RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13288057
ทั้งหมด:13599381
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/04/2024 9:55 am    Post subject: Reply with quote

ลงพื้นที่บ้างแล้ว รถไฟความเร็วสูง พระแก้ว-ภาชี-หนองสีดา-สระบุรี อัพเดต 18/4/67
Apr 20, 2024
Max Puttipong


https://www.youtube.com/watch?v=okLUaZnOOOE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/04/2024 7:53 am    Post subject: Reply with quote

เมืองการบินอู่ตะเภา UTA ลุ้นเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ตั้งเป้าตอกเสาเข็มปีนี้
ฐานเศรษฐกิจ
20 เม.ย. 2567 | 17:19 น.

วัดปรอทเมืองการบินอู่ตะเภา UTA รอไม่ไหวเจรจาขอเข้าพื้นที่เตรียมงานก่อสร้างสำเร็จแล้ว รอรัฐเคลียร์ปัญหาไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน เผย 5 ปี ลงทุนไปแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท ลุ้นอีอีซี ให้เริ่มก่อสร้างปีนี้ ด้าน ทร.เผย 30 บริษัทซื้อซองประมูลรันเวย์ 2

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่าลงทุน 204,240 ล้านบาท นับจากวันที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ลงนามกับ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2563 จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ เนื่องจากอีอีซี ยังไม่ได้ออกหนังสือแจ้งให้เอกชนเริ่มงาน (Notice to Proceed: NTP)ได้ ทั้งๆที่เอกชนลงทุนใช้จ่ายในโครงการนี้ไปแล้ว 4,000 ล้านบาท

ความล่าช้าที่เกิดขึ้นทำให้ล่าสุด UTA ได้เจรจากับอีอีซีในการขอเข้าพื้นที่ไปเตรียมการก่อสร้างรอไว้ก่อน ระหว่างรอรัฐหาข้อสรุปกับบริษัท เอเชีย เอราวัณ จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ผู้รับสัมปทานก่อสร้างรถไฟโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่ยังไม่ได้ก่อสร้างทั้งๆที่ชนะประมูลมากกว่า 5 ปีแล้ว

โครงการดังกล่าวเป็นส่วนที่สนับสนุนในการให้บริการผู้โดยสารในโครงการเมืองการบินอู่ตะเภา และเป็น 1 ในเงื่อนไข 5 ข้อที่ UTA ต้องทำแผนร่วมกับเอเชีย เอราวัณ ซึ่ง UTA มองว่าในเร็วๆนี้รัฐจะหาวิธีแก้ปัญหาและข้อสรุปในโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินได้ เพื่อจะได้ส่งมอบพื้นที่ให้ UTA เข้าไปลงทุนได้ภายในปีนี้

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในพันธมิตรผู้คว้าประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่าในขณะนี้ UTA ได้เริ่มเข้าพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา เพื่อเข้าไปเตรียมงานก่อสร้างโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกแล้ว ซึ่งเราต้องเข้าไปวัดพื้นที่ เตรียมคน เตรียมงานต่างๆไว้รอก่อสร้างทันที หลังจาก UTA ได้รับหนังสือแจ้งให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) ที่คาดว่าจะได้เข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ภายในปีนี้

“เราเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเข้าพื้นที่ไปเตรียมงานก่อสร้างก่อน จึงได้ขออนุญาติภาครัฐเข้าไป เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่ผ่านมาก็ล่าช้ากว่าแผน การได้เข้าไปเตรียมงานก่อน พอรัฐส่งมอบพื้นที่ให้เราได้ เราก็จะได้ค่อยๆทยอยปรับคนเข้าไปทำงาน ซึ่งทางรัฐก็บอกว่าดี และตั้งแต่เริ่มทำโครงการนี้มานานกว่า 5 ปีแล้ว UTA มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นไปแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท หลักๆเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ เช่น ค่าที่ปรึกษา การทำแผนแม่บท (มาสเตอร์แพลน) การออกแบบสนามบิน เราก็อยากจะเดินหน้าลงทุนให้เร็ว เพราะที่ผ่านมามีค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีรายได้เกิดขึ้น”

