Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274132
ทั้งหมด:13585428
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 542, 543, 544 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2010 4:16 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้่อ่านข่าวฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,551 25-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ได้ความว่า อาจารย์สามารถ ราชพลสิทธิ์ (samart2000@hotmail.com) ให้ความเห็นเอกชนว่า

สามารถ ราชพลสิทธิ์ wrote:
สร้างทางรถไฟความเร็วสูงไประยองเกรงว่าจะติดปัญหาที่มาบตาพุด สู่ทำทางจากกรุงเทพ ผ่าน โคราช ไปหนองคายดีกว่า


ฟังดูพิกลๆ อยู่นะครับอาจารย์ - ทางไปดงพระยาเย็นมันติดปัญหาลุ่มน้ำ A1 ไม่ใช่หรือครับ ถ้ากลัวไม่ผ่านด่านสิ่งแวดล้อม ก็ตัดระยะที่พัทยาก็ได้นี่ครับ - แถมไปสอดคล้องกับบทความสยามธุรกิจ ฉบับวันเสาร์ ที่อยากให้ทำทางรถไฟความเร็วสูง ผ่าน โคราชเวียงจันท์ และ หลวงพระบาง ออกเมืองจีน ด้วย

//---------------------------------------------------------------------------

'สามารถ ราชพลสิทธิ์' ฟันธง!
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา
หน้า อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 23 กรกฏาคม 2010 เวลา 09:29 น.
พิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,551 25-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นับเป็นความตั้งใจที่ดีของรัฐบาล "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"ที่ลุกขึ้นมาผลักดันเมกะโปรเจ็กต์ หลายแสนล้าน โดยเฉพาะทางด้านระบบรางและหนึ่งในนั้นก็รวมถึงโครงการเมกะโปรเจ็กต์
รถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางมูลค่าร่วม 7 แสนล้านบาทที่กำลังอยู่ในขั้นตอนที่กระทรวงการคลัง กำลังสอบถามความคิดเห็นนักลงทุนและสถาบันการเงินต่าง ๆ ถึงความเป็นไปได้ของโครงการนี้หรือทำมาร์เก็ตซาวด์ เชิญนักลงทุนไทยและต่างชาติมาแสดงความคิดเห็นของการลงทุนในรูปแบบของ พีพีพี Public Private Partnership

เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้เม็ดเงินลงทุนมหาศาล จึงมีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่ายว่า
โครงการนี้แค่ฝันหรือว่าทำฝันให้เป็นจริง ต่อเรื่องนี้กูรูในวงการอย่าง
"ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์" ประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ
สภาผู้แทนราษฎร ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ที่รับผิดชอบโครงการ ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถเมล์ด่วนพิเศษ บีอาร์ที

ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบจราจรเมืองใหญ่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเป็นที่ปรึกษาให้องค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ ธนาคารโลก องค์การสหประชาชาติ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า) ได้มาสะท้อนมุมมองที่น่าสนใจหลายประการ

