Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311330
ทั่วไป:13291791
ทั้งหมด:13603121
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 541, 542, 543 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 28/08/2010 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

984 บาท ราคานี้ยอมรับได้ครับ ถือว่าถูกมาก (เห็นว่าเป็นราคาสูงสุด คงจะเป็นรถชั้น 1 แต่ถ้าชั้น 2 น่าจะถูกกว่านี้)
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2010 2:35 pm    Post subject: Reply with quote

ยังไม่ทันสร้าง! รถไฟฯเคาะค่าตั๋วไฮสปีดเทรน กรุงเทพ-หนองคาย 984บาท วิ่งแค่ 3 ชม. ระยอง1ชม.10นาที

มติชนออนไลน์ 28 สิงหาคม 2553 เวลา 09:31:24 น.
.
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการเดินทางเยือนประเทศจีน ถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในการพัฒนาระบบรางจีน-ไทย-มาเลเซีย ว่า จีนสนใจจะลงทุน รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร และกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 220 กิโลเมตร กำหนดเวลาก่อสร้างภายใน 5 ปี ขนาดรางจะมีความกว้าง 1.43 เมตร (สเเตนดาร์ด เกจ) ส่วนรูปแบบการลงทุนเห็นว่าควรเป็นลักษณะรัฐต่อรัฐ โดยจีนลงทุนก่อสร้างรางในที่ดินของไทย และมีการใช้ประโยชน์ในการขนส่งบนรางโดยเอกชนที่ใช้บริการจะเสียค่าใช้ประโยชน์บนราง ทั้งนี้ได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากที่ดินของ ร.ฟ.ท.


แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเเจ้งว่า เส้นทางที่จีนสนใจลงทุนมี 2 เส้นทาง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการศึกษาแล้ว มูลค่าโครงการรวมอยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท โดยเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง รองรับผู้โดยสาร 41,000 คนต่อวัน ค่าโดยสารสูงสุดต่อเที่ยวอยู่ที่ 984 บาทต่อคนต่อเที่ยว และเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพฯ-บันนังสตา ระยะทาง 982 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง รองรับผู้โดยสาร 44,200 คนต่อวัน ทั้งนี้ เส้นทางดังกล่าวจะมีการลงทุนเพิ่มเติมอีก 2.4 เเสนล้านบาท


เเหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมเเจ้งว่า ในส่วนของเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง คาดว่าจะใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 10 นาที งบฯลงทุนประมาณ 56,600 ล้านบาท เก็บค่าโดยสารประมาณ 350 บาทต่อคนต่อเที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/05/2009
Posts: 487

PostPosted: 27/08/2010 9:00 pm    Post subject: Reply with quote

แบบนี้ อนาคตก็อาจจะได้ชมอุโมงค์รถไฟขนาดใหญ่ใกล้ๆกรุงเทพ ไม่ต้องถ่อไปถึงขุนตานกันแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 27/08/2010 11:40 am    Post subject: Reply with quote

ถ้างั้น ผมคงมีสิทธิ์ลุ้นนอนกางเต๊นท์ชมดาวตอนหลังเกษียณล่ะครับ คุณเอ็ม Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 27/08/2010 11:37 am    Post subject: Reply with quote

^
^
พี่ตึ๋งครับ ถ้าพิจารณาจากภูมิประเทศแล้ว บริเวณนั้นไม่ใช่ว่ามีภูเขามาขวางอย่างเดียว แต่ยังต้องเป็นการแล่นขึ้นที่ลาดชันเพื่อขึ้นไปยังพื้นที่ราบสูงของภาคอิสานด้วย

ฉะนั้นแล้ว 1 ใน วิธีการทางวิศวกรรมในเส้นทางรถไฟใหม่ช่วงนี้ เืพื่อเป็นการลดความลาดชัน และสามารถให้ทำความเร็วได้ด้วยแล้ว
การสร้างเส้นทางให้เป็นแบบ Spiral Curve Tunnel ก็น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้อย่างสูงมากเลยครับ

แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นจริง พวกเราจะมีสวนหย่อม หรือสถานที่กางเต๊นท์ ชมรถไฟแห่งใหม่เลยครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 27/08/2010 11:31 am    Post subject: Reply with quote

สักวันในอนาคต เราคงต้องเดินเท้าขึ้นไปชมผาเสด็จ แทนที่จะเห็นระยะประชิดหน้าต่างรถไฟในทุกวันนี้ แต่เปลี่ยนเป็นการเดินลอดอุโมงค์แทน

สงสัยว่าจะเป็นแบบ spiral curve tunnel หรือเปล่าครับ ? เพราะเป็นอุโมงค์รถไฟทางคู่ แถมมีความยาวตั้ง 5 กม.อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2010 9:57 am    Post subject: Reply with quote

คลอดแบบร่างรถไฟรางคู่ สายอีสาน ๒ หมื่นล. เสนอสนข.-กก.สิ่งแวดล้อม
โดย นายภูษิต ชัยฤทธิพงศ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร
โคราชรายวัน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๑๙๕๔ วันที่ ๒๔-๒๖ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓
ออนไลน์เมื่อ 26 สิงหาคม 2010 00:16


นำร่องรับมติครม. สร้างรถไฟรางคู่สายอีสาน ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ผ่าน ๒๑ สถานีรองรับขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ ล่าสุดบริษัทที่ปรึกษาร่างแบบแล้วเสร็จ ค่าก่อสร้างพุ่ง ๒ หมื่นล้าน เตรียมเสนอสนข.-กก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา หลังต้องปรับแบบสร้างอุโมงค์ยาว ๕ กม. เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ต้นน้ำลำธาร

จากการศึกษาความเหมาะสมและออก แบบเบื้องต้นระบบรถไฟรางคู่ ๓ เส้นทาง ที่จะพิจารณาดำเนินการก่อสร้างในปลายปี ๒๕๕๓ รวมระยะทาง ๔๑๔.๗๙ กิโลเมตร งบประมาณการก่อสร้าง ๓๕,๕๐๐ ล้านบาท ได้แก่

๑. สายเหนือ ช่วงลพบุรี-นครสวรรค์ ระยะทาง ๑๑๓ กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้าง ๗,๘๖๐ ล้านบาท

๒. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง ๑๓๒ กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้าง ๑๑,๖๔๐ ล้านบาท และ

๓. สายใต้ ช่วงนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง ๑๖๕ กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้าง ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะที่ ๑) ซึ่งกระทรวงคมนาคมมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ดำเนินการอยู่ในขณะนี้

สำหรับสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่สถานีรถไฟมาบกะเบา จังหวัดสระบุรี มาถึงชุมทางรถไฟจิระ จังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทาง ๑๓๒ กิโลเมตรนั้น หลังจากสนข.ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด, บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด, บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท สแปน จำกัด และบริษัท พีบี เอเชีย จำกัด ลงพื้นที่ศึกษาความเหมาะสมตามแนวเส้นทางและออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น พร้อมทั้งเปิดเวทีกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ตามที่ “โคราชรายวัน คนอีสาน” เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าการออกแบบรายละเอียดแนวเส้นทาง ล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) โดยนายภูษิต ชัยฤทธิพงศ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร เปิดเผยกับ “โคราชรายวัน คนอีสาน” ว่า ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดระบบรางคู่เบื้องต้นแล้ว ในเส้นทางมาบกะเบา-นครราชสีมา รวมระยะทาง ๑๓๒ กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางยึดแนวเส้นทางเดิม และแนวเส้นทางใหม่บางส่วน ซึ่งระยะทางทั้งหมดจะผ่านเขตจังหวัดสระบุรี อำเภอแก่งคอย และอำเภอมวกเหล็ก, จังหวัดนครราชสีมา อำเภอปากช่อง, สีคิ้ว, สูงเนิน และอำเภอเมือง เริ่มจาก