นายพุฒิพงศ์ กล่าวต่อว่า ในปีนี้ผมมองว่า อีอีซี น่าจะออก NTP ให้ UTA เข้าไปลงได้ เนื่องจากในสัญญา 5 ข้อที่เป็นเงื่อนไขในการออก NTP มีการดำเนินการแล้ว 4 ข้อ ได้แก่ 1.มอเตอร์เวย์ M7 เชื่อมสนามบิน 2.ระบบไฟฟ้า ประปา สาธารณูปโภค 3.การรื้อย้าย เพื่อส่งมอบพื้นที่ 4.การประกวดราคารันเวย์ 2 ของกองทัพเรือ (ทร.) ยังเหลือเพียง 1 ข้อ คือ การทำแผนก่อสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่จะต้องหารือร่วมกันถึงการวางตำแหน่งและบริหารสถานีรถไฟเชื่อมต่อ สอดคล้องกับอาคารผู้โดยสาร และทำแผนตารางเดินรถไฟให้สอดคล้องกับสนามบิน

โดยผมมองว่ายังไงการพัฒนาต่างๆในโครงการอีอีซียังไงก็ต้องเกิด เห็นได้จากการออกไปดึงนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงในไทยของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โครงการต่างๆหลักๆก็จะลงในพื้นที่อีอีซี ดังนั้นการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา รวมถึงไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ก็เป็นโครงการพื้นฐานที่สำคัญ โดยปัญหาเรื่องถึงไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ผมเชื่อว่าสุดท้ายแล้วรัฐก็จะมีข้อสรุปถึงแนวทางหรือวิธีการต่างๆที่จะเกิดขึ้น อาทิ การเจรจากตกลงกับผู้ได้รับสัมปทานให้ได้ข้อยุติ ถ้าตกลงไม่ได้ ผู้ได้รับสัปทานไม่ทำแล้ว จะหาใครมารับแทน รัฐต้องหาวิธีการที่เหมาะสม เพราะถ้าไม่มีไฮสปีดเทรนก็คงไม่ได้

เนื่องจากทั้ง 2 โครงการมีส่วนเชื่อมโยงสนับสนุนซึ่งกันและกัน อย่าลืมว่าการเดินทางของผู้โดยสารเข้าสู่สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินฯ มีความจำเป็นที่ต้องใช้การเดินทางที่สะดวก รองรับการเดินทางเข้า-ออก ให้เป็นไปตามเป้าหมายปลายทางของสนามบินอู่ตะเภา ที่ในปีที่ 50 จะต้องมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการ 60 ล้านคน นั่นหมายความว่าต้องมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 100,000 คน เท่าๆ กับสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเดิมภาพรวมของ โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เคยอยู่ด้วยกัน เป็นโครงการเดียวกันมาก่อน ก่อนจะถูกจับแยกออกจากกัน มีกลุ่มพันธมิตรของภาคเอกชนเข้ามาลงทุนและพัฒนา 2 ราย เลยทำให้ดูเหมือนยุ่งไปหน่อย

“ตอนนี้เราอาจจะไม่ต้องรอความชัดเจนเรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ให้ออกมาก่อน เพราะหากรอขนาดนั้นแล้วไม่มีออกมา รอไปอีก 10 ปี เราก็ไม่ได้สร้างสักที ทำให้ต้องมาปรึกษาภายในของเราเองว่า จะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่มาก งบประมาณของโครงการก็มีความสำคัญ โดยเฉพาะพันธมิตรทางการเงินของเรา ก็ต้องทำให้เขาเชื่อมั่นว่าไปด้วยกันได้ อย่างไรก็ต้องเดินหน้าต่อตามแผนงานแน่นอน” นายพุฒิพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้านนาวาเอก รตน วันภูงา หัวหน้าฝ่ายอำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า ปัจจุบันกองทัพเรือ (ทร.) ได้เปิดขายซองเอกสารประกวดราคาในโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 2 (รันเวย์ 2) และทางขับสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา วงเงินโครงการ 15,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของภาครัฐในการลงทุนภายใต้โครงการร่วมทุนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

โดยผลจากการเปิดขายซองเอกสาร มีเอกชนสนใจซื้อของประมูลแล้วกว่า 30 ราย มีกำหนดยื่นข้อเสนอในวันที่ 20 พ.ค.2567 คาดได้ตัวผู้รับเหมาภายในปลายปี 2567 และเริ่มก่อสร้างทันที โดยการก่อสร้างรันเวย์ 2 จะใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 3 ปี หลังจากนั้นจะทดสอบระบบประมาณ 1 ปี และจะเปิดใช้งานภายในปี 2571 เพื่อรองรับการขยายสนามบินอู่ตะเภาตามที่เอกชนคู่สัญญาวางแผนไว้

