RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274328
ทั้งหมด:13585624
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2022 6:55 am    Post subject: Reply with quote

เลิกทั้งหมดรถไฟฟ้า5จังหวัด
Source - เดลินิวส์
Tuesday, November 01, 2022 04:47

รื้อศึกษารื้อศึกษาเปลืองงบ

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบโครงการที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลมอบหมาย รฟม. ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาฯ ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

นายสาโรจน์ กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนโครงการซึ่งแต่เดิมเป็นรถไฟฟ้ารางเบา (Tram) พบว่า มูลค่าการลงทุนสูง รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถ และบำรุงรักษา (O&M) ประกอบกับกระทรวงคมนาคมมี นโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้า ล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค จึงมอบหมาย ที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินโครงการ และทางเลือกรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ที่เป็นไปได้มากที่สุด เพื่อเสนอขอความเห็นชอบกระทรวงคมนาคมต่อไป

ด้านนายวุฒิชัย พรรณเชษฐ์ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การทบทวนครั้งนี้เป็นการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมเบื้องต้นในส่วนที่จำเป็น อาทิ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร, แผนการเดินรถเบื้องต้น, รูปแบบแนวเส้นทางโครงการ, ประมาณการวงเงินลงทุน, รายได้ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน ในส่วนของแนวเส้นทางโครงการเพื่อลดต้นทุนได้ปรับรูปแบบจากเดิมผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน (จากแยกกองกำลังผาเมืองถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่) ระยะทาง 15.7 กม.16 สถานี เป็นระดับดินตลอดเส้นทาง 16.7 กม. 16 สถานี

เดิมเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก ประเภท Tram วิ่งบนราง การทบทวนครั้งนี้มีรูปแบบที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย 1.รถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) 2.รถรางไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) และ 3.รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT) พบว่ารถไฟฟ้าล้อยางระดับดินตลอดแนวเส้นทางเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากค่าลงทุนงานก่อสร้างและเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และดำเนินการค่าเวนคืนที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้าง และผลกระทบสิ่งแวดล้อมช่วงการก่อสร้างน้อยกว่าระบบอื่น ๆ

นายวุฒิชัย กล่าวต่อว่า รถไฟฟ้าล้อยางระดับดินมีวงเงินลงทุน 10,024 ล้านบาท รถไฟฟ้าล้อเหล็กทั้งระดับดินและใต้ดินวงเงิน 26,595 ล้านบาท คาดว่าจะศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานอีไอเอและรายงาน PPP แล้วเสร็จเดือน ธ.ค. 65 พิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถเดือน ม.ค.66-ม.ค. 67 เสนอ ครม. อนุมัติ ม.ค. 67 คัดเลือกเอกชน PPP ส.ค. 67-ส.ค. 68 เริ่มงานก่อสร้าง ก.ย. 68 และเปิดบริการเดือน ธ.ค. 71

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ไม่นานผลการศึกษาของรฟม.ระบุถึงการไม่คุ้มทุนของโครงการแทรมนครราชสีมา (โคราช) เสนอเปลี่ยนเป็น BRT ขณะที่แทรมภูเก็ตให้เปลี่ยนเป็น ART (รถเมล์ไฟฟ้าล้อยาง) เช่นกัน ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ส่วนแทรมขอนแก่นและโมโนเรลหาดใหญ่ จ.สงขลา ครม. มอบท้องถิ่นดำเนินการ แต่ทั้ง 2 จังหวัดยัง ไม่มีเงินลงทุน มีแนวโน้มที่จะสรุปได้ว่าต้องล้มโครงการรถไฟฟ้าใน 5 จังหวัดไปก่อน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 พ.ย. 2565 (กรอบบ่าย)

Dailynews - ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
31 ต.ค. 65 13:28 น.
ลาก่อน!!! ความฝันรถไฟฟ้า 5 จังหวัดใหญ่ล้มทั้งหมด
*ยกเลิก “แทรมเชียงใหม่”เปลี่ยนเหล็กเป็นล้อยาง
*รฟม.รื้อศึกษารื้อศึกษาสนองนโยบาย”ศักดิ์สยาม”
*ปรับเส้นทาง ”อุโมงค์เป็นวิ่งระดับดินตลอดสาย”
*เหตุผลหลักลดต้นทุนเริ่มก่อสร้างปี 68 เปิดปี 71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/669157191328185



รฟม.เปิด 4 โปรเจครางภูมิภาค ลุยตอกเสาเข็มปี 67 รับเมืองขยายตัว
กรุงเทพธุรกิจ 13 พ.ย. 2565 เวลา 6:09 น.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเตรียมทุ่มงบกว่า 5 หมื่นล้านบาท เดินหน้า 4 โครงการระบบขนส่งทางรางในภูมิภาครับการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ตั้งเป้าทยอยตอกเสาเข็มภายในปี 2567

ในปลายปีนี้พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีโครงข่ายระบบรางเชื่อมต่อการเดินทางเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 2 โครงการ คือ รถไฟฟ้ารางเบา (โมโนเรล) สายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ซึ่งจะส่งผลให้โครงข่ายระบบรางในหัวเมืองหลักอย่างกรุงเทพฯ สมบูรณ์แบบมากขึ้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเดินหน้าขยายโครงข่ายระบบรางไปยังหัวเมืองภูมิภาคต่างๆ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ผลักดันการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว โดยตามเป้าหมายขณะนี้มี 4 โครงการลงทุนที่อยู่ระหว่างศึกษา ในวงเงินลงทุนรวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต

ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง

วงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท

ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร 21 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นจะมีการนำเสนอโครงการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2562 ภายในเดือน พ.ค.- เม.ย.2567 คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน พ.ค.2567-มิ.ย.2568 ก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถ ในเดือน ก.ค.2568-พ.ย.2570 และเปิดให้บริการภายในเดือน ธ.ค.2570 เพื่อให้ทันการจัดงาน Specialised Expo 2028 ที่จังหวัดภูเก็ตอยู่ระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ


โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)

ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

วงเงินลงทุน 2,300 ล้านบาท

ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร 21 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าโครงการจะเริ่มงานก่อสร้างในปี 2568 และเปิดให้บริการได้ในปี 2571 โดยจากการวิเคราะห์ด้านวิศวกรรมและจราจรด้านการลงทุนและผลตอบแทนและด้านสิ่งแวดล้อม และเปิดรับฟังข้อคิดเห็นจากชาวโคราช พบว่าระบบรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ เป็นระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมมากที่สุด

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง)

ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี

วงเงินลงทุน 10,024 ล้านบาท

ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร 16 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าการจัดทำรายงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (PPP) จะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2565 หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ ก่อนเสนอโครงการไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือน ม.ค.2567 และเริ่มคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน ส.ค.2567 โดยมีกำหนดเริ่มงานก่อสร้างในเดือน ก.ย.2568 แล้วเสร็จเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค.2571

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง)

ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก – ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก

วงเงินลงทุน 3,440 ล้านบาท

ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร 15 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนได้ในเดือน ก.ย. 2565-ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยวต่อวันในปี 2574



รฟม.ทบทวนรถไฟฟ้าในภูมิภาค 4 จังหวัด
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, November 17, 2022 05:03

รื้อแบบ "ภูเก็ต" โละ "แทรม" ล้อเหล็กเซฟค่าลงทุน ชูโมเดล ART หรือ E-BRT ชง "คมนาคม" ชี้ชะตา

แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาค โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Trams) ใน 4 จังหวัด ได้แก่ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก ซึ่งเป็นหัวเมืองหลักที่มีจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยว หนาแน่น ทำให้มีปัญหาจราจรติดขัด รถไฟฟ้าจึงเป็นขนส่งสาธารณะแห่งความหวังที่จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น เหมือนในกรุงเทพฯ แต่นับจากปี 2563 ที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษา "รถไฟฟ้ารางเบาในภูมิภาค" ต้องหยุดชะงัก พร้อมกับด้านนโยบายมีแนวคิดปรับรูปแบบใหม่ เพื่อลดค่าลงทุนและหวังให้ค่าโดยสารต่ำที่สุด...