สถานีมาบกะเบา,
สถานีมวกเหล็ก,
สถานีกลางดง,
สถานีปางอโศก,
สถานีบันไดม้า,
สถานีปากช่อง,
สถานีซับม่วง,
สถานีจันทึก,
สถานีคลองขนานจิตร,
สถานีคลองไผ่,
สถานีลาดบัวขาว,
สถานีบ้านใหม่สำโรง,
สถานีหนองน้ำขุ่น,
สถานีสีคิ้ว,
สถานีโคกสะอาด,
สถานีสูงเนิน,
สถานีกุดจิก (Container Yard),
สถานีโคกกรวด,
สถานีภูเขาลาด,
สถานีรถไฟนครราชสีมา และ
มาสิ้นสุดเส้นทางที่ชุมทางรถไฟจิระ

นายภูษิต กล่าวต่อไปว่า สำหรับการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟรางคู่ ๓ เส้นทางนำร่องนั้น สายเหนือ ช่วงลพบุรี-นครสวรรค์ และสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา มีอุปสรรคในการออกแบบรายละเอียดเส้นทางมากกว่าสายใต้ ช่วงนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน เนื่องจากต้องผ่านพื้นที่ที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการออกแบบรายละเอียดสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ซึ่งบางส่วนเป็นแนวเส้นทางใหม่ ดังนั้น ระยะทางเริ่มต้นจากสถานีรถไฟมาบกะเมา มาถึงช่วงสถานีรถไฟผาเสด็จ ซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ 1B และมีความลาดชันในการทำความเร็วสำหรับระบบรางคู่ ทำให้บริษัทที่ปรึกษาจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงแนวเส้นทางบริเวณดังกล่าวที่จะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยออกแบบแนวเส้นทางให้เป็นอุโมงค์ ความยาว ๕ กิโลเมตรซึ่งอุโมงค์ดังกล่าวจะอยู่ด้านล่างพื้นที่ลุ่มน้ำ 1B ซึ่งอยู่ในบริเวณยอดเขา

“อย่างไรก็ตาม การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นระบบรถไฟรางคู่ เส้นทางมาบกะเบา-นครราชสีมา มีความคืบหน้าไปมากแล้ว ขณะนี้รอบริษัทที่ปรึกษาสรุปแบบรายงานมายังสนข. ก่อนที่จะนำเข้าที่ประชุมสนข. และนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาแนวเส้นทางตามที่บริษัทที่ปรึกษาได้ออกแบบไว้ ซึ่งกรอบการส่งมอบงานของบริษัทที่ปรึกษาจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ และหากทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จะนำเสนอต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเพื่อเดินหน้าก่อสร้างต่อไป” นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ จากสนข. กล่าวในท้ายสุด

ด้านนายไกรวุฒิ สิมธาราแก้ว วิศวกรจราจร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่างแบบแนวเส้นทางก่อสร้างระบบรถไฟรางคู่ สายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา มีความพร้อมที่จะนำเสนอให้สนข. และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งภายหลังจากการศึกษาความเหมาะสม โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มน้ำ 1B และความลาดชัน บริเวณช่วงสถานีรถไฟมาบกะเบาถึงผาเสด็จ บริษัทที่ปรึกษาจึงออกแบบแนวเส้นทางด้วยการก่อสร้างอุโมงค์ลอด ความยาว ๕ กิโลเมตร ทำให้ค่าก่อสร้างอยู่ที่ ๒๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท จากที่ตั้งงบประมาณก่อสร้างไว้ที่ ๑๑,๖๔๐ ล้านบาท และมีระยะทางรวมทั้งสิ้น ๑๓๕ กิโลเมตร

