RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13283987
ทั้งหมด:13595309
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 349, 350, 351 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 5:59 am    Post subject: Reply with quote

คาดจรดปลายปากกา"ไฮสปีด"ดันทำหุ้นรับเหมาคึกคัก
ข่าว เศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
พุธที่ 23 ตุลาคม 2562 เวลา 17.00 น.
โบรกประเมินหุ้นไทย 24 ต.ค.เคลื่อนไหวในกรอบ 1,620-1,640 จุด จับตาลงนามไฮสปีดดึงความเชื่อมั่นการลงทุน หนุนหุ้นรับเหมาซื้อขายคึกคัก



นายสุนทร ทองทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย เปิดเผยว่า  ภาวะตลาดหุ้นไทยวันที่ 24 ต.ค.คาดว่าเคลื่อนไหวในกรอบ 1,620-1,640 จุด ปัจจัยที่ติดตามภายในประเทศเป็นเรื่อง ลงนามสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH)  ซึ่งเป็น sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย เพราะเป็นการดึงความเชื่อมั่นทางด้านการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้การผ่านร่างงบประมาณปี 63 จะทำให้การลงทุนโครงการขนาดใหญ่มากขึ้นในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการที่ยังค้างท่อในปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ติดตามเรื่องของเบร็กซิท  การประชุมธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)  การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คาดว่าปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ส่วนสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนหากมีการทำข้อตกลงกันก็จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลก สำหรับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ด้วยการลดค่าโอนและค่าจดจำนองเหลือ 0.01% ที่ผ่านมานั้น เชื่อว่าไม่ได้ส่งผลดีต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์มากนักเห็นได้จากหุ้นปรับตัวขึ้นไม่มาก เนื่องจากติดปัญหาเรื่องการกำหนดอัตราสินเชื่อต่อมูลค่าที่อยู่อาศัย (แอลทีวี) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หากปลดล็อคถึงจะช่วยให้กำลังซื้อกลับคืนมาได้ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นรับเหมาก่อสร้าง  

"ดัชนีมีโอกาสแตะระดับ 1,650-1,680 จุด หากสหรัฐและจีนสามารถลงนามข้อตกลงลดข้อพิพาททางการค้าระหว่างกันได้  แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้กรอบการเคลื่อนไหวจะอยู่ที่ 1,600-1,640 จุด และถ้าแย่สุดอาจหลุด 1,600 จุด" 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 6:19 am    Post subject: Reply with quote

กลุ่มซีพี"ลงขัน4พันล้านตั้งบริษัทเซ็นสัญญาไฮสปีด
พุธที่ 23 ตุลาคม 2562

การลงนามสัญญาประวัติศาสตร์ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท ระยะทาง 220 กิโลเมตร ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี ในที่ 24 ตุลาคม 2562

ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา กลุ่มซีพี ได้ยื่นจัดตั้งบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้ชื่อ "บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด" ทุนจดทะเบียน 4,000 ล้านบาท แจ้งวัตถุประสงค์ประกอบกิจการและ/หรือลงทุนในกิจการขนส่งทางราง และ/หรือการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ ที่อยู่เลขที่ 313 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร



"บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด" มีกรรมการ 9 คน ประกอบด้วย
1.นายศุภชัย เจียรวนนท์
2.นายนพปฎล เดชอุดม
3.นางโป หง
4.หม่อมหลวงสุภสิทธิ์ ชุมพล
5.นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข
6.นายชาติวุฒิ ตันจันทร์พงศ์
7.นายเปรมชัย กรรณสูต
8.นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล
9.นายเหล่ย จั๋ว

ส่วนกรรมการลงชื่อผูกพัน กำหนดให้กรรมการกลุ่มที่ 1 คนใดคนหนึ่ง ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการ กลุ่มที่ 2 คนใดคนหนึ่ง รวมเป็นสองคน และประทับตราสำคัญของบริษัท

สำหรับกรรมการกลุ่มที่ 1 (CP) ได้แก่ นายศุภชัย เจียรวนนท์, นายนพปฎล เดชอุดม,นางโป หง และหม่อมหลวงสุภสิทธิ์ ชุมพล
ส่วนกรรมการกลุ่มที่ 2 (ITD) ได้แก่ นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข,นายชาติวุฒิ ตันจันทร์พงศ์,นายเปรมชัย กรรณสูต, นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล และนายเหล่ย จั๋ว/

การจัดตั้งบริษัทดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดตามเอกสารคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน หมวดที่ 10 ข้อ 59 "การจัดตั้งนิติบุคคลใหม่”ระบุว่า เมื่อคณะกรรมการนโยบายได้ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนแล้ว เอกชนผู้ที่ได้รับการคัดเลือกและผ่านการเจรจาแล้วจะต้องจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจใหม่ที่จดทะเบียนในประเทศไทย (Special Purpose Vehicle, SPV) และต้องมีนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย เป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 25 ของทั้งหมด และผู้ถือหุ้นแต่ละรายต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทั้งหมด โดยที่ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินที่ค้างชำระมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ตามที่กฎหมายไทยกำหนดเพิ่มทุน2.5หมื่นล้านก่อนเปิดบริการนอกจากนี้ยังกำหนดให้นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท ในวันลงนามในสัญญาร่วมลงทุน และก่อนเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ จะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 25,000 ล้านบาท โดยที่ภายหลังการลงนามในสัญญาร่วมทุนแล้ว นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่นั้นมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายไทยตลอดระยะเวลาของโครงการฯ นิติบุคคลดังกล่าวจะต้องรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น(Debt to Equity Ratio) ไม่เกิน 4 ต่อ 1 เว้นแต่ระยะเวลาในช่วงที่ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดวางหลักประกันเพิ่ม4.5พันล้านขณะที่ “หมวดที่ 8 หลักประกันสัญญาและหนังสือรับประกัน”ยังกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับรฟท. ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมลงทุนเป็นมูลค่าเท่ากับ 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงสำหรับหลักประกันสัญญาเงื่อนไขกำหนดว่า ต้องออกโดยสถาบันการเงินของไทย หรือธนาคารพาณิชย์ของไทยหรือธนาคารในต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย และออกโดยสาขาในประเทศไทยเท่านั้น หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจไทยจ่ายค่าต๋งลงนามสัญญา80ล้านขณะเดียวกันยังกำหนดให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกต้องชำระค่าธรรมเนียมการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนเป็นเงินทั้งหมด 80 บาทรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยชำระเป็นเช็คที่ธนาคารสั่งจ่ายในนามการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นจำนวนเงิน 40 ล้านบาทและแบ่งจ่ายชำระให้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นจำนวนเงิน 40 ล้านบาท ณ วันที่ลงนามในสัญญาร่วมลงทุน

//----------------
นับหนึ่งเซ็นสัญญา”ไฮสปีด” ซีพีประเดิม 4 พันล้านตั้งบริษัท
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562 17:01 น.

