Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311394
ทั่วไป:13307053
ทั้งหมด:13618447
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99, 100, 101, 102  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/09/2023 8:14 am    Post subject: Reply with quote

ศึกษาปมชี้มูลจ้างเดิน'สายสีเขียว'
Source - เดลินิวส์
Thursday, September 14, 2023 07:51

จากกรณีมีรายงานว่าองค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แจ้งข้อกล่าวหา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และพวก รวม 13 คน กรณีว่าจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ไปจนถึงปี 2585 นั้น

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ระบุ ยังไม่ทราบรายละเอียด แต่ให้ฝ่ายเกี่ยวข้องไปศึกษา เรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวยังอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาของสภา กทม. เข้าใจว่ามีการตัดสินสัญญาที่ 1 ไม่ได้พูดถึง ส่วนต่อขยาย 2 จากนี้คงต้องดูว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างไร ต้องรอบคอบ เพราะ กระบวนการ ป.ป.ช.ยังไม่ยุติ เป็นการชี้มูล จากนี้อาจมีการฟ้องร้องกัน

อย่างไรก็ตาม จากรายชื่อผู้เกี่ยวข้องพบว่าไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในกทม.แล้ว เพราะเรื่องผ่านมานานกว่า 10 ปี ส่วนต้องปรึกษารัฐบาลใหม่หรือไม่ ต้องพิจารณาก่อนเพราะยังมีเรื่องต้องส่งคืนให้กระทรวงมหาดไทย จึงควรรอมติคณะกรรมการ วิสามัญฯ ที่จะตอบกลับไปด้วย โดยยังมีคำถามค้างเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และเรื่องที่ยังไม่ยุติใน ครม. ซึ่งต้องรอดูอีกว่าจะนำเข้าสู่การประชุม ครม.เมื่อใดต่อไป.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 ก.ย. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/09/2023 12:17 pm    Post subject: Reply with quote

‘บีทีเอส’ เล็งชี้แจง ป.ป.ช. 15 ก.ย. ปมจ้างเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยาย
ไทยโพสต์ 14 กันยายน 2566 เวลา 11:48 น.

‘บีทีเอส’ เดินหน้ายืนยันความบริสุทธิ์ เล็งขอชี้แจง ป.ป.ช. 15 ก.ย.นี้ หลังชี้มูลความผิดกรณีสัญญาจ้างเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยาย

14 ก.ย.2566-รายงานข่าวจาก บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี แจ้งว่าตามที่ปรากฏรายงานข่าวจากสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 13 กันยายน เกี่ยวกับกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ได้มีมติชี้มูลความผิดต่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 12 คน ซึ่งรวมถึง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นายคีรี กาญจนพาสน์ และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ในฐานะกรรมการของบริษัทฯ (บีทีเอสซี และผู้บริหาร) เกี่ยวกับกรณีการทำสัญญาให้บริการเดินรถ และซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2555 (สัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย) นั้น

ทั้งนี้บริษัทฯ ขอเรียนว่า บริษัทฯ ยังไม่ได้รับการยืนยันในเรื่องการชี้มูลความผิดดังกล่าวจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามที่ปรากฏในข่าวแต่อย่างใด และขอชี้แจงข้อเท็จจริง และกระบวนการตามกฎหมายในเบื้องต้น ดังนี้ 1.ภายหลังจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อ บีทีเอสซี และผู้บริหาร ว่าเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ บีทีเอสซี และผู้บริหารได้มีหนังสือสอบถาม เพื่อขอความชัดเจนของพฤติการณ์ในการกระทำความผิดกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. อยู่หลายครั้ง เพื่อให้ บีทีเอสซี และผู้บริหารได้ชี้แจงข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่ร้องขอ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ตรวจพบว่ามีข้อเท็จจริง และหลักฐานหลายประการที่ยังไม่ปรากฏในสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังนั้นในวันที่ 4 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ทางผู้บริหารของ บีทีเอสซี จึงได้มีหนังสือขอนัดหมายคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 14.00 น. เพื่อขอรับทราบพฤติการณ์ในการกระทำความผิด และขอชี้แจงข้อกล่าวหาด้วยวาจาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะ แต่กลับปรากฏตามข่าวว่าทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดกรณีดังกล่าวแล้ว ซึ่งบริษัทฯ เชื่อมั่นว่า หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับทราบข้อเท็จจริง และเอกสารต่าง ๆ ที่ถูกต้องครบถ้วนจาก บีทีเอสซี และผู้บริหารแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะทราบความจริงว่า บีทีเอสซี และผู้บริหารไม่ได้กระทำใดๆ ที่เป็นความผิดตามที่ได้กล่าวหา

รายงานข่าวระบุอีกว่า 2.ในทางกฎหมาย หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดตามที่เป็นข่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องจัดส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุด ภายใน 30 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ และอัยการสูงสุดต้องพิจารณาสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้รับสำนวน (เว้นแต่มีการขยายระยะเวลาออกไป) เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของสำนวนการไต่สวน และพิจารณาว่าจะดำเนินคดีต่อ บีทีเอสซี และผู้บริหาร ตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือไม่ อีกชั้นหนึ่ง

3.การมีมติชี้มูลความผิดเป็นกระบวนการทางอาญา กับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่กระทบต่อสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย และคู่สัญญาฝ่ายรัฐยังคงถือเอาประโยชน์ตามสัญญาดังกล่าว บริษัทฯ จึงขอให้พี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการจงเชื่อมั่น และขอยืนยันว่าสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายได้ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และบริษัทฯ ยังคงให้บริการตามสัญญาเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายต่อไป

ทั้งนี้หากปรากฏความจริง หรือได้รับแจ้งว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดจริงตามที่ปรากฏในข่าว บริษัทฯ จะเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง และรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป


BTS ชี้แจงข้อเท็จจริง ปมข่าว ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดประเด็นสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 กันยายน 2566 - 12:04 น.

บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ชี้แจงข้อเท็จจริง หลังเกิดกระแสข่าวคณะกรรมการ ป.ป.ช ชี้มูลความผิดกรณีสัญญาจ้างให้บริการเดินรถ-ซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ทางบีทีเอสมั่นใจสัญญาจ้างได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ

วันที่ 14 กันยายน 2566 ตามที่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงข่าวกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) แจ้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทำสัญญาให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2555 (“สัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย”) ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรายละเอียดปรากฏตามหนังสือที่อ้างถึง

ต่อมาปรากฎรายงานข่าวจากสื่อมวลชนในช่วงวันที่ผ่านมาว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดต่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 12 คน ซึ่งรวมถึงบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (“BTSC”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ นายคีรี กาญจนพาสน์ และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ในฐานะกรรมการของ BTSC (รวมเรียกว่า”BTSC และผู้บริหาร”) เกี่ยวกับกรณีการทำสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายนั้นในการนี้ บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ ยังไม่ได้รับการยืนยันในเรื่องการชี้มูลความผิดดังกล่าวจากกณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามที่ปรากฎในข่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ขอชี้แจงข้อเท็จจริงในเบื้องต้น ดังนี้

1.ภายหลังจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อ BTSC และผู้บริหารว่าเป็นผู้สนับสนุนในกรกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ BTSC และผู้บริหารได้มีหนังสือสอบถามเพื่อขอความชัดเจนของพฤติการณ์ในการกระทำความผิดกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. หลายครั้ง เพื่อให้ BTSC และผู้บริหารได้ชี้แจงข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเดิมตามที่ร้องขอ

นอกจากนี้ BTSC และผู้บริหารพบว่า มีข้อเท็จจริงและหลักฐานหลายประการที่ยังไม่ปรากฏในสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังนั้น ในวันที่ 4 กันยายน 2566 ผู้บริหารของBISC จึงได้มีหนังสือขอนัดหมายคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 14.00 น. เพื่อขอรับทราบพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและชี้แจงข้อกล่าวหาด้วยวาจาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.

