Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274276
ทั้งหมด:13585572
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/04/2023 7:21 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.รื้อแผนสร้าง แทรม3สาย 6.8หมื่นล้าน ลดต้นทุน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, April 12, 2023 05:38

"คมนาคม" กางไทม์ไลน์ศึกษาแทรม 3 สาย 6.8 หมื่นล้านบาท หลังคมนาคมสั่งทบทวนรูปแบบการเดินรถรอบใหม่ หวังลดต้นทุนค่าก่อสร้าง เล็งดึงเอกชนร่วมทุน PPP คาดเปิดให้บริการราวปี 70-71

ในปี 2563 ที่ผ่านมาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย (รฟม.) เร่งผลักดันโครงการระบบขนส่งมวลชน 3 จังหวัดใหญ่ แต่พบว่าแต่ละโครงการยังติดปัญหา อุปสรรคในหลายเรื่อง ทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง, รูปแบบรถที่ให้บริการไม่สอดรับกับพื้นที่ที่จะให้บริการ รวมทั้งการเวนคืนที่ดินที่อาจจะกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ด้วย

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะ สมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กิโล เมตร (กม.) วงเงินลงทุน 25,736 ล้านบาท ปัจจุบันการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบของโครงการฯเพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้คุ้มค่ากับการลงทุน คาดว่าจะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถใช้ระยะเวลาราว 1 ปีหรือภายในเดือนพฤษภาคม 2566-มิถุนายน 2567

หากได้ข้อสรุปแล้วตามแผนจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567-สิงหาคม 2568 ระหว่างนี้จะสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนกรกฎาคม 2568 ด้วย และเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2568 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2571

ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค จึงมอบหมายให้ที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบ เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินโครงการ จากเดิมพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนโครงการฯ มีมูลค่าการลงทุนสูง ทำให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถ และบำรุงรักษา (O&M)

สำหรับโครงการแทรมเชียงใหม่มีโครงสร้างทางวิ่งผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน มีระยะทางประมาณ 15.8 กิโลเมตร (กม.) โดยมีทางวิ่งระดับดินประมาณ 9.3 กิโลเมตร (กม.) ทางวิ่งใต้ดินประมาณ 6.5 กิโลเมตร (กม.) ประกอบด้วย สถานีทั้งหมด 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีบนดิน 9 สถานี สถานีใต้ดิน 7 สถานี โดยมีแนวเส้นทาง วิ่งตามแนวเหนือใต้ เริ่มต้นบริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ หลังจากนั้นจะเปลี่ยนจากระดับใต้ดินเป็นทางวิ่งระดับดิน แล้ววิ่งออกไปที่ถนนเชียงใหม่ - หางดง บนทางหลวงหมายเลข 108 ไปสิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ขณะที่ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 35,344 ล้านบาท ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ปรับรูปแบบเป็นรถไฟฟ้าล้อยาง (Automate Rapid Transit : ART) เพื่อช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง

ทั้งนี้ในปัจจุบัน รฟม.ได้ประกาศราคากลางงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมปรับปรุงแบบ โครงการฯ พร้อมบันทึกข้อความขอความเห็นชอบขอจ้างที่ปรึกษาฯ วงเงิน 55 ล้านบาท โดยวิธีเฉพาะเจาะจง เพื่อสอดคล้องตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง ปี 2560 ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินงานศึกษา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ระบุในหนังสือแจ้งวันเริ่มงาน (NTP)

หลังจากดำเนินการศึกษา รูปแบบโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตฯแล้วเสร็จ จะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนเมษายน 2567 โดยจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนตุลาคม 2567-มิถุนายน 2568 ควบคู่กับการสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนพฤษภาคม 2568 และดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกรกฎาคม 2568 พร้อมเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2570

ทั้งนี้โครงการแทรมภูเก็ต แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง มีระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร (กม.) มีจำนวนสถานีทั้งหมด 21 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี และ
ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น - เมืองใหม่ มีระยะทางประมาณ 16.5 กิโลเมตร (กม.) มีจำนวนสถานีทั้งหมด 3 สถานี ซึ่งรฟม.จะเริ่มดำเนินการโครงการ ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 เป็นลำดับแรก

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 7,218 ล้านบาท ขณะนี้รฟม. อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้คุ้มค่ากับการลงทุน โดยจะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถใช้ระยะเวลาราว 1 ปีหรือภายในเดือนพฤษภาคม 2566-มิถุนายน 2567

หลังจากนั้นตามแผนของโครงการฯจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567-สิงหาคม 2568 ระหว่างนี้จะสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนกรกฎาคม 2568 ด้วย และเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2568 พร้อมเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2571

สำหรับโครงการแทรมนครราชสีมา มีโครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 21 สถานี โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่บริเวณตลาดเซฟวัน เข้าตัวเมืองนครราชสีมา ไปตามแนวถนนมิตรภาพ ผ่านแยกปักธงชัยและแยกอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีมุ่งหน้าไปตามถนนสุรนารายณ์ ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่บริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาทั้ง 3 โครงการที่ผ่านมา พบว่า เทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบที่เป็นไปได้มากที่สุด ดังนี้
1. รถไฟฟ้ารางเบา (Steel Wheel Tram),
2.รถรางชนิดใช้ล้อยาง (Tire Tram) และ
3. รถโดยสารไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน (Electric Bus Rapid Transit :E-BRT)

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 13 - 15 เม.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/09/2023 6:05 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์-Dailynews
27 ก.ย. 66 18:11 น.

