Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181270
ทั้งหมด:13492505
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 86, 87, 88 ... 120, 121, 122  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2021 8:26 pm    Post subject: Reply with quote

เช็กเสียงเอกชน PPP รถไฟฟ้าสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” 23 ก.ย.-17 ต.ค.นี้
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
22 กันยายน 2564 เวลา 17:37 น.

เริ่มกันใหม่! ประมูลสายสีม่วงใต้ รฟม.เปิดฟังความเห็น ร่างทีโออาร์ 23 ก.ย.-17ต.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 22 กันยายน 2564 เวลา 17:43 น.
ปรับปรุง: 22 กันยายน 2564 เวลา 17:43 น.

เริ่มใหม่ รฟม.เปิดรับฟังความเห็นร่าง TOR ประมูล “สายสีม่วงใต้” รอบ 2
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
22 กันยายน 2564 เวลา 17:20 น.

“รฟม.” เตรียมเปิดรับฟังความเห็นเอกชน เล็งคลองทีโออาร์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ รอบใหม่ เริ่ม 23 ต.ค.-17ต.ค.นี้


รฟม.เปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนเพื่อประกอบการจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ 2562 โครงการ วันที่ 23 ก.ย.- 17 ต.ค. 64 เริ่มขั้นตอนเปิดประมูลใหม่หลังยกเลิกประมูลรอบแรก เหตุทำข้อตกลงคุณธรรมไม่สมบูรณ์

รฟม. เปิดฟังเสียงเอกชน PPP รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” 23 ก.ย.-17 ต.ค.64 ดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ รฟม. ตั้งธงก่อสร้างปี 65 เปิดให้บริการปี 70

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า รฟม. มีความประสงค์จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน พ.ศ. 2563 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย บริษัทที่ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันการเงิน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า (Heavy Rail) รวมถึงนักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไป

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ประกอบด้วย ข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน และแบบแสดงความคิดเห็นของภาคเอกชน ทั้งฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษได้ที่ www.mrta.co.th ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย.-17 ต.ค.64 โดยสามารถกรอกข้อคิดเห็นตามแบบแสดงความเห็น และจัดส่งให้ รฟม. ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.64-17 ต.ค.64 ผ่านทางช่องทางดังนี้ 1.ไปรษณีย์ จ่าหน้าถึง : ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ส่งมาที่ : เลขที่ 175 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 วงเล็บมุมซอง (PUS Hearing) E-mail: saraban@mrta.co.th 2.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: pushearing@mrta.co.th และ 3.โทรสาร: 0-2716-4022

รฟม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนต่อทางเลือกในการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการในรูปแบบต่างๆ สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) และนำผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ ต่อไป ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพฯ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ เข้าด้วยกัน มีระยะทางรวม 23.6 กิโลเมตร (กม.) เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กม. 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กม. 7 สถานี โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 65 และเปิดให้บริการในปี 70
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2021 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

วัดพลังรถไฟฟ้าม่วงใต้”เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ”มูลค่าแสนล้าน
* รฟม.PPP ชวนเอกชนลงทุนเดินรถ 2.3 หมื่นล้าน
*รับฟังความเห็นถึง 17ต.ค.นี้ก่อนสรุปชงครม.เคาะ
*งานโยธา 8 หมื่นล้านเร่งปรับทีโออาร์ประมูลใหม่
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3007077039513794

🚄รฟม. เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ
.
มีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570
.
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีความประสงค์จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน พ.ศ. 2563 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย บริษัทที่ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันการเงิน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า (Heavy Rail) รวมถึงนักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไป
.
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ประกอบด้วย ข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน และแบบแสดงความคิดเห็นของภาคเอกชน ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ที่ www.mrta.co.th ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2564 ถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2564 โดยกรอกข้อคิดเห็นของท่านตามแบบแสดงความเห็น และจัดส่งให้ รฟม. ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2564 ผ่านทางช่องทางดังต่อไปนี้
📮 ไปรษณีย์
จ่าหน้าถึง : ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ส่งมาที่ : เลขที่ 175 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
วงเล็บมุมซอง (PUS Hearing)
E-mail: saraban@mrta.co.th
📧 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: pushearing@mrta.co.th
☎ โทรสาร: 0 2716 4022
.
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ เข้าด้วยกัน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570 เรียกได้ว่าเริ่มมีการเคลื่อนไหว อัปเดตแล้วครับหลังจากเกิดรฟม. ประกาศยกเลิกการประมูล รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ”
https://www.facebook.com/LifeAtStation/posts/905213817052730
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/09/2021 7:24 am    Post subject: Reply with quote

เปิดชิงสีม่วงใต้7.8หมื่นล้าน
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

อนุมัติรฟท.กู้เงินแก้ปัญหาขาดสภาพคล่อง

ไทยโพสต์ * รฟม.เดินหน้าประมูลรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ "เตาปูนราษฎร์บูรณะ" รอบใหม่ 7.8 หมื่นเตรียมเปิดขายซอง ต.ค.นี้ ด้าน ครม.ไฟเขียว รฟท.กู้เงิน 13,500 ล้านบาท แก้ปัญหาขาดสภาพคล่อง

รายงานข่าวจากการรถ ไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย (รฟม.) แจ้งว่า ได้เผยแพร่ร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) โดยใช้วิธี ประกวดราคานานาชาติ ระหว่าง วันที่ 28 ก.ย.2564 ถึงวันที่ 4 ต.ค.2564 ผ่านทางเว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเว็บไซต์ กรมบัญชีกลาง www.gprocure ment.go.th โดยเปิดให้ผู้สนใจสามารถแนะนำ วิจารณ์ หรือ แสดงความคิดเห็นได้ที่ project procurement@mrta.co.th ภายในวันที่ 4 ต.ค.2564 เวลา 16.30 น.