ทั้งนี้หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดแล้วจริง กรณีดังกล่าวจะเป็นการชี้มูลความผิดก่อนที่ BTSC และผู้บริหารจะได้เข้าชี้แจงข้อกล่าวหา ซึ่งบริษัทฯ เชื่อมั่นว่า หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับทราบข้อเท็จจริงและเอกสารต่าง ๆ ที่ถูกต้องครบถ้วนจาก BTSC และผู้บริหารแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะทราบว่า BTSC และผู้บริหารไม่ได้กระทำการ ใด ๆ ที่เป็นความผิดตามที่กล่าวหา

2.ในทางกฎหมาย หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดตามที่เป็นข่าวคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องจัดส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุด ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมติ และอัยการสูงสุดจะต้องพิจารณาสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการป.ป.ช. ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้รับสำนวน (เว้นแต่มีการขยายระยะเวลา) เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของสำนวนการไต่สวนและพิจารณาว่าจะดำเนินคดีต่อ BTSC และผู้บริหารตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือไม่ อีกขั้นหนึ่ง

3.การมีมติชี้มูลความผิดเป็นกระบวนการทางอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่กระทบต่อสัญญาสัมปทานและสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย และสัญญาดังกล่าวยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายทุกประการ อีกทั้งคู่สัญญาภาครัฐยังคงถือเอาประโยชน์ตามสัญญาดังกล่าว โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/09/2023 7:17 am    Post subject: Reply with quote

“สายสีเขียว” ลากยาวไป ป.ป.ช.ฟัน กทม. – BTSC ปมฮั้วต่อสัญญาเดินรถ สีม่วง-แดง 20 บาทตลอดสายของขวัญปี 67 ทำได้จริง
ผู้จัดการออนไลน์ 16 ก.ย. 2566 06:05

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เป็นเรื่องที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยพยายามทำให้ได้จริงตามสัญญา ซึ่งถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงภายใน 3 เดือนนี้ จะเริ่มนำร่องสายสีแดงกับสายสีม่วงเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 แน่ ส่วนสายสีเขียวซึ่งตอนนี้ยังวุ่น ๆ ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ชุดใหญ่จ่อชี้มูลความผิดอดีตผู้ว่าฯ กทม.- ผู้บริหารบีทีเอสซี ก็คงว่ากันอีกยาว

จากที่วางเป็น “นโยบายรอง” ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนจนเจอ “ทัวร์ลง” กลับลำแทบไม่ทัน ก็เป็นอันว่าเรื่องการลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ถูกยกให้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำให้สำเร็จเป็นผลงานชิ้นโบแดงเรียกคะแนนนิยมจากประชาชนคนเมืองหลวงและปริมณฑลรอบนอก ซึ่งใช้บริการรถไฟฟ้าสัญจรไปมาเป็นหลัก เพราะมีความสะดวกสบาย แต่ปัญหาคือภาระค่าโดยสารแพงหูฉี่ ดังนั้นถ้าค่าโดยสารลดลงมาเหลือ 20 บาทตลอดสายได้อย่างว่าจะโดนใจคนเมืองมากกว่าเรื่องไหน ๆ
    เรื่องนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงชี้แจงนโยบายรัฐบาลในการประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ที่ผ่านมาว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดเส้นทาง ขอยืนยันว่าจะเริ่มทำทันทีเพื่อสร้างโอกาสความเท่าเทียมให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย โดยจะทำการรวบรวมสัมปทานเดินรถของเอกชนทุกเส้นทาง และแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจากับผู้ได้รับสัมปทานทุกราย ซึ่งการเจรจามีหลายเรื่องต้องลงรายละเอียดอาจต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

    สำหรับในส่วนโครงการเส้นทางการเดินรถโครงการของรัฐ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดง จากตลิ่งชันไปรังสิต รวมระยะทาง 41 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี อัตราค่าโดยสารปัจจุบันราคา 14-42 บาท ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-คลองบางไผ่ รวมระยะทาง 23 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี อัตราค่าโดยสาร 14-42 บาท จะให้มีการปรับราคาเป็น 20 บาทตลอดเส้นทาง โดยจะเร่งผลักดันให้เป็นจริงภายใน 3 เดือน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 แก่ประชาชน

นายสุริยะยังให้ความมั่นใจว่า ภายใน 2 ปี ประชาชนจะได้ใช้รถไฟฟ้าทุกเส้นทาง 20 บาทตลอดสาย เหตุผลที่ไม่สามารถทำได้ทันทีเพราะต้องใช้ระยะเวลาในการเจรจาและวางระบบตั๋วร่วม นโยบายนี้จะทำเพื่อคนทุกกลุ่ม นอกจากช่วยคนรายได้น้อย ยังช่วยให้คนใช้รถยนต์มาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ลดปัญหามลพิษ ส่วนการคำนวณราคาค่าโดยสารนั้น ขอยกตัวอย่าง หากอยู่รังสิตจะมากรุงเทพชั้นในที่สยาม ก็สามารถนั่งรถไฟฟ้าสายสีแดงมาลงที่สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ มาต่อสายสีน้ำเงินที่จตุจักร และต่อสายสีเขียวไปที่สยาม จากปัจจุบันค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 108 บาท แต่ถ้านโยบายสำเร็จจะจ่ายค่าโดยสารแค่ 20 บาท เท่านั้น

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งฟังว่านายสุริยะ จะรีบมอบของขวัญปีใหม่ 2567 ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย นำร่องสายสีม่วงกับสายสีแดงว่า “ก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกัน” แต่นายสุริยะคงจะมาบอกอีกครั้งว่าจะทำอย่างไร

ขณะที่ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ผ่านการโพสเฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte” ว่านโยบายลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท แบบ “ไม่ตรงปก” คือทำเฉพาะสองสาย สีแดงกับสีม่วง ทำได้ทันทีโดยไม่ต้องรอถึงปีใหม่แต่อย่างใด ส่วน “แบบตรงปก” ซึ่งจะนั่งกี่สาย กี่สีก็ได้ ไม่ควรให้รอนานถึง 2 ปี

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีเส้นทางจากบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร และจากบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด 41 กิโลเมตร ค่าโดยสารในปัจจุบัน 12-42 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างรังสิต-ตลิ่งชัน ระยะทาง 41 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารสูงสุดต่อกิโลเมตร จะเท่ากับ 1.02 บาท (42/41)

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีเส้นทางจากบางเตาปูน-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ค่าโดยสารในปัจจุบัน 17-42 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ซึ่งจะเดินทางได้ไกลสุดคือระหว่างเตาปูน-บางใหญ่ (คลองบางไผ่) ดังนั้น ค่าโดยสารสูงสุดต่อกิโลเมตร จะเท่ากับ 1.83 บาท (42/23)

“รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย “แบบไม่ตรงปก” สำหรับสายสีแดงและสายสีม่วง จะต้องรอถึงปีใหม่หรือ ? ...ผมเห็นว่าไม่ต้องรอถึงปีใหม่ สามารถเริ่มได้ทันที เริ่ม 1 ตุลาคม 2566 ก็ได้ เพราะรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายนี้ เป็นการลงทุนทั้งหมดโดยภาครัฐ ไม่มีเอกชนร่วมลงทุน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเจรจากับเอกชน เพียงแค่ใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และประชาสัมพันธ์เท่านั้น ซึ่งใช้เวลาไม่นาน”

    ส่วนรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย “แบบตรงปก” ที่นายสุริยะบอกต้องรอนานถึง 2 ปี นั้น ดร.สามารถ เห็นว่า ควรใช้เวลาประมาณ 1 ปีเท่านั้น และควรแต่งตั้ง “คณะกรรมการกำกับกิจการรถไฟฟ้า” ขึ้นมาเป็นอันดับแรก คณะกรรมการฯ มีหน้าที่เจรจาต่อรองกับผู้เดินรถไฟฟ้า โดยควรเริ่มเจรจากับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ก่อน เพราะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุด หาก BTSC ยอมรับข้อเสนอจากภาครัฐ คาดว่าผู้เดินรถรายอื่นก็คงยอมเช่นเดียวกัน

    นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังมีหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้จากค่าโดยสารให้ผู้เดินรถแต่ละราย รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการชดเชยส่วนต่างรายได้ให้ผู้เดินรถแต่ละรายอีกด้วย

    ส่วนประเด็นที่ รมว.คมนาคม เข้าใจว่าหากลดค่าโดยสารลง จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น แล้วจะส่งผลให้ผู้เดินรถไฟฟ้ามีรายได้เพิ่มขึ้น ภาครัฐจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากผู้เดินรถนั้น ดร.สามารถ ชี้ว่า เป็นการเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากการเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย แม้จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่รายได้จะลดลงเพราะค่าโดยสารลดลงจากอัตราในปัจจุบันมาก ดังนั้นภาครัฐจะต้องชดเชยให้ผู้เดินรถ

    เอาเป็นว่านโยบายลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ทุกสาย ทุกสี จะเริ่มได้ช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่ “คณะกรรมการกำกับกิจการรถไฟฟ้า” จะเจรจากับเอกชนจนกว่าจะมีข้อตกลงร่วมกัน โดยเฉพาะผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว คือบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)


หนึ่งในคดีที่สำคัญ ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 องค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประชุมพิจารณากรณีกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ไปจนถึงปี 2585 ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงและไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 และเอื้อประโยชน์ให้แก่ BTSC เพียงรายเดียว ซึ่งก่อนหน้านี้ องค์คณะไต่สวนฯ ได้แจ้งข้อกล่าวหาบุคคลและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง 13 ราย ไปแล้ว นั้น

