RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179738
ทั้งหมด:13490970
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 383, 384, 385 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2020 10:42 am    Post subject: Reply with quote

พี่น้องชาวหนองคาย มาดูรายละเอียดของโครงการรถไฟความเร็วสูง สายอิสาน ช่วงที่ 2 โคราช-หนองคาย ได้จากงานประชาสัมพันธ์ทั้ง 2 ที่คือ
วันที่ 26 กันยายน 2563 ที่ถนนคนเดิน ตลาดแคมของ
วันที่ 27 กันยายน 2563 ที่ตลาดท่าเสด็จ
อยากรู้รายละเอียดโครงการ สามารถไปดูได้ในงานนะครับ ที่ปรึกษามาตอบเอง สามารถสอบถามรายละเอียดได้โดยตรงเลย
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1030556487382830
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2020 5:42 am    Post subject: Reply with quote

“อีอีซี เดอะซีรีย์” EP.2
Reporter Journey
26 กันยายน 2563 เวลา 21:27 น.
ความเขี้ยวของ CP กับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
ความเสี่ยงที่ต้องสร้างให้ทัน บนความล่าช้าและเงื่อนไขรัฐ

จาก EP. ที่ผ่านมาที่ได้เล่าถึงเรื่องโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่จะมาเป็นแรงดึงดูดเศรษฐกิจสูบเม็ดเงินจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนอย่าง โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ไปแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่เมืองการบินจะขาดไม่ได้เลยคือ ระบบคมนาคมขนส่งทางราง ที่เหล่าคณะกรรมการ อีอีซี วาดฝันไว้ว่า นักเดินทางที่ตั้งเป้าจะบินมาลงที่อู่ตะเภากว่า 50 ล้านคน จะสามารถเดินทางต่อไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้อย่างสะดวก ทั้ง พัทยา ศรีราชา สุวรรณภูมิ มักกะสัน บางซื่อ และดอนเมือง โดยใช้บริการ “รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้แนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้า “แอร์พอร์ต เรลลิงก์” เดิมที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันสายสั้นๆ จากพญาไท – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มาตั้งแต่ปี 2553 นั่นเอง
.
แต่ก่อนอื่นขอย้อนเรื่องราวไปถึงช่วงก่อนที่ กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ที่ประกอบด้วย
.
🔸️ China Railway Construction Corporation Limited จากสาธารณรัฐประชาชนจีน
🔸️ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
🔸️ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
🔸️ บมจ. ช.การช่าง
.
ร่วมกันจัดตั้ง “บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด” หรือ “Eastern High-Speed Rail Linking Three Airports Co.,Ltd.” จะลงนามเซ็นสัญญามูลค่า 220,000 ล้านบาท ร่วมทุนกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ช่วงจังหวะนั้นต้องเรียกว่า CP มีการใช้กลยุทธ์ในการดึงเกมลงนามจนเกิดโรคเลื่อนมาหลายครั้งเหมือนกัน เพราะชนะการยื่นซองราคากันตั้งแต่ 24 ธันวา 2561 แต่ก็มีการเจรจาข้อเรียกร้องหลายอย่างที่บอกว่าเป็นอุปสรรคในการพัฒนาโครงการ กว่าจะได้เซ็นสัญญากันก็ใช้เวลาไปนับ 10 เดือน ซึ่งถือว่ายาวนานสุดในประวัติศาสตร์การต่อรองงานกับรัฐบาล
.
หากใครติดตามข่าวก็คงจะจำได้ว่า รักษาการเจ้ากระทรวงคมนาคมในตอนนั้นซึ่งก็คือ เสี่ยหนู นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม(แบบไม่เป็นทางการ) ต้องออกโรงมามาขู่ซีพีว่า หากไม่ลงนามในสัญญาจะถูกริบหลักประกันซอง และอาจถูกพิจารณาเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของทางราชการ พร้อมกับจะเรียกผู้ยื่นข้อเสนอรายที่ 2 มาเจรจาแทน เนื่องจาก CP ต้องการต่อรอการป้องกันขาดทุนด้วย “เงื่อนไข” นอกเหนือ TOR การประมูล ที่หากกรรมการพิจารณาร่างสัญญาของ รฟท. เซ็นยินยอมไปก็อาจเสี่ยงถูกดำเนินคดีภายหลังเต็มๆ จากข้อที่ว่ากระทำการเกินเงื่อนไขการประมูล และกฎหมายกำหนดว่า คดีทุจริต ไม่มีอายุความ!
.
ด้าน CP ก็ให้เหตุผลว่า ที่ล่าช้าเพราะอุปสรรคของโครงการในไทย ไม่มีการค้ำประกันผู้โดยสารเหมือนในหลายประเทศ แถม รฟท. ก็มีการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า และหากสร้างเสร็จช้าก็เอกชนก็ต้องโดนค่าปรับวันละเกือบ 10 ล้านบาท
.
