RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311331
ทั่วไป:13292534
ทั้งหมด:13603865
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 542, 543, 544 ... 549, 550, 551  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2010 11:37 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงเกิดแน่นอนแล้ว!

โดย สิริอัญญา 22 สิงหาคม 2553 10:10 น.

ความปรารถนาอันแรงกล้าของภาคประชาชนในการผลักดันให้รัฐบาลก่อสร้างและดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงไม่เป็นหมันแล้ว เพราะขณะนี้รัฐบาลกำลังเดินหน้าก่อสร้างและดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นสายแรก

การประชุมคณะกรรมการระดับชาติคือคณะกรรมการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-จีน ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีมติผลักดันโครงการนี้อย่างเต็มที่

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่คนไทยควรได้ทำความรู้ ความเข้าใจ เรื่องรถไฟความเร็วสูงกันอีกสักครั้งหนึ่งว่าจะมีผลต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศไทยไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างไร

อันเรื่องรถไฟนั้นต้องขอบอกกล่าวก่อนว่ามีรถไฟอยู่ถึง 3 ประเภท และแต่ละประเภทก็มีการใช้ประโยชน์ต่างกัน

ประเภทแรก คือรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ดังตัวอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปัจจุบันนี้ และที่กำลังจะขยายต่ออีก 6 สาย ด้วยเงินลงทุนร่วม 2 ล้านล้านบาท

ประเภทที่สอง คือรถขนส่งคนและสินค้า ดังตัวอย่างรถไฟแบบเก่าที่ประเทศไทยใช้อยู่ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และเจริญก้าวหน้าลงมาโดยลำดับ จนกระทั่งความเร็วเหลือเพียง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแต่ละปีก็เกิดอุบัติเหตุนับครั้งไม่ถ้วน

รถไฟแบบนี้ปกติต้องทำเป็นทางคู่เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการรอสวนทางกัน และใช้เป็นหลักในการขนส่งคนและสินค้าภายในประเทศ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราโชบายให้รถไฟแบบนี้เป็นหลักในการคมนาคมทางบกของประเทศ

ทว่าพระบรมราโชบายอันก้าวหน้านั้นได้ถูกนักวิชาการหัวนอกที่กลวงเปล่าเปลี่ยนแปลงไป และให้ใช้รถยนต์เป็นหลักในการคมนาคมทางบก จนเป็นผลให้ประเทศไทยเต็มไปด้วยถนนและมีรายจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์เป็นรายจ่ายที่สูงที่สุดลำดับหนึ่งของประเทศ และทำให้คนไทยมีหนี้สินกันทั้งประเทศ

รถไฟแบบนี้ยังคงต้องพัฒนาต่อไป แต่ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ระบบรางกว้าง 1 เมตร ที่เราใช้กันอยู่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอีกต่อไป จะต้องปรับปรุงให้เป็นระบบรางกว้าง 1.43 เมตร เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสอดคล้องกับโครงการโครงข่ายคมนาคมจีน-อาเซียน ที่จะเพิ่มศักยภาพทางด้านขนส่งและการค้าให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่

แต่ความคิดในเรื่องนี้ยังไม่ตกผลึก ยังยักแย่ยักยัน ยังถูกตีกันจากนายทุนเงินกู้ญี่ปุ่นที่ต้องการให้ประเทศไทยดำรงความล้าหลังในเรื่องรถไฟ และเชื่อมต่อกับใครไม่ได้ แล้วจะต้องพึ่งพารถยนต์อันเป็นประโยชน์ของญี่ปุ่นต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

จึงเป็นหน้าที่ของชาวไทยที่ต้องทำความเข้าใจและร่วมกันแก้ไขเรื่องนี้ จึงจะบังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่อาณาประชาราษฎรได้อย่างแท้จริง

ประเภทที่สาม คือรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นระบบรถไฟแบบใหม่ หรือจะเรียกว่าเป็นรถไฟแห่งยุคสมัย แต่เป็นรถไฟที่ใช้สำหรับการขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก

รถไฟแบบนี้วิ่งด้วยความเร็วสูงระดับ 250-350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศจีนเป็นเจ้ามือรายใหญ่ของรถไฟแบบนี้ โดยเป็นไปตามแผนการพัฒนารถไฟระยะที่ 7 ของจีน ที่จะให้มีรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ และยังนำร่องการพัฒนาระยะที่ 8 ให้มีความเร็วถึง 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

รถไฟแบบนี้จีนได้อาศัยต้นแบบจากเทคโนโลยีของเยอรมนี ซึ่งเยอรมนีไม่ประสบความสำเร็จเพราะมีต้นทุนสูง ไม่สามารถเป็นเชิงพาณิชย์ได้ ครั้นจีนและเยอรมนีได้ร่วมมือกันแล้วก็ได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง

นั่นคือสามารถผลิตได้มาก ราคาไม่สูงเกินไป และใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างดียิ่ง โดยได้ผ่านการทดลองวิ่งมาแล้วอย่างอุดมสมบูรณ์ ดังตัวอย่างรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง-เทียนสิน ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และคนไทยจำนวนหนึ่งเคยไปทดลองนั่งกันมาแล้ว

ขณะนี้จีนกำลังขยายรถไฟแบบนี้ไปทั่วประเทศ รวมทั้งได้ไปร่วมมือพัฒนากับประเทศต่างๆ แม้แต่สหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนารถไฟแบบนี้ ดังนั้นในระยะ 20-50 ปีจากนี้ไป ทิศทางใหญ่ในการพัฒนารถไฟขนส่งผู้โดยสารจึงเป็นแบบรถไฟความเร็วสูงระดับ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เพราะถ้าจะเพิ่มความเร็วไปมากกว่านี้ก็ทำได้อย่างที่จีนได้นำร่องทดลองอยู่ นั่นคือรถไฟความเร็วสูงสายเซี่ยงไฮ้-ผู่ตง เหตุที่ต้นทุนสูงก็เพราะว่าเป็นรถไฟความเร็วสูงอีกระบบหนึ่ง ที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กเป็นหลัก หรือที่เรียกกันว่าแมคเนติกเทรน แต่จีนก็ได้ถือเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนารถไฟระยะที่ 8 แล้ว

