RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311323
ทั่วไป:13285728
ทั้งหมด:13597051
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - คานโครงการโฮปเวลล์ถล่มทับรางรถไฟหน้าวัดเสมียนนารี (01/03/55)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

คานโครงการโฮปเวลล์ถล่มทับรางรถไฟหน้าวัดเสมียนนารี (01/03/55)
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
 
This topic is locked: you cannot edit posts or make replies.    Rotfaithai.Com Forum Index -> อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44801
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/03/2012 12:56 am    Post subject: Reply with quote

greantoki515 wrote:
เห็นสภาพแล้ว นึกถึงฟูกที่นอนที่ตั้งไว้บนเก้าอี้สูงสองตัวแล้วตรงกลางย้อยลงมาข้างล่างเลย Laughing

เข้าใจเปรียบเทียบจริง ๆ ครับ เห็นภาพ Idea
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
nibiru
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/10/2011
Posts: 90

PostPosted: 02/03/2012 1:28 am    Post subject: Reply with quote

อนุสรณ์สถาน - ค่าโง่นับพันล้าน - การคอรัปชั่นที่ไม่เคยสิ้นสูญ - Question
Back to top
View user's profile Send private message
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 02/03/2012 5:47 am    Post subject: Reply with quote

Laughing ไปเดินเล่นที่สถานีบางเขน ถ่ายภาพทางรถไฟใต้อุโมงค์โฮปเวลล์ ดูสวยงามดี ผมยังคิดเล่น ๆ ว่าหาก รฟท.มีแนวคิดทำเป็นอุโมงค์ต้นไม้

โดยทำตาข่ายข้างบนคานตอม่อ แล้วปลูกไม้เลื้อย ให้ปกคลุม ก็จะดูสวยงามทีเดียว ดีกว่าเห็นสลัมและขยะ ข้างทาง แต่ตอนนี้ผมชักไม่มั่นใจ กับคานที่อยู่ข้างบนแล้วละ

ว่ามันจะพังลงมาเมื่อไหร่ก็ได้ ด้วยแรงสั่นสะเทือนทั้งรถไฟ และรถยนต์ที่วิ่งผ่านทั้งวันทั้งคืน


Click on the image for full size


Click on the image for full size
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 02/03/2012 7:45 am    Post subject: Reply with quote

ก็อย่างที่อาสมชายได้ถ่ายภาพมา โดยจากภาพนักข่าวเขาก็ถามเหมือนกันว่า เขาจะใช้ส่วนไหนในการการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ก็ได้รับคำตอบว่าเขาก็จะใช้ตอม่อที่เราเห็นคร่อมรางรถไฟนี้อยู่ยังไงละครับ เป็นเส้นทางที่จะให้มีรถไฟฟ้าวิ่งผ่านนะครับ

ส่วนเหตุผลว่าทำไมกระผมถึงได้ทราบรายละเอียดในที่เกิดเหตุได้ดีอย่างนี้ คำตอบก็เป็นเพราะกระผมได้รับแจ้งผ่านมาทางวิทยุสื่อสารว่าได้มีเหตุการณ์นี้เกิดขึึ้น โดยเดินทางเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นี้ตั้งแต่ทันทีที่ได้รับแจ้ง(ส่วนเวลานั้นก็นับตั้งแต่ที่มีขบวนรถที่ 14 รถจากเชียงใหม่ขบวนสีม่วงมาจอดรอที่สถานีบางเขนจนถึงเวลาที่ขบวนรถที่ 209 วิ่งผ่านที่เกิดเหตุนะครับ)

ซึ่งระหว่างที่อยู่ในที่เกิดเหตุนั้น ก็ได้พบเห็นเหตุการณ์ทุกอย่าง นับตั้งแต่ขบวนรถที่ 75 วิ่งผ่านที่เกิดเหตุ ในระหว่างที่ขบวนรถที่ 14 จอดรออยู่ที่สถานนีบางเขนอยู่ โดยที่เมื่อขบวนรถที่ 14 ออกวิ่งก็จะมีการสลับรางเข้ามาใช้ในทางขี้น โดยผ่านประแจเบอร์ 110 หลังจากขบวนรถได้วิ่งผ่านสะพานข้ามคลองลาดยาวมาแล้วนะครับ จนได้วิ่งมาผ่านในที่เกิดเหตุในที่สุดนะครับ

ซึ่งระหว่างนั้นกระผมก็ได้บันทึกภาพเหตุการณ์นี้มาตลอดนับตั้งแต่อยู่ที่สถานีบางเขนมาจนสิ้นสุดเหตุการณ์ในตอนเช้านะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2012 11:35 am    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคมและรองผู้ว่ากทม.ตรวจเหตุคานโฮปเวลล์พังถล่ม
โดย ช่างภาพกองบรรณาธิการ
ฐานเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ 01 มีนาคม 2012 เวลา 17:55 น.

นายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการ กทม.ตรวจโฮบเวลล์ หลังเหตุเกิดเหตุคานค้ำชานชาลาสถานีรถไฟโฮปเวลล์ ถนนกำแพงเพชร 6 ขาออก เลยวัดเสมียนนารี ประมาณ 100 เมตร พังถล่มลง ทำให้ท่อนเหล็กเส้นขวางทางรถไฟที่อยู่ด้านล่าง ส่งผลให้ขบวนรถไฟต้องหยุดชะงัก แต่ทั้งนี้ ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตคาดว่าสาเหตุเกิดจากมีการขโมยตัดคานเหล็กที่ค้ำคานชานชลาไว้ไปขาย

วสท.ตรวจโครงสร้าง"โฮปเวลล์" 5 มี.ค.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2555 10:37 น.
วสท. ลงตรวจโครงสร้างโฮปเวลล์ 5 มี.ค.นี้- กทม.กำชับเร่งตรวจโครงสร้างป้ายทั่วกทม.
โดย สุวิภา บุษยบัณฑูร
หน้า ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 02 มีนาคม 2012 เวลา 11:22 น.

