RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311303
ทั่วไป:13278134
ทั้งหมด:13589437
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 544, 545, 546 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/04/2024 10:05 am    Post subject: Reply with quote

เช็คสถานะรถไฟไทย-จีน 'คมนาคม' ปิดทางต่อสัญญา ก่อสร้างมา 6 ปี คืบหน้าแค่ 31.9%
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Sunday, April 07, 2024 06:01

เปิดความคืบหน้างานก่อสร้าง “ไฮสปีดไทยจีน” ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ผลงานสะสม 31.92% ล่าช้ากว่าแผน 39.52% ขณะที่ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง และศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ยังอยู่ระหว่างรอลงนามสัญญา “คมนาคม” ขีดเส้นแล้วเสร็จเปิดปี 2571

โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ดำเนินการเมื่อวันที่ 11 ก.ค.2560 โดยโครงการดังกล่าวปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา

ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย

ล่าสุดนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ครั้งที่ 1/2567 โดยได้เร่งรัดดำเนินโครงการด้านคมนาคมหลายส่วน รวมไปถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กิโลเมตร งบประมาณการลงทุน 179,412.21 ล้านบาท ซึ่งมีเป้าหมายเปิดให้บริการในปี 2571

สำหรับความคืบหน้างานโยธาโครงการดังกล่าว ปัจจุบันพบว่าข้อมูล ณ วันที่ 25 ก.พ. 2567 มีผลงานสะสม 31.92% ขณะแผนดำเนินงานกำหนดไว้ 71.44% ดังนั้นภาพรวมจึงพบว่างานโยธายังล่าช้ากว่าแผนถึง 39.52% กระทรวงฯ จึงมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งรัดการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน

ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้การก่อสร้างล่าช้า ให้หลีกเลี่ยงการต่อขยายสัญญาออกไปอีก เว้นแต่เป็นกรณีเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมอบให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ช่วยกำกับดูแลการก่อสร้างของ ร.ฟ.ท. ให้เป็นไปตามแผนงาน ตลอดจนเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง

สำหรับสถานะงานโยธา 14 สัญญา ปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้