ขณะนี้ประเทศไทยกำลังพัฒนากิจการรถไฟทั้งสามแบบ คือรถไฟขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และจะเริ่มขยายไปยังเมืองใหญ่ๆ คือแบบรถไฟบีทีเอสนั่นเอง

ส่วนรถไฟขนส่งคนและผู้โดยสารก็ได้มีการอนุมัติโครงการกันไปแล้ว ด้วยวงเงินลงทุนถึง 900,000 ล้านบาท และมีการอนุมัติตัวเงินรอบแรกไปแล้วจำนวน 18,000 ล้านบาท กำลังจ่อรอคิวขออนุมัติคณะรัฐมนตรีรอบที่สองอีก 66,000 ล้านบาท

ส่วนรถไฟความเร็วสูงนั้น รัฐบาลกำลังเดินหน้าอย่างเต็มเหนี่ยว โดยได้กำหนดกรอบเงินลงทุนแล้วเป็นวงเงินถึง 800,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะก่อสร้างจำนวน 4 สาย จากกรุงเทพฯ ไปเหนือสุด ใต้สุด ไปอีสาน และภาคตะวันออก

ก็ต้องขอบอกไว้ตรงนี้ว่า การพัฒนาสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้นเขาไม่เริ่มต้นด้วยการก่อสร้างเส้นทางยาวเช่นนี้เลย เพราะต้องใช้ทุนและใช้เวลามาก และยังมีปัญหาเรื่องการจัดขบวนรถที่ต้องจัดขบวนรถวิ่งไป-กลับอย่างต่อเนื่องทุกระยะเวลากำหนดอันแน่นอน เช่น 10 นาทีต่อขบวน หรืออย่างช้าสุดก็ไม่เกิน 30 นาทีต่อขบวน

ประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่และเป็นมหาเศรษฐีลำดับสองของโลกแล้ว เขาได้ทำแบบอย่างให้เห็นมาแล้วด้วยการเริ่มรถไฟความเร็วสูงเป็นเฟสเป็นส่วนสั้นๆ ก่อน ดังตัวอย่างสายปักกิ่ง-เทียนสิน และขยับขยายยาวขึ้นดังตัวอย่างรถไฟความเร็วสูงสายกวางโจว-หวู่ฮั่น เป็นต้น

ประเทศไทยเราไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตรถไฟและไม่ใช่ประเทศมหาเศรษฐีของโลก ดังนั้นจึงไม่ควรฝืนหลักธรรมชาติในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงด้วยการเริ่มต้นก่อสร้างสายยาวทีเดียว หากพึงทำเป็นเฟสเป็นส่วนดังข้อเสนอของภาคประชาชนที่ได้เสนอต่อรัฐบาลไปแล้ว

นั่นคือให้เริ่มเฟสส่วนแรกสายสั้นๆ 5 สาย คือกรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ กรุงเทพฯ-ระยอง กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี และกรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งถ้าดำเนินการแบบนี้ภายใน 3 ปีจากนี้ไปประเทศไทยก็จะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภาคกลางและทุกภาคอย่างทั่วถึง จะพลิกโฉมหน้าพัฒนาการของประเทศไทยอย่างชัดเจนที่สุด

การเร่งรัดพัฒนารถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยในครั้งนี้ ด้านหนึ่งก็เพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องของภาคประชาชนร่วมกับหอการค้าทั่วประเทศ ด้านหนึ่งก็เพื่อสนองต่อยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมทางบกของประเทศ เพื่อให้รองรับกับการพัฒนาภูมิภาคนี้

แม้ว่ารัฐบาลจะเริ่มต้นโครงการด้วยการกำหนดแนวทางก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายยาวไปทั้ง 4 ภูมิภาค แต่โชคดีที่ไม่ทำพร้อมกันทั้ง 4 สาย โดยไปเริ่มสายแรกกรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งเป็นระยะสั้นๆ ก่อน

รถไฟสายกรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งมีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร จะใช้เวลาวิ่งประมาณ 1 ชั่วโมง จะบุกเบิกและขยายการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทยครั้งใหญ่ที่สุดซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ฝั่งทะเลไทย

รัฐบาลระบุว่ามีศักยภาพสูงเพราะเป็นพื้นที่ลงทุนภาคอุตสาหกรรมและสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ภาคการท่องเที่ยวภาคตะวันออก ซึ่งข้ออ้างเช่นนี้ก็มีความถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพในปัจจุบัน

ขอเพียงรถไฟความเร็วสูงสายแรกเกิดขึ้นเท่านั้น โฉมหน้าในความเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในทุกด้านก็จะปรากฏให้เห็น เช่น สายตะวันออกนี้จะมีผลต่อการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออกอย่างครึกโครมที่สุดเท่าที่เคยปรากฏมา

แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ต้องตระหนักด้วยว่าการพัฒนารถไฟความเร็วสูงนั้นต้องคำนึงถึงประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ และต้องคำนึงถึงปัญหาด้านความมั่นคงและการเมืองในภาคสังคมด้วย

ควรจะทำความเข้าใจพระบรมราโชบายของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ว่าทรงใช้เหตุผลประการใดจึงทรงริเริ่มสร้างรถไฟสายแรกจากกรุงเทพฯ ไปโคราช

รถไฟสายกรุงเทพฯ-โคราช จะเชื่อมประชากรภาคอีสาน 23 ล้านคน เข้ากับภาคกลางและภาคอื่นๆ จักอำนวยประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่ประชาชนถึงครึ่งหนึ่งของประเทศ และเป็นเส้นทางสำคัญที่มีนัยต่อความมั่นคง การเมืองและภาคสังคมต่างๆ ด้วย

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่หวังว่ารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-โคราช จะเป็นสายที่ได้รับการก่อสร้างคู่ขนานหรือถัดไปจากรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง.
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 22/08/2010 11:23 pm    Post subject: Reply with quote

