trench and Cut & Cover Tunnel) ซึ่งเหมือนถนนลอดทางแยก เป็นผนังสองข้าง ผ่านสถานีจิตรลดา ไปจนถึงโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ที่จะก่อสร้างเป็นอุโมงค์ขนาด 17 เมตร เพื่อให้รถไฟไฮสปีดวิ่งไปและกลับ และจะมีบางช่วงต้องก่อสร้างเป็น 2 อุโมงค์เพื่อให้สายสีแดง Missing Link วิ่งไปด้วยกัน

“จะมีเปิดหน้าดินลึกลงไปถึง 10 เมตร จากกิโลเมตรที่ 0 +700 จะเป็นอุโมงค์ยาวไปถึงวิชัยยุทธ แต่ตรงพญาไทถึงแยกกรมทางหลวงช่วงถนนพระรามที่ ๖ พื้นที่จะถูกบีบเหลือ 6-7 เมตร และเมื่อข้ามถนนพระรามที่ ๖ ไปจะพบตึกกรมทางหลวง และปั๊มน้ำมันของกรมทางหลวง ตรงนั้นต้องทุบทิ้งแน่นอน เพราะเป็นช่วงวงเลี้ยวของไฮสปีดที่ต้องใช้พื้นที่เยอะมาก”

ขณะเดียวกัน บริษัท FPT ซึ่งเป็นเจ้าของท่อส่งน้ำมัน ก็ได้มาพูดคุยกับ ร.ฟ.ท.และยอมรับว่าการโยกย้ายท่อส่งน้ำมันตรงจุดพญาไท ข้ามฝั่งไปพระรามที่ ๖ เป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะจะต้องหาพื้นที่บริเวณเดียวกันขยับไปสร้างเป็นท่อส่งน้ำมันชั่วคราว และอุปสรรคใหญ่จะเป็นช่วงถนนพระรามที่ ๖ ที่รถวิ่งไปมา จะย้ายท่อชั่วคราวมาไว้เหนือพื้นดินก็ไม่สามารถทำได้

“FPT บอกขั้นตอนรื้อย้ายลำบาก และหนักใจ เพราะเป็นท่อแรงดันสูง ส่งไปจ่ายที่คลังน้ำมันเครื่องบินตรงข้ามดอนเมือง แต่ก็ต้องไปหาแนวทางให้ได้ และท่อส่งน้ำมันนี้เป็นท่อสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ ต้องใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี กว่าจะได้ท่อ เพราะการรื้อครั้งนี้ต้องรื้อไปถึงดอนเมืองด้วย”

อีกทั้งเมื่อเปิดหน้าดินด้านหลังกรมทางหลวงผ่านแยกศรีอยุธยาหลังกระทรวงการต่างประเทศ และขุดอุโมงค์ยาวไปจนถึงหลังโรงพยาบาลรามาฯ ก็จะเจออุปสรรค ทั้งระบบระบายน้ำ(ในถนน) และบ่อสูบน้ำหลังโรงพยาบาลรามาฯ และในแนวเขตนั้น จะมีอาคารสูงซึ่งเป็นที่พักของพยาบาลภายในโรงพยาบาล น่าจะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างไฮสปีดเทรนเช่นกัน

“ร.ฟ.ท.ยังไม่ได้ไปคุยกับทางโรงพยาบาลรามาฯ อาจจะต้องมีการทุบตึกหรืออาคารพักของพยาบาล เพราะมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการก่อสร้างได้ แต่เชื่อว่าจำเป็นจริงๆ ทางรามาฯ คงเข้าใจและหาทางออกร่วมกัน”

นอกจากนี้ในบริเวณนี้จะมีสาธารณูปโภคที่ต้องรื้อย้ายอีกก็คือท่อส่งน้ำของการประปานครหลวง และท่อระบายน้ำต่างๆ ของ กทม.อีก 3-4 แห่ง แต่ที่จะมีปัญหายากที่สุดอีกจุดหนึ่งก็คือ เรื่องของระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นท่อไซฟอน ใต้คลองบางซื่อเพื่อส่งเข้าโรงบำบัดที่ดินแดง