ซึ่งปัญหาความอลวนก็ไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะอีกนัยหนึ่ง ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์การต่อต้านคอรัปชัน ก็เคยออกมาชี้เป้าไว้ว่า CP ต้องการดึงเชิงให้ชัวร์ว่าตนเองจะได้โครงการ “เมืองการบิน” มาด้วย เพราะสองโครงการนี้ถือว่ามาคู่กัน หากได้มาทั้งสนามบินและรถไฟจะสามารถกำหนดแผนการพัฒนาได้ครบทั้งกระบวนการ ซึ่งก็เป็นสูตรถนัดของซีพีอยู่แล้ว
.
ถามว่าทำไมถึงกล้าบอกว่า CP อยากได้ทั้ง 2 โครงการมากๆ ก็ดูได้จากการประมูลเมืองการบินภาคตะวันออก ที่เกิดกรณีดราม่าจากที่ส่งซองประมูลล่าช้าไป 9 นาที จากเวลาที่กำหนด ถ้าตามกติกาก็คงต้องแพ้ไปตั้งแต่ยังไม่ได้แข่งแล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะมีการยื่นฟ้องร้องศาลปกครองให้คุ้มครอง และที่เหนือความคาดหมายกว่านั้นคือ ศาลพิจารณาว่า เงื่อนเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ รวมถึงข้อพิพาทไม่ได้มีผลโดยตรงต่อผู้แข่งขัน จนองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ยังบอกว่า เป็นเรื่องที่น่าตกใจ และน่าเป็นห่วงมากว่าต่อไประบบจัดซื้อจัดจ้างในบ้านเราที่รักษาแบบแผนประเพณีมาอย่างยาวนาน จะเกิดเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่บิดเบี้ยวไป
.
ในอดีตเคยมีการตัดสินคดีของกรมทางหลวงชนบทที่ถูกฟ้องร้อง เนื่องจากผู้แทนเสนอราคามาไม่ทันเวลา โดยช้าไปเพียง 39 วินาที ด้วยสาเหตุการจราจรติดขัดและการชุมนุมประท้วง โดยศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า เหตุผลที่ผู้แทนของผู้มีสิทธิเสนอราคามาลงทะเบียนไม่ทันไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
.
จนแล้วจนรอด CP ก็พลิกกลับมาให้เปิดซองประมูลได้อีกครั้ง แม้จะแพ้ด้วยการเสนอราคาต่ำกว่ากลุ่ม BBS แต่การพลิกเกมธุรกิจต่างๆ ก็ล้วนแสดงให้เห็นถึงชั้นเชิงของ CP ที่มีอิทธิฤทธิ์ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
.
กลับมาที่เรื่องของรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกันต่อ โดยศักยภาพของแนวเส้นทางถือว่ายอดเยี่ยมอยู่แล้ว เพราะจะพาดผ่านถึง 5 จังหวัด ตั้งต้นที่กรุงเทพฯ คือ เริ่มที่สถานีดอนเมือง > สถานีกลางบางซื่อ > สถานีมักกะสัน > ต่อที่ จ.สมุทรปราการคือ สนามบินสุวรรณภูมิ > เข้าสู่ จ.ฉะเชิงเทรา > จ.ชลบุรีคือ สถานีในตัวเมืองชลบุรี > ศรีราชา > พัทยา และจบที่สนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง
.
การก็ก่อสร้างก็เป็นทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบินจากเขตทางเดิมของการรถไฟฯ รวมระยะทางอยู่ที่ 220 กม. ซึ่งรถไฟความเร็วสูงจะมีความเร็วได้สูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้สามารถเชื่อมกรุงเทพฯ กับพื้นที่ อีอีซี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที
.
แล้วผลตอบแทนกับความเสี่ยงที่ CP รับมันจะคุ้มค่าหรือไม่?
อันนี้ก็น่าคิดต่อ เพราะในช่วงแรกที่ได้รายได้แน่ๆ คือ
🔸️ สัมปทานยาว 50 ปี
🔸️ สิทธิในการเดินรถ รวม ARL เข้ามาด้วย
🔸️ ค่าโดยสาร
🔸️ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์
.
หากดูผลตอบแทนกับการลงทุนทั่วไปอาจตั้งคำถามว่าคุ้มค่าหรือไม่ กับความเสี่ยงในการลงทุนไม่ว่าจะสร้างเสร็จทันไหม หากเสร็จทันในอีก 4 - 5 ปี จะเดินรถแล้วมีผู้โดยสารได้ตามที่คาดการณ์หรือเปล่า จะทันกับภาระดอกเบี้ยที่ต้องกู้เงินลงทุนใช่หรือไม่ นี่เป็นสมการพื้นฐานที่ต้องคิด แต่หากมองให้ดีธุรกิจในอาณาจักร CP ที่มีอยู่อย่างมหาศาล กับพื้นที่เชิงพาณิชย์ซึ่งมีที่ทางรองรับใกล้กลับจุดที่สถานีตั้งอยู่เข้ามาประกอบด้วยแล้ว โอกาสการลงทุนก็มหาศาลเช่นกัน
.
ขณะที่ความคืบหน้าโครงการ ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ในมือ CP แล้วจะราบรื่นเสียหมด เพราะหลายส่วนขึ้นอยู่กับ การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีหลายเรื่องต้องจัดการ โดยเฉพาะการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งพบสารพัดปัญหาไม่ว่าจะเร่งรัดเวนคืนที่ดิน ย้ายผู้บุกรุก รื้อย้ายสาธารณูปโภค ยกเลิกสัญญาเช้า และการขอใช้พื้นที่จากหน่วยงานรัฐเพิ่ม ตัวแปรสำคัญที่น่าเป็นห่วงของโครงการนี้ว่าจะผลักดันให้ประสบความสำเร็จหรือไม่ ก็คงอยู่ที่รัฐบาลและการรถไฟไทยจะเป็นผู้ตอบ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/09/2020 6:37 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ บ้านเกิดเมืองนอน: ใครขวางรถไฟไทย-จีน?
แนวหน้า ฉบับวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563
โดย สิริอัญญา