^
เริ่มจะเห็นเค้าโครงแห่งความเป็นจริง ระหว่าง ไทยกับจีน ในเรื่องนี้ขึ้นมาแล้วนะครับ
อีก 5 ปี เราจ่าจะได้ไปคุนหมิง เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง ต่อไปทรานไซบีเรียและยุโรป ตามฝันกันซะทีครับ
รถไฟจีนก็เอาครับ อย่าไปคิดมาก เทคโนโลยีของยุโรปทำในจีนก็ยังดีครับ Smile Smile
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2010 11:12 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยหารือจีนผุดรถไฟเชื่อมหนองคาย-กทม.-มาเลย์
หน้าเศรษฐกิจ - การตลาด
คมชัดลึก วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2553

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 23 ส.ค. คณะทำงานของรัฐบาลจีนจะเดินทางมาหารือร่วมกับคณะทำงานไทยถึงแนวทางความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร หรือ สแตนดาร์ดเกท จากจ.หนองคาย ผ่าน กทม. ไปยังชายแดนไทย-มาเลเซียระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของจีนที่สร้างจากเมืองคุนหมิงมายังเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว

หากคณะทำงานสามารถตกลงในเบื้องต้นกันได้ จะต้องนำรายละเอียดทั้งหมดขอความเห็นชอบจากรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ก่อนที่จะนำไปสู่การลงนามใน MOU ระหว่างนายกรัฐมนตรีของไทยกับผู้นำรัฐบาลจีนในช่วงที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทาง ไปเยือนจีนอย่างเป็นทางการในปลายเดือนก.ย.ถึงต้นเดือน ต.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 20/08/2010 10:08 pm    Post subject: Reply with quote

^
น่าจะใช่อย่างที่อาจารย์เอกให้ความเห็นมาครับ
สงสัยจะผ่านเมืองหลวงของเวียตนาม ลาว และไทย ที่จะเป็นไปได้มากที่สุด ไม่ต้องไปอ้อมไกลมากด้วยครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/08/2010 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
ทางเวียดนามต้องการให้จีนใช้เส้นทางรถไฟจากฮานอยไปถึงโฮจิมินห์ เป็นแนวรถไฟเหนือจรดใต้ จากนั้นตัดเข้ากรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผ่านจังหวัดสระแก้ว เชื่อมกับรถไฟสายตะวันออกของไทย แต่เส้นนี้จีนกังวลเรื่องความมั่นคง เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวผ่านเวียดนามตั้งแต่เหนือจรดใต้ จึงทำให้มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด

ดูแล้วไทยได้เปรียบในเรื่องทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์จริง ๆ ครับ
ไม่ว่าจะเลือกเส้นทางไหนเพื่อเชื่อมจีนกับสิงคโปร์ ก็ต้องผ่านประเทศไทยอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
และมีความปลอดภัยในแง่ไม่ค่อยมีภัยธรรมชาติด้วยครับ

ที่แน่ ๆ ก็คือเส้นทางรถไฟผ่านประเทศเพื่อนบ้านที่เลยอรัญประเทศไปนั้น
ดูแล้วไม่มีอนาคตยิ่งกว่าสายสงขลาอีกครับ ถ้าการเมืองระหว่างประเทศยังเป็นแบบนี้
คงยากที่จะเชื่อมต่อรางเข้าด้วยกันครับ แม้ระยะนี้จะมีการประชุมเกี่ยวกับรถไฟเชื่อมภูมิภาค GMS ก็ตามครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 20/08/2010 9:40 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเทรน กทม.-ระยอง/ปรับปรุงรางคู่ 3 แสนล.
Quote:-Transport Journal: Tuesday, 17 August 2010 04:16
Written by Administrator

เปิดยุทธศาสตร์จีนใช้รถไฟเปิดประตูการค้าเชื่อมโยงอาเซียน โดยใช้เส้นทางจากแดนมังกรผ่านฮานอย-ถนน R8-เวียงจันทน์-หนองคาย สิ้นสุดที่สิงคโปร์ เผยทุ่ม 3 แสนล้าน ลงทุนรางใหม่ทั้งหมดขนาด 1.435 เมตร คู่ขนานกับรางเก่าในไทย พร้อมกับลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-รอยอง คาดเสนอบอร์ดสรุป 20 สิงหาคม เผย “COSCO”สนใจร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทย
ตามที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีมติตั้งคณะทำงานศึกษารายละเอียดการร่วมลงทุนการก่อสร้างโครงการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างไทยกับจีน โดยทางจีนสนใจเข้ามาร่วมลงทุนกิจการรถไฟในไทย 2 ส่วน ประกอบด้วย การปรับปรุงสายทางรถไฟตั้งแต่ชายแดนไทย-สปป.ลาว จากสถานีท่านาแล้ง ผ่านหนองคาย ถึงกรุงเทพฯ และเชื่อมกับเส้นทางสายใต้ผ่านสุไหงโก-ลก สิ้นสุดที่สิงคโปร์ และโครงการรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) นั้น

