RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311308
ทั่วไป:13279629
ทั้งหมด:13590937
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 420, 421, 422 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42780
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2021 7:55 pm    Post subject: รูปร่าง 6 สถานีรถไฟความเร็วสูงไทยจีน Reply with quote

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง" เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%
หน้า เศรษฐกิจมหภาค Mega Project
11 ต.ค. 2564 เวลา 12:19 น.

ยลโฉมแบบก่อสร้าง 6 สถานี "รถไฟความเร็วสูง" เส้นทาง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระหว่างการก่อสร้าง รองรับรถไฟความเร็วสูง เปิดบริการปี 2569 ไทยทุ่มงบประมาณ 1.79 แสนล้าน ลงทุนเอง 100%

11 ตุลาคม 2564 - Progressive Thailand เพจดังด้านอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานของไทย รวบรวมภาพแบบก่อสร้าง 6 สถานี ในโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยรายละเอียดโครงการเบื้องต้นนั้น ประกอบไปด้วย ...



รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา

จำนวนสถานี : 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา
ระยะทาง: 253 กม.
ความเร็วให้บริการ: 250 กม./ชม.
ชนิดรถไฟ: Fuxing Hao CR-300 series
งบประมาณโครงการ: 179,412.21 ล้านบาท (โดยไทยเป็นผู้ลงทุน 100%)
เปิดบริการในปี 2569


สถานีกลางบางซื่อ

สถานีกลางบางซื่อ ( Bangsue Grand Station) งบประมาณ34,142 ล้านบาทอาคารสถานีมีความยาว 596.6 เมตร ความกว้าง 244 เมตร ความสูง 43 เมตร พื้นที่ใช้สอยในอาคารรวม 274,192 ตารางเมตร (ไม่รวมพื้นที่สถานีใต้ดิน) จะเป็นสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของประเทศไทย สถานีตั้งอยู่ใจกลางศูนย์คมนาคมพหลโยธินในพื้นที่ เขตจตุจักร กรุงเปิดใช้งานอย่างไม่เป็นทางการในเดือนมิถุนายน ปี2564 ที่ผ่านมา โดยถือเป็นสถานีรถไฟกลางที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชานชาลามากถึง 26 ชานชาลา ตั้งเป้าเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย และของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2. สถานีดอนเมือง


สถานีนี้จะเป็นสถานีร่วมระหว่าง รถไฟฟ้าชานเมือง ,รถไฟทางไกล ,รถไฟความเร็วสูง และรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน ตัวสถานีมีความกว้าง 53.459 เมตร ยาวทั้งหมด 490 เมตร ชานชาลาของรถแต่ละประเภทจะยาวไม่เท่ากัน โดยชานชาลารถไฟความเร็วสูงยาวประมาณ 420 เมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น



ชั้นที่ 1 ชั้นจำหน่ายตั๋ว มี Paid Area แยก 3 จุด สำหรับแต่ละประเภทรถ
ชั้นที่ 2 ชานชาลารถไฟทางไกล และชานชาลารถ ARL
ชั้นที่ 3 ชานชาลารถไฟฟ้าชานเมือง และชานชาลารถไฟความเร็วสูง

3. สถานีอยุธยา

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง" เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

สถานีอยุธยา รถไฟความเร็วสูง เป็นสถานีที่มีคุณค่าและความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ รวมถึงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย ขณะเกิดข้อพิพาทระหว่างการก่อสร้างมากมาย หลังจากตำแหน่งตัวสถานี อยู่ห่างจากจุดอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาแค่ 1.5 กม. ส่วนบริเวณใกล้เคียงกับสถานีมีอาคารสูง 10 ชั้น ของโรงแรมกรุงศรีริเวอร์ และอาคารสูง 8 ชั้นของโรงแรมอโยธยาริเวอร์ไซด์ใกล้กัน โดยกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับรูปแบบใหม่ เดิมมีลักษณะเป็น 3 ชั้น ขนาด หลังคากลางอาคารสูงสุด อยู่ที่ 46.00 เมตร

ชั้นที่ 1 เป็นชานชลารถไฟทางไกล และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ชั้นที่ 2 เป็นส่วนจำหน่ายตั๋วโดยสารและโถงพักคอย
ชั้นที่ 3 เป็นชานชลารถไฟความเร็วสูง สายอิสาน และ สายเหนือ ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง" เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%


4. สถานีสระบุรี

ส่องแบบก่อสร้าง 6 "สถานีรถไฟความเร็วสูง" เปิดบริการปี 2569 ไทยลงทุน 100%

สถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรี พิกัดบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับเลี่ยงเมืองสระบุรี ด้านหลังของห้างโรบินสันสระบุรี และใกล้กับอ่างเก็บน้ำคลองเพรียว ลักษณะสถานี แบ่งเป็น

ชั้นที่ 1 ชานชลารถไฟทางไกล (อนาคต)
ชั้นที่ 2 พื้นที่ขายตั๋วและเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร
ชั้นที่ 3 พื้นที่รอคอยรถไฟความเร็วสูง
ชั้นที่ 4 ชานชลารถไฟความเร็วสูง

5. สถานีปากช่อง




6. สถานีนครราชสีมา


สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา คือ สัญญา 1-1 งานโยธาช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.โดยมีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง

โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 6 สัญญา ได้แก่

สัญญา 2-1 งานโยธาช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม.
สัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม.
สัญญา 3-3 งานโยธาช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม.
สัญญา 3-4 งานโยธาช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม.
งานโยธาช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม.
สัญญา 4-7 งานโยธาช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม.