ทั้งนี้การก่อสร้างรันเวย์ 2 มีความยาว 3,500 เมตร โดยภายใต้รันเวย์นี้จะมีแนวเส้นทางของไฮสปีดเทรนเชื่อม3 สนามบินตัดผ่าน ทำให้ต้องก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดให้กับไฮสปีดเทรนด้วย คาดว่าจะมีพื้นที่ราว 80 เมตร ปัจจุบัน ทร.จึงแบ่งสัญญางานก่อสร้างส่วนของอุโมงค์ไว้อีก 1 สัญญา เพื่อรอความชัดเจนของเอกชนคู่สัญญาไฮสปีดเทรนมาวางแผนพัฒนา และยืนยันว่าความล่าช้าของไฮสปีดเทรน 3 สนามบินจะไม่กระทบต่อการก่อสร้างรันเวย์ 2 เพราะผู้รับเหมาสามารถทยอยก่อสร้างส่วนอื่นไปก่อนได้


U-Tapao Aviation City Project Aims for Construction Start This Year

Bangkok, Thailand – April 20, 2024 – UTA, the consortium developing U-Tapao Aviation City, is eager to begin construction but awaits resolution of the stalled high-speed rail project linking three airports. Despite delays and over 4,000 million baht in expenses, UTA hopes the Eastern Economic Corridor (EEC) will allow construction to start this year. Meanwhile, the Royal Thai Navy has seen strong interest from 30 companies bidding on U-Tapao Airport's second runway construction.

Key Points:

Project Stalled: The U-Tapao project has been unable to start construction due to unresolved issues with the 3-airport high-speed rail project, despite UTA fulfilling other contractual conditions.

Mounting Costs: UTA has invested over 4,000 million baht in project preparation costs without any generated revenue.

Construction Readiness: UTA has requested access to the site for preparatory work as they anticipate receiving the 'go-ahead' to begin construction this year.

Government's Role: EEC and the Thai government are seen as critical in resolving the high-speed rail impasse to allow the project to proceed.

Runway Bidding Success: Over 30 companies have expressed interest in bidding on the second runway for U-Tapao Airport, a project undertaken by the Thai Navy.

Statements

Putthipong Prasatthong-osot, President of Bangkok Airways (UTA Partner): Emphasizes UTA's commitment and readiness to start construction immediately upon receiving the green light.

Putthipong Prasatthong-osot: Believes the Thai government will find a solution to the high-speed rail issue and allow the project to move forward.
Capt. Ratan Wanphunga, Royal Thai Navy: Highlights the strong private sector interest in constructing U-Tapao's second runway.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/04/2024 8:51 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดต! รถไฟความเร็วสูงสายอีสาน รังสิต-อยุธยา คืบหน้าต่อหลังวันหยุดยาว (18/4/67)
Max Puttipong
Apr 19, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=Uw2Ta-6THII
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2024 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จับตาพ.ค.นี้แก้ที่ทับซ้อนสร้างไฮสปีด
Source - ไทยโพสต์
วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 02:30 น.


ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567


“สุรพงษ์” ดันปิดดีลตอกเข็ม 2 สัญญารถไฟ "ไทย-จีน" ขีดเส้น พ.ค.นี้ "ซี.พี." ไม่จบดึงโครงสร้างร่วมสร้างเอง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:01 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:56 น.

ปักหมุด พ.ค.นี้ “สุรพงษ์” แนะรัฐ สร้าง “ไฮสปีด 3 สนามบิน”
ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:30 น.

“สุรพงษ์” แนะภาครัฐ สร้าง “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ตั้งเป้าพ.ค.นี้ หากเอกชนเมินสร้างโครงสร้างร่วมฯ หลังบีโอไอขยายเวลาออกบัตรส่งเสริมรอบสุดท้ายถึง 22 พ.ค.67
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย ระยะที่ 1 (ไฮสปีดไทย-จีน) ทั้งหมด 14 สัญญา ปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 12 สัญญา ขณะที่อีก 2 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 4 – 1 ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง และสัญญาที่ 4 – 5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว อยู่ระหว่างรอลงนามสัญญากับเอกชน



ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่ทับซ้อนโครงสร้างร่วมสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีด) ระยะที่ 1 ปัจจุบันภาครัฐอยู่ระหว่างการเจรจากับเอกชนเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ คาดว่าการเจรจาจะได้ข้อสรุปภายในเดือนพ.ค.นี้