“คอสโก้”สนใจ 2 โปรเจกต์ยักษ์ในไทย
ล่าสุด มร.เซี่ยว กว่าง หง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท COSCO LOGISTICS KUNMING เปิดเผยกับ “TRANSPORT”ว่า ขณะนี้ Cosco มีความสนใจเข้าไปลงทุนโครงการรถไฟในไทย 2 โครงการด้วยกันคือ โครงการรถไฟความเร็วสูงสายทางจากกรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งจะเป็นรถไฟฟ้าหัวจรวด ใช้ความเร็วประมาณ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และโครงการปรับปรุงเส้นทางรถไฟจากยูนนาน ผ่านแม่น้ำแดง ผ่านเวียดนาม สปป.ลาว ผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ผ่านกรุงเทพฯ สิ้นสุดที่ประเทศสิงคโปร์ โดยจะปรับปรุงเป็นรางขนาดกว้าง 1.435 เมตร ทำให้รถไฟสามารถวิ่งได้เร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
“อีก 2 สัปดาห์ (เริ่มนับจากวันที่ 10 สิงหาคม 2553) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย มีกำหนดจะเดินทางมาเยือนนครปักกิ่ง จะทำให้เห็นภาพความชัดเจนในการลงทุนโครงการเหล่านี้ได้ จากนั้นทาง Cosco ก็จะสามารถสรุปการลงทุนได้เช่นกัน แต่รูปแบบที่ Cosco เห็นว่าเป็นไปได้น่าจะเป็นการร่วมลงทุนกับทางรัฐบาลไทย ไม่ใช่รูปแบบสัมปทาน หรือให้ Cosco ลงทุนแต่เพียงผู้เดียว”
อย่างไรก็ตาม ทาง Cosco มีแผนจะเข้ามาร่วมลงทุนในไทย 4 โครงการด้วยกัน ประกอบด้วย
1. ความร่วมมือโครงการรถไฟความเร็วสูง และท่าเรือน้ำลึก
2. การขนส่งผ่านเส้นทางคุนหมิง-กรุงเทพฯ ผ่านทางแม่น้ำโขง
3. ระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงเส้นทางจากไทย-พม่า-คุนหมิง และเส้นทางจากไทย-สปป.ลาว-คุนหมิง
4. โครงการเคมี, ปิโตรเลียม, โรงไฟฟ้า และโรงถลุงเหล็ก
ทั้งนี้ Cosco เป็นสายเดินเรืออันดับ 1 ของจีน และติด 2 ใน 3 ของโลก ดำเนินธุรกิจเดินเรือ, ต่อเรือ, โลจิสติกส์ และมีบริษัท 2 แห่ง ที่ดำเนินธุรกิจในไทย มีสินทรัพย์เฉพาะทางด้านโลจิสติกส์ประมาณ 5,000 ล้านหยวน
ขณะนี้แผนกอาเซียน ของ Cosco ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะกรรมการสำหรับศึกษาดูความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานในไทย และคณะกรรมการดูแลการก่อสร้างรถไฟทางคู่จากจีน ผ่าน สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย สิ้นสุดสิงคโปร์ โดยจะก่อสร้างรางขนาด 1.435 เมตร คู่ขนานไปกับรางเดิมที่มีอยู่แล้ว

ล้วงแผนระบบรางจีนเชื่อมโยงอาเซียน
สำหรับแผนการลงทุนรถไฟจากจีน ผ่านเวียดนาม, สปป.ลาว และไทย สิ้นสุดที่สิงคโปร์นั้น เดิมทีมีแนวสายทางด้วยกัน เริ่มกันที่แนวจากคุนหมิง ผ่านเหอโข่วไปผ่านชายแดนจีนกับเวียดนาม ผ่านลาวกาย ฮานอย แต่เส้นนี้ช่วงลาวกายไปฮานอยจะต้องเปลี่ยนรถไฟ และแนวจากหนานหนิง ผ่านผิงเซียง เป็นชายแดนผ่านหลักเซิ้นประเทศเวียดนาม ไปฮานอย เส้นทางนี้มี 3 รางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเส้นทางนี้ทางเวียดนามต้องการให้จีนใช้เส้นทางรถไฟจากฮานอยไปถึงโฮจิมินห์ เป็นแนวรถไฟเหนือจรดใต้ จากนั้นตัดเข้ากรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผ่านจังหวัดสระแก้ว เชื่อมกับรถไฟสายตะวันออกของไทย แต่เส้นนี้จีนกังวลเรื่องความมั่นคง เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวผ่านเวียดนามตั้งแต่เหนือจรดใต้ จึงทำให้มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด
อีกเส้นทางที่จีนสนใจและมองว่า สั้นที่สุดคือ เริ่มจากฮานอย จากนั้นเข้าถนน R6 ใน สปป.ลาว ผ่านเชียงขวาง ทุ่งไหหิน บรรจบกับเวียงจันทน์ เชื่อมกับสถานีหนองคาย แต่เวียดนามมองว่า เป็นเส้นทางแค่ผ่านเวียดนามเท่านั้น จึงเป็นไปได้น้อยเช่นกัน
ส่วนเส้นทางที่ สปป.ลาว ให้ความสำคัญ ทางเวียดนามก็ไม่ติดใจมากนัก และจีนก็ให้งบสนับสนุนแก่สปป.ลาว แล้ว 700 ล้านบาท คือ เส้นทางจากฮานอยไปเมืองวิงห์ จากนั้นจะมี 2 แนวให้เลือก ผ่านทาง สปป.ลาวคือ แนวแรกจากวิงห์ ไปชายแดนเวียดนาม ที่เมืองเกาแจว ผ่านเข้าชายแดน สปป.ลาว ที่น้ำพาว จากนั้นใช้เส้นทางตามถนน R8 ตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ของ สปป.ลาว บรรจบกับเวียงจันทน์ ผ่านหนองคาย ซึ่งเส้นทางนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะมีแนวรถไฟจากสถานีท่านาแล้ง สปป.ลาว เชื่อมกับไทยอยู่แล้ว อีกแนวจากวิงห์ ไปผ่านชายแดนเวียดนาม ที่จาลอ ผ่านชายแดน สปป.ลาว ที่นาพาว จากนั้นใช้แนวถนน R12 บรรจบคำแขวงคำม่วน และจังหวัดนครพนม อย่างไรก็ตาม การลงทุนรถไฟใน สปป.ลาว ตอนนี้จีนให้งบประมาณสนับสนุนแล้ว 700 ล้านเหรียญสหรัฐ