อ้างอิงภาพและข้อมูล : Progressive Thailand ,State Railway of Thailand, โรงเรียนวิศกรรมรถไฟ, Render Thailand, โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย, Design Concept Architect, Google Earth, ERailRoom, Daoreuk Communication
https://www.facebook.com/ProgressiveThailand/posts/265160808948919
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42780
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2021 3:43 am    Post subject: คนโกหกไม่ทำบาป ไม่มี Reply with quote

“เพื่อไทย” ชู นโยบายสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทร์ รอต่อรถไฟจีนที่มาแล้ว เชื่อไทยจะได้ประโยชน์มากกว่า
การเมือง
สยามรัฐออนไลน์ วันที่ 08 ตุลาคม 2564 เวลา 09:00 น.
พท.ชู สร้างรถไฟความเร็วสูงหนองคาย-เวียงจันทน์ เชื่อมต่อรถไฟจีน ชี้ไทยได้ประโยชน์มาก
วันที่ 08 ตุลาคม 2564 เวลา 08:35 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42780
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2021 7:52 pm    Post subject: Reply with quote

Contract 4-4 : High Speed Depot
เชียงรากน้อย
โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน
Designed by Design Concept Co., Ltd.
https://www.facebook.com/DesignConceptArchitect/posts/902525737050240
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42780
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2021 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.เคาะเยียวยาซี.พี.เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 1.06 หมื่นล.ชี้ผลกระทบโควิดทำผู้โดยสารต่ำเป้า เหตุสุดวิสัย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.

ครม.เห็นชอบ ซี.พี.เลื่อนจ่ายค่า”แอร์พอร์ตเรลลิงก์” 1.06 หมื่นล้านจาก 24 ต.ค. 64 ออกไปก่อน ชี้เหตุสุดวิสัย"โควิด"ผู้โดยสารไม่เป็นไปตามคาดการณ์ มอบรฟท.-อีอีซี เร่งเจราแก้สัญญาร่วมทุน ยันไม่กระทบบริการประชาชน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 19 ต.ค. มีมติรับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้การบริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก

โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินมีปัญหา เรื่องการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เนื่องจากผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 โดยทาง บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นคู่สัญญา มีหนังสือหารือผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการฯ เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นผลกระทบเกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัย โดยขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยา โดยขอขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่นได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการฯ และการขยายระยะเวลาโครงการฯ

ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เห็นว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่อาจคาดการณ์ได้ก่อนลงนามในสัญญา และมีผลกระทบเกิดขึ้นจริง จึงมีมติเห็นชอบหลักการเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 ในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แก่เอกชนคู่สัญญาและแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ



อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับฯ เห็นด้วยกับหลักการ และมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เรื่องที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ตามสัญญาร่วมลงทุนฯที่จะถึงกำหนดชำระในวันที่ 24 ต.ค. 2564 เนื่องจากโควิด-19 นั้น ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผ่อนผันในการไม่ชำระเงิน ดังนั้นกพอ.จึงได้มอบหมายให้รฟท. สกพอ. และคณะกรรมการกำกับดูแลฯพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ขอให้ดำเนินการตามกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนนำเสนอครม.

โดยตามเงื่อนไขสัญญาร่วมทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ระยะเวลาสัญญา 50 ปี มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท กำหนดว่า ในวันที่ 24 ต.ค. 2564 หรือ 2 ปี หลังลงนามสัญญา บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ ซี.พี.และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC), บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งได้ปลี่ยนชื่อ เป็น บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จะต้องชำระเงินค่าโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์ จำนวน 10,671.090 ล้านบาทให้ รฟท. เพื่อเข้าบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์ในวันที่ 25 ต.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44737
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/10/2021 8:06 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ครม.เคาะเยียวยาซี.พี.เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 1.06 หมื่นล.ชี้ผลกระทบโควิดทำผู้โดยสารต่ำเป้า เหตุสุดวิสัย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.

ครม.เยียวยาไฮสปีด “ซีพี” ปูทางแก้สัญญายืดจ่ายค่า “แอร์พอร์ต เรลลิงก์”
กรุงเทพธุรกิจ 20 ต.ค. 2564 เวลา 6:30 น.