จุดเปลี่ยน! รื้อแบบแปลงร่าง "แทรม" ภูเก็ตจาก "ล้อเหล็ก" เป็น "ล้อยาง"

ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่ภาครัฐและเอกชนพยายามผลักดันโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือ Tramway) เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรมากว่า 10 ปีแล้ว "แทรมล้อเหล็ก" เป็นระบบขนส่งมวลชนที่คนภูเก็ตให้การสนับสนุน และหวังช่วย ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งเดิมสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไว้ จากนั้นได้มอบหมายให้ รฟม.รับผิดชอบโครงการโดยดำเนินการ ตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี โดยจะดำเนินการระยะที่ 1 ช่วง ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. เริ่มก่อสร้างปี 2563 และเปิดให้บริการในปี 2567

แต่!!!แผนต้องมาสะดุด และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโครงการเมื่อ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษาปรับปรุงรูปแบบโครงการใหม่เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้างลง ซึ่งกระทรวงคมนาคม รายงานว่า ยังมีเทคโนโลยีอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแทรมล้อเหล็ก เช่น ระบบแทรมขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (ART) หรือ ระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT)โดยใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เป็นต้น

"ท่ามกลางเสียงคัดค้านของคนในพื้นที่ ที่ยังต้องการ แทรมป์ล้อเหล็ก และเกรงว่าโครงการจะยิ่งล่าช้าออกไป"
รฟม.ควักงบ 55 ล้านบาท จ้างรีวิว-ปรับแบบ ชี้ชะตา "ระบบขนส่งภูเก็ต" อีกรอบ

"ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ" ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า รฟม.ตั้งงบประมาณ 55.8 ล้านบาท เพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย

โดยเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2565 รฟม.ได้ลงนามสัญญาจ้าง สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด เป็นที่ปรึกษาวงเงิน 55 ล้านบาท เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study Review) โดยเปรียบเทียบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่ เหมาะสม คาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร เทคนิค ราคา สิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและการเงิน แผนการเดินรถ ฯลฯใช้ระยะเวลาดำเนินงานศึกษา 6 เดือน

"ศักดิ์สยาม" ให้โจทย์เพิ่ม ศึกษารูปแบบ EV-BRT เปรียบเทียบต้นทุน

ล่าสุด "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ว่า รฟม.อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนโครงการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและปรับลดวงเงินการลงทุนให้ได้มากที่สุด และทำให้โครงการเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากการศึกษาเดิมจะก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก หรือ แทรม ต่อมาปรับเป็นระบบแทรมขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (ART) ปัจจุบันตนได้มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษารูปแบบที่ 3 เพิ่มเติม คือระบบรถเมล์ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือ EV-BRT เปรียบเทียบด้วย ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่

ทั้งนี้หากเป็นรถเมล์ไฟฟ้า รูปแบบการให้บริการจะเป็นการจัดช่องทางเดินรถเฉพาะ บนถนนของกรมทางหลวง (ทล.) โดยมีรั้วหรือแบริเออร์กั้นช่องจราจรจากรถยนต์อื่นๆ รวมถึงมีระบบเครื่องกั้นอัตโนมัติในการบริหารความปลอดภัย โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคม และอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ร่วมพิจารณาความเป็นไปได้ของรูปแบบดังกล่าว

การลงทุน EV-BRT ไม่สูงมาก ดังนั้นจะส่งผลไปถึงการกำหนดอัตราค่าโดยสารจะไม่แพงไปด้วย อีกทั้งยังสามารถ ผลักดันเพื่อเริ่มให้บริการเฟสแรกได้เร็ว โดยเห็นว่าการลงทุน น่าจะเป็นรูปแบบเดียวกับ รถโดยสารใน กทม. ที่ให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถกับกรมการขนส่งทางบก โดยเป็นรถโดยสารไฟฟ้า (EV Bus) โดยกรมการขนส่งทางบก ให้สัมปทานและกำกับดูแล ส่วนเอกชนจะลงทุนทั้งการจัดหารถการบริหารจัดการ รวมไปถึงควบคุมระบบเครื่องกั้นและสัญญาณจราจร

ขีดเส้น รฟม.สรุป ในพ.ย. เตรียมลง "ภูเก็ต"

ศักดิ์สยามระบุว่า "ขณะนี้รูปแบบยังไม่สรุป ดังนั้นยังเป็นไปได้ทั้งรถ EV-BRT หรือ ระบบ ART ซึ่ง ART ก็เป็นไปได้ทั้งแบบ วิ่งบนถนนโดยแบ่งช่องจราจร และมีการควบคุมจราจร หรือ เป็น ART เต็มรูปแบบ คือมีทางยกระดับหรืออุโมงค์ บริเวณจุดตัด/ทางแยก ตรงนี้ต้องมาดูค่าลงทุนและค่าโดยสารที่เหมาะสมในแต่ละรูปแบบ ซึ่งผมให้เวลาสรุปเรื่องนี้ภายในสิ้นเดือน พ.ย. นี้ เพราะผมต้องการลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อผลักดันเป็นโครงการนำร่อง และจะทำให้ระบบขนส่งมวลชนในอีกหลายจังหวัดใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาได้"

แต่หากจะมีการพัฒนาเป็นระบบ ART เต็มรูปแบบ ซึ่งจะต้องก่อสร้างทางยกระดับหรืออุโมงค์ ในช่วงที่เส้นทางตัดกับถนน เห็นว่าควรให้การพัฒนาโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่- เกาะแก้ว-กระทู้เสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางเพราะในช่วงที่มีการก่อสร้างจะมีปัญหาจราจรอย่างแน่นอน

"ผลศึกษาระบบ ART แม้ค่าลงทุนจะลดลงจากแทรมล้อเหล็ก แต่ก็ยังมีมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งจะเก็บค่าโดยสาร 50 บาท เปรียบเทียบกับ EV Bus ในกทม. ค่าโดยสารเริ่มต้น 10 บาท และราคาเหมา 40 บาท นั่งได้ไม่จำกัดตลอดวัน ผมเห็นว่า ที่ภูเก็ตหากสามารถปรับเป็น EV Bus ได้ก็น่าจะเหมาะสม"
ตามผลศึกษา รฟม.ก่อนหน้านี้ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลองระยะทาง 42 กม. เปรียบเทียบกรอบวงเงินลงทุนของ 3 รูปแบบได้แก่

1. รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ล้อเหล็ก วงเงินรวม 35,201 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่างานโยธา 24,774 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น2,921 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่า ที่ปรึกษา 1,065 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,428 ล้านบาท คาดจำนวนผู้โดยสารประมาณ 39,000 คนต่อวัน ทำให้ผลตอบแทนการลงทุน EIRR ต่ำมาก

2. รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ล้อยาง วงเงินรวม 33,600 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่างานโยธา 22,339 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น 3,955 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 990 ล้านบาทค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,363 ล้านบาท

3. รถโดยสารประจำทางอัจฉริยะ (ART) วงเงินรวม 17,754 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,447 ล้านบาท ค่างานโยธา 10,861 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,000 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น1,236 ล้านบาท (มี 44 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 518 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 692 ล้านบาท

เชียงใหม่ สายสีแดง ศึกษาใหม่ พบรถไฟฟ้าล้อยางวิ่งระดับดินคุ้มค่า

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. และ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.15 กม. อยู่ระหว่างที่ปรึกษาศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานและทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม โดยมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และอยู่ในขั้นตอนการสรุปผลการศึกษา รายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมภายปลายปี 2565

สำหรับรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง มีแนวเส้นทางรูปแบบผสมระหว่างใต้ดินและระดับดินนั้น มีมูลค่าการลงทุนสูง ส่งผลให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษาประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยาง

การศึกษา 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) แนวเส้นทางผสมใต้ดินและระดับดิน วิ่งบนรางในเขตทางเฉพาะตลอดสาย 2. ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง และ 3. ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

เปรียบเทียบด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองเชียงใหม่ ศักยภาพในการรองรับปริมาณ ผู้โดยสาร ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านสิ่งแวดล้อม (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะดำเนินการ)

พบว่ารูปแบบที่ 3 ระบบรถไฟฟ้าล้อยางที่มีรูปแบบทางวิ่งระดับดินตลอดแนวเส้นทาง มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากลดต้นทุนโครงการ ลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน และผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน

โคราช สายสีเขียวฯ เหมาะกับรูปแบบ E-BRT หรือ รถโดยสารไฟฟ้า

สำหรับจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียวฯ การศึกษาเทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบ ได้แก่ 1. Steel Wheel Tram รถไฟฟ้ารางเบาหรือรถราง โดยใช้ระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock) 2. Tire Tram รถรางชนิดใช้ล้อยาง ที่มีระบบติดตั้งอุปกรณ์รางประคอง (Guided Light Transit) หรือระบบรางเสมือน (Track Less) และ 3. E-BRT (Electric Bus Rapid Transit) รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ไม่มีราง

โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 ระบบ ในมิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี, ความ เหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองนครราชสีมา, ศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร, ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน, ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ, ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านผล กระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้างและในระยะดำเนินการ พบว่าระบบ E-BRT เหมาะสมที่สุด รองลงมาคือระบบ Tire Tram และระบบ Steel Wheel Tram ตามลำดับ

ขณะที่อัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 10 บาท และคิดอัตราตามจำนวนสถานีแบบขั้นบันได สถานที่ 1-8 (14 บาท) สถานีที่ 9-16 (18 บาท ), มากกว่า 18 สถานี (22 บาท)

"พิษณุโลก" ครม.เห็นชอบเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ยังนิ่งสนิท

ส่วนระบบขนส่งสาธารณะ จังหวัดพิษณุโลก นั้นหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อให้ รฟม.ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ซึ่งตามผลศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่สนข.ทำไว้ ระยะที่ 1 สายสีแดง (ม.พิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก) ระยะทาง 12.6 กม.จำนวน 15 สถานีโดยเป็นระบบขนส่งรูปแบบ "รถรางล้อยาง" หรือ Auto Tram

ลงทุนในรูปแบบ PPP-Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าเวนคืน ค่าก่อสร้างงานโยธา และระบบรถไฟฟ้า ส่วนเอกชนลงทุนจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าและพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมูลค่าการลงทุนโครงการประมาณ3,440 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เท่ากับ 13.01%

