RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13288081
ทั้งหมด:13599405
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 354, 355, 356 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2019 11:40 am    Post subject: Reply with quote

NEWSROOM ห้องข่าวเศรษฐกิจ – เร่งโครงการ ‘รถไฟไทย-จีน’ 1.7 แสนล้าน 30/10/62
พุธที่ 30 ตุลาคม 2562


NEWSROOM ห้องข่าวเศรษฐกิจ 30/10/62ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.30-11.50 น. เจาะลึกประเด็น เร่งโครงการ ‘รถไฟไทย-จีน’ 1.7 แสนล้าน เป็นอย่างไรติดตามได้จากรายการ
https://www.youtube.com/watch?v=dXXaGyEkKRg
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2019 9:07 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดสายอีสาน-เจ้าสัว ซี.พี. เชื่อมอู่ตะเภา-เวียงจันทน์-คุนหมิง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 November 2019 - 08:12 น.

Click on the image for full size

คิกออฟโครงการคนละเวลา แต่ก็เป็นที่น่าจับตาว่ารถไฟความเร็วสูง 2 สายของประเทศไทย ภายใต้การดำเนินการโดย “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” และ “รัฐบาลประยุทธ์” สายไหนจะเปิดหวูดประเดิมเป็นสายแรก

ระหว่าง “สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย” เริ่มสร้างเฟสแรกถึงนครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท เป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือของ 2 รัฐบาล ระหว่างไทยกับจีน

โดยฝ่ายไทยรับภาระการลงทุนโครงการทั้งหมด ฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา คุมการก่อสร้าง ออกแบบและจัดหาระบบรถไฟความเร็วสูง ระบบอาณัติสัญญาณ และระบบควบคุมการเดินรถ

ซึ่ง “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี ได้ปักธงสัญลักษณ์คิกออฟโครงการ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2560 ที่มอหลักหินรัชกาลที่ 5 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ทั้งโครงการ ร.ฟ.ท.แบ่งสร้าง 14 สัญญา ปัจจุบันกำลังสร้าง 2 สัญญา เป็นงานถมคันดินช่วงแรก 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก มีกรมทางหลวงเป็นผู้ก่อสร้าง คืบหน้าแล้ว 70% จะเสร็จในเดือน มี.ค. 2563 และช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. มี บจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่งก่อสร้าง เปิดหน้าดินก่อสร้างเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา คืบหน้าแล้ว 5.38% จะเสร็จในเดือน ต.ค. 2563


อีก 10 สัญญาอยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.อนุมัติ พิจารณาราคาประมูล ตรวจสอบข้อเสนอด้านราคา และอีก 2 สัญญารอเปิดประมูลและความชัดเจนแบบก่อสร้างจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของกลุ่ม ซี.พี.ที่มีพื้นที่ทับซ้อนช่วงดอนเมือง-บางซื่อ

สำหรับงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร ล่าสุดกระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติกรอบวงเงินที่เพิ่มขึ้น 12,075.12 ล้านบาท จากเดิม 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.50 ล้านบาท จากการย้ายขอบเขตงานระบบที่ซ้อนทับอยู่ในงานโยธา เปลี่ยนรุ่นขบวนรถ EMU จาก CHR 2G รุ่น Hexie Hao เป็น CR Series รุ่น Fuxing Hao ยังมีเปลี่ยนทางแบบใช้หินโรยทาง เป็นทางแบบไม่ใช้หินโรยทาง ค่าประกันพัสดุจาก 1 ปี เป็น 2 ปี ค่าประสานงาน จะเสนอ ครม.เศรษฐกิจวันที่ 1 พ.ย. คาดว่าจะมีการเซ็นสัญญากับจีนภายในเดือน พ.ย.นี้

ถึงจะได้ผู้รับเหมาเกือบครบทุกสัญญา แต่การเดินหน้าก่อสร้างต้องรอการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติม คาดว่างานก่อสร้างจะเริ่มจริงจังในปี 2563 ใช้เวลาสร้าง 4 ปี แล้วเสร็จในปี 2567 เปิดบริการในปี 2568 ช้าจากเป้าเดิมสร้างเสร็จปี 2564 เปิดบริการในปี 2566

สำหรับแนวเส้นทางพาดผ่าน 5 จังหวัดมี 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับ 181.9 กม. ทางระดับพื้น 64.0 กม. และอุโมงค์ 6.4 กม.

จะใช้ระบบเทคโนโลยีของจีน วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทาง 1.30 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 535 บาทต่อเที่ยว ในอนาคตรัฐบาลไทยมีแผนจะสร้างเฟสที่ 2 จากนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 233,481 ล้านบาท เพื่อเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว ที่กำลังสร้างจากคุนหมิง-เวียงจันทน์

มาดูรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกหรือไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท มี บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม ซี.พี.) เป็นผู้หาเงินมาลงทุนสร้างให้รัฐก่อน แลกสัมปทานเดินรถ 50 ปี โดยรัฐจ่ายคืน 10 ปี วงเงิน 117,227 ล้านบาท

เพิ่งได้ฤกษ์เซ็นสัญญาวันที่ 24 ต.ค. 2562 ตามไทม์ไลน์จะเริ่มก่อสร้างหลัง ร.ฟ.ท.เคลียร์การส่งมอบพื้นที่ให้เสร็จตามสัญญา โดยแบ่งสร้าง 3 ช่วง 1.พญาไท-สุวรรณภูมิ เริ่มได้ทันทีหากเอกชนจ่ายค่าสิทธิ์แอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาท 2.สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ใน 1 ปี 3 เดือนหรือไม่เกิน 2 ปี 3.พญาไท-ดอนเมือง ใน 2 ปี 3 เดือนหรือไม่เกิน 4 ปี

โครงการนี้นอกจากจะได้ทุนใหญ่เงินหนามาลงขันกันแล้ว ยังได้ 3 ยักษ์รับเหมามาเป็นผู้ก่อสร้างงานโยธาและติดตั้งระบบราง ทั้ง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ช.การช่าง และ บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น (CRCC) จากจีน

ส่วนระบบและขบวนรถ มีข่าววงในระบุว่า กลุ่ม ซี.พี.กำลังมีอำนาจต่อรองกับบรรดาซัพพลายเออร์ หลังได้เซ็นสัญญา แม้ว่า “ศุภชัย เจียรวนนท์” แม่ทัพใหญ่ ยังไม่เฉลยจะใช้บริการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไหน ระหว่างจีน ญี่ปุ่น และยุโรป

แต่ว่ากันว่ามีแนวโน้มสูงจะใช้ระบบ “ฮิตาชิ” จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อจะได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 1.75% จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ที่พร้อมจะซัพพอร์ตให้

“ระบบของฮิตาชิที่ ซี.พี.กำลังเจรจาไม่ใช่ระบบชินคันเซ็นที่เป็นระบบปิด แต่เป็นระบบเปิดตามมาตรฐาน ETCS จากยุโรป ที่ฮิตาชิผลิตให้ที่อังกฤษมาแล้ว ยังเป็นระบบที่เชื่อมกับระบบ CTCS ของจีนที่ใช้ในสายอีสานได้ เพราะจีนก็เรียนรู้ระบบจากยุโรปก่อนจะนำมาพัฒนาเป็นของตัวเอง อยู่ที่ ซี.พี.เป็นผู้เลือก”

หากทุกอย่างเดินตามแผน จะเปิดบริการช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาได้ก่อนในปี 2566-2567 ส่วนช่วงพญาไท-ดอนเมืองเปิดในปี 2567-2568 ดูแล้วน่าจะเปิดบริการพร้อมกับรถไฟไทย-จีน

เผลอ ๆ อาจเป็นเอกชนรายเดียวกันที่บริหารการเดินรถจากโคราช-อู่ตะเภาก็ได้ เพราะรถไฟไทย-จีนท้ายที่สุดรัฐบาลอาจจะเปิดทางให้เอกชนมารับสัมปทานบริหารการเดินรถก็เป็นได้ เพื่อร่วมกันรับความเสี่ยงโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2019 11:20 am    Post subject: Reply with quote