การเชื่อมต่อประเทศไทยเข้ากับเส้นทางสายไหมโดยเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ได้เริ่มขึ้นก่อนประเทศใดๆ ในอาเซียน ซึ่งช่วงนั้นประเทศไทยเพิ่งเกิดสถานการณ์รัฐประหารใหม่ๆ กำลังถูกกดดันแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจ ถึงขั้นที่ใกล้จะแซงก์ชั่น ระดับรุนแรงกับ คสช.

ในสถานการณ์อันคับขันนั้นประธานาธิบดีปูติน และประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้มีแถลงการณ์แสดง ความเชื่อมั่นต่อการตัดสินใจของกองทัพไทย และตั้งความหวังว่าประเทศไทยจะสามารถฝ่าฟันความยากลำบากได้ด้วยดี

จากนั้นอิหร่านและอินเดียก็ได้แสดงท่าทีไปในทางเดียวกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยือนระดับรองนายกรัฐมนตรีระหว่างไทยกับอินเดียและระหว่างไทยกับอิหร่านตามมา

หลังจากนั้นความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างไทยกับรัสเซีย จีน อินเดีย และอิหร่าน ก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหนึ่งในโครงการความร่วมมือนั้นก็คือการเชื่อมต่อประเทศไทยเข้ากับเส้นทางสายไหมโดยรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับเส้นทางคุนหมิง-เวียงจันทน์ มายังจังหวัดหนองคาย

และจากจังหวัดหนองคายก็จะเชื่อมต่อมายังโคราช จากโคราชมายังกรุงเทพฯ และระหว่างทางคือที่จังหวัดสระบุรีก็จะเชื่อมต่อไปยังแหลมฉบัง มาบตาพุด ซึ่งแน่นอนว่าโครงการระยะถัดไปก็คือการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ผ่านภาคใต้ของประเทศไทยด้วย

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคณะได้เดินทางไปประเทศจีนและได้เจรจากับคณะผู้นำจีนที่เรือนรับรองเตี้ยวหยูไถ่ ในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 โดยตกลงกันที่จะร่วมกันสร้างทางรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว ทั้งนี้ฝ่ายไทยได้ขอให้จีนช่วยรับซื้อข้าวเน่าซึ่งล้นคลังทั้งประเทศจำนวน 1 ล้านตัน ข้าวใหม่ 1 ล้านตัน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทย พร้อมด้วยยางพาราอีก 200,000 ตัน

สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบ ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลทั้งสอง และต่อมาได้มีการลงนามในข้อตกลงกันที่กรุงเทพฯ โดยนายกรัฐมนตรีไทยและจีนเป็นสักขีพยานให้แก่การลงนามความร่วมมือดังกล่าวระหว่างส่วนราชการของทั้งสองประเทศ

หลังจากนั้น พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการรถไฟความเร็วสูงและคณะผู้แทนฝ่ายไทยได้ประชุมทำความตกลงกับคณะผู้แทนฝ่ายจีนในส่วนที่ เกี่ยวกับรถไฟ กำหนดแบบรางให้เป็นแบบมาตรฐาน กำหนดความเร็วที่ 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และกำหนดประเภทการใช้งานให้ใช้งานขนส่งได้ทั้งคนและสินค้า