คมนาคมอัดฉีด“ภูเก็ต” 7โปรเจกท์ยักษ์ 1.48แสนล้าน
*เพิ่มพลังภูเก็ตแอร์พอร์ตเติมสนามบินใหม่อันดามัน
*เน้นลงทุนทางบกขยายทางหลวงทางลอดแยกท่าเรือ
*เริ่มสร้างปี67อำนวยความสะดวกปชช.นักท่องเที่ยว

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/862236685353567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/09/2023 6:06 am    Post subject: Reply with quote

'สุริยะ'ทุ่มงบไม่ต่ำ1แสนล้าน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภูเก็ต
Source - ข่าวหุ้น
Thursday, September 28, 2023 05:21

“สุริยะ” เตรียมทุ่มงบไม่ต่ำ 1 แสนล้านบาท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จ.ภูเก็ต รองรับนักท่องเที่ยวหนุนนโยบาย Visa Free ของรัฐบาล เทกระจาดโครงการทั้งขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานภูเก็ต รับผู้โดยสารปีละ 18 ล้านคน พัฒนาระบบราง ถนนทางหลวง พร้อมเดินหน้าทางด่วนกะทู้-ป่าตอง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วานนี้ (27 ก.ย. 2566) ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเตรียมข้อมูลระบบคมนาคมขนส่งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับนโยบาย Visa Free ของรัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคมทั้งทางถนน ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ วงเงินรวมไม่ต่ำ 1 แสนล้านบาท ดังนี้

1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศ ประกอบด้วย การพัฒนาขยายขีดความสามารถท่าอากาศยานภูเก็ต (ปี 2566-2571) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เพื่อเพิ่มการรองรับผู้โดยสารให้ได้ถึง 18 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบันรองรับที่ 12.5 ล้านคนต่อปี วงเงิน 6,211.49 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ปี 2567 และทำการก่อสร้างปี 2569-2571, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่ระยะที่ 2 วงเงิน 2,700 ล้านบาท ซึ่งต้องรอให้การโอนย้ายท่าอากาศยานกระบี่จากกรมท่าอากาศยานมายัง AOT เสร็จสิ้นก่อน จึงจะเริ่มการพัฒนา

2.การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ได้แก่ การพัฒนาโครงข่ายทางเลี่ยงเมืองภูเก็ต หรือทางหลวงหมายเลข 4027 กม. 14+300–กม. 18+850 ให้เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 4.55 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 510 ล้านบาท ก่อสร้างปี 2567-2568 เปิดใช้งานปี 2569, พัฒนาถนนแนวใหม่ 4 ช่องจราจร กม. 18+850–กม. 20+800 เชื่อมทางหลวงหมายเลข 4027 และท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะทาง 1.95 กม. วงเงิน 2,467.78 ล้านบาทเริ่มก่อสร้างปี 2569-2571 เปิดใช้งานปี 2572 รวมถึงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับแก้ปัญหาการจราจรบริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร หรืออุโมงค์ท่าเรือที่จุดตัดทางหลวงหมายเลข 402 กับทางหลวงหมายเลข 4027 วงเงิน 2,425.81 ล้านบาท เริ่มการก่อสร้างในปี 2567-2569 เปิดให้บริการปี 2570

3.พัฒนาโครงข่ายทางพิเศษ คือ โครงการทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงกะทู้-ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กม. วงเงิน 14,670 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 และเปิดให้บริการได้ในปี 2571 และระยะที่ 2 ช่วงเมืองใหม่–เกาะแก้ว–กะทู้ ระยะทาง 30.62 กม. วงเงิน 42,633 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2570 และเปิดให้บริการได้ในปี 2573

4.แผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนภายในเมืองภูเก็ต สายสถานีรถไฟท่านุ่น–ท่าอากาศยานภูเก็ต–ห้าแยกฉลอง รวมระยะทาง 58.5 กม. ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบโครงการว่าจะดำเนินการเป็นรถรางล้อเหล็ก วงเงิน 33,401 ล้านบาท / รถรางล้อยาง วงเงิน 32,972 ล้านบาท หรือระบบ EV Bus (รถโดยสารประจำทางพ่วงยาว) วงเงิน 22,842 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมศึกษาความเหมาะสม เช่น โครงการพัฒนาทางหลวงแนวใหม่ สายบ้านป่าคลอก–บ้านบางคู ระยะทาง 5 กม. วงเงินจ้างที่ปรึกษา 20 ล้านบาท โดยเสนอขอตั้งงบประมาณปี 2567/โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติอันดามัน (จ.พังงา) มูลค่าโครงการ 80,000 ล้านบาท ที่ AOT เตรียมจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดและคาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ในปี 2569 ก่อสร้างปี 2570-2574

และโครงการรถไฟทางไกลระหว่างเมือง สายท่าอากาศยานภูเก็ต-ท่าอากาศยานกระบี่ ระยะทาง 149 กม. เชื่อมระหว่างภูเก็ต พังงา และกระบี่ รวมถึงสายสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น ระยะทาง 163 กม. เชื่อมโยงจังหวัดภูเก็ตกับทางรถไฟสายใต้ไปยังโครงข่ายรถไฟทั่วประเทศ รวมทั้งการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และระบบราง (MR-MAP) สาย MR9 สุราษฎร์ธานี–ภูเก็ต ระยะทาง 236 กม. ที่จะพัฒนาในอนาคต

ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 28 ก.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/09/2023 10:02 am    Post subject: Reply with quote

’สุริยะ‘ เร่งเครื่อง 7 โปรเจกต์แผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมจ.ภูเก็ต
ไทยโพสต์ 28 กันยายน 2566 เวลา 9:29 น.

เตรียมเสนอนากยรัฐมนตรี เคาะ 7 โครงการลงทุน เม็ดเงินกว่า 1.48 แสนล้านบาท ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน 4 มิติ ’บก-น้ำ-ราง-อากาศ‘หนุนเป๋นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค

28 ก.ย.2566-นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมเตรียมการและข้อมูลระบบคมนาคมขนส่งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า ตามนโยบายของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการกระตุ้นการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และสอดคล้องกับนโยบายฟรีวีซ่า โดยในส่วนของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก เมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค ที่มีส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศนั้น

ทั้งนี้กระทรวงฯ จึงมีแผนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม โดยเบื้องต้นกระทรวงฯ เตรียมเสนอให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาแผนลงทุนเร่งด่วน 7 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 1.48 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการเดินทางทางบก และทางอากาศ เป็นทางเลือกให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่เมืองท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต รวมถึงส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความมั่นคงของประเทศ

สำหรับ 7 โครงการลงทุนดังกล่าว ประกอบด้วย 1.การพัฒนาขยายขีดความสามารถ ท่าอากาศยานภูเก็ต (ระยะที่ 2) จากเดิมรองรับผู้โดยสาร 12.5 ล้านคน เพิ่มเป็น 18 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณลงทุน 6,211 ล้านบาท 2.โครงการก่อสร้างขยายช่องจราจร ทางหลวง หมายเลข 4027 ช่วง บ.พารา – บ.เมืองใหม่ วงเงิน 510 ล้านบาท 3.โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ ช่วง บ.เมืองใหม่ – สามแยกเข้าสนามบินภูเก็ต วงเงิน 2,468 ล้านบาท

