RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311308
ทั่วไป:13279500
ทั้งหมด:13590808
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รอยอดีต : ทางรถไฟเล็กขนฟืนที่ตำบลหัวหวาย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รอยอดีต : ทางรถไฟเล็กขนฟืนที่ตำบลหัวหวาย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42777
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2011 8:46 am    Post subject: Reply with quote

^^^
จอมพลถนอมมาก่อน เมื่อต้นปี 2501 พอจอมพลสฤษดิ์ได้รับการพักฟื้นการผ่าตัด ที่วอเตอร์รีด จนพอรับงานได้ก็มาเชิญให้จอมพลถนอมลงจากตำแหน่ง แล้วแต่งตั้งให้เป็นรองนายกฯ แทน เมื่อปลายปี 2501 เพราะเวลานั้นสภาปั่นป่วนมาก กว่าจอมพลถนอมจะได้กลับมาเป็นนายก ก็ต้องรอจอมพลสฤษฏ์ถึงแก่กรรม ปลายปี 2506

//--------------------------------------------------------

รถไฟเล็กหัวหวาย - ท่าตะโก ตอนแรกรับแค่ฟืน แต่ต่อมาปี 2476 ขนทั้งข้าวและหมูไปส่งที่หัวหวายและรับผู้โดยสารด้วย ต่อมาปี 2482 มติ ครม.ทำให้มีการขยายรางเป็นราง 1 เมตร ซึ่งในการขยายรางนั้นดูท่าทีแล้วมีการแปลงโค้งให้กว้างขึ้น ทำให้รับพิกัดความเร็วได้ดีกว่าเดิม แต่ทำได้ไม่เท่าไหร่ก็เลิก คงเพราะรางขาดมือ กระมัง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44733
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2011 9:08 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณครับพี่ตึ๋งและคุณวิศรุต ที่ช่วยสอบทานและให้ข้อมูลเพิ่มเติม Very Happy
ปริศนาที่ต้องไขก็คือ
1. การแก้รางจาก 60 cm เป็น 1 เมตรนั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่
- ถ้าจริง แก้ในสมัยใด เพราะจากการที่พี่เบียร์สอบถามคนรุ่นเก่า ทำให้ทราบว่ามีเส้นทางรถไฟขนฟืนที่กลายเป็นถนนไปในปัจจุบันอยู่หน้าสถานีหัวหวายพอดี โดยแยกออกจากรางที่สาม ด้านใต้ของสถานีหัวหวาย ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง แสดงว่าเคยมีราง 1 เมตรสำหรับขนฟืน สร้างทับราง 60 cm ในอดีตด้วย
- ถ้าไม่จริง ก็คงเป็นการสร้างทางรถไฟขนาด 1 เมตร ในแนวใหม่ ส่วนแนว 60 cm เก่าก็รื้อรางออก ใช้เป็นถนนแทน

2. เส้นทางรถไฟขนาด 1 เมตร สายหัวหวาย-ท่าตะโก ที่แยกออกจากย่านสถานีหัวหวายทางด้านเหนือ แล้วโค้งออก ความยาว 19 กม. และ ครม.มีมติให้ยกเลิกในปี 2512 นั้น สร้างขึ้นเพื่ออะไร เกี่ยวข้องอย่างใดกับทางรถไฟเล็ก 60 cm สำหรับขนฟืน

3. สายหัวหวาย-ท่าตะโก (ที่สร้างได้แค่ 19 กม.) กับ เส้นทางรถไฟเล็ก 28 กม. ใช้คันทางร่วมกัน (บางส่วนหรือทั้งหมด) จริงหรือ

4. เหตุใดต้องเวนคืนที่เพื่อสร้างเส้นทางสายหัวหวาย-ท่าตะโกอีก ทั้ง ๆ ที่มีเส้นทางรถไฟเล็กเดิมอยู่แล้ว เกี่ยวข้องกับปัญหาการบุกรุกป่าหรือไม่
ฯลฯ

คำถามเหล่านี้ ผมจะพยายามไขปริศนาโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศปี 2496-2498 ครับ Very Happy

เส้นทางรถไฟที่วาดโดยพี่เบียร์ ที่เป็นจุดกำเนิดในการไขปริศนาครั้งนี้ครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 19/08/2011 9:25 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณเฮียวิศครับ ที่ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลให้ Razz

