RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311308
ทั่วไป:13279442
ทั้งหมด:13590750
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 422, 423, 424 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2021 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
กรุงเทพธุรกิจ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 12:34 น.


“อีอีซี” เปิดสาเหตุ ซีพี เลื่อนจ่ายค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
หน้าเศรษฐกิจMega Project
26 ตุลาคม 2564 เวลา 17:16 น.

“อีอีซี” เผยซีพี เลื่อนถ่ายโอนธุรกิจ-จ่ายค่าสิทธิแอร์พอร์ เรล ลิงก์ 1 หมื่นล้านบาท หลังโควิด-19 ระบาด ได้รับผลกระทบหนัก เผยยอดผู้โดยสารลดฮวบแตะ 10,000-20,000 คนต่อวัน เล็งทุ่มงบ 3 พันล้าน จัดหาขบวนรถไฟ รองรับประชาชนผู้ใช้บริการ

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้กับบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด หรือซีพี ที่ปัจจุบันได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด” เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) บริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด นั้น ตามสัญญากำหนดไว้ว่าเอกชนต้องเข้าไปดำเนินการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ปริมารผู้โดยสารที่ใช้บริการลดลงอยู่ที่ 10,00-20,000 คนต่อวัน บางวันต่ำสุดอยู่ 9,000 คนต่อวัน จากเดิมตามสัญญาคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารใช้บริการอยู่ที่ 70,000-80,000 คนต่อวัน ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่เคยคาดการณ์มาก่อน ทำให้รฟท.ได้รับการขาดทุนมาโดยตลอด เพราะไม่ได้มีการของบประมาณไว้ล่วงหน้า เบื้องต้นที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) มีมติให้นโยบายรฟท.หาทางแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โดยเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา รฟท.และเอกชนคู่สัญญา ได้ลงนามสัญญาบันทึกข้อตกลงที่จะบริหารสัญญาร่วมทุนเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับสถานการณณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้เอกชนเข้าดำเนินการบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ได้ก่อน เพื่อสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับรายละเอียดการลงนามสัญญาในครั้งนี้ระบุว่า เอกชนต้องดำเนินการเข้ารับบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยเอกชนคู่สัญญาต้องรับผิดกชอบค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินการที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินการรถไฟระบบซ่อมบำรุงแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นไปตามดัชนีชี้วัดKPI ที่รฟท.กำหนด ปัจจุบันเอกชนได้ลงทุนเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการฯแล้ว วงเงิน 1,100 ล้านบาท ในการปรับปรุงระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รวมทั้งการฝึกอบรมพนักงานต่อเนื่องเพื่อสามารถเข้าไปดำเนินการต่อได้ ขณะเดียวกันรฟท.จะเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรายได้ทั้งหมดและยังไม่ได้โอนให้กับเอกชน แต่จะโอนรายได้ให้กับเอกชนต่อเมื่อเอกชนดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ ทั้งนี้ให้เอกชนนำค่าโดยสารดังกล่าวหักกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากมีกำไรให้โอนกลับมาที่รฟท. ดังนั้นรฟท.จึงไม่ต้องรับภาระขาดทุนวันที่ส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อีกต่อไป


ขณะเดียวกันวันที่ลงนามสัญญาเอกชนได้ชำระเงิน 1,067 ล้านบาท คิดเป็น 10% ของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ วงเงิน 10,067 ล้านบาท ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลา 3 เดือน ในการเจรจาหาทางออกร่วมกันโดยที่รัฐไม่เสียผลประโยชน์และให้ความเป็นธรรมแก่เอกชน โดยการดำเนินการในครั้งนี้จะต้องเสนอต่อคณะกรมการรฟท.และคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รับทราบต่อไป









“เอกชนได้ดำเนินการตามข้อตกลงแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ปัจจุบันรฟท.ได้ตรวจสอบการทำงานแล้วเป็นไปอย่างราบรื่นไม่พบปัญหาอุปสรรคใดๆในการดำเนินการให้กับประชาชน เนื่องจากกระบวนการถ่ายโอนดำเนินการมานานแล้ว โดยรฟท.ได้เข้าไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นเอกชนได้เสนอแนวทางการพัฒนารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ วงเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อจัดหาขบวนรถไฟเพิ่มเติม และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน”

นายคณิศ กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีที่เอกชนขอผ่อนชำระค่างวดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 10 เดือน 1 งวดและมีการต่อรองชำระค่างวดเหลือ 6 เดือน 6 งวด นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เบื้องต้นมอบหมายให้คณะกรรมการรฟท.พิจารณาผลกระทบจากการเจรจาต่อรองในเรื่องดังกล่าวก่อนเป็นอย่างไร หลังจากนั้นจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป


ทั้งนี้ในส่วนการจ่ายโอนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล เรล ลิงก์ นั้น ปัจจุบันรฟท.อยู่ระหว่างการตั้งทีมเจรจา โดยมีคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาดังกล่าว คาดว่าจะดำเนินการได้เร็วๆนี้ อีกทั้งการเปิดประเทศที่จะเกิดขึ้นนั้นจะช่วยลดแรงกดดันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะเดียวกันในปี 2563 ที่ผ่านมาเอกชนได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการอีอีซี ขอเลื่อนชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ วงเงิน 10,000 ล้านบาท ออกไปก่อน ภายในวันที่ครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมลงทุน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง จึงขอเลื่อนวันถ่ายโอนธุรกิจแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ออกไปอีก 3 เดือน

“อีอีซี” แจงแบงก์เบรกปล่อยกู้ซีพี สร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
26 ตุลาคม 2564 เวลา 16:02 น.

“อีอีซี” ชี้แจงข่าวลือ หลังมีกระแสแบงก์ไม่อนุมัติปล่อยกู้เงินให้ซีพี สร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ยืนยันไม่ถึงขั้นต้องทำสัญญากู้ รอรฟท.ไฟเขียวออกหนังสือแจ้งเริ่มงาน ภายในเดือน มี.ค.65 คาดชงแบงก์กู้เงิน 1 แสนล้าน ภายในเดือนพ.ย.65

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยถึงกรณีที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติการปล่อยกู้ให้บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด หรือซีพี ที่ปัจจุบันได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัท เอรา วัน จำกัด” เพื่อดำเนินโครางการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) นั้น

ขณะนี้รฟท.ได้ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 160 กิโลเมตร แล้ว 98.11% เพื่อเร่งรัดการก่อสร้างให้บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ดำเนินการ ซึ่งเอกชนคู่สัญญาได้ทยอยเข้าดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี 2563 เช่น การก่อสร้างถนน ก่อสร้างสะพาน บ้านพักคนงาน ฯลฯ โดยรฟท.ต้องส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเพิ่มเติมอีก 1.89% ภายในเดือนมกราคม 2565


หลังจากนั้นเอกชนจะได้รับหนังสือแจ้งให้เริ่มเงิน (NTP) ปัจจุบันโครงการฯ ดังกล่าวยังไม่ถึงขั้นตอนที่เอกชนคู่สัญญาจะต้องได้สินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อดำเนินโครงการฯ เนื่องจากต้องรอการรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.) ออกหนังสือแจ้งให้เริ่ม (NTP) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการภายในเดือนมีนาคม 2565 ส่วนการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน คาดว่าเอกชนต้องดำเนินการขอกู้วงเงิน ราว 1 แสนล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างช่วงสถานีลาดกระบัง-สถานีอู่ตะเภา


สำหรับสัญญาร่วมลงทุนระบุไว้ว่าเอกชนคู่สัญญาจะทำสัญญาสินเชื่อโครงการฯกับสถาบันการเงิน ภายใน 240 วัน นับจากวันที่ออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ดังนั้นขั้นตอนการทำสัญญาสินเชื่อต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 หากถึงช่วงทำสัญญาสินเชื่อดังกล่าวคาดว่าสถานการรณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 คงคลี่คลายแล้ว
สกพอ.รับไฮสปีดสามสนามบินเอกชนยังมีเวลาหาเงินกู้ถึงพ.ย. 65
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
26 ตุลาคม 2564 เวลา 15:26 น.