“หากเอกชนไม่ต้องการเดินหน้าต่อในการก่อสร้างโครงสร้างทางร่วมโครงการฯ เบื้องต้นภาครัฐอาจจะต้องเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเอง เพราะปัจจุบันบีโอไอไม่มีการขยายระยะเวลาการขอออกบัตรส่งเสริมการลงทุนออกไป เนื่องจากบีโอไอได้ขยายเวลาเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 22 พ.ค. 2567”

“สุรพงษ์” เข็นปิดดีล 2 สัญญารถไฟ 'ไทย-จีน' เผย เม.ย.นี้ส่งรายงาน HIA ให้ยูเนสโก พร้อมลุยสร้างช่วงอยุธยา ส่วนปมโครงสร้างร่วม 'บางซื่อ-ดอนเมือง' รอ พ.ค.นี้หมดเวลาบัตรบีโอไอ 'ซี.พี.' ไม่ไปต่อ รฟท.ก่อสร้างเอง ลั่นต้องเดินหน้าเร่งเปิดบริการปี 71

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท ว่า ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดจำนวน 14 สัญญา ยังเหลืออีก 2 สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนามก่อสร้าง คือสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ซึ่งรอการศึกษารายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก หรือ HIA ของสถานีอยุธยา โดยทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้มีหนังสือแจ้งไปยังยูเนสโกว่าจะจัดส่งรายงาน HIA ให้ภายในเดือน เม.ย. 2567 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการ และคาดว่าหลังสงกรานต์นี้ รฟท.จะส่งเรื่องไปที่ สผ.เพื่อดำเนินการส่งรายงานผลการศึกษา HIA ไปที่ยูเนสโกอย่างเป็นทางการต่อไป


ทั้งนี้ ระหว่างดำเนินการศึกษารายงาน HIA ได้เชิญผู้แทนยูเนสโกมาเป็นที่ปรึกษา ดังนั้นเมื่อ สผ.จัดส่งรายงาน HIA ไปที่ยูเนสโกแล้ว เชื่อว่าหลังจากนี้จะชัดเจนและสามารถลงนามจ้างสัญญา 4-5 ได้ ซึ่งช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท ที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้อนุมัติการสั่งจ้างบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ไว้แล้ว

“ประเด็นเรื่องมรดกโลก ยืนยันว่าแนวเส้นทางและสถานีอยุธยาไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่มรดกโลก แต่อยู่ใน Bubble Zone อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นการทำ HIA ฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งต่อไปนี้ต้องประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจว่าหากโครงการที่ต้องก่อสร้างผ่านสถานที่โบราณสถานจะต้องทำ EHIA ก่อนเพื่อไม่ให้เป็นประเด็นปัญหา” นายสุรพงษ์กล่าว

@พ.ค.นี้ “ซีพี” ไม่ไปต่อ ดึงโครงสร้างร่วม "บางซื่อ-ดอนเมือง" ทำเอง

นายสุรพงษ์กล่าวว่า อีกสัญญาที่ยังไม่ได้เริ่มต้นคือ สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งเป็นช่วงที่รถไฟไทย-จีนใช้โครงสร้างร่วมกับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เรื่องนี้ ต้องรอกรณีที่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) ต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอก่อน โดยมีการขยายไปถึงวันที่ 22 พ.ค. 2567 ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตอบฝ่ายค้านในการอภิปรายทั่วไปรัฐบาลแบบไม่ลงมติ ซึ่งหากครบกำหนดเดือน พ.ค.นี้แล้วไม่ได้บัตรส่งเสริมการลงทุนชัดเจนแล้ว ฝ่ายรัฐต้องเจรจาหาทางออก หากกรณีเอกชนไม่ไปต่อ หรือไม่ประสงค์จะทำโครงการต่อ รฟท.จะต้องนำโครงสร้างร่วมนี้มาดำเนินการเอง

โดยรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ตามกรอบเดิมมีวงเงิน 3,337 ล้านบาท กรณีทำโครงสร้างร่วมวงเงินรวมจะอยู่ที่ประมาณ 9,207 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่เพิ่มขึ้นในการก่อสร้างโครงสร้างร่วมมั่นใจว่ามีวิธีพิจารณาจัดหางบมาดำเนินการได้ไม่มีปัญหา

นายสุรพงษ์กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคม พร้อมเดินหน้าผลักดันโครงการรถไฟไทย-จีน โดยเฉพาะงานโยธาที่เหลือ 2 สัญญา หากเดือน พ.ค.นี้กรณีรถไฟเชื่อม 3 สนามบินมีความชัดเจนว่ายังไม่สามารถทำโครงสร้างร่วมได้ รฟท.พร้อมลงมือทำส่วนนี้เอง ยืนยันตนจะทำให้โครงการรถไฟไทย-จีนเดินหน้าได้ก่อน โดยมีเป้าหมายเปิดบริการในปี 2571

