Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273715
ทั้งหมด:13585011
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 95, 96, 97 ... 100, 101, 102  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/03/2023 4:14 pm    Post subject: Reply with quote

ชี้เหตุ “ชูวิทย์” ขยับเรื่องรถไฟฟ้าหวังป้องเอกชน เหตุ กทม.ต่อสัญญาสายสีเขียวที่ส่อแววทุจริต
ผู้จัดการออนไลน์ 7 มี.ค. 2566 14:24 น.

รายงานข่าวจากพรรคภูมิใจไทยแจ้งว่ากรณีที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ อดีตนักการเมืองและนักธุรกิจอาบอบนวด ออกมาเคลื่อนไหวโจมตีโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มว่าอาจมีการทุจริตเพราะมีการเตรียมรับเงิน 30,000 ล้านบาทให้บางพรรคหากโครงการนี้เดินหน้า เพราะล่าสุดศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายกฟ้องในคดี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด มหาชน (บีทีเอส) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารการคัดเลือกเอกชนไปแล้วก็ตามแต่ยังมีคดีที่เกี่ยวข้องอยู่ในชั้นศาลอีกสามคดีนั้น

แกนนำพรรคภูมิใจไทยทราบแล้วว่า พรรคและกลุ่มทุนใดบ้างที่ให้ข้อมูลนายชูวิทย์นำมาเคลื่อนไหวซึ่งเป็นประเด็นเก่าและไม่มีหลักฐาน นอกจากนี้ ยังทราบว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้ของนายชูวิทย์มีการเชื่อมโยงไปยังการตรวจสอบการทุจริตกรณีเมื่อกลางปี 2555 กรุงเทพมหานคร(กทม.)ได้ลงนามสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม (เคที) และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส วงเงิน 190,054.8 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปีโดยกรณีนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)

รายงานข่าวจากพรรคภูมิใจไทยแจ้งว่า พรรคเพื่อไทยยื่นเรื่องนี้ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)สอบสวนและมีการชี้มูลความผิด แม้จะมีการยื่นเรื่องนี้ต่ออัยการสูงสุดไปแล้ว โดยเมื่อปี 2556 อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องเอกชนบางราย และให้ดีเอสไอส่งเรื่องนี้ต่อ ป.ป.ช.พิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งฝ่ายค้านยังอภิปรายเรื่องนี้เป็นระยะ และหากนับอายุความการพิจารณาคดีถึงตอนนี้ก็ใกล้จะขาดอายุความในปีนี้ จึงเป็นไปได้ว่านายชูวิทย์ประสานงานกับเอกชนบางรายที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้เพื่อเคลื่อนไหวเพราะหากมีการชี้มูลความผิดกับผู้บริหาร กทม.และเอกชนรายนี้ จะส่งผลกระทบกับเอกชนรายนี้ค่อนข้างมากกับสัมปทานที่ได้รับจากภาครัฐ

รายงานข่าวจากพรรคภูมิใจไทยแจ้งว่า ไทม์ไลน์ของเรื่องนี้ เริ่มจากเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2555 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ลงนามสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม (เคที) และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ในวงเงิน 190,054.8 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี ในการบริหารการเดินรถส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง ส่วนต่อขยายตากสิน-วงเวียนใหญ่ ระยะเวลา 30 ปี และต่อสัญญาโครงสร้างบีทีเอสตามสัญญาสัมปทานเดิม (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน 23 กิโลเมตร) ที่จะสิ้นสุดในปี 2572 โดยจ้างบริหารต่ออีก 13 ปี และ ส่วนต่อขยายจากวงเวียนใหญ่-บางหว้า (เพชรเกษม)ที่เปิดให้บริการปี 2555 อีก 30 ปี

ในครั้งนั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า การลงนามสัญญาเป็นการจ้างบริหารระยะยาว ไม่ใช่การขยายสัมปทาน ซึ่ง กทม.จะได้รายได้ถึง 3 แสนล้านบาท หลังจากที่สัมปทานของเส้นทางเดิมสิ้นสุดทรัพย์สินจะเป็นของ กทม.และมีรายได้จากค่าโดยสารทั้งหมด

ต่อมามีการยื่นเรื่องให้ดีเอสไปตรวจสอบ และ วันที่ 2 ม.ค.2556 ดีเอสไอได้ทำหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาผู้บริหารกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 9 คน และอีก 2 องค์กร คือ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในข้อหา ร่วมกันประกอบกิจการรถรางโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรณีที่กรุงเทพมหานครร่วมบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ทำการต่อสัญญาเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายใหม่ 3 เส้นทาง เพิ่มเติมจากสัญญาสัมปทานเดิม เป็นเวลา 30 ปี กับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

วันที่ 10 ก.ย.2556 สำนักงานอัยการสูงสุด สั่งไม่ฟ้อง นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหารบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ และมีความเห็นส่งสำนวนของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กับพวกรวม 10 คน ส่งคืนให้ดีเอสไอ เพื่อให้ทางดีเอสไอส่งสำนวนต่อไปยัง ป.ป.ช.ดำเนินการพิจารณาไต่สวนต่อตามอำนาจหน้าที่ เพื่อจัดรูปแบบองค์อำนาจการสอบสวนให้มีความเป็นระบบ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ต่อมาช่วงกลางเดือน พ.ย.2564 ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้หารือกันในคดีที่ ป.ป.ช. ได้มีมติแต่งตั้งองค์คณะชุดใหญ่ ไต่สวนฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ กับพวก กรณีว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางไปจนถึงปี 2585 ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงและไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และเอื้อประโยชน์ให้แก่ BTSC เพียงรายเดียว โดยที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติให้ กรรมการ ป.ป.ช.เจ้าของสำนวนคดี รับข้อสังเกตของที่ประชุม ป.ป.ช.ไปดำเนินการไต่สวนฯเพิ่มเติมใน 7 ประเด็น

