RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274182
ทั้งหมด:13585478
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 541, 542, 543 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/03/2024 10:12 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นขอบีโอไอ 'ไฮสปีดเทรน' ก่อน 22 พ.ค.นี้ แก้สัญญาแลกลงทุนเพิ่ม 9 พันล้าน
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Friday, March 22, 2024 07:52

การรถไฟฯ ขีดเส้นเจรจา "ซีพี" จบภายใน เม.ย.นี้ เคาะข้อเสนอปรับโครงสร้างทางการเงิน ยันเอกชนรับปากลงทุน 9 พันล้านบาท สร้างพื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง ลุ้นยื่นออกบัตรส่งเสริมการลงทุน BOI รอบสุดท้ายก่อน 22 พ.ค.นี้

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) อยู่ระหว่างการหารือร่วม 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ร.ฟ.ท. , สกพอ. และบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด เพื่อหาข้อสรุปข้อเสนอของกลุ่มซีพีในการปรับโครงสร้างทางการเงินสัญญาร่วมลงทุนครั้งนี้

“ตอนนี้อยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดข้อเสนอของทางกลุ่มซีพี ซึ่งต้องการขอปรับโครงสร้างทางการเงิน คาดว่าเจรจาเสร็จใน เม.ย.นี้ เพื่อให้ทันการยื่นขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในเดือน พ.ค.2567 และนำไปสู่การส่งมอบพื้นที่เริ่มงานก่อสร้าง”

ขณะที่ประเด็นการลงทุนโครงสร้างร่วมระหว่างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง โดยเอกชนยืนยันใช้เงินลงทุน 9,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการส่วนนี้ทั้งหมด โดยภาครัฐไม่ต้องใช้งบประมาณจะทำให้ ร.ฟ.ท.ประหยัดงบประมาณ 5,000 ล้านบาท สำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง

นายนิรุฒ กล่าวว่า ขณะนี้เหลือการเจรจาประเด็นสุดท้ายที่จะทำให้โครงการเดินหน้าตามแผน คือ การเจรจาให้ได้ข้อสรุปส่วนของการปรับโครงสร้างทางการเงิน และการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เพราะเอกชนยื่นข้อเสนอการปรับรายละเอียดการจ่ายเงิน โดย ร.ฟ.ท.เชื่อมั่นว่าจะได้ข้อสรุปตามเป้าหมาย ส่วนผลการหารือจะทำให้ต้องปรับแก้ร่างสัญญาหรือไม่นั้น ขอเจรจาให้ได้ข้อสรุปก่อน

รายงานข่าวจาก สกพอ.ระบุว่า อยู่ระหว่างเจรจาข้อเสนอของกลุ่มซีพีในประเด็นเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสัญญา เพราะสถานการณ์ปัจจุบันไม่เหมือนช่วงประมูล เพราะผลกระทบโควิด-19 ทำให้คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเปลี่ยนไป ซึ่งรายละเอียดที่กลุ่มซีพียื่นเสนอมา อาทิ การจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่ขอพิจารณาแลกเปลี่ยนเป็นการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างร่วมช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง

โดยหากการเจรจาแล้วเสร็จ ร.ฟ.ท.ยินยอมในข้อเสนอหักลบค่าบริหารสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แลกกับการให้กลุ่มซีพีลงทุนก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ก็จะทำให้ ร.ฟ.ท.ไม่ต้องลงทุนค่างานก่อสร้างส่วนนี้ เพราะค่าบริหารสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะอยู่ที่ราว 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงกว่าค่าก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนที่มีวงเงินราว 9 พันล้านบาท

รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า หากการเจรจาข้อเสนอของกลุ่มซีพีไม่แล้วเสร็จภายในกรอบกำหนด และไม่ทันต่อการออกใบส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ภายในเดือน พ.ค.นี้ ก็จำเป็นต้องตัดสินใจเจรจากับกลุ่มซีพีว่าจะดำเนินโครงการนี้ต่อหรือไม่ เพราะหากไม่ได้บัตรส่งเสริม BOI ก็ไม่สามารถออกหนังสืออนุญาตเริ่มงานก่อสร้าง (NTP) ได้ และถือเป็นการดำเนินงานที่ขัดสัญญาร่วมทุน อาจจะต้องพิจารณายกเลิกสัญญา และนำไปสู่การเปิดประมูลใหม่

ทั้งนี้ หากการเจรจาได้ข้อสรุปตรงกันและยังสามารถเดินหน้าโครงการต่อไปตามสัญญาร่วมลงทุน แต่หากมีรายละเอียดภายในสัญญาที่ปรับเปลี่ยนออกไป ก็มีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการใหม่ แต่ยังถือเป็นสัญญาณที่ดีกว่าการยุติสัญญาร่วมทุนและต้องประมูลใหม่ เพราะต้องใช้เวลาในกระบวนการมากกว่า

“บีโอไอ” ขีดเส้น พ.ค.ออกบัตรส่งเสริม

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า โครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินในส่วนของบีโอไอต้องยึดตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนที่่กำหนดให้บีโอไอสามารถอนุมัติขยายเวลาในการส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมการลงทุนได้เพียง 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 4 เดือน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของโครงการนี้ คือ สิ้นสุดในวันที่ 22 พ.ค.นี้

ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบที่ดินโครงการเพื่อก่อสร้าง (NTP) หรือสัญญาร่วมทุน คงต้องยึดตามความเห็นของ ร.ฟ.ท. และ สกพอ.เป็นหลัก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2024 8:52 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ลุ้นขอบีโอไอ 'ไฮสปีดเทรน' ก่อน 22 พ.ค.นี้ แก้สัญญาแลกลงทุนเพิ่ม 9 พันล้าน
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันศุกร์ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:52 น.