สำนักงานอีอีซี เปิดความก้าวหน้าการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินยังไม่ถึงขั้นตอนที่เอกชนคู่สัญญาต้องได้เงินกู้จากสถาบันการเงิน ชี้มีเวลาในการกู้เงินถึงเดือน พ.ย.65 หลัง รฟท. ออกหนังสือแจ้งเริ่มงานก่อสร้างแล้วในเดือน มี.ค.65


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินหลังจากเกิดกรณีปัญหาเกี่ยวกับเอกชนคู่สัญญาไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ ว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนที่เอกชนคู่สัญญาต้องได้เงินกู้จากสถาบันการเงิน เพราะสัญญาร่วมลงทุนกำหนดว่าให้เอกชนคู่สัญญาทำสัญญาเงินกู้โครงการกับสถาบันการเงิน ภายใน 240 วัน นับจากวันที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ออกหนังสือแจ้งเริ่มงานก่อสร้างอย่างเป็นทางการในช่วงประมาณเดือน มี.ค.65 ดังนั้นจึงทำให้เอกชนยังมีเวลาในการกู้เงินถึงเดือน พ.ย.65


ส่วนความก้าวหน้าโครงการ ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งมอบพื้นที่พร้อมก่อสร้างของโครงการช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาให้เอกชนคู่สัญญาแล้ว 98.11% ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 3,513 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา ซึ่งเอกชนคู่สัญญา ได้ทยอยเข้าเตรียมการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปลายปี 63 ประกอบด้วย การสร้างถนน และสะพานชั่วคราวของโครงการ การสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนทางวิ่งรถไฟ การสร้างบ้านพักคนงาน โดย รฟท. จะส่งมอบพื้นที่ที่เหลืออีก 1.89% ภายในเดือน ม.ค. 2565

นอกจากนี้กรณีเอกชนเข้ารับดำเนินการแอร์พอร์ตลิงก์นั้น ทางเอกชนได้เข้าดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 และการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่พบปัญหาอุปสรรคใด ๆ ในการให้บริการประชาชน โดย รฟท. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้เอกชนได้เสนอการลงทุนพัฒนาแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท ในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยรัฐไม่เสียประโยชน์ และเอกชนได้รับความเป็นธรรม


Last edited by Wisarut on 27/10/2021 5:54 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2021 8:01 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
จี้รฟท.รับเงิน10,671ล้านตามสัญญา ก่อนโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตลิงก์ให้ซีพี
หน้าเศรษฐกิจ - Mega Project
วันจันทร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:16 น.


“คณิศ” แจง ซี.พี.จ่ายมัดจำค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 10% แล้ว รับบริหารไร้ปัญหา ยันส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดจบ ม.ค. 65 ตามแผน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 15:20 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 15:20 น.

‘คณิต’แจงแผนโอนแอร์พอร์ตลิงก์สรุปภายใน 3 เดือน
วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 17:27 น.

“คณิต” เผยแผนส่งมอบพื้นที่“ไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน”คืบ 98.11% คาดครบ 100% ม.ค.65 ย้ำโอนแอร์พอร์ตลิงก์ รอสรุปภายใน 3 เดือน ด้านซีพีจ่ายมัดจำแล้ว 10% เข้าบริหารวันแรกราบลื่นไม่กระทบการใช้บริการของประชาชน


“สกพอ.” แจง ซี.พี.จ่ายมัดจำ 10% หรือกว่า 1 พันล้านบาทค่า “แอร์พอร์เรลลิงก์” ยืนยันพร้อมดำเนินการตามสัญญา เร่งเจรจา รฟท.เยียวยาโควิดจบใน 3 เดือน เผยส่งมอบพื้นที่สร้างไฮสปีดช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาไปแล้ว 98.11% ที่เหลือครบใน ม.ค. 65 พร้อมออก NTP มี.ค. 65 จึงยังไม่ถึงขั้นตอนหาเงินกู้ เชื่อเปิดประเทศสถานการณ์จะดีขึ้น

วันที่ 26 ต.ค. 2564 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (EEC Project list) ว่า กรณีที่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือเดิมคือกลุ่ม ซี.พี.ต้องเข้ารับโอนสิทธิ์ดำเนินการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ในวันที่ 24 ต.ค. 2564 ตามสัญญาร่วมทุน พร้อมชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนแอร์พอร์ตเรลลิงก์จำนวน 10,671.09 ล้านบาท ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แต่เนื่องจากผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้โดยสารลดลงจากประมาณ 7-8 หมื่นคน/วันในช่วงที่ทำสัญญา เหลือเพียง 1-2 หมื่น คน/วัน ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่คาดการณ์มาก่อน โดยทางเอกชนได้ทำหนังสือขอเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีนโยบายให้หาทางแก้ไขโดยไม่ให้กระเทือนต่อประชาชนผู้โดยสาร โดยเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2564 รฟท.และเอกชนได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการบริหารสัญญาร่วมลงทุน และแก้ไขปัญหาโครงการฯ เพื่อให้เอกชนเข้ารับดำเนินการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และให้มีบริการได้อย่างต่อเนื่อง โดย MOU มีระยะเวลา 3 เดือนเพื่อให้เจรจาหาทางออกร่วมกันโดยรัฐต้องไม่เสียประโยชน์ และเป็นธรรมต่อเอกชน โดยการเจรจาจะดำเนินการโดยคณะทำงานที่แต่งตั้งโดย รฟท.และคณะกรรมการกำกับเพื่อนำเสนอ รฟท. กพอ. และ ครม.ต่อไป

ทั้งนี้ MOU มีรายละเอียด คือ

1. เอกชนคู่สัญญาเข้ารับดำเนินการแอร์พอร์ตเรลลิงก์นับจากวันที่ 24 ต.ค. 2564 ตามกำหนดการที่วางไว้
2. เอกชนฯ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายรวมถึงบุคลากรปฏิบัติงานทั้งหมด รับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย และการดำเนินการอื่นใด เพื่อทำให้การเดินรถไฟและซ่อมบำรุงรักษาระบบแอร์พอร์ตเรลลิงก์เป็นไปตามมาตรฐานดัชนีชี้วัด หรือ KPI ที่ รฟท.กำหนด ซึ่งหลังจากลงนามสัญญาร่วมลงทุนฯ เอกชนได้มีการลงทุนไปแล้วกว่า 1,100 ล้านบาท ในการปรับปรุงระบบและบริการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และฝึกอบรมพนักงานปฏิบัติการมาอย่างต่อเนื่อง
3. รฟท.ยังเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารเหมือนเดิม เพราะยังไม่มีโอนสิทธิ์และรายได้ให้เอกชนจนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาการชำระค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์แล้วเสร็จ ทั้งนี้ จะให้เอกชนนำค่าโดยสารดังกล่าวไปหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากกำไรต้องส่งคืน รฟท. ดังนั้น รฟท.จึงไม่ต้องรับภาระขาดทุนจากการดำเนินงานแอร์พอร์ตเรลลิงก์อีกต่อไปนับจากวันที่ 24 ต.ค. 2564 ซึ่งในปี 2564 รฟท.ขาดทุนจากการดำเนินงานแอร์พอร์ตเรลลิงก์ประมาณ 600 ล้านบาท และประเมินว่าในปี 2565 หาก รฟท.ดำเนินการเองจะขาดทุนประมาณ 700 ล้านบาท ดังนั้น เมื่อให้เอกชนเข้ามาบริหารเท่ากับ รฟท.ตัดเรื่องขาดทุน ส่วนเอกชนเข้ามารับความเสี่ยงแทน ขณะที่ รฟท.เองไม่จัดเตรียมงบประมาณที่จะบริหารโครงการต่อด้วย

4. วันที่ลงนาม MOU เอกชนฯ นำเช็คเงินสดจำนวน 1,067.11 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของค่าสิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ตเรลลิงก์จำนวน 10,671.09 ล้านบาทให้แก่ รฟท. เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามบันทึกข้อตกลง ส่วนที่เหลือจะผ่อนผันการชำระเป็นอย่างไรยังอยู่ระหว่างหารือรายละเอียด

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2564 เอกชนได้เข้าดำเนินการโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ตาม MOU แล้ว และการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่พบปัญหาอุปสรรคใดๆ ในการให้บริการประชาชน โดย รฟท.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ เอกชนได้เสนอแผนการลงทุนเพื่อพัฒนาแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท โดยได้ลงทุนไปแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท จึงไม่มีเหตุผลที่จะชะลอการรับงานของเอกชน ส่วนที่เหลือจะมีการลงทุนในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม และจัดทำทางเดินเชื่อมใต้ดินจากสถานีรถไฟฟ้า MRT มายังสถานีแอร์พอร์ตเรลลิงก์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
ขณะนี้เอกชนส่งบุคลากรจำนวน 475 คนเข้าบริหารโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์แล้ว แบ่งเป็น ฝ่ายปฏิบัติการ 250 คน ฝ่ายซ่อมบำรุง 225 คน การถ่ายโอนการบริหารจึงไม่มีปัญหา แต่โอนสิทธิ์ต้องรอการเจรจาให้ได้ข้อยุติภายใน 3 เดือนก่อน

@ยันส่งมอบพื้นที่ ออก NTP เริ่มก่อสร้าง มี.ค. 65 แจงตอนนี้ยังไม่ถึงเวลากู้เงิน

ส่วนการส่งมอบพื้นที่เพื่อก่อสร้างให้เอกชนนั้น เอกชนจะต้องก่อสร้างโครงการช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ซึ่ง รฟท.ได้มีการส่งมอบพื้นที่ไปแล้ว 98.11% คิดเป็นพื้นที่ 3,513 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา ซึ่งเอกชนคู่สัญญาได้ทยอยเข้าเตรียมการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปลายปี 2563 ประกอบด้วย การสร้างถนนและสะพานชั่วคราวของโครงการ การสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนทางวิ่งรถไฟ การสร้างบ้านพักคนงาน ส่วนที่เหลืออีก 1.89% ภายในเดือน ม.ค. 2565 และเมื่อเอกชนตรวจรับพื้นที่แล้วเสร็จ รฟท.จะออกหนังสือแจ้งเริ่มงานก่อสร้างอย่างเป็นทางการ (NTP) ประมาณเดือน มี.ค. 2565 จึงยังไม่ถึงขั้นตอนที่เอกชนต้องได้หา โดยสัญญาร่วมลงทุนกำหนดว่าให้เอกชนทำสัญญาสินเชื่อโครงการกับสถาบันการเงิน (หรือสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนสำหรับโครงการฯ) ภายใน 240 วัน นับจากวันที่ รฟท. ออก NTP หรือประมาณเดือน พ.ย. 2565 โดยเงินกู้จะนำมาใช้สำหรับการก่อสร้างโครงการช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ประมาณ 1 แสนล้านบาท