ในส่วนของรูปแบบอุโมงค์ดังกล่าวนั้น ทางบริษัทที่ปรึกษายึดต้นแบบจากอุโมงค์ขุนตาน ซึ่งเป็นอุโมงค์สำหรับทางลอดรถไฟระบบรางเดี่ยวที่มีความลาดชันค่อนข้างมาก (มีความยาว ๑,๓๕๒.๑๒ เมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน ระหว่าง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง และอ.แม่ทา จ.ลำพูน) แต่สำหรับอุโมงค์ในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ช่วงสถานีรถไฟมาบกะเบา-ผาเสด็จนั้น จะมีความยาวมากกว่าอุโมงค์ขุนตาน และบริษัทที่ปรึกษาได้ออกแบบระบบความปลอดภัยมารองรับการขนส่งผู้โดยสารและการจัดการโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นทางหนีไฟ ช่องระบายอากาศ รวมถึงรองรับการซ่อมบำรุงรถไฟ เมื่อเกิดเหตุรถไฟขัดข้องระหว่างที่ลอดอุโมงค์” วิศวกรจราจรฯ กล่าวในท้ายสุด

อนึ่ง การศึกษาความเหมาะสมและออก แบบเบื้องต้นระบบรถไฟรางคู่สายดังกล่าว สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ที่เห็นชอบให้พัฒนาระบบรถไฟรางคู่ ระยะเร่งด่วน ๗๖๗ กิโลเมตร ใน ๕ เส้นทาง ได้แก่

๑. สายเหนือ ช่วงลพบุรี-นครสวรรค์ ระยะทาง ๑๑๓ กิโลเมตร
๒. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง ๑๓๒ กิโลเมตร
๓. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางรถไฟจิระ(นครราชสีมา)-ขอนแก่น ระยะทาง ๑๘๕ กิโลเมตร
๔. สายใต้ ช่วงนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง ๑๖๕ กิโลเมตร และ
๕. สายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง ๑๖๗ กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง โดยตั้งงบประมาณไว้ที่ ๖๖,๑๑๐ ล้านบาท

ทั้งนี้ สายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง ๑๓๕ กิโลเมตร เมื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1B ทำให้มีค่าก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นประมาณ ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท จากเดิมประเมินเบื้องต้นอยู่ที่ ๑๑,๖๔๐ ล้านบาท

โดยการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำจำแนกตามมติครม. เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพในลุ่มน้ำนั้นๆ สำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่ควรสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ เนื่องจากว่าอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่ายและรุนแรง โดยพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1B เป็นพื้นที่ที่สภาพป่าส่วนใหญ่ได้ถูกทำลาย ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาหรือการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นก่อน ปี พ.ศ.๒๕๒๕ ซึ่งมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ 1B มติครม.กำหนดให้ในกรณีที่ต้องมีการก่อสร้างถนนผ่าน หรือการทำเหมืองแร่ หน่วยงานรับผิดชอบจะต้องควบคุมการชะล้างพังทลายของดิน และกรณีส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่ต้องใช้ที่ดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวด ล้อมของโครงการเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2010 4:24 pm    Post subject: หลังจาก Airport Link เป้าหมายต่อไปก็คือ High Speed Train Reply with quote

ถ้าเมืองไทยมีรถไฟความเร็วสูง
โดย : วินิจ รังผึ้ง
ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2553 17:30 น.


แล้วรถไฟแอร์พอร์ต ลิงค์ ก็ได้ฤกษ์เปิดให้บริการเสียทีหลังจากที่สร้างเสร็จมานาน ซึ่งเมื่อรถไฟแอร์พอร์ต ลิงค์ให้บริการอย่างเต็มที่ก็จะสามารถเอื้ออำนวยต่อการเดินทางระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิกับใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ให้สะดวกสบาย รวดเร็ว และประหยัดยิ่งขึ้น อันจะทำให้มีผลดีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยมากยิ่งขึ้นด้วย เพราะการเดินทางจากสนามบินสู่เมืองท่องเที่ยวสำคัญระดับนานาชาติในโลกนั้น ล้วนมีการเชื่อมต่อโดยทางรถไฟหรือรถไฟใต้ดิน ประเภทที่รับกระเป๋าแล้วสามารถจะลากกระเป๋าจากห้องผู้โดยสารขาออกไปยังสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ในบริเวณสนามบินแล้วซื้อตั๋วนั่งรถไฟเข้าใจกลางเมืองได้ได้ทันที ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกต่อนักท่องเที่ยวนักเดินทางได้อย่างสูงยิ่งเหมือนอย่างเมืองที่เจริญแล้วเขาทำกัน