สัญญาที่ 1-1 ช่วงกลางดง - ปางอโศก

ระยะทาง 3.50 กิโลเมตร

วงเงิน 362 ล้านบาท

สถานะก่อสร้างแล้วเสร็จ 100%

สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก

ระยะทาง 11.00 กิโลเมตร

วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท

สถานะก่อสร้างแล้วเสร็จ 100%

สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า

ระยะทาง 30.21 กิโลเมตร

วงเงิน 9,348.00 ล้านบาท

สถานะงานโยธา 0.10%

กำหนดแล้วเสร็จ 15 ต.ค.2569

สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง

ระยะทาง 12.23 กิโลเมตร

วงเงิน 4,279.33 ล้านบาท

สถานะงานโยธา 56.84%

กำหนดแล้วเสร็จ 7 มิ.ย.2568

สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า – ลำตะคอง

ระยะทาง 26.10 กิโลเมตร

วงเงิน 9,838.00 ล้านบาท

สถานะงานโยธา 47.06%

กำหนดแล้วเสร็จ 9 ม.ค.2569

สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด

ระยะทาง 37.45 กิโลเมตร

วงเงิน 9,848.00 ล้านบาท

สถานะงานโยธา 73.28%

กำหนดแล้วเสร็จ 20 พ.ค.2568

สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา

ระยะทาง 12.38 กิโลเมตร

วงเงิน 7,750.00 ล้านบาท

สถานะงานโยธา 6.31%

กำหนดแล้วเสร็จ 3 ม.ค.2568

สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง

ระยะทาง 15.21 กิโลเมตร

วงเงิน 9,207 ล้านบาท

สถานะรอลงนามสัญญา

สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง – นวนคร

ระยะทาง 21.80 กิโลเมตร

วงเงิน 10,570.00 ล้านบาท

สถานะงานโยธา 0.28%

กำหนดแล้วเสร็จ 3 ม.ค.2568

สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร - บ้านโพ

ระยะทาง 23.00 กิโลเมตร

วงเงิน 11,525.35.00 ล้านบาท

สถานะงานโยธา 28.07%

กำหนดแล้วเสร็จ 13 ส.ค.2567

สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย

วงเงิน 6,573.00 ล้านบาท

สถานะงานโยธา 6.61%

กำหนดแล้วเสร็จ 3 ม.ค.2568

สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว

ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร

วงเงิน 9,913.00 ล้านบาท

สถานะรอลงนามสัญญา

สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว - สระบุรี

ระยะทาง 31.60 กิโลเมตร

วงเงิน 9,429.00 ล้านบาท

สถานะงานโยธา 1.03%

กำหนแล้วเสร็จ 15 ต.ค.2569

สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี – แก่งคอย

ระยะทาง 12.99 กิโลเมตร

วงเงิน 8,560.00 ล้านบาท

สถานะงานโยธา 51.62%

กำหนดแล้วเสร็จ 7 มิ.ย.2568

ทั้งนี้ ไฮสปีดเทรนช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟขนาดทางมาตรฐานช่วงกรุงเทพ-หนองคาย ที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนและจีน เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ One Belt One Road ที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค ด้วยขีดความสามารถในการให้บริการความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง 30 นาที

โดยกระทรวงคมนาคมมีเป้าหมายเร่งก่อสร้างเพื่อเปิดให้บริการในปี 2571 ซึ่งจะให้บริการรวม 6 สถานี ประกอบด้วย

1. สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

2. สถานีดอนเมือง

3. สถานีอยุธยา

4. สถานีสระบุรี

5. สถานีปากช่อง

6. สถานีนครราชสีมา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/04/2024 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

ขยายสัญญาต่ออีก 440 วัน รอบนี้ต้องเสร็จให้ทันตามกำหนดนะ ทางรถไฟความเร็วสูงช่วงเข้าเมืองนครราชสีมา
นิกเกิ้ล พาทัวร์ (Train Thailand)
Apr 7, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=9Shj3usBgyM


พามาชมอัพเดตล่าสุด | ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย สัญญาที่4-4 รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ใหญ่โตมโหฬารมาก
nanny official
Apr 8, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=8MjcImyMynU

สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เป็นโครงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่และศูนย์ควบคุมการเดินรถทั้งระบบ ประกอบด้วย
- งานก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดินภายในศูนย์ซ่อมบำรุง
- งานอาคารภายใน ประกอบด้วย อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ , อาคารระบบการจัดการควบคุมการเดินรถและฝึกอบรม และอาคารซ่อมบำรุงทาง รวม 41 อาคาร
- งานโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ระบบระบายน้ำ และงานอื่นๆที่จำเป็นภายใน
งบประมาณในการก่อสร้าง 6,514.4 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโดย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้วประมาณ 0.85% หน้างานปัจจุบันอยู่ระหว่างงานเสาเข็มและฐานรากค่ะ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/04/2024 12:03 pm    Post subject: Reply with quote

ไปโลดแล้ว อัพเดตสัญญาที่4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ รถไฟความเร็วสูงไทยจีน ก่อสร้างคืบหน้ายาวๆไปเลย เม.ย. 67
nanny official
Apr 9, 2024

*** โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฟสที่1 สัญญาที่ 4-3 (ช่วงนวนคร-บ้านโพ) เป็นงานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับตลอดแนว รวมระยะทาง 23 กิโลเมตร หรือประมาณ 14 ไมล์ งบประมาณในการก่อสร้าง 11,525 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโดย กิจการร่วมค้าซีเอส - เอ็นดับบลิวอาร์ - เอเอส ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้วประมาณ 21.30% ค่ะ


https://www.youtube.com/watch?v=c2w76Cvb3yg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2024 9:31 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ฟ้องไล่ผู้เช่าพ้นเขตรถไฟฯ หลังดื้อแพ่งไม่ยอมย้ายออก ทำรถไฟเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราชล่าช้า
ผู้จัดการออนไลน์ 15:59

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - การรถไฟฯ ฟ้องขับไล่ หลังผู้เช่าจำนวนหลายสิบรายไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ ส่งผลให้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-โคราชล่าช้าออกไปอีก 3.92%

วันนี้ (9 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่บริเวณอาคารพาณิชย์ริมถนนมุขมนตรี ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนมารีย์วิทยา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบว่าเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำแบริเออร์ มากั้นบริเวณหน้าอาคารพาณิชย์ทั้ง 35 คูหาไว้ ภายหลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ขอคืนพื้นที่อาคารพาณิชย์ 35 คูหา ด้านทิศตะวันตกของสถานีรถไฟนครราชสีมา ริมถนนมุขมนตรี ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนมารีย์วิทยา เพื่อดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5 ช่วงสถานีโคกกรวด ถึงสถานีนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ดินของ รฟท.และมีเอกชนเช่าช่วงก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ แต่ผู้เช่าส่วนหนึ่งอ้างอยู่อาศัยมานานกว่า 35 ปี ไม่ยอมย้ายออก พร้อมกับพยายามต่อรองขอค่าขนย้ายด้วย

