Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13286661
ทั้งหมด:13597985
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 54, 55, 56 ... 122, 123, 124  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2016 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

“สามารถ” ชี้แค่ลดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่พอ
คมชัดลึก
30 สิงหาคม 2559
“สามารถ” ชี้ รฟม. ลดค่ารถไฟฟ้าสายสีม่วง ก็ไม่ช่วยเพิ่มผู้โดยสาร แนะทำการตลาดเชิงรุก เพิ่มผู้ใช้บริการโดยจัดชัตเติลบัสรับส่ง ย้ำหากไม่ทำไม่มีวันคุ้มทุน
เมื่อวันที่ 30 ส.ค. นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์” ถึงกรณีที่ พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประกาศลดค่าโดยสาร และค่าธรรมเนียมที่จอดรถ ไปจนกว่าจะเชื่อสถานนี้เตาปูนบางซื่อได้ พร้อมระบุว่าจะช่วยให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 30% ว่า ส่วนตัวมีความเป็งเรื่องดังกล่าว 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ การกระตุ้นให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 30% ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะมีการลดค่าโดยสารและค่าที่จอดรถแล้วก็ตาม เพราะตลอดแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีแหล่งทำงานขนาดใหญ่น้อย มีการใช้อีกทั้งมีแหล่งที่อยู่อาศัยที่ไม่หนาแน่นมาก โดยมีหมู่บ้านกระจัดกระจาย ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ไกลจากสถานี ทำให้การเดินทางเข้าออกสถานีไม่สะดวก

จากการกรณีดังกล่าว ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนใหญ่จะต้องเดินทางเข้าไปทำงานในตัวเมือง ซึ่งถ้าเขาต้องใช้รถไฟฟ้าเพื่อเดินทางไปทำงาน เขาจะต้องเปลี่ยนรถไฟฟ้าหลายต่อ เสียค่าโดยสารแพง และใช้เวลาการเดินทางไม่น้อย รถไฟฟ้าจึงไม่สามารถจูงใจคนเหล่านี้ได้ ดังนั้น ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงและค่าที่จอดรถจะต้องถูกมากถึงจะจูงใจให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้า ซึ่งรฟม.สามารถปรับลดราคาได้ เพราะรฟม.ลงทุนเองทั้งหมด ต่างกับรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินที่เอกชนลงทุนทั้งหมด และลงทุนบางส่วนตามลำดับ ทั้งนี้การลดค่าโดยสารและค่าที่จอดรถเพียงอย่างเดียว ก็ไม่สามารถทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 30% ได้ ดังนั้น รฟม.จะต้องทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น ช่วยขนคนจากบ้านมาสู่สถานี ดังที่บีทีเอสได้เคยทำในช่วงแรกๆ ของการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยจัดให้มีชัตเติลบัสวิ่งระหว่างแหล่งทำงาน แหล่งที่อยู่อาศัยกับสถานีหลายสาย ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยสรุป ถึงเวลานี้จำเป็นที่รฟม.จะต้องบริหารงานแบบเอกชนเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอด และเจริญเติบโตให้ได้

นายสามารถระบุต่อไปว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับท่านประธานบอร์ดรฟม. ที่กล่าวว่าไม่เน้นเรื่องกำไรขาดทุน เพราะเป็นบริการสาธารณะ แต่ตนเห็นว่าทาง รฟม.จะต้องทำให้รถไฟฟ้าสายสีม่วงขาดทุนน้อยที่สุด ไม่สร้างภาระหนักให้กับรัฐบาล หากรฟม.ไม่เร่งทำการตลาดเชิงรุกแบบเอกชน แม้ว่าจะลดราคาลงแล้วก็ตาม ก็จะไม่สามารถทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 30% ได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้การขาดทุนก็จะเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ในปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณวันละ 20,000 คน รฟม.มีรายได้จากค่าโดยสารวันละประมาณ 600,000 บาท นั่นหมายความว่าผู้โดยสารเสียค่าโดยสารเฉลี่ยคนละ 30 บาท หากลดค่าโดยสารลงมาเป็น 14-29 บาท ตนคาดว่าค่าโดยสารเฉลี่ยต่อคนจะลดลงเหลือประมาณ 20 บาท ดังนั้น รฟม.จะมีรายได้ลดลงเหลือวันละประมาณ 440,000 บาท (20,000 คน X 10% X 20 บาท) ในขณะที่รฟม.ต้องจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็มให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาวันละ 3.6 ล้านบาท สำหรับปีแรกที่เปิดให้บริการ ดังนั้น รฟม.จะขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 3.16 ล้านบาท จากปัจจุบันวันละ 3 ล้านบาท

“ด้วยเหตุนี้ รฟม.จะต้องหาทางทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% จากจำนวนผู้โดยสารในปัจจุบันวันละประมาณ 20,000 คน หรือเพิ่มขึ้นเป็นวันละไม่น้อยกว่า 30,000 คนให้ได้ จึงจะทำให้ลดการขาดทุนในปีนี้ลงได้ แต่ในปีหน้าจำนวนผู้โดยสารจะต้องเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า ไม่เช่นนั้นนั้น รฟม.จะขาดทุนเพิ่มมากขึ้นเพราะจะต้องจ่ายค่าจ้างบีอีเอ็มเพิ่มขึ้นเป็นวันละประมาณ 5.1 ล้านบาท จากปัจจุบันวันละ 3.6 ล้านบาท ดังนั้น การที่ท่านประธานบอร์ดรฟม.คาดหวังว่า ต้องรอระยะยาวจึงจะคุ้มทุนนั้น หากไม่สามารถทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้ จะไม่มีวันที่จะคุ้มทุน ไม่ว่าจะรอนานเพียงใดก็ตาม”นายสามารถกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2016 7:57 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“สามารถ” ชี้แค่ลดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่พอ
คมชัดลึก
30 สิงหาคม 2559


ลดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วง ผู้โดยสารจะเพิ่ม 30% ได้จริงหรือ?
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

updated: 31 สิงหาคม 2559 เวลา 17:00:45 น.

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ระบุถึงการ ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงจากเดิม 14-42 บาท ลงเหลือ 14-29 บาท สำหรับผู้ใช้บัตรเติมเงิน (MRT Plus) เท่านั้น และลดค่าจอดรถที่อาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) กรณีจอดรายวันจาก 10 บาทต่อ 2 ชั่วโมง เป็น 5 บาทต่อ 2 ชั่วโมง และกรณีจอดรายเดือนจาก 1,000 บาท เป็น 500 บาท ทั้งนี้ อัตราค่าโดยสารและค่าที่จอดรถใหม่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นไป จนกว่าจะสามารถเชื่อมต่อสถานีเตาปูนถึงสถานีบางซื่อได้

“...ประเมินว่ามาตรการลดค่าโดยสารจะช่วยกระตุ้นให้มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงมากขึ้นอีก 30% จากจำนวน 20,000 คนที่ใช้บริการในปัจจุบัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 6,000 คนต่อวัน…

ยืนยันว่าไม่เน้นเรื่องกำไรขาดทุน เพราะเป็นบริการสาธารณะ เชื่อว่าต้องรอระยะยาวจึงจะคุ้มทุน...” พลเอกยอดยุทธกล่าวเพิ่มเติม
ผมได้อ่านคำสัมภาษณ์ของท่านประธานบอร์ดรฟม. แล้วมีความเป็นห่วงท่านดังนี้