นายธเนศ วีระศิริ เลขาธิการสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวถึงกรณีคานทางเชื่อมสถานีรถไฟโฮปเวลล์ทรุดตัวลงมาทับรางรถไฟ เยื้องหน้าวัดเสมียรนารี เมื่อวานนี้ว่า ทางวิศวกรรมสถานฯ จะลงพื้นที่ตรวจสอบโครงสร้างทางกายภาพ ในวันจันทร์ที่ 5 มีนาคมนี้ โดยเบื้องต้น จุดที่ถล่มลงมาเป็นชานชาลาที่เคยมีการทดสอบวางคาน โดยสร้างนั่งร้านรับน้ำหนักไว้ แต่การก่อสร้างไม่เสร็จทำให้โครงสร้างไม่สมบูรณ์ ส่วนจะใช้งานต่อไปได้หรือไม่ จะต้องตรวจสอบทางวิศกรรมอย่างละเอียดต่อไป
ด้านนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า แม้การเกิดเหตุครั้งนี้ จะไม่ได้อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ กทม. แต่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มอบหมายให้สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง รวมทั้งหาสาเหตุของการพังถล่มอย่างละเอียดอีกครั้ง

//---------------------------------

กทม.เร่งตรวจความแข็งแรงตอม่อโฮปเวลล์ที่เหลือ

คมชัดลึก 2 มีนาคม 2555

"รองผู้ว่าฯกทม."เผยกทม.เตรียมสานรฟท.เร่งสอบความแข็งแรงตอม่อโฮปเวลล์ที่เหลือ หวั่นกระทบโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง พร้อมระดมจนท.กทม.ตรวจสอบโครงสร้างป้ายโฆษณาทั่วกทม. ก่อนเกิดเหตุโศกนาฏกรรมซ้ำรอย

วันที่ 2 มี.ค.55 รายการเก็บตกจากเนชั่น ได้สัมภาษณ์ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีชานชาลาคอนกรีตของโครงการโฮปเวลล์ถล่ม เมื่อวานวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า สาเหตุของการถล่มของชานชาลาดังกล่าวเกิดจากการสูญเสียกำลังของตัวนั่งร้านที่รองรับตัวคอนกรีต โดยการสูญเสียกำลังของตัวนั่งร้านเกิดจาก 2 สาเหตุสำคัญ คือ

1. สาเหตุที่1ความเสื่อมของตัวโครงสร้างวัสดุตัวนั่งร้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กที่มีการใช้งานมานาน ขาดการดูแลรักษา
2. สาเหตุที่2. คือ การลักขโมยตัวน๊อตที่ล็อคตัวโครงสร้างเหล็กของตัวนั่งร้าน ทำให้ความแข็งแรงช่วงรอยต่อของโครงสร้างขาดหายไป โดยการถล่มครั้งนี้เหมือนกับการถล่มของป้าโฆษณาต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นหลังจากนี้กรุงเทพมหานครจะดำเนินการเร่งออกสำรวจตัวโครงสร้างป้ายโฆษณาต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ

เมื่อถามว่า จุดที่เกิดการถล่มครั้งนี้ เป็นจุดที่มีการก่อสร้างที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ใช่หรือไม่ นายธีระชน กล่าวว่า ถูกต้อง เพราะหากมีการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยธรรมชาติแล้วตัวคอนกรีตเองจะสามารถรองรับตัวโครงสร้างของมันเองได้ ซึ่งหากจะสังเกตุในระยะใกล้ๆประมาณ 200 เมตร จะเห็นว่าจะมีชานชาลาที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และตัวโครงสร้างต่างๆ ก็ตั้งอยู่บนตัวคานคอนกรีต จนถึงตอนนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่จุดที่มีปัญหายังก่อสร้างไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากบริษัทที่รับสัมปทานเกิดประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ จึงทำให้การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ

เมื่อถามว่า ยังมีจุดอื่นของโครงการนี้ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จในลักษณะเดียวกันนี้ นายธีระชน กล่าวว่า เท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้นไม่น่าจะมี แต่เพื่อความรอบคอบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหนานคร ได้สั่งการให้ประสานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ช่วยดำเนินการตรวจสอบความแข็งของตอม่อของโครงการโฮปเวลล์ทั้งหมด

เมื่อถามต่อว่า การถล่มครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต ที่บางส่วนของโครงการจะมีการนำเสาตอม่อของโครงการโฮปเวลล์มาใช้ด้วยในโครงการด้วย นายธีระชน กล่าวว่า เสาตอม่อบางส่วนได้มีการนำไปใช้ในโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ไปแล้ว โดยหลักวิศวกรรมแล้ว โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และตัวเหล็กไม่ถูกตากแดดตากลมตัวโครงสร้างต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้งานได้ เพียงแต่ว่าควจะต้องมีการทดสอบโครงสร้างที่จะมาสอดรับกับตัวโครงสร้างใหม่จะมีรับกันได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากไม่แข็งแรงเพียงพอก็จำเป็นจะต้องมีการเพิ่มตัวรอบรับน้ำหนักเพิ่มเข้าไปอีก แต่ถ้ารับได้ก็คงจะไม่มีปัญหาเหมือนกับตัวโครงสร้างของโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่มีการดำเนินการไปแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 02/03/2012 8:41 pm    Post subject: Reply with quote

สำหรับข่าวความคืบหน้าในการตรวจสอบจุดเกิดเหตุนี้ ก็มีดังข่าวนี้นะครับ

"คมนาคม-กทม.-รฟท.-วิศวกรรมสถาน"ยกทีมตรวจโครงสร้าง"โฮปเวลล์"ถล่ม 5 มี.ค. คาด 1 สัปดาห์รื้อย้ายได้

วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 17:13:22 น.

นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 มีนาคมว่า ได้ทำหนังสือประสานไปยังวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ในฐานะหน่วยงานกลาง ให้ช่วยตรวจสอบโครงสร้างของโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (โฮปเวลล์) แล้ว หลังเกิดเหตุการณ์คานที่ใช้ก่อสร้างชานชาลาสถานีพังถล่มลงมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม โดย วสท. กระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร (กทม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะเจ้าของพื้นที่จะเข้าไปตรวจสอบพร้อมกันในวันที่ 5 มีนาคม เวลา 09.00 น.

"การตรวจสอบดังกล่าวจะเริ่มจากจุดที่เกิดเหตุก่อน หลังจากนั้นจึงจะไปดูตามจุดอื่นที่คาดว่าจะเป็นปัญหา เบื้องต้นหาก วสท.พิจารณาแล้วเห็นว่าจุดไหนมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาอีกจะล้อมบริเวณนั้น และติดป้ายเตือนไม่ให้ประชาชนเข้าไปในพื้นที่ก่อน หลังจากนั้นจึงจะทยอยรื้อย้ายออกไป โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะเริ่มรื้อย้ายได้"

****
สำหรับข่าวประเด็นเดียวกันนี้จากหน้าข่าว ASTV ผู้จัดการรายวัน และกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ซึ่งก็ได้มีการกล่าวถึงการเข้าตรวจสอบโครงสร้างของป้ายโฆษณาไปในครั้งนี้ด้วยนะครับ

วสท.ชี้เหตุโฮปเวลล์ถล่มใช้วัสดุรับน้ำหนักผิดหลัก
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 2 มีนาคม 2555 22:29 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน -คมนาคม-วสท.เริ่มตรวจโครงการโฮปเวลล์ 5 มี.ค. คาดใช้เวลา 1 สัปดาห์รู้ผล นายกวสท.ชี้การใช้เหล็กนั่งร้านรองรับน้ำหนักคานที่ถูกทิ้งมา 20 ปี ผิดวัตถุประสงค์ ซ้ำร้ายถูกมิจฉาชีพถอดนอตไป ทำให้ถล่ม เผยตอม่อ 40% รองรับโครงการสายสีแดงได้หรือไม่ หากทำถูกหลักวิศวกรรม ก็ไม่น่ามีปัญหา กทม.สั่งจนท.ตรวจสอบป้ายโฆษณาทั่วกรุง หวั่นเหมือนโฮปเวลล์

นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการตรวจสอบโครงสร้างโครงการโฮปเวลล์ว่า ทางกระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือประสานไปยังวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ในฐานะหน่วยงานกลางให้ช่วยตรวจสอบโครงการโฮปเวลล์ แล้ว โดยจะเป็นวันที่ 5 มี.ค.นี้ เวลา 09.00 น.พร้อมด้วยกระทรวงคมนาคม กรุงเทพฯ และการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ในฐานะเจ้าของพื้นที่

โดยเริ่มตรวจสอบจากจุดที่เกิดเหตุก่อน จากนั้นจะตรวจสอบจุดอื่นๆที่คาดว่าจะเป็นปัญหา โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงจะเริ่มรื้อย้ายได้ หากทาง วสท.พิจารณาแล้วเห็นว่าจุดไหนมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้อีก จะทำการล้อมบริเวณดังกล่าว และติดป้ายเตือนไม่ให้ประชาชนเข้าไปในพื้นที่ก่อน จากนั้นจะทยอยรื้อออก

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.เคยมีแนวคิดรื้อโครงสร้างโฮปเวลล์ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ แต่เนื่องจากยังมีปัญหาการฟ้องร้องกับโฮปเวลล์ จึงดำเนินการไม่ได้

นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ(วสท.) กล่าวว่า ได้ส่งผู้บริหารลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบสาเหตุเบื้องต้นแล้ว จากข้อมูลเป็นโครงการที่ก่อสร้างมาแล้วประมาณ 20 ปี แต่ต้องหยุดชะงักลงทันที เนื่องจากเกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับโฮปเวลล์ ซึ่งเป็นปัญหาว่า งานที่ถูกทิ้งค้างไว้บางส่วน เช่น คานรับน้ำหนักที่ถล่มเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า ใต้คานด้านล่างยังใช้เหล็กนั่งร้านเป็นวัสดุรับน้ำหนัก ทั้งนี้ ตามหลักวิศวกรรม เมื่อก่อสร้างเสร็จต้องรื้อเหล็กนั่งร้านออก ดังนั้น เมื่ออายุโครงการมากว่า 20 ปี จึงเป็นเหตุที่ใช้วัสดุที่ผิดวัตถุประสงค์ ขณะเดียวกัน ตามรายงานของกระทรวงคมนาคม ระบุว่า มีการถอดวัสดุเหล็กและนอตของมิจฉาชีพไปขาย จึงเป็นเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้พังลงมา

" ในวันที่ 5 จะจัดวิศวกรชุดใหญ่ลงพื้นที่ เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุของการพัง แนวทางที่จะทำการื้อถอน เนื่องจากต้องระวังเรื่องของข้อพิพาทด้วย ซึ่งเชื่อว่าในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์จะชัดเจน"

