Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287016
ทั้งหมด:13598340
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 371, 372, 373 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2014 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

ประเด็นเรื่องรถไฟความไวสูง

น้าไกด์ อุบล wrote:
งานเข้าแล้วครับ เมื่อถูกลูกถามว่า "ทำไมศาลถึงมีอำนาจสั่งห้ามสร้างรถไฟความเร็วสูงได้" ผมถามลูกว่าไปรู้มาจากไหน เค้าตอบว่า เห็นจากในเฟซบุ้คที่เค้าแชร์กัน

คำตอบข้างบนนี้ ทำให้ผมเข้าใจอะไรหลายๆ เรื่อง ผมไม่แปลกใจ เพราะผมก็เห็นทั้งข้อความและภาพนั้นเช่นกัน บางทีก็เห็นคนเล่าประสบการณ์การนั่งรถไฟความเร็วสูงมาแล้ว บ้างก็เลยเถิดขนาดทำภาพกราฟฟิคเส้นทางรถไฟความเร็วสูงวิ่งรอบประเทศไทย แต่ไม่ผ่านประเทศไทย บางคนก็ประชดขนาด ไม่มีรถไฟความเร็วสูง คนไทยก็ต้องนั่งเกวียนกันล่ะ

ผมไม่อยากให้ลูกเลือกข้าง อยากให้เค้าได้รับข้อมูลทั้งสองด้าน หรือหลายๆ ด้าน จึงเลี่ยงที่จะตอบว่า ศาลรัฐธรรมนูญสั่งห้ามสร้างรถไฟความเร็วสูงหรือไม่

แต่เลือกที่จะอธิบายหลักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และทำไมเรื่องรถไฟความเร็วสูงถึงต้องไปอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ยาวหน่อยนะครับ แต่มันจำเป็นที่จะต้องเข้าใจหลักการ แล้วถึงจะเข้าใจว่าปลายทางทำไมเป็นอย่างที่ลูกเห็น

ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีการถ่วงดุลอำนาจกัน 3 ฝ่ายคือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ฝ่ายบริหารก็มีหน้าที่ปกครองประเทศตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ ฝ่ายนิติบัญญัติก็ทำหน้าที่พิจารณาโครงการต่างๆ ที่ฝ่ายบริหารเสนอ และคอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร ส่วนตุลาการทำหน้าที่ตัดสินคดีความข้อพิพาทต่างๆ ซึ่งระยะหลังมีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการแยกคดีทางการเมืองออกมาต่างหากจากคดีแพ่งคดีอาญาทั่วไป ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรอิสระ และสามารถพิจารณาคดีทางการเมืองที่มีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญได้รวดเร็ว

ทีนี้มาถึงเรื่องที่เราสงสัยกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจอะไรไปห้ามสร้างรถไฟความเร็วสูง ตอบได้เลยว่า ไม่มีอำนาจครับ จะสร้างไม่สร้างเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ

ตามหลักแล้ว ฝ่ายบริหารจะตั้งงบประมาณการบริหารประเทศ แล้วฝ่ายนิติบัญญัติก็จะตรวจสอบ พิจารณารายละเอียดของโครงการต่างๆ หากงบประมาณผ่านสภาฯ รัฐบาลก็ใช้เงินผ่านกระทรวงการคลัง บางโครงการต้องใช้เงินเยอะ งบประมาณใน 1 ปี อาจไม่เพียงพอ ก็อาจจะเขียนโครงการตั้งงบผูกพันโครงการไว้หลายปีจนแล้วเสร็จ

เรื่องรถไฟความเร็วสูง ถ้ารัฐบาลเขียนโครงการใส่ในงบประมาณ ก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร ศาลรัฐธรรมนูญก็ไปยุ่งไม่ได้ แต่คราวนี้รัฐบาลตั้งเป็นโครงการพัฒนาระบบคมนาคมฯ (ประมาณนี้) ต้องใช้เงินทั้งโครงการ 2 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลใช้วิธีออก พ.ร.บ.เงินกู้สองล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาก็มีรัฐบาลที่ออก พ.ร.บ.เงินกู้ อยู่และศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่เคยเข้าไปยุ่ง