1. การที่จะกระตุ้นให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 30% นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแม้ว่าจะมีการลดค่าโดยสารและค่าที่จอดรถแล้วก็ตาม เนื่องจากตลอดแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีแหล่งทำงานขนาดใหญ่น้อย มีอาคารสูงไม่มาก การใช้ที่ดินส่วนใหญ่ประกอบด้วยแหล่งทำงานขนาดเล็กและแหล่งที่อยู่อาศัยที่ไม่หนาแน่นมาก โดยมีหมู่บ้านกระจัดกระจายซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ไกลจากสถานี ทำให้การเดินทางเข้าออกสถานีไม่สะดวก

จากการที่มีแหล่งทำงานขนาดใหญ่น้อย ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนใหญ่จะต้องเดินทางเข้าไปทำงานในตัวเมือง เช่น สาทร สีลม และสยาม เป็นต้น หากเขาเหล่านี้เลือกที่จะใช้รถไฟฟ้าเพื่อเดินทางไปทำงาน เขาจะต้องเปลี่ยนรถไฟฟ้าหลายต่อ เสียค่าโดยสารแพง ใช้เวลาการเดินทางไม่น้อย รถไฟฟ้าจึงไม่สามารถจูงใจคนเหล่านี้ได้ ดังนั้น ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงและค่าที่จอดรถจะต้องถูกมากจึงจะจูงใจให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้า ซึ่งรฟม.สามารถปรับลดราคาได้เพราะรฟม.ลงทุนเองทั้งหมด ต่างกับรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินที่เอกชนลงทุนทั้งหมด และลงทุนบางส่วนตามลำดับ

แต่การลดค่าโดยสารและค่าที่จอดรถเพียงอย่างเดียวก็จะไม่สามารถทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 30% ได้ การจะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญนั้น รฟม.จะต้องทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น ช่วยขนคนจากบ้านมาสู่สถานี ดังที่บีทีเอสได้เคยทำในช่วงแรกๆ ของการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยจัดให้มีชัตเติลบัสวิ่งระหว่างแหล่งทำงาน/แหล่งที่อยู่อาศัยกับสถานีหลายสาย ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยสรุป ถึงเวลานี้จำเป็นที่รฟม.จะต้องบริหารงานแบบเอกชนเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอด และเจริญเติบโตให้ได้

2. ผมเห็นด้วยกับท่านประธานบอร์ดรฟม. ที่กล่าวว่า “ไม่เน้นเรื่องกำไรขาดทุน เพราะเป็นบริการสาธารณะ” แต่อย่างไรก็ตาม รฟม.จะต้องทำให้รถไฟฟ้าสายสีม่วงขาดทุนน้อยที่สุด ไม่สร้างภาระหนักให้กับรัฐบาล หากรฟม.ไม่เร่งทำการตลาดเชิงรุกแบบเอกชน แม้ว่าจะลดราคาลงแล้วก็ตาม ก็จะไม่สามารถทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 30% ได้ ผมคาดว่าน่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้การขาดทุนก็จะเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ในปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณวันละ 20,000 คน รฟม.มีรายได้จากค่าโดยสารวันละประมาณ 600,000 บาท นั่นหมายความว่าผู้โดยสารเสียค่าโดยสารเฉลี่ยคนละ 30 บาท หากลดค่าโดยสารลงมาเป็น 14-29 บาท ผมคาดว่าค่าโดยสารเฉลี่ยต่อคนจะลดลงเหลือประมาณ 20 บาท ดังนั้น รฟม.จะมีรายได้ลดลงเหลือวันละประมาณ 440,000 บาท (20,000 คน X 10% X 20 บาท) ในขณะที่รฟม.ต้องจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็มให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาวันละ 3.6 ล้านบาท (สำหรับปีแรกที่เปิดให้บริการ) ดังนั้น รฟม.จะขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 3.16 ล้านบาท (3,600,000–440,000) จากปัจจุบันวันละ 3 ล้านบาท

ด้วยเหตุนี้ รฟม.จะต้องหาทางทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% จากจำนวนผู้โดยสารในปัจจุบันวันละประมาณ 20,000 คน หรือเพิ่มขึ้นเป็นวันละไม่น้อยกว่า 30,000 คนให้ได้ จึงจะทำให้ลดการขาดทุนในปีนี้ลงได้ แต่ในปีหน้าจำนวนผู้โดยสารจะต้องเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า มิฉะนั้น รฟม.จะขาดทุนเพิ่มมากขึ้นเพราะจะต้องจ่ายค่าจ้างบีอีเอ็มเพิ่มขึ้นเป็นวันละประมาณ 5.1 ล้านบาท จากปัจจุบันวันละ 3.6 ล้านบาท

ดังนั้น การที่ท่านประธานบอร์ดรฟม.คาดหวังว่า “เชื่อว่าต้องรอระยะยาวจึงจะคุ้มทุน” นั้น หากไม่สามารถทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้ จะไม่มีวันที่จะคุ้มทุน ไม่ว่าจะรอนานเพียงใดก็ตาม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/09/2016 4:54 pm    Post subject: Reply with quote

คนใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วงบางตา แม้ลดราคาค่าโดยสาร
Thai PBS News Published on Aug 31, 2016

แม้ รฟม.ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง แต่ผู้โดยสารยังคงใช้บริการน้อย อาจเป็นเพราะเรื่องความไม่สะดวกในการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน


https://www.youtube.com/watch?v=qOpx7Vqgom8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2016 5:17 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คนใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วงบางตา แม้ลดราคาค่าโดยสาร
Thai PBS News Published on Aug 31, 2016



ลดราคาสายสีม่วงวันแรก
https://www.youtube.com/watch?v=7u--oaXEZIk

รฟม.ชวนใช้บัตร MRT Plus ฟรีค่าธรรมเนียมถึง 30 ก.ย.นี้
โดย MGR Online
31 สิงหาคม 2559 15:45 น.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เชิญชวนใช้บัตร MRT Plus มี 4 ประเภท ได้แก่ บัตรบุคคลทั่วไป บัตรนักเรียน/นักศึกษา บัตรเด็ก และบัตรผู้สูงอายุ ราคาพิเศษ 150 บาท (มูลค่าการเดินทาง 100 บาท ค่ามัดจำบัตร 50 บาท และฟรีค่าธรรมเนียม 30 บาท จนถึงวันที่ 30 ก.ย.59) โดยบัตรเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดค่าโดยสาร 50% จากอัตราค่าโดยสารปกติ และบัตรนักเรียน นักศึกษา ที่อายุไม่เกิน 23 ปี หรือไม่เกินวันเกิดอายุครบ 23 ปี ในสังกัดสถาบันการศึกษา จะได้รับส่วนลดค่าโดยสาร 10%
ทั้งนี้มีจำหน่ายบนสถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ทั้ง 16 สถานี โดยใช้เป็นบัตรเติมเงิน เพื่อชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และสายเฉลิมรัชมงคลได้
ผู้โดยสารที่ใช้บัตรโดยสาร MRT Plus และเดินทางเปลี่ยนระบบ ภายในระยะเวลา 60 นาที รฟม.จะยกเว้นค่าแรกเข้าระบบ (14 บาท) รวมถึงใช้ชำระค่าบริการจอดรถในอาคารจอดรถของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมได้ ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ อาคารจอดรถสถานีบางรักน้อยท่าอิฐ อาคารจอดรถสถานีสามแยกบางใหญ่ และอาคารจอดรถสถานีคลองบางไผ่ ทั้งนี้ผู้โดยสารสามารถนำบัตร MRT Plus ไปสมัครใช้บริการจอดรถรายเดือนได้ ณ อาคารจอดรถทุกแห่ง ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center รฟม. โทร. 0-2716-4044 และ เฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/09/2016 11:14 am    Post subject: Reply with quote

เสียงสะท้อน“สายสีม่วง”ผู้ใช้จริงพอใจแค่ไหน? ลุ้นรอด-ไม่รอด อนาคตรถไฟฟ้าชานเมือง(คลิป)
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 ก.ย. 2559 เวลา 10:00:29 น.