ครม.รับทราบแนวทางลดผลกระทบโควิด-19 รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลัง “เอรา วัน” คู่สัญญามีปัญหาชำระค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรลลิงก์ 1 หมื่นล้าน จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจช่วงโควิด-19

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ได้มีการลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับบริษัทรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 โดยปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด

สำหรับการร่วมลงทุนครั้งนี้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จะได้รับสิทธิการบริการโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยในสัญญาร่วมลงทุนกำหนดให้เอกชนคู่สัญญาจะต้องชำระค่าสิทธิบริหารโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ วงเงิน 10,671 ล้านบาท เต็มจำนวนภายใน 2 ปี หลังลงนามสัญญา หรือภายในวันที่ 24 ต.ค.2564

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และมอบหมายให้ ร.ฟ.ท.และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้บริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้เกิดปัญหาในส่วนของการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เนื่องจากผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 โดยทาง บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นคู่สัญญา มีหนังสือหารือผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งผลกระทบเกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัยของภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ทั้งนี้ เอกชนได้ขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยา โดยขอขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการ และการขยายระยะเวลาโครงการ

นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เห็นว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายไม่อาจคาดการณ์ได้ก่อนลงนามในสัญญา และมีผลกระทบเกิดขึ้นจริงจึงมีมติเห็นชอบหลักการเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 ในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แก่เอกชนคู่สัญญาและแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เห็นด้วยกับหลักการและมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เรื่องที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ตามสัญญาร่วมลงทุนที่จะถึงกำหนดชำระวันที่ 24 ต.ค.2564 เนื่องจากโควิด-19 นั้น ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผ่อนผันในการไม่ชำระเงิน


ดังนั้น กพอ.จึงได้มอบหมายให้ รฟท. , สกพอ. และคณะกรรมการกำกับดูแลฯ พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ขอให้ดำเนินการตามกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนนำเสนอ ครม.

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า เรื่องดังกล่าวเป็นมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยถ้าหากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวระหว่างการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนอาจทำให้การบริหารโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ต้องหยุดให้บริการหลังจากวันที่ 24 ต.ค.2564 และอาจส่งผลกระทบต่อการบริการประชาชนในวงกว้าง นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังต้องแบกภาระการขาดทุนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ต่อไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของ ร.ฟ.ท.และจะสร้างความเสียหายต่อโครงการอื่นของภาครัฐ


-------------


ครม.อนุมัติแก้สัญญา'ไฮสปีด'
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Wednesday, October 20, 2021 04:09

'ซีพี'ยื่นขยายจ่ายแอร์พอร์ต เรลลิงก์ - คมนาคมขวาง'สายสีเขียว'

Click on the image for full size

"วิษณุ" เผย "อนุพงษ์" ถอนวาระ หลังถูกทักท้วง

กรุงเทพธุรกิจ ครม.รับทราบแนวทางลด ผลกระทบโควิด-19 รถไฟเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลัง "เอรา วัน" คู่สัญญามีปัญหาชำระค่าสิทธิบริหาร แอร์พอร์ต เรลลิงก์ 1 หมื่นล้าน จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจช่วงโควิด-19 "วิษณุ"เผย"มหาดไทย" ถอนวาระต่อสัมปทานบีทีเอสออกจาก ครม. หลัง"คมนาคม"ทักท้วงต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามกฎหมาย และมติ ครม.

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ได้มีการลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับบริษัทรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 โดยปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อ เป็นบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด

สำหรับการร่วมลงทุนครั้งนี้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จะได้รับสิทธิการบริการโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์(พญาไท-สุวรรณภูมิ) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยในสัญญาร่วมลงทุนกำหนดให้เอกชนคู่สัญญาจะต้องชำระค่าสิทธิบริหารโครงการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ วงเงิน 10,671 ล้านบาท เต็มจำนวนภายใน 2 ปี หลังลงนามสัญญา หรือภายในวันที่ 24 ต.ค.2564

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตาม มติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และมอบหมายให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้บริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก

ขอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้เกิดปัญหาในส่วนของการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เนื่องจากผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 โดยทาง บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นคู่สัญญา มีหนังสือหารือ ผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งผลกระทบเกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัยของภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ทั้งนี้ เอกชนได้ขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยา โดยขอขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการ และ การขยายระยะเวลาโครงการ

เห็นชอบเยียวยาคู่สัญญา

นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เห็นว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายไม่อาจคาดการณ์ได้ก่อนลงนามในสัญญา และ มีผลกระทบเกิดขึ้นจริงจึงมีมติเห็นชอบหลักการเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 ในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แก่เอกชนคู่สัญญาและแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วม ลงทุน

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เห็นด้วยกับหลักการและมีความเห็น เพิ่มเติมว่า เรื่องที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ ตามสัญญาร่วมลงทุน ที่จะถึงกำหนดชำระวันที่ 24 ต.ค.2564 เนื่องจากโควิด-19 นั้น ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผ่อนผันในการไม่ชำระเงิน

ดังนั้น กพอ.จึงได้มอบหมายให้ รฟท. สกพอ. และคณะกรรมการกำกับดูแลฯ พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ขอให้ดำเนินการตามกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนนำเสนอ ครม.

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า เรื่องดังกล่าวเป็นมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยถ้าหากไมมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวระหว่างการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนอาจทำให้การบริหารโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ต้องหยุดให้บริการหลังจากวันที่ 24 ต.ค.2564 และอาจส่งผลกระทบต่อการบริการประชาชนในวงกว้าง นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังต้องแบกภาระการขาดทุนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ต่อไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของ ร.ฟ.ท.และจะสร้างความเสียหายต่อโครงการอื่นของภาครัฐ

ถอนวาระต่อสัมปทานบีทีเอส

นอกจากนี้ การประชุม ครม.วานนี้ (19 ต.ค.) ได้มีการบรรจุวาระการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยจะเป็น การต่ออายุสัมปทาน 30 ปี จากเดิม จะสิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2572 ซึ่งมีเงื่อนไขการให้บีทีเอสรับภาระหนี้ของกรุงเทพมหานครด้วย

