Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272622
ทั้งหมด:13583918
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 355, 356, 357 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2019 10:15 am    Post subject: Reply with quote

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงของไทย 2,505 กิโลเมตร
เรื่อง: พลวุฒิ สงสกุล
ภาพ: นิสากร ฤทธาภัย
1 พฤศจิกายน 2562

เมกะโปรเจกต์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่ถือเป็นสิ่งใหม่ของไทยคือ ‘รถไฟความเร็วสูง’ ที่เปิดตัวไปลงนามเซ็นสัญญาไปแล้วอย่างยิ่งใหญ่ คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 2.24 แสนล้านบาท
.
ขณะที่โครงการที่ลงนามเซ็นสัญญาและเริ่มก่อสร้างไปแล้วคือ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 1.79 แสนล้านบาท
.
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างก็ไม่ได้ราบรื่น ล่าสุดติดปัญหาการขอกู้เงินว่าจะเป็นสกุลเงินบาทหรือดอลลาร์สหรัฐ ในงานสัญญา 2.3 ที่เกี่ยวกับงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร จะต้องเซ็นสัญญากับจีน
.
โดยในขณะนี้กระทรวงคมนาคมและกรมการขนส่งทางรางได้ทำเรื่องหารือไปที่อัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาข้อกฎหมายว่าสามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง พร้อมทั้งหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงรูปแบบในการดำเนินการ ก่อนสรุปรายละเอียดให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือร่วมกับ หลีเค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ในการประชุมอาเซียนซัมมิต
.
สำหรับภาพรวมของโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย ไม่ได้มีแค่รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟไทย-จีน
.
ข้อมูลจากกรมขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม พบว่า แผนปฏิบัติงานด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ. 2562 (Action Plan) ประเทศไทยมีแผนจะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 2,505 กิโลเมตร รวมมูลค่าการลงทุน 1.73 ล้านล้านบาท
.
รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางต่อขยาย (นครราชสีมา-หนองคาย) 355 กิโลเมตร มูลค่า 2.52 แสนล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมจ้างที่ปรึกษาออกแบบ
.
ขณะที่เส้นทางรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ยังมีส่วนต่อขยายอีก 40 กิโลเมตร จากอู่ตะเภา-ระยอง งบประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาโครงการ
.
นอกจากนี้ไทยยังมีเส้นทางรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือกับญี่ปุ่น ระยะทาง 668 กิโลเมตร งบประมาณ 5.08 แสนล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างหารือรูปแบบการลงทุนร่วมกับญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นอยากให้ไทยลงทุนเองทั้งหมด โดยเขาจะเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ให้
.
ขณะที่สายใต้มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทางรวม 970 กิโลเมตร งบประมาณรวม 5.34 แสนล้านบาท แต่จะแบ่งการก่อสร้างออกเป็นช่วงๆ ตั้งแต่กรุงเทพฯ-หัวหิน, หัวหิน-สุราษฎร์ธานี และสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์
.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2019 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้น! ปิดจ๊อบ ‘ไฮสปีดไทย-จีน’ สัญญา 2.3 พร้อมคลายปมเลือกใช้สกุลเงิน ‘ดอลลาร์ฯ-บาท’ ภายในเดือนนี้
5 พฤศจิกายน 2562

“บิ๊กตู่” สั่ง “คมนาคม” จัดทำความเห็นเสนอนายกฯ จีน พร้อมหาฤกษ์นัดถกร่วมคณะกรรมการไฮสปีดไทย-จีน ครั้งที่ 28 เชื่อปิดจ๊อบพร้อมเคาะเลือกใช้สกุลเงิน สัญญา 2.3 ได้ภายในเดือนนี้
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือร่วมกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลในวันนี้ (5 พ.ย. 2562) ว่า การหารือในครั้งนี้ ผู้นำทั้ง 2 ประเทศได้มีการหารือถึงข้อราชการในหลายประเด็น รวมไปถึงมีการเจรจาในประเด็นโครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม.ด้วย

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปจัดทำความเห็น เพื่อเสนอให้นายกรัฐมนตรีจีนพิจารณา พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ประสานกับฝ่ายจีนว่า จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 เมื่อใด เพื่อให้สามารถหาข้อยุติได้โดยเร็ว

“ตอนนี้เหมือนลงเรือลำเดียวกันแล้ว จึงต้องดูแลซึ่งกันและกัน โดยหลังจากนี้จะให้ระดับปฏิบัติ คือ รัฐมนตรีไปประชุมหารือร่วมกัน โดยกรมรางฯ ต้องไปประสานกับฝ่ายจีนว่าจะประชุมเมื่อไหร่ และหากสามารถประชุมได้เร็วก็จะได้ข้อยุติเร็วตามกระบวนการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจีนก็ระบุว่า ต้องการให้โครงการนี้สำเร็จเช่นเดียวกัน” นายศักดิ์สยาม กล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า อย่างไรก็ตาม คาดว่าในการประชุม JC ครั้งที่ 28 นั้น จะจัดขึ้นภายใน พ.ย.นี้ และเชื่อว่าได้ข้อสรุปในส่วนสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) วงเงิน 5.06 หมื่นล้าน รวมถึงข้อยุติการใช้สกุลเงิน ที่จะต้องสรุปว่าจะใช้สกุลเงินใด ระหว่างดอลลาร์สหรัฐ หรือบาท ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ และมีการลงนามในสัญญา 2.3 ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2019 9:54 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”ลุยนัดถกรถไฟไทย-จีนครั้งที่28 หวังปิดจ๊อบเคาะใช้สกุลเงิน

06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 09:09 น.