“แบงก์เขาก็คงตามดูแต่ยังไม่ถึงเวลาต้องปล่อยกู้ และเชื่อว่าหลังโควิด-19 คลี่คลายทุกอย่างมีการเปิดประเทศก็น่าจะดีขึ้น ยืนยันว่าการก่อสร้างยังเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ส่วนการส่งมอบที่ดินนั้นขอขอบคุณ รฟท.ที่ดูแลใกล้ชิด ที่เป็นปัญหาใหญ่ก็ยังเป็นไปตามแผนไม่มีล่าช้า” นายคณิศกล่าว

สำหรับการลงทุนรัฐร่วมเอกชนในอีอีซีถือเป็นต้นแบบในการประหยัดงบประมาณจากรัฐ ส่วนกรณีโควิด-19 ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจคาดการณ์มาก่อน เพราะรัฐบาลออกมาตรการกำหนดให้ธุรกิจ และประชาชนหยุดการเดินทางเป็นระยะๆ ทำให้จำนวนผู้โดยสารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ลดลงเป็นจำนวนมาก นำไปสู่การเจรจาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดอย่างเป็นธรรมโดยไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบ ส่วนโครงการร่วมทุนอื่นๆ ในอีอีซีไม่จำเป็นต้องนำมาสู่กระบวนการแก้ไขปัญหา เช่น กรณีแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เพราะ โครงการท่าเรือมาบตาพุด และสนามบินอู่ตะเภา : เมืองการบินภาคตะวันออก กำลังจะเริ่มก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จใน 4 ปีผลกระทบจากโควิดคงหมดไปแล้ว ส่วนโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ที่กำลังจะลงนามได้ต้นเดือน พ.ย.ได้พิจารณาผลกระทบเหล่านี้ในสัญญาไว้แล้ว” นายคณิศกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2021 10:10 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
จี้รฟท.รับเงิน10,671ล้านตามสัญญา ก่อนโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตลิงก์ให้ซีพี
หน้าเศรษฐกิจ - Mega Project
วันจันทร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:16 น.


“คณิศ” แจง ซี.พี.จ่ายมัดจำค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 10% แล้ว รับบริหารไร้ปัญหา ยันส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดจบ ม.ค. 65 ตามแผน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 15:20 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 15:20 น.

‘คณิต’แจงแผนโอนแอร์พอร์ตลิงก์สรุปภายใน 3 เดือน
วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 17:27 น.


ซี.พี. กู้ลงทุนไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน แสนล้านปีหน้า
อสังหาริมทรัพย์
วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 14:23 น.


เลขาธิการอีอีซีแจงความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เผย รฟท. ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ “เอเชีย เอรา วัน” 98% แล้ว เอกชนยังไม่ต้องรีบกู้แบงก์ ชี้ปมโอนสิทธิ “แอร์พอร์ต เรลลิงก์” รอ 3 เดือน ไม่กระทบการใช้บริการของประชาชน

วันที่ 26 ตุลาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี รายงานความก้าวหน้าการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดย นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, นายวรวุฒิ มาลา ที่ปรึกษา ด้านโครงการรถไฟความเร็วสูง และ TOD และนายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้าและรักษาการกลุ่มกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมีความก้าวหน้าต่อเนื่อง ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่เอกชนต้องได้สินเชื่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (โครงการฯ) แต่มีความก้าวหน้าตามกำหนดอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ส่งมอบพื้นที่พร้อมก่อสร้างของโครงการช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาให้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (เอกชนคู่สัญญา) แล้วร้อยละ 98.11 ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 3,513 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา ซึ่งเอกชนคู่สัญญา ได้ทยอยเข้าเตรียมการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปลายปี 2563

ประกอบด้วย การสร้างถนนและสะพานชั่วคราวของโครงการ การสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนทางวิ่งรถไฟ การสร้างบ้านพักคนงาน โดย รฟท. จะส่งมอบพื้นที่ที่เหลืออีกร้อยละ 1.89 ภายในเดือนมกราคม 2565 และเมื่อเอกชนคู่สัญญาตรวจรับพื้นที่แล้วเสร็จ รฟท. จะออกหนังสือแจ้งเริ่มงานก่อสร้างอย่างเป็นทางการ (Notice to Proceed, NTP) คาดว่าประมาณเดือนมีนาคม 2565

ดังนั้น ปัจจุบันยังไม่ถึงขั้นตอนที่เอกชนคู่สัญญาต้องได้สินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพราะสัญญาร่วมลงทุนกำหนดว่าให้เอกชนคู่สัญญาทำสัญญาสินเชื่อโครงการกับสถาบันการเงิน (หรือสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนสำหรับโครงการฯ) ภายใน 240 วัน นับจากวันที่ รฟท. ออก NTP ดังนั้นขั้นตอนการหาสินเชื่อจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2565

“เงินที่เอกชนจะกู้แบงก์เป็นการก่อสร้างจากสถานีสุวรรณภูมิไปอู่ตะเภา ซึ่งเท่าที่ทราบคือ ยังไม่ต้องรีบขอแบงก์ในตอนนี้ และกว่าจะขอได้คือเดือนพฤศจิกายน 2565 ต้องใช้เงินกู้ประมาณแสนกว่าล้านบาท เป็นงบการก่อสร้างจากลาดกระบังถึงอู่ตะเภา” นายคณิศ กล่าว


กรณีแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ยืนยันว่า ประชาชนมาก่อน ทุกขั้นตอนโปร่งใส รัฐไม่เสียประโยชน์ และเป็นธรรมกับเอกชน

ส่วนกรณีเอกชนเข้ารับดำเนินการแอร์พอร์ตลิงก์นั้น ปรากฏว่าสถานการณ์โควิดทำให้ผู้โดยสารลดลงจากประมาณ 7-8 หมื่นคน/วัน เหลือเพียง 1-2 หมื่น คน/วัน ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่คาดการณ์มาก่อน ซึ่ง รฟท. รับขาดทุนมาโดยตลอด และต้องให้มีการถ่ายโอนการดำเนินการตามกำหนด จึงไม่จัดเตรียมงบประมาณไว้ล่วงหน้า

ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) จึงได้ให้นโยบายว่าให้หาทางแก้ไขโดยไม่ให้กระเทือนต่อประชาชนผู้โดยสาร

ด้วยเหตุนี้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา รฟท. และเอกชนคู่สัญญา จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อให้บริหารสัญญาร่วมลงทุน ในการแก้ไขปัญหาโครงการฯ เนื่องจากผลกระทบโควิด-19 เพื่อให้เอกชนเข้ารับดำเนินการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ และให้มีบริการได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

เอกชนเข้ารับดำเนินการ แอร์พอร์ต ลิงก์ นับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ตามกำหนดการที่วางไว้
เอกชนคู่สัญญารับผิดชอบค่าใช้จ่ายรวมถึงบุคลากรปฏิบัติงานทั้งหมด รับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย และการดำเนินการอื่นใด เพื่อทำให้การเดินรถไฟและซ่อมบำรุงรักษาระบบแอร์พอร์ต เรลลิงก์เป็นไปตามมาตรฐานดัชนีชี้วัด หรือ KPI ที่ รฟท. กำหนด ซึ่งก่อนการเข้ารับดำเนินการเอกชนได้ลงทุนไปแล้วกว่า 1,100 ล้านบาท ในการดำเนินการปรับปรุงระบบ และบริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และฝึกอบรมพนักงานปฏิบัติการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ลงนามสัญญา ร่วมลงทุน จึงมีความพร้อมด้านเทคนิคและบุคลากร
รฟท. ยังเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร ไม่โอนรายได้ให้เอกชนในทันที แต่จะโอนให้เมื่อแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ ทั้งนี้จะให้เอกชนนำค่าโดยสารดังกล่าวไปหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากกำไรต้องส่งคืน รฟท. ดังนั้น รฟท. จึงไม่ต้องรับภาระขาดทุน จากแอร์พอร์ต เรลลิงก์ อีกต่อไป ซึ่งคิดเป็นประมาณ 600 ล้านบาทในปี 2564
ในวันที่ลงนามบันทึกข้อตกลง เอกชนคู่สัญญาได้ชำระเงินจำนวน 1,067.11 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 สิทธิร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงก์จำนวน 10,671.09 ล้านบาท ให้แก่ รฟท. เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามบันทึกข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงนี้มีระยะเวลา 3 เดือน เป็นการเจรจาหาทางออกร่วมกัน โดยรัฐต้องไม่เสียประโยชน์ และเป็นธรรมกับเอกชน โดยการเจรจาจะดำเนินการโดยคณะทำงาน ที่แต่งตั้งโดย รฟท.และคณะกรรมการกำกับเพื่อนำเสนอ รฟท. กพอ. และ ครม.ต่อไป
ทั้งนี้ ทางเอกชนได้เข้าดำเนินการ ตามบันทึกข้อตกลงแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 และการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่พบปัญหาอุปสรรคใดๆ ในการให้บริการประชาชนโดย รฟท. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

