RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287484
ทั้งหมด:13598808
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 370, 371, 372 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2014 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

ความเห็นเรื่องรถไฟความไวสูง

Noch Hautavanija wrote:
เราอยากได้รถไฟความเร็วสูง แบบไม่ต้องกู้นอกระบบ และ... เราขอดูแผนการศึกษาการลงทุนให้ละเอียดก่อนด้วย

ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ และผู้เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูง
ระบุว่า รัฐบาลจีน ต้องการและยังมีโอกาสได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับโครงการรถไฟความเร็วสูงกับประเทศไทย

นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์
โอห์ อ้าย ซัน วิทยาลัยวิเทศศึกษา แห่ง เอส ราชารัตนาม

รัฐบาลจีนยังสนใจและมีโอกาสร่วมทุนกับไทยในโครงการรถไฟความเร็วสูงต่อ เพื่อเชื่อมจีน ลาว ไทย มาเลเซีย ลงไปถึงสิงคโปร์ ตาม ***แผน MOU ที่ไทยกับจีนเตรียมเพื่อจะลงนามกันไว้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว*** นอกจากนี้ยังมีการพูดถึง MOU ที่ไทยเซ็นกับรัฐบาลจีนปีก่อน ในสมัยรัฐบาลนี้ ที่เสนอให้จีนยอมซื้อข้าวไทย เพื่อแลกกับการชำระหนี้ได้ด้วยเช่นกัน

นักวิชาการจากสิงคโปร์ท่านนี้แนะนำให้จีนอดทนไปก่อน

China Business News - Shanghai

ทั้งนี้ พรบ.กู้ 2 ล้านล้าน ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ล้มพับแผนร่วมทุนกับจีนทำให้ต้องหยุดชะงักเรื่องนี้ไป จีนก็สบโอกาสแสดงตัวแต่เนิ่นๆ ในการที่

1.จะกลับไปร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงเหมือนเดิมที่เคยคุยกันไว้นานแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยที่รัฐบาลไทย ไม่ได้ดันทุรังไปกู้นอกระบบถึง 2 ล้านล้าน และ
2.ยังเสนอจะช่วยรับซื้อข้าวคุณภาพต่ำในโกดัง ที่เป็นผลจากการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อีกด้วย
...

https://www.facebook.com/NochPH/posts/10202585674977547
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2014 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยต่อ "รถไฟความเร็วสูง" 4 สาย เร่งสปีด "พิษณุโลก-เชียงใหม่"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
14 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 16:13:11 น.

เงินกู้ 2 ล้านล้านไม่มี...ไฮสปีดเทรน 4 สาย ใช้เงินลงทุนร่วม 783,299 ล้านบาท จะได้ไปต่อไหม ? เป็นคำถามที่ใครหลายคนอยากจะได้คำตอบ

พลันที่ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...ต้องชะลอรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) แบบไม่มีกำหนด ลุยศึกษาต่อ-เร่งอีไอเอจบปีนี้

"จุฬา สุขมานพ" ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สนข.ยังเดินหน้าศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สายทาง ได้แก่

สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
สายกรุงเทพฯ-หนองคาย และ
สายกรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์

ส่วนสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งก็กำลังศึกษา โดยจะเร่งศึกษาและทำอีไอเอหรือรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเฟสแรกให้แล้วเสร็จในปีนี้ คือ สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ส่วนสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และ สายกรุงเทพฯ-หัวหิน กำลังปรับแก้รายงานอีไอเอ จะเสนอได้เร็ว ๆ นี้ ทุกสายจะเร่งอีไอเอให้จบปีนี้

นำร่อง กทม.-พิษณุโลก

หลังมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว จะนำโครงการพร้อมประมูล คือสายเหนือจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ให้รัฐบาลชุดใหม่อนุมัติต่อไป หลังประเมินแล้วประเทศไทยควรจะเร่งผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาสักสายเพื่อพัฒนาประเทศเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งแหล่งเงินลงทุนจะใช้เงินกู้เหมือนกับโครงการรถไฟฟ้า

"เฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 382 กม. จะใช้ค่าก่อสร้าง 193,206 ล้านบาท สร้างไปตามแนวรถไฟเดิมมี 7 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก"

เคาะเส้นทางไปเชียงใหม่

ขณะที่เฟส 2 "พิษณุโลก-เชียงใหม่" ผอ.สนข.กล่าวว่า จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์นี้ ระยะทาง 363 กม. โดยจะปรับแนวใหม่ เบี่ยงมาทางพื้นที่ จ.สุโขทัย สร้างคู่ขนานไปกับถนนสายพิษณุโลก-สุโขทัย แล้วตัดเข้าสู่ถนนสาย 101 ผ่าน อ.ศรีสำโรง และ สวรรคโลก จากนั้นตรงไป อ.ศรีสัชนาลัย อ.วังชิ้น อ.แม่ทะ ไปบรรจบกับรถไฟสายเดิมที่ จ.ลำปาง ผ่าน อ.ห้างฉัตร แล้วเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาช่วงรอยต่อเขาขุนตาลและเขาผาเมือง ก่อนตัดเข้า จ.ลำพูน มาสิ้นสุดที่เชียงใหม่ มี 5 สถานี คือ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ จะใช้เงินก่อสร้างประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยตลอดทั้งเส้น "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" ระยะทางจะสั้นลงเหลือ 669 กม. มีเวนคืน 5,835 ไร่ จำนวน 1,750 แปลง