6 พ.ย.62-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือร่วมกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา ว่า ในการหารือในครั้งนี้ ผู้นำทั้ง 2 ประเทศได้มีการหารือถึงข้อราชการในหลายประเด็น รวมไปถึงมีการเจรจาในประเด็นโครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม.ด้วย

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปจัดทำความเห็น เพื่อเสนอให้นายกรัฐมนตรีจีนพิจารณา พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ประสานกับฝ่ายจีนว่า จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 ภายในเดือนนี้ เพื่อให้สามารถหาข้อยุติได้โดยเร็ว

“ตอนนี้เหมือนลงเรือลำเดียวกันแล้ว จึงต้องดูแลซึ่งกันและกัน โดยหลังจากนี้จะให้ระดับปฏิบัติ คือ รัฐมนตรีไปประชุมหารือร่วมกัน โดยกรมรางฯ ต้องไปประสานกับฝ่ายจีนว่าจะประชุมเมื่อไหร่ และหากสามารถประชุมได้เร็วก็จะได้ข้อยุติเร็วตามกระบวนการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจีนก็ระบุว่า ต้องการให้โครงการนี้สำเร็จเช่นเดียวกัน” นายศักดิ์สยาม กล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า อย่างไรก็ตาม คาดว่าในการประชุม JC ครั้งที่ 28 นั้น จะได้ข้อสรุปในส่วนสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) วงเงิน 5.06 หมื่นล้าน รวมถึงข้อยุติการใช้สกุลเงิน ที่จะต้องสรุปว่าจะใช้สกุลเงินใด ระหว่างดอลลาร์สหรัฐ หรือบาท ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ และมีการลงนามในสัญญา 2.3 ต่อไป




เตรียมหารือรถไฟไทย-จีนต่อที่เวที JC
5 พฤศจิกายน 2562 20:13

...รมว.คมนาคมระบุ เตรียมนัดฝ่ายจีนหารือรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนในการประชุมเจซี มั่นใจได้ข้อสรุปแน่นอน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (5 พ.ย.2562) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวภายหลังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม หารือเต็มคณะกับนายหลี่ เค่อเฉียง นากรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลว่า ผู้นำทั้งสองประเทศได้หารือข้อราชการในหลายประเด็น ซึ่งมีการพูดคุยในประเด็นโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนด้วย

โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมทำความเห็นเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีจีน ซึ่งการดำเนินการขณะนี้เหมือนลงเรือลำเดียวกัน จึงต้องดูแลซึ่งกันและกัน โดยหลังจากนี้จะให้ระดับปฏิบัติไปประชุมหารือร่วมกัน ซึ่งได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางรางประสานกับฝ่ายจีนว่าจะมีการประชุมเมื่อใด ซึ่งหากสามารถประชุมได้เร็วก็จะได้ข้อยุติเร็วตามกระบวนการ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจีนระบุว่าต้องการให้โครงการนี้สำเร็จเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร รวมถึงเงินกู้ว่าจะใช้สกุลเงินใดว่า จะใช้สกุลบาทหรือดอลลาร์ ในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee) หรือ JC ครั้งที่ 28 ภายในเดือนนี้ ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบและลงนาม (MOU) ต่อไป

ส่วนกรณีที่พรรคภูมิใจไทยเตรียมฟ้องหมิ่นประมาท 3 ผู้ดำเนินรายการเนชั่นสุดสัปดาห์ ของสำนักข่าวเนชั่นนั้น นายศักดิ์สยามระบุว่า ที่ผ่านมาทำงานเต็มที่และยึดระเบียบกฎหมายเป็นหลัก มีธรรมาภิบาล โดยในวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้จะมีการแถลงข่าวชี้แจงที่กระทรวงคมนาคม


ไทย-จีนเร่งรถไฟไฮสปีด เคลียร์ปมสัญญาระบบราง
6 พฤศจิกายน 2562

นายกฯ หารือจีน เสนอซื้อสินค้าเกษตรไทยเพิ่ม เร่งโครงการรถไฟความเร็วสูง “ศักดิ์สยาม” เตรียมหารือเคลียร์ปมสกุลเงินสัญญางานระบบราง

นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม วานนี้ (5 พ.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมทั้งประชุมหารือเต็มคณะในโอกาสที่เยือนไทยอย่างเป็นทางการ

ฝ่ายไทยประกอบด้วย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

ส่วนฝ่ายจีน ประกอบด้วย นายเซียว เจี๋ย มนตรีแห่งรัฐและเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นายหลิว คุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายจาง หย่ง รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ นายเล่อ ยู่เฉิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายหลี่ว เจี้ยน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และนายหยู เจี้ยนหัว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และรองผู้แทนการค้าระหว่างประเทศ

หลังการหารือมีการลงนามความตกลง (MOU) 3 ฉบับ ได้แก่ 1.ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ 2.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิชาการ และนวัตกรรม 3.บันทึกความเข้าใจร่วมว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