ได้มีการจัดทำแผนการก่อสร้างตามข้อตกลงที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบทั้งสามเส้นทาง คือ หนองคาย-โคราช, โคราช-กรุงเทพฯ และสระบุรี- แหลมฉบัง-มาบตาพุด โดยกำหนดแผนงานการก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2565

ความตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นและสำเร็จก่อนประเทศอาเซียนใดๆ แต่แล้วก็เกิดการพลิกผันขึ้น ประเทศที่เคยแสดงท่าทีกดดันข่มเหงจะแซงก์ชั่นประเทศไทยได้พลิกท่าทีใหม่ หันมาเอาอกเอาใจ จากนั้นความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น

เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีคมนาคม โดยรัฐมนตรีใหม่และรองนายกรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบซึ่งเปลี่ยนใหม่ได้เปลี่ยนนโยบายจากข้อตกลงเดิมที่ว่าจ้างจีนดำเนินการให้เป็นการร่วมลงทุน ซึ่งต้องมีการเจรจาเรื่องการลงทุนกันใหม่ จากนั้นก็มีข่าวคราวการโจมตีโครงการนี้อย่างขนานใหญ่

หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงใหม่อีก จากแนวความคิดที่จะร่วมกันลงทุนกลับมาเป็นการว่าจ้าง โดยรัฐบาลไทยเป็นผู้ว่าจ้าง

จากนั้นก็เปลี่ยนแปลงโครงการอีกครั้งหนึ่ง คือแทนที่จะสร้างทางรถไฟต่อเนื่องกันก็ตกลงที่จะก่อสร้างเพียงเส้นทางเดียวก่อน คือกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทาง 200 กว่ากิโลเมตร ซึ่งมีฐานะเป็นเพียงเส้นทางรถไฟภายในประเทศ

ถ้าจะเบี้ยวกันอย่างนี้และเบี้ยวกันให้ถูกต้องก็ขอสร้างเพียงสถานีเดียวก่อนก็ยังดีกว่า คือจากสถานีจังหวัดหนองคายข้ามแม่น้ำโขงระยะทาง 16 กิโลเมตร ไปยังนครเวียงจันทน์ก็จะเชื่อมต่อกับเส้นทางสายไหมของโลกได้ และจะรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาประเทศไทยได้ที่จังหวัดหนองคาย

แต่กลับไม่ทำเช่นนั้น และทำข้อตกลงที่จะสร้าง เส้นทางภายในประเทศก่อน คือจากกรุงเทพฯ ไปยังโคราช

จากนั้นก็เปลี่ยนแปลงโครงการใหม่อีกครั้งหนึ่ง จากเส้นทางสายเดียวกรุงเทพฯ-โคราช ก็ตกลงกันที่จะแบ่งการก่อสร้างออกเป็นสี่ช่วง คือจากบ้านกลางดงมายังบ้านปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร, จากบ้านปางอโศก เข้ามายังทางกรุงเทพฯ ระยะทาง 10 กิโลเมตรเศษ และจากปลายทางดังกล่าวเข้ามาทางกรุงเทพฯ ราว 100 กิโลเมตร และจากบ้านกลางดงไปยังโคราชอีกราว 100 กิโลเมตร เมื่อแบ่งเป็นสี่ช่วงดังกล่าวแล้วก็ตกลงกับจีนขอเริ่มช่วงแรกก่อน แต่มอบให้กรมทางหลวงซึ่งไม่เคยทำทางรถไฟเป็นผู้จัดทำ

ในขณะที่จีนได้รับซื้อข้าวเน่า ข้าวดี และยางพาราเรียบร้อยไปแล้ว และบัดนี้เวลาผ่านไปสองปีครึ่งนับแต่เริ่มการก่อสร้างช่วงแรก เส้นทางมหัศจรรย์ของโลกคือทางรถไฟระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ที่เริ่มต้นสร้างจากกลางดงกลางป่าก็จะแล้วเสร็จลงในปลายเดือนกันยายนนี้ ใช้เวลาก่อสร้างรวม 2 ปี 6 เดือน ก็นึกดูกันเองก็แล้วกันว่าอีกสามช่วงที่เหลือระยะทาง 200 กว่ากิโลเมตร จะใช้เวลาสักกี่ปี

และเส้นทางจากสระบุรีไปแหลมฉบัง มาบตาพุด รวมทั้งจากโคราชไปยังหนองคาย จะต้องใช้เวลาอีกกี่สิบปี ในขณะที่รถไฟจีน-ลาว ซึ่งตกลงกันหลังประเทศไทยนับปี ระยะทางเกือบ 300 กิโลเมตร ผ่านหุบเขา ภูเขา เหวลึก จะแล้วเสร็จในปลายปี 2564 นี้

ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องปกติ จึงต้องตั้งคำถามกันว่าใครขัดขวางโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน?
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/09/2020 12:31 pm    Post subject: Reply with quote

โชว์รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายรถไฟไทยจีนอืด
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 29 ก.ย. 2563 เวลา 07:40 น.