ดีลประวัติศาสตร์รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กระทบเราอย่างไร
THE SECRET SAUCE
พุธที่ 30 ตุลาคม 2562
โครงการรถไฟความเร็วสูง ส่งผลกระทบอย่างไรกับผู้ประกอบการและนักธุรกิจ



เคน นครินทร์ เล่าถึงดีลประวัติศาสตร์ที่ถือเป็นซูเปอร์เมกะโปรเจกต์ในการเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศไทยด้วยรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินคือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา


เปิดฟังได้ ที่นี่ ครับ

ทำไมดีลนี้ถูกยกให้เป็นประวัติศาสตร์

เนื่องจากเป็นการเซ็นสัญญาระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือที่เรียกว่า PPP (Public Private Partnership) มูลค่าโครงการสูงถึง 2.24 แสนล้านบาท คาดการณ์ว่าจะคืนเงินทุนกลับสู่ภาครัฐภายใน 50 ปี เกิดผลตอบแทนเศรษฐกิจถึง 6.5 แสนล้านบาท เกิดการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกว่าแสนอัตราในระยะเวลา 5 ปี แถมยังคาดการณ์เพิ่มเติมด้วยว่าเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ช่วยสร้าง New S-Curve ร่วมกับระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Gateway) มีการดึงดูดนักลงทุนใหม่ เทคโนโลยีใหม่ และมีระบบโลจิสติกส์ที่สะดวกสบายขึ้น



รายละเอียดโครงการ

รถไฟของโครงการนี้เชื่อมต่อ 3 สนามบิน ได้แก่ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา รวมระยะทาง 220 กิโลเมตร ประกอบด้วย 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา



โครงสร้างทางวิ่งของโครงการประกอบไปด้วย ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบันระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางโครงการจะผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถเปิดตัวโครงการในปี 2566 ค่าโดยสารจากต้นสายถึงปลายสายประมาณ 500 บาท



รายละเอียดดีล

โครงการรถไฟความเร็วสูงเปิดประมูลใน 2 ปีที่แล้ว โดยมี 2 กลุ่มยื่นประมูลแข่งขัน ได้แก่ กลุ่ม BSR (บีทีเอส, ซิโน-ไทย, ราชบุรีโฮลดิ้ง) และกลุ่ม CPH (กิจการร่วมการค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร)



โดยผลปรากฏว่ากลุ่ม CPH ชนะการประมูลในวงเงิน 117,227 ล้านบาท ห่างจากกลุ่ม BSR จำนวน 52,707 ล้านบาท จากนั้นใช้เวลาเจรจากันมาจนได้ข้อยุติร่วมกัน



CPH ได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจใหม่ เพื่อเซ็นสัญญาร่วมทุนโครงการชื่อ ‘บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด’ โดยมีบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งถือหุ้นใหญ่ 70% รองลงมาคือ China Railway Construction Corporation ถือหุ้น 10% บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM 10% บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 5% และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 5% มีทุนจดทะเบียนประมาณ 4 พันล้านบาท และเพิ่มเป็น 2.5 หมื่นล้านบาทเมื่อเริ่มต้นเดินรถ จำนวนหุ้นประมาณ 40 ล้านหุ้น และคาดว่าจะมีการระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในเร็วๆ นี้



นอกจากนี้ยังมีปัญหายืดเยื้อที่ทำให้ CPH ล่าช้าในการลงนามสัญญา เนื่องจากรัฐบาลมี RFP (Request Form Proposal) ระบุไว้ว่า รัฐบาลจะต้องส่งมอบพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 50% ของพื้นที่ก่อสร้าง ฝ่ายรัฐบาลระบุว่า มีความพร้อมในการส่งมอบพื้นที่ได้ทันที 72% หลังสัญญา แต่ทาง CPH ต้องการการส่งมอบพื้นที่ถึง 100% ก่อนเซ็นสัญญา โดยรายละเอียดการส่งมอบสัญญามี 3 ช่วง ได้แก่



สถานีพญาไทถึงสถานีสุวรรณภูมิ หรือระยะทางของ Airport Rail Link มีระยะทาง 28 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่นี้สามารถส่งมอบได้ทันที 100% แต่ทาง CPH จะต้องชำระค่าเดินรถเป็นจำนวนเงิน 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งถ้าหาก CPH ชำระเงินส่วนนี้ ก็จะสามารถรับเงินหรือกำไรจาก Airport Rail Link ได้ทันที
ช่วงสถานีสุวรรณภูมิถึงสถานีอู่ตะเภา มีระยะทาง 170 กิโลเมตร มีระบุการส่งมอบภายใน 2 ปี แต่ทาง คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พยายามเร่งรัดให้มีการส่งมอบภายใน 1 ปี 3 เดือน
ช่วงสถานีพญาไทถึงสถานีดอนเมือง มีระยะทาง 22 กิโลเมตร มีระบุการส่งมอบภายใน 4 ปี เเละมีการเร่งรัดให้มีการส่งมอบภายใน 2 ปี 3 เดือน ระยะนี้เป็นช่วงที่มีปัญหามากที่สุด เพราะต้องมีการรื้อย้ายท่อส่งน้ำมัน แก๊ส รวมทั้งการย้ายสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสาโทรเลข เสาไฟลงดิน และอุโมงค์ระบายน้ำ ซึ่งส่งผลให้การเปิดใช้บริการล่าช้ากว่าช่วงอื่นๆ ประมาณปลายปี 2567 หรือต้นปี 2568



หลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้นและควรจับตามองอะไรบ้าง

โดยปกติการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไม่ได้สร้างกำไรให้ทางภาคเอกชนมากนัก เนื่องจากมีการลงทุนที่ค่อนข้างสูง และใช้ระยะเวลานานในการคืนทุน ทางรัฐบาลจึงใช้ตัวกระตุ้นจากที่ดินมักกะสันซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ ขนาด 140 ไร่ หรือมีขนาดเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของสวนลุมพินี ทางเอกชนจึงคาดหวังพื้นที่ในส่วนนี้มาทำเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าหรือว่าที่พักอาศัย



ในงานวันเซ็นสัญญา (24 ตุลาคม) ศุภชัย เจียรวนนท์ กล่าวว่า ตามที่เสนอไป จะมีการสร้างสถานีและอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงใช้พื้นที่นั้นเป็นศูนย์กลางเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ โดยตั้งเงินลงทุนไว้ 1.4 แสนล้านบาท โดยทางบริษัทเปิดกว้างในการรับพันธมิตรใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาร่วมลงทุน



อีกเรื่องคือ สนามบินอู่ตะเภา มีมูลค่าการลงทุนหลายแสนล้านบาท ที่จะถูกยกระดับให้เป็นสนามบินนานาชาติ โดยในตอนแรกมีการเปิดประมูล ซึ่ง นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ จาก Bangkok Airways จับมือกับทาง คีรี กาญจนพาสน์ จากบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ชนะการประมูลไป แต่ล่าสุดไม่นานมานี้ทางซีพีซึ่งยื่นซองประมูลล่าช้า ได้มีการฟ้องร้อง จึงทำให้มีการพิจารณาการประมูลอีกครั้ง



โครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการ และนักลงทุนอย่างไร

นักลงทุนควรจับตามองบริษัทเอกชนที่ชนะการประมูล เนื่องจากมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะสูงขึ้น
ผู้ประกอบการควรจับตาและติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับโครงการนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบจำนวนมากและทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ต่างๆ เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการจะหารายได้จากสิ่งนี้ได้
ธุรกิจท่องเที่ยว โครงการนี้เป็นโอกาสที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามามากขึ้น ควรเตรียมพร้อมในการรับมือนักท่องเที่ยวตามพื้นที่บริเวณใกล้เคียง
ธุรกิจโลจิสติกส์ การส่งสินค้า Modern Trade พัสดุจะมีการเปลี่ยนย้ายหรือเป็นพาร์ตเนอร์กับรถไฟความเร็วสูงในการขนส่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2019 11:52 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งถกอัยการสูงสุดกรณีรถไฟไทย-จีน

31 ตุลาคม 2562 เวลา 19:03

“คมนาคม” เตรียมหารืออัยการสูงสุดกรณีรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 2.3 หลังจีนเสนอไทยจ่ายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ เร่งสรุปก่อนหารือกับจีน 5 พ.ย.นี้

