RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273749
ทั้งหมด:13585045
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 93, 94, 95 ... 100, 101, 102  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2022 4:56 pm    Post subject: Reply with quote

รองผู้ว่าวิศณุเผยค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวยังรอเข้าสภา กทม.
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 19 ตุลาคม 2565 - 13:42 น.

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวรอเข้าสภา กทม. รับรอง พบกระบวนการจัดส่งเอกสารระหว่างหน่วยงานล่าช้าเป็นเหตุ

วันที่ 19 ตุลาคม 2565 รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งอยู่ระหว่างรอสภากรุงเทพมหานครพิจารณาดังต่อไปนี้

รัฐอัดคนละครึ่งเฟส 6 ช้อปช่วยชาติ เติมเงินบัตรคนจน แพ็กเกจลงทุน
เวนคืนเพชรเกษม-บางแค แก้รถติด-อัพเกรดจัดสรรทำเลทวีวัฒนา
คนละครึ่งเฟส 6 เข้า ครม.กลางเดือน พ.ย. ใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี
จะต้องแยกการพิจารณาของสภาออกเป็น 2 ประเด็นด้วยกัน

ประเด็นที่ 1 การพิจารณาอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะต้องเข้าที่ประชุมสภา กทม. เนื่องจากการกำหนดค่าโดยสารเกี่ยวข้องกับงบประมาณของ กทม. และเงินชดเชยการขาดทุนจากการจ้างเดินรถ จึงอยากขอความเห็นจากสภา กทม.อย่างเป็นทางการ

ประเด็นที่ 2 ประเด็นการตอบกลับหนังสือจากกระทรวงมหาดไทย ขอความเห็นเกี่ยวกับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นต้องได้รับความเห็นจากสภากรุงเทพมหานครอยู่แล้ว

ด้านนายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร ยืนยันว่า การพิจารณาอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ยึดตามมติสภา กทม.ชุดก่อน ที่ระบุให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสาร และเสนอ 3 แนวทาง ได้แก่ การใช้ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ให้ดำเนินการลักษณะสัมปทาน และส่งคืนโครงการให้แก่รัฐบาล

และทางสภากรุงเทพมหานครได้ขอเอกสารเพิ่มเติมจากฝ่ายบริหาร ก่อนจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานครต่อไป

ด้านนายวิศณุกล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่าการขอเอกสารเพิ่มเติมของสภากรุงเทพมหานคร ใช้ระยะเวลานานในการจัดส่งเอกสารภายในหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร

รศ.ดร.วิศณุกล่าวถึงการยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองมีคำสั่งให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) จ่ายค่าจ้างเดินรถรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ค้างชำระให้กับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)

โดยกรุงเทพมหานครได้ยื่นอุทธรณ์ 3 ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่

1.บันทึกมอบหมายส่วนต่อขยาย 2 ระหว่างกรุงเทพมหานคร และกรุงเทพธนาคม ซึ่ง กทม.มีความเห็นว่ายังไม่สมบูรณ์ กทม.จึงไม่ผูกพันในหนี้ดังกล่าว

2.ดอกเบี้ยส่วนต่อขยาย 1 และ 2 ซึ่ง กทม. มีความเห็นว่าไม่ควรที่จะต้องจ่าย เนื่องจากเป็นการทำตามความเห็นของคณะกรรมการตามมาตรา 44

3.ค่าจ้างเดินรถแพงเกินสมควรหรือไม่ โดยจะมีการนำผลการศึกษาจากทางที่ปรึกษาของกรุงเทพธนาคม แนบไปด้วย


ค่าโดยสารรถไฟสีเขียว ‘คูคต-สมุทรปราการ’ ต้องเข้าสภากทม.พิจารณา
เดลินิวส์ 20 ตุลาคม 2565 16:36 น.
กทม.

"ชัชชาติ" เผยค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2 ช่วง หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ต้องเข้าสภา กทม. เพื่อพิจารณา เล็งขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญต่อ

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 20 ต.ค. ที่ศาลาว่าการ กทม.1 (เสาชิงช้า) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยถึงกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว เกี่ยวกับการเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการเก็บค่าโดยสาร ว่า การเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงแบริ่ง-เคหะฯ สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-คูคต คาดว่าจะมีรายได้ 1,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากยังไม่มีการทำสัญญาจ้างเดินรถระหว่าง กทม. กับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) และยังไม่ผ่านสภา กทม. ซึ่งก่อนที่จะเก็บค่าโดยสาร 15 บาท ตลอดสาย ต้องแจ้งกับทางสภา กทม. ก่อน เพื่อให้รับรู้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายเดินรถส่วนต่าง ที่ต้องนำเงินงบประมาณประจำปีมาจ่าย ซึ่งทางสภา กทม. มีการรอข้อมูลส่งมาให้ครบถ้วน ก่อนที่จะมีการอภิปรายกัน

“ไม่ใช่ว่าเราเก็บค่าโดยสารไปแล้ว ต้องขอเงินเพื่อมาชดเชยส่วนต่าง สภา กทม. ก็อาจจะถามว่า ทำไมตอนเก็บค่าโดยสารไม่มาบอกก่อน ว่าต้องมีส่วนต่าง ถ้าเขารู้ก่อนเขาอาจจะไม่ให้เก็บ 15 บาทหรอก ถึงแม้ว่าจะเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร แต่เราไม่ปฏิเสธว่า อนาคตต้องเอาเงินของสภามาจ่ายส่วนต่าง”

นายชัชชาติ กล่าวต่ออีกว่า ปัญหาต้นตอทั้งหมดเกิดจากเรื่องต่างๆ ไม่ได้ผ่านสภา กทม. อย่างหนังสือมอบหมายการให้เดินรถส่วนต่อขยายที่ 2 ระหว่าง กทม. กับเคที ก็ไม่ได้ผ่านสภา กทม. เพราะเท่าที่ฟังมาคงไม่ได้คิดว่าจะมีภาระหนี้เกิดขึ้น คิดว่าเก็บค่าโดยสารได้แล้ว สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาเงินงบประมาณ แต่สุดท้ายเกิดหนี้สินกว่าหมื่นล้านบาท


“สภา กทม. ถือว่ามีอำนาจสูงสุด เพราะเขาเป็นตัวแทนประชาชน เรื่องพวกนี้ต้องไปให้รอบคอบ การให้สภาดูคือการให้ประชาชนดูว่าสถานการณ์เป็นแบบนี้ เรื่องทั้งหมดเราไม่ได้ก่อหรอก เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เราต้องดูให้รอบคอบ สภาเองคงไม่กล้าอนุมัติอะไรง่ายๆ เงินมันก็เยอะ มีทั้งเรื่องกฎหมาย เรื่องสัญญา”

นายชัชชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า เรื่องนี้มีผู้เกี่ยวข้อง 3 คน คือ กทม. เคที และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) สัญญาระหว่าง เคที กับ BTSC มีการเซ็นสัญญา ส่วน กทม. กับเคที มีการเซ็นสัญญาในส่วนต่อขยายที่ 1 ซึ่งมีความชัดเจนว่าต้องจ่ายเงินส่วนต่างด้วยเงินงบประมาณ แต่ส่วนต่อขยายที่ 2 เป็นแค่หนังสือมอบหมายงาน ซึ่งสภา กทม. ไม่ได้รับรู้ รวมไปถึงไม่มีการระบุว่า ต้องจ่ายเงินส่วนต่างด้วยเงินงบประมาณ เพราะคิดว่าจะเก็บเงินค่าโดยสารมาจ่ายหักล้างกับค่าจ้างเดินรถได้