"เลือกแนวผ่านศรีสัชนาลัย จะเป็นการเปิดพื้นที่พัฒนาใหม่ และเสริมการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลก" ผอ.สนข.กล่าวย้ำ

เปิดแนวอีก 3 สาย

สำหรับสายอีสาน "กรุงเทพฯ-หนองคาย" ระยะทาง 615 กม. วงเงิน 170,450 ล้านบาท เกาะแนวเส้นทางรถไฟเดิม ผ่าน 7 จังหวัด ต่อจากกรุงเทพฯผ่านปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย

เฟสแรก "กรุงเทพฯ-นครราชสีมา" ระยะทาง 256 กม. ใช้เงินลงทุน 123,950 ล้านบาท มี 3 สถานี คือ สถานีสระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา เพราะจะใช้โครงสร้างร่วมกับรถไฟสายเหนือช่วง "บางซื่อ-บ้านภาชี" ระยะทาง 84 กิโลเมตร คาดว่าจะมีเวนคืนที่ดิน 1,600 ไร่ วงเงิน 8,000 ล้านบาท

ส่วนเฟส 2 "นครราชสีมา-หนองคาย" ระยะทาง 359 กม. จะสร้างช้าจากเฟสแรก 2 ปี มี 5 สถานี ต่อจากนครราชสีมา เป็นสถานีบัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ปัจจุบันได้งบประมาณปี 2557 วงเงิน 199 ล้านบาท ศึกษารายละเอียดโครงการแล้ว หากแล้วเสร็จสายนี้จะเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงของจีนสร้างมารอที่ฝั่ง สปป.ลาว

สำหรับสายใต้ "กรุงเทพฯ-หัวหิน" ได้ข้อสรุปแนวเส้นทางและรูปแบบสถานี รอฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ครั้งสุดท้ายหลังปรับตำแหน่งสถานีใหม่ โดย "สนข." ตั้งเป้าภายในปีนี้ทุกอย่างจะแล้วเสร็จรอรัฐบาลใหม่มาสานต่อ

แนวเส้นทางพาดผ่าน 5 จังหวัด สร้างอยู่แนวรถไฟเดิม ระยะทาง 209 กม. จาก "สถานีบางซื่อ" วิ่งไปตามแนวรถไฟสายใต้ไปสิ้นสุดที่ ต.บ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มี 4 สถานี ถัด "สถานีบางซื่อ" เป็นสถานีนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และหัวหิน สร้างอยู่บนสถานีรถไฟเดิม 1 แห่ง คือ สถานีนครปฐมอีก 3 สถานีอยู่บนพื้นที่ใหม่ จะมีเวนคืนที่ดิน 900 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 4,310 หลังคาเรือน เงินลงทุน 98,399 ล้านบาท

สายตะวันออกจอดป้ายที่ศรีราชา

สุดท้ายสายตะวันออก "กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง" ระยะทาง 221 กม. เงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท สร้างไปตามแนวรถไฟเดิมมี 7 สถานี เริ่มต้นที่สถานีบางซื่อแล้วเกาะแนวทางรถไฟสายตะวันออกผ่านพญาไท มักกะสัน ลาดกระบัง ช่วงนี้จะใช้สถานีและแนวเส้นทางร่วมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

จากนั้นผ่าน จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา และสิ้นสุดที่ระยอง โดยจุดที่ตั้ง "สถานีฉะเชิงเทรา" ขยับไปทางเหนือห่างจากสถานีเดิมประมาณ 1 กม. "สถานีชลบุรี" อยู่ที่เดิม "สถานีพัทยา" อยู่ที่สถานีเดิมตรงพัทยากลาง และ "สถานีระยอง" อยู่ที่ใหม่บริเวณถนนบายพาสระยอง

ปัจจุบันการศึกษาความเหมาะสมเสร็จแล้ว กำลังเริ่มศึกษารายละเอียดโครงการ แนวโน้มอาจจะเพิ่ม 1 สถานี "ที่ศรีราชา" รอเคาะความชัดเจนอีกครั้งในเดือนสิงหาคมนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2014 6:47 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ขึ้นเชียงใหม่จัดเวทีชี้แจง-รับฟังโครงการรถไฟเร็วสูงระยะ 2


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 กุมภาพันธ์ 2557 15:15 น.


ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จัดเวทีชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ เบื้องต้นกำหนด 3 แนวทางเลือก คาดอีกประมาณ 1 ปีได้ข้อสรุป ชี้ได้ประโยชน์ช่วยกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจสู่ต่างจังหวัด

วันนี้ (13 ก.พ.) นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอความสำคัญ ขอบเขตการดำเนินงานและรูปแบบแนวเส้นทางเลือก โดยมีผู้แทนหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนเข้าร่วมประมาณ 200 คน ที่โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรกล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้เพื่อนำเสนอแนวเส้นทางเลือกของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ 3 แนวเส้นทางเลือก โดยเริ่มจากจังหวัดพิษณุโลก จะผ่านอำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองพิษณุโลก และอำเภอพรหมพิราม เข้าสู่ทางเลือก ประกอบด้วย
แนวทางเลือกที่ 1 เป็นแนวเส้นทางที่ใช้ทางรถไฟเดิมเป็นหลัก โดยปรับรัศมีโค้งบางส่วนเพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วที่ต้องการได้ ระยะทางประมาณ 299 กิโลเมตร มี 5 สถานี ได้แก่ อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