แผนเดิม จะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนในเดือน ก.ย. 2565-ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2574

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหลักในภูมิภาค เป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาจราจร สร้างงาน สร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว แต่เพราะรถไฟฟ้าลงทุนสูง มีผลตอบแทนต่ำ เอกชนอาจไม่สนใจลงทุน ท้ายสุดรัฐบาลต้องเข้าไปอุดหนุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง รวมไปถึงต้องมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มทั้งผลตอบแทนการลงทุนและปริมาณ ผู้โดยสารได้อีกทาง...แต่โจทย์ใหญ่ของ รฟม.ตอนนี้ คือต้องหาโมเดลระบบเทคโนโลยีที่มีความคุ้มค่าและเหมาะสม ตามนโยบาย "รมว.คมนาคม" ให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้นคงต้องเสียเวลา...รื้อ รีวิว ทบทวนการศึกษากันอีก!!!.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 17 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/12/2022 7:40 am    Post subject: Reply with quote

ผุดรถไฟฟ้า-ปรับสนามบิน อัพเกรด'ภูเก็ต'
Source - มติชน
Saturday, December 03, 2022 06:36

'ศักดิ์สยาม'ลงพื้นที่ลุยไล่บี้ คลังจัดระเบียบค้าออนไลน์ อยู่คอนโดก็จดภาษีแวตได้

'ศักดิ์สยาม'ลงพื้นที่ภูเก็ต เช็กความพร้อมสนามบินอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวรับปีใหม่ สั่ง รฟม.เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าในจังหวัด

กรุงศรีขึ้นดบ.ฝากเป็น1.25%

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม นายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกรณีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุด อีก 0.25% เป็น 1.25% ต่อปีว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และบริษัทในเครือได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำพิเศษ 14 เดือน อีก 0.25% เป็น 1.25% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคมนี้ เพื่อตอบรับทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ ที่ 1.25%

นายเซอิจิโระกล่าวว่า สำหรับการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารกำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์ตลาดอย่างใกล้ชิด รวมทั้งพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นก่อน

กสิกรฯยังไม่ขยับดอกเบี้ย

น.ส.ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สำหรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกสิกรไทยต้องพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ดังนั้น ต้องพิจารณาด้วยว่าลูกค้ารายย่อยหรือกลุ่มคนตัวเล็กรับไหวหรือไม่ด้วย รวมทั้งต้องคำนึงถึงผู้ถือหุ้นของธนาคารด้วย โดยขณะนี้ธนาคารยังไม่ได้มีการประชุมหารือ เรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย

"สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2565 มองว่าดีกว่าปีที่แล้ว แต่โดยรวมก็ถือว่ายังไม่หายเหนื่อย ส่วนปี 2566 ยังมองว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ดีขึ้นจากความหวังในภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เติบโตขึ้นรับการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจเทคโนโลยีดิจิทัล" น.ส.ขัตติยากล่าว
น.ส.ขัตติยากล่าวว่า อย่างไรก็ตาม หากดูเงินเฟ้อ ระยะข้างหน้าน่าจะยังเพิ่มขึ้นอยู่ ดังนั้นทิศทางดอกเบี้ยยังอยู่ในขาขึ้น และสุดท้ายก็ต้องปรับขึ้นตามเงินเฟ้อ โดยเศรษฐกิจไทยในปีหน้าธนาคารยังมองบวกตามภาคการท่องเที่ยวและบริการที่ นักท่องเที่ยวจะทยอยกลับมา น่าจะส่งผลต่อสินเชื่อให้เติบโตได้แต่คงไม่สูงมากเหมือนปีนี้ เนื่องจาก ส่งออกชะลอตามเศรษฐกิจโลก ความต้องการ สินเชื่อหมุนเวียนในธุรกิจส่งออกน่าจะชะลอลง

'ศุภชัย'เปิด6ท้าทายโลก

ที่สถาบันผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีการจัดประชุม Forum for World Education (FWE) 2022 ซึ่งประเทศไทยเป็นเข้าภาพ ระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม โดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมบรรยายในหัวข้อ การปฏิรูปการศึกษาและความพร้อมของทุนมนุษย์สู่โลก 5.0 หรือ Educational Transformation & Human Capital Readiness to The World 5.0 ว่า ความท้าทายในอนาคตช่วงปี 2566-2568 คือ 1.ปัญหาทุนนิยม และความไม่เท่าเทียมของสิทธิมนุษยชน 2.การเปลี่ยนผ่านของดิจิทัลและพลังงาน 3.ความยั่งยืนและผลกระทบทางสภาพภูมิอากาศ 4.ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงภาวะเงินเฟ้อในระดับสูงและความมั่นคงทางอาหาร 5.การแบ่งขั้วอำนาจของโลกใหม่ และ 6.สุขภาพและโรคระบาด ซึ่งความท้าทาย 6 ประการต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินการ ต้องพัฒนาคน ทัศนคติของคน ซึ่งเครือซีพีต้องการให้คนเป็นเถ้าแก่ วิธีการคือจะต้องเตรียมความพร้อมให้เด็กรุ่นใหม่ เพราะจะเป็นคนสร้างโลกใหม่

"นี่เป็นความท้าทายทั้งหมดที่ต้องเจอ เป็นสิ่งที่เรียกว่ามากมายที่ต้องเรียนรู้ เป็นทั้งภาระและโอกาส ขึ้นอยู่ว่าจะมองว่าเป็นอะไร ไม่ใช่แค่ภาครัฐ หรือเอกชน ภาคการศึกษาเองก็ต้องดูแลในส่วนนี้ ด้วย" นายศุภชัยกล่าว (อ่านรายละเอียด น.2)

ไฟเขียวใช้คอนโดจดทะเบียนแวต

นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจขายของออนไลน์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่พักอาศัยในอาคารชุดหรือคอนโดมีเนียม และใช้เป็นสถานประกอบการ หากมีรายได้ทั้งปีเกินกว่า 1.8 ล้านบาท ผู้ประกอบการมีหน้าที่ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ต่อกรมสรรพากร แต่ที่ผ่านมาไม่อนุญาตให้ใช้อาคารชุดเป็นสถานประกอบการเพื่อจดทะเบียนแวตได้ กรมสรรพากรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรูปแบบการประกอบธุรกิจขายของออนไลน์ในปัจจุบัน โดยอนุญาตให้นำอาคารชุดมาเป็นสถานประกอบการในการจดทะเบียนแวต ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและยื่นคำขอจดทะเบียนแวต ได้ที่ www.rd.go.th และกดที่ บุคคลธรรมดา ตามด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม และกด ระบบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อาคารชุดเป็นสถานประกอบการ พร้อม อัพโหลด เอกสารที่เกี่ยวข้อง

"การปรับปรุงรูปแบบการจดทะเบียนแวตให้กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ในครั้งนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนและระยะเวลาให้สามารถยื่นจดทะเบียนแวตได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นการทำธุรกรรมบนระบบออนไลน์ในทุกขั้นตอนตอบโจทย์นโยบาย ตรงกลุ่ม บริการตรงใจ สนับสนุนรูปแบบการประกอบกิจการที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบัน" นายลวรณกล่าว
เก็บภาษีขายหุ้นเปล่าเอื้อรายใหญ่

นายลวรณยังกล่าวถึงการเก็บภาษีจากการขายหุ้นว่า ขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะเก็บภาษีดังกล่าว เพราะตลาดมีความ เข้มแข็งมากขึ้น มีมูลค่าตามราคาตลาดโดยรวมของหลักทรัพย์จดทะเบียนอยู่ที่ 20 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งโตกว่าจีดีพีของประเทศ นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีดยังมีรูปแบบที่เป็นสากล หลายประเทศก็ดำเนินการอยู่

นายลวรณกล่าวว่า ส่วนเรื่องที่กังวลว่าหลังจากเก็บภาษีขายหุ้นแล้ว จะทำให้ไทยไม่สามารถเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาคได้ เป็นเรื่องไม่จริง หากไปดูประเทศที่เป็นศูนย์ทางการเงินในปัจจุบัน ต่างก็จัดเก็บภาษีนี้เช่นกัน เช่น ฮ่องกง จัดเก็บในอัตรา 0.13% เกาหลีใต้ จัดเก็บ 0.23% ไต้หวัน 0.30% ฟิลิปปินส์จัดเก็บที่ 0.60% อังกฤษจัดเก็บที่ 0.50% และยังจัดเก็บภาษีจากกำไรการซื้อขายหุ้น (Capital gain) ด้วย ดังนั้น การเก็บภาษีไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้ประเทศใดจะไม่สามารถเป็นศูนย์กลางการเงินแต่อย่างใด

นายลวรณกล่าวว่า สำหรับร่างกฎหมายภาษีขายหุ้น ได้ยกเว้นภาษีสำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯให้แก่ 1.ผู้ดูแลสภาพคล่อง (มาร์เก็ต เมคเกอร์) ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ 2.สำนักงานประกันสังคม 3.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 4.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 5.กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน 6.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ 7.กองทุนการออมแห่งชาติ และ 8.กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมแก่สำนักงานประกันสังคมหรือกองทุนตามข้อ 3-7 เท่านั้น

