Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311323
ทั่วไป:13285843
ทั้งหมด:13597166
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 407, 408, 409 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/05/2021 8:08 pm    Post subject: Reply with quote

คืบหน้ารถไฟไฮสปีด เชื่อมอีอีซี เคลียร์พื้นที่ก่อสร้าง 86%
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 - 16:08 น.

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เคลียร์พื้นที่ก่อสร้าง 86% รวม 5,521 ไร่ คู่ขนานยกระดับบริการแอร์พอร์ต ลิงก์ มั่นใจเปิดบริการปี 2568

วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ได้นำเสนอความก้าวหน้าการลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (EEC Project list) ภายหลังได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (เอกชนคู่สัญญา) ได้ร่วมกันเดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญ ๆ ได้แก่

ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง คืบหน้า 86 %

การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เตรียมการส่งมอบพื้นที่ในช่วงสนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ในการดำเนินโครงการประมาณ 5,521 ไร่ งานมีความคืบหน้า 86% ให้กับเอกชนคู่สัญญาแล้ว นอกจากนี้ การรื้อย้ายสาธารณูปโภคเพื่อเปิดพื้นที่ก่อสร้าง การส่งมอบพื้นที่เวนคืน อยู่ในขั้นตอนการทำสัญญาของรฟท. ที่เดินหน้าดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อเนื่องเช่นกัน และจะพร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ทั้งหมด ภายในเดือนกันยายน 2564 นี้

เริ่มงานก่อสร้าง พร้อมเปิดบริการปี 2568

งานก่อสร้างโครงการ ฯ จะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม โดยปัจจุบันบริษัท ฯ เอกชนคู่สัญญา ได้ดำเนินการออกแบบ และเริ่มงานเตรียมการก่อสร้าง (early work) เช่น ก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราวสำหรับงานก่อสร้างโครงการ (access road and temporary bridge) ก่อสร้างสำนักงานสนาม (site office) บ้านพักคนงาน (labour camp) และก่อสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนโครงสร้างทางวิ่ง (concrete yard) แล้ว โดยมีความพร้อมเริ่มงานก่อสร้างโครงการฯ ทันที เมื่อได้รับมอบพื้นที่โครงการฯ ช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา จาก รฟท. โดยจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4-5ปี และจะเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงช่วงพญาไท สุวรรณภูมิ ถึงอู่ตะเภา ในปี 2568 ตามแผนเร่งรัด

ยกเครื่องแอร์พอร์ต ลิงก์ โฉมใหม่

การส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ขณะนี้รฟท. พร้อมส่งมอบให้เอกชนคู่สัญญา ซึ่งยืนยันว่าผู้โดยสารจะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ระหว่างการถ่ายโอนกิจการในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 นี้ โดยเฉพาะเรื่องบัตรโดยสาร ยังสามารถใช้บัตรโดยสารรายเดือนเดิมของ รฟท.ได้ต่อไปหลังการถ่ายโอน และเอกชนคู่สัญญาจะทยอยให้ผู้โดยสารเปลี่ยนบัตรโดยสารใหม่ต่อไป

ด้านความพร้อมของเอกชนคู่สัญญา ในช่วงก่อนการรับโอนสิทธิ์เพื่อเข้าดำเนินโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ได้ประกาศใช้งบประมาณสูงถึง 1.7 พันล้านบาท นำผู้เชี่ยวชาญการเดินรถและให้บริการระบบรางทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ ลงพื้นที่ตรวจสอบระบบอย่างละเอียด พร้อมทั้งสำรวจสภาพทางเทคนิคของสถานี ระบบรถไฟฟ้า เตรียมความพร้อมปรับปรุงสถานี พัฒนาด้านบุคลากรเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงการปรับปรุงเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ (Level of Service and Customer Satisfaction) ซึ่งได้เสนอมายัง รฟท. มีข้อสรุปร่วมกัน ดังนี้


ปรับปรุงระบบไฟฟ้าที่จำเป็น เช่น ระบบติดต่อสื่อสารทางวิทยุ ระบบอาณัติสัญญาณควบคุมการเดินรถไฟฟ้า เพื่อให้ขบวนรถมาตรงเวลามากขึ้น รวมทั้งปรับปรุงระบบกล้องวงจรปิด รักษาความปลอดภัยผู้โดยสาร ระบบรางรถไฟฟ้า ระบบป้องกันอัคคีภัย และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกภายในขบวนรถไฟฟ้า เป็นต้น

ปรับปรุงสถานีรถไฟ เช่น ป้ายสัญลักษณะและบอกทาง ปรับปรุงทางเดิน สิ่งอำนวยความสะดวกสถานีและเพิ่มห้องน้ำสาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียวและปรับปรุงระบบการจราจร ที่จอดรถโดยรอบ เพิ่มระบบแสงสว่างเพื่อความปลอดภัย เพิ่มพัดลมระบายอากาศ แผงกันสาดป้องกันแสงแดดและฝนภายในสถานี เพื่อสร้างความสะดวกสบายยิ่งขึ้น

ปรับเปลี่ยนตู้ขนสัมภาระจำนวน 4 ตู้ ให้เป็นตู้รองรับผู้โดยสารแทน โดยจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1,000 คนต่อชั่วโมง ลดการรอคอยขบวนรถไฟในชั่วโมงเร่งด่วนที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน

สำหรับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นโครงการสัญญาร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ทุกขั้นตอนดำเนินการโปร่งใส รัดกุม และประเทศได้ประโยชน์สูงสุด มีมูลค่าการลงทุนรวม กว่า 257,464 ล้านบาท (ภาครัฐ 157,872 ล้านบาท และเอกชน 99,592 ล้านบาท) เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักในพื้นที่อีอีซี เพื่อดึงดูดการลงทุนต่อเนื่อง

เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์สามารถเชื่อมต่อกับการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา คาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 650,000 ล้านบาท รวมถึงการจ้างงานตลอดช่วงระยะเวลาการก่อสร้างสูงถึง 16,000 อัตรา และการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากกว่า 100,000 อัตราใน 5 ปี และเมื่อสิ้นสุดสัญญาทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2021 12:00 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เช็กอัพไฮสปีดไทยจีน สั่งเร่งผ่าทางตัน “ทับซ้อนบางซื่อ-ดอนเมือง”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 - 17:56 น.