วันนี้ (31 ต.ค.2562) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ในส่วนของสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) ว่า ขณะนี้มีประเด็นที่จะต้องเจรจาเพิ่มเติม เนื่องจากจีนต้องการให้ไทยชำระเงินเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ โดยฝ่ายจีนระบุว่า มีความกังวลเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน จากเดิมที่มีการเจรจาก่อนหน้านี้ว่าจะมีการชำระเป็นสกุลบาท โดยในขณะนี้ กระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางราง ได้ทำเรื่องหารือไปที่อัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาข้อกฎหมายว่าสามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง พร้อมทั้งหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยถึงรูปแบบในการดำเนินการ ก่อนสรุปรายละเอียดให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือร่วมกับนายหลี เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ในวันที่ 5 พ.ย. 2562

“ได้ทำความเห็นไปว่า การที่เราชำระเงินบาทไป จะเป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ประเทศอย่างไร ส่วนกระทรวงการคลัง บอกว่าสามารถใช้การซื้ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าได้ ซึ่งจริงๆ ธนาคารในประเทศไทยก็ทำเรื่องนี้อยู่แล้ว ต้องอธิบายให้รับทราบเพราะข้อมูลบ้างครั้งอาจไม่สมบูรณ์ เขาอาจจะไม่ทราบว่ากระบวนการแบบนี้ในประเทศไทยทำยังไง มองว่าเรื่องพวกนี้ต้องทำความเข้าใจ แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายใต้กฏหมายที่ทำได้”
สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการรัฐต่อรัฐ จึงต้องไปดูว่าอำนาจหน้าที่กำหนดไว้อย่างไร ทั้งนี้ ยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่ช้า และดำเนินการถูกต้องตามกระบวนการ

ส่วนเรื่องดอกเบี้ย ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา เพราะจะต้องมีการเปรียบเทียบผลได้ ผลเสีย อย่างไรก็ตาม หลังจากได้ข้อสรุปแล้วจะมีการนำเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป

สำหรับความคืบหน้ากรณีโฮปเวลล์ นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานจากนายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิณ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในฐานะประธานคณะทำงานที่ได้ไปเจรจาร่วมกับเอกชนว่าเรื่องดังกล่าว จะต้องพิจารณาหารือถึงข้อมูลหลักฐานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ หลังจากมีข้อสงสัยต่างๆ จึงต้องดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายและเป็นภาระกับกระทรวงคมนาคม ประเทศชาติ และประชาชนด้วย

ขณะเดียวกัน ในส่วนคำสั่งของศาลที่ได้ตัดสินไปแล้ว โดยมีกำหนดให้จ่ายค่าชดเชยมูลค่า 11,888.75 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ตามคำสั่งศาล หรือประมาณ 25,000 ล้านบาท ที่ได้ครบกำหนดไปเมื่อวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ไปยื่นหนังสือต่อกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เพื่อขอชะลอการบังคดีออกไปก่อน ในระหว่างนี้ จึงเดินหน้าดำเนินการตามกระบวนการเจรจาและพิจารณาข้อมูลต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2019 1:54 pm    Post subject: Reply with quote

ศรีราชาคึกรับไฮสปีด การันตีผู้เช่า-นักลงทุน
ออนไลน์เมื่อ 01 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 25-26 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,518
วันที่ 31 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2562

ทำเลศรีราชาฮอต หลัง ไฮสปีด ซีพี เดินหน้า “ดี-แลนด์” จัดเต็มโปรโมชัน 3 โครงการลดหนัก! 2 แสนถึงครึ่งล้านการันตีผู้เช่าเอาใจคนซื้อเพื่อการลงทุน

นายศิริพงษ์ สมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี-แลนด์ กรุ๊ป จำกัด ผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ ตอนใต้ พระราม 2-สมุทรสาคร โซนภาคตะวันออก และโซนกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก เปิดเผยว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในโซนภาคตะวันออก โดยเฉพาะที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้พัฒนาโครงการ ดีมานด์ของคนในพื้นที่ รวมถึงนักลงทุนจากโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งโครงการต่างๆ ของดี-แลนด์ ได้กระแสตอบรับที่ดี ทั้งกลุ่มที่อยากมีบ้านและกลุ่มนักลงทุน ล่าสุด ดี-แลนด์ ได้จัดโปรโมชันที่อยู่อาศัย 3 โครงการบนทำเลศักยภาพศรีราชาเพื่อสมนาคุณพิเศษและส่งท้ายปี 2562 ประกอบด้วย 1. ดีพาร์ค คอนโด สวนเสือ-ศรีราชา 2. ดีทาวน์ โกรว์ สวนเสือ-ศรีราชา และ 3. บ้านดี เดอะมอนเทอเรย์ ศรีราชา-อัสสัมชัญ

สำหรับโครงการ ดีพาร์ค คอนโด สวนเสือ-ศรีราชา จัดโปรโมชัน ลด 2 แสน 10 หน่วยสุดท้ายรูปแบบโครงการเป็นคอนโดมิเนียมที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ขนาด 24 ตารางเมตร ประกอบด้วย 1 ห้องนอน 1 ห้องนํ้า โดดเด่นด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกับโครงการดีทาวน์ซึ่งเป็นศูนย์รวมความสะดวกและทันสมัย อยู่ติดกับพอร์โต้ มาร์เก็ต ใกล้คอน
วีเนียนสโตร์ ร้านอาหาร พร้อมห้องออกกำลังกายในร่ม ระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง พร้อมกล้องวงจรปิด CCTV และพื้นที่จอดรถมากกว่า 130 คัน การเดินทางสะดวก เพียง 5 นาทีจาก J-Park ใกล้แหล่งชุมชน ธนาคาร โรงเรียน และช็อปปิ้งมอลล์

นอกจากนี้ ยังอยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมขนาดใหญ่ ทั้งมอเตอร์เวย์และเส้นสุขุมวิท คอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ ตกแต่งครบ ราคาเริ่มต้น 1.5 ล้านบาท จ่าย 1,000 บาท เข้าอยู่ได้ทันที พร้อมบริหารห้องพักเพื่อให้เช่าอย่างมืออาชีพ การันตีผู้เช่า 1 ปี



โครงการ “ดีทาวน์ โกรว์ สวนเสือ-ศรีราชา” มาพร้อมโปรโมชัน ลดครึ่งล้าน 5 หน่วย รูปแบบอาคารพาณิชย์เพื่อธุรกิจร้านค้าและอพาร์ตเมนต์ 3 ชั้น ขนาด 18 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 152 ตารางเมตร ประกอบด้วย 6 ห้องเช่า 6 ห้องนํ้า ทำเลติดถนนหนองค้อ-สวนเสือศรีราชา อยู่ติดถนนใหญ่ ไม่ไกลจากตัวเมืองศรีราชา ใกล้แหล่งชุมชนและแหล่งอำนวยความสะดวกมากมาย คล่องตัวมากยิ่งขึ้นด้วยเส้นทางคมนาคมที่สามารถเข้า-ออกเมืองศรีราชาได้หลายช่องทาง ตอบโจทย์ความต้องการครบทุกด้าน ชั้นล่างสามารถทำธุรกิจสำหรับเจ้าของกิจการหรือปล่อยเช่าหน้าร้าน ชั้นบนเป็นส่วนตัวด้วยทางเข้า-ออกแยกอิสระ ห้องพักแบ่งสัดส่วนลงตัวพร้อมตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ คลับเฮาส์ สโมสร สระว่ายนํ้า พื้นที่ส่วนพักผ่อนกระจายรอบโครงการ ระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกล้อง CCTV และพื้นที่จอดรถมากถึง 300 คัน ราคาเริ่มต้น 4.3 ล้านบาท กับเงื่อนไขสุดพิเศษ ฟรี! จัดหาผู้เช่า 2 ปี การันตีรายได้ 2 ปี ผ่อน 1,000 บาท/เดือน และกู้ได้เต็ม 100%