"แล้วคราวนี้ ทำไมศาลรัฐธรรมนูญถึงสั่งห้ามสร้างรถไฟความเร็วสูง บอกให้ทำถนนลูกรังให้หมดประเทศซะก่อน" ลูกถามแย้งขึ้นมา อยากได้คำตอบแบบรวดรัด

ก็เพราะปกติเงินกู้ที่กู้มา ต้องเอาเข้าคลังแล้วรัฐบาลค่อยเบิกจ่ายตามระเบียบการคลังของประเทศยังไง แต่ใน พ.ร.บ.เงินกู้ฯ นี้ ระบุให้ไม่ต้องเอาเงินกู้นี้เข้าคลัง เพราะเกรงว่าระเบียบการเบิกจ่ายจะทำให้โครงการต่างๆ ล่าช้าออกไป ฝ่ายค้านก็เกรงว่า ถ้าเงินกู้นี้ไม่เข้าคลัง การตรวจสอบการใช้เงินก็เป็นไปได้ยาก แถมรายละเอียดโครงการก็ไม่ชัดเจน ซ้ำกว่านั้นผลวิจัยฯ ยังบอกว่า เงินที่กู้มาเราก็ต้องชดใช้พร้อมดอกเบี้ยซึ่งหากไม่อยากให้กระทบสถานะความมั่นคงทางการคลัง จะต้องใช้เวลาใช้หนี้ถึง 50 ปี

ประเด็นที่เข้าไปถึงศาลรัฐธรรมนูญคือ เงินกู้ที่กู้มา รัฐบาลจะไม่เอาเข้าคลัง ฝ่ายค้านเห็นว่าน่าจะขัดรัฐธรรมนูญ จึงส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
ทีนี้ศาลรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้น เป็นระบบไต่สวน (ที่เราเห็นในศาลอาญาและศาลแพ่ง เป็นระบบกล่าวหา ผู้ใดกล่าวหาผู้อื่นต้องหาหลักฐานและพยานมาพิสูจน์ต่อศาล) ซึ่งระบบไต่สวนนี้ ศาลมีอำนาจซักถาม เรียกพยานต่างๆ มาสอบถามได้ โดยมากศาลก็จะเรียกผู้ร้องและผู้ถูกร้องมาไต่สวน และเรียกผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ มาไต่สวนเพิ่มเติม

เรื่อง พรบ.เงินกู้สองล้านล้าน ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลยังไม่ได้ตัดสิน ยังมีการนัดผู้เชี่ยวชาญมาไต่สวนเพิ่มเติม และประโยคที่ศาลซักถามคุณชัชชาติ รมต.คมนาคม ก็ไม่ใช่คำตัดสิน

สรุป ศาลไม่ได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตขนาดว่าจะไปห้ามสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่เพราะรัฐบาลไม่เอาโครงการเข้าในระบบงบปีประมาณปกติ แถมออก พรบ.เงินกู้สองล้านล้าน ก็จะไม่เอาเข้าคลัง ฝ่ายค้านเห็นว่าน่าจัขัดรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจึงเข้ามาเกี่ยวด้วย

ถ้ารัฐบาลเอาโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้าระบบปีงบประมาณปกติ ศาลไหนๆ ก็ยุ่งไม่ได้ หรือถ้า ออก พรบ.เงินกู้ โดยเอาเงินเข้าคลัง ศาลก็จะเข้าไปยุ่งไม่ได้