หนึ่งเดือนแล้ว...หลังรถไฟฟ้าที่แล่นพาดผ่านชานเมือง สายสำคัญที่รอคอยกันมายาวนานถึง 6 ปี เปิดหวูดให้บริการประชาชนอย่างเป็นทางการ เมื่อต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา

เสียงสะท้อนกลับต่อ “สายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน” เป็นกระแสที่ถูกจับตามองอย่างไม่ลดละ มีแต่มากขึ้นและมากขึ้นต่อไปอีก เมื่อเปิดเผยตัวเลข “ขาดทุน” พุ่งสามล้านบาทต่อวัน จากยอดผู้ใช้บริการที่เคยตั้งเป้าไว้ที่วันละ 73,000 คนต่อวัน แต่มีคนใช้จริงแค่วันละ 22,000 คนต่อวันเท่านั้น จำนวนที่หายไป 50,000 กว่าคน...ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

หรือการลดราคาอาจจะช่วยได้ ? การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เดินหมากแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ประเดิมลดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วงกระหน่ำ 50 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 14-42 บาท เหลือ 14-29 บาท สำหรับผู้ใช้บัตรเติมเงิน (MRT Plus) เท่านั้น ผู้ใช้เที่ยวเดียวแบบหยอดเหรียญอดไป พร้อมทั้งดึงดูดผู้ใช้รถยนต์ด้วยการลดค่าจอดรถแบบจอดแล้วจร แบบรายวันจากเดิมอัตรา 10 บาท เหลือ 5 บาท ต่อ 2 ชั่วโมง และรายเดือนจากเดิม 1,000 บาท เหลือ 500 บาทต่อเดือน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.เป็นต้นไป

หวังกระตุ้นให้คนมาใช้สายสีม่วงมากยิ่งขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วจะได้ผลหรือไม่...ก็ยังลุ้นกันอยู่

Click on the image for full size

ลองฟังเสียงประชาชนผู้ใช้ “จริงๆ” กันบ้าง "ประชาชาติธุรกิจออนไลน์" พาสำรวจบรรยากาศการใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงหลังกำลังจะเปิดครบ 1 เดือน เสียงตอบรับเป็นอย่างไร ใช้ชีวิตสะดวกมากขึ้นแค่ไหน ราคาค่าโดยสารเป็นที่น่าพอใจหรือเปล่า และพวกเขาต้องการให้แก้ไขเพิ่มเติมอะไรบ้าง

และดราม่าปรากฏการณ์ "ฟันหลอ" ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสถานีเตาปูน และรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อ ระยะทางหนึ่งกิโลเมตรกับบริการรถเมล์ฟรีส่งถึงที่ จะ "สะดวก" หรือ "เสียเวลา" กันแน่


https://www.youtube.com/watch?v=NBikxdPp7xM

รถไฟใหม่ วิวสวย นั่งสบาย กระจกบานใหญ่ ได้อารมณ์สไตล์ญี่ปุ่น โดยใช้เวลาจากสถานีเตาปูนไปสถานีบางใหญ่ราว 45 นาที...

Click on the image for full size

Click on the image for full size

จากการพูดคุยกับผู้ใช้จริงหลากช่วงวัยหลายอาชีพ พบว่าส่วนใหญ่ยัง “ให้อภัย” ในข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ เช่นการเปิดประตูไม่ตรงกับช่องทางออก การหยุดเดินรถชั่วคราวด้วยเหตุขัดข้องบางประการ ด้วยความเหตุผลที่ว่าสายสีม่วงเพิ่งเปิดให้ใช้แค่หนึ่งเดือนเอง ต้องรอให้ระบบเขาเข้าที่ก่อน บางรายถึงกับยกตัวอย่างพาดพิงถึงบีทีเอสที่วิ่งมานานเป็น10 ปี ยังเกิดเหตุขัดข้องอยู่เลย...แต่ก็ขอให้ปรับปรุง

Click on the image for full size

ด้านบริการ “ห้องน้ำ” แก้ปัญหาข้าศึกบุกตอนอยู่ในสถานี เห็นจากรีวิวแล้วอยากลองใช้มาก แต่ประตูกลับถูกล็อกไว้ ต้องเดินไปบอกว่าเราต้องการใช้ห้องน้ำ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ก็ยินดีที่จะมาเปิดให้ โดยเจ้าหน้าที่รายหนึ่งระบุว่าเปิดให้บริการประชาชนแต่มีระเบียบให้ล็อกไว้ ใจจริงอยากให้เปิดให้ทุกคนใช้ได้เลย

Click on the image for full size

หันมาพูดเรื่องราคาหลายคนยังว่าแพงไป แต่หลายคนก็พอรับได้ และการลดราคาคเป็นสิ่งที่ดีมาก ควรทำต่อเนืองเพราะต่างหวังว่าคนจะเลือกมาใช้บริการเพิ่มขึ้น...

Click on the image for full size

แล้วประเด็น “ฟันหลอ” ล่ะ ? เมื่อช่วงเช้า 7.30 – 9.00 น. ของวันพุธ เดินลงมาจากสถานีเตาปูนเพื่อมาขึ้น “รถเมล์ชัตเติลบัส” รอคิวสักพักก้าวเดินขึ้นรถเลย และสังเกตพบว่ามีรถชัตเติลบัสจอดรอสแตนบายอยู่ถึง 5 คัน โดยใช้เวลา 10-15 นาที ฝ่ารถติดหนึ่งไฟแดงไปถึงสถานีบางซื่อ (คาดว่าหลังจากมีกระแสข่าวปัญหาคนต่อคิวยาวเหยียด จึงมีการเพิ่มรถโดยสารบริการมากขึ้น)

Click on the image for full size

Click on the image for full size

หลายคนตัดสินใจเลือกบริการจักรยานยนต์รับจ้าง ด้วยความรวดเร็วแค่ 5 นาทีจากสถานีเตาปูนถึงสถานีบางซื่อ อัตราค่าบริการ 20 บาทตามเดิม โดยพี่วินรายหนึ่งเล่าให้เราฟังว่าตั้งแต่มีการเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์

Click on the image for full size

เสียงสะท้อนจากเหล่าผู้ใช้จริงยังคงให้ “กำลังใจ” สายสีม่วงด้วยความเห็นที่ว่าเป็น “ความลำบาก” ที่ยังพอรับได้ แต่ขอแค่สร้างเชื่อมต่อให้ได้เร็วๆเถอะ อุดฟันหลอจุดนี้ให้ได้...ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี

รฟม.มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาด “สายสีม่วง” เพราะการตั้งเป้าจะดึงผู้ใช้หน้าใหม่ให้เพิ่มขึน 30 เปอร์เซ็นต์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และเปรียบเทียบกับบีทีเอสที่ต้องใช้เวลาเป็นทศวรรษกว่าจะทำกำไร จากปี 2542 จากคนใช้แค่แสนคนต่อวัน จนถึงทุกวันนี้พุ่ง 8-9 แสนคนต่อวันได้นั้น ต้องดูบริบททางพื้นที่และการเดินทาง

Click on the image for full size

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ความแตกต่างคือการเดินทางสายสีม่วงเป็นรถไฟชานเมืองจากเมืองนนท์เข้าเตาปูน รถจะติดแค่ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น แต่เวลาอื่นรถยนต์ยังวิ่งได้สบาย ซึ่งทำให้สายสีม่วงยังต้องต่อสู้กับคู่แข่งรายสำคัญคือ “รถตู้”

Click on the image for full size

ส่วนบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งเข้ากลางกรุงเทพฯ จุดศุนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศอย่างอโศก สาทรและสยาม รถจึงติดตลอดทั้งวัน ผู้คนเลือกใช้รถไฟฟ้ามากกว่าเพราะหลีกเลี่ยงการเสียเวลาและเสียอารมณ์ไปกับการจราจรทางถนนกลางกรุงเทพฯ ที่เหมือนปัญหาโลกเเตกที่เเก้ไม่ได้

ขณะที่บริบททางพื้นที่ รถไฟฟ้าสายสีม่วงแล่นผ่านแหล่งทำงานขนาดเล็ก มีศูนย์ราชการเพียงไม่กี่แห่งเช่น กระทรวงสาธารณสุข คนไม่พลุกพล่านมาก หมู่บ้านที่อยู่อาศัยค่อนข้างอยู่ห่างจากสถานีต่างๆ

แต่บีทีเอสและรถไฟสายสีน้ำเงินผ่านบริษัทใหญ่ แหล่งรวมออฟฟิศ คนต่างเข้าไปทำงาน ท่องเที่ยวและช็อปปิ้ง ปริมาณการกระจุกตัวของคนไม่สามารถเปรียบเทียบจำนวนกันได้

Click on the image for full size

งานหนัก...งานหินของรฟม.ที่ต่อไปจากนี้จะต้องแบกรับการขาดทุนวันละ 3 ล้าน (เป็นอย่างต่ำ) เฉพาะหน้าคือต่องเร่งเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟเข้ากลางกรุงให้ได้เร็วที่สุด ไม่ใช่แค่สายสีม่วง ยังต้องคิดถึง “สายสีแดง-สายสีเขียวส่วนขยาย” รถไฟชานเมืองที่กำลังจะมีในอนาคต

โดยสิ่งสำคัญที่จำเป็นที่สุดคือกลับไปคิดแก้ปัญหาว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะคนในพื้นที่ออกมาใช้บริการเพิ่มขึ้นได้อย่างไร แม้รฟม.จะบอกว่าไม่เน้นเรื่องกำไรขาดทุน เพราะเป็นบริการสาธารณะ และคาดหวังว่าระยะยาวจึงจะคุ้มทุนก็ตาม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2016 5:45 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่ปัง! "พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค"เลื่อนเปิดคอนโดฯสถานีท่าอิฐ

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
4 กันยายน 2559 เวลา 18:57:38 น.


นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาธุรกิจ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือพีเอฟ เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ยังเติบโตได้ แต่เติบโตในอัตราที่ไม่สูงมากนัก ประมาณ 5-10% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยช่วงครึ่งปีแรกผู้ประกอบการมีการเปิดโครงการใหม่น้อย เพราะเร่งระบายสต๊อกโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมโอนให้ทันกับมาตรการของภาครัฐ ส่วนช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าจะมีการเปิดโครงการใหม่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งโครงการเปิดขายใหม่จะช่วยกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการให้เพิ่มขึ้น

นายวงศกรณ์กล่าวว่า สำหรับแผนการเปิดโครงการของบริษัทครึ่งปีตั้งเป้าหมายเปิดคอนโดมิเนียม 5 โครงการ มูลค่ารวม 7,700 ล้านบาท แต่คาดว่าจะเปิดได้เพียง 4 โครงการ มูลค่า 6,700 ล้านบาท จากเดิมคาดว่าจะเปิด 5 โครงการ โดยเลื่อนโครงการที่เลื่อนอยู่แนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง 1 โครงการ บริเวณสถานีท่าอิฐ มูลค่า 1,000 ล้านบาท เป็นคอนโดมิเนียมโลว์ไรส์ 8 ชั้น 2 อาคาร ไปเปิดปี 2560 เนื่องจากที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงเปิดให้บริการแล้ว แต่ประชาชนมาใช้บริการน้อยเพราะการเดินทางที่ไม่สะดวก มีปัญหาการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บริษัทจึงรอให้มีการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินแล้วเสร็จก่อนจึงจะเปิดโครงการ รวมทั้งบริเวณรถไฟฟ้าสายสีม่วงซัพพลายคอนโดมิเนียมเหลือขายอยู่ จึงรอให้ตลาดมีความพร้อมก่อน

นายวงศกรณ์กล่าวว่า บริษัทได้ขยายทำเลการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมไปในทำเลใหม่โดยยังเน้นทำเลที่ติดรถไฟฟ้าเป็นหลัก ได้แก่ โครงการเมโทรลักซ์ พหลโยธิน 2 ใกล้สถานีบีทีเอสสะพานควาย โครงการเมโทรสกาย ราคา 2 ล้านบาทต้น ทำเลใกล้บีทีเอสวุฒากาศ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีบริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 เป็นทำเลใหม่ที่บริษัทขยายเข้าไปพัฒนาโครงการเป็นครั้งแรก และโครงการไอคอนโด แคมปัส ใกล้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ย่านรามคำแหง

นายวงศกรณ์กล่าวด้วยว่า ช่วง 7 เดือนแรก บริษัทมียอดขาย 6,800 ล้านบาท เติบโต 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเป้าหมายยอดขายที่ตั้งไว้ 15,000 ล้านบาท คาดว่าจะได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 17,600 ล้านบาท จากปัจจุบันมีรายได้ 7,400 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2016 1:03 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เสียงสะท้อน“สายสีม่วง”ผู้ใช้จริงพอใจแค่ไหน? ลุ้นรอด-ไม่รอด อนาคตรถไฟฟ้าชานเมือง(คลิป)
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 ก.ย. 2559 เวลา 10:00:29 น.


ลดราคาก็ไม่ช่วย!! รถไฟฟ้าสายสีม่วงยังโล่งแม้ในชั่วโมงเร่งด่วน
http://video.sanook.com/player/943981/


ชำแหละปัญหาจราจร “เมื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่ใช่ทางเลือกคนกรุงฯ"??
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
6 กันยายน 2559 เวลา 20:50:29 น.