"ดังนั้น ข้อเท็จจริงคือไม่ได้ยกเว้นภาษีให้แก่นักลงทุนรายใหญ่ แต่ยกเว้นภาษีให้แก่มาร์เก็ต เมคเกอร์ กับกองทุนบำนาญต่างๆ โดย มาร์เก็ต เมคเกอร์ ก็คือโบรกเกอร์ที่ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ และช่วยสร้างสภาพคล่อง และดูแลให้หุ้นใหม่ มีราคาซื้อขายอ้างอิงได้" นายลวรณกล่าว
'ศักดิ์สยาม'เช็กพร้อมภูเก็ตรับปีใหม่

ที่ท่าอากาศยานภูเก็ต นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการสำคัญของกระทรวงคมนาคมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และเตรียมความพร้อมท่าอากาศยานเพื่อรองรับ ผู้โดยสารช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566

ภายหลังการประชุม นายศักดิ์สยามเปิดเผยว่า การเตรียมความพร้อมท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) เพื่อรองรับผู้โดยสารช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมด้านการให้บริการในช่วงผู้โดยสารหนาแน่น โดยใช้ระบบติดตาม และตรวจนับความหนาแน่นของ ผู้โดยสาร REAL-TIME PASSENGERTRACKING SYSTEMS อาทิ การเตรียมความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย เก้าอี้พักคอย ห้องน้ำ รถเข็นสัมภาระ เคาน์เตอร์ด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น
    นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้มีข้อสั่งการ ดังนี้
    1.การดำเนินโครงการต่างๆ ขอให้คำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน
    2.ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งรัดดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต
    3.ให้สนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ ทางน้ำในจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากมี นักท่องเที่ยวและผู้ใช้บริการจำนวนมาก

    นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่า
    4.เร่งพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เชื่อมต่อกับการขนส่งในโหมดอื่นๆ
    5.ให้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานในสังกัดอย่างต่อเนื่อง ครบทุกมิติ
    6.การดำเนินการในทุกขั้นตอนขอให้ยึดหลักกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
    7.ในการดำเนินการก่อสร้างต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ
    8.ให้ทุกหน่วยงาน บูรณาการทำงานร่วมกันในทุกมิติ
ตร.เรียกสอบ27คนเอี่ยวหุ้นมอร์

กรณีหุ้นบริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ MORE มีการซื้อขายผิดปกติ จากการตรวจสอบร่วม 1 เดือนที่ผ่านมา ล่าสุด มีความ คืบหน้าในแง่ของการสอบสวนคดีเพิ่มขึ้นแล้ว โดย พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รอง ผบช.ก.) หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีหุ้น MORE ระบุว่า คณะพนักงานสอบสวนชุดคลี่คลายคดีได้ออกหมายเรียกกลุ่มผู้เสนอขายหุ้น ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) อายัดเงินจากการซื้อขายหุ้นดังกล่าวก่อนหน้านี้ ประมาณ 25-27 คน เข้ามาให้ปากคำในฐานะพยานภายในสัปดาห์หน้า เพื่อซักถามประเด็นที่ยังมีข้อสงสัย และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นที่ผิดปกติครั้งนี้หรือไม่ หากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือร่วมกระทำความผิด จะมีการเชิญมารับทราบข้อกล่าวหาเช่นเดียวกัน

หุ้นใหญ่แจงถูกแอบขาย

ด้านนายเอกภัทร พรประภา ในฐานะผู้ถือหุ้น บริษัทมอร์ฯ พร้อมทนายความ ได้แถลงข่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากถูก ปปง.อายัดทรัพย์คนในครอบครัว รวมมูลค่ากว่า 2,600 ล้านบาท เพราะปรากฏหลักฐานธุรกรรมการส่งคำสั่งขายหุ้นมอร์ในวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายต่อตลาดหุ้นไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท

โดยนายเอกภัทรชี้แจงว่า วันเกิดเหตุทั้งตัวเองและครอบครัวอยู่ระหว่างการเจรจาทางธุรกิจในต่างประเทศ แต่ผู้ดูแลการลงทุนของครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการขายหุ้น โดยไม่ได้แจ้งหรือขอคำยินยอมก่อนส่งคำสั่งขายหุ้น ขณะนี้ครอบครัวอยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินคดีผู้ดูแลการลงทุนคนดังกล่าวฐานฉ้อโกง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายต่อธุรกิจและชื่อเสียงของ วงศ์ตระกูลด้วย

ทั้งนี้ ราคาหุ้นมอร์ ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2565 มีราคา 0.44 บาทต่อหุ้น ปรับเพิ่มขึ้น 0.03 บาท หรือบวก 7.32% แต่ยังไม่สามารถเทียบกับช่วงที่ราคาปรับขึ้นไปสูงสุดถึง 2.98 บาทต่อหุ้น ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาได้ หรือราคาหายไปกว่า 2.54 บาทต่อหุ้น

ที่มา: นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 4 ธ.ค. 2565 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/12/2022 8:17 am    Post subject: Reply with quote

'อีวีบัส'เสียบ'แทรมภูเก็ต'
Source - เดลินิวส์
Sunday, December 04, 2022 07:01

ศักดิ์สยามพูดชัดแล้วเปิดเลนพิเศษเอไอคุม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยขณะลง พื้นที่ตรวจราชการ จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า กระทรวงคมนาคม มีแผนจะสร้างระบบขนส่งมวลชนใน จ.ภูเก็ต เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดภายในเมืองภูเก็ต ซึ่งเดิมวางแผนจะก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท แต่มีต้นทุนสูง และผลของต้นทุนสูงทำให้ต้องเก็บค่าโดยสารแพงตามไปด้วย จึงเสนอให้ก่อสร้างเป็นระยะ โดยระยะแรกใช้รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (อีวีบัส) และ ทำช่องทางพิเศษ (Special Lane) เหมือน ที่กรุงเทพฯ พร้อมนำระบบปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) มาควบคุมสัญญาณไฟจราจร และป้องกันอุบัติเหตุ ตลอดจนทำรั้วไฟฟ้า เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมฝ่าเข้ามา

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า การดำเนินการในระยะแรกโดยใช้อีวีบัส จะใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 1 เดือน และสามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกินปี 67 ซึ่งจะมีค่าโดยสารที่ ไม่แพง โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) สามารถเปิดสัมปทานให้เอกชนแบบในกรุงเทพฯ ที่ทำอยู่ 77 เส้นทาง อย่างไรก็ตามเมื่อเปิดบริการแล้ว จะต้องประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการ ตลอดจนปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการด้วย ส่วนระยะต่อไปนั้นต้องรอให้การก่อสร้างโครงการทางพิเศษ (ด่วน) สายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต ระยะทาง 3.98 กม. และโครงการทางด่วน สายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ จ.ภูเก็ต ระยะทางประมาณ 30 กม. แล้วเสร็จก่อน ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 70

เมื่อก่อสร้างทางด่วนแล้วเสร็จ ประชาชนจะมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้นจึงจะมาพิจารณาว่าจะสร้าง แทรมต่อหรือไม่ และหากเป็นแทรมประชาชนจะรับค่าโดยสาร ได้หรือไม่ได้ เพราะเรื่องนี้อันตราย ตนเป็น รมว.คมนาคม เห็นมาหลายเรื่องแล้ว โดยเฉพาะการลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วกลับไม่มีผู้โดยสารมาใช้บริการเพราะค่าโดยสารแพง รัฐก็ต้องนำภาษีประชาชนมาสนับสนุน ดังนั้นการจะทำอะไรต้องคิดด้วยเหตุและผล รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นด้วย

นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า อีวีบัสที่ให้บริการอยู่ในกรุงเทพฯ ขณะนี้ผลตอบรับดีมาก เพราะรถมีการควบคุมวินัย การจราจร ความเร็ว ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย ความสะอาด เป็นรถปรับอากาศ ค่าโดยสารไม่แพง และมีตั๋ววันด้วย จึงเสนอให้นำอีวีบัสมาพิจารณา เพราะจริง ๆ แล้วเป้าหมายของ ระบบขนส่งมวลชนคือ ต้องการขนส่งคนจำนวนมากให้ได้รับ ความสะดวกสบาย รวดเร็ว ปลอดภัย ประหยัด ตรงตามเวลา ซึ่งการเป็นอีวีบัส จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้มาก เพราะหากเป็นแทรมต้องมีสถานี โครงสร้างต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ และการข้ามแยกต้องทำอุโมงค์ หรือสะพาน ดังนั้นหากสร้างวันนี้โดยที่ยังไม่มีทางเลือกในการเดินทางรูปแบบอื่น จะยิ่งซ้ำเติมปัญหาการจราจรให้กับคนภูเก็ต เพราะจากข้อมูลทราบว่าทุกวันนี้ต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชม.เป็นปัญหาใหญ่ของคนภูเก็ต.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 5 ธ.ค. 2565 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/12/2022 3:56 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมถม 8 หมื่นล้าน เปิดภูเก็ต เจียระไนไข่มุกอันดามัน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 ธันวาคม 2565 - 12:41 น.