+++ ค่าตั๋วต้องใกล้เคียงโลว์คอสต์
โครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สายใช้เงินลงทุนเกือบ 7 แสนล้านบาทและหารเฉลี่ยออกมาเท่ากับลงทุนตกประมาณ 300 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ฉะนั้นค่าโดยสารต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อเที่ยวแน่นอนและต้องดูด้วยว่ามีผู้โดยสารจำนวนเท่าไรถึงจะคุ้มทุนดังนั้นความน่าจะเป็นก็คือราคาตั๋วควรจะใกล้เคียงกับสายการบินต้นทุนต่ำหรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์ถึงจะมีความน่าสนใจที่เอกชนจะลงทุน
ยกตัวอย่าง ที่ผ่านมาโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน ของรฟม. เส้นทาง หัวลำโพง-บางซื่อรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา 80% อีก 20 %ให้เอกชนลงทุนโดยงบประมาณแสนล้านบาท ซึ่งเฉลี่ยเท่ากับกิโลเมตรละ 5,000 ล้านบาท แต่รถไฟความเร็วสูง ใช้เงินลงทุน 300 ล้านบาทต่อกิโลเมตรถือว่าถูกกว่ามาก
อีกทั้งการมีความคิดของรัฐบาล มีรถไฟความเร็วสูง เป็นเรื่องที่ดีเพราะรถไฟไทยวิ่ง 50
กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าประเทศไทยจะมีรถไฟความเร็วสูง ณ ขณะนี้ก็ต้องพูดกันตั้งแต่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป เป็นอย่างต่ำเพราะเวลานี้มีการพัฒนาไปมากมีการคิดกันตั้ง
แต่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปและอยากเห็น 300 กิโลเมตรขึ้นไปหรือจากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
ใช้เวลาแค่ 3 ชั่วโมง เท่านั้น
+++ปัญหารัฐเอาเงินจากไหนกู้หรือกองทุนน้ำมัน
โดยทั่วไปถ้าระยะทางไม่เกิน 400 กิโลเมตร การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงแบบดอร์ทูดอร์จะเร็วกว่าการเดินทางด้วยเครื่องบิน เช่น กรุงเทพฯ -พิษณุโลก แต่ถ้าไปเชียงใหม่ใช้เครื่องบินจะเร็วกว่า แต่ก็เป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารเลือกทั้งเรื่องเวลาและค่าโดยสารได้อย่างเหมาะสม
เพราะถ้าให้เอกชนลงทุนค่าโดยสารต้องแพงแน่นอน หรือจะใช้วิธีการร่วมทุนแบบ พีพีพี ระหว่างภาครัฐและเอกชน มีหลายรูปแบบที่ต้องนำมาพูดกันแล้วแต่จะใช้ โครงการนี้จะทำให้เกิดภาระลงทุนหนักต้องอยู่ที่ภาครัฐไม่ต่ำกว่า 80% โดยต้องลงทุนร่วม 5 แสนล้านบาท แต่ก็มีปัญหาอีกว่าจะเอาเงินมาจากที่ไหน
จะกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น-ไทย (ไจก้า) หรือกู้จาก ธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี ก็ต้องมาดูเรื่องเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย อย่างรถไฟฟ้าใต้ดิน คิดอัตราดอกเบี้ย 0.75% แต่สายสีม่วงคิด 0.14%หรือสะพานนนท์ 1 ใช้เงินกู้จากไจก้าที่คิดดอกเบี้ย 0.95%
การกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ต่างประเทศก็จะมีเงื่อนไขอื่น ๆ ตามมาทั้งเรื่องการใช้วัสดุตลอดจนผู้รับเหมา เป็นต้น และยังมีความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมากน้อยแค่ไหน แต่ส่วนใหญ่รัฐบาลไทย กู้แล้วจะเปลี่ยนจากสกุลเงินเยนเป็นเงินบาทเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
จะใช้แหล่งเงินทุนในประเทศหรือต่างประเทศอันไหนดีกว่ากันก็ต้องมาเปรียบเทียบว่าจะออกพันธบัตรกู้หรือเอาเงินกองทุนน้ำมันมาใช้ ซึ่งก็ต้องให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ใช้ด้วยเช่นกัน
+++ ถ้ามีเงินเกิดแน่แต่รัฐต้องหนุนตลอด