โดย วรวิทย์ ไชยทอง
ที่มา มติชนออนไลน์


หลังจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2559 เป็นต้นมา ปรากฏว่ามีผู้โดยสารน้อย เพียงแค่ประมาณวันละ 20,000 คนเท่านั้น ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ทั้งยังมีข่าวไม่ค่อยดีออกมา ทั้งการยืนรอรถอย่างแน่นขนัดช่วงสถานีเตาปูนเพื่อรอรถไปยังสถานีบางซื่อ รวมถึงปัญหาตัวรถเอง ที่จู่ๆประตูก็ไม่ปิด รถไม่เคลื่อนทำให้เสียเวลา กระทั่งถูกเปิดเผยตัวเลขว่าก่อให้เกิดภาวะขาดทุนอย่างหนักต่อวัน เพราะมีคนใช้น้อย แม้จะลดค่าโดยสารจำนวนมากแล้ว ก็ดูเหมือนเเทบไม่ช่วย ขณะที่มีข่าวว่าคอนโดสำคัญๆเริ่มเลื่อนการเปิดตัวเพราะไม่ปัง อย่างที่คิด

คุยกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิต ภู่จินดา ณ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตอบคำถามเหล่านี้ ว่าทำไมสายสีม่วง ไม่ปัง!!

-วิเคราะห์ปัญหารถไฟฟ้าสายสีม่วง ในฐานะนักวิชาการด้านผังเมือง อธิบายความผิดพลาดดังกล่าวว่าอย่างไรได้บ้าง?

รถไฟฟ้าสายสีม่วงมีปัญหาอยู่สองประเด็น เรื่องแรกคือมันยังไม่สมบูรณ์ เพราะสายสีม่วงคือส่วนหนึ่งใน 10 เส้น ปัญหาก็คือว่ามันเลือกสร้างข้างนอกก่อน จะด้วยเหตุผลทางการเมืองหรืออะไรก็ตาม ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีม่วงสายสมบูรณ์จะวิ่งผ่าน ผ่านฟ้า วังบูรพาไปจนถึงวงเวียนใหญ่แล้วทะลุออกอีกด้านหนึ่งของเมืองไปยันพระประแดง มันแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของบ้านเรานั้นไม่ผ่านสามขั้น คือสร้างเส้นวงรัศมีภายในของเมืองก่อน ยกตัวอย่างง่ายๆคือรถไฟฟ้าบีทีเอส อันนี้ทำถูก เพราะสร้างจากตลาดหมอชิตไปจบที่อ่อนนุชในเฟสแรก คือเป็นการสร้างผ่ากลางเมือง ซึ่งหลักของมันคือการลดความแออัดการจราจรกลางเมือง เพราะพื้นผิวการจราจรในระดับดินมันไม่สามารถรองรับความสามารถในการขนส่งได้อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากกิจกรรมในเขตชั้นในและชั้นกลางมีความหนาแน่นสูง เฟสแรกมันถึงต้องปัญหาความแออัดก่อน โดยมีภาคเอกชนลงทุนซึ่งเขาก็ต้องลงทุนในพื้นที่ที่มีผู้โดยสารที่ทำให้ระบบของเขาอยู่ได้

เมื่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าด้านในครบ ซึ่งโดยหลักต้องสร้างให้ครบทั้งหกแฉก ก่อนจะสร้างวงแหวนล้อมรอบต่อ โดยเฉพาะสถานีหมอชิตซึ่งถูกออกแบบให้เป็นสถานีหลัก รวมถึงศูนย์ตากสินและศูนย์มักกะสัน ก่อนจะมีการขยายออกไป แต่ปัญหาคือสถานีที่เปิดตอนนี้เป็นสายนอกเมือง ซึ่งมันเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะสร้างเพราะต้องให้ข้างในพร้อมก่อน มีการแก้ปัญหาการจราจรภายในก่อนจึงจะขยายออกไป คำถามคือว่าทำไมจึงสร้างข้างในไม่ได้ เพราะมันมีปัญหามากมาย เช่นหากพูดในเชิงเทคนิค ด้านในทำยากกว่า เกิดปัญหาการติดขัด ต้องผ่านพื้นที่รถติดหนาแน่นทำให้การก่อสร้างล่าช้า ขณะที่พื้นที่ด้านนอกสร้างง่ายกว่า ปัญหาการจราจรไม่มาก แรงผลักดันทางการเมือง รวมถึงพื้นที่ชานเมืองไม่ค่อยมีปัญหามวลชน ผิดกับด้านในเมืองซึ่งมีปัญหาการถูกต่อต้านสูง รถไฟฟ้าสายสีต่างๆซึ่งผ่านไปยังพื้นที่สำคัญก็มักจะถูกประท้วง ขณะที่ผู้กำหนดในโยบายระดับบนก็ต้องการที่จะมีผลงานจึงต้องเร่งสร้างให้เสร็จ

อธิบายลำดับการสร้างระบบขนส่งสาธารณะ – เหตุผลทำไมสายสีม่วงขาดทุน

ทั้งนี้ปัญหาที่ตามมาก็คือเมื่อรถไฟฟ้าด้านนอกสร้างเสร็จ การลงทุนมันก็ออกไปด้านนอก ทำให้พื้นที่ที่รถไฟฟ้าผ่านมีมูลราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงหน่วยทางธุรกิจต่างๆที่เห็นว่าการเข้าถึงในพื้นที่ดีขึ้นก็ไปลงทุน แทนที่จะมีการลงทุนในเมืองก็ขยายออกไปในพื้นที่ที่อยู่ไกลเช่นห้างสรรพสินค้าสำคัญหรือคอนโดต่างๆ โดยในเมืองซึ่งควรออกแบบให้คนสามารถเดินได้ ถนนภายในเมืองมีความหนาแน่นน้อยลงสามารถเดินเท้า ระบบขนส่งมวลชนที่พร้อมก็ไม่เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาอีกเรื่องคือเรื่องราคา คุณจะพบว่ามีการทดลองซื้อตั๋วโดยสารแล้วโพสต์ลงในโลกโซเชียล ว่าเขาเดินทางใช้เวลานานกว่าและเสียเงินมากกว่า สู้รถตู้หรือรถส่วนตัวไม่ได้ มันก็เป็นผลจากโครงข่ายการก่อสร้างที่ผิดอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่มันก็ไม่ได้เป็นปัญหาด้านนอกแค่อย่างเดียว ยกตัวอย่างคือคุณขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสสองป้ายราคา 22 บาท เดิน ก็พอไหว รถเอ็มอาร์ทีสองป้ายก็ 19 บาท ถามว่าทำไมมันเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ เพราะเราไม่ได้พัฒนาที่ดินและเอารายได้จากการพัฒนาที่ดินดังกล่าวมาชดเชยระบบ อันนี้เป็นหลักการพัฒนาเมือง

– หมายถึงเมืองอื่นๆก็ทำใช่ไหม แล้วทำไมไทยไม่ทำ?

