RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311330
ทั่วไป:13291841
ทั้งหมด:13603171
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 98, 99, 100, 101, 102  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2023 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'บีทีเอส'พร้อมเก็บ15บ.สีเขียวขยาย
Source - เดลินิวส์
เขียน วันพุธ ที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 05:16 น.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับ วันพุธ ที่ 18 ตุลาคม 2566


พ.ย. 66 กทม.เตรียมเก็บค่าโดยสารสายสีเขียว ‘แบริ่ง-เคหะฯ/หมอชิต-คูคต’ 15 บ.ตลอดสาย
เขียนโดยisranews
เขียน วันจันทร์ ที่ 16 ตุลาคม 2566 เวลา 08:30 น.

โซนปากน้ำ-สะพานใหม่-คูคต เตรียมควักกระเป๋าจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2 ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และ หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต กทม. หลังฟรีมานาน คาดเริ่มเก็บเดือน พ.ย. 2566 นี้ เล็งชง ‘ชัชชาติ’ ลงนามในประกาศ กทม. ภายในเดือน ต.ค.นี้ คาดการเก็บค่าโดยสารจะทำให้ กทม.มีรายได้พันล้านบาท แต่ยังไม่พอจ่ายหนี้เดินรถที่ต้นทุนพุ่ง 5,000 ล้านบาท/ปี

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 16 ตุลาคม 2566 แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยสำนักข่าวอิศราว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กทม.ได้นัดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และกระทรวงการคลังหารือถึงการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ซึ่งส่วนต่อขยายดังกล่าวไม่ได้เก็บค่าโดยสารเป็นเวลากว่า 3-4 ปีแล้วนับตั้งแต่ที่มีการเปิดให้ประชาชนใช้บริการเต็มรูปแบบ

โดย กทม.เสนอจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายดังกล่าวที่ 15 บาทตลอดสายในช่วงเดือน พ.ย. 2566 นี้ ซึ่งประชาชนที่เดินทางข้ามจากส่วนต่อขยายที่ 2 ไปส่วนอื่นๆของรถไฟฟ้าสายสีเขียว จะไม่ได้รับกระทบอะไร แต่ประชาชนที่เดินทางเฉพาะสถานีที่อยู่ในส่วนต่อขยายที่ 2 (ส่วนเหนือคือ สถานีห้าแยกลาดพร้าว - สถานีคูคต และส่วนใต้ตั้งแต่สถานีแบริ่ง - สถานีเคหะสมุทรปราการ) จะต้องเสียค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย โดยอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะยังอยู่ในระหว่างราคาเริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุดที่ 62 บาทตามปกติ และจากการแจ้งกับ รฟม.และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ทั้งสองหน่วยงานไม่มีอะไรขัดข้อง ทำให้ขั้นตอนหลังจากนี้จะเร่งเสนอนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม.ออกประกาศ กทม.เพื่อจัดเก็บค่าโดยสารภายในเดือน ต.ค. 2566 นี้ เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบก่อน 30 วัน

แหล่งข่าวจากกทม.ประเมินว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 มีผู้โดยสารใช้บริการที่ 240,000 เที่ยวคน/วัน และจากการกำหนดเก็บค่าโดยสารนี้จะทำให้ กทม.มีรายได้เข้ามาประมาณ 3.7 ล้านบาท/วัน คิดเป็นรายได้/ปีประมาณ 1,000 ล้านบาท และหลังจากมีกำหนดเก็บค่าโดยสารคาดว่า ผู้โดยสารจะลดลงประมาณ 10%

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีรายได้เข้ามาประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ส่วนต่อขยายที่ 2 จริงอยู่ที่ปีละ 5,000 ล้านบาท ดังนั้น รายได้ดังกล่าวก็ยังไม่พอสำหรับใช้จ่ายส่วนนี้อยู่ดี

เมื่อถามว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ยังมีประเด็นการรับมอบทรัพย์สินหนี้สินจาก รฟม. ไม่สมบูรณ์ โดยยังไม่ได้จ่ายค่าทรัพย์สินและหนี้สิน วงเงินประมาณ 50,000 ล้านบาท การที่ กทม.จะเก็บค่าโดยสารจะทำได้หรือไม่ แหล่งข่าวจากกทม.ตอบว่า จริงๆมีการรับโอนโครงการกันไปแล้ว แต่เรื่องของหนี้ 50,000 ล้านบาท ยังสามารถคุยกันได้ เพราะมีข้อตกลงกับ รฟม.อยู่


@จ่อคุย 'คมนาคม' ปมตั๋วร่วม-อุดหนุนค่าแรกเข้า
ทั้งนี้ ในอนาคต กระทรวงคมนาคมมีนโยบายทำระบบตั๋วร่วม ก็จะต้องคุยกับ กทม.กันอีกครั้งหนึ่ง เพราะในระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียว ปัจจุบันจะเชื่อมได้เฉพาะรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว - สำโรง กับรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย - มีนบุรีเท่านั้น เพราะมีผู้รับสัมปทานคนเดียวกันคือ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) แต่การเชื่อมโครงข่ายรถไฟฟ้าของกระทรวงคมนาคมยังทำไม่ได้ เพราะรถไฟฟ้าสายสีเขียวยังไม่ได้ปรับปรุงระบบรองรับไว้ ซึ่งของกระทรวงคมนาคมมีระบบของ MRT และการเชื่อมต่อผ่าน EMV (EMV ย่อมาจาก Europay, MasterCard, VISA สามองค์กรที่ได้พัฒนาและจัดตั้ง EMV ในฐานะมาตรฐานระดับโลกของธุรกรรมเครดิตและเดบิตที่ใช้ชิพ) หากกระทรวงคมนาคมมีหนังสือนัดหารือเมื่อไหร่ ก็พร้อมจะเข้าไปร่วมด้วย