สำหรับประเด็นที่ ร.ฟ.ท.มีแผนนำเสาตอม่อโฮปเวลล์ไปใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ในสัดส่วน 40% ของตอม่อในโครงการ นั้น นายกวสท.กล่าวว่า พร้อมเข้าไปตรวจสอบ หากถูกร้องขอ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบความแข็งแรงของตอม่อแม้จะผ่านมาหลายสิบปี หากตรวจสอบแบบการก่อสร้างและพูดคุยกับวิศวกรของโฮปเวลล์ก็จะเกิดความชัดเจนง่ายขึ้น

" วสท.เห็นว่า หากการก่อสร้างในอดีตเป็นไปตามมาตรฐานหลักวิศวกรรม เสาตอม่อเหล่านี้ ก็ยังนำมาใช้งานได้ นอกจากการก่อสร้างตามแบบแล้ว เมื่อเทคอนกรีตก็จะต้องบ่มคอนกรีต เพื่อรักษาความชื้นไว้ 28 วัน หากทำตามขั้นตอนเหล่านี้ คอนกรีตก็จะแข็งแรงสามารถใช้งานได้นานและไม่มีปัญหา "

**สั่งจนท.ตรวจสอบป้ายโฆษณาทั่วกรุง

วานนี้ (2 มี.ค.) นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ(กทม.) กล่าวว่าสาเหตุของการถล่มของชานชาลาดังกล่าว เกิดจากการสูญเสียกำลังของตัวนั่งร้านที่รองรับตัวคอนกรีต โดยการสูญเสียกำลังของตัวนั่งร้านเกิดจาก 2 สาเหตุสำคัญ 1.ความเสื่อมของตัวโครงสร้างวัสดุตัวนั่งร้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กที่มีการใช้งานมานาน ขาดการดูแลรักษา 2.การลักขโมยตัวน๊อตที่ล็อคตัวโครงสร้างเหล็กของตัวนั่งร้าน โดยการถล่มครั้งนี้เหมือนกับการถล่มของป้ายโฆษณาต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นหลังจากนี้กทม.จะดำเนินการเร่งออกสำรวจตัวโครงสร้างป้ายโฆษณาต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ

ต่อข้อถามที่ว่า จุดที่เกิดการถล่มครั้งนี้ เป็นจุดที่มีการก่อสร้างที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ใช่หรือไม่ นายธีระชน กล่าวว่า ถูกต้อง เพราะหากมีการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยธรรมชาติแล้วตัวคอนกรีตเองจะสามารถรองรับตัวโครงสร้างของเองได้ ซึ่งหากจะสังเกตในระยะใกล้ๆประมาณ 200 เมตร จะเห็นว่าจะมีชานชาลาที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และตัวโครงสร้างต่างๆ ก็ตั้งอยู่บนตัวคานคอนกรีต จนถึงตอนนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่จุดที่มีปัญหายังก่อสร้างไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากบริษัทที่รับสัมปทานเกิดประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ จึงทำให้การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ

เมื่อถามต่อว่า การถล่มครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟสายสีแดงหรือไม่ นายธีระชน กล่าวว่า เสาตอม่อบางส่วนได้มีการนำไปใช้ในโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ไปแล้ว โดยหลักวิศวกรรมแล้ว โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และตัวเหล็กไม่ถูกตากแดดตากลมตัวโครงสร้างต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้งานได้ เพียงแต่ว่าควรจะต้องมีการทดสอบโครงสร้างที่จะมาสอดรับกับตัวโครงสร้างใหม่จะมีรับกันได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากไม่แข็งแรงเพียงพอก็จำเป็นจะต้องมีการเพิ่มตัวรอบรับน้ำหนักเพิ่มเข้าไปอีก แต่ถ้ารับได้ก็คงจะไม่มีปัญหาเหมือนกับตัวโครงสร้างของโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่มีการดำเนินการไปแล้ว.
******
สำหรับข่าวจากกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ที่มีในเรื่องเดียวกันนี้ก็มีดังนี้นะครับ

วสท.ชี้นั่งร้านโฮปเวลล์ถล่มใช้'ผิดวัตถุประสงค์'ลุยลงพื้นที่สอบ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 3 มีนาคม 2555 11:19

นายก วสท. แจงต้นเหตุนั่งร้านโฮปเวลล์ถล่ม มีการใช้งานผิดวัตถุประสงค์ ปล่อยนั่งร้านรับน้ำหนักนานถึง 20 ปี เตรียมลงพื้นที่ทดสอบความแข็งแรง

นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปิดเผยถึงกรณีที่คานโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในกรุงเทพฯ หรือ โครงการโฮปเวลล์ ถล่มว่า วสท.ได้ส่งทีมวิศวกรลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุเบื้องต้น พบว่าโครงสร้างที่ถล่มก่อสร้างไม่สมบูรณ์ ต้องใช้นั่งร้านเหล็กรับน้ำหนัก รวมทั้งโครงสร้างดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งไว้หลายปี เหล็กนั่งร้านจึงหักพัง สูญหาย และได้รับแรงสั่นสะเทือนจากขบวนรถไฟที่แล่นผ่าน เป็นสาเหตุทำให้คานถล่ม ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้และไม่เกี่ยวกับมาตรฐานการก่อสร้าง

“คานรับน้ำหนักที่ถล่มลงมานั้น ใต้คานด้านล่างใช้เหล็กนั่งร้านเป็นวัสดุรับน้ำหนัก ซึ่งตามหลักการก่อสร้างนั้น จะใช้วิธีนี้รับน้ำหนักชั่วคราวเท่านั้น เมื่อก่อสร้างเสร็จต้องรื้อเหล็กนั่งร้านออก การใช้นั่งร้านรับน้ำหนักถึง 20 ปีเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ แต่เป็นเพราะการก่อสร้างหยุดชะงัก ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ยอมสร้างต่อให้เสร็จ ส่วนโครงสร้างที่เหลือ เป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ ไม่น่าเกิดปัญหาถล่มอีก“ นายสุวัฒน์ กล่าว