ที่สำคัญ พรบ.เงินเงินกู้ 3.5 แสนล้านแก้ปัญหาน้ำท่วม ศาลรัฐธรรมนูญก็ตีความว่า เป็นอำนาจของรัฐบาล และยกคำร้องของฝ่ายค้านไปแล้ว ทำไมไม่มีใครว่าศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง ปชป. ที่เป็นผู้ยื่นคำร้อง ก็เคารพในคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ

เหนื่อย.... กว่าจะอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า สังคมนี้มันโหดร้าย เลือกนำเสนอเฉพาะที่เข้าข้างตัวเอง ขนาดในเรื่องเดียวกัน ก็ยังคัดเฉพาะที่เป็นประโยชน์กับตัวเอง คนธรรมดาโพสไปเรื่อย แชร์ไปเรื่อยยังไม่เท่าไหร่ สื่อมวลชนที่มีข้อมูลรอบด้าน แต่เลือกที่นำเสนอนี่สิ น่ากลัว

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=606143229434383&set=a.391754167539958.83542.100001161339456&type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/01/2014 9:24 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง คุ้มค่าจริงหรือถ้าจะลงทุนตอนนี้
Arrow http://pantip.com/topic/31492370

คุณคิดว่ารถไฟรางคู่ เพียงพอต่อความต้องการของคนไทยหรือไม่?
Arrow http://pantip.com/topic/31515268
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2014 10:56 am    Post subject: Reply with quote

ไม่รอชี้ชะตา2ล้านล.ลุยผุดโปรเจ็กต์ คมนาคมตั้งแท่นชงรัฐบาลใหม่ครบ"บก-ราง-น้ำ"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 13 ม.ค. 2557 เวลา 10:17:44 น.

ไม่รอคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ "คมนาคม" โยกโครงการพร้อมประมูลจาก 2 ล้านล้าน ชงรัฐบาลใหม่เดินหน้าต่อ ทั้งถนน 4 เลน บูรณะทางสายหลัก สะพานข้ามทางรถไฟ ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ รถไฟทางคู่ 5 สายทาง รถไฟฟ้า 2 สาย 2 สี "ชมพู-ส้ม" มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ไฮสปีดเทรน 4 สายเฟสแรก

Click on the image for full size

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้เตรียมความพร้อมที่จะเดินหน้าโครงการก่อสร้างในแผนลงทุนภายใต้กรอบวงเงิน 2 ล้านล้านบาท โดยจะดึงโครงการที่มีความพร้อมเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ เพื่อเปิดประมูลก่อสร้างต่อไป จะไม่รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) ที่กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... ว่าขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่

"กระทรวงก็เดินหน้าโครงการไปตามปกติ เพราะศาลดูเรื่องข้อกฎหมายเป็นหลัก ไม่ได้หมายความว่าโครงการจะหยุดชะงัก ตอนนี้โครงการจะไปต่อได้หรือไม่อยู่ที่ว่าจะมีรัฐบาลมาอนุมัติโครงการและหาแหล่งเงินมาดำเนินการ แต่ถ้าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทผ่านการพิจารณาก็นำเงินกู้ส่วนนี้มาดำเนินการต่อได้ ซึ่งประเมินว่าในปีนี้จะใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 8 หมื่นล้านบาท"

นายจุฬากล่าวต่อว่า สำหรับโครงการที่พร้อมส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ไม่ต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) สามารถเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติได้ทันที ใช้ทั้งเงินกู้และงบประมาณปี 2558 อาทิ โครงการถนนของกรมทางหลวง (ทล.) กับกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เช่น ขยายถนน 4 ช่องจราจร บูรณะทาง สะพานข้ามทางรถไฟ เป็นต้น

นอกจากนี้มีโครงการรถไฟทางคู่ 5 สายทางที่รอการอนุมัติอีไอเอ วงเงินลงทุน 118,034 ล้านบาท อาทิ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 165 กิโลเมตร 20,038 ล้านบาท ฯลฯ