ขณะที่แนวทางเลือกที่ 2 เป็นแนวเส้นทางที่ปรับเข้าใกล้ตัวเมืองจังหวัดแพร่ โดยแยกออกที่อำเภอห้วยไร่ จังหวัดแพร่ และวกกลับเข้าเส้นทางรถไฟเดิมที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร มี 5 สถานี ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

ส่วนแนวทางเลือกที่ 3 เป็นแนวเส้นทางใหม่ที่แยกจากจังหวัดพิษณุโลกเข้าจังหวัดสุโขทัย ไปทางอำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสัชนาลัย แล้วผ่านเข้าเมืองลำปาง ระยะทางประมาณ 293 กิโลเมตร มี 5 สถานี ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ โดยที่ช่วงลำปาง-เชียงใหม่ ทุกทางเลือกจะวิ่งไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงบริเวณดอยขุนตาล จากนั้นจะมีการตัดแนวเส้นทางใหม่เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้ และจะวิ่งตามแนวเดิมจนถึงเชียงใหม่

สำหรับหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมที่สุดจะเปรียบเทียบและให้คะแนนครอบคลุมปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม เช่น ระยะเวลาในการเดินทาง ความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างและเวนคืน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น คุณภาพอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ มีพื้นที่ที่ต้องตัดแนวเส้นทางใหม่และผ่านภูเขาสูง โดยที่ในส่วนที่ตั้งของสถานีรถไฟความเร็วสูงจะมีการพิจารณารายละเอียดและกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด เช่น มีที่ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองในระยะ 1-5 กิโลเมตร มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับถนนสายหลักรองรับ ประชาชนสามารถสัญจรเข้าถึงได้อย่างสะดวก และเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองสูง เป็นต้น ซึ่งทุกขั้นตอนจะมีการศึกษาวิเคราะห์ทุกด้านอย่างรอบคอบ

นอกจากนี้ นายจุฬาบอกว่า โครงการศึกษาฯ นี้ใช้งบประมาณ 304 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 14 เดือน ซึ่งถึงตอนนี้เริ่มดำเนินการไปแล้วประมาณ 3 เดือน เหลือเวลาดำเนินการอีกประมาณ 1 ปี ซึ่งการศึกษาเส้นทางคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จก่อน โดยในช่วงต่อจากนี้ไปจะเป็นการลงพื้นที่รายจังหวัดและเส้นทางเพื่อเก็บข้อมูลในเชิงรายละเอียดเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจเลือกเส้นทาง รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในแนวสายทาง

ขณะที่ในส่วนของโครงการนี้ที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้ 2.2 ล้านบาทนั้น หาก พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านบาทไม่ผ่านความเห็นชอบ ก็ยังสามารถใช้งบประมาณตามขั้นตอนปกติมาดำเนินการได้ แม้อาจจะทำให้เกิดความล่าช้าจากแผนเดิมบ้าง

โดยภาพรวมของการจัดเวทีรับฟังความเห็นในครั้งนี้ ส่วนใหญ่ให้การตอบรับค่อนข้างดีและเข้าใจว่าการมีรถไฟความเร็วสูงจะทำให้พื้นที่ได้รับประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เป็นการกระจายความเจริญสู่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะเมืองใหญ่ที่อยู่ในเส้นทางที่ผ่านจะกลายเป็นเมืองหลัก ใช้ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่เพียงประมาณ 3 ชั่วโมง เบื้องต้นอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ประมาณ 1,074 บาท ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกิดผลดีต่อผู้เดินทางและสามารถแข่งขันกับสายการบินโลว์คอสต์ได้ไม่ยาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2014 9:43 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เดินสายเปิดเวทีรถไฟเร็วสูงต่อ ไม่สนวิกฤตการเมือง-เงินกู้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กุมภาพันธ์ 2557 14:29 น.

สนข.ระดมความเห็น 3 จว.เหนือ เตรียมเคาะแนวรถไฟความเร็วสูงช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กุมภาพันธ์ 2557 17:34 น



ลำปาง - สนข.เดินหน้าเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ต่อ ไม่สนปัญหาการเมือง-เงินกู้

วันนี้ (12 ก.พ.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่โรงแรมลำปางเวียงทอง อ.เมือง จ.ลำปาง

โดยนำเสนอความสำคัญ ขอบเขตการดำเนินงาน และรูปแบบเส้นทางเลือก 3 เส้นทาง เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงตัดผ่าน จ.ลำปาง และ จ.แพร่ ซึ่งมีประชาชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน ทั้งใน จ.ลำปาง และ จ.แพร่ เข้าร่วมการประชุม

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า แม้สถานการณ์การเมืองจะไม่อยู่ในภาวะปกติ และการกู้เงินเพื่อทำระบบรถไฟความเร็วสูงยังมีปัญหา ซึ่งต้องรอจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ แต่การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการศึกษา และออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ ยังคงเดินหน้าต่อไป ส่วนเรื่องการกู้เงินเพื่อนำมาใช้ในโครงการ ทางกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ดำเนินการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเอง

ที่ผ่านมาจากการออกรับฟังความคิดเห็นทั้งในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ไม่มีประชาชนออกมาคัดค้าน ส่วนใหญ่จะมีความห่วงใยมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องความล่าช้า ส่วนเรื่องความโปร่งใสมีแน่นอน เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ โดยโครงการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาผลกระทบ และความเป็นไปได้ของโครงการที่จะเลือกเส้นทาง ซึ่งโครงการศึกษาระยะที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ยังคงเดินหน้าศึกษาและเปิดรับฟังความคิดเห็นในระยะที่ 2 จากนั้นก็จะมีการรวบรวม และเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา

กรณีที่โครงการรถไฟความเร็วสูงบางจุดจะต้องผ่านพื้นที่บ้านเรือนนั้น เรื่องนี้ก็ไม่เป็นกังวล เนื่องจากทางโครงการจะต้องเวนคืนพื้นที่และมีเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ทำการเกษตรมากกว่า ซึ่งหากเทียบการตัดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง จะใช้พื้นที่น้อยกว่าการตัดถนนใหม่มาก

สำหรับทางเลือก 3 เส้นทางที่เปิดให้ประชาชนได้ศึกษาทำความเข้าใจ และเสนอความคิดเข้ามาว่า ในระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ จะใช้เส้นทางใด ได้แก่

1. แนวทางที่ 1 ใช้ทางรถไฟเดิมเป็นหลัก โดยปรับรัศมีโค้งบางส่วนเพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วที่ต้องการได้ ระยะทางประมาณ 299 กิโลเมตร มี 5 สถานีจอด ใน จ.อุตรดิตถ์, อ.เด่นชัย จ.แพร่, จ.ลำปาง, จ.ลำพูน และ จ.เชียงใหม่

2. แนวทางที่ 2 ปรับเข้าใกล้ตัวเมือง จ.แพร่ โดยแยกออกที่ อ.ห้วยไร่ จ.แพร่ และวกกลับเข้าเส้นทางรถไฟเดิมที่ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร มี 5 สถานีจอดใน จ.อุตรดิตถ์, แพร่, ลำปาง, ลำพูน และเชียงใหม่

3. แนวทางที่ 3 เป็นแนวเส้นทางใหม่ที่แยกไปจาก จ.พิษณุโลก มุ่งไป จ.สุโขทัย ไปทางสวรรคโลก ศรีสัชนาลัย ผ่านเข้าลำปาง ระยะทางประมาณ 293 กิโลเมตร มี 5 สถานีจอด ใน จ.สุโขทัย, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.ลำปาง, จ.ลำพูน และเชียงใหม่


โดยขณะนี้แนวทางที่ 3 ถือว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุดจะเปรียบเทียบและให้คะแนนครอบคลุมปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ด้านวิศวกรรม เช่น ระยะเวลาในการเดินทาง ความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างและเวนคืน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น คุณภาพอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ มีพื้นที่ที่ต้องตัดแนวเส้นทางใหม่และผ่านภูเขาสูง และในส่วนตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง มีการพิจารณารายละเอียดและกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด เช่น มีที่ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองในระยะ 1-5 กม. มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับถนนสายหลักรองรับ ประชาชนสัญจรเข้าสู่สถานีได้อย่างสะดวก และเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองสูง เป็นต้น

//--------------------------------

สนข.เดินหน้าต่อรถไฟเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
โพสเมื่อ: วันอังคาร 11 กุมภาพันธ์ 2557,
หมวดหมู่: ข่าวเด่น, ข่าวเศรษฐกิจ เวลา 09.00 น.

Click on the image for full size
Click on the image for full size
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ห้องคอนเวนชั่นฮอล โรงแรมท็อปแลนด์พลาซ่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข. ) นายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอความสำคัญ ขอบเขตการดำเนินงาน และรูปแบบแนวเส้นทางเลือก พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ จากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชน ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ เข้าร่วมสัมมนากว่า 200 คน

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข. ) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สนข. เมื่อปี 2556 ดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลกแล้วเสร็จแล้ว สถานะปัจจุบัน เป็นสายที่มีความพร้อมมากที่สุดที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ จากการศึกษารถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ขณะนี้ ได้ส่งผลการศึกษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาแล้ว และมีการปรับแก้บางจุด ถ้าหากรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมผ่าน สนข. ก็จะนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่ ดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกทันที แม้ว่าปัจจุบัน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลชุดนี้ ยังมีปัญหา ยังอยู่การตีความในขั้นตอนศาลรัฐธรรมนูญ หากไม่มีปัญหา แหล่งที่มาของเงินก่อสร้างก็จะมาจากพ.ร.บ.เงินกู้ฉบับนี้ แต่หากมีปัญหา สนข.ก็จะเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ โดยกระทรวงคมนาคม ขอใช้แหล่งเงินกู้จากกระทรวงการคลัง มาพิจารณาดำเนินการก่อสร้างเป็นโครงการ ๆ ไป สำหรับการศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 เส้นทางจากสถานีพิษณุโลก ถึงสถานีเชียงใหม่นั้น สนข.จะใช้ระยะเวลาศึกษา 1 ปี และได้นำเสนอแนวทางเลือกไว้ 3 แนวทาง ประกอบด้วย

แนวทางเลือกที่ 1 เป็นแนวทางที่ใช้ทางรถไฟเดิมเป็นหลัก โดยปรับรัศมีโค้งบางส่วน เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วที่ต้องการได้ ระยะทางประมาณ 299 กิโลเมตร จากสถานีพิษณุโลก-สถานีเชียงใหม่ มี 5 สถานี ประกอบด้วย อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ซึ่งแนวทางเลือกนี้ผอ.สนข.ให้ข้อมูลว่า การก่อสร้างจะต้องใช้งบประมาณสูงจากงบที่วางไว้อีกประมาณ 20,000 ล้านบาท เนื่องจากต้องทำอุโมงค์และสะพานผ่านเขตภูเขาสูงระยะทางร่วม 50 กิโลเมตร