พร้อมกันนี้เอกชนได้เสนอการลงทุนพัฒนาแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท ในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยรัฐไม่เสียประโยชน์ และเอกชนได้รับความเป็นธรรม


“การโอนแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ตั้งเป้าไว้ไม่เกิน 3 เดือน และคิดว่าทำได้เร็ว และเป็นฝีมือที่รัฐบาลเปิดประเทศ ทำให้เห็นว่า ภาวะกดดันจากโควิดจะหมดไปเมื่อไร และจะเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ (การยืดเวลาจ่ายค่าสิทธิ) บริษัทเสนอมานานแล้ว ตั้งแต่ปลายปี 2563 ก็เริ่มทำงานร่วมกันมา

“ช่วงแรกรับฟังมาแล้ว อ่านข้อเสนอและคิดว่า โควิดจะจบ ต้นปี (2564) และคิดว่าไม่ต้องเยียวยา จนเอกชนส่งหนังสือมาเป็นทางการ เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ว่าได้รับผลกระทบจริงๆ เราจึงทำเรื่องไปที่คณะกรรมการอีอีซีตามเอกชนเสนอมา

“คณะกรรมการ อีอีซี มีรัฐมนตรี 14 กระทรวง การนำเรื่องเข้าจึงต้องมีการพิจารณาหลายฝ่าย ตอนนี้จึงขอชะลอจ่าย 10,000 ล้านไปก่อน อย่างไรตามเอกชนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้ว 10%” นายคณิศ กล่าว

ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งคดีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
ยก “อีอีซี” ตัวอย่างดึงเงินเอกชนพัฒนา รัฐประหยัดงบ
นายคณิศ ระบุด้วยว่า การร่วมลงทุนรัฐและเอกชนใน อีอีซี สู่ต้นแบบ รัฐประหยัดงบประมาณ ดึงเงินเอกชนร่วมพัฒนาประเทศโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ใน อีอีซี พร้อมเป็นตัวอย่างของการร่วมทุนรัฐและเอกชน เพื่อประหยัดงบประมาณ และนำเงินทุนภาคเอกชนมาร่วมในการพัฒนาประเทศ

การร่วมทุนคือทั้ง 2 ฝ่าย รัฐและเอกชนเข้ามาร่วม “รับความเสี่ยงด้วยกัน” โดยเอกชนนำเงินทุนมาลงทุนด้วย ต่างกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่เอกชนรับจ้างรัฐบาล ซึ่งรัฐลงเงินจ้างเอกชนทั้งหมด และรัฐรับความเสี่ยงแต่ฝ่ายเดียว หากเกิดเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้คาดมาก่อนการลงนามสัญญา ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐขยายเวลาส่งมอบงานและยกเว้นค่าปรับในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทั่วไปให้กับผู้รับจ้างเมื่อเกิดโควิด-19

ในการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน จึงจำเป็นต้องมี “ความเข้าใจร่วมกัน” เป็นพื้นฐานที่จะเจรจาหาทางออกในกรณีสุดวิสัยที่ไม่คาดมาก่อน และนำไปสู่การแก้ไขสัญญาภายใต้ความเข้าใจร่วมกันให้โครงการประสบความสำเร็จโดยรัฐและเอกชนไม่เสียเปรียบซึ่งกันและกัน

กรณีโควิด-19 ซึ่งอาจเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจคาดการณ์มาก่อน เพราะรัฐบาลออกมาตรการกำหนดให้ธุรกิจและประชาชนหยุดการเดินทางเป็นระยะๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้จำนวนผู้โดยสารแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ลดลงเป็นจำนวนมาก นำไปสู่ “การเจรจาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด” อย่างเป็นธรรมโดยไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบ

อย่างไรก็ตาม กรณีโครงการร่วมทุนอื่นๆ ใน EEC ไม่จำเป็นต้องนำมาสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาเช่นกรณี แอร์พอร์ต ลิงก์ เพราะ โครงการท่าเรือมาบตาพุด และสนามบินอู่ตะเภา เมืองการบินภาคตะวันออก กำลังจะเริ่มก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จใน 4 ปี และผลกระทบจากโควิดคงหมดไปแล้ว ส่วนโครงการท่าเรือแหลมฉบังที่กำลังจะลงนามได้พิจารณาผลกระทบเหล่านี้ในสัญญาไว้แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2021 4:38 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
จี้รฟท.รับเงิน10,671ล้านตามสัญญา ก่อนโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตลิงก์ให้ซีพี
หน้าเศรษฐกิจ - Mega Project
วันจันทร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:16 น.


สมาพันธ์คนงานรถไฟฮือต้าน!! เลื่อนจ่ายค่าสิทธิARL
*ไม่เป็นธรรมกับรฟท./หวั่นเอื้อประโยชน์นายทุน
*ตั้ง 3คำถามบริษัทยักษ์ไม่พร้อมสัญญาเดินแล้ว
*ชวนประชาชนตรวจสอบเข้ม/เพื่อประโยชน์ชาติ
*(ออกโรงช้าหลังการลงนามบันทึกความร่วมมือ)
*(ปัญหาภายในสร้างชานชาลาต่ำกลับเงียบแซ่บ)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3032544346967063
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2021 5:00 pm    Post subject: Reply with quote

#เนื้อหาข่าว มหาวิทยาลัยขอนแก่น เตรียมเปิดหลักสูตรวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง เพื่อรองรับตลาดงานรถไฟความเร็วสูง ในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน Southwest Jiaotong ซึ่งเป็นต้นแบบหลักสูตรวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train Engineering)

https://bkkterminal.com/article/th/17
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44731
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2021 5:12 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีด อีอีซีอ่วม แบงก์ยันโครงการมีความเสี่ยง ซีพีดิ้นขยายสัญญา
หน้าแรก เศรษฐกิจ
Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 28 ต.ค. 2564 เวลา 16:20 น.

ไฮสปีดเทรนอีอีซีจ่อสะดุด โควิดฉุดความเชื่อมั่นโครงการลดลง แบงก์เมินปล่อยกู้ การพัฒนาไม่ชัดเจน หลังซีพี ขอผ่อนจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ติดขัดวงเงินกู้เกินเพดาน ดิ้นขยายเวลาโครงการ “คณิศ” ยันยังมีเวลาเจรจาแก้ปัญหากู้เงินถึง พ.ย.65

สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่กินระยะเวลานาน นอกจากจะกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนหยุดชะงักจากภาคเอกชนแล้ว สถาบันการเงินยังทบทวนการปล่อยสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เพราะค่าประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐแต่ละโครงการลดลง

ตลอดจนปัญหาติดขัดของการส่งมอบพื้นที่ชนวนสำคัญที่สถาบันการเงินจะหยิบขึ้นมาพิจารณา โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือกลุ่มซีพี ชนะการประมูลในการร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชนหรือพีพีพี และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด อาจมีความเสี่ยงหรือต้องชะลอโครงการออกไป จากการเผชิญปัจจัยดังกล่าว

สะท้อนได้จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 เห็นชอบเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ให้กับโครงการดังกล่าว ในการขยายระยะเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน

โดยกำลังพิจารณาให้แบ่งจ่ายเป็น 6 งวด วงเงิน 10,671 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการ (PIC) และการขยายระยะเวลาโครงการฯ จากสัญญาจะแล้วเสร็จเปิดดำเนินการในปี 2567

ยังส่งมอบพื้นที่ไม่ได้100%

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ส่งมอบพื้นที่พร้อมก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาให้ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด (เอกชนคู่สัญญา) แล้ว 98.11% ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 3,513 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา ซึ่งเอกชนคู่สัญญาได้ทยอยเข้าเตรียมการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปลายปี 2563

ประกอบด้วย การสร้างถนน และสะพานชั่วคราวของโครงการ การสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนทางวิ่งรถไฟ การสร้างบ้านพักคนงาน โดย รฟท. จะส่งมอบพื้นที่ที่เหลืออีก 1.89% ภายในเดือนมกราคม 2565 ซึ่งต้องเวนคืนราว 100 สัญญา แต่คิดปัญหาว่าเจ้าของที่ดินบางรายไม่ยอมทำสัญญา

เนื่องจากยังไม่พอใจราคาของที่ดินอยู่อาศัยควรได้รับสูงกว่าที่กำหนดให้ แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าปัญหาจะได้ข้อยุติ ส่งมอบพื้นที่ได้ และเมื่อเอกชนคู่สัญญาตรวจรับพื้นที่แล้วเสร็จ รฟท. จะออกหนังสือแจ้งเริ่มงานก่อสร้างอย่างเป็นทางการ (Notice to Proceed, NTP) คาดว่าประมาณเดือนมีนาคม 2565

ปัจจุบันจึงยังไม่ถึงขั้นตอนที่เอกชนคู่สัญญาต้องได้สินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพราะสัญญาร่วมลงทุนกำหนดว่าให้เอกชนคู่สัญญาทำสัญญาสินเชื่อโครงการกับสถาบันการเงิน (หรือสัญญาจัดหาเงินสนับสนุนสำหรับโครงการฯ) ภายใน 240 วัน นับจากวันที่ รฟท. ออก NTP ซึ่งขั้นตอนการหาสินเชื่อจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2565