รายงานข่าวจากพรรคภูมิใจไทยแจ้งว่า สรุปคือเจ้าของสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวและคนที่ค้านการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มคือเอกชนรายเดียวกัน เพราะอย่าลืมว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย.2565 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษายกฟ้อง คดีที่ อท.30/64 กรณี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ยื่นฟ้อง นายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นจำเลยที่ 1 และพวกรวม 7 คน ซึ่งเป็นคณะกรรมการ มาตรา 36 ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และไม่กี่วันที่ผ่านมาศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายกฟ้องในคดี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด มหาชน (บีทีเอส) ยื่นฟ้อง คณะกรรมการคัดเลือกฯ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารการคัดเลือกเอกชนได้

เมื่อศาลตัดสินแบบนี้ก็ต้องยุติ และหาก ป.ป.ช.ชี้มูลกรณีการต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวว่ามีมูลความผิด เรื่องนี้จะกระทบกับชื่อเสียงและราคาหุ้นของเอกชนรายนี้อย่างไร และต้องสอบถามนายกรัฐมนตรีว่าการต่อสัญญาให้เอกชนรายนี้จะเป็นโมฆะหรือไม่หากมีการชี้มูลจาก ป.ป.ช. ต้องถามว่ารัฐบาลจะทำอย่างไรต่อไปในเรื่องนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/03/2023 11:29 am    Post subject: Reply with quote

ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหา “สุขุมพันธ์ุ” กับพวก 13 ราย ปมฮั้วประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียว
เดลินิวส์ 11 มีนาคม 2566 20:05 น.
การเมือง

ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหา "สุขุมพันธ์ุ" กับพวก 13 ราย ปมฮั้วประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพียงเจ้าเดียว

เมื่อวันที่ 11 มี.ค. รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติแจ้งข้อกล่าวหา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเพมหานคร และพวก รวม 13 คน กรณีว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ไปจนถึงปี 2585 ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงและไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และเอื้อประโยชน์ให้แก่ BTSC เพียงรายเดียว ตามที่องค์คณะไต่สวนเสนอ

ทั้งนี้สำหรับผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 13 ราย ประกอบด้วย

1.ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเพมหานคร

2.นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ตำแหน่งรองผู้ว่ารายการกรุงเพฆหานคร

3.นายประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ ตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด

4.นายอมร กิจเขวงกุล ตำแหน่งกรรมการบริษัท กรุงเทพอนาคม จำกัด

5.นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร

6.นางนินนาท ซลิตานนท์ ตำแหน่งรองปลัดกรุงเทพมหานคร

7.นายจุมพล สำเภาพล ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง

8.นายธนา วิชัยสาร ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง

9.นายกฤษณ์ เกียรติพนชาติ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองการขนส่ง

10.นายคีรี กาญจนพาสน์ ตำแหน่งกรรมการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

11.นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ตำแหน่งกรรมการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)

12.บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้รับจ้างในโครงการบริหารจัดการระบบยนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ตามสัญญาเลขที่ 1/2555 ลงวันที่ 6 พ.ค.2555 และผู้บริหารระบบในสัญญาการให้บริการเดินรถและช่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เลขที่ กร.ส. 006/2555ลงวันที่ 3 พ.ค.2555

13.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการในสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เลขที่กร.ส…6/2555 ลงวันที่ 3 พ.ค.2555 

รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 13 ราย มีข้อกล่าวหาว่า กระทำทุจริตในการทำสัญญาการให้บริการเดินรถ และซ่อมบำรุงโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้ว่าจ้าง ในฐานะวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC (ในเครือ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS) ผู้รับจ้าง เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2555 ในวงเงินกว่า 190,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการจ้างเดินรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (สถานีอ่อนนุช-แบริ่ง) 2. สายสีลม (สถานีสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่) 3.ว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าในเส้นทางสถานีหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2572 ออกไปอีก 13 ปี โดยให้สัญญาว่าจ้าง BTSC เดินรถทั้ง 3 เส้นทางดังกล่าว ไปสิ้นสุดพร้อมกันในปี 2585.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 13/03/2023 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้โดยสารตำหนิ BTS ห้าแยกลาดพร้าว เล่นอะไรกัน กั้นจุดใช้ลิฟต์ อยากใช้ให้โทร.บอก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14:02 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14:02 น.

เสียงสะท้อนจากผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS สถานีห้าแยกลาดพร้าว โอดใช้อะไรคิดกั้นจุดใช้ลิฟต์ของผู้โดยสาร หากอยากใช้ให้โทร.บอก ถาม โทร.ไปเมื่อไหร่จะมา หากนักท่องเที่ยวอ่านไทยไม่ออก หรือผู้พิการพูดไม่ได้จะทำยังไง

เมื่อวันที่ 11 มี.ค ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ตำหนิ BTS สถานีห้าแยกลาดพร้าว หลังมีการติดป้ายถึงผู้โดยสารที่ต้องการใช้ลิฟต์ให้โทร.แจ้งพนักงานหรือติดต่อที่ห้องจำหน่ายตั๋วจึงจะมีการมาเปิดลิฟต์ให้ใช้บริการ โดยผู้โพสต์ได้เผยภาพที่ตนเองมาพร้อมลูกสาวตัวน้อยที่นั่งบนรถเข็นเด็กยืนอยู่หน้าลิฟต์ที่มีป้ายมากั้นไว้ ทั้งนี้ ผู้โพสต์ได้ระบุข้อความว่า

"ไม่รู้ว่าทำแบบนี้เพราะอะไร คนพิการหรือคุณแม่ที่มาคนเดียวกับรถเข็นเด็ก ต้องมายืนรอพนักงานให้มาเปิดให้เหรอ เล่นอะไรกัน แล้วถ้าเป็นคนพิการต่างชาติที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ล่ะ โทร.ไปเมื่อไหร่จะรู้เรื่องว่ามารอขึ้นลิฟต์ แล้วถ้าเป็นคนพิการซ้ำซ้อนเป็นใบ้ด้วยนั่งรถเข็นด้วย ทำไงจะได้ขึ้น คือคิดยังไงๆ ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงปิดไม่ให้ใช้ ต้องโทร.ตาม ถ้าไม่มีมือถือหรือมือถือเงินหมดแบตฯ หมดอีกล่ะ