“ศักดิ์สยาม” ตรวจงาน “ไฮสปีดไทย-จีน” เช็กอัพ 14 สัญญาก่อสร้างพบเสร็จแล้ว 1 /ก่อสร้าง 6/เตรียมสร้าง 3/ ประกวดราคา 4 ก่อนเร่งทุกหน่วยงานผ่าทางตันปมโครงสร้าง “บางซื่อ – ดอนเมือง” ทับซ้อนไฮสปีด 3 สนามบิน และ “สถานีอยุธยา” ปมมรดกโลก

วันที่ 27 พ.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 2/2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม “Zoom” การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย หรือโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน

เช็กสถานะเฟส 1: เสร็จ 1/สร้าง 6/เตรียม 3/ประกวดราคา 4
โดยระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท มีสัญญางานโยธาจำนวน 14 สัญญา มีความก้าวหน้า ดังนี้

ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา เตรียมการก่อสร้าง 3 สัญญา อยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา 4 สัญญา โดยในระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง 356 กม.ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษา และออกแบบรายละเอียด เพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ต่อไป


และกระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 เพื่อหารือร่วมกับฝ่ายจีนในการดำเนินงานในระยะต่อไป พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน จำนวน 3 คณะ ได้แก่คณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ คณะอนุกรรมการพัฒนาการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และคณะอนุกรรมการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อขับเคลื่อนดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



ผ่าทางตัน “บางซื่อ-ดอนเมือง” – “สถานีอยุธยา”
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีข้อสั่งการ ดังนี้

1. ให้กระทรวงคมนาคมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในประเด็นการก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาร่วม ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ให้ได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ต่อไป

2. ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแนวทางก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ว่าสามารถดำเนินการได้ตามมติคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกหรือไม่

3. ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการจัดทำแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างไทย-ลาว-จีน

โดยพิจารณาแนวทางเลือกข้อดี – ข้อเสีย ด้านต่างๆ เพื่อหารือกับฝ่ายจีนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2021 12:31 am    Post subject: Reply with quote

อัพเดทล่าสุด รถไฟไทย-จีน เฟส 2 คืบหน้าถึงไหนแล้ว
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 - 17:49 น.

“คมนาคม” เร่งสปีดสร้างรถไฟไทย-จีน เฟส 2 คาดศึกษาออกแบบเสร็จ ภายในเดือนมิ.ย.นี้ สั่งตั้งคณะทำงาน 3 กลุ่ม ลุยหารือฝ่ายจีน เดินหน้าก่อสร้าง


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 2/2564 ว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย หรือโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน โดยระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา มีสัญญางานโยธาจำนวน 14 สัญญา มีความก้าวหน้า ดังนี้ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา เตรียมการก่อสร้าง 3 สัญญา อยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา 4 สัญญา


นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินของที่ปรึกษาโครงการศึกษา และออกแบบรายละเอียด คาดออกแบบแล้วเสร็จและตรวจรับงานภายในเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ต่อไป และกระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 เพื่อหารือร่วมกับฝ่ายจีนในการดำเนินงานในระยะต่อไป เบื้องต้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน จำนวน 3 คณะ ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ 2.คณะอนุกรรมการพัฒนาการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และ3.คณะอนุกรรมการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อขับเคลื่อนดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น “เราได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในประเด็นการก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาร่วม ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ให้ได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อไป และพิจารณาแนวทางก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ว่าสามารถดำเนินการได้ตามมติคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกหรือไม่ รวมทั้งให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการจัดทำแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างไทย-ลาว-จีน โดยพิจารณาแนวทางเลือกข้อดี – ข้อเสีย ด้านต่างๆ เพื่อหารือกับฝ่ายจีนต่อไป”อัพเดทล่าสุด รถไฟไทย-จีน เฟส 2 คืบหน้าถึงไหนแล้ว
อัพเดทล่าสุด รถไฟไทย-จีน เฟส 2 คืบหน้าถึงไหนแล้ว

สำหรับความก้าวหน้าการออกแบบโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร (กม.) มีสถานีทั้งหมด 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย นาทาและเชียงรากน้อย ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Base) จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา โยมีย่านเก็บกองตู้สินค้าและย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า จำนวน 1 แห่งที่นาทา โดยมีจุดเริ่มต้นที่หลังสถานีนครราชสีมา จุดสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำโขงฝั่งไทย

“ศักดิ์สยาม”เร่งแก้ปัญหา”รถไฟไทยจีน”อืด คาดแบบเฟส2เสร็จมิ.ย.-ตั้งอนุฯ3 ชุดดูระบบเชื่อมต่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เวลา 19:32 น.
ปรับปรุง: วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เวลา 19:32 น.

รถไฟไทย-จีน ติดปัญหาสถานีอยุธยา ติดปมมรดกโลก และช่วงก่อสร้างทับซ้อนไฮสปีด 3 สนามบิน ”ศักดิ์สยาม”สั่งเร่งหาทางออกร่วมอีอีซี พร้อมตั้งอนุฯ3 ชุด ดูระบบเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนไทย-ลาว ส่วน”โคราช-หนองคาย”ออกแบบ เสร็จมิ.ย.นี้ เตรียมพร้อมประชุมครั้งที่ 29

วันที่ 27 พ.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 2/ 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม "Zoom" เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพ ฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมาระยะทาง 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท มีงานโยธาแบ่งเป็น 14 สัญญา โดยก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา เตรียมการก่สร้าง 3 สัญญา อยู่ในขั้นตอนการประกวด ราคา 4 สัญญา

ส่วนในระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม มีจำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 2 แห่ง ที่นาทา และเชียงรากน้อย มีศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Base) 4 แห่ง ที่บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา มีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY)และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่ง ที่นาทา

ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษา และออกแบบรายละเอียด เพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งคาดว่าออกแบบแล้วเสร็จเดือนมิ.ย. 2564 และกระทรวงคมนาคมได้เตรียม
จัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 เพื่อหารือร่วมกับฝ่ายจีนในการดำเนินงานในระยะต่อไป

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย -จีน จำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ ,คณะอนุกรรมการพัฒนาการเชื่อมต่อ และการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และ คณะอนุกรรมการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อขับเคลื่อนดำเนิน โครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้มีข้อสั่งการ เพิ่มเติมอีก 3 ข้อ คือ 1. ให้กระทรวงคมนาคมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ในประเด็นการก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาร่วม ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ให้ได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อไป

2. ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแนวทางก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ว่าสามารถดำเนินการได้ตามมติคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกหรือไม่

3.ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการจัดทำแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างไทย -ลาว-จีนโดยพิจารณาแนวทางเลือกข้อดี - ข้อเสีย ด้านต่างๆ เพื่อหารือกับฝ่ายจีนต่อไป

"ศักดิ์สยาม"ตั้งคณะอนุฯ เข็นโปรเจคท์รถไฟไฮสปีดไทย-จีน
พฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.30 น.