การให้บริการของรถไฟแอร์พอร์ต ลิงค์ จะมี 2 ขบวนด้วยกันคือขบวนรถด่วนเอ็กซ์เพลสไลน์ ซึ่งจะให้บริการระหว่างสถานีมักกะสัน-สถานีสุวรรณภูมิ โดยไม่หยุดสถานีอื่นๆระหว่างทาง ซึ่งจะวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดได้ถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่จะใช้ความเร็วเฉลี่ยราว 103 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาวิ่งประมาณ 15 นาทีก็จะถึงปลายทางเรียกว่ารวดเร็วทันใจ ผู้โดยสารสามารถจะคาดหมายกำหนดเวลาในการเดินทางได้อย่างแน่นอนไม่ต้องนั่งลุ้นรถติด ไม่ต้องนั่งลุ้นว่าจะทันเที่ยวบินหรือไม่ อัตราค่าโดยสารในขั้นต้นนี้ก็จะอยู่ที่ไป-กลับคนละ 100 บาท ซึ่งระยะแรกนี้ผู้โดยสารยังไม่สามารถจะเช็คอินโหลดกระเป๋าที่สถานีรถไฟมักกะสันได้ เพราะระบบการเช็คอินและการโหลดกระเป๋ายังไม่เรียบร้อย ซึ่งคาดว่าจะสามารถให้บริการได้ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งถ้าระบบเรียบร้อยเมื่อไหร่ผู้โดยสารก็จะสามารถจะเช็คอินและโหลดกระเป๋าได้ที่สถานีมักกะสันเลยโดยไม่ต้องเป็นภาระแบกกระเป๋าขึ้นลงรถไฟแล้วไปเช็คอินที่เคาท์เตอร์สนามบินสุวรรณภูมิอีกให้วุ่นวาย

ความจริงบริการที่สะดวกสบายเช่นนี้มันน่าจะสร้างควบคู่ไปกับการสร้างสนามบินและเปิดใช้ได้พร้อมๆกันไปนานแล้ว ส่วนขบวนรถอีกสายหนึ่งที่จะให้บริการเรียกว่าซิตี้ไลน์ ซึ่งจะให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกกับประชาชนในการเดินทางเข้าออกเมือง โดยจะมีสถานีรับ-ส่งและหยุดให้บริการ 8 สถานี คือเริ่มจากสถานีพญาไท สถานีราชปรารภ สถานีมักกะสัน สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีทับช้าง สถานีลาดกะบัง และสถานีสุวรรณภูมิ ซึ่งขั้นต้นจะเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย และต่อไปก็จะเก็บตามระยะทางตั้งแต่ 15-45 บาท รถไฟซิตี้ไลน์ขบวนนี้จะใช้ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จอดสถานีละ 30 วินาที ใช้เวลาเดินทางรวมจากสถานีต้นทางถึงปลายทางราว 30 นาที ซึ่งการทดลองเปิดให้บริการฟรีในช่วงที่ผ่านมามีประชาชนใช้บริการวันละหลายหมื่นคน ซึ่งการเปิดให้บริการอย่างเต็มที่ก็จะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนได้อย่างเป็นอย่างมาก