Click on the image for full size

ผู้โดยสารลดลงกระทบรายได้

ขณะที่การขยายเวลาชำระค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรลลิงก์ สถาน การณ์โควิดทำให้ผู้โดยสารลดลงจากประมาณ 7-8 หมื่นคน/วัน เหลือเพียง 1-2 หมื่น คน/วัน ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่คาดการณ์มาก่อน ซึ่ง รฟท. รับขาดทุนมาโดยตลอด และต้องให้มีการถ่ายโอนการดำเนินการตามกำหนดจึงไม่จัดเตรียมงบประมาณ ไว้ล่วงหน้า

ทางคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) จึงหาทางแก้ไขโดยไม่ให้กระเทือนต่อประชาชนผู้โดยสาร โดยวันที่ 20 ตุลาคม 2564 รฟท. และเอกชนคู่สัญญา ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อให้บริหารสัญญาร่วมลงทุน ในการแก้ไขปัญหาโครงการฯ เพื่อให้เอกชนเข้ารับดำเนินการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ และให้มีบริการได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

“ในวันที่ลงนามบันทึกข้อตกลง เอกชนคู่สัญญาได้ชำระเงินจำนวน 1,067.11 ล้านบาท หรือราว 10 % ในสิทธิร่วมลงทุนแอร์พอร์ต เรลลิงก์จำนวน 10,671.09 ล้านบาท ให้แก่ รฟท. เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามบันทึกข้อตกลงช่วง 3 เดือนนี้ และเอกชนได้เสนอการลงทุนพัฒนาแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท ในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนด้วย อีกทั้ง ก่อนหน้านี้เอกชนได้ลงทุนไปแล้วกว่า 1,100 ล้านบาท ในการดำเนินการปรับปรุงระบบและบริการ”

ยันไม่ได้เอื้อเอกชน

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชน แต่การที่รัฐเข้ามาเยียวยา ไม่ได้หมายความว่าเข้าไปเอื้อประโยชน์ จนนำไปสู่แก้ไขขยายสัญญา

เพราะกลุ่มซีพียังยืนยันจะเดินหน้าต่อตามกำหนดในทีโออาร์ เพียงแต่สถานการณ์โควิด ทำให้รายได้ธุรกิจลดลง และนำมาสู่การแบ่งจ่ายค่าสิทธิ์การเช่าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งรฟท.คู่สัญญาได้บวกดอกเบี้ยเพิ่มจากการแบ่งจ่าย กว่า 1,000 ล้านบาท และจะโอนสิทธิ์ให้เอกชนต่อเมื่อชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดแล้ว

ส่วนกรณีที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติเงินกู้ให้กับให้โครงการฯนั้น ยังมีเวลาอีกนานหลังจากเดือนมีนาคม 2565 และมองว่าไม่ใช่แค่สถาบันการเงินในไทยเท่านั้น แต่รวมถึงสถาบันการเงินในต่างประเทศด้วย ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้าง

โครงการฯยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งใช้ระยะเวลาอีก 5 ปีที่จะเปิดให้บริการ แต่ที่จะได้รับผลกระทบคือเรื่องปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่ลดลง

จับตารัฐเสียเปรียบ

แหล่งข่าวแวดวงรับเหมาก่อสร้างระบุว่า ทั้งสถานการณ์โควิดและความล่าช้าของรฟท.ในการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งทั้ง 2 กรณีไม่มีความแน่ชัดว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด และอาจส่งผลต่อเอกชนคู่สัญญาเป็นฝ่ายได้เปรียบ ที่นำไปสู่การขยายระยะเวลาสัญญาออกไป ขณะที่รัฐคงไม่พิจารณาประมูลใหม่ เพราะเดินมาไกลมากแล้ว หากถอยหลังย่อมเสียเวลาเนื่องจากอีอีซีดำเนินงานมาแล้ว 7 ปี ยังไม่เห็นอะไรเป็นรูปธรรม

“ในสัญญาโครงการนี้จะเปิดดำเนินงานในปี 2567 และใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ดังนั้นเหลือระยะเวลาก่อสร้างเพียง 3 ปี คงเป็นไปไม่ได้ที่จะเปิดได้ทัน ทางเอกชน จึงจะต้องขอขยายระยะเวลาสัญญาออกไปจากผลกระทบโควิดและการส่งมอบพื้นที่ไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ อีกทั้งนักลงทุนรายใหญ่จะใช้วิธีออกหุ้นกู้ หรือกู้จากแหล่งอื่น ต้องแบกดอกเบี้ยที่สูงกลายเป็นต้นทุน ในการพิจารณาความเสี่ยงของโครงการอีกด้วย”

แบงก์ไม่มั่นใจปล่อยกู้

แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังไม่มีการยื่นคำขอกู้เงินจากธนาคาร เข้าใจว่าผู้ดำเนินโครงการอยู่ระหว่างเจรจากับรัฐบาล เพราะยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนโครงการดังกล่าว เช่น

โครงการลงทุนมักกะสันที่ยังมีข้อจำกัด และอีกหลายเรื่องที่ยังต้องเจรจาขอเลื่ยนกับรัฐบาล ซึ่งมองว่าโครงการดังกล่างมีระยะเวลา 50 ปี การกู้เงินมาเฉพาะดอกเบี้ยจะจ่ายไหวหรือเปล่ายังไม่รู้ ที่สำคัญกลุ่มซีพีมีวงเงินกู้กับสถาบันการเงินเกินเพดานแล้ว ซึ่งตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ให้ปล่อยกู้ โดยกำหนดอัตราการปล่อยสินเชื่อหรือ SLL ลูกหนี้รายใหญ่ ไว้ไม่ให้เกิน 25% ของเงินกองทุนต่อกลุ่มธุรกิจ

แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์อีกราย กล่าวว่า โครงการนี้จะต้องใช้วงเงินกู้จากธนาคารสัดส่วน 80% ของมูลค่า 2.24 แสนล้านบาท หรือประมาณ 1.7 แสนล้านบาท โดยเชื่อว่า กลุ่มซีพีจะมีการเจรจากับธนาคารใหญ่ในประเทศอย่างน้อย 4 แห่ง(TOP4) ที่จะมีบทบาทหลัก

อย่างไรก็ตามในหลักการแม้ว่าโครงการนี้จะมีประโยชน์ต่อการขนส่งหรือการท่องเที่ยวของประเทศ แต่ธนาคารก็ต้องพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ ดูรายละเอียดของโครงการ อัตราผลอบแทนจากการลงทุน หรือมีความเสี่ยงเป็นอย่างไรบ้าง และจะต้องใช้เวลาลงทุนแล้วกี่ปีจึงจะคุ้มทุนภายในกี่ปี และธปท.มีเกณฑ์ไม่ให้เกิดการกระจุกตัวของสินเชื่อโดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2021 5:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ไฮสปีด อีอีซีอ่วม แบงก์ยันโครงการมีความเสี่ยง ซีพีดิ้นขยายสัญญา
หน้าแรก เศรษฐกิจ
Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 16:20 น.

รฟท.พร้อมแก้ปัญหาไฮสปีดเทรน แอร์พอร์ต ลิงก์ ไม่หยุดชะงัก
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 11:33 น.

รฟท.กางเงื่อนไข MOU “ซี.พี.” เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ ยังไม่โอนสิทธิ์-เอกชนต้องรับความเสี่ยงรายได้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 12:42
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 12:42



รฟท.เปิดเงื่อนไข MOU “ซี.พี.” เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ยังไม่โอนสิทธิ์แต่ให้เอกชนเข้าร่วมบริการ รายได้ค่าโดยสารนำไปเป็นค่าใช้จ่ายได้ หากไม่พอต้องรับความเสี่ยงเอง ชี้ถก 3 เดือนไม่จบมีสิทธิ์ริบหลักประกันสัญญา

การรถไฟฯ พร้อมดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เดินหน้าแก้ไขปัญหาไฮสปีดเทรน การให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ



ปัญหาสถานการณ์โควิด-19ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ล่าสุดนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด 19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว เพื่อให้การบริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก จนเกิดผลกระทบต่อประชาชน ทั้งนี้ ตามที่บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา ได้มีหนังสือถึงการรถไฟฯ ที่ ESHR1-ARX-EHSR3AL-SRT-LETR-000009 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 เรื่องขอให้พิจารณาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินในส่วนที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ อันเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด 19

ตามหนังสือของบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา ดังกล่าวข้างต้น แจ้งปัญหากรณีวิกฤติการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการฯ โดยขอรับมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ การขอขยายระยะเวลาการชำระค่าสิทธิโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่นๆ ได้แก่

การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการฯ และการขยายระยะเวลาโครงการฯ ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564

ได้มีมติรับทราบปัญหาดังกล่าวและได้มอบหมายให้ การรถไฟฯ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และคณะกรรมการกำกับดูแลของโครงการฯ พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาตามหลักการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายเกี่ยวข้องกำหนด

โดยในระหว่างการดำเนินการเพื่อแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนให้การรถไฟฯ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา ร่วมกันเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นการเร่งด่วน โดยให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า การรถไฟฯ มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดำเนินการตามมติที่มีการมอบหมายการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมติฯดังกล่าว โดยการรถไฟฯ ยึดหลักการและแนวทางที่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นสำคัญ