ตามความเข้าใจของผม คล้ายกับเฮียวิศตรงที่เส้นทางสายนี้ ในช่วงแรกสร้างเพื่อขนฟืนโดยเป็นเส้นทางขนาด .60 เมตร แต่มีชาวบ้านแถว อ.ท่าตะโก ซึ่งอยู่ห่างเส้นทางรถไฟขออาศัยมาด้วย จึงได้ขยายเส้นทางเป็นขนาด 1.000 เมตร และสร้างต่อไปอีกเพื่อให้ถึง อ.ท่าตะโก

อาจเป็นว่า ขาดแคลนวัสดุก่อสร้างและรางเหล็กในช่วงนั้น หรือจำนวนผู้โดยสารอาจมีน้อยเกินกว่าที่คาดก็ได้ โครงการก่อสร้างเลยร้างไปจนกระทั่งรัฐบาลได้มีมติยกเลิกเส้นทางสายนี้ครับ

ถ้าหากมีผู้โดยสารเพียงพอแล้ว เราน่าจะได้เห็นเส้นทางรถไฟสายท่าตะโกยังคงอยู่พร้อมๆ กับยังคงเห็นชุมทางหัวหวายก็ได้ (คิดกันเล่นๆ นะครับ)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44733
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2011 2:27 pm    Post subject: Reply with quote

มาติดตามแนวเส้นทางในอดีตกันต่อครับ แล้วค่อยหาข้อสรุปกันว่าตกลงแล้วความเป็นมาของทางรถไฟสายนี้เป็นอย่างที่เราคิดกันหรือเปล่านะครับ Very Happy

มาถึง กม. 20 แล้วครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44733
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2011 5:00 pm    Post subject: Reply with quote

เส้นทางมุ่งขึ้นไปทางทิศเหนือเรื่อย ๆ ครับ มาถึง กม.22 แล้ว

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44733
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2011 5:39 pm    Post subject: Reply with quote

ที่ กม.21 นี้ มองข้ามไปไม่ได้เลยครับ เพราะมีหลายอย่างน่าสนใจมาก มาดูกัน

Click on the image for full size

<21 ที่ กม.21 เป็นจุดที่ทางรถไฟเล็ก 60 cm ตัดกับแนวคันทางรถไฟสายหัวหวาย-ท่าตะโก (เป็นคันทางเปล่า ยังไม่ได้วางรางครับ)

A B C D คือ แนวคันทางสายหัวหวายท่าตะโก (คันทางเปล่า ไม่เคยมีราง)
C คือ บริเวณที่คันทางสูญหายไป น่าจะเกิดจากน้ำหลาก อุทกภัย หรือเจตนาขุดออกเพื่อระบายน้ำ

ตอนแรกที่เห็นในภาพถ่ายดาวเทียม นึกว่าชาวไร่อ้อยเอารถแทรกเตอร์ไถคันทางออก
ที่ไหนได้ พอดูในภาพถ่ายปี 2498 ถึงรู้่ว่า คันทางพังไปก่อนหน้านั้นแล้วครับ Shocked

ที่ กม. 21+300 มีทางแยกไปด้านทิศตะวันออกครับ
โปรดสังเกตว่าทางแยกเป็นแบบเข้าได้ทั้งด้านเหนือและด้านใต้ ลักษณะเดียวกับสามเหลี่ยมจิตรลดาครับ

ปัจจุบันคันทางรถไฟเล็ก 60 cm บริเวณนี้ ด้านใต้กลายเป็นคลองส่งน้ำ ด้านเหนือกลายเป็นทางหลวง 3329 ไปเรียบร้อยครับ

http://map.longdo.com/?gmap=1&hybrid=1&gmap=1&lat=15.485052281278147&long=100.4357242444421&res=65536&map=epsg3857&locale=th
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44733
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2011 9:27 pm    Post subject: Reply with quote

เดินทางกันต่อครับ
กม. 23 อยู่กลางทุ่ง ส่วน กม. 24 เข้าไปในป่าครับ
http://map.longdo.com/?gmap=1&hybrid=1&gmap=1&lat=15.505357827849824&long=100.44718264135213&res=32768&map=epsg3857&locale=th

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44733
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2011 10:31 pm    Post subject: Reply with quote

ที่ กม. 25 มีสิ่งที่น่าสนใจครับ คือสะพาน ความยาวประมาณ 60 เมตร
ปัจจุบัน กลายเป็นสะพานของทางหลวง 3329 ไปแล้ว
ด้านใต้ของสะพาน ปัจจุบันคือวัดพุสว่าง และโรงเรียนบ้านพุมะค่า
http://map.longdo.com/?gmap=1&hybrid=1&gmap=1&lat=15.513612847286074&long=100.45074461492345&res=131072&map=epsg3857&locale=th