“ปัญหาคือท่อไซฟอนกว้าง 1.8 เมตร ลึงลงไปในคลอง ซึ่งการก่อสร้างต้องขุดลึกลงไปถึงตัวท่อแน่ เพราะตัวอุโมงค์ไฮสปีดจะอยู่ต่ำกว่าคลอง เราจะต้องไปรื้อท่อไซฟอนให้ขึ้นมาอยู่ท้องคลอง แต่ปัญหาด้วยสภาวะแรงดันของท่อจะทำให้วิ่งไปถึงโรงบำบัดน้ำเสียดินแดงได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ กทม.จะต้องเข้ามาตรวจสอบและแก้ปัญหาให้ ส่วนเหนือท่อไซฟอน ตรงนี้ก็จะมีท่อส่งน้ำของการประปานครหลวง (ท่อสีฟ้า) และเหนือขึ้นไป (ท่อสีขาว) ก็จะเป็นท่อส่งน้ำมันของบริษัท FPT จึงต้องแก้ปัญหาร่วมกัน”

แหล่งข่าวบอกอีกว่า ส่วนบริเวณจากสถานีบางซื่อไปยังดอนเมือง ยังมีปัญหาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 230KV ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (กฟผ.) พาดผ่านรางรถไฟ ซึ่งเป็นสายไฟขนาดใหญ่มาก แม้จะเป็น 230 KV แต่เป็นสายวงจรคู่ สองชั้น รวมแล้ว 4 วงจร ที่เชื่อมกับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าแห่งเดียวที่อยู่ใจกลาง กทม. จึงถือว่ามีความสำคัญในระดับ National Grid

“ตรงนี้อาจจะไม่มีปัญหาอะไรมาก เพราะไฮสปีดเทรนอยู่ในระดับเดียวกันกับสายสีแดง ส่วนรถไฟไทย-จีน จะอยู่เหนือขึ้นไป ซึ่งอาจจะมีอุปสรรคอยู่บ้างก็ไปแก้ไขในเวลานั้น แต่ไฮสปีดเทรน ก็คงต้องปรึกษา กฟผ.เพื่อให้งานเดินได้”

ที่คาดว่าจะเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างเช่นกันก็คือท่อส่งน้ำมันและท่อส่งก๊าซ ที่เป็นของ ปตท. ซึ่งเป็นท่อที่เตรียมการไว้เพื่อใช้ในศูนย์ราชการ แต่ในวันนี้ยังไม่ได้มีการเปิดใช้ แต่ ปตท. มีการดูแลและบำรุงรักษามาตลอด

“ท่อก๊าซ ปตท.จะอยู่ตรงสถานีดอนเมือง ซึ่งเป็นจุดที่ไฮสปีดจะไปก่อสร้างพอดี แต่เชื่อว่า ปตท.ไม่มีปัญหาที่จะทำการรื้อย้าย เพื่อให้กลุ่มซีพีเข้าไปทำการก่อสร้างได้ และอีกหนึ่งจุดตรงสถานีหลักสี่ ถนนวิภาวดีฯ มุ่งหน้าดอนเมือง ท่อของ ปตท.ก็จะอยู่ด้านซ้าย ก็ต้องมีการรื้อย้ายเช่นกัน”


ขณะที่เสาตอม่อของโครงการโฮปเวลล์เดิม จำนวน 300 ต้นนั้น ในด้านวิศวกรรมไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อย้าย เพียงแต่เสียเวลาและลำบากมากในการลำเลียงออกไปทิ้งได้ทางรถไฟเพียงทางเดียว จึงเป็นอุปสรรคสำคัญทำให้การก่อสร้างล่าช้าได้เช่นกัน