แต่พอชีวิตจริงหนังคนละม้วน ก็ใช้เงินจากสภาเยอะเลย กลายเป็นว่าสภายังไม่เห็นแล้วจะไปอนุมัติได้อย่างไง เป็นตัวเงื่อนหลักที่จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ผ่านสภา ฝ่ายบริหารต้องทำงานตามสภา เพราะสภาเป็นคนอนุมัติกรอบงบประมาณทั้งหมด ฝ่ายบริหารอาจจะมีไอเดียเยอะแยะเลย แต่สุดท้ายแล้วฝ่ายสภาต้องเป็นคนดู สภาคือตัวแทนประชาชน ที่มาช่วยคัดกลั่นกรอง ต้องทำงานด้วยกันไป ต้องเคารพสภา

สำหรับประเด็นการตอบหนังสือของกระทรวงมหาดไทยซึ่งได้ถามถึงแนวทางการดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีเขียวของผู้บริหารและสภากรุงเทพมหานครนั้น นายชัชชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันทางสภา กทม. ได้ขอเอกสารเพิ่มเติม เพื่อศึกษาในรายละเอียดของรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่าจะสามารถนำเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าสู่สภา กทม. ได้ทันในการประชุมสภาสมัยที่ 4 ซึ่งจะประชุมครั้งสุดท้ายในวันพุธที่ 26 ต.ค.65 นายชัชชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ทางวิปของฝ่ายบริหารและสภา กทม. กำลังพูดคุยกันอยู่เพื่อหาแนวทางร่วมกัน อาจจะต้องขยายเวลาการประชุมหรืออื่น ๆ เรื่องนี้จำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เนื่องจากจากจะได้ทราบแนวทางการดำเนินงานต่อไป

ทั้งนี้ สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวประกอบด้วย 3 ส่วน คือส่วนสัมปทาน ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช ช่วงสนามกีฬา-สะพานตากสิน ซึ่งจะเก็บค่าโดยสารตามสัญญาสัมปทาน ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริหารและจัดการการเดินรถ และกรุงเทพธนาคมได้จ้างเอกชนเดินรถต่อ มีการเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย

ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มอบหมายงานให้กรุงเทพธนาคมเป็นผู้บริหารและจัดการการเดินรถ และกรุงเทพธนาคมได้ว่าจ้างเอกชนอีกทอดหนึ่ง ปัจจุบันยังไม่มีการเก็บค่าโดยสารในส่วนนี้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2022 2:08 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รองผู้ว่าวิศณุเผยค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวยังรอเข้าสภา กทม.
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 19 ตุลาคม 2565 - 13:42 น.



ค่าโดยสารรถไฟสีเขียว ‘คูคต-สมุทรปราการ’ ต้องเข้าสภากทม.พิจารณา
เดลินิวส์ 20 ตุลาคม 2565 16:36 น.


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ว่า การจัดเก็บค่าโดยสารนั้น หากดูตามบริบท ณ ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเก็บค่าโดยสารอย่างไร ก็ไม่สามารถชดเชยค่าจ้างเดินรถของกรุงเทพมหานคร วงเงิน 5,000 ล้านบาท ได้ จากการศึกษาหากจัดเก็บในอัตรา 15 บาทตลอดสายของส่วนต่อขยายจะได้เงินชดเชยประมาณ 1,000 ล้านบาทเท่านั้น
“ส่วนต่างจำนวนนี้จะต้องมีการตั้งงบประมาณชดเชยจากสภากรุงเทพมหานคร หากมีการนำเข้าสภากรุงเทพมหานครอาจจะเกิดปัญหาในอนาคตว่า หากสภาเห็นว่าต้องชดเชยการขาดทุนของการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายเป็นจำนวนเท่านี้แล้ว คงไม่ต้องการให้ กทม.เก็บค่าโดยสารเพียง 15 บาท ปัญหาสำคัญของการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 นี้คือ การที่การมอบหมายงานในส่วนต่อขยายนี้ยังไม่เคยผ่านสภากรุงเทพมหานครมาก่อน การจะดำเนินการใด ๆ จึงควรที่จะรายงานให้สภากรุงเทพมหานครทราบเสียก่อน”
ด้าน นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ได้บรรจุวาระเรื่องค่าโดยสารบีทีเอสสายสีเขียว ส่วนต่อขยายทั้ง 2 สาย เข้าพิจารณาในการประชุมสภากรุงเทพมหานครในครั้งต่อไป ในวันพุธที่ 26 ตุลารม 2565 นี้ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาได้อภิปราย ซักถาม ซึ่งเชื่อว่าทางฝ่ายบริหารคงจะสามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีเรื่องเงินงบประมาณที่จะต้องใช้ ซึ่งเป็นส่วนต่างค่าโดยสารที่จะต้องจ่ายอยู่
https://www.thebangkokinsight.com/news/business/971748/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 23/10/2022 12:24 am    Post subject: Reply with quote

ชัชชาติ ติดกับดักสภา กทม. รถไฟฟ้าสายสีเขียวสะดุด
ข่าวรอบวัน
วันเสาร์ ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:29 น.


19 ตุลาคม 2565 แมตช์การประชุมสภากรุงเทพมหานคร รอยร้าวเริ่มปริ

หลังจากมีช่วงรักใคร่หวานชื่นระหว่าง “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) คนที่ 17 กับนักการเมืองท้องถิ่น “ส.ก.-สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร” 50 เขต จำนวน 50 คน


เวลาผ่านมา 4 เดือนเศษ แต่ทว่า การประชุมสภา กทม.ก็ยังไม่สามารถบรรจุวาระร้อน “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” ได้สักที

จุดโฟกัสอยู่ที่การประชุมสภา กทม.สมัยที่ 4 มีกำหนดเดดไลน์วันสุดท้าย 26 ตุลาคม 2565 ถัดจากนี้ก็ต้องรอประชุมสภา กทม.ในเดือนมกราคม 2566 โน่นเลย

ลุ้นบรรจุวาระ 26 ต.ค.
เรื่องนี้ “ผู้ว่าฯชัชชาติ” ออกอาการไม่ให้สัมภาษณ์สื่อในวันที่ 19 แต่วันรุ่งขึ้น 20 ตุลาคมที่ผ่านมา พูดสั้น ๆ เพียงว่า ขณะนี้ทางวิปของฝ่ายบริหารและสภา กทม. กำลังพูดคุยกันอยู่เพื่อหาแนวทางร่วมกัน อาจจะต้องขยายเวลาการประชุมหรืออื่น ๆ

พร้อมย้ำว่าปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว “เป็นเรื่องจำเป็น” ต้องเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะมีขั้นตอนรอดำเนินการอีกมากหลังจากนี้

คาดว่าวิปฝ่ายผู้บริหารกรุงเทพมหานครจะรีบเสนอในที่ประชุมวิป เพื่อเสนอบรรจุวาระเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าที่ประชุมสภา กทม.อีกครั้ง วันที่ 26 ตุลาคม 2565 นี้


ประชุมวิป (VIP) ก็ป่วน

จับอาการน้ำผึ้งขมล่าสุด แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า วันจันทร์ 17 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา มีนัดประชุมวิประหว่างสภา กทม.กับทีมชัชชาติ แต่เกิดเหตุติดขัดประการใดไม่ทราบได้ ทำให้แม้แต่การประชุมวิปก็ไม่เกิดขึ้น

“เนื่องจากสภา กทม.ส่วนหนึ่ง และผู้บริหาร กทม.ถือว่ายังใหม่อยู่มากสำหรับงานบริหารราชการแผ่นดิน จึงควรมีการพูดคุยกันอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับความเข้าใจให้ตรงกัน ที่สำคัญ ผู้บริหาร กทม.ชุดนี้ไม่มีสมาชิกสภา กทม.เป็นของตนเอง เพราะผู้ว่าฯชัชชาติเป็นผู้สมัครอิสระ ยิ่งต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น”

ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องเร่งบรรจุวาระสภา กทม.เพราะรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีประเด็นร้อนเรื่องอัตราค่าโดยสาร เพราะการเดินรถ 3 ช่วง (หมอชิต-อ่อนนุช กับต่อขยายอีก 2 ช่วง) ยังมีความเห็นและความเข้าใจไม่ตรงกันอยู่หลายเรื่อง ต้องมีการพูดคุยอย่างเร็วที่สุด เพื่อหาข้อยุติเพื่อเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารในบางช่วงที่เปิดให้ขึ้นรถฟรี ทำให้รายรับ กทม.เป็น 0 บาท

เห็นต่างปมเก็บค่าโดยสาร
ประเมินท่าทีและการส่งสัญญาณจาก “วิรัตน์ มีนชัยนันท์” ประธานสภา กทม. กล่าวว่า กรณีการพิจารณาอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น สภา กทม. (ชุดปัจจุบัน) มีความเห็นว่าให้ยึดตามมติของสภา กทม.ชุดที่ผ่านมา ซึ่งระบุให้ฝ่ายบริหาร กทม.มีอำนาจในการพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารได้

ซึ่งเป็นมุมมองแบบเห็นต่างจาก “วิศณุ ทรัพย์สมพล” รองผู้ว่าราชการ กทม. ความสำคัญต้องเสนอบรรจุวาระประชุมสภา กทม.มี 2 เรื่องหลักคือ 1.การตอบกลับหนังสือจากกระทรวงมหาดไทย 2.การหารือสภา กทม.เรื่องการเก็บค่าโดยสาร

ประเด็นการตอบกลับมหาดไทยนั้น ทางสภา กทม.เพิ่งส่งหนังสือ “ขอเอกสารเพิ่มเติม” ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2565 มายังสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ซึ่งกระชั้นชิดเดดไลน์ประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ในวันที่ 26 ตุลาคม

ประเด็นการจัดเก็บค่าโดยสารสายสีเขียว ถึงแม้ทางสภา กทม.มีความเห็นว่าเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารโดยแท้ จึงไม่ต้องนำเข้าสภา กทม.เพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณาอีก

แต่ฝ่ายบริหาร กทม. “เห็นต่าง” ว่า แม้จะมีการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้วก็ตาม แต่ยังมีส่วนต่างระหว่างรายได้ค่าโดยสารกับค่าจ้างเดินรถ ซึ่งจะต้องบรรจุในงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้สภา กทม.พิจารณา

ดังนั้น เพื่อความรอบคอบ ฝ่ายบริหาร กทม.จึงเห็นว่า สภา กทม.สมควรรับทราบเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าโดยสาร ในเรื่องอัตราค่าโดยสารและประมาณการรายได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการนำงบประมาณรายจ่ายประจำปีเข้าสู่สภา กทม.ในภายหลัง

เปิด 4 มุ้งพรรคการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ ส.ก. 50 คนจาก 50 เขตนั้น สามารถจำแนก “มุ้ง” ตามกลุ่มการเมืองได้ดังนี้ พรรคเพื่อไทย 20 คน, พรรคก้าวไกล 13 คน, พรรคประชาธิปัตย์ 9 คน, กลุ่มรักษ์กรุงเทพฯ (สนับสนุน พล.ต.อ.อัศวิน) 3 คน, พรรคพลังประชารัฐ 2 คน, พรรคไทยสร้างไทย 2 คน และ ส.ก.อิสระ 1 คน

จะเห็นว่า ในอดีตเมื่อ 4 เดือนที่แล้ว มีอย่างน้อย 2 พรรคการเมืองดังทำพิธี “มอบตัว” ส.ก.ให้กับทีมชัชชาติ

คำว่าการเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร ปฏิบัติการมอบตัวมองผ่านอดีตคือ presentation อยู่กับปัจจุบันคือ action

แหล่งข่าวจากสภา กทม.ยืนยันว่า วิปสภา กทม.ที่ได้พูดคุยกับวิปทีมชัชชาติ เป็นตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย+ก้าวไกล

หากไม่สามารถลุ้นวาระประชุมสายสีเขียวในวันที่ 26 ตุลาคม 2565 เท่ากับเสียเวลาอีก 2 เดือนเพื่อรอเข้าที่ประชุมมกราคม 2566 จะมีผลกระทบ 2 ประเด็นหลัก
1.ค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2 (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) กับ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ไม่สามารถเก็บได้อีก 2 เดือนจนกว่าจะเข้าสภา กทม. ผู้รับภาระคือภาษีของชาว กทม. ที่ต้องไปอุดหนุนค่าจ้างเดินรถ

2.ผลทางตรงคือ ยังไม่สามารถตอบกลับหนังสือกระทรวงมหาดไทย ซึ่งสอบถามมายังผู้บริหารและสภา กทม.ว่าจะดำเนินการอย่างไรกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เรื่องการรับโอนภาระค่าก่อสร้างช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต


มอตโต้ “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” เพื่อแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว กำลังถูก “ดึงเกม ดึงเกม ดึงเกม” โดยสภา กทม.ด้วยประการฉะนี้


Last edited by Wisarut on 25/10/2022 11:21 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2022 6:20 am    Post subject: Reply with quote

กทม.ถกค่าตั๋วรถไฟฟ้า26ต.ค.
Source - เดลินิวส์
Monday, October 24, 2022 05:21

ส่วนต่อขยาย2ช่วง-สีเขียวจี้แก้จุดเสี่ยง

จับตา 26 ต.ค. "สภา กทม." ชวนประชาชนรับชมใกล้ชิดนัดประชุมถกเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ รวมถึงญัตติครั้งก่อนที่เจอโรคเลื่อน การจัดระเบียบสายสื่อสาร-จี้คืนถนนจรัญสนิทวงศ์กับเพชรเกษมและแก้ปัญหาจุดเสี่ยง

เมื่อวันที่ 23 ต.ค. น.ส.นฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ โฆษกสภากรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ขอเชิญชวนประชาชนร่วมติดตาม และรับชมการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญสมัยที่ 4 ครั้งที่ 4 ประจำปีพุทธศักราช 2565 ในวันที่ 26 ต.ค.นี้ ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) โดยสามารถติดตามการประชุมผ่านช่องทางไลฟ์ เพจสภากรุงเทพมหานคร

น.ส.นฤนันมนต์ กล่าวว่า ครั้งนี้จะมีเรื่องที่ประธานสภาแจ้งต่อที่ประชุม คือรายงานการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง และมีวาระการพิจารณาซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเสนอ 3 เรื่อง คือ 1. ญัตติขอรับความเห็นจากสภากรุงเทพมหานคร เรื่องแนวทางการเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 2. ญัตติขอรับความเห็นจากสภากรุงเทพมหานคร เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และ 3. ญัตติร่างข้อบัญญัติกรุงเทพ มหานคร เรื่องรางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ...