สำหรับเรื่องดังกล่าวได้มีการพิจารณามาเป็นเวลานาน โดยเมื่อวันที่ 13 ส.ค.2563 ได้มีการนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ได้มีการถอนเรื่องออกจากวาระเพื่อพิจารณาเช่นกัน เนื่องจาก นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้นำไปศึกษา รายละเอียดให้ชัดเจนก่อนนำเสนอเข้า ครม.ใหม่

ส่วนการเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในครั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ส่งข้อสังเกตถึง กระทรวงมหาดไทยในวันที่ 18 ต.ค.2564 โดยไม่มีการหารือกันระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับคมนาคมก่อนที่จะมีการประชุม ครม.

"อนุพงษ์"ยอมถอนวาระ
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์หลังการประชุม ครม.ว่า "เลื่อนออกไปก่อน เลื่อนออกไปก่อน" จากนั้นก็เดินขึ้นรถออกไปทันที

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า กระทรวงคมนาคม มีข้อทักท้วง และกระทรวงมหาดไทยเพิ่งเห็น เมื่อคืนวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา จึงต้องตอบข้อทักท้วงดังกล่าวก่อน

"ผมยังไม่เห็นข้อทักท้วง และไม่ทราบว่า มีกี่ประเด็น เมื่อที่ประชุม ครม.พิจารณา มาถึงวาระนี้ รัฐมนตรีมหาดไทย ได้ขอถอนวาระเพื่อทำความเห็นเข้ามาใหม่ ส่วนจะเสนอ ในสัปดาห์หน้าหรือไม่ ก็อยู่ที่กระทรวงมหาดไทยจะทำเสร็จหรือไม่ ซึ่งเรื่องดังกล่าว ไม่ได้มีการมาปรึกษาอะไรกับผม" นายวิษณุ กล่าว

"คมนาคม"ชี้ต้องถูกกฎหมาย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กรณีวาระพิจารณาต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่กระทรวงมหาดไทยถอนวาระพิจารณาออกไปนั้น กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าการพิจารณาเรื่องดังกล่าวต้องพิจารณาว่าดำเนินการครบถ้วนตามระเบียบกฎหมาย และมติ ครม.เรียบร้อยแล้วหรือไม่ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้มีข้อทักท้วง เพราะเล็งเห็นว่าการดำเนินการในประเด็นนี้ ยังไม่ครบถ้วนตามระเบียบกฎหมายและมติ ครม.

ขณะที่ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคม ได้ตั้งข้อสังเกต 4 เรื่อง เพื่อให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ตอบข้อสังเกตเพื่อนำไปสู่การพิจารณาต่ออายุสัมปทาน แต่ปัจจุบัน กทม.ยังตอบกลับไม่ครบ โดยประเด็นข้อสังเกตดังกล่าว ประกอบด้วย

1.ความครบถ้วนตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2.ค่าโดยสารที่เหมาะสมเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ 3.การใช้สินทรัพย์ของรัฐที่รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ 4.ข้อพิพาททางกฎหมายและการร้องเรียน

รายงานข่าวระบุว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2564 บีทีเอส ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง ใช้สิทธิ์ตามกฎหมายฟ้องต่อกรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในการชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ทั้งนี้ ปัจจุบันภาระหนี้สะสมที่กรุงเทพมหานครมีต่อบีทีเอส รวม 32,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย 1.หนี้ค่าจ้างเดินรถตั้งแต่เดือน เม.ย. 2560 จนถึงเดือน ก.ค.2564 รวม 12,000 ล้านบาท และ 2.หนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและ เครื่องกล) จำนวน 20,000 ล้านบาท

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 ต.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44737
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/10/2021 3:10 pm    Post subject: Reply with quote

กลุ่มซีพีชง ’รื้อ’ สัญญาไฮสปีด-เลื่อนจ่ายหมื่นล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 20 ต.ค. 2564 เวลา 14:54 น.21

ครม.สั่งสำนักงานอีอีซี-รฟท. เร่งหาข้อสรุป หลังกลุ่มซีพีอ้างผลกระทบโควิด ขอแก้สัญญาสัมปทานไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมเลื่อนจ่ายเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาทค่าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 24 ตุลาคมนี้

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ไตรศุลี ไตรสรณกุล ระบุ คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด 19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ กพอ. และมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกพอ. ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้โครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ให้บริการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก

สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น คือการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จำนวน 10,671 ล้านบาท ซึ่งบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ผู้รับสัมปทานไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ได้ยื่นหนังสือหารือผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการไฮสปีดเทรและขอปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุน โดยผลกระทบเกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัยจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 จึงขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยา โดยขอขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการ และการขยายระยะเวลาโครงการ

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารสัญญาไฮสปีดเทรนเห็นว่าการแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นเหตุการณ์ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่อาจคาดการณ์ได้ก่อนลงนามสัญญา และมีผลกระทบเกิดขึ้นจริง จึงมีมติเห็นชอบหลักการเยียวยาในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แก่เอกชนคู่สัญญา และแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และมีความเห็นเพิ่มเติมว่าการที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ตามสัญญาซึ่งจะครบกำหนดชำระในวันที่ 24 ตุลาคมนี้ เนื่องจากโควิด 19 ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผ่อนผันในการไม่ชำระเงิน