สรุปแผนร่วลงทุนจีน 20 ส.ค.
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยกับ “TRANSPORT” ถึงความคืบหน้าแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ว่า ล่าสุด ที่ทำเนียบรัฐบาล มีการประชุมคณะทำงานศึกษารายละเอียดการร่วมลงทุนก่อสร้างโครงการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างไทย-จีนโดยที่ประชุมยังรับทราบแผนการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง สนามบินสุวรรณภูมิ-แหลมฉบัง-ระยอง ซึ่งกระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างดำเนินการนั้น จะทำคู่ขนานกันไป เพราะว่าโครงการร่วมลงทุนกับจีนถือว่าเป็นการเริ่มต้นโครงการ ซึ่งมองว่าจะได้ข้อสรุปและเสนอคณะทำงานชุดใหญ่วันที่ 20 สิงหาคม 2553
สำหรับโครงการรถไฟความ เร็วสูง มี 4 เส้นทาง วงเงินลงทุนประมาณ 800,000 ล้านบาทประกอบด้วย
1. กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร มูลค่า 209,396 ล้านบาท
2. เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร มูลค่า 180,379 ล้านบาท
3. กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ระยะทาง 937 กิโลเมตร มูลค่า 234,071 ล้านบาท
4. เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร มูลค่า 56,601 ล้านบาท
ขณะที่ นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ทางการจีนได้ยื่นข้อเสนอสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟในไทย โดยหลังจากนี้จะต้องมีการเจรจาร่วมกันทั้ง 3 ประเทศไทย สปป.ลาวและจีน เพื่อหารือในรายละเอียดร่วมกันว่าเข้าข่ายที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ. 2535 หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการนี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อวงเงินลงทุนการพัฒนาระบบราง 170,000 ล้านบาท ที่ ครม. ได้อนุมัติมาก่อนหน้านี้

เบื้องหลังไทยจับมือจีนเดินหน้ารถไฟ
ก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะทำงานศึกษารายละเอียดการร่วมลงทุนก่อสร้างโครงการพัฒนากิจการรถไฟ ระหว่างไทยกับจีน ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่28 กรกฎาคม 2553ที่ผ่านมา และมีนายโสภณ เป็นที่ปรึกษา ซึ่งคณะทำงาน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง, กระทรวงคมนาคม, เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.),เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 นายกอร์ปศักดิ์ ได้เรียกประชุมคณะทำงานเพื่อหารือรายละเอียดที่จะร่วมลงทุนกับรัฐบาลจีนใน 2 โครงการ คือ โครงการก่อสร้างทางรถไฟที่มีขนาดรางมาตรฐานกว้าง 1.4 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกท จากจังหวัดหนองคาย ผ่านกรุงเทพฯ แล้วต่อไปยังชายแดนไทย-มาเลเซีย เพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของจีนที่จะสร้างจากคุนหมิงมายังเมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาว และโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง
หลังจากนั้นวันที่ 5 สิงหาคม 2553 นายกอร์ปศักดิ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงาน 2 ชุด ได้แก่ คณะทำงานพิจารณารูปแบบการลงทุน และคณะทำงานพิจารณาด้านเทคนิคและความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งจะต้องสรุปให้แล้วเสร็จและเสนอคณะทำงานชุดใหญ่ วันที่ 20 สิงหาคม 2553 เพื่อพิจารณารายละเอียดและกำหนดท่าทีในการเจรจากับทางการจีนต่อไป
ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนในโครงการก่อสร้างทางรถไฟที่มีขนาดมาตรฐานคาดว่าจะมีระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร และจะใช้เงินลงทุนประมาณ 300,000 ล้านบาท โดยรูปแบบการลงทุนนั้นจะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ส่วนจะเป็นรูปแบบใดต้องศึกษาในรายละเอียดให้เรียบร้อยก่อน
สำหรับในการหารือมีการจัดตั้งคณะอนุทำงานในด้านต่าง ๆ เพื่อแบ่งงานกันทำให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมเพื่อให้นายกรัฐมนตรี สามารถลงนามในบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นในการเดินทางไปเยือนจีนอย่างเป็นทางการภายในอีก 2 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ความร่วมมือเกิดขึ้นอย่างจริงจังและสามารถเดินหน้าโครงการได้ต่อเนื่อง
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้รายงานที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เพื่อรับทราบถึงผลการเดินทางเยือนประเทศจีน โดยจีนสนใจเข้ามาร่วมลงทุนในกิจการรถไฟ 2 ส่วน คือ การปรับปรุงสายทางรถไฟ และโครงการไฮสปีดเทรน ซึ่งได้เจรจาให้มีการปรับปรุงสายทางทั้งหมดตั้งแต่ชายแดนไทย-ลาว ถึงกรุงเทพฯ และลงใต้ถึงสุไหงโก-ลก และอาจต่อไปถึงประเทศสิงคโปร์ ส่วนด้านเหนืออาจเชื่อมต่อขึ้นไปถึงยุโรป ส่วนที่สอง เป็นการตกลงความร่วมมือที่จีนจะเข้ามานำร่องในโครงการไฮสปีดเทรนเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นเส้นทางสายแรก โดยไทยจะดูแลเรื่องการใช้สิทธิในที่ดิน ส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของจีนที่จะดำเนินการ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2010 2:38 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งเต็มที่ร่วมทุนรถไฟไทย-จีน
หน้าเศรษฐกิจ
เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่ 19 สิงหาคม 2553 เวลา 8:03 น

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระ ทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกระชับความสัมพันธ์เศรษฐกิจไทย-จีน ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า นายสุเทพ ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมเร่งศึกษากรอบความร่วมมือร่วมลงทุนก่อสร้างโครงการ พัฒนากิจการรถไฟ ระหว่างประเทศไทยกับจีนให้เสร็จโดยเร็ว ทั้งในเรื่องเส้นทางและเงื่อนไขต่าง ๆ พร้อมกับให้กระทรวงการคลังไปศึกษาวิธีการร่วมลงทุนระหว่างไทยและจีนว่าจะใช้รูปแบบใด