ขีดเส้นอีก ! การรถไฟฯ ขีดเส้นเจรจา"ซีพี" โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จบภายใน เม.ย. 67 นี้ ลุ้นยื่นออกบัตรส่งเสริมการลงทุน BOI รอบสุดท้ายก่อน 22 พ.ค.นี้
วันศุกร์ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2567

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) อยู่ระหว่างการหารือร่วม 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ร.ฟ.ท. สกพอ. และบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด เพื่อหาข้อสรุปข้อเสนอของกลุ่มซีพีในการปรับโครงสร้างทางการเงินสัญญาร่วมลงทุนครั้งนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดข้อเสนอของทางกลุ่มซีพี ซึ่งต้องการขอปรับโครงสร้างทางการเงิน คาดว่าเจรจาเสร็จใน เม.ย.นี้ เพื่อให้ทันการยื่นขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในเดือน พ.ค. 2567 และนำไปสู่การส่งมอบพื้นที่เริ่มงานก่อสร้าง
ขณะที่ประเด็นการลงทุนโครงสร้างร่วมระหว่างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง โดยเอกชนยืนยันใช้เงินลงทุน 9,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการส่วนนี้ทั้งหมด โดยภาครัฐไม่ต้องใช้งบประมาณจะทำให้ ร.ฟ.ท. ประหยัดงบประมาณ 5,000 ล้านบาท สำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง
ขณะนี้เหลือการเจรจาประเด็นสุดท้ายที่จะทำให้โครงการเดินหน้าตามแผน คือ การเจรจาให้ได้ข้อสรุปส่วนของการปรับโครงสร้างทางการเงิน และการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เพราะเอกชนยื่นข้อเสนอการปรับรายละเอียดการจ่ายเงิน โดย ร.ฟ.ท. เชื่อมั่นว่าจะได้ข้อสรุปตามเป้าหมาย ส่วนผลการหารือจะทำให้ต้องปรับแก้ร่างสัญญาหรือไม่นั้น ขอเจรจาให้ได้ข้อสรุปก่อน

รายงานข่าวจาก สกพอ.ระบุว่า อยู่ระหว่างเจรจาข้อเสนอของกลุ่มซีพีในประเด็นเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสัญญา เพราะสถานการณ์ปัจจุบันไม่เหมือนช่วงประมูล เพราะผลกระทบโควิด-19 ทำให้คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเปลี่ยนไป ซึ่งรายละเอียดที่กลุ่มซีพียื่นเสนอมา อาทิ การจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่ขอพิจารณาแลกเปลี่ยนเป็นการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างร่วมช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง โดยหากการเจรจาแล้วเสร็จ ร.ฟ.ท.ยินยอมในข้อเสนอหักลบค่าบริหารสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แลกกับการให้กลุ่มซีพีลงทุนก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ก็จะทำให้ ร.ฟ.ท. ไม่ต้องลงทุนค่างานก่อสร้างส่วนนี้ เพราะค่าบริหารสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะอยู่ที่ราว 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงกว่าค่าก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนที่มีวงเงินราว 9 พันล้านบาท ทั้งนี้ หากการเจรจาข้อเสนอของกลุ่มซีพีไม่แล้วเสร็จภายในกรอบกำหนด และไม่ทันต่อการออกใบส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ภายในเดือน พ.ค.นี้ ก็จำเป็นต้องตัดสินใจเจรจากับกลุ่มซีพีว่าจะดำเนินโครงการนี้ต่อหรือไม่ เพราะหากไม่ได้บัตรส่งเสริม BOI ก็ไม่สามารถออกหนังสืออนุญาตเริ่มงานก่อสร้าง (NTP) ได้ และถือเป็นการดำเนินงานที่ขัดสัญญาร่วมทุน อาจจะต้องพิจารณายกเลิกสัญญา และนำไปสู่การเปิดประมูลใหม่
ทั้งนี้ หากการเจรจาได้ข้อสรุปตรงกันและยังสามารถเดินหน้าโครงการต่อไปตามสัญญาร่วมลงทุน แต่หากมีรายละเอียดภายในสัญญาที่ปรับเปลี่ยนออกไป ก็มีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการใหม่ แต่ยังถือเป็นสัญญาณที่ดีกว่าการยุติสัญญาร่วมทุนและต้องประมูลใหม่ เพราะต้องใช้เวลาในกระบวนการมากกว่า
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า โครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินในส่วนของบีโอไอต้องยึดตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนที่่กำหนดให้บีโอไอสามารถอนุมัติขยายเวลาในการส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมการลงทุนได้เพียง 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 4 เดือน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของโครงการนี้ คือสิ้นสุดในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบที่ดินโครงการเพื่อก่อสร้าง (NTP) หรือสัญญาร่วมทุน คงต้องยึดตามความเห็นของ ร.ฟ.ท. และ สกพอ. เป็นหลัก
https://www.facebook.com/btimesch3/posts/pfbid02KUgDpTV7iHqJt5wSwkZYdmmTRiEu5qpPJs93arSZJNFo2RCivCnPSz264VXukBDbl
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2024 5:31 pm    Post subject: Reply with quote