10 ธันวาคม 2565 กล่าวได้ว่าเป็นวันนี้ที่รอคอยสำหรับภาคธุรกิจท่องเที่ยวไทย

โดยประเทศไทยจัดอีเวนต์ Amazing Thailand 10 Million Celebrations ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติคนที่ 10 ล้าน แจ็กพอตแตกสำหรับ นางนาจูด อัลไควเตอร์ และ นายไฮซัมอัลมัดลึจ ชาวซาอุดีอาระเบีย จากเที่ยวบิน SV 846 สายการบินซาอุดีอาระเบียน แอร์ไลน์

ส่งสัญญาณการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่หัวเมืองหลักท่องเที่ยวอย่าง “เชียงใหม่-ภูเก็ต” เป็นที่ทราบดีว่าเมืองแตกไปเรียบร้อยแล้ว จากปริมาณนักท่องเที่่ยวต่างชาติที่ทะลักทะล้นหลังยุคโควิด

คมนาคมเล็งลงทุน 8 หมื่นล้าน
ก่อนหน้านั้น เมืองท่องเที่ยวระดับโลกฉายาไข่มุกแห่งอันดามัน “เกาะภูเก็ต” กำลังเข้าสู่โหมดของการพลิกฟื้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวอย่างเต็มกำลังเช่นเดียวกัน

ก่อนหน้านี้ เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2565 “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคมชุดใหญ่ไฟกะพริบ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการสำคัญของกระทรวงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

โดยโครงการที่ถูกจัดสรรลงไปที่พื้นที่ภูเก็ตนั้น มีครบถ้วนทุกโหมดการขนส่ง ทั้ง “บก-ราง-น้ำ-อากาศ”

เบาะ ๆ มีเม็ดเงินลงทุนในแผนทั้งสิ้นมากกว่า 8.1 หมื่นล้านบาท เพื่อเจียระไนไข่มุกอันดามัน แหล่งท่องเที่ยวระดับเวิลด์คลาสของไทย ให้สวยงามและมีความพร้อมต้อนรับแขกผู้มาเยือนมากกว่าเดิม

โหมโรงทางด่วน 4.5 หมื่นล้าน
เมกะโปรเจ็กต์เริ่มต้นกันที่โหมดการเดินทาง “ทางถนน” เจ้าภาพมาจาก 2 หน่วยงานหลักคือ กรมทางหลวง (ทล.) กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เงื้อง่าโครงการทางด่วนแห่งแรกของเกาะ มูลค่าลงทุนแตะหลักหมื่นล้านบาท จำนวน 2 สายทางด้วยกัน

ได้แก่ 1.โครงการทางพิเศษกะทู้-ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กิโลเมตร เชื่อมโครงข่ายการเดินทางระหว่างหาดป่าตองกับอำเภอกะทู้ ช่วยบรรเทาปัญหาการเกิดอุบัติเหตุและสามารถใช้เป็นเส้นทางอพยพยามเกิดภัยพิบัติ วงเงินลงทุน 14,670 ล้านบาท

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำ TOR เพื่อจัดหาเอกชนมาร่วมลงทุน รูปแบบ PPP ถ้าหากสามารถรันขั้นตอนการเปิดประมูลและประกาศเอกชนผู้ชนะประมูลก่อสร้างได้ตามแผน คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570

2.โครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ ระยะทาง 30 กิโลเมตร มุ่งแก้ปัญหาการจราจรในภาพรวม มีวงเงินลงทุน 30,896 ล้านบาท

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงการ ตามแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2570 เช่นกัน

รถไฟ-BRT ลิงก์เดินทางสนามบิน
โหมดการขนส่งทางราง พิมพ์เขียวการลงทุนมี 2 เมกะโปรเจ็กต์ ได้แก่ 1.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตระยะที่ 1 ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง เป็นหนึ่งในแพ็กเกจ “รถไฟฟ้าต่างจังหวัด” ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระยะทาง 42 กิโลเมตร

ปัจจุบันอยู่ระหว่างทบทวนความเหมาะสมและปรับปรุงแบบ โดย “รมว.ศักดิ์สยาม” สั่งการให้มีการแก้ไขแบบจากระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tram) มาเป็นรูปแบบเมกะโปรเจ็กต์ล้อยาง BRT (Bus Rapid Transit) โดยใช้รถบัสไฟฟ้า EV Bus

เหตุผลในการปรับแบบโครงการ เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้างรถไฟฟ้าต้องใช้งบประมาณก้อนโต การปรับจากเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้ามาเป็นล้อยางจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

2.ทางรถไฟสายใหม่ จากสถานีท่านุ่น จังหวัดพังงา มายังสถานีสนามบินนานาชาติภูเก็ต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นไปตามแผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายรถไฟ หรือ R-Map ของกรมการขนส่งทางราง ระยะทาง 20 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 29,918 ล้านบาท

สำหรับโหมดทางราง มีออปชั่นเสริมจากเมกะโปรเจ็กต์รหัส “MR9” เส้นทางลากยาว 155 กิโลเมตร จากสุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต หนึ่งในแนวเส้นทางตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง โดยรวมการขนส่ง 2 รูปแบบคือ “ระบบราง+มอเตอร์เวย์” ไว้ในโครงการเดียวกัน

แนวเส้นทาง MR9 มีระยะทางรวม 252 กิโลเมตร แบ่งเป็นเส้นทางร่วมของระบบรางและมอเตอร์เวย์ 155 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้โครงการ


“ครุยส์เทอร์มินอล” จ่อลงทุน
โหมดคมนาคมขนส่งทางน้ำ เจ้าภาพคือ กรมเจ้าท่า (จท.) ประกาศแผนโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือ 2 โครงการ ได้แก่ 1.การพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยวภูมิภาค จังหวัดภูเก็ต ซึ่งในภาพใหญ่จะเป็นการพัฒนา 4 ท่าเรือใน 3 จังหวัดท่องเที่ยวทางทะเล “ภูเก็ต กระบี่ พังงา” โดยภูเก็ตมีการปักหมุดโครงการพัฒนาที่ท่าเรืออ่าวปอ

“สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์” รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาการอธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าโครงการท่าเรืออ่าวปอ ปัจจุบันอยู่ระหว่างของบประมาณในปีงบประมาณ 2567 วงเงินลงทุน 280 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 30 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2569

2.โครงการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) มีท่าเรือหลัก 3 จังหวัด “ภูเก็ต ชลบุรี เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี” เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวระดับ luxury ซึ่งประมาณการว่าจะมีการใช้จ่ายต่อวันต่อหัว 6,400 บาท

สำหรับท่าเรือในจังหวัดภูเก็ต วางแผนให้มีขีดความสามารถรองรับเรือจอด 219 เที่ยวต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้โครงการ มีความคืบหน้าแล้ว 60%

Click on the image for full size

เพิ่มขีดสามารถสนามบินภูเก็ต
โหมดคมนาคมขนส่งทางอากาศ โปรเจ็กต์ไม่ซับซ้อน เพราะเป็นเกาะขนาดเล็ก มีสนามบินนานาชาติเพียงแห่งเดียว และไม่สามารถสร้างสนามบินแห่งใหม่เพิ่มได้อีก

ดังนั้น เนื้องานจึงจะเป็นการพัฒนาสนามบินนานาชาติภูเก็ตเฟส 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรองรับผู้โดยสารจาก 12.5 ล้านคนต่อปี เป็น 18 ล้านคนต่อปี แบ่งเป็นงานก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ งานก่อสร้างลานจอดอากาศยาน ลานจอด GSE และงานปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค

วงเงินลงทุน 6,211 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA

รอเสียบเจ้าภาพ EXPO 2571
ผลจากการเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ทำให้เกาะภูเก็ตยังคงสถานะเป็นจุดหมายปลายทางของคนทั่วโลก เมื่อมองเห็นศักยภาพนี้ ทางสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ ได้ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต และกระทรวงสาธารณสุข ในการเสนอตัวจังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพจัดงาน specialised EXPO 2028 หรือปี 2571

ธีมจัดงาน “Future of Life : Living in Harmony, Sharing Prosperity-ชีวิตแห่งอนาคต แบ่งปันความรุ่งเรือง อยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว”

หากสำเร็จ เกาะภูเก็ตในฐานะเป็นเจ้าภาพจัด EXPO คาดว่าสามารถดึงดูดผู้ร่วมงานหมุนเวียน (Visitation) จากนานาประเทศทั่วโลกได้ถึง 7 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศระหว่างการจัดงาน 5 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ หากจับแผนลงทุนคมนาคม ซึ่งวางแผนให้สร้างเสร็จในปี 2570 มาวางเรียงคู่กับกำหนดจัดงาน EXPO ในปี 2571 ต้องบอกว่าเมืองไทย โดยเฉพาะเกาะภูเก็ตยังมีสิทธิ์ลุ้น

ความคืบหน้าปัจจุบัน อยู่ระหว่างการคัดเลือกเมืองเจ้าภาพจัดงาน specialised EXPO 2028 ซึ่งจะประกาศผลในเดือนมิถุนายน 2566 นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2023 6:52 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เร่งพัฒนาขนส่งมวลชนภูเก็ต
Source - ไทยโพสต์
Friday, February 17, 2023 05:42

พระรามเก้า * รฟม.กางแผนพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตเฟสแรก ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย พร้อมฟังเสียงชาวบ้าน-ทุกภาคส่วน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 20-21 ก.พ.2566 รฟม.จะลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จัดการประชุมกลุ่มย่อย (การประชุมเพื่อพิจารณารูปแบบโครงการ) งานศึกษาทบทวนรายละเอียด ความเหมาะสม ปรับปรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย เพื่อประ ชาสัมพันธ์ข้อมูลรายละเอียดโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่