“ศักดิ์สยาม” ตั้งคณะอนุฯ 3 ชุด เร่งเข็นโปรเจคท์รถไฟไฮสปีดไทย-จีน กรุงเทพฯ-หนองคาย สั่ง “คมนาคม” ถกอีอีซีสร้างงานโยธา “บางซื่อ-ดอนเมือง” จี้ปิดจ๊อบสถานีอยุธยา พร้อมหาแนวทางถกจีน เชื่อมรถไฟไทย-ลาว-จีน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วง กรุงเทพฯ-หนองคาย หรือโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน



โดยระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีสัญญางานโยธา 14 สัญญา มีความก้าวหน้าดังนี้ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา เตรียมการก่อสร้าง 3 สัญญา อยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา 4 สัญญา ส่วนเฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษา และออกแบบรายละเอียด เพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ คาดว่าจะตรวจรับงานในเดือน มิ.ย.64 ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 เพื่อหารือร่วมกับฝ่ายจีนในการดำเนินงานในระยะต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน จำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการติดตาม และเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ คณะอนุกรรมการพัฒนาการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และคณะอนุกรรมการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อขับเคลื่อนดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า ได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคม หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในประเด็นการก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาร่วม ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ให้ได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อไป นอกจากนี้ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแนวทางก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาว่า สามารถดำเนินการได้ตามมติคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกหรือไม่ และให้กระทรวงคมนาคมจัดทำแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างไทย-ลาว-จีน โดยพิจารณาแนวทางเลือกข้อดี-ข้อเสีย ด้านต่างๆ เพื่อหารือกับฝ่ายจีนต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2021 1:03 am    Post subject: Reply with quote

สั่งปรับปรุงแอร์พอร์ตลิงก์ เตรียมงบ 1.7 พันล้าน รองรับรถไฟฟ้าสามสนามบิน
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 - 09:51 น.

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด กล่าวถึงภาพรวมโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และความพร้อมในการรับมอบรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ว่า บริษัทมีความพร้อมที่จะดำเนินการรับช่วงต่อจาก ร.ฟ.ท. ได้แบบไร้รอยต่อตามสัญญา ซึ่งเป็นไปตามแผนงาน และกำหนดเวลาที่วางไว้ โดยสั่งการให้ผู้เชี่ยวชาญการเดินรถและให้บริการระบบราง ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศลงพื้นที่ตรวจสอบระบบอย่างละเอียด พร้อมสำรวจความคิดเห็นจากผู้โดยสาร เพื่อนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้พร้อมบริการได้อย่างต่อเนื่องทันทีที่เข้ามารับช่วง โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย และความสะดวกสบาย

ด้านนายสฤษดิ์ จิณสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าตามสัญญาบริษัทจะได้รับมอบสิทธิ์ในการบริหารจัดการรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป แต่หลังจากที่บริษัทได้ส่งผู้เชี่ยวชาญระดับโลกลงพื้นที่ ประกอบกับผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการ ทำให้พบว่ามีความจำเป็นที่บริษัทฯจะต้องลงทุนเพิ่ม เพื่อปรับปรุงระบบและสถานี ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถให้บริการประชาชนได้ทันที


นายสฤษดิ์กล่าวว่า คณะผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมีความเห็นให้ดำเนินการปรับปรุงระบบและสถานีให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน บริษัทจึงมีมติให้อัดฉีดงบประมาณเพิ่มเติมกว่า 1.7 พันล้านบาท สำหรับดำเนินงานล่วงหน้าก่อนรับโอนสิทธิ์ โดยเริ่มวางแผนงานตั้งแต่ต้นปี 2563 และทยอยดำเนินการในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้ ได้แก่
1.การเตรียมการด้านบุคลากร และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
2.การเตรียมความพร้อมด้านระบบ และเทคนิค
3.การเตรียมความพร้อมด้านการปรับปรุงสถานี และการให้บริการ จัดให้มีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้พิการ และกลุ่มเปราะบาง ด้วยการออกแบบอารยสถาปัตย์ (universal design) ซึ่งเป็นการออกแบบเพื่อทุกคน และ
4. การเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย


นอกจากการปรับปรุงการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ก่อนการรับมอบสิทธิ์ตามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินแล้ว บริษัทยังมีแผนการพัฒนาและปรับปรุงในด้านอื่นๆอีกที่จะต้องดำเนินการหลังรับมอบสิทธิ์ อาทิ การปรับปรุงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง (HSR) การปรับปรุงเพื่อเพิ่มความปลอดภัย (Safety and Security) การปรับปรุงเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ (Level of Service and Customer Satisfaction) เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/05/2021 9:47 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟสามสนามบินคืบ ส่งมอบพื้นที่ 86% แล้ว!
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.หรืออีอีซี) เปิดเผยว่า ความก้าวหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ภายหลังได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินจำกัดมีความคืบหน้าที่สำคัญๆ ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เตรียมการส่งมอบพื้นที่ในช่วงสนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภาระยะทาง 170 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ในการดำเนินโครงการ 5,521 ไร่ งานมีความคืบหน้า 86% ให้กับเอกชนคู่สัญญาแล้ว

ขณะที่การรื้อย้ายสาธารณูปโภคเพื่อเปิดพื้นที่ก่อสร้างการส่งมอบพื้นที่เวนคืนอยู่ในขั้นตอนการทำสัญญาของ รฟท.พร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ทั้งหมดภายในเดือน ก.ย.2564 นี้ส่วนงานก่อสร้างจะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม โดยปัจจุบันบริษัทเอกชนคู่สัญญา ได้ดำเนินการออกแบบถนนและสะพานชั่วคราวสำนักงานสนามบ้านพักคนงาน และโรงหล่อชิ้นส่วนโครงสร้างทางวิ่ง พร้อมเริ่มงานก่อสร้างโครงการฯทันทีเมื่อได้รับมอบพื้นที่ และเปิดให้บริการได้ในปี 2568 ตามแผน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2021 12:14 pm    Post subject: Reply with quote



สกพอ. เผยส่งมอบพื้นที่รถไฟความเร็วสูงแล้ว 86% l
เศรษฐกิจ Insight
ช่อง TNN
วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
https://www.youtube.com/watch?v=_ItIBE6L1Ds
https://www.youtube.com/watch?v=HJm73GVElrU
Mongwin wrote:
คืบหน้ารถไฟไฮสปีด เชื่อมอีอีซี เคลียร์พื้นที่ก่อสร้าง 86%
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 - 16:08 น.