"คมนาคม" ถกสำนักงบฯ เร่งเบิกจ่ายค่าเค อุ้มรับเหมา-พยุง ITD
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
22 มีนาคม 2567

“คมนาคม” ถกสำนักงบประมาณ เร่งเบิกจ่ายค่าเค เหตุเอกชนอ่วมแบกต้นทุนก่อสร้างบิ๊กโปรเจ็กต์ถนนพระราม 2 พุ่ง หลังทล.จำกัดเวลาทำงาน หวั่นเกิดอุบัติเหตุ ฟาก กทพ.ยันจ่ายค่าเคตรงเวลาไม่กระทบปม ITDขาดสภาพคล่อง ขณะรฟท. รอรับจัดสรรงบปี 67 จ่ายค่าเคพยุง ITD


กรณี บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ยักษ์รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ของไทย แจ้งผ่าน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ถึงข้อเท็จจริงจากกระแสข่าวประสบปัญหาสภาพคล่อง จ่ายเงินเดือนพนักงานไม่ครบตามจำนวน ว่าเป็นเรื่องจริงและมีความพยายาม เจรจากับสถาบันการเงิน สนับสนุนสินเชื่อเพื่อลดผลกระทบ รวมถึงเจรจากับภาครัฐเร่งเบิกจ่าย เงินชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่าเค) ให้มีเงินหมุนเวียนเข้ามา โดยเฉพาะบางโครงการภาครัฐอาจมีข้อกำจัดในการทำงานเป็นสาเหตุให้การเบิกจ่ายล่าช้าออกไป





นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงกรณีที่ ITD ติดปัญหาสภาพคล่องว่า ที่ผ่านมาผู้รับเหมาในโครงการต่างๆบนถนนพระราม 2 ได้รับผลกระทบจากกรมทางหลวง (ทล.) จำกัดเวลาในการก่อสร้างเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้โครงการต่างๆมีความล่าช้ากว่ากำหนด ส่งผลให้เอกชนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น

สาเหตุดังกล่าว ปัจจุบันกระทรวงเร่งรัดการเบิกจ่ายค่าเคให้กับเอกชนในภาพรวมไม่ใช่เฉพาะ ITD เท่านั้น เบื้องต้นกระทรวงอยู่ระหว่างหารือกับสำนักงบประมาณเพื่อเร่งรัดของบประมาณรายจ่ายงบกลางในการจ่ายค่าเคให้กับเอกชนที่ได้รับผลกระทบบนถนนพระราม 2 เพื่อให้โครงการต่างๆบนถนนพระราม 2 สามารถเปิดให้บริการได้ทันภายในปี 2568 คาดว่าจะได้รับงบประมาณฯ ภายใน 2-3 เดือน

“ที่ผ่านมาการจ่ายค่าเคอยู่ที่สำนักงบประมาณว่าจะสามารถจ่ายได้อย่างไร โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำงบประมาณรายจ่ายงบกลางมาดำเนินการ ซึ่งจะต้องพิจารณาดูด้วยว่าความสามารถในการนำงบกลางมาจ่ายของรัฐบาลมีมากน้อยแค่ไหน”

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวว่า กรณีที่ ITD เกิดปัญหาสภาพคล่องนั้นปัจจุบันกทพ.มีการเบิกจ่ายค่าเคตรงตามงวดมาตลอด เนื่องจากกทพ.ใช้งบประมาณจากกองทุน (TFF) มาชำระให้แก่เอกชนทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ ขณะนี้พบว่ากทพ.มีการเบิกจ่ายค่าเคให้เอกชนไปแล้วประมาณ 60%

ด้าน นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวถึงกรณีITD เกิดปัญหาสภาพคล่องจนส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาช่วง (ซับคอนแทรค) นั้น ในปัจจุบัน ITD จะมีสัญญาก่อสร้างในโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีน ระยะที่ 1 และโครงการรถไฟทางคู่ แต่ยืนยันว่าไม่ได้กระทบต่อแผนโครงการฯของรฟท. ซึ่งเอกชนยังคงดำเนินการตามปกติ

“ปัญหาภายในของเอกชนที่เกิดขึ้น เราไม่ขอก้าวล่วงแต่รฟท.คงจับตามองงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการของ ITD เป็นพิเศษ ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาอะไร ส่วนการเบิกจ่ายเงินให้เอกชนไม่ได้มีความล่าช้า แต่ติดเรื่องการเบิกจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่าเค) ที่ต้องรองบประมาณปี 2567 ก่อน คาดว่าหากสามารถเบิกจ่ายค่าเคได้จะทำให้เอกชนสบายตัวมากขึ้น”

สำหรับโครงการของรฟท.ที่อยู่ในมือ ITD จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว วงเงิน 26,560 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า ไอทีดี-เนาวรัตน์ เป็นผู้รับจ้าง ในสัญญาก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

2.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระสัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา- คลองขนานจิตร วงเงิน 7,560 ล้านบาท มีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้รับจ้าง ในสัญญาก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

3.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ วงเงิน 9,290 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า ไอทีดี-อาร์ที เป็นผู้รับจ้าง ในสัญญาก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

4.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 5,807 ล้านบาท มีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้รับจ้าง ในสัญญาก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