ในการพิจารณาสำนวนการไต่สวนฯเรื่องดังกล่าว ที่ประชุมมีข้อเสนอว่า ควรให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ ผลปรากฏว่าองค์คณะไต่สวน มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง เห็นว่า ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนฯมีเพียงพอที่จะลงมติได้แล้ว จึงไม่ต้องสอบเพิ่มอีก

จากนั้น มีการลงมติผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดหรือไม่ ผลปรากฏว่า องค์คณะไต่สวนมีความเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151, 157, 83 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว ไปด้วยเสียง 3 ต่อ 3 เสียง แม้ว่าเสียงจะเท่ากัน แต่ถือว่าเข้าข่ายความผิด เพราะตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต บัญญัติว่า การลงมติว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดหรือไม่นั้น ต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่

ส่วนในประเด็นที่ว่า ผู้ถูกกล่าวหามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เพียงข้อหาเดียวหรือไม่นั้น องค์คณะไต่สวนมีมติ 5 ต่อ 1 เสียง เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิด โดยกรรมการเสียงข้างน้อย คือ นางสุวณา สุวรรณจูฑะ

จากนั้น องค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ ได้นำเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อชี้มูลความผิด ซึ่งเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ตามเสนอโดยมีผู้ถูกชี้มูลฯ 12 ราย ส่วนผู้ถูกกล่าวหาอีกหนึ่งรายที่เสียชีวิตไปแล้ว คือ นายกฤษณ์ เกียรติพนชาติ ผู้อำนวยการกองการขนส่ง กทม.

สำหรับขั้นตอนต่อไป ป.ป.ช. จะส่งสำนวนการไต่สวนให้กับอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาดำเนินคดีอาญา ส่วนการลงโทษทางวินัยกับผู้เกี่ยวข้องนั้น จะส่งให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนพิจารณาต่อไป

อย่างไรก็ดี การชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือว่าเป็นที่สุด ผู้ถูกกล่าวหาทุกราย ยังมีสิทธิ์ต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาล

หากย้อนกลับไปในช่วงต้นปี 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติแจ้งข้อกล่าวหา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) และพวกรวม 13 คน กรณีว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ไปจนถึงปี 2585 ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงและไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 และเอื้อประโยชน์ให้แก่ BTSC เพียงรายเดียว ตามที่องค์คณะไต่สวนเสนอ

สำหรับผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 13 ราย ประกอบด้วย 1. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเพมหานคร 2. นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่ารายการกรุงเทพมหานคร 3. นายประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ ประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด 4. นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการบริษัท กรุงเทพอนาคม จำกัด 5. นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร 6. นางนินนาท ชลิตานนท์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร 7. นายจุมพล สำเภาพล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง 8. นายธนา วิชัยสาร ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง 9. นายกฤษณ์ เกียรติพนชาติ ผู้อำนวยการกองการขนส่ง 10. นายคีรี กาญจนพาสน์ กรรมการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

11. นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 12. บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้รับจ้างในโครงการบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ตามสัญญาเลขที่ 1/2555 ลงวันที่ 6 พ.ค.2555 และผู้บริหารระบบในสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เลขที่ กร.ส. 006/2555 ลงวันที่ 3 พ.ค. 2555 13. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการในสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เลขที่ กร.ส.6/2555 ลงวันที่ 3 พ.ค. 55

สำหรับข้อกล่าวหาในคดีนี้ เป็นกรณีการทำสัญญาว่าจ้างให้เอกชนให้บริการเดินรถ และซ่อมบำรุงโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) ระหว่าง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้ว่าจ้าง กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC (ในเครือ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS) ในฐานะผู้รับจ้าง เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ได้ว่าจ้าง BTSC เพื่อให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวรวม 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1. ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (สถานีอ่อนนุช-แบริ่ง) 2. สายสีลม (สถานีสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่) และ 3. ว่าจ้างเดินรถไฟฟ้าในเส้นทางสถานีหมอชิต-อ่อนนุช และ สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2572 ออกไปอีก 13 ปี หรือเป็นสิ้นสุดสัญญาพร้อมกันในปี 2585 โดยมีวงเงินค่าจ้าง 1.9 แสนล้านบาท

กรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่ง “เป็นเรื่อง” อยู่ที่ ป.ป.ช. นั้น จะกระทบกับนโยบายลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายหรือไม่ อย่างไรนั้น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า ต้องไปดูทั้งหมดว่าเกี่ยวพันกันอย่างไร ตรงไหน ถ้ามีคำสั่งออกมาก็ต้องมาพิจารณากันอีกที

ขณะที่นายสุริยะ บอกว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงาน แต่หากผู้บริหาร BTS ถูกชี้มูล ก็จะมีผู้บริหารขึ้นมารักษาการ ส่วนกรณีหากศาลชี้มูลแล้วมีควรกฎหมายามผิด คงต้องให้เจ้าหน้าที่กระทรวงไปศึกษาข้อกฎหมายก่อน แต่ในเบื้องต้นไม่น่าจะมีปัญหาอะไรและไม่กระทบกับนโยบายของรัฐบาลที่จะดำเนินการ

ทางด้านบีทีเอสซี โต้กลับการชี้มูลความผิดจาก ป.ป.ช. โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เปิดเผยถึงรายงานข่าวจากสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 กรณี ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลความผิดต่อ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 12 คน ซึ่งรวมถึงบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ หรือ BTSC) นายคีรี กาญจนพาสน์ และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ในฐานะกรรมการของบริษัทฯ (“BTSC และผู้บริหาร”) เกี่ยวกับกรณีการทำสัญญาให้บริการเดินรถ และซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2555 (“สัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย”) ว่า บริษัทฯ ยังไม่ได้รับการยืนยันเรื่องการชี้มูลความผิดดังกล่าวจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามที่ปรากฏในข่าว และขอชี้แจงข้อเท็จจริง และกระบวนการตามกฎหมายในเบื้องต้น

สรุปความว่า ภายหลังจากที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อ BTSC และผู้บริหาร ว่าเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ BTSC และผู้บริหารได้มีหนังสือสอบถามเพื่อขอความชัดเจนของพฤติการณ์ในการกระทำความผิดกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. อยู่หลายครั้ง เพื่อให้ BTSC และผู้บริหารได้ชี้แจงข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่ร้องขอ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ตรวจพบว่ามีข้อเท็จจริง และหลักฐานหลายประการที่ยังไม่ปรากฏในสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังนั้นในวันที่ 4 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ทางผู้บริหารของ BTSC จึงได้มีหนังสือขอนัดหมายคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันที่ 15 กันยายน 2566 เพื่อขอรับทราบพฤติการณ์ในการกระทำความผิด และขอชี้แจงข้อกล่าวหาด้วยวาจาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะ

แต่กลับปรากฏตามข่าวว่าทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดกรณีดังกล่าวแล้ว ซึ่งบริษัทฯ เชื่อมั่นว่า หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับทราบข้อเท็จจริง และเอกสารต่าง ๆ ที่ถูกต้องครบถ้วนจาก BTSC และผู้บริหารแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะทราบความจริงว่า BTSC และผู้บริหารไม่ได้กระทำใด ๆ ที่เป็นความผิดตามที่ได้กล่าวหา

ในทางกฎหมาย หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดตามที่เป็นข่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องจัดส่งรายงานสำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุด ภายใน 30 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ และอัยการสูงสุดต้องพิจารณาสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำนวน (เว้นแต่มีการขยายระยะเวลาออกไป) เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของสำนวนการไต่สวน และพิจารณาว่าจะดำเนินคดีต่อ BTSC และผู้บริหาร ตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือไม่ อีกชั้นหนึ่ง

อย่างไรก็ดี การมีมติชี้มูลความผิดเป็นกระบวนการทางอาญา กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่กระทบต่อสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย และคู่สัญญาฝ่ายรัฐยังคงถือเอาประโยชน์ตามสัญญาดังกล่าว บริษัทฯ จึงขอให้ประชาชนผู้ใช้บริการมีความเชื่อมั่นและขอยืนยันว่าสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายได้ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และบริษัทฯ ยังคงให้บริการตามสัญญาเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายต่อไป หากได้รับแจ้งว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดจริงตามที่ปรากฏในข่าว บริษัทฯ จะชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสาธารณะอีกครั้ง

ไม่เพียงแต่ปัญหาการต่อสัญญาสัมปทานเดินรถส่วนต่อขยายชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ บีทีเอสซี ยังมีข้อพิพาทเรื่องหนี้สินกับกรุงเทพมหานคร ค้างคาอยู่ในเวลานี้ โดยก้อนแรกเป็นค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) วงเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่ครบกำหนดชำระและเป็นหนี้ที่บีทีเอสซีลงทุนจริง หนี้ก้อนนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.เสนอให้สภา กทม. อนุมัติมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 แต่ สภา กทม. ยังไม่ได้หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา

ส่วนหนี้ที่เกิดจากค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง O&M (Operation and Maintenance) รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 (อ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า) และช่วงที่ 2 (แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ยังไม่เสนอขอสภา กทม. เนื่องจากเป็นคดีความฟ้องร้องและอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล

ทั้งนี้ หนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) วงเงินรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ก้อนแรกวงเงิน 11,755.06 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในกระบวนการอุทธรณ์ ที่ กทม.ได้ยื่นต่อศาลปกครอง หลังจากก่อนหน้านี้ศาลปกครอง พิพากษาให้ กทม. และบริษัท กรุงเทพธนาคม จํากัด (เคที) ร่วมกันจ่ายหนี้ให้กับบีทีเอสซี ส่วนหนี้ก้อนที่สองวงเงิน 11,068.50 ล้านบาท ทางบีทีเอสซี ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

ในการยื่นอุทธรณ์สู้คดีของ กทม. ต่อคำสั่งศาลที่ให้ กทม. ใช้หนี้บีทีเอสซี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 นั้น กทม.ให้เหตุผลไม่สามารถชำระหนี้ได้เนื่องจากติดเงื่อนไขการเจรจาตามคำสั่งเดิมของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ กทม.ไม่มีภาระต้องชำระค่าดอกเบี้ยเนื่องจากสัญญาส่วนต่อขยายที่ 1 ไม่ได้มีการระบุไว้

ส่วนการว่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายที่ 2 ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจาก กทม.เพียงมอบหมายให้ กรุงเทพธนาคม ไปดำเนินการต่อ ซึ่งกรุงเทพธนาคม ไปตกลงทำสัญญาว่าจ้างบีทีเอสซี โดยไม่ได้เปิดประมูล และไม่ได้เสนอต่อสภา กทม. เพื่อเห็นชอบงบประมาณก่อน ดังนั้นจึงไม่ควรมีการก่อหนี้ผูกพันได้

สัญญาว่าจ้างเดินรถที่มีปัญหามาตั้งแต่ต้น ไม่เพียงกลายมาเป็นคดีฟ้องร้องกันนัวเนีย และทาง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดผู้บริการ กทม. กรุงเทพธนาคม และผู้บริหาร บีทีเอสซี สุดท้ายอาจทำให้คำสัญญารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาลเพื่อไทย ไม่เป็นจริง ก็เป็นได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/09/2023 8:15 am    Post subject: Reply with quote

ปม! รถไฟสีเขียว-ต่อขยาย
เดลินิวส์ 23 กันยายน 2566 10:00 น.

คงต้องไปลุ้นกันที่ “อัยการสูงสุด” ว่าจะเห็นพ้องกับ “ป.ป.ช.” หรือไม่? หลังจาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” อดีตผู้ว่าฯ กทม. และเจ้าหน้าที่สังกัดกทม.รวม 12 คน รวมทั้งผู้บริหาร “บีทีเอสกรุ๊ป-BTSC” ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยการต่อสู้คดียังอีกยาวนาน!

คงต้องไปลุ้นกันที่ “อัยการสูงสุด” ว่าจะเห็นพ้องกับ “ป.ป.ช.” หรือไม่? หลังจาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” อดีตผู้ว่าฯ กทม. และเจ้าหน้าที่สังกัดกทม.รวม 12 คน รวมทั้งผู้บริหาร “บีทีเอสกรุ๊ป-BTSC” ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยการต่อสู้คดียังอีกยาวนาน!

กรณี กทม.ทำสัญญาจ้าง BTSC เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง คือ 1.ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช-แบริ่ง) 2.สายสีลม (ตากสิน-วงเวียนใหญ่) และ 3.เส้นทางหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งจะสิ้นสุดสัมปทานปี 72 ออกไปอีก 13 ปี ให้ไปสิ้นสุดสัญญาพร้อมกันปี 85 เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐฯ เอื้อประโยชน์ให้แก่ BTSC เพียงรายเดียว!

กรณีดังกล่าวมีหลายมุมมองความเห็น เพราะเรื่องนี้คาราคาซังมานาน เนื่องจาก ป.ป.ช.บางคนที่เป็นเจ้าของสำนวนเดิมเคยสรุปว่า “ไม่มีมูล” มาพักใหญ่ ๆ แต่จะปิดสำนวนไปเลยก็ใช่ที่ จึงเก็บแฟ้มไว้หลายปี จนมาปัดฝุ่นกันใหม่ แล้วเร่งทำงานหามรุ่งหามค่ำ ก่อนชี้มูลเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 66 ท่ามกลางข้อสงสัย-คำถามตามมาว่า

1.งานนี้ไม่เกี่ยวข้องกับทางการเมือง-นักการเมืองบางคน แน่นะ? รวมทั้งการเมืองที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าบางสี ที่มีแข่งขันแย่งงานกันอย่างดุเดือดมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว และปัจจุบันยังไม่คืบหน้าไปไหน

2.การดำเนินโครงการส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ล้มลุกคลุกคลาน คาราคาซังมานาน ไม่สามารถหาเอกชนสนใจเข้ามาลงทุนได้ ด้วยข้อจำกัดการ “เชื่อมต่อโครงข่าย” เพราะ กทม.ไม่อาจเปิดให้เอกชนรายใดเข้ามาประกอบการร่วมได้ ไม่สามารถเดินรถต่อเนื่องข้ามโครงข่าย เข้าไปยังโครงข่ายสัมปทานหลักของ BTSC ที่มีอายุสัมปทานถึงปี 72 ได้

3.ในที่สุด กทม.จึงตัดสินใจผ่าทางตัน ด้วยการให้บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัทลูกของกทม.เป็นผู้ลงทุนและบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าโดยตรงในลักษณะ “สัญญาจ้าง-เอาต์ซอร์ส” โดยแยกเส้นทางส่วนต่อขยายออกมาดำเนินการเป็นเอกเทศ เพื่อไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาสัมปทานเดิม โดยมีการหารือแนวทางดังกล่าวไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา และได้รับ “ไฟเขียว” จึงเป็นที่มาของ “สัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้า” เจ้าปัญหา

4.ทำไมไม่ประมูลหาเอกชนรายใหม่? เพราะข้อจำกัดของสัมปทานเดิมที่ กทม.มีอยู่กับ BTSC ไม่ว่าจะพลิกหาหนทางใดก็ไม่สามารถหาเอกชนเข้ามาได้ แม้แต่ BTSC ยังไม่เอาด้วย เนื่องจากสายสีเขียวหลัก ยังทำให้ BTSC ประสบปัญหาทางการเงิน ถึงขั้นต้องเข้าสู่ศาลล้มละลายและต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ

5.แม้ กทม.จะปรับลดขนาดโครงการลงมาดำเนินการเพียง 2 สายทาง คือ ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช–แบริ่ง) ระยะทาง 8.9 กม. และส่วนต่อขยายสายสีลม (สาทร–ตากสิน) ระยะทาง 2.2 กม. วงเงินลงทุนรวม 8,900 ล้านบาท ก่อนเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนรับสัมปทานเดินรถและซ่อมบำรุง (โมเดลเดียวกับรถไฟฟ้าใต้ดิน) แต่ไม่มีเอกชนเสนอตัวเข้ามาอยู่ดี เพราะข้อจำกัดเรื่องการเดินรถข้ามโครงข่าย ทำให้เส้นทางส่วนต่อขยาย 2 สายทางถูกปล่อยทิ้งร้างไว้

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กทม.ต้อง “ผ่าทางตัน” ด้วยการมอบหมายให้บริษัทกรุงเทพธนาคมฯ เป็นผู้ลงทุนระบบรถไฟฟ้าและบริหารจัดการเดินรถ ในลักษณะ “สัญญาจ้างเดินรถ-เอาต์ซอร์ส” ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยว่าสามารถกระทำได้โดยไม่เข้าข่ายที่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ

ย้ำว่า “เอกชนรายใหม่” หรือรายใดก็ตาม เข้ามาลำบาก! เพราะต้องลงทุนสูงมาก แถมติดเงื่อนไขสำคัญ! ไม่สามารถเดินรถ “ข้ามโครงข่าย” ของสัมปทานหลักที่ยังคาอยู่กับ BTSC นี่แหละ!!

—————————–
พยัคฆ์น้อย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42828
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2023 11:37 am    Post subject: Reply with quote

เริ่ม 1 ต.ค.66 รฟม.ค่าจอดรถจยย. ลานจอดแล้วจร สถานีเคหะฯ”สีเขียว”ใช้รถไฟฟ้าจ่ายแค่ 4 ชั่วโมง 5 บาท
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 20:23 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 20:23 น.