โฆษกฯ ระบุว่า นอกจากนี้ยังมีญัตติซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เสนอรวม 4 ญัตติ โดยเป็นญัตติที่เลื่อนมาจากการประชุมครั้งก่อน 3 ญัตติ 1. ญัตติของนายวิพุธ ศรีวะอุไร เรื่องขอให้กรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. ญัตติของนายวิรัช คงคาเขตร เรื่องขอให้กรุงเทพมหานครเร่งรัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ส่งมอบพื้นที่ถนนจรัญสนิทวงศ์และถนนเพชรเกษม ให้กับกรุงเทพมหานครตามเงื่อนไข

3. ญัตติของ น.ส.ปิยะวรรณ จระกา เรื่องขอให้กรุงเทพมหานครพิจารณาแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และมีญัตติเสนอใหม่เพิ่มเติม คือญัตติของ น.ส.นิภาพรรณ จึงเลิศศิริ เรื่องขอให้กรุงเทพมหานครพิจารณาออกกฎหมาย ให้มีการจัดการมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนสัมปทานช่วงหมอชิต-อ่อนนุช, ช่วงสนามกีฬา-สะพานตากสิน ซึ่งจะเก็บค่าโดยสารตามสัญญาสัมปทาน และส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง, ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร จ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) บริหารและจัดการการเดินรถ และเคทีได้จ้างเอกชนเดินรถต่อมีการเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต กับช่วงแบริ่งสมุทรปราการ ซึ่งกรุงเทพมหานครมอบหมายงานให้เคทีเป็นผู้บริหารและจัดการการเดินรถ และเคทีได้ว่าจ้างเอกชนอีกทอดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการเก็บค่าโดยสารในส่วนนี้.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2022 11:28 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กทม.ถกค่าตั๋วรถไฟฟ้า26ต.ค.
Source - เดลินิวส์
วันจันทร์ ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 05:21 น.

ส่วนต่อขยาย2ช่วง-สีเขียวจี้แก้จุดเสี่ยง

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2565


จับตา 'สภากทม.' เตรียมถกปมราคาสายสีเขียว
วันจันทร์ ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:06 น.

กทม. เตรียมประชุมสภา กทม. สมัยที่ 4 ครั้งสุดท้าย มีญัตติ ถกค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย พร้อมแนวทางดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

24 ต.ค. 2565 – นางสาวนฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ โฆษกสภากรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่4 ครั้งที่4 ประจำปีพุทธศักราช 2565 ในวันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 จะมีเรื่องที่ประธานสภาแจ้งต่อที่ประชุม คือ รายงานการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง และมีวาระการพิจารณาซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเสนอ

ทั้งนี้ โดยมีญัตติขอรับความเห็นจากสภากรุงเทพมหานคร เรื่อง แนวทางการเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต และช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ 2.ญัตติขอรับความเห็นจากสภากรุงเทพมหานคร เรื่อง การดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และ 3.ญัตติร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ….

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ได้กล่าวถึงกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว เกี่ยวกับการเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการเก็บค่าโดยสาร ว่า การเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงแบริ่ง-เคหะฯ สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-คูคต คาดว่าจะมีรายได้ 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่มีการทำสัญญาจ้างเดินรถระหว่าง กทม. กับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) และยังไม่ผ่านสภา กทม. ซึ่งก่อนที่จะเก็บค่าโดยสาร 15 บาท ตลอดสาย ต้องแจ้งกับทางสภา กทม. ก่อน เพื่อให้รับรู้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายเดินรถส่วนต่าง ที่ต้องนำเงินงบประมาณประจำปีมาจ่าย ซึ่งทางสภา กทม. มีการรอข้อมูลส่งมาให้ครบถ้วน ก่อนที่จะมีการอภิปรายกัน

นายชัชชาติ กล่าวว่า ปัญหาต้นตอทั้งหมดเกิดจากเรื่องต่างๆ ไม่ได้ผ่านสภา กทม. อย่างหนังสือมอบหมายการให้เดินรถส่วนต่อขยายที่ 2 ระหว่าง กทม. กับเคที ก็ไม่ได้ผ่านสภา กทม. เพราะเท่าที่ฟังมาคงไม่ได้คิดว่าจะมีภาระหนี้เกิดขึ้น คิดว่าเก็บค่าโดยสารได้แล้ว สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาเงินงบประมาณ แต่สุดท้ายเกิดหนี้สินกว่าหมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2022 2:33 pm    Post subject: Reply with quote

ชัชชาติ ผ่าทางตันค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียว ขอเงินรัฐบาลจ่ายส่วนต่อขยาย
ในประเทศ
วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:37 น.

“ชัชชาติ” ผ่าทางตัน แก้หนี้โครงสร้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ยื่นคำขาดขออุดหนุนรัฐบาล ถ้าไม่ให้พร้อมโอนคืนทั้งสายให้รัฐบาล

วันที่ 25 ตุลาคม 2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งจะมีการนำเรื่องเสนอในสภากรุงเทพมหานครในวันพรุงนี้ (26 ต.ค. 65)

โดยนายชัชชาติกล่าวว่า เรื่องที่จะเสนอในสภากรุงเทพมหานครนั้นจะมีอยู่ 2 เรื่อง คือ เรื่องแรกกรณีค่าโดยสารของส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยกรุงเทพมหานครเสนอให้จัดเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย

ซึ่งหากสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบจะมีการสั่งการต่อไปยังบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) ให้มีการจัดเก็บค่าโดยสาร ซึ่งทาง KT จะแจ้งแก่เอกชนผู้ดำเนินการต่อไป คือใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนนับจากสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบ

เรื่องที่ 2 กรณีตอบกลับหนังสือขอความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสาสีเขียว ของกระทรวงมหาดไทยนั้น เมื่อสภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นแล้ว จะมีการตอบกลับหนังสือต่อไป

โดยความเห็นของผู้บริหารกรึงเทพมหานครนั้นมี 2 ความเห็น คือ

1.เห็นว่าไม่ควรมีการต่อสัมปทานโดยคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่ 3/2562 แต่ควรต่อสัมปทานโดยใช้วิธีการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562


2.ขออุดหนุนค่าใช้จ่ายโครงสร้างงานโยธาของส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เนื่องจากรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ก็มีการขออุดหนุนค่าใช้จ่ายโครงสร้างโยธาเช่นกัน

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเสริมว่า ในการขออุดหนุนค่าโครงสร้างงานโยธานั้นเป็นกรณีปกติของการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งปัจจุบันค่าโครงสร้างงานโยธา รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 กรุงเทพมหานครรับโอนหนี้จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยประมาณ 5.8-5.9 หมื่นล้านบาทรวมดอกเบี้ย

ซึ่งหากรัฐบาลไม่เห็นด้วยในการขออุดหนุน กรุงเทพมหานครมีแนวทางคือการเจรจาเพื่อที่จะโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งสาย คือ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนสัมปทานช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ส่วนต่อขายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงสะพานตากสินบางหว้า และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ให้กับรัฐบาล โดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น ของบประมาณชดเชย กำหนดเพดานค่าโดยสาร ฯลฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/10/2022 9:51 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชัชชาติ ผ่าทางตันค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียว ขอเงินรัฐบาลจ่ายส่วนต่อขยาย
ในประเทศ
วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:37 น.

" สามารถ" ไขปมหนี้รถไฟฟ้าสายเขียวผู้ว่าฯ ชัชชาติ ถึงทางตัน ?
หน้าแรก
เศรษฐกิจ-ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 27 ต.ค. 2565 เวลา 7:54 น.

“สามารถ ราชพลสิทธิ์ ”ไข ปมหนี้รถไฟฟ้าสายเขียวผู้ว่าฯ ชัชชาติ ถึงทางตัน ? เสนอ ค่าโดยสาร ส่วนต่อขยาย2 ราคา15บาทตลอดสาย รวมเส้นหลัก+ต่อขยาย 74 บาท -โยนหนี้งานโยธาให้รัฐสนับสนุน ทำสภากทม.เดือด

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า วานนี้ (26 ตุลาคม 2565) ผมใจจดใจจ่ออยู่กับการประชุมของสภา กทม. อยากรู้ว่าผู้ว่าฯ ชัชชาติจะเสนอให้เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวเท่าไหร่ ? และจะแก้ปัญหาหนี้สินอย่างไร ? หลังจากที่รอมานาน แต่สุดท้ายก็เหลว !

1. ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เสนออะไรให้สภา กทม. พิจารณา ? โดยผู้ว่าฯ ชัชชาติ เสนอขอความเห็นจากสภา กทม. 2 ญัตติ ดังนี้

(1) อัตราค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต โดยเสนอให้เก็บ 15 บาทตลอดสาย ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารสูงสุด (รวมทั้งส่วนหลักและส่วนต่อขยาย) เท่ากับ 74 บาท หรือเก็บตามระยะทางตามสูตร 14+2X (ค่าแรกเข้า 14 บาท ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตามระยะทาง 2 บาทต่อสถานี แต่ค่าโดยสารรวมทั้งส่วนหลักและส่วนต่อขยายไม่เกิน 59 บาท)

(2) การแก้ปัญหาหนี้สิน โดยเสนอให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนค่าก่อสร้างงานโยธาของส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่ง กทม. รับโอนมาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเงินประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท

ถ้ารัฐบาลสามารถให้เงินสนับสนุนได้ ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติจะหาเอกชนมาร่วมลงทุนตาม พรบ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 แต่ถ้ารัฐบาลไม่สามารถให้เงินสนับสนุนได้ ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติก็ขอโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมด (ทั้งส่วนหลักและส่วนต่อขยาย) ให้รัฐบาลอย่างไรก็ตาม สมาชิกสภา กทม. ส่วนใหญ่เห็นว่าญัตติดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจของสภา กทม. จึงได้เสนอให้ถอนญัตติออกไป

2. มท. 1 ขอความเห็นจาก ผู้ว่าฯ ชัชชาติ

หลังจาก กทม. มีผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ และมีสภา กทม. ชุดใหม่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือลงวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ถึงผู้ว่าฯ กทม. ขอทราบแนวทางการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเสนอ ครม. ต่อไป

เหตุที่ มท. 1 ขอความเห็นจากผู้ว่าฯ กทม. ก็เพราะว่า ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 ผู้ว่าฯ กทม. (ในขณะนั้น) ได้มีหนังสือถึง มท. 1 ขอความเห็นชอบให้ขยายสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี 2572-2602

โดยมีเงื่อนไขให้ BTSC แบกภาระหนี้สินทั้งหมดที่ กทม. มีอยู่กับ BTSC และ รฟม. พร้อมกับแบ่งรายได้ให้ กทม. ไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท อีกทั้ง กำหนดให้ BTSC เก็บค่าโดยสารในอัตรา 15-65 บาท (สูงสุดไม่เกิน 65 บาท)

3. ผู้ว่าฯ ชัชชาติ จะเสนอความเห็นอะไรให้ มท. 1 ?

เมื่อสภา กทม. โยนเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวกลับไปที่ฝ่ายบริหารของ กทม. ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ ควรพิจารณาทำหนังสือตอบ มท. 1 ไปตามแนวทางของท่านผู้ว่าฯ ดังกล่าวในข้อ 1 ข้างต้น ซึ่งผมมีความเห็นต่อแนวทางของท่านผู้ว่าฯ ดังนี้

(1) อัตราค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2 ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติจะเก็บ 15 บาทตลอดสาย ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารสูงสุดเท่ากับ 74 บาท หรือจะเก็บตามระยะทาง แต่ค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 59 บาท ก็ได้ แต่ท่านต้องยอมรับความจริงว่าไม่สามารถทำให้ค่าโดยสารถูกลงตามที่ท่านได้เคยหาเสียงไว้ว่าจะเก็บ 25-30 บาท ได้

(2) หากรัฐบาลช่วยสนับสนุนค่างานโยธาส่วนต่อขยายที่ 2 ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติจะเปิดประมูลใหม่หาเอกชนมารับสัมปทานเดินรถส่วนต่อขยายที่ 2 ตาม พรบ. ร่วมทุน 2562 ผมขอบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่มีเอกชนรายใดสนใจมารับสัมปทานแน่ เพราะจะขาดทุน ! หากจะเปิดประมูลใหม่ทั้งส่วนหลักและส่วนต่อขยายหลังสิ้นสุดสัมปทานในปี 2572 ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะยังติดสัญญาจ้าง BTSC ให้เดินรถจนถึงปี 2585

(3) หากรัฐบาลไม่ช่วยสนับสนุนค่างานโยธาส่วนต่อขยายที่ 2 ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติจะโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมดให้รัฐบาล ผมเห็นว่าแนวทางนี้ไม่ใช่เป็นการ “แก้ปัญหา” แต่เป็นการ “โยนปัญหาให้พ้นตัว” ถ้ารัฐบาลยอมรับข้อเสนอนี้ ก็น่าจะรับมาตั้งแต่สมัยท่านผู้ว่าฯ อัศวินแล้ว

จะไม่ทำให้ปัญหาคาราคาซังมาจนถึงปัจจุบันนี้ และที่สำคัญ การโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมดให้รัฐบาลจะเป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจของบุคลากร กทม. โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรในสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. ที่ได้พยายามปลุกปั้นโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวจนสำเร็จเป็นรถไฟฟ้าโครงการแรกของประเทศไทย

4. ผู้ว่าฯ ชัชชาติถึง “ทางตัน” ?

เนื่องจากท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติตั้งธงไว้ตั้งแต่ตอนหาเสียงแล้วว่าจะไม่ขยายสัมปทานให้ BTSC จึงทำให้ท่านต้องเดินมาถึงทางตันในวันนี้ มีทางเดียวเท่านั้นที่ท่านจะผ่าทางตันได้ก็คือเปิดใจให้กว้าง ดูข้อดีข้อเสียในการขยายสัมปทานให้ BTSC ถ้าเห็นว่ามีข้อดีมากกว่าก็ตัดสินใจขยายสัมปทานให้ BTSC ทางเลือกอื่นไม่มีจริงๆ

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี ไม่อยากให้ กทม. มีหนี้สินพอกพูนขึ้นทุกวัน

https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/682987436527362
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2022 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนนั่งฟรี ลากยาว
หน้าแรก เศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 28 ต.ค. 2565 เวลา 14:25 น.

รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย “หมอชิต-คูคต” ถึงทางตัน ชัชชาติ ยัน เก็บค่าโดยสารไม่ได้จ่อลากยาว ชี้รัฐต้องอุดหนุนงบประมาณทุกสาย หากหาทางออกไม่ได้ ต้องโอนคืน รฟม. “บีทีเอส” หนุนกทม.หาทางออก

ผลการประชุมสภากรุงเทพ มหานคร (สภากทม.) กรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา กลายเป็นปมขัดแย้ง ถึงขั้นเดินออก(วอล์กเอาต์) นอกห้องประชุม กรณี นายชัชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกทม. ในฐานะฝ่ายบริหาร เสนอญัตติขอรับความเห็นชอบจากสภากทม. ในสองประเด็น

ได้แก่
1.แนวทางการเก็บค่าโดยสาร ส่วนต่อขยาย ที่ 2 (แบริ่ง-สมุทรปราการ /หมอชิต-คูคต) และ
2.การขอรับความเห็น การดำเนินการ สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งระบบ
อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าว มีสมาชิกสภากทม. (ส.ก.) จากพรรคก้าวไกลทักท้วง พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตว่า กทม.ไม่มีอำนาจหน้าที่ กำหนดอัตราค่าโดยสารรวมถึงไม่จำเป็นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาสภากทม.

ตั้งกรรมการเคาะราคา

เนื่องจากเป็นอำนาจตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่3/2562 ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโครงการสายสีเขียว ตามคำสั่งข้อ 3 ที่มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 แต่ปรากฏว่า กทม.ยุค พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯกทม.