โครงการรถไฟฟ้า 2 สายทาง มีสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) กับสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) โครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา 196 กิโลเมตร เงินลงทุน 84,600 ล้านบาท เนื่องจากออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนอีก 2 สาย คือ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด ยังต้องรอออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินก่อน จึงจะดำเนินการขออนุมัติโครงการได้

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง วงเงินลงทุน 783,229 ล้านบาทนั้น นายจุฬากล่าวว่า จะเร่งศึกษาและทำอีไอเอในเฟสแรกให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ได้แก่
1.สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา
2.สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา คาดว่าปลายเดือนมกราคมนี้จะยื่นขออีไอเอได้
3.สายกรุงเทพฯ-หัวหิน เนื่องจากปรับตำแหน่งสถานีใหม่จำเป็นต้องรอจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่อีกครั้ง คาดว่าภายในเดือนมีนาคมนี้จะยื่นได้ และ 4.สายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังศึกษารายละเอียดโครงการ

"ไฮสปีดเทรนจะเร่งอีไอเอให้จบปีนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเหมือนกันว่าจะช้าหรือเร็ว ยังตอบไม่ได้เพราะเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ในอนาคตเมื่ออีไอเอผ่านก็เสนอ ครม.อนุมัติโครงการต่อไป คาดว่าโครงการนำร่องทำได้ก่อน คือ สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ในความเห็นของ สนข.น่าจะผลักดันโครงการนี้ต่อไป โดยใช้เงินกู้เหมือนรถไฟฟ้า แต่อยู่ที่นโยบายของรัฐบาลใหม่ด้วย" นายจุฬากล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 13/01/2014 4:11 am    Post subject: Reply with quote

มุมมองของ Ake City เกี่ยวกะรถไฟความไวสูง
http://kaeloveake.blogspot.com/2014/01/akecity.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2014 10:45 am    Post subject: Reply with quote

ไทยพร้อมหรือไม่? กับรถไฟความเร็วสูง


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 9 มกราคม 2557 22:04 น.



กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคมหลังจากคณะกรรมการศาลรัฐธรรมนูญเริ่มไตร่สวนพยาน จากคำร้องขอให้ศาลพิจารณาวินัยฉัยตามรัฐธรรมนูญว่า ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านมีข้อความที่ขัดและแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ นำมาซึ่งวาทะที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า “รถไฟความเร็วสูงยังไม่จำเป็นสำหรับไทย ควรให้ถนนลูกรังหมดไปจากประเทศก่อน” ส่งผลให้ผู้คนในสังคมตั้งคำถามกับอำนาจศาลรวมไปถึงความพร้อมไม่พร้อมที่แท้จริงของสังคมไทย!!

หลังจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ช่วงหนึ่งในการไตร่สวนพยานและวินิจฉัย เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา สุพจน์ ไข่มุกต์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ความเห็นส่วนตัวขณะซักถามชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมว่า ตนเองเป็นห่วงถึงการกู้เงินที่อาจสร้างภาระในกับลูกหลาน โดยบอกเพิ่มเติมว่าชัชชาติเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งมาแล้วก็ไป ดังนั้นการกู้เงินไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที จึงเห็นว่ารถไฟความเร็วสูงยังไม่จำเป็นสำหรับไทย และเป็นไปได้ควรให้ถนนลูกรังหมดไปจากประเทศก่อน

กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งในหน้าเพจของศาล แม้แต่ในทวีตเตอร์ก็มีแฮชแท็ก #ไทยไม่พร้อม ตั้งขึ้นมาเพื่อทักถามถึงความเห็นดังกล่าวของตัวตุลาการสุพจน์ ไข่มุกต์ โดยมีการแสดงความเห็นผ่านหน้าเพจของศาลตุลาการรัฐธรรมนูญและอีกมากมายผ่านโซเชียลมีเดีย