By TaboolaSponsored
เทรดทองCFDs กับโบรกเกอร์ที่เชื่อถือได้ | เรียนรู้เพิ่มเติม
IC Markets
คุ้มครองครบ เหมาจ่ายจบ ตั้งแต่รุ่นเล็กถึงรุ่นใหญ่
Generali Thailand
4.โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับที่จุดตัด ทล.402 กับ ทล.4027 และ ทล.4025 (ทางลอดท่อเรือ) ที่ กม. 34+680 (ทล.402) วงเงิน 2,425 ล้านบาท 5.โครงการทางพิเศษ สายกระทู้ – ป่าตอง มูลค่าลงทุน 14,670 ล้านบาท 6. โครงการทางพิเศษ สายเมืองใหม่ – เกาะแก้ว – กระทู้ วงเงิน 42,633 ล้านบาท และ 7. การพัฒนาท่าอาอากาศยานภูเก็ตแห่งที่ 2 (สนามบินอันดามัน) วงเงินลงทุน 80,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ โครงการลงทุนเร่งด่วน ตนได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดเตรียมพร้อมการลงทุน โดยขอให้จัดใช้งบประมาณประจำปี 2567 เริ่มนำร่องก่อสร้างโครงการ เบื้องต้นจึงคาดว่าโครงการเร่งด่วนเหล่านี้ จะทยอยเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนทันทีในปี 2567 และเริ่มงานก่อสร้าง เพื่อทยอยแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2569 โดยเฉพาะโครงการลงทุนทางบก ถนนทางหลวงต่างๆ เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้เป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว

นอกจากนี้จะพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) สาย MR9 สุราษฎร์ธานี – ภูเก็ต ระยะทาง 236 กม. ที่จะพัฒนาในอนาคต อีกทั้ง ได้กำหนดแผนดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนภายในเมืองภูเก็ต สายสถานีรถไฟท่านุ่น – ท่าอากาศยานภูเก็ต – ห้าแยกฉลอม รวมระยะทาง 58.5 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบการดำเนินโครงการ

ทั้งนี้รวมถึงโครงการรถไฟทางไกลระหว่างเมือง สายท่าอากาศยานภูเก็ต – ท่าอากาศยานกระบี่ ระยะทาง 149 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างภูเก็ต พังงา และกระบี่ รวมถึงสายสุราษฎร์ธานี – ท่านุ่น ระยะทาง 163 กิโลเมตร เชื่อมโยงจังหวัดภูเก็ตกับทางรถไฟสายใต้ไปยังโครงข่ายรถไฟทั่วประเทศ เพื่อให้การเดินทางด้วยระบบราง มีความสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/09/2023 7:12 am    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม' เขย่าแผนรถไฟฟ้าภูเก็ต คาดดีเลย์อีก 2 ปี
กรุงเทพธุรกิจ 29 ก.ย. 2566 เวลา 7:00 น.

“คมนาคม” ปรับแผนสร้างรถไฟฟ้าแทรมภูเก็ต 3.3 หมื่นล้านบาท สั่ง รฟม.ทบทวนกลับมาใช้ระบบล้อเหล็ก พร้อมรอประเมินจุดตัดบนถนนทางหลวง กระทบแผนดีเลย์อีก 2 ปี

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง โดยระบุว่า กระทรวงฯ ยืนยันว่ายังคงเดินหน้าพัฒนารถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว ในการเชื่อมต่อเส้นทางจากท่าอากาศยานภูเก็ตเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

แต่ขณะนี้กระทรวงฯ อยู่ระหว่างเร่งรัดพัฒนาโครงข่ายทางถนนและทางพิเศษ (มอเตอร์เวย์) ดังนั้นขอให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ปรับแผนดำเนินโครงการแทรมภูเก็ตให้สอดคล้อง

อย่างไรก็ดี จากนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการพัฒนาโครงข่ายทางถนนและมอเตอร์เวย์ให้แล้วเสร็จนั้น จะทำให้ รฟม. มีระยะเวลาทบทวนรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าแทรมภูเก็ต เป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี ซึ่งเป้าหมายหลักของการทบทวนรายละเอียดโครงการ เพราะกระทรวงฯ ต้องการให้ รฟม.พิจารณากรณีจุดตัดบนถนนทางหลวงว่าจะดำเนินการอย่างไร

อีกทั้งหากสร้างโครงการทั้งหมดพร้อมกัน จะทำให้ปัญหาการจราจรในจังหวัดภูเก็ตยิ่งติดขัดมากขึ้น โดยเฉพาะบนถนนทางหลวงหมายเลข 402 ที่ปัจจุบันมีการจราจรหนาแน่นอยู่แล้ว และจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้มอบหมายให้ รฟม.ศึกษาความเหมาะสมของระบบรถไฟฟ้าแทรมที่จะนำมาใช้ โดยเบื้องต้น รฟม. เสนอใช้ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก ที่มีระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ เป็นรูปแบบที่มีการใช้งานแพร่หลาย แต่เนื่องจากปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ และขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ร่วมกับภาคเอกชน ในการพัฒนารถไฟระบบ EV on Train อยู่ จึงมอบโจทย์นี้ให้ รฟม. ไปพิจารณาด้วย

นอกจากนี้ กระทรวงฯ ได้มอบหมายให้ รฟม.พิจารณาเรื่องปริมาณผู้โดยสาร รวมถึงเรื่องค่าโดยสาร ซึ่งมีความกังวลไม่อยากให้มีราคาแพงเกินไป เพราะรถไฟฟ้าแทรมสายนี้จะเกิดประโยชน์มากหากประชาชนหันมาใช้บริการ เพราะจะสามารถแก้ไขปัญหาการจราจร