5.โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-1 งานโยธา สำหรับช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า วงเงิน 9,348 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10 เป็นผู้รับจ้าง ในสัญญาก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)



Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
'ITD'ลามรับเหมารายย่อย แบงก์เบรกปล่อยกู้ลดเสี่ยง
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, March 20, 2024 05:39

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 - 24 มี.ค. 2567


ลิงก์มาแล้วครับ

ITD ลามรับเหมารายย่อย แบงก์เบรกปล่อยกู้ลดเสี่ยง
วันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 16.46 น.

https://www.prachachat.net/finance/news-1525415
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/03/2024 6:20 pm    Post subject: Reply with quote

2 ผู้เช่า ไม่ยอมย้ายออก รฟท.ต้องชะลอปรับพื้นที่สร้างอาคารสถานีใหม่ ไฮสปีดโคราช
มติชนออนไลน์ วันที่ 23 มีนาคม 2567 - 15:27 น.

กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอคืนพื้นที่อาคารพาณิชย์ 35 คูหา ด้านทิศตะวันตกสถานีรถไฟนครราชสีมา ริม ถ.มุขมนตรี ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนมารีย์วิทยา เขตเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทาง 251.9 กม. สัญญาที่ 3-5 งานโยธา ช่วงสถานีโคกรวด-สถานีนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ดินของ รฟท. และมีเอกชนมาเช่าช่วงก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ แต่ผู้เช่าส่วนหนึ่ง อ้างอยู่อาศัยกว่า 35 ปี ไม่ยอมย้ายออกและพยายามเจรจาต่อรองขอค่าขนย้าย

ต่อมา รฟท. ได้กำชับเข้มนำป้ายประกาศไปติดหน้าอาคารที่มีข้อพิพาท ระบุ “รฟท.ได้ทำหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าลงวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ขอแจ้งให้ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของผู้ให้เช่าและให้ส่งมอบพื้นที่คืนในสภาพเรียบร้อย ภายในวันที่ 5 มีนาคม 2567 หากไม่ดำเนินการ จะใช้สิทธิดำเนินการฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหายต่อไป” รวมทั้งนำแบริเออร์ไปปิดกั้นด้านหน้า ปรากฏก่อนครบเงื่อนเวลาผู้เช่าที่ดื้อแพ่ง ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกก่อนครบเงื่อนเวลา เหลือผู้เช่า 2 ราย ไม่ยอมออก ช่วงกลางวันยังประกอบการค้าตามปกติ

ความคืบหน้าล่าสุด บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้าง พบปัญหาอุปสรรคไม่สามารถนำเครื่องจักรกลเข้าไปปรับพื้นที่ได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นแนวเขตก่อสร้างสถานีรถไฟความสูง 3 ชั้น ให้บริการรถไฟความเร็วสูงและทางคู่ จึงต้องชะลอการรื้อถอน ส่วนพนักงาน รฟท. ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในอาคารสถานีรถไฟประวัติศาสตร์ ได้เคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์มาไว้อาคารชั่วคราวด้านข้างรวมทั้งผู้รับจ้างได้เริ่มทยอยย้ายอาณัติสัญญาณของรถไฟทางคู่เดิมมาติดตั้งที่ตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งเป็นสำนักงานชั่วคราว เพื่อเตรียมรื้อถอนอาคารสถานีเก่าอายุกว่า 80 ปี ในเร็วๆนี้

นายจรัล ทองกระจ่าง พนักงานบริหารงานทั่วไป 8 รฟท. พร้อมเอกชนผู้รับจ้างได้ลงพื้นที่ชุมชนป่าไม้-191 เพื่อรื้อบ้านพักในแนวเขตรถไฟทางคู่ เส้นทางเข้าสู่สถานีชุมทางถนนจิระ เพื่อวางตอม่อรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 โดยมีนายสุวกฤต รังสิโรจน์ ประธานชุมชนดังกล่าว พร้อมนายสหพล กาญจนเวนิช กรรมการหอการค้านครราชสีมา ฐานะผู้ประสานงานผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 64 แปลง 30 ไร่ ซึ่งมีเอกสิทธิที่ดิน หรือโฉนด และได้ข้อยุติการจ่ายค่าชดเชยที่ดินเพื่อพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและทางคู่ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ส่วนบริเวณทางข้ามรถไฟ ถ.สืบศิริ และช่วงผ่านสะพานโรงแรมสีมาธานี ผู้รับจ้างได้ขุดหลุมวางตอม่อคานทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงยกระดับความสูง 14 เมตร ตั้งแต่สถานีโคกกรวด-สถานีนครราชสีมา รวมทั้งปิดเส้นทาง 3 จุด คือ 1.ถนนเบี่ยงใต้สะพานสีมาธานี 2.ถนนสืบศิริ 6 และ 3.ทางแยกถนนสิบศิริ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/03/2024 5:36 am    Post subject: Reply with quote

เร่งคลี่ปมสัญญารถไฟไทย-จีน เข็นปีนี้เริ่มก่อสร้างสัญญา4-5
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, March 25, 2024 04:24

เร่งคลี่ปมสัญญารถไฟไทย-จีน เข็นปีนี้เริ่มก่อสร้างสัญญา4-5

ผู้จัดการรายวัน360 - "ผู้ว่าฯรฟท." เร่งเคลียร์งานโยธา "รถไฟไทย-จีน" เผยสัญญา 4-5 ช่วง บ้านโพ-พระแก้ว รับเหมายืนราคาถึงปลาย มี.ค. 67 ยันปมสถานีอยุธยาไม่กระทบ

