Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13283398
ทั้งหมด:13594720
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 293, 294, 295 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2018 9:54 am    Post subject: Reply with quote

ได้เอกชนผุดรถไฟเร็วสูงปีนี้
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 27 ก.พ. 2561 เวลา 09:00 น.

บอร์ดอีอีซีเคาะรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดประมูลเดือน มี.ค. คาดได้ผู้ชนะปลายไตรมาส 3 ของปีนี้

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) หรือบอร์ดอีอีซี ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา โดยจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเดือน มี.ค.นี้ พร้อมกันนี้ให้ศึกษาขยายพื้นที่อีอีซีครอบคลุมพื้นจังหวัดโดยรอบด้วย

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังโครงการผ่าน ครม. จะเชิญเอกอัครราชทูตแต่ละประเทศในไทยเข้าร่วมฟังรายละเอียดโครงการเพื่อแจ้งนักลงทุน เนื่องจากจะเปิดประมูลแบบนานาชาติในเดือน มี.ค. จากนั้นจะให้ผู้เข้าร่วมประมูลจัดทำรายละเอียดประมาณ 4 เดือน คาดว่าจะได้ผู้ชนะการประมูลช่วงปลายไตรมาส 3 และลงนามสัญญาภายในปลายปี

"รัฐบาลจะผลักดันโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักของอีอีซีทั้ง 5 โครงการ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุด ให้มีการลงนามภายในปีนี้" นายกอบศักดิ์ กล่าว

ด้าน นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ กนศ. กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 7 แสนล้านบาท หรืออัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 17% แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร (กม.) ช่วงที่ 1 ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์ดอนเมือง-พญาไท ระยะทาง 21 กม. ช่วงที่ 2 แอร์พอร์ตลิงค์พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 29 กม. และช่วงที่ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม.

นายคณิศ กล่าวอีกว่า โครงการนี้จะลงทุนแบบพีพีพีเอกชนรายใดเสนอผลตอบแทนสูงสุดหรือรัฐลงทุนน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ โดยโครงการนี้จะรวมแอร์พอร์ตลิงค์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนสะสมของแอร์พอร์ตลิงค์ที่มีอยู่ 1,785 ล้านบาท เป็นหนี้จากการก่อสร้างประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท โดยให้เอกชนที่ชนะการประมูลซื้อกิจการรวมเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าการลงทุน

"รถไฟความเร็วสูงเส้นนี้ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ-ระยอง 60 นาที กรุงเทพฯ-จันทบุรี 100 นาที และกรุงเทพฯ-ตราด 120 นาที โดยเส้นทางสนามบินอู่ตะเภา-ระยอง-จันทบุรีตราด จะเป็นระยะที่ 2 ระยะแรกจึงถึงแค่สนามบินอู่ตะเภาก่อน" นายคณิศ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2018 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ... "สายอนาคตแห่งภาคตะวันออก"
ฐานเศรษฐกิจ 26 February 2018

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2561 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยที่ประชุมเห็นชอบหลักการของ ‘โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน’ และให้นำเสนอ ครม. เพื่อพิจารณา โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ‘ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา’ เป็น 1 ใน 5 โครงการเร่งด่วนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทั้งนี้ โครงการนี้พัฒนามาจากโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (ลาดกระบัง-ระยอง) ที่เป็นโครงการเดิม โดยได้ปรับปรุงหลักการให้เข้าเชื่อม 3 สนามบินอย่างไร้รอยต่อ อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศและประชาชนในอนาคต

1.รถไฟสายนี้เป็นสายอนาคตสำหรับภาคตะวันออกและมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง : การพัฒนา EEC เป็นการสร้างพื้นที่ต่อขยายของเมืองให้กับกรุงเทพฯ รถไฟความเร็วสูงเส้นนี้มีความสำคัญ 4 ด้าน คือ

1) รถไฟความเร็วสูงสายนี้จะเข้าเชื่อมโยง 3 สนามบิน จะเป็นการยกระดับสนามบินอู่ตะเภามาเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 ให้ทำงานควบคู่กับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ที่มีผู้โดยสารเกินความจุแล้ว 17 ล้านคนต่อปี

- ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชม. สนามบินอู่ตะเภาสามารถเชื่อมกับกรุงเทพฯ ได้ใน 45 นาที เทียบกับ 2-3 ชั่วโมงโดยรถยนต์
- ในอนาคตผู้โดยสาร สามารถลงเครื่องบินที่สนามบินอู่ตะเภา แล้วขึ้นรถไฟความเร็วสูงเข้ากรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว (ใช้เวลาใกล้เคียงกับสนามบินนาริตะเข้ากรุงโตเกียว)

2) รถไฟความเร็วสูง เป็นการเปิดพื้นที่การพัฒนาจากกรุงเทพฯ เชื่อม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยจะมีสถานีรถไฟ 5 สถานี (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา อู่ตะเภา) ซึ่งนอกจากจะมีการพัฒนาบริเวณสถานีให้เป็นพื้นที่พัฒนาเชื่อมโยงกับชุมชนชนเก่าแล้ว ประชาชนตลอดเส้นทาง สามารถมาใช้บริการโดยนำรถยนต์ไปจอดที่สถานีเหล่านี้ได้ ทำให้ประหยัดเวลาการเดินทางมาก โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้รถติดมาก และประเทศได้ประโยชน์จากการลดการใช้น้ำมันและลดความแออัดบนถนน

3) รถไฟความเร็วสูง ที่ความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชม. นี้ เป็นช่วงแรกของการเชื่อมโยงพื้นที่พัฒนาไปสู่ ระยอง จันทบุรี และตราดในอนาคตอันใกล้

3.1) คาดว่าใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพฯ - ระยอง 60 นาที กรุงเทพฯ - จันทบุรี 100 นาที และกรุงเทพฯ - ตราด 120 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม และจะทำให้คนส่วนใหญ่หันมาใช้การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง แทนการเดินทางโดยรถยนต์

3.2) มีการศึกษาว่าถ้ารถไฟความเร็วสูง ลดความเร็วลงเหลือ 160 กม./ชม. ต้นทุนการก่อสร้างจะลดลงไม่มาก (ประมาณร้อยละ 5) แต่จะใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพฯ - ตราด นานถึง 3 ชม. ซึ่งอาจไม่สามารถทำให้มีการใช้สนามบินอู่ตะเภาอย่างเต็มประสิทธิภาพ และประชาชนก็จะได้ประโยชน์ไม่เต็มที่