ส่วนโครงการ “บ้านดี เดอะมอนเทอเรย์ ศรีราชา-อัสสัมชัญ” จัดโปรโมชัน “เปิดเฟสใหม่ ราคาพรีเซล” ในรูปแบบทาวน์โฮมอารมณ์บ้านเดี่ยว 2 ชั้น ขนาด 18.5 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 112 ตารางเมตร ประกอบด้วย 4 ห้องนอน 2 ห้องนํ้า 2 จอดรถ ในสังคมส่วนตัว สไตล์ American Cottage บนทำเลใจกลางเมืองศรีราชา ในซอยวัดไร่กล้วยใกล้กับโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา-เชื่อมต่อตัวเมืองชลบุรี-ระยอง-พัทยาได้สะดวกรวดเร็ว ใกล้แหล่งงาน ย่านธุรกิจ โรงพยาบาล สถานศึกษาและหน่วยงานราชการ พร้อมคลับเฮาส์ สระว่ายนํ้า พื้นที่
สีเขียวร่มรื่นขนาดใหญ่ด้านหน้าโครงการ ระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง และกล้อง CCTV ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2019 1:15 am    Post subject: Reply with quote

อย่านอกลู่!‘อนุทิน’ย้ำเงื่อนไขสร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบินยึด RFP-จ่ายตามสัญญาเดิม

วันอาทิตย์ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

3 พฤศจิกายน 2562 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามที่มีกระแสข่าวเงื่อนไขการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ฝ่ายเอกชนหรือกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือ CPH จะดำเนินการก่อสร้างตามระยะเวลาที่กำหนด

จากนั้นภาครัฐจึงทยอยชำระค่าก่อสร้างตามมา เปลี่ยนเป็นให้เอกชนสร้าง และภาครัฐทยอยผ่อนจ่ายระหว่างดำเนินการ หรือสร้างไปจ่ายไปนั้น เงื่อนไขการเข้ามาประมูลงาน หรือ RFP ว่าอย่างไรก็ตามนั้น จะขาดจะเกินไม่ได้ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะรัฐเป็นคู่สัญญา ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ฝ่ายที่เขาแพ้ประมูล รวมไปถึงเอกชนที่ไม่เข้าประมูล เพราะเขาติดเงื่อนไขที่ประกาศไว้ ทางนั้นจะรู้สึกอย่างไร

“บางคนคิดเอาเองว่าอีอีซี. มี พ.ร.บ.ฉบับพิเศษ คอยอำนวยความสะดวก แต่ข้อเท็จจริงจริงคือกฎหมายฉบับนั้นต้องใช้คู่กับกฎหมายฉบับอื่น อาทิ กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ RFP ไม่ได้ตั้งเงื่อนไขให้เอกชนต้องดำเนินการแต่ฝ่ายเดียว แต่มีเรื่องที่รัฐต้องจัดการให้ อาทิ การส่งมอบพื้นที่ตามเวลาที่กำหนด หน่วยงานต่างๆ ต้องทำให้ทัน แต่ถ้ามีเหตุสุดวิสัย ก็ยืดเวลาก่อสร้างออกไปได้ อย่าไปคิดว่าจะให้รัฐชดเชยด้วยทางอื่น” นายอนุทิน กล่าว


นายอนุทิน กล่าวต่อว่า สำหรับบุคคลในส่วนของภาครัฐที่ไปให้ข่าว ขอให้เข้าใจด้วยว่า เรื่องการเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คู่สัญญาคือเอกชน กับการรถไฟแห่งประเทศไทย มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคอยดูแล ยิ่งบางเรื่องต้องอาศัยอำนาจของคณะรัฐมนตรี จะไปพูดก่อนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐ

เมื่อถามถึงกระแสข่าวลือว่ากลุ่ม CPH เตรียมปรับลดสัดส่วนด้านการลงทุน ในโครงการรถไฟความเร็วสูงข้างต้น นายอนุทิน กล่าวว่า ต้องดูว่า RFP อนุญาตให้ทำหรือไม่ ส่วนตัวคิดว่าทำไม่ได้ เพราะถ้าทำได้ เท่ากับใครมีเงินก็เข้ามาประมูล เมื่อได้โครงการ ก็กระจายให้เอกชนรายอื่นรับช่วงต่อเช่นนั้นหรือ ตนคิดว่าไม่ถูกต้อง เพราะภาครัฐไว้ใจ CPH ไม่ได้ไว้ใจผู้ที่จะมารับช่วงต่อ

"อนุทิน"แจงสร้างรถไฟฟ้าเชื่อม3สนามบิน รัฐจ่ายตามสัญญาเดิม
วันอาทิตย์ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 15:31 น.

"อนุทิน" ย้ำรัฐบาลชำระค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินตาม เงื่อนไขเข้าประมูลงานเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง

จากกรณีที่มีข่าวว่าเงื่อนไขการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่ ฝ่ายเอกชนจะดำเนินการก่อสร้างตามระยะเวลาที่กำหนด จากนั้นภาครัฐจึงทยอยชำระค่าก่อสร้างตามมา เปลี่ยนเป็นให้เอกชน สร้าง และภาครัฐทยอยผ่อนจ่ายระหว่างดำเนินการ หรือสร้างไป จ่ายไป นั้น

ล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เงื่อนไขการเข้ามาประมูลงาน หรือ RFP ว่าอย่างไร ก็ตามนั้น จะขาด จะเกินไม่ได้ เป็นเรื่องสำคัญเพราะรัฐเป็นคู่สัญญา และถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ฝ่ายที่เขาแพ้ประมูล รวมไปถึงเอกชน ที่ไม่เข้าประมูลเพราะเขาติดเงื่อนไขที่ประกาศไว้ ทางนั้นจะรู้สึกอย่างไร


ทั้งนี้ บางคนคิดเอาเองว่า EEC มี พ.ร.บ.ฉบับพิเศษ คอยอำนวยความสะดวก แต่ข้อเท็จจริงจริงคือกฎหมายฉบับนั้น ก็ต้องใช้คู่กับกฎหมายฉบับอื่น อาทิ กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ


"เงื่อนไขการเข้ามาประมูลงาน ไม่ได้ตั้งเงื่อนไขให้เอกชนต้องดำเนินการแต่ฝ่ายเดียว แต่มีเรื่องที่รัฐต้องจัดการให้ อาทิ การส่งมอบพื้นที่ตามเวลาที่กำหนด หน่วยงานต่างๆ ต้องทำให้ทัน แต่ถ้ามีเหตุสุดวิสัย ก็ยืดเวลาก่อสร้างออกไปได้ อย่าไปคิดว่าจะให้รัฐชดเชยด้วยทางอื่น"นายอนุทินกล่าว

นายอนุทินกล่าวอีกว่า สำหรับคนในส่วนของภาครัฐที่ไปให้ข่าว ขอให้เข้าใจด้วยว่า เรื่องการเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คู่สัญญาคือเอกชน กับการรถไฟแห่งประเทศไทย มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคอยดูแล ยิ่งบางเรื่องต้องอาศัยอำนาจของคณะรัฐมนตรี จะไปพูดก่อนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐ


ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวลือว่ากลุ่มเอกชนเตรียมปรับลดสัดส่วนด้านการลงทุน ในโครงการรถไฟความเร็วสูงข้างต้น นายอนุทิน ตอบว่า ต้องดูว่า RFP อนุญาตให้ทำหรือไม่ แต่ส่วนตัวคิดว่าทำไม่ได้ เพราะถ้าทำได้ เท่ากับ ใครมีเงินก็เข้ามาประมูล เมื่อได้โครงการ ก็กระจายให้เอกชนรายอื่นรับช่วงต่อเช่นนั้นหรือ คิดว่าไม่ถูกต้อง เพราะภาครัฐ ไว้ใจ ผู้ที่ชนะประมูลไม่ได้ไว้ใจผู้ที่จะมารับช่วงต่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2019 1:28 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯจ่อหารือ 'ซีพี' เร่งโอนแอร์พอร์ตเรลลิงค์

2 พฤศจิกายน 2562

"ร.ฟ.ท." ลั่นมีความพร้อมโอน "แอร์พอร์ต เรล ลิงค์" ทันที จี้ "ซีพี" เร่งวางแผนชาระสิทธิบริหาร 1 หมื่นล้านบาท กลางปี 2563 เล็งหารือซื้อขบวนเพิ่ม คาดผู้โดยสารโตต่อเนื่องทะลุ 1.2 แสนคนต่อวัน