ดังนั้นในการก่อสร้างไฮสปีดเทรนสายนี้ แหล่งข่าวบอกว่า การก่อสร้างจากพญาไท ไปถึงดอนเมือง เพียงแค่ 21 กิโลเมตรจะต้องใช้เวลาทำงานเท่ากับการก่อสร้างจากพญาไทถึงอู่ตะเภา 200 กม. เป็นเพราะพื้นที่จำกัด ถ้าเป็นการก่อสร้างบนพื้นดินปกติ การหลบท่อน้ำมัน หรือสาธารณูปโภคต่างๆ ก็จะทำได้ง่ายกว่าช่วงที่ต้องขุดเปิดหน้าดินทำอุโมงค์ให้รถวิ่งได้


อย่างไรก็ดี ในการก่อสร้างจากสุวรรณภูมิไปจนถึงอู่ตะเภา ตามเส้นทางนั้น ส่วนที่จะเป็นอุปสรรค ยังคงเป็นท่อน้ำมัน Thapp Line ระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร แต่ที่จะเป็นปัญหามากที่สุดก็คือตรงที่เป็น Block Station และส่วนที่เป็น Block Valve ที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างจำนวนมาก ตรงนี้ต้องรื้อกันแน่ๆ

อีกทั้งยังมีสายส่งไฟฟ้าแรงสูงอีก 16 จุดจากฉะเชิงเทราถึงพัทยา และปัญหาหลักคือเป็นจุดตัดที่สายส่งไฟแรงสูงขวางทางรถไฟ เพราะรถไฟไฮสปีดเทรน เป็นรถไฟก่อสร้างยกระดับ และสายอยู่ในอากาศ ซึ่งเป็นเหตุให้ตัวของรถไฟจะติดกับสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เป็นเรื่องที่รื้อย้ายก็ยาก และสายส่งแรงสูง 2 เส้นอยู่ติดกัน ก็เป็นอันตรายต่อการเดินรถได้ด้วย

“ปัญหาที่หนักใจมากคือ มีสายส่งไฟฟ้า 500 KV อยู่ 1 สายส่ง ถือเป็นโครงข่ายระดับชาติ (National Grid) ที่มีความสำคัญ เพราะถือเป็นระดับกระดูกสันหลัง (Backbone) ที่เชื่อมต่อกำลังผลิตไฟฟ้าในภาคตะวันออกทั้งหมดกับโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าภาคกลาง เพราะตรงนั้นคือพลังงานไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงของระบบ”

นี่คือความยากลำบากที่กลุ่มซีพีต้องคิดหนักว่าจะทำอย่างไรได้บ้างที่จะทำให้การก่อสร้างเดินหน้าได้โดยไม่ไปกระทบโครงสร้างต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งประเด็นนี้เชื่อว่ากระทรวงพลังงานและกฟผ.จะเข้ามาช่วยดูแล รวมไปถึงสายส่งไฟฟ้าแรงงาน 230 KV อีก 16 จุด

“ส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสายส่งขนาด 115 KV จำนวน 12 จุด และ 24 KV อีก 100 กว่าจุด ไม่เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างไฮสปีด เพราะขนาด 115 KV เป็นเสาปูนสูง 14 เมตร เท่านั้น”

สำหรับเรื่องของการเวนคืนที่ดิน เพื่อการก่อสร้างสถานีแห่งใหม่ที่ฉะเชิงเทรา และ บริเวณที่ต้องเวนคืนอื่นๆ เชื่อว่า ร.ฟ.ท.จะสามารถดำเนินการให้ได้ จึงเป็นเรื่องที่ ร.ฟ.ท.และกลุ่มซีพีต้องเจรจาเพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้เพื่อให้การเซ็นสัญญาดำเนินโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน เกิดขึ้นได้ทันวันที่ 15 ตุลาคมนี้ แต่หากไม่ทันจริงๆ ว่ากันว่ารัฐบาลบิ๊กตู่ก็ยังให้โอกาสกลุ่มซีพี เพราะมั่นใจว่าโครงการนี้ถึงอย่างไรกลุ่มซีพีก็ต้องเซ็นสัญญาแน่นอน!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2019 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

พลังงานชงผลประชุมรื้อถอนสิ่งกีดขวางไฮสปีดอีอีซีเข้าบอร์ดบริหารอีอีซี 7ต.ค.
วันที่ 3 ตุลาคม 2562 - 20.06 น.