ไม่ได้เรื่อง ใครเป็นคนสั่งให้ทำแบบนี้ อาทิตย์ก่อนมาก็ปิด วันนี้มาก็ปิด เราก็ไม่ได้พิการแต่มีความจำเป็นต้องใช้ค่ะ เรามากับลูกสองคน ลูกแค่ขวบครึ่งเข็นรถเข็นเด็กมา มันลำบากมากนะคะกับการแบกรถเข็นที่ลูกนั่งอยู่เดินลงบันไดไป เพราะลูกอายุแค่นี้จะสั่งให้ยืนรอแม่ข้างบนก่อน ให้แม่ยกรถเข็นลงไปก่อนเดี๋ยวแม่ขึ้นมารับนะคะลูก มันเป็นไปได้เหรอคะ เรารีบเรารอไม่ได้ เราเลยต้องแบกรถเข็นที่ลูกนั่งอยู่ขึ้นลงบันไดเอาค่ะ มันก็เกือบจะสู่ขิตกันทั้งแม่ทั้งลูกนะคะ

ต้องแฮชแท็กอะไรถึงจะถึงคนรับผิดชอบหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคะเนี่ย ถ้าเสียก็ควรจะแจ้งซ่อม ซึ่งควรจะใช้เวลาซ่อมไม่เกิน 1 วันนะคะ ทำเหมือนจะไม่ซ่อม?"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/03/2023 7:21 am    Post subject: Reply with quote

ชัชชาติ เผยสายสีเขียวต่อขยาย ยังนั่งฟรีไม่มีกำหนด
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 มีนาคม 2566 - 21:08 น.

ชัชชาติ เผยสายสีเขียวต่อขยาย ยังนั่งฟรีไม่มีกำหนด รอเคลียร์ค่าจ้างเดินรถบีทีเอส

วันที่ 15 มีนาคม 2566 มติชนรายงานว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงปัญหาของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายว่า กทม.ยังคงพร้อมที่จะร่วมพูดคุยกับทางบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC กรณีที่พนักงานของบีทีเอสเดินทางไปทำเนียบรัฐบาลยื่นข้อเรียกร้องจากรัฐบาลให้ชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-คูคตและแบริ่ง-สมุทรปราการ

โดยกำหนดระยะเวลา 7 วัน หากไม่ดำเนินการจะหยุดการเดินรถส่วนต่อขยาย โดยกทม.มองว่าหากเกิดเหตุการณ์หยุดเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายขึ้นจะกระทบต่อประชาชน ซึ่งทางกทม.และบีทีเอส คงไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนขึ้นในการเดินทาง

“ปัจจุบันการเดินรถส่วนต่อขยายจะเป็นส่วนที่บีทีเอสรับจ้างเดินรถให้กทม. มีสัมปทานล่วงหน้ายาวไปถึงปี 2585 โดยส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วง ยังคงให้บริการกับประชาชนฟรี หากยังไม่มีข้อยุติเรื่องสัญญาและสภากทม.ยังไม่อนุมัติคงต้องเปิดบริการฟรีอย่างไม่มีกำหนด” นายชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ซึ่งส่วนต่อขยายดังกล่าวมีผู้ใช้บริการหลายแสนคน เพื่อป้อนเข้าสู่ส่วนสัมปทานที่เป็นเส้นทางไข่แดงแบบฟรีๆ ให้บีทีเอส ทำให้บีทีเอสมีรายได้และได้ค่าแรกเข้าทันที ถือเป็นผลประโยชน์ที่ทำให้บีทีเอสมีรายได้จุนเจือบ้าง แม้ยังไม่ได้ค่าจ้างซึ่งค่าเดินรถที่กทม.ยังไม่จ่าย เพราะเป็นเรื่องกฎระเบียบต่างๆ รวมถึงยังมีเงื่อนไขทางกฎหมายที่ยังต้องดูอยู่ คือ

เรื่องที่เข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่ต้องได้รับการอนุมัติก่อน เพราะการต่อสัมปทานโครงการดำเนินการตาม ม.44 ซึ่งเอกชนจะรับผิดชอบค่าเดินรถจนกว่าจะหมดสัมปทาน จะมีเรื่องค่าโดยสารรวมอยู่ด้วย ปัจจุบันเรื่องยังค้างอยู่ครม.ตั้งแต่ปี 2562

“ซึ่งม.44 เท่ากับพ.ร.บ.เป็นกฎหมายที่ต้องปฎิบัติตาม ซึ่งม.44 ชัดเจนว่าให้ทำอะไร ถ้าเราไม่ทำตามถือว่าผิดกฎหมายเช่นกัน ถ้าไม่ไหวคงต้องมานั่งคุยกันอีกที” นายชัชชาติกล่าว

นายชัชชาติ กล่าวว่า สำหรับข้อพิพาทค่าจ้างเดินรถ การจ่ายหนี้ยังคงต้องดูตามข้อสัญญาที่ค้างอยู่กับกทม.และต้องมีการหารือร่วมกัน รวมถึงบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด(KT)เป็นคู่สัญญากับบีทีเอส จะต้องหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งยังคงเป็นข้อกังวลที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้
    “ส่วนตัวไม่อยากให้เรื่องยืดเยื้อ ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาอยู่แล้ว แต่กทม.ก็ต้องทำตามระเบียบ ทำให้ถูกขั้นตอน ทุกอย่างต้องรอบคอบ เพราะปัญหามันเกิดแล้ว เราก็พร้อมพูดคุยกับบีทีเอสเพื่อร่วมกันหาทางออก และเชื่อว่าบีทีเอสคงไม่ทำสิ่งที่เกิดผลกระทบต่อประชาชน หรือเอาประชาชนมาต่อรอง” นายชัชชาติกล่าว
นายชัชชาติยังตอบคำถามนโยบายที่เคยหาเสียงในช่วงของการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ในเรื่องเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นว่า ในสายที่เป็นไข่แดงถือว่าอัตราค่าโดยสารในปัจจุบันเฉลี่ยในช่วงราคา 35-40 บาท ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม และไม่มีปัญหาอะไรในส่วนนี้