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หลังจาก ร.ฟ.ท.ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่กลุ่มซีพีและพันธมิตรตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารโครงการ โดย ร.ฟ.ท.จะเริ่มทบทวนดูทรัพย์สินของแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ว่ามีส่วนใดที่จะต้องให้เอกชนรับไปบริหารบ้าง

โดยมีกรอบกำหนดไว้ในเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ (RFP) ไว้อยู่แล้วว่า เอกชนจะต้องจ่ายเงินโอนสิทธิรับบริหารส่วนนี้ 1 หมื่นล้านบาทให้ ร.ฟ.ท.ภายใน 2 ปี จะทยอยจ่ายหรืออะไรก็ได้ แต่เมื่อ จ่ายครบภายใน 2 ปีจึงจะมีสิทธิในการเข้ามาบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงค์

ทั้งนี้ ทรัพย์สินของแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ที่จะต้องส่งมอบให้กับกลุ่มซีพี ประกอบด้วย 1.ขบวนรถที่ปัจจุบันมีอยู่จำนวน 9 ขบวน 2.ระบบและอุปกรณ์ รถไฟฟ้า 3.ตัวสถานีรถไฟฟ้าที่จะมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในอาคารที่จะได้สิทธิในการบริหารจัดการด้วย

ส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณภายนอกสถานี จะไม่ได้รวมอยู่ในการส่งมอบเมื่อชาระค่าใช้จ่ายแล้วเสร็จ เพราะจำเป็นต้องรอเคลียร์พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคใต้ดินให้แล้วเสร็จจึงจะส่งมอบได้ โดยสถานีมักกะสันที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพราะมี พื้นที่ทั้งหมดจำนวน 142.26 ไร่ ตามแผนจะมีการส่งมอบช่วงแรก 132.95 ไร่ ส่วนที่เหลือ 9.31 ไร่ จะทยอยส่งมอบ เนื่องจากเป็นพื้นที่พวงราง ซึ่งจะต้องดำเนินการย้ายพวงรางออกไปก่อน จึงจะเข้าใช้ประโยชน์ได้

นายวรุวฒิ กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะส่งมอบทรัพย์สินแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ทันที ที่ทางเอกชนชำระเงินครบ ขอเพียงแค่เอกชนแจ้งแผนที่จะชำระเงินและเข้ามาบริหารงานให้ชัดเจน เพื่อ ร.ฟ.ท.จะได้จัดวางแผนล่วงหน้าในการเตรียมโอนกรรมสิทธิ์และโอนย้ายบุคลากร โดยต้องหารือร่วมกันกับกลุ่มซีพีอย่างชัดเจนหลังลงนามสัญญา เพราะการหารือก่อนหน้านี้ กลุ่มซีพีจะจ่ายเงินบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ในช่วงปลายปีที่ 2
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2019 10:54 am    Post subject: Reply with quote



สื่อญี่ปุ่นเล่นข่าวเรื่องรถไฟความไวสูง
https://www.youtube.com/watch?v=ee7N-GWPLW4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2019 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (21)
โดย...บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 09 Oct 2019
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3512
ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2562

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (22)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 12 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3514 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 13-16 ตุลาคม 2562





สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล(23)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 16 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3514 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 17-19 ตุลาคม 2562





สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล(24)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 20 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3515 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม 2562



สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(25)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 22 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3516 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 24-26 ตุลาคม 2562

ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

คณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคา ได้พิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านการเงิน) ของกลุ่มกิจการร่วมค้า บีเอส อาร์ และ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร ที่ผ่านด้านเทคนิคมาแล้ว เมื่อเปิดซองด้านการเงินพบว่า กลุ่มซีพี เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่า กลุ่มบีเอสอาร์ อยู่มาก กลุ่มซีพีจึงชนะประมูล

คณะกรรมการฯ เรียกกลุ่มซีพีมาเจรจาต่อรองกันมาตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2561 และเริ่มสรุปผลการประมูลมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ถึงบัดนี้เป็นเวลาเกือบ 1 ปี เข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน

อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไม “เอกชน-รัฐ” จึงมีการยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้ ล่าสุดมีการประกาศตัวออกมาว่าจะมีการลงนามเซ็นสัญญากันในวันที่ 24 ตุลาคมนี้

สัญญาที่จะมีการลงนามกันนั้นรายละเอียดเป็นอย่างไร ติดขัดตรงไหน มีอะไรในกอไผ่ มาติดตามกันในร่างสัญญาซึ่งผมนำเสนอรายละเอียดมาอย่างต่อเนื่องเป็นตอนที่ 25 ซึ่งเกี่ยวพันกับแอร์พอร์ตลิงค์...มาดูกันครับ!

ง) เอกชนคู่สัญญาจะต้องอำนวยความสะดวก และ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ รฟท. ในการตรวจสอบการใช้และบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(1)(ข) เพื่อประเมินว่างานดังกล่าวมีการใช้งานและได้รับการบำรุงรักษาตามที่กำหนดไว้

จ) ในขณะตรวจสอบการใช้และบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟ รฟท. จะพยายามให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ เว้นแต่ รฟท. เห็นว่าจะกระทบต่อความปลอดภัย รฟท. อาจสั่งการให้เอกชนคู่สัญญาดำเนินการตามที่ รฟท. เห็นสมควร และเอกชนคู่สัญญาจะต้องให้ความร่วมมือแก่ รฟท. ในระหว่างที่ รฟท. ตรวจสอบการใช้และบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟตามที่ รฟท. กำหนด

ฉ) กรณีที่ผลการตรวจสอบการใช้และบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟปรากฏว่า เอกชนคู่สัญญาไม่ดำเนินการตามข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รฟท. จะแจ้งเป็นหนังสือให้เอกชนคู่สัญญาทราบถึงผลตรวจสอบการใช้และบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟ และกำหนดระยะเวลาตามสมควรให้เอกชนคู่สัญญาดำเนินการแก้ไขหรือบำรุงรักษา

ช) เอกชนคู่สัญญาจะต้องแก้ไขหรือบำรุงรักษางานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟตามที่ รฟท. แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการตรวจสอบแก้ไขหรือบำรุงรักษาดังกล่าวด้วยตนเอง โดยหากเอกชนคู่สัญญาไม่แก้ไขหรือบำรุงรักษางานดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในหนังสือบอกกล่าว ภายในระยะเวลาตามที่กำหนด และก่อให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ มาตรฐานความปลอดภัย หรือภาพลักษณ์ในการดำเนินโครงการฯ รฟท. มีสิทธิเรียกให้เอกชนคู่สัญญาชดใช้ค่าซ่อมบำรุงรักษา ซึ่งหากไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด รฟท. มีสิทธิหักเงินค่าซ่อมบำรุงรักษาจากหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1 ตามจำนวนที่ รฟท. เห็นว่าจำเป็นที่ต้องใช้เพื่อซ่อมแซมหรือบำรุงรักษางานดังกล่าว

4) ข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย เอกชนคู่สัญญาต้องรับผิดชอบในการจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยทั้งหมดในระบบรถไฟของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟรวมทั้งรับผิดชอบจัดหาสถานที่ปฏิบัติงานหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่ของ รฟท. และของหน่วยงานของรัฐ ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานด้านความปลอดภัยตามกฎหมายไทย ตลอดระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2(1)(ข) ด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาเอง

16. การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และการดำเนินกิจการพาณิชย์

16.1 การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

(1) วัตถุประสงค์ของการเช่าและการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

(ก) ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขพี่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุนนี้ รฟท. ตกลงให้สิทธิการเช่าและเอกชนคู่สัญญาตกลงรับสิทธิการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ได้แก่ พื้นที่มักกะสันซึ่งตั้งอยู่ที่ [.] โดยมีจำนวนเนื้อที่ประมาณหนึ่งร้อยห้าสิบ (150) ไร่ และพื้นที่ศรีราชา ซึ่งอยู่ที่ [.] โดยมีจำนวนเนื้อที่ประมาณยี่สิบห้า (25) ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พื้นที่มักกะสันเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC Gateway) และให้พื้นที่ศรีราชาเป็นพื้นที่สนับสนุนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