3.3) นอกจากนั้นในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง มีการพัฒนาความเร็วมากขึ้นเป็น 300 -350 ก.ม./ช.ม. ในต้นทุนที่ไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ซึ่งมาตรฐาน 250 ก.ม./ช.ม. กลายเป็นมาตรฐานความเร็วต่ำสุดในปัจจุบัน

3.4) การกำหนดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากสนามบินอู่ตะเภา – ระยอง – จันทบุรี - ตราด เป็นระยะที่สอง เป็นเพราะเส้นทางรถไฟไประยองที่ศึกษาไว้ วิ่งเข้าไปในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดซึ่งเป็นเขตควบคุมสิ่งแวดล้อม ทำให้ที่ต้องมีการศึกษาสิ่งแวดล้อมเป็นกรณีพิเศษและใช้เวลานานซึ่งจะทำให้โครงการทั้งหมดล่าช้า

3.5) ระยะทางจากกรุงเทพฯ - สนามบินอู่ตะเภา (ประมาณ 200 กิโลเมตร) และกรุงเทพฯ - ตราด (ประมาณ 320 กิโลเมตร) นั้น “สั้นเกินไป” ที่จะเชื่อมโยงโดยมีสายการบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปอู่ตะเภา หรือ ตราด รวมทั้งจำนวนผู้โดยสารกระจายในหลายจังหวัด ดังนั้นเส้นทางคมนาคมเชื่อมกรุงเทพฯ - อู่ตะเภา และกรุงเทพฯ - ตราดที่เหมาะที่สุด คือ การใช้รถไฟความเร็วสูง

4.ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจตลอดทั้งโครงการประมาณ 700,000 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน)โดยแบ่งเป็น 50 ปีแรก มีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 400,000 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน) ซึ่งมากกว่าเงินลงทุนประมาณ 200,000 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน) จึงถือว่าเป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนผลตอบแทนดังกล่าวมาจาก

- มูลค่าเพิ่มการนำสนามบินอู่ตะเภามาใช้ประโยชน์
- ลดการใช้น้ำมัน ลดเวลาการเดินทาง ลดมลพิษสิ่งแวดล้อมจากการใช้รถยนต์
- ผลตอบแทนทางจากการพัฒนาเศรษฐกิจตลอดเส้นทาง
- การจ้างงานและการใช้ปัจจัยการผลิตในประเทศไทย
- รัฐจะจัดเก็บภาษีต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น

เมื่อครบ 50 ปี แล้ว ยังมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจนสิ้นอายุของโครงการอีกอย่างน้อย 300,000 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน)

2.สาระสำคัญโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน : โครงการนี้ครอบคลุมเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากสนามบินดอนเมือง-สนามบินอู่ตะเภา โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงรวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร

1) รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยาย แอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท ระยะทาง 21 กม. (อยู่ในแผนเดิมที่จะมีการก่อสร้าง ความเร็ว 160 กม./ชม.)
2) รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 29 กม. (ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน ความเร็ว 160 กม./ชม.)
3) รถไฟความเร็วสูงจาก สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. (ปรับจากแผนเดิมของรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (ลาดกระบัง-ระยอง ความเร็ว 250 กม./ชม.)
4) พัฒนาพื้นที่สถานีและสนับสนุนการให้บริการผู้โดยสาร
- สถานีมักกะสันประมาณ 150 ไร่ สำหรับการเป็นสถานีหลักรถไฟความเร็วสูง รวมที่จอดรถและเชื่อมโยงกับรถไฟใต้ดิน
- สถานีศรีราชาประมาณ 100 ไร่ สำหรับการเป็นสถานี ที่จอดและอู่ซ่อม เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ

ทั้งนี้เป็นเรื่องปกติของการลงทุนรถไฟ และรถไฟความเร็วสูงทุกแห่งทั่วโลก
- ผู้ลงทุนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน จะขาดทุนทางการเงินเสมอ เพราะเก็บค่าโดยสารได้ไม่คุ้มเงินลงทุน แต่ประเทศจะได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากเกินคุ้ม (ดังกล่าวข้างต้น)
- เช่นเดียวกับในหลายประเทศในอนาคตรัฐบาลอาจมีรายได้เพิ่มหากจัดเก็บภาษีพิเศษจากธุรกิจบริเวณสถานีและตลอดเส้นทางที่ได้ประโยชน์ทางอ้อม (wind fall benefits) จากการที่รัฐบาลจัดให้มีรถไฟความเร็วสูงสายนี้

3.การดำเนินโครงการ : ร่วมทุนกับเอกชน เพื่อลดค่าใช้งบประมาณภาครัฐ และเพิ่มประสิทธิภาพโดยเอกชน : การจัดการลงทุนโครงการนี้ เป็นไปตามหลักการการจัดเงินการลงทุนของประเทศ

1) งบประมาณแผ่นดิน ที่ได้มาจากภาษีอากร ควรใช้เพื่อการพัฒนาด้านสังคม เช่น การศึกษา การสาธารณสุข และดูแลความมั่นคงเป็นหลัก โครงการที่พอมีรายได้บ้างควรหลีกเลี่ยงการใช้เงินงบประมาณ แต่หันไปใช้เงินของเอกชนซึ่งมีเป็นจำนวนมากมาพัฒนาประเทศ
2) เงินกู้ต่างประเทศ ไม่สมควรนำมาใช้ กับโครงการลงทุนที่มีรายได้ไม่มาก ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้
- จะทำให้เกิดภาระหนี้สาธารณะ การกู้เงินควรใช้กับโครงการสำคัญที่ไม่มีรายได้ หรือรายได้น้อยแต่จำเป็นมาก เช่น ถนน รถไฟทางคู่
- กรณีกู้เงินจากต่างประเทศแม้ดอกเบี้ยต่ำ มักมีข้อกำหนดให้ใช้บริษัทต่างชาติจากประเทศเจ้าของเงิน บางครั้งทำให้ต้นทุนโดยรวมสูงและกลับกลายเป็นว่าเงินกู้ ถูกถ่ายเทกลับประเทศเจ้าของเงินไม่เหลือหมุนเวียนภายในเศรษฐกิจของประเทศไทย
- กรณีกู้เงินจากต่างประเทศ รัฐบาลต้องรับความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งหากกู้ระยะยาว ก็เสี่ยงนาน และเคยมีกรณีที่เมื่อรวมความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ดอกเบี้ยไม่ถูกอย่างที่คิด
- กรณีกู้เงินต่างประเทศ และหน่วยงานรัฐบาลดำเนินการเอง มีความเสี่ยงที่โครงการ จะสำเร็จล่าช้ากว่ากำหนด