ใช่ กล่าวคือว่าการที่ที่ดินสองข้างมันพัฒนาขึ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถามว่ามันเพิ่มขึ้นจากอะไร มันก็เพิ่มขึ้น เพราะระบบขนส่งมวลชนมันไปลงทุน หากคุณไม่มีสถานีรถไฟฟ้า ที่ดินของคุณก็ไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นขนาดนั้น ปรากฏว่ามันเป็นการลงทุนไปให้เขาพัฒนาฟรี คำถามคือมันมีความชอบธรรมไหมที่คุณสามารถพัฒนามูลค่าที่ดินของคุณอย่างมาก อย่างเช่นโรงแรมสยามอินเตอร์ คอนติเนนตัล แล้วคุณพัฒนาเป็นศูนย์การค้าสยามพารากอน ถามว่า หากไม่มีรถไฟฟ้าบีทีเอสผ่านมา คุณจะเปลี่ยนหรือไม่ คุณก็ไม่เปลี่ยน เช่นกัน การที่คุณปรับปรุงสยามเซ็นเตอร์ โครงการดิจิตอลเกทเวย์ ถามว่าถ้าไม่มีรถไฟฟ้าโครงการพวกนี้จะเกิดขึ้นไหม มันเกิดขึ้นได้เพราะมันมีการลงทุนให้ทั้งสิ้น แล้วคำถามต่อไปคือว่ามันมีความชอบธรรมไหม ที่จะเก็บส่วนต่างในการพัฒนากลับมา ผมคิดว่ามันเป็นความชอบธรรมอย่างยิ่งที่จะเก็บส่วนต่างที่เกิดขึ้นเพื่อนำกับมาพัฒนาระบบต่อ หรือทำให้ค่าตั๋วโดยสารถูกลง หรือโครงการที่รัฐมีพื้นที่รอบสถานี รัฐก็ควรนำที่ดินไปให้เอกชนเช่าหรือนำไปพัฒนาเอง แล้วก็เอารายได้จากการพัฒนาที่ดินกับคืนมาสู่ระบบ สิ่งที่มันเกิดขึ้นตอนนี้คือรัฐลงทุนไปแล้วทำให้คนจำนวนมากถูกหวย โดยที่คุณก็ไม่ได้ไปเก็บอะไรจากเขา กลายเป็นว่าคุณก็เก็บค่าตั๋วโดยสารแพง คนจนคนระดับล่างก็ใช้ไม่ได้ กล่าวคือแทนที่จะให้รถเมล์ร้อนวิ่งตั้งฉากกับเส้นทางของรถไฟฟ้าเพื่อรับคนโดยรอบมาสู่ระบบขนส่งมวลชนบนทางวิ่งเฉพาะ แต่เราก็ยกเลิกไม่ได้หรือถอนเส้นทางออกไม่ได้เพราะราคาของรถไฟฟ้ากลับรถเมล์มันต่างกันมาก แทนที่คุณจะพัฒนาพื้นที่รอบๆไม่ว่าจะเป็นการให้เอกชนพัฒนาแล้วเอาส่วนต่างมาชดเชยหรือรัฐลงทุนพัฒนาเองตามสถานีที่รัฐมีที่ดินแล้วเอารายได้มาชดเชยเพื่อให้ไม่ว่าคนยากดีมีจนอย่างไรพอจ่ายไหว คุณก็ไม่ได้ทำแบบนั้น ผมจำได้ ถ้าคุณเข้าเว็บไซต์ของบีทีเอสเมื่อสี่ปีที่แล้ว หน้าเว็บเขาจะเขียนไว้ว่า “ทางเลือกของคนเมือง” มันหมายความว่าอะไร มันหมายความว่าไม่ใช่ว่ามันเป็นระบบขนส่งมวลชนที่ทุกคนจะใช้ได้นะ ซึ่งโดยหลักการแล้วมันควรเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ว่าคนยากดีมีจนก็สามารถใช้ได้


-เมืองนอกเป็นแบบนี้หรือ?

คือเขาตั้งราคาให้คนสามารถขึ้นไหว ยกตัวอย่างง่ายๆคือถ้าคุณจ่ายค่าบีทีเอส 100 บาท หรือจากบ้านคุณมาบีทีเอสคุณต้องนั่งรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 20 บาทลงไปทางแล้วคุณต้องขึ้นอีก 20 บาท ขาไปขากลับรวมกัน 80 บาท รวมกันคุณเสีย 180 บาท ถึง 200 บาทต่อวัน ราคาขนาดนี้คุณควรไปผ่อนรถแล้วใช่มั้ย เพราะค่าเดินทางต้นทุนมันสูง ขณะเดียวกันหากคุณจะทำรายได้จากค่าตั๋วอย่างเดียวมันไปไม่รอดอยู่แล้ว มันต้องหารายได้จากส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับค่าตัวโดยสารด้วย

การที่ที่ดินสองข้างมันพัฒนาขึ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถามว่ามันเพิ่มขึ้นจากอะไร มันก็เพิ่มขึ้น เพราะระบบขนส่งมวลชนมันไปลงทุน หากคุณไม่มีสถานีรถไฟฟ้า ที่ดินของคุณก็ไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นขนาดนั้น ปรากฏว่ามันเป็นการลงทุนไปให้เขาพัฒนาฟรี คำถามคือมันมีความชอบธรรมไหมที่คุณสามารถพัฒนามูลค่าที่ดินของคุณอย่างมาก

-เมืองไทยผลักรายได้ไปผูกติดอยู่กับค่าตั๋วโดยสารอย่างเดียว

เพราะคุณไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาอย่างอื่นด้วย

-การพัฒนารถไฟฟ้าจากชานเมืองก่อน ช่วยลดแออัด เพราะเป็นการย้ายความเจริญออกไปที่อื่น

แล้วคำถามคือคุณอยากให้คนอื่นเขาเดินทางในระยะทางสั้นๆหรือในระยะทางยาว คุณก็อยากให้คนเดินทางสั้น ซึ่งรถไฟฟ้าก็ตอบโจทย์ตามศักยภาพของมันในการขยายและรองรับการขนส่งในพื้นที่ที่มีความแออัด เขาไม่ได้มีไว้ขยายเมือง เขาต้องทำในเมืองให้ครอบคลุมแล้วจึงขยายออกไปด้านนอก คุณจะเห็นว่าบีทีเอสซึ่งอยู่กลางเมืองมีคนใช้หลายแสนคนต่อวัน ถัดออกไปจากวงกลางเมือง ก็จะมีผู้ใช้ประมาณสองถึงสามแสนคนต่อวัน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วงเครื่องมีสองถึงสามหมื่นคนต่อวันก็เป็นสิ่งที่ถูกแล้วมิใช่หรือ ที่คนจะขึ้นน้อย

-ลดค่าโดยสารลงเยอะช่วยหรือไม่

ลดก็ไม่ช่วยหรอก เพราะความสำเร็จเรื่องการเดินทางและประหยัดเวลามันยังสู้รถตู้ไม่ได้

-จริงหรือ ไม่ช่วยเลยหรือ?

