Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273380
ทั้งหมด:13584676
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 380, 381, 382 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2020 10:41 am    Post subject: Reply with quote

'ไฮสปีดไทย-จีน' เฟสแรก 3.5 กม.เสร็จส.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ส.ค.นี้ กรมทางหลวงปิดจ็อบงาน คันทางรถไฟไทย-จีน เฟสแรก 3.5 กม. สถานีกลางดง-ปางอโศก หลังทุ่มสรรพกำลังสร้าง 2 ปี 7 เดือน เผยเป็นความภาคภูมิใจ กำหนดสเป็กโดยคนไทย ใช้วัสดุก่อสร้างผลิตในประเทศเกือบ 100% ทั้งหิน คอนกรีต ซีเมนต์ เหล็ก เป็นโมเดลต้นแบบให้บิ๊กรับเหมา ก่อสร้างทั้งโครงการ

นายไพจิตร แสงทอง รองผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 6 (เพชรบูรณ์) นายช่างผู้ควบคุมโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนกรุงเทพฯนครราชสีมา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้งานถมคันทางช่วงแรกระยะทาง 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มอบให้กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการ มีความคืบหน้า 96% จะแล้วเสร็จสิ้นเดือน ส.ค.นี้ ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 2 ปี 7 เดือน นับจากปลายปี 2560 ที่ผ่านมา

"ใช้เวลานานเพราะเราต้องทำการทดสอบวัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้างอย่างละเอียดควบคู่ไปด้วย เนื่องจากเราใช้วัสดุก่อสร้างผลิตในประเทศเกือบ 100% มีหิน คอนกรีต ซีเมนต์ เหล็ก ยกเว้นงานรางและระบบรถไฟความเร็วสูง ต้องใช้จากจีน แต่มีนำเข้าบ้าง 3-5% เป็นสายทองแดงเคลือบทองเหลืองและผ้าจีโอเมมเบรน จากเดิมจีนจะให้นำเข้าทั้งหมด ทำให้สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้กว่า 100 ล้านบาท จาก 425 ล้านบาท เหลือ 302 ล้านบาท"

นอกจากนี้เพิ่งได้รับเงิน จำนวน 17 ล้านบาท จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สร้างปูผิวแอสฟัลต์คอนกรีตถนนบริการเป็นถนนคู่ขนานกับเส้นทาง รถไฟความเร็วสูงช่วงสถานีกลางดงปางอโศก มีระยะทางประมาณ 4 กม. ขนาด 2 ช่องจราจรไปและกลับ

หลังกรมส่งมอบงานให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และผ่านการตรวจสอบจากประเทศจีนแล้ว จะเป็นโมเดลนำร่องให้กับการก่อสร้างงานโยธาในสัญญาอีก 14 ตอน ที่จะดำเนินการต่อไป ล่าสุดมีผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการเข้ามาอบรมและเรียนรู้งานแล้ว เช่น บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น บจ.ซีวีลเอ็นจิเนียริ่ง คาดจะเริ่มสร้างเดือน ก.ย.นี้เป็นต้นไป

"โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของกรมทางหลวง ที่สามารถ นำมาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานและจัดทำเป็นคู่มือสำหรับใช้ในการดำเนินงานต่อไป"

บรรยายใต้ภาพ
เสร็จ ส.ค.นี้ - งานสร้างคันทางรถไฟไทย-จีนเฟสแรกกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. ที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการ ใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ 100% จะส่งมอบให้การรถไฟ แห่งประเทศไทยวันที่ 31 ส.ค.นี้ และจะเป็นต้นแบบให้กับงานสัญญาที่เหลือต่อไป

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2020 9:33 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นทรัล-ซีพี สนใจร่วมวง “เมืองใหม่พัทยา” รัศมีรอบรถไฟไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 สิงหาคม 2563 - 17:30 น.

สนข.กางพิมพ์เขียว 900 ไร่ สร้างเมืองใหม่รอบสถานีรถไฟพัทยา รัศมี 1 กม. ผุดระบบฟีดเดอร์ บูมพัฒนามิกซ์ยูส 6 โซน พื้นที่ 1.6 ล้าน ตร.ม. มูลค่า 4 หมื่นล้าน ดึงเอกชนลงทุนศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย สำนักงาน โรงแรม ศูนย์ประชุม แสดงสินค้า ฮับธุรกิจ ท่องเที่ยว รับอีอีซี ไฮสปีด 3 สนามบินตอกเข็มปีหน้า เผย “เซ็นทรัล-ซี.พี.” สนใจต่อยอดธุรกิจ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 14 สิงหาคม 2563 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนและทดสอบความสนใจ (market sounding) ภาคเอกชนในพื้นที่ จ.ชลบุรี เพื่อสรุปโครงการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานีพัทยา (TOD) หนึ่งในสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่ บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (กลุ่ม ซี.พี.) รับสัมปทาน 50 ปี และเตรียมก่อสร้างในเดือน ก.พ.-มี.ค. 2564

พัทยา สถานีต้นแบบ
นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สนข. กล่าวว่า จากสถานีรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง มีศักยภาพพัฒนา TOD กว่า 170 แห่ง โดยคัดเลือก 3 พื้นที่เป็นเมืองต้นแบบ ได้แก่ สถานีขอนแก่น, พระนครศรีอยุธยา และพัทยา จ.ชลบุรี ในรัศมีโดยรอบสถานี 1 กม. จะพัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย สถานีพัทยา ได้วางผังพัฒนา TOD 900 ไร่ รอบสถานีรถไฟ ครอบคลุม 2 พื้นที่ คือ เมืองพัทยา และ อ.หนองปรือ

อนาคตจะเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ในรูปแบบมิกซ์ยูส ที่มีศูนย์การค้า โรงแรม ที่อยู่อาศัย ศูนย์การประชุม จะเป็นเกตเวย์ของเมืองพัทยา และศูนย์กลางภูมิภาค จะส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีเต็มศักยภาพ มีพื้นที่สีเขียว ทางเท้าและทางจักรยานพร้อมระบบขนส่งมวลชนรอง (ฟีดเดอร์) 6 เส้นทาง ได้แก่ สายสีเขียวรถไฟฟ้าเมืองพัทยาจากสถานีรถไฟ-แหลมบาลีฮาย, สายสีแดงสถานีรถไฟ-พัทยากลาง-พัทยาใต้, สายสีส้มสถานีรถไฟ-หาดจอมเทียน, สายสีม่วงสถานีรถไฟ-เนินเพลินวาน-พรประภานิมิตร, สายสีเหลืองสถานีรถไฟ-เขาตาโล-บุญสัมพันธ์ และสายสีชมพู วิ่งในพื้นที่ TOD

“เลือกชลบุรีเพราะอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่เชื่อมโครงข่ายขนส่งทั้งทางบก น้ำ อากาศ และรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะก่อสร้าง ซึ่งพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก มี GDP สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ”

จัด 6 โซนรอบสถานี
ซึ่งการพัฒนาแบ่งเป็น 6 โซน 1.MICE City ระยะ 200-300 เมตรจากสถานี พัฒนาแบบผสมผสานพาณิชยกรรมรองรับศูนย์กลางการค้าและบริการด้านท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้สถานี เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม และศูนย์การประชุมสัมมนา 2.Livable City พื้นที่พัฒนาที่อยู่อาศัย เช่น อพาร์ตเมนต์ให้เช่า คอนโดมิเนียม หรือบ้านจัดสรร


3.Creativity Economy พื้นที่ย่านพาณิชยกรรม อาคารสำนักงาน ส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนและบริการครบวงจร 4.Active District พื้นที่พัฒนาย่านพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน ทั้งศูนย์การค้า ศูนย์ค้าปลีก ธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่น สตาร์ตอัพ ธุรกิจดิจิทัล 5.Park Society เพิ่มพื้นที่สีเขียว และพื้นที่สันทนาการ รองรับนักท่องเที่ยวและชุมชน

และ 6.Society District พื้นที่สนับสนุนกิจกรรม และธุรกิจบริการรูปแบบใหม่ เช่น ศูนย์การแพทย์ บริการด้านสาธารณสุข ศูนย์เรียนรู้และการศึกษา

ลงทุน 4 หมื่นล้าน
รายงานข่าวระบุว่า ข้อมูลกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาคาดว่าโครงการ TOD พัทยา จะใช้เงินลงทุนรวม 39,050 ล้านบาท จะเริ่มหลังจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สร้างเสร็จปี 2566โดยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 4,355 ล้านบาท เช่น ถนน ทางเท้า สกายวอล์ก สถานีจ่ายไฟฟ้า โรงบำบัดน้ำเสีย เดินรถสาธารณะ ระยะสั้นลงทุน 20,100 ล้านบาท ระยะกลางลงทุน 13,650 ล้านบาท ระยะยาว 5,300 ล้านบาท ส่วนพื้นที่พัฒนานั้นมีการระบุว่า จะไม่มีการเวนคืนที่ดิน แต่จะพัฒนาบนพื้นที่ว่างเปล่า บริเวณรอบสถานี 200-300 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของเอกชนในท้องถิ่น และจากกรุงเทพฯ

นอกจากนี้ยังฉายภาพรวมอสังหาริมทรัพย์รอบสถานีพัทยาว่า มีอาคารสำนักงานให้เช่า 5 อาคาร คิดเป็นพื้นที่ 88,294 ตารางเมตร การแข่งขันอยู่ในระดับต่ำ เชื่อว่าอนาคตจะมีความต้องการอีกจำนวนมาก และต้นทุนถูกกว่ากรุงเทพฯ

“ศูนย์การค้า” ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้การแข่งขันสูง แต่ยังไม่เพียงพอในอนาคต ปัจจุบันมีพื้นที่ศูนย์การค้าใกล้สถานีพัทยา 27 โครงการ คิดเป็นพื้นที่เช่า 392,937 ตารางเมตร

“คอนโดมิเนียม” ใน จ.ชลบุรี มีทั้งสิ้น 72,539 ยูนิต สร้างเสร็จแล้ว 48,776 ยูนิต แม้จะมีอุปทานสูงสุดในภูมิภาค แต่กำลังซื้อปัจจุบันยังดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่เข้ามาได้ ทั้งเรียลดีมานด์ เก็งกำไร รวมถึงต่างชาติ หากรถไฟความเร็วสูงสร้างเสร็จจะกระตุ้นดีมานด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ

“โรงแรมและอุตสาหกรรมไมซ์” เป็นกลุ่มธุรกิจที่รัฐบาลสนับสนุน ปัจจุบันเมืองพัทยามีห้องพักสะสม 60,749 ห้อง การแข่งขันสูงจึงต้องวางเป้าหมายให้ชัดเจน

เซ็นทรัล-ซี.พี.สนใจ
ด้านความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุน บริษัทที่ปรึกษาชี้ว่า มีผู้ประกอบการรายใหญ่สนใจขอข้อมูลโครงการไปศึกษาแล้ว เช่น บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ที่มีศูนย์การค้าเซ็นทรัลพัทยา ห่างจากสถานี 2-3 กม. รวมถึงกลุ่ม ซี.พี.ที่ได้สัมปทานไฮสปีดเทรน ขณะที่การซื้อขายที่ดิน หากทำเลติดถนนราคาอยู่ที่ไร่ละ 10 ล้านบาทขึ้นไป ทำเลในซอยเฉลี่ยไร่ละ 5 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2020 12:30 am    Post subject: Reply with quote

รายละเอียดรถไฟความเร็วสูง โคราช-หนองคาย EP.3 สถานีขอนแก่น
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
16 สิงหาคม 2563


วันนี้ขอมาถึงรายละเอียด ของสถานีขอนแก่น ในโครงการรถไฟความเร็วสูง โคราช-หนองคาย เรามาดูในรายละเอียดของสถานีรถไฟรายทางกันต่อ

สถานีต่อไปสถานีขอนแก่น

สถานีรถไฟความเร็วสูงขอนแก่น เป็นสถานีที่ 3 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอิสานส่วนต่อขยาย ช่วงโคราช-หนองคาย ต่อจากสถานีบ้านไผ่ ตำแหน่งตั้งสถานีจะอยู่คู่ขนานกับสถานีรถไฟขอนแก่น ยกระดับหลังใหม่ ทางด้านทิศตะวันตกของสถานีรถไฟขอนแก่นในปัจจุบัน พร้อมกับการทำโครงข่ายถนนเชื่อมโยงจากทางถนนมิตรภาพเข้าสู่สถานี รวมถึงมีถนนเชื่อมต่อระหว่าง 2 ฝั่งสถานีทั้ง 2 ด้าน โดยจะมีการเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟทางคู่บริเวณชั้น 1 ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟทางคู่และความเร็วสูง เพื่อรองรับการเป็น Feeder ขึ้น-ลงสถานีย่อยรายทางต่อเนื่อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน

นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่เปลี่ยนถ่ายระบบขนส่ง อยู่ทั้งด้านตะวันออก และตะวันตก ของสถานี แต่ที่พิเศษที่สุดของสถานีรถไฟขอนแก่นคือ พื้นที่สถานีขอนแก่น เป็นพื้นที่นำร่อง TOD รอบสถานีขอนแก่น รวมถึงการทำระบบเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง และสถานีรถไฟ LRT รวมถึงการวางโครงข่ายถนนในพื้นที่รอบสถานี เพื่อพัฒนาในพื้นที่โดยรอบ อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพสูงสุด

ใครยังไม่ได้อ่านรายละเอียด TOD ขอนแก่นดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/992164877888658

- รูปแบบสถานีมี 3 ชั้น โครงสร้างและการจัดพื้นที่เหมือนกับ ทุกสถานีคือ

ชั้น 1 เป็นชั้นขายตั๋ว จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างระบบ และพื้นที่จอดรถ

ชั้น 2 เป็นโถงพักคอยผู้โดยสาร ก่อนขึ้นรถไฟ ซึ่งจะมีทั้งห้องติดแอร์ และไม่ติดแอร์ เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร รวมถึงเป็นพื้นที่ติดตั้งงานระบบของสถานีรถไฟ

ชั้น 3 เป็นชานชาลา มี 2 ชานชาลาข้าง แต่มีทางรถไฟ 4 ทาง เพื่อให้มีทางรถไฟรองรับรถไฟด่วนผ่านสถานี

—————————
รูปแบบภายนอกสถานี

ส่วนหลักจะเหมือนกับทุกสถานี มีการทำจั่วหน้าสถานี

แต่จะต่างกันในรายละเอียด โดยสถานีขอนแก่นจะนำแคนมาเป็นสัญลักษณ์สถานีออกมาเป็นโครงด้านหน้าจั่ว

การตกแต่งภายใน

ใช้แคนมาเป็นสัญลักษณ์หลักของสถานี พร้อมกับลายผ้าในพื้นที่ เช่น ลายแคนแก่นคูน ลายผ้าประจำจังหวัด และลายผ้าทออิสาน

—————————
รูปแบบทางวิ่ง

สถานีเป็นทางยกระดับ โดยจะยกระดับตั้งแต่จุดตัดถนนมิตรภาพ (คาดว่าใกล้กับสถานีท่าพระ) ไปจนถึงเลยสถานีสำราญไป ถึงจะลงระดับดินอีกครั้ง คู่ขนานทางรถไฟทางคู่ไปตลอดเส้นทาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2020 10:50 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เซ็นทรัล-ซีพี สนใจร่วมวง “เมืองใหม่พัทยา” รัศมีรอบรถไฟไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 สิงหาคม 2563 - 17:30 น.


Wisarut wrote:
ประชุมชี้แจง โครงการ TOD นำร่อง สถานีรถไฟพัทยา วันที่ 14 สิงหาคม 2563 โรงแรมพาลาซโซ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 12 สิงหาคม 2563



สนข.ซาวเสียงนักธุรกิจชลบุรีลงทุนมิกซ์ยูส สถานีพัทยา รับไฮสปีดอีอีซี
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 สิงหาคม 2563 - 09:38 น.

Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 14 ส.ค. 2563 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนและทดสอบความสนใจภาคเอกชนในพื้นที่ จ.ชลบุรี โครงการศึกษาพัฒนาเมืองโดยรอบสถานีพัทยา (TOD) ในแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

โดย สนข.เลือกสถานีพัทยาเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนา TOD เนื่องจาก จ.ชลบุรีเป็นพื้นที่มีศักยภาพ มีสถานีรถไฟความเร็วสูง และอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

พร้อมจะพัฒนาให้เป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายการเดินทาง ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีเป็นรูปแบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส เช่น ย่านพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุม โรงแรม รวมถึงพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองหรือฟีดเดอร์ เชื่อมการเดินทางไปยังชุมชนเดิมและชุมชนใหม่ ที่จะเกิดขึ้นโดยรอบสถานี รองรับการขยายตัวของเมือง แหล่งงานและการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกและเมืองแห่งอุตสาหกรรม MICE

การพัฒนาแบ่ง 3 ระยะ คือ ระยะสั้นปี 2566-2570 ระยะกลางปี 2571-2575 และระยะยาว ปี 2576-2580 แบ่งพื้นที่พัฒนาเป็น 6 โซน

1.MICE City พัฒนาพื้นที่แบบผสมผสานพาณิชยกรรมรองรับศูนย์กลางการค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้สถานี เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม และศูนย์การประชุมสัมมนา เพื่อบริการนักท่องเที่ยวและผู้เดินทางมาติดต่อธุรกิจ

2.Livable City พื้นที่การพัมนาที่อยู่อาศัย เช่น อพาร์ตเมนต์ให้เช่า คอนโดมิเนียม หรือบ้านจัดสรร ด้วยรูปแบบการสันทนาการ

3.Creativity Economy พื้นที่พัฒนาย่านพาณิชยกรรมในลักษณะอาคารสำนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และบริการแบบครบวงจร

4.Active District พื้นที่พัฒนาย่านพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน ทั้งศูนย์การค้า ศูนย์ค้าปลีก ธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่น สตาร์ตอัพ ธุรกิจดิจิทัล

5.Park Society จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่นันทนาการ รองรับนักท่องเที่ยวที่มาประชุม และชุมชน

และ 6.Society District พื้นที่สนับสนุนกิจกรรม และธุรกิจบริการรูปแบบใหม่ เช่น ศูนย์การแพทย์และบริการด้านสาธารณสุข ศูนย์การเรียนรู้และการศึกษา


สนข.เปิดรับฟังความคิดเห็น ลุยเชิงพาณิชย์สถานีพัทยา
14 สิงหาคม 2563

สนข.จัดมาร์เก็ตซาวดิ้งภาคเอกชนและประชาชนหนุนโครงการพัฒนาเมืองรอบสถานีรถไฟพัทยานำร่องปี 66 ผุดสำนักงาน ที่อยู่อาศัย โรงแรมและค้าปลีก 6.8 แสนตารางเมตร

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า วันนี้ (14 ส.ค.) สนข.ได้จัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชนจังหวัดชลบุรี ในโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง “TOD คมนาคมสร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้”

โดยประเด็นในการจัดสัมมนาครั้งนี้ จะหารือร่างผังออกแบบชุมชนเมือง ร่างผังระบบขนส่งมวลชนรอง ร่างผังระบบสาธารณูปโภคร่างแผนงานโครงการการลงทุนและระยะเวลาการพัฒนา ตลอดจนร่วมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และร่างผลกระทบทางสังคม