กพอ.จึงมอบหมายให้รฟท. สกพอ. และคณะกรรมการกำกับดูแลฯ พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ขอให้ดำเนินการตามกระบวนการแก้ไขสัญญาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี

สำหรับเงื่อนไขการร่วมลงทุนไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน กำหนดว่าผู้รับสัมปทานจะได้สิทธิการบริการโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ โดยต้องชำระค่าสิทธิบริหารโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ วงเงิน 10,671 ล้านบาท เต็มจำนวนภายใน 2 ปี หลังลงนามสัญญา หรือภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2564

สำหรับบริษัทผู้รับสัมปทานไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน คือ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มซีพีถือหุ้นใหญ่ 70% บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ถือหุ้น 15% บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้น 10% และ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนท์ ถือหุ้น 5%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44737
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/10/2021 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

กลุ่มซีพีขอแก้สัญญารถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน l ลึกแต่ไม่ลับ l THAN TALK l 20/10/64
Oct 20, 2021

ฐานเศรษฐกิจ Thansettakij


https://www.youtube.com/watch?v=l2oRBhB9PCI
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42780
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2021 12:46 am    Post subject: Reply with quote

ครม.เคาะเยียวยา ซี.พี.เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 1.06 หมื่นล้าน ชี้ผลกระทบโควิดทำผู้โดยสารต่ำเป้า เหตุสุดวิสัย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.



ครม.เห็นชอบ ซี.พี.เลื่อนจ่ายค่า "แอร์พอร์ตเรลลิงก์" 1.06 หมื่นล้านจาก 24 ต.ค. 64 ออกไปก่อน ชี้เหตุสุดวิสัย "โควิด" ผู้โดยสารไม่เป็นไปตามคาดการณ์ มอบ รฟท.-อีอีซีเร่งเจรจาแก้สัญญาร่วมทุน ยันไม่กระทบบริการประชาชน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 19 ต.ค. มีมติรับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้การบริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก

โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินมีปัญหาเรื่องการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เนื่องจากผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 โดยทาง บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นคู่สัญญา มีหนังสือหารือผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการฯ เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นผลกระทบเกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัย โดยขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยา โดยขอขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการฯ และการขยายระยะเวลาโครงการฯ

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเห็นว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่อาจคาดการณ์ได้ก่อนลงนามในสัญญา และมีผลกระทบเกิดขึ้นจริง จึงมีมติเห็นชอบหลักการเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 ในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์แก่เอกชนคู่สัญญาและแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ


อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับฯ เห็นด้วยกับหลักการ และมีความเห็นเพิ่มเติมว่าเรื่องที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ตามสัญญาร่วมลงทุนฯ ที่จะถึงกำหนดชำระในวันที่ 24 ต.ค. 2564 เนื่องจากโควิด-19 นั้นไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผ่อนผันในการไม่ชำระเงิน ดังนั้น กพอ.จึงได้มอบหมายให้รฟท. สกพอ. และคณะกรรมการกำกับดูแลฯ พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ขอให้ดำเนินการตามกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนนำเสนอ ครม.

โดยตามเงื่อนไขสัญญาร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ระยะเวลาสัญญา 50 ปี มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท กำหนดว่าในวันที่ 24 ต.ค. 2564 หรือ 2 ปีหลังลงนามสัญญา บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ ซี.พี.และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC), บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งได้ปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จะต้องชำระเงินค่าโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์จำนวน 10,671.090 ล้านบาทให้ รฟท. เพื่อเข้าบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์ในวันที่ 25 ต.ค. 2564

รฟท.เตรียมเซ็น MOU ซี.พี.เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 3 เดือน เร่งเจรจาเงื่อนไขแบ่งชำระ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:51 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:51 น.



บอร์ด รฟท.เห็นชอบเซ็น MOU กับเอเชีย เอรา วัน (ซี.พี.) ตกลงเลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์จาก 24 ต.ค. 64 ไป 3 เดือน พร้อมเร่งเจรจาเงื่อนไขแบ่งชำระและแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ เผยยังไม่โอนสิทธิ์จนกว่าจะจ่ายเงิน

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2564 ได้มีมติรับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ตามมติ กพอ. ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2564 พร้อมทั้งเห็นชอบการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง รฟท. อีอีซี และ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งกำหนดลงนามในวันที่ 20 ต.ค.2564 เพื่อให้มีผลก่อนวันที่ 24 ต.ค. 2564 ซึ่งเป็นกำหนดที่ รฟท.จะโอนสิทธิ์การเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือเดิมคือกลุ่ม ซี.พี. โดย MOU จะมีระยะเวลา 3 เดือน เนื่องจากคาดว่ากระบวนการแก้ไขสัญญาจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน

ทั้งนี้ เมื่อที่ประชุม กพอ.มีมติถึงแนวทางการแก่ปัญหาให้เอกชน รฟท.จึงได้รับทราบตามข้อเท็จจริง และปฏิบัติตาม โดยจะเร่งลงนาม MOU ร่วมกันก่อน ส่วนการแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ นั้น เนื่องจากมีกระบวนการที่ต้องดำเนินการตามระเบียบและข้อกฎหมาย คือต้องเสนอร่างสัญญาที่มีการแก้ไขให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ รวมถึงผ่านความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กฤษฎีกา และสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ

“ทางเอกชนขอผ่อนชำระค่าแอร์พอร์เรลลิงก์ แต่ประสงค์จะเข้าดำเนินการบริหารโครงการในวันที่ 24 ต.ค. 2564 ตามเงื่อนไขสัญญา ดังนั้น เมื่อยังไม่มีการชำระค่าโอนสิทธิ์ จึงต้องถือว่า รฟท.ยังเป็นเจ้าของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ต่อไป โดยจะให้ บ.เอเชีย เอรา วันฯ เข้ามาดำเนินการได้ก่อน สามารถส่งพนักงานเข้ามาดำเนินการแทน บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งจะต้องโยกย้ายบุคลากรไปให้บริการที่รถไฟชานเมืองสายสีแดงตามแผน ดังนั้น ในแง่การให้บริการจะไม่มีผลกระทบต่อประชาชน”

@เจรจายังไม่จบ ผ่อนจ่าย 6 ปี หรือ 10 ปี พร้อมดอกเบี้ย

แหล่งข่าวจาก รฟท.กล่าวว่า จากเงื่อนไขสัญญาร่วมทุนฯ ที่ตกลงจะจ่ายค่าแอร์พอร์เรลลิงก์จำนวน 10,671.090 ล้านบาทเป็นก้อนเดียวในวันที่ 24 ต.ค. 2564 ซึ่ง ซี.พี.ได้เจรจาขอเลื่อนชำระ พร้อมกับแบ่งชำระ 10 งวด (10 ปี) ซึ่งคณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการฯ ได้มีการเจรจากับบริษัทฯ แบ่งชำระเหลือ 6 งวด (6 ปี) โดยปีแรกจ่ายในสัดส่วน 5% ปีที่ 2 จ่าย 7% ปีที่ 3 จ่าย 10% ปีที่ 4 จ่าย 10% ปีที่ 5 จ่าย 10% ปีที่ 6 จ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดประมาณ 67.7% ซึ่งกรณีแบ่งชำระเอกชนต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม โดยค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) จะอยู่ที่ 11,705.463 ล้านบาท เพิ่มจากวงเงินเดิม 1,034.373 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หลังจากเซ็น MOU แล้วจะมีการเจรจากันอีก ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนจำนวนงวด รวมถึงการเริ่มจ่ายงวดแรกเมื่อใด โดยจะประเมินโควิดด้วยเนื่องจากจะส่งผลต่อจำนวนผู้โดยสารที่จะกลับเป็นปกติ

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ระยะเวลา 50 ปี มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท สัญญาร่วมทุนกำหนดบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ ซี.พี.และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC), บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จะต้องชำระเงินค่าโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์จำนวน 10,671.090 ล้านบาท ให้ รฟท.วันที่ 24 ต.ค. 2564 หรือ 2 ปีหลังลงนามสัญญา เพื่อเข้าบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์
Mongwin wrote:
กลุ่มซีพีชง ’รื้อ’ สัญญาไฮสปีด-เลื่อนจ่ายหมื่นล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 20 ต.ค. 2564 เวลา 14:54 น.21

กลุ่มซีพีขอแก้สัญญารถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน l ลึกแต่ไม่ลับ l THAN TALK l 20/10/64
Oct 20, 2021

ฐานเศรษฐกิจ Thansettakij

https://www.youtube.com/watch?v=l2oRBhB9PCI
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44737
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/10/2021 9:46 am    Post subject: Reply with quote

แนะเชื่อมไฮสปีดจีน-สปป.ลาว
Source - เดลินิวส์
Thursday, October 21, 2021 08:15

รายงานข่าวจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยควรเร่งหาทางจัดทำความตกลงว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นความร่วมมือ 3 ประเทศ ระหว่างประเทศจีน ไทย และสปป.ลาว เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน-สปป.ลาว ที่จะเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค.64 นี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและการขยายการลงทุน ทำให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะการช่วยส่งเสริมการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน โดยคาดว่าผู้ประกอบการจีนจะเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การนำเข้า-ส่งออกสินค้าของทั้ง 3 ประเทศ ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับการเร่งการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟนั้น ปัจจุบันการเดินทางและขนส่งสินค้าของไทยด้วยโครงข่ายทางรถไฟจะใช้ขนาดทาง 1 เมตร สามารถเดินรถไฟจากสถานีรถไฟหนองคายถึงสถานีรถไฟท่านาแล้ง ของ สปป.ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพ แห่งที่ 1 โดยที่ผ่านมาสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (เนด้า) ได้สนับสนุนการดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ระยะทาง 5.35 กิโลเมตรก่อสร้างแล้ว 70%

เมื่อโครงการฯ แล้วเสร็จจะทำให้เชื่อมต่อการเดินทางและขนส่งสินค้าทางรถไฟจากสถานีเวียงจันทน์มายังระบบรถไฟ ขนาดทาง 1 เมตร ของไทยได้ แต่สถานีเวียงจันทน์ภายใต้โครงการนี้ ตั้งอยู่คนละพื้นที่กับจุดสิ้นสุดของรถไฟความเร็วสูงสายจีน-สปป.ลาว ตั้งอยู่บริเวณเวียงจันทน์ใต้ จึงเกิดปัญหาด้านการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าและการเดินทางระหว่างจีน สปป.ลาว และไทยจำเป็นต้องเร่งหาทางจัดทำความตกลงว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างกันต่อไป.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 22 ต.ค. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42780
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2021 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

แก้สัญญาแอร์พอร์ตลิงก์เชื่อมไฮสปีด
อสังหาริมทรัพย์
วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:17 น.