คิดว่าขึ้นรถตู้เท่าไหร่ 30-40 บาท แต่สามารถมาถึงบีทีเอสกลางเมืองได้ แล้วก็ต่ออีกนิดเดี๋ยวก็ไปถึงปลายทาง คนก็ยังใช้รถตู่ รถส่วนตัว รถเมล์อยู่ อีกอย่าง อย่าลืมว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงทั้งหมดคือภาษีประชาชน หากคุณลดค่าโดยสารก็คือภาษีประชาชนทั้งสิ้น กรณีบีทีเอสลดค่าโดยสารบีทีเอสก็ต้องแบกรับไป แต่สิ่งอื่นที่ไม่ใช่บีทีเอสล้วนมาจากภาษีประชาชนทั้งประเทศนะ

สิ่งที่มันเกิดขึ้นตอนนี้คือรัฐลงทุนไปแล้วทำให้คนจำนวนมากถูกหวย โดยที่คุณก็ไม่ได้ไปเก็บอะไรจากเขา กลายเป็นว่าคุณก็เก็บค่าตั๋วโดยสารแพง คนจนคนระดับล่างก็ใช้ไม่ได้

-ในฐานะนักวิชาการด้านผังเมือง ปรากฏการณ์รถไฟฟ้าสายสีม่วงสะท้อนถึงเรื่องอำนาจอย่างไร

มันสะท้อนว่าการที่นักการเมืองห่วงเสียงและคนที่เป็นข้าราชการยอมแพ้ก็เป็นปัญหา ยกตัวอย่างกรณีทางเท้าของสยาม ซึ่งทุกคนเลี่ยงที่จะมีปัญหาความขัดแย้งและการประท้วง แต่อย่าลืมว่าการไม่ทำอะไรแบบนั้นก็กระทบกับคนจำนวนมาก เช่นกัน การจะสร้าง รถไฟฟ้า ก็ย่อมต้องกระทบคน เพราะแม้รถไฟฟ้าจะอยู่ลอยฟ้า แต่ตัวสถานีก็จะอยู่บนดินและมีการกำหนดขอบเขตความกว้างยาวที่ชัดเจนเป็นมาตรฐาน มันจะต้องเวนคืนที่ดินเพื่อทำทางขึ้นลง และอีกหลายอย่าง เช่นห้องเครื่องไฟฟ้า ห้องอัดอากาศ และอื่นๆ หากทำอะไรง่ายๆมันก็ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหลายคนเวลาถูกประท้วงก็ถอยและเลือกที่จะทำสิ่งที่ง่ายกว่า จนไม่เกิดประสิทธิภาพ ความที่เราไม่อยากให้มีปัญหาหรือซุกซ่อนปัญหาไว้ ยกตัวอย่างสถานีบีทีเอสบางหว้าซึ่งเกิดปัญหารถติดอย่างหนัก เพราะการจัดการพื้นที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีการประเมินการสร้างพื้นที่รับส่งของระบบขนส่งสาธารณะที่ดีเพราะ รัฐไม่อยากมีปัญหา เราจึงได้เห็นปัญหารถติด แน่นอนว่าทั้งหมดก็ส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม

ผมจำได้ ถ้าคุณเข้าเว็บไซต์ของบีทีเอสเมื่อสี่ปีที่แล้ว หน้าเว็บเขาจะเขียนไว้ว่า “ทางเลือกของคนเมือง” มันหมายความว่าอะไร มันหมายความว่าไม่ใช่ว่ามันเป็นระบบขนส่งมวลชนที่ทุกคนจะใช้ได้นะ

-โครงสร้างการพัฒนาระบบขนส่งเมืองประชาชนมีอำนาจในการต่อรองหรือมีส่วนกำหนดนโยบายมากน้อยแค่ไหน

เรื่องขนส่งสาธารณะ คนได้ประโยชน์เป็นรูปแบบของคนขนาดใหญ่ มันจึงไม่มีใครโวยวายบอกว่าได้ประโยชน์ ขณะคนที่เสียประโยชน์คือคนในพื้นที่ที่ถูกเวนคืนที่ดิน ซึ่งโดยหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ใช่ผู้กอบโกยงบประมาณของที่อื่นมาพัฒนาพื้นที่ของตน แต่จะต้องเป็นคนปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และเดินหน้าบริหารประเทศโดยยึดประโยชน์ส่วนรวม

-พูดอย่างนี้ได้ไหมครับผังเมืองเป็นอย่างไรก็เป็นผลจากวิธีคิดของคนในประเทศนั้น

หลักในการแก้ปัญหาหรือการทำผังเมืองคือมันต้องมีคนเจ็บ ยกตัวอย่างเช่น คุณมีสถานีรถไฟฟ้า ใต้สถานีรถไฟฟ้าบนถนนที่จะต้องมีสถานีจอดสองคนโดยไม่ได้อยู่ในพื้นผิวจราจร ซึ่งโดยหลักมันต้องมี มันก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการเวนคืนที่ดิน แล้วถามว่ามีคนยอมเจ็บไหม หากไม่ยอมก็จบเลย ผมยกตัวอย่างอีกเรื่องคือมาตรฐานของเมืองที่จะทำให้รถไม่ติดคือต้องมีถนนเป็นพื้นที่ในเมืองประมาณ 30% มหานครนิวยอร์ค มี 38% โตเกียวมี 23% กรุงเทพมีเพียง 8% น้อยมากหลุดจากเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งมีการประเมินและคิดกันว่าหากจะทำให้กรุงเทพมีพื้นที่ถนนเป็น 16% คือเพิ่มอีกแค่เท่าตัว จะต้องมีการเวนคืนบ้านทุกหลังเป็นพื้นที่ประมาณ 30% ถามว่าทุกคนเอาหรือไม่ หากคนกรุงเทพฯไม่ยอมรับก็จบ นี่คือการที่ทุกคนไม่ยอมรับความเจ็บปวดบ้าง แต่ทุกคนก็เรียกร้องการแก้ปัญหา

คุณก็อยากให้คนเดินทางสั้น ซึ่งรถไฟฟ้าก็ตอบโจทย์ตามศักยภาพของมันในการขยายและรองรับการขนส่งในพื้นที่ที่มีความแออัด เขาไม่ได้มีไว้ขยายเมือง เขาต้องทำในเมืองให้ครอบคลุมแล้วจึงขยายออกไปด้านนอก

-ทำให้ผังเมืองของเราดูพิกลพิการ?

ก็บอกเเล้วเราไม่ยอมเจ็บ คนมาเป็นนักการเมืองทุกคนก็บอกให้เลือกผม คุณจะอยู่เฉยๆ ที่ดินคุณจะไม่ถูกเวนคืน จะไปหาเทคโนโลยีทุกอย่างมาแก้ปัญหาให้ ปัญหาเมืองจะแก้ได้ด้วยเทคนิคต่างๆ ซึ่งผมยืนยันไม่มีครับ ทุกคนต้องยอมเจ็บ หากไม่ยอมเจ็บก็จบ ยังไม่ต้องนับปัญหาใหญ่คือปัญหาประชากรแฝง ในกรุงเทพฯ รวมถึงเมืองต่างๆที่คนย้ายไปทำงาน ศึกษา แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ไปด้วย ทำให้มีปัญหาในการจัดการโดยเฉพาะปัญหาการออกงบประมาณที่เขาออกตามหัวประชากร กรุงเทพฯจึงเป็นเมืองที่มีประชากรแฝงจำนวนมาก โดยที่ใครก็ไม่สนใจย้าย ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