Mongwin wrote:
รถไฟสามสนามบินคืบ ส่งมอบพื้นที่ 86% แล้ว!
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564


Last edited by Wisarut on 01/06/2021 11:39 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2021 12:16 pm    Post subject: Reply with quote


มาไกลแล้วนะ โคราชเริ่มแล้ว เปลี่ยนไปหลายจุด ทางรถไฟความเร็วสูง โคราช-สูงเนิน-สีคิ้ว
https://www.youtube.com/watch?v=WeDy5Hje9D4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2021 12:19 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งแก้ปัญหารถไฟไทย-จีน ปมสถานีอยุธยาติดปมมรดกโลก ตั้งอนุฯ3 ชุดดูระบบเชื่อมต่อ

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:59 น.

28พ.ค.2564-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 2/ 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม "Zoom" เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพ ฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมาระยะทาง 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท งานโยธาแบ่งเป็น 14 สัญญา โดยก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา เตรียมการก่สร้าง 3 สัญญา อยู่ในขั้นตอนการประกวด ราคา 4 สัญญา

ส่วนในระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม มีจำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 2 แห่ง ที่นาทา และเชียงรากน้อย มีศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Base) 4 แห่ง ที่บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา มีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY)และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่ง ที่นาทา

รับรองผลด้วยงานวิจัยทางการแพทย์จากUSA เห็นผลแล้วนับพัน

อย่างไรก็ตามปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษา และออกแบบรายละเอียด เพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งคาดว่าออกแบบแล้วเสร็จเดือนมิ.ย.64 และกระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 เพื่อหารือร่วมกับฝ่ายจีนในการดำเนินงานในระยะต่อไป

นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย -จีน จำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ ,คณะอนุกรรมการพัฒนาการเชื่อมต่อ และการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และ คณะอนุกรรมการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อขับเคลื่อนดำเนิน โครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติมอีก 3 ข้อ คือ

1. ให้กระทรวงคมนาคมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ในประเด็นการก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาร่วม ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ให้ได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อไป

2. ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแนวทางก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ว่าสามารถดำเนินการได้ตามมติคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกหรือไม่

3.ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการจัดทำแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างไทย -ลาว-จีนโดยพิจารณาแนวทางเลือกข้อดี - ข้อเสีย ด้านต่างๆ เพื่อหารือกับฝ่ายจีนต่อไป

สั่งขันนอตรถไฟไทย-จีนอืด มั่นใจ“ไฮสปีด”เปิดใช้ปี68
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 05:27
ปรับปรุง: 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 05:27

เผย “รถไฟไทย-จีน” ติดปัญหา “มรดกโลก” และช่วงทับซ้อน “ไฮสปีด 3 สนามบิน” สั่งเร่งหาทางออกร่วม “อีอีซี” คลี่ปมด่วน ด้านรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินคืบหน้าแล้ว 86% เตรียมส่งมอบพื้นที่ได้หมดภายในเดือน ก.ย.นี้ มั่นใจเปิดบริการได้ปี 68

วานนี้ (27พ.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 2/ 2564 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วง กทม.-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วง กทม.-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท มีงานโยธาแบ่งเป็น 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา เตรียมการก่สร้าง 3 สัญญา อยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา 4 สัญญา ส่วนในระยะที่ 2 ช่วง นครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม. มี 5 สถานี ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษา และออกแบบรายละเอียดเพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งคาดว่าออกแบบแล้วเสร็จเดือน มิ.ย.64 และกระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 เพื่อหารือร่วมกับฝ่ายจีน ในการดำเนินงานในระยะต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย -จีน จำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุฯติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ , คณะอนุฯพัฒนาการเชื่อมต่อ และการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และคณะอนุฯปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อขับเคลื่อนดำเนิน โครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติมให้กระทรวงคมนาคมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ในประเด็นการก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาร่วม ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ให้ได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายอีอีซีต่อไป รวมทั้งการพิจารณาแนวทางก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ว่าสามารถดำเนินการได้ตามมติคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกหรือไม่

ทางด้าน นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สกพอ. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่าการลงทุนรวม กว่า 2.5 แสนล้านบาทว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมการส่งมอบพื้นที่ในช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ ถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. ซึ่งเป็นพื้นที่ในการดำเนินโครงการประมาณ 5,521 ไร่ โดยงานมีความคืบหน้า 86% ให้กับเอกชนคู่สัญญาแล้ว ขณะที่การรื้อย้ายสาธารณูปโภคเพื่อเปิดพื้นที่ก่อสร้าง การส่งมอบพื้นที่เวนคืน อยู่ในขั้นตอนการทำสัญญาของรฟท. ที่เดินหน้าดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และจะพร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ทั้งหมด ภายในเดือน ก.ย.นี้ และมั่นใจว่าจะเปิดให้บริการช่วงปี 2568

Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม” เช็กอัพไฮสปีดไทยจีน สั่งเร่งผ่าทางตัน “ทับซ้อนบางซื่อ-ดอนเมือง”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 - 17:56 น.
อัพเดทล่าสุด รถไฟไทย-จีน เฟส 2 คืบหน้าถึงไหนแล้ว
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 - 17:49 น.

“ศักดิ์สยาม”เร่งแก้ปัญหา”รถไฟไทยจีน”อืด คาดแบบเฟส2เสร็จมิ.ย.-ตั้งอนุฯ3 ชุดดูระบบเชื่อมต่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เวลา 19:32 น.
ปรับปรุง: วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เวลา 19:32 น.

"ศักดิ์สยาม"ตั้งคณะอนุฯ เข็นโปรเจคท์รถไฟไฮสปีดไทย-จีน
พฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.30 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2021 11:33 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
อาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.02 น.