แหล่งข่าวจากกทม.กล่าวต่อไปว่า นอกจากเรื่องการปรับปรุงระบบแล้ว อีกประเด็นที่จะต้องหารือกันคือ ค่าแรกเข้า เพราะตามนโยบายที่จะทำตั๋วร่วม ประเด็นการทำอัตราค่าโดยสารร่วมรูปแบบ Common Fair ซึ่งจะมีค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว และระบบรถไฟฟ้าปัจจุบันลักษณะที่เป็นค่าโดยสารร่วมมีเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ - ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง กับรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงคลองบางไผ่ - เตาปูน เท่านั้น โดยยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าของ กทม.และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ และปลายทางของประเด็นนี้รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณมาอุดหนุนค่าแรกเข้าแน่นอน เพียงแต่ว่าหน่วยงานใดจะต้องเข้ารับภาระตรงนี้ ก็เป็นอีกประเด้นที่จะต้องพูดคุยกันต่อไป

@หนี้สายสีเขียวท่วม 9.8 หมื่นล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ สภากรุงเทพมหานคร (สภากทม.) โดยณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เคยรายงานค่าใช้จ่ายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงตากสิน - บางหว้าและช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ประกอบด้วยค่าใช้จ่าย 3 ส่วนคือ ค่าใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐาน ค่าใช้จ่ายงานระบบเดินรถ (E&M) และค่าใช้จ่ายในการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M ) วงเงินรวม 98,369.68 ล้านบาท (ไม่รวมดอกเบี้ย)

แจกแจงค่าใช้จ่ายค่างๆ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย เงินกู้งานโครงสร้างพื้นฐานส่วนต่อขยายที่ 2 วงเงินรวม 43,879 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่วงแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ วงเงินรวม 15,019.14 ล้านบาท และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต วงเงิน 28,860 ล้านบาท, เงินยืมค่าจัดกรรมสิทธิ์ส่วนต่อขยายที่ 2 วงเงินรวม 11,155 ล้านบาท แบ่งเป็นช่วงแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ วงเงิน 4,170 ล้านบาท และช่วงหมอชิต * สะพานใหม่ - คูคต วงเงิน 6,984 ล้านบาท, รายได้ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในการจ้างที่ปรึกษาส่วนต่อขยายที่ 2 วงเงิน 92.6 ล้านบาท แบ่งเป็นช่วงแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ วงเงิน 14.1 ล้านบาท และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต วงเงิน 78.4 ล้านบาท,

ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบเดินรถ (E&M) ส่วนต่อขยายที่ 2 วงเงิน 19,173 ล้านบาท

และค่าใช้จ่ายในการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ส่วนต่อขยายที่ 1 วงเงิน 4,832.97 ล้านบาท และส่วนต่อขยายที่ 2 วงเงิน 24,068.62 ล้านบาท แบ่งเป็นช่วงแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ วงเงิน 9,771.1 ล้านบาท และชาวงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต วงเงิน 9,474.54 ล้านบาท (อ่านประกอบ: สรุปผลศึกษาสายสีเขียว หนี้บาน 9.8 หมื่นล้าน แนะทำสัญญาแยก ‘ระบบ-เดินรถ’)

@เริ่มเปิดส่วน 2 ปี 2560
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ดำเนินการเปิดให้บริการเป็นช่วงๆ นับตั้งแต่ปี 2560-2563 โดยส่วนต่อขยายที่ 2 ด้านใต้คือช่วงแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ เป็นช่วงที่เปิดบริการก่อน นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2560 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเดินทางไปเปิดให้บริการช่วงแบริ่ง - สำโรง ก่อนที่จะเปิดส่วนที่เหลือยาวถึงเคหะสมุทรปราการในวันที่ 6 ธ.ค.2561

ขณะที่ด้านเหนือช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต เริ่มเปิดให้บริการเป็นช่วงๆเช่นกัน โดยเริ่มต้นเปิดให้บริการจากสถานีหมอชิต - สถานีห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2562 ก่อนที่ช่วงปลายปี คือ วันที่ 4 ธ.ค. 2562 พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จะเดินทางมาเปิดบริการช่วงห้าแยกลาดพร้าว - สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมาเปิดให้บริการเต็มสายถึงสถานีคูคตเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44909
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/11/2023 9:29 am    Post subject: Reply with quote