ดีเดย์ 1 ตุลาคมนี้ รฟม. จัดเก็บค่าบริการที่จอดรถจักรยานยนต์ลานจอดแล้วจร สถานีเคหะฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ใช้รถไฟฟ้า ราคา 4 ชั่วโมง 5 บาท ไม่ใช้รถไฟฟ้า ชั่วโมงละ 10 บาท

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ตามที่ รฟม. ได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการที่จอดรถจักรยานยนต์ ลานจอดแล้วจร สถานีเคหะฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ มาตั้งแต่วันที่ 15 - 30 กันยายน 2566 โดยไม่คิดค่าบริการ ซึ่งในระหว่างนี้ รฟม. ได้พัฒนาโดยนำเทคโนโลยีระบบจอดรถอัจฉริยะ (Smart Parking) มาทดลองให้บริการเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ในการนี้ รฟม. จะเริ่มจัดเก็บค่าบริการที่จอดรถจักรยานยนต์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป



โดยให้บริการในรูปแบบระบบจ่ายสลิป QR Code บริเวณทางเข้า และเครื่องรับชำระค่าบริการอัตโนมัติบริเวณทางออก มีอัตราค่าบริการดังนี้

1. ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า คิดอัตราค่าบริการจอดรถจักรยานยนต์ 4 ชั่วโมง 5 บาท โดยผู้ใช้บริการจะต้องโดยสารรถไฟฟ้า จึงจะได้รับสิทธิ์ชำระค่าบริการจอดรถในอัตราดังกล่าว
2. ผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า คิดอัตราค่าบริการจอดรถจักรยานยนต์ ชั่วโมงละ 10 บาท
3. ผู้ใช้บริการจอดรถรายเดือน คิดอัตราค่าบริการจอดรถจักรยานยนต์ เดือนละ 500 บาท



ทั้งนี้ ที่จอดรถจักรยานยนต์ บริเวณลานจอดแล้วจร สถานีเคหะฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ สามารถจอดรถจักรยานยนต์ได้จำนวน 150 คัน พร้อมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องน้ำ ตู้จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ (Vending Machine) กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 01.00 น. ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถนำรถมาจอดและเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ห้องทำบัตรรายเดือน สถานีเคหะฯ โทร. 092 271 7444
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/10/2023 3:39 pm    Post subject: Reply with quote

มท.-กทม.เร่งประสานความร่วมมือเคลียร์ปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว
ข่าวทั่วไป14:13น.

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในโอกาสตรวจราชการและมอบนโยบายให้กทม. ว่า เรื่องเร่งด่วนที่กทม. และมหาดไทยต้องทำงานร่วมกัน อาทิ เรื่องรถไฟฟ้า และเรื่องการเสริมสร้างโอกาสให้ประชาชน สามารถจัดจำหน่ายสินค้า OTOP ได้มากขึ้นในเขตกทม. เป็นต้น

เป้าหมายของเราตรงกัน คือประโยชน์สูงสุดของชาวกทม. ซึ่งมหาดไทยพร้อมสนับสนุนภารกิจระหว่างกันให้เกิดความรวดเร็ว ไร้รอยต่อ และเป็นไปตามกฎหมาย ส่วนเรื่องนโยบายระยะยาว ตนจะเคารพนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ที่ให้สัญญากับประชาชนไว้ โดยกระทรวงมหาดไทยพร้อมเป็นผู้สนับสนุน หรือหากมีเรื่องจำเป็นเร่งด่วนจะหารือกับผู้ว่าฯ กทม. เป็นเรื่องๆ ไป

สายสีเขียว รอสรุปรายละเอียด

นายชัชชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ขณะนี้เรื่องรถไฟ อยู่ระหว่างสภากทม. พิจารณารายละเอียดต่างๆ พอสภามีข้อสรุปจากคณะกรรมาธิการวิสามัญ จะนำข้อสรุปดังกล่าวแจ้งมหาดไทย และหลังจากนั้นน่าจะมีการหารือและเดินหน้าต่อไป ส่วนเรื่องม.44 ส่วนที่ค้างอยู่ คือ คำสั่งให้เดินรถแบบไร้รอยต่อ ซึ่งมีคณะกรรมการดูแล

“หลังจากนี้ต้องดูอีกทีว่าสรุปแล้วเรื่องม.44 จะเป็นอย่างไร เพราะต้องหารือระหว่างกทม. กับมหาดไทยก่อน จากนั้นมหาดไทยก็คงเอาเรื่องเข้าครม. มีขั้นตอนอยู่ ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนอะไร” นายชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ กล่าวว่า ในส่วนของเรื่องเงินกทม. ไม่มีปัญหา กทม. จ่ายได้ 2 ส่วน ซึ่งสภากทม. ต้องอนุมัติ เนื่องจากเป็นโครงการที่มีงบผูกพัน ใช้เงินสะสมที่เหลือจ่ายขาด ดังนั้น ต้องถามสภากทม. ว่ามีความเห็นอย่างไร ทั้งนี้ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนในส่วนแรกที่เป็นหนี้ค่าจ้างการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) น่าจะสามารถจ่ายได้ใน 2-3 เดือน

“คิดว่าส่วนแรกน่าจะจ่ายได้ใน 2-3 เดือน คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะเงินมี ขึ้นอยู่กับการอนุมัติตามขั้นตอน ทุกอย่างต้องตามกฎหมาย ถ้าไม่ตามกฎหมายก็ไปไม่ได้ ต้องแยกเป็น E&M และหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ต้องวิเคราะห์ว่าอันไหนรับได้ รับไม่ได้ ราคาเท่าไรเหมาะสม ซึ่งมีผลการศึกษาอยู่ อย่างไรก็ดี เราทั้งคู่ไม่ได้รับผิดชอบ มาจากคนอื่นก่อนหน้านี้ เรามาก็ต้องดูให้ถูกต้อง เพราะเป็นตัวแทนประชาชน และเงินก็ไม่ใช่เงินส่วนตัว ต้องทำให้ถูกกฎหมาย” นายชัชชาติ กล่าว

ส่วนเรื่องการขอให้รัฐบาลช่วยรับภาระในส่วนของค่าใช้จ่ายรถไฟฟ้า นายชัชชาติ กล่าวว่า ครั้งที่แล้วเป็นการขอรัฐบาลที่แล้ว ในส่วนของรัฐบาลนี้ คงจะมีการทำข้อเสนอไปที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้พิจารณาอีกครั้ง

สำหรับส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าที่ตอนนี้ยังฟรีอยู่ นายชัชชาติ กล่าวว่า มีหลายปัจจัยที่จะต้องมีการพิจารณา ซึ่งคงไม่ฟรีจนกระทั่งไม่มีที่สิ้นสุด แต่ก็มีนโยบายของรัฐบาลเรื่องการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าด้วย

ด้านนายอนุทิน กล่าวว่า ประเด็นเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นเรื่องที่ต้องหารือในช่วงเวลาต่างๆ เพราะมีหลายขั้นตอน ทั้งนี้ มหาดไทยมีหน้าที่ตอบสนองกทม. ทุกอย่าง ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน อย่างไรก็ดี ถ้าทุกอย่างมีความชัดเจน ถูกต้องตามกฎหมาย ขั้นตอนไม่มีข้อติดขัดใดๆ มหาดไทยพร้อมเร่งรัดแก้ปัญหาให้คลี่คลายโดยเร็วที่สุด

“เรื่องที่จะเข้าครม. ต่อให้มหาดไทยเป็นผู้เสนอ ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก็ต้องมีไปสอบถามความเห็นส่วนราชการ ในกรณีคงต้องถามไปยังกระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ เป็นต้น ทั้งนี้ หาก กทม. เสนอมา ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ ก็เป็นไปตามขั้นตอน ขออย่าให้ผิดกฎหมายเท่านั้นเอง ถ้าไม่ผิดกฎหมายก็ต้องทำหมด ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะมีปัญหา” นายอนุทิน กล่าว

อย่างไรก็ดี วันนี้มีโจทย์ยากอีกหนึ่งโจทย์ คือ เรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลต่างๆ ซึ่งต้องไปเคลียร์ทุกประเด็นให้หมดก่อน เพราะเคยมีปัญหา ถ้าเราทำอะไรในขณะที่มีการร้องเรียน มีการชี้มูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรอิสระ ต้องเคลียร์ให้ขาดก่อน ไม่เช่นนั้นก็ไปไม่ได้

“เชื่อว่าผู้ว่าฯ กทม. ทราบที่มาที่ไปของเรื่องนี้ทั้งหมดแล้ว ถ้าจะเริ่มกระบวนการใหม่ ก็เริ่มให้เคลียร์ เป็นยุคของเรา และก็ทำไป ไม่ใช่ไปรับอะไรจากที่เราไม่เคยเกี่ยวข้องมา แล้วฝืนไปทั้งที่ไม่เข้าใจในปัญหาอย่างถ่องแท้ คงไม่ได้แก้ปัญหาได้ เราจะไปบังคับให้คนแต่ละหน่วยยอมรับส่วนที่ไม่ถูกกฎหมาย ทำไม่ได้” นายอนุทิน กล่าว