สำหรับ TOD จังหวัดชลบุรี จะถูกพัฒนาโดยรอบสถานีรถไฟพัทยา เบื้องต้นมีแนวคิดเพื่อเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ฝั่งพัทยาและฝั่งหนองปรือ และเชื่อมต่อสู่พื้นที่ชายทะเลพัทยา รวมทั้งเพื่อเพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟความเร็วสูงเพิ่มพื้นที่สาธารณะภายในเมืองและเสริมสร้างโครงข่ายรถสาธารณะให้เข้าถึงพื้นที่


ส่วนแผนพัฒนาโครงการจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ การพัฒนาระยะที่ 1 ระยะเร่งด่วน (ปี 2564 – 2565) เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านพื้นที่ สำหรับระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดของโครงการ รวมทั้งการจัดเตรียมกระบวนการการได้มาซึ่งที่ดิน และประชาสัมพันธ์กับประชาชน เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจ

การพัฒนาระยะที่ 2 ระยะสั้น (ปี 2566 - 2570) พื้นที่รวม 686,000 ตารางเมตร พัฒนาอาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย คอนโดมีเนียม โรงแรม ลานพลาซ่า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายการเดินทาง ศูนย์การประชุมสัมมนา และศูนย์ค้าปลีก

การพัฒนาระยะที่ 3 ระยะกลาง (ปี 2571 - 2575) พื้นที่รวม 595,000 ตารางเมตร พัฒนาอาคารสำนักงาน โรงแรม ที่อยู่อาศัย ศูนย์ค้าปลีก ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า และพื้นที่สาธารณะ

และการพัฒนาระยะที่ 4 ระยะยาว (ปี 2576 – 2580) พื้นที่รวม 322,000 ตารางเมตร พัฒนาอาคารสำนักงาน โรงแรม ที่อยู่อาศัย ศูนย์ค้าปลีก และพื้นที่สาธารณะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2020 11:51 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'ไฮสปีดไทย-จีน' เฟสแรก 3.5 กม.เสร็จส.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ไฮสปีดเทรนอีสานคืบหน้าก่อสร้างคันทางรถไฟระยะทาง3.5กม.คืบหน้า 96%

17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11:03 น.

17 ก.ย. 2563 รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กิโลเมตร(กม.)จำนวน 14 สัญญา วงเงินลงทุน 179,412 ล้านบาทซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 สัญญา, รอลงนาม 7 สัญญา, รอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. พิจารณา 3 สัญญา, กำลังตรวจสอบ และต่อรองราคาเอกชน 1 สัญญา และรอเปิดประมูล 1 สัญญา

1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ซึ่งกรมทางหลวง(ทล.)เป็นผู้ก่อสร้างคันทางรถไฟคืบหน้าประมาณ 96% ใช้เวลาก่อสร้าง 2ปี6 เดือนเตรียมส่งมอบงานให้ รฟท. จากนั้นต้องรอให้มีการลงนามสัญญาที่ 2.3 จ้างงาน ระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดอบรมบุคลากร กับประเทศจีนก่อน งานจึงจะเดินหน้าต่อไปได้ คาดว่าจะลงนามได้ในเดือน ต.ค.นี้


ทั้งนี้ในของส่วนสัญญาที่ 2 สีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. คืบหน้าประมาณ 30% ล่าช้ากว่าแผนเล็กน้อย เนื่องจากช่วงแรกใช้เวลาไปกับการเตรียมงานในรายละเอียดต่างๆ เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย จึงใช้เวลานานเล็กน้อย แต่เวลานี้เริ่มเข้าที่แล้ว งานก่อสร้างคงจะเร็วขึ้น ส่วนที่รอลงนาม 7 สัญญานั้น ต้องรอให้รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(กก.วล.) ก่อน


รายงานข่าวแจ้งว่าขณะนี้งานถมคันทางช่วงแรกระยะทาง 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก มีความคืบหน้า 96% จะแล้วเสร็จสิ้นเดือน ส.ค.นี้ โดยใช้เวลานานเพราะเราต้องทำการทดสอบวัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้างอย่างละเอียดควบคู่ไปด้วย เนื่องจากเราใช้วัสดุก่อสร้างผลิตในประเทศเกือบ 100% มีหิน คอนกรีต ซีเมนต์ เหล็ก ยกเว้นงานรางและระบบรถไฟความเร็วสูง ต้องใช้จากจีน แต่มีนำเข้าบ้าง 3-5% เป็นสายทองแดงเคลือบทองเหลืองและผ้าจีโอเมมเบรน จากเดิมจีนจะให้นำเข้าทั้งหมด ทำให้สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้กว่า 100 ล้านบาท จาก 425 ล้านบาท เหลือ 302 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2020 11:56 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
เซ็นทรัล-ซีพี สนใจร่วมวง “เมืองใหม่พัทยา” รัศมีรอบรถไฟไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 สิงหาคม 2563 - 17:30 น.


ประชุมชี้แจง โครงการ TOD นำร่อง สถานีรถไฟพัทยา วันที่ 14 สิงหาคม 2563 โรงแรมพาลาซโซ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 12 สิงหาคม 2563


สนข.ซาวเสียงนักธุรกิจชลบุรีลงทุนมิกซ์ยูส สถานีพัทยา รับไฮสปีดอีอีซี
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 สิงหาคม 2563 - 09:38 น.
สนข.เปิดรับฟังความคิดเห็น ลุยเชิงพาณิชย์สถานีพัทยา
14 สิงหาคม 2563


รายงานวันจันทร์-ชลบุรีต้นแบบพื้นที่พัทยาเชื่อมต่อไฮสปีด พัฒนาเมืองด้วยระบบขนส่ง
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 07:55 น.

ภาพจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร


จังหวัดชลบุรีเป็น 1ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นเมืองต้นแบบโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง “TOD คมนาคม สร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้”

โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รับผิดชอบว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการดังกล่าว ล่าสุดได้จัดการสัมมนาผู้ลงทุน (Market Sounding) “รายงานวันจันทร์” มีข้อมูลจากนายเริงศักดิ์ ทองสม ผอ.กองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สนข. ชี้แจงรายละเอียดดังนี้

-----------------------------

ถาม - เหตุผลที่เลือกจังหวัดชลบุรี เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนา TOD และผลสรุปของการศึกษา
เริงศักดิ์ - จังหวัดชลบุรี มีศักยภาพและความพร้อมในการเป็น “เมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาค” เนื่องจากพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ที่สามารถรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยที่กระจายความเจริญสู่เมืองหลักในภูมิภาค

ถาม - ผลสรุปของการศึกษา

เริงศักดิ์ – ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาเมือง TOD จะเน้นพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมุ่งส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ของพัทยา ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินผสมผสาน และสร้างสรรค์กิจกรรมภายในเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ ผสานความเป็นเมืองระดับโลกกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และเอื้อต่อการขยายตัวของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้ชีวิตในเมืองอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน


ถาม - รูปแบบการพัฒนา TOD
เริงศักดิ์ - จะพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บริเวณพื้นที่รอบสถานีรถไฟพัทยา เน้นเปิดศักยภาพของพื้นที่ มีสถานีรถไฟทางคู่และสถานีรถไฟความเร็วสูงเป็นศูนย์กลางการพัฒนา แบ่งการพัฒนาเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ปี 2564-2565 ระยะสั้น ปี 2566-2570 ระยะกลาง ปี 2571-2575 และระยะยาว ปี 2576-2580 โดยแบ่งพื้นที่พัฒนาตามแนวทางของ TOD เป็น 6 โซน ได้แก่

โซนที่ 1 MICE City พัฒนาพื้นที่แบบผสมผสานพาณิชยกรรมรองรับศูนย์กลางการค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้สถานี เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม และศูนย์การประชุมสัมมนา เพื่อบริการนักท่องเที่ยวและผู้เดินทางมาติดต่อธุรกิจ

โซนที่ 2 Livable City พื้นที่การพัฒนาที่อยู่อาศัย เช่น อพาร์ตเมนต์ใช้เช่า คอนโดมิเนียม หรือบ้านจัดสรร ด้วยรูปแบบการสันทนาการที่ทำเพิ่มศักยภาพการอยู่อาศัยให้ดีขึ้น

โซนที่ 3 Creativity Economy พื้นที่พัฒนาย่านพาณิชยกรรมในลักษณะอาคารสำนักงาน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และบริการแบบครบวงจร

โซนที่ 4 Active District พื้นที่พัฒนาย่านพาณิชยกรรมแบบผสมผสาน มีทั้งศูนย์การค้า ศูนย์ค้าปลีก รวมถึงธุรกิจบริการรูปแบบใหม่ เช่น Start up ธุรกิจดิจิตอล



โซนที่ 5 Park Society เพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่นันทนาการ รองรับนักท่องเที่ยวที่มาประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) หรือคนในชุมชนที่มาใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ทุกเพศทุกวัย

โซนที่ 6 Society District พื้นที่สนับสนุนกิจกรรมรวมถึงธุรกิจบริการรูปแบบใหม่ เช่น ศูนย์การแพทย์และบริการด้านสาธารณสุข และศูนย์การเรียนรู้และการศึกษา เป็นต้น เป็นต้นแบบของนวัตกรรมใหม่ที่จะส่งเสริมให้เมืองพัทยาน่าสนใจมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สนข.จะประมวลผลการศึกษา 3 เมืองต้นแบบ TOD ทั้งจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ นำร่องการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะมีการสัมมนาครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปปิดโครงการภายในเดือนกันยายนนี้ ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐ-มนตรีเห็นชอบตามลำ-ดับเพื่อดำเนินการต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/08/2020 7:12 am    Post subject: Reply with quote

เปิดความว้าว4สถานีเส้นทางผลไม้
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

รถไฟไฮสปีดเชื่อม3สนามบินเฟส2 เล่าเรื่องราวระยอง-จันทบุรี-ตราด

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษาโครงการ (การประชุมใหญ่ระดับจังหวัด) งานจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงินและแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยาย จ.ระยอง-จันทบุรี-ตราด ครบทั้ง 3 จังหวัดแล้ว เพื่อนำไปสู่การพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาต่อไปคาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เบื้องต้นประชาชนสนับสนุนโครงการ และภูมิใจที่ รฟท.นำเอกลักษณ์ของชุมชนมาใช้ออกแบบสถานีรถไฟทั้ง 4 สถานี ได้แก่ สถานีระยอง สถานีแกลง สถานีจันทบุรี และสถานีตราด โดยมีแนวคิดหลักคือ "เส้นทางสายผลไม้" เพราะ จ.ระยอง, จันทบุรี และตราด ขึ้นชื่อเรื่องผลไม้จึงนำลวดลายและสีของผลไม้มาสร้างบรรยากาศภายในของแต่ละสถานี นอกจากนี้ยังนำเรื่องราว กิจกรรมและประเพณีท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดที่แตกต่างกันมานำเสนอผ่านงานสถาปัตย กรรมในรูปแบบนิทรรศการ, การตกแต่งภายใน หรือส่วนประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ด้วย

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สถานีระยองเน้นออกแบบเสมือนเป็นประตูต้อนรับนักท่องเที่ยว ดึงแนวคิดมาจาก รีสอร์ทชายทะเลเพื่อสร้างบรรยากาศสถานีแห่งการผ่อนคลายเหมาะแก่การพักผ่อน ด้วยรูปทรงอาคารโปร่งโล่งสบาย ส่วนภายในอาคารดึงโทนสีม่วงของผิวมังคุดและนำรูปแบบจากกลีบภายในมังคุดมาเป็นแกนหลักออกแบบ ขณะที่สถานีแกลง นำแนวคิดมาจาก "อนุสาวรีย์สุนทรภู่" สถานที่สำคัญของ อ.แกลง และ "นิราศเมืองแกลง" บทกวีนิพนธ์นิราศเรื่องแรกโดยถ่ายทอดด้วยการนำเส้นโค้งมาใช้ประกอบวัสดุธรรมชาติให้ดูมีความเคลื่อนไหวและบอกเล่าเรื่องราวผ่านงานสถาปัตยกรรม

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ภายในสถานีแกลง นำสับปะรดเป็นแกนหลักในการออกแบบเนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจของ อ.แกลง โดยนำทั้งโทนสีและรูปแบบจากเปลือกสับปะรดมาใช้ สำหรับสถานีจันทบุรี นำแนวคิดมาจากศาลสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช สถานที่สำคัญของจันทบุรีนำเสนอรูปแบบ เส้นสายในงานสถาปัตยกรรม เช่น รูปทรงโค้งซ้อนกันเป็น ชั้น ๆ และเลือกใช้สีทองเพื่อแสดงถึงความนอบน้อม ความเคารพ และเชิดชูของประชาชนที่มีต่อพระองค์ท่าน ขณะที่ภายในสถานีนำลักษณะเด่นของเปลือกทุเรียนมาใช้ออกแบบ