แต่ในส่วนต่อขยายที่กทม.ว่าจ้างบีทีเอสที่ยาวไปอีก 13 ปี ที่ทำสัญญาไปแล้ว พบว่ามีอัตราค่าจ้างเดินรถในส่วนต่อขยายที่ยังสูงเป็นแสนล้าน ทำให้กทม.จะต้องเก็บค่าโดยสารที่สอดคล้องกับต้นทุนค่าจ้างที่สูงตาม ปัจจุบันอยู่ระหว่างหาแนวทางในการต่อรองกับบีทีเอสลดค่าจ้างเดินรถกับบีทีเอสในส่วนต่อขยาย

เพื่อทำให้การจัดเก็บค่าโดยสารถูกลง และบีทีเอสยังได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมในการรับจ้างเดินรถ อย่างไรก็ตามยังคงต้องรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาดูแลและพิจารณาในเรื่องของประเด็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นและแก้ไข

นายชัชชาติกล่าวว่า ส่วนที่พรรคการเมืองมีนโยบายหาเสียงเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย และ 40 บาทตลอดสายนั้น ต้องเข้าใจว่าปัญหาต่างๆ ในเรื่องของรถไฟฟ้าที่เป็นประเด็นยืดเยื้อมานาน เพราะมีหลายเจ้าของ ซึ่งสายสีน้ำเงิน สีม่วง สีเหลือง สีชมพู เป็นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) แอร์พอร์ตลิงค์เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ส่วนสายสีเขียวเป็นของกทม.

ซึ่งกทม.อยากให้ทางรัฐบาลนำรถไฟฟ้าสายต่างๆ กลับไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีความเชี่ยวชาญเพียงหน่วยงานเดียวกำกับดูแลเอง เพราะจะทำให้การบริหารจัดการโครงข่ายรถไฟฟ้าง่ายขึ้น รวมถึงสามารถควบคุมและกำหนดอัตราค่าโดยสารให้เหมาะสม ถูกลง เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
    “สายสีเขียว หากถามเราก็ไม่ได้อยากเป็นเจ้าของ เพราะเราไม่มีความเชี่ยวชาญในการบริหาร ถ้าเปิดโอกาสให้คืนรัฐบาลได้เราก็ยินดีที่จะคืน และหาแนวทางร่วมกันในการบริหารจัดการ จะทำให้กทม.ได้รับผลตอบแทนร่วมกันด้วย” นายชัชชาติกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2023 3:58 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ผู้โดยสารตำหนิ BTS ห้าแยกลาดพร้าว เล่นอะไรกัน กั้นจุดใช้ลิฟต์ อยากใช้ให้โทร.บอก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14:02 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14:02 น.


ปรับปรุงลิฟต์สถานีบีทีเอสลาดพร้าว อำนวยความสะดวกผู้โดยสารทุกกลุ่ม
ข่าวทั่วไทย - กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 15 มี.ค. 2566 08:35 น.

นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผอ.สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กล่าวกรณีสื่อออนไลน์วิจารณ์การใช้บริการลิฟต์โดยสารในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีห้าแยกลาดพร้าว มีขั้นตอนยุ่งยากว่า สจส.ได้ประสานแจ้งบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ให้ตรวจสอบบริเวณทางเชื่อมระหว่างห้างสรรพสินค้า โดยปรับแก้ไขบันไดให้เป็นทางลาด ปรับปรุงขั้นตอน และเพิ่มระบบการเรียกใช้บริการลิฟต์ให้เป็นแบบปุ่มกด เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการเรียกใช้บริการ ขณะเดียวกันได้เร่งรัดจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานีรถไฟฟ้า BTS เช่น ติดตั้งลิฟต์โดยสาร ติดตั้งบันไดเลื่อน และติดตั้งราวกั้นกันตก เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารทุกกลุ่ม.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/03/2023 9:35 am    Post subject: Reply with quote

กางไทม์ไลน์จ้างเดิน 'รถไฟฟ้าสายสีเขียว' BTS ยันไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน
กรุงเทพธุรกิจ 18 มี.ค. 2566 เวลา 7:12 น.

“บีทีเอส” เปิดที่มาสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ยันทุกถูกต้องตามกระบวนการกฎหมาย ผ่านการหารือสำนักงานกฤษฎีกา ชี้ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน

Key Points

‘บีทีเอส’ ยืนยันสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าถูกต้องตามกฎหมาย
สำนักงานกฤษฎีกาเคาะสัญญาไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน
เตรียมต่อสู้แก้ข้อกล่าวหา ป.ป.ช.ปมฮั้วประมูล
เดินหน้าทวงหนี้จ้างเดินรถสะสมกว่า 5 หมื่นล้านบาท
สัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นที่พูดถึงอย่างมากตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายหลังเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2566 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติแจ้งข้อกล่าวหา ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) และพวกรวม 13 คน กรณีว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง เป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี 2555-2585


โดยมีการทำสัญญากันเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2555 ภายใต้วงเงินกว่า 1.9 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็น

1. สัญญาจ้างเดินรถส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (สถานีอ่อนนุช-แบริ่ง)

2. สัญญาจ้างเดินรถส่วนต่อขยายสายสีลม (สถานีสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่)

3. ว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าในเส้นทางหลักช่วงสถานีหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2572 ให้มีการจ้างเดินรถต่อออกไปอีก 13 ปี

ส่งผลให้สัญญาว่าจ้าง BTSC เดินรถทั้ง 3 เส้นทางดังกล่าว จะไปสิ้นสุดพร้อมกันในปี 2585 ซึ่ง ป.ป.ช.กล่าวหาว่าเป็นการกระทำสัญญาที่หลีกเลี่ยงและไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และเอื้อประโยชน์ให้แก่ BTSC เพียงรายเดียว