สำหรับการประชุมกลุ่มย่อยฯ ครั้งนี้จะมีการนำเสนอข้อมูลผลการศึกษารูปแบบทางเลือกในการพัฒนาโครงการในมิติต่างๆ อาทิ รูปแบบโครง สร้างของโครงการ ระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม และการขยายแนวเส้นทางต่อไปยังท่าฉัตรไชย เพื่อให้พร้อมรองรับการเดินทางของผู้เข้าร่วมชมงาน Specialised Expo ปี 2571 ซึ่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการเสนอเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดงาน

นายภคพงศ์กล่าวว่า รฟม.จะรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ สอดคล้องตามระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อไป ก่อนเปิดเวทีการประชุมสัมมนาสรุปผลการศึกษาโครงการฯ อีกครั้ง ภายหลังการประชุมกลุ่มย่อยฯ และจัดทำรายงานผลการศึกษาฯ เพื่อรายงานต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 17 ก.พ. 2566


คอลัมน์ เลี้ยวขวาสนทนาจราจร: รับฟังรถไฟฟ้าภูเก็ต
Source - ไทยรัฐ
Friday, February 17, 2023 04:29

หัวปิงปอง

สนทนาจราจรวันนี้ ออกนอก กทม.ไปติดตามมีความคืบหน้ารถไฟฟ้าภูเก็ต ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กันครับ...รฟม.เตรียมลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อย โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง วันที่ 20-21 ก.พ.นี้

คุณภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า การจัดการประชุมกลุ่มย่อยในครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลผลการศึกษารูปแบบทางเลือกในการพัฒนาโครงการในมิติต่างๆ อาทิ รูปแบบโครงสร้างของโครงการระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม และการขยายแนวเส้นทางต่อไปยังท่าฉัตรไชย เพื่อให้พร้อมรองรับงาน Specialised Expo 2028 ซึ่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการเสนอเพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุมดังกล่าวเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตที่อาศัยอยู่ตามแนวเส้นทางของโครงการ และบริเวณใกล้เคียงเข้าร่วมรับฟัง พิจารณารูปแบบทางเลือก รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการ ทั้งนี้ ได้แบ่งการประชุมออกเป็น 3 เวที โดยในวันที่ 20 ก.พ.66 จะจัดการประชุมระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ที่ห้องประชุมระแงงเทศบาลตำบลวิชิต และระหว่างเวลา 14.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต สำหรับวันที่ 21 ก.พ.66 จะจัดการประชุมระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอถลาง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ทั้งนี้ รฟม.จะรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ จัดทำรายงานผลการศึกษา เพื่อรายงานต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป.

ที่มา: นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 17 ก.พ. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2023 12:15 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ลงพื้นที่ภูเก็ต 20-21 ก.พ.นี้ เปิดเวทีกลุ่มย่อย ฟังความเห็นเดินหน้า "โครงการระบบขนส่งมวลชน ระยะที่ 1"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 18:47 น.
ปรับปรุง: 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 18:47 น.




รฟม.เตรียมลงพื้นที่ภูเก็ต 20-21 ก.พ. 66 เปิดเวทีกลุ่มย่อย (พิจารณารูปแบบ) นำเสนอผลศึกษาพร้อมฟังความเห็นประชาชน โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า รฟม.เตรียมลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจัดการประชุมกลุ่มย่อย (การประชุมเพื่อพิจารณารูปแบบโครงการ) งานศึกษาทบทวนรายละเอียด ความเหมาะสม ปรับปรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย ระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลรายละเอียดโครงการฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ โดยจะเป็นการนำเสนอข้อมูลผลการศึกษารูปแบบทางเลือกในการพัฒนาโครงการฯ ในมิติต่างๆ เช่น รูปแบบโครงสร้างของโครงการฯ ระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม และการขยายแนวเส้นทางต่อไปยังท่าฉัตรไชย เพื่อให้พร้อมรองรับการเดินทางของผู้เข้าร่วมชมงาน Specialised Expo 2028 ซึ่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการเสนอเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดงาน โดยจะเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตที่อาศัยอยู่ตามแนวเส้นทางของโครงการฯ และบริเวณใกล้เคียงเข้าร่วมรับฟัง พิจารณารูปแบบทางเลือก รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการฯ

ทั้งนี้ ได้แบ่งการประชุมออกเป็น 3 เวที โดยในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 จะจัดการประชุมฯ ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมระแงง เทศบาลตำบลวิชิต และระหว่างเวลา 14.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต สำหรับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 จะจัดการประชุมฯ ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอถลาง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ และสามารถเปิดรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ ประเด็นปัญหาหรือข้อห่วงกังวลได้อย่างครบถ้วน

ทั้งนี้ รฟม.จะรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ สอดคล้องตามระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อไป ก่อนเปิดเวทีการประชุมสัมมนาสรุปผลการศึกษาโครงการฯ อีกครั้งภายหลังการประชุมกลุ่มย่อยฯ และจัดทำรายงานผลการศึกษาฯ เพื่อรายงานต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาในลำดับถัดไป

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย มีระยะทางรวมของโครงการประมาณ 58.5 กิโลเมตร จำนวนสถานีทั้งหมด 23 สถานี มีจุดเริ่มต้นโครงการระยะที่ 1 บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ไปสิ้นสุดที่สถานีฉลอง ซึ่งอยู่ใกล้กับห้าแยกฉลอง โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงตั้งอยู่บริเวณสถานีถลาง และมีอาคารจอดแล้วจร จำนวน 2 แห่ง ที่บริเวณสถานีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต แห่งที่ 2 และสถานีฉลอง สำหรับเส้นทางของส่วนต่อขยายไปยังท่าฉัตรไชย จะมีจุดเริ่มต้นที่บริเวณสถานีเมืองใหม่ ไปสิ้นสุดที่สถานีท่าฉัตรไชย

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน พร้อมรองรับการเดินทางและการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตในอนาคต ติดตามข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจของโครงการฯ เพิ่มเติมผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1

รฟม. เปิดเวทีกลุ่มย่อย 20-21 ก.พ. ฟังเสียงโปรเจคท์ขนส่งมวลชน “ภูเก็ต”
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16:33 น.

รฟม. ลงพื้นที่ “ภูเก็ต” เปิดเวทีกลุ่มย่อย 20-21 ก.พ. นี้ เผยแพร่ข้อมูล โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต เฟสแรก ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย 58.5 กม. พร้อมฟังเสียงชาวบ้าน-ทุกภาคส่วน ก่อนสรุปผลศึกษาชงคมนาคม



นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 20-21 ก.พ. 66 รฟม. จะลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จัดการประชุมกลุ่มย่อย (การประชุมเพื่อพิจารณารูปแบบโครงการ) งานศึกษาทบทวนรายละเอียด ความเหมาะสม ปรับปรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลรายละเอียดโครงการฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่




นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า การจัดการประชุมกลุ่มย่อยฯ ครั้งนี้ จะมีการนำเสนอข้อมูลผลการศึกษารูปแบบทางเลือกในการพัฒนาโครงการฯ ในมิติต่างๆ อาทิ รูปแบบโครงสร้างของโครงการฯ ระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม และการขยายแนวเส้นทางต่อไปยังท่าฉัตรไชย เพื่อให้พร้อมรองรับการเดินทางของผู้เข้าร่วมชมงาน Specialised Expo ปี 71 ซึ่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการเสนอ เพื่อเป็นเจ้าภาพจัดงาน โดยการประชุมฯ ดังกล่าว เปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตที่อาศัยอยู่ตามแนวเส้นทางของโครงการฯ และบริเวณใกล้เคียง เข้าร่วมรับฟัง พิจารณารูปแบบทางเลือก รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการฯ

ADVERTISEMENT


ทั้งนี้แบ่งการประชุมเป็น 3 เวที โดยวันที่ 20 ก.พ. 66 จะจัดการประชุมฯ ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมระแงง เทศบาลตำบลวิชิต และระหว่างเวลา 14.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต สำหรับวันที่ 21 ก.พ. 66 จะจัดการประชุมฯ ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอถลาง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ และสามารถเปิดรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ ประเด็นปัญหาหรือข้อห่วงกังวลได้อย่างครบถ้วน

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า รฟม. จะรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ สอดคล้องตามระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อไป ก่อนเปิดเวทีการประชุมสัมมนาสรุปผลการศึกษาโครงการฯ อีกครั้ง ภายหลังการประชุมกลุ่มย่อยฯ และจัดทำรายงานผลการศึกษาฯ เพื่อรายงานต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย มีระยะทางรวมประมาณ 58.5 กิโลเมตร (กม.) 23 สถานี มีจุดเริ่มต้นโครงการระยะที่ 1 บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ไปสิ้นสุดที่สถานีฉลอง ซึ่งอยู่ใกล้กับห้าแยกฉลอง โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงตั้งอยู่บริเวณสถานีถลาง และมีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง ที่บริเวณสถานีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต แห่งที่ 2 และสถานีฉลอง

ส่วนเส้นทางของส่วนต่อขยายไปยังท่าฉัตรไชย จะมีจุดเริ่มต้นที่บริเวณสถานีเมืองใหม่ ไปสิ้นสุดที่สถานีท่าฉัตรไชย ทั้งนี้เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน พร้อมรองรับการเดินทางและการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตในอนาคต.