“บิ๊กตู่” เปิดทำเนียบรับเจ้าสัวเซ็นสัญญาไฮสปีดอีอีซี 24 ต.ค. สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน กลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตรไทย-จีน ระดมทุน 4 พันล้านตั้งบริษัทใหม่ “รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน” ร.ฟ.ท.เร่งเวนคืนส่งมอบพื้นที่พญาไท-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาใน 2 ปี เปิดหวูดปี’66

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่วม 4 ปีกว่ารถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกจะได้เซ็นสัญญา 24 ต.ค.นี้ นับจาก “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์” ประกาศจะช่วย “รัฐบาลประยุทธ์ 1” ลงทุนรถไฟความเร็วสูง กทม.-ระยอง 193 กม. ลงทุนกว่า 1.52 แสนล้านบาท และตั้งทีมศึกษาโครงการเมื่อ มี.ค. 2558 จนมาสุกงอมในปี 2561 หลังหลอมรวมกับแอร์พอร์ตลิงก์ กลายเป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ใช้เม็ดเงิน 224,544 ล้านบาท เพื่อให้สอดรับกับนโยบายเขตพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี)

เลื่อนเซ็นเร็วขึ้น 1 วัน


โดยเปิดยื่นซองประมูลวันที่ 12 พ.ย. 2561 มี 2 กลุ่มยื่นแข่งขัน คือ กลุ่ม BSR (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ-ราชกรุ๊ป) และกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ผลเปิดซองราคาวันที่ 21 ธ.ค. 2561 ปรากฏว่ากลุ่ม ซี.พี.คว้าชัยแบบไม่พลิกโผ โดยเสนอวงเงินให้รัฐร่วมลงทุน 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่าเพดานคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ 119,425 ล้านบาท อยู่ที่ 2,198 ล้านบาท ทิ้งห่างกลุ่ม BSR 52,707 ล้านบาท จากนั้นใช้เวลาเจรจากันมาจนได้ข้อยุติร่วมกัน วันที่ 16 ต.ค. 2562

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยว่า 24 ต.ค. นี้จะเซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระหว่าง ร.ฟ.ท.กับกลุ่ม ซี.พี. ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จะเป็นประธาน


“การลงนามเลื่อนเร็วขึ้นจาก 25 ต.ค. ซึ่งกลุ่ม ซี.พี.เคยแสดงความประสงค์จะลงนาม 23 ต.ค. วันปิยมหาราช แต่นายกรัฐมนตรีติดภารกิจที่ญี่ปุ่น”

แหล่งข่าวจากกลุ่ม ซี.พี.เปิดเผยว่า ได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจใหม่ (SPV) เพื่อเซ็นสัญญาร่วมทุนโครงการ ชื่อ “บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือ Eastern High-Speed Rail Linking Three Airports Co.,Ltd พร้อมเตรียมเงิน 4,500 ล้านบาท วางหลักประกันสัญญาให้ร.ฟ.ท. ตามสัดส่วนการร่วมทุน ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง 70% บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC) 10% บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) 15% และ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 5%

“หลังเซ็นสัญญา ต้องออกแบบทำการเจาะสำรวจพื้นที่คาดว่าใช้เวลา 6 เดือน วางแผนรื้อย้ายสาธารณูปโภค เร่งเคลียร์พื้นที่เพื่อให้โครงการสร้างเสร็จ 5 ปี รวมถึงยื่นขอรับสิทธิและประโยชน์จากบีโอไอ ทำแผนเงินกู้เพื่อลงทุนโครงการให้เสร็จใน 270 วัน เป็นต้น”

เคาะฤกษ์ดี 13.45 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการ เปิดเผยว่า วันที่ 24 ต.ค.นี้ เวลา 13.45 น. ร.ฟ.ท.จะเซ็นสัญญาร่วมทุนกับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ที่กลุ่ม ซี.พี.จัดตั้งเป็นนิติบุคคลใหม่ จากนั้น 13.50 น. จะลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อสนับสนุนโครงการระหว่างอีอีซี-ร.ฟ.ท. และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด

สิ่งแรกที่ต้องทำหลังเซ็นสัญญา คือ ออกแบบก่อสร้างของโครงการ ซึ่งกลุ่ม ซี.พี.ต้องส่งผู้รับเหมาก่อสร้างมาหารือกับ ร.ฟ.ท.ในฐานะเจ้าของโครงการ เพื่อร่างแบบก่อสร้างและทำแผนส่งมอบพื้นที่ร่วมกัน ที่มีข้อยุติร่วมกัน ต้องร่างแบบให้เสร็จใน 3 เดือน

ส่วนการรถไฟฯคาดว่า พ.ย.-ธ..ค.นี้จะเข้าพื้นที่สำรวจการเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.เวนคืน และสำรวจผู้บุกรุกกว่า 500 ราย เคลียร์สัญญาเช่าต่าง ๆ รวมถึงแผนรื้อย้ายสาธารณูปโภคร่วมกับ 8 หน่วยงาน เพื่อส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้เสร็จใน 2 ปี ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เปิดบริการปี 2566-2567 และใน 4 ปี ช่วงพญาไท-ดอนเมือง เพื่อเปิดบริการปี 2567-2568 ตามที่แนบท้ายไว้ในสัญญา โดยมั่นใจว่าจะทำได้ตามแผน ส่วนการออกหนังสือเริ่มงาน(NTP)ให้เวลา 2 ปี หากเอกชนเห็นว่ามีพื้นที่มากพอและพร้อมก็ออกได้ เช่น ช่วงสถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ เป็นโครงสร้างแอร์พอร์ตลิงก์เดิม 28 กม. แต่ต้องจ่ายค่าใช้สิทธิเดินรถ 10,671 ล้านบาทก่อนช่วงนี้จะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างเดิมให้รองรับรถไฟความเร็วสูงได้