ต่อมา รฟท.จึงได้นำป้ายประกาศไปติดหน้าอาคารที่มีข้อพิพาท ระบุ “รฟท.ได้ทำหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าลงวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ขอแจ้งให้ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของผู้ให้เช่า และให้ส่งมอบพื้นที่คืนในสภาพเรียบร้อยภายในวันที่ 5 มีนาคม 2567 หากไม่ดำเนินการจะใช้สิทธิ์ดำเนินการฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหายต่อไป” พร้อมทั้งได้นำแบริเออร์ไปปิดกั้นด้านหน้าอาคารไว้

ต่อมาช่วงก่อนครบเงื่อนเวลาผู้เช่าพื้นที่ดื้อแพ่ง 3 ราย ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกก่อนครบเงื่อนเวลา เหลือผู้เช่า 2 รายไม่ยอมออก ส่งผลให้บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้าง พบปัญหาไม่สามารถนำเครื่องจักรกลเข้าไปปรับพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นแนวเขตก่อสร้างสถานีรถไฟความสูง 3 ชั้น ให้บริการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ จึงต้องชะลอการรื้อถอนออกไปก่อน โดยพนักงาน รฟท.ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในอาคารสถานีรถไฟประวัติศาสตร์ ได้ย้ายวัสดุอุปกรณ์มาไว้อาคารชั่วคราวด้านข้าง

รวมทั้งผู้รับจ้างได้ทยอยย้ายอาณัติสัญญาณของรถไฟทางคู่เดิม มาติดตั้งที่ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นสำนักงานชั่วคราว เพื่อเตรียมรื้อถอนอาคารสถานีเก่าอายุกว่า 80 ปี เร็วๆ นี้

ขณะที่ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 67 เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย รฟท.ได้นัดผู้เช่าอาคาร 35 คูหา มาทำบันทึกสละพื้นที่เช่าและการครอบครองสิ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าว เพื่อให้ผู้รับจ้างสามารถเข้าพื้นที่ทำการรื้อถอน ปรากฏว่ามีผู้เช่า จำนวน 10 รายไม่ได้มาทำบันทึก ส่วนผู้เช่า 2 รายที่ไม่ย้ายออกไปตามนัด ไม่ยอมทำบันทึกแต่อย่างใด แม้ว่าฝ่ายกฎหมายพยายามชี้แจงขอความร่วมมือก็ไม่เป็นผล ทาง รฟท.จึงได้มอบหมายให้ผู้รับจ้างนำป้ายไปติดประกาศรื้อถอน และขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารทั้งหมดออกจากพื้นที่ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ติดประกาศ

สำหรับที่มาของที่ดินรถไฟของผู้เช่า 35 คูหานั้น เมื่อปี 2532 นายทุนจากกรุงเทพมหานคร ได้ขอเช่าที่ดินผืนดังกล่าวเพื่อก่อสร้างอาคารพาณิชย์ เนื่องจากอยู่ย่านชุมชนใจกลางเมืองโคราช จึงมีผู้เช่าประกอบการค้า ทั้งตลาดสด ห้างสรรพสินค้า ห้างทอง ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ร้านขายของชำ สำนักกฎหมาย ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ และร้านขายอุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นต้น ต่อมามีการเปลี่ยนการครอบครอบขายสิทธิ์ต่อกันโดยเซ้งกิจการไปคูหาละ 6-8 แสนบาท

จนกระทั่งรัฐบาลมีเมกะโปรเจกต์รถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ เข้ามาในตัวเมืองนครราชสีมา รฟท.จึงไม่ต่อสัญญา พร้อมขอคืนพื้นที่ ซึ่งผู้เช่าส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือด้วยดี

โดยตรวจสอบพบผู้เช่ากว่า 10 รายไม่จ่ายค่าเช่านานหลายปี มียอดค้างสะสมรวมหลายแสนบาท ซึ่ง รฟท.ได้เรียกเก็บหนี้ที่ค้างชำระ ส่วนผู้เช่าที่จ่ายครบจะคืนค่าประกันสัญญาเช่าพื้นที่คูหาละ 35,000 บาท ส่วนผู้เช่า 2 รายที่ดื้อแพ่ง รฟท.ได้ยื่นฟ้องให้ศาลจังหวัดนครราชสีมาขอออกหมายบังคับคดีขับไล่ พร้อมให้จ่ายค่าใช้ประโยชน์ที่ดินด้วย

ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ทาง รฟท.ได้แจ้งผลงานสะสมถึงสิ้นเดือน มี.ค. 67 สร้างไปแล้ว 10.61% ล่าช้ากว่าแผนงาน 3.92%.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2024 1:57 pm    Post subject: Reply with quote

สแกนอีอีซีโค้งแรกปี'67 ไฮสปีดยังติดล็อก มู้ดลงทุนใหม่แผ่ว
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, April 10, 2024 03:19

การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เป็นนโยบายต่อเนื่องสมัยนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ ต่อเนื่องมายังนายกฯเศรษฐา หากสำเร็จส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนของธุรกิจต่าง ๆ ในพื้นที่อีอีซี ทั้ง จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การลงทุน ระยะยาว ตามเป้าหมาย ปี 2566-2570 ใน 5 คลัสเตอร์ คือ ยานยนต์ ดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ BCG และการแพทย์

ล่าสุด นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี กล่าวถึงความคืบหน้าของ 4 โครงการ โครงสร้างพื้นฐานในอีอีซี ว่า โครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา เตรียมงานก่อสร้างทางวิ่ง 2 และทางขับ

ซึ่งตามแผนระหว่างปี 2567-2570 จะเป็นช่วงของการก่อสร้างสนามบินและการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานและการรับส่งสนามบินสำหรับสนามบินใหม่ รวมถึงการขยายสถานี (Operational Readiness and Airport Transfer : ORAT) จากนั้นในปี 2571 จะเปิดให้บริการทางวิ่งใหม่และเทอร์มินอล 2

อัพเดตความคืบหน้า 2 ท่าเรือ

ส่วนโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ขณะนี้เป็นงานก่อสร้างทางทะเล ซึ่งอยู่ระหว่างแผนคือช่วง ปี 2567-2570 โดยการก่อสร้างรวมแล้วคืบหน้าพอสมควร และจะส่งมอบงานพื้นที่ถมทะเลพื้นที่ 3 ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ภายในเดือนมิถุนายน 2567

และการก่อสร้างท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 เป็นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (ถมทะเล) แล้วเสร็จ 73.01% คาดจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2567 ในระหว่างปี 2567-2569 จะทยอยก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคภายในพื้นที่ท่าเรือก่อสร้างระบบป้องกันมลพิษ และการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภครองรับการพัฒนาในเฟสต่อไป พร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2570

เอราวัน ยื่นบีโอไอทัน 22 พ.ค.นี้

แต่ที่น่าจับตามองมากที่สุด คือ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังอยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญา บริษัท เอเชีย เอราวัณ จำกัด ผู้ได้รับสัมปทาน ซึ่งจะต้องยื่นเอกสารเพื่อขอให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ออกบัตรส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 นี้ จากนั้นจะเริ่มการส่งมอบพื้นที่ส่วนที่เหลือ ช่วงพญาไทถึงบางซื่อให้เสร็จ

อย่างไรก็ตาม หากเอราวัณยังไม่ยื่นเอกสารต่อบีโอไอ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) เพื่อไม่ให้กระทบต่อโครงการลงทุนอื่น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าโครงการรอบ ๆ ตามเส้นทางของสถานีไฮสปีดที่ได้เตรียมลงทุนก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ รวมถึงการกระจายความเป็นเมือง ก็ย่อมได้รับผลกระทบหากโครงการล่าช้า

ธุรกิจตั้งใหม่ Q1 แผ่ว

อีกด้านหนึ่ง นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ในพื้นที่ อีอีซี ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 มีจำนวน 2,876 ราย ลดลง 0.28% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 2,884 ราย โดยมีทุนจดทะเบียน 12,439.88 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 20.42% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าทุนจดทะเบียน 12,439.88 ล้านบาท โดยสัดส่วน 75.87% เป็นการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในจังหวัดชลบุรี 2,211 ราย โดยส่วนใหญ่การจัดตั้งเป็นธุรกิจบริการ คิดเป็น 61.09% รองลงมาคือ การขายส่งขายปลีก คิดเป็น 24.32% และการผลิต คิดเป็น 14.59%