แค่รถไฟฟ้าระบบใหม่ ๆ อย่างรถไฟสายแอร์พอร์ตลิงค์ที่วิ่งได้ไม่เร็วนักก็ยังสามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้รวดเร็วสะดวกสบายได้เป็นอย่างมาก นี่หากเมืองไทยเรามีบริการรถไฟความเร็วสูงอย่างรถไฟชิงกันเซ็นของญี่ปุ่นที่มีความเร็วประมาณ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือรถไฟความเร็วสูง TGV ของฝรั่งเศสที่มีความเร็วถึง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วสูงสุดสามารถวิ่งได้ถึงกว่า 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือสุดยอดความเร็วอย่างรถไฟฟ้าแม่เหล็กเซี่ยงไฮแม็กเลฟ ของจีนที่ให้บริการระหว่างเมืองเซี่ยงไฮ้กับสนามบินผู่ตงที่วิ่งบริการด้วยความเร็วสูงถึง 430 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดได้ถึงกว่า 600 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว ซึ่งหากประเทศไทยเรามีรถไฟความเร็วสูงเช่นนี้ให้บริการเชื่อมโยงการเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังเมืองท่องเที่ยวในภาคต่างๆ ก็จะสามารถเอื้ออำนวยต่อการเดินทางท่องเที่ยวและการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลองนึกง่ายๆ หากเราสามารถจะมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งจากกรุงเทพฯไปพัทยาใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง หรือสามารถจะนั่งรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯไปเชียงใหม่ด้วยเวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมง หรือนั่งรถไฟความเร็วสูงไปหาดใหญ่ใช้เวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมง นั่งรถไฟความเร็วสูงไปขอนแก่น หนองคาย ได้ด้วยความเร็วไม่กี่ชั่วโมง ก็จะทำให้การเดินทางท่องเที่ยวหรือการไปมาหาสู่กันของผู้คนในประเทศทำได้สะดวกสบายรวดเร็ว ประหยัดเวลา และที่สำคัญคือมีความปลอดภัยสูง ซึ่งจะเป็นการลดอุบัติเหตุจากการเดินทางบนท้องถนน หรือช่วงเทศกาลลงไปได้อย่างมากมาย เพราะปริมาณรถบนท้องถนนก็จะน้อยลง ปริมาณการเผาผลาญน้ำมัน ปริมาณการนำเข้าน้ำมันก็จะน้อยลงไปด้วย

แต่ก็อาจจะมีบางคนแย้งว่าการทำรถไฟความเร็วสูงนั้นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งนั่นก็จะทำให้ค่าโดยสารแพงใกล้เคียงกับค่าโดยสารเครื่องบิน หรือพอๆกับค่าบริการของสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งก็ต้องตั้งคำถามกลับไปว่าแล้วในยุคน้ำมันแพงเช่นนี้ค่ารถโดยสารปรับอากาศวีไอพีที่ให้บริการกันอยู่ทุกวันนี้ก็มีราคาเป็นเช่นไร ไม่ใช่ใกล้เคียงกับสายการบินต้นทุนต่ำเข้าไปทุกทีแล้วหรือ หนำซ้ำสภาพรถ สภาพคนขับก็ทำให้ผู้โดยสารต้องอยู่รับสภาพเสี่ยงตายไร้มาตรฐานอย่างไม่มีทางเลือก ซึ่งหากมีทางเลือกที่ดีกว่า ประหยัดเวลากว่า ปลอดภัยกว่า แล้วจ่ายแพงกว่าอีกหน่อยผู้ใช้บริการก็น่าจะพอใจและเลือกใช้บริการ ในส่วนของนักท่องเที่ยวก็คงไม่ต้องห่วงครับ ถ้าการเดินทางไปสู่หัวเมืองท่องเที่ยวมีความรวดเร็วสะดวกสบายทันสมัย ก็จะเป็นการเพิ่มจุดขายให้นักท่องเที่ยวที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งนักท่องเที่ยวเหล่านี้ก็จะเป็นผู้โดยสารกลุ่มใหญ่ที่จะมาใช้บริการ