“ระหว่างนี้คณะกรรมการคัดเลือกต้องตรวจสอบและทบทวนเอกสารสัญญาและเอกสารแนบท้ายอีกครั้ง จากนั้นตั้งคณะกรรมการกำกับโครงการ และคณะกรรมการตรวจสอบ ตาม พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2561 มีการแจ้งคณะกรรมการคัดเลือกในที่ประชุมถึงการตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดแล้ว”

สำหรับนิติบุคคลเฉพาะกิจใหม่ที่กลุ่ม ซี.พี.จัดตั้งขึ้นเพื่อเซ็นสัญญา ตามทีโออาร์ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท ในวันเซ็นสัญญาร่วมลงทุน และก่อนเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 25,000 ล้านบาท

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เมื่อลงนามสัญญาแล้ว นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานด้านการส่งมอบพื้นที่ จะเร่งรัดดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ ยืนยันว่าใช้หลักธรรมาภิบาลในการดำเนินการ และนำสัญญาและเอกสารแนบท้ายมาเผยแพร่กับสื่อมวลชน เพื่อช่วยกันดูว่ามีสิ่งใดที่ยังไม่ทำตามสัญญา เพราะคลาดเคลื่อนในหลายเรื่อง เช่น การปรับร่างสัญญาหลัก หรือใส่เงื่อนไขเอื้อเอกชน ซึ่งไม่มีการทำแบบนั้นเลย ทุกอย่างยึดตามทีโออาร์


Last edited by Wisarut on 24/10/2019 6:23 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 6:21 am    Post subject: Reply with quote

ถือฤกษ์ 13.40 เซ็นสัญญาประวัติศาสตร์ "ไฮสปีด"
พุธที่ 23 ตุลาคม 2562

ผู้สือข่าวรายงานว่า วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562 จะมีการจัดพิธีลงนามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กับ บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด หรือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จํากัด และพันธมิตร ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ในโครงการ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยพิธีจัดที่ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นสักขีพยานในพิธี โดยกําหนดการพิธีฯ มีดังนี้

เวลา 13.30 น. พลเอก ประยุทธ์ และคณะผู้บริหารเดินทางถึงตึกสันติ ไมตรี (หลังใน) ซึ่งจะได้รับชมวีดิทัศน์โครงการฯ 5 นาที จากนั้นนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวต้อนรับและรายงานความเป็นมาของโครงการฯ


เวลา 13.40 น. พลเอกประยุทธ์ เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ต่อด้วยการเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความ เข้าใจเพื่อสนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระหว่าง สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การรถไฟแห่งประเทศไทย และ บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด (Eastern High-Speed Rail Linking Three Airports Co.,Ltd.) และถ่ายภาพร่วมกัน และตอนท้ายพลเอกประยุทธ์ จะกล่าวแสดงความยินดีในพิธีลงนามสัญญาร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และบันทึกความเข้าใจเพื่อสนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสาม สนามบิน ซึ่งจะแล้วเสร็จพิธีในเวลา 14.15 น.

ส่งเทียบเชิญสื่อให้มาทำข่าวการลงนามครั้งประวัติศาสตร์นี้
https://www.thebangkokinsight.com/226914/

ฤกษ์ประวัติศาสตร์ ซี.พี.
คอลัมน์สามัญสำนึก
โดย อิศรินทร์ หนูเมือง
วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562 09:05 น.
FacebookTwitterGoogle+LINE


ตระกูล “เจียรวนนท์” กำลังสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในกิจการรถไฟประเทศไทย



ADVERTISEMENT
นับเป็นการพัฒนา-ต่อยอดเทคโนโลยีของ “กรมรถไฟหลวง” จากรัชสมัย “พระปิยมหาราช”
เมื่อ 123 ปีก่อน

หลังเปิดการเดินรถไฟครั้งแรกในปี 2439 มีการเปิดขยายเส้นทางเพิ่มเฉลี่ยทุก 18 เดือน

เมื่อสิ้นรัชสมัยรัชกาลที่ 5 กิจการรถไฟเปิดใช้ได้ถึง 932 กิโลเมตร ค้างการก่อสร้างอยู่อีก 690 กิโลเมตร

รัชกาลที่ 6 ทรงสานต่อพระราชภารกิจ ทรงเปิดการเดินรถเพิ่มทุก 6 เดือน




จวบจนสิ้นรัชสมัย การเดินรถไฟเพิ่มขึ้นเป็น 2,581 กิโลเมตร ค้างการก่อสร้างอีก 418 กิโลเมตร

ต่อมาในรัชกาลที่ 7 ทรงเปิดการเดินรถไฟในทุก 12 เดือน ทำให้ยุคหลัง พ.ศ. 2475 ประเทศมีทางรถไฟเพิ่มเป็น 3,077 กิโลเมตร

ด้วยปรัชญาแรกเริ่มของผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก ถูกขนานพระนาม “พระบิดาแห่งกิจการรถไฟสมัยใหม่” ของพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นราชตระกูล “ฉัตรไชย”

ที่ทรงตั้งมั่นว่า “อะไรที่ฝรั่งทำได้ คนไทยก็ทำได้”

ทรงเป็นคนไทยที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรก ที่ทดลองเสด็จขึ้นเครื่องบินไปพร้อมกับนักบินต่างชาติยังผลให้ต่อมาได้มีการตั้งแผนกการบินทหารบกขึ้นในกองทัพบก จวบจนเป็น “กองทัพอากาศ” ในปัจจุบันสมัย

เมื่อครั้งเป็นผู้บัญชาการรถไฟ ทรงฝึก-แนะนำสั่งสอนพนักงานคนไทยที่ระดมมาจากทหารช่าง กรมแผนที่ และคนไทยที่รู้ภาษาอังกฤษ ให้ทำงานร่วมกับชาวเยอรมัน อังกฤษ อิตาเลียน ชาวอินเดีย ชาวศรีลังกา และชาวพม่า

กรมพระกำแพงเพชรฯ ทรงริเริ่มการใช้รถจักรดีเซลไฟฟ้าแทนการใช้รถจักรไอน้ำ ปรับปรุงรถไฟเพื่อประโยชน์ของกองทัพ ด้านคมนาคมขนส่ง