-แผนแม่บทหรือแผนพัฒนาต่อจากนี้ เป็นแบบทฤษฎีผังเมืองของอ.บ้างหรือไม่

มันมีลำดับ แต่ไม่ทำตามลำดับ มันเป็นแบบนี้ แต่ไม่ทำตามลำดับ คนที่เรียนวิศวกรรมจราจรรู้หมดว่าลำดับการพัฒนามันควรเป็นแบบนี้ แต่ปัญหาคือเราไม่ทำตาม กรุงเทพฯจะทำรถไฟฟ้าสายสีเทา ซึ่งเป็นโมโนเรลก่อน โมโนเรลมีความสามารถในการรองรับต่ำมาก แต่กรุงเทพฯจะทำก่อน เพราะกรุงเทพฯรับผิดชอบสองสาย คือสีเขียวส่วนต่อขยายกับสายสีเทา เพื่อเป็นภาพลักษณ์ของผู้บริหารว่าได้ทำแล้ว ทั้งที่มันถูกจัดความสำคัญเป็นลำดับท้ายๆ

คนมาเป็นนักการเมืองทุกคนก็บอกให้เลือกผม คุณจะอยู่เฉยๆ ที่ดินคุณจะไม่ถูกเวนคืน จะไปหาเทคโนโลยีทุกอย่างมาแก้ปัญหาให้ ปัญหาเมืองจะแก้ได้ด้วยเทคนิคต่างๆ ซึ่งผมยืนยันไม่มีครับ ทุกคนต้องยอมเจ็บ หากไม่ยอมเจ็บก็จบ

-กลับไปที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่เพิ่งเปิดใช้ ในฐานะนักผังเมือง ในอนาคตมันจะเปลี่ยนโครงสร้างนิเวศวิทยามนุษย์ นิเวศวิทยาเมืองอย่างไร

ตามทฤษฎีมูลค่าดีกว่าพื้นที่ด้านในที่ยังไม่มีรถไฟฟ้า ทำให้การลงทุนไปเกิดที่นั่น แต่ไกล หากถึงวันที่รถไฟฟ้าด้านในเสร็จแล้ว พื้นที่ด้านในจะกลายเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าพื้นที่ดีกว่า การขนส่งด้านในใกล้กว่า สะดวกกว่า ถูกกว่า ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผมเชื่อว่า “เจ๊ง” มีบางส่วนเจ๊งแน่ บางส่วนดื้อก็ยังอยู่ เหตุที่เจ๊งเพราะใครจะยอมเสียเงินเดินทางออกไปไกลๆ คนก็เลือกที่จะอยู่พื้นที่ด้านในมากกว่าอยู่แล้ว คอนโดทั้งหลายที่เกิดตามแนวรถไฟฟ้ากำลังจะเจ๊ง ถามว่าเพราะอะไร คือระหว่างที่คุณจอง หรือกำลังผ่อนดาวน์ ปรากฎว่ามีคอนโดอันอื่นเปิด ในราคาใกล้เคียงกัน อยู่ใกล้ที่ทำงาน มีสถานีรถไฟฟ้าใกล้ เชื่อว่าจะมีคนทิ้งดาวน์และมาเลือกซื้ออันที่อยู่ใกล้แน่นอน เพราะประหยัดเวลา-ค่าใช้จ่ายกว่าและเป็นคุณจะทำยังไง เชื่อเถอะในอนาคตมันจะมีเปิดมากขึ้นและใกล้ขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อรถไฟฟ้าด้านในเสร็จยิ่งชัด คนที่คิดว่าซื้อไว้ให้คนเช่า มันจะมีปัญหาไม่มีคนเช่า

-ในอนาคตระยะสั้นทางแก้เป็นไง

ติดกระดุมเม็ดแรกผิด แล้วมันยากนะ ตรงเตาปูนกับบางซื่อก็ต้องเข้าใจว่าสายสีม่วงมันไม่ได้ผ่านบางซื่ออยู่แล้ว มันรอสายสีน้ำเงินเสร็จ ปัญหาคือเราสร้างสายสีม่วงก่อน และมันเชื่อมกันไม่ได้เนื่องจากเป็นคนละระดับ ทั้งมีปัญหาการบริหารจัดการตามมา มันไม่ได้ง่าย ตอนแรกมันคิดว่าจะเสร็จพร้อมกัน แต่สายสีน้ำเงินมันผ่ากลางเมือง มันก็สร้างไม่เสร็จ สายสีม่วงมันเสร็จก่อนก็เป็นแบบนี้อีก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/09/2016 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เผยยอดผู้โดยสารสายสีม่วงเพิ่มขึ้น 10%
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 07 กันยายน 2559, 21:15

"ผู้ว่า รฟม." เผยยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงเพิ่มขึ้น 10% มาอยู่ที่ 22,000 คนต่อวัน หลังปรับลดค่าโดยสาร

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วงว่า หลังจากที่มีการปรับลดอัตราค่าโดยสาร มีจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นประมาณร้อยละ 10 จากจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 20,000 คนต่อวัน เพิ่มเป็นจำนวน 22,000 คนต่อวัน ซึ่งจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นนี้ถือเป็นผู้ใช้บริการในระยะแรกหลังจากที่มีการปรับอัตราค่าโดยสารเท่านั้น

ทั้งนี้ จำเป็นจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน รวมทั้งหาแนวทางในการจูงใจเพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เช่น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ทั้งการออกผลิตภัณฑ์ใหม่และโปรโมชั่นที่น่าสนใจ

ขณะนี้ รฟม. ได้จัดให้มีบริการเครื่องรับบัตรเครดิต/เดบิต (EDC) ซึ่งผู้โดยสารสามารถออกบัตร MRT Plus เติมเงินในบัตร MRT Plus เติมเงินที่จอดรถรายเดือน (รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม) ในบัตร MRT Plus และบัตร MRT สายสีน้ำเงินได้ด้วยบัตรเครดิต/เดบิต (EDC) โดยมีมูลค่าขั้นต่ำต่อครั้งในการรับชำระเป็นจำนวนเงิน 300 บาท ซึ่งผู้โดยสารสามารถใช้บริการเครื่องรับบัตรเครดิต/เดบิต (EDC) ได้ทุกสถานีที่ห้องออกบัตรโดยสาร (Ticket Office) และอาคารจอดแล้วจร P&R ของ รฟม. ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2559 เป็นต้นไป

การบริการดังกล่าวจะทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ รฟม.จะเร่งดำเนินการเชื่อมต่อ 1 สถานี (เตาปูน – บางซื่อ) เพื่อให้อำนวยความสะดวกในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ให้เร็วที่สุด

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา รฟม. ได้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรับฟังข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็น จากประชาชนผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของ รฟม. ได้แก่ เฟซบุ๊คแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และ Call Center 0 2716 4044 เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าให้มากขึ้นต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2016 12:09 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.เผยยอดผู้โดยสารสายสีม่วงเพิ่มขึ้น 10%
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 07 กันยายน 2559, 21:15



ผู้ว่าฯ รฟม.เผยยอดผู้ใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วงเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10
โดย MGR Online
8 กันยายน 2559 10:31 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2016 9:45 am    Post subject: Reply with quote

ระบบขัดข้อง!! รถไฟฟ้าสายสีม่วงจากบางใหญ่วิ่งได้ถึงบางซ่อน
โดย MGR Online
11 กันยายน 2559 20:11 น.

มีรายงานว่า เมื่อเวลา 19.00 น. รถไฟฟ้าสายสีม่วงจากบางใหญ่วิ่งได้ถึงแค่บางซ่อน เนื่องจากระบบขัดข้อง โดยสถานีเตาปูนปิดบริการชั่วคราว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 54, 55, 56 ... 122, 123, 124  Next
Page 55 of 124

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©