อีกทั้งจะเกิดประโยชน์ต่อภาคการท่องเที่ยว เพราะแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้จะอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างท่าอากาศยานภูเก็ตกับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
    “ตอนนี้ได้ย้ำกับทาง รฟม.ไปว่า รถไฟฟ้าสายนี้ต้องมีราคาที่เหมาะสม ส่วนแนวเส้นทางนั้น ยังคงเป็นเส้นทางเดิมทั้งหมด แต่ต้องมีการปรับจราจรในจังหวัดภูเก็ตควบคู่ แต่ถือว่าตอนนี้ยังมีเวลา 2 ปี ในการศึกษาทำแผนให้รอบคอบ”
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รูปแบบระบบรถไฟฟ้าแทรมภูเก็ต เบื้องต้นศึกษาจะใช้รูปแบบแทรมล้อเหล็ก โดยใช้ระบบรางแบบ Steel rails and Switch rail ส่วนประเด็นจุดตัดบนทางหลวงต่างๆ จะพัฒนาเป็นรูปแบบทางลอดใต้ถนนผ่านบริเวณพื้นที่ที่สำคัญ ซึ่งตอนนี้ รฟม.ต้องรอให้การพัฒนาทางหลวง และมอเตอร์เวย์ต่างๆ ชัดเจนก่อน จึงจะสามารถประเมินได้ว่าต้องมีจุดตัดกี่แห่ง ซึ่งยังมีเวลาในการศึกษารายละเอียดให้รอบด้านตามกรอบกำหนด 2 ปี


พับไว้2ปีรถไฟฟ้าต่างจังหวัด
Source - เดลินิวส์
Friday, September 29, 2023 05:16

แทรมภูเก็ตบาน3.6หมื่นล.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ปรับแผนงานโครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ให้เริ่มอีก 2 ปีข้างหน้า เนื่อง จากช่วงนี้ต้องเร่งโครงการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวง (ทล.) ให้แล้วเสร็จก่อน เพื่อใช้เป็นทางเลี่ยงช่วงก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม) ภูเก็ต เพราะหากสร้างพร้อมกันจะยิ่งทำให้ปัญหาการ จราจรใน จ.ภูเก็ต โดยเฉพาะบน ทล.402 (สายโคกกลอย-เมืองภูเก็ต หรือ ถนนเทพกระษัตรี) ติดขัดมากขึ้น กระทบการเดินทางของประชาชนได้

เบื้องต้น รฟม. เสนอรูปแบบเป็นแทรมล้อเหล็ก มีระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ ซึ่งใช้งานแพร่หลาย แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่และขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนารถไฟระบบ EV on Train จึงมอบโจทย์ให้ รฟม. ไปพิจารณาด้วย นอกจากนี้ให้พิจารณาเรื่องปริมาณผู้โดยสาร รวมถึงเรื่องค่าโดยสาร มีความกังวลไม่อยากให้แพงเกินไป เพราะแทรมสายนี้จะเกิดประโยชน์มากกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางระหว่างสนามบินภูเก็ตกับแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงประชาชนในพื้นที่หากคำนวณแล้วค่าใช้จ่ายเพียงพอกับต้นทุนก็จัดเก็บราคาถูกสำหรับประชาชนในพื้นที่ได้ เส้นทางแนวเดิมทั้งหมด

แต่ต้องปรับจราจรใน จ.ภูเก็ต ควบคู่ด้วย ยังมีเวลาทำให้โครงการนี้เดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ช่วง 2 ปีหลังจากนี้ รฟม. ต้องศึกษาพิจารณาในทุกเรื่องให้รอบคอบ และดีที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับทุกฝ่าย

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า การปรับแผนงานแทรมภูเก็ตออกไปอีก 2 ปี คาดว่าวงเงินก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้ออีกประมาณ 10% (3,300 ล้านบาท) จากวงเงินเดิม 3.3 หมื่นล้านบาท แนวเส้นทาง 42 กม. จุดตัดระหว่างถนนและทางวิ่งแทรม จะทำเป็นทางลอดให้แทรมวิ่งลอดถนน เพื่อลดปัญหาการจราจร ค่าโดยสารเบื้องต้นอยู่ที่ 20 บาทตลอดสาย หากใช้บริการเข้า-ออกจากท่าอากาศยานภูเก็ต 4-5 กม. จากสถานีเมืองใหม่ คิดค่าโดยสารเพิ่ม (Airport Surcharge) คนละ 30 บาท ส่วนนโยบายให้พิจารณาการใช้รถไฟฟ้า EV นั้น ต้องสร้างสถานีชาร์จเพิ่มเติมด้วย จะให้ที่ปรึกษาที่ รฟม. ว่าจ้างศึกษาโครงการฯซึ่งยังคงทำหน้าที่อยู่ศึกษาเปรียบเทียบในรายละเอียดเพิ่มเติมทั้งหมด นโยบายให้เริ่มแทรมภูเก็ตอีก 2 ปีข้างหน้า รฟม. ต้องชะลอแผนโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาค 3 จังหวัดออกไปก่อน ได้แก่ จ.เชียงใหม่, จ.นครราชสีมา และ จ.พิษณุโลก เพื่อให้แทรมภูเก็ตเป็นต้นแบบ

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแผนงานใหม่เบื้องต้นจะใช้เวลาปรับปรุงรายงานการร่วมลงทุนโครงการฯ ระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) 2 เดือน ต.ค.-พ.ย. 66 เสนอคณะทำงานตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 และคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พิจารณาเดือน ธ.ค. 66-มี.ค. 67 เสนอกระทรวงคมนาคม, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.), คณะกรรมการ PPP และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดือน เม.ย.ต.ค. 67 เริ่มคัดเลือกเอกชนเดือน พ.ย. 67-ต.ค. 68 ก่อสร้างและติดตั้งงานระบบเดือน พ.ย. 68-ม.ค. 73 เปิดบริการเดือน ก.พ. 73

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้รฟม.กำหนดแผนก่อสร้าง แทรมภูเก็ตปี 63 เปิดบริการปี 67 แต่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมรัฐบาลชุดก่อนมีนโยบายปรับรูปแบบเป็นรถรางล้อยาง(Automated Rapid Transit : ART) ก่อนจะเปลี่ยนเป็น รถบัสไฟฟ้า (อีวีบัส) เพื่อลดต้นทุนก่อสร้าง มารัฐบาลนี้กลับเปลี่ยนรูปแบบเป็นแทรมล้อเหล็กเหมือนเดิมแต่เลื่อนไป 2 ปี โดยก่อนหน้านี้นายสุริยะให้สัมภาษณ์ด้วยว่าขอทำรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในกรุงเทพฯ ก่อน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 ก.ย. 2566

ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์-Dailynews
29 ก.ย. 66 07:37 น.