แนวทางเลือกที่ 2 จากพิษณุโลก-เด่นชัย ใช้แนวทางรถไฟเดิม แต่เพิ่มเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเข้าสู่จังหวัดแพร่ โดยแยกออกที่อ.ห้วยไร่ จ.แพร่ และวกกลับเข้าเส้นทางรถไฟเดิม ที่ต.แม่ทะ จ.ลำปาง ระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร มี 5 สถานี ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

แนวทางเลือกที่ 3 เป็นแนวทางเลือกเส้นทางใหม่ ที่แยกไปจากสถานีพิษณุโลก มุ่งไปทางจ..สุโขทัย ผ่านอ.สวรรคโลก อ.ศรีสัชนาลัย และผ่านเข้าเมืองลำปาง ระยะทางประมาณ 293 กิโลเมตร มี 5 สถานี ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ทางเลือกนี้ จะต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่ม ตลอดแนวระยะทางรถไฟความกว้างประมาณ 80 เมตร ทั้งนี้ในทุกทางเลือก จากสถานีลำปาง จะวิ่งไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงบริเวณดอยขุนตาลมุ่งเข้าสู่สถานีลำพูน จะมีการตัดแนวเส้นทางใหม่ เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้ จากนั้นที่สถานีลำพูนจะใช้แนวรถไฟเดิมไปจนถึงเชียงใหม่

นายจุฬา เผยต่อว่า ยังไม่ได้ตั้งธงว่าจะพิจารณาทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง สนข.จะคัดเลือกแนวทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด จะเปรียบเทียบและให้คะแนนครอบคลุมปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ด้านวิศวกรรม ความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูง ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างและเวนคืน ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม เช่น คุณภาพอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ส่วนกรณีที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลไทยจะเอาข้าวแลกรถไฟความเร็วสูงของจีนนั้น คิดว่า ยาก คงไม่จริงจัง เดิมที่รัฐบาลจีนนำเสนอเส้นทางภาคอีสานเพื่อเชื่อมต่อ แต่คิดว่ารัฐบาลไทยน่าจะกู้เงินมาทำเองมากกว่า เพราะสามารถเลือกเทคโนโลยีรถไฟที่มีตัวเลือกจากหลายประเทศ สรุปว่า แนวทางแลกเปลี่ยนข้าวเพื่อทำรถไฟในทางปฎิบัตินั้นยากมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2014 11:25 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เข็นสุดลิ่มรถไฟความเร็วสูง 4 สาย จัดขบวนให้พร้อมรอชงรัฐบาลชุดใหม่
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ
12 กุมภาพันธ์ 2557, 05:30 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ทั้ง 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง จะยังเดินหน้าต่อไป ถึงแม้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ โดยขณะนี้ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นไฮสปีดเทรน เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ในช่วงที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ หลังจากได้ข้อสรุปช่วงแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลกไปแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไออี) โดยช่วงที่ 2 คาดจะสรุปตามความเหมาะสมทางวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม และการลงทุนภายในสิ้นปี 57

“เส้นทางไหนสรุปและผ่านรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อน ก็จะนำเสนอ รมว.คมนาคม คนใหม่พิจารณา เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาเป็นอันดับแรก หากเห็นชอบก็ต้องหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาดำเนินโครงการ โดยเส้นทางแรกที่น่าทำได้ คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ส่วนกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยองนั้น หากเส้นทางไหนผ่านอีไอเอก่อนก็จะเสนอขออนุมัติดำเนินงานได้ทันที โดยกระทรวงการคลังจะต้องเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ให้ดำเนินการ”

สำหรับหลักเกณฑ์คัดเลือกแนวเส้นทาง จะพิจารณาจากความพร้อมด้านวิศวกรรม เช่น ระยะเวลาการเดินทาง ความสามารถการเข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูง ที่ควรจะมีโครงข่ายเชื่อมโยงกับถนนสายหลัก การสัญจรเข้าสู่สถานีได้สะดวก ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้าง และเวนคืน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น คุณภาพอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2014 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เชื่อ “ข้าวแลกรถไฟจีน” เกิดยาก รับรถไฟเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกสะดุด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กุมภาพันธ์ 2557 14:16 น.

พิษณุโลก - ผอ.สนข.ยันไม่เอาข้าวแลกรถไฟจีนแน่ บอกวันนี้ไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-พิษณุโลกสะดุด ต้องรอรัฐบาลใหม่ แต่ยังเดินหน้าเปิดประชาพิจารณ์รถไฟความเร็วสูงระยะ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่

วันนี้ (11 ก.พ.) นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ร่วมเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่โรงแรมท็อปแลนด์ จ.พิษณุโลก โดยมีประชาชนใน จ.พิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ เข้าร่วมประมาณ 200 คน

นายจุฬากล่าวว่า การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก น่าจะแล้วเสร็จในปลายเดือนมีนาคมนี้ ถ้าผ่านก็หางบประมาณก่อสร้างได้ต่อไป ซึ่งเดิมโครงการขนาดใหญ่ต้องใช้เงินกู้ตาม พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท แต่บังเอิญว่า พ.ร.บ.ผ่านสภาแล้ว แต่ยังไม่ผ่านการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ต้องรอ ถ้าไม่ผ่านอีกก็เป็นหน้าที่รัฐบาลจัดหาเงินกู้มาทำ โดยเลือกเป็นโครงการ อาจเลือกทำรถไฟความเร็วสูงเฉพาะกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน

กรณี พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำรถไฟความเร็วสูง แต่จะต้องหาเงินก้อนใหม่โดยกระทรวงการคลัง เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่มี 54 โครงการ อาจเลือกดึงบางโครงการมาทำก่อน คิดว่ารถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งจะต้องพิจารณาอีกครั้งว่าใช้กู้เงินในประเทศหรือต่างประเทศ

ส่วนที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่ารัฐบาลไทยจะเอาข้าวแลกรถไฟความเร็วสูงของจีนนั้น คิดว่ายาก คงไม่จริงจัง เดิมรัฐบาลจีนนำเสนอเส้นทางภาคอีสานเพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟจากจีน-สปป.ลาว แต่คิดว่ารัฐบาลไทยน่าจะกู้เงินมาทำเองมากกว่า เพราะสามารถเลือกเทคโนโลยีรถไฟ สรุปว่าแนวทางแลกเปลี่ยนข้าวเพื่อทำรถไฟในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากมาก

นายจุฬากล่าวว่า การทำรถไฟความเร็วสูงดูเหมือนใช้งบประมาณสูง แต่เมื่อเทียบกับงบประมาณก่อสร้างถนนในประเทศจะพบว่าใช้เท่ากับทำถนน 4 ปีเท่านั้น ดังนั้นรัฐบาลควรเลือกรถไฟความเร็วสูง เพราะประเทศไทยไม่ได้พัฒนาระบบรางมานาน

ซึ่งอนาคต จ.พิษณุโลกจะเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงขนาดใหญ่ ส่วนเส้นทางเชื่อมต่อจากพิษณุโลก-เชียงใหม่ วางไว้ 3 เส้นทาง คือ แนวรถไฟเดิมผ่านอุตรดิตถ์ แนวทางที่ 2 จากแนวเดิม ปรับทางเข้าใกล้ตัวเมืองแพร่ โดยแยกออกสถานีห้วยไร่เข้าแพร่ และวกกลับเข้าเส้นทางเดิมที่ ต.แม่ทะ จ.ลำปาง แนวที่ 3 เป็นเส้นทางใหม่ เข้าศรีสัชนาลัย ผ่าน จ.ลำปาง แต่แนวทางที่ 1 ใช้งบสูง เพราะมีภูเขาและเส้นทางคดเคี้ยวมาก ต้องเจาะอุโมงค์และสร้างสะพาน

ด้านนายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า สถานีรถไฟความเร็วสูงที่พิษณุโลกนั้นควรใช้สถานีเดิม จะช่วยแก้ปัญหาจราจรในเมืองพิษณุโลกอีกด้วย และเชื่อว่าภายในตัวเมืองจะมีความเจริญด้านอื่นตามมาอีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2014 11:13 am    Post subject: Reply with quote

"ลีลาจีน" ในโครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลไทย
โดย : รศ.ดร.อักษรศรี (อติสุธาโภชน์) พานิชสาส์น
คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "มองจีนมองไทย"
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
วันที่ 30 มกราคม 2557 01:00

เมื่อเร็วๆ นี้ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีนแห่งวช. ดิฉันมีโอกาสพบปะพูดคุยกับท่านทูตพาณิชย์จีน (เกา เหวินควน)

ณ สถานทูตจีนในประเทศไทย และหนึ่งในคำถามที่จีนเป็นฝ่ายหยิบยกขึ้นมาหารือ ก็คือ อภิมหาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงบนแผ่นดินไทย

ก่อนอื่นขอเท้าความว่า เมืองไทยของเรามีการขนส่งระบบรางด้วยระยะทางมากถึง 4,363 กิโลเมตร แต่ส่วนใหญ่ค่อนข้างโบราณ มีประมาณร้อยละ 60 ถูกใช้มานานมากกว่า 30 ปี ล้าสมัยและเชื่องช้าวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ยเพียง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ล่าสุด รัฐบาลไทยจะทุ่มงบประมาณร่วม 2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งระบบรถไฟ การขนส่งทางทะเล และทางอากาศ

ด้วยมูลค่ามหาศาลของโครงการนี้ ทำให้มีหลายประเทศ “จับจ้องตาเป็นมัน” โดยเฉพาะพญามังกรจีน บทความนี้ จะมาย้อนทบทวนดูว่า รัฐบาลไทยและจีนได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง ที่สำคัญ ฝ่ายจีนมีลีลาเช่นไรในการวิ่งเต้นและทำโรดโชว์ เพื่อไม่ให้พลาดอภิมหาโครงการนี้ในประเทศไทย

ด้วยเนื้อที่จำกัด ดิฉันจะไม่ขอแตะเรื่องงบ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลไทยชุดนี้ แต่จะขอเน้นไล่เรียงรวบรวมท่าทีของฝ่ายจีนที่ได้ให้ความสนใจอภิมหาโครงการนี้อย่างชัดเจน รวมทั้งจีนมี “ลีลาใหม่” ในการผลักดันเรื่องนี้อย่างน่าสนใจค่ะ

หากจำกันได้ เมื่อเดือนตุลาคม 2013 ที่ผ่านมา องค์การรถไฟแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (รฟจ.) ได้เข้ามาจัดงาน "นิทรรศการรถไฟความเร็วสูงของจีน" ในประเทศไทย ถึงขนาดที่มีหนึ่งในผู้นำระดับสูงสุดของจีนอย่างท่านนายกรัฐมนตรี หลี่เค่อเฉียง บินมาเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการนี้ด้วยตัวเอง เพื่อทำโรดโชว์โครงการรถไฟความเร็วสูงของจีนในเมืองไทย