ทั้งนี้ ปัจจุบันสถานะการดำเนินธุรกิจ ในพื้นทีอีอีซี มีจำนวนนิติบุคคลคงอยู่ ณ 31 มีนาคม 2567 จำนวน 88,368 ราย ทุนจดทะเบียน 1,741,031.22 ล้านบาท แบ่งเป็น จ.ชลบุรี 63,826 ราย คิดเป็น 72.23% จ.ระยอง 16,925 ราย คิดเป็น 19.15% และ จ.ฉะเชิงเทรา 7,617 ราย คิดเป็น 8.62%

ท็อป 3 ธุรกิจ สุดบูมในอีอีซี

สำหรับธุรกิจที่ยังดำเนินกิจการ อยู่ที่มี จำนวนสูงสุด 3 อันดับ ของแต่ละกลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ภาคการผลิต 1) ธุรกิจกลึงกัดไสโลหะ จำนวน 992 ราย มีรายได้ 12,248.52 ล้านบาท 2) ธุรกิจ ติดตั้งเครื่องจักร อุตสาหกรรมและอุปกรณ์ จำนวน 689 ราย มีรายได้ 8,574.93 ล้านบาท และ 3) ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริม สำหรับยานยนต์ จำนวน 612 ราย มีรายได้ 862,493.05 ล้านบาท

ขณะที่ภาคธุรกิจขายส่ง/ปลีก แบ่งเป็น 1) ธุรกิจขายส่งเครื่องจักรอื่น ๆ จำนวน 1,699 ราย มีรายได้ 28,292.62 ล้านบาท 2) ธุรกิจขายส่ง เครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม จำนวน 1,209 ราย มีรายได้ 18,483.57 ล้านบาท และ 3) ธุรกิจขาย ปลีกวัสดุก่อสร้าง จำนวน 959 ราย มีรายได้ 39,787.65 ล้านบาท

ส่วนภาคธุรกิจบริการ ประกอบด้วย 1) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 16,469 ราย มีรายได้ 50,374.41 ล้านบาท 2) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 5,855 ราย มีรายได้ 55,903.85 ล้านบาท และ 3) ธุรกิจ ภัตตาคารและร้านอาหาร จำนวน 2,806 ราย มีรายได้ 5,669.58 ล้านบาท

"ญี่ปุ่น" ครองแชมป์ลงทุนอีอีซี
หากตรวจสอบลงไปในส่วนของการลงทุนของธุรกิจต่างชาติ โดยมีทุนต่างที่ถือหุ้นในนิติบุคคลไทยคิดเป็น 56.94% ของทุนทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนี้ ธุรกิจสัญชาติญี่ปุ่น มีสัดส่วนมากที่สุด 39.88% โดยประเภทธุรกิจที่มาลงทุนมากที่สุด ได้แก่ 1.ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ สำหรับยานยนต์ มูลค่าการลงทุน 82,676.31 ล้านบาท 2.ผลิตอะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม มูลค่าการลงทุน 38,667.31 ล้านบาท 3.ผลิตยางล้อและยางใน มูลค่าการลงทุน 31,797.31 ล้านบาท

รองลงมาคือ จีน มีสัดส่วนคิดเป็น 17.24% ธุรกิจที่ลงทุนมากสุด คือ 1.ผลิตยางล้อและยางใน มูลค่าการลงทุน 16,519.83 ล้านบาท 2.ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ สำหรับยานยนต์ มูลค่าการลงทุน 16,243.06 ล้านบาท 3.การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า มูลค่าการลงทุน 12,668.25 ล้านบาท

และสิงคโปร์ มาเป็นอันดับที่ 3 มีสัดส่วนคิดเป็น 7.30% โดยมีการลงทุน 1.ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มูลค่าการลงทุน 16,061.23 ล้านบาท 2.ผลิตยางล้อและยางใน มูลค่าการลงทุน 7,086.52 ล้านบาท 3.ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ สำหรับยานยนต์ มูลค่าการลงทุน 4,818.10 ล้านบาท โดยนักลงทุนทั้ง 3 ประเทศมีการเข้าลงทุนในจังหวัดระยอง สูงสุดคิดเป็น 50.49%