ทางด้านเงินทุนล่ะ การทำรถไฟความเร็วสูงแต่ละเส้นทางต้องใช้เงินลงทุนหลายแสนล้านบาท แล้วรัฐบาลจะมีเงินมาลงทุนหรือ ซึ่งเรื่องเงินลงทุนนั้นคงไม่ต้องห่วง เพราะมีประเทศผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างรถไฟความเร็วสูงต่างให้ความสนใจเข้ามาศึกษาและพร้อมจะลงทุนทำรถไฟความเร็วสูงในเมืองไทย เพราะมีความมั่นใจในความเป็นศูนย์กลางการเดินทางของภูมิภาคที่สามารถจะขยายเชื่อมต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงไปยังประเทศเพื่อบ้านรอบข้างได้อีก และประเทศไทยก็ยังเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวซึ่งจะมีการขยายตัวของนักท่องเที่ยวมากขึ้นทุกปี นั่นจึงเป็นประเทศที่คุ้มค่าสำหรับการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งที่ผ่านมาก็มีทั้งรัฐบาลจีนที่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้ามาเจรจากับรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ทางรัฐบาลญี่ปุ่นและค่ายยุโรปต่างก็ให้ความสนใจเช่นกัน ก็คงขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทยนั่นแหละครับที่จะกล้ารีบตัดสินใจผลักดันอย่างเป็นจริงเป็นจังหรือไม่ ซึ่งผมว่าถ้ารัฐบาลไหนสามารถจะให้กำเนิดรถไฟความเร็วสูงในเมืองไทยได้ รัฐบาลนั้นก็คงจะได้รับการจดจำจารึกไปอีกนานเท่านานอย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2010 1:33 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย-จีน ร่วมทุน "รถไฟความเร็วสูง" หนองคาย-กรุงเทพ เข้า ครม.สัปดาห์หน้า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2553 07:52 น.

กอร์ปศักดิ์จ่อชงครม.อนุมัติกรอบร่วมทุนรถไฟไทย-จีน
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์ 23 สิงหาคม 2553, 17:40 น.


นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการหารือคณะกรรมการศึกษารายละเอียดการร่วมทุนก่อสร้างโครงการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนเพื่อเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง เริ่มจุดแรกจากหนองคาย-กรุงเทพ ส่วนเฟส 2 จะเป็นโครงการในเส้นทางกรุงเทพ-ภาคใต้

“เส้นทางรถไฟในภาคอีสานไม่มีปัญหาต่อการปรับปรุงเป็นระบบ 2 ราง เพราะยังมีพื้นที่ให้ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเวนคืน เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นรางมาตรฐานให้รถไฟวิ่งได้จาก จีน ลาว ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ หากสภาเห็นชอบได้แล้วคาดว่าการเดินทางไปเยือนจีนช่วงปลายปีนี้จะมีความชัดเจนในการสร้างรถไฟรางคู่มากขึ้น”

โดยวานนี้ นายกอร์ปศักดิ์ ได้หารือกับนายเจิ้ง หมิงลี่ ผู้แทนกระทรวงรถไฟจีนและคณะ หลังจากรัฐบาลไทย-จีน ได้มีแนวทางร่วมมือตั้งบริษัทร่วมทุน พัฒนาระบบรางคู่เชื่อมโยงการเดินทางจากจีน ลาว ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ จากการเดินทางมาประเทศไทย ด้วยการทดลองนั่งรถไฟจากกรุงเทพ ไปยังหนองคาย ปรากฏว่าจีนสนใจลงทุนก่อสร้างในเฟสแรกไปก่อน คือช่วงเส้นทางหนองคาย-กรุงเทพฯ สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-ภาคใต้ ให้เป็นการลงทุนในช่วงเฟสสอง

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมฯ ยังไม่ได้ลงรายละเอียดของตัวบริษัท แต่จะเสนอหลักการให้ ครม.พิจารณาในสัปดาห์หน้า ซึ่งหาก ครม.ให้ความเห็นชอบก็จะส่งมอบให้สภาฯ พิจารณาในเรื่องของหลักการ และกรอบการเจรจาตามมาตรา 190 ต่อไป

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทย โดยกระทรวงคลังได้เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง จากสุวรรณภูมิ-ระยอง ซึ่งคาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งโครงการดังกล่าวทางรัฐบาลจีนต้องการร่วมโครงการกับทางรัฐบาลไทยด้วย แต่รัฐบาลไทยคงจะเดินหน้าโครงการไปก่อน แต่หากจุดไหนสามารถร่วมกันได้ ก็จะเดินหน้าร่วมกันต่อไป

//--------------------------------------------------------------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2010 6:50 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยไม่รอจีนร่วมลงทุน"ไฮสปีดเทรนกรุงเทพ-ระยอง"ประกาศเดินหน้าลุยเอง
มติชนออนไลน์ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:31:00 น.