สำหรับสถานีตราด นำแนวคิดมาจากเหตุการณ์ "ยุทธนาวีเกาะช้าง"เป็นเหตุการณ์รบทางเรือที่เกิดขึ้นจากกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศสโดยนำเสนอรูปแบบของป้อมปราการให้รู้สึกถึงความแข็งแกร่งน่าเกรงขามให้เข้ากับจังหวัดที่เป็นเขตชายแดนที่เชื่อมต่อกับกัมพูชา โดยใช้ลักษณะของกำแพงทึบตัน และความสอบของรูปทรงอาคารส่วนภายในสถานีใช้โทนสีและรูปแบบของระกำซึ่งเป็นผลไม้ที่อยู่ในคำขวัญประจำจังหวัดมาใช้ในการออกแบบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เฟส 2 วงเงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท รฟท.มีแผนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในปี 64, จัดเตรียมเอกสารการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP)ปี 65, ก่อสร้างปี 67 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดบริการปี 71.

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/08/2020 7:50 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.สัญจร ระยอง ร่อนตะแกรง 36 โครงการ ตัดถนนเชื่อมรถไฟไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 24 สิงหาคม 2563 - 18:00 น.

Click on the image for full size

กลุ่มภาคตะวันออก 1 “ชลบุรี-ระยอง-ฉะเชิงเทรา” ชง 36 โครงการ มูลค่านับแสนล้านบาท เข้า ครม.สัญจรระยอง 25 ส.ค.นี้ เน้นโครงการขนาดใหญ่ด้านคมนาคม-สร้างอ่างเก็บน้ำแก้ภัยแล้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 ทางกระทรวงมหาดไทยได้เชิญหน่วยงานราชการ และองค์กรภาคเอกชน ใน 3 จังหวัดกลุ่มภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา มาร่วมประชุมเพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอต่าง ๆ ของ 3 จังหวัดที่เตรียมเสนอเป็นวาระให้ที่ประชุม ครม.สัญจร ที่จังหวัดระยอง ในวันที่ 24-25 ส.ค. 63 พิจารณา

โดยมี พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นั่งเป็นประธานการพิจารณาอีกครั้ง หลังจากที่ได้ประชุมพิจารณากันไปแล้วในรอบแรกเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 จากทั้งหมด 73 โครงการ รวมมูลค่ากว่าแสนล้านบาท พิจารณากลั่นกรองและรวบรวมโครงการที่ใกล้เคียงเข้าไว้ในหมวดหมู่เดียวกัน เหลือเพียง 36 โครงการ โดยส่วนใหญ่เน้นโครงการด้านบริหารจัดการน้ำแล้งที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ และโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม

แบ่งเป็นร่างข้อเสนอ 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการเกษตร 1 โครงการ การท่องเที่ยว 4 โครงการ การค้าการลงทุน 4 โครงการ, ด้านการบริหารจัดการน้ำ 10 โครงการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2 โครงการ, ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 โครงการ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน 10 โครงการ


ด้านการเกษตร การท่องเที่ยว การค้าการลงทุน ประกอบด้วย การเกษตร 1 โครงการ โดยขอให้เร่งรัดโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง ให้เป็นไปตามแผนในปี 2565

การท่องเที่ยว 5 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการก่อสร้างถนนเฉลิมบูรพาชลทิศ ระยะที่ 2 ถนนเลียบชายฝั่งทะเล หลังศึกษาและทำประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เสร็จ ขอให้ลงมือก่อสร้างทันที 2.โครงการสร้างสะพานท่าบรรทุก ทำ walk-way ป่าชายเลนในเมืองระยอง และพระเจดีย์กลางน้ำ 3.ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จ.ระยอง 4.โครงการปรับปรุงและฟื้นฟูเมืองเก่าระยอง 5.โครงการจ้างศึกษาและออกแบบเพื่อพัฒนาพื้นที่ศูนย์บริการ ท่าเทียบเรือท่าหน้าบ้าน ลานอเนกประสงค์ริมทะเล วัดใหม่สำราญ และจัดทำ EIA เขื่อนกันคลื่นบริเวณท่าเทียบเรือท่าหน้าบ้าน เกาะล้าน เมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

การค้าการลงทุน 4 โครงการ เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้แก่ 1.ขยายทางหลวงหมายเลข 3 ตอนระยอง-แกลง จาก 4 เป็น 6 ช่องจราจร 2.ขยายทางหลวงหมายเลข 3574 ตอนมาบปู-เขาคันทรง จาก 4 เป็น 8 ช่องจราจร 3.ผลักดันการหาผู้ร่วมลงทุนโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน รองรับการพัฒนาเมือง เช่น ระบบรถไฟรางเบา (LRT) ระบบ smart bus การพัฒนาพื้นที่ระบบการขนส่ง (TOD) และระบบขนส่งเชื่อมต่อ (feeder) 4.เร่งรัดโครงการปรับปรุงผิวจราจรสาย ฉช.3014 บ้านหนามแดง-บ้านคลองประเวศบุรีรมย์ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

ด้านการบริหารจัดการน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการน้ำ 10 โครงการ 1.สร้างอ่างเก็บน้ำเขาจอมแห-เขานั่งยอง จ.ระยอง 2.ขุดลอกอ่างเก็บน้ำบางไผ่ จ.ชลบุรี 3.พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ฐานทัพเรือสัตหีบ บ้านพลูตาหลวง จ.ชลบุรี 4.เร่งรัดอ่างเก็บน้ำหนองกระทิง จ.ฉะเชิงเทรา 5.เร่งรัดอ่างเก็บน้ำคลองกะพง จ.ฉะเชิงเทรา 6.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในคลองท่าลาด จ.ฉะเชิงเทรา 7.วางท่อเชื่อมโยงน้ำดิบคลองชลประทานท่าลาด-สถานีผลิตน้ำบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา 8.ศึกษาการบริหารจัดการน้ำจากทุกแหล่งของจังหวัดระยอง ป้องกันน้ำท่วม น้ำแล้ง และการใช้น้ำ 9.เร่งรัดศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา 10.ศึกษาสำรวจออกแบบแก้ปัญหาระบบประปาในพื้นที่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2 โครงการ ได้แก่ 1.ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบบำบัดน้ำเสียพื้นที่พัทยานาเกลือ จ.ชลบุรี 2.เพิ่มประสิทธิภาพสถานีสูบป้องกันน้ำท่วม ถนนสุขุมวิท และถนนเลียบทางรถไฟ จ.ชลบุรี

ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการยกระดับระบบบริการสุขภาพรองรับโรคอุบัติใหม่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 และพื้นที่ใกล้เคียง 2.โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น กลาง ยาว 3.องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (อบจ.ระยอง) ขอสร้างอาคาร 2 หลังของโรงเรียนนานาชาติตากสินแกลง 4.อบจ.ระยองขอสร้างสถานที่พักฟื้นร่างกายขนาดไม่น้อยกว่า 100 เตียง

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 10 โครงการ ได้แก่ 1.สร้างทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา 2.สร้างสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงแห่งที่ 3 พร้อมถนนต่อเชื่อมถนนผังเมือง สายฎ1 3.สร้างถนนตามผังเมืองรวมเมืองชลบุรี สาย ก (ถนนอ่างศิลา-ถนนข้าวหลาม) จ.ชลบุรี 4.สร้างถนนเลี่ยงเมืองแนวใหม่ สาย ง อ.เมือง จ.ระยอง เพื่อแก้จราจรติดขัด 5.ขอให้พิจารณาก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขยายมาถึง อ.เมืองระยอง 6.ผลักดันโครงการเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง 7.ปรับปรุงถนนพัทยาสาย 2 และพื้นที่ใกล้เคียง ช่วงพัทยากลาง-พัทยาใต้ 8.ศึกษาสำรวจออกแบบถนน 3 สาย คือ ถนนเลี่ยงเมืองบ้านฉางเชื่อมต่อ ทล.3376 กับ ทล.3 และมอเตอร์เวย์สาย 7, ถนนบ้านฉาง-บูรพัฒน์ เชื่อมต่อมอเตอร์เวย์สาย 7 และนิคมมาบตาพุด ถนนเลี่ยงเมืองปลวกแดง 9.จ้างสำรวจออกแบบแยก ทล.315 เชื่อมต่อถนนสาย ฌ8 และถนนสาย ฉ50 อ.พานทอง อ.เมือง จ.ชลบุรี ระยะทาง 38.500 กม. 10.จ้างสำรวจออกแบบผังระบบคมนาคมขนส่ง EEC สนับสนุนรถไฟความเร็วสูง อ.เมืองชลบุรี อ.ศรีราชา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

---------

กนอ.'ถมทะเล'ต้นปีหน้า เร่งแผนมาบตาพุดเฟส3
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงการของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2563

กรุงเทพธุรกิจ สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า สุริยะ รมว.อุตสาหกรรม ได้ติดตามการพัฒนาโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยท่าเรือแห่งนี้ แบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การก่อสร้างท่าเรือ ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มีพื้นที่รวมประมาณ 2,870 ไร่ และระยะที่ 3 ประมาณ 1,000 ไร่

ทั้งนี้ ปัจจุบันท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด มีท่าเทียบเรือให้บริการ 12 ท่า แบ่งเป็น ท่าเทียบเรือสาธารณะ (Public Berths) 3 ท่า และท่าเทียบเรือเฉพาะกิจ 9 ท่า มีปริมาณเรือผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดจำนวน 4,258 ลำ ปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือ อุตสาหกรรมมาบตาพุด ณ วันที่ 31 ก.ค. 2563 อยู่ที่ 41,977,778 ตัน และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่(โควิค 19) เป็นผลให้ปริมาณสินค้าผ่านท่าลดลงประมาณ 6.8%

รวมทั้ง ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด มีระบบบริหารจัดการควบคุมการจราจรทางน้ำโดยใช้ระบบ Vessel Traffic Monitoring System (VTSM) ซึ่งเป็นไป ตามมาตรฐานสากลของการให้บริการ จราจรทางน้ำ ซึ่งเป็นระบบเฝ้าสังเกตการณ์การเคลื่อนที่ของเรือในทะเล

โดยใช้หลักการทำงานจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น เรดาร์ AIS (ระบบแสดงตนโดยอัตโนมัติเป็นอุปกรณ์สำคัญในการบริหารจัดการทางน้ำ) กล้องโทรทัศน์วงจรปิด อุปกรณ์ตรวจวัดทางอุตุนิยมวิทยา และอุปกรณ์ตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยระบบดังกล่าวสามารถติดตามการเคลื่อนที่ของเรือได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถควบคุมการจราจรทางน้ำในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

นอกจากนี้ ปี 2562 กนอ.ลงนามสัญญา ร่วมทุนในรูปแบบการบริหารธุรกิจ (PPP : Business Case) ในการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 กับบริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินัล จำกัด เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศและเป็นกลไกขับเคลื่อน การลงทุนในอีอีซี

Click on the image for full size

สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้าง หลังได้รับ ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำจากสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาระยองแล้ว บริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินัล จำกัด ได้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้าง ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ทั้งในส่วนของการขุดลอกและถมทะเล พื้นที่ 1,000 ไร่ แบ่งเป็น

พื้นที่ใช้ประโยชน์ 550 ไร่ และพื้นที่ เก็บกักตะกอน 450 ไร่ การขุดลอกร่องน้ำ และแอ่งกลับเรือ การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน การติดตั้ง อุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือ ท่าเทียบเรือบริการ และท่าเทียบเรือก๊าซ รองรับปริมาณการ ขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ

โดยจะเริ่มถมทะเลก่อสร้างในช่วง ต้นปี 2564 และคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ และพร้อมเปิดให้บริการได้ภายในปี 2569

สำหรับการพัฒนามาบตาพุดคอมเพล็กซ์และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นพื้นที่ลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีติดอันดับ 1 ใน 5 ของภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมคอมเพล็กซ์มีจำนวน 5 นิคม ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

ปัจจุบันมีโรงงานจำนวน 151 โรง จำนวนแรงงาน 30,000 คน มูลค่าการลงทุน 1 ล้านล้านบาท รองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย ปิโตรเคมีขั้นกลาง ปิโตรเคมีขั้นปลาย ก๊าซ เคมีภัณฑ์ โรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน เหล็ก และอุตสาหกรรมอื่นๆ

นอกจากนี้ สุริยะ ได้ติดตามการพัฒนา โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม สมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) เกิดจากแนวคิด ในการพัฒนาที่มุ่งเน้นการเป็นนิคมอุตสาหกรรมต้นแบบในการพัฒนา Smart Eco และใช้นวัตกรรมในการให้บริการระบบสาธารณูปโภค รวมถึงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์กลางทางพาณิชย์ของชุมชนที่ทันสมัย รองรับการเจริญเติบโตการใช้บริการ ภาคธุรกิจในพื้นที่

นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค ตั้งอยู่ใน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง มีพื้นที่โครงการประมาณ 1,383.76 ไร่ ปัจจุบันสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีมติเห็นชอบการลงทุนโครงการ เมื่อวันที่ 10 ก.ค.2563 และเตรียมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติ ก่อนจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง

โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ใน ไตรมาส 2 ปี 2564 และใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง ประมาณ 3 ปี โดยคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 ซึ่งจะ ก่อให้เกิดการจ้างงาน ประมาณ 7,459 คน ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ประมาณ 1,342,620,000 บาทต่อปี (คิดฐานเงินเดือนขั้นต่ำเดือนละ 15,000 บาท)

"นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค มีมูลค่า การลงทุนระยะแรก 2,480.73 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าออกแบบแนวคิดโครงการและ การจัดทำ EIA และค่าดำเนินการก่อสร้าง" ทั้งนี้ จะเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation & Logistics) กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ (Medical Device) กลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) และกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)

นอกจากนี้ มีความได้เปรียบในเรื่องของ ระบบคมนาคมขนส่งทั้งระบบขนส่งทางอากาศ สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระบบขนส่งทางบก อันได้แก่ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ทางด่วนมอเตอร์เวย์ เป็นต้น และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณไตรมาส 2 ของปี 2564 โดยจะแล้วพร้อมเปิดให้บริการได้ ภายในปี 2567

การพัฒนามาบตาพุดคอมเพล็กซ์และท่าเรืออุตสาหกรรมเป็นพื้นที่ลงทุนปิโตรเคมีติดอันดับ 1 ใน 5 ของอาเซียน
สมจิณณ์ พิลึก

-----------

ทักษะงานแห่งอนาคตในอีอีซี
กรุงเทพธุรกิจ 25 สิงหาคม 2563

Click on the image for full size

“ตกงานอย่าตกใจ” เพราะอีอีซี ร่วมกับและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาทักษะและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรให้ตรงตามการใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ไม่ได้มีเพียงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น รถไฟความเร็วสูง เมืิองการบิน แต่อีอีซีมีแผนที่จะพัฒนาคนเพื่อเข้าไปใช้โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ในอานาคตรองรับไว้ด้วย

“ตกงานอย่าตกใจ” เพราะอีอีซี ร่วมกับและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาทักษะและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรให้ตรงตามการใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายอีกทั้งยังร่วมมือกับสถาบันการศึกษานานาชาติ เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล


แรงงานกลุ่มใดที่ได้ไปต่อในอีอีซี คำตอบคือ อีอีซีมีความต้องการบุคลากรใน 7 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐานใน อีอีซี ประกอบด้วย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมดิจิทัล, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร, อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี, อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต, อุตสาหกรรมระบบรางโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมการบิน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/08/2020 11:44 am    Post subject: Reply with quote

'ประยุทธ์'ดัน'ไฮสปีดระยะ2' เล็งชงครม.เปิดประมูลปีหน้า
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

กรุงเทพธุรกิจ นายกฯตามความคืบหน้าอีอีซี โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 อู่ตะเภา-จันทบุรี-ตราด เตรียมเสนอเข้า ครม. เปิดประมูลปี 64 คาดแล้วเสร็จปี 67

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผย ระหว่างเยี่ยมชมนิทรรศการจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ณ โรงแรมสตาร์ คอนเนชั่น ว่า การส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กำลังเดินหน้าไปด้วยดี เพราะบ้านเมืองมีเสถียรภาพ และมีความสงบเรียบร้อย รัฐบาลมุ่งหวังที่จะขยายการพัฒนา ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยง ไปยังพื้นที่รอบนอกอีอีซี โดยยืนยัน รัฐบาลจะสร้างความมั่นคง เพื่อให้เศรษฐกิจ เติบโตไปพร้อมกันทั้ง 6 ภาค และ จะพยายามหามาตรการส่งเสริมเรื่อง การท่องเที่ยวและช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้มากขึ้น

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สกพอ. กล่าวว่า โครงการสำคัญๆ ของอีอีซี ในจ.ระยอง เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และ อู่ตะเภา) ระยะที่ 1 ระยะทาง 220 กิโลเมตร

ที่เริ่มก่อสร้างแล้วคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2567 โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 สนามบินอู่ตะเภาและ เมืองการบินภาคตะวันออก และ ระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมโยง โครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก เป็นต้น

ทั้งนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงในโครงการอีอีซีระยะที่ 2 จะเริ่มก่อสร้าง ต่อจากสถานีอู่ตะเภา จ.ระยองไปยัง จ.จันทบุรี และ จ. ตราด รวมระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จ ปี 2571 ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจาก รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน ระยะที่ 1 จะสามารถเดินทางจากสถานีอู่ตะเภา ถึงจ.ตราดได้ในระยะเวลา 64 นาที

ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด คาดว่าจะเสนอ ครม.อนุมัติโครงการในปี 2564 และคัดเลือกผู้ลงทุนได้ในปี 2567 แล้วเสร็จ พร้อมให้บริการในปี 2571 ซึ่งจะนำไปสู่ โครงการต่อเนื่องคือ โครงการระเบียงผลไม้ ภาคตะวันออก เพื่อยกระดับภาคตะวันออก สู่แหล่งผลไม้หลักของภูมิภาค รวมทั้งการขยายเมืองรอบพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา 30 กิโลเมตรทั้งพื้นที่ที่อยู่อาศัยและ พื้นที่เศรษฐกิจ

ไฮสปีดเทรนเฟส 2 จะเชื่อมระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก เพื่อยกระดับภาคตะวันออกสู่แหล่งผลไม้หลักของภูมิภาค
คณิศ แสงสุพรรณ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2020 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'ประยุทธ์'ดัน'ไฮสปีดระยะ2' เล็งชงครม.เปิดประมูลปีหน้า
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563


อูตะเภาไประยองนั้นไม่สู้น่าเป็นห่วงเท่าไหร่เพราะถึงอย่างไรซีพีทำแน่นอนขอให้เวนคืนที่ดินให้เรียบร้อยเสียก่อน แต่พ้นจากระยองออกจะน่าเป็นห่วงมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 380, 381, 382 ... 547, 548, 549  Next
Page 381 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©