ไม่มีงบประมาณพอที่จะชำระหนี้จากการรับโอนงานโยธาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และหนี้เอกชนจากการจ้างเดินรถ การลงทุนระบบไฟฟ้าเคลื่องกล ส่วนต่อขยายสายสีเขียว คณะกรรมการฯ จึง เจรจากับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTSC

หาทางออกขยายสัญญาสัมปทานออกไป 30 ปี จากปี 2572 เป็นปี 2602 คิดอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาท ตลอดสาย แลกกับภาระหนี้ หนึ่งแสนล้านบาท และส่งเรื่องขอความเห็นชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เห็นชอบเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่ปรากฏว่าถูกคัดค้านเป็นวงกว้างโดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม

เมื่อนายชัชชาติเป็นผู้ว่าฯกทม. กระทรวงมหาดไทยเพียงให้กทม.พิจารณาว่าจะมีแนวทางแก้ไขกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือไม่ ซึ่งเรื่องยังคาราคาซังเพราะหาทางออกไม่ได้

ถกโอนสายสีเขียวคืนรฟม.

ด้านนายไสว โชติกะสุภา ในฐานะประธานคณะกรรมการการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการตั้งข้อสังเกตของ ส.ก. จากพรรคก้าวไกล ทักท้วง กรณีโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ กทม.บริหาร ตามคำสั่งคสช. มาตรา 44 ยอมรับว่า ที่ผ่านกระทรวงมหาดไทยตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาค่าโดยสารจริง แต่ไม่เคยพบการรายงานตัวเลขแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจราจรฯ จะหารือกับฝ่ายข้าราชการกทม.ที่เกี่ยวข้องกับการจราจรและขนส่งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยการตีความของสภากทม.คือไม่มีอำนาจหน้าที่อนุมัติ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวและอาจส่อขัดกฎหมาย

เพราะเป็นอำนาจโดยตรงของผู้ว่าฯกทม. เท่านั้นที่จะตัดสินใจเรื่องการจัดเก็บค่าโดยสาร ช่วงห้าแยกลาดพร้าว-สะพานใหม่-คูคต ในอัตราค่าโดยสาร 15 บาท เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯกทม.ที่สามารถดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากสภากทม.

ส่วนการขอชดเชยงบประมาณเพื่อดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งคณะกรรมการจราจรฯและสภากทม.ไม่เห็นด้วย เนื่องจากการดำเนินการก่อสร้างของโครงการฯในช่วงส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

เป็นการดำเนินการที่ไม่ได้ใช้งบประมาณของ กทม. ตั้งแต่แรก อีกทั้งยังติดปัญหาในเรื่องข้อกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถพิจารณาเห็นชอบตามที่ กทม.เสนอได้ นายไสวอธิบายต่อว่า การโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวคืน รฟม. สามารถกระทำได้ เพราะยังไม่มีการลงนามการจ่ายหนี้ส่วนงานโยธาคืน แม้จะมีมติ ครม. ชุด คสช.โอนให้ กทม. ก็ตาม

ส่อเลื่อนยาวเก็บค่าโดยสาร

อย่างไรก็ตาม ต้องนับหนึ่งใหม่ และต้องเลื่อนการจัดเก็บค่าโดยสารออกไปไม่มีกำหนด จนกว่าจะหาข้อยุติ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผู้ว่าฯกทม.จะตัดสินใจและหากถึงที่สุดแล้ว นายชัชชาติ มีทางออกหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเจรจา เพื่อขอโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวคืนรฟม. และ 2. หารือกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ประชุมสภากทม.มีญัตติให้ถอนวาระและไม่พิจารณาเรื่องดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลยังไม่ครบถ้วนโดยให้ความเห็นว่าควรให้คณะกรรมการวิสามัญการจราจรและขนส่ง เสนอรายงานต่อสภากทม. รับทราบก่อน

ทั้งนี้ในที่ประชุมสภากทม. หลายท่านให้ความเห็นว่าไม่ใช่อำนาจของกทม.ที่เป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร แต่เป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา 44 ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้แต่งตั้ง ซึ่งจะต้องนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาอีกครั้ง
    “เราไม่ได้ขอสภากทม.อนุมัติการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงห้าแยกลาดพร้าว-คูคต จำนวน 15 บาท แต่เราต้องการแจ้งให้สภากทม.รับทราบ เพราะมีส่วนต่างที่ต้องชำระเพิ่มเติม หากต้องใช้งบประมาณก็ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภากทม.ด้วยทั้งนี้การจัดเก็บค่าโดยสารดังกล่าวต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง”
ส่วนกรณีที่กทม.จะทำหนังสือตอบกลับความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อกระทรวงมหาดไทยนั้น ทางกทม.มีความคิดเห็นว่าการปฏิบัติต่างๆ ควรดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุน (PPP) โดยการคำนวณค่าโดยสารต่างๆ จะต้องมีความละเอียดและรอบคอบ

ทุกสายรัฐควรสนับสนุน

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟฟ้าทุกสายพบว่าทางภาครัฐมีส่วนช่วยสนับสนุนลงทุนค่าก่อสร้าง ขณะที่ด้านโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทางกทม.อยากให้ภาครัฐช่วยรับผิดชอบและลดภาระให้กทม. ท้ายที่สุดผู้ที่ต้องชำระคือประชาชน ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารมีราคาแพง

เพราะต้องชำระค่าโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา ซึ่งการใช้รถไฟฟ้าถือว่ามีผลประโยชน์ทางอ้อม เช่น ลดมลภาวะ, ลดการจราจรติดขัด อีกทั้งภาครัฐยังได้ประโยชน์จากการเก็บภาษีความเจริญของเมืองที่มีการพัฒนาด้วย

ปัจจุบันกทม.ยังไม่สามารถชำระหนี้ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ให้กับเอกชนได้ เนื่องจากส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ถูกรวมกับมูลค่าหนี้ในการขยายสัญญาสัมปทาน ซึ่งเรื่องนี้ยังอยู่ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)

โดยปกติ กทม.จะมีการตั้งงบประมาณเพื่อชำระหนี้รายปีอยู่แล้ว ขณะที่ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เป็นเรื่องที่ยังไม่ได้นำเข้าที่สภากทม.รับทราบ เพราะต้องกลับไปดำเนินการข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนนำมาเสนอในครั้งถัดไป
    “หากดูจากสถานการณ์รถไฟฟ้าสายสีเขียวในอนาคต เชื่อว่าดำเนินการต่อได้ เพราะเป็นเส้นทางที่ประชาชนใช้บริการมากที่สุด แต่ประเด็นคือเรามีรายได้เข้ามา แต่ถ้าค่าใช้จ่ายในการจ้างเดินรถมีราคาแพงมาก สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไร ทำให้เราขาดทุน ส่งผลให้กลายเป็นภาระในอนาคต ถึงแม้ว่าโครงการฯจะยังไม่ได้ข้อสรุป เชื่อว่ายังคงเดินรถให้บริการประชาชนได้เหมือนเดิม หากภาครัฐมีการปลดเรื่องข้อกฎหมายตามมาตรา 44 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะทำให้กทม.มีงบประมาณมาชำระหนี้ให้เอกชนได้บ้าง”
นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาก่อนที่จะได้เป็นผู้ว่าฯกทม.คนส่วนใหญ่เล็งเห็นว่าไม่ควรต่อสัญญาสัมปทานหลายปี เพราะไม่สามารถทราบได้ว่าความเสี่ยงในอนาคตจะเป็นอย่างไร และประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดหรือไม่ หากดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุน (PPP) เชื่อว่ามีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยดูรายละเอียดการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ดีขึ้น แลละสามารถตอบข้อสงสัยให้กับประชาชนได้