อย่างไรก็ตาม กระบวนการทั้งหมดนี้ที่จะนำไปสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ไม่ทันกับการเดินทางไปเยือนจีนอย่างเป็นทางการของนายอภิสิทธิ์ เวช ชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในเดือน ก.ย.นี้ เนื่องจากจะต้องนำผลการศึกษาทั้งหมดและ ประเด็นที่เตรียมเจรจาเข้าสู่การพิจารณาของสภา ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นกระบวนการก่อน และคาดว่าจะลงนามเอ็มโอยูได้ก่อนสิ้นปีนี้ ส่วนการเริ่มต้นการก่อสร้างวางไว้ภายในปี 2554

ทั้งนี้คณะทำงานของรัฐบาลจีนได้เดินทางถึงไทยและได้เจรจาเบื้องต้นกับกระทรวง คมนาคมแล้ว และจากการเจรจาเบื้องต้นกับกระทรวงคมนาคม ในเส้นทางที่จะเชื่อมจากลาวมา จ.หนองคายและต่อมาถึงกรุงเทพฯ ทางจีนต้องการให้ต่อเชื่อมทางรถไฟไปจนถึง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ขณะที่ฝ่ายไทยเสนอว่าได้มีการศึกษาเส้นทางที่ อ.ปาดังเบ ซาร์ จ.สงขลาไว้ ซึ่งมีรถไฟจากมาเลเซีย มาเชื่อมแล้วด้วย รวมทั้งสิ้น 1,600 กม. มูลค่าโครงการประมาณ 200,000 ล้านบาท ซึ่งความต้องการของฝ่ายจีนก็ต้องการให้ต่อเชื่อมมาเลเซียไปจนถึงสิงคโปร์ ส่วนเส้นทางจากกรุงเทพฯ ถึง จ.ระยองระยะทาง 221 กม. มูลค่า 20,000 ล้านบาท จะเหมือนกับเส้นที่กระทรวงคมนาคมจะทำอยู่แล้ว.



จีนสนลงทุนรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง-ลาว-ไทย-มาเลย์ 2 แสนล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 สิงหาคม 2553 07:57 น.

นำร่องไฮสปีดเทรน 2สาย2แสนล้าน!!!

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 18 สิงหาคม 2553 22:51 น.


นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง และโครงสร้างพื้นฐานระบบราง โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2553 นายเจิ้งหมิงหลี่ ผู้แทนกระทรวงรถไฟจีน และคณะประสานงานด้านการรถไฟจีน-ลาว ได้เข้าพบกระทรวงคมนาคม โดยทางจีนให้ความสนที่จะเข้ามาลงทุนก่อสร่างในโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-ระยอง ซี่งมีมูลค่าเบื้องต้น 3.7 หมื่นล้านหยวน หรือประมาณ 2 แสนล้านบาท เนื่องจากเส้นทางดังกล่าว อยู่ในแผนการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบรางในภูมิภาคของประเทศจีน โดยเส้นทางเริ่มจากคุนหมิงของจีน เข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เชื่อมเข้าสู่ประเทศไทยที่จังหวัดหนองคายไปสึไหงโก-ลก เพื่อเชื่อมสู่ประเทศมาเลเซีย

ทั้งนี้ ในช่วงแรกจีนสนใจที่จะลงทุนใน 2 เส้นทางก่อนคือ กรุงเทพฯ-หนองคายและกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อต่อเชื่อมในส่วนที่ออกจากประเทศลาว ส่วนเส้นทางสายใต้ ที่เชื่อมต่อไปเข้าสู่ประเทศมาเลเซียนั้น จะดำเนินการในระยะต่อไป โดยจะใช้รางขนาด 1.435 เมตร หรือ Standard โดยต้องการให้เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการเดินทางในภูมิภาคจากจีน ลาว ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ทั้งด้านผู้โดยสารและสินค้าให้เกิดความสะดวก โดยเฉพาะสินค้านั้นเส้นทางดังกล่าวจะทำให้เชื่อมระหว่างจีนและท่าเรือแหลมฉบัง(ทลฉ.) ของไทยได้

โดยในส่วนของการลงทุนระบบรางร่วมกับจีนนั้น กระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการศึกษาเบื้องต้นไว้แล้ว และได้มีการพิจารณาความเหมาะสมของการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงสำหรับประเทศไทยเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติมร่วมกับประเทศจีน ซึ่งคาดว่าความร่วมมือในการศึกษาร่วมกันจะแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังจากนี้ และในเบื้องต้นคาดว่ารูปแบบการลงทุนจะเป็นแบบของรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี)


ซึ่งไทยและจีนจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อศึกษาโครงการทั้งหมด ทั้งแผนการลงทุน ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน และจัดทำกรอบการเจรจาเสนอรัฐสภาเพื่อเห็นชอบ ก่อนจะจัดการลงนามบันทึกความร่วมมือกับจีนต่อไป ซึ่งคาดว่าภายใน 6 เดือนน่าจะศึกษาเสร็จ เบื้องต้นจะใช้การลงทุนในรูปแบบของรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี)

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนนั้น อยู่ในแผนการเชื่อมโยงโครงข่ายเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อในภูมิภาค โดยตั้งเป้าดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่อาเซียนจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะทำให้การเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ระหว่างอาเซียนและจีนสะดวก รวดเร็วขึ้น และมีส่วนช่วยสนับสนุนด้านการค้าและการลงทุนด้วย


นายสุพจน์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมยังเตรียมเดินทางไปเยือนจีนในวันที่ 26-28 สิงหาคม 2553 นี้ เพื่อหารือในรายละเอียดการลงทุน และจะนำโครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมไปโรดโชว์ด้วย เช่น

1. โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ตามแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงของสนข.นั้น กำหนดความเร็วสูงสุดระหว่าง 200-250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จำนวน4 เส้นทาง วงเงินลงทุนรวมประมาณ 7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย

1.1.เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 209,396 ล้านบาท
1.2.เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 180,379 ล้านบาท
1.3.เส้นทางกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ระยะทาง 937 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 234,071 ล้านบาท และ
1.4.กรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 56,601 ล้านบาท

2. โครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 767 กิโลเมตร วงเงินรวม 6.6 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
2.1.ลพบุรี-นครสวรรค์ ระยะทาง 113 กิโลเมตร วงเงิน 7,860 ล้านบาท
2.2.มาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 11,640 ล้านบาท
2.3.ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 13,010 ล้านบาท
2.4.นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 16,600 ล้านบาท และ
2.5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,000 ล้านบาท

3. โครงการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงใหญ่-บางซื่อ ในส่วนของผู้ร่วมทุนในงานระบบรถไฟฟ้า
4. โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ในส่วนของผู้ร่วมทุนในงานระบบรถไฟฟ้า รวมทั้ง

5. โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล และโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์)

โดยกระทรวงคมนาคมจะนำโครงการดังกล่าวไปโรดโชว์กับนักลงทุนจีน ในวันที่ 26-28 ส.ค. 2553
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 15/08/2010 9:57 pm    Post subject: Reply with quote

คงจะยากที่ยอมรับเรื่องนี้กับจีนครับป๋า แค่การระงับข้อพิพาทโดยใช้กฎหมายจีนเป็นหลัก ก็ตกม้าตายตั้งแต่แรกแล้ว ยังไม่นับบริษัทจากจีนและแรงงานชาวจีน โดยมองข้ามศักยภาพกลุ่มบริษัทผู้รับเหมาเจ้าของบ้าน

พอเข้าใจครับ ในเรื่องการลงทุนก่อสร้างเส้นทางรถไฟขนาดรางมาตรฐานที่จะทอดยาวจากจีนไปถึงสิงคโปร์ โดยทุนทั้งหมดจากจีน เขาก็คิดมากหน่อยในเรื่องรักษาผลประโยชน์

แต่ทางอาเซียนก็คิดเช่นกันว่างานนี้มีเพียงจีนที่ได้ผลประโยชน์ด้านระบายสินค้าของตนเองและขนวัตถุดิบกลับเข้าประเทศตัวเอง ก็อาจไม่เห็นพ้องเรื่องเส้นทางรถไฟสายนี้ก็ได้

ป๋าเคยคิดถึงเรื่องในอดีต ที่อังกฤษเคยเสนอสร้างทางรถไฟจากมะละแหม่งผ่านเมืองระแหง เมืองเชียงใหม่ไปยังจีน โดยออกทุนก่อสร้างเองทั้งหมดได้ไหม ? และทางไทยปฏิเสธไป

จีนคงมาแบบคล้ายๆ กัน สรุปได้ว่าคงต้องคุยกันอีกหลายยก กว่าจะหาข้อสรุปลงตัวกันได้ เท่านั้นแหละครับ
Back to top
View user's profile Send private message
pitch
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 14/07/2006
Posts: 694
Location: วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเรื่อง เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมด็จพระนารายณ

PostPosted: 15/08/2010 4:42 pm    Post subject: Reply with quote

ปู๊น ปู๊น รถไฟจีนมาแล้ว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 สิงหาคม 2553 16:49 น.

เมื่อพูดถึงรถไฟความเร็วสูง ในโลกนี้มีอยู่ด้วยกัน4-5 ระบบ คือ รถไฟหัวกระสุนหรือ “ ชินคันเซ็น” ของญี่ปุ่น ซึ่งมีความเร็ว 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระบบ เอวีอี ( AVE - Alta Velocidad Espanola) ในสเปน วิ่งเร็ว 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระบบ ทีจีวี ในฝรั่งเศส มีความเร็ว 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถไฟความเร็วสูงของจีน ซึ่งเป็นน้องใหม่ล่าสุด ที่นำเทคโนโลยี่ของหลายๆเจ้า ทั้งเยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน ญี่ปุ่น มาดัดแปลง พัฒนาขึ้นใหม่จน วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกคือ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ส่วนรถไฟไทยของเรา ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง มีความเร็วโดยเฉลี่ยแล้ว ชั่วโมงละ 50-60 กิโลเมตรเท่านั้นเอง เร็วขนาดนี้ ยังตกรางอยู่บ่อยๆ เมื่อไม่นานมานี้ คณะรัฐมนตรีเพิ่งจะอนุมัติแผนยกเครื่องรถไฟไทย ด้วยงบประมาณ 170,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบราง หัวรถจักร ระบบอาณัติสัญญาณทั้งหลาย โดยมีความหวังว่า จะทำให้รถไฟไทยวิ่งได้เร็วขึ้นอีกเท่าตัวคือ 100-120 กิโลเมตรต่อขั่วโมง

สำหรับรถไฟความเร็วสูงนั้น เท่าที่ผ่านมา มีแต่ข่าวว่า จะสร้างๆ แต่ไม่มีวี่แววว่า จะเป็นจริงขึ้นมา เลยแม้แต่น้อย

มาถึงวันนี้ ข่าวคราวเกี่ยวกับ การสร้างรถไฟความเร็วสูใรประเทศไทยกลบมาอีกครั้ง และครั้งนี้ ดูเหมือนจะมีโอกาส ความน่าจะเป็นมากที่สุด ไม่เลื่อนลอยเหมือนที่ผ่านๆมา เพราะว่า เป็นโครงการที่ประเทศจีนร่วมลงทุนก่อสร้างด้วย และมีการผลักดัน ผ่าน ครม. โดยมีมติให้ตั้งคณะทำงาน ศึกษารายละเอียดในการดำเนินงานขึ้นมาแล้ว

การผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงเที่ยวล่าสุดนี้ เกิดขึ้นอย่างรีบด่วน หลังจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับจกาการไปเยือนประเทศจีน ร้อมกับ นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ โดยระหว่างที่อยู่ที่จีน นายสุเทพ ได้พบกับ ผู้บริหารด้านกิจการรถไฟของจีน เพื่อหารือในเรื่องความร่วมมือในการพัฒนาระบบรถไฟไทย