หนุนร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัล

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีจีนครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ซึ่งได้หารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Made in China 2025 และการส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กับกรอบความร่วมมือเขตอ่าวกวางตุ้ง ฮ่องกง มาเก๊า (GBA)

รวมถึงข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ของจีน เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับจีนให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง นอกจากนั้นได้ฝากนายกรัฐมนตรีจีนช่วยดูแลนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในจีนขณะเดียวกันเราก็พร้อมดูแลนักลงทุนจีนที่เข้ามาลงทุนในไทยเช่นกัน

นอกจากนี้ ได้ยืนยันถึงความร่วมมือในเชิงยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางการค้า โดยไทยขอให้จีนช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีน เช่น ข้าว ยางพารา ขณะที่การกำหนดแนวทางการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน โดยเน้นที่ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและเมืองอัจฉริยะ

เร่งรัดรถไฟไทย-จีน

รวมทั้งเร่งรัดโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย หรือ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ให้ก่อสร้างเร็วขึ้น โดยเป็นโครงการที่ไทยให้ความสำคัญมาก เพราะเป็นโครงการที่ตนริเริ่มและผลักดันมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน

“สุภาษิตไทยมีคำว่า มดสามารถช่วยราชสีห์ได้หรือมดช่วยเหลือพระยาคชสารได้ ซึ่งเปรียบเสมือนความสัมพันธ์ไทย - จีนที่สามารถเกื้อกูลช่วยเหลือและสร้างประโยชน์ร่วมกันได้ในอนาคต” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2019 9:25 pm    Post subject: Reply with quote

ชงบอร์ดไฟเขียว ‘ยูนิค’ คว้าประมูล ‘ไฮสปีดไทย-จีน’ 9.4 พันล้านบาท
โดย NOPPHAWHAN TECHASANEE
6 พฤศจิกายน 2562 3:03 pm

“ยูนิค” คว้าประมูล “ไฮสปีดไทย-จีน” ฉบับที่ 4-6 วงเงิน 9.4 พันล้านบาท ด้าน “ผู้ว่าฯ” ยืนยันลงนามสัญญา 2.3 ยังไม่หลุดเป้า มีเวลาเพียงพอ

สำหรับกรณีที่ฝ่ายไทยและฝ่ายจีนไม่ได้ลงนามร่างสัญญารถไฟไทย-จีน ฉบับที่ 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633 ล้านบาท ระหว่างที่นายหลี่ เค่อ เฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน มาเยือนประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมานั้น นายวรวุฒิกล่าวว่า การลงนามร่างสัญญารถไฟไทย-จีน ฉบับที่ 2.3 ยังไม่นับว่าหลุดเป้าหมาย เพราะการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณต้องรอให้การก่อสร้างงานโยธามีความคืบหน้าเกิน 50% ก่อน อีกทั้งการสั่งซื้อและผลิตขบวนรถไฟความเร็วสูงใช้เวลาเพียง 1-2 ปีเท่านั้น แต่การก่อสร้างงานโยธาใช้เวลานานกว่า ดังนั้นจึงเหลือเวลาเพียงพอสำหรับการลงนามสัญญาฉบับที่ 2.3

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า การรถไฟฯ จะเสนอผลการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กิโลเมตร ที่มีบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ เป็นผู้ชนะการประมูล ด้วยราคาต่ำสุดที่ 9,429 ล้านบาท หรือต่ำกว่าราคากลาง 16.1% ให้ที่ประชุมบอร์ดพิจารณาในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 นี้

ด้านสัญญางานโยธาอื่นๆ อีก 7 ฉบับยังอยู่ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและจะเสนอผลการประมูลให้ที่ประชุมบอร์ดพิจารณาตามลำดับ และเหลือสัญญาที่ไม่ได้ประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมประมูลอีก 2 ฉบับ ได้แก่ สัญญา 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย และสัญญา 4-1 งานโยธาสำหรับช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ขณะเดียวกันมีสัญญา 2 ฉบับที่เริ่มก่อสร้างไปแล้วและอีก 2 ฉบับที่บอร์ดเห็นชอบแล้ว แต่ยังไม่สามารถลงนามสัญญาได้ เพราะต้องปรับปรุงรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2019 9:28 pm    Post subject: Reply with quote

ราคาค่าโดยสาร อย่างเป็นทางการ และรูปแบบการเดินรถไฟฟ้า ของ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
6 พฤศจิกายน 2562

เห็นหลายคนถามหา เอกสารสัญญา ของรถไฟความเร็วสูง เชี่อม 3 สนามบิน ตอนนี้ ทาง EEC เอารายละเอียดสัญญามาเปิดเผยแล้ว ใครมีเวลาก็เข้าไปอ่านได้จากลิ้งค์นี้ครับ
เอกสารการเปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

————————

ผมยังไม่มีเวลาอ่านจริงๆเท่าไหร่แต่เปิดผ่านๆ มีข้อมูล ที่เพื่อนๆน่าจะสนใจ เรื่อง ราคาต่าตั๋วทุกระบบ และความถี่ของรถไฟภายในระบบ

ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ระบบคือ

1. ระบบ Airport link เดิม พญาไท-สุวรรณภูมิ ซึ่ง CP จะต้องรับเข้าไปพัฒนาต่อ

ราคาค่าตั๋ว อยู่ในเรทเดิม 15-45 บาท

ความถี่สูงสุด 10 นาที/ขบวน ในช่วงเวลาเร่ง และ 15 นาที/ขบวน นอกเวลาเร่งด่วน

2. ระบบ Airport link เดิม+ส่วนต่อขยาย ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นส่วนที่จะต้องก่อสร้างและเป็นโครงการเดิมที่ต้องขุด คลองแห้ง ช่วง พญาไท-บางซื่อ ซึ่งจะต้องสร้างพร้อมกับสายสีแดง Missing link

ราคาค่าตั๋วจะเพิ่มขึ้นจาก Airport link เดิม อยู่ในเรท 44-97 บาท

ความถี่สูงสุด 10 นาที/ขบวน ในช่วงเวลาเร่ง และ 15 นาที/ขบวน นอกเวลาเร่งด่วน

3. ระบบ รถไฟความเร็วสูง ดอนเมือง-อู่ตะเภา ซึ่งจะมีทั้งรถด่าน และรถธรรมดา ซึ่งความถี่สูงสุด อยู่ที่ 5 นาที/ขบวน ในเวลาเร่งด่วน และ 30 นาที/ขบวน นอกเวลาเร่งด่วน

ราคาค่าตั๋ว 115-490 บาท

———————————
เวลาในการเดินทางของรถไฟ แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ

1. city line บางซื่อ-สุวรรณภูมิ 34 นาที

2. Express line ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ 35 นาที

3. High speed ดอนเมือง-อู่ตะเภา 95 นาที
ดอนเมือง-ศรีราชา 65 นาที

สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา คิดที่ 397 บาท เดินทางแค่ 35 นาทีเอง

ใครว่าช่วยวผมอ่าน แล้วมาเล่าให้ฟังหน่อยนะครับมันเยอะเหลือเกิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2019 9:32 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ผ่านกฎหมายเวนคืนที่ดินสร้าง “ไฮสปีดเทรน”
6 พฤศจิกายน 2562 18:10 5

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างกฎหมายเวนคืนที่ดินสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ด้านรักษาการผู้ว่า รฟท. คาด การออกพระราชกฤษฎีกาจะเสร็จเรียบร้อยภายใน 1-2 เดือนนี้

ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ได้เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือ ไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ เขตลาดกระบัง อำเภอบางพลี อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ และ อำเภอบ้านฉาง เพื่อสร้างทางรถไฟประกอบกับสิ่งจำเป็นอื่นๆ ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ทั้งนี้ รฟท.จะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และให้มีการเริ่มสำรวจที่ดินอสังหาริมทรัพย์ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ พ.ร.ฎ.มีผลบังคับใช้




นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประ เทศไทย คาดว่า จะใช้เวลา 1-2 เดือน ในการออกพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการเวนคืนพื้นที่ในโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งจะพอดีกับช่วงที่ให้เวลาเอกชนออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างเพื่อกำหนดจุดการส่งมอบพื้นที่ต่อไป



ทั้งนี้ มีรายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า แผนพัฒนารถไฟของ รฟท. ที่นำเสนอในการประชุมระดับผู้นำรถไฟอาเซียน มีแผนพัฒนาระยะ 5 ปี เพื่อขยายโครงข่ายระบบรางให้ครอบคลุม 4,565 กิโลเมตร ได้แก่ รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟสายใหม่เข้าสู่จังหวัดต่างๆ



สำหรับรถไฟทางคู่ ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างเฟส 1 รวม 5 เส้นทาง เปิดใช้ปี 2565-2566 พร้อมแผนลงทุนรถไฟทางคู่ เฟส 2 วงเงินมากกว่า 3 แสนล้านบาท ขยายเส้นทางให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ช่วงกรุงเทพฯ-สุไหงโกลก รวมถึงครอบคลุมภาคอีสานและภาค เหนือ ขณะที่รถไฟความเร็วสูงมีอยู่ในแผน 3 สาย ลงทุนมาก กว่า 7 แสนล้านบาท ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงสายอีสานกรุงเทพฯ-หนองคาย ,รถไฟความ เร็วสูงสายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และ รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/11/2019 9:33 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เปิดช่องกลุ่มซีพี เช่าช่วงเดินรถไฟไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 7 พฤศจิกายน 2562

ร.ฟ.ท.เปิดสัญญาไฮสปีด มอบสัมปทาน “ซีพี” 50 ปี ตั้งเพดานตั๋วดอนเมือง–อู่ตะเภา สูงสุด 490 บาท ขีดเส้นสร้างช้าเกิน 5 ปี ปรับวันละ 9 ล้านบาท

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กำหนดให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะต้องมีการเปิดเผยสาระสำคัญของสัญญาให้สาธารณะทราบ ซึ่งที่ผ่านมามีการเปิดเผยสาระสำคัญสัญญาโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และขณะนี้มีการเปิดเผยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ร.ฟ.ท.ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งวานนี้ (6 พ.ย.) ร.ฟ.ท.ได้เปิดเผยสาระสำคัญสัญญาร่วมลงทุน และวิธีการคัดเลือกเอกชนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย

ทั้งนี้ กพอ.กำหนดให้เปิดเผยต่อสาธารณะภายใน 30 วัน หลังลงนามสัญญาร่วมลงทุน รวมทั้งชี้แจงวิธีการคัดเลือกเอกชนคู่สัญญา เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยรายละเอียดที่มีการเปิดเผยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย

สำหรับสาระสำคัญของเอกสารที่เปิดเผยนั้น มีการระบุถึงประเด็นของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ โดย ร.ฟ.ท.จะมอบสิทธิให้เอกชนพัฒนาโครงการในระยะเวลา 50 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ

เปิดช่องให้เช่าช่วงเดินรถ

ทั้งนี้ มีการกำหนดให้สิทธิเช่าช่วงการบริหารเดินรถและซ่อมบำรุง โดยต้องให้นิติบุคคลที่เอกชนคู่สัญญาถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% และรายได้ที่เกิดขึ้นถือเป็นรายได้ที่ต้องแบ่งให้ ร.ฟ.ท.และเอกชนคู่สัญญาจะต้องทำตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การร่วมทุน

ส่วนประเด็นของอัตราค่าบริการ มีการกำหนดอัตราค่าโดยสารสำหรับแอร์พอร์ต เรลลิงก์ หรือแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนต่อขยาย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงระยะเวลาที่เอกชนเริ่มให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ให้เก็บค่าโดยสารตั้งแต่สถานีต้นทางถึงสถานีปลายทางมีจำนวนไม่เกิน 45 บาท และช่วงภายหลังเอกชนดำเนินการก่อสร้างแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย ให้เก็บค่าโดยสารตั้งแต่สถานีต้นทางถึงสถานีปลายทาง ไม่เกิน 97 บาท

ด้านอัตราค่าโดยสารสำหรับรถไฟความเร็วสูง ตั้งแต่สถานีต้นทางถึงสถานีปลายทาง มีการกำหนดอัตราค่าโดยสารจำนวนไม่เกิน 490 บาท ทั้งนี้ การปรับอัตราค่าโดยสารให้เป็นไปตามดัชนีราคาผู้บริโภค กระทรวงพาณิชย์ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตามระยะเวลาและแนวทางการคำนวณที่กำหนดไว้ในสัญญา

ก่อสร้างช้าปรับวันละ9ล้าน

นอกจากนี้ ในเอกสารแนบท้ายสัญญา ยังมีการระบุถึงการออกแบบและก่อสร้างโครงการเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย เอกชนคู่สัญญาจะต้องเริ่มต้นดำเนินงานออกแบบและก่อสร้างส่วนดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่ ร.ฟ.ท.ระบุในสัญญา หากงานส่วนนี้ไม่แล้วเสร็ตภายใน 5 ปี หรือภายในระยะเวลาที่ได้รับการขยายจาก ร.ฟ.ท.เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบค่าปรับให้ ร.ฟ.ท.เป็นเงิน 9 ล้านบาทต่อวัน ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง และจะต้องชำระ 2.25 ล้านบาท ต่อวัน ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย

ขณะเดียวกัน ยังมีการกำหนดประเด็นเปลี่ยนตัวคู่สัญญาด้วยว่า เอกชนคู่สัญญาจะไม่สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญา ภายใต้สัญญาร่วมทุนให้แก่บุคคลอื่น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก ร.ฟ.ท.และการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนด

รฟท.ชดเชยกรณีเลิกสัญญา

ด้านกรณีของการเลิกสัญญาร่วมลงทุน มีการกำหนดออกเป็นกรณีที่เป็นความผิดของเอกชนคู่สัญญา 1.กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงการออกแบบและงานการก่อสร้างในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ ไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ 2.กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุน งานช่วงการให้บริการเดินรถและงานการซ่อมและบำรุงรักษา ในส่วนของรถไฟคว่ามเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงจะชำระค่าชดเชยให้

ส่วนการเลิกสัญญาร่วมลงทุนที่เป็นเหตุจาก ร.ฟ.ท.แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงการออกแบบและงานก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงชำระค่าชดเชย รวมทั้งชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในมูลค่าทางบัญชี ทั้งนี้ไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนโครงการ และ 2. เลิกสัญญาร่วมทุนช่วงการให้บริการเดินรถ และงานการซ่อมและบำรุงรักษา รถไฟความเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัยพ์สินที่สามารถรับโอนได้

นอกจากนี้ ยังมีกรณีการเลิกสัญญาร่วมทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อสาธารณะประโยชน์ แบ่งออกเป็นกรณีที่เกิดจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา ผลของการเลิกสัญญาเป็นไปตามเหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา จะเป็นไปตามข้อกำหนดการเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะความผิดของเอกชนคู่สัญญา ส่วนกรณีไม่ได้เกิดจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา ผลของการเลิกสัญญาจะเป็นไปตามที่กฎหมายไทยกำหนด

ร่างแบบโครงการ3เดือน

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า หลังจากลงนามสัญญาแล้วเอกชนคู่สัญญาจะต้องไปร่างแบบโครงการ ซึ่งภาครัฐกำหนดกรอบเวลาการทำงานไว้ 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดจะมาดูว่าการออกแบบก่อสร้างมีปัญหาในจุดใดหรือไม่ ก่อนที่จะสรุปเป็นแบบก่อสร้างโครงการ ซึ่งการออกแบบดังกล่าวจะทำให้รับทราบว่า

การส่งมอบพื้นที่ให้ซีพีในช่วงแอร์พอร์ลิงค์จะส่งมอบได้ทันที และช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร กำหนดใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี แต่จะเร่งรัดให้เสร็จภายใน 1 ปี 3 เดือน

ส่วนช่วงสถานีพญาไท-สนามบินดอนเมืองเป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานใต้ดินมากจะใช้เวลาเคลื่อนย้ายโครงสร้างต่างๆและส่งมอบที่ดินได้ไม่เกิน 4 ปี แต่จะเร่งทำให้เสร็จภายใน 2 ปี 3 เดือน โดยจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันหลายฝ่าย เพื่อร่วมมือกันทำงานให้การส่งมอบพื้นที่เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/11/2019 9:36 am    Post subject: Reply with quote

ไทย-จีนเดินหน้าไฮสปีดอีสาน เร่งสรุป”แหล่งเงินกู้”ซื้อระบบ5หมื่นล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 7 November 2019 - 09:24 น.