รวมถึงการให้บริการผู้โดยสารของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ โดยอย่างน้อยเอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯให้เป็นไปตามข้อกำหนดของรฟท.ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯและข้อกำหนดอื่นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

ทั้งนี้ รายละเอียดของขอบเขตการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯรวมถึงขอบเขตของพื้นที่ที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯปรากฏตามเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 5 (ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) ภาคผนวกหมายเลข 1 (ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) และภาคผนวกหมายเลข 3 (พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ)

(ข) คู่สัญญาตกลงรายละเอียดการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ดังต่อไปนี้ ตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ จนถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ คู่สัญญาตกลงให้มีการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ดังต่อไปนี้

1) การเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรก ตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯตามที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ จนถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ คู่สัญญาตกลงให้มีการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกได้แก่

พื้นที่มักกะสัน (ยกเว้นพื้นที่มักกะสันบางส่วนตามกำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)(2) ซึ่งตั้งอยู่ที่ [.] โดยมีจำนวนเนื้อที่ประมาณ [.] ไร่ และพื้นที่ศรีราชา ซึ่งตั้งอยู่ที่[.] โดยมีจำนวนเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ ซึ่งปรากฏรายละเอียดของพื้นที่ดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมทุนหมายเลข 5 (ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) ภาคผนวกหมายเลข 3-1 (พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ส่วนแรก) รฟท. จะส่งมอบและเอกชนคู่สัญญาตกลงรับมอบการครอบครองพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกดังกล่าว

2) การเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนที่เหลือ คู่สัญญาตกลงให้การเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนที่เหลือ (ซึ่งได้แก่ พื้นที่มักกะสันที่เป็นที่ตั้งของสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางซึ่งมีจำนวนเนื้อที่ประมาณ[.] ไร่โดยปรากฏรายละเอียดของพื้นที่ดังกล่าวตามเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 5 (ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) ภาคผนวกหมายเลข 3-2 (พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ส่วนที่เหลือ) เริ่มต้นเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ และสิ้นสุดในวันสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

ก) กรณี รฟท. ออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันตามข้อ 16.1(5)(ก) ให้เริ่มการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนที่เหลือ ในวันที่ รฟท. ระบุให้เริ่มต้นการเช่าพื้นที่ส่วนนั้นไว้ในหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันนั้น

โปรดอ่านรายละเอียดกันให้ดี ร่างสัญญาแบบนี้มีที่นี่ที่เดียวครับ !


สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(26)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 27 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3517 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคม 2562



ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

คณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคา ได้พิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านการเงิน) ของกลุ่มกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ และ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร ที่ผ่านด้านเทคนิคมาแล้ว เมื่อเปิดซองด้านการเงินพบว่า กลุ่มซีพี เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่า กลุ่มบีเอสอาร์ อยู่มาก กลุ่มซีพีจึงชนะประมูล

คณะกรรมการฯ เรียกกลุ่มซีพีมาเจรจาต่อรองกันมาตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2561 และเริ่มสรุปผลการประมูลมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 เพิ่งจะมีการเปิดทำเนียบรัฐบาลเพื่อทำพิธีลงนามเซ็นสัญญากับเอกชนอย่างยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของการประมูลโครงการขนาดใหญ่อย่างอึกทึกครึกโครม





ผมจึงขอพามาติดตามกันในร่างสัญญาตอนที่ 26 ซึ่งผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกามาแล้ว แต่สัญญาจริงจะเป็นตามนี้หรือไม่ มาดูกันในเรื่องแอร์พอร์ตลิงค์กันต่อจากตอนที่แล้วครับ!

ข) กรณีที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถดำเนินการให้งานสะพานเลื่อนย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันตามข้อ 16.1(5)(ก) แล้วเสร็จภายในระยะเวลาห้า (5)ปี นับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)1) โดยไม่ได้เกิดขึ้นหรือมีสาเหตุมาจากเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) เหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) หรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความผิดของเอกชนคู่สัญญาในกรณีดังกล่าว ให้เริ่มการเช่าในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนที่เหลือ ในวันที่ครบกำหนดระยะเวลาห้า (5)ปี ดังกล่าว

(2) ค่าเช่าการชำระค่าเช่าและการคิดผลประโยชน์ตอบแทนของ รฟท.(ก) ค่าเช่า

1) ตลอดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาตกลงชำระค่าเช่าให้แก่ รฟท. จากการให้เอกชนคู่สัญญาเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯตามข้อ 16.1(1)(ข) เป็นอัตราค่าเช่ารายปีตามกำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 5 (ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) ภาคผนวกหมายเลข 2 (รายละเอียดค่าเช่าและการชำระค่าเช่า) โดยค่าเช่าดังกล่าวยังไม่รวมค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมใดๆ (ถ้ามี) ทั้งสิ้น โดยเอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้รับผิดชอบในการชำระค่าภาษีอากร รวมถึงภาษีโรงเรือน รวมทั้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือภาษีอื่นใดในทำนองเดียวกันทั้งสิ้น (หากมี)

2) เอกชนคู่สัญญาตกลงว่า ไม่ว่าในกรณีหรือด้วยเหตุใดก็ตาม เอกชนคู่สัญญาไม่มีสิทธิขอยกเว้นหรือปรับลดค่าเช่าภายใต้สัญญาร่วมลงทุนนี้ (ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด) ยกเว้นพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ที่มีการรอนสิทธิ์ และเอกชนคู่สัญญาไม่อาจใช้พื้นที่ดังกล่าวได้

(ข) การชำระค่าเช่า 1) กำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่า เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ชำระค่าเช่าดังต่อไปนี้

ก) กรณีพื้นที่สนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1) (ข)1) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ชำระค่าเช่าในปีแรกของการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)1) ในทันทีที่เริ่มการเช่าพื้นที่นั้นตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว และเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ชำระค่าเช่าสำหรับปีถัดๆ ไปในวันเดียวกันของแต่ละปีจนกว่าจะครบระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ





ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่เริ่มชำระค่าเช่าของพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนของพื้นที่ที่ศรีราชาเฉพาะในส่วนพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท. ในปัจจุบัน และพื้นที่ที่จะจัดเตรียมไว้สำหรับการสร้างอาคารที่พักอาศัยของพนักงานและอาคารที่ทำการ รฟท. เมื่อเอกชนคู่สัญญาได้สร้างอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท. ใหม่แล้วเสร็จ

ข) กรณีพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนที่เหลือตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)2) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ชำระค่าเช่าในปีแรกของการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนที่เหลือตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)2) ในทันทีที่เริ่มการเช่าพื้นที่นั้น ตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว และเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ชำระค่าเช่าสำหรับปีถัดๆ ไปในวันเดียวกันของแต่ละปีจนกว่าจะครบระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ โดยในส่วนของกำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่าในปีสุดท้ายของระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ของพื้นที่ดังกล่าวคู่สัญญาตกลงให้ชำระค่าเช่าโดยคิดเฉพาะจำนวนระยะเวลาที่ได้เช่าพื้นที่นั้นจริงในปีสุดท้ายดังกล่าว

2) วิธีการชำระค่าเช่า การชำระค่าเช่าตามสัญญาร่วมลงทุนนี้ให้ชำระ ณ ที่ทำการของ รฟท. หรือโดยช่องทางอื่นใดตามที่ รฟท. กำหนด เมื่อเอกชนคู่สัญญาชำระค่าเช่าครบถ้วนในปีใดให้แก่ รฟท. แล้ว รฟท. จะออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่ รฟท. กำหนดเพื่อมอบให้เอกชนคู่สัญญายึดถือไว้เป็นหลักฐาน

3) กรณีมีการชำระค่าเช่าล่าช้า ก) คู่กรณีเอกชนคู่สัญญามิได้ชำระค่าเช่าในปีใดให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน ให้ถือว่าเอกชนคู่สัญญาตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดและต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสอง (2) ต่อเดือนของจำนวนเงินค่าเช่าที่ค้างชำระตลอดไปทุก ๆ เดือนจนถึงเดือนที่ได้ชำระค่าเช่าที่ค้างชำระครบถ้วน เศษของเดือนที่เป็นวันให้คิดเท่ากับหนึ่ง (1)เดือน