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท BTSC เปิดเผยถึงข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้น พร้อมไล่เรียงไทม์ไลน์ของการทำสัญญาจ้างเดินรถดังกล่าว โดยระบุว่า เงื่อนไขสัญญาการเดินรถของรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ทำกับกรุงเทพมหานคร เป็นรูปแบบสัญญาจ้างการเดินรถที่ BTSC รับจ้างจากบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ กทม.ถือหุ้น 100% และสัญญาจ้างนั้นได้ผ่านการขอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยนายพิจิตต์ รัตกุล เป็นผู้ว่าราชการ กทม. ซึ่งในเวลานั้นมีนโยบายที่จะพัฒนาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว จัดทำในรูปแบบโครงการเอกชนร่วมลงทุนรัฐ (พีพีพี) แต่มีโมเดลว่าเอกชนจะต้องลงทุน 100% คล้ายกับการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียวหลักที่ BTSC เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด

โดยในสมัยนั้น กทม.ได้เปิดประมูลเพื่อจัดหาเอกชนร่วมลงทุน แต่กลับไม่มีเอกชนรายใดยื่นข้อเสนอ จึงได้มีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2543 และได้มีมติเห็นชอบให้ กทม.เจรจาตรงกับ BTSC เพื่อเป็นผู้ลงทุนโครงการดังกล่าว เพราะเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการบริหารจัดการโครงการคล่องตัวด้วยเอกชนรายเดียว และไม่จำเป็นต้องสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ลดวงเงินการลงทุนไปได้จำนวนมาก

อย่างไรก็ดี เงื่อนไขของการเจรจาที่กำหนดว่าจะเอกชนต้องรับภาระการลงทุนทั้งหมด 100% นั้น BTSC ยืนยันว่าไม่สามารถทำได้ และต้องการให้ภาครัฐช่วยอุดหนุนเงินค่าก่อสร้างงานโยธาคล้ายกับการลงทุนรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ในสมัยนั้น ส่งผลให้เจรจามาจนถึงสมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการ กทม.BTSC จึงแจ้งไปที่ กทม. ว่า หากลงทุนเหมือนโครงการเดิม 100% ยืนยันว่าไม่สามารถทำได้ ดังนั้น BTSC จึงเห็นว่าการเจรจาไม่เป็นผล และเมื่อต้องดำเนินการตามมติ ครม.จึงเข้าใจได้ว่าการเจรจาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนในครั้งนั้นจึงยุติลง

ขณะที่เข้าสู่ช่วงสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการ กทม.จึงได้เริ่มพัฒนาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานโยธาเอง แต่หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จจึงจำเป็นต้องจัดหาเอกชนมาเดินรถ และได้มีการหารือไปยังสำนักงานกฤษฎีกา ซึ่งชี้ว่าหากจะจ้างเดินรถไม่เข้าข่าย พรบ.ร่วมทุน กทม.จึงไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอน พรบ.ร่วมทุน

ต่อไปจึงได้มีการเริ่มขั้นตอนว่าจ้าง BTSC ตามขั้นตอนทางกฎหมายของ กทม.เอง ซึ่งมีการจ้างเดินรถทั้งในส่วนต่อขยาย และเส้นทางหลัก ช่วงสถานีหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2572 หลังจากหมดสัญญาจะเป็นการจ้างเดินรถ และทำให้ทั้ง 3 สัญญาไปสิ้นสุดพร้อมกันในปี 2585

ทั้งนี้ BTSC จึงยืนยันได้ว่าสัญญาว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีกระบวนการถูกต้องตามกฎหมาย

1. เมื่อปี 2550 กทม. ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการที่ กทม. หรือบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัดจะว่าจ้างเอกชนเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัย ในคำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 222/2550 แล้วโดยสรุปว่า การจ้างเอกชนเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายไม่ใช่การร่วมลงทุนหรือให้สิทธิสัมปทานภายใต้กฎหมายร่วมทุน

2. การทำสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายได้เคยผ่านการสอบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ในปี 2555 แล้ว โดยภายหลังจากการสิ้นสุดการสอบสวนในปี 2556 กรมสอบสวนคดีพิเศษและสำนักงานอัยการสูงสุดได้เห็นควรไม่ฟ้อง BTSC

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันภาระหนี้สินคงค้างจากสัญญาจ้างเดินรถ ณ สิ้นเดือน ก.พ.2566 มีรวมประมาณ 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น

ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 (อ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า) และช่วงที่ 2 (แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) รวมจำนวน 2.7 หมื่นล้านบาท
ค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้า/เครื่องกล กว่า 2.28 หมื่นล้านบาท
ซึ่งขณะนี้ข้อพิพาทที่บีทีเอสได้ยื่นฟ้องเรียกเก็บหนี้สินดังกล่าวศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วว่าเป็นหนี้ที่ถูกต้อง และ กทม.ต้องชำระร่วมกับบริษัทกรุงเทพธนาคม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2023 11:30 am    Post subject: Reply with quote

สถานีเคหะฯ จ.สมุทรปราการ (E23) เป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว (สุขุมวิท) และยังมีอาคารจอดรถแล้วจรได้ 1,200 คัน ด้วย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=191823577060001&id=100086970807579
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/05/2023 8:24 am    Post subject: Reply with quote

'ชัชชาติ'พร้อมชงรัฐบาลใหม่ เร่งแก้ปมสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว
Source - ข่าวหุ้น
Friday, May 19, 2023 05:00

"ชัชชาติ" เตรียมหารือรัฐบาลใหม่ เร่งแก้ปมสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ค้างคากับ BTS-ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เล็งดันการพัฒนาที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งทำงาน ลดวิกฤตจราจร ลั่นพร้อมทำงานกับรัฐบาลใหม่ทุกชุด

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า การร่วมทำงานกับรัฐบาลชุดใหม่ ไม่ว่ารัฐบาลที่เข้ามาใหม่จะเป็นฝ่ายใด กทม. ก็พร้อมทำงานร่วมกัน เนื่องจากรัฐบาลคือคำสั่งของประชาชน จึงต้องเคารพคำสั่งของประชาชน ขณะที่ กทม.ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ร่วมมือเข้ามาแก้ไข เช่น ปัญหาสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ยังค้างคาอยู่ระหว่าง กทม.กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ในเครือบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS รวมทั้งการพัฒนาการเชื่อมต่อการขนส่งประเภทต่าง ๆ