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงผลการประชุมติดตามความคืบหน้าการเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางในเส้นทางการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่กลุ่มซีพีชนะการประมูล ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) ภายในระยะเวลา 1 ปี ว่า

จากการประชุมร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)และการรถไฟแห่งประเทศ ไทย(รฟท.) ได้ข้อสรุปเบื้องต้นในการกำหนดพื้นที่ของรฟท.ที่หน่วยงานด้านพลังงานจะต้องรื้อถอน 2พื้นที่ คือ ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ และช่วงบางซื่อ-พญาไท
โดยที่ประชุมรายงานเบื้องต้นว่า ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ มีท่อน้ำมันของบริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด หรือ เอฟพีที และบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด(แทปไลน์) รวมอยู่ด้วย ส่วนท่อก๊าซของปตท.นั้นจะไปพิจารณาข้อมูลที่ชัดเจนอีกครั้ง ขณะที่กฟผ.รายงานสายส่งที่ต้องรื้อถอนรวม 16 จุด

นายกุลิศกล่าวว่า หลังจากนี้ทั้ง 3 หน่วยงานและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะไปหารือในรายละเอียดร่วมกัน โดยจะยึดสัญญาของรฟท.ที่ให้เอกชนเช่าพื้นที่ว่ามีรายละเอียดอย่างไร กรณีต้องรื้อถอน การเคลื่อนย้ายจากพื้นที่เก่าไปพื้นที่ใหม่ผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกันต้องดูรายละเอียดการตั้งในพื้นที่ใหม่ว่าจะต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)อีกหรือไม่ หากทำก็จะใช้เวลานานพอสมควร

“วันที่ 7 ตุลาคม จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยที่ประชุมจะมีการพิจารณาถึงแผนการรื้อถอนสิ่งกีดขวางเส้นทางก่อสร้างไฮสปีดอีอีซี ตามมติกพอ. ซึ่งกระทรวงพลังงานโดยนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะเสนอความคืบหน้าจากการประชุมครั้งนี้ให้ที่ประชุมดังกล่าวรับทราบ”นายกุลิศกล่าว

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.
จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ในการหารือกับภาครัฐเพื่อรื้อถอนหรือเปลี่ยนเส้นทางท่อส่งน้ำมันและท่อก๊าซธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม" 3 สนามบิน คือ สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา หรือโครงการไฮสปีดเทรนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคน้ำมันและภาคอุตสาหกรรมนั้นรูปแบบการดำเนินการอาจทำได้หลายส่วน อาทิ การโยกย้ายปรับเปลี่ยนสิ่งติดตั้งไปอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมแทน ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นคาดว่าเป็นหน้าที่ของเอกชนผู้ดำเนินธุรกิจตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ซึ่งในรายละเอียดต่างๆ จะต้องมาเจรจาร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44837
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/10/2019 3:05 pm    Post subject: Reply with quote

"อนุทิน" ลั่นผลักดันไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินเกิดในรัฐบาลนี้ ขู่ CPH ทำตามสัญญา อย่าสร้างเงื่อนไขเพิ่ม
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562 14:06:55 น.