ข) กรณีมีการค้างชำระค่าเช่าในปีใด คู่สัญญาตกลงว่า หากเอกชนคู่สัญญาได้ชำระค่าเช่าให้แก่ รฟท. ภายหลังจากนั้น ให้นำค่าเช่าที่ได้มีการชำระนั้นมาชำระค่าเช่าที่ค้างชำระปีแรกสุดก่อนจนกระทั่งมีการชำระค่าเช่าปีก่อนหน้าครบถ้วนแล้วจึงนำมาชำระค่าเช่าที่ค้างชำระของปีล่าสุด รฟท. มีสิทธิบังคับจากหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1 ทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อหักชำระค่าเช่าที่ค้างชำระ

นี่คือเรื่องแอร์พอร์ตลิงค์ ครับ ยังมีเรื่องชวนติดตามอีกเพียบครับ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2019 2:51 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(27)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 29 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3518 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2562 -2 พฤศจิกายน 2562



ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

คณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคา ได้พิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านการเงิน) ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ และ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร ที่ เมื่อเปิดซองด้านการเงินพบว่า กลุ่มซีพี เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่า กลุ่มบีเอสอาร์ กลุ่มซีพีจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่จะมีการลงนามกันนั้นรายละเอียดเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันนะครับ ซึ่งผมนำเสนอมา 26 ตอนเข้าไปแล้ว ตอนนี้เป็นตอนที่ 27 ซึ่งเป็นเรื่องสัญญาแอร์พอร์ตลิงค์ ครับ....

(ค) การคิดผลประโยชน์ตอบแทนของ รฟท. นอกเหนือจากค่าเช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาจะต้องแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนในส่วนอื่นให้แก่ รฟท. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 8.1 (1) โดยคู่สัญญาตกลงว่าตลอดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้นำรายได้ดังต่อไปนี้ คิดเป็นรายได้ของเอกชนคู่สัญญาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เพื่อนำไปแบ่งให้ รฟท. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อข้างต้น

1) กรณีเอกชนคู่สัญญาดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอง รวมถึงการให้บุคคลอื่นเช่าและ/หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วนของอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวที่พัฒนาโดยเอกชนคู่สัญญาให้นำรายได้หรือผลประโยชน์ที่เอกชนคู่สัญญาได้รับทั้งหมดจากการจัดหาผลประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และ/หรือบรรดาสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว (ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงภาษีและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายไทย) มาคิดเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ของเอกชนคู่สัญญาที่จะต้องนำมาแบ่งให้ รฟท. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 8.1(1) และ

2) กรณีเอกชนคู่สัญญาให้บุคคลอื่นเช่าช่วง และ/หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (นอกเหนือจากกรณีข้อ 16.1(2)(ค)1)) ให้นำรายได้ค่าเช่าช่วง และ/หรือค่าให้ใช้ประโยชน์มาคิดเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ของเอกชนคู่สัญญาที่จะต้องนำมาแบ่งให้ รฟท. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 8.1(1) โดยเอกชนคู่สัญญาตกลงดังนี้

ก) ภายหลังสามสิบ (30) วัน นับจากวันที่เข้าทำสัญญาให้เช่าช่วงและ/หรือใช้ประโยชน์เอกชนคู่สัญญาจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับการให้เช่าช่วงและ/หรือให้ใช้ประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ รฟท. ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อมูลดังนี้สำเนาสัญญาให้เช่าช่วงและ/หรือให้ใช้ประโยชน์ ระหว่างเอกชนคู่สัญญาและผู้เช่าช่วง และ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ รายชื่อ ที่อยู่ ผู้รับการติดต่อ ระยะเวลาค่าตอบแทน (รวมถึงค่าเช่าช่วงและ/หรือค่าให้ใช้ประโยชน์) พร้อมหลักฐานพิสูจน์ว่าค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นไปตามอัตราราคาตลาดตลอดระยะเวลาของการเช่าช่วงและ/หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ดังกล่าวและรายละเอียดอื่นตามที่ รฟท. กำหนดอย่างสมเหตุสมผล โดยให้จัดส่งรายงานซึ่งแสดงข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดเป็นเอกสารและสิ่งบันทึกข้อมูล (เช่น ซีดี ดีวีดี ธัมป์ไดรฟ์ (thumb drive) หรือแฟลชไดรฟ์ (flash drivel) หรืออื่นๆ ที่จะพึงมี ณ วันที่ส่งรายงานข้อมูล) และหลังจากวันลงนามในสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาจะจัดส่งอัตราค่าเช่าที่เอกชนคู่สัญญาจะคิดจากผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ ซึ่งจะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าเช่าที่เอกชนคู่สัญญาต้องชำระให้แก่ รฟท. ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 5 (ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) ภาคผนวกหมายเลข 2 (รายละเอียดค่าเช่าและการชำระค่าเช่า) ให้แก่ รฟท.

ข) ตลอดระยะเวลาการให้เช่าช่วงและ/หรือให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ หาก รฟท. เห็นว่าค่าตอบแทนมีอัตราตํ่ากว่าอัตราค่าเช่าที่เอกชนคู่สัญญาต้องชำระให้แก่ รฟท. ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 5 (ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ) ภาคผนวกหมายเลข 2 (รายละเอียดค่าเช่าและการชำระค่าเช่า) เอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการแก้ไขสัญญาให้เช่าช่วงและ/หรือใช้ประโยชน์ให้ค่าตอบแทนนั้นให้มีอัตราที่ไม่ตํ่ากว่าอัตราค่าเช่าที่เอกชนคู่สัญญาต้องชำระให้แก่ รฟท. ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 5 (ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) ภาคผนวกหมายเลข 2 (รายละเอียดค่าเช่าและการชำระค่าเช่า) และหากเอกชนคู่สัญญาไม่ดำเนินการดังกล่าว รฟท. มีสิทธิเรียกให้เอกชนคู่สัญญาชำระค่าปรับเป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างระหว่างค่าตอบแทนนั้นกับอัตราค่าเช่าที่เอกชนคู่สัญญาต้องชำระให้แก่ รฟท. ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 5 (ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) ภาคผนวกหมายเลข 1 (ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) ทั้งนี้ การดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯจะต้องไม่ละเมิดต่อกฎหมายไทยและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

(ข) เอกชนคู่สัญญาอาจดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ดำเนินการดังกล่าวก็ได้โดยในกรณีที่เอกชนคู่สัญญามอบหมายให้ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ต้องได้รับการอนุมัติจาก รฟท. ก่อนการให้เช่าช่วงและ/หรือการให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าว

ในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะระมัดระวังมิให้การดำเนินงานข้างต้น หรือมอบหมายให้ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ดำเนินการข้างต้นให้ส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นหรือการให้บริการสาธารณะของหน่วยงานรัฐ

(4) สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

(ก) สิทธิและหน้าที่ของ รฟท.ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน รฟท. มีสิทธิและหน้าที่ดังต่อไปนี้

1) รฟท. หรือผู้แทนของ รฟท. มีสิทธิเข้าไปตรวจพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ได้ในเวลาทำการปกติของเอกชนคู่สัญญา ผู้เช่าช่วง หรือผู้ใช้ประโยชน์แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า สำหรับนอกเวลาทำการปกติ (รวมเวลากลางคืน) นั้นให้ รฟท. หรือผู้แทนของ รฟท. เข้าไปตรวจได้ทันทีในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วน โดยต้องแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาทราบก่อน และเอกชนคู่สัญญาต้องอำนวยความสะดวกแก่ รฟท. หรือผู้แทนของ รฟท. ในการเข้าตรวจพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

2) ในกรณีที่เกิดความชำรุดหรือเสียหายต่อพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ บรรดาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และ/หรือ บรรดาส่วนควบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เอกชนคู่สัญญา ผู้เช่าช่วง และ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ นำมาใช้และ/หรือติดตั้งในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ หรือเหตุการณ์อื่นใด ซึ่ง รฟท. เห็นว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย พลานามัยของประชาชน หรือต่อทรัพย์สินของ รฟท. หรือบุคคลอื่นใด หรือต่อสิ่งแวดล้อม รฟท. มีสิทธิออกคำสั่งให้เอกชนคู่สัญญา (และให้เอกชนคู่สัญญาดำเนินการให้ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (ถ้ามี) หยุดการดำเนินการใด ๆ ในและ/หรือเกี่ยวข้องกับพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ บรรดาสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และ/หรือบรรดาส่วนควบและอุปกรณ์ต่างๆเอกชนคู่สัญญา ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ (ถ้ามี) นำมาใช้ และ/หรือ ติดตั้งในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือแต่บางส่วน) ไว้ชั่วคราว

จนกว่าเอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการหรือมีการแก้ไขเหตุดังกล่าวได้สำเร็จครบถ้วนจนเป็นที่พอใจของ รฟท. แล้ว

เสียดายพื้นที่จำกัด คอยติดตามกันต่อ...เรื่องแบบนี้ต้องบันทึกครับ!