โชว์ผลงานรัฐวิสาหกิจเร่งเครื่องเบิกจ่ายงบลงทุน 3 โครงการใหญ่ “รถไฟไทยจีน-พัฒนาสุวรรณภูมิ-ทางด่วนพระราม3” ยังเบิกจ่ายแสนอืด
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร. ได้ติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 2563 ของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแล โดย ณ สิ้นเดือน ส.ค. 2563 มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจำนวน 160,498 ล้านบาท หรือคิดเป็น 82% ของแผนการเบิกจ่ายสะสมและในกรณีที่ไม่รวมโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ดำเนินการล่าช้ามาอย่างต่อเนื่องจะทำให้ในภาพรวมรัฐวิสาหกิจมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมคิดเป็น 95% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม โดย สคร. ยังคงติดตามดูแลโครงการลงทุนที่เบิกจ่ายล่าช้าอย่างใกล้ชิด

“สำหรับงบลงทุนปี 2564 ที่กำลังจะเริ่มในเดือน ต.ค. นี้ สคร. ได้เตรียมความพร้อมในการติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนปี 2564 อย่างใกล้ชิด โดยให้ความสำคัญกับการเร่งรัดโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศและจะกำกับดูแลให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจมีความสอดคล้องกับมาตรการการบริหารเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาวของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) ต่อไป” นายประภาศ กล่าว

นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ สคร. กล่าวว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง แบ่งเป็นการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ 34 แห่ง จำนวน 84,792 ล้านบาท หรือคิดเป็น 69% ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 11 เดือน (ตั้งแต่เดือน ต.ค. 62 – ส.ค. 63) และการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน 10 แห่ง จำนวน 75,706 ล้านบาท หรือคิดเป็น 104% ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 8 เดือน (ตั้งแต่เดือน ม.ค. – ส.ค. 2563)

นอกจากนี้ ในกรณีที่ไม่รวมโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ติดประเด็นทางเทคนิคและดำเนินการล่าช้ามาอย่างต่อเนื่อง 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะทำให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณคิดเป็น 87% ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม

“จะเห็นได้ว่าการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งปีงบประมาณและปีปฏิทินส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับที่ดีมาก โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเบิกจ่ายได้เกินกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าภาคใต้ตอนล่างและภาคตะวันตกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)” นางสาวปิยวรรณ กล่าว

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/09/2020 3:37 pm    Post subject: Reply with quote

ประยุทธ์ เตรียมลงนามรถไฟไทย-จีน วงเงิน 5 หมื่นล้าน 29 ต.ค. 63
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 29 กันยายน 2563 - 15:17 น.

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ ปรับกรอบวงเงินและร่างข้อตกลงการจ้างและสัญญาจ้างสัญญางาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ฉบับสมบูรณ์ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา)

สำหรับในส่วนของการปรับกรอบวงเงินนั้น ครม.เห็นชอบปรับกรอบวงเงินของสัญญางานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ที่ ครม. เคยอนุมัติไว้เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2560 จาก 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.50 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 12,075.12 ล้านบาท ซึ่งไม่กระทบกับกรอบวงเงินรวมของโครงการ และให้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของสัญญา 2.3 และให้รัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ทั้งนี้ในส่วนของกรอบวงเงินที่เพิ่มขึ้นนั้นประกอบด้วย

1.การย้ายขอบเขตงานของงานระบบรถไฟความเร็วสูงที่ซ้อนทับอยู่ในขอบเขตของงานโยธาเป็นเงิน 7,032.78 ล้านบาท ซึ่งเป็นงานจัดซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Maintenance) สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับขบวนรถไฟฟ้า (EMU Facility) โรงเชื่อมรางและกองเก็บ (Track Welding and Storage Base) และโรงกองเก็บราง (Long Track Storage Base) จึงได้ย้ายขอบเขตงานจากงานโยธาไปไว้ยังงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลฯ

2.การเปลี่ยนรุ่นขบวนรถ EMU จากรุ่น CRG2G (Hexie Hao) เป็น CR Series (Fuxing Hao) ซึ่งเป็นรถรุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีและสมรรถนะที่ดีกว่า เป็นเงินเพิ่มขึ้น 2,530.38 ล้านบาท

3. การปรับเปลี่ยนทางแบบใช้หินโรยทาง (Ballasted Track) เป็นทางแบบไม่ใช้หินโรยทาง (Ballastless Track) ในทางวิ่งช่วงสถานีบางซื่อ – สถานีดอนเมือง ในสถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง สถานีนครราชสีมา และภายในอุโมงค์เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในอนาคต อีกทั้งยังรักษาภาพลักษณ์และทัศนียภาพตลอดจนมลภาวะต่างๆ ที่จะเกิดจากการซ่อมบำรุงทางในสถานีซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองและภายในอุโมงค์ คิดเป็นค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนโครงสร้างทาง เป็นเงินทั้งสิ้น 2,227.57 ล้านบาท และ