ซึ่งแน่นอนว่า ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการขยายการลงทุนในอีอีซี เกิดจากความชัดเจนของการดำเนินนโยบายของรัฐที่ยังให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเติบโตในระดับภูมิภาค รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในสาขา อุตสาหกรรมใหม่ในอีอีซี แต่อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่โครงสร้างพื้นที่ฐานที่เป็นกระดูกสันหลังของอีอีซี ทั้ง 4 โครงการก็จะมีส่วนหนุนให้นักลงทุน ต่างชาติเห็นถึงศักยภาพของอีอีซีในการเป็นจุดศูนย์กลางการลงทุน ที่จะ เชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอื่นในทั้งในและนอกอาเซียนด้วย

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 - 14 เม.ย. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2024 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ ฟ้องขับไล่ผู้เช่าพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูง l จับตารอบทิศ l 10 เม.ย. 67

การรถไฟฯ ยื่นฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากผู้เช่าอาคารเอกชน ไม่ยอมย้ายออก ทำให้ผู้รับเหมาไม่สามารถเข้าไปปรับพื้นที่การก่อสร้างได้ ส่งผลให้การสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กทม. - นครราชสีมา ล่าช้า


https://www.youtube.com/watch?v=xidnSmdZoNs
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2024 4:35 pm    Post subject: Reply with quote

Update HSR in Thailand|Rangsit-Ayutthaya-Sraburi Station |April 2024


https://www.youtube.com/watch?v=F3InnRoE3wg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2024 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

มหากาพย์ ยื้อ ไฮสปีด 3 สนามบิน ส่งท้าย'นิรุฒ มณีพันธ์' ผู้ว่ารฟท.คนนอก
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, April 10, 2024 05:16

"การรถไฟแห่งประเทศไทย"หรือ รฟท. 1 ในรัฐวิสาหกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลกิจการด้านรถไฟและพัฒนาระบบรางให้มีศักยภาพมากขึ้น ปัจจุบัน รฟท.มีโครงข่ายทางรถไฟความยาว 4,843 กิโลเมตร (กม.) โดยในปี 2567 มีแผนเพิ่มโครงข่ายรถไฟทางคู่เพิ่ม 772 กิโลเมตร (กม.) รวมความยาว 5,615 กิโลเมตร (กม.)

หลังจาก "นิรุฒ มณีพันธ์" อดีตนายแบงก์ที่ข้ามห้วยมานั่งในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ซึ่งถือเป็นผู้ว่าคนนอกที่อยู่จนครบวาระ 4 ปี ซึ่งจะหมดวาระในวันที่ 23 เมษายนนี้ ขณะนี้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.มีแผนที่จะเปิดสรรหาผู้ว่ารฟท.คนใหม่มาแทน ซึ่งจะใช้เวลาในกระบวนการสรรหาผู้ว่าการฯ แล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน โดยในระหว่างนี้ที่อยู่ระหว่างกระบวนการสรรผู้ว่ารฟท.คนใหม่นั้น จะมีการพิจารณาให้รองผู้ว่ารฟท.เป็นรักษาการแทนผู้ว่ารฟท.ที่จะหมดวาระในปัจจุบันด้วย

ในช่วงระยะเวลา 4 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่ารฟท. "นิรุฒ มณีพันธ์" ได้ผลักดันโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง อาทิ โครงการรถไฟ ทางคู่สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงของ, โครงการรถไฟทางคู่สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่-นครพนม โดยทั้ง 2 เส้นทางอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง รวมทั้งรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 ที่บางเส้นทางยังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างและจะเปิดให้บริการได้เร็วๆ นี้, รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ปัจจุบันได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนแล้ว, โครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง 3 เส้นทาง ประกอบด้วย ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชันศิริราช ขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ รวมทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ที่จะเปิดประมูลในอนาคตอันใกล้

ขณะที่อีก 1 โครงการอย่าง "โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่า 224,544 ล้านบาท กลับติดปัญหาคาราคาซังกว่า 6 ปี ที่ดูท่าทีจะยืดเยื้อและไม่มีทีท่าว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ตามแผนที่วางไว้ ถึงแม้ในปัจจุบันพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิอู่ตะเภา สามารถส่งพื้นที่ได้ 100% และรฟท.สามารถออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงานกับเอกชนได้ แต่เนื่องจากในปี 2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเหตุให้เอกชนผู้ชนะการประมูลอย่างซีพีขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐในการแก้ปัญหาค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จนนำมาสู่การแก้ไขสัญญากับรฟท.จน ถึงปัจจุบัน