"รถถัง เครื่องบินรบ เรือรบ แพงกว่ารถไฟฟ้าเยอะและใช้งานจริงน้อยกว่า ปัญหาของคำว่า "พร้อม" หรือไม่ คงอยู่ที่มุมมองของ "ใคร" มากกว่า" หนุ่ย - อำพล ลำพูนทวีตข้อความถึงการตัดสินของศาล

ทั้งนี้ ด้าน ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้เชี่ยวชาญด้านรถไฟ เคยให้สัมภาษณ์ไว้เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงว่า ไม่มีคำถามสำหรับรถไฟรางคู่ ทุกฝ่ายเห็นด้วย สามารถรองรับการขนส่งสินค้าและสามารถขนได้ด้วยความเร็วประมาณ 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่กับรถไฟความเร็วสูงยังมีคำถามหลายข้อที่รัฐบาลยังตอบไม่ได้ในแง่ความคุ้มค่า

โดยเขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ในญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 130 ล้านคน ที่มีความหนาแน่นและกระจายตัว แต่ประเทศไทยเป็นเด็กหัวโต กระจุกอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่อยู่ที่หัวเมืองหลักๆ ตามภูมิภาคไม่มากและประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในย่านธุรกิจที่มีกำลังซื้อพอจะขึ้นรถไฟความเร็วสูง และหนึ่งขบวนในปีแรกๆ ต้องมีผู้โดยสารประมาณล้านกว่าคนจึงจะคุ้มทุน ถ้าไม่ถึงหลักล้านก็ขาดทุนแน่นอน และจะกลายเป็นภาระของรัฐบาล

“ถ้ารัฐบาลจะลงทุนเกือบ 8 แสนล้าน แต่ยังไม่มีโมเดลทางธุรกิจดีพอ ว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ ซึ่งเป็นการลงทุนที่ใช้เวลานานมากที่จะคุ้มทุน เท่ากับเอาเงินไปจมไว้ สร้างแล้วไม่มีคนขึ้นเพราะมันแพง ถ้าอยากให้คนขึ้น รัฐก็ต้องอุดหนุนค่าตั๋ว”

ในส่วนของการลงทุนที่จะก่อหนี้มหาศาลนั้นเขาก็เห็นว่าเป็นแบบนั้นจริง แต่ก็มีส่วนดีอยู่ด้วย ทั้งนี้ โครงการทั้งหมดยังต้องมีการทำให้ชัดเจนและตอบโจทย์อย่างรอบด้านเพื่อต่อยอดไปสู่อนาคตของประเทศ

“ผมเห็นว่าถูกครึ่งหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางโครงการ เช่น โครงการรถไฟรถรางคู่ โครงการทางหลวงพิเศษ เป็นต้น ซึ่งหากดำเนินการได้จริง จะเป็นแรงผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดี เป็นการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ส่วนบางโครงการที่ยังไม่ชัดเจน ไม่ตอบโจทย์และไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน รัฐบาลก็ต้องมาวิเคราะห์และบูรณาการอย่างรอบด้าน ลงรายละเอียดอย่างชัดเจน ทั้งรายละเอียดของโครงการ เม็ดเงิน และผลตอบแทน ซึ่งจะเป็นผลดีโดยรวมสู่การต่อยอดอนาคตประเทศไทย”

ท้ายที่สุด คำตอบของความพร้อมและความคุ้มค่านั้นที่ประเทศไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงก็ไม่ควรจะถูกชี้ด้วยความเห็นของผู้คน ไม่ว่าจะเห็นว่าควรมีหรือไม่ควร หากแต่ขึ้นอยู่กับข้อมูลและข้อเท็จจริงที่มองสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านแล้วเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2014 1:18 pm    Post subject: Reply with quote