หมดระยะนั่งฟรี 'รถไฟฟ้าสายสีเขียว' ธ.ค.นี้ เริ่มเก็บค่าโดยสาร 15 บาท
กรุงเทพธุรกิจ 11 พ.ย. 2566 เวลา 7:28 น.
    หมดระยะนั่งฟรี 'รถไฟฟ้าสายสีเขียว' ธ.ค.นี้ เริ่มเก็บค่าโดยสาร 15 บาท
    จับตากลางเดือน ธ.ค.นี้ “รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย” เตรียมเก็บค่าโดยสาร 15 บาท หลังเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรีนาน 6 ปี
“รถไฟฟ้าสายสีเขียว” ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เปิดให้บริการประชาชนโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายมาตั้งแต่ปี 2560 ส่งผลให้เป็นหนี้ผูกพันแก่เอกชนผู้รับสัมปทานจ้างเดินรถสะสมรวมปัจจุบันสูงกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น หนี้งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท และหนี้ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) จ้าง BTSC เดินรถประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

โดยล่าสุด “วิศณุ ทรัพย์สมพล” รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งระบุว่าคณะผู้บริหาร กทม.มีนโยบายที่จะเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ในอัตรา 15 บาทตลอดสาย หากรวมกับค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 1 อ่อนนุช-แบริ่ง, ตากสิน-บางหว้า กับเส้นทางหลัก ค่าโดยสารสูงสุดจะไม่เกิน 62 บาท

เนื่องจากปัจจุบันพบว่าปริมาณผู้โดยสารที่ใช้เส้นทางส่วนต่อขยายสูงเฉลี่ย 2.5 แสนคนเที่ยวต่อวัน มีรายได้ประมาณ 3-4 ล้านบาทต่อวัน แต่ยังไม่มีการเก็บค่าโดยสาร ทำให้ กทม.มีภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการและการจ้างเดินรถเป็นเงินมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ดี การจะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารนั้น กทม.ได้มอบให้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ดำเนินการตามขั้นตอนให้ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปทั้งหมด กทม.จะรายงานกระทรวงมหาดไทย และคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ หากเห็นชอบ ผู้ว่าฯ กทม.จึงลงนามออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า 30 วันก่อนเริ่มจัดเก็บค่าโดยสาร

“สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” เปิดเผยในฐานะกรรมการของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC โดยระบุว่า กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเตรียมลงนามในประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยเรื่องการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายนั้น บริษัทฯ ยังไม่ได้รับแจ้งจาก กทม. แต่หาก กทม.ลงนามแล้ว ตามกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ภายใน 30 วัน เพื่อให้เวลาในการประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึงก่อน ทั้งนี้ เมื่อมีการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายแล้วหวังว่าทาง กทม.จะแบ่งรายได้มาจ่ายหนี้ให้ BTSC เพื่อให้หนี้ที่มีอยู่ลดลงบ้าง

สำหรับภาระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ BTSC ขณะนี้มีตัวเลขยอดหนี้รวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น หนี้งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท และ หนี้ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) จ้าง BTSC เดินรถ ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยล่าสุดทราบว่า กทม. อยู่ระหว่างพิจารณาหาแนวทางการชำระหนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

ด้านรายงานข่าวจาก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการเตรียมออกประกาศจัดเก็บค่าโดยสารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายว่า ปัจจุบันค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว เริ่มต้น 17 บาท และสูงสุด 47 บาท แต่หากมีการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายอีก 15 บาท จะรวมเป็นสูงสุดไม่เกิน 62 บาทตลอดสาย โดยจะไม่มีการจัดเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน เพราะผู้โดยสารจะชำระค่าโดยสารช่วงส่วนต่อขยายเพียง 15 บาทเท่านั้น และเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเริ่มเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายได้อย่างเร็วสุดช่วงกลางเดือน ธ.ค.นี้ หรืออย่างช้าในเดือน ม.ค.2567

สำหรับ แนวทางการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เป็นหนึ่งในแนวทางที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เคยเสนอให้กับ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ในสมัยนั้นพิจารณา โดยมี 3 แนวทาง ประกอบด้วย

1. ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย : โดยแนวทางนี้นับเป็นการจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราที่ต่ำ ช่วยลดภาระหนี้สินบางส่วน แต่สามารถลดผลกระทบค่าครองชีพประชาชนได้

2. เก็บค่าโดยสารแบบขั้นบันได : โดยสถานีที่ 1-5 เก็บ 15 บาท, สถานีที่ 5-10 เก็บ 20 บาท, สถานีที่ 11 เป็นต้นไปเก็บ 25 บาท รวมสูงสุดไม่เกิน 30 บาท

3. เริ่มต้น 15 บาท และปรับเพิ่ม 3 บาทต่อสถานี : ปรับราคาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนสถานี แต่สูงสุดไม่เกิน 30 บาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2023 11:07 am    Post subject: Reply with quote

หมดเวลานั่งฟรี คาดปลาย ธ.ค.เก็บค่าโดยสารสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 15 บ.ตลอดสาย
เศรษฐกิจ
วันจันทร์ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 23:02 น.


เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงการดำเนินการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ ว่าเดิมมีคำสั่งของศาลปกครองกลาง ให้ กทม.ไปหารือกับกระทรวงคมนาคมถึงความเหมาะสมในการเก็บราคาค่าโดยสาร ซึ่งสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) แจ้งเบื้องต้นว่าได้ดำเนินการประชุมร่วมกันแล้วและทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก็ไม่ได้คัดค้านอะไร


แต่เมื่อได้ส่งเรื่องไปยังสำนักกฎหมายและคดีเพื่อเตรียมออกประกาศนั้น ทางสำนักกฎหมายฯ อยากให้มีหนังสือตอบกลับจากกระทรวงคมนาคมอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่แค่เพียงรายงานการประชุม เนื่องจากกลัวติดขัดปัญหา ขณะนี้ สจส.จึงได้ทำหนังสือถามไปยังกระทรวงคมนาคมว่า กทม.จะเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาท กระทรวงคมนาคมมีความเห็นอย่างไร และรอหนังสือตอบกลับมา

นายวิศณุกล่าวว่า หากไม่มีประเด็นอะไรเพิ่มเติมก็จะเสนอให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ลงนามประกาศเก็บค่าโดยสาร และเมื่อผู้ว่าฯกทม.ลงนามเรียบร้อยภายใน 30 วันหลังจากวันลงนามก็จะเริ่มเก็บค่าโดยสารได้ทันที ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงปลายเดือน ธ.ค.นี้


“การออกประกาศเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทนั้นไม่ต้องรอมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะอยู่ในอำนาจของผู้ว่าฯกทม.ที่สามารถออกประกาศได้ ซึ่งที่ผ่านมาศาลปกครองกลางให้เราไปปรึกษากับกระทรวงคมนาคมให้รอบคอบก่อน” นายวิศณุกล่าว

ด้านนายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ รองผู้อำนวยการ สจส. กล่าวเพิ่มเติมว่า สจส.ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงคมนาคม เมื่อกลางเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่ กทม.เสนอเก็บค่าโดยสาร โดยตอนนี้รอเพียงปลัดกระทรวงคมนาคมเซ็นหนังสือรับทราบการเก็บค่าโดยสารดังกล่าว เมื่อมีหนังสือตอบกลับแล้วก็สามารถให้ผู้ว่าฯกทม.ลงนามประกาศเก็บค่าโดยสารได้เลย ทั้งนี้ สจส.คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสารได้ในช่วงปลายเดือน ธ.ค.66 หรือช่วงต้นเดือน ม.ค.67

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ ไม่ได้เก็บค่าโดยสารมาเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปีแล้ว โดยผู้โดยสารที่จะต้องเสียค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย คือผู้ที่โดยสารจากสถานีหมอชิตถึงสถานีคูคต และตั้งแต่สถานีอ่อนนุชถึงสถานีเคหะสมุทรปราการ และเมื่อเดินทางต่อไปยังเส้นทางสัญญาสัมปทานด้วยแล้วจะต้องจ่ายค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 62 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44909
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/11/2023 8:47 pm    Post subject: Reply with quote

“สายสีเขียว” 20 บาทตลอดสาย คุยได้แต่ยาก! ม.ค.67 เก็บ 15 บาทต่อขยาย
เดลินิวส์ 20 พฤศจิกายน 2566 19:51 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“ผู้ว่าฯ กทม.” ชี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 20 บาทตลอดสาย คุยได้แต่ยาก ยังติดสัญญาสัมปทาน รัฐต้องอุดหนุนรายได้ที่ลดลง ย้ำ กทม. ยังมีเรื่องหนี้ที่ต้องจัดการก่อน ส่ง มท. เคาะเข้า ครม.แล้ว ขณะที่ กลาง ม.ค.67 เก็บแน่ค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2 อัตรา 15 บาทตลอดสาย

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่กระทรวงคมนาคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง กทม.ได้ส่งหนังสือมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อแจ้งว่า กทม.จะจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ในอัตรา 15 บาทตลอดเส้นทางเฉพาะส่วนต่อขยาย ประมาณกลางเดือน ม.ค.67 ทั้งนี้ยอมรับว่าแม้จะเก็บค่าโดยสารแล้ว แต่รายได้ก็ยังต่ำกว่าค่าจ้างเดินรถที่กทม.ต้องจ่ายให้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่ก็ยังดีกว่าไม่เก็บค่าโดยสาร  

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาลนั้น กทม.ในฐานะผู้รับผิดชอบสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีนโยบายที่จะผลักดันการลดค่าครองชีพประชาชน แต่เรื่องสำคัญของรถไฟฟ้าสายสีเขียวในขณะนี้ คือการแก้ปัญหาภาระหนี้สินที่มีอยู่กับเอกชนคู่สัญญา รวมไปถึงเรื่องการเสนอให้รัฐบาลช่วยรับภาระค่าใช้จ่ายงานโยธารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เหมือนเงื่อนไขการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นยอมรับว่าเรื่องค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย เจรจาได้ แต่เป็นเรื่องยาก เนื่องจากยังติดสัญญาสัมปทาน ซึ่งหากให้เก็บ 20 บาทตลอดสาย รัฐบาลก็ต้องเป็นผู้อุดหนุนในส่วนของรายได้ที่ลดลงไป