ในขณะเดียวกันการรถไฟฯ ยังต้องคำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร โดยให้มีผลกระทบต่อการรถไฟฯ น้อยที่สุด รวมถึง การดำเนินการเพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนี้ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญระดับประเทศเดินหน้าต่อไปได้ อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ และเศรษฐกิจของภูมิภาคได้อย่างมั่นคง

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดังนั้น เพื่อเป็นหลักประกันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดผลกระทบต่อประชาชนและมีผลกระทบต่อการรถไฟฯ น้อยที่สุด ในขณะเดียวกัน โครงการฯ สามารถเดินหน้าต่อไปเพื่อประโยชน์สูงสุด

ของประเทศได้ การรถไฟฯ จึงได้มีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ร่วมกับทางบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา โดยบันทึกข้อตกลงที่ทำขึ้นนี้ ซึ่งเป็นการบริหารสัญญาภายใต้ข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุนเดิมเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และไม่กระทบบริการสาธารณะในช่วงที่การรถไฟฯ และเอกชนคู่สัญญาอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน

โดยในบันทึกข้อตกลง (MOU) ดังกล่าวมีรายละเอียดอันเป็นหลักการในเบื้องต้น ดังนี้

• บันทึกข้อตกลงสิ้นสุดผลการใช้บังคับเมื่อครบ 3 เดือน นับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564

• การรถไฟฯ ยังไม่มอบสิทธิการดำเนินการโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้แก่เอกชน และ

การรถไฟฯ มีสิทธิรับรายได้ค่าโดยสารและรายได้จากการดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์

• โดยระหว่างที่มีการพิจารณาเงื่อนไขของสัญญาอยู่นั้น จะให้เอกชนคู่สัญญาเข้ามาช่วยสนับสนุนการรถไฟฯ และบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ในการดำเนินโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

ตามขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย โดยเอกชนจะสนับสนุนบุคลากรและรับความเสี่ยงทั้งหมด

โดยการรถไฟฯ บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด และที่ปรึกษาของการรถไฟฯ จะกำกับดูแล

ให้การดำเนินงานเป็นไปตาม KPI ที่บันทึกข้อตกลงฯ กำหนด รวมทั้ง เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยเอกชนสามารถนำรายได้ค่าโดยสารไปชำระค่าใช้จ่ายได้ แต่หากมีกำไรต้องส่งคืนให้การรถไฟฯ หากรายได้ค่าโดยสารไม่เพียงพอชำระค่าใช้จ่ายในงานที่ได้มอบหมายให้ดำเนินการ เอกชนจะต้องเป็นผู้ชำระในส่วนที่เกิน

• เอกชนจะต้องทำประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

• เอกชนคู่สัญญาต้องชำระเงิน 10% ของค่าสิทธิในการบริหารตามสัญญาร่วมลงทุนฯ เป็นเงิน 1,067 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงฯ และสัญญาร่วมทุนฯ

• การรถไฟฯ มีสิทธิยึดถือหลักประกันจนกว่าจะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ และหากต้องคืนหลักประกัน การรถไฟฯ คืนโดยไม่มีดอกเบี้ย

• หากไม่แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564 หรือที่ขยายเพิ่มเติม การรถไฟฯ มีสิทธิริบหลักประกันเพื่อนำมาชำระการไม่ปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชน



การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)

ในการเดินหน้าร่วมแก้ไขปัญหาการให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก ไม่เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการ การรถไฟฯ ขอยืนยันว่า การดำเนินการต่างๆนั้น



การรถไฟฯ ยึดหลักการและแนวทางที่คำนึงถึงผลกระทบของประชาชนเป็นหลัก รวมทั้ง คำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์ขององค์กรและประเทศชาติเป็นสำคัญ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนี้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญระดับประเทศ การดำเนินการต่างๆนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและครอบคลุมในทุกมิติ โดยจะไม่มีการดำเนินการใดๆอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบอย่างเด็ดขาด.


การรถไฟฯ ลงนามสัญญาร่วม "เอเชีย เอรา วัน"แก้ปัญหาไฮสปีดเทรน-แอร์พอร์ตลิงก์
เศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 15:20 น.

การรถไฟฯ พร้อมดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เดินหน้าแก้ไขปัญหาไฮสปีดเทรน การให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 10:59 น.

การรถไฟฯ ยันดำเนินการตามมติ กพอ.ลงนามสัญญา MOU ร่วม "เอเชีย เอรา วัน" แก้ไขปัญหาไฮสปีดเทรน การให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด -19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบินตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว เพื่อให้การบริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก จนเกิดผลกระทบต่อประชาชน

ทั้งนี้ ตามที่บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา ได้มีหนังสือถึงการรถไฟฯ ที่ ESHR1-ARX-EHSR3AL-SRT-LETR-000009 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 เรื่องขอให้พิจารณาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินในส่วนที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ อันเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด -19


โดยตามหนังสือของบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา ดังกล่าวข้างต้น แจ้งปัญหากรณีวิกฤติการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการฯ โดยขอรับมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ การขอขยายระยะเวลาการชำระค่าสิทธิโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่นๆ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการฯ และการขยายระยะเวลาโครงการฯ

ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ได้มีมติรับทราบปัญหาดังกล่าวและได้มอบหมายให้ การรถไฟฯ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และคณะกรรมการกำกับดูแลของโครงการฯ พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาตามหลักการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายเกี่ยวข้องกำหนด โดยในระหว่างการดำเนินการเพื่อแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนให้การรถไฟฯ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา ร่วมกันเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นการเร่งด่วน โดยให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ


นายนิรุฒ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรถไฟฯ มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดำเนินการตามมติที่มีการมอบหมายการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมติฯดังกล่าว โดยการรถไฟฯ ยึดหลักการและแนวทางที่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันการรถไฟฯ ยังต้องคำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร โดยให้มีผลกระทบต่อการรถไฟฯ น้อยที่สุด รวมถึง การดำเนินการเพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนี้ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญระดับประเทศเดินหน้าต่อไปได้ อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลาง
โลจิสติกส์ และเศรษฐกิจของภูมิภาคได้อย่างมั่นคงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูง
เชื่อมสามสนามบิน

ดังนั้น เพื่อเป็นหลักประกันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดผลกระทบต่อประชาชนและมีผลกระทบต่อการรถไฟฯ น้อยที่สุด ในขณะเดียวกัน โครงการฯ สามารถเดินหน้าต่อไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศได้ การรถไฟฯ จึงได้มีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ร่วมกับทางบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา โดยบันทึกข้อตกลงที่ทำขึ้นนี้ ซึ่งเป็นการบริหารสัญญาภายใต้ข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุนเดิมเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และไม่กระทบบริการสาธารณะในช่วงที่การรถไฟฯ และเอกชนคู่สัญญาอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน โดยในบันทึกข้อตกลง (MOU) ดังกล่าวมีรายละเอียด อันเป็นหลักการในเบื้องต้น ดังนี้
• บันทึกข้อตกลงสิ้นสุดผลการใช้บังคับเมื่อครบ 3 เดือน นับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564
• การรถไฟฯ ยังไม่มอบสิทธิการดำเนินการโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้แก่เอกชน และ
การรถไฟฯ มีสิทธิรับรายได้ค่าโดยสารและรายได้จากการดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์
• โดยระหว่างที่มีการพิจารณาเงื่อนไขของสัญญาอยู่นั้น จะให้เอกชนคู่สัญญาเข้ามาช่วยสนับสนุนการรถไฟฯ และบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ในการดำเนินโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
ตามขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย โดยเอกชนจะสนับสนุนบุคลากรและรับความเสี่ยงทั้งหมด
โดยการรถไฟฯ บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด และที่ปรึกษาของการรถไฟฯ จะกำกับดูแล
ให้การดำเนินงานเป็นไปตาม KPI ที่บันทึกข้อตกลงฯ กำหนด รวมทั้ง เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยเอกชนสามารถนำรายได้ค่าโดยสารไปชำระค่าใช้จ่ายได้ แต่หากมีกำไรต้องส่งคืนให้การรถไฟฯ หากรายได้ค่าโดยสารไม่เพียงพอชำระค่าใช้จ่ายในงานที่ได้มอบหมายให้ดำเนินการ เอกชนจะต้องเป็นผู้ชำระในส่วนที่เกิน
• เอกชนจะต้องทำประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
• เอกชนคู่สัญญาต้องชำระเงิน 10% ของค่าสิทธิในการบริหารตามสัญญาร่วมลงทุนฯ เป็นเงิน 1,067 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงฯ และสัญญาร่วมทุนฯ
• การรถไฟฯ มีสิทธิยึดถือหลักประกันจนกว่าจะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ และหากต้องคืนหลักประกัน การรถไฟฯ คืนโดยไม่มีดอกเบี้ย
• หากไม่แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564 หรือที่ขยายเพิ่มเติม การรถไฟฯ มีสิทธิริบหลักประกันเพื่อนำมาชำระการไม่ปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชน

การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)
ในการเดินหน้าร่วมแก้ไขปัญหาการให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก ไม่เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการ การรถไฟฯ ขอยืนยันว่า การดำเนินการต่างๆนั้น การรถไฟฯ ยึดหลักการและแนวทางที่คำนึงถึงผลกระทบของประชาชนเป็นหลัก รวมทั้ง คำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์ขององค์กรและประเทศชาติเป็นสำคัญ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนี้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญระดับประเทศ การดำเนินการต่างๆนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและครอบคลุมในทุกมิติ โดยจะไม่มีการดำเนินการใดๆอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบอย่างเด็ดขาด


Last edited by Wisarut on 30/10/2021 8:21 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2021 6:28 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. ยันเลื่อนจ่ายค่าสิทธิ “แอร์พอร์ตลิงก์” 1.06 หมื่นล้าน ไม่เอื้อเอกชน!
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
28 ตุลาคม 2564 เวลา 13:54 น.