ผู้จัดการรายวัน360 - "ผู้ว่าฯ รฟท." เร่งเคลียร์งานโยธา "รถไฟไทย-จีน" เผยสัญญา 4-5 ช่วง บ้านโพ-พระแก้ว รับเหมายืนราคาถึงปลาย มี.ค. 67 ยันปมสถานีอยุธยาไม่กระทบ ส่วนโครงสร้างร่วมไฮสปีด 3 สนามบิน ตั้งเป้าคุยจบใน เม.ย.นี้ ภาพรวม 14 สัญญาก่อสร้างคืบหน้า 31.91% ยังล่าช้า 39.527%

วานนี้ (24 มี.ค.) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค (รถไฟความเร็วสูงไทยจีน) ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ระยะทาง 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาทว่า ในส่วนของการก่อสร้างงานโยธา ยังเหลือที่ไม่ได้ลงนามกับผู้รับจ้าง คือ สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม.นั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเตรียมลงนามสัญญา กับ บริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด วงเงิน 10,325 ล้านบาท ที่มีเงื่อนไขให้ก่อสร้างทางวิ่งไปก่อน โดยเอกชนอยู่ระหว่างตรวจรายละเอียดสัญญา ที่อาจมีการปรับแก้ และพิจารณาว่าจะทำได้หรือไม่แค่ไหน

"ทางเอกชน ยืนราคาถึงสิ้นเดือน มี.ค. 67 และคาดว่าจะสรุป และสามารถลงนามสัญญาได้ภายในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ แต่หากไม่ทัน เอกชน ก็สามารถจะขอขยายการยืนราคาต่ออีก ซึ่งการยืนราคาต่อกรณีที่ยังลงนามสัญญาไม่ได้ เป็นผลดีกับภาครัฐมากกว่าการยกเลิก และเปิดประมูลใหม่ เพราะจะต้องทำราคากลางกันใหม่ ซึ่งปัจจุบันราคาก่อสร้างจะปรับเพิ่มขึ้นแน่นอน" นายนิรุฒ ระบุ
ส่วนกรณีสถานีอยุธยา ที่ยังติดประเด็นมรดกโลกนั้น นายนิรุฒ กล่าวว่า ไม่มีผลต่อการลงนามสัญญาก่อสร้าง เพราะมีเงื่อนไขให้ผู้รับจ้างก่อสร้างทางวิ่งไปก่อน ดังนั้น กรณีมีสถานี หรือไม่มีสถานีตอนนี้ไม่มีผลต่อการลงนามสัญญา ส่วนความคืบหน้าการรายงานการประเมินผล กระทบ ต่อแหล่งมรดกโลก หรือ Heritage Impact Assessment (HIA) นั้น รฟท.ทำงานร่วมกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (สผ.) ศึกษาและทำข้อมูล เป็นทีมไทยแลนด์ เพื่อดำเนินการ และหารือกับ ยูเนสโก ให้สบายใจในประเด็นมรดกโลก ทั้งรูปแบบสถานี และความสูงของทางวิ่ง

ผู้ว่าฯ รฟท.กล่าวต่อว่า ส่วนสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กม. ที่มีประเด็นโครงสร้างร่วมระหว่างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา) นั้น ข้อสรุปตอนนี้ รฟท. ต้องการให้ทาง บริษัท เอเชีย เอรา วันจำกัด (ซี.พี.) เป็นผู้ก่อสร้างทั้งหมด และอยู่ระหว่างเจรจา ซึ่งมีหลายแนวทาง เนื่องจากสัญญา 4-1 กำหนดกรอบวงเงินไว้ที่ 4 พันล้านบาท ซึ่งกรณีกำหนดความ เร็วตามมาตรฐานจีน ที่ 250 กม./ชม. จะทำให้มีค่าก่อสร้างโครงสร้างร่วม เพิ่มอีกประมาณ 5 พันล้านบาท ซึ่งรัฐบาลเดิมโดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีมติให้ไปเจรจากับเอกชน ในการก่อสร้างโครงสร้าง ร่วมโดยมีการเจรจาแลกกับเงื่อนไขที่เหมาะสม คาดว่าจะเจรจาสรุปการเจรจาก่อนสิ้นเดือน เม.ย. 67 เพื่อให้สอดคล้องกับ ที่เอกชนได้รับการขยายเวลา จาก บีโอไอ ในการส่งเอกสารเพื่อออกบัตรส่งเสริมครั้งที่ 3 ได้ถึงวันที่ 22 พ.ค. 67

รายงานข่าวแจ้งความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ภาพรวมการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 67 มีความก้าวหน้า 31.919% ซึ่งยังล่าช้ากว่าแผน 39.527% (แผนงาน 71.446 %) มีงานโยธา 14 สัญญา โดยก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา คือ สัญญา 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. และ สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ที่เหลืออยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และอีก 2 สัญญา คือ สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว อยู่ระหว่างเตรียมลงนามผู้รับจ้าง และสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ขณะที่ความคืบหน้าในส่วนของงานระบบฯ สัญญา 2.3 ที่มีการลงนามสัญญาไปเมื่อวันที่ 28 ต.ค.63 นั้น อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด จัดหาวัสดุอุปกรณ์งานระบบ คืบหน้า 0.76% ล่าช้า 64.49 % (แผนงาน 65.25%) ความล่าช้าเกิดจาก ปัญหาโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ตามแผนงานจะดำเนินการก่อสร้างงานโยธาทุกสัญญาของรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 1 ภายในปี 2567 เพื่อเร่งรัดให้แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการอย่างช้า ใน ปี 2571.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 25 มี.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2024 2:56 pm    Post subject: Reply with quote

คืบหน้าอิตาเลียนไทย ยอมจ่ายแล้ว เงินเดือนลูกจ้าง 6.6 พันคน
ในประเทศ
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 12:27 น.