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น ขณะนี้ กทม. ได้เสนอเรื่องการชำระค่าจ้างการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท ไปยังกระทรวงมหาดไทย (มท.) ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ตามกระบวนการจำเป็นต้องเสนอให้กระทรวงมหาดไทยและ ครม.ตีความในการชำระค่าใช้จ่ายให้แก่เอกชน เนื่องจากพบว่าสัญญาส่วนนี้อยู่ภายใต้คำสั่ง ม.44 เกี่ยวกับการเจรจาต่อสัญญาสัมปทาน ส่งผลให้ กทม.ไม่สามารถนำเงินสะสมจ่ายขาดที่มีพร้อมอยู่ราว 5 หมื่นล้านบาท มาชำระให้แก่เอกชนได้ทันที เพราะตามกระบวนการต้องผ่านการพิจารณาจากกระทรวงมหาดไทย ครม. และนำกลับมาสู่สภา กทม.พิจารณาอนุมัติ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44909
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/11/2023 8:02 am    Post subject: Reply with quote

โยนมหาดไทยจ่ายหนี้สีเขียว
Source - ไทยโพสต์
Tuesday, November 21, 2023 04:23

กทม.เล็งเก็บส่วนขยาย15บาทม.ค.67

ราชดำเนิน * รฟม.เร่งถกหาทางออกสรุปค่าแรกเข้า "เขียว-ชมพู" ด้าน กทม.ปักธง ม.ค.67 เล็งเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว 15 บาทตลอดสาย ด้าน กทม.โยนมหาดไทย เคาะจ่ายหนี้ก้อนแรก 2.3 หมื่นล้าน 'รถไฟฟ้าสายสีเขียว'

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า กรณีจุดเชื่อมต่อรถไฟ ฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต กับสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ไม่มีประตูกั้นเพื่อแตะบัตรเข้าออกระบบ ทำให้ผู้โดยสารจากสายสีชมพูสามารถเดินผ่านสกายวอล์กเข้าสู่ระบบสายสีเขียวขึ้นรถไฟฟ้าได้ทันทีนั้น เป็นการออก แบบตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมในยุคนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีต รมว.คมนาคม ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบแบบไร้รอยต่อ และได้มีการทำฮาร์ดแวร์ไว้ก่อน แต่เนื่องจากการหารือเรื่องค่าแรกเข้ายังไม่เสร็จ ประกอบกับส่วนต่อขยายสายสีเขียวยังไม่มีการเก็บค่าโดยสาร ดังนั้นจะต้องมีการหารืออีกครั้ง

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงความคืบหน้าการหาแนวทางการชำระหนี้งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่คูคต 23,000 ล้านบาทให้กับ BTS ว่า ในขณะนี้ทางกรุงเทพฯ ได้ส่งเรื่องให้กับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทยพิจารณาว่าจะต้องเสนอเรื่องในคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาสรุปแนวทางเรื่องนี้ก่อน

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นก็จะนำกลับมาพิจารณาในสภากรุงเทพมหานคร ส่วนแนวทางการชำระหนี้นั้นมี 2 แนว แนวทางที่ 1 คือ ใช้เงินสะสมของ กทม.ที่มีอยู่กว่า 50,000 ล้านบาทจ่ายขาด แนวทางที่ 2 คือ การใช้เงินงบประมาณจ่าย ซึ่งก็จะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด ส่วนการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้งช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ 15 บาทตลอดสายนั้น คาดว่าจะเริ่มได้ต้นปี 2567 ซึ่งไม่ได้เก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด-19 ปี 2562 โดยได้แจ้งกับทาง BTSC แล้วเพื่อให้เตรียมปรับโครงสร้างค่าโดยสาร ขณะที่ผู้โดยสารของ รถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งเส้นประมาณ 1 ล้านเที่ยวคนต่อวัน.

บรรยายใต้ภาพ
ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 21 พ.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2023 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“สายสีเขียว” 20 บาทตลอดสาย คุยได้แต่ยาก! ม.ค.67 เก็บ 15 บาทต่อขยาย
เดลินิวส์ 20 พฤศจิกายน 2566 19:51 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“ผู้ว่าฯ กทม.” ชี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 20 บาทตลอดสาย คุยได้แต่ยาก ยังติดสัญญาสัมปทาน รัฐต้องอุดหนุนรายได้ที่ลดลง ย้ำ กทม. ยังมีเรื่องหนี้ที่ต้องจัดการก่อน ส่ง มท. เคาะเข้า ครม.แล้ว ขณะที่ กลาง ม.ค.67 เก็บแน่ค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2 อัตรา 15 บาทตลอดสาย


“รถไฟฟ้าสายสีเขียว20บาทตลอดสายคุยได้แต่ยาก”
*ผู้ว่าฯชัชชาติชี้ติดสัญญาสัมปทานรัฐต้องอุดหนุน
*เรื่องหนี้สำคัญกว่าต้องจัดการก่อนส่งมท.ชู๊ตครม.
*แจ้งคมนาคมกลางม.ค.67เก็บส่วนขยาย 15 บาท
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/890624229181479
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2023 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โยนมหาดไทยจ่ายหนี้สีเขียว
Source - ไทยโพสต์
วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เวลา 04:23 น.

กทม.เล็งเก็บส่วนขยาย15บาทม.ค.67

ราชดำเนิน * รฟม.เร่งถกหาทางออกสรุปค่าแรกเข้า "เขียว-ชมพู" ด้าน กทม.ปักธง ม.ค.67 เล็งเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว 15 บาทตลอดสาย ด้าน กทม.โยนมหาดไทย เคาะจ่ายหนี้ก้อนแรก 2.3 หมื่นล้าน 'รถไฟฟ้าสายสีเขียว'

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 21 พ.ย. 2566


ลิงก์มาแล้วครับ

กทม. โยนมหาดไทยสางหนี้ ‘รถไฟฟ้าสายสีเขียว’ ก้อนแรก 2.3 หมื่นล้าน
วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9:55 น.