นายอนุทิน กล่าวว่า เรื่องการเดินรถตามสัมปทานเดิม ยังไม่เข้าข่าย 5 ปีสุดท้าย ส่วนอีกเรื่อง คือส่วนต่อขยาย ซึ่งต้องแก้ปัญหา อย่างไรก็ดี รัฐบาลไม่มีสิทธิเอาเปรียบผู้ประกอบการ หรือผู้ที่มาช่วยงานให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้น ต้องดูแต่ละจุด หลังจากนี้ถ้าเรื่องเริ่มเดินได้แล้ว ตนและผู้ว่าฯ กทม. ก็จะหารือกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เป็นไปได้

ส่วนนโยบาย 20 บาทตลอดสาย มีแนวคิดที่จะเชิญเอกชนร่วมโครงการด้วยหรือไม่นั้น นายชัชชาติ กล่าวว่า เชิญได้แต่ไม่ง่าย เนื่องจากสัมปทานมี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือสัมปทานไข่แดง ซึ่งเขาได้สิทธิเพราะเป็นผู้สร้างให้ อีกส่วนคือจ้างเดินรถ หลังจากหมดสัญญาสัมปทานอีก 5 ปี กทม. จ้างเดินรถต่ออีก 13 ปี

“ถ้าจะเอา 20 บาทก็เป็นไปได้ แต่ส่วนต่างที่ไปจ้างเขากับที่เก็บได้ ก็ต้องมีการขาดทุนเกิดขึ้น ตอนนี้ที่คำนวณตอนนี้ที่จ้างเขาในอนาคตล่วงหน้าหลาย 10 ปี เฉลี่ยประมาณ 33 บาท แต่ไม่ได้ว่าคุ้มทุนไม่คุ้มทุน ดังนั้น เราเก็บ 20 บาท ก็อาจต้องมีส่วนที่ต้องชดเชย 13 บาท ยกเว้นสามารถไปต่อรองค่าจ้างให้ถูกลงได้ สรุปคือสัมปทานของ BTS พอหมดช่วงแรก เป็นช่วงที่มีสัญญาอยู่แล้วว่าเอกชนเก็บได้เท่าไร ถ้าจะเอา 20 บาท ไม่เขาลดให้ กทม. ก็ต้องไปจ่ายชดเชยให้ แต่เขาจะลดให้หรือไม่ก็ไม่ง่าย เพราะเป็นบริษัทมหาชน แต่ช่วงต่อจากหมดสัมปทานปี 72 เราเก็บเท่าไรเราได้ เราเก็บ 20 บาทก็ได้ แต่ถ้ามีใครขาดทุนเราก็ต้องจ่ายเขา” นายชัชชาติ กล่าว

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 ต.ค. 66)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42828
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2023 11:00 am    Post subject: Reply with quote

พหลโยธิน โล่งขึ้นอีก! MEA เรื้อเสาไฟฟ้าออกตามโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว
หน้า โลกธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 19.06 น.

พหลโยธิน โล่งขึ้นอีก! MEA เริ่มรื้อเสาไฟฟ้าออกตามโครงการสายไฟฟ้าใต้ดินเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว

นายฐิติวุฒิ เงินคล้าย รองผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า และประชาสัมพันธ์การรื้อถอนเสาไฟฟ้าในพื้นที่โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวในพื้นที่ ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่ แยกถนนงามวงศ์วาน ถึง ห้าแยกลาดพร้าว รวมระยะทาง 3.5 กิโลเมตร โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2566


รองผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า ตามที่ MEA ได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินอย่างต่อเนื่องตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย และรัฐบาล สำหรับพื้นที่ ถนนพหลโยธิน MEA ได้เคยดำเนินโครงการสายไฟฟ้าใต้ดินสำเร็จแล้วเป็นระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร (ตั้งแต่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึง ห้าแยกลาดพร้าว) และในครั้งนี้ได้ดำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้าเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ แยกถนนงามวงศ์วาน ถึง ห้าแยกลาดพร้าว ระยะทางรวม 3.5 กิโลเมตร เพื่อเตรียมรองรับความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและเสริมสร้างภูมิทัศน์ให้สวยงามยิ่งขึ้น


ในด้านภาพรวมความคืบหน้าโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน มีระยะทางดำเนินโครงการทั้งสิ้น 236.1 กิโลเมตร มีเป้าหมายก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2570 โดยขณะนี้ สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จรวม 62 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่สำคัญในถนนต่าง ๆ เช่น ถนนสีลม ถนนสุขุมวิท ถนนพหลโยธิน ถนนพญาไท ถนนพระราม 1 ถนนราชดำริ ถนนราชวิถี ถนนราชปรารภ ถนนศรีอยุธยา ถนนสวรรคโลก ถนนสาธุประดิษฐ์ และถนนสว่างอารมณ์ เป็นต้น ขณะเดียวกันมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 174.1 กิโลเมตร เช่น โครงการพระราม 3 โครงการรัชดาภิเษก และโครงการก่อสร้างตามแนวรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ โดยภายในปี 2566 MEA คาดว่า ภายในสิ้นปีจะมีระยะทางที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเพิ่มขึ้นอีก 29.2 กิโลเมตร ทำให้มีระยะทางสายใต้ดินสะสมรวมทั้งสิ้น 91.2 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/10/2023 9:05 am    Post subject: Reply with quote

ชง 4 ทางออกแก้สายสีเขียว
Source - เดลินิวส์
Thursday, October 05, 2023 08:32

นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากทม. เป็นประธานการประชุมสภากทม.สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 4 (ครั้งที่ 1) ประจำปี 2566 โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ร่วมด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมนายนภาพล จีระกุล สก.เขตบางกอกน้อย ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (บางส่วน) รายงานผลการศึกษาข้อเท็จจริง และกฎหมายเกี่ยวข้อง รวมทั้งกรณี กทม.รับแจ้งจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) ค้างชำระค่าใช้จ่ายในส่วนงานเดินรถและซ่อมบำรุง และงานติดตั้งระบบการเดินรถ จุดส่วน ต่อขยายที่ 1 ส่วนต่อขยายที่ 2 ถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ ระบุแนวทางที่เสนอมาจาก การศึกษาเพียงบางส่วน ไม่ได้เป็นการลงสัตยาบันเพื่อรับรองเรื่องใด เพียงอาจใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาให้ฝ่ายบริหารได้

"สภา กทม.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการหรือจ่ายเงินให้ใครได้ ที่สุดแล้ววิธีการแก้ไขจะเป็นอย่างไรก็อยู่ที่ ครม. หากผู้บริหารเห็นว่าต้องใช้เงินเพื่อแก้ปัญหาก็ต้องนำเข้าสภา กทม.เพื่อขอความเห็นชอบอีกครั้ง"
สำหรับรายงานผลการศึกษามีสาระสำคัญ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายของโครงการ การดำเนินการกรณีค่าใช้จ่าย และข้อสังเกต ดังนี้

1.กทม.ควรแยกทำสัญญางานติดตั้งระบบการเดินรถฉบับใหม่ กับ BTSC

2.กทม.ควรกำกับดูแลสัญญาเอง ไม่ให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ แต่คงสัญญาเดิม (บันทึกมอบหมายระหว่าง กทม. กับกรุงเทพธนาคมฯ และสัญญาระหว่างกรุงเทพธนาคมฯ กับ บริษัท BTSC โดยจัดทำบันทึกข้อตกลงใหม่นี้ ต่อท้ายสัญญา)

3.หาก BTSC เสนอราคาขายทรัพย์สินพร้อมเงื่อนไขที่เหมาะสมควร เป็นธรรมต่อทั้ง 2 ฝ่าย

4.หาก กทม. และ BTSC ไม่สามารถตกลงกันได้ ควรคืนโครงการไปให้รัฐบาล

ด้านผู้ว่าฯ กทม. ระบุ ถือเป็นทางออกที่ดีที่จะแยกเนื้องานการติดตั้งระบบเดินรถ กับการเดินรถและซ่อมบำรุงส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 จากกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าเห็นช่องทางของบกับสภากทม.เพื่อจ่ายค่าจ้างงานติดตั้งระบบการเดินรถแล้วหรือยัง ผู้ว่าฯ กทม.ชี้ว่ายังไม่คิดขนาดนั้น ต้องขอหารือก่อน ส่วนกรณีต่อสัมปทานสายสีเขียว อยู่ระหว่างให้ทีมงานร่างความเห็นคาดแล้วเสร็จสัปดานี้.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 ต.ค. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42828
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2023 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชง 4 ทางออกแก้สายสีเขียว
Source - เดลินิวส์
Thursday, October 05, 2023 08:32

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 ต.ค. 2566 (กรอบบ่าย)


สภา กทม. ชง 4 ข้อเสนอฝ่ายบริหาร แก้ปมสายสีเขียว ส.ก.ผวาเอี่ยวมีความผิด ชัชชาติ มองบวก ‘เป็นทางออกที่ดี’
วันที่ 4 ตุลาคม 2566 เวลา 16:15 น.