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวถึงโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า หากผู้ชนะการประมูล คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ไม่ฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาที่กำหนดเซ็นสัญญาในวันที่ 15 ต.ค.นี้นอกจากจะถูกยึดเงินประกัน ยังจะถูกพิจารณาเป็นผู้ละทิ้งงาน และโดนขึ้นบัญชีไม่ให้ประมูลงานกับภาครัฐอีกต่อไป ผลเสียมากมายมหาศาล และยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะเมื่อผู้ชนะการประมูล ไม่ดำเนินการ ภาครัฐต้องไปเรียกผู้ชนะการประมูลอันดับ 2 มาแทน ซึ่งราคาที่เสนอมาแพงกว่าของผู้ชนะรายแรกประมาณ 5-6 หมื่นล้านบาท ส่วนต่างตรงนี้ กลุ่ม CPH ต้องจ่าย

ทั้งนี้ เมื่อเห็นราคาของคู่แข่งรายอื่นสูงกว่ามาก แล้วจะมาตั้งเงื่อนไขเพิ่มเติม เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เพราะภาครัฐทำตามกฎกรอบการประมูล ฝ่ายเอกชนก็ต้องทำตามด้วย

"ต้องทำความเข้าใจว่างานสร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เป็นงานที่มีความสำคัญมาก เป็นประตูสู่ EEC ซึ่งความคืบหน้าของโครงการรถไฟ จะเป็นสิ่งยืนยันความจริงจังที่รัฐบาลมีต่อโครงการ EEC ดังนั้น โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ก็ต้องเกิด เช่นเดียวกับการสร้างท่าเรือ และสาธารณูปโภคอื่น สมัยพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน และพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประเทศไทย มีโครงการอีสเทิร์น ซีบอร์ด เป็นที่เชิดหน้าชูตา วันนี้ในยุคของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านจะเป็นผู้ก่อตั้ง EEC คนสำคัญ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะมีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต นี่จะเป็นตำนานของท่าน และท่านเอาจริงกับโครงการนี้"

นายอนุทิน กล่าวย้ำว่า ทางภาครัฐมีความพร้อมเต็มที่ในการอำนวยความสะดวกให้แก่เอกชนผู้ชนะประมูล เพียงแต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2019 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
พลังงานชงผลประชุมรื้อถอนสิ่งกีดขวางไฮสปีดอีอีซีเข้าบอร์ดบริหารอีอีซี 7ต.ค.
วันที่ 3 ตุลาคม 2562 - 20.06 น.


รถไฟถก 7 หน่วยทำแผนรื้อย้ายสิ่งกีดขวางไฮสปีดซี.พี.ส่ง “บิ๊กตู่” ดู 7 ต.ค.นี้

พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 4 ตุลาคม 2562 -15:09 น.

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ได้นัดหมาย 7 หน่วยงานที่มีระบบสาธารณูปโภคฝังอยู่ใต้ดินและอยู่บนแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท มาหารือและร่วมกันทำแผนรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคประเภทต่างๆ

ทั้ง 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร (กทม.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

สำหรับระบบสาธารณูปโภคที่เป็นอุปสรรค ยังไม่พบอะไรเพิ่มเติม ยังเป็นสิ่งเดิมที่เคยระบุไป ซึ่งประกอบไปด้วย

1.ท่อน้ำมันของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) 2 จุด ในจุดแรก ท่อน้ำมันวางขนานกับแนวเส้นทางบริเวณคลองแห้ง 3 กม. และอีกช่วงหนึ่ง ท่อบางส่วนทับแนวเส้นทางบริเวณโค้งถ.พระราม 6 เป็นจุดตัดอีก 2 จุด

2.ท่อน้ำมันของบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (แทปไลน์) 1 จุด ขนานกับแนวเส้นทาง ช่วงลาดกระบัง กม. 68 มุ่งหน้าไปอู่ตะเภา เป็นแนวยาว 40 กม. และ

3.ท่อก๊าซของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 1 จุด ทับแนวเส้นทางช่วงหน้าวัดเสมียนนารี – สนามบินดอนเมือง ระยะทาง 11 กม.