ทั้งนี้ วสท. เห็นว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องตรวจสอบโครงสร้างตอม่อ ที่จะนำไปใช้ในโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต อย่างละเอียด และเปรียบเทียบความคุ้มค่าการปรับปรุงโครงสร้างเดิมให้แข็งแรง และก่อสร้างใหม่ เพราะมีปัจจัยเรื่องเวลาก่อสร้างและค่าใช้จ่ายมาเกี่ยวข้อง ส่วนโครงสร้างที่ไม่มีแผนใช้งาน ควรรื้อทิ้งไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะไม่เกิดประโยชน์

เร่งศึกษาความคุ้มค่าตอม่อ

ส่วนอายุการใช้งานโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างสาธารณะ จะมีอายุการใช้ 50-100 ปี การใช้โครงสร้างตอม่อเดิมจึงต้องพิจารณาอายุการใช้งานที่เหลือด้วย เช่น เมื่อสร้างมาแล้ว 10 ปี เหลืออายุการใช้งานอีก 40 ปี ขณะที่โครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่สร้างใหม่มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 50 ปี จึงต้องศึกษาความคุ้มค่าอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม คณะทำงาน วสท. จะลงพื้นที่ตรวจสอบสาเหตุคานถล่มวันที่ 5 มี.ค. นี้ และหารือถึงแนวทางการรื้อถอนว่าดำเนินการอย่างไร เพราะขั้นตอนรื้อถอนต้องดำเนินการตามหลักวิศวกรรม เพื่อไม่ให้ถล่มซ้ำอีก และส่งผลให้คนงานได้รับอันตราย ขณะเดียวกัน วสท. จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาวิธีนำซากเหล่านี้ออกจากพื้นที่ โดยการตรวจสอบใช้เวลา 1 สัปดาห์ ส่วนการรื้อย้ายเสร็จภายใน 1 เดือน

"ตลอดแนวตอม่อโครงการโฮปเวลล์ ไม่มีปัญหาว่าจะพังถล่มลงมา แต่ในหลักการพื้นที่บริเวณที่มีการก่อสร้าง ต้องมีแนวรั้วปิดกั้น แต่พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะ จึงควรทำป้ายเตือนประชาชนที่ใช้เส้นทางจุดดังกล่าว" นายสุวัฒน์ กล่าว

แนะตรวจสอบโครงสร้าง-อาคารร้าง

ด้าน นายมั่น ศรีเรือนทอง กรรมการวิชาการ วสท. กล่าวว่า โครงสร้างที่ถล่มนั้น เรียกว่า ท้องสะพาน ซึ่งตามแบบต้องก่อสร้างเป็นกล่อง และมีด้านข้างเพื่อช่วยยึดน้ำหนัก แต่ส่วนนี้ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ และใช้โครงเหล็กในการรับน้ำหนักเป็นเวลานาน และยังอยู่ใกล้ทางรถไฟ จึงได้รับแรงสั่นสะเทือนจากขบวนรถไฟที่แล่นผ่าน ส่งผลให้ความแข็งแรงลดลง ต่างจากจุดถัดไปที่ก่อสร้างเป็นโครงสร้างสมบูรณ์เป็นรูปกล่อง จึงไม่มีมีปัญหาด้านความปลอดภัย เพราะมีความแข็งแรงเพียงพอ

อย่างไรก็ตาม โครงสร้างที่ปล่อยทิ้งร้าง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างโฮปเวลล์ หรือตึกอาคารร้างต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ จำเป็นต้องตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง ซึ่งเจ้าของสิ่งปลูกสร้างหรือรัฐบาลต้องดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อป้องกันผลกระทบหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น

คาดใช้ล้านบาทย้ายซากคานถล่ม

ด้าน นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ร.ฟ.ท.มีแผนรื้อทิ้งโครงสร้างโฮปเวลล์ ที่ไม่อยู่ในแผนการใช้งาน แต่กระบวนการฟ้องร้องทางกฎหมายกับเอกชนยังไม่ได้ข้อสรุป และรายละเอียดการชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ จึงไม่สามารถรื้อทิ้งโครงสร้างได้ ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่า โครงสร้างเป็นอันตรายจะรื้อทิ้งแน่นอน ส่วนโครงสร้างใด ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ร.ฟ.ท.จะนำมาใช้ประโยชน์แน่นอน ส่วนการรื้อย้ายซากคานโฮปเวลล์ที่ถล่มนั้น ร.ฟ.ท.เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย เพราะเป็นโครงสร้างในเขตทางรถไฟ เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท และคาดว่าเคลียร์พื้นที่แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์

กทม.เร่งสำรวจป้ายโฆษณาทั่วกรุง

นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า สาเหตุที่คานชานชาลาโครงการโฮปเวลล์ถล่ม เกิดจากการสูญเสียกำลังของนั่งร้านที่รองรับคอนกรีต ซึ่งมีสาเหตุจากความเสื่อมสภาพของโครงสร้างวัสดุนั่งร้าน เพราะส่วนใหญ่เป็นเหล็กที่ใช้งานมานาน ขาดการดูแลรักษา และการลักขโมยนอตที่ล็อกโครงสร้างเหล็กของนั่งร้าน ส่งผลให้ความแข็งแรงช่วงรอยต่อของโครงสร้างหายไป เช่นเดียวกับการถล่มของป้ายโฆษณาต่างๆ หลังจากนี้ กทม.จะเร่งสำรวจโครงสร้างป้ายโฆษณาต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ

นอกจากนั้น จุดที่เกิดการถล่มเป็นจุดที่การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จะเห็นว่าในระยะประมาณ 200 เมตร มีชานชาลาที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และโครงสร้างต่างๆ อยู่บนคานคอนกรีต จึงไม่มีปัญหา และจากการตรวจสอบไม่น่าจะมีจุดอื่นที่ก่อสร้างชานชาลาไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่เพื่อความรอบคอบผู้ว่าฯ กทม.ได้ประสานกับ ร.ฟ.ท. ช่วยตรวจสอบความแข็งแรงของตอม่อโครงการโฮปเวลล์ทั้งหมดแล้ว

อย่างไรก็ตาม เสาตอม่อโฮปเวลล์บางส่วนได้นำไปใช้ในโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ส่วนการนำไปใช้ในโครงการสายสีแดงนั้น สามารถดำเนินการได้ แต่ควรทดสอบโครงสร้างว่าสอดรับกับโครงสร้างใหม่ได้มากน้อยเพียงใด หากไม่แข็งแรงเพียงพอ จำเป็นต้องเพิ่มตัวรับน้ำหนัก.


Last edited by suraphat on 03/03/2012 10:23 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 03/03/2012 7:43 am    Post subject: Reply with quote

ที่นอกเหนือจากที่ อ.เอกได้นำเสนอส่วนหนึ่งกันไปทางหน้า 2 ของกระทู้นี้ไปแล้ว คราวนี้เรามาดูข่าวที่เกี่ยวกับประเด็นนี้ที่มีการนำเสนอกันทางหน้าหนังสือพิมพ์กันบ้างนะครับ เป็นข่าวที่มีการนำเสนอผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์คมชัดลึกนะครับ

เปิดตำนานรถไฟฟ้าโฮปเวลล์ มรดกอัปยศ!!!
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 2 มีนาคม 2555 09:47

ตำนานอภิมหาโปรเจกท์ต้นๆ ของไทย ซึ่งสุดท้ายถูกทิ้งร้างกลายเป็นมรดกบาปของชาติได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข่าวอีกครั้งหนึ่ง

....เมื่อแผ่นปูนขนาดใหญ่ของโครงการโฮปเวลล์บริเวณเสาโทรเลขต้นที่ 12/6 ห่างจากวัดเสมียนนารี 100 เมตร แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ถล่มโครมลงมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม เสียงดังสนั่นหวั่นไหวส่งผลให้นั่งร้านเหล็กที่สร้างรับน้ำหนักชานชาลาย่อยพังลงมารวมทั้งเสาอีก 5 ต้น ปิดทับทางเดินรถไฟขาเข้ากรุงเทพฯ

นับเป็นบุญของประเทศที่พระสยามเทวาธิราชยังคงคุ้มครองคนไทย ทั้งที่เป็นช่วงแปดโมงเช้าขณะที่คนสัญจรไปมาขวักไขว่ทั้งรถยนต์บนถนนโลคัลโรดและรถไฟที่ขนานกันไปอย่างน่าหวาดเสียว แต่กลับไม่พบผู้ใดได้รับบาดเจ็บจากเสาหินอันโดดเด่น"สโตนเฮด" ที่มีสภาพเก่าทรุดโทรมเนื่องจากถูกทิ้งไว้นานกว่า 20 ปีโดยไม่มีผู้ดูแลรับผิดชอบ ท่ามกลางข้อกังขาของอุบัติเหตุครั้งนี้อาจมีคนเข้าไปขโมยลักนอต เหล็ก ของนั่งร้านที่ค้ำยันคานเอาไว้เพื่อนำไปขาย หรือโครงสร้างไม่แข็งแรงรวมถึงแรงสั่นสะเทือนของรถไฟที่วิ่งผ่านไปมา

ขอย้อนรอยการเปิดประมูลสัมปทานก่อสร้างทางยกระดับ เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในสมัยรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ผลปรากฏว่าบริษัทโฮปเวลล์ โฮลดิ้ง สัญชาติฮ่องกงของนายกอร์ดอน วู เป็นผู้ชนะเหนือบริษัทลาวาลิน (SNC-Lavalin) คู่แข่งจากแคนาดา มีการลงนามในสัญญาโดยนายมนตรี พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จากพรรคกิจสังคม กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2533

โครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นล้านบาท และให้ผลตอบแทนรายปีตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี รวม 53,810 ล้านบาท โดยโฮปเวลล์จะได้รับสิทธิสร้างถนนยกระดับ เรียกเก็บค่าผ่านทางคู่ขนานกับทางรถไฟยกระดับ และได้รับสัมปทานเดินรถบนทางรถไฟยกระดับด้วย สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใต้ทางรถไฟยกระดับ และอสังหาริมทรัพย์สองข้างทางคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 600 ไร่ มีกำหนดการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2534-5 ธันวาคม พ.ศ.2542 ในระยะแรกใช้ชื่อโครงการว่า Railways Mass Transit (Community Train) and Urban Free System (RAMTUFS)

แผนงานการก่อสร้างโดยการยกระดับทางรถไฟขึ้นไปเหนือผิวการจราจร เพื่อลดจุดตัดกับทางรถยนต์ (Grade Crossing) แก้ปัญหาการให้รถยนต์ต้องหยุดรอรถไฟแบ่งเป็น 5 ระยะ รวม 60.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 ยมราช-ดอนเมือง ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ.2538 ช่วงที่ 2 ยมราช-หัวลำโพง-หัวหมาก และ มักกะสัน-แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 18.5 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ.2539