ถ้าจะให้ผมฟันธงก็ต้องบอกว่าถ้ารัฐบาลมีเงินโครงการนี้เกิดได้ แต่รัฐก็ต้องเลี้ยงดูไปตลอด ต้องซับซิไดซ์(อุดหนุน) ถ้าผู้โดยสาร ไม่มาก ก็ต้องดูผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ ประหยัดพลังงาน ประหยัดเวลา ลดอุบัติเหตุ ยกคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น การปรับคุณภาพสิ่งแวดล้อม คิดแล้วคุ้ม ในแง่คิดเป็นตัวเงินด้านการลงทุน แต่ถ้าคิดรายได้จากค่าโดยสาร โฆษณา พัฒนาอสังหาฯไม่คุ้มแน่ แต่ถ้าจะให้ภาครัฐลงทุน 80 หรือ 100% เอกชนลงทุน 10-20% คุ้มหรือไม่ มีโอกาสความเป็นไปได้
อย่างไรก็ดี ต้องดูทางด้านเศรษฐกิจภาพรวมของความคุ้มค่า ในแง่การกระตุ้นการท่องเที่ยวการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มแต่ดูผลตอบแทนการเงินไม่คุ้ม
ผมเคยไปศึกษาโครงการขนส่งมวลชนในลักษณะนี้ ให้กับประเทศไต้หวันซึ่งก็ใช้เวลานานกว่าจะสร้าง และศึกษาให้ประเทศอินโดนีเซีย เป็นรถใต้ดินผ่านย่านธุรกิจระยะทาง 15 กิโลเมตร แต่เมื่อใช้เงินลงทุนสูงไม่คุ้มค่า เขาก็ไม่ลงทุน และแก้ปัญหาการจราจรชั่วคราวโดยให้ใช้รถ 3 คน ใน 1 คัน แต่ก็มีเด็กรับจ้าง สุดท้ายหันมาใช้ รถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที)
การลงทุนในลักษณะนี้หวังผลตอบแทนการเงินไม่คุ้มต้องมีบายโปรดักต์ ถึงจะคุ้ม มีค่าโฆษณา ท่องเที่ยว ไปเล่นกอล์ฟ ต้องมีโรงแรม ต้องชัดเจน ต้องมีแผนทำสนามกอล์ฟ ทำเมืองใหม่รองรับ และต้องมีเงื่อนไขที่เป็นไปได้เช่น เอกชนลงทุน 20-50 หรือ 100% มีความเป็นไปได้แค่ไหนต้องศึกษาให้รอบคอบ และควรให้สัมปทานไม่ต่ำกว่า 30 ปี
ถ้าเป็นผมรัฐจะลงทุน 100% ทำให้สามารถคุ้มค่าโดยสาร จ้างเอกชนมาเดินรถ เพราะมีระบบการบริหารจัดการที่ดี เป็นมืออาชีพมากกว่า
++++ หนุนแจ้งเกิด กรุงเทพฯ- หนองคาย
ดูโอกาสความเป็นไปได้ ของรถไฟความเร็วสูง อยากให้มีสัก 1 สาย รัฐต้องการให้เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เกิดเพราะรองรับอีสเทิร์นซีบอร์ด คนไม่เห็นด้วยมากและถามความเห็นผมอยากให้เกิดเส้น กรุงเทพฯ -หนองคายก่อน เพราะแม้ผลการศึกษาความคุ้มทุนจะอยู่อันดับสอง รองจากกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ แต่ก็ประหยัดเงินกว่าไปหาดใหญ่ 5 หมื่นล้านบาท
เหตุที่อยากให้สร้างเส้นทางนี้เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชากร มากที่สุด ขณะที่เส้นทางภาคใต้การเดินทางสะดวก และเส้นทางนี้ยังมีโอกาสเชื่อมโยงการเดินทางไปยัง
ลาว เวียดนามและจีนตอนใต้ ซึ่งต้องมองระยะยาว แม้จะใช้เงินลงทุน 1.8 แสนล้านบาทและค่าโดยสารจะคุ้มหรือไม่ก็ตาม
ส่วนกรุงเทพฯ-ระยองนั้นแม้จะรับโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด แต่ก็มีเส้นทางต่าง ๆ เชื่อมอยู่แล้วทั้ง มอเตอร์เวย์ ทางด่วนชลบุรีสายใหม่ หรือถ้าจะสร้างก็ควรจะต่อจากแอร์พอร์ตลิงค์ ตรงบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งจะประหยัดไปได้เป็นหมื่นล้าน
และขอย้ำถ้าเอกชนลงทุนต้องกู้เงินมา ฉะนั้นดอกเบี้ยสูงแน่นอน ทำไมรัฐบาลลงทุนรถไฟฟ้าใต้ดินได้ ทำไมลงทุนโครงการนี้ไม่ได้ เพราะแสนล้านได้แค่ 23 กิโลเมตร แต่นี่ได้ 600 กว่ากิโลเมตรช่วยรับคนได้แยะกว่า
นอกจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแล้วก็น่าจะดูเรื่องของโอกาสที่ไทยจะเป็นฐานในการผลิต รถไฟฟ้า ตู้ หัวรถจักร ซึ่งถือเป็นผลพลอยได้เพราะค่าแรงถูก ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าที่ต้องคิดเป็นแพ็กเกจ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2010 6:20 pm    Post subject: Reply with quote