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(28)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3519 ระหว่างวันที่ 3-6 พฤศจิกายน 2562



ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

คณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคา ได้พิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านการเงิน) ของกลุ่มกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ และ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร ที่ผ่านด้านเทคนิคมาแล้ว เมื่อเปิดซองด้านการเงินพบว่า กลุ่มซีพี เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่า กลุ่มบีเอสอาร์ อยู่มาก กลุ่มซีพีจึงชนะประมูล

คณะกรรมการฯ เรียกกลุ่มซีพีมาเจรจาต่อรองกันมาตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2561 และเริ่มสรุปผลการประมูลมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 เพิ่งจะมีการเปิดทำเนียบรัฐบาลเพื่อทำพิธีลงนามเซ็นสัญญากับเอกชนอย่างยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของการประมูลโครงการขนาดใหญ่อย่างอึกทึกครึกโครมเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562

ปัญหาที่ทุกคนสงสัยคือ สัญญาสัมปทานแบบพีพีพีในโครงการนี้เป็นอย่างไร ผมจึงนำร่างสัญญาโครงการร่วมทุนที่ผ่านสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามาเผยแพร่เป็นตอนที่ 28 สัญญาที่ทำกับการรถไฟฯเป็นเช่นไรบ้างเชิญทัศนากันได้ ณ บัดนี้...

3) ในกรณีที่มีการกระทำใด ๆ ของเอกชนคู่สัญญา ผู้เช่าช่วง ผู้ใช้ประโยชน์ และ/หรือของบุคลากรของบุคคลดังกล่าว หรือผู้ใช้บริการ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินของบุคคลอย่างร้ายแรง หรือการกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายของไทยหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือข้อกำหนดใดๆ ในสัญญาร่วมลงทุนนี้อย่างร้ายแรง หาก รฟท. เห็นว่ามีเหตุอันสมควร ให้ รฟท. มีอำนาจสั่งระงับหรือแก้ไขการกระทำดังกล่าวเท่าที่สมควรได้ทันที และ

4) ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของเอกชนคู่สัญญาตามสัญญาร่วมลงทุนนี้ รฟท. มีสิทธิตรวจสอบได้และเอกชนคู่สัญญาตกลงให้ความร่วมมือพร้อมทั้งอำนวยความสะดวกแก่ รฟท. ในการส่งข้อมูลและเอกสารตามวิธีการที่เอกชนคู่สัญญา และ รฟท. จะได้ตกลงร่วมกัน

(ข) สิทธิและหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญา ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ดังต่อไปนี้

1) เอกชนคู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ในการเช่าและใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ โดยจะต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของการเช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน ข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และข้อกำหนดและเงื่อนไขอื่นตามที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุน โดยจะต้องไม่นำพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และบรรดาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (รวมถึงบรรดาส่วนควบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เอกชนคู่สัญญานำมาใช้และ/หรือติดตั้งในพื้นที่สนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) ไปใช้ในกิจการอย่างอื่นนอกขอบวัตถุประสงค์การเช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนนี้

2) เอกชนคู่สัญญาสามารถให้บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเช่า เช่าช่วง หรือยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ (ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่ามีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทนและไม่ว่าจะเป็นช่วงหนึ่งหรือหลายช่วง) ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯและ/หรือบรรดาสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่พื้นที่ดังกล่าวก็ได้ โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบการกระทำของผู้เช่า ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์นั้นทุกประการเสมือนหนึ่งว่าการกระทำนั้นเป็นของเอกชนคู่สัญญาเอง และเอกชนคู่สัญญาไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ใดๆ ที่ผู้เช่า ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์อาจมีต่อ รฟท. ขึ้นต่อสู้ รฟท. ได้ ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญาต้องดำเนินการระบุข้อกำหนดดังต่อไปนี้ไว้ในสัญญาเช่า สัญญาเช่าช่วง และ/หรือสัญญาให้ใช้ประโยชน์

ก) ระบุให้ผู้เช่า ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์นั้นปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

ข) ระบุว่าระยะเวลาการเช่า การเช่าช่วงและ/หรือการให้ใช้ประโยชน์จะไม่เกินกว่าระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก รฟท.

ค) ระบุว่าหากระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ สิ้นสุดลงก่อนครบระยะเวลาดังกล่าวเพราะสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลง รฟท. จะสวมสิทธิเอกชนคู่สัญญาเพื่อรับโอนสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ในสัญญาดังกล่าวได้จนกระทั่งสิ้นสุดสัญญานั้น

เว้นแต่ได้รับอนุมัติจาก รฟท. เอกชนคู่สัญญา และ/หรือ บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้เช่า ผู้เช่าช่วง หรือผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ไม่สามารถก่อภาระผูกพัน เพื่อเป็นหลักประกันต่อผู้สนับสนุนทางการเงินสำหรับการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ได้

ทั้งนี้ รฟท. จะอนุมัติการก่อภาระผูกพัน เพื่อเป็นหลักประกันต่อผู้สนับสนุนทางการเงินสำหรับการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ได้เมื่อปรากฏว่าการก่อภาระผูกพันนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

3) เอกชนคู่สัญญาต้องนำส่งแบบรายละเอียดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ฉบับสมบูรณ์ (As-built Drawings) ให้แก่ รฟท.อนุมัติก่อนที่จะดำเนินการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว โดยหากแบบรายละเอียดนั้นไม่สอดคล้องกับแนวคิดในการออกแบบ (Conceptual Design) ตามที่ปรากฏในข้อมูลของผู้ยื่นข้อเสนอเอกชนคู่สัญญาจะต้องแจ้งในแบบรายละเอียดดังกล่าวถึงสิ่งที่แตกต่างและความจำเป็นที่ต้องดำเนินการให้แตกต่างจากที่เสนอมาในข้อเสนอนั้น

4) ในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (ไม่ว่าจะดำเนินการโดยเอกชนคู่สัญญาหรือผู้เช่าช่วงหรือผู้ใช้ประโยชน์ก็ตาม) เอกชนคู่สัญญาจะต้องส่งแบบการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ฉบับสมบูรณ์ (As-built Drawings) ให้แก่ รฟท.อนุมัติก่อนที่จะดำเนินการดังกล่าวโดยแบบดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดทางด้านสถาปัตยกรรม ด้านวิศวกรรมทุกระบบ ตลอดจนรายการอุปกรณ์ และเครื่องจักรทุกชนิด

5) เอกชนคู่สัญญาจะต้องป้องกัน ดูแล และบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ รวมถึงที่ดินให้อยู่ในสภาพที่ดีมีความปลอดภัย และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตามที่กฎหมายไทยกำหนดทุกประการ ด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาเองทั้งสิ้น โดยเอกชนคู่สัญญาไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าใช้จ่าย ค่าเสียหาย หรือค่าทดแทน และ/หรือ เงิน หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวจาก รฟท.

(ทั้งนี้ ไม่ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการบำรุงรักษาตามปกติหรือไม่ รวมถึงการซ่อมแซมในทุกกรณีไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมใหญ่ที่มีความจำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินที่ให้เช่าให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ หรือการซ่อมแซมเล็กน้อยก็ตาม)

อ่านถึงตอนนี้เป็นอย่างไร แสดงความคิดเห็นกันได้ครับ บอกได้ว่ามีที่นี่ที่เดียว!
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 354, 355, 356 ... 549, 550, 551  Next
Page 355 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©