“ตอนนี้ไม่อยากพูดอะไรไปก่อน เพราะเรื่องยังไม่ชัดเจนจะเกิดผลกระทบต่อหลายฝ่ายได้ และต้องเข้าใจว่าโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ส่วนรฟท.เป็นคู่สัญญาเท่านั้น เพราะมีคณะกรรมการอีอีซีและ พ.รบ..อีอีซีกำกับ ดังนั้น โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินทั้งหมดหลังจากเดือน พ.ค.ไปก็ต้องพิจารณาอีกว่าจะไปอย่างไร” รมช.คมนาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/04/2024 8:40 am    Post subject: Reply with quote

จับตาพ.ค.นี้แก้ที่ทับซ้อนสร้างไฮสปีด
Source - ไทยโพสต์
Thursday, April 18, 2024 02:30

ราชดำเนิน "สุรพงษ์" เร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนรถไฟความเร็วสูง "เชื่อม 3 สนามบิน ไทย-จีน" ลุยทางออกหากเอกชนไม่เดินหน้าต่อ พร้อมจัดงบประมาณมาก่อสร้างแทน หวังให้ระบบขนส่งทางรางเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) และไฮสปีดเทรน ไทย-จีน ว่า ขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อหาทางออกกับบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งเป็นคู่สัญญาในการดำเนินการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มั่นใจว่าปัญหาในเรื่องของโครงสร้างร่วมกันระหว่างเอกชนกับรัฐจะจบภายในเดือนพฤษภาคม 2567 นี้อย่างแน่นอน เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะเปิดให้บริการในโครงการรถไฟไทย-จีน เฟสแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาภายในปี 2571 นี้

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมมีความพยายามที่จะเดินหน้าในโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน และโครงการรถไฟไทย-จีน ให้เปิดบริการให้สำเร็จ เนื่องจากปัจจุบันงานก่อสร้างรถไฟไทย-จีน เฟส 1 มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเหลือแค่ 2 สัญญาเท่านั้นที่ต้องเคลียร์ปัญหา คือ สัญญาที่ 4-1 ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ดอนเมือง ซึ่งติดปัญหาโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว วงเงิน 10,325.96 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างรอลงนามในสัญญากับเอกชน เนื่องจากติดปัญหาเรื่องผลกระทบต่อมรดกโลกบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีอยุธยา ทั้งนี้มั่นใจว่าทั้ง 2 โครงการรัฐบาลจะเร่งเดินหน้าให้แล้วเสร็จและเปิดใช้บริการตามเป้าหมายที่วางไว้.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 18 เม.ย. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/04/2024 8:36 am    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม' ขีดเส้น พ.ค.นี้ ลุยสร้างไฮสปีด หาก 'ซีพี' พลาดบัตรส่งเสริม BOI
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Thursday, April 18, 2024 06:16

“สุรพงษ์” เคาะแนวทางแก้ปมพื้นที่ทับซ้อนไฮสปีดเทรนช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง ลั่นหาก พ.ค.นี้ “ซีพี” ไร้ข้อสรุปบัตรส่งเสริม BOI เตรียมสั่งการรถไฟฯ เดินหน้าเปิดประมูลสร้างส่วนของไฮสปีดเทรนไทย – จีนทันที เหตุมีความพร้อมเรื่องแบบก่อสร้างและวงเงินลงทุน

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย โดยระบุว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างก่อสร้างรวม 12 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา และยังมั่นใจว่าจะแล้วเสร็จเปิดบริการในปี 2571