ไม่เพียงเท่านั้นการเจรจากับเอกชนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ยังไม่เห็นวี่แววการแก้ไขสัญญาใหม่กลับมีเหตุให้ไม่สามารถเดินหน้าต่อได้อีก โดยพบว่าพื้นที่ของโครงการฯติดปัญหาทับซ้อนโครงสร้างร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อดอนเมือง ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นราว 9,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาระหว่างรฟท.และเอกชนเพื่อให้ได้ข้อสรุป

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า การการถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ปัจจุบันรฟท.อยู่ระหว่างการเจรจาร่วมกับเอกชนในประเด็นปัญหาทับซ้อนโครงสร้างร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อดอนเมือง เบื้องต้นเอกชนได้เสนอเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างช่วงดังกล่าวแลกกับเงื่อนไขให้ภาครัฐช่วยแก้ปัญหาการผ่อนชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซึ่งจะต้องดูในเรื่องข้อกฎหมายว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ คาดว่าจะใช้การเจรจาให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนเมษายน 2567 เพื่อให้สอดรับกับบีโอไอที่อนุมัติการขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เอกชน ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ในปี 2561 ได้เปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ซึ่งผู้ชนะประมูลได้สิทธิบริหารโครงการระยะทาง 220 กิโลเมตร รวมการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีมักกะสัน 150 ไร่ รวมทั้งพื้นที่โดยรอบสถานีศรีราชา 25 ไร่ ซึ่งมีการเปิดรับซองข้อเสนอเอกชนวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561

ทั้งนี้พบว่ามีเอกชนยื่นซองข้อเสนอ 2 ราย ประกอบด้วย 1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน),บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

2. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตามคงต้องจับตาว่านายนิรุฒ มณีพันธ์ จะสามารถปิดดีลการเจรจากับเอกชนได้สำเร็จและสามารถ ผลักดันแผนก่อสร้างไฮสปีด 3 สนามบินตามที่หวังหรือไม่ หากสามารถดำเนินการได้เชื่อว่าจะเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงส่งท้ายผู้ว่ารฟท.คนนอกอย่างแน่นอน

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 11 - 13 เม.ย. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2024 8:46 pm    Post subject: Reply with quote

(คลิปเต็ม) ถามมา-ตอบไป รัฐบาลจะสร้าง ‘รถไฟฟ้า’ เชื่อม 3 สนามบินอยู่หรือไม่?(5 เม.ย. 67) | ฟังหูไว้หู
Apr 8, 2024
#ฟังหูไว้หู | 5 เม.ย. 67 On Air
ถามมา - ตอบไป รัฐบาลจะสร้าง ‘รถไฟฟ้า’ เชื่อม 3 สนามบินอยู่หรือไม่?
.
ฟังหูไว้หู ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 20.50 น.
ทางช่อง 9 กด 30


https://www.youtube.com/watch?v=uqIcL7XFkss
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44705
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/04/2024 6:57 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ฟ้องไล่ผู้เช่าพ้นเขตรถไฟฯ
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, April 11, 2024 04:14

หลังดื้อไม่ยอมย้ายทำรถไฟเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราชล่าช้า

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - การรถไฟฯ ฟ้องขับไล่ หลังผู้เช่าจำนวนหลายสิบรายไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ ส่งผลให้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯโคราชล่าช้าออกไปอีก 3.92%

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่บริเวณอาคารพาณิชย์ริมถนนมุขมนตรี ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนมารีย์วิทยา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบว่าเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำแบริเออร์ มากั้นบริเวณหน้าอาคารพาณิชย์ทั้ง 35 คูหาไว้ ภายหลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ขอคืนพื้นที่อาคารพาณิชย์ 35 คูหา ด้านทิศตะวันตกของสถานีรถไฟนครราชสีมา ริมถนนมุขมนตรี ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนมารีย์วิทยา

ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพ มหานคร-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5 ช่วงสถานีโคกกรวด ถึงสถานีนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ดินของ รฟท.และมีเอกชนเช่าช่วงก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ แต่ผู้เช่าส่วนหนึ่งอ้างอยู่อาศัยมานานกว่า 35 ปี ไม่ยอมย้ายออก พร้อมกับพยายาม ต่อรองขอค่าขนย้ายด้วย

ต่อมา รฟท.จึงได้นำป้ายประกาศไปติดหน้าอาคารที่มีข้อพิพาท ระบุ "รฟท.ได้ทำหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าลงวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ขอแจ้งให้ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของผู้ให้เช่า และให้ส่งมอบพื้นที่คืนในสภาพเรียบร้อยภายในวันที่ 5 มีนาคม 2567 หากไม่ดำเนินการจะใช้สิทธิ์ดำเนินการฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหายต่อไป" พร้อมทั้งได้นำแบริเออร์ไปปิดกั้นด้านหน้าอาคารไว้