ทั้งนี้ ยังมีปัญหาสำคัญ คือ การแก้ไขภาวะฝุ่น PM 2.5 ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลในเรื่องต่าง ๆ เช่น การประกาศ Low Emission Zone หรือการจำกัดปริมาณรถเข้าพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเป็นอำนาจของทางกรมขนส่งทางบกและตำรวจ หากมีนโยบายจากรัฐบาลด้วยจะทำให้โครงการเหล่านี้สำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้น

ส่วนประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องมีการหารือกัน คือเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งทำงาน หรือบ้านใกล้งาน งานใกล้บ้าน ซึ่งส่วนนี้ กทม. ไม่สามารถดำเนินการได้เอง เนื่องจากข้อจำกัดด้านที่ดินและอำนาจในการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยตรง หากรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนจะช่วยให้โครงการสำเร็จเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจรและปัญหาฝุ่น เพราะเมื่อมีบ้านใกล้งาน หรือใกล้โรงเรียนแล้ว จะช่วยลดระยะทางและเวลาในการเดินทางลง

ขณะที่ประเด็นต่อมาที่ต้องมีการหารือคือ พื้นที่สีเขียว และพื้นที่สาธารณะ ที่อยากเห็นหน่วยงานราชการต่าง ๆ ร่วมกันพัฒนาพื้นที่ว่างของหน่วยงาน เช่น ใต้ทางด่วน หรือทางรถไฟ มาเป็นพื้นที่สีเขียว หรือทำ Hawker Center ที่จะส่งผลให้การขายของบนทางเท้าลดลงอีกทางด้วย

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องแสงสว่าง หากรัฐบาลมีนโยบายให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เปลี่ยนหลอดไฟตามถนน ตรอกซอกซอยให้เป็นประเภท LED แล้ว ก็จะส่งผลให้โครงการสำเร็จได้เร็วขึ้น อีกทั้งการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดประเภท LED ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟประมาณครึ่งหนึ่งหากเทียบกับหลอดไฟประเภทเดิม ซึ่ง กฟน.ก็จะได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนค่าไฟริมทางสาธารณะอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทม. ได้ดำเนินการเองไปแล้วหลายเส้นทาง เช่น สีลม สาทร แต่ก็มีข้อจำกัดเพราะต้องจัดสรรงบประมาณในเรื่องนี้กับเรื่องอื่น ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข ให้มีความเหมาะสม

ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 19 พ.ค. 2566


คีรี เชื่อ “รัฐบาลชุดใหม่” สะสาง “ปมหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวได้”
ฐานเศรษฐกิจ 01 มิถุนายน 2566

เจ้าสัวคีรี บีทีเอส มองว่า “รัฐบาลชุดใหม่” จะเข้ามาช่วยสะสางปัญหา “รถไฟฟ้าสายสีเขียว-สีส้ม”ได้ คาดหวัง ให้จัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว เพื่อเริ่มทำงาน
"นายคีรี กาญจนพาสน์" ประธานกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ให้สัมภาษณ์กับฐานเศรษฐกิจ ในงานครบรอบ 23 ปี เนชั่นกรุ๊ป ถึง "ความคาดหวังต่อรัฐบาลชุดใหม่"

นายคีรี มองว่าเราจะได้รัฐบาลจาก 8 พรรคตามที่ร่วมเซ็นเอ็มโอยู ในฐานะที่ตนเป็นประชาชน และนักลงทุน คาดหวังให้มีการจัดตั้งรัฐบาล และ "เริ่มทำงานให้เร็วที่สุด" จะเป็นใครก็แล้วแต่ แต่ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก และทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลงแน่นอน

ประเด็นเรื่อง "หนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว" ที่ กทม.ยังค้างชำระบีทีเอส มองว่าปล่อยไว้แบบนี้ "บริษัทอาจทนไม่ไหว" ในฐานะผู้ลงทุนก็รับอยู่คนเดียวไม่รู้ว่ารัฐบาลและกทม. เข้าใจหรือไม่ ซึ่งมูลหนี้ 50,000 ล้านบาท มีอยู่ 2 ส่วนคือ ค่าเดินรถ กับค่าติดตั้งระบบ ซึ่งการก่อสร้างเสร็จแล้ว และเปิดให้เดินรถแล้ว เราก็อะลุ่มอล่วยมาให้แล้ว 2 ปี

ล่าสุดเมื่อ 28 พ.ค.66 ที่ผ่านมาก็ถึงกำหนด กทม.ต้องชำระ "ค่าติดตั้งระบบ" 20,000 กว่าล้านบาท และทางบริษัทได้ยื่นเรื่องไปทาง กทม.แล้ว หากปล่อยให้เอกชนแบกรับไปเรื่อยๆแบบนี้แล้ว "สุดท้ายผู้โดยสารจะลำบาก"

หากถามถึงรัฐบาลชุดใหม่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้กทม.ได้หรือไม่ นายคีรีตอบว่า ความจริงไม่รู้ว่าใครจะขึ้นมาเป็นรัฐบาลใหม่ แต่เห็นนโยบาย 8 พรรคนี้ก็มั่นใจว่าจะเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆในอดีต รวมถึงเรื่องนี้อย่างถูกต้อง

ส่วนเรื่องการประมูล "โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม" นายคีรีกล่าวว่า ผลการประมูลยังมีการฟ้องร้องกันไปมา แต่ตัวเลขชัดเจนว่าอะไรคืออะไร เชื่อว่า "เจ้ากระทรวงคนใหม่" คงจะ "ไม่มีการตั้งธงแปลกๆ" และเข้ามาทำให้ถูกต้อง

หากถามว่า "รัฐมนตรีคมนาคมคนใหม่" อยากให้มาจากพรรคไหน นายคีรีตอบว่าพรรคใดก็ได้ ขอแค่ทำให้ถูกต้อง เอาประโยชน์ของประชาชน และบ้านเมืองเป็นหลัก ไม่ควรเป็นของใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งไม่ถูกต้อง