ดูรูปการณ์แล้ว ขยาย Airport Link ไปพัทยา - ระยอง และ ขยายไปดอนเมืองให้มันได้ก่อน แล้วค่อยเร่งไปหนองคายเพื่อให้จีนยอมปล่อยเงินกู้ให้ลาวสร้างทางรถไฟจากด่านบ่อแตนไปนครหลวงเวียงจันก็ได้ - อาศัยว่ามีเขยฝรั่งตั้งรกรากที่อุดร - หนองคายและ จีนเริ่มลงทุนแถวโคราช - ขอนแก่น ก็น่าจะมีเหตุอันควรทำได้ - Bypass จากสระบุรี ไปฉะเชิงเทราด้วยก็ดีนะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2013 3:10 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เวนคืน 900 ไร่ รื้อ 4,130 หลัง เบี่ยงแนวไฮสปีดเทรน "กรุงเทพฯ-หัวหิน"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 ธ.ค. 2556 เวลา 13:27:26 น.

สนข.เปิด4สถานีไฮสปีดฯหัวหิน
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2013 เวลา 13:11 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,907 วันที่ 22 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556


สนข. เดินหน้าไฮสปีดเทรนสายใต้กรุงเทพฯ-หัวหิน หลังจุดก่อสร้าง 4 สถานีได้ข้อสรุปชัดเจนแล้ว จี้ติดที่ปรึกษาเร่งสรุปการรับฟังความเห็นประชาชนครั้งที่ 3 ต้องไม่เกินมี.ค.57 ระบุยื่นขออีไอเอควบคู่กันไปแล้ว ด้านที่ปรึกษาเจอโจทย์ใหญ่แนวเส้นทางขวางแนวฟลัดเวย์ช่วงตำบลงิ้วลายเล็งเสนอสร้างทางยกระดับเลี่ยงแทน

นายวิจิตต์ นิมิตวานิช ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหินว่า ขณะนี้ได้ความชัดเจนสำหรับจุดก่อสร้างครบทั้ง 4 สถานีในโครงการรถไฟความเร็วสูงสายใต้ ช่วงกรุงเทพฯ-หัวหินแล้ว คือ

1. สถานีนครปฐม ยังใช้พื้นที่สถานีรถไฟเดิมในปัจจุบัน ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ประมาณ 500 เมตร ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงทางย่อยจะห่างออกมาจากจุดสถานีประมาณ 1 กิโลเมตร (ทางต้นสำโรง?)

2. ส่วนสถานีราชบุรีตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลคูบัว
3. สถานีเพชรบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลธงชัย พร้อมด้วยศูนย์ซ่อมบำรุงทางหลักที่อยู่ก่อนถึงตัวสถานี และ
4. สถานีหัวหิน ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อฝ้าย ก่อนเข้าสู่สถานีรถไฟเมืองหัวหินในปัจจุบัน

รวมระยะทางประมาณ 209 กิโลเมตร ใช้งบประมาณลงทุนทั้งโครงการประมาณ 9.8 หมื่นล้านบาท จะมีการเวนคืนพื้นที่ประมาณ 900 ไร่ รื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง 4,310 หลังใช้งบประมาณเวนคืนทั้งสิ้นจำนวน 4,100 ล้านบาท ค่าโดยสารจากบางซื่อถึงหัวหินประมาณ 550 บาทต่อคน

"ต่อไปได้เร่งรัดให้ที่ปรึกษาเร่งสรุปผลการรับฟังความเห็นทั้ง 3 ครั้งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2557 พร้อมกันนี้ยังได้ยื่นขอผลการรับรองด้านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอควบคู่กันไปด้วยโดยยังอยู่ระหว่างการแก้ไขตามคำแนะนำของคณะผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม"

นายกำธร ตุ้งสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า หลังจากนี้จะเรียกหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองมาหารือเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการเปิดให้บริการต่อไป เนื่องจากคาดการณ์ว่าพื้นที่โดยรอบสถานีจะเติบโตอย่างมาก จึงต้องวางผังเมืองรองรับเอาไว้ก่อน ทั้งผังเมืองระดับจังหวัดและผังเมืองท้องถิ่นต้องให้สอดคล้องกัน