กทม.เตรียมโยนมหาดไทยสางหนี้ ‘รถไฟฟ้าสายสีเขียว’ ก้อนแรก 2.3 หมื่นล้าน พร้อมจ่อเก็บเงินค่าโดยสาร 15 บาท ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ม.ค.นี้ หวังนำมาชำระหนี้เอกชนบางส่วน
https://www.thaipost.net/economy-news/487965/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2023 2:28 pm    Post subject: Reply with quote

08.12 น. บีทีเอสวัดพระศรีมหาธาตุ เช้านี้คนเยอะมาก! คาดว่าน่าจะมีผลมาจากการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นแน่ #บีทีเอส #ชมพูนมเย็น #FM91
Cr Twitter : @14urmarch เพจสะพานใหม่
https://www.facebook.com/fm91trafficpro/posts/728055549354060
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44909
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/11/2023 6:11 am    Post subject: Reply with quote

เก็บ 15 บาท ส่วนต่อขยายสีเขียว กทม.เคาะตลอดสายไม่เกิน 62 บาท
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, November 25, 2023 05:23

คมนาคมยัน ราคาถูกสุดแล้ว

กทม.-คมนาคม ประสานเสียงเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ที่ 2 ราคา 15 บาท รวมท่อนสัมปทาน ค่าตั๋วไม่เกิน 62 บาท ตลอดสาย ดีเดย์หลังปีใหม่ 67 หลังนั่งฟรีมานาน หวังนำเงินใช้หนี้เอกชน

การเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยไม่เก็บค่าโดยสารตั้งแต่ปี 2560 กลายเป็นปมร้อนภาระหนี้ผูกพันแก่เอกชนผู้รับสัมปทานจ้างเดินรถ สะสมถึงปัจจุบันกว่า 5 หมื่นล้านบาท ที่กทม.ต้องชำระ แบ่งเป็นหนี้งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท และหนี้ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) จ้าง BTSC เดินรถประมาณ 3 หมื่นล้านบาท กระทั่งเอกชนยื่นฟ้องศาลปกครองกลางและมีคำสั่งให้กทม.ชำระหนี้สิน

ที่ผ่านมานโยบายเก็บค่าโดยสาร เส้นทางดังกล่าวมีความพยายามมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อน ราคา 15-104 บาท เริ่ม 16 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อนำรายได้มาชำระหนี้เอกชน แต่มีปัญหาว่า การจัดเก็บค่าโดยสารต้องไม่เป็นภาระค่าครองชีพประชาชน ทำให้ประกาศนั้นได้ยกเลิกไป

ล่าสุด กทม. ภายใต้การบริหารของนายชัชชาติ สุทธิพันธุ์ ที่มีนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯกทม.เป็นผู้กำกับดูแล การแก้ไขปัญหาภาระหนี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียว มีนโยบาย เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ในอัตรา 15 บาทตลอดสาย หากรวมกับค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 1 อ่อนนุช-แบริ่ง, ตากสิน-บางหว้า กับเส้นทางหลัก ค่าโดยสารสูงสุดจะไม่เกิน 62 บาท เริ่มเดือนมกราคมปี 2567 เพื่อรอความพร้อมเอกชนปรับระบบซอฟต์แวร์เก็บค่าโดยสารให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ยืนยันว่า ได้หารือกับกระทรวงคมนาคมแล้วไม่มีปัญหาขัดข้องแต่อย่างใด หลังจากก่อนหน้านี้ทาง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เสนอแนะผลศึกษาให้กับนายชัชชาติ เก็บค่าโดยสารสายสีเขียวตลอดสายไม่เกิน 59 บาทแต่ต้องยกเลิกออกไปเช่นกัน

ประเด็นนี้ แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม มองว่าการจัดเก็บค่าโดยสารถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะขณะนี้กทม.ยังเป็นหนี้กับเอกชน อีกทั้งในปัจจุบันโครงการฯในช่วงดังกล่าวมีการเปิดให้บริการใช้ฟรีมาหลายปีแล้ว ทั้งนี้ในช่วงที่มีการก่อสร้าง ส่วนต่อขยายสายสีเขียว ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ระบุว่ากทม.จะต้องหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมในการขอความคิดเห็นการจัดเก็บค่าโดยสารเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชน โดยที่ผ่านมากทม.ได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ,กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ฯลฯ ถึงการจัดเก็บค่าโดยสาร 15 บาท ตลอดสาย เบื้องต้นในที่ประชุมรฟม.ไม่ได้ขัดข้องในการจัดเก็บค่าโดยสาร เพราะถือเป็นราคาที่ถูกที่สุดแล้ว และสามารถดำเนินการได้ โดยใช้เทศบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐบาลท้องถิ่น คือ กทม.