ยิ่งไปกว่านั้น มีพระวิสัยทัศน์ที่ใกล้กว่าการคมนาคม ทรงเชื่อมต่อกิจการรถไฟกับการท่องเที่ยว โดยโปรดให้ตั้ง “แผนกโฆษณา” ในกรมรถไฟ ให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ได้เห็นภาพและอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ท่องเที่ยวโดยรถไฟ

ยังให้สร้างโรงแรมในวังพญาไท พัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์-กิจการท่องเที่ยวเชื่อมสะพานพระราม 6 กับเส้นทางรถไฟสายเหนือและสายใต้ ต่อไปยังหัวหิน ที่มีทั้งสนามกอล์ฟและโรงแรมชั้นหนึ่ง

ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ เมื่อ 100 ปีก่อนครบวงจรในวันนี้

ในปลายปีที่แล้ว ตระกูล “เจียรวนนท์” โดย “นายศุภชัย” ถือฤกษ์ก่อนการเข้าประมูล (12 พ.ย. 62) โครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน นำทีมคณะผู้บริหารกราบสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ณ พระลานหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม

โดยระบุว่า เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ก่อตั้งกรมรถไฟ เพื่อสานต่อพระราชปณิธานในการพัฒนาการรถไฟให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรและเศรษฐกิจให้กับคนไทยทั้งชาติ

ข่าวการหาฤกษ์เพื่อลงนามในวันปิยมหาราช จึงหล่นบนโต๊ะจีน

รัฐมนตรีคนสำคัญในคณะรัฐบาลบอกว่า กลุ่ม ซี.พี.จะต้องดูฤกษ์ยามเพื่อหาวันลงนาม ซึ่งที่สุดก็ลงตัวในวันที่ 24 ตุลาคม 2562

อีกครึ่งทศวรรษ คนไทยจะได้เห็นโฉมหน้าประวัติศาสตร์การรถไฟสมัยใหม่…อีกครั้ง

ภายใต้การขับเคลื่อนของตระกูล “เจียรวนนท์” และกลุ่มกิจการร่วมค้า CPH

โครงการที่จะสร้างตำนานให้กับธุรกิจในเครือ ซี.พี. และลูกหลาน “เจียรวนนท์” ไปอีกนับศตวรรษ


Last edited by Wisarut on 24/10/2019 1:09 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 6:33 am    Post subject: Reply with quote

สิ้นปีจ่ายชดเชย 3 พันล้าน เวนคืนที่ดินเคลียร์ทาง ‘ไฮสปีด ซี.พี.’
พร็อพเพอร์ตี้
เวนคืนอัพเดต
วันที่ 23 ตุลาคม 2562 - 15:00 น.
Click on the image for full size

เป็นที่ชัดเจนแล้วฤกษ์ดีวันที่ 24 ต.ค. 2562 กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น, บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้ชนะประมูลรับสัมปทาน 50 ปีลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 117,227 ล้านบาท จะเซ็นสัญญาเดินหน้าโครงการ หลังเจรจากันมาเกือบปี



ภารกิจการเซ็นสัญญาเสร็จสิ้น ทั้ง “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” และ “กลุ่ม ซี.พี.” ต่างคนต่างเคลียร์เรื่องส่งมอบพื้นที่และออกแบบให้สอดคล้องกันตามไทม์ไลน์ที่กำหนดใน 2 ปี ก่อนจะออกหนังสือให้เริ่มโครงการ (ดูแผนที่)


ด้วยสภาพพื้นที่สุดวิบาก เพื่อให้การเดินหน้าโครงการไม่ติดขัด คณะกรรมการนโยบายพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) ต้องหยิบเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ต้องมาร่วมทำแผนอย่างจริงจัง

โดยตัดแบ่งพื้นที่ส่งมอบ 3 ส่วน จากทั้งโครงการ 220 กม. ประกอบด้วย
1.สถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ 28 กม. โครงสร้างแอร์พอร์ตลิงก์เดิม พร้อมส่งมอบทันที แต่ต้องจ่ายค่าเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาทก่อน
2.สถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กม. ส่งมอบใน 2 ปี แต่เร่งให้ได้ 1 ปี 3 เดือน และ
3.สถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 กม. ส่งมอบใน 4 ปี เร่งรัดได้ 2 ปี 3 เดือน

พร้อมกับปรับการเปิดให้บริการตามผลงานการก่อสร้าง จะเปิดบริการช่วงสถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ปลายปี 2566 ส่วนสถานีพญาไท-ดอนเมือง อาจเสร็จเปิดใช้ในปี 2567-2568

ต้องมาลุ้นกันต่อ “ร.ฟ.ท.” เจ้าของพื้นที่จะปฏิวัติการทำงานได้รวดเร็วทันใจอย่างที่รัฐบาลคาดหวังไว้ได้หรือไม่ ในเมื่อที่ดินมีทั้งผู้บุกรุกที่อยู่กันมายาวนาน และที่เช่าที่มีทั้งสัญญาและไม่มีสัญญา

สำหรับการเวนคืนที่ดินล่าสุด “วรวุฒิ มาลา” รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.และในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการกล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเมื่อเดือน ม.ค. 2562 ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอไปยัง ครม. เพื่ออนุมัติแล้ว คาดว่าในเดือน พ.ย.-ธ.ค.นี้จะเริ่มเข้าพื้นที่สำรวจการเวนคืน รวมถึงผู้บุกรุกในแนวเส้นทางกว่า 500 ราย

รายละเอียดแนวเวนคืนที่ดินอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่
1.กรุงเทพฯ แขวงคลองสามประเวศ แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง
2.สมุทรปราการ ต.หนองปรือ อ.บางพลี
3.ฉะเชิงเทรา ต.บางเตย ต.วังตะเคียน ต.ท่าไข่ ต.บางขวัญ ต.บ้านใหม่ ต.บางไผ่ อ.เมืองฉะเชิงเทรา
4.ชลบุรี ต.บ้านสวน ต.หนองข้างคอก ต.ห้วยกะปิ อ.เมืองชลบุรี
ต.บางพระ ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา
ต.นาเกลือ ต.หนองปรือ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง
ต.นาจอมเทียน ต.บางเสร่ ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ และ
5.ระยอง ต.สำนักท้อน ต.พลา อ.บ้านฉาง