ช่วงที่ 3 ดอนเมือง-รังสิต ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ.2540 ช่วงที่ 4 หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ และ ยมราช-บางกอกน้อย ระยะทาง 6.7 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ.2541 และช่วงที่ 5 วงเวียนใหญ่-โพธินิมิตร และ ตลิ่งชัน-บางกอกน้อย ระยะทาง 9.1 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 8 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542

กระนั้นก็ดี การก่อสร้างเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากประสบปัญหาในการส่งมอบพื้นที่บริเวณริมทางรถไฟ ประกอบกับเศรษฐกิจของไทยไม่เติบโตเหมือนในช่วงแรกของรัฐบาลชาติชาย ทำให้แนวโน้มการลงทุนธุรกิจในอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลง ปัญหาเรื่องจุดตัดกับโครงการถนนยกระดับวิภาวดีรังสิต (ดอนเมืองโทลล์เวย์) และการก่อสร้างล่าช้าจนอัตราคืบหน้าของงานไม่เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้กับรัฐบาล

ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ.2534 รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามาตรวจสอบสัญญาสัมปทานทั้งหมดที่มีเงื่อนไขการผูกขาด โครงการโฮปเวลล์ ก็เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกตรวจสอบโดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น และได้ประกาศล้มโครงการโฮปเวลล์ พร้อมกับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน และจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ขึ้นมาดำเนินการแทน เมื่อ พ.ศ.2535

ในรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 โครงการโฮปเวลล์ได้รับการผลักดันต่อโดยพ.อ.วินัย สมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ยังประสบปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ ปัญหาเรื่องเงินทุน แหล่งเงินกู้ หลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญา และปัญหาเรื่องแบบก่อสร้าง ระยะห่างระหว่างรางรถไฟกับไหล่ทางมีน้อยเกินไปเพราะข้อจำกัดของพื้นที่ และไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสากล ต่อมาในรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2540 ให้ความเห็นชอบบอกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์ หลังจากบริษัทโฮปเวลล์หยุดการก่อสร้างอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2540

เสาตอม่อที่ยังสร้างไม่เสร็จทิ้งร้างอยู่โครงการการก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ สิ้นสุดลงในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 หลังดำเนินการก่อสร้างเป็นเวลา 7 ปี มีความคืบหน้าเพียง 13.77% ขณะที่แผนงานกำหนดว่าควรจะมีความคืบหน้า 89.75% กระทรวงคมนาคมได้บอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2541 โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

ภายหลังจากบอกเลิกสัญญา การรถไฟแห่งประเทศไทยถือว่าโครงสร้างทุกอย่างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟ และได้มีความพยายามนำโครงสร้างที่สร้างเสร็จแล้วมาพัฒนาต่อ จากผลการศึกษาสรุปว่าจะนำโครงสร้างบางส่วนมาใช้ประโยชน์ในรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต

บริษัทโฮปเวลล์ โฮลดิ้ง ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการยกเลิกสัญญาจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นค่าใช้จากการเข้ามาลงทุนเป็นเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท ในขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทยก็เรียกร้องค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการ เป็นเงินกว่า 2 แสนล้านบาท

คณะอนุญาโตตุลาการ ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ บุญทอง รองอัยการสูงสุด ในฐานะตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย, รศ.วีระพงษ์ บุญโญภาส อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนจากโฮปเวลล์ และนายถวิล อินทรักษา อดีตผู้พิพากษา เป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการ ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย คืนเงินชดเชยให้โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรมเป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

มหากาพย์โฮปเวลล์ต้องยุติลงด้วยการแสวงหาผลประโยชน์ของนักเลือกตั้งและข้าราชการกังฉิน ขณะที่เรื่องการฟ้องร้องก็ยังดำเนินไปอย่างเงียบๆ และแม้จะผ่านพ้นไปถึง 13 รัฐบาลล่วงเลยมากว่า 20 ปีโครงสร้างบางส่วนจะพังครืนลงมา แต่ตอม่อขนาดใหญ่ที่เรียงรายริมถนนเลียบทางรถไฟบางซื่อ-รังสิต ยังคงมีเหลือพอที่จะเป็นอนุสาวรีย์แห่งการคอรัปชั่นไว้ให้ลูกหลานได้เห็น ตอกย้ำถึงความอัปยศที่คนไทยไม่มีวันลืม
-------
ที่มา:หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับประจำวันที่ 2 มี.ค.2555
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2012 12:01 am    Post subject: Reply with quote

สัปดาห์เดียวรู้รื้อโฮปเวลล์
โดย...กองบรรณาธิการโพสต์ทูเดย์
03 มีนาคม 2555 เวลา 10:19 น.