รฟท. ยันเลื่อนจ่ายค่าสิทธิร่วมทุนรถไฟฟ้า “แอร์พอร์ต เรล ลิงก์” 1.06 หมื่นล้าน ไม่ได้เอื้อให้เอกชน เปิดบันทึกข้อตกลงร่วม ชี้หาก 3 เดือน EARA1 ไม่แก้ไขสัญญา รฟท. มีสิทธิริบหลักประกัน 1,067 ล้าน ให้คำมั่นไม่กระทบผู้โดยสาร ยังให้บริการตามปกติ


นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงกรณีการเลื่อนชำระค่าให้สิทธิบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (EARA1) ซึ่งเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ออกไปอีก 3 เดือน นับจากวันที่ 24 ต.ค.64 ว่า รฟท. มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่ให้เร่งแก้ไขปัญหา หลังจาก EARA1 ได้ทำหนังสือขอให้พิจารณาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินในส่วนที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ อันเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 โดยการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ รฟท. ได้ยึดหลักการ และแนวทางที่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นสำคัญ


นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน รฟท. ยังคำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร โดยให้มีผลกระทบต่อ รฟท. น้อยที่สุด รวมถึงการดำเนินการเพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญระดับประเทศเดินหน้าต่อไปได้ อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ และเศรษฐกิจของภูมิภาคได้อย่างมั่นคง ดังนั้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดผลกระทบต่อประชาชน และมีผลกระทบต่อ รฟท.น้อยที่สุด ขณะเดียวกันโครงการฯ ก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ รฟท. จึงได้ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ร่วมกับ EARA1


นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า สำหรับบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ เป็นการบริหารสัญญาภายใต้ข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุนเดิม เพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และไม่กระทบบริการสาธารณะในช่วง รฟท. และเอกชนคู่สัญญาอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน โดยในบันทึกข้อตกลง มีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้ 1. บันทึกข้อตกลงสิ้นสุดผลการใช้บังคับเมื่อครบ 3 เดือน นับจากวันที่ 24 ต.ค.64, 2. รฟท. ยังไม่มอบสิทธิการดำเนินการโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้แก่เอกชน และ รฟท. มีสิทธิรับรายได้ค่าโดยสาร และรายได้จากการดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์


3. โดยระหว่างที่มีการพิจารณาเงื่อนไขของสัญญาอยู่ จะให้เอกชนคู่สัญญาเข้ามาช่วยสนับสนุน รฟท. และบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด (รฟฟท.) ในการดำเนินโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ตามขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย โดยเอกชนจะสนับสนุนบุคลากร และรับความเสี่ยงทั้งหมด โดย รฟท., รฟฟท. และที่ปรึกษาของ รฟท. จะกำกับดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตาม KPI ที่บันทึกข้อตกลงฯ กำหนด รวมทั้งเอกชนคู่สัญญาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยเอกชนสามารถนำรายได้ค่าโดยสารไปชำระค่าใช้จ่ายได้ แต่หากมีกำไรต้องส่งคืนให้ รฟท. หากรายได้ค่าโดยสารไม่เพียงพอชำระค่าใช้จ่ายในงานที่ได้มอบหมายให้ดำเนินการ เอกชนจะต้องเป็นผู้ชำระในส่วนที่เกิน


4. เอกชนต้องทำประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับแอร์พอร์ต เรล ลิงก์, 5. เอกชนคู่สัญญาต้องชำระเงิน 10% ของค่าสิทธิในการบริหารตามสัญญาร่วมลงทุนฯ เป็นเงิน 1,067 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงฯ และสัญญาร่วมทุนฯ, 6. รฟท. มีสิทธิยึดถือหลักประกันจนกว่าจะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ และหากต้องคืนหลักประกัน รฟท. คืนโดยไม่มีดอกเบี้ย และ 7. หากไม่แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ 24 ต.ค.64 หรือที่ขยายเพิ่มเติม รฟท. มีสิทธิริบหลักประกัน เพื่อนำมาชำระการไม่ปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชน


นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า รฟท. ยืนยันว่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และขอยืนยันว่าการดำเนินการต่างๆ ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และครอบคลุมในทุกมิติ โดยจะไม่มีการดำเนินการใดๆ อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบอย่างเด็ดขาด.

ผู้ว่าการรถไฟเปิดรายละเอียดเอ็มโอยู ”เอเชียเอราวัน”
*ช่วงแก้ไขสัญญาไฮสปีดเทรนกับกลุ่มซีพี3เดือน
*ควรไม่ควร”ให้ประชาชนตัดสินกันเอาเองนะคะ”
ที่แน่ๆมุบมิบเซ็นตั้งแต่ 24ต.ค.ผ่าน 4วันเพิ่งแจง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3033292503558914


Last edited by Wisarut on 31/10/2021 11:45 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44731
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/10/2021 10:43 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

รฟท.กางเงื่อนไข MOU “ซี.พี.” เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ ยังไม่โอนสิทธิ์-เอกชนต้องรับความเสี่ยงรายได้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 ตุลาคม 2564 เวลา 12:42 น.
ปรับปรุง: 28 ตุลาคม 2564 เวลา 12:42 น.

3 เดือนแก้สัญญาไฮสปีด เยียวยา “ซีพี” ผลกระทบโควิด
กรุงเทพธุรกิจ 30 ต.ค. 2564 เวลา 9:00 น.

“ร.ฟ.ท.-ซีพี” เดินหน้าแก้สัญญารถไฟความเร็วสูง เยียวยาผลกระทบโควิด แบ่งจ่ายค่าสิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์ พร้อมตั้งตั้งคณะทำงานเจรจาแก้สัญญา เร่งสรุปให้จบใน 3 เดือนจบ

กระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้เริ่มขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2564

สำหรับการแก้ไขสัญญาครั้งนี้มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการใน 2 ประเด็น คือ

1.ประเด็นการจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับแนวทางการเยียวยาผลกระทบจากโควิด

2.ประเด็นการให้เอกชนคู่สัญญาก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวข้องกับผลกระทบโควิดแต่เป็นการแก้ปัญหา 2 โครงการ ใช้พื้นที่ก่อสร้างทับซ้อนกัน โดยเจรจาให้กลุ่มซีพีสร้างแทรครถไฟเพิ่มจาก 2 แทรค เป็น 4 แทรค สำหรับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ด้วย ซึ่งรัฐจ่ยจ่ายเงินชดเชยค่าก่อสร้างส่วนนี้ให้กลุ่มซีพี

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนคู่สัญญาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เป็นข้อเสนอมาจากบริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด ที่ระบุถึงผลกระทบของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากการระบาดขงโรคโควิด-19 จึงขอปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยยื่นข้อเสนอ 3 แนวทางที่เกี่ยวข้องกับโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ คือ

1.การขยายระยะเวลาจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จากเดิมที่ต้องชำระเต็มจำนวน 10,671 ล้านบาท ภายในวันที่ 24 ต.ค.2564

2.การเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมทุนโครงการ (PIC)

3.การขอขยายระยะเวลาโครงการ

แหล่งข่าว กล่าวว่า ภายหลังจาก ครม.เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ในวันที่ 20 ต.ค.2564 เรื่องการบริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้ามีความต่อเนื่องในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และให้บริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด เข้ามาเดินรถไฟฟ้าในวันที่ 25 ต.ค.2564

ทั้งนี้ การแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนครั้งนี้กำหนดกรอบเวลาให้เสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อไม่ให้กระทบกับการเริ่มก่อสร้างโครงการมากนัก

สำหรับการแก้ไขสัญญาเบื้องต้นคณะกรรมการบริหารสัญญาโครงกรรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เห็นชอบเลื่อนการจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 3 เดือน และปรับวิธีการชำระเงินค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์จากงวดเดียว 10,671 ล้านบาท ปรับเป็นการแบ่งจ่าย โดยงวดแรกจ่ายไปแล้วสัดส่วน 10% หรือ 1,071 ล้านบาท

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนคู่สัญญาได้มีการจ่ายเงินค่ามัดจำในสัดส่วน 10% ของวงเงินรวม คือ จ่ายให้กับ ร.ฟ.ท.แล้ว 1,067 ล้านบาท โดยในส่วนที่เหลือได้มีการตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อทำงานร่วมกันในการเจรจาและทำข้อตกลงให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุดตามที่คณะกรรมการอีอีซีได้ให้นโยบายว่าไม่ให้กระทบกับประชาชน รัฐบาลไม่เสียประโยชน์ และเอกชนได้รับความเป็นธรรม