ทั้งนี้ถือเป็นการประกวดราคาครั้งที่ 2 หลังจากเมื่อวันที่ 27 ส.ค.2564 รฟม.ได้ประกาศยกเลิกประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธาโครงการดังกล่าว โดยการประกวดราคานานาชาติเนื่องจากพบว่าขั้นตอนการดำเนินการที่ไม่ครบถ้วนตามระบบข้อตกลงคุณธรรม จึงเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างใหม่ให้ครบถ้วน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากที่สุด

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า การประกวดราคาโครงการฯ รวม 6 สัญญา ระยะทางประมาณ 23.6 กิโลเมตร (กม.) มี 10 สถานีใต้ดิน ระยะทาง 13.6 กม. และ 7 สถานียกระดับ ระยะทาง 10.0 กม. รวม 17 สถานี ประกอบด้วย งานโครงการยกระดับ งานโครงการใต้ดิน งานศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารจอดแล้วจร งานระบบราง โดยราคากลางของงานจ้างก่อสร้างในการประกวดราคาครั้งนี้เป็นเงินทั้งสิ้น 78,712 ล้านบาท

ด้าน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการกู้เงิน ประกอบด้วย เงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ 2565 วง เงิน 13,500 ล้านบาท และเงินกู้ระยะสั้น วงเงิน 800 ล้านบาท โดยให้ดำเนินการคัดเลือกสถาบัน การเงินด้วยวิธีขอเจรจาต่ออายุสัญญากู้เงิน ตามความเห็นของ กระทรวงการคลัง และให้กระ ทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน

"รฟท.ประสบปัญหาขาด ทุนมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 รฟท.คาดการณ์ว่าจะมีเงิน สดรับ 60,965 ล้านบาท และเงินสดจ่าย 74,565 ล้านบาท โดยมีเงินสดยกมาจากปี 2564 จำนวน 100 ล้านบาท ส่งผลให้ รฟท.ขาดเงินสดไว้ใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 13,500 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อให้มีเงินสดหมุนเวียนในการใช้จ่ายการลงทุน จ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ ชำระหนี้เงินกู้ รฟท.คาดว่าจะเริ่มขาดเงินในช่วงเดือน ต.ค.2564" น.ส.ไตรศุลีกล่าว

นอกจากนี้ รฟท.มีความจำเป็นต้องกู้เงินระยะสั้นเพื่อให้มีวงเงินสำรองไว้ใช้เสริมสภาพคล่อง โดยทำสัญญาเงินกู้ระยะสั้น วงเงิน 800 ล้านบาท ด้วยวิธีการขอเจรจาต่ออายุสัญญาเงินกู้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้เดิม รฟม.ลุยเปิดประมูลสีม่วงใต้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2021 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดชิงสีม่วงใต้7.8หมื่นล้าน
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564


"รฟม." ประกาศแล้ว ทีโออาร์ประมูล "รถไฟฟ้าสายสีม่วง" ครั้งที่ 2
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:58 น.
รฟม.เปิดประมูลสายสีม่วงใต้รอบใหม่-เผยร่างทีโออาร์ให้ผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นถึง 4 ต.ค.นี้
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:46 น.
เริ่มประมูลรอบ 2! รถไฟฟ้าสีม่วงใต้ รฟม.เปิดฟังความเห็น 6 สัญญา 7.87 หมื่นล้าน ถึง 4 ต.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:41 น.
ปรับปรุง: วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:41 น.

เปิดประชาพิจารณ์ TOR สายสีม่วงใต้ 7.8 หมื่นล้าน 28 ก.ย.-4 ต.ค. 64
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 16:06 น.
[urlชhttps://www.naewna.com/business/605292]รฟม.ลุยประมูลใหม่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง7.8หมื่นล้าน[/url]
วันพุธ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 น.

"รฟม." ประกาศร่างทีโออาร์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วง ครั้งที่ 2 เตรียมขายซองภายในเดือน ต.ค.นี้ และเปิดยื่นข้อเสนอในเดือน พ.ย.นี้
รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา รฟม.ได้ออกประกาศร่างเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ ครั้งที่ 2 ผ่านเว็บไซด์ของ รฟม. โดยเบื้องต้นมีกำหนดขายเอกสารประกวดราคาในช่วงเดือน ต.ค.- พ.ย.นี้ หลังจากนั้นจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอภายในเดือน พ.ย.เช่นเดียวกัน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ เข้าด้วยกัน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี

โดยลักษณะงานโดยสังเขป คือ งานก่อสร้างช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) รวม 6 สัญญา ระยะทางประมาณ 23.6 กิโลเมตร มี 10 สถานีใต้ดิน ระยะทาง 13.6 กิโลเมตร และ 7 สถานียกระดับ ระยะทาง 10.0 กิโลเมตร รวม 17 สถานี ประกอบด้วย งานโครงการยกระดับ งานโครงการใต้ดิน งานศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารจอดแล้วจร งานระบบราง โดยราคากลางของงานจ้างก่อสร้างในการประกวดราคาครั้งนี้เป็นเงินทั้งสิ้น 78,712,455,201.71 บาท (เจ็ดหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยสิบสองล้านสี่แสนห้าหมื่นห้าพันสองร้อยหนึ่งบาทเจ็ดสิบเอ็ดสตางค์) รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวงแล้ว ซึ่งมีรายละเอียดของงาน ดังนี้

- สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน - หอสมุดแห่งชาติ

ลักษณะงานโดยสังเขป : งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงเตาปูน - หอสมุดแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 4.87 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 3 สถานี (รัฐสภา ศรีย่าน สามเสน [ตรงแยกซังฮี้] ) ราคากลาง 18,611.21 ล้านบาท

- สัญญาที่ 2 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ - ผ่านฟ้า

ลักษณะงานโดยสังเขป : งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงหอสมุดแห่งชาติ - ผ่านฟ้า ระยะทางประมาณ 2.33 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 3 สถานี (หอสมุดแห่งชาติ, บางขุนพรหม, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย) วงเงิน 15,205 ล้านบาท

- สัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้า - สะพานพระพุทธยอดฟ้า

ลักษณะงานโดยสังเขป : งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงผ่านฟ้า - สะพานพระพุทธยอดฟ้า ระยะทางประมาณ 3.12 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 2 สถานี (สามยอด และ สะพานพุทธยอดฟ้าฝั่งธนบุรี ตรงสี่แยกบ้านแขก) วงเงิน 14,478 ล้านบาท

- สัญญาที่ 4 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า - ดาวคะนอง

ลักษณะงานโดยสังเขป : งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า - ดาวคะนอง ระยะทางประมาณ 3.97 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 2 สถานี (วงเวียนใหญ่ ตรงระหว่าง สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ และ สถานีวงเวียนใหญ่ของบีทีเอส) วงเงิน 14,359 ล้านบาท

- สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงดาวคะนอง - ครุใน อาคารจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard) และอาคารจอดแล้วจร (Park&Ride)

ลักษณะงานโดยสังเขป : งานก่อสร้างทางวิ่งยกระดับ ช่วงดาวคะนอง - ครุใน ระยะทางประมาณ 9.34 กิโลเมตร และสถานียกระดับ จำนวน 7 สถานี (จอมทอง ดาวคะนอง บางปะกอก ประชาอุทิศ ราษฎร์บูรณะ พระประแดง ครุใน) อาคารจอดรถไฟฟ้าที่ครุใน และอาคารจอดแล้วจร ี่ ราษฏร์บูรณะ และ ที่พระประแดง วงเงิน 12,597 ล้านบาท

- สัญญาที่ 6 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างงานระบบราง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ตลอดเส้นทางโครงการและภายในอาคารจอดรถไฟฟ้า วงเงิน 3,460 ล้านบาท

ลักษณะงานโดยสังเขป : งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างงานระบบราง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ ตลอดเส้นทางโครงการและภายในอาคารจอดรถไฟฟ้า

โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570

ประกาศแล้ว! ร่างทีโออาร์-ราคากลางประมูลรถไฟฟ้าม่วงใต้
* “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ”รอบใหม่8.2หมื่นล้าน6สัญญา
*หลังรฟม.เทล้มประมูลครั้งแรกให้เหตุผลว่า”บกพร่อง”
*เปิดให้วิจารณ์ถึง 4 ต.ค.ขายซองต.ค.ยื่นข้อเสนอพ.ย.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3010136889207809


Last edited by Wisarut on 30/09/2021 7:08 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2021 3:18 pm    Post subject: Reply with quote

MRT สีน้ำเงิน-ม่วงขยายเวลาบริการถึง 4 ทุ่ม เริ่ม 1 ต.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 13:20 น.
ปรับปรุง: วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 13:20 น.



รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง รวมถึงอาคารและลานจอดแล้วจรทุกแห่งขยายเวลาเปิดให้บริการถึง 22.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 เป็นต้นไป

ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ได้มีมติเห็นชอบการปรับมาตรการสำหรับกิจกรรมและกิจการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม 29 จังหวัด) โดยผ่อนปรนมาตรการห้ามออกนอกเคหสถานเป็นระหว่างเวลา 22.00-04.00 น. (จากเดิมที่ห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00-04.00 น.) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไปนั้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT พร้อมให้ความร่วมมือดำเนินการตามมติ ศบค. โดยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป รถไฟฟ้า MRT จะปรับเวลาให้บริการดังนี้ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) เวลา 06.00-22.00 น. และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) เวลา 05.30-22.00 น. (รถไฟขบวนสุดท้ายถึงสถานีปลายทางเวลา 22.00 น.) จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ ผู้โดยสารโปรดตรวจสอบตารางการเดินรถและเวลารถไฟขบวนสุดท้ายได้จากประกาศภายในสถานี หรือเฟซบุ๊ก: MRT Bangkok Metro / โมบายล์แอปพลิเคชัน : Bangkok MRT และเว็บไซต์ www.bemplc.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูล โทร. 0-2624-5200