ส่วนอีก 2 สัญญาที่เหลือ ประกอบด้วย สัญญาที่ 4 – 1 ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง และสัญญาที่ 4 – 5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว อยู่ระหว่างรอลงนามสัญญา โดยเฉพาะสัญญาที่ 4- 1 ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับเอกชนคู่สัญญาในโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เพื่อรับงานก่อสร้างส่วนของพื้นที่ทับซ้อนบริเวณนี้ ซึ่งทราบว่า ร.ฟ.ท.ยังอยู่ระหว่างเจรจารายละเอียด
    “ทราบว่าตอนนี้การรถไฟฯ กำลังเจรจากับเอกชนคู่สัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน และโครงการนี้ก็อยู่ในการดูแลของอีอีซี ซึ่งกำลังเจรจาเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน โดยเงื่อนไขในนั้นจะมีการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ - ดอนเมืองด้วย และขณะนี้ทางเอกชนก็อยู่ระหว่างขอบัตรส่งเสริม BOI ครั้งสุดท้าย ซึ่งต้องได้รับภายในเดือน พ.ค.นี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ก็น่าจะกระทบต่อสัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินด้วย”
อย่างไรก็ดี นโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีกรอบดำเนินงานว่าหากเอกชนคู่สัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินไม่สามารถออกบัตรส่งเสริมการลงทุน BOI ได้ภายในเดือน พ.ค.นี้ แน่นอนว่าจะทำให้การแก้ไขสัญญาโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบินล่าช้าออกไปอีก ในส่วนของรถไฟไทยจีนที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องอยู่ในเงื่อนไขงานก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ก็จำเป็นต้องตัดสินใจดำเนินการเพื่อไม่ให้โครงการรถไฟไทยจีนต้องล่าช้าออกไปด้วย

ทั้งนี้ กระทรวงฯ มีเป้าหมายว่าหากภายในเดือน พ.ค.นี้ เอกชนยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง ก็จะมอบหมายให้ ร.ฟ.ท.เริ่มดำเนินการเปิดประกวดราคาจัดหาผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการตามแผนงานของรถไฟไทยจีน โดยงานส่วนนี้ประเมินวงเงินก่อสร้างราว 9 พันล้านบาท และก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.มีกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติในก่อสร้างสร้างงานอยู่แล้วราว 4 พันล้านบาท ดังนั้นจะเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมอีกราว 5 พันล้านบาท เพื่อเริ่มดำเนินการทันที ไม่ให้กระทบต่อภาพรวมโครงการรถไฟไทยจีน

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า รถไฟไทยจีนตอนนี้เดินหน้างานก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นอีก 2 สัญญาที่เหลืออยู่ควรต้องมีทางออกโดยเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบต่อแผนเปิดให้บริการในปี 2571 โดยจากการประเมินภาพรวมในตอนนี้ยังเชื่อว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามแผน ในเดือน พ.ค.นี้ จะเป็นกรอบเวลาสุดท้ายของการรอความชัดเจนงานก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง เพราะรัฐบาลก็มีเงินในการลงทุนก่อสร้างเองให้เป็นไปตามแผนงานอยู่แล้ว อีกทั้งโครงการนี้ก็มีความพร้อมทั้งแบบก่อสร้างสามารถเริ่มงานได้ทันที
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/04/2024 8:34 am    Post subject: Reply with quote

ส่ง HIA สถานีอยุธยาถึงยูเนสโก
Source - เดลินิวส์
Thursday, April 18, 2024 05:40

ไฮสปีดสายแรกเลื่อนไปเรื่อยๆ งานระบบรางจัดหารถไม่ถึง 1%

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เสนอรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ในโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ(เฟส)ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะเลขานุการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกแล้ว เตรียมเสนอต่อองค์การ เพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสภายในเดือน เม.ย. 67

ภาพรวมการก่อสร้างโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟสที่ 1 ยังเดินหน้าต่อเนื่อง เหลืออีก 2 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา ที่ยังไม่ได้ลงนามสัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-5 วงเงิน 10,325 ล้านบาท กับบริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ปัจจุบันเอกชนยังยืนราคาเดิม เมื่อลงนามสัญญา รฟท. จะออกหนังสือแจ้งเอกชนให้เริ่มงาน (NTP) ได้ทันที เพื่อให้เริ่มงานก่อสร้างทางวิ่งไปก่อนเว้นสถานีอยุธยาไว้สร้างทีหลัง และสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อดอนเมือง 15.21 กม. วงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีช่วงที่โครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จากบริเวณวัดเสมียนนารี ถึงสถานีดอนเมือง ประมาณ 10 กม. ต้องรอให้แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินฯ จบก่อน

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า หากสุดท้ายแล้วเอกชนผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินฯ ไม่สร้างโครงสร้างทับซ้อนให้ รฟท. พร้อมก่อสร้างเอง ต้องประมูลหาผู้รับจ้างงานก่อสร้างต่อไป และต้องเพิ่มกรอบวงเงินในสัญญาอีกประมาณ 4 พันล้านบาท ทั้งนี้ยังคงเป้าหมายเปิดบริการรถไฟ ไฮสปีดไทย-จีน เฟสที่ 1 ปี 71 (ตามแผนที่ปรับใหม่ จากเดิมจะเปิดบริการปี 66) ส่วนโครงการฯเฟส 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. อยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายงานการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรถไฟไฮสปีดสายแรกเฟส 1 มี 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท เริ่มก่อสร้างปี 60 ภาพรวมผลงาน 32.31% ล่าช้า 28.76%
สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. และ

สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. เสร็จ 100%,

สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า 30.21 กม. คืบหน้า 0.16%,
สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และ ลำตะคอง 12.2 กม. 59.76%,
สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า- ลำตะคอง 26.1 กม. 49.04%
สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด 69.11 กม. 74.63%,
สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา 12.3 กม. 6.69%,

สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง- นวนคร 21.8 กม. 0.29%,
สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กม. 30.01%,
สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 8.51%
สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.6 กม. 1.54% และ
สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย 12.9 กม. 52.63%

ขณะที่สัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633 ล้านบาท 0.92% ล่าช้า 45.88%
แนวโน้มเปิดไม่ทันปี 71 ต้องเลื่อนแผนบริการอีกแน่นอน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 19 เม.ย. 2567 (กรอบบ่าย)

รฟท.ส่งHIA“สถานีอยุธยา”ถึงยูเนสโกฝรั่งเศสเดือนนี้
*ปัญหาไม่จบไฮสปีดไทย-จีนเลื่อนบริการไปเรื่อยๆ
*งานระบบราง-หาขบวนรถผลงานไม่ถึง1%ช้า45%
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/972995650944336


Last edited by Mongwin on 18/04/2024 9:37 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/04/2024 8:29 am    Post subject: Reply with quote

“สุรพงษ์” มั่นใจรถไฟไทย-จีน เฟส1 เสร็จตามแผน
บ้านเมือง วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567, 07.34 น.

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมเดินหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาให้แล้วเสร็จตามแผน โดยยังคงเป้าเปิดบริการต้นปี 2571 ซึ่งขณะนี้จะติดปัญหากรณีโครงสร้างร่วมช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) อยู่

“ขณะนี้การก่อสร้างยังต่อเนื่อง ติดแค่2 สัญญาเท่านั้นที่ต้องเคลียปัญหา คือ สัญญาที่ 4-1 ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ดอนเมือง ซึ่งติดปัญหาโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว เนื่องจากติดปัญหาเรื่องผลกระทบต่อมรดกโลกบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีอยุธยา” นายสุรพงษ์ กล่าว

สำหรับปัญหาโครงสร้างร่วมช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินก่อสร้างประมาณ 4,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินยังไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) อาจไม่ขยายเวลาบัตรส่งเริ่มการลงทุนแล้ว หลังจากที่ขยายให้ผู้รับงานคือบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด(กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) มาแล้ว 2 ครั้งและสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 22 มกราคม2567ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การจะดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอย่างไรต่อไป ต้องเป็นหน้าที่ของสกพอ.พิจารณาตัดสินใจ ไม่ใช่กระทรวงคมนาคม ซึ่งเชื่อว่าแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวจะมีความชัดเจนภายในเดือนพฤษภาคม 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/04/2024 8:26 am    Post subject: Reply with quote

“สุรพงษ์” ดันปิดดีลตอกเข็ม 2 สัญญารถไฟ "ไทย-จีน" ขีดเส้นพ.ค.นี้"ซี.พี."ไม่จบดึงโครงสร้างร่วมสร้างเอง
ผู้จัดการออนไลน์ 18 เม.ย. 2567 08:07 น.
    “สุรพงษ์” เข็นปิดดีล 2 สัญญารถไฟ 'ไทย-จีน' เผย เม.ย.นี้ส่งรายงาน HIA ให้ยูเนสโก พร้อมลุยสร้างช่วงอยุธยา ส่วนปมโครงสร้างร่วม 'บางซื่อ-ดอนเมือง' รอ พ.ค.นี้หมดเวลาบัตรบีโอไอ 'ซี.พี.' ไม่ไปต่อ รฟท.ก่อสร้างเอง ลั่นต้องเดินหน้าเร่งเปิดบริการปี 71
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวม 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท ว่า ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดจำนวน 14 สัญญา ยังเหลืออีก 2 สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนามก่อสร้าง คือสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ซึ่งรอการศึกษารายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก หรือ HIA ของสถานีอยุธยา โดยทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้มีหนังสือแจ้งไปยังยูเนสโกว่าจะจัดส่งรายงาน HIA ให้ภายในเดือน เม.ย. 2567 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการ และคาดว่าหลังสงกรานต์นี้ รฟท.จะส่งเรื่องไปที่ สผ.เพื่อดำเนินการส่งรายงานผลการศึกษา HIA ไปที่ยูเนสโกอย่างเป็นทางการต่อไป