สภา กทม. ชง 4 ข้อเสนอฝ่ายบริหาร แก้ปมสายสีเขียว ส.ก.ผวาเอี่ยวมีความผิด ชัชชาติมองบวก ‘เป็นทางออกที่ดี’

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สี่ (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยมี สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามระเบียบวาระการประชุม วาระที่ 4 เรื่องที่คณะกรรมการพิจารณาเสร็จแล้ว 4.1 รายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (บางส่วน)

นายนภาพล จีระกุล ส.ก.เขตบางกอกน้อย ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญฯ รายงานผลการศึกษาต่อสภา กทม.ว่า มีการศึกษาลำดับความเป็นมา ข้อเท็จจริง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกรณีที่ กทม.ได้รับแจ้งมาจากบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ค้างชำระค่าใช้จ่ายในส่วนของงานเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) และงานติดตั้งระบบการเดินรถ (E&M) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 ส่วนต่อขยายที่ 2 ถึงปัจจุบัน (เดือนกันยายน 2566) โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมชี้แจงและให้ข้อมูล


ค่าใช้จ่ายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ประกอบด้วย 3ส่วนหลัก ได้แก่ ค่างานโครงสร้างพื้นฐาน 55,127,318,260.49 บาท ค่างานติดตั้งระบบการเดินรถ (E&M) 19,137,745,585.04 บาท และค่างานเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) 24,068,625,620.13 บาท รวมทั้งหมด 98,369,689,464.66 บาท ซึ่งยังไม่ค่วมดอกเบี้ย

ภาระค่าใช้จ่ายในส่วนงานโครงสร้างพื้นฐานของส่วนต่อขยายที่ 2 ที่รับโอนจากการรถไฟฟ้า
ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เมื่อปี 2562 โดย กทม.ได้ทำบันทึกข้อตกลงในการรับโอน
ทรัพย์สินจาก รฟม.และได้รับทรัพย์สินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการแล้ว จากนั้น กทม.ได้ทำสัญญากู้เงินกับกระทรวงการคลังเฉพาะส่วนของช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และได้จ่าย
ดอกเบี้ยจากงานโครงสร้างพื้นฐานเฉพาะในส่วนของช่วงแริ่ง – สมุทรปราการให้แก่กระทรวงการคลังตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบัน สำหรับส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต กทม.ยังไม่ได้ทำสัญญากู้เงินกับกระทรวงการคลัง เนื่องจากอยู่ระหว่างเสนอแก้ไขข้อบัญญัติเงินกู้ เสนอแก้ไขเพิ่มวงเงินจาก 51,000 ล้านบาท เป็น 54,000 ล้านบาท ตามที่ รฟม.สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ จึงถือว่ายังไม่ได้รับทรัพย์สินในส่วนช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ คูคต โดยค่าดอกเบี้ยในส่วนนี้ ปัจจุบัน รฟม. ยังคงเป็นผู้ชำระ

ค่าใช้จ่าย O&M BTSC ได้ฟ้อง กทม.และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT ต่อศาลปกครองกลาง ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้ กทม.และเคที ร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ โดย กทม.ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด



ค่าใช้จ่าย E&M ปัจจุบัน BTSC ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าฯ กทม.เพื่อทวงถามขอให้ชำระค่าใช้จ่าย ภายใต้
สัญญาซื้อขายพร้อมติดตั้งระบบการเดินรถไฟฟ้าและเครื่องกล (E&V) (สัญญาระหว่าง KT กับ BTSC เนื่องจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดของทรัพย์สินถึงกำหนดชำระแล้วตามสัญญา โดย BTSC ได้มีหนังสือทวงถามทั้งหมด 5 ฉบับ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ถึงพฤษภาคม 2566 โดยฉบับเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ได้สรุปยอดค่าใช้จ่ายเงินต้นรวมดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงิน 22,948,626,080.10 บาท KT ได้มีหนังสือถึง กทม.แจ้งตามที่ BTSC ได้ทวงถามขอให้ชำระค่าใช้จ่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งจากการตร่วจสอบของ KT พบว่ามีเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน 20,748,438,890.83 บาท และ KT ยังไม่ได้หาแหล่งเงินทุนระยะยาวมาชำระเนื่องจากทราบว่าจะนำค่าใช้จ่ายค่างานติดตั้งระบบการเดินรถไปเป็นทุนตามเงื่อนไขการให้เอกชนร่วมลงทุนตามการดำเนินการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

คณะกรรมการวิสามัญฯ ได้ศึกษาแล้วมีข้อสังเกตว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในส่วนงานติดตั้งระบบการเดินรถ (E&M) เป็นทรัพย์สินที่สามารถแยกออกมาดำเนินการได้ ซึ่งปัจจุบันได้ถึงกำหนดชำระเงินแล้ว หากไม่มีการแก้ไขในส่วนนี้จะเกิดภาระดอกเบี้ยและค่าปรับจำนวนมาก เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นและไม่ให้เกิดความเสียหายต่อ กทม. แต่เนื่องจากคณะกรรมการวิสามัญฯ มีข้อสังเกตว่าบันทึกข้อตกลงมอบหมายโครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ฉบับลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 เป็นประเด็นเกี่ยวกับข้อกฎหมายและมีข้อต่อสู้ในชั้นศาลปกครองสูงสุด เพื่อไม่เป็นการทำให้เสียรูปคดี

จากการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 คณะกรรมการวิสามัญฯ ได้ตั้งข้อสังเกต ดังนี้1.กทม.ควรแยกทำสัญญางานติดตั้งระบบการเดินรถฉบับใหม่กับ BTSC โดยตรง2.กทม.ควรกำกับดูแลสัญญาเอง ไม่ให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ แต่คงสัญญาเดิม (บันทึกมอบหมายระหว่างกรุงเทพมหานคร กับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และสัญญาระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด กับ BTSC โดยจัดทำบันทึกข้อตกลงใหม่นี้ต่อท้ายสัญญา3.หาก BTSC เสนอราคาขายทรัพย์สินพร้อมเงื่อนไขที่เหมาะสมควรเป็นธรรมต่อทั้ง 2 ฝ่าย 4.หาก กทม.และ BTSC ไม่สามารถตกลงกันได้ ควรคืนโครงการนี้กลับไปให้รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ



อย่างไรก็ดี จากการพิจารณาของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการวิสามัญฯ ได้รับทราบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหางานติดตั้งระบบการเดินรถตามที่ผู้บริหารเสนอ โดยผู้บริหารจะไปดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับรายละเอียดจำนวนเงิน เงื่อนไขการชำระเงิน และบัญชีอุปกรณ์งานระบบการเดินรถเพื่อจัดทำเป็นบันทึกข้อตกลง (เพิ่มเติม) การรับมอบทรัพย์สินงานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

จากนั้นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้สอบถามรายละเอียดในประเด็นที่สนใจ อาทิ เรื่องสัญญาการเดินรถ ระบบการเดินรถ การแยกสัญญา E&M และ O&M การแบ่งจ่ายเงินเป็นงวด ประสิทธิภาพของทรัพย์สินซึ่งกรุงเทพมหานครอาจต้องรับโอนมา

นางสาวนฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ สก.เขตคลองสามวา อภิปรายว่า ตามที่คณะกรรมการวิสามัญฯ ระบุคำนิยาม กทม.ว่าเป็นฝ่ายบริหาร กทม. ไม่ได้เกี่ยวพันถึงสภา กทม.ขอให้บันทึกการประชุมไว้ ด้วยเหตุผลว่าผู้ว่าฯ กทม.ให้ข่าว ซึ่งระบุว่า สภา กทม.กำลังพิจารณาเรื่องนี้ เมื่อสภาฯ กทม.มีข้อสรุป จะแจ้งตอบไปยังกระทรวงมหาดไทย (มท.)