Mongwin wrote:
รฟม.เร่งพัฒนาขนส่งมวลชนภูเก็ต
Source - ไทยโพสต์
Friday, February 17, 2023 05:42

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 17 ก.พ. 2566


คอลัมน์ เลี้ยวขวาสนทนาจราจร: รับฟังรถไฟฟ้าภูเก็ต
Source - ไทยรัฐ
Friday, February 17, 2023 04:29

หัวปิงปอง

ที่มา: นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 17 ก.พ. 2566
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2023 8:40 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.ลงพื้นที่ภูเก็ต 20-21 ก.พ.นี้ เปิดเวทีกลุ่มย่อย ฟังความเห็นเดินหน้า "โครงการระบบขนส่งมวลชน ระยะที่ 1"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 18:47 น.
ปรับปรุง: 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 18:47 น.

รฟม.แจ้งเกิด ‘รถไฟฟ้าภูเก็ต’ เชื่อมสนามบิน – ห้าแยกฉลอง 21 สถานี
กรุงเทพธุรกิจ 19 ก.พ. 2566 เวลา 7:43 น.

รฟม.เตรียมผลักดันการลงทุน 3.5 หมื่นล้านบาท ลุยตอกเสาเข็มสร้างรถไฟฟ้าภูมิภาคสายแรกลงจังหวัดภูเก็ต เชื่อมสนามบิน - ห้าแยกฉลอง รับเจ้าภาพ Specialised Expo 2028

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประกาศความพร้อมพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปยังท่าฉัตรไชย เพื่อทันรองรับการเดินทางของผู้เข้าร่วมชมงาน Specialised Expo 2028 ซึ่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการเสนอเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดงาน

โดย รฟม.เตรียมลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อจัดการประชุมกลุ่มย่อย (การประชุมเพื่อพิจารณารูปแบบโครงการ) งานศึกษาทบทวนรายละเอียด ความเหมาะสม ปรับปรุงโครงการดังกล่าว ระหว่างวันที่ 20-21 ก.พ. 2566 เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลรายละเอียดโครงการฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปยังท่าฉัตรไชย จากผลการศึกษาของ รฟม.ก่อนหน้านี้ ได้ประเมินวงเงินลงทุนเฉพาะส่วนของช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง อยู่ที่ 35,201 ล้านบาท แบ่งเป็น


1. ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,499 ล้านบาท

2. ค่าก่อสร้างงานโยธา 24,774 ล้านบาท

3. ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท

4. ค่าขบวนรถไฟฟ้า 2,921 ล้านบาท

5. ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 1,065 ล้านบาท

6. Provisional Sum 1,428 ล้านบาท

แนวเส้นทาง

เริ่มจากสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต โดยแนวเส้นทางช่วงนี้เป็นโครงสร้างแบบยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 4031 จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินที่ทางหลวงหมายเลข 4026 มุ่งหน้าเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ต โดยแนวเส้นทางช่วงผ่านอำเภอถลางจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดิน มีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับขึ้นสู่ระดับดิน ผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร(อนุสาวรีย์วีรสตรี) สถานีขนส่ง เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต ผ่านถนนภูเก็ต และข้ามสะพานเทพศรีสินธุ์ (สะพานข้ามคลองเกาะผี) เพื่อเข้าสู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก (ทางหลวงหมายเลข 4021) และไปสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง ระยะทางรวมประมาณ 42 กิโลเมตร

โครงสร้างทางวิ่ง

ทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) บางช่วงเป็นทางวิ่งลอดใต้ดิน (Underground) และทางวิ่งยกระดับ (Elevated) บริเวณสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต

ระบบรถไฟฟ้า

เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบาชนิด Tram แบบพื้นต่ำ (Low Floor Tram) มีระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ (Overhead Contact Line) และมีระบบแบตเตอรี่สำรองสามารถวิ่งได้ในระยะสั้น

สถานี

ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 21 สถานี ประกอบด้วย สถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี

ศูนย์ซ่อมบำรุง

ตำแหน่งที่ตั้งของโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการฯ จะอยู่บริเวณริมทางหลวงหมายเลข 402 ฝั่งขาเข้าเมืองภูเก็ตบริเวณ กม. 31+400 – 31+600 ใกล้กับห้างโลตัสถลาง โดยตั้งอยู่ระหว่างสถานีโรงเรียนเมืองถลางและสถานีถลางมีขนาดพื้นที่ประมาณ 38 ไร่

จุดจอดแล้วจร

อาคารจอดแล้วจรจะตั้งอยู่ที่สถานีฉลองซึ่งเป็นสถานีปลายทาง โดยสามารถรองรับการจอดรถจักรยานยนต์และรถยนต์ได้ประมาณ 200 – 300 คัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/02/2023 7:33 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นรถไฟฟ้าภูเก็ต ตอบรับใช้รถEBRTช่วงแรก-อีก3เดือนสรุปรูปแบบที่เหมาะสม
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Tuesday, February 21, 2023 04:32

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รฟม.เปิดเวทีย่อยรับฟังความคิดเห็นระบบรถไฟฟ้าภูเก็ต คนเข้าร่วมหร็อมแหร็ม เผยอยู่ในขั้นตอนเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้า อีก 2-3 เดือนสรุปรูปแบบที่เหมาะสมพร้อมเงินลงทุน เห็นด้วยนำรถไฟฟ้า EBRT มาใช้ก่อนในช่วงแรก

วานนี้ (20 ก.พ.) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา FSPKT2 นำโดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการว่าจ้างจากการรถไฟขนส่งมวลชน (รฟม.) จัดเวทีประชุมกลุ่มย่อย (การประชุมเพื่อพิจารณาโครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย 2 เวที คือ ห้องประชุมระแงง เทศบาลตำบลวิชิต เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ ต.วิชิต ต.ฉลอง และ ต.ราไวย์ โดยมี ข้าราชการ และประชาชนเข้าร่วมประมาณ 20 คน

ส่วนในช่วงบ่ายได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครภูเก็ต ต.เกาะแก้ว และ ต.รัษฎา ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต โดยมีข้าราชการ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมประมาณ 40 คน

นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการนำเสนอรายละเอียดโครงการ ว่า รฟม.ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย 2 จากที่ทาง สนข.ได้ทำการศึกษาไว้ โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะทำการศึกษาทางเลือกระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับภูเก็ต การคาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร ด้านเทคนิค ด้านราคา ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจการเงิน แผนการเดินรถ และด้านอื่นๆ

ในส่วนของทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้านั้นได้ทำการศึกษาไว้ทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ 1.ระบบรถไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) ซึ่งใช้กันแพร่หลายในหลายประเทศ เป็นรูปแบบที่ทาง สนข.ได้เลือกไว้ในการศึกษาครั้งที่ผ่านมา ใช้เงินลงทุนประมาณ 35,000 ล้านบาท 2.ระบบรถไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (Rubber Tyred Tram) ซึ่งแบ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าล้อยางแบบชนิดรางนำทาง (Rubber Tyred Tram (Guide Rail) ระบบรถไฟฟ้าล้อยางแบบชนิดรางเสมือน Rubber Tyred Tram (Virtual Guide) และ 3.ระบบรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit : EBRT)

โดยระยะทางจากสนามบินถึงฉลองระยะทาง 51 กิโลเมตร ทางวิ่งระดับดินมีทั้งหมด 21 สถานี ในส่วนของการวิ่งเข้าตัวเมือง และอีก 2 สถานีส่วนต่อขยายไปยังท่าฉัตรไชย จุดจอดแล้วจร 2 จุด คือ สถานี บขส.แห่งที่ 2 และสถานีห้าแยกฉลอง รวมทั้งจุดซ่อมบำรุงรักษา 1 จุด ที่บริเวณใกล้ห้างสรรพสินค้าโลตัส ถลาง อัตราค่าโดยสารที่ศึกษาไว้ 50 บาท ในเส้นทางวิ่งเข้าเมือง และในตัวเมือง 15-20 บาท

ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดและความเหมาะสมของรูปแบบที่เหมาะกับภูเก็ตที่สุด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 เดือน ถึงจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน หลังจากนั้นจะนำรูปแบบที่คัดเลือกว่ามีความเหมาะสม รวมไปถึงเงินลงทุน รูปแบบการลงทุนมาเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากคนภูเก็ตอีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะสรุปเสนอ รฟม.