4.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ารับประกันผลงานจากความชำรุดบกพร่องจาก 1 ปี เป็น 2 ปี ตามระเบียบฯ ค่าดำเนินการต่าง และอื่นๆ เป็นจำนวนเงิน 284.39 ล้านบาท

ส่วนสาระสำคัญของร่างสัญญางานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3)มีดังนี้คือ เป็นสัญญาการจ้างรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นตัวแทนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีประสบการณ์ตรงด้านการพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่ได้รับการรับรองคุณภาพและประสิทธิภาพจาก National Development and Reform Commission แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD. และ CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) มาเป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง ติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูง จัดหาขบวนรถไฟ และฝึกอบรมบุคลากร ชื่อสัญญาภาษาอังกฤษว่า The Trackwork, Electrical and Mechanical (E&M) System, EMU, and Training Contract มีวงเงินของสัญญา 50,633.50 ล้านบาท

ระยะเวลาเริ่มต้นของสัญญาแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1.การเริ่มต้นงานออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูง และออกแบบระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนออกแบบขบวนรถไฟ 2.การเริ่มต้นงานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และ 3.การเริ่มต้นงานก่อสร้าง ติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูงที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาสิ้นสุดสัญญา 64 เดือน คาดว่าจะลงนามในสัญญาในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมจะเป็นประธานลงนามสัญญ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/09/2020 6:24 am    Post subject: Reply with quote

มติ ครม.
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ชื่อว่า "บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยเห็นชอบให้ ร.ฟ.ท.กู้ยืมเงินจำนวน 200 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนเป็นทุนจดทะเบียน โดยที่ ร.ฟ.ท.รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน โดย ร.ฟ.ท.เป็นผู้ถือหุ้น 100%

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมรายงานถึงความจำเป็นในการจัดตั้งบริษัทลูกในครั้งนี้ว่า ร.ฟ.ท.มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ เพื่อการเดินรถจำนวน 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท แต่มี รายได้ผลตอบแทนจากการบริหารสินทรัพย์ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของมูลค่าสินทรัพย์

ที่มาของรายได้ 1.รายได้จากค่ารับจ้างบริหารสัญญาเช่าเดิม จำนวน 15,270 สัญญา เช่น 5% ของรายได้จากค่าบริหารสัญญา โดยสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของ ร.ฟ.ท. 2.รายได้ จากการให้เช่าช่วงสัญญาเช่าเดิมที่หมดสัญญา เป็นรายได้จากการเช่าช่วง ร่วมทุน หรือพัฒนาที่ดินเดิมที่หมดอายุสัญญา และ 3.รายได้จากโครงการร่วมลงทุนกับเอกชนและการพัฒนาพื้นที่ดินเปล่าแปลงอื่น ๆ นอกจากนี้ในอนาคตอาจมีรายได้จากการขายกระแสเงินสดในอนาคตให้กับกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

ผลประโยชน์ที่จะได้รับในระยะเวลา 30 ปี 631,628 ล้านบาท เพียงพอแก้ไขปัญหาหนี้สินในปัจจุบัน ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2562 ภาระหนี้สินรวม 177,611 ล้านบาท
29 ต.ค.เซ็นระบบรถไฟไทย-จีน

เห็นปรับกรอบวงเงินและร่างข้อตกลงการจ้างและสัญญาจ้างสัญญางาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝิกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ฉบับสมบูรณ์ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) จากเดิม 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.50 ล้านบาท

โดยเพิ่มขึ้น 12,075.12 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.การย้ายขอบเขตงานของงานระบบรถไฟความเร็วสูงที่ซ้อนทับอยู่ในขอบเขตของงานโยธาเป็นเงิน 7,032.78 ล้านบาท 2.การเปลี่ยนรุ่นขบวนรถ EMU จากรุ่น CRG2G (Hexie Hao) เป็น CR Series (Fuxing Hao) 2,530.38 ล้านบาท

3. การปรับเปลี่ยนทางแบบใช้หินโรยทาง (ballasted track) เป็นทางแบบไม่ใช้หินโรยทาง (ballastless track) ในทางวิ่งช่วงสถานีบางซื่อสถานีดอนเมือง ในสถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง สถานีนครราชสีมา และภายในอุโมงค์ 2,227.57 ล้านบาท และ 4.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 284.39 ล้านบาท

สาระสำคัญของร่างสัญญา 2.3 ดังนี้ เป็นสัญญาการจ้างรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD. และ CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) วงเงินของสัญญา 50,633.50 ล้านบาท