“ดิฉันกังวล เนื่องจากว่าพวกเราสามารถใส่ข้อสังเกตได้ แต่ไม่สามารถสรุปให้ฝ่ายบริหารได้ จึงขอบันทึกการประชุมไว้ เพื่อเป็นเหตุผลตอบผู้สื่อข่าวผ่านสภา กทม.” นางสาวนฤนันมนต์กล่าว


นางสาวนฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ สก.เขตคลองสามวา
นายนภาพลกล่าวว่า ตามที่รายงานของคณะกรรมการวิสามัญฯ แนวทางที่ผู้บริหาร กทม.เสนอเข้ามา มีความน่าจะแก้ไขปัญหาในเรื่องค่า E&M ถ้าเห็นว่าดีฝ่ายบริหารก็ควรไปดำเนินการต่อ ซึ่งผู้บริหารอาจจะมีแนวทางที่ดีกว่านี้ก็ได้ ซึ่งเมื่อฝ่ายบริหารสรุปแนวทาง ก็ต้องส่งให้กับทาง มท. ไปยัง ครม.อีก

“ที่สุดแล้วการเคาะจะให้ทำอย่างไรในวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ ก็อยู่ที่ ครม.หากผู้บริหารเห็นชอบด้วยก็มาว่ากัน มารายงานต่อสภาฯ ให้สภาฯ ดำเนินการอย่างไร หรืออนุมัติวงเงินอย่างไร ถึงตอนนั้นคงมีการตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาเงินที่จะใช้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อความรอบคอบ” นายนภาพลกล่าว

“ถ้าผมไม่รายงานกับทางสภาฯ จะเป็นปัญหามากกว่า อยู่ๆ ฝ่ายบริหารไปดำเนินการเองเลย แล้วผมไม่รายงานต่อสภาฯ ตอนนี้รายงานให้ทราบถึงขั้นตอน ว่าถึงไหนแล้ว จะเดินอย่างไรได้บ้าง” นายนภาพลกล่าว

ด้านนายพีรพล กนกวลัย ส.ก.เขตพญาไท ในฐานะรองประธานคณะกรรมการวิสามัญฯ กล่าวว่า รายงานการศึกษาครั้งนี้เพียงแต่ให้สมาชิกรับทราบในการดำเนินการต่อจากนี้ ไม่ได้มีมติให้ฝ่ายบริหารไปดำเนินการตามรายงาน ทางสภา กทม.ไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้น

นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา สก.เขตลาดกระบัง กล่าวว่า ขอขอบคุณประธานคณะกรรมการวิสามัญฯ ที่ชี้แจงว่าเป็นรายงานผลการศึกษา เพราะว่าเพื่อนๆในสภา กทม.แห่งนี้กลัว เพราะเรื่องนี้อยู่ที่ศาลปกครองสูงสุด และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทางสมาชิกเป็นห่วงเป็นใยเรื่องนี้

ยอกจากนี้ยังมี นายตกานต์ สุนทรวุฒิ สก.เขตหลักสี่ นายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ สก.เขตยานนาวา และนางกนกนุช กลิ่นสังข์ สก.เขตดอนเมือง ก็ได้ร่วมอภิปรายด้วยเช่นกัน

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวภายหลังการรับฟังรายงานว่า เท่าที่ฟังถือเป็นทางออกที่ดีที่จะแยกเนื้องานเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) และงานติดตั้งระบบการเดินรถ (E&M) ในส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 ออกจากกัน จากนี้จะให้ทีมงานสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอดังกล่าวอีกครั้ง

เมื่อถามว่า จากที่สภา กทม.เสนอผลการศึกษา เห็นช่องทางใดในการของบประมาณสภา กทม.ในการจ่ายค่าจ้าง E&M ส่วนต่อขยายที่ 2 วงเงินเกือบ 20,000 ล้านบาท นายชัชชาติกล่าวว่า ยังไม่ได้คิดขนาดนั้น ต้องขอหารือกันก่อน

เมื่อถามถึงความคืบหน้าการทำความเห็นของ กทม. เสนอไปยัง มท. กรณีการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว นายชัชชาติกล่าวว่า กำลังให้ทีมงานร่างความเห็นเสนออยู่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในสัปดาห์นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45102
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/10/2023 5:31 am    Post subject: Reply with quote

'บีทีเอส'พร้อมเก็บ15บ.สีเขียวขยาย
Source - เดลินิวส์
Wednesday, October 18, 2023 05:16

ตลอดสายคูคต-เคหะสูงสุด62บ. หนี้5หมื่นล.บวก600ล.ทุกเดือน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ประชุมหารือเบื้องต้นกับทางบริษัทฯ ด้านเทคนิคเพื่อเตรียมความพร้อมเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย 15 บาท แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียด และทาง กทม. ยังไม่ได้แจ้งมาอย่างเป็นทางการว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายเมื่อใด บริษัทฯ ได้แจ้งกับ กทม. แล้วว่า หากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนขอให้แจ้งบริษัทฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อปรับระบบซอฟต์แวร์ พร้อมประชาสัมพันธ์ข้อมูล รวมถึงเปลี่ยนตัวเลขค่าโดยสารที่ระบุอยู่บริเวณตู้จำหน่ายตั๋วโดยสาร อัตโนมัติด้วย ยืนยันว่าบริษัทฯ พร้อม ขอแค่แจ้งมา

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสาย สีเขียวอยู่ที่ประมาณ 8 แสนคนต่อวัน ยังไม่เท่าปกติ คิดเป็นประมาณ 80% ของช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เมื่อปี 62 ซึ่งเคยสูงสุดกว่า 1 ล้านคน เนื่องจากขณะนี้ปิดภาคเรียน และมีบางบริษัทให้พนักงานทำงานที่บ้าน ขณะที่นักท่องเที่ยวยังไม่กลับมา โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่สุดของไทย กลับมาไม่ถึง 10% สำหรับปัญหาหนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น ตัวเลขหนี้ค่าจ้างเดินรถสะสมไหลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เดือนละ 500-600 ล้านบาท เนื่องจากดอกเบี้ยยังเดินต่อเนื่อง ปัจจุบันมูลค่าหนี้รวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท มี 2 ส่วนคือ ค่าจ้างการติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท และค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว วงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยในส่วนของค่าจ้างเดินรถฯ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากกทม. ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฯ หลังจากก่อนหน้านี้ศาลปกครองพิพากษาให้กทม. และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ร่วมกันจ่ายหนี้ให้บีทีเอส

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักการจราจรและขนส่ง กทม. ได้ส่งหนังสือสอบถามหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชุมหารือร่วมกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อพิจารณาแนวทางการเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เนื่องจากเปิดบริการตลอดเส้นทางตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. 63 แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่เก็บค่าโดยสาร ทำให้ กทม. มีภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการฯ และการจ้างเดินรถมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า กทม. จึงมีนโยบายที่จะเก็บค่าโดยสาร เพื่อนำรายได้จากค่าโดยสารมาใช้บริหารจัดการเดินรถ โดยได้พิจารณาแนวทางการเก็บค่าโดยสาร (ชั่วคราว) ในอัตรา 15 บาทตลอดเส้นทางเฉพาะส่วนต่อขยาย ซึ่งเป็นค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไป และทำให้ กทม. มีรายได้ ประกอบกับปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองได้เปิดบริการแล้วตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 66 มีค่าโดยสารตามระยะทางในอัตรา 15-45 บาท และได้รับทราบว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูก็มีแผนเปิดบริการในเร็ว ๆ นี้เช่นกัน ซึ่งทั้ง 2 สายมีการเชื่อมต่อกับสายสีเขียวที่ กทม.รับผิดชอบ โดยสายสีเหลืองเชื่อมต่อที่สถานีสำโรง และสายสีชมพูเชื่อมต่อที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า เบื้องต้นในการประชุมหารือ ขร. และ รฟม. ไม่ได้ขัดข้องกับการเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายที่ 2 รวมถึงเงื่อนไขในการกำหนดค่าแรกเข้าในกรณีที่มีการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าในการเดินทาง ซึ่งจะมีการประชุมพิจารณาส่วนลดค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อต่อไป โดยขั้นตอนหลังจากนี้ กทม. จะจัดทำรายละเอียดเสนอสภา กทม. พิจารณา ก่อนผู้ว่าฯ กทม. ออกประกาศต่อไป สำหรับการประชุมหารือครั้งนี้ ขร. ได้สอบถามถึงการเก็บอัตราค่าโดยสาร 15 บาทด้วยว่าจะเก็บถึงเมื่อไหร่ ได้รับคำตอบว่าขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ว่าฯ กทม. นอกจากนี้ยังได้สอบถามถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล ซึ่งทาง กทม. ขอศึกษารายละเอียดก่อน ซึ่งในส่วนนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างตั้งคณะกรรมการ เพื่อมาเจรจากับผู้ประกอบการรถไฟฟ้าสายสี อื่น ๆ นอกเหนือจากสายสีแดง และสายสีม่วง

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ปัจจุบันค่าโดยสารในส่วนสัมปทานหลัก ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน เก็บตามระยะทาง 17-47 บาท ดังนั้นหากให้เริ่มเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2 อัตรา 15 บาท จะทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางสายสีเขียวจ่ายค่าโดยสารสูงสุดที่ 62 บาท อาทิ เดินทางข้ามช่วงจากคูคต-เคหะฯ จากสถานีเหนือสุดจนถึงสถานีใต้สุด จะคิดค่าโดยสาร 15 บาทเพียงครั้งเดียว และจ่ายค่าโดยสารเพิ่มเฉพาะส่วนสัมปทาน คิดเป็น 15+47+0 = 62 บาท หากเดินทางเฉพาะส่วนต่อขยาย เก็บ 15 บาทตลอดสาย.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 18 ต.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99, 100, 101, 102  Next
Page 98 of 102

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©