รมว.แรงงาน เผย อิตาเลียนไทย ยอมจ่ายค่าแรงลูกจ้างแล้ว 6.6 พันคน รวมกว่า 30 ล้านบาท เร่งกู้เงินธนาคาร แก้ปัญหาวิกฤตขาดสภาพคล่อง

วันที่ 25 มีนาคม 2567 มติชนรายงานว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยความคืบหน้าในการช่วยเหลือลูกจ้างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ที่ถูกค้างจ่ายค่าจ้าง ว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา พนักงานตรวจแรงงาน ได้เชิญผู้แทนบริษัท มาพบที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 เพื่อให้ข้อเท็จจริงและหารือร่วมกันถึงปัญหาการค้างจ่ายค่าจ้าง ตนได้มอบหมายให้นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมหารือด้วย


ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้แทนบริษัทให้ข้อเท็จจริงว่า บริษัทมีลูกจ้างทั้งหมด 20,188 คน และมีโครงการก่อสร้างกระจายอยู่หลายจังหวัดทั่วประเทศไทย รวม 115 โครงการ กรณีปัญหาที่เกิดขึ้น บริษัทยอมรับว่าเกิดจากการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ปัญหาโดยการขอสินเชื่อหรือขอกู้เงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนภายในบริษัท



โดยในปัจจุบันมีสถาบันทางการเงินเข้ามาสนับสนุนโครงการของบริษัทแล้ว จำนวน 79 โครงการ ทำให้สามารถจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างได้ตามปกติ สำหรับ 36 โครงการ ที่เหลือรวมถึงสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท อยู่ระหว่างติดต่อประสานกับสถาบันการเงินเข้ามาสนับสนุน ซึ่งผู้แทนบริษัทคาดว่าจะสามารถจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างได้ตามปกติประมาณเดือนเมษายน 2567

“ทั้งนี้ จากการที่ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานทั่วประเทศ ลงพื้นที่ตรวจสอบไซต์ก่อสร้างในเครือบริษัทอิตาเลียนไทย พบว่า ในหลายโครงการหลายจังหวัดเริ่มทยอยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย โดยลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามปกติแล้ว เป็นลูกจ้างที่มีทั้งสัญชาติไทยและแรงงานข้ามชาติ จำนวน 6,626 คน ได้แก่ ลูกจ้างในจังหวัดระยอง ปทุมธานี เชียงใหม่ นครราชสีมา และเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 และพื้นที่ 3 เป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท” นายพิพัฒน์กล่าว

ด้าน นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างบริษัทอิตาเลียนไทย รวมไปถึงลูกจ้างรับเหมาช่วงอย่างเต็มที่ตามอำนาจหน้าที่ โดยในหลายพื้นที่ได้มีการรับคำร้อง คร.7 และออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง อย่างไรก็ตาม ตนได้เน้นย้ำกับพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ที่ลูกจ้างยังไม่ได้รับค่าจ้างค้างจ่ายให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเร่งรัดให้นายจ้างเร่งดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่ได้ตกลงไว้กับลูกจ้าง

ทั้งนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองแรงงานทุกคนภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2566 กสร.ได้ดำเนินการช่วยเหลือลูกจ้างในสถานประกอบกิจการทั่วประเทศให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำนวน 19,832 คน


ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ เป็นเงินรวม 1,912,298,148.01 บาท โดยจำแนกตามประเภทคำร้อง 5 ลำดับแรก คือ 1) ค่าจ้าง 2) ค่าชดเชยการเลิกจ้าง 3) ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 4) ค่าล่วงเวลา และ 5) ค่าทำงานในวันหยุด และพบว่า แรงงานสัญชาติไทยมีการยื่นคำร้อง (คร.7) มากที่สุด รองลงมาคือ แรงงานสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาว ตามลำดับ

Wisarut wrote:
"คมนาคม" ถกสำนักงบฯ เร่งเบิกจ่ายค่าเค อุ้มรับเหมา-พยุง ITD
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
22 มีนาคม 2567



Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
'ITD'ลามรับเหมารายย่อย แบงก์เบรกปล่อยกู้ลดเสี่ยง
Source - ประชาชาติธุรกิจ
วันพุธที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 05:39 น.