คนตอ.เตรียมใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงหลังรัฐเห็นชอบกู้เงินลงทุนแล้ว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กรกฎาคม 2553 15:33 น.

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความเชื่อมั่นทางการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออก หลังเดินทางมาเป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง "ผลักดันการลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจภาคตะวันออก" ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากตัวแทนผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยบอกว่าปัจจุบันหลายฝ่ายได้เล็งเห็นถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจและการลงทุนของภูมิภาคแห่งนี้ จึงได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเชื่อมั่น รวมทั้งเสริมสร้างการแข่งขันและการวางรากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าภูมิภาคตะวันออกในอนาคตจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกมาก เห็นได้จากแม้ที่ผ่านมาทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลกและการเมือง รวมถึงปัญหามาบตาพุด ที่เป็นแผลเรื้อรัง ที่รัฐบาลต้องเร่งชี้แจงต่อนานาประเทศให้เข้าใจถึงสถานการณ์ว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของไทยกำลังฟื้นตัวและดีขึ้นเรื่อยๆ แต่เห็ตการณ์ทั้งหลายก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการขอส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่แห่งนี้

ล่าสุดรัฐบาลยังได้พิจารณาเห็นชอบกู้เงินจากแหล่งทุน เพื่อลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสุงจากกรุงเทพฯมาระยอง เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการขนส่งและลอจิสติกส์ในพื้นที่เพื่อรองรับการเติบโตด้านการลงทุนในอนาคต

"พี่น้องภาคตะวันออก จะได้รู้ข่าวดีในเร็วๆนี้ เพราะท่านนายกรัฐมนตรีฝากบอกมาว่าจะมีการทำโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงมาที่ระยอง เนื่องจากภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคที่สำคัญที่มีการลงทุนสูงที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาบุคคากรในพื้นที่อย่างมีความเหมาะสม โดยจะส่งเสริมการเรียนรู้ในระดับอาชีวะถึงการพัฒนาคนเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดงานอย่างถูกทิศทางด้วย" นายชัยวุฒิ กล่าว

ขณะที่ผู้สื่อข่าว ได้ถามถึงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงถึงรูปแบบโครงการและระยะเวลาในการดำเนินการ ซึ่งนายชัยวุฒิ กล่าวเพียงสั้นๆว่า ทราบแค่ว่ามีการเคาะโต๊ะเซ็นสัญญากู้เงินจากแหล่งทุน เพื่อดำเนินการโครงการแล้งเท่านั้น แต่ในรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับเม็ดเงินลงทุนหรือแหล่งเงินกู้ที่ว่า จะมาจากที่ใดยังไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจน

“หากการพูดคุยมีความคืบหน้าก็ไม่แน่ว่า ในอนาคตอาจมีรถไฟความเร็วสูงจากประเทศจีนเชื่อมต่อมาทางจังหวัดหนองคาย- กรุงเทพฯ ไปถึงสุไหงโกลกเลยก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม หากจะทราบในความชัดเจนต้องรอรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ กลับจากต่างประเทศก่อน ตอนนี้ยังไม่มีอะไรชัดเลยไม่อยากพูด ”นายชัยวุฒิ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
headtrack
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/05/2009
Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง

PostPosted: 12/07/2010 11:12 pm    Post subject: Re: เห็นด้วย Reply with quote

Cummins wrote:
คิดเหมือน ๆ กันน่ะโดนัท ย้อนหลังไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วมีรูปแบบที่เป็นตัวอย่างอยู่แบบนึงคือการเดินรถด่วนดีเซลรางพิษณุโลก-กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ครับเป็นรถดีเซลรางสี่คัน รูปแบบการพ่วงคือ THN+ATR+ATR+THN ที่ต้องพ่วงแบบนี้เพราะ ATR ไม่มีห้องขับต้องเอา THN พ่วงหัวท้ายเพื่อให้สามารถขับไปและกลับได้ ขาไปจากกรุงเทพฯ หยุด สามเสน บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง นครสวรรค์ ชุมแสง บางมูลนาก ตะพานหิน พิจิตร และพิษณุโลกครับ ขากลับหยุดแบบเดียวกัน ใช้เวลาเดินทางจากดอนเมือง-พิษณุโลก 5 ชั่วโมง 30 นาทีครับ และถ้าถึงกรุงเทพ (หัวลำโพง) ก็จะเต็ม 6 ชั่วโมงพอดี ความเร็วเดินทางเฉลี่ย 70 กม./ชม. พอ ๆ กับรถทัวร์ เพราะตอนนั้นสายเอเซียนครสวรรค์-บางปะอิน ยังไม่เป็นสี่เลน ก็พอฟัดพอเหวี่ยงกันไหว ค่าตั๋วรถไฟแพงกว่าหน่อยนึง รถแอร์ 195 บาท รถธรรมดา 135 บาท แต่ก็ยังแพงกว่ารถทัวร์และ บขส. ซึ่งอยู่ที่ ประมาณ 150 กว่าบาท (ตอนนั้นถึงสุโขทัย 153 บาท) และ 67 บาท ตามลำดับ แต่ตอนนั้นเอกชนบริการดีมาก ๆ แต่ยังไงไม่ทราบว่าทำไมการรถไฟจึงไปยกเลิกสัมปทานตอนประมาณปี 2533 ครับแล้วมาทำสปินเตอร์พิษณุโลก-กรุงเทพ ฯ ค่าตั๋วแพงขึ้นแต่บริการแย่ลงใช้เวลาเดินทางมากขึ้น พอดีกับถนนสายนครสวรรค์-บางปะอิน ขยายสี่เลนเสร็จราว ๆ ปี 36-37 ก็เรียบร้อยเมื่อระยะเวลาสู้ไม่ได้ก็เลยต้องม้วนเสื่อไป ตอนนี้ถ้าจะเอาโครงการนี้มาพิจรณาใหม่ก็ยังโอเคอยู่ ดีเซลรางสี่คันใช้ความเร็วเดินทางเฉลี่ยให้ได้ 100 กม./ชม. กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ใช้เวลาไม่เกิน 5 ชั่วโมง ค่าตั๋วไม่เกิน 500 บาทหรือ กรุงเทพ-โคราช ใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ค่าตั๋วสัก 300-350 บาทรับรองสู้ได้สบาย ๆ ครับเพราะทุกวันนี้รถทัวร์ ยังใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 6 ชั่วโมงเต็ม ๆ ครับ วิธีการต่อสู้มีอยู่แล้วจากระบบเดิม ๆ ไม่ต้องลงทุนมากมายจนเกินไปแต่จะทำหรือไม่ทำเท่านั้นแหละครับ


ช่วงยกเลิกบริการเอกชนบนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศนั้น ฅนพิษณุโลกพูดกันให้ขรมเลยครับ...เพราะแต่ก่อนดีเซลรางวันละสามรอบนั้น เป็นที่นิยมกันจริงๆ

แม้จะมีสปรินเตอร์มาแทนก็ได้รับความนิยมในช่วงแรกไม่ถึงสิบปีดี แล้วจากนั้นไม่กี่ปีก็หายไปวันละรอบจนเหลือขบวน 3/4 ที่ขยายปลายทางถึงสวรรคโลกนั่นแล...

ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งที่ขบวนรถไฟ InterCity ของเราสู้รถทัวร์ลำบาก นอกจากในเรื่องของการแข่งขันด้านการบริการแล้ว ความหลากหลายของเวลายังน้อยกว่า

รถทัวร์มีให้เลือกตั้งแต่เช้ามืดจนถึงหลังเที่ยงคืน ออกชั่วโมงละสองเที่ยว บวกกับความแน่นอนของเวลาถึง
(ต้องยอมรับว่าปัจจุบันรถทัวร์ได้รับการมองว่ามีมากกว่าแล้ว) ผู้ใช้บริการย่อมเลือกสิ่งที่ตอบสนองการเดินทางของเขาได้มากกว่า

แต่ก่อนด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศมาบริการที่พิษณุโลกวันละสิบเที่ยว (รวมขบวนรถปลายทางเชียงใหม่)
แต่ทุกวันนี้จะขึ้นด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศเข้ากรุงเทพต้องรอตอนบ่าย
ทั้งๆ ที่หากเริ่มเดินทางได้แต่เช้าแล้ว ตอนบ่ายก็สามารถเดินอยู่กรุงเทพได้สบายเฉิบ...
_________________
Click on the image for full size
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow
Back to top
View user's profile Send private message
therock
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/09/2007
Posts: 1575
Location: อดีตเด็กมหาชัย

PostPosted: 12/07/2010 10:55 pm    Post subject: Reply with quote

คือจริงๆแล้วถ้าจะย้ายมาบางซื่อตัวเองต้องมีรถดีเซลรางวิ่งรับส่งจากหัวลำโพงถึงบางซื่อ
เป็นช่วงๆให้รับกับขบวนรถเพื่อขนส่งคน ไม่ใช่ว่าตามบุญตามกรรมให้ผู้โดยสารหาทางไปเอง
ปล. เหมือนกับความคิดตอนซ่อมสะพานพระราม 6 ย้ายต้นทางรถสายใต้ทุกขบวนไปสถานีธนบุรีแทนและก็ไม่สำเร็จ (น่าจะประมาณปี2530กว่าๆนะครับ)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2010 10:50 pm    Post subject: Reply with quote

digimontamer wrote:


ไม่เช่นนั้นก็อาจจะต้อง ย้ายต้นทางของรถด่วนพิเศษ ไปเป็น บางซื่อ-พิษณุโลก แทนครับ แต่ก็จะไปเข้าตำราเดียวกับอดีตรถเร็ว ข.115/116 เนื่องจากบางซื่อนั้นพอลงรถแล้ว จะเดินทางไปจุดอื่นๆก็ไม่สะดวกเหมือนหัวลำโพง
แต่ถ้าอนาคต รถไฟฟ้าสารพัดสายสร้างเสร็จ ชุมทางบางซื่อก็อาจจะมีการคมนาคมที่สะดวกขึ้นพอเพียงให้ย้ายต้นทางไปได้ก็ได้ครับ


ไว้มี Bangsue central ก่อนปี 2559-2560 ถึงค่อยดำริเช่นนี้ก็ได้ เพราะ ถึงเวลานั้นรีถเมล์ผ่านหน้า Bangsue Central พอๆ กะที่หัวลำโพง แน่ๆ
Back to top
View user's profile Send private message
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/05/2009
Posts: 487

PostPosted: 12/07/2010 9:24 pm    Post subject: Reply with quote

therock wrote:
ติดการจราจรอันดับ
1เลยน่าจะยมราชถ้าไม่มีอะไรพิเศษมาขวางนะ เพราะจุดตัดนี่เครื่องกั้นไม่ได้ควบคุมเองด้วย
2น่าจะแยกราชวิถี(ตึกชัย)
3น่าจะกระทรวงการต่างประเทศนะสำหรับจุดตัด


ไม่เช่นนั้นก็อาจจะต้อง ย้ายต้นทางของรถด่วนพิเศษ ไปเป็น บางซื่อ-พิษณุโลก แทนครับ แต่ก็จะไปเข้าตำราเดียวกับอดีตรถเร็ว ข.115/116 เนื่องจากบางซื่อนั้นพอลงรถแล้ว จะเดินทางไปจุดอื่นๆก็ไม่สะดวกเหมือนหัวลำโพง
แต่ถ้าอนาคต รถไฟฟ้าสารพัดสายสร้างเสร็จ ชุมทางบางซื่อก็อาจจะมีการคมนาคมที่สะดวกขึ้นพอเพียงให้ย้ายต้นทางไปได้ก็ได้ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
therock
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/09/2007
Posts: 1575
Location: อดีตเด็กมหาชัย

PostPosted: 12/07/2010 5:17 pm    Post subject: Reply with quote

ติดการจราจรอันดับ
1เลยน่าจะยมราชถ้าไม่มีอะไรพิเศษมาขวางนะ เพราะจุดตัดนี่เครื่องกั้นไม่ได้ควบคุมเองด้วย
2น่าจะแยกราชวิถี(ตึกชัย)
3น่าจะกระทรวงการต่างประเทศนะสำหรับจุดตัด
Back to top
View user's profile Send private message
donatt76
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 03/09/2006
Posts: 2587
Location: บางนา สุวรรณภูมิครับ

PostPosted: 12/07/2010 5:02 pm    Post subject: Reply with quote

ผมก็ยังคิดถึงยุค THN+ATR แบบด่วนพิษณุโลก 6 เที่ยวได้อยู่เลยครับอาจารย์...จำได้ว่าสมัยก่อนบริการดีมากๆ จนรถทัวร์บางสายยังอาย แต่พอกลายร่างเป็นสปิ้นเตอร์ ไฉนบริการถึงแย่ลงๆไม่รู้นะครับ

แนวคิดอาจารย์กิตติเรื่องราคา ผมยังว่าถ้าทำเวลามากกว่า หรือ เท่ากับรถทัวร์ ส่วนต่างของราคาตั๋วน่าจะอยู่ไปเกิน 50-70 บาทนะครับ เกินกว่านั้นเจ๊งแน่ๆ....แต่ที่สำคัญคือ "ต้องตรงเวลา"ครับ 3 ชั่วโมง หมายถึง 3 ชั่วโมง 0 นาที 0 วินาที ไม่ใช่ 3 ชัวโมง 5 นาที.....