โปรดสังเกตคันทางด้านซ้ายมือของภาพ ไม่ได้อยู่ในแนวทางหลวง 3329 นะครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44733
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2011 10:45 pm    Post subject: Reply with quote

กม.26 อยู่ระหว่างพื้นที่ป่า 2 หย่อม
แต่ปัจจุบันพื้นที่ป่ากลายเป็นไร่อ้อยไปแทบทั้งหมดแล้วครับ
http://map.longdo.com/?gmap=1&hybrid=1&gmap=1&lat=15.518476796225764&long=100.45666693242742&res=65536&map=epsg3857&locale=th

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44733
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/08/2011 11:12 pm    Post subject: Reply with quote

และแล้วเราก็เดินทางมาถึงปลายราง สุดทางรถไฟเล็กขนฟืนตำบลหัวหวายครับ
ปลายรางอยู่ห่างจาก กม.ที่ 27 ประมาณ 300-400 เมตร

http://map.longdo.com/?gmap=1&hybrid=1&gmap=1&lat=15.526436677835823&long=100.47108648808944&res=65536&map=epsg3857&locale=th

สุดปลายรางที่บ้านปลายราง ต.อุดมธัญญา อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
เขตติดต่อกับบ้านหนองหลวง ต.หนองหลวง อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

Click on the image for full size

ประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจเกี่ยวกับบ้านปลายรางครับ
ที่มา : ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านปลายราง

Quote:
บ้านปลายราง แต่ก่อนขึ้นอยู่กับ ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ แต่เดิมบ้านปลายรางเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้หนาแน่น ไม่มีบ้านคนอาศัยอยู่ จนมีชาวจีนอพยพเข้ามาอาศัยเป็นบางส่วน ชาวจีนที่มาอาศัยอยู่ มีอาชีพเผาถ่านขาย ซึ่งตัดไม้ในพื้นที่ นำไปขายตามบ้านและในตัวอำเภอ การคมนาคมในสมัยนั้น ในพื้นที่บ้านปลายรางจะมีรางรถไฟ ซึ่งเป็นรางรถไฟที่มาจากตาคลี แล้วสิ้นสุดที่บ้านปลายราง ต่อมาทางรถไฟสายนี้ก็เลิกใช้ โดยไปใช้สาย ตาคลี – หนองปลิงแทน ทำให้ทางรถไฟที่เข้ามาในหมู่บ้านว่างจากการใช้งานชาวจีนที่เผาถ่านขายจึงใช้ทางรถไฟในการขายถ่าน โดยการนำถ่านที่เผาเสร็จแล้วขึ้นบนรถรางแล้วโยกรถรางนำถ่านไปขาย

ที่มาของบ้านปลายราง คือ เป็นหมู่บ้านที่เป็นจุดสิ้นสุดของรางรถไฟ ที่วิ่งมาจากตาคลี ต่อมา บ้านปลายรางได้ขึ้นกับ ตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ และได้มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อนายเป่ง ก้อนทอง เป็นบ้านเลขที่ 1
เมื่อได้เสียชีวิต จึงมีการเลือกผู้ใหญ่บ้านมาเรื่อย ๆ ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน คือ นางสาวลำพึง โตส้ม

นับได้เป็นเวลานานกว่า 100 ปีมาแล้ว ในอดีตได้มีโรงเรียนหนึ่งอาคารเรียน มีนักเรียนเรียนอยู่จำนวนมาก แต่หลังจากที่จำนวนนักเรียนลดน้อยลง จึงได้ยุบโรงเรียนลง เด็กในชุมชนจึงไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้เคียงกัน


ระยะทางที่วัดได้จากภาพถ่ายทางอากาศ ประมาณ 27.300 กม.
ใกล้เคียงกับที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้ไหมครับ Cool

ประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้รถไฟหลวงขนาดย่อมที่ตำบลหัวหวาย เพื่อรับส่งสินค้า ประกาศ ณ วันที่ 26 ม.ค. 2467

Click on the image for full size

----------------------------

จบไปแล้วสำหรับทางรถไฟเล็กขนฟืนตำบลหัวหวาย
ยังเหลืออีก 2 เส้นทางคือ
1. ทางแยกที่ กม.21 ของทางรถไฟเล็กขนฟืนตำบลหัวหวาย
2. ทางรถไฟขนาดราง 1 เมตร สายหัวหวาย-ท่าตะโก
ไว้พรุ่งนี้ มาสำรวจกันต่อครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 3 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©