นอกจากท่อน้ำมันและท่อก๊าซ ยังมีสายไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( EGAT) กระจายตลอดแนวเส้นทาง 16 จุด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) อีก 11 จุด ส่วนของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มี 2 จุด คือ มีสายไฟแรงสูงที่ขนานกับเส้นทางช่วงสนามบินดอนเมือง 1 จุด และช่วงลาดกระบังอีก 1 จุด

อาคารไซฟ่อน (คลองส่งน้ำ) ของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร บริเวณคลองสามเสนและท่อระบายน้ำขนาดใหญ่อีก 1 จุด ทับแนวเส้นทาง 1 จุด และเสาโทรเลข ของ ร.ฟ.ท. ตั้งเป็นแนวยาว 77 กม. บริเวณลาดกระบัง

หลังจากนี้ ทั้ง 7 หน่วยงานจะต้องกลับไปทำแผนระบุพิกัดตำแหน่งและสิ่งที่กีดขวางให้ชัดเจน โดย กทม. กฟผ. กฟน. กฟภ. และการประปาจะต้องเสนอแผนให้พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่วนบริษัท ปตท. จะต้องเสนอแผนให้นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรับทราบ ก่อนที่ในวันที่ 7 ต.ค.นี้ จะรายงานความคืบหน้าทั้งหมดให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) รับทราบต่อไป

“ได้รับทราบมาว่า ในวันจันทร์นี้ (7 ต.ค.) นายกรัฐมนตรีจะเรียกดูแผนส่งมอบพื้นที่โดยเฉพาะในส่วนของการรื้อย้ายระบบสาธาณูปโภคซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของโครงการ จึงได้ให้แต่ละหน่วยงานไปทำแผนของตัวเองเสนอให้รัฐมนตรีต้นสังกัดของแต่ละหน่วยงานรับทราบ นับเป็นเรื่องที่ดีที่พลเอกอนุพงษ์และนายสนธิรัตน์ลงมาช่วยกวดขันงานในส่วนนี้” นายสุจิตต์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2019 9:03 pm    Post subject: Reply with quote

ระทึก! ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินซีพีจะถูกแบล็กลิสต์?
วันที่ 4 ตุลาคม 2562 -

ต้องติดตามกันอย่างไม่กะพริบตาว่ากลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือที่เรียกกันว่ากลุ่ม CPH ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วยสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา จะเซ็นสัญญาสัมปทานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นเส้นตายที่ รฟท.ขีดให้หรือไม่

หากกลุ่ม CPH ไม่เซ็นสัญญาตามกำหนดเวลาจะถูกจะยึดหลักประกันซอง 2 พันล้านบาท และอาจจะถูกขึ้นบัญชีดำหรือแบล็กลิสต์ ซึ่งจะมีผลให้บริษัททุกบริษัทในกลุ่ม CPH ไม่สามารถรับงานภาครัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้ กลุ่ม CPH ประกอบด้วยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ช.การช่างจำกัด (มหาชน) บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท China Railway Construction Corporation Limited และบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

กลุ่ม CPH ชนะการประมูลด้วยการขอเงินสนับสนุนจากรัฐน้อยที่สุดคือ 117,226.87 ล้านบาท ซึ่งไม่เกินเพดานที่รัฐกำหนดไว้ 119,425.75 ล้านบาท ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีวงเงินทั้งหมด 224,544.36 ล้านบาท รัฐลงทุน 117,226.87 ล้านบาท คิดเป็น 52% นับว่าเป็นสัดส่วนการลงทุนร่วมกับเอกชนที่ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ที่รัฐต้องร่วมลงทุนถึง 80-85%

จากการที่กลุ่ม CPH ขอให้รัฐร่วมทุนน้อย ทำให้กลุ่ม CPH ต้องลงทุนมาก ส่งผลให้โอกาสที่จะได้กำไรยากมาก เหตุที่กลุ่ม CPH เสนอให้รัฐร่วมลงทุนน้อยคงเป็นเพราะต้องการชนะการประมูล เนื่องจากการประมูลตัดสินด้วยจำนวนเงินที่รัฐต้องร่วมลงทุน หากผู้เข้าประมูลรายใดขอให้รัฐร่วมลงทุนน้อยที่สุดก็จะชนะการประมูล ถามว่ากลุ่ม CPH รู้หรือไม่ว่าจะขาดทุนจากโครงการนี้ ตอบว่ารู้ เมื่อรู้แล้วทำไมยังยื่นข้อเสนอไปอย่างนั้น ตอบได้ว่าอาจเป็นเพราะกลุ่ม CPH คาดหวังว่าข้อเสนอเพิ่มเติมที่กลุ่ม CPH เสนอต่อ รฟท.ในซองประมูลที่ 4 จะได้รับการตอบรับจาก รฟท. ซึ่งจะทำให้โครงการไม่ขาดทุน