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายไทย ในการหารือร่วมกับคณะกรรมการศึกษารายละเอียดการร่วมทุนก่อสร้างโครงการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ฝ่ายจีน วันที่ 23 สิงหาคมว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า จะมีศึกษาการการลงทุนก่อสร้างรถไฟ ระบบรางขนาด 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจ ในส่วนของเส้นทางหนองคาย มายังกรุงเทพฯ ก่อน เนื่องจากมีความพร้อมมากว่า ส่วนเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปภาคใต้ จะมีการดำเนินการอีกครั้งในช่วงที่สองต่อไป



แต่ในส่วนการลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูง หรือ ไฮสปีดเทรน เส้นทางจากกรุงเทพฯ ไประยอง ฝ่ายไทยเห็นว่า หากต้องรอคอยการดำเนินงานร่วมกันจีนอาจจะไม่ทันการณ์ และเบื้องต้นทราบมาว่า ทางกระทรวงคมนาคม จะมีการเสนอขออนุมัติการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใน 2 สัปดาห์หน้า จึงเห็นสมควรว่า ไทยดำเนินการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้เอง และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็คอยมาพิจารณาว่า จะหาทางเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟที่ร่วมมือกับจีนอย่างไรในภายหลัง


“ ที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงแนวทางการดำเนินงานก่อสร้างรถไฟร่วมกัน ในรูปแบบของการจัดตั้งบริษัท ที่มีตัวแทนฝ่ายไทยและจีน ถือหุ้นร่วมกัน แต่ยังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด ว่า จะลงทุนกันในสัดส่วนเท่าไร รวมถึงเงินทุนในการจัดตั้งบริษัทด้วย แต่ในส่วนของคณะกรรมการฝ่ายจีน ได้แจ้งว่า ในช่วงที่ผ่านมา ได้ไปทดลองใช้บริการรถไฟ ของไทย เส้นทางกรุงเทพฯ – หนองคาย มาแล้ว พร้อมระบุว่า มีความหวาดเสียวดี ซึ่งอาจเป็นเพราะไม้หม่อนและรางรถไฟของไทยไม่ดี ขณะที่การก่อสร้างระบบ สแตนดาร์ดเกจ จะช่วยทำให้ขนาดโบกี้รถไฟ มีความใหญ่โตขึ้น การขับเคลื่อนก็จะทำได้เร็วมากขึ้น และที่สำคัญ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินจำนวนมากมาทำโครงการฯ ด้วย ”


นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของกรอบแนวทางการเจรจา ในการให้ความร่วมมือลงทุนระหว่างจีนกับไทย ครั้งนี้ ตนจะสรุปรายละเอียดทั้งหมด เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุม ครม. ได้รับทราบในสัปดาห์หน้า เนื่องจากการดำเนินงานในเรื่องนี้ ก่อนที่ไทยกับจีน จะมีการเจรจาตกลงอะไร จะต้องมีการนำเสนอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ด้วย


"หากเรื่องนี้ ผ่านการพิจารณาของสภาฯ ก็สามารถที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษากันทำงานได้ทันที ซึ่งขณะนี้ ก็มีการเตรียมความพร้อมไว้บางส่วนแล้ว แต่ถ้าไม่ผ่านทุกอย่างก็ยุติ แต่ขั้นตอนการดำเนินงาน เชื่อว่าคงไม่ทันกำหนดที่นายกฯ จะเดินทางไปเยือนจีนในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ แต่หากทุกอย่างดำเนินการได้เรียบร้อยแล้ว ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ไทยและจีน น่าจะสามารรถลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ในช่วงระหว่างที่นายกฯ เดินทางไปเยือนจีนอีกครั้งในช่วงก่อนสิ้นปีนี้แน่นอน"
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 541, 542, 543 ... 549, 550, 551  Next
Page 542 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©