อย่างไรก็ตาม แต่ละรูปแบบนั้นมีการลงทุนที่ต่างกัน เช่น ระบบรถไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยล้อเหล็ก ต้องใช้เงินลงทุนสูงเกือบ 30,000-35,000 ล้านบาท ระบบล้อยางชนิดรางนำรางประมาณ 20,000 ล้านบาท และระบบล้อยางชนิดรางเสมือน เงินลงทุนต่ำลงมาอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ส่วนระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษจะเป็นรูปแบบที่ลงทุนต่ำที่สุด เพราะลงทุนเฉพาะตัวรถ วิ่งในถนนที่มีอยู่เพียงแต่ทำเลนพิเศษขึ้นมา แต่ต้องใช้พื้นที่จราจรมากกว่ารูปแบบอื่นๆ

"ในเบื้องต้นทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ศึกษาในการนำรถไฟฟ้าระบบ EBRT มาใช้ที่ภูเก็ตในช่วงแรก เพื่อให้ทันรองรับการจัดงาน EXPO 2028 Phuket-Thailand ในปี 2571 เพราะหากรอโครงการรถไฟฟ้าระบบรางอาจจะไม่ทัน เพราะต้องใช้เวลาในการดำเนินการเวนคืน 2 ปี และก่อสร้างอีก 3 ปี"
ในส่วนของรถไฟฟ้า EBRT นั้น จะต้องใช้พื้นที่จราจรมากกว่ารถไฟฟ้าระบบราง ซึ่งในเรื่องนี้ทาง รฟม.จะหารือกับทางกรมทางหลวงในการขอขยายพื้นที่จราจรสำหรับเลนพิเศษให้เพียงพอ เพราะต้องใช้พื้นที่ 9-10 เมตร แต่ที่ทำข้อตกลงในการใช้เกาะกลางถนน 402 นั้น เพียง 8 เมตรเท่านั้น หลังจากนั้นจะได้พัฒนาเป็นรถไฟฟ้าระบบรางต่อไปตามความเหมาะสม

ประชาชนที่เข้าร่วมประชุมในเวทีย่อยครั้งนี้ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และเห็นว่าจะระบบใดก็ได้รับได้ทั้งนั้น แต่ขอให้เกิดขึ้นสักที เพราะโครงการนี้มีการศึกษามานานมากแล้วไม่ต่ำกว่า 15 ปี ศึกษามาหลายรอบแล้ว โครงการยังไม่คืบหน้า และเห็นด้วยที่จะนำรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า หรือรถ EBRT มาใช้ก่อนในช่วงแรก เพื่อให้ทันกับการจัดงาน EXPO 2028 ที่จะกำลังจะมาถึงหากภูเก็ตได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ รวมไปถึงเพื่อแก้ปัญหารถติดในภูเก็ต ชาวภูเก็ตและนักท่องเที่ยวได้รับประโยชน์สูงสุด

แต่ยังเป็นห่วงในเรื่องของปัญหารถติดในตัวเมืองหากมีการแบ่งเลนให้รถ EBRT เพราะถนนในตัวเมืองภูเก็ตแคบมากและจะทำให้ที่จอดรถติดถนนในตัวเมืองที่รถวิ่งผ่านหายไปทั้งหมด พร้อมทั้งเสนอให้มีการจัดพื้นที่สำหรับจอดรถด้วย

นอกจากนี้ ชาวภูเก็ตยังเห็นว่าควรที่จะวางแผนระยะเวลาในการดำเนินการโครงการให้ชัดเจน เพราะเมื่อศึกษาแล้วเสร็จยังไม่ได้ลงทุน ผลการศึกษารวมถึงเทคโนโลยีที่กำหนดไว้อาจจะไม่ทันสมัย ต้องมาศึกษากันใหม่อีก เพราะโครงการนี้มีการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3-4 ครั้งแล้ว ใช้เวลามา 15-20 ปี ทำให้เสียโอกาสในหลายเรื่อง.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 21 ก.พ. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2023 7:27 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิด3เวทีระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต
Source - มติชน
Wednesday, February 22, 2023 05:47

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต จัดการประชุมกลุ่มย่อย (การประชุมเพื่อพิจารณารูปแบบโครงการ) งานศึกษาทบทวนรายละเอียด ความเหมาะสม ปรับปรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย ระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลรายละเอียดโครงการฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่โดยกำหนดจัดรับฟังความคิดเห็น รวม 3 เวที ดังนี้ เวทีที่ 1 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 จัดการประชุมระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมระแงง เทศบาลตำบลวิชิต, เวทีที่ 2 ระหว่างเวลา 14.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลนครภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต และเวทีที่ 3 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 จัดการประชุมระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอถลาง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การจัดการประชุมกลุ่มย่อยฯ ในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูลผลการศึกษารูปแบบทางเลือกในการพัฒนาโครงการ อาทิ รูปแบบโครงสร้างของโครงการ ระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม และการขยายแนวเส้นทางต่อไปยังท่าฉัตรไชย เพื่อให้พร้อมรองรับการเดินทางของผู้เข้าร่วมชมงาน Specialised Expo 2028 โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตที่อาศัยอยู่ตามแนวเส้นทางของโครงการ และบริเวณใกล้เคียง เข้าร่วมรับฟัง

ด้าน นายดอน ลิ้มนันทพิสิฐ ประธานชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต กล่าวว่า เรื่องนี้หารือกันมานานมาก ที่จะทำรถรางให้เป็นกระดูกสันหลัง ที่ผ่านมาคิดทำให้กับนักท่องเที่ยวเป็นที่มาทำรถรางจากสนามบินไปบายพาสไปฉลอง เมื่อประชุมกันไประยะเวลาหนึ่ง เริ่มมีความคิดกันว่าต้องทำให้คนท้องถิ่นด้วย จึงมีการเปลี่ยนเส้นทางบายพาสวิ่งเข้าเมืองซึ่งวิ่งเข้ามาจะมีปัญหาเพราะว่าถนนในเมืองแคบ

ที่มา: นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 23 ก.พ. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2023 6:51 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นรถไฟฟ้าภูเก็ต ตอบรับใช้รถEBRTช่วงแรก-อีก3เดือนสรุปรูปแบบที่เหมาะสม
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
วันอังคาร ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 04:32 น.

เสียงคนภูเก็ตกับโครงการรถไฟฟ้า “เวลานี้แบบใดก็ได้ขอให้เกิด”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 14:33 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 14:33 น.


ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เสียงคนภูเก็ตกับโครงการรถไฟฟ้า หลังรอกันมาอย่างยาวนาน ถึงเวลานี้ระบบใดก็ได้ขอให้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมามีการศึกษากันหลายรอบ แต่ยังไม่เห็นวี่แวว

ตามที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา FSPKT2 นำโดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการว่าจ้างจากการรถไฟขนส่งมวลชน (รฟม.) ให้จัดเวทีประชุมกลุ่มย่อย (การประชุมเพื่อพิจารณาโครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย 3 เวที ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 20-21 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีข้าราชการ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมประมาณ 20-40 คน เพื่อนำเสนอทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่ทำการศึกษาไว้ทั้งหมด 3 รูปแบบ

คือ 1.ระบบรถไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) ซึ่งใช้กันแพร่หลายในหลายประเทศ เป็นรูปแบบที่ทาง สนข.ได้เลือกไว้ในการศึกษาครั้งที่ผ่านมา ใช้เงินลงทุนประมาณ 35,000 ล้านบาท 2.ระบบรถไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (Rubber Tyred Tram) ซึ่งแบ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าล้อยางแบบชนิดรางนำทาง (Rubber Tyred Tram (Guide Rail) ระบบรถไฟฟ้าล้อยางแบบชนิดรางเสมือน Rubber Tyred Tram (Virtual Guide) และ 3.ระบบรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit : EBRT)



โดยประชาชนที่เข้าร่วมประชุมในเวทีย่อยครั้งนี้ได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และเห็นว่าจะระบบใดก็ได้รับได้ทั้งนั้น แต่ขอให้เกิดขึ้นสักที เพราะโครงการนี้มีการศึกษามานานมากแล้วไม่ต่ำกว่า 15 ปี ศึกษามาหลายรอบแล้ว โครงการยังไม่คืบหน้า และเห็นด้วยที่จะนำรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า หรือรถ EBRT มาใช้ก่อนในช่วงแรก เพื่อให้ทันกับการจัดงาน EXPO 2028 ที่จะกำลังจะมาถึงหากภูเก็ตได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ รวมไปถึงเพื่อแก้ปัญหารถติดในภูเก็ต ชาวภูเก็ตและนักท่องเที่ยวได้รับประโยชน์สูงสุด

แต่เป็นห่วงในเรื่องของปัญหารถติดในตัวเมือง หากมีการแบ่งเลนให้รถ EBRT เพราะถนนในตัวเมืองภูเก็ตแคบมากและจะทำให้ที่จอดรถติดถนนในตัวเมืองที่รถวิ่งผ่านหายไปทั้งหมด พร้อมทั้งเสนอให้มีการจัดพื้นที่สำหรับจอดรถด้วย

นอกจากนี้ ชาวภูเก็ตยังเห็นว่าควรที่จะวางแผนระยะเวลาในการดำเนินการโครงการให้ชัดเจน เพราะเมื่อศึกษาแล้วเสร็จยังไม่ได้ลงทุน ผลการศึกษารวมถึงเทคโนโลยีที่กำหนดไว้อาจจะไม่ทันสมัย ต้องมาศึกษากันใหม่อีก เพราะโครงการนี้มีการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3-4 ครั้งแล้ว ใช้เวลามา 15-20 ปี ทำให้เสียโอกาสในหลายเรื่อง
https://www.youtube.com/watch?v=f3b8guGBmmw
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26, 27  Next
Page 25 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©