โอนคืนยึดขั้นตอนกฎหมาย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแผนจะโอนทรัพย์สินและภาระทางการเงินในการบริหารรถไฟฟ้าสายสีเขียวคืนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดูแลนั้น เบื้องต้นกทม. ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบกฎหมายและมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามหลักธรรมภิบาลก่อน
    “หากกทม.จะดำเนินการโอนคืนทรัพย์สินและภาระทางการเงินรฟม.จริงๆจะต้องดำเนินการขอโอนไปตามขั้นตอนของกฎหมาย”


บีทีเอสหนุนกทม.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือบีทีเอสซี กล่าวถึงกรณีที่สภากทม.ถอนวาระของผู้ว่าฯกทม.ในการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ได้รับทราบในเรื่องนี้แล้ว ทางบีทีเอสคงต้องรอดูว่าผู้ว่าฯกทม.จะดำเนินการอย่างไรต่อไป
    “กรณีที่ผู้ว่าฯกทม.มีแผนจะดำเนินการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงห้าแยกลาดพร้าว-คูคต ในอัตรา 15 บาทตลอดสายนั้น เรามองว่าได้เปิดให้บริการประชาชนฟรีมาหลายปีแล้วก็ควรต้องจัดเก็บค่าโดยสาร แต่จะจัดเก็บค่าโดยสารเท่าไรนั้นเป็นเรื่องของกทม.เป็นผู้ดำเนินการ”


Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2022 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

โฆษกชัชชาติ ยืนกราน “สภา กทม.” ต้องถกญัตติรถไฟฟ้าสายสีเขียว
ในประเทศ
วันที่ 27 ตุลาคม 2565 - 17:08 น.

โฆษก กทม. ย้ำ ถ้าเราไม่พูด ประชาชนจะพูดผ่านใคร การขอความเห็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาพี่น้องประชาชน ยืนยันการเสนอ “ญัตติ” เป็นไปเพื่อขอรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช้การขอ “มติ” เพื่อดำเนินการใด ๆ หวัง สภา กทม. ร่วมกันหาทางออกปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อประโยชน์ของคนกรุงเทพฯ

วันที่ 27 ตุลาคม 2565 นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีสภากรุงเทพมหานครล่ม หลังมีการเสนอญัตติขอความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ประเด็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ทางกรุงเทพมหานครตั้งใจจะเร่งแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ของพี่น้องชาวกรุงเทพมหานครโดยตรง



จึงมีการเสนอญัตติขอรับความเห็นจากสภากรุงเทพมหานครในเรื่องแนวทางการเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และญัตติขอรับความเห็นจากสภากรุงเทพมหานคร เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่ามีแนวทางความเห็นในเรื่องนี้ร่วมกันอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชน

สำหรับข้อกังวลของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครบางท่านถึงอำนาจในการพิจารณาแนวทางบริหารจัดการและการจัดเก็บค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น กรุงเทพมหานครยืนยันว่าญัตติดังกล่าวไม่ได้เป็นการใช้อำนาจเพื่อขอมติสภากรุงเทพมหานครเพื่อนำไปใช้ดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียงการขอรับความเห็นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเท่านั้น







ซึ่งในเรื่องนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ย้ำว่า “เราไม่ได้ลงมติหรือใช้อำนาจอะไร เราเป็นตัวแทนประชาชน ถ้าเราไม่พูดและประชาชนจะพูดผ่านใคร” ดังนั้นความคิดเห็นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทุกท่านจึงมีความสำคัญต่อการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร

โดยเฉพาะท่านที่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างหรือเห็นไม่เห็นด้วยในมุมมองต่าง ๆ ก็จะจดบันทึกไว้โดยละเอียดเพื่อรวบรวมนำเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย ตามหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 เรื่อง ขอทราบแนวทางการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครบริหารราชการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอน


กรุงเทพมหานครยืนยันว่าการยื่นญัตติดังกล่าวเป็นไปเพื่อชี้แจงรายละเอียดในส่วนการบริหารจัดการในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครได้รับทราบ และเป็นการอธิบายให้ประชาชนเข้าใจเท่านั้น ทั้งนี้สภากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ถือเป็นส่วนสำคัญตามโครงสร้างการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร และมีหน้าที่ในการพิจารณาความเหมาะสมการใช้จ่ายงบประมาณของกรุงเทพมหานครให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งกับกรุงเทพมหานครและพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพฯ

ความคิดเห็นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ถือเป็นเสียงสำคัญที่สะท้อนความต้องการของประชาชน ดังนั้นหากสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษารายละเอียดในเรื่องนี้ให้รอบคอบรอบด้าน โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นกรรมการหรือให้ข้อมูล ฝ่ายบริหารก็พร้อมที่จะดำเนินการ


ทั้งนี้ การนำเรื่องเข้าสู่สภากรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานครจะได้หารือร่วมกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความคิดเห็นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทุกท่านล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยกันนำปัญหาของพี่น้องประชาชนไปสู่ทางออก ดังนั้นจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร จะได้มีโอกาสปรึกษาหารือกัน ร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/10/2022 6:36 pm    Post subject: Reply with quote

ขบวนอำนาจสับราง ยื้อราคารถไฟฟ้าสายสีเขียว
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 ตุลาคม 2565 - 10:38 น.

ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว เคลื่อนขบวนไปหยุดอยู่ตรงที่เส้นแบ่งของอำนาจ 3 ฝ่าย

ฝ่ายแรก คือ รัฐบาลกลางในนามของกระทรวงมหาดไทย

ฝ่ายที่สอง คือ รัฐบาลท้องถิ่นในนามของผู้ว่าฯ กทม.

ฝ่ายที่สาม คือ ฝ่ายนิติบัญญัติท้องถิ่น ในนามของสภากรุงเทพมหานคร

ฝ่ายที่ควรตกลงกันได้มากที่สุด คือ ผู้ว่าฯ กทม. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งกุมอำนาจทั้งฝ่ายบริหาร และมีเครือข่าย สมาชิกสภา กทม. หรือ ส.ก.ไว้ 2 พรรค คือ เพื่อไทย 20 ที่นั่ง และก้าวไกล 13 ที่นั่ง รวมกันแล้วเกินกึ่งหนึ่ง 33 เสียง จากทั้งหมด 50 เสียง

แต่ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายและข้อบังคับ รวมทั้งผลผูกพันในการตัดสินใจใช้อำนาจแก้ปัญหาที่มีมูลค่าเกือบแสนล้าน อาจทำให้ต้องตกเป็นจำเลยในคดีใดคดีหนึ่งในอนาคต

นี่จึงเป็นเหตุให้ นายชัชชาติ ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้อง ถอนญัตติการแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ออกจากวาระการประชุมสภากรุงเทพมหานคร ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 65

หลังจากนี้ ผู้ว่าฯ กทม. ต้องเคลื่อนขบวนรถไฟฟ้าวนไปเกือบจะต้องตั้งต้นทางใหม่ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.ตอบหนังสือความเห็นของกระทรวงมหาดไทย 2.พิจารณาการชำระค่าจ้างเดินรถในส่วนต่อขยายช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า สามารถทำได้หรือไม่ และ 3.ปรึกษากับอัยการ เรื่องอำนาจของ กทม. ในส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ

ปมปัญหาแห่งอำนาจของฝ่ายบริหาร กทม. ที่ไม่อาจผลักดันการแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ ตามความเห็นของฝ่ายสมาชิกสภา กทม. พรรคก้าวไกล คือ การใช้อำนาจอาจขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562 แต่ฝ่ายบริหาร คือนายชัชชาติ ระบุว่า “ไม่ได้เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562 แต่อย่างใด”

ถ้อยความในการตอบความเห็นจาก กทม. ส่งถึงกระทรวงมหาดไทย คือ การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น เห็นควรต้องผ่านพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และขอสนับสนุนในค่าใช้จ่ายด้านงานโยธาจากรัฐบาลกลาง 5 หมื่นล้าน ในช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