“สุริยะ”ประกาศชัดแล้วดองไว้ 2 ปีรถไฟฟ้า 4 จังหวัด
*ได้แทรมภูเก็ตคืนแต่เลื่อนไป2ปีงบเพิ่ม3.3พันล้าน
*สั่งทางหลวงเร่งงานถนนรองรับช่วงวิกฤติก่อสร้าง
*เชียงใหม่-โคราช-พิษณุโลกชะลอแผนตามทั้งหมด
*ให้รถไฟฟ้า20บาทตลอดสายในกรุงเทพฯเกิดก่อน

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/863067191937183

พับไว้ 2 ปี รถไฟฟ้า 4 จังหวัด! “สุริยะ” สั่งปรับแผน คาดเปิดใช้ “แทรมภูเก็ต” ปี 73
เดลินิวส์ 29 กันยายน 2566 8:12 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“แทรมภูเก็ต” คัมแบ๊ก! แต่ต้องรออีก 2 ปีค่อยเดินหน้า ขอทำถนนก่อน ไว้ใช้เป็นทางเลี่ยง หวั่นสร้างพร้อมกันจราจรอัมพาต “สุริยะ” สั่ง รฟม. ปรับแผนดำเนินงาน พร้อมพิจารณาแทรม EV ย้ำค่าโดยสารต้องถูก คาดเปิดให้บริการปี 73 ขณะที่รถไฟฟ้า “เชียงใหม่-โคราช-พิษณุโลก” ชะลอก่อน รอดู “แทรมภูเก็ต” เป็นต้นแบบ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ปรับแผนการดำเนินงานโครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต ระยะ(เฟส)ที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง เพื่อให้เริ่มดำเนินการในอีก 2 ปีข้างหน้าเนื่องจากช่วงแรกนี้ต้องเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวง(ทล.) ให้แล้วเสร็จก่อน เพื่อใช้เป็นทางเลี่ยงในช่วงที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)ภูเก็ต เพราะหากสร้างพร้อมกันทั้งถนน และรถไฟฟ้า จะยิ่งทำให้ปัญหาการจราจรใน จ.ภูเก็ต โดยเฉพาะบนถนนทางหลวงหมายเลข 402 ติดขัดมากขึ้น กระทบการเดินทางของประชาชนได้

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า เบื้องต้น รฟม. เสนอใช้ระบบรถไฟฟ้า เป็นรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)ล้อเหล็ก มีระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการใช้งานแพร่หลาย แต่เนื่องจากปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ และขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ร่วมกับภาคเอกชน ในการพัฒนารถไฟระบบ EV on Train อยู่ จึงมอบโจทย์นี้ให้ รฟม. ไปพิจารณาด้วย นอกจากนี้ให้พิจารณาเรื่องปริมาณผู้โดยสาร รวมถึงเรื่องค่าโดยสาร ซึ่งมีความกังวลไม่อยากให้มีราคาแพงเกินไป เพราะแทรมสายนี้จะเกิดประโยชน์มากกับทั้งนักท่องเที่ยวที่เดินทางระหว่างสนามบินภูเก็ต กับแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงประชาชนในพื้นที่ที่ต้องเดินทางไปมาทุกวัน

นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ได้ย้ำกับ รฟม. ว่า ค่าโดยสารแทรมภูเก็ตสามารถเน้นราคาที่สมเหตุสมผลกับกลุ่มนักท่องเที่ยวได้ และหากคำนวณแล้วค่าใช้จ่ายเพียงพอกับต้นทุน ก็สามารถจัดเก็บค่าโดยสารราคาถูกสำหรับประชาชนในพื้นที่ได้ ส่วนแนวเส้นทางนั้น ยังคงเป็นเส้นทางเดิมทั้งหมด แต่ต้องมีการปรับจราจรใน จ.ภูเก็ตควบคู่ด้วย อย่างไรก็ตามยังมีเวลาที่จะทำให้โครงการนี้เดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยในช่วง 2ปีหลังจากนี้ รฟม. จะต้องศึกษาพิจารณาในทุกเรื่องให้รอบคอบ และดีที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับทุกฝ่าย

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า การปรับแผนการดำเนินงานแทรมภูเก็ตออกไปอีก 2 ปี คาดว่าวงเงินที่ใช้ในการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้ออีกประมาณ 10% จากวงเงินเดิมประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท ในส่วนของเส้นทางยังเป็นเส้นทางเดิม เริ่มจากท่าอากาศยานภูเก็ต สิ้นสุดบริเวณห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร(กม.) ซึ่งในจุดที่เป็นจุดตัดระหว่างถนน และทางวิ่งแทรม จะทำเป็นทางลอด โดยแทรมจะวิ่งลอดใต้ถนน เพื่อลดปัญหาการจราจร ส่วนอัตราค่าโดยสาร เบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ 20 บาทตลอดสาย แต่หากผู้โดยสารคนใดใช้บริการเข้า-ออกจากท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะทางประมาณ 4-5 กม. จากสถานีเมืองใหม่ จะคิดค่าโดยสารเพิ่ม (Airport Surcharge) คนละ 30 บาท 

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า ส่วนนโยบายให้พิจารณาการใช้รถไฟฟ้า EV นั้น  ต้องมีการสร้างสถานีชาร์จเพิ่มเติมด้วย โดยประเด็นนี้รวมถึงโจทย์ต่างๆ ที่ รมว.คมนาคม มอบมานั้น  ทาง รฟม. จะให้ที่ปรึกษาที่ รฟม. ว่าจ้างศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต เฟสที่ 1 อยู่เดิม ซึ่งปัจจุบันยังคงทำหน้าที่อยู่ ให้ศึกษาเปรียบเทียบในรายละเอียดเพิ่มเติม โดยเฉพาะต้นทุนของทั้งรถไฟฟ้าแบบ EV และรถไฟฟ้าแบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะว่าเป็นอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตามการที่มีนโยบายให้เริ่มดำเนินโครงการแทรมภูเก็ตในอีก 2ปีข้างหน้า ทาง รฟม. คงต้องชะลอแผนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาค 3 จังหวัดออกไปก่อน ได้แก่ จ.เชียงใหม่, จ.นครราชสีมา และ จ.พิษณุโลก เพื่อให้แทรมภูเก็ตเป็นต้นแบบ