3) รูปแบบการลงทุนแบบร่วมลงทุนกับเอกชน ภาคเอกชนจะเป็นผู้รับความเสี่ยงเรื่อง อัตราแลกเปลี่ยน และความล่าช้าของโครงการ

ดังนั้น เพื่อลดภาระงบประมาณรัฐบาลในระยะสั้น รัฐบาลจึงไม่ต้องการลงทุนเอง แต่ให้เป็นการร่วมทุนกับเอกชน ซึ่งจะเป็นการดึงทรัพยากรทางการเงินของเอกชน มาใช้ประโยชน์กับประเทศ

4. ที่ดินมักกะสัน : แก้ปัญหาเดิม เสริมให้เป็นสถานีหลัก จ่ายค่าเช่าตามราคาตลาด : กรณีที่ดินมักกะสัน เหตุผลหนึ่งที่ต้องพัฒนาเป็นสถานีหลักรถไฟความเร็วสูงสายนี้ เป็นแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิมคือสถานีไม่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า และต้องจัดที่จอดรถ รวมทั้งปรับการจราจรใหม่ทั้งหมด ผู้รับไปพัฒนาต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินให้การรถไฟตามราคาตลาด และให้รัฐมีส่วนร่วมรับกำไร เมื่อโครงการมีกำไร (revenue sharing)

5. ที่ดินศรีราชา : พัฒนาสถานีและโรงซ่อม เอกชนจ่ายค่าเช่าที่ดินให้ รฟท. : รฟท. มีพื้นที่บริเวณศรีราชาประมาณ 100 ไร่ แต่ใช้ประโยชน์พื้นที่เพียง 75 ไร่ เพื่อปรับปรุงเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูง และอู่ซ่อมรถจักรของการรถไฟ ส่วนพื้นที่ที่เหลือ 25 ไร่ จึงกำหนดให้เอกชนนำไปพัฒนา และจ่ายค่าเช่าให้การรถไฟตามราคาตลาด

6. รวมแอร์พอร์ตลิงก์ : เพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนเรื้อรังของแอร์พอร์ตลิงก์ โดยให้เอกชนซื้อกิจการ : กรณีรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ ปัจจุบันการดำเนินงานขาดทุนสะสมประมาณ 1,785 ล้านบาท โดยปี 2560 ขาดทุนประมาณ 280 ล้านบาท และเป็นหนี้จากการก่อสร้างประมาณกว่า 33,000 ล้านบาท เมื่อต้องทำรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จึงนำโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ มารวมและแก้ปัญหาการขาดทุนทีเดียว ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะต้องซื้อกิจการในมูลค่าที่เหมาะสม และการรถไฟจะสามารถนำไปลดหนี้ได้

- ในปัจจุบันของแอร์พอร์ตลิงก์ ประสบปัญหาความแออัดของผู้โดยสาร เนื่องจากมีขบวนรถน้อย จึงต้องวิ่งในเวลาที่ห่างกัน ทั้งๆ เวลาของรางมีพอคือ (ปัจจุบัน ผู้โดยสารต้องรอประมาณ 15 นาที ต่อ ขบวน ในเวลาเร่งด่วน) และเมื่อขาดทุนจึงทำให้สถานการณ์ การเงินไม่ดี และไม่สามารถลงทุนเพิ่มขบวนรถได้มาก
- การเปลี่ยนระบบเป็นรถไฟความเร็วสูงในครั้งนี้ จะยังคงมีรถไฟจอดที่สถานีแอร์พอร์ตลิงก์ทุกสถานีเหมือนเดิม แต่จะมีขบวนรถวิ่งรับผู้โดยสารมากขึ้น (ประมาณ 10 นาทีต่อขบวน ทั้งนอกชั่วโมงเร่งด่วนและชั่วโมงเร่งด่วน)
- สำหรับรถด่วนเชื่อม 3 สนามบินที่จอดน้อยสถานี ไม่จำเป็นต้องมีบ่อย (ทุก 30 นาทีต่อขบวนทั้งนอกชั่วโมงเร่งด่วนและชั่วโมงเร่งด่วน จาก กรุงเทพฯ ถึงสถานีอู่ตะเภา และจะมีขบวนรถในชั่วโมงเร่งด่วนแทรกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังสถานีศรีราชา ทุก 20 นาที) จำนวนรางที่มีอยู่จึงเพียงพอ แต่ใช้เวลาของรางอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกับแก้ปัญหาแอร์พอร์ตลิงก์เดิม
- นอกจากนั้นในอนาคตรัฐบาลได้เตรียมรถไฟสายสีแดง (Missing Link) ขึ้นเพิ่มเติมจากบางซื่อ ถึงหัวหมาก ซึ่งจะแล้วเสร็จประมาณปี 2564

โดยสรุปโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะทำให้ผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ได้รับประโยชน์และความสะดวกสบายมากขึ้นเพราะจะมีขบวนรถไฟมากขึ้นลดความแออัดในปัจจุบัน และสถานีมักกะสัน จะถูกพัฒนาให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

7. การประมูล : เป็นรูปแบบ net cost: ใครเสนอผลประโยนช์สูงสุดเป็นผู้ชนะการประมูล : การประมูลจะเป็นรูปแบบ net cost เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู คือ ใครยื่นเสนอผลตอบแทนสูงสุดให้รัฐ จะเป็นผู้ชนะการประมูล

เอกชนแต่ละรายจะคำนวนผลตอบแทนสูงสุดที่จะหาได้ ตามความสามารถของแต่ละรายในการควบคุมต้นทุนการก่อสร้าง การบริหารระบบการก่อสร้าง การจัดหาขบวนรถไฟ การหารายได้จากการวิ่งรถไฟ การหารายได้จากการบริหารอสังหาริมทรัพย์ (หลังจากจ่ายค่าเช่าที่ดินตามที่กำหนด) และนำเสนอผลประโยชน์สูงสุดมาเข้าประมูล ในการนี้เอกชนที่มีคุณภาพดี มีความสามารถในการบริหารต้นทุนและหารายได้เก่ง จะเป็นผู้ชนะ