ฝ่ายจีนได้มีการจัดแสดงนิทรรศการฯ นี้ที่สถานีมักกะสันกรุงเทพฯ นานหนึ่งเดือน เพื่ออวดโชว์ว่า จีนมีเทคโนโลยีทันสมัยและมีโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงทั่วแผ่นดินจีน ทั้งหมดก็เพื่อจะอวดศักดาว่า “รถไฟความเร็วสูงของจีนพร้อมที่จะบุกตลาดไทยแลนด์แดนสยามแล้วนะ” และฝ่ายจีนพยายามเน้นจุดแข็ง เช่น จีนมีเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเองและมีต้นทุนต่ำ มีความทันสมัย พร้อมยกตัวอย่างว่า จีนมีประสบการณ์ในการสร้างและเดินรถไฟในเขตโซนร้อน เช่น รถไฟความเร็วสูงด้านตะวันออกของเกาะไห่หนาน (ไหหลำ) ซึ่งมีภูมิอากาศและลักษณะภูมิประเทศคล้ายคลึงกับจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยก็ได้เปิดแขนอ้ารับจีนในเรื่องนี้มาตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2012 โดยนายกรัฐมนตรีหญิงไทยคนแรกและสวยที่สุดในโลกได้บินไปใส่ชุดกี่เพ้าจีนในกลางกรุงปักกิ่ง เพื่อเป็นสักขีพยานการลงนามใน “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านรถไฟ” หรือ MOU (Memorandum of Understanding Concerning Feasibility Study for Cooperation on railway Development Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China) ระหว่างสองประเทศ และได้จัดตั้ง “คณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรี” เพื่อเป็นกลไกในการประสานงานและขยายผลความร่วมมือด้านรถไฟ ไทย-จีน แถมยังได้ระบุเน้นรถไฟสายกรุงเทพ - เชียงใหม่ไว้ใน MOU นี้ด้วย !!!

ที่น่าฉงน คือ การระบุข้อความใน MOU เพื่อให้จีนเป็นฝ่าย (เดียว) ทำการศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย นอกจากนี้ ฝ่ายจีนยังได้รุกหนักในการจัดโครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านรถไฟความเร็วสูงให้กับเจ้าหน้าที่ไทย เรียกว่า งานนี้ เสี่ย (จีน) สั่งลุยโดยยอมควักกระเป๋าจ่ายค่าเหนื่อย (แต่คาดว่าจะคุ้ม) ด้วยตัวเอง

ล่าสุด ทางสถานทูตจีนในไทยยังได้เป็นเจ้ามือในการเชิญคณะสื่อมวลชนไทยให้บินไปจีนเพื่อทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงในจีน เพื่ออวดโชว์และพยายาม (อย่างหนัก) ในการตอกย้ำความมั่นใจศักยภาพของตนเอง ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการยื่นซองประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงในไทยต่อไป

น้องนักข่าวไทยที่ร่วมคณะไปดูงานครั้งนี้เล่าให้ฟังว่า “จีนมุ่งมั่นและย้ำตลอดเวลาว่า ฝ่ายจีนมีความโดดเด่นเรื่องต้นทุนต่ำแต่ประสิทธิภาพสูงไม่แพ้ชาติไหน แถมยังเป็นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

หลายครั้งที่ดิฉันได้ไปพูดคุยหารือกับจีน ก็จะได้ยินเรื่องเล่าเดียวกันว่า “มีเพียงรถไฟความเร็วสูงสายผู่ตง เซี่ยงไฮ้ เพียงสายเดียวที่จีนยอมจ่ายเงินเพื่อให้กลุ่มซิเมนต์ของเยอรมนีเข้ามาก่อสร้าง หลังจากนั้น ทีมงานของจีนก็ได้ปรับพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของตนเองและจดลิขสิทธิ์แล้ว” สำหรับรถไฟความเร็วสูงสายแรกของจีนที่สร้างเอง คือ สายปักกิ่ง-เทียนจิน เปิดใช้ตั้งแต่ปี 1998 จนถึงขณะนี้ จีนมีโครงข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่ให้บริการจริงได้มากกว่า 10,000 กิโลเมตร

น้องนักข่าวเล่าเพิ่มเติมว่า “จีนยังได้ส่งออกอุปกรณ์ชิ้นส่วนรถไฟ และออกไปก่อสร้างระบบรถไฟในหลายประเทศ เช่น ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย ส่วนที่อยู่ระหว่างเจรจา เช่น เอธิโอเปีย และโรมาเนีย”

ก่อนจบขอย้ำว่า ดิฉันไม่ได้ปฏิเสธการเข้ามาลงทุนของจีนในโครงการรถไฟความเร็วสูงในไทยนะคะ ที่จริงแล้ว ดิฉันสนับสนุนให้มีการ “ยกเครื่อง” ระบบรางของไทยขนานใหญ่ เพื่อความทันสมัย และเพื่อประหยัดพลังงานหันมาใช้การขนส่งระบบรางแทนการขนส่งทางถนนให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ด้วยมูลค่าโครงการที่สูงมหาศาลและจะเป็นภาระหนี้ก้อนโตให้กับคนรุ่นต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดสินใจในเรื่องนี้ด้วยความระมัดระวัง และจะต้องมีกลไกตรวจสอบป้องกันการคอร์รัปชันโกงกิน โดยเฉพาะการเข้ามารุม “ทำมาหารับประทาน” ของพวกนักการเมืองบางกลุ่มและพรรคพวกที่คอยวิ่งเต้นเพื่อเก็บกิน “เงินทอน” จากอภิมหาเมกะโปรเจคนี้ต่อไปค่ะ
Back to top
View user's profile Send private message
srinopkun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010
Posts: 2877
Location: นครปฐม

PostPosted: 24/01/2014 7:52 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.ประเมินลงทุนรถไฟความเร็วสูง ชง รบ.ใหม่เลือกแค่บางสายที่คุ้มค่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มกราคม 2557 19:37 น.