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแผนการดำเนินงานโครงการแทรมภูเก็ต เบื้องต้นจะใช้เวลาปรับปรุงรายงานการร่วมลงทุนโครงการฯ ระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) 2 เดือน ตั้งแต่เดือน ต.ค.-พ.ย.66 จากนั้นจะเสนอคณะทำงานตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 และคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟม. พิจารณาในช่วงเดือน ธ.ค.66-มี.ค.67 ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.), คณะกรรมการ PPP และคณะรัฐมนตรี(ครม.) ประมาณเดือน เม.ย.-ต.ค.67 เริ่มคัดเลือกเอกชนเดือน พ.ย.67-ต.ค.68 ก่อสร้าง และติดตั้งงานระบบเดือน พ.ย.68-ม.ค.73 และเปิดให้บริการเดือน ก.พ.73

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา มีนโยบายปรับรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)ภูเก็ต เป็นรถรางล้อยาง(Automated Rapid Transit : ART) ก่อนที่สุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นรถเมล์ไฟฟ้า(อีวีบัส) เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/09/2023 11:38 am    Post subject: Reply with quote

แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง จ.ภูเก็ต
MOT Channel
Sep 29, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=YP6g3NzACvQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2023 11:53 am    Post subject: Reply with quote

"แทรมป์ภูเก็ต" รออีก 2 ปี “สุริยะ” หวั่นสร้างพร้อมขยายถนน จราจรป่วนหนัก ให้การบ้าน รฟม.ทำตั๋วราคาถูก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 06:34 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 08:38 น.


แทรมป์ภูเก็ตรอ 2 ปี “สุริยะ” ยันทำแน่แต่ต้องเร่งขยายถนนก่อน ชี้พื้นที่จำกัด หวั่นจราจรป่วนหนัก สั่ง รฟม.ศึกษาค่าโดยสารราคาถูกสำหรับประชาชนในพื้นที่ เล็ง แยกตั๋ว 2 ราคา เข้าสนามบินมีเซอร์ชาร์จ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ว่า ภูเก็ตมีความจำเป็นต้องมีระบบขนส่งมวลชนเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นำเสนอรายงานการศึกษาโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนภายในเมืองภูเก็ต สายสถานีรถไฟท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง รวมระยะทาง 58.5 กม. ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบการดำเนินโครงการ

ทั้งนี้ ปัจจุบัน จ.ภูเก็ตมีปัญหาจราจรติดขัดและสภาพของกายภาพถนน ที่กรมทางหลวง (ทล.) เตรียมก่อสร้างขยายถนนหลายสาย โดยเฉพาะ ทล.402 ที่มีปัญหาติดขัดมาก ดังนั้น ในส่วนของระบบขนส่งรางเบา หรือแทรมป์ อาจจะยังไม่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ในขณะนี้ และเห็นว่าอาจจะต้องรออีกอย่างน้อย 2 ปีจึงจะเริ่มดำเนินการเพื่อให้การปรับปรุงขยายถนนแล้วเสร็จก่อน โดยในระหว่างนี้ให้การบ้าน รฟม.ไปปรับแผนการดำเนินงาน เช่น ศึกษารถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (EV on Train) เพิ่มเติม เพื่อให้มีรูปแบบที่เหมาะสมและทันสมัยที่สุด รวมถึงประสานรูปแบบก่อสร้างกับกรมทางหลวงที่จะมีการขยายถนนด้วย



นอกจากนี้ ได้ให้นโยบายในการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมและไม่แพงเกินไปสำหรับประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากตามแนวเส้นทางนี้มีผู้โดยสารได้ประโยชน์ 2 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยว เดินทางจากสนามบินสู่แหล่งท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่ที่สามารถใช้เดินทางทุกวัน ดังนั้นหากสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สมเหตุสมผลและมีรายได้หลักเพียงพอต่อโครงการ ก็จะสามารถกำหนดค่าโดยสารกลุ่มประชาชนในพื้นที่ถูกลงได้ ซึ่งจะจูงใจให้ประชาชนมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีกด้วย

“ตอนแรกคิดว่าควรสร้างยกระดับ แต่จากที่ได้ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต พบว่ากายภาพบางช่วงถนนมีพื้นที่แคบ การปักเสาโครงสร้างลงไปจะมีผลกระทบมากกว่า จึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ร่วมกับถนน โดยให้ประสานกับจังหวัดภูเก็ต และใช้ระบบ AI เข้ามาช่วยในการจัดจราจรในเขตเมืองให้เหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณจราจรและมีความปลอดภัย โดยหลักคือจะให้ความสำคัญต่อระบบรางก่อน” นายสุริยะกล่าว



@รฟม.รับนโยบาย วางโมเดลค่าโดยสาร 2 กลุ่ม

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า รฟม.รับนโยบายรมว.คมนาคมไปศึกษาเพิ่มเติม โดยการกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้น ในการศึกษาเบื้องต้นได้กำหนดราคาไว้ 2 กลุ่มแล้ว โดยโครงการระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง มี 21 สถานี ระยะทางประมาณ 41.7 กม.นั้น จะมีช่วงจาก ทล.402 เข้าเมือง กว่า 30 กม. และช่วงแยก ทล.402 เข้าสนามบินภูเก็ต มี 1 สถานี

เบื้องต้นกำหนดอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย กรณีเดินทางขึ้น-ลงสถานีรายทาง หรือจากสถานีเมืองใหม่-สถานีฉลอง (โดยไม่เข้าสนามบินภูเก็ต), ส่วนกรณีเดินทางขึ้น-ลงที่สนามบินภูเก็ต จะกำหนดอัตรา Surcharge ซึ่งกำลังพิจารณาอัตราเพิ่มที่ 30-50 บาท ทั้งนี้ การยืดระยะเวลาก่อสร้างออกไปอีก 2 ปีนั้น อาจจะส่งผลต่อค่าก่อสร้างที่อาจจะมีการปรับตามอัตราเงินเฟ้อ 5-10%

“แนวเส้นทางไม่เปลี่ยน แต่จะดูรูปแบบกรณีผ่านถนน ทล.402 จุดทางแยก ทางต่างระดับ ระบบแทรมป์ จะเป็นทางลอด และคาดว่าจะเป็นแทรมป์ล้อเหล็กสำหรับระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดพิษณุโลก นั้นจะรอการพัฒนาที่จังหวัดภูเก็ตให้ชัดเจนก่อนค่อยเดินหน้า”



สำหรับแผนดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนภายในเมืองภูเก็ต สายสถานีรถไฟท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง รวมระยะทาง 58.5 กม. แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง (มี 21 สถานี ระยะทางประมาณ 41.7กม.) ระยะที่ 2 ต่อขยายเส้นทางจากจุดตัดระหว่าง ทล.402 และ 4026 เพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟที่สถานีรถไฟท่านุ่นโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายสุราษฎร์ฯ-ท่านุ่น ของ รฟท. (มี 3 สถานี ระยะทางประมาณ 16.8 กม.)