- รัฐบาลจะได้ประโยชน์สูงสุด และจ่ายงบประมาณสนับสนุนต่ำสุด
- ประเทศไทยได้ผู้ที่เหมาะสมที่สุด ได้ประโยชน์จากการพัฒนาเต็มที่

8. อายุโครงการ 50 ปี : เพื่อให้รัฐบาลใช้งบประมาณน้อยที่สุด : โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสีชมพู มีมูลค่าโครงการละประมาณ 50,000 ล้านบาท มีระยะโครงการ 30 ปี ในขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้มีมูลค่าโครงการประมาณ 200,000 ล้านบาท ดังนั้นถ้าให้เวลาโครงการน้อย ก็จะขาดทุนมาก เพราะกำไรของโครงการจะอยู่ในช่วงปีหลัง ๆ ของโครงการ ถ้าลดเวลาเหลือ 30 ปี รัฐบาลอาจต้องจ่ายเงินสนับสนุนเพิ่มและไม่คุ้ม ความเหมาะสมของโครงการ จึงอยู่ที่ 50 ปี

เมื่อครบ 50 ปี รัฐบาลจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมด รวมรถไฟความเร็วสูง สถานี และอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท

9. จะมีการดูแลการใช้วิศวกรไทย การใช้ชิ้นส่วนของประเทศไทยให้มากที่สุด
เนื่องจากบุคลากรไทยที่สามารถทำงานที่เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงได้ มีจำนวนน้อย จึงเป็นบุคลากรที่โครงการมีความต้องการสูง โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำงานแอร์พอร์ตลิงก์เดิม ดังนั้นบุคคลเหล่านี้จะได้มีเข้าร่วมในโครงการทันที

นอกจากนั้นตามข้อกำหนดการส่งเสริมการลงทุน กำหนดให้ผู้ลงทุนต้องมีการถ่ายทอดความรู้ผ่านสถาบันการศึกษาเพื่อสร้างบุคลากรไทยและเยาวชนให้เข้ามาทำงานในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในอนาคต โดยจะให้เข้าร่วมการพัฒนาหลักสูตรในสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะในพื้นที่ EEC

10. การกำกับโครงการในอนาคต : มีคณะกรรมการขึ้นมาดูแลการดำเนินโครงการ และค่าโดยสาร
ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการ ในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 โดยคณะกรรมการกำกับ ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐิจพิเศษภาคตะวันออก ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนเอกชนคู่สัญญา และผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย

11. อัตราค่าโดยสาร
ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงจากมักกะสัน ถึงพัทยา ประมาณ 270 บาท
ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงจากมักกะสัน ถึงสนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 330 บาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2018 4:18 pm    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่” นำถกอีอีซี พิจารณาโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:29 น.

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) โดยกล่าวก่อนการประชุมว่า วันนี้จะต้องพิจารณาเรื่องพื้นที่สองข้างทางรถไฟ ซึ่งการทำงานแบบนี้ย่อมมีปัญหาทุกวันอยู่แล้ว จึงขอให้มองในแง่ของความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น ต้องหามาตรการรองรับ โดยเฉพาะเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่ต้องชี้แจงให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่า ที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นบ้าง อะไรทำได้ หรืออะไรทำไม่ได้ และเมื่อรัฐบาลต้องการทำให้ได้ จะต้องทำอย่างไรโดยไม่ต้องไปบิดเบือนกฎหมายที่มีอยู่ และขอให้ทุกคนสร้างความเข้าใจในแง่มุมนี้ด้วย เพราะบางทีก็ห่วงใยของคนที่มีอารมณ์สนับสนุนรัฐบาลอาจมองในมุมที่เกรงว่าไทยอาจจะพลาดโอกาสไปบ้าง พร้อมย้ำสิ่งที่สำคัญคือจะต้องทำอย่างไรถึงจะทำให้ทุกอย่างเดินหน้าได้ ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 226 กิโลเมตร เงินลงทุน 214,308 ล้านบาท เป็นรถไฟที่เดินรถแบบไร้รอยต่อ จะใช้โครงสร้างและแนวการเดินรถเดิมของแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบัน จะสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร มีส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสถานีพญาไท-สนามบินดอนเมือง และลาดกระบัง-สนามบินอู่ตะเภา และ จ.ระยอง โดยใช้เขตทางรถไฟรวมระยะทาง 260 กม. โดยมีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งระบบรถที่วิ่งในพื้นที่ชั้นในมีความเร็ว 160 กม./ชม. และ 250 กม./ชม.ในเขตนอกเมือง จะเปิดบริการในปี 2566 คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 169,550 เที่ยวคนต่อวัน แยกเป็นผู้ใช้บริการรถไฟธรรมดา 103,920 เที่ยวคนต่อวัน รถไฟความเร็วสูง 65,630 เที่ยวคนต่อวัน ส่วนค่าโดยสารจากสนามบินดอนเมือง-อู่ตะเภา 500 บาท/เที่ยว จากสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา 300 บาท/เที่ยว ขณะเดียวกันจะรายงานความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2018 3:34 pm    Post subject: Reply with quote

ชงนายกฯเคาะ รถไฟเร็วสูง เชื่อม3สนามบิน
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 26 ก.พ. 2561 เวลา 09:36 น.

บอร์ดอีอีซีเล็งเคาะแผนลงทุนรถไฟเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดอีอีซีวันนี้ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะเสนอแผนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และโครงการลงทุนรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ทีโออาร์จะแล้วเสร็จ เพื่อนำไปสู่กระบวนการสรรหาผู้ร่วมทุน และเริ่มขั้นตอนการก่อสร้างให้ทันเปิดดำเนินการภายในปี 2566

พล.ร.ต.ลือชัย ศรีเอี่ยมกูล ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า กองทัพเรือจ้างบริษัท KPMG ประเทศสหรัฐอเมริกา ออกแบบและสำรวจโครงการเมืองการบิน อาทิ รันเวย์เส้นที่สอง อาคารเทอร์มินอล คลังสินค้า ศูนย์ซ่อมอากาศยาน และศูนย์ฝึกบุคลากรด้านการบิน ใช้เวลา 1 ปี จากนั้นจะจ้างบริษัทเอกชนอีก 3 แห่ง เพื่อจัดทำพิมพ์เขียวและสรรหาผู้ร่วมทุนโดยใช้เวลาก่อสร้างเสร็จปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/02/2018 7:40 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.อุ้มต่างชาติ แก้เงื่อนไขลงทุนรถไฟเชื่อม3สนามบิน
แนวหน้า วันเสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 06.00 น.