"นอกจากเรื่องทิศทางแผนการพัฒนาเมืองแล้วยังไม่มองข้ามเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงให้สามารถเข้าถึงสถานีและบริการไฮสปีดเทรนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อาจต้องมีการสร้างถนนสายใหม่หรือการขยายแนวถนนเดิมให้กว้างมากขึ้น ซึ่งในส่วนของจังหวัดจะต้องมีการหารือในเรื่องนี้รองรับไว้ก่อนให้สอดคล้องกับการเติบโตในอนาคตหากเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการต่อไป"

ด้านนายนพดล สงทุ่ง รองผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้ล่าสุดได้รับการบอกกล่าวจากชาวบ้านในพื้นที่ตำบลงิ้วราย ที่อยู่ระหว่างช่วงนครชัยศรี-ศาลายา ว่าแนวเส้นทางช่วงงิ้วลายน่าจะดำเนินการไม่ได้เพราะไปขวางแนวการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำในโครงการก่อสร้างแนวฟลัดเวย์ของรัฐบาลเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเช่นปี 2554 ที่ผ่านมา ดังนั้นหากก่อสร้างเป็นแนวเส้นทางยกระดับจึงจะสามารถดำเนินการได้เพราะองค์ประกอบด้านชุมชนและพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างทางระบบพื้นดิน

ผศ.ดร.พนิต ภู่จินดา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในเบื้องต้นเชื่อว่าที่ดินตามแนวเส้นทางการรถไฟแห่งประเทศไทยมีอยู่เพียงพอ ยกเว้นในจุดก่อสร้างบางแห่งเท่านั้น เช่น จุดสถานีหรือจุดศูนย์ซ่อมบำรุง โดยจะเวนคืนเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนภาคเอกชนโดยรอบสถานีและตามแนวเส้นทางใกล้เคียงจะมีทิศทางการพัฒนาที่ดินของตนเองอย่างไรนั้นคงไม่สามารถไปควบคุมได้ทั้งหมด แต่รัฐควรเร่งทำผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะให้สามารถพัฒนาด้านพาณิชยกรรมสนองศักยภาพแต่ละพื้นที่ของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงได้อย่างสอดคล้อง

"อาจกำหนดให้เป็นพื้นที่สีแดง แต่สร้างอาคารพาณิชยกรรมได้น้อยลง หากรายใดจะสร้างอาคารได้มากต้องมาร่วมทุนหรือซื้อสิทธิ์เพิ่มจากโครงการไฮสปีดเทรน แนวทางนี้คาดว่าภาคเอกชนมีความสนใจมากขึ้นเนื่องจากมีผลตอบแทนจากค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปนั่นเอง ปัจจุบันแม้จะได้สิทธิ์สร้างอาคารขนาดใหญ่แต่ยังไม่สอดคล้องกับรถไฟความเร็วสูง เช่น บีทีเอสที่ภาคเอกชนมีรายได้จากการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยรอบสถานีแต่บีทีเอสกลับไม่ได้รับรายได้จากโครงการดังกล่าวนั้นเลย แทนที่จะสามารถนำรายได้กลับมาชดเชยการลงทุนดังกล่าวหรือนำไปพัฒนาระบบต่อเนื่องกันไปอีก"

ทั้งนี้ผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจจากการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ - หัวหิน-ปาดังเบซาร์ มีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) จากช่วง กรุงเทพฯ - หัวหิน 8.11%และเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางจนถึงปาดังเบซาร์ จะมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็น 12.76% มีมูลค่าการลงทุนรวม 98,399 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 83,070 ล้านบาท โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารเบื้องต้นเฉลี่ย 2.5 - 3.0 บาท/กม. ส่วนประโยชน์ของโครงการ พบว่าในปี2572 รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ - หัวหินจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ยานพาหนะได้ 3,846.5 ล้านบาทต่อปี ประหยัดเวลาในการเดินทาง 924.5 ล้านบาทต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/12/2013 3:30 pm    Post subject: Reply with quote