ทั้งนี้ ระหว่างดำเนินการศึกษารายงาน HIA ได้เชิญผู้แทนยูเนสโกมาเป็นที่ปรึกษา ดังนั้นเมื่อ สผ.จัดส่งรายงาน HIA ไปที่ยูเนสโกแล้ว เชื่อว่าหลังจากนี้จะชัดเจนและสามารถลงนามจ้างสัญญา 4-5 ได้ ซึ่งช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท ที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้อนุมัติการสั่งจ้างบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ไว้แล้ว
    “ประเด็นเรื่องมรดกโลก ยืนยันว่าแนวเส้นทางและสถานีอยุธยาไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่มรดกโลก แต่อยู่ใน Bubble Zone อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นการทำ HIA ฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งต่อไปนี้ต้องประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจว่าหากโครงการที่ต้องก่อสร้างผ่านสถานที่โบราณสถานจะต้องทำ EHIA ก่อนเพื่อไม่ให้เป็นประเด็นปัญหา” นายสุรพงษ์กล่าว

@พ.ค.นี้ “ซีพี” ไม่ไปต่อ ดึงโครงสร้างร่วม "บางซื่อ-ดอนเมือง" ทำเอง

นายสุรพงษ์กล่าวว่า อีกสัญญาที่ยังไม่ได้เริ่มต้นคือ สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งเป็นช่วงที่รถไฟไทย-จีนใช้โครงสร้างร่วมกับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เรื่องนี้ ต้องรอกรณีที่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ซี.พี.) ต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอก่อน โดยมีการขยายไปถึงวันที่ 22 พ.ค. 2567 ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตอบฝ่ายค้านในการอภิปรายทั่วไปรัฐบาลแบบไม่ลงมติ ซึ่งหากครบกำหนดเดือน พ.ค.นี้แล้วไม่ได้บัตรส่งเสริมการลงทุนชัดเจนแล้ว ฝ่ายรัฐต้องเจรจาหาทางออก หากกรณีเอกชนไม่ไปต่อ หรือไม่ประสงค์จะทำโครงการต่อ รฟท.จะต้องนำโครงสร้างร่วมนี้มาดำเนินการเอง

โดยรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ตามกรอบเดิมมีวงเงิน 3,337 ล้านบาท กรณีทำโครงสร้างร่วมวงเงินรวมจะอยู่ที่ประมาณ 9,207 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่เพิ่มขึ้นในการก่อสร้างโครงสร้างร่วมมั่นใจว่ามีวิธีพิจารณาจัดหางบมาดำเนินการได้ไม่มีปัญหา

นายสุรพงษ์กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคม พร้อมเดินหน้าผลักดันโครงการรถไฟไทย-จีน โดยเฉพาะงานโยธาที่เหลือ 2 สัญญา หากเดือน พ.ค.นี้กรณีรถไฟเชื่อม 3 สนามบินมีความชัดเจนว่ายังไม่สามารถทำโครงสร้างร่วมได้ รฟท.พร้อมลงมือทำส่วนนี้เอง ยืนยันตนจะทำให้โครงการรถไฟไทย-จีนเดินหน้าได้ก่อน โดยมีเป้าหมายเปิดบริการในปี 2571
    “ตอนนี้ไม่อยากพูดอะไรไปก่อน เพราะเรื่องยังไม่ชัดเจนจะเกิดผลกระทบต่อหลายฝ่ายได้ และต้องเข้าใจว่าโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ส่วนรฟท.เป็นคู่สัญญาเท่านั้น เพราะมีคณะกรรมการอีอีซีและ พ.รบ..อีอีซีกำกับ ดังนั้น โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินทั้งหมดหลังจากเดือน พ.ค.ไปก็ต้องพิจารณาอีกว่าจะไปอย่างไร” รมช.คมนาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44842
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/04/2024 8:46 pm    Post subject: Reply with quote

25 มีนาคม 67 อัปเดตทางรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ช่วง แก่งคอย-สระบุรี-อยุธยา-บางชื่อ
Apr 16, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=QpWoLcVFsSc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 549, 550, 551  Next
Page 4 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©