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 - 24 มี.ค. 2567


ลิงก์มาแล้วครับ

ITD ลามรับเหมารายย่อย แบงก์เบรกปล่อยกู้ลดเสี่ยง
วันพุธที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 16.46 น.

https://www.prachachat.net/finance/news-1525415
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/03/2024 9:00 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.เคาะซื้อรถตรวจทางกว่า 279 ล้านบาท ไฟเขียวขยายเวลาสัญญา 3-2 "ไทย-จีน"สร้างอุโมงค์คลองไผ่ ลำตะคอง
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Tuesday, March 26, 2024 07:02

บอร์ดรฟท.อนุมัติซื้อรถตรวจสภาพทาง วงเงินกว่า 279 ล้านบาทเทคโนโลยีใหม่ ประสิทธิภาพสูง คาดรับรถ เม.ย.69 และไฟเขียวขยายเวลาก่อสร้าง"รถไฟไทย-จีน"สัญญา 3-2 (อุโมงค์ มวกเหล็กและลำตะคอง) อีก 431 วันไปสิ้นสุด 7 มิ.ย. 68 ชดเชยเหตุส่งมอบพื้นที่กรมป่าไม้ล่าช้า

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯ ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2567 มีมติอนุมัติ ซื้อรถตรวจสภาพทางจำนวน 1 คัน จากบริษัท บรอดแคส ดีพิท (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นเงิน 279.140 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว) ซึ่งรฟท.ใช้วิธีคัดเลือกในการจัดหา ใช้งบลงทุนปี 2567 จากรายได้ของรฟท.ในการจัดซื้อ โดยถือเป็นการจัดซื้อคันแรก จาก ที่รฟท. มีรถตรวจสภาพทาง 2 คัน โดยคันแรกอายุใช้งานกว่า 30 ปี อีกคันเป็นรถมือสอง ได้มาเมื่อปี 2557 ซึ่งเทคโนโลยีเก่าและไม่เพียงพอต่อการทำงานและระยะทางรถไฟที่เพิ่มขึ้น

โดย รถตรวจสภาพทางที่จัดซื้อนี้ มีเทคโนโลยีทันสมัย เป็นระบบเลเซอร์ สามารถตรวจรางทุกมิติ และตรวจองค์ประกอบ ความสมบูรณ์ของโครงสร้างทาง เช่น หมอนคอนกรีต สปริงคลิปยึดราง เป็นต้น โดยมีขีดความสามารถตรวจทางได้ ระยะทางกว่า 700 กม.ต่อเดือน เร็วกว่าวิธีตรวจทางแบบเดิมที่ใช้คนเดินตรวจสภาพ กว่า 4 เท่า และมีความเร็วในการรับส่งข้อมูล ระบบการถ่ายโอยข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตบอกพิกัดตำแหน่งราง หรือทางที่มีปัญหาชำรุดได้รวดเร็ว จึงมีประสิทธิภาพสูงและแม่นยำกว่าคน ที่ใช้สายตาและประสบการณ์ในการตรวจสภาพทาง เนื่องจากรถตรวจสภาพจะจำลองการมีขบวนรถไฟวิ่งผ่านทาง มีน้ำหนักกดทับจริง จะแสดงความมั่นคงแข็งแรงของทางและสภาพราง โดยมีคนขับ 1 คน และเจ้าหน้าที่ดูข้อมูล 2 คน ซึ่งได้วางเกณฑ์ความถี่ ของการตรวจสภาพทางไว้ ที่ 4 รอบต่อปี ดังนั้น การมีรถตรวจสภาพทางใหม่และใช้เทคโนโลยีทันสมัย จะทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการเดินรถ

หลังจากนี้ จะเป็นการผลิตโดยเครื่องมือผลิตที่สหรัฐอเมริกา ส่วนตัวรถผลิตที่จีน ใช้ระยะเวลา 750 วัน หรือได้รับรถประมาณเดือนเม.ย. 2569


@ไฟเขียวขยายเวลา"รถไฟไทย-จีน"สัญญา 3-2 สร้างอุโมงค์คลองไผ่ ลำตะคอง อีก 431 วัน

นายนิรุฒกล่าวว่า นอกจากนี้ บอร์ดรฟท.มีมติอนุมัติขยายเวลา ทำการตามสัญญาและแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) ออกไปอีก 431 วัน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 3 เม.ย.2567 ไปสิ้นสุดวันที่ 7 มิ.ย. 2568 เนื่องจาก การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้า ในส่วนของอุโมงค์คลองไผ่ บริเวณลำตะคอง

นายกำพล บุญชม รองวิศวกรใหญ่ด้านโครงการพิเศษ การรถไฟฯ ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า งานสัญญาที่ 3-2 มีงานก่อสร้างอุโมงค์ จำนวน 4 อุโมงค์ ได้แก่ 1. อุโมงค์คลองไผ่บริเวณลำตะคอง ซึ่งมีความยาวมากที่สุด 4.25 กม. 2. อุโมงค์มวกเหล็ก 3.อุโมงค์ผาเสด็จ 4.อุโมงค์หินลับ ที่ผ่านมาได้ ทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง โดยอุโมงค์คลองไผ่ เป็นพื้นที่สุดท้ายพี่พึ่งได้รับการอนุมัติ จากกรมป่าไม้ ในการให้ใช้พื้นที่

สำหรับ สัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท มี บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการ เป็นผู้ก่อสร้าง ระยะเวลาสัญญา 1,080 วัน บวกกับ ที่ได้รับการต่อขยายอีก 431 วันรวมเป็น 1,511 วัน โดยผลงาน ณ เดือนก.พ.2567 มีความคืบหน้า56.84 % ล่าช้า 42.63 % (แผนงาน 99.47%)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2024 4:16 pm    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้างานขุดย้ายแนวท่อระบายน้ำ ที่กีดขวางงานก่อสร้างฐานรากของรถไฟความเร็วสูง บริเวณท้ายชุมชนหลักร้อย ปัจจุบันทางโครงการฯ ได้ทำการเปิดหน้าดินเพื่อหาแนวท่อระบายน้ำดังกล่าวแล้ว
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=397434122995025&id=100081853208848