ผมว่าถ้าใช้ Sprinter ซัก 4 คัน ออกทุกๆ 1 ชั่วโมง ความจุผู้โดยสารย่อมมากกว่ารถทัวร์แน่ๆ เพราะ Sprinter 4 คัน จะต้องใช้รถบัสถึง 6 คันในการเดินรถทีเดียวนะครับ....ยิ่งถ้าเป็นขาเข้ากรุงเทพฯ ต่อให้รถบัสซิ่งยังไง ก็จะมาติดช่วงนวนคร - กรุงเทพฯแหงๆ แต่รถไฟต้องวิ่งฉิวจนถึงปลายทาง (ถ้าบ้านเรา ให้ความสำคัญกับขนส่งมวลชน....รถไฟต้องได้ไปก่อนรถยนต์)
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 12/07/2010 4:41 pm    Post subject: เห็นด้วย Reply with quote

คิดเหมือน ๆ กันน่ะโดนัท ย้อนหลังไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วมีรูปแบบที่เป็นตัวอย่างอยู่แบบนึงคือการเดินรถด่วนดีเซลรางพิษณุโลก-กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ครับเป็นรถดีเซลรางสี่คัน รูปแบบการพ่วงคือ THN+ATR+ATR+THN ที่ต้องพ่วงแบบนี้เพราะ ATR ไม่มีห้องขับต้องเอา THN พ่วงหัวท้ายเพื่อให้สามารถขับไปและกลับได้ ขาไปจากกรุงเทพฯ หยุด สามเสน บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง นครสวรรค์ ชุมแสง บางมูลนาก ตะพานหิน พิจิตร และพิษณุโลกครับ ขากลับหยุดแบบเดียวกัน ใช้เวลาเดินทางจากดอนเมือง-พิษณุโลก 5 ชั่วโมง 30 นาทีครับ และถ้าถึงกรุงเทพ (หัวลำโพง) ก็จะเต็ม 6 ชั่วโมงพอดี ความเร็วเดินทางเฉลี่ย 70 กม./ชม. พอ ๆ กับรถทัวร์ เพราะตอนนั้นสายเอเซียนครสวรรค์-บางปะอิน ยังไม่เป็นสี่เลน ก็พอฟัดพอเหวี่ยงกันไหว ค่าตั๋วรถไฟแพงกว่าหน่อยนึง รถแอร์ 195 บาท รถธรรมดา 135 บาท แต่ก็ยังแพงกว่ารถทัวร์และ บขส. ซึ่งอยู่ที่ ประมาณ 150 กว่าบาท (ตอนนั้นถึงสุโขทัย 153 บาท) และ 67 บาท ตามลำดับ แต่ตอนนั้นเอกชนบริการดีมาก ๆ แต่ยังไงไม่ทราบว่าทำไมการรถไฟจึงไปยกเลิกสัมปทานตอนประมาณปี 2533 ครับแล้วมาทำสปินเตอร์พิษณุโลก-กรุงเทพ ฯ ค่าตั๋วแพงขึ้นแต่บริการแย่ลงใช้เวลาเดินทางมากขึ้น พอดีกับถนนสายนครสวรรค์-บางปะอิน ขยายสี่เลนเสร็จราว ๆ ปี 36-37 ก็เรียบร้อยเมื่อระยะเวลาสู้ไม่ได้ก็เลยต้องม้วนเสื่อไป ตอนนี้ถ้าจะเอาโครงการนี้มาพิจรณาใหม่ก็ยังโอเคอยู่ ดีเซลรางสี่คันใช้ความเร็วเดินทางเฉลี่ยให้ได้ 100 กม./ชม. กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ใช้เวลาไม่เกิน 5 ชั่วโมง ค่าตั๋วไม่เกิน 500 บาทหรือ กรุงเทพ-โคราช ใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ค่าตั๋วสัก 300-350 บาทรับรองสู้ได้สบาย ๆ ครับเพราะทุกวันนี้รถทัวร์ ยังใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 6 ชั่วโมงเต็ม ๆ ครับ วิธีการต่อสู้มีอยู่แล้วจากระบบเดิม ๆ ไม่ต้องลงทุนมากมายจนเกินไปแต่จะทำหรือไม่ทำเท่านั้นแหละครับ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
donatt76
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 03/09/2006
Posts: 2587
Location: บางนา สุวรรณภูมิครับ

PostPosted: 12/07/2010 4:00 pm    Post subject: Reply with quote

CENTENNIAL wrote:
รถตู้ไม่ได้มีเฉพาะระยะสั้นๆ นะครับ ระยะไกลๆ 500 กว่า กม. ก็มีด้วยนะ แถมยังมีบริการพิเศษสุดๆ รับจากหน้าประตูบ้าน และส่งถึงหน้าประตูบ้านด้วย