----------
----------

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนข.กำลังประเมินการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง วงเงินลงทุน 783,229 ล้านบาท เพื่อนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา ประเด็นแรกคือจะเดินหน้าโครงการต่อหรือไม่ หากเห็นด้วย สนข.จะเสนอ 2 แนวทาง คือ 1. ลงทุนสายใดสายหนึ่งทั้งโครงการ โดยเลือกระหว่างสายเหนือ (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่) หรือสายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย) 2. ลงทุนเฉพาะเฟสแรกของทั้งสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการศีกษาผลตอบแทนการลงทุน (EIRR) ประโยชน์ที่จะเกิดแก่ประเทศในภาพรวมสูงสุด ประกอบการพิจารณา ยืนยันว่าประเทศไทยควรมีรถไฟความเร็วสูงและควรเริ่มต้นโครงการได้แล้ว หากยิ่งล่าช้าออกไปยิ่งทำให้มูลค่าการลงทุนจะเพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่า 10% จากค่าเวนคืน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน ที่ปรับขึ้นทุกปี

-----------
-----------



ใครไปถามเรื่องรถไฟความเร็วสูงละ แกตอบคล่องแคล่วปรู๊ดปร๊าดเลยเชียว

emot123



ลองใครไปถามเรื่อง "ทางคู่" ทั่วประเทศสิ

emot131



ฮา ......

เดี๋ยวมีทีมไปตรวจสอบแน่ คุณพี่ ไม่ต้องห่วงครับ

อย่าเพิ่งลุกจากเก้าอี้ หนีไปไหนซะก่อนละ

emot115
Back to top
View user's profile Send private message
srinopkun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010
Posts: 2877
Location: นครปฐม

PostPosted: 24/01/2014 7:45 am    Post subject: Reply with quote

แหม เขียนแล้ว "ของขึ้น"

ขอแถมอีกหน่อยเหอะ

ทำ "ทางคู่" แล้วติดตั้งระบบไฟฟ้า แล้วลองนำรถจักร/รถพ่วง ที่ใช้ระบบไฟฟ้ามาวิ่งดูก่อน ว่าไฟพอมั้ย ติดขัดมั้ย ใช้ควบคู่ไปกับรถแบบเดิมๆ (เครื่องยนต์ดีเซล)

พอมีประสบการณ์การใช้ไฟฟ้าในการเดินรถทั้งประเทศ ว่าหาแหล่งไฟฟ้าจากไหน ระบบเป็นไง แล้วค่อยพัฒนาต่อยอดไปเผื่ออนาคต--->รถไฟความเร็วสูง

เฮอะ ๆ ๆ ไฟฟ้า ยังต้องซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านเลยนะครับ

------------------------

อ้อ อีกอย่างคือ "บุคลากร" จะเอาจากไหน ที่สร้างกันอยู่นี่จากมหาวิทยาลัยแห่งสองแห่ง

พอเหรอ ????

ปีหนึ่ง ๆ ๆ ผลิตบุคลากรได้กี่ % ของความต้องการ ???

ไหนจะรถไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกตั้งหลายสายในปี สองปี สามปี ต่อๆไปนี้อีกล่ะ

-------------------


อู้ย เขียนแล้วคันมือ พูดแล้วคันปากครับ

Twisted Evil Twisted Evil Twisted Evil Twisted Evil Twisted Evil
Back to top
View user's profile Send private message
srinopkun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010
Posts: 2877
Location: นครปฐม

PostPosted: 24/01/2014 7:36 am    Post subject: Reply with quote

^
^
^
ใช่ครับ เราไม่เคยถามตัวเอง และบางคนก็ยิ่งร้ายไปกว่านั้นคือ "หลอกตัวเอง"

ว่า ... ทำแล้วคุ้มไหม, ทำแล้วใครจะโดยสาร

คิดแต่ว่าจะได้ค่าคอมมิสชั่นจากโครงการ, คิดแต่ว่าเงินที่ลงทุนมันเสกขึ้นมาได้ หรือมีกองอยู่ต่อหน้า

ทำอะไรคิดแต่จะได้ ๆ ๆ หน้ามืดตามัวกันไปหมด

"ทางคู่" ทั่วประเทศ ทำได้ ไม่ต้องกู้เงินมากมายมหาศาลขนาดเท่ารถไฟความเร็วสูง ไม่เห็นทำซักที

ทำซะให้ครบทั่วทุกสายทางและก็ทำทางที่วางแผนไว้เป็นสิบๆปีให้แล้วเสร็จก่อนเหอะ ค่อยมาว่ากันเรื่องรถไฟความเร็วสูง



เอะอะก็กู้ ๆ ๆ คนรุ่นหลังจะต้องตามใช้หนี้อีกกี่ชั่วอายุคน

emot153
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 370, 371, 372 ... 549, 550, 551  Next
Page 371 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©