ข้อเสนอเพิ่มเติมที่กลุ่ม CPH เสนอต่อ รฟท.มี 12 ข้อ อาทิ (1) ให้รัฐร่วมลงทุนตั้งแต่ปีแรกจากเดิมที่รัฐจะเริ่มลงทุนตั้งแต่ปีที่ 6 (2) ให้รัฐหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (3) ขอจ่ายค่าเช่าที่ดินมักกะสันและศรีราชาในปีที่โครงการพัฒนาที่ดินได้กำไร เป็นต้น แต่ รฟท.ปฏิเสธทั้งหมด เพราะหากรับข้อเสนอเพิ่มเติมจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับคู่แข่งขัน

เมื่อข้อเสนอเพิ่มเติมถูกปฏิเสธจาก รฟท. ในขณะที่ถูกขีดเส้นตายให้เซ็นสัญญาภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 กลุ่ม CPH จะทำอย่างไร หากเดินหน้าเซ็นสัญญาก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่จะขาดทุน แต่หากไม่เซ็นอาจถูกแบล็กลิสต์ ไม่สามารถรับงานรัฐได้อีกต่อไป ที่สำคัญ จะทำให้เสียชื่อเสียง

ถึงเวลานี้ กลุ่ม CPH ซึ่งประกอบด้วยบริษัทชั้นนำหลายบริษัทคงต้องเลือกที่จะรักษาชื่อเสียงของตนไว้ ไม่ยอมให้ถูกแบล็กลิสต์แน่ ด้วยเหตุนี้ กลุ่ม CPH คงมีทางเลือก 2 ทาง ดังนี้

1. กรณี รฟท.ใช้มาตรการแบล็กลิสต์จริง
กลุ่ม CPH จะเซ็นสัญญา โดยยื่นเงื่อนไขให้ รฟท.ส่งมอบพื้นที่การก่อสร้างตามกำหนดเวลาและแผนการก่อสร้างของตน หาก รฟท.ไม่สามารถส่งมอบได้ อาจนำไปสู่การบอกเลิกสัญญาโดยกลุ่ม CPH ในภายหลัง เนื่องจากโครงการมีความเสี่ยง

2. กรณี รฟท.ไม่ใช้มาตรการแบล็กลิสต์
กลุ่ม CPH คงไม่เซ็นสัญญา โดยยอมให้ รฟท.ยึดหลักประกันซอง 2,000 ล้านบาท และอาจจะอ้างว่า รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ตามกำหนดเวลาและแผนการก่อสร้างของตนได้ ทำให้โครงการมีความเสี่ยง ส่งผลให้หาแหล่งเงินกู้ไม่ได้

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี อยากให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นโครงการสำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี เปรียบได้กับกระดูกสันหลังของอีอีซีเป็นรูปธรรมโดยเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม รฟท.จะต้องระมัดระวังอย่างมากไม่ให้เกิดค่าโง่ดังเช่นโครงการโฮปเวลล์ขึ้นมาอีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2019 12:00 am    Post subject: Reply with quote

ไขปม ซีพีเลื่อนเซ็นไฮสปีด
ออนไลน์เมื่อ 1 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ |
ฉบับ 3509
ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 2 ตุลาคม 2562

ระทึกอีกระลอกว่าวันที่ 15 ตุลาคม 2562 กลุ่มกิจการร่วมค้า เจริญโภคภัณฑ์ จะลงนามในสัญญา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามเส้นตายนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม หรือไม่ หลังเลื่อนลงนามหลายครั้งกระทั่งใกล้ครบ 1 ปี