ระยะเวลาเริ่มต้นของสัญญาแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1.การเริ่มต้นงานออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูง และออกแบบระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนออกแบบขบวนรถไฟ 2.การเริ่มต้นงานฝิกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และ 3.การเริ่มต้นงานก่อสร้าง ติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูงที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาสิ้นสุดสัญญา 64 เดือน คาดว่าจะลงนามในสัญญาในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมจะเป็นประธานลงนามสัญญา

หนี้สาธารณะพุ่ง 57.23%

ครม.อนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ประกอบด้วย 1.แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงินรวม 1,465,438.61 ล้านบาท 2.แผนการบริหารหนี้เดิม วงเงินรวม 1,279,446.80 ล้านบาท

และ 3.แผนการชำระหนี้ วงเงินรวม 387,354.84 ล้านบาท โดยมีความจำเป็นต้องใช้นโยบายการคลังในการฟี้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องผ่านวงเงินดังนี้

1.การกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้แผนงานตาม พ.ร.ก.กู้เงินโควิด-19 พ.ศ. 2563 2.การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 3.การกู้เงินเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง 4.การกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่รัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ทั้งนี้ ประมาณการหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 57.23 ซึ่งอยู่ภายใต้ กรอบการบริหารหนี้สาธารณะตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2020 6:21 pm    Post subject: Reply with quote

^^^^
พิ่มกรอบวงเงินรถไฟเร็วสูงกรุงเทพ–หนองคาย จาก 38,558 ล้านบาท เป็น 50,633 ล้าน
https://www.dailynews.co.th/economic/798299

สำเร็จแล้วตั้งบริษัทลูกรถไฟ ล้างหนี้แสนล้านเสร็จใน 30 ปี
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
30 กันยายน 2563 เวลา 08:47 น.

ครม.เห็นชอบ รฟท.ตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์สักกะที คาด 30 ปี มีรายรับ 631,628 ล้านบาท จากการบริหารที่ดินทำเลทองในมือ 38,469 ไร่ มูลค่า 300,000 บาท ให้สามารถล้างหนี้ปัจจุบัน 177,611 ล้านบาทได้เกลี้ยงเกลา เคาะเพิ่มกรอบวงเงินรถไฟเร็วสูงกรุงเทพ–หนองคาย จาก 38,558 ล้านบาท เป็น 50,633 ล้าน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2020 1:18 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ประยุทธ์ เตรียมลงนามรถไฟไทย-จีน วงเงิน 5 หมื่นล้าน 29 ต.ค. 63
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 29 กันยายน 2563 - 15:17 น.


ต่างประเทศรายงานข่าวแบบนี้
Thailand increases Bangkok-Nong Khai high-speed rail budget
30 September 2020 (Last Updated September 30th, 2020 11:12)

Thailand has agreed to increase the budget of a high-speed rail project that will connect the capital city of Bangkok with the northern province of Nong Khai.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2020 10:45 am    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟความเร็วสูงอุดรธานี สุดอลังการ รวมสถานีรถไฟความเร็วสูงและทางคู่อยู่ในโครงการเดียวกัน
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
30 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 20:00 น.


ต่อเนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอิสานช่วงที่ 2 ช่วง โคราช-หนองคาย ที่เรา update รายละเอียดโครงการมาหลายๆสถานี

วันนี้ถึงคิวของของสถานีรถไฟความเร็วสูงอุดรธานี ซึ่งมีการปรับปรุงแบบร่างสถานีรถไฟความเร็วสูงใหม่ตามคอมเมนท์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ

ซึ่งรอบนี้ทางที่ปรึกษาได้นำข้อเสนอแนะของโครงการไปปรับปรุง ในส่วนสำคัญมาก คือการรวมอาคารสถานี ของโครงการรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูงมารวมกันในอาคารเดียวกัน (เนื่องจากโครงการทางคู่พื้นที่อุดรธานี ยังไม่เริ่มก่อสร้าง) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องการเดินทางระหว่างรถไฟความสูง และรถไฟทางคู่ ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกัน

—————————
เรามาดูรายละเอียดของสถานีรถไฟความเร็วสูงอุดรธานีกันครับ

ตำแหน่งสถานีรถไฟความเร็วสูงอุดรธานี อยู่บริเวณสถานีรถไฟในปัจจุบัน ติดถนนทองใหญ่

โดยพื้นที่โดยรอบสถานีเป็นพื้นที่ธุรกิจของเมือง เช่นห้าง UD Town, เซ็นทรัลอุดรธานี และโรงพยาบาลกรุงเทพอุดร

รูปแบบตัวสถานีเป็นอาคาร 3 ชั้น

เป็นรูปแบบอาคารร่วมกันระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง และสถานีรถไฟทางคู่ อุดรธานี มาอยู่ในพื้นที่และโครงสร้างเดียวกัน