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี กล่าวว่า กรณีที่ผู้ว่าฯกทม.เตรียมลงนามในประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยเรื่องการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายนั้น บริษัทฯ ยังไม่ได้รับแจ้งจากกทม. แต่หากกทม.ลงนามแล้ว ตามกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ภายใน 30 วัน เพื่อให้เวลาในการประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึงก่อน

"เมื่อมีการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายแล้วหวังว่าทาง กทม.จะแบ่งรายได้มาจ่ายหนี้ให้ BTSC เพื่อให้หนี้ที่มีอยู่ลดลงบ้าง ปัจจุบันภาระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกทม. และ BTSC มีตัวเลขยอดหนี้รวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหนี้งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท และหนี้ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) จ้าง BTSC เดินรถ ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันทราบว่า กทมอยู่ระหว่างพิจารณาหาแนวทางการชำระหนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้"
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.ส่วนสัมปทาน ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช, ช่วงสนามกีฬาสะพานตากสิน ซึ่งรายได้จากค่าโดยสารเป็นของเอกชนเอกชนตามสัญญาสัมปทาน 2.ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง, ช่วงสะพานตากสินบางหว้า รายได้จากค่าโดยสาร กทม.จ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริหารและจัดการการเดินรถ และกรุงเทพธนาคมได้จ้างเอกชนเดินรถอีกต่อ มีการเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย 3.ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต, ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งกทม.ได้มอบหมายงานให้กรุงเทพธนาคมเป็นผู้บริหารและจัดการการเดินรถ และกรุงเทพธนาคมได้ว่าจ้างเอกชน โดยปัจจุบันยังไม่มีการเก็บค่าโดยสารในส่วนนี้

อย่างไรก็ตาม นายชัชชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาภาระหนี้รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวที่ 2 ที่กทม.จะขอชำระหนี้ค่าจ้างติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) จำนวน 20,000 ล้านบาท เพราะครบกำหนดชำระแก่เอกชนนั้น ปัจจุบันกทม.ได้เสนอเรื่องดังกล่าวถึงกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ว่าจะให้กทม.ดำเนินการอย่างไร เนื่องจากการชำระหนี้ค่าจ้างติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) ถูกรวมในกฎหมายมาตรา 44 ในการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวด้วย หากครม.เห็นชอบให้กทม.ชำระหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องผ่านมาตรา 44 จะต้องนำเรื่องนี้เสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบ

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 26 - 29 พ.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44909
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2023 9:34 pm    Post subject: Reply with quote

“กทม.” ไม่ถอย ชง ครม.ล้างหนี้ “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” 2.3 หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ
02 ธันวาคม 2566

“กทม.” เดินหน้าชงมหาดไทย ดึงเงินสะสมจ่ายขาด เคลียร์หนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 2.3 หมื่นล้านบาท หลังบีทีเอสซีแบกหนี้อ่วมกว่า 5 หมื่นล้านบาท เหตุรับจ้างเดินรถฟรีไม่ได้ค่าจ้าง

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาภาระหนี้รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่กทม.จะขอชำระหนี้ค่าจ้างติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จำนวน 23,000 ล้านบาท เพราะครบกำหนดชำระแก่เอกชนนั้น

ปัจจุบันกทม.ได้เสนอเรื่องดังกล่าวถึงกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ว่าจะให้กทม.ดำเนินการอย่างไร เนื่องจากการชำระหนี้ค่าจ้างติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) ถูกรวมในกฎหมายมาตรา 44 ในการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวด้วย ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป หากครม.เห็นชอบให้กทม.ชำระหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องผ่านกฎหมายมาตรา 44 จะต้องนำเรื่องนี้เสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบ

“ขั้นตอนดำเนินการจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ไม่นั้น เราจะดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งการชำระหนี้ต่างๆต้องผ่านความเห็นชอบจากสภากทม.โดยใช้เงินสะสมจ่ายขาด ปัจจุบันกทม.มีเงินสะสมจ่ายขาด ประมาณ 50,000 ล้านบาท ที่ผ่านมากฎหมายมาตรา 44 กำหนดให้ดำเนินการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ แต่ต้องแลกกับการรับชำระมูลหนี้ของโครงการไปด้วย ซึ่งครม.ยังไม่ได้พิจารณาตัดสินใจในเรื่องนี้ โดยมูลหนี้ค่าจ้างติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) จำนวน 20,000 ล้านบาท ถูกรวมอยู่ในสัญญาดังกล่าว"

หากกทม.ดำเนินการชำระหนี้ไปแล้วในช่วงที่ครม.ต่อสัญญาสัมปทานก็จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นไปตามกฎหมาย ถึงแม้ว่าหนี้จะเพิ่มขึ้นเชื่อว่าจะต้องมีการเจรจาร่วมกับเอกชน ทุกอย่างต้องดำเนินการให้รอบคอบ

ขณะที่ความคืบหน้ากรณีที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ฟ้องร้องศาลปกครองในคดีทวงหนี้ค่าจ้างเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวนั้น ปัจจุบันกทม.ได้ดำเนินการขอยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งอยู่ระหว่างรอศาลฯนัดพิจารณาอีกครั้ง

“สาเหตุที่กทม.ไม่ยอมชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าฯ หลังศาลปกครองมีคำพิพากษาให้สั่งจ่ายหนี้เดินรถฯนั้น เนื่องจากสัญญาของโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวมีปัญหา เนื่องจากไม่ได้ผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภากทม. ทำให้ในปัจจุบันการชำระหนี้ค่าจ้างติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) และหนี้ค่าจ้างเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ยังไม่ได้ผ่านความเห็นจากสภากทม.”