ครม.ไฟเขียวแก้สัญญาบริษัทเอเชีย เอรา วัน ขยายเวลาชำระค่าให้สิทธิร่วมทุนแอร์พอร์ตลิงก์ จ่อลงนาม MOU ยืดเวลาปรับรายละเอียด “ไฮสปีด 3 สนามบิน” เปิดทางกลุ่ม ซี.พี.ขอผ่อนจ่าย 10,671 ล้านบาท เดินหน้าส่งมอบพื้นที่ช่วง “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” 24 ต.ค. 64 ตามกำหนดเดิม พร้อมเร่งเคลียร์สาธารณูปโภค “ไฟฟ้า-ประปา” 3 จุดก่อนเปิดไซต์ก่อสร้าง

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้บริการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินได้เกิดปัญหาในส่วนของการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เนื่องจากผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 โดยทางบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นคู่สัญญามีหนังสือหารือผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุน

ซึ่งผลกระทบเกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัยของภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยา โดยขอขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการ และการขยายระยะเวลาโครงการ

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เห็นว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายไม่อาจคาดการณ์ได้ก่อนลงนามในสัญญา และมีผลกระทบเกิดขึ้นจริง จึงมีมติเห็นชอบหลักการเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 ในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์ แก่เอกชนคู่สัญญาและแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เห็นด้วยกับหลักการ และมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เรื่องที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ตามสัญญาร่วมลงทุนที่จะถึงกำหนดชำระในวันที่ 24 ต.ค. 2564

เนื่องจากโควิด-19 นั้น ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผ่อนผันในการไม่ชำระเงิน ดังนั้น กพอ.จึงได้มอบหมายให้ ร.ฟ.ท. สกพอ. และคณะกรรมการกำกับดูแลฯพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ขอให้ดำเนินการตามกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนนำเสนอ ครม.

ขอแบ่งจ่าย 10 งวด 10 ปี
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯ เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2564 มีมติเห็นชอบดำเนินการตามมติที่ประชุมบอร์ด EEC

โดยมีมติให้ดำเนินการตามที่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ของกลุ่ม ซี.พี. ขอผ่อนชำระการจ่ายค่าใช้สิทธิ์รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงพญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงิน 10,671 ล้านบาท ทดแทนการจ่ายเต็มจำนวน

สำหรับข้อเสนอเอกชนที่ขอแบ่งจ่าย 10 งวดเป็นเวลา 10 ปีนั้น ทางบอร์ดการรถไฟฯ และบอร์ด EEC ไม่ได้ให้ความเห็นชอบในเรื่องนี้ และมอบหมายให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาความเหมาะสม จากนั้นให้เสนอให้บอร์ดพิจารณาอีกครั้ง

โดยกลุ่ม ซี.พี.ให้เหตุผลว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ทำให้ปริมาณผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ลดลง 70-80% จากคาดการณ์มีปริมาณผู้โดยสารวันละ 80,000-90,000 เที่ยวคน/วัน มีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการจริงเฉลี่ยวันละ 30,000 เที่ยวคน/วัน ดังนั้น การจ่ายค่าใช้สิทธิ์เต็มจำนวน 10,671 ล้านบาท เพียงก้อนเดียว จึงเป็นความเสี่ยงต่อการขาดทุน และขอผ่อนจ่ายออกเป็น 10 งวดดังกล่าว เพื่อให้แผนธุรกิจสะท้อนผลประกอบการที่แท้จริง

ลงนาม MOU ก่อน 24 ต.ค.
แหล่งข่าวกล่าวว่า ถึงแม้บอร์ด EEC และบอร์ดการรถไฟฯเห็นชอบให้สามารถแบ่งชำระค่าใช้สิทธิ์แอร์พอร์ตลิงก์ได้ แต่ในทางปฏิบัติ สัญญาสัมปทานกำหนดให้จ่ายทันที 10,671 ล้านบาท ดังนั้น นโยบายให้สามารถแบ่งจ่ายจึงขัดกับสัญญาสัมปทานเดิม จึงต้องมีการแก้ไขเพื่อเปิดทางให้สามารถทำได้ และต้องนำเสนอร่างแก้ไขสัญญาสัมปทานเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป


ในระหว่างนี้ การรถไฟฯ, บอร์ด EEC และผู้รับสัมปทานกลุ่ม ซี.พี. มีกำหนดลงนามข้อตกลง MOU ก่อนวันที่ 24 ต.ค.นี้ เพื่อให้คู่สัญญาทั้งฝ่ายรัฐและเอกชนร่วมกันพิจารณาและดำเนินการแก้ไขสัญญาสัมปทาน เบื้องต้นกำหนดระยะเวลาข้อตกลง MOU 3 เดือน หากกระบวนการแก้ไขสัญญาไม่ทันก็อาจจะเสนอขอต่อเวลาออกไปได้อีกในอนาคต