ในส่วนของอาคารและลานจอดแล้วจรของ รฟม.จะเปลี่ยนแปลงเวลาให้บริการเป็นตั้งแต่เวลา 05.00 ถึง 22.00 น. เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาให้บริการของรถไฟฟ้า โดยปัจจุบัน รฟม.มีที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินจำนวน 10 สถานี ประกอบด้วย 4 อาคาร และ 10 ลานจอดรถ ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีลาดพร้าว สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีหลักสอง (2 อาคาร) ลานจอดแล้วจรสถานีรัชดาภิเษก สถานีห้วยขวาง สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (2 ลาน) สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีสุขุมวิท สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (2 ลาน) และสถานีสามย่าน

ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จำนวน 4 สถานี ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีคลองบางไผ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1 ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จำนวน 1 สถานี ได้แก่ ลานจอดแล้วจรสถานีเคหะฯ

และที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จำนวน 2 สถานี ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต

สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน รฟม. และ BEM ได้ตระหนักและห่วงใยในความปลอดภัยของผู้โดยสาร โดยยังคงดำเนินการมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระบบรถไฟฟ้า MRT ทั้ง 2 สายอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งขอความร่วมมือผู้โดยสารรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาการใช้บริการ สแกน QR Code ไทยชนะ ที่ติดอยู่ในตู้โดยสารเพื่อเช็กอิน และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าใช้บริการเพื่อความปลอดภัยของทุกคน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2021 6:58 pm    Post subject: Reply with quote

MRT ฝึกซ้อมติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม 🌊
MRT Bangkok Metro
วันที่ 30 กันยายน 2564 - 14:00 น.
MRT จัดให้มีการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม ในระบบรถไฟฟ้า MRT ทั้งสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงเพื่อสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นให้กับผู้โดยสารในการใช้บริการ MRT โดยจัดให้มีการฝึกซ้อมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ ระบบป้องกันน้ำท่วม เพื่อให้มีความพร้อมใช้งานตลอดเวลา
กรณีที่มีสถานการณ์น้ำท่วม เราจะมีการติดตามข้อมูลและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินผลกระทบและเตรียมแผนการจัดการเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการให้บริการแก่ผู้โดยสารเป็นสิ่งสำคัญเป็นลำดับแรก จากการฝึกซ้อมที่ผ่านมาพบว่าอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมเช่น ระบบกำแพงกันน้ำ (Flood Board) ระบบประตูป้องกันน้ำ (Flood Gate) ตลอดจนระบบระบบายน้ำ และระบบสูบน้ำออกจากอุโมงค์ สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมให้บริการอย่างมั่นใจด้วยความปลอดภัย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2021 9:10 pm    Post subject: Reply with quote

คนน้ำท่วมจอดฟรี MRTสายสีม่วง เส้นทางไหนบ้าง เช็คได้ที่นี่
หน้า เศรษฐกิจมหภาค - คมนาคม
วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:50 น.

รฟม.ใจดียกเว้นค่าจอดรถ MRT สายสีม่วง ทั้ง 4 แห่ง หวังช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนกว่าสถานกาณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.ได้ยกเว้นค่าบริการที่จอดรถยนต์บริเวณอาคารจอดรถทั้ง 4 แห่ง ของรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ได้แก่ 1.อาคารจอดแล้วจรสถานีคลองบางไผ่ 2.อาคารจอดแล้วจรสถานีสามแยกบางใหญ่ 3.อาคารจอดแล้วจรสถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และ4.อาคารจอดแล้วจรสถานีแยกนนทบุรี 1 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศว่าเป็นพื้นที่ภัยพิบัติจากเหตุอุทกภัย (น้ำท่วม) พ.ศ. 2564 จนกว่าจะมีการประเมินสถานการณ์ว่าอยู่ในสภาวะปกติ โดย รฟม. จะประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

สำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย สามารถติดต่อขอรับสิทธิดังกล่าวได้ที่ห้องทำบัตรจอดรถ รายเดือน หรือ Line@MRTAParking โดยแสดงหลักฐาน ได้แก่ บัตรประชาชน เอกสารแสดงความเป็นเจ้าของรถยนต์ และเอกสารหรือรูปถ่ายที่แสดงว่าที่พักอาศัยปัจจุบันได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยจริง ทั้งนี้ ผู้ขอรับสิทธินี้จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบการเข้าใช้บริการอาคารจอดแล้วจรของ รฟม. อย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้รฟม.ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลการให้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม หรือ MRT สายสีม่วง ซึ่งมีนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการให้ความสำคัญแก่ประชาชนและชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้า มีความห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน


รฟม. จัดที่จอดรถฟรี ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

วันพฤหัสบดี ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 06:42 น.