ถึงแม้ว่ากทม.มีการเตรียมจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 15 บาทตลอดสาย จะนำมาชำระหนี้ให้กับบีทีเอสได้หรือไม่นั้น เรื่องนี้สามารถดำเนินการเพื่อมาชำระหนี้ได้ แต่ต้องรอดูอีกที เพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะ ปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งระบบอยู่ที่ 1 ล้านคนเที่ยวต่อวัน ขณะที่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ อยู่ที่ 400,000 คนเที่ยวต่อวัน

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กรณีที่รัฐบาลค้างชำระหนี้โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวกับบริษัทนั้น ยอมรับว่ามีความหวังในการชำระหนี้ เพราะใครจะทำอย่างเราที่ลงทุนแล้วเดินรถได้ไม่ได้รับเงิน แต่เข้าใจว่ารัฐบาลนี้ เห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เอกชนสามารถไปต่อได้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องจบให้ได้โดยที่ไม่ให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเสียประโยชน์

“ส่วนกรณีที่กทม.มีแผนชำระหนี้ค่าจ้างติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จำนวน 23,000 ล้านบาท โดยจะต้องนำเรื่องนี้กลับไปเจรจาเกี่ยวกับม.44 อีกครั้งนั้น เราในฐานะที่เป็นเอกชนผู้รับเหมาที่จ้างบริษัทเดินรถถึงเวลาก็ควรชำระ เราไม่ได้ห่วงหรือกังวลอะไรทั้งสิ้น เพราะปัจจุบันดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ โดยตามปกติการรับเหมาติดตั้งระบบงานอาณัติสัญญาณ (E&M) เชื่อว่าทางกทม.มีสัญญานี้ที่ต้องชำระ แต่ต้องหาวิธีดำเนินการที่ถูกต้อง ซึ่งผู้ว่ากทม.ก็เร่งหาวิธีที่เร็วที่สุดเพื่อเข้าสู่กระบวนการและระเบียบของกทม.”

นายคีรี กล่าวต่อว่า กรณีที่กทม.จะเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว 15 บาท เพื่อมาชำระหนี้ที่ค้างกับบริษัทนั้น โครงการเป็นของกทม. 100% ซึ่งกทม.จะจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราเท่าไรเป็นสิทธิ์ของกทม.ในการตัดสินใจ เราเป็นผู้รับจ้างเดินรถก็ควรได้รับค่าจ้าง เพราะค่าจ้างมาพร้อมกับรถและระบบไฟฟ้า ที่มีต้นทุนของพนักงานทุกคนที่ให้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ว่าจ้างควรชำระ

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี กล่าวว่า ส่วนการชำระหนี้ค่าจ้างติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จำนวน 23,000 ล้านบาท ของกทม.นั้น ปกติการชำระหนี้ให้แก่บริษัท ทางกทม.จะชำระหนี้ได้ต่อเมื่อต้องเสนอของบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติก่อน

“ขณะนี้เรายังไม่ฟ้องร้องให้กทม.ชำระหนี้เพิ่มเติม เพราะปัจจุบันกทม.แสดงเจตนารมณ์ว่าจะชำระหนี้ให้แก่บริษัทเพียงแต่มีขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายที่ต้องดำเนินการให้ครบถ้วน”

ปัจจุบันภาระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ BTSC ขณะนี้มีตัวเลขยอดหนี้รวมกว่า 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ประมาณ 23,000 หมื่นล้านบาท และ หนี้ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) จ้าง BTSC เดินรถ ประมาณ 30,000 ล้านบาท

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.ส่วนสัมปทาน ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช, ช่วงสนามกีฬา-สะพานตากสิน ซึ่งรายได้จากค่าโดยสารเป็นของเอกชนเอกชนตามสัญญาสัมปทาน

2.ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง, ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า รายได้จากค่าโดยสารเป็นของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกรุงเทพมหานครจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริหารและจัดการการเดินรถ และกรุงเทพธนาคมได้จ้างเอกชนเดินรถต่อ มีการเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย

3.ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต, ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มอบหมายงานให้กรุงเทพธนาคมเป็นผู้บริหารและจัดการการเดินรถ และกรุงเทพธนาคมได้ว่าจ้างเอกชน โดยปัจจุบันยังไม่มีการเก็บค่าโดยสารในส่วนนี้

นอกจากนี้ในปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ได้มีการเปิดให้บริการประชาชนทดลองนั่งฟรีจนถึงวันที่ 2 มกราคม 2567 โดยมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุฯ ทั้งนี้เมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์หรือจัดเก็บค่าโดยสารแล้วจะถูกเก็บค่าแรกเข้า 15 บาท และเมื่อผู้โดยสารต้องการเดินทางต่อไปยังรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 จะถูกเรียกเก็บค่าแรกเข้าเพิ่มอีก 15 บาทเพียงครั้งเดียว โดยตลอดสายจะถูกเรียกเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 62 บาท ซึ่งผู้โดยสารที่เดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายจะถูกเก็บค่าแรกเข้าทั้งหมดเพียง 2 ครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 98, 99, 100, 101, 102  Next
Page 99 of 102

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©