ยังไงก็เร่งทางคู่นครปฐม-หัวหินให้ได้เริ่มงานเร็ว ๆ ก่อนก็แล้วกันครับ
นี่แหละคู่แข่งสำคัญสำหรับรถไฟความเร็วสูงช่วงนครปฐม-หัวหิน (ในแง่ค่าโดยสาร)

ส่วนเรื่องอาคารสถานีนครปฐมของรถไฟความเร็วสูง เห็นด้วยครับว่าพื้นที่ตรงกับพระปฐมเจดีย์ ดูแล้วไม่น่าพอครับ เว้นแต่จะสร้างเล็ก ๆ ให้พอใช้งานได้ สำหรับจอดขบวนรถไฟความเร็วสูงหวานเย็น (แบบเดียวกับ Kodama ของญี่ปุ่น) ส่วนขบวนอื่น ๆ ก็ให้ผ่านสถานีนครปฐมไปเลย Wink
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2013 3:05 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ก็ออกแบบสถานีให้อยู่ตรงพระปฐมเจดีย์ เหมือนสถานีเก่า ทำให้เปลี่ยนไปที่ตรงอื่นไม่ได้ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
srinopkun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010
Posts: 2877
Location: นครปฐม

PostPosted: 24/12/2013 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:


จุดที่ตั้งทั้ง 4 สถานีประกอบด้วย
1.สถานีนครปฐม สร้างอยู่สถานีรถไฟเดิม เนื่องจากมีพื้นที่เพียงพอ
2.สถานีราชบุรี อยู่ที่ใหม่ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี ห่างจากตัวเมืองราชบุรี 3 กิโลเมตร
3.สถานีเพชรบุรี อยู่ที่ใหม่ใกล้เขาหลวง ต.ธงชัย อ.เมืองเพชรบุรี ถนนเพชรเกษม ห่างจากในเมือง 1.5 กิโลเมตร เวนคืน 40 หลัง และ
4.สถานีหัวหิน อยู่ที่ใหม่ที่ ต.บ่อฝ้าย อ.หัวหิน บริเวณหัวหิน ซอย 2 ห่างจากสถานีหัวหินเดิม 7 กิโลเมตร และถนนเพชรเกษม 150-200 เมตร


อ่า ... ถ้าตำแหน่งที่ตั้งสถานีนครปฐมปัจจุบันนี่ ยังไงๆ ก็ "ไม่เพียงพอ" หรอกครับ

แค่เริ่มลงเสาเข็มจะสร้างสถานี (ข้างบน) ก็ไม่ได้แล้วละครับ มองไปราง 3 หน้าสถานีแล้วก็จะเห็นว่าแค่รั้วกั้นก็เป็นถนนแล้ว จะไปลงเสาเข็มบนถนนนั้นก็คงลำบากอยู่นะนั่น

ถ้าเลื่อนไปตรงย่านร้าง (ที่ทำรางไว้แต่ไม่ได้ใช้น่ะ) ยังพอไหว



หากเทียบกับสถานีราชบุรี ซึ่งมีพื้นที่ในย่านสถานีมากกว่าด้วยซ้ำไป ยังย้ายไป ต.คูบัวเลย

นครปฐมนี่หากกังวลเรื่องปัญหาเวนคืนที่ดิน น่าจะมาตั้งสถานีในช่วงหน้าวัดเสน่หา หรือมาทางต้นสำโรงนี่ก็จะเป็นช่วงเลยโรงพยาบาลคริสเตียนมาแล้ว จะมีที่ว่างของรถไฟที่ไม่ถูกบุกรุกอยู่ กว้างพอสมควร
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 371, 372, 373 ... 548, 549, 550  Next
Page 372 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©