เมื่อถามว่า "อยากจะฝากอะไรถึงรัฐบาลชุดใหม่หรือไม่" นายคีรีตอบว่า ไม่รู้ว่าใครจะมานั่งกระทรวงใดแต่ก็มองว่า นโยบายของพรรคการเมืองมีความสร้างสรรค์หลายอย่าง อาจไม่ถูกใจทุกคน แต่ปัญหาการจราจรและเศรษฐกิจเป็นเรื่องใหญ่ ความสุขของประชาชนเวลานี้ไม่มาก ปัญหารถไฟฟ้าก็เป็นส่วนนึง แต่ "คนที่แบกรับและเป็นทุกข์ที่สุด" คือ บีทีเอสก็หวังว่ารัฐบาลใหม่จะเข้าใจศึกษา ลงลึก และเข้ามาแก้ไขอย่างเป็นธรรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/06/2023 9:01 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์-Dailynews
8 มิ.ย. 66 08:46 น.

ประกาศ! แจ้งหนี้บีทีเอส 1 แสนล้านดักหน้ารัฐบาลใหม่
*BTSทวงยิก5หมื่นล้านจ้างเดินรถ-ระบบสายสีเขียว
*ฟ้องศาลปกครองเพิ่ม-ถามรัฐบาลเก่าเข้าใจไหม!?
*ให้เอกชนรับภาระไปเรื่อยๆ สักวันผู้โดยสารลำบาก

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/804735037770399


สางหนี้สายสีเขียว ฝ่าด่านหินสภากทม.
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, June 24, 2023 06:44
ดันครม.ใหม่หักล้างยกเลิกม.44

ปมร้อนสางหนี้กองโต รถไฟฟ้าสายสีเขียวแสนล้าน งานโยธา-หนี้บีทีเอสซี ไม่หมู จับตาฝ่าด่านหิน สภากทม.ดีเดย์ ก.ค.นี้ หลังเคยถูกเบรกมาแล้ว

การแกะปมหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานคร บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที)ฐานะบริษัทลูกกทม. และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน)หรือบีทีเอสซี หลังนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่ากทม.) นัดเจรจา ในโอกาสบริหารกทม.ครบหนึ่งปีเมื่อไม่นานมานี้

หลายฝ่าย ตั้งข้อสังเกตุ การสะสางหนี้ก้อนโต กว่าแสนล้านบาท ของกทม.ยังเป็นโจทย์หินแม้ที่ผ่านมาทางออกที่นายชัชชาติ เลือก คือโอนหนี้ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กว่า50,000 ล้านบาทกลับคืนเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ เพราะแนวเส้นทางและผู้ใช้บริการ ไม่ได้อยู่ในเขตกทม.เพียงอย่างเดียว แต่ใช่ว่ารัฐบาลใหม่จะยินยอม เพราะ เป็นปมปัญหามาจากรัฐบาลเก่า ตามมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราวพุทธศักราช 2557สมัยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องใช้อำนาจ ครม.มีมติ ยกเลิกคำสั่งมาตรา44 โอนกลับคืนรัฐ

ที่สำคัญ รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการแก้ปัญหาผลที่ตามมา อาจเกิดความไม่พอใจสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ที่เสียภาษี และไม่ได้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมทั้งการขยายสัมปทาน ที่ต้องเป็นคำสั่งจากครม.ชุดใหม่

ส่วนหนี้อีกก้อนที่ติดค้างเอกชนคือ บีทีเอสซี รวม 50,000 ล้านบาท แยกเป็นค่าเดินรถและซ่อมบำรุง จำนวนกว่า 20,000 ล้านบาท ค่าติดตั้งไฟฟ้าและเครื่องกล 30000ล้านบาท

โดยหนี้ที่ติดค้างจากการจ้างเดินรถ ที่บีทีเอสซีเป็นโจทย์ยื่นฟ้อง และศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้กทม.ต้องใช้หนี้ให้กับเอกชน วงเงิน 12,000 ล้านบาท ปัจจุบันกทม.และเคทียื่นอุทธรณ์ และหนี้จ้างบีทีเอสซีติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) ช่วงหมอชิตสะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่งสมุทรปราการ ที่จะครบกำหนดชำระพิจารณาภายในเดือนกรกฎาคมนี้โดยก้อนแรกที่จะแก้ปัญหาให้กับ เอกชน คือการนำเข้าสภากทม.พิจารณาเพื่อชำระหนี้ให้กับ เอกชน 20,000 ล้านบาทก่อน ส่วนที่เหลืออีก 30000 ล้านบาท เสนอรัฐบาลใหม่แก้ปัญหาแต่มองว่าไม่ง่ายนัก

ย้อนไปก่อนหน้านี้ นายชัชชาติ หารือแนวทางแก้ไขปัญหาภาระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ร่วมกับนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บีทีเอส หารือเรื่องกรณีค่าจ้างการติดตั้งระบบอาณัติ สัญญาณของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 2 ที่ครบกำหนดชำระ

นายชัชชาติ ระบุว่า เรื่องนี้กทม.ได้เตรียมตัวอยู่แล้ว เนื่องจากที่ผ่านมากระบวนการในการดำเนินการมีอยู่ 2 ขั้นตอนคือ 1.เรื่องที่กรุงเทพธนาคม (เคที) ไปจ้าง บีทีเอสเดินรถ ซึ่งขณะนั้น กทม.มอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการ ขั้นตอนต่อไปที่จะดำเนินการได้คือต้องให้สภา กทม.อนุมัติก่อนและเรื่องที่ 2 คือหากจะชำระเงินก็ต้องเอาเงินที่เป็นสะสมจ่ายขาดในสภากทม. ก็ต้องพิจารณาเหมือนกันทั้ง 2 เรื่องนี้คือเรื่องที่ต้องเอาเข้าสภากทม.