เค้าดราม่าอะไรกัน เกิดอะไรขึ้นกับรูปแบบสถานี ตำแหน่งสถานี มีทางเลือกอะไรบ้าง เราได้อะไรจากเรื่องนี้!!! ต่างประเทศเค้าทำอย่างไร???
วันนี้ขอมาเคลียร์ดราม่า เรื่องสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ซึ่งกรมศิลป์ฯ แจ้งว่ามีผลกระทบกับทิวทัศน์ของอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกของ UNESCO ซึ่งสำหรับผมมันดูไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลย….
เลยขอมาเคลียร์ทุกประเด็นให้เพื่อนๆเข้าใจ และตัดสินใจกันเองว่า สิ่งที่กรมศิลป์ฯ เค้าเรียกร้องมันสมเหตุสมผล และคุ้มค่ากับมูลค่าการลงทุนเพิ่ม และเวลาที่จะเสียไปจากการ ชะลอโครงการมั้ย
แล้วการรถไฟเค้ามีข้อเสนออะไรให้บ้าง มูลค่าและเวลาในแต่ละข้อเสนอมันมีอะไรบ้าง!!!!
{ยาวนะ ให้มือถืออ่านให้ฟังดีกว่า}
——————
ก่อนอื่นผมต้องขอเท้าความถึง รายละเอียดของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน กันนิดนึงก่อน
เรามาเริ่มต้นที่การอนุมัติโครงการ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2560
ซึ่งทางรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณไว้ 179,421 ล้านบาท ในเฟสที่ 1 กรุงเทพ-โคราช
ในโครงการมีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่
- สถานีกลางบางซื่อ
- สถานีดอนเมือง
- สถานีอยุธยา
- สถานีสระบุรี
- สถานีปากช่อง
- สถานีนครราชสีมา (โคราช)
——————
รูปแบบทางวิ่งโครงการ
ภายในโครงการแบ่งทางวิ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
- ทางวิ่งระดับดิน มีระยะทางรวม 54.09 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ มีระยะทางรวม 188.68 กิโลเมตร
- อุโมงค์ มีระยะทางรวม 8 กิโลเมตร
ซึ่งทางรถไฟความเร็วสูงช่วง บางซื่อ-อยุธยา-สระบุรี เป็นทางรถไฟยกระดับทั้งหมด เพราะเป็นพื้นที่ “เสี่ยงน้ำท่วม”
รวมระยะทางในโครงการทั้งหมด 250.77 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทาง 90 นาที
ใครอยากอ่านรายละเอียดเต็มๆ ดูได้จากในลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/949437542161392/?d=n
——————
แล้วสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยามันอยู่ตรงไหน???
ตอบง่ายๆ อยู่ที่สถานีรถไฟอยุธยาปัจจุบัน คืออยู่ตีนสะพานปรีดี-ธำรง ฝั่งเจดีย์วัดสามปลื้ม ใกล้กับโรงแรมกรุงศรีริเวอร์อยู่ “นอกเกาะเมืองอยุธยา” ด้านแม่น้ำป่าสัก
นอกจากนั้นบริเวณตำแหน่งสถานีอยุธยาก็เป็นเขตพื้นที่สีส้ม ในผังเมืองอยุธยาฉบับเก่า และเป็นพื้นที่สีแดงในผังเมืองฉบับใหม่ (กำลังจะประกาศใช้)
ซึ่งในตำแหน่งของสถานีอยุธยาปัจจุบัน ห่างจากจุดใกล้สุดของอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา 1.5 กิโลเมตร!!!
ซึ่งในบริเวณนี้จะสอดคล้องกับโครงการ TOD อยุธยาของ สนข. ด้วยตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/718483315256817/?d=n
———————
รูปแบบอาคาร
สถานีอยุธยามีลักษณะเดียวกับสถานีรถไฟ บางซื่อ และ โคราช
ซึ่งเป็นสถานีรวมกันระหว่างรถไฟ 2 ระบบ แต่ที่อยุธยา จะมีเพิ่มมาอีก 1 ระบบ คือ เป็นจุดจอดสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงด้วย
ซึ่งสถานีนี้ จะมีลักษณะเป็น 3 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เป็นชานชลารถไฟทางไกล และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ชั้นที่ 2 เป็นส่วนจำหน่ายตั๋วโดยสารและโถงพักคอย
ชั้นที่ 3 เป็นชานชลารถไฟความเร็วสูง สายอิสาน และ สายเหนือ
ที่นี่มีจุดน่าสนใจอยู่หลายประเด็น คือ
1.สถานีใหม่สร้างคร่อมสถานีรถไฟทางไกลเดิม ซึ่งคาดว่าเป็นอาคารอนุรักษ์ แล้ว และมีลักษณะสถานีเป็นที่น่าสนใจ
2.สถานีนี้จะเชื่อมกับแม่น้ำป่าสัก ซึ่งจะมีท่าน้ำเพื่อเชื่อมโยงกับเรือโดยสารภายในแม่น้ำ
3.สถานีสร้างทางเข้าทางออกใหม่ฝั่งตรงข้ามกับสถานีเดิม และทำทางข้ามสถานีเดิมไป
4.สถานีใหม่สร้างในเขตพื้นที่สถานีเดิมทั้งหมด แต่อาจจะต้องมีการรื้อย้ายบ้านบริเวณตั้งแต่แม่น้ำจนถึงถนนออกไปเพื่อทำ Landscape สถานี
ความสูงในส่วนต่างๆของอาคาร
- หลังคากลางอาคารสูงสุด อยู่ที่ 46.00 เมตร
- ระดับชั้น 3 ชานชาลารถไฟความเร็วสูง 21.63 เมตร
- ระดับชั้น 2 ชานชาลาพื้นที่ขานตั๋วและรอรถ 11.00 เมตร
- ระดับชั้น 1 สถานีเดิม ชานชาลารถไฟทางไกล และชานชาลารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงในอนาคต 1.20 เมตร
ซึ่งแบบนี้เป็นแบบที่ได้ทำการลดขนาดตัวอาคารหลักมาข้างละ 30 เมตร และความสูงลดลง 8.5 เมตรแล้ว!!!!
———————
แต่กรมศิลป์อ้างว่า อาคารมีความสูงทำให้บดบังแลารบกวนความมุมมองสายตา โครงการเค้าเลยทำภาพจำลองมุมมองจากในเขตพื้นที่อยุธยาจากทุกมุม
ผมเลยขอตัดภาพบางส่วนมาให้ดู ตามในรูปแนบด้านล่าง
ส่วนที่จะเห็นตัวอาคาร ชัดเจนจะเป็นด้านตลาดเจ้าพรหม ซึ่งเป็นพื้นที่อาคารพาณิชย์ของเมืองอยุธยาเป็นปรกติ
แล้วยิ่งไปกว่านั้น บริเวณใกล้เคียงกับสถานีรถไฟอยุธยา ก็มีอาคารสูง 10 ชั้น ของโรงแรมกรุงศรีริเวอร์ และอาคารสูง 8 ชั้น ของโรงแรมอโยธยาริเวอร์ไซด์ อยู่ใกล้กัน ซึ่งอยู่ติดแม่น้ำป่าสักเลย
ซึ่งความสูงของทั้ง 2 อาคารก็พอกับอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูงเลย
แต่ยังไง ทางกรมศิลป์ก็ไม่ยอมให้ผ่านตามกระบวนการของการแก้ไข EIA เพื่อจะเปลี่ยนรูปแบบสถานี เป็นไปตามรูป
———————
ดังนั้น การรถไฟเลย ถอยกลับไปใช้แบบสถานีรถไฟความเร็วสูงตามรูปแบบเดิม ที่ใช้เสนอ EIA ปี 2556 ซึ่งก็เป็นแบบสวยเหมือนกัน แต่เรียบง่ายลงมาเยอะ เน้นใช้วัสดุเป็นหลังคาและอาคารใส
ใครยังไม่เคยเห็นดูได้ตามรูปด้านล่างได้เลยครับ
ความสูงในส่วนต่างๆของอาคาร
- หลังคากลางอาคารสูงสุด อยู่ที่ 37.45 เมตร
- ระดับชั้น 3 ชานชาลารถไฟความเร็วสูง 19.00 เมตร
- ระดับชั้น 2 ชานชาลาพื้นที่ขานตั๋วและรอรถ 10.25 เมตร
- ระดับชั้น 1 สถานีเดิม ชานชาลารถไฟทางไกล และชานชาลารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงในอนาคต 1.50 เมตร
แต่กรมศิลป์ฯ ก็ยังไม่ยอม!!!! บอกว่าเสาบดบังพื้นที่!!!! ไม่อยากให้มีเสา!!!!
———————
ล่าสุดมีการประชุม ทางการรถไฟได้ทำข้อเปรียบเทียบข้อเสนอต่างๆ ที่ทางกรมศิลป์ฯ ต้องการเทียบกับค่าใช้จ่าย และเวลาที่กระทบกับโครงการ!!!
มีทั้งหมด 5 รูปแบบ คือ