พร้อมกันนี้ได้ตั้งประเด็นคำถามเพื่อหาแนวทางในการอนุมัติการจ่ายค่าจ้างเดินรถของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า ตามสัญญาจ้างเดินรถระหว่างกรุงเทพมหานคร กับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เนื่องจากกรุงเทพมหานคร หยุดการจ่ายค่าตอบแทนแก่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ในส่วนนี้มาตั้งแต่ปี 2562 เพราะค่าจ้างในการเดินรถ เป็นส่วนหนึ่งที่คณะกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562 ใช้ในการเจรจา และต้องการให้กรุงเทพมหานครในฐานะลูกหนี้ ต้องการจะหยุดการเดินของทั้งดอกเบี้ยและค่าจ้างเดินรถค้างจ่ายที่สะสม

ปมปัญหาทับซ้อนเรื่องอำนาจ ทั้ง 3 ฝ่าย และอีก 2 องค์กร คือ กรุงเทพมหานครและกรุงเทพธนาคม ต้องรอคำตอบจากอัยการสูงสุด ตาม “บันทึกข้อตกลงการมอบหมาย ให้บริการเดินรถ และติดตั้งระบบเดินรถและซ่อมบำรุง ระหว่างกรุงเทพมหานครและกรุงเทพธนาคม”

ผู้ว่าฯ กทม.ต้องการความชัดเจนใน 2 ประเด็น คือ ส่วนแรก จะต้องเปลี่ยนหนังสือบันทึกข้อตกลงการมอบหมายนี้เป็นสัญญาหรือไม่ และการเก็บค่าโดยสารในรถไฟฟ้าส่วนนี้ อำนาจในการกำหนดอัตราค่าโดยสารเป็นของกรุงเทพมหานคร หรือกรุงเทพธนาคมกันแน่

แม้กระทั่งการจ่ายค่าจ้างเดินรถของบริษัท กรุงเทพธนาคม ปีละราว 6 พันล้าน ก็ยังต้องการคำตอบจาก “บริษัทที่ปรึกษา” มาตีราคาว่าแพงเกินไปหรือไม่

ทั้งหมดเป็นภารกิจของฝ่ายบริหาร กับอีก 2 องค์กร ที่ผูกมัดร้อยกันจนยากที่จะสางให้จบภายใน 100 วัน ตามที่ได้หาเสียงไว้

เวลาที่เคลื่อนไปข้างหน้า คู่ขนานกับการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่เคยอ้างถึงว่าเกินกึ่งหนึ่งอยู่ในมือของชัชชาติ ในเวลานี้เมื่อถึงช่วงการนับถอยหลังไปสู่การเลือกตั้งใหญ่ปีหน้า ปัญหาการช่วงชิงคะแนนนิยมสำหรับสนามใหญ่ ในเมืองหลวงระหว่างพรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล จึงเป็นอีกปมใหญ่ปมหนึ่งที่มัดปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวให้แน่นยิ่งขึ้น

หลังจากญัตติดังกล่าวถูกถอนจากการประชุมคราวล่าสุด และเป็นช่วงเวลาการปิดสภากรุงเทพมหานครในปี 2565 สมัยที่ 4 พอดิบพอดี

กว่าการประชุมสภากรุงเทพมหานคร จะเปิดประชุมอีกครั้ง คือในการประชุมสภาสมัยที่ 1 ในเดือนมกราคม 2566

ระหว่างนี้แม้ว่าทั้งฝ่ายสภา กทม.ที่มีองค์ประกอบ ของ ส.ก. พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล จะถือว่าหมดภาระในการพิจารณาปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวไปแล้ว

และฝ่ายหัวเรือใหญ่ของพรรคก้าวไกล นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในฐานะประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานคร ยืนยันสำทับว่า คำสั่ง คสช.ที่ 3/2562 ข้อที่ 5 ระบุไว้ชัดเจนว่า อำนาจของคณะกรรมการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้นได้ยุติไปแล้ว และเป็นอำนาจของ รมว.มหาดไทย ที่จะแสวงหาแนวทางอื่น เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ต่อไป

“ในทางปฏิบัติ แค่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือตรงให้ผู้ว่าฯ กทม. จากนั้นผู้ว่าฯ กทม.มีอำนาจเต็มที่จะตอบหนังสือฉบับนั้นได้เอง โดยไม่ต้องผ่านสภากรุงเทพมหานครก็ได้”

ในขณะที่ฝ่ายบริหาร กทม. โดยโฆษกฯ กทม. ออกมายืนยันเช่นกันว่า อำนาจในการพิจารณาแนวทางบริหารจัดการและการจัดเก็บค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น กทม.ยืนยันว่าญัตติดังกล่าวไม่ได้เป็นการใช้อำนาจเพื่อขอมติสภา กทม. เพื่อนำไปใช้ดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียงการขอรับความเห็นของ ส.ก. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามขั้นตอน

นั่นหมายความว่า ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว เรื่องค่าโดยสาร การบริหารอนาคต และการสางหนี้ที่พัวพัน ต้องถูกโยนลูกกลับไปที่รัฐบาลกลางอีกครั้ง เพื่อหาคำตอบและผลผูกพันตามกฎหมาย ที่เปิดทางให้ทุกฝ่ายได้หลักประกันในการใช้อำนาจอย่างปราศจากข้อกังขา และการันตีว่าไม่มีคดีค้างคาในอนาคต

ประเด็นแรก คือรอการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ในการให้ความเห็นชอบผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งคณะรักษาสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562

ประเด็นที่สอง เรื่องการรอพิจารณาเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในงานโยธาของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งเป็นไปตามมติของคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 2/2560 ที่เห็นชอบในหลักการให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณให้แก่กรุงเทพมหานคร สำหรับการรับโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ประเด็นที่ 3 คือรอคำตอบที่รอจากกระทรวงมหาดไทย เรื่องหนี้สินและค่าใช้จ่ายในการจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ซึ่งการจ้างเดินรถส่วนนี้มีหนังสือสัญญาชัดเจน กรุงเทพมหานครจะต้องชำระ แต่ติดปัญหาที่มัดไว้ว่า หนี้และค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขของผลการเจรจาของคณะกรรมการที่ดำเนินการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562 และต้องใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีชี้ขาด

กทม.จึงต้องรอลุ้นความหวังว่า จะได้ไฟเขียวจากกระทรวงมหาดไทย ให้เดินหน้าสางหนี้ หรือให้เจรจาชะลอการจ่าย และหากต้องจ่ายหนี้ให้เอกชน กระทรวงมหาดไทยอาจต้องโยนเผือกร้อนรถไฟฟ้าสีเขียวทั้งขบวน กลับไปไว้ในมือของคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

และแน่นอนว่า ในคณะรัฐมนตรี ย่อมมีร่างเงาของพรรคภูมิใจไทยในกระทรวงคมนาคม ที่ตระหง่านต้านแนวทาง ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมาแล้วหลายรอบ

ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ขยายวงไปทั่วทั้งกระดานอำนาจการเมืองส่วนท้องถิ่น และการเมืองระดับชาติ


อนาคตรถไฟฟ้าสายสีเขียว เมื่อ สภา กทม.ถอดญัตติผู้ว่าฯชัชชาติ
Oct 28, 2022
ประชาชาติธุรกิจ

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เปิด 3 ขั้นตอน ปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว ภายหลังสภา กทม.ถอนญัตติ ยันทำถูกต้อง เป็นเพียงการขอความเห็น ไม่ได้เป็นการขอมติ


https://www.youtube.com/watch?v=4ngPL4f3X9s
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 93, 94, 95 ... 100, 101, 102  Next
Page 94 of 102

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©