มีทางเข้าออก 2 ด้าน คือ
- ทางเข้าหลัก อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ติดกับวงเวียนหน้าสถานี บริเวณสถานีรถไฟปัจจุบัน
- ทางเข้ารอง อยู่บริเวณทิศตะวันออก ติดถนนเลียบทางรถไฟ

ชั้นที่ 1 ชั้นขายตั๋ว ซึ่งจะแบ่งพื้นที่เป็น 2 โซน คือ

- โซนทางคู่ อยู่ติดกับทางเข้าหลัก เป็นพื้นที่ขายตั๋วและสำนักงานสถานีรถไฟทางคู่

รวมถึงเป็นทาง ขึ้น-ลง ชานชาลา ทางคู่อีกด้วย

- โซนความเร็วสูง อยู่ติดกับทางเข้ารอง เป็นพื้นที่ขายตั๋วของโครงการความเร็วสูง

ชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่ชานชาลารถไฟของโครงการทางคู่ และโถงพักคอยผู้โดยสาร ก่อนขึ้นรถไฟ

ซึ่งจะมีทั้งห้องติดแอร์ และไม่ติดแอร์ เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร รวมถึงเป็นพื้นที่ติดตั้งงานระบบของสถานีรถไฟความเร็วสูง

ชั้น 3 เป็นชานชาลา มี 2 ชานชาลาข้าง แต่มีทางรถไฟ 4 ทาง เพื่อให้มีทางรถไฟรองรับรถไฟด่วนผ่านสถานี

————————————
รูปแบบการออกแบบภายนอกสถานี

การออกแบบหลัก อาคารเป็นรูปแบบโมเดิร์นผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่นในรายละเอียด

รูปแบบหลังคาด้านหน้าบริเวณจุดส่งผู้โดยสาร และตัวโถงจำหน่ายตั๋วโซนทางคู่ เป็นแบบโค้งขึ้นสอดคล้องกัน

พร้อมกับมีการตกแต่งด้วยลายจากเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งอารยธรรมโบราณในจังหวัดอุดรธานี

เช่นลายสามเหลี่ยมนำมาใช้ใต้หลังคาทางเข้าหลัง และฟาซาดอาคาร และลายโค้งของตัวเครื่องปั้นดินเผา นำมาเป็นฟาซาดโถงจำหน่ายตั๋วทางคู่

ด้านหน้าสถานีมีการทำสัญลักษณ์วงเวียนด้านหน้าสถานี เป็นรูปเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง เป็นลักษณะ เหมือนถูกดึงเส้นสายออกมาจากโถ ทำให้ดูเด่น และน่าสนใจมากขึ้น

ส่วนตัวมองว่าสถานีนี้ออกแบบได้สวย พร้อมกับการใช้งานและรักษาที่ไม่ยุ่งยาก เชียร์แบบนี้เต็มที่เลยครับ

————————————
การตกแต่ภายในสถานี

มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถานี ร่วมกับผ้าทออิสาน มาเป็นสถาปัตยกรรมหลักในการตกแต่ง ภายในตัวสถานี ตั้งแต่พื้นที่จำหน่ายตั๋ว มาจนถึงห้องพักคอยผู้โดยสาร

————————————
รูปแบบทางวิ่ง

สถานีเป็นทางยกระดับ โดยจะยกระดับตั้งแต่จุดตัดถนน216 (เลี่ยงเมืองอุดร) ผ่านสถานีอุดร ข้ามถนนมิตรภาพ ไปจนถึงเลยสถานีหนองตูม ถึงจะลงระดับดินอีกครั้ง คู่ขนานทางรถไฟทางคู่ไปตลอดเส้นทาง

————————————
ใครอยากเสนอแนะ หรือสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อไปที่ปรึกษาได้ตามรายละเอียดข้างล่างครับ

เพจ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย

เว็บไซต์ https://www.hsrkorat-nongkhai.com
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2020 12:41 pm    Post subject: Reply with quote

“สุชัชวีร์” เรียกร้อง สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่พื้นที่ชุมชน พระจอมเกล้า-หัวตะเข้
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ Suchatvee Suwansawat
30 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 12:27 น.
“รถไฟความเร็วสูงมา!! ชุมชนต้องได้ประโยชน์”

Note: ท่าจะไม่ไหว เพราะ สถานีลาดกระบัง ของ Airport Link กะ เทคโนลาดกระบังกะหัวตะเข้ ห่างกัน สี่กิโลเมตร แต่ถ้าจะเป็นสถานีคุมการเดินรถ เวลาเข้าทางสามเหลี่ยมสุวรรณภูมิ หละก็เหมาะ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 383, 384, 385 ... 542, 543, 544  Next
Page 384 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©