ขณะที่ผ่านม กทม.ไม่นิ่งนอนใจ ทำหนังสือไปถึงกระทรวงมหาดไทยใน หลายประเด็น ประเด็นแรก อยากให้การสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับโครงสร้างพื้นฐานกับค่าติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) เนื่องจากเมื่อครั้งที่ มาตรา 44 มอบหมายให้กกทม.เป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ได้ให้ค่าใช้จ่ายมาด้วย

ส่วนเรื่องที่ค้างอยู่ตามมาตรา 44 นั้น ตัวมูลหนี้ของ E&M อยู่ในเงื่อนไขสัญญาสัมปทานใหม่ที่ส่งไปให้มหาดไทยเพื่อให้ครม.พิจารณามติมูลหนี้ หากเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ จะถูกหักลบด้วยสัญญาสัมปทาน ซึ่งขณะนี้เรื่องยังค้างอยู่ในครม.ยังไม่มีข้อยุติต้องสอบถามและเร่งรัดทางครม.ด้วยว่าจะพิจารณาอย่างไร

ด้านนายคีรีระบุว่าการเจรจาในครั้งนี้ ส่งผลให้ เกิดความเข้าใจตรงกัน โดย หนี้กว่า 50,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ก้อนคือค่าเดินรถและซ่อมบำรุงจำนวนกว่า 20,000 ล้านบาท ผู้ว่าฯกทม. รับปากจะนำเสนอสภา กทม.เดือนกรกฎาคม นี้ และมั่นใจว่าจะได้รับการชะระหนี้คืน เนื่องจากบริษัทมีการเดินรถจริง สัญญาที่ทำถูกต้อง หากไม่มีสัญญาจะไม่เดินรถ

ส่วนหนี้สินอีกกว่า 30,000 ล้านบาท ค่าติดตั้งไฟฟ้าและเครื่องกล ต้องรอเสนอครม.อีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ถูกนำวาระเข้า-ออก เหตุผลเพราะนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่เห็นด้วย อาจเป็นเพราะมีประเด็นเรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้มหวังว่ารัฐบาลรักษาการ จะตัดสินใจเรื่องนี้ หรือหากไม่ได้ มั่นใจว่า รัฐบาลชุดใหม่ จะจัดการปัญหาได้ เพราะไม่มีเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้อง

แหล่งข่าวจากเคที ระบุว่า ในทางกลับกัน มีความเป็นไปได้หาก รอให้ การสัมปทาน ของเอกชนสิ้นสุดลง ในปี2572 กิจการจะตกเป็นของกทม.และสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารในราคาถูกได้ และหากบีทีเอสซีหรือเอกชนรายอื่นต้องการรับสัมปทาน ก็สามารถ เปิดกว้างได้ตามกฎหมายร่วมทุนปี2562 ส่วนเบื้องลึกหนี้สินจากการจ้างเดินรถมองว่าน่าจะจบที่ศาลฯขณะมาตรา 44 ควรจบที่ ครม.ใหม่ มีมติหักล้างออกไป

"เบื้องลึกหนี้สินจากการจ้างเดินรถมองว่าน่าจะจบที่ศาลฯขณะมาตรา 44 ควรจบที่ครม.ใหม่มีมติหักล้างออกไป"

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25 - 28 มิ.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2023 2:27 pm    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์ 3 ก.ค.นี้ รฟม.เริ่มเก็บค่าบริการจอดรถ อาคารจอดแล้วจร สถานีแยก คปอ. และ คูคต
วันศุกร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 14.42 น.

3 กรกฎาคมนี้ รฟม. จัดเก็บค่าบริการจอดรถ อาคารจอดแล้วจร สถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต

วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ตามที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการอาคารจอดแล้วจร สถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ - คูคต มาตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 โดยไม่คิดค่าบริการ ซึ่งในระหว่างนี้ รฟม. ได้พัฒนาโดยนำเทคโนโลยีระบบจอดรถอัจฉริยะ (Smart Parking) มาทดลองให้บริการเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว พร้อมทั้งปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จนปัจจุบัน อาคารจอดรถทั้ง 2 แห่ง มีความพร้อมอย่างเต็มที่สำหรับให้บริการแก่ประชาชน ในการนี้ รฟม. จะเริ่มจัดเก็บค่าบริการจอดรถ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป โดยมีอัตราค่าบริการ ดังนี้



1. ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า คิดอัตราค่าบริการจอดรถยนต์ 2 ชั่วโมง 10 บาท และอัตราค่าบริการจอดรถจักรยานยนต์ 4 ชั่วโมง 5 บาท โดยผู้ใช้บริการจะต้องนำบัตรจอดรถไปบันทึกส่วนลดภายในเขตชำระเงิน (Paid Area) ของสถานีรถไฟฟ้าที่ใช้บริการจอดรถเท่านั้น จึงจะได้รับสิทธิ์ชำระค่าบริการจอดรถในอัตราดังกล่าว

ADVERTISEMENT


2. ผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า คิดอัตราค่าบริการจอดรถยนต์ ชั่วโมงละ 20 บาท และอัตราค่าบริการจอดรถ จักรยานยนต์ ชั่วโมงละ 10 บาท

3. ผู้ใช้บริการจอดรถรายเดือน (ผ่านแอปพลิเคชัน MRTA Parking) คิดอัตราค่าบริการจอดรถยนต์ เดือนละ 1,000 บาท และอัตราค่าบริการจอดรถจักรยานยนต์ เดือนละ 500 บาท ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการจอดรถรายเดือน จะไม่ได้รับการประกันพื้นที่ว่างในการนำรถเข้าจอด เพื่อให้ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียม


ทั้งนี้ อาคารจอดรถทั้ง 2 แห่ง เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 01.00 น. ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถนำรถมาจอดและเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้ ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @MRTAParking หรือ แอปพลิเคชั่น MRTA Parking หรือ ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ห้องทำบัตรรายเดือน สถานีแยก คปอ. โทร. 06 1734 0202 และสถานีคูคต โทร. 06 1705 0404 เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044 “รฟม. ร่วมยกระดับเมืองด้วยโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”

https://www.naewna.com/business/740784

https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/586045773713653
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 95, 96, 97 ... 100, 101, 102  Next
Page 96 of 102

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©