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นทางออกของการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายเงินมีทางออกหลายแบบ โดยหนึ่งในนั้นคือแนวทางการให้เอกชนสามารถผ่อนจ่ายเป็นรายงวดได้ โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ยตามที่มีการกำหนดไว้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะมีการให้ผ่อนชำระได้กี่งวด และคิดอัตราดอกเบี้ยกี่เปอร์เซนต์แต่มีหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดอยู่แล้ว

“ผลตอบแทนที่รัฐต้องได้รับต้องไม่น้อยกว่ามูลค่า NPV ที่คิดมาเป็นมูลค่าในปัจจุบันที่ 10,671 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนถ่ายให้เอกชนมาดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเข้ามาดำเนินงานโดยที่ยังไม่ได้รายได้เนื่องจากต้องรอให้ข้อตกลงใหม่เสร็จเรียบร้อยก่อน” นายคณิศ กล่าว

เอกชนคู่สัญญาได้ขอผ่อนผันการจ่ายเงินสิทธิ์การบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์จากเดิมที่ต้องจ่ายภายในวันที่ 24 ต.ค.2564 เต็มวงเงิน 10,671 ล้านบาท ออกไปก่อนและขอเจรจาทำสัญญาใหม่กับ ร.ฟ.ท.เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัญหาที่ไม่มีการคาดหมายมาก่อนอย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีการประกาศล็อคดาวน์ หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลงจากที่คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารเฉลี่ย 70,000 เที่ยวต่อคนต่อวัน ลดลงเหลือประมาณ 10,000 เที่ยวต่อคนต่อวันเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อรายได้ที่จะเข้ามา


“เอกชนได้ทำหนังสือเพื่อขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไข ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และ ครม.เป็นที่เรียบร้อย”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2021 12:57 pm    Post subject: Reply with quote

“พิจารณ์” ซัด “บิ๊กตู่” เอื้อทุนใหญ่ เลื่อนจ่ายค่าสิทธิ ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
ไทยรัฐออนไลน์
ข่าวการเมือง
30 ตุลาคม 2564 เวลา 14:58 น.


“รองหัวหน้าพรรคก้าวไกลพิจารณ์” จัดหนัก “ประยุทธ์” ไฟเขียวทุนใหญ่ เลื่อนจ่ายค่าสิทธิ ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ส่อพฤติกรรมจับประชาชนเป็นตัวประกัน เตรียมเรียกหน่วยงานแจ้ง 1 พ.ย. นี้

วันที่ 30 ต.ค. 64 ห้องนวมทอง ไพรวัลย์ อาคารอนาคตใหม่ นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณี ‘โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน’ ที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรี และประธานบอร์ดเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้ขยายระยะเวลาการชำระเงินตามเงื่อนไขสัญญาการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน ซึ่งก็คือ บจก.คู่สัญญา Asia Era One ที่ถือหุ้น 70% โดยกลุ่ม CP เพื่อเป็นการขยายระยะเวลาการชำระเงินค่าสิทธิในการบริหารรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน หรือ Airport Rail Link (ARL) มูลค่า 10,671 ล้านบาท

โดยนายพิจารณ์ ระบุว่าการกระทำครั้งนี้เป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนใหญ่ ด้วยผลประโยชน์ของประเทศชาติ โดยเอาประชาชนเป็นตัวประกัน เพราะจากมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 ต.ค. อ้างชัดเจนว่า หากเอกชนคู่สัญญาไม่สามารถรับโอน ARL จะทำให้ต้องหยุดให้บริการประชาชน เพราะ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไม่ได้เตรียมคนและงบประมาณ เพราะ รฟท. เชื่อมั่นว่า เมื่อส่งมอบให้บริษัทคู่สัญญาแล้วจะเดินรถได้ตามเงื่อนไขสัญญาแน่นอน อีกทั้งมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงนี้ หรือ MOU ตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. หรือ 1 วัน ให้หลังจากการออกมติครม. และ ให้ Asia Era One ได้จ่ายค่าสิทธิเพียง 10% หรือ ประมาณ 1,067ล้าน จากเดิมที่ต้องจ่าย 10,671ล้านในครั้งเดียว ทั้งที่เป็นที่ชัดเจนว่าเอกชนคู่สัญญาทำผิดเงื่อนไข แต่รัฐยังเปิดโอกาสให้เดินรถได้โดยชำระเงินเพียง 10 %

นายพิจารณ์ ย้ำว่า สำหรับโครงการนี้ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ครั้งแรกที่ พล.อ. ประยุทธ์ หยิบยื่นข้อเสนอพิเศษให้ โดยพบความผิดปกติตั้งแต่ก่อนการยื่นข้อเสนอ หรือก่อนการประมูล เช่น รูปแบบการประมูล โดยเอาส่วนของการก่อสร้างและเดินรถไฟความเร็วสูง พ่วงรวมกับการพัฒนาพื้นที่ดินมักกะสันและศรีราชา ทำให้เอกชนที่จะเข้าร่วมลงทุนกับรัฐ ต้องมีความเชี่ยวชาญถึง 3 ด้าน ได้แก่ งานก่อสร้างโยธา การเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา และการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ จึงส่งผลให้จากผู้ซื้อซองประมูล 31 ราย เหลือเพียง 2 กลุ่มทุน ส่งผลให้การแข่งขันลดลงและรัฐได้รับผลประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็นแน่นอน


จึงอยากให้ประชาชน จับตา 4 ประเด็นหลัก

1. โครงการฯ มีความผิดปกติตั้งแต่ขั้นก่อนการเริ่มประมูล เห็นได้จากการกำหนด รูปแบบการประมูลเพื่อให้แน่ใจว่า เอกชนคู่สัญญาที่ชนะการประมูลจะได้รับสิทธิในการเข้าบริหารที่ดินมักกะสัน 140ไร่, การกำหนดค่าสิทธิในการบริหาร ARL เรียกได้ว่าเป็นการผลักภาระให้กระทรวงคลัง รับผิดชอบหนี้ 22,000ล้านบาท ในขณะที่เอกชนคู่สัญญาที่ชนะการประมูล จะได้รับสิทธิ 50ปี ด้วยราคา 1 ใน 3 ของการลงทุนที่รัฐใส่ไปแล้ว

2.หลังเปิดซองประมูล ได้รับผู้ชนะแล้ว กินเวลาเกือบปีกว่าที่จะมีการลงนามในสัญญาร่วมทุน แล้วก็ปรากฏ การแก้ไขสัญญาแบบ ลด แลก แจก แถม ทั้งการเพิ่มสิทธิประโยชน์ และการลดค่าปรับต่างๆ โดยเฉพาะค่าปรับ 3 ล้านบาทต่อวัน หากไม่ชำระค่าสิทธิ ARL 10,671ล้านบาท ตามกำหนด เป็นไม่มีค่าปรับ

3.หน่วยงานรัฐมีความพยายามปกปิดข้อมูล เพราะตั้งแต่การประชุมของ บอร์ด EEC ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 4 ต.ค. แม้จะมีการเผยแพร่หัวข้อการประชุมใน Website ของ EEC แต่ไม่ปรากฏหัวข้อเรื่องข้อเรียกร้อง หรือข้อหารือของเอกชนคู่สัญญาให้เห็น จึงเป็นความตั้งใจปกปิดว่าวันนั้นมีการประชุมอะไร และยังใน ครม. ยังปกปิดข้อเรียกร้องของเอกชนว่า หารือด้วยข้อเรียกร้องอย่างไร ก็ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดให้สาธารณะได้รับรู้ บอกแต่เพียงเหตุว่าได้รับผลกระทบจากโควิดต้องได้รับการเยียวยา

4. เจตนาที่จะใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน เนื่องจาก ไม่พบความพยายามของภาครัฐที่จะหาทางออกก่อนครบกรอบสัญญา 24 ต.ค. ซึ่งตนไม่คิดว่าจะไม่มีการพูดคุยนอกรอบก่อนการประชุม วันที่ 4 ต.ค. โดยประธานบอร์ด EEC ก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ แทนที่จะเจรจาล่วงหน้า เพื่ออย่างน้อย ก็ให้ รฟท. ได้หาทางรับมือ ในการเดินรถต่อไปได้ แต่ก็ไม่ทำอะไร สุดท้ายรอให้ครบกรอบเวลา ทำเสียว่าไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากยืดเวลาการชำระเงินให้เอกชน เพื่อให้การบริการไม่หยุดชะงัก จึงต้องเซ็น MOU

โดยในวันจันทร์ที่ 1 พ.ย. นี้ ทางคณะอนุกรรมาธิการติดตามงบประมาณการลงทุนขนาดใหญ่ ที่มี นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและรองเลขาธิการพรรคก้าวไกล เป็นประธาน จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเอกชนคู่สัญญา เข้าชี้แจงต่อคณะอนุกรรมาธิการ ส่วนตนเองจะยื่นขอเอกสารและข้อมูลเพิ่มเติม จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมเรียกร้องไปยัง พลเอกประยุทธ์ ขอให้ยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง ยืนยันทางพรรคไม่ได้รังเกียจทุนใหญ่ แต่การแข่งขันทางธุรกิจต้องอยู่บนกติกาที่เท่าเทียมและเป็นธรรม เหมาะสมกับทุกฝ่ายและเอาผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 422, 423, 424 ... 548, 549, 550  Next
Page 423 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©