"มหานครโคราช" คำนี้ไม่เกินจริง จากภาพคือไซส์งานก่อสร้างทาง"รถไฟความเร็วสูง"ในตัวเมืองยกข้ามจุดตัดทางแยกต่างระดับปักธงชัยและสะพานสีมาธานี จ.นครราชสีมา
https://www.facebook.com/DongYaiup/posts/391415057175916

# 📣📣ประชาสัมพันธ์ พี่น้องประชาชนตำบลบ้านใหม่ โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางก่อสร้าง ด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาได้ดำเนินการปรับปรุงผิวถนนจราจร " โครงการปรับปรุงถนน อบจ. นม.01206 " เส้นบ้านใหม่ - บ้านหนองเป็ดน้ำ ระยะทางยาว 1100 เมตร ตั้งแต่แยกไฟแดงตลาดมะขามเฒ่า โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2566 - 20 เมษายน 2567
📍📍เทศบาลตำบลบ้านใหม่จึงขอแจ้งประชาสัมพันธ์การปิดถนนจำนวน 1 ช่องการจราจร เพื่อปรับปรุงถนนเส้นดังกล่าว และให้ประชาชนที่จำเป็นต้องใช้ถนนเส้นดังกล่าวโปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้รถ-ใช้ถนน
**ขออภัยในความไม่สะดวกมาที่นี้
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=813396597499686&id=100064880580430

ทางโครงการฯ ได้เข้าพื้นที่เพื่อปักชีทไพล์ (sheet pile) บริเวณหน้าตะวันแดงเพื่อเตรียมเปิดหน้าดินตัดเข็มและสร้างฐานรากของตอม่อสะพานยกระดับ
** แจ้งไปยังผู้ใช้บริการสถานบันเทิง งดนำรถเข้าไปจอดในพื้นที่นะคะ เนื่องจากอาจจะมีการเหยียบหมุดที่ทางวิศวกรวางตำแหน่งไว้ เวลาเปิดหน้าดินเดี๋ยวชุดปักชีทไพล์ (sheet pile) จะหาตำแหน่งไม่เจอค่ะ **
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=390010797070691&id=100081853208848

แจ้งปิดถนนบริเวณจุดตัดที่ 9 ท้ายชุมชนหลักร้อย (แยกต้นโพธิ์ศาลตาปู่)
เนื่องด้วยทางโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 3-5 มีความจำเป็นจะต้องปิดถนนบริเวณท้ายชุมชนหลักร้อย เพื่อดำเนินงานก่อสร้างระบบระบายน้ำและสะพานยกระดับ Pier 52 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม ถึง 14 กรกฎาคม 2567 เป็นระยะเวลา 122 วัน จึงขอแจ้งประชาชนที่ต้องใช้เส้นทางดังกล่าวให้หลีกเลี่ยงเส้นทางหรือใช้เส้นทางถนน Service Road ของโครงการฯ ตามภาพที่แนบมานี้
**ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ**
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=390000093738428&id=100081853208848

ความก้าวหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ณ บริเวณย่านสถานีนครราชสีมา เมื่อ 23 มีนาคม 2567
https://www.facebook.com/ThaiRailNews/posts/798733872301182


Last edited by Wisarut on 26/03/2024 4:57 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2024 4:19 pm    Post subject: Reply with quote


งานรื้อถอนอาคารพาณิชย์บริเวณด้านข้างสถานีนครราชสีมา เตรียมก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง

***จุดนี้คือจุดก่อสร้างสถานีนครราชสีมา (รถไฟความเร็วสูงและสถานีร่วมรถไฟทางคู่ใหม่) ส่วนของรถไฟความเร็วสูงจะตั้งอยู่ในสัญญาที่ 3-5 โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน เป็นงานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ เริ่มตั้งแต่ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา รวมงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมาด้วย ระยะทางประมาณ 13.69 กิโลเมตร หรือ ประมาณ 8.51 ไมล์ งบประมาณในการก่อสร้าง 7,750 ล้านบาท ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้ว 5.30% ค่ะ
ชมคลิป 👉👉👉 https://www.youtube.com/watch?v=vOi_wO0X6U4
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=390584743606242&id=100079641581769
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2024 4:23 pm    Post subject: Reply with quote

ประกาศปิดการจราจร ช่องทางหลัก (จุดตัด 1 พหลโยธิน) กิโลเมตรที่ 107 + 400 ถึง 107 + 500 (บริเวณกระหรี่ปั๊ปคุณจุ๋ม)
เพื่อติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตโครงสร้างสะพานยกระดับรถไฟความเร็วสูง
ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 2567 เริ่มทำการปิดถนนตั้งแต่ เวลา 22:30 น. ถึงวันที่ 8 เมษายน 2567 และทำการคืนสภาพจราจร เวลา 04:30 น. (ปิดตลอด 24 ชั่วโมง ระยะเวลา 10 วัน)
พิกัดปิดการจราจร : https://maps.app.goo.gl/qXGvnRnUunT3hQcm8
https://www.facebook.com/civil.hsr/posts/407811868436112
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 541, 542, 543 ... 547, 548, 549  Next
Page 542 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©