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า ที่ดินจากการเวนคืนจะนำมาก่อสร้างย่านสถานี ทางเข้าออกสถานี ทางรถไฟ และดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์ แก่กิจการรถไฟ มีที่ดินที่จะต้องเวนคืน 850 ไร่เศษ และสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 245 หลัง ค่าเวนคืนที่ดิน 3,570 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเวนคืนที่ จ.ฉะเชิงเทรา 550 ไร่ วงเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง (depot) ประมาณ 300 ไร่ แนวทางวิ่ง 100 ไร่ และสถานีรถไฟแห่งใหม่อีก 70 ไร่

ที่เหลือจะเป็นค่าสิ่งปลูกสร้างทดแทนผู้อยู่อาศัยเดิม 254 ครัวเรือนที่ต้องย้ายออกจากแนวเขตทาง นอกจากนี้ มีเวนคืนที่สถานีลาดกระบังเพิ่ม เพื่อสร้างทางวิ่งไปสนามบินอู่ตะเภา และมีบางส่วนบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิและอู่ตะเภาอีกประมาณ 300 ไร่ จะเร่งเวนคืนให้เสร็จใน 2 ปี


Last edited by Wisarut on 24/10/2019 1:12 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 1:10 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ ปิดจ็อบเซ็นสัญญารถไฟ 3 สนามบิน
24 ตุลาคม 2562
"อนุทิน" เผยเตรียมเซ็นโครงการรถไฟฟ้า 3 สนามบิน
24 ตุลาคม 2562

วันนี้ จะมีการเซ็นสัญญาโครงการรถไฟฟ้า 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ซึ่งเป็นโครงการสำคัญและมีผลต่ออนาคตการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โครงการที่จะนำการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทย จำนวนมาก และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ประเทศไทย ก้าวไปข้างหน้าได้ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อครั้งโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด เมื่อ 30 ปีที่แล้ว

ผมมีความสุขที่เป็นฟันเฟืองหนึ่งให้เกิดการลงนามในสัญญาวันนี้ได้
1.สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั่วโลก ที่เฝ้ารอดูการการเกิดขึ้นของโครงการนี้
2.รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ได้ ไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาท
3.จะมีการลงทุนและการจ้างงานในโครงการนี้ มูลค่ามากกว่า 200,000 ล้านบาท และ การพัฒนาที่ดิน การก่อสร้างต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ตลอดจนการจัดทำโครงการ โรงงานต่างๆ อีกมาก ซึ่งคาดว่า จะมีเม็ดเงินสะพัดไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ เป็นการแก้ปัญหาปากท้องประชาชน ซึ่งเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของประชาชน และประเทศไทย
4.โครงการนี้ จะเป็นการพลิกฟื้นเศรษฐกิจประเทศไทย ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ถ้าจำกันได้ ผมเคยพูดว่าผมจะสนับสนุนให้มีการลงนามในสัญญาโครงการนี้ให้ได้ โดยให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด หากผู้ที่ชนะการประมูล คือ CPH มีปัญหาอุปสรรคตรงไหน อย่างไร ผมจะพยายามแก้ไข และ เคลียร์ให้ได้มากท่ีสุด ภายใต้กรอบของกฎหมาย ซึ่งผมได้ทำตามที่พูดไว้แล้ว คือ จะมีการลงนามในสัญญาฉบับนี้ ในวันนี้แล้ว และมั่นใจว่าผมได้รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ไว้ สำคัญที่สุด ทำทุกอย่างให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย

ผมขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี ที่ริเริ่มโครงการนี้ และผู้ปฏิบัติทุกท่านที่ช่วยกันคิดหาแนวทางที่จะทำให้โครงการนี้เกิดขึ้น และ ขอบคุณ CPH ที่มีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันเพื่อพัฒนาประเทศไทยของเรา

สุดท้าย ที่สบายใจ คือ การลงนามสัญญาวันนี้ ผมไม่ต้องจ่ายเงินส่วนตัวทุบเสาตอม่อโฮปเวลล์ เพราะคู่สัญญาคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย กับ CPH ตกลงกันได้แล้ว 😆

ขอบคุณที่สุดคือ ประชาชน และ สื่อมวลชน ที่ช่วยกันตรวจสอบ และสนับสนุน การทำงานของรัฐบาล 🙏
https://www.thebangkokinsight.com/227851/


Last edited by Wisarut on 24/10/2019 5:00 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 2:35 pm    Post subject: Reply with quote

สดจากทำเนียบรัฐบาล... พิธีลงนามในสัญญาร่วมทุน "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน" มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท
https://www.facebook.com/thansettakij/videos/1546830698793553/


Timeline ข่าวเด่น 24 ตุลาคม 62 ได้ฤกษ์ เซ็นสัญญาไฮสปีด3สนามบิน 2.2แสนล้าน
พฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562

"ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมสถานการณ์ข่าวที่จะเกิดขึ้นในรอบวันพฤหัสบดีที่ 24 ต.ค. 2562 ไฮไลต์วันนี้อยู่ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เวลา 13.30 น. จะมีการจัดพิธีลงนามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กับ บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด หรือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จํากัด และพันธมิตร ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ในโครงการ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานและสักขีพยานในพิธี

ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนมูลค่ากว่า 2.24 แสนล้านบาท ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ (ก่อสร้างและให้บริการ) ให้เอกชนร่วมทุนฯเป็นเวลา 50 ปี ทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา คาดว่าทำให้เกิดการจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 100,000 อัตราใน 5 ปี การจ้างงานระหว่างก่อสร้าง 16,000 อัตราใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ อาทิ เหล็ก 1 ล้านตัน ปูน 8 ล้านลูกบาศก์เมตร มีการการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประเทศ และผลตอบแทนต่อเศรษฐกิจ ตลอดอายุโครงการ 652,152 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 3:46 pm    Post subject: Reply with quote

ชื่นมื่น...เซ็นแล้ว'ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน'
พฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562


นับ1 เซ็นสัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน



เมื่อเวลา 13.45 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมี นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินรักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) โดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์



พร้อมกันนี้ในพิธีดังกล่าวยังได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อสนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงสามสนามบิน โดยมี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินรักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) ร่วมลงนาม

นายวรวุฒิ เผยว่า การลงนามในสัญญาครั้งนี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทย นับเป็นครั้งแรกของรัฐบาลที่ได้ผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงในรูปแบบร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP Net Cost) มีมูลค่าสูงถึง 224,544 ล้านบาท ซึ่งไทยได้ประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลงสัญญาสัมปทานนี้ โดยมีกรอบวงเงินที่ ครม.อนุมัติ 119,425 ล้านบาท ปรากฎว่าเอกชนเสนอกรอบวงเงินที่รัฐร่วมลงทุน 117,226 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 2,200 ล้านบาท ภายใต้สัญญาร่วมลงทุน 50 ปี อีกทั้งทรัพย์สินทั้งหมดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา

นายศุภชัย เผยว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่มีโอกาสร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยได้ร่วมกับพันธมิตรที่เป็นกิจการร่วมค้า ได้แก่ China Railway Construction Corporation Limited จากสาธารณรัฐประชาชนจีน บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ช.การช่าง จัดตั้ง “บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือ Easten High-Speed Rail Linking Three Airport Co.,Ltd” ซึ่งภายหลังการลงนามจะเร่งเข้าไปบริหารจัดการบริษัทรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินฯ เพื่อจะได้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจ ออกแบบ เจรจากับผู้รับเหมาก่อสร้าง รวมทั้งเร่งจัดทำแผนก่อสร้างและเดินหน้าทันที



โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มีแนวทางเชื่อมโยงท่าอากาศยานสำคัญของประเทศ โดยเริ่มต้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง วิ่งตรงเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ ผ่านสถานีมักกะสัน เลี้ยวเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มุ่งหน้าต่อไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านแม่น้ำบางประกง เข้าสู่สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และเข้าสู่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ระยะทางรวม 220 กม. โดยขบวนสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 250 กม./ชม



โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน คาดว่าจะให้บริการได้ในปี 2566 ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะทำให้เกิดการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานี นำความเจริญสู่ชุมชน เกิดการกระจายรายได้โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ คาดว่าจะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 650,000 ล้านบาท จะมีการจ้างงานในช่วงก่อสร้างมากถึง 16,000 อัตราและการจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องมากกว่า 100,000 อัตราใน 5 ปีข้างหน้า ที่สำคัญคือโอกาสในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรไทยให้มีควาทเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2601710323209230&set=a.2081528948560706&type=3&theater
https://www.youtube.com/watch?v=Yg7ax5bW0sw


Last edited by Wisarut on 24/10/2019 4:48 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 4:00 pm    Post subject: Reply with quote

ช่วยกันเข็นให้เต็มสปีด รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte
วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562

น่ายินดีที่ในที่สุดการรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถหาข้อยุตินำไปสู่การลงนามในสัญญา
รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในวันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562) ได้

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีบทบาทสำคัญต่อโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของ EEC เปรียบดั่งกระดูกสันหลังของ EEC หากขาดไปก็ยากที่ EEC จะประสบความสำเร็จ

โครงการนี้ไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์เฉพาะต่อประชาชนในพื้นที่ EEC เท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนตลอดเส้นทางระหว่างดอนเมือง-อู่ตะเภา รวมทั้งประชาชนในแนวเส้นทางของรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระหว่างกรุงเทพฯ - นครราชสีมา-หนองคาย-เวียงจันทร์-คุนหมิง เพราะรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ได้ด้วย

ดังนั้น เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ส่งผลดีต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผมขอเสนอแนะให้รัฐบาลไทยเชิญชวนรัฐบาลจีนมาร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งรัฐบาลจีนจะต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้โครงการขาดทุน เช่น สนับสนุนให้ชาวจีนเดินทางมาไทยด้วยรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น ผมไม่ต้องการให้รัฐบาลไทยลงทุน 100% ซึ่งเป็นการแบกรับความเสี่ยงเองทั้งหมด ดังเช่นช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้

หวังว่าสักวันหนึ่งการเดินทางระหว่างไทย-จีน โดยรถไฟความเร็วสูงจะคึกคัก สร้างรายได้ให้กับชาวไทย ลาว และจีนเป็นกอบเป็นกำ อีกทั้ง เมืองที่รถไฟความเร็วสูงตัดผ่านจะได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองระดับนานาชาติ

ประโยชน์มากมายมหาศาลขนาดนี้ เราต้องมาช่วยกันผลักดันให้โครงการนี้เป็นจริงให้ได้เถอะครับ
https://www.thebangkokinsight.com/227688/


Last edited by Wisarut on 25/10/2019 2:09 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 4:51 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชื่นมื่น...เซ็นแล้ว'ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน'
พฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2601710323209230&set=a.2081528948560706&type=3&theater
https://www.youtube.com/watch?v=Yg7ax5bW0sw


รฟท. จับมือ CP เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ เซ็นสัญญาเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
พฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562