เหนือสิ่งอื่นใด ที่ทำให้แก้ปัญหาได้ไม่จบไม่สิ้น คือ คนไทยส่วนใหญ่มักง่าย และรักความสบายจนเกินควร เกินกรอบกฎหมาย

ถ้าไม่มีคนนั่ง รถตู้ไม่ว่าเจ้าไหนก็เจ๊ง แต่นี่คนดันชอบนั่งด้วยสิ

นอกจากนี้ ยังมี รถผีน้อย บริการด้วยครับ มีใครรู้จักรถผีน้อยบ้างไหม แต่ว่าผู้โดยสารรถผีน้อยนั้น คงไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายลูกค้าของ HSR แน่นอน


รถผีน้อยที่ใช่ประเภทที่เป็นรถพิเศษเดินเฉพาะเทศกาล และเดินตามความต้องการใช่หรือเปล่าครับ.....ยัดทะทานกันเข้าไป ผมเคยเจอทีนึงเป็นรถกระบะบรรทุกคนมามากกว่ารถบัสซะอีก

เรื่องรถตู้นี่เราไม่ต้องไปเถียงหรอกครับ ให้เจ้เกียวแกเถียงไปคนเดียวก็พอ...เมืองไทยเรานี่ก็แปลกนะครับ รถโดยสารผิดกฎหมาย ยังสามารถทำให้ถูกกฎหมายได้ในไม่กี่วัน จากรถตู้เถี่อนยังกลายเป็น ม.2 จ. ได้เลย ซักวันรถสามล้อแดงอาจจะกลายเป็น ม.2 ฮ. ก็เป็นได้นะครับ.....

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรากลับมาเรื่อง HSR กันต่อดีกว่า......

ถ้าเราจะปรับแผนออกเป็น 3 ระยะ คือ

1.ระยะปรับปรุง ภายใน 3-5 ปี: ขบวนรถที่มีอยู่เดิม จะต้องเดินตามเวลา มีระยะความถี่ห่างที่มากขึ้น.....ระยะนี้เน้นผู้โดยสารระยะสั้น หรือระยะกลาง ความเร็วเฉลี่ยที่ 90-100 km/h แน่นอนครับ หน้าที่หลักก็คือเจ้า Sprinter กับ Daewoo เน้นชุดรถให้วิ่งสั้นเพื่อการหมุนเวียน ใช้ระบบ Connecting Train (ส่วนผู้โดยสารที่จะเดินทางยาวก็ยังคงการให้บริการขบวนปกติไว้)

ระยะนี้จะทำได้คือต้อง Re-Hab เส้นทางใหม่ วางทางคู่เฉพาะช่วงที่หนาแน่น (ย้ำว่าช่วงที่หนาแน่นก่อนนะครับ ไม่ใช่ทั่วประเทศ) เพื่อให้ขบวนรถวิ่งได้ทันเวลา ด่วนพิเศษต้องตรงเวลา แม้ว่ารถธรรมดาจะต้องรอทางนานก็ตาม)

2. ระยะพัฒนา ภายใน 5-10 ปี: เป็น Mini High Speed Train วิ่งบนทางขนาด 1.00 เมตร ที่ความเร็วเฉลี่ย 120-150 km/h

เพื่อให้ขบวนรถวิ่งร่วมกับขบวนรถที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ แต่ลดระยะเวลาในการเดินทางลง เป้าหมายคือ เพื่อให้รถทางไกล สามารถแข่งขันกับ รถโดยสารประจำทางได้ ไม่ต้องสนใจหรอกครับว่ารถตู้ รถเมล์จะเป็นยังไง

Model: กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมง / กรุงเทพฯ - หาดใหญ่ ประมาณ 9-10 ชั่วโมง / กรุงเทพฯ - หนองคาย ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมง(แน่นอนครับ รถทัวร์ทำไม่ได้แน่ๆ) / กรุงเทพฯ - หาดใหญ่ ใช้เวลา 8-9 ชั่วโมง

เป้าหมายคือ แย่งส่วนแบ่งการตลาดจากรถประจำทางระยะไกล (ให้รถประจำทางเป็น Feeder ไปจังหวัดที่รถไฟไปไม่ถึง)

3. ระยะต่อยอด ภายใน 10-15 ปี: เป็น Standard High Speed Train ที่ความเร็ว 200-250 km/h.....
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 542, 543, 544 ... 547, 548, 549  Next
Page 543 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©