7 ต.ค. 2564 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ติดตามสถานการณ์อุทกภัยอย่างใกล้ชิดและตรวจสอบแผนการดำเนินงานด้านป้องกันสาธารณภัย รวมถึงให้ความช่วยเหลือและอำนวยความปลอดภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน นั้น

รฟม. ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลการให้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม หรือ MRT สายสีม่วง ซึ่งมีนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการให้ความสำคัญแก่ประชาชนและชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้า มีความห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน รฟม. จึงยกเว้นค่าบริการจอดรถยนต์ที่อาคารจอดรถทั้ง 4 แห่ง ของรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ได้แก่

อาคารจอดแล้วจรสถานีคลองบางไผ่ อาคารจอดแล้วจรสถานีสามแยกบางใหญ่ อาคารจอดแล้วจรสถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และอาคารจอดแล้วจรสถานีแยกนนทบุรี 1 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศว่าเป็นพื้นที่ภัยพิบัติจากเหตุอุทกภัย พ.ศ. 2564 จนกว่าจะมีการประเมินสถานการณ์ว่าอยู่ในสภาวะปกติ โดย รฟม. จะประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

สำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย สามารถติดต่อขอรับสิทธิดังกล่าวได้ที่ห้องทำบัตรจอดรถ รายเดือน หรือ Line@MRTAParking โดยแสดงหลักฐาน ได้แก่ บัตรประชาชน เอกสารแสดงความเป็นเจ้าของรถยนต์ และเอกสารหรือรูปถ่ายที่แสดงว่าที่พักอาศัยปัจจุบันได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยจริง ทั้งนี้ ผู้ขอรับสิทธินี้จะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบการเข้าใช้บริการอาคารจอดแล้วจรของ รฟม. อย่างเคร่งครัด ติดตามรายละเอียดและข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2021 10:28 pm    Post subject: Reply with quote

"ซิโนไทย - เนาวรัตน์" ร่วมวง ชิงสายสีม่วงใต้ 7.8 หมื่นล้าน
เศรษฐกิจ
วันอาทิตย์ ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:00 น.

เอกชนรับเหมาเตรียมแข่งเดือด ชิงโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ 7.8 หมื่นล้าน ซิโนไทย - เนาวรัตน์พัฒนาการ ยันร่วมลงสนาม ด้าน รฟม.แบ่งเค้ก 6 สัญญา เปิดประมูลปีนี้
นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมซื้อซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มูลค่าราว 7.8 หมื่นล้านบาท ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างขั้นตอนเตรียมประกาศขายซองและประกวดราคาในปีนี้

อีกทั้งบริษัทยังมีแผนเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินราว 1.4 แสนล้านบาท โดยยืนยันที่จะเข้าร่วมประมูลกับพันธมิตรในกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR เช่นเดิม ขณะที่งานในมือ (backlog) ปัจจุบันมีอยู่ราว 9 หมื่นล้านบาท คาดว่าน่าจะรับรู้รายได้อีก 2-3 ปี เป็นงานเอกชน 70% งานภาครัฐ 30%

โดยปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ 4 โครงการ ได้แก่

1.ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ โซน C งานก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ วงเงินกว่า 6,200 ล้านบาท

2.รถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงศรีรัช-เมืองทองธานี วงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท

3.ขุดคลองของกรมชลประทาน วงเงิน 3,500 ล้านบาท

4.ดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) โครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ในนามกลุ่มกิจการร่วมค้าบีจีเอสอาร์ ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้ก่อสร้างโยธา มูลค่าราว 7-8 พันล้านบาท

ด้านนายปสันน สวัสดิ์บุรี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 บริษัทเตรียมเข้าประมูลโครงการก่อสร้างใหม่อีกหลายโครงการ มูลค่ารวมประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าจะชนะการประมูลประมาณ 9-10% จากมูลค่าโครงการที่เข้าประมูลทั้งหมด อีกทั้งบริษัทยังสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลงานโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

อ่านข่าว : “พัทยา”รื้อแผนโมโนเรล ต่อเส้นทางเชื่อมไฮสปีด



รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า ขณะนี้ รฟม.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา และคาดว่าหากไม่มีปัญหาติดขัด จะสามารถประกาศขายซอง เริ่มขั้นตอนประกวดราคาได้ภายในปีนี้ และได้ตัวเอกชนผู้รับจ้างในช่วงไตรมาส 1 ปีหน้า

สำหรับร่างเอกสารประกวดราคานี้ ถือเป็นการประกวดราคาครั้งที่ 2 หลังจากเมื่อวันที่ 27 ส.ค.2564 รฟม.ได้ประกาศยกเลิกประกวดราคาโครงการดังกล่าว เนื่องจากพบว่าขั้นตอนการดำเนินการที่ไม่ครบถ้วนตามระบบข้อตกลงคุณธรรม จึงเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างใหม่ให้ครบถ้วน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากที่สุด

โดย รฟม.จะแบ่งการประกวดราคาออกเป็น 6 สัญญา รวมมูลค่าราว 7.8 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ลักษณะงานจะเป็นงานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 4.87 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 3 สถานี

สัญญาที่ 2 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้าฯ ลักษณะงานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้าฯระยะทางประมาณ 2.33 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 3 สถานี

สัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้าฯ-สะพานพระพุทธยอดฟ้า ลักษณะงานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงผ่านฟ้าฯ-สะพานพระพุทธยอดฟ้า ระยะทางประมาณ 3.12 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 2 สถานี

สัญญาที่ 4 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-ดาวคะนอง ลักษณะงานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-ดาวคะนอง ระยะทางประมาณ 3.97 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 2 สถานี

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงดาวคะนอง-ครุใน อาคารจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard) และอาคารจอดแล้วจร (Park&Ride) ลักษณะงานก่อสร้างทางวิ่งยกระดับ ช่วงดาวคะนอง-ครุใน ระยะทางประมาณ 9.34 กิโลเมตร และสถานียกระดับ จำนวน 7 สถานี อาคารจอดรถไฟฟ้า และอาคารจอดแล้วจร

สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนวเส้นทางโครงการ โดยโครงการนี้จะมีระยะทางประมาณ 23.6 กิโลเมตร มี 10 สถานีใต้ดิน ระยะทาง 13.6 กิโลเมตร และ 7 สถานียกระดับ ระยะทาง 10.0 กิโลเมตร รวม 17 สถานี

โดย รฟม.มีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2021 2:26 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ปลุกตลาดที่อยู่อาศัย 8 หมื่นล้าน
ข่าวรอบวัน
วันที่ 14 ตุลาคม 2564 - 11:57 น.

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ชี้การพัฒนารถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้ จะหนุนให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนและกระตุ้นมูลค่าตลาดที่อยู่อาศัยเตาปูน-ราษฎร์บูรณะไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท โดยเฉพาะธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ คอนโดมิเนียม และทาวน์เฮ้าส์ ในบริเวณโดยรอบเส้นทาง เนื่องจากตอบโจทย์ความต้องการรวมถึงราคาที่ดินในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สามารถนำไปพัฒนาโครงการได้

วันที่ 14 ตุลาคม 2564 ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า การลงทุนในโครงการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.1 แสนล้านบาทของภาครัฐ นอกจากจะเป็นการขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาก่อสร้างราว 5 ปี

ซึ่งส่งผลบวกต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจจำหน่ายและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการรถไฟฟ้ายังก่อให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนตามมา (Crowding-in effect) โดยเฉพาะในธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย


“ในอดีต การก่อสร้างรถไฟฟ้าในอดีตทั้งสายสีเขียวตอนเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สายสีชมพู (มีนบุรี-แคราย) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ที่ภาครัฐใช้เม็ดเงินลงทุนเองกว่า 115,000 ล้านบาท ได้ส่งผลให้ภาคเอกชนลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยในบริเวณโดยรอบเพิ่มขึ้นไปแล้วกว่า 81,500 ล้านบาท คิดเป็น Multiplier Effects อย่างน้อย 0.7 เท่า ส่วนในอนาคต เมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย คาดว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้จะทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยในเตาปูน-ราษฎร์บูรณะมีมูลค่าการพัฒนาเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับที่ผ่านมา” ดร.พชรพจน์ กล่าว

ดร.สุปรีย์ ศรีสำราญ กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) มี 3 จุดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) การมีเส้นทางที่พาดผ่านทั้งสถานที่ทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และโซนที่อยู่อาศัย ตลอดจนสามารถเชื่อมต่อไปย่านธุรกิจ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ จะช่วยส่งเสริมให้การเดินทางของคนในพื้นที่มากขึ้น

2) การมีสถานีที่เป็นจุดตัดกับโครงข่ายรถไฟฟ้าอื่น ๆ อีกหลายเส้นทาง เช่น จุดตัดกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีวงเวียนใหญ่ ที่จะช่วยให้คนในพื้นที่ย่านคลองสาน ประชาอุทิศ-พุทธบูชา เดินทางเข้าสู่ย่านธุรกิจ เช่น สาทร สีลม สุขุมวิท ได้สะดวกขึ้น ทำให้เหมาะสำหรับการต่อยอดสู่ Hub ในการเดินทางและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้หลายรูปแบบ

และ 3) การมีอาคารจอดแล้วจรที่สามารถรองรับจำนวนรถยนต์ได้มากถึงราว 7,900 คัน ซึ่งมากกว่าเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ รวมถึงสถานที่ตั้งของอาคารจอดแล้วจรที่กระจายอยู่ทั้งตอนเหนือและใต้ของเส้นทาง


“การมีเส้นทางรถไฟฟ้าที่พาดผ่านสถานที่สำคัญ อีกทั้งยังมีจุดตัด (Interchange) ที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับโครงข่ายรถไฟฟ้าในเส้นทางอื่น ๆ รวมถึงการมีอาคารจอดแล้วจรที่มีความจุ และมีสถานที่ตั้งที่เหมาะสม จะช่วยสนับสนุนให้จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าในภาพรวมให้สูงขึ้น และส่งผลบวกต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณรอบ ๆ อีกด้วย” ดร.สุปรีย์