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย ความคืบหน้าโครงการถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาว่า คณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟฯได้พิจารณารูปแบบการลงทุนเป็นแบบ PPP Net Cost โดยให้เอกชนเป็นผู้บริหาร และรับความเสี่ยงโครงการทั้งหมด

ส่วนด้านวงเงินลงทุนโครงการนั้นแบ่งเป็นค่างานโยธาก่อสร้างประมาณ 50% ของวงเงินลงทุน หรือคิดเป็น 115,000 ล้านบาท ขณะที่ค่างานระบบและตัวรถจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีเอกชนสนใจหลายรายได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป

“ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องการแก้กฎหมายการลงทุนของโครงการ เช่น การพิจารณาให้ต่างชาติถือหุ้นในโครงการเกิน 50% และการปรับกฎหมายสิทธิประโยชน์การใช้ที่ดินมักกะสันให้เป็นเงื่อนไขเดียวกับการให้สัมปทานในพื้นที่ EEC เนื่องจากพื้นที่มักกะสันแปลง A ที่มีจำนวน 130 ไร่ที่ต้องยกให้เอกชนที่เข้ามาบริหารพื้นที่มักกะสันนั้น ระยะเวลาสัมปทานพื้นที่มักกะสันจำนวน 50 ปี เอกชนต้องคืนพื้นที่ให้การรถไฟฯหลังจากหมดอายุสัมปทานและไม่สามารถต่อสัมปทานได้อีก

นายอานนท์กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 76,000 ล้านบาท ว่า ทางกระทรวงคมนาคมคาดหวังว่าน่าจะเป็นเส้นทางแรกของระยะที่ 2 ที่จะสามารถออกประกาศประกวดราคาได้ เนื่องจากขณะนี้การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) ผ่านแล้ว และทาง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)อยู่ระหว่างพิจารณาโครงการ น่าจะเป็นโครงการที่มีความพร้อมมากที่สุดในขณะนี้และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการได้ภายในเดือนมีนาคม 2561 นี้

ทั้งนี้ในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางเด่นชัย-เชียงใหม่ นั้น คาดว่าจะดำเนินการได้ช้าที่สุดเพราะทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เป็นผู้ออกแบบโครงการและขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูลคาดว่าภายในเดือนนี้ หรือต้นเดือนมีนาคม 2561 จะสามารถเสนอเรื่องเข้ากระทรวงคมนาคมได้

ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางอื่นๆ จะสามารถทยอยเปิดประมูลได้ภายในปี 2561 นอกจากนี้ในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 เส้นทางช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 23,300 ล้านบาท ทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 339 กิโลเมตร วงเงิน 51,800 ล้านบาท เข้าสู่ที่ประชุม ครม.ด้วยเช่นกัน แต่จะดำเนินการได้ต่อจากเส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งขณะนี้ได้มีการส่งเรื่องเข้ากระทรวงคมนาคมพิจารณาหมดแล้ว 8 เส้นทาง ซึ่งทางกระทรวงจะให้ทาง สนข.พิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อน

---

รฟท.สรุปลงทุนเชื่อม3สนามบินเป็นPPP Net Cost
INN News 24 กุมภาพันธ์ 2018

รฟท.สรุปรูปแบบลงทุนรถไฟเชื่อม 3 สนามบินเป็นแบบ PPP Net Cost เร่งพิจารณาแก้กฎหมายลงทุนต่างชาติ

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา ขณะนี้ทางคณะกรรมการรถไฟฯได้พิจารณารูปแบบการลงทุนเป็นแบบ PPP Net Cost โดยให้เอกชนเป็นผู้บริหารและรับความเสี่ยงของโครงการทั้งหมดรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือค่างานโยธาให้ซึ่งมีเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินให้เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ

ส่วนวงเงินลงทุนโครงการแบ่งเป็นค่างานโยธาก่อสร้างประมาณ 50% ของวงเงินลงทุน หรือ 115,000 ล้านบาท ด้านค่างานระบบและตัวรถจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 ล้านบาท ทั้งนี้ปัจจุบันมีเอกชนสนใจหลายรายได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดยังอยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องการแก้กฎหมายการลงทุน เช่น การพิจารณาให้ต่างชาติถือหุ้นในโครงการเกิน 50% และการปรับกฎหมายสิทธิประโยชน์การใช้ที่ดินมักกะสันให้เป็นเงื่อนไขเดียวกับพื้นที่ EEC
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2018 12:27 pm    Post subject: Reply with quote

พ.ค.ประมูลไฮสปีด”ไทย-จีน”เฟสสอง
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 - 07:45 น.

แบบก่อสร้างรถไฟไทย-จีน - รูปแบบโครงสร้างทางยกระดับที่จีนและไทยร่วมกันออกแบบพัฒนาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่จะสร้างคู่ขนานไปกับรถไฟปัจจุบัน
คืบหน้ารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช เร่งเครื่องประมูลเต็มสูบ ดีเดย์ พ.ค.เปิดยื่นช่วง “สีคิ้ว-กุดจิก” ระยะทาง 11 กม. ค่าก่อสร้างกว่า 2.7 พันล้าน ส่วนที่เหลือรอแบบรายละเอียด เผยช่วงลำตะคองหวั่นเกิดดินสไลด์ จีนแนะขุดอุโมงค์ลึกอีก 10-20 เมตรพาดยาว 15 กม. กระทบต้นทุนเพิ่ม 500 ล้าน มิ.ย.ชง ครม.อนุมัติจ้างที่ปรึกษาออกแบบเฟส 2 เชื่อมไฮสปีดเทรนลาว-จีนที่เวียงจันทน์ หนุนการเดินทางและท่องเที่ยว 3 ประเทศ


แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายในเดือน พ.ค. 2561 ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเริ่มกระบวนการเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,412 ล้านบาท ในช่วงที่ 2 จากสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม.ค่าก่อสร้างประมาณ 2,700 ล้านบาท

“จีนจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ในเดือน มี.ค. จากนั้นฝ่ายไทยจะตรวจแบบ จัดทำราคากลาง และจัดทำทีโออาร์ คาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาเดือน พ.ค. ได้ผู้รับเหมาในเดือน ส.ค.นี้”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับเนื้องานช่วงนี้จะเป็นงานถมคันดินก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับและระดับดิน ซึ่งงานก่อสร้างจะเริ่มต่อจากช่วงที่ 1 จากกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ที่กรมทางหลวงได้เริ่มงานถมคันดินไปแล้ว ค่าก่อสร้าง 425 ล้านบาท

“งานโยธาเราแบ่ง 15 สัญญา ค่าก่อสร้าง 122,593 ล้านบาท เริ่มดำเนินการแล้ว 1 สัญญา จะเหลือ 14 สัญญา งานต่อไปเป็นงานช่วงที่ 2 จะเป็นงานสัญญาเดียว ส่วนผู้รับเหมาที่มีสิทธิ์ยื่นประมูลเป็นผู้รับเหมางานถนน สะพาน ได้หมด จากนั้นจะทยอยดำเนินการไปจนครบทั้งหมดภายในปีนี้ จะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดบริการในปี 2564”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า งานช่วงที่ 3 จากมวกเหล็ก-ลำตะคอง (อุโมงค์) ฝ่ายจีนจะส่งร่างแบบรายละเอียดในเดือน มี.ค. คาดว่าจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2561 เพื่อจัดทำทีโออาร์ คาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาในเดือน มิ.ย. 2561

“งานช่วงที่ 3 จะแยกงานอุโมงค์ออกมาเป็นอีก 1 สัญญา เนื่องจากเป็นงานก่อสร้างใช้เทคนิคเฉพาะ มีระยะทางประมาณ 15 กม. และมีการปรับแบบเล็กน้อยหลังจากจีนเข้าไปสำรวจพื้นที่ช่วงลำตะคอง พบว่าอาจจะเกิดดินสไลด์ได้ ทำให้ต้องขุดอุโมงค์ให้ลึกลงไปกว่าเดิมอีกประมาณ 10-20 เมตร ทำให้มีค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากเดิม 9,000 กว่าล้านบาท เป็น 10,000 กว่าล้านบาท อาจจะส่งผลให้เงินลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นด้วย”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับช่วงแก่งคอย-บันไดม้า-โคกกรวด-ลำตะคอง-โคราช ระยะทาง 119.5 กม. ค่าก่อสร้าง 57,905.02 ล้านบาท ฝ่ายจีนจะส่งร่างแบบรายละเอียดในเดือน เม.ย. จากนั้นจะตรวจสอบแบบ คาดว่าจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ในเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2561 ถึงจะเริ่มกระบวนการจัดทำราคากลางก่อนเพื่อประกวดราคาเดือน ก.ค. 2561

ส่วนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง-นวนคร-เชียงรากน้อย-บ้านโพธิ์-พระแก้ว-สระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม. ค่าก่อสร้าง 58,932.79 ล้านบาท ฝ่ายจีน จะส่งร่างแบบรายละอียดเดือน มิ.ย.นี้ให้ไทยตรวจสอบ เพื่อจัดทำราคากลางและเริ่มการประกวดราคาเดือน ก.ย. 2561

ด้านความคืบหน้าของโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย แหล่งข่าวกล่าวว่า ผลการหารือของคณะกรรมการร่วมครั้งล่าสุด ฝ่ายไทยจะทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมในเดือน มี.ค.-พ.ค. 2561 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในเดือน มิ.ย.นี้

จากนั้นจะจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดและจะใช้เวลาดำเนินการ 10 เดือน คาดว่าจะประกวดราคาภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 โดยฝ่ายจีนตกลงจะเชิญผู้แทน 3 รัฐบาล คือ ไทย สปป.ลาว และจีน มาเจรจาหารือการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟความเร็วสูงในช่วงจากหนองคาย-เวียงจันทน์

เพื่อเชื่อมกับรถไฟจีน-ลาวที่กำลังก่อสร้างเส้นทางคุนหมิง-เวียงจันทน์ ให้โครงข่ายเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง และเตรียมการเรื่องการลดอุปสรรคการเดินทางของประชาชนของทั้ง 3 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคนเข้าเมือง และระบบการตรวจพิธีการด้านศุลกากร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2018 2:22 pm    Post subject: Reply with quote

รอคลังทุบโต๊ะ TOR ไฮสปีดระยอง ถกไม่จบงบหนุนเอกชน 1.2 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:20 น.

ทีโออาร์ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 2 แสนล้าน ยังฝุ่นตลบ รัฐร่อนตะแกรงจ่ายเงินอุดหนุนเอกชน 1.2 แสนล้าน เริ่มจ่ายปีที่ 1 หรือหลังงานก่อสร้างเสร็จ หวั่นกระทบต้นทุนโครงการในระยะยาว รถไฟแจงเอกชนได้สิทธิ์พื้นที่ทุกสถานี ยกเว้นสถานีกลางบางซื่อ และอู่ตะเภา ได้แค่พื้นที่ขายตั๋ว จอดรับส่งผู้โดยสาร จ่อให้สิทธิ์เอกชนมืออาชีพบริหาร เปิดสัมปทานรอบใหม่พร้อมพื้นที่สนามบิน

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้การร่างทีโออาร์ประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุน PPP Net Cost ระยะเวลา 50 ปี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 226 กม. เงินลงทุนกว่า 2.06 แสนล้านบาท ยังไม่ได้ข้อยุติ ต้องรอคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พิจารณารายละเอียด โดยคณะอนุกรรมการอีอีซีจะประชุมวันที่ 26 ก.พ.นี้ หากได้ข้อยุติจะเสนอคณะกรรมการอีอีซีพิจารณาต่อไป

คลังทุบโต๊ะหนุนเอกชนแสน ล.