1. ทำทางวิ่งและสถานีอยุธยาเป็นรูปแบบใต้ดิน!!!!
ระยะทาง 5 กิโลเมตร
ใช้งบประมาณ 10,300 ล้านบาท
ใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 5 ปี!!!!
แล้วยังไม่รวมกรณีที่ขุดใต้ดินแล้วไปเจอวัตถุโบราณ ซึ่งอย่างที่รู้ว่าเมืองอยุธยาเป็นเมืองโบราณ ขุดไปทางไหนก็เจอวัตถุโบราณ
แล้วถ้าขุดไปเจอ จะต้องย้ายแนวอีกมั้ย??? ต้องเสียเวลาโยกย้ายวัตถุโบราณอีกกี่ปี??
สุดท้ายและสำคัญที่สุด พื้นที่เมืองอยุธยาเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมเป็นประจำ แถมท่วมสูงขึ้นทุกปี แล้วถ้าอุโมงค์น้ำท่วมใครจะรับผิดชอบ มูลค่าเสียหายเท่าไหร่??? คุ้มกันมั้ย???
2. ทำทางรถไฟเลี่ยง!!!! เมืองอยุธยา ไป 30 กิโลเมตร จาก บางปะอิน-บ้านภาชี!!!!
ระยะทาง 30 กิโลเมตร
เวนคืนใหม่ตลอดเส้นทาง ค่าเวนคืนประมาณ 3,750 ล้านบาท
ต้องย้ายสถานีอยุธยาออกไป (ไปไหนก็ไม่รู้ กลางทุ่งซักที่)
ใช้งบประมาณ 22,630 ล้านบาท!!!
ใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 7 ปี!!!!
เอาจริงๆ ข้อเสนอนี้ มันเป็นเรื่องที่ไม่ควรมีเลยด้วยซ้ำ เพราะมีทั้งเรื่องผลกระทบของประชาชน แล้วไม่ส่งเสริมการเดินทางอะไรกับเมืองอยุธยา และอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาเลย!!!
ผมว่าถ้าจะทำแบบนี้ไม่ทำสถานีอยุธยาเลยซะดีกว่า สร้างไปก็ไม่มีคนใช้บริการซะเปล่าๆ
3. ย้ายสถานีอยุธยาไปที่สถานีบ้านม้า
ซึ่งเป็นการย้ายสถานีออกจากจุดเดิมไปอีก 5 กิโลเมตร ซึ่งตรงสถานีบ้านม้าอยู่ใกล้กับถนนสายเอเชีย (ทางหลวง 32)
ต้องเวนคืนพื้นที่โดยรอบเพื่อสร้างสถานี ค่าเวนคืนประมาณ 200 ล้านบาท
ใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท
ใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 5 ปี!!!!
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่พอเป็นไปได้แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์กับเมืองอยุธยา และอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาเท่าที่ควร!
แต่คำถามคือ เราต้องการให้ผู้โดยสารเดินทางไปไหน เราก็ควรจะพาผู้โดยสารไปใกล้กับปลายทางให้มากที่สุด ซึ่งตำแหน่งสถานีเดิมเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดแล้วจริงๆ
เพราะการย้ายออกไป 5 กิโลเมตร จะสร้างปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง กับ เมืองอยุธยา ต้องมาลงทุนระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่าง 2 สถานีอีก!!
4. จัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของเมืองโดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง
ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท
ใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี
ซึ่งกรณีนี้จะไปสอดคล้องกับ โครงการ TOD อยุธยา ซึ่งจะไปวางเขตผังเมืองเฉพาะ เพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
แต่ก่อนหน้าก็มีการตีกลับโครงการ TOD อยุธยา เพราะทางกรมศิลป์ แจ้งว่าเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ที่จะประกาศในอนาคต
5. สร้างทางวิ่งก่อน แล้วค่อยหาตำแหน่ง และรูปแบบสถานีที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ
ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท
โดยกรณีนี้สามารถสร้างได้ทันทีและไม่กระทบกับแผนการก่อสร้าง หลังจากทุกอย่างลงตัวค่อยเริ่มสร้างสถานีตามแบบที่ทุกฝ่ายลงตัว
แต่ปัญหาคือสถานีอยุธยาจะเปิดช้ากว่าสถานีอื่น 3-5 ปี เพราะอาจจะต้องไปทำ EIA แก้ไขก่อน ซึ่งกว่าจะผ่านกระบวนการต่างๆ ก็จะช้าไป
ซึ่งผมมองถึงเวลาที่เสียไปเปล่าๆ เป็นค่าเสียโอกาสของโครงการ รวมถึงโอกาสการพัฒนาของอยุธยา จากกานเดินทางถึงอยุธยาในเวลาแค่ 20 นาที!!!
ซึ่งในจะเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวและโอกาสให้กับอยุธยา อีกมาก
———————
แล้วในต่างประเทศเค้าทำกันอย่างไร???
ผมขอเอาตัวอย่างจากรายละเอียดของโครงการ TOD อยุธยามาให้ชมนะครับ
ตามโครงการ เค้าเอาตัวอย่างการพัฒนาของสถานีในญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ใกล้กับมรดกโลกของญี่ปุ่น 3 สถานี คือ
1. สถานี Nagano ซึ่งอยู่ห่างจาก วัด Zenkoji ซึ่งมีอายุกว่า 1300 ปี!!! ในระยะห่าง 2 กิโลเมตร
2. สถานี Nara ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น ช่วงปีคศ. 710-794 คล้ายกับอยุธยา แต่เราใหม่กว่าเค้ามากกก
ซึ่งตัวสถานีห่างจาก พื้นที่มรดกโลก เพียง 1.3 กิโลเมตร!!! เท่านั้น
ตัวอาคารสถานีและอาคารโดยรอบก็ทีอาคารสูงร่วม 10 ชั้น รอบตัวอาคารสถานี ทางวิ่งรถไฟก็เป็นทางยกระดับเข้าสถานี พร้อมกับมีอาคารสถานีโบราณอยู่ด้านหน้าเหมือนกับสถานีอยุธยาเลย
3. สถานี Himeji ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานีที่เชื่อมกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์สำคัญของญี่ปุ่น คือปราสาท Himeji มีอายุร่วม 690 ปี!!! และถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก
ซึ่งตัวอาคารสถานีห่างจากปราสาท Himeji เพียง 1.4 กิโลเมตร และตัวอาคารสถานีก็เป็น TOD พร้อมอาคารรอบสถานี
———————
จากข้อมูลที่พิมพ์มาทั้งหมด ผมก็คงฝากไปให้เพื่อนๆ ลองคิด และตัดสินใจดู ว่าเราควรจะทำอย่างไรกับสถานีอยุธยานี้ และการตัดสินใจของกรมศิลป์ เหมาะสม เข้ากับบริบทของพื้นที่แล้วจริงๆเหรอ
แล้วการที่เราเอาสถานีออกจากสถานที่ท่องเที่ยว แล้วเราจะสร้างสถานีทำไม เสียความสามารถในการแข่งขันระหว่างระบบอื่นๆ เปล่าๆ
สุดท้ายเราพยายามรักษาและอนุรักษ์โบราณสถานเพื่อให้คนมาดูแ มองเห็นถึงอารยธรรมและความเจริญในอดีตของชาติเรา
แต่การห้ามและย้ายตำแหน่งการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่พื้นที่ ทำให้สิ่งที่เราพยายามอนุรักษ์ไว้ก็เปล่าประโยชน์ ไม่มีคนมาดู
สรุปเราจะอนุรักษ์ไปทำไม ถ้าไม่มีคนมาดู???
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2021 9:45 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลปกครองสูงสุดยืนคำสั่งคุ้มครอง “อิตาเลียนไทย” ลุ้นคว้าสัญญา 3-1 รถไฟไทย-จีน 9.3 พันล้านบาท
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 17:49 น.
ปรับปรุง: วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 17:49 น.

ศาลปกครองสูงสุดยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางคุ้มครอง “อิตาเลียนไทย” ทุเลาคำสั่งกรมบัญชีกลาง ประมูลรถไฟไทย-จีน สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ชี้ยังไม่กระทบงานก่อสร้างในภาพรวมที่มี 14 สัญญา ส่วน “นภาก่อสร้าง” ยังลุ้นคุณสมบัติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 31 พ.ค. 2564 ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังคำสั่งคดี บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เทน เอนจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ยื่นคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง โดยศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีคณะกรรมการฯ มีคำสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กลับไปดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาผลการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้องต่อไป ตามมาตรา 119 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

สืบเนื่องจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง พิจารณาให้บริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด (กลุ่มบริษัท นภาก่อสร้างและพันธมิตรจากประเทศมาเลเซีย) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการเข้าร่วมประมูล ต่อมาทางบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เทน เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด ซึ่งทำสัญญาร่วมค้าอันมีลักษณะเป็นกิจการร่วมค้ากับ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ภายใต้ชื่อ กิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10 JV ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอทุเลาการบังคับ

โดยตามคำร้องที่ 138/2564 คำสั่งที่ 164/2564 ระหว่างบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เทน เอนจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด ผู้ฟ้องคดี บริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด ผู้ร้องสอด โดยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกรมบัญชีกลาง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง)

ทั้งนี้ จากที่ รฟท.ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) สัญญาที่ 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30 กม. ราคากลาง 11,063.937 ล้านบาท มีผู้ยื่นเสนอราคา 6 ราย โดยบริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด (กลุ่มบริษัท นภาก่อสร้างและพันธมิตรจากประเทศมาเลเซีย) เสนอราคาต่ำสุด 9,330 ล้านบาท ส่วนกิจการร่วมค้า ITD-CREC no.10 JV. (ไชน่า เรลเวย์-บมจ.อิตาเลียนไทยฯ) เสนอราคาอันดับสองที่ 9,349 ล้านบาท แต่บริษัท บีพีเอ็นพี ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณสมบัติ ประเด็นจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่และผลงานก่อสร้าง รฟท.จึงประกาศให้กลุ่ม ITD-CREC ชนะประมูล ต่อมา บริษัท บีพีเอ็นพี ยื่นอุทธรณ์ฯ โต้แย้ง แต่ รฟท.ไม่เห็นด้วย และรายงานข้อมูลเหตุผลไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง

ต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ได้มีหนังสือถึง รฟท.ให้อนุมัติยกเว้นแก่ บริษัท บีพีเอ็นพี เป็นการเฉพาะราย ในระหว่างพิจารณา ทางบริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ ได้ยื่นหนังสือโต้แย้งคำสั่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้บริษัทเสียหาย แต่ไม่ได้รับการพิจารณา จึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง โดยศาลปกครองได้มีคำสั่งเพื่อขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

สำหรับคำสั่งศาลปกครองสูงสุด วันที่ 31 พ.ค. 2564 ที่ยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง ไว้ก่อน เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีงานโยธาจำนวน 14 สัญญา ซึ่งปัจจุบัน งานโยธาเสร็จเพียง 1 สัญญา อีก 13 สัญญามีการประกวดราคาแยกต่างหากออกจากกัน สามารถดำเนินการได้เอกเทศ จึงเห็นว่าสัญญาที่ 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและการบริหารงานของ รฟท.

ศาลปกครองสูงสุด ยืนทุเลาคำสั่งประมูลสัญญา 3-1 รถไฟไทยจีน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 16:59 น.