ปมปัญหาใหญ่กลุ่มซีพีต้องการให้รฟท.เคลียร์พื้นที่ก่อนส่งมอบให้เสร็จสมบูรณ์ 100% พร้อมแจงเหตุผลเกรงก่อสร้างเสร็จไม่ทันตามสัญญา 5 ปี มีภาระดอกเบี้ยผูกพันไม่รู้จบ จากการส่งมอบพื้นที่แต่ละช่วงแต่ละตอนต้องเริ่มนับ 1 สัญญา เชื่อว่าต้องเกินเวลาทั้งเวนคืน ไล่รื้อ ขณะซีก รฟท. ยืนยันในฐานะผู้ร่วมลงทุนคงไม่สร้างปัญหารุกลามบานปลายในลักษณะนั้น ถัดมากลุ่มซีพียังตั้งแง่ โยนภาระทุบเสาตอม่อโฮปเวลล์ ให้เป็นหน้าที่ของรฟท. กระทั่ง “หมอหนู” นายอนุทิน ออกมาประชดจะขอควักเงินส่วนตัว 200 ล้านบาทให้เป็นค่ารื้อถอนซึ่งมองว่าเรื่องแค่นี้ไม่น่าจะนำมาเป็นข้ออ้างเลื่อนลงนาม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยามชิดชอบ ยํ้าข้อมูลคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่แจ้งว่า กลุ่มซีพีสามารถทำตามข้อกำหนดหนังสือแนบท้ายสัญญา ดังนั้นน่าจะลงนามในสัญญาได้ “ในแง่การก่อสร้างที่มีปัญหาก็มีข้อกำหนดชัดเจน หากพื้นที่ใดมีปัญหาก็สามารถขยายเวลาในการก่อสร้างออกไปได้”

มุมวิเคราะห์นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด สะท้อนว่า “ทั้ง 2 ฝ่ายน่าจะบรรลุข้อตกลง กลุ่มซีพีเองอยากลงทุนไม่เช่นนั้นไม่ต่อสู้มาอย่างยาวนานเกือบ 1 ปี เพียงแต่ยังติดปัญหาบางประการที่ต้องเจรจา”



ขณะปมลึกแสนเจ็บร้าว กลุ่มซีพีต้องการขอให้กระทรวงการคลัง คํ้าประกันเงินลงทุนดอกเบี้ยตํ่าวงเงิน 2 แสนล้านบาทจากธนาคารต่างชาติในฐานะพันธมิตรซึ่งข้อนี้ถูกคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินตัดออกเป็นข้อแรกๆ มุมผู้รับเหมามองว่า หากกลุ่มซีพีตั้งใจจริงไม่น่าตื่นกลัวล่วงหน้า ทุกโครงการย่อมมีผลกระทบด้านการเวนคืนไล่รื้อแทบทั้งสิ้น แต่ที่น่าจับตาการดัมพ์ราคา ตํ่าๆ ไร้เงื่อนไขพิเศษทำให้กลุ่มซีพี ตกที่นั่งขาดทุน อีกประเด็นใหญ่ที่ เพลี่ยงพลํ้าสะดุดขาตัวเอง คือสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน 2.9 แสนล้านบาท ขุมทรัพย์ทำกำไรต่อยอดไฮสปีด ซึ่งยังลุ้นต่อว่าในที่สุดแล้วศาลปกครองสูงสุดจะพลิกคำพิพากษาจากศาลปกคลองกลางหรือไม่

อย่างไรก็ตาม วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 จะหมดเวลาการยื่นราคาไฮสปีด ที่กลุ่มซีพี เสนอ หาก วันที่ 15 ตุลาคมถูกถ่างเวลาเซ็นสัญญาออกไปเชื่อว่ากลุ่มบีทีเอสจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 340, 341, 342 ... 549, 550, 551  Next
Page 341 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©