“ทุกฝ่ายพยายามเร่งรัดให้โครงการเปิดประมูลเดือน มี.ค.นี้ เพื่อเซ็นสัญญาก่อสร้างกับเอกชนทันสิ้นปีนี้ตามแผน แต่เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ เงินลงทุนสูง ต้องพิจารณาให้รอบคอบ เช่น ระยะเวลาที่รัฐต้องจ่ายเงินสนับสนุนให้เอกชนระยะเวลา 10 ปี จะเริ่มปีไหน เช่น ปีที่ 1 หรือปีที่ 6 เพราะมีผลต่อต้นทุนดอกเบี้ยที่เอกชนกู้เงินมาลงทุนให้ก่อน หากจ่ายตั้งแต่ปีที่ 1 จะประหยัดดอกเบี้ย ถ้ารอ 5 ปีให้งานก่อสร้างเสร็จ ดอกเบี้ยจะมากขึ้น เพราะวงเงิน 1.2 แสนล้านบาท เป็นมูลค่าที่คิดในปัจจุบัน แต่อีก 10 ปีข้างหน้า ถ้ารวมดอกเบี้ยด้วยจะเป็นอีกวงเงิน ต้องรอกระทรวงการคลังชี้ขาด”

นายอานนท์กล่าวว่า หลักการใหญ่ ๆ ยังคงเดิม เช่น รัฐบาลจะสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินวงเงินค่างานโยธา 1.2 แสนล้านบาท ให้สัมปทาน 50 ปี พร้อมสิทธิ์พัฒนาที่ดินมักกะสัน และศรีราชา รวมถึงให้สิทธิ์เดินรถและพัฒนาพื้นที่สถานีของแอร์พอร์ตลิงก์ ส่วนการพัฒนาพื้นที่ภายในสถานีของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ใน 9 สถานี มี 2 สถานีที่เอกชนจะไม่ได้พื้นที่สถานีพัฒนาเชิงพาณิชย์

แยกสัมปทานบางซื่อ-อู่ตะเภา

ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อกับสถานีอู่ตะเภา โดยสถานีกลางบางซื่อมีพื้นที่ 3 แสน ตร.ม. เอกชนจะได้สิทธิ์ใช้พื้นที่เฉพาะขายตั๋วและจอดรับส่งผู้โดยสาร เนื่องจาก ร.ฟ.ท.จะเปิดประมูลให้เอกชนมาบริหารพื้นที่เหมือนกับสนามบินสุวรรณภูมิ เช่น ร้านค้า ส่วนสถานีอู่ตะเภาเป็นพื้นที่กองทัพเรือที่ให้พื้นที่ ร.ฟ.ท.ใช้สร้างสถานี และใช้พื้นที่ขายตั๋ว อยู่ใต้อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3

รายงานข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า สถานีอู่ตะเภาตามวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการอีอีซี จะพัฒนาเป็นท่าอากาศยานนานาชาติหลักแห่งที่ 3 เป็นเขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก รองรับการขยายตัวของอีอีซี และเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารกับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการบินสำคัญในภูมิภาค รองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี

ตามแผนแม่บทมีพื้นที่ 6,500 ไร่ มูลค่าโครงการ 2 แสนล้านบาท องค์ประกอบการพัฒนา แยกเป็น 1.อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 และสถานีรถไฟความเร็วสูง 1,400 ไร่ 2.พื้นที่เชิงพาณิชย์ 675 ไร่ 3.เขตปลอดอากร 950 ไร่ 4.อาคารสินค้าระยะที่ 2 พื้นที่ 450 ไร่ 5.ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานระยะที่ 2 พื้นที่ 570 ไร่ 6.ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศระยะที่ 2 พื้นที่ 200 ไร่

“การพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงที่อู่ตะเภา จะนำไปรวมกับสัมปทานที่จะเปิดให้เอกชนมาบริหารพื้นที่สนามบิน ยังไม่รู้ว่ากองทัพเรือไทย หรืออีอีซีดำเนินการ”

เปิดจุดเวนคืนสร้างสถานีแปดริ้ว

สำหรับตำแหน่งสถานีจะสร้างอยู่บนเขตทางรถไฟเดิม 8 สถานี และสร้างบนที่ใหม่มีเพียง 1 สถานี คือ สถานีฉะเชิงเทรา โดยจะเวนคืนที่ดิน 84 ไร่ ทางทิศเหนือห่างจากสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา 1.5 กม. ติดกับถนน 304 เนื่องจากพื้นที่สถานีฉะเชิงเทราเดิมมีขนาดเล็ก หากเปิดพื้นที่ใหม่จะทำให้การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีทำได้ง่าย ซึ่งปัจจุบันที่ดินโดยรอบสถานีแห่งใหม่เป็นพื้นที่โล่งสามารถมาพัฒนาได้

“ส่วนเอกชนที่จะมาลงทุนสามารถปรับตำแหน่งได้ หากเห็นว่าพื้นที่สถานีที่กำหนดให้มีขนาดไม่ใหญ่พอ อยากจะสร้างเพิ่มหรือมีที่ดินอยู่แล้วอยากจะให้สถานีเข้าไปในพื้นที่ก็ทำได้ แต่ต้องจ่ายค่าเวนคืนเอง”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/02/2018 6:08 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ลั่นเปิดประมูลรถไฟไทย-จีน 1.79 แสนล้านบาทในปี61
วันที่ 21 ก.พ. 2561 เวลา 10:04 น.

รฟท.ลั่นเปิดประมูลรถไฟไทย-จีน 1.79 แสนล้านบาทภายในปีนี้ เร่งฝ่ายจีนส่งแบบทั้งหมดให้ทันกลางปี คาดเปิดประมูลช่วงที่ 2 เดือนพ.ค.นี้