“บิ๊กตู่-หลี่ เค่อเฉียง” ประสานเสียง เดินหน้ารถไฟไทย-จีน “ศักดิ์สยาม” เตรียมถกแหล่งเงินงานระบบ 5 หมื่นล้าน พ.ย.นี้ ที่ประชุม JC “เจ้าสัว ซี.พี.” ร่วมวงประชุม 2 นายกรัฐมนตรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการพบปะและหารือร่วมกันระหว่างพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย กับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2562 นายกรัฐมนตรีฝ่ายไทยได้รายงานความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ว่ายังติดปัญหาบางประการ และคิดว่าควรจะมีการเจรจาต่อไป ขณะที่นายกรัฐมนตรีฝ่ายจีนแสดงความพร้อมในการเดินหน้าโครงการ ประเด็นใดที่เร่งดำเนินการได้ก็ให้เร่ง ส่วนประเด็นที่ติดปัญหาให้เร่งเจรจากันต่อไป

“เรื่องนี้จะไม่กระทบกับความสัมพันธ์ เพราะไทยและจีนมีความสัมพันธ์กันมานานและยิ่งใหญ่กว่าเรื่องรถไฟและขอให้หาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม หากจะแก้ประเด็นใดต้องไม่ให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์แก่คนรุ่นหลังในภายหน้าได้” แหล่งข่าวอ้างคำพูดของนายหลี่ เค่อเฉียง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยังไม่ได้หารือสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ มูลค่า 50,633.5 ล้านบาท ยังติดปัญหาเงินกูู้จะเป็นสกุลบาทหรือดอลลาร์สหรัฐ

“จีนมองว่าเงื่อนไขยังตกลงกันไม่ได้ควรให้ได้ข้อสรุปในชั้นคณะกรรมการร่วมรถไฟระหว่างไทย-จีนหรือ JC ก่อนนำมาหารือระดับผู้นำ จะประชุมครั้งที่ 28 ในเดือน พ.ย.นี้ ทั้งนี้คมนาคมมีโอกาสนำข้อมูลทั้งหมดเสนอแด่นายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ประเทศเรื่องข้อดีข้อเสียกู้เงินในสกุลเงินต่าง ๆ ฝ่ายจีนยังไม่ได้มีท่าทีอะไร”

จากการหารือร่วมไทย-จีนที่ผ่านมา จีนเป็นห่วงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ไทยได้ตอบกลับหากกู้ในเงินบาทจะมีประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่ายอย่างไร ขณะที่กระทรวงการคลังก็แนะนำให้ทำในรูปแบบอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าได้ จีนอาจจะยังไม่ทราบขั้นตอน จึงต้องทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติให้เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ประเทศ และต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่อนุญาตให้ทำ กำลังหารืออัยการสูงสุด ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ ยังไม่สรุป เพราะ 2 สัญญาก่อนหน้านี้คือ สัญญาจ้างออกแบบกับควบคุมงาน จะใช้สกุลเงินบาทชำระกับจีน ส่วนสัญญาจ้างเดินรถและวางระบบ ก็เจรจาในรูปสกุลเงินบาท แต่จีนต้องการให้จ่ายเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นหัวข้อเจรจาเพิ่ม หากเจรจาลงตัว จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติและเซ็นสัญญาต่อไป

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีนก่อนหน้านี้ จีนเสนอให้กู้กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของรัฐบาลจีน (CEXIM) อัตราดอกเบี้ย 3% แต่กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ มากมาย ทำให้การกู้เงินกับจีนเป็นเรื่องยาก เช่น ให้มีอนุญาโตตุลาการ ทาง CRDC และ CRIC รัฐวิสาหกิจของจีน ขอต่อรองเงื่อนไขการเบิกเงินกับไทยให้เร็วขึ้นจากเดิม 15 วันทำการ นอกจากนี้หากจะกู้จีน ฝ่ายไทยจะต้องนำเอกสารส่งมอบพื้นที่มาให้จีนดูทั้งหมดก่อนว่าพร้อมก่อสร้างเหมือนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือ ซี.พี. เดินทางมาร่วมงานดังกล่าวด้วย โดยมาพร้อมกับผู้ติดตาม 1 คน และปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ใด ๆ กับสื่อมวลชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2019 11:03 am    Post subject: Reply with quote

ซี.พี.เจรจา “จีน-ญี่ปุ่น” ปล่อยกู้ไฮสปีดไม่หวั่นถูกค้านหวนคืนประมูล “เมืองการบินอู่ตะเภา”
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 - 18:02 น.


นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (กลุ่ม ซี.พี.) กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ขณะนี้ยังไม่สรุปถึงแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น คิดว่าอาจจะต่อรองกันอีก 6 เดือน เพราะสัญญามีเงื่อนไขเยอะ

แต่ในหลักการใหญ่ๆ ทั้ง 2 ประเทศค่อนข้างพอใจกับตัวสัญญาที่จะเข้ามาช่วย และเป็นไปตามลักษณะของโครงการ เช่น งานโยธาใช้วัสดุภายในประเทศจะกู้เป็นเงินบาท ส่วนระบบเทคโนโลยีและหัวรถจักร จะใช้เงินสกุลต่างประเทศ ซึ่งแบบก่อสร้าง ตอนนี้ร่างขั้นต้นเสร็จแล้ว เหลือขั้นตอนด้านวิศวกรรมอีกบางส่วน อีก 1-2 เดือนจะแล้วเสร็จ

ส่วนการลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นในบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ซึ่งกลุ่ม ซี.พี.ถือหุ้นสูงสุด 75% สามารถปรับเปลี่ยนได้ และในทีโออาร์ระบุให้ถือหุ้น 51% จนก่อสร้างโครงการเสร็จ และต้องถือ 40% ขึ้นไปตลอดอายุโครงการ

“ดังนั้น ซี.พี.ต้องถือในสัดส่วนเยอะอยู่แล้ว ส่วนข้อเสนอ 12 ข้อที่อยู่นอกเงื่อนไขทีโออาร์ ไม่มีการนำเสนอแล้ว ยื่นตามสัญญา ด้านการฟอร์มทีมบริษัทใหม่ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพราะจริงๆ ก็มีทีมเดิมที่ทำอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องขยายทีมเพิ่ม”

ขณะที่แผนการโอนรับสิทธิ์เดินรถแอร์พอร์ตลิงค์ ยังอยู่ในช่วงประสานงานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพราะต้องสำรวจทรัพย์สินต่างๆ ก่อน อยู่ในช่วงทำแผน ส่วนจะจ่ายค่าใช้สิทธิ์ 10,671 ล้านบาทไปก่อนหรือไม่นั้น ยังอยู่ในตารางเวลาสัญญา

นายศุภชัยกล่าวถึงกรณีผู้ร่วมประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออก มูลค่า 290,000 ล้านบาท คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า BBS นำโดย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง และกลุ่มกลุ่มแกรนด์คอร์โซเตียม นำโดย บมจ.แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จะยื่นคัดค้านการกลับเข้าประมูลของกลุ่ม ซี.พี. เพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรมนั้น

ส่วนตัวคิดว่าก็ให้เป็นไปตามกระบวนการ ส่วนของอีก 2 กลุ่มตนไม่รู้ และไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไรที่เสนอไปแล้วไม่ได้ สุดท้ายใครชนะก็เหมือนกัน ขอให้เดินหน้าโครงการให้สำเร็จเพื่อประโยชน์ของประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2019 11:16 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เปิดเอกสารแนบท้ายไฮสปีดคุมราคาโดยสารสูงสุด490บาท

6 พฤศจิกายน 2562

ร.ฟ.ท.เปิดเอกสารแนบท้ายสัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน มอบสัมปทาน “ซีพี” บริหารเดินรถไฮสปีด และแอร์พอร์ต เรลลิงก์ รวมพื้นที่เชิงพาณิชย์ 50 ปี พร้อมกำหนดค่าโดยสารดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา สูงสุด 490 บาท

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ตามที่เมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท. และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (เอกชนคู่สัญญา) ได้เข้าทำสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กำหนดของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)

วันนี้ (6 พ.ย.) ร.ฟ.ท.จึงได้จัดทำ และเปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญสัญญาร่วมลงทุน และวิธีการคัดเลือกเอกชนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ให้สาธารณะชนทราบเป็นการทั่วไปภายใน 30 วัน เพื่อให้การคัดเลือกเอกชนคู่สัญญาในโครงการเป็นไปตามเปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยรายละเอียดที่มีการเปิดเผยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย

1. ข้อมูลสำระสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนตามรายละเอียดที่ปรากฎในเอกสารแนบท้าย 1

2.ข้อมูลสาระสำคัญของวิธีการคัดเลือกเอกชนตามรายละเอียดที่ปรากฎในเอกสารแนบท้าย 2

3. สัญญาร่วมลงทุนฉบับลงนามตามรายละเอียดที่ปรากฎในเอกสารแนบท้าย 3





รถไฟความเร็วสูง ค่าโดยสาร 490 บาทต่อเท่ียว
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
7 พฤศจิกายน 2562 08:30 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญของสัญญาร่วมทุน (PPP) และวิธีการคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินบนเว็บไซต์ ให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยสัญญา PPP ระหว่างรัฐและเอกชน กำหนดให้ รฟท.ให้สิทธิเอกชนคู่สัญญาร่วมลงทุน, สิทธิพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการ รฟท.ของโครงการ และสิทธิดำเนินกิจการทางพาณิชย์แก่เอกชนคู่สัญญา