วันนี้ (24 ต.ค. 62) เวลา 13.45 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย โดย นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อสนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดย นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มีแนวเส้นทางเชื่อมโยงท่าอากาศยานสำคัญของประเทศ โดยเริ่มต้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง วิ่งตรงเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ ผ่านสถานีมักกะสัน เลี้ยวเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มุ่งหน้าต่อไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านแม่น้ำบางปะกง เข้าสู่สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และเข้าสู่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นสถานีสุดท้าย ระยะทางรวม 220 กิโลเมตร โดยขบวนรถสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลงนามสัญญาครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลอย่างรัดกุมของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และนับเป็นครั้งแรกของรัฐบาลที่ได้ผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP Net Cost) ที่มีมูลค่าสูงถึง 224,544 ล้านบาท โดยที่ประเทศได้ประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลงสัญญาสัมปทาน โดยมีกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 119,425 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน) ปรากฏว่ากลุ่มเอกชนเสนอกรอบวงเงินที่รัฐร่วมลงทุน 117,226 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน) ส่งผลให้รัฐประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 2,200 ล้านบาท ภายใต้สัญญาร่วมลงทุน 50 ปี อีกทั้งทรัพย์สินทั้งหมดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะผู้แทนกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และ พันธมิตร เปิดเผยว่า รู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้มีโอกาสร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) โดยได้ร่วมกับพันธมิตรที่เป็นกิจการร่วมค้า ได้แก่ China Railway Construction Corporation Limited จากสาธารณรัฐประชาชนจีน บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ. ช.การช่าง จัดตั้ง “บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด” หรือ “Eastern High-Speed Rail Linking Three Airports Co.,Ltd.” เป็นตัวแทนลงนามในสัญญาร่วมลงทุน Public – Private - Partnership หรือ PPP ในครั้งนี้ โดยภายหลังการลงนามจะเร่งเข้าไปบริหารจัดการบริษัทรถไฟความเร็วสูง
เชื่อมสามสนามบินฯ เพื่อจะได้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจ/ออกแบบ เจรจากับผู้รับเหมาก่อสร้าง และ Suppliers ต่างๆ รวมถึงเร่งจัดทำแผนก่อสร้างและเดินหน้าทันที
“นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศไทยที่ภาคเอกชนได้ร่วมลงนามในสัญญาร่วมลงทุน PPP กับภาครัฐผลักดันให้เกิดโครงการก่อสร้างเมกะโปรเจ็คระดับนานาชาตินี้ขึ้นมาได้สำเร็จ โดยต้องขอขอบคุณพันธมิตรที่เป็นกิจการร่วมค้า รวมทั้งพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ อาทิ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) และ ธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศจีน (CDB) รวมทั้งได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากเอกอัครราชทูต 3 ประเทศ ประกอบด้วย นายหลู่ย์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย นายชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ นายโลเรนโซ กาลันตี เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุนและร่วมเป็นสักขีพยานในโครงการประวัติศาสตร์ที่เป็นความร่วมมือระดับโลกเพื่อพลิกโฉมหน้าประเทศไทยในครั้งนี้” นายศุภชัยกล่าว โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2566 ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะทำให้เกิดการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานี นำความเจริญสู่ชุมชน เกิดการกระจายรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีที่ค้าขาย มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 650,000 ล้านบาท ถือเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจไทยตามนโยบาย Thailand 4.0 นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดการจ้างงานในช่วงก่อสร้างมากถึง 16,000 อัตรา และการจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องมากกว่า 100,000 อัตรา ใน 5 ปีข้างหน้า รวมทั้งเปิดโอกาสให้คนไทยได้เรียนรู้วิธีการทำงานในโครงการด้วยเทคโนโลยีสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาสู่การเป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสูง และมีศักยภาพสูงเพียงพอที่จะสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2601817403198522&set=a.2081528948560706&type=3&theater
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/3007473625934155
เซ็นไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน บูมอีอีซี
พฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562

คอลัมน์ฐานโซไซตี
โดย....พริกกะเหรี่ยง
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3,516 ระหว่างวันที่ 24-26 ตุลาคม 2562


ไฮสปีดเทรนด์เชื่อม 3 สนามบิน บูมอีอีซี


.....ในที่สุดรถไฟความเร็วสูงของเจ้าสัว “ซีพี” ก็ได้ฤกษ์เปิดหวูดหลังเจรจายืดเยื้อยาวนานข้ามปี วันที่ 24 ตุลาคมนี้ “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์” พร้อมพันธมิตรถือเอาดีฤกษ์มงคลวัน “ปิยมหาราช” เซ็นสัญญากับการรถไฟฯ ลงทุนโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน อู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท สัมปทาน 50 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะจดปากกากันในวันที่ 25 ตุลาคม แต่คราวนี้มาแปลกเป็นการเลื่อนให้เร็วขึ้น

.....ถือเป็นข่าวดีต่อโครงการ “อีอีซี” เพราะไฮสปีดเทรนถือเป็นหัวใจหลักของโครงการนี้หากไม่มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง โครงการเกิดยากและต้องใช้เวลา ดึงทุนต่างชาติยาก แต่เบื้องหลังกว่าจะมาถึงวันนี้ได้ก็ยิ่งกว่า “มหากาพย์” เพราะติดขัดในเรื่องปัญหาการเคลียร์พื้นที่ การโยกย้ายรื้อสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนที่รุกล้ำออกจากพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ของการก่อสร้างที่พบว่ามีถึง 230 จุดที่เป็นปัญหาต้องรื้อถอนให้พ้นเส้นทางการเวนคืนพื้นที่



.....แต่เมื่อประชุมกันหลายยกและนายกฯ “บิ๊กตู่” นั่งหัวโต๊ะถึงกับออกปากและย้ำว่าต้องให้ความสะดวกแก่เอกชนในการลงทุน แถมยังได้ “อนุทิน ชาญวีรกูล” ออกโรงมาช่วย “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” ไขลานอีกทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการกันแก้ปัญหาทั้งเรื่องท่อขนส่งน้ำมัน ปตท. กรมการขนส่งทางบก และอื่นๆ จนเสด็จน้ำ ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องไม่ให้ผิดเพี้ยนจาก REP เดิม รวมถึงการแต่งตั้งบอร์ดชุดใหม่ “รฟท.” อย่างรวดเร็วทันใจหลังชุดเก่าพร้อมใจกันไขก๊อก


.....ทั้งย้ำนักหนาว่าไม่มีการเอื้อประโยชน์กับเอกชน แต่ถ้าหากเกิด "แอกซิเดนต์" เจอปัญหาส่งมอบที่ดินล่าช้า ทำให้โครงการดีเลย์จะชดเชยด้วยการขยายระยะเวลาสัมปทานออกไปซึ่งอยู่ในหลักการที่ทำได้และทำกันมาหลายยุค ไม่มีการจ่ายเป็น "ตัวเงิน" เห็นแบบนี้แล้วค่อยเบาใจไปเปลาะหนึ่งว่า เมกะโปรเจ็กต์ใหญ่ขนาดนี้คงไม่เกิดดราม่า “ค่าโง่” ตามมาในภายหลัง เพราะได้กันไว้ล่วงหน้าแล้ว



.....ตามไทม์ไลน์คนไทยคงได้ตีตั๋วรถไฟ ช่วงอู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ ในอีก 4 ปีข้างหน้าหรือราวปี 2566-2567 ส่วนช่วง พญาไท-ดอนเมืองก็น่าจะเป็นปี 2567-2568 และแน่นอนว่าเมื่อรถไฟความเร็วสูง “ตอกเสาเข็ม” เมื่อไร ราคาที่ดินในพื้นที่ 3 จังหวัดคงพุ่งพรวด! ตามความเร็วรถไฟ พร้อมกับการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะตามมาติดๆ โดยเฉพาะตามสถานีหลักที่จะเป็นจุดกระจายคน