นายสุเทพ เสนอใน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 กรกฎาคม ให้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษารายละเอียดโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ในโครงการพัฒนากิจการรถไฟในระยะแรก จำนวน 2 โครงการ คือโครงการก่อสร้างรถไฟที่มีขนาดความกว้างของรางที่เป็นมาตรฐาน ( กว้าง 1.43 เมตร ส่วนรางรถไฟไทยกว้างเพียง 1 เมตร) จากชายแดนไทย-ลาว ที่จังหวัดหนองคาย ไปสุดชายแดนไทยภาคใต้ที่สุไหงโก-ลก และโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดระยอง

คณะกรรมการชุดนี้ มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ส่วนกรรมการ ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยมีนายโสภณ ชารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นที่ปรึกษา

คณะกรรมการชุดนี้ จะศึกษารายละเอียดการดำเนินงานให้ทัน การเดินทางไปเยือนจีนของนายอภิสิทธิ์ ภายในปีนี้ ซึ่งจะมีการลงนามในเอ็มโอยู ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน โดยหลักการคร่าวๆ จะมีการตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีนขึ้นรับผิดชอบ บริหารจัดการโครงการทั้งสอง โดยฝ่ายไทยไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงแต่ หาที่ดิน ซึ่งจะใช้ที่ดิน ในเขตรถไฟ สร้างรางรถไฟคู่ขนานไปกับ รางรถไฟในปัจจุบัน ที่เหลือฝ่ายจีนทำเองทั้งหมด ทั้งออกเงิน และลงมือสร้างราง โครงสร้างพื้นฐานในการเดินรถ รวมทั้งการจัดหาขบวนรถไฟ

จีนมีเครือข่ายรถไฟที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากอินเดีย และลงทุนพัฒนาประสิทธิภาพของเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ การพัฒนารถไฟความเร็วสูง

ห้าปีก่อน จีนไม่มีรถไฟความเร็วสูงเลย แต่ปัจจุบัน จีนมีเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง มากกว่าทุกประเทศในทวีปยุโรป รวมกัน และคาดว่า อีก 2 ปีข้างหน้า จีนจะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงยาว 12,000 กิโลเมตร ยาวกว่าทุกประเทศใดลกรวมกัน

จีนยังสามารถผลิตรถไฟความเร็วสูงที่สามารถวิ่งได้เร็วกว่า 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้เวลาเพียง 3 ปี ซึ่งเป็นผลจากการที่จีนตั้งเงื่อนไขให้ บริษัทที่เป็นเจ้าเทคโนโลยีระบบราง ทั้งในยุโรป แคนาดา และญี่ปุ่น ที่ต้องการเข้าไปลงทุนในจีน ต้องร่วมทุนกับบริษัทของรัฐบาล และถ่ายทอดเทคโนโลยี่ให้ด้วย

นอกจากการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศแล้ว จีนยังขยายเส้นทางรถไฟไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศที่อยู่ต่อเนื่องถัดไปด้วย

ศาสตราจารย์ หวัง เมิ่งฉู่ จากมหาวิทยาลัย ปักกิ่ง เจียวถง และเป็นสมาชิกของสถาบันวิศวกรรมศาสตร์แห่งชาติจีน เรียกการขยายเส้นทางรถไฟนี้ว่า "การทูตรถไฟ" ซึ่งมีเป้าหมาย สองข้อ ข้อแรกคือ จีนต้องการพัฒนาภูมิภาคตะวันตกของตนเอง ซึ่งคาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะมีผู้อพยพจำนวนหลายร้อยล้านคน เคลื่อนย้ายศูนย์กลางธุรกิจและการผลิตไปยังภูมิภาคตะวันตกที่ยังรกร้างและเข้าถึงยาก ข้อสอง เพื่อแลกกับทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเพื่อนบ้าน

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีน แบ่งเป็น 3 เส้นทางคือ เส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อมคุนหมิง สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และสิงคโปร์ เส้นทางเอเชียกลางจากมณฑลซินเจียง ผ่านไปยังคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และหากเป็นไปได้อาจขยายยาวไปถึงเยอรมนี เส้นทางที่สาม เริ่มจากมณฑลเฮยหลงเจียงในทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นไปถึงรัสเซีย โดยมีปลายทางอยู่ที่ ยุโรปตะวันตก

สิ่งที่จีนหวังจะได้จากการลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง ผ่านไทยครั้งนี้ คงไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติ น่าจะเป็น การสร้างโครงข่ายเชื่อมโยกกับอาเซียน ซึ่งมีตลาดขนาดใหญ่ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงมาก ทั้งยังเป็นเส้นทางออกสู่ มหาสมุทนแปซิฟิค และมหาสมุทรอินเดียอีกทางหนึ่งด้วย

ส่วนประเทศไทย ก็จะได้แก้ปัญหา การคมนาคมขนส่ง ทางรถไฟ ที่พูดกันมานาน แต่ไม่เคยทำได้สำเร็จเสียที เพราะหน่วยงานที่รับผิชดอบไม่มีปัญญาทำ ต้องยืมมือจีนเข้ามาช่วย

Embarassed Embarassed Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 12/08/2010 8:20 am    Post subject: Reply with quote

อ่าน ๆ หัวข้อประกอบการเข้าร่วมโครงการของรัฐ แล้ว
สงสัยนักข่าวจะตกข่าวหรือไม่แถลงข่าวออกมา เช่น เรื่อง อัตราดอกเบี้ยร้อยละ.... (ต่างกับแหล่งทุนที่อื่นหรือไม่)
และ เงื่อนไข ต่าง ๆ โดยเฉพาะทางกฎหมาย ที่ใช้กฎหมายบ้านเขาในการบังคับใช้เมื่อมีปัญหาข้อพิพาทต่าง ๆ

รวมถึงการอนุญาตให้ผู้รับเหมางานก่อสร้างของเขาโดยมีเงื่อนไขจะใช้ใช้วัสดุจากบ้านเขา รวมถึงการใช้คน ไม่ว่าด้านแรงงานมีฝีมือ เช่นวิศวกร สถาปนิค และคนงานของเขามากว่าร้อยละ 50

คงเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ยอมรับกันได้มั้งเนี่ย Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 542, 543, 544 ... 549, 550, 551  Next
Page 543 of 551

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©