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีนระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทนั้นเริ่มจากตอนที่ 1 ช่วงสถานีกลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาทขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลแผนดำเนินงานและหารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เพื่อเบิกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวมาส่งต่อให้กรมทางหลวง(ทล.)ภายในเดือนก.พ.นี้ ก่อนไปดำเนินการก่อสร้างโดยมีกำหนดแล้วเสร็จตามแผนภายในกลางปีนี้ ส่วนด้านตอนที่ 2 ปากช่อง - ขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.นั้นรฟท.ได้ดำเนินการถอดแบบไปแล้วบางส่วนพร้อมส่งกลับไปให้ฝ่ายจีนจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมคาดว่าจะสามารถสรุปแบบสุดท้าย (Final Draft) ได้ภายในสัปดาห์หน้า หลังจากนั้นรฟท.จะดำเนินการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคาและเชิญชวนเอกชน คาดว่าวงเงินค่าก่อสร้างจะไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท โดยจะเริ่มเปิดประมูลได้ภายในเดือนพ.ค.นี้ก่อนลงนามสัญญาภายในเดือนก.ค.นี้ สำหรับช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม.นั้นตามสัญญาได้กำหนดให้ฝ่ายจีนส่งแบบมาภายในเดือนมิ.ย.นี้ หลังจากนั้นรฟท.จะดำเนินการร่างเอกสารประกวดราคาและเชิญชวนเอกชนภายในเดือนก.ค.และคาดว่าจะเปิดประมูลช่วงดังกล่าวได้ภายในเดือนส.ค.นี้ ส่วนด้านช่วงที่ 4 บางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม.ตามสัญญาได้กำหนดให้ฝ่ายจีนส่งแบบมาให้รฟท.ภายในเดือนส.ค.นี้หลังจากนั้นจะเร่งประกวดราคาเพื่อให้ได้ตัวเอกชนภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ดังนั้นเมื่อดูตามแผนแล้วโครงการรถไฟไทย-จีนเฟสแรกจะสามารถเปิดประมูลโครงการได้ทั้งหมดภายในปีนี้ทว่ายังไม่สามารถการันตีได้ว่าจะลงนามสัญญาและเบิกจ่ายก้อนแรกได้ทั้งหมดเนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่อาจต้องใช้เวลาอยู่บ้าง

----

รถไฟฟ้าสายโคราชคืบ รฟท.ประมูล‘ช่วงที่2’กลางปีนี้
แนวหน้า วันพุธ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, 06.00 น.

แหล่งข่าวจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีนระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 179,000 ล้านบาท ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลแผนดำเนินงานของช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง3.5 กิโลเมตร วงเงิน 425 ล้านบาท และหารือกับ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เพื่อเบิกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวมาส่งต่อให้กรมทางหลวง (ทล.) ไปดำเนินการก่อสร้างโดยมีกำหนดแล้วเสร็จตามแผนภายในกลางปีนี้

ส่วนตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-ขนานจิตรระยะทาง 11 กิโลเมตร ทางการรถไฟฯได้ดำเนินการถอดแบบไปแล้วบางส่วนพร้อมส่งกลับไปให้ฝ่ายจีนจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมคาดว่าจะสามารถสรุปแบบครั้งสุดท้ายได้ภายในสัปดาห์หน้าต่อจากนั้นทางการรถไฟฯ จะดำเนินการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคาและเชิญชวนเอกชน คาดว่าวงเงินค่าก่อสร้างจะไม่เกิน 10,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มเปิดประมูลได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ก่อนลงนามสัญญาภายในเดือนกรกฎาคม 2561

สำหรับช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมาระยะทาง 119.5 กิโลเมตร นั้นตามสัญญาได้กำหนดให้ฝ่ายจีนส่งแบบมาภายในเดือนมิถุนายนนี้ หลังจากนั้นจะมีการดำเนินการร่างเอกสารประกวดราคาและเชิญชวนเอกชน คาดว่าจะเปิดประมูลช่วงดังกล่าวได้ภายในเดือน สิงหาคมนี้ ส่วนด้านช่วงที่ 4 บางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กิโลเมตร ตามสัญญาได้กำหนดให้ฝ่ายจีนส่งแบบมาให้การรถไฟฯ ภายในเดือนสิงหาคม และจะเร่งประกวดราคาเพื่อให้ได้ตัวเอกชนภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2018 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเชื่อม3สนามบิน บูมเศรษฐกิจโซนภาคตะวันออก
ออนไลน์เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,341 วันที่ 18 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เตรียมประกาศขายเอกสารประกวดราคาในเดือนมีนาคมนี้ โดยจัดเป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของไทยที่แนวเส้นทางจะเชื่อมสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินอู่ตะเภาเข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อ

โดยแนวเส้นทางส่วนหนึ่งจะใช้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน อีกทั้งยังจะก่อสร้างทางรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไทไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา มีระยะทางประมาณ 260 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบการลงทุนกว่า 2.9 แสนล้านบาท โดยมีแผนเบื้องต้นที่จะเปิดให้บริการในปี 2566

ไฮสปีดเทรนเส้นทางนี้มีจำนวน 9 สถานี ได้แก่ ดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา อู่ตะเภา โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นทางยกระดับ มีบางช่วงที่เป็นอุโมงค์

แนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด คือกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งวัตถุ ประสงค์นั้นก็เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของระบบขนส่งทางรถไฟในกรุงเทพฯไปยังจังหวัดอื่นโดยเฉพาะโซนภาคตะวันออกที่รัฐบาลอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ (อีอีซี)

ทั้งนี้เมื่อเปิดให้บริการคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานของประเทศ ส่วนการพัฒนาที่ดินนั้นจะเน้นพื้นที่สถานีมักกะสัน ฉะเชิงเทรา ศรีราชา พัทยาและสถานีระยองรองรับการเติบโตของเมืองและให้มีการพัฒนาเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นควบคู่กันไปด้วย ในรูปแบบการร่วมลงทุน (พีพีพี) ที่ภาครัฐจะได้รับ ค่าเช่าจากที่ดินมักกะสัน ส่วนภาคเอกชนจะได้รับรายได้จากการพัฒนา ที่ดินเชิงพาณิชย์

ขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการ เตรียมนำเสนอให้ดำเนินการตามรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยกำหนดระยะเวลาการร่วมทุนเบื้องต้น 30-50 ปี ภาครัฐจะทำการเวนคืนที่ดิน และภาคเอกชนจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จัดหาขบวนรถ เดินรถและซ่อมบำรุง ในขณะที่รูปแบบการรับรายได้ของเอกชนจะแบ่งออกเป็นซิตีไลน์ในรูปแบบ Net Cost และอินเตอร์ซิตีไลน์ในรูปแบบ Gross Cost มาลุ้นกันว่าในเดือนมีนาคม 2561 นี้จะสามารถเปิดขายเอกสารประกวดราคาและเปิดให้ยื่นรายละเอียดข้อเสนอได้ตามแผนหรือไม่สำหรับเมกะโปรเจ็กต์ระดับแสนล้านบาทโครงการนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2018 12:16 pm    Post subject: Reply with quote


รฟท. ขอคลื่น 900 MHz เพื่อควบุมการเดินรถไฟความไวสูง จาก TNN24
https://www.youtube.com/watch?v=rZc0aCxaHmA&feature=share
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 293, 294, 295 ... 548, 549, 550  Next
Page 294 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©