.....เมื่อแม่เหล็กใหญ่ “ไฮสปีดเทรน” แจ้งเกิด โครงการที่จะต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กับการพัฒนาเมืองการบินอู่ตะเภา ซึ่ง “กองทัพเรือ” เดินหน้าเปิดซอง 3 ซึ่งเป็นซองราคาแล้วและกลุ่ม “บีบีเอส จอยท์ เวนเจอร์” ซึ่งมีพันธมิตรเป็นเจ้าสัวบีทีเอส -คีรี กาญจนพาสน์,หมอเสริฐ ปราสาททองโอสถ - บางกอกแอร์เวย์ส และ ซิโน-ไทย เสนอราคาสูงถึงแสนล้านทิ้งห่างกลุ่ม แกรนด์คอนโซเตียม เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา




.....วันเดียวกับกลุ่ม“ซีพี”ได้ยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวกับศาลปกครองสูงสุดและศาลได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ตามไทม์ไลน์ “กองทัพเรือ” ตั้งใจว่าจะคัดเลือกให้ได้ผู้ชนะภายในเดือนพฤศจิกายน และกะจะปิดจ็อบ ลงนามสัญญาร่วมทุนต้นปีซึ่งแน่ชัดว่ากลุ่ม “บีทีเอส” ที่เสนอราคาสูงสุด อาจจะไม่ใช่ผู้ชนะประมูล ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำตัดสินออกมาตามที่กลุ่ม “ซีพี” ร้อง โครงการนี้ก็รอไปก่อน และเผลอๆ "เจ้าสัวซีพี" อาจกินรวบทั้งไฮสปีดและเมืองการบินก็เป็นได้


Last edited by Wisarut on 24/10/2019 5:23 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

"ศุภชัย"เร่งทำแผนก่อสร้างลุยไฮสปีด
พฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เผยภายหลังการลงนามสัญญา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ –อู่ตะเภา) ว่าจะเร่งเข้าไปบริหารจัดการบริษัทรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินฯ เพื่อลงพื้นที่สำรวจ ออกแบบ เจรจากับผู้รับเหมาก่อสร้าง รวมทั้งเร่งจัดทำแผนก่อสร้างและเดินหน้าทันทีว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่มีโอกาสร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยได้ร่วมกับพันธมิตรที่เป็นกิจการร่วมค้า ได้แก่ China Railway Construction Corporation Limited จากสาธารณรัฐประชาชนจีน บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ช.การช่าง จัดตั้ง “บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือ Easten High-Speed Rail Linking Three Airport Co.,Ltd”


ซีพียันไฮสปีด มีแหล่งทุนใน-นอก แย้มไม่ปิดกั้นผู้ร่วมทุน
พฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562



ซีพีมีแหล่งเงินทั้งในไทยและต่างชาติ แย้มไม่ปิดกั้นผู้ร่วมลงทุนในอนาคต พร้อมผลักดันเข้าตลาดหลักทรัพย์



นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) เผยหลังการเซ็นสัญญาว่า ภายใน 12 เดือนต่อจากนี้เราจะเร่ิมก่อสร้าง โดยผู้ร่วมทุนของเรามีความสามารถทั้งการวางระบบรางและการเดินรถ ที่สำคัญการได้ China Railway Construction Corporation Limited เข้ามาจะยิ่งเสริมให้การก่อสร้างเราดำเนินการได้เร็วและมีประสิทธิภาพ

สำหรับแหล่งเงินทุนนั้นมีทั้งไทยและต่างชาติ โดยต่างชาติ คือ จีนและญี่ปุ่น แบ่งสัดส่วนเป็นตัวราง 65% และการวางระบบ 35% ซึ่งทำให้การลงทุนเพื่อก่อสร้างนี้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น ทั้งนี้ในอนาคตอันใกล้พื้นที่ประมาณ 140 ไร่บริเวณสถานีมักกะสันจะมีการพัฒนาเป็นพื้นที่รีเทลรองรับการเข้ามาของนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว และเชื่อมต่อการเดินได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญจะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นศูนย์วิจัยให้กับการรถไฟ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในราว 1.4 แสนล้านบาท

ทั้งนี้เมื่อถามถึงโอกาสในอนาคตสำหรับการร่วมลงทุนกับผู้ลงทุนรายใหม่ นายศุภชัย เผยว่า มีความเป็นไปได้และก็พร้อมเปิดเจรจาแต่ถ้ามีผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาก็ต้องแจ้งทาง รฟท.ให้รับทราบ พร้อมกันนี้ยังแย้มว่ามีผู้สนใจเข้ามาพูดคุยแล้วเป็นต่างชาติ แต่ทุกอย่างจะดำเนินการตามระเบียบสัญญาและกฎหมายอีอีซี ่ ส่วนแนวทางการในการออกแบบทาง กลุ่มซีพี เน้นย้ำการดีไซน์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ

สำหรับการส่งมอบพื้นที่นั้น นายศุภชัย เผยว่า ในสัญญาแนบท้ายได้ระบุชัดเจนแล้วว่าแต่ละพื้นที่มีกำหนดเวลาเท่าใด ซึ่งเรื่องนี้นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ รฟท. กล่าวเสริมว่า รฟท.เร่งรัดการเคลียพื้นที่ในการบุกรุก พร้อมกับประสานเจ้าของสาธารณูปโภคตามที่ได้ประชุมไปก่อนหน้านี้ว่าจะปรับ ย้าย หรือรื้อถอนกันอย่างไร ตนเชื่อมั่นว่าเป็นไปตามที่เคยได้ชี้แจง ขณะที่วัสดุก่อสร้างจะเน้นในไทยเป็นหลัก ส่วนที่ไทยยังทำไม่ได้อย่าง เทคโนโลยีการเดินรถ ยังต้องพึ่งต่างชาติ

ส่วนในเรื่องของค่าโดยสาร นายศุภชัย ระบุว่า ยังคงยืดหลักตามที่ระบุใน TOR โดยยังคงมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้าถึงได้ด้วยความสะดวกสบาย

ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เผยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงสามสนามบินนี้เนื่องด้วยเป็นโครงการที่ใหญ่เราพร้อมที่จะผลักดันเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ และในขณะนี้ทางตลาดหลักทรัพย์ส่งคนเข้ามาช่วยดูและให้คำปรึกษา



“จากนี้ทุกภาคส่วนจะเริ่มทำงานอย่างเต็มที่ อย่าได้กังวลถึงความเสี่ยง เราทุกฝ่ายจะช่วยกัน ที่สำคัญจะมีการรายงานทุกความคืบหน้า” นายคณิศ กล่าวทิ้งท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 349, 350, 351 ... 548, 549, 550  Next
Page 350 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©