ศาลปกครองสูงสุดยืนตามศาลปกครองชั้นต้นยืนทุเลาคำสั่ง กรมบัญชีกลาง ระงับประมูลไฮสปีดไทย-จีนสัญญา 3-1 ไปจนกว่าจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ชี้การยกเว้นคุณสมบัติให้ “บีพีเอ็นพี” ส่อไม่ชอบกฎหมาย ส่วนข้ออ้างกระทบโครงการฟังไม่ขึ้น เพราะ 14 สัญญา เพิ่งเสร็จแค่สัญญาเดียว-ประมูลงานเป็นเอกเทศไม่เกี่ยวกัน

วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีคณะกรรมการดังกล่าว มีคำสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กลับไปดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาผลการเสนอราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา งานโยธาสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย – กลางดง และปางอโศก – บันไดม้า ระยะทาง 30 กม.ราคากลาง 11,063 ล้านบาทของผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้องต่อไป ตามมาตรา 119 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560

สำหรับโจทก์และจำเลยที่มีในคดีนี้ประกอบด้วย ผู้ฟ้องคดีคือ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นับเบอร์เทน เอนจิเนียริ่ง กรุ๊ป และมีบริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด เป็นผู้ร้องสอด และผู้ถูกฟ้องคดีมี 3 ราย ประกอบด้วย 1. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 2. คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง


ยกเว้นคุณสมบัติส่อไม่ชอบ
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง ที่ใช้หนังสือคณะกรรมการนโยบายจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุดที่ กค (กนบ) 0405.2/ว410 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2560 เรื่อง การกำหนดแบบประกาศและเอกสารเชิญชวนในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ และวิธีสอบราคา และหนังสือของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุดที่ กค (กวล) 0405.2/ว289 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2561 เรื่อง แนวปฏิบัติในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอที่เป็นกิจการร่วมค้า เป็นแนวพิจารณาให้แก่ บีพีเอ็นพีเป็นการเฉพาะรายนั้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เพราะตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง การพิจารณาจะต้องโปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งจะต้องปฏิบัติกับผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน การยกเว้นเฉพาะให้บีพีเอ็นพีอาจทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบได้ เพราะบีพีเอ็นพีนำบุคคลธรรมดาเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งไม่เป็นนิติบุคคลและไม่มีผลงานตามเงื่อนไขของ TOR และการนำผลงานของบริษัท บีทู พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด มาแสดงแต่ไม่ระบุมูลค่างาน ก็ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขใน TOR อีก การยกเว้นตามหนังสือดังกล่าวจึงเป็นการยกเว้นในสาระสำคัญ อาจจะทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมได้

การสั่งทุเลาไม่กระทบโครงการ
นอกจากนี้ การที่อ้างว่า หากศาลมีคำสั่งทุเลาจะส่งส่งผลกระทบต่อโครงการนี้ ศาลเห็นว่าปัจจุบันงานก่อสร้างทั้ง 14 สัญญา มีเพียงสัญญาที่ 1-1 ช่วงกลางดง – ปางอโศกเท่านั้นที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างส่งมอบงานงวดสุดท้าย ส่วนอีก 13 สัญญา ก็อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งมีการประกวดราคาที่แยกจากกันและดำเนินการแบบเอกเทศ

ประกอบกับ ร.ฟ.ท.ยังไม่ได้เปิดให้ประชาชนใช้บริการหรือขนส่งสินค้าแต่อย่างใด ดังนั้น การทุเลาคำสั่งจึงไม่ถือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานและการบริการสาธารณะของ ร.ฟ.ท. แต่อย่างใด

ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำสั่งทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลางต่อไป

ศาลปกครองสูงสุดยืนเบรกประมูลรถไฟฟ้าความเร็วสูง แก่งคอย-กลางดง ปางอโศก-บันไดม้า
การเมือง เกาะกระแส
สำนักข่าวไทย

วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:00 น.

กรุงเทพฯ 31 พ.ค.-ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืน เบรกจัดซื้อจัดจ้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ชั่วคราว ชี้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง ที่จะคืนสิทธิให้บริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วันนี้ ( 31 พ.ค.) ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง โครงการประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานนคร – นครราชสีมา งานสัญญาที่ 3-1 งานโยธาสำหรับช่วงแก่งคอย – กลางดง และช่วงปางอโศก – บันไดม้า) ที่ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กลับไปดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาผลการเสนอราคาของ บริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด ซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้อง ตามมาตรา 119 วรรคสอง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 จากกรณีที่คณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์ฯดังกล่าว อนุมัติยกเว้นหลักเกณฑ์บางประการให้กับบริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด เป็นกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่เป็นการเฉพาะราย และบริษัทบีพีเอ็นพี สามารถนำผลงานของผู้ร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมาใช้เป็นผลงานในการยื่นประกวดราคาได้



โดยศาลปกครองสูงสุด เห็นว่า การที่คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐกรมบัญชีกลาง จะใช้อำนาจยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ จะต้องใช้โดยคำนึงถึงหลักความโปร่งใส เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกรายโดยเท่าเทียมกัน การที่คณะกรรมการวินิจฉัยฯ ยกเว้นหรือผ่อนผัน ให้ผู้ยื่นข้อเสนอในการประกวดราคาครั้งนี้เป็นการเฉพาะราย ซึ่งจะทำให้บริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด ที่น่าจะไม่มีคุณสมบัติ ในเรื่องผลงานการก่อสร้างตามที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคาและเอกสารประกวดราคาได้รับการยกเว้น หรือผ่อนผัน ให้เป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วน ย่อมเป็นการยกเว้น หรือผ่อนปรนในสาระสำคัญ อาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ของผู้เสนอราคารายอื่นๆได้ การกระทำดังกล่าว ของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ จึงน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ วินิจฉัยอุทธรณ์ว่า อุทธรณ์ของบริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด ฟังขึ้น และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกลับไปดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาผลการเสนอราคา ของผู้ยื่นเสนอให้ถูกต้อง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 119 วรรค 2 พ.ร.บจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 โดยพิจารณาว่า เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกันกับที่ คณะกรรมการวินิจฉัยฯ ได้พิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันคุณสมบัติให้แก่บริษัทบีพีเอ็นพีเป็นการเฉพาะราย รฟท.จึงไม่อาจ หยิบยกประเด็นคุณสมบัติ ของบริษัทบีพีเอ็นพีมาพิจารณาเพื่อตัดสิทธิ์ บริษัทดังกล่าวได้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ โดยอาศัยเหตุผลตามหนังสือของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ ด่วนที่สุดที่ กค.(กวจ) 0405.4/037996 ลงวันที่ 29 ส.ค.62 ที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยเช่นกัน ทำให้คำสั่ง คณะกรรมการวินิจฉัยฯลงวันที่ 21 ต.ค.63 ย่อมน่าจะมีประเด็นเรื่องความชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันงานโยธาของโครงการนี้ มีเพียงสัญญา1-1 งานโยธาสำหรับช่วงกลางดง –ปางอโศก ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและอยู่ระหว่างส่งมอบงานงวดสุดท้าย แต่ในส่วนสัญญาอื่นอีก 11 สัญญา แต่ละสัญญามีการประกวดราคาแยกจากกัน และแต่ละงานสามารถดำเนินการได้โดยเอกเทศ บางสัญญาก็มีการดำเนินการไปบางส่วน บางสัญญาก็รอคู่สัญญาลงนาม หรือจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา การที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งทุเลา จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐหรือบริการสาธารณะ .-
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 407, 408, 409 ... 548, 549, 550  Next
Page 408 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©