ทั้งนี้ รฟท.มีหน้าที่จัดหาและชำระเงิน ที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการแก่กลุ่ม CP โดยสิทธิของกลุ่ม CP คือดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และส่วนต่อขยาย, ส่วน รฟท.จะได้รับผลประโยชน์จากเอกชนคู่สัญญา ทั้งส่วนแบ่งรายได้ระหว่างเดินรถ, ค่าให้สิทธิเอกชนคู่สัญญาร่วมทุนในแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 10,671 ล้านบาท, ค่าเช่าพื้นที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา PPP โดยเอกชนคู่สัญญาต้องชำระเป็นรายปี และกลุ่ม CP ได้รับเงินที่รัฐร่วมลงทุนโครงการ ไม่เกิน 149,650 ล้านบาท เป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่าๆกัน

สำหรับ ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ คือ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ต้องไม่เกิน 45 บาทต่อเที่ยว และเมื่อเปิดให้บริการส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีบางซื่อและดอนเมือง เก็บค่าโดยสารได้สูงสุดไม่เกิน 97 บาทต่อเที่ยว และค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง ตลอดเส้นทางต้องไม่เกิน 490 บาทต่อเที่ยว.

กางสัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน เก็บค่าโดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ สูงสุด 97 บาท/เที่ยว

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 - 21:38 น.

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 6 พ.ย. 2562 เว็บไซต์ www.railway.co.th ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเว็บไซต์ www.eeco.or.th ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้เผยแพร่สัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญา “โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท” ระหว่างการรถไฟฯ และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่ม CP) ให้สื่อมวลชนและสาธารณชนช่วยตรวจสอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รฟท. ได้เปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญของสัญญาร่วมทุน (PPP) และวิธีการคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินบนเว็บไซต์ ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส โดยสัญญา PPP ระหว่างรัฐและเอกชน ได้กำหนดให้การรฟท. มีหน้าที่ให้สิทธิเอกชนคู่สัญญาร่วมลงทุนในรถไฟความเร็วสูง, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ และส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท, สิทธิการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟฯ ของโครงการ และสิทธิการดำเนินกิจการทางพาณิชย์แก่เอกชนคู่สัญญา

นอกจากนี้ รฟท. มีหน้าที่จัดหาและชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ แก่กลุ่ม CP รวมถึงจัดหาและส่งมอบพื้นที่ของโครงการฯ ให้แก่กลุ่ม CP ด้านกลุ่ม CP มีสิทธิและหน้าที่ในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และส่วนต่อขยาย, การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟฯ ของโครงการฯ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์

ส่วน รฟท.มีสิทธิได้รับผลประโยชน์จากเอกชนคู่สัญญาดังนี้
1. ส่วนแบ่งรายได้ (Revenue sharing) ในระหว่างการให้บริการเดินรถในส่วนของรถไฟความเร็วสูง, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และส่วนต่อขยาย, การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสัญญา PPP
2. ค่าให้สิทธิเอกชนคู่สัญญาร่วมทุนในแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จำนวน 10,671 ล้านบาท
3. ค่าเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา PPP โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องชำระเป็นรายปีนับตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่ เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

ด้านกลุ่ม CP นั้นหากก่อสร้างล่าช้า จะถูกปรับวันละ 11 ล้านบาท โดย รฟท. ต้องส่งมอบพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-สนามบินดอนเมือง ให้แก่ CP ภายใน 2 ปี นับจากวันลงนามสัญญา หากส่งมอบไม่ได้ โดยไม่ใช่ความผิดของเอกชน สิทธิของคู่สัญญาจะเป็นไปตามกฎหมายไทย โดยกรณีที่ยังไม่มีการเลิกสัญญา PPP จะไม่มีการชดเชยค่าเสียหายเป็นตัวเงิน แต่จะชดเชย โดยการขยายระยะเวลาการออกแบบและก่อสร้างออกไปอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมเท่านั้น


ทั้งนี้ หากกลุ่ม CP ไม่สามารถออกแบบและก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ภายในระยะเวลา 5 ปี หรือภายในระยะเวลาที่ได้รับการขยายจากการรถไฟฯ เอกชนต้องจ่ายค่าปรับให้รฟท. เป็นจำนวนเงิน 9 ล้านบาทต่อวัน แต่หากออกแบบและก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยาย ไม่เสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ก็ต้องชำระค่าปรับเป็นเงิน 2.28 ล้านบาทแก่การรถไฟฯ หรือรวมแล้วเป็นเงิน 11.28 ล้านบาทต่อวัน

กรณีที่ความล่าช้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่การรถไฟฯ และค่าเสียหายมีจำนวนมากกว่าค่าปรับ เอกชนคู่สัญญาจะต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่การรถไฟฯ เท่ากับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

ส่วนอัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ตามสัญญานั้น การจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ จะต้องมีอัตราไม่เกิน 45 บาทต่อเที่ยวเท่ากับปัจจุบัน แต่เมื่อมีการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีดอนบางซื่อและดอนเมือง ก็สามารถเก็บค่าโดยสารได้สูงสุดไม่เกิน 97 บาทต่อเที่ยว และการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงตลอดเส้นทางต้องอยู่ในอัตราไม่เกิน 490 บาทต่อเที่ยว

ทั้งนี้ การปรับอัตราค่าโดยสารจะเป็นไปตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งประกาศโดยกองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตามระยะเวลาและแนวทางการคำนวณที่กำหนดไว้ในสัญญา PPP


Last edited by Wisarut on 10/11/2019 8:31 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 355, 356, 357 ... 547, 548, 549  Next
Page 356 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©