ด้านนายกณิศ อ่ำสกุล กล่าวเสริมว่า การมาถึงของรถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญให้ยอดขายที่อยู่อาศัยในพื้นที่เตาปูน-ราษฎร์บูรณะมีแนวโน้มสูงขึ้น 25% จากปีละ 7,700 ยูนิต ในช่วงปี 2561-2563 มาอยู่ที่ 9,600 ยูนิต เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง โดย การพัฒนาคอนโดมิเนียมในทำเลบางซื่อ และคลองสาน รวมถึงทาวน์เฮ้าส์ในทำเลประชาอุทิศ-พุทธบูชาที่ระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทต่อยูนิต และ 3-5 ล้านบาทต่อยูนิต มีโอกาสที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด

ทั้งนี้เนื่องจากจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่มากที่สุดแล้ว ราคาที่ดิน ณ ปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปพัฒนาโครงการ โดยที่ยังรักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ที่ 30-40% ได้ตามปกติ นอกจากนี้ หากพิจารณาในระยะถัดไป คาดว่าธุรกิจร้านสะดวกซื้อในพื้นที่ก็มีโอกาสเพิ่มจำนวนสาขาขึ้นอีก 2-3 เท่า จากปัจจุบันที่ 4-5 สาขาต่อประชากร 10,000 คน เพื่อรองรับการอยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน


ชี้โครงการรถไฟฟ้าสีม่วงตอนใต้ กระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัย 8 หมื่นล้าน

วันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:04 น.

กรุงไทย คอมพาส คาดการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้ กระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 80,000 ล้านบาท

นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยกรุงไทย คอมพาส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าได้ประเมินการลงทุนในโครงการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) เงินลงทุนกว่า 1.1 แสนล้านบาทของภาครัฐว่า จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจจำหน่ายและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า และยังเกิดการลงทุนของภาคเอกชนตามมา โดยเฉพาะในธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย คาดว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้จะทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยในเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มีมูลค่าการพัฒนาเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท


“ในอดีต การก่อสร้างรถไฟฟ้าในอดีตทั้งสายสีเขียวตอนเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สายสีชมพู (มีนบุรี-แคราย) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ที่ภาครัฐใช้เงินลงทุนเองกว่า 1.15 ล้านบาท ได้ส่งผลให้ภาคเอกชนลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยในบริเวณโดยรอบเพิ่มขึ้นไปแล้วกว่า 81,500 ล้านบาท คิดเป็นทวีคูณอย่างน้อย 0.7 เท่า”

นายสุปรีย์ ศรีสำราญ นักวิเคราะห์ กรุงไทย คอมพาส กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้ มีจุดเด่น คือ มีเส้นทางที่พาดผ่านทั้งสถานที่ทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน โซนที่อยู่อาศัย ย่านธุรกิจ และสถานที่ท่องเที่ยว จะช่วยส่งเสริมให้การเดินทางของคนในพื้นที่มากขึ้น, จุดตัดกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีวงเวียนใหญ่ ช่วยให้คนในพื้นที่ย่านคลองสาน ประชาอุทิศ-พุทธบูชา เดินทางเข้าสู่ย่านธุรกิจ เช่น สาทร สีลม สุขุมวิท ได้สะดวกขึ้น ทำให้เหมาะสำหรับการต่อยอดสู่ฮับในการเดินทางและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้หลายรูปแบบ

นายกณิศ อ่ำสกุล นักวิเคราะห์ กรุงไทย คอมพาส กล่าวว่า การมาถึงของรถไฟฟ้าสายสีม่วงตอนใต้จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญให้ยอดขายที่อยู่อาศัยในพื้นที่เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มีแนวโน้มสูงขึ้น 25% จากปีละ 7,700 ยูนิต ในช่วงปี 61-63 มาอยู่ที่ 9,600 ยูนิต เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง โดยการพัฒนาคอนโดมิเนียมในทำเลบางซื่อ และคลองสาน รวมถึงทาวน์เฮาส์ในทำเลประชาอุทิศ-พุทธบูชา ที่ระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทต่อยูนิต และ 3-5 ล้านบาทต่อยูนิต มีโอกาสที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด คาดว่าธุรกิจร้านสะดวกซื้อในพื้นที่ก็มีโอกาสเพิ่มจำนวนสาขาขึ้นอีก 2-3 เท่า จากปัจจุบันที่ 4-5 สาขาต่อประชากร 10,000 คน เพื่อรองรับการอยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2021 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม ปลดล็อกทุกโหมดเดินทาง ปรับเวลาให้บริการ เริ่มวันนี้ !
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 ตุลาคม 2564 - 09:26 น.

กระทรวงคมนาคม ปลดล็อกทุกโหมดเดินทาง ขานรับมติ ศบค. ปรับเวลาให้บริการเป็น 23.00-03.00 น. เริ่มวันนี้ (16 ต.ค.)