“การขอผ่อนจ่ายค่างวดจะไม่ส่งผลต่อการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์แต่อย่างใด ในเบื้องต้นบริษัทลูก รฟฟท. ยังดูแลสิทธิ์ในการบริหารการเดินรถไฟฟ้าไปก่อน ส่วนการทำงานต่าง ๆ กลุ่ม ซี.พี.ซึ่งได้เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรที่จะมารับช่วงต่อในการเดินรถก็ได้ส่งคนเข้ามาเรียนรู้งานระบบบ้างแล้ว รวมทั้ง รฟฟท.เริ่มทรานส์ฟอร์มการทำงานบางแผนกให้กลุ่ม ซี.พี.ดำเนินการแล้ว จึงมั่นใจว่าจะไม่เกิดรอยต่อและกระทบกับการให้บริการประชาชน”

ยืดเวลาส่ง NTP 150 วัน
นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานเร่งรัดการรื้อย้าย ส่งมอบพื้นที่รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 24 ตุลาคม 2564 คาดว่าการรถไฟฯจะส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร 5,521 ไร่ ให้กับกลุ่ม ซี.พี.เปิดไซต์ก่อสร้างได้ทันกำหนดแน่นอน

ประเด็นเดียวกันนี้ แหล่งข่าวการรถไฟฯกล่าวว่า การส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภามีการปรับแผนส่งมอบใหม่ วิธีการจะทำหนังสือแจ้งส่งมอบพื้นที่บางส่วนตามปกติ แต่จะยังไม่ส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP-notice to proceed) เนื่องจากต้องเคลียร์ระบบสาธารณูปโภคที่กีดขวางแนวเส้นทางก่อน โดยใช้เวลาดำเนินการ 150 วัน นับจากวันที่ 24 ต.ค. 2564

รื้อย้ายไฟฟ้า-ประปา 3 จุด
สำหรับระบบสาธารณูปโภคที่ติดค้างมี 3 จุด แบ่งเป็นบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงและสถานีไฮสปีดฉะเชิงเทรา 2 จุด คืองานท่อประปาของการประปาส่วนภูมิภาค กับสายส่งไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) อีก 1 จุดอยู่บริเวณสถานีอู่ตะเภา งานระบบไฟฟ้าของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทาน กองทัพเรือ ซึ่งจะต้องรื้อย้ายเพื่อออกแบบสถานีและจุดเชื่อมต่อกับโครงการมอเตอร์เวย์ต่อขยายช่วงมาบตาพุด-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 7 กิโลเมตรของกรมทางหลวง (ทล.)

อีกทั้งในพื้นที่ดังกล่าวยังติดปัญหาการจ่ายค่าเวนคืนให้กับประชาชนบางส่วน คิดเป็น 25% จากจำนวนผู้ถูกเวนคืนทั้งหมด ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้รับงบประมาณสำหรับใช้เป็นค่าวางทรัพย์ที่ธนาคารของรัฐ และกรมบังคับคดีแล้ว วงเงิน 200-300 ล้านบาท ซึ่งจะต้องดำเนินการในส่วนนี้ให้เรียบร้อยด้วย

เคลียร์พื้นที่บางซื่อ-ดอนเมือง
ขณะที่การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 22 กิโลเมตรนั้น แหล่งข่าวระบุว่า เฟสแรกในช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 10 กิโลเมตร มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กำลังเจรจากับฝั่งโครงการไฮสปีดเทรนไทย-จีน เพื่อให้ได้ข้อสรุปในการก่อสร้างโครงสร้างร่วมของทั้ง 2 โครงการ รวมถึงการรื้อถอนโครงสร้างตอม่อโฮปเวลล์ด้วย วางไทม์ไลน์การส่งมอบพื้นที่ในส่วนนี้ภายในเดือน มี.ค. 2565

กับเฟส 2 ช่วงบางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 12 กิโลเมตร วางแผนส่งมอบภายในปี 2566 เพราะเป็นพื้นที่ที่มีระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ขวางแนวเส้นทาง 2 จุด คือ 1.คลองไซฟอนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) บริเวณสามเสน 2.ท่อน้ำมันของบริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) ซึ่งทั้งสองหน่วยได้ทำเรื่องของบฯกลางประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อดำเนินการแล้ว

Wisarut wrote:
ครม.เคาะเยียวยา ซี.พี.เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 1.06 หมื่นล้าน ชี้ผลกระทบโควิดทำผู้โดยสารต่ำเป้า เหตุสุดวิสัย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.

รฟท.เตรียมเซ็น MOU ซี.พี.เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 3 เดือน เร่งเจรจาเงื่อนไขแบ่งชำระ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:51 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:51 น.


Mongwin wrote:
กลุ่มซีพีชง ’รื้อ’ สัญญาไฮสปีด-เลื่อนจ่ายหมื่นล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 20 ต.ค. 2564 เวลา 14:54 น.21

กลุ่มซีพีขอแก้สัญญารถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน l ลึกแต่ไม่ลับ l THAN TALK l 20/10/64
Oct 20, 2021

ฐานเศรษฐกิจ Thansettakij

https://www.youtube.com/watch?v=l2oRBhB9PCI
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 420, 421, 422 ... 548, 549, 550  Next
Page 421 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©