สรุป มูลค่าเงินลงทุนกรณีเป็นล้อเหล็ก (Steel Wheel) มูลค่า 33,401 ล้านบาท (ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 22,770 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,217 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถ 3,061 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 1,427 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,427 ล้านบาท

กรณีเป็นล้อยาง (Rubber-Tyred) มูลค่า 32,972 ล้านบาท (ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 22,359 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,217 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถ 3,082 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 1,408 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,407 ล้านบาท

X

กรณีเป็นระบบ ART มูลค่า 22,842 ล้านบาท (ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 13,160 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,217 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถ 3,082 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 930 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 954 ล้านบาท



ตามการศึกษาเดิมของ สนข.กำหนดตามระยะทาง 21-168 บาท (18 บาท+ 2.5 บาท/กม.)
กรณีกำหนดค่าโดยสารคงที่ 50 บาท (ไม่เกิน 8 สถานีอัตราค่าโดยสารคงที่ 15 บาท, 9-14 สถานีอัตราค่าโดยสารคงที่ 20 บาท) ซึ่งประมาณการผู้โดยสารปีแรกที่ประมาณ 5.6 หมื่นคนเที่ยว/วัน ปีที่ 5 เพิ่มเป็น 6.9 หมื่นคน/วัน ปีที่ 15 เพิ่มเป็น 9.8 หมื่นคน/วัน และปีที่ 30 เพิ่มเป็น 1.59 แสนคน/วัน

กรณีกำหนดค่าโดยสารคงที่ 20 บาท เข้าสนามบิน บวกเพิ่ม (Surcharge) 20 บาท ประมาณการผู้โดยสาร ปีแรกที่ประมาณ 5.7 หมื่นคนเที่ยว/วัน ปีที่ 5 เพิ่มเป็น 7 หมื่นคน/วัน ปีที่ 15 เพิ่มเป็น 1 แสนคน/วัน และปีที่ 30 เพิ่มเป็น 1.6 แสนคน/วัน

แผนงานเดิม รฟม.กำหนดว่าจะปรับปรุงรายงาน PPP ในเดือน ต.ค.-พ.ย. 66, เสนอคณะทำงานมาตรา 26/บอร์ดรฟม.เดือน ธ.ค. 66-มี.ค. 67 เสนอกระทรวงคมนาคม สคร.และบอร์ด PPP และ ครม.ในเดือน เม.ย.-ต.ค. 67 คัดเลือกเอกชนเดือน พ.ย. 67-ต.ค. 68, ก่อสร้างงานโยธาและติดตั้งงานระบบ พ.ย. 68-ม.ค. 73 เปิดให้บริการ ก.พ. ปี 73
Mongwin wrote:
'คมนาคม' เขย่าแผนรถไฟฟ้าภูเก็ต คาดดีเลย์อีก 2 ปี
กรุงเทพธุรกิจ 29 ก.ย. 2566 เวลา 7:00 น.

พับไว้2ปีรถไฟฟ้าต่างจังหวัด
Source - เดลินิวส์
Friday, September 29, 2023 05:16



ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 ก.ย. 2566

ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์-Dailynews
29 ก.ย. 66 07:37 น.

“สุริยะ”ประกาศชัดแล้วดองไว้ 2 ปีรถไฟฟ้า 4 จังหวัด
*ได้แทรมภูเก็ตคืนแต่เลื่อนไป2ปีงบเพิ่ม3.3พันล้าน
*สั่งทางหลวงเร่งงานถนนรองรับช่วงวิกฤติก่อสร้าง
*เชียงใหม่-โคราช-พิษณุโลกชะลอแผนตามทั้งหมด
*ให้รถไฟฟ้า20บาทตลอดสายในกรุงเทพฯเกิดก่อน

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/863067191937183

พับไว้ 2 ปี รถไฟฟ้า 4 จังหวัด! “สุริยะ” สั่งปรับแผน คาดเปิดใช้ “แทรมภูเก็ต” ปี 73
เดลินิวส์ 29 กันยายน 2566 8:12 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/10/2023 8:21 am    Post subject: Reply with quote

VTR แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง จ.ภูเก็ต l กระทรวงคมนาคม l 11 ส.ค. 2566
Daoreuk Channel
Oct 11, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=zv0-IZCfVVY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2023 5:13 am    Post subject: Reply with quote

'รฟม.'ชะลอลงทุน'รถไฟฟ้าภูมิภาค'ห่วงทำหลายโปรเจกต์กระทบจราจร
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Thursday, October 19, 2023 04:11

โครงการภูเก็ต ชะลอ 2 ปี

กรุงเทพธุรกิจ"รฟม."ชะลอ 4 โครงการรถไฟฟ้าภูมิภาค ปรับแผนรองานก่อสร้างทางถนนให้แล้วเสร็จ ชี้หากเร่งก่อสร้าง จะกระทบการจราจร คาดโครงการนำร่อง "ภูเก็ต" ดีเลย์ออกไปอีก 2 ปี

ระบบขนส่งทางรางนับเป็น โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเมืองใหญ่ และเมืองที่กำลังเติบโต เพราะเป็นระบบที่มี ความแน่นอนเนื่องจากมีช่องทางจราจร เป็นของตัวเอง นั่นคือ เส้นทางราง นอกจากนี้ ระบบรางเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการขนส่ง ผู้คนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดโครงการรถไฟฟ้าใน"ภูเก็ต" ซึ่งเป็นทั้งเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนภูมิภาคที่อยู่ภายใต้ ความรับผิดชอบของ รฟม. ขณะนี้โครงการนำร่องในจ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง อยู่ระหว่างปรับแผนรอการพัฒนา โครงข่ายทางถนนให้แล้วเสร็จก่อน เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงคมนาคมมีการดำเนินการระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่จ.ภูเก็ตจำนวนมาก ทั้งโครงการของกรมทางหลวง (ทล.) และโครงการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งโครงการล้วนมีแนวเส้นทางดำเนินการ บนทางหลวงหมายเลข 402 สายโคกกลอย- เมืองภูเก็ต หรือถนนเทพกระษัตรี เป็นทางหลวงสายหลักของจ.ภูเก็ต

ห่วงเกิดปัญหาจราจรเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น ตามแนวเส้นทางโครงการระบบ ขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 อยู่บน ทล.402 หากมีโครงการจำนวนมากมา ดำเนินการพร้อมกันบน ทล.402 จะทำให้สร้าง ผลกระทบปัญหาด้านจราจรเพิ่มมากขึ้น รฟม. จึงขยับแผนโครงการออกไปก่อนเพื่อรอเวลา ที่เหมาะสม และไม่กระทบปัญหาจราจร ส่วนโครงการะบบขนส่งมวลชนในจังหวัดอื่นๆ อาทิ จ.เชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะ สมานสามัคคี) จ.นครราชสีมา (โคราช) สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) และจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง (มหาวิทยาลัยพิษณุโลกเซ็นทรัลพลาซ่า) ก็อยู่ระหว่างทบทวนแผนดำเนินงาน เนื่องจากต้องรอให้โครงการนำร่อง ในจ.ภูเก็ตเริ่มดำเนินการก่อน "ตอนนี้ทุกโครงการลงทุนระบบ ขนส่งมวลชนในภูมิภาคต้องชะลอออกไปก่อน เพราะ รฟม.ต้องการให้การก่อสร้างโครงข่ายทางถนนแล้วเสร็จ มีเส้นทางถนนสายรองเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนได้เดินทาง หลังจากนั้น รฟม.จึงจะก่อสร้างโครงการระบบราง ซึ่งแนวทางเหล่านี้จะทำให้ลดผลกระทบของประชาชนในการใช้ถนน และท้ายที่สุดจะเกิดประโยชน์เมื่อโครงการะบบรางแล้วเสร็จ"

รอพัฒนาทางหลวง-มอเตอร์เวย์ชัด

ทั้งนี้ รูปแบบระบบรถไฟฟ้า จ.ภูเก็ต เบื้องต้น ศึกษาจะใช้รูปแบบแทรมล้อเหล็ก ส่วนประเด็น จุดตัดบนทางหลวงต่างๆ จะพัฒนาเป็นรูปแบบ ทางลอดใต้ถนนผ่านบริเวณพื้นที่ที่สำคัญ ซึ่งตอนนี้ รฟม.ต้องรอให้การพัฒนาทางหลวง และมอเตอร์เวย์ต่างๆ ชัดเจนก่อน จึงจะสามารถ ประเมินได้ว่าต้องมีจุดตัดกี่แห่ง ซึ่งยังมีเวลา ในการศึกษารายละเอียดให้รอบด้านตามกรอบกำหนด 2 ปี สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนภูมิภาคที่ รฟม. เตรียมขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมีจำนวน 4 โครงการ สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาระบบขนส่งและระบบ โลจิสติกส์ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศไทยไปจนถึงระดับภูมิภาคอาเซียน ได้แก่

1.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตห้าแยกฉลอง ระยะทางรวมประมาณ 42 กิโลเมตร โดยมีวงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท ผลการศึกษาเบื้องต้นจะพัฒนาเป็นระบบ รถไฟฟ้ารางเบาชนิด Tram แบบพื้นต่ำ (Low Floor Tram) มีระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ ซึ่งระบบขนส่งทางรางสายนี้จะมีสถานีให้บริการ 21 สถานี ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

รถไฟฟ้าจากสนามบินเข้าตัวเมือง

โดยในส่วนของแนวเส้นทางโครงการ จะเริ่มจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ไปตาม ทางหลวงหมายเลข 4031 (แยกศาลาแดง- แยกหมากปรก) เชื่อมทางหลวงหมายเลข 4036 (แยกเหนือคลอง-แหลมกรวด) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 (โคกกลอย-เมืองภูเก็ต) เพื่อเข้าเมืองภูเก็ต จากนั้นผ่านอนุสาวรีย์ ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร ข้ามสะพานสารสิน มุ่งหน้าสถานีปลายทางท่าเรือฉลอง

2.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์- แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทางประมาณ 15.8 กิโลเมตร ประเมินวงเงินลงทุน 29,523.29 ล้านบาท โดย รฟม.ศึกษาพัฒนาระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) มีสถานีให้บริการ 16 สถานี สถานะโครงการปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษา

3.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน- สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทางรวม 11.15 กิโลเมตร ประเมินวงเงินลงทุน 7,134.27 ล้านบาท โดยจะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้า (Tram) มีสถานีให้บริการ 21 สถานี และปัจจุบันสถานะโครงการอยู่ระหว่างศึกษา

และ 4.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง) ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก ระยะทางรวม 12.6 กิโลเมตร ประเมินวงเงินลงทุน 1,571.76 ล้านบาท โดยผลการศึกษา ก่อนหน้านี้ รฟม.จะพัฒนาเป็นระบบ รถรางล้อยาง (Auto Tram) มีสถานีให้บริการ 15 สถานี และสถานะโครงการปัจจุบัน ยังอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 ต.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2023 6:04 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'รฟม.'ชะลอลงทุน'รถไฟฟ้าภูมิภาค'ห่วงทำหลายโปรเจกต์กระทบจราจร
Source - กรุงเทพธุรกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 04:11 น.

โครงการภูเก็ต ชะลอ 2 ปี
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566


ลิงก์มาแล้วครับ
รฟม.ชะลอลงทุน 'รถไฟฟ้าภูมิภาค' ห่วงทำหลายโปรเจ็คกระทบจราจร
เศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:18 น.

รฟม.ชะลอ 4 โครงการรถไฟฟ้าภูมิภาค ปรับแผนรองานก่อสร้างทางถนนให้แล้วเสร็จ ชี้หากเร่งก่อสร้างจะกระทบการจราจร คาดโครงการนำร่อง “ภูเก็ต” ดีเลย์ออกไปอีก 2 ปี
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1094442
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 25, 26, 27  Next
Page 26 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©