ต่อมาช่วงก่อนครบเงื่อนเวลาผู้เช่าพื้นที่ดื้อแพ่ง 3 ราย ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกก่อนครบเงื่อนเวลา เหลือผู้เช่า 2 รายไม่ยอมออก ส่งผลให้บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้าง พบปัญหาไม่สามารถนำเครื่องจักรกลเข้าไปปรับพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นแนวเขตก่อสร้างสถานีรถไฟความสูง 3 ชั้น ให้บริการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ จึงต้องชะลอการรื้อถอนออกไปก่อน โดยพนักงาน รฟท.ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในอาคารสถานีรถไฟประวัติศาสตร์ ได้ย้ายวัสดุอุปกรณ์มาไว้อาคารชั่วคราวด้านข้าง

รวมทั้งผู้รับจ้างได้ทยอยย้ายอาณัติสัญญาณของรถไฟทางคู่เดิม มา ติดตั้งที่ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเป็นสำนักงานชั่วคราว เพื่อเตรียมรื้อถอนอาคารสถานีเก่าอายุกว่า 80 ปี เร็วๆ นี้

ขณะที่ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 8 เมษายน 25 67 เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย รฟท.ได้นัดผู้เช่าอาคาร 35 คูหา มาทำบันทึกสละพื้นที่เช่าและการครอบครองสิ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าว เพื่อให้ผู้รับจ้างสามารถเข้าพื้นที่ทำการรื้อถอน ปรากฏว่ามีผู้เช่า จำนวน 10 รายไม่ได้มาทำบันทึก ส่วนผู้เช่า 2 รายที่ไม่ย้ายออกไปตามนัด ไม่ยอมทำบันทึกแต่อย่างใด แม้ว่าฝ่ายกฎหมายพยายามชี้แจงขอความร่วมมือก็ไม่เป็นผล ทาง รฟท.จึงได้มอบหมายให้ผู้รับจ้างนำป้ายไปติดประกาศรื้อถอน และขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารทั้งหมดออกจากพื้นที่ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ติดประกาศ

สำหรับที่มาของที่ดินรถไฟของผู้เช่า 35 คูหานั้น เมื่อปี 2532 นายทุนจากกรุงเทพมหานคร ได้ขอเช่าที่ดินผืนดังกล่าวเพื่อก่อสร้างอาคารพาณิชย์ เนื่องจากอยู่ย่านชุมชนใจกลางเมืองโคราช จึงมีผู้เช่าประกอบการค้า ทั้งตลาดสด ห้างสรรพสินค้า ห้างทอง ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ร้านขายของชำ สำนักกฎหมาย ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ และร้านขายอุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นต้น ต่อมามีการเปลี่ยนการครอบครอบขายสิทธิ์ต่อกันโดยเซ้งกิจการไปคูหาละ 6-8 แสนบาท

จนกระทั่งรัฐบาลมีเมกะโปรเจกต์รถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ เข้ามาในตัวเมืองนครราชสีมา รฟท.จึงไม่ต่อสัญญา พร้อมขอคืนพื้นที่ ซึ่งผู้เช่าส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือด้วยดี

ขณะที่จากการตรวจสอบพบผู้เช่ากว่า 10 รายไม่จ่ายค่าเช่านานหลายปี มียอดค้างสะสมรวมหลายแสนบาท ซึ่ง รฟท.ได้เรียกเก็บหนี้ที่ค้างชำระ ส่วนผู้เช่าที่จ่ายครบจะคืนค่าประกันสัญญาเช่าพื้นที่คูหาละ 35,000 บาท ส่วนผู้เช่า 2 รายที่ดื้อแพ่ง รฟท.ได้ยื่นฟ้องให้ศาลจังหวัดนครราชสีมาขอออกหมายบังคับคดีขับไล่ พร้อมให้จ่ายค่าใช้ประโยชน์ที่ดินด้วย

ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ทาง รฟท.ได้แจ้งผลงานสะสมถึงสิ้นเดือน มี.ค. 67 สร้างไปแล้ว 10.61% ล่าช้ากว่าแผนงาน 3.92%.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 11 เม.ย. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 544, 545, 546 ... 548, 549, 550  Next
Page 545 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©