วันที่ 16 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีมติปรับลดเวลาการห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในช่วงเวลากลางคืน หรือเคอร์ฟิว จากเดิม 22.00 น. ถึง 04.00 น. มาเป็น 23.00 น. ถึง 03.00 น. โดยให้เริ่มวันที่ 16 ตุลาคม 2564 นี้ นั้น หน่วยงานที่ให้บริการด้านขนส่งสาธารณะต่างขานรับในการปรับเวลาให้บริการ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการดังกล่าว

3 รถไฟฟ้าปรับเวลาเที่ยวสุดท้าย 23.00 น.
เริ่มที่ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า ได้ปรับเวลาการให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งสายสุขุมวิท และสายสีลม รถไฟฟ้าสายสีทอง และรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที เพื่อปฏิบัติตามคำประกาศจากทางรัฐบาล โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2564 นี้ เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีการแจ้งเปลี่ยนแปลงโดยมีรายละเอียดดังนี้

รถไฟฟ้าบีทีเอส ขบวนสุดท้ายออกจากสถานีต้นทางเวลา 22.00 น.
รถไฟฟ้าสายสีทอง ขบวนสุดท้ายออกจากสถานีต้นทางเวลา 22.30 น.
รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที ให้บริการคันสุดท้ายที่สถานีต้นทางเวลา 22.30 น.
ลานจอดแล้วจร ให้บริการจนถึงเวลา 23.00 น.
ด้านนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) เปิดเผยว่า ทาง รฟฟท.ก็เปลี่ยนแปลงเวลาให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นเวลา 05.30 – 23.00 น. ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการประกาศแจ้งเปลี่ยนแปลง โดยรถไฟขบวนสุดท้ายจะออกจากสถานีต้นทางคือ สถานีพญาไท และสถานีสุวรรณภูมิ เวลา 22.30 น. และจะถึงสถานีปลายทางเวลา 23.00 น.

ขณะที่นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT ปรับเวลาให้บริการดังนี้ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) เวลา 06.00 – 23.00 น. และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) เวลา 05.30 – 23.00 น. (รถไฟขบวนสุดท้ายถึงสถานีปลายทางเวลา 23.00 น.) จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

ในส่วนของอาคารและลานจอดแล้วจรของ รฟม. จะเปลี่ยนแปลงเวลาให้บริการเป็นตั้งแต่เวลา 05.00 ถึง 23.00 น. เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาให้บริการของรถไฟฟ้า โดยปัจจุบัน รฟม. มีที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จำนวน 10 สถานี ประกอบด้วย 4 อาคาร และ 10 ลานจอดรถ ได้แก่

อาคารจอดแล้วจรสถานีลาดพร้าว สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีหลักสอง (2 อาคาร) ลานจอดแล้วจรสถานีรัชดาภิเษก สถานีห้วยขวาง สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (2 ลาน) สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีสุขุมวิท สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (2 ลาน) และสถานีสามย่าน

ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จำนวน 4 สถานี ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีคลองบางไผ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1 ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ จำนวน 1 สถานี ได้แก่ ลานจอดแล้วจรสถานีเคหะฯ และที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต จำนวน 2 สถานี ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต

การทาง-ดอนเมืองโทลล์เวย์ ปรับเวลา
ขณะที่ทางด่วนและทางพิเศษ ก็มีการปรับเวลาให้บริการใหม่เช่นกัน โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ออกประกาศปรับเปลี่ยนเวลาจำกัดการให้บริการทางพิเศษทุกด่านฯ ทุกสายทาง เป็นระหว่างเวลา 23.00 – 03.00 น. ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2564 ต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

ด้าน บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ก็ประกาศปรับเปลี่ยนเวลาจำกัดการให้บริการทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทล์ลเวย์ ทุกด่าน เป็นระหว่างเวลา 23.00 – 03.00 น. ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2564 ต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

ขสมก.ปรับเวลาเดินรถเป็น 04.00-22.00 น. งดรถกะดึก
ปิดท้ายที่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการ ขสมก. เปิดเผยว่า ได้จัดแผนการเดินรถโดยสารให้สอดคล้องกับมติที่ประชุม ศบค. โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ให้บริการรถโดยสารประจำทางในทุกเส้นทาง ตามเวลาปกติ รถโดยสารคันแรกออกจากท่าต้นทาง เวลา 04.00 น. รถโดยสารคันสุดท้าย ออกจากท่าปลายทาง เวลา 22.00 น. หรือตามเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งฯ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ยกเว้นรถโดยสารบริการตลอดคืน (รถกะสว่าง) ยังคงงดให้บริการ

2. จัดรถออกวิ่ง 100 % (2,886 คัน/วัน) หรือจัดรถออกวิ่งให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในแต่ละช่วงเวลา โดยมีเที่ยววิ่งเฉลี่ย วันละประมาณ 25,000 เที่ยว

3. ขสมก.ยังคงดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) อย่างเคร่งครัด โดยกำชับพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสาร, เพิ่มความถี่ในการล้างทำความสะอาดระบบปรับอากาศ และการทำความสะอาดผ้าม่าน

พร้อมทั้งติดตั้งขวดเจลแอลกอฮอล์ สำหรับให้ผู้ใช้บริการล้างมือบริเวณประตูทางขึ้น และจะติดตั้งป้ายข้อความ “เหลือรถอีก 2 คันสุดท้าย” “เหลือรถอีก 1 คันสุดท้าย” “รถคันสุดท้าย” บริเวณกระจกด้านหน้ารถโดยสารที่วิ่งให้บริการ 3 คันสุดท้ายในแต่ละวัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 86, 87, 88 ... 120, 121, 122  Next
Page 87 of 122

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©