ได้เวลาสะสางเสียที สำหรับโครงการโฮปเวลล์ โครงการก่อสร้างถนน ทางรถไฟ และรถไฟฟ้ายกระดับ มูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 60.1 กิโลเมตร ซึ่งสร้างไปได้เพียง 13.77% ของโครงการ หรือสร้างเสาตอม่อยาวไปแล้วกว่า 8.3 กิโลเมตร

งานนี้กระทรวงคมนาคม โดย ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ทำหนังสือถึงวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ให้ช่วยตรวจสอบโครงสร้างโฮปเวลล์ หลังเกิดเหตุคานที่ใช้ก่อสร้างชานชาลาสถานีพังถล่มลงมาเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา

กระทรวงคมนาคมถือฤกษ์ 09.00 น. วันจันทร์ที่ 5 มี.ค.นี้ ลงพื้นที่พร้อม วสท. กรุงเทพมหานคร (กทม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะเจ้าของพื้นที่เข้าตรวจสอบ เริ่มจากจุดเกิดเหตุไปจนถึงจุดที่คาดว่าจะเป็นปัญหา

เบื้องต้นหาก วสท.พิจารณาแล้วเห็นว่าจุดไหนเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาอีก ก็จะล้อมบริเวณนั้นและติดป้ายเตือนไม่ให้ประชาชนเข้าไปในพื้นที่ หลังจากนั้นจึงจะทยอยรื้อย้ายออกไป

คาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบ 1 สัปดาห์จึงจะเริ่มรื้อย้ายได้ ส่วนค่ารื้อย้ายจะมากกว่าค่าสร้างใหม่จนต้องสั่งถอย ทิ้งไว้ให้เป็นเสาปูนแห่งความอัปยศต่อไปหรือไม่ วันที่ 5 มี.ค.นี้ได้รู้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44801
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/03/2012 11:09 am    Post subject: Reply with quote

จนท.กั้นโฮปเวลล์ รอประเมินหวั่นถล่มซ้ำ
INN NEws วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2555 9:03น.

เจ้าหน้าที่ล้อมปิดพื้นที่โฮปเวลล์ถล่ม ขณะ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย การรถไฟฯ และ กทม. เตรียมเข้าตรวจสอบประเมินโครงสร้าง หวั่น ถล่มซ้ำ ในเวลา 09.00 น.

จากกรณีเกิดเหตุแผ่นคอนกรีตของชานชาลา โฮปเวลล์ ถล่มลงมาทับรางรถไฟ บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 เลยวัดเสมียนนารี ประมาณ 200 เมตร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมานั้น ขณะนี้ เจ้าหน้าที่ ก็ได้อยู่ระหว่างการนำสังกะสี มาล้อมปิดพื้นที่ พร้อมกับนำผ้าใบมาล้อมรอบบริเวณที่เกิดเหตุ เพื่อห้ามมิให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าไปในบริเวณดังกล่าวอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับอันตราย ขณะเดียวกัน ในเวลา 09.00 น. วันนี้ เจ้าหน้าที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของกทม. และการรถไฟแห่งประเทศไทย จะได้ร่วมกันทำการตรวจสอบในบริเวณที่เกิดเหตุอย่างละเอียดอีกครั้ง รวมไปถึงโครงสร้างชานชาลาโฮปเวลล์ ที่เป็นจุดเสี่ยงในบริเวณใกล้เคียงด้วย เพื่อประเมินว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้น จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะพังลงมาอีกหรือไม่

------------

วิศวกรรมสถานสั่งรื้อโฮปเวลล์ถล่มทันที-ตอม่อไร้ปัญหา
INN News วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2555 10:51น.

นายกวิศวกรรมสถานฯ ตรวจโฮปเวลล์ ชี้ สาเหตุถล่ม เกิดจากนั่งร้านเหล็กผุกร่อน ชิ้นส่วนหาย เร่งสั่งการรื้อถอนโครงสร้างทั้งหมด คาด 1 สัปดาห์แล้วเสร็จ พร้อมตรวจสอบตอม่ออีกครั้ง หลังจะนำไปเป็นฐานส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีแดง
นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) พร้อมเจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันตรวจสอบโครงสร้างชานชลาโฮปเวลล์ ที่พังถล่มลงมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมา โดย นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น คาดว่า สาเหตุหลักที่ทำให้แผ่นคอนกรีตชานชลาโฮปเวลล์ถล่มลงมานั้น มาจากนั่งร้านเหล็กชั่วคราว ที่มีอายุเกือบ 20 ปี ที่นำมารับแผ่นคอนกรีตไว้ เกิดการผุกร่อน และถูกขโมยน็อตยึด รวมถึงชิ้นส่วนต่างๆ ออกไป จึงทำให้โครงสร้างอ่อนตัวลง และพังลงมาดังกล่าว ส่วนการจัดการกับโครงสร้างที่พังลงมานั้น ก็ได้มีการสั่งการให้รื้อถอนโครงสร้างที่พังลงมาทั้งหมด โดยจะมีการใช้รถแบ็คโฮตัดแบ่งแผ่นคอนกรีตออกเป็นก้อนๆ ก้อนละ 10 ตารางเมตร จากนั้นใช้เครนยกลงมา ซึ่งคาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จึงจะแล้วเสร็จ ขณะที่ได้มีการกำชับไปยังเจ้าหน้าที่ที่ทำการรื้อถอนให้ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างระมัดระวังเนื่องจากในบริเวณดังกล่าวนั้นมีท่อส่งก๊าซอยู่ด้วย ซึ่งหากแผ่นคอนกรีตหล่นลงมาในจุดดังกล่าว ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้

วิศวกรรมสถานฯรอตรวจตอม่อโฮปเวลล์นำเป็นฐานรถไฟฟ้าสายสีแดง

นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้เปิดเผยระหว่างการเข้าตรวจสอบโครงสร้างชานชลาโฮปเวลล์ที่พังถล่มลงมา ว่า ภายหลังจากเคลียร์ซากที่พังถล่มลงมาแล้วเสร็จ ทาง วิศวกรรมสถานฯ ก็จะดำเนินการตรวจสอบตอม่อโฮปเวลล์ ที่มีโครงการจะนำไปเป็นฐานส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีแดง หัวลำโพง-ดอนเมือง โดยจะมีการสุ่มตรวจตอม่อทั้งหมดว่าจะสามารถใช้การได้หรือไม่ แต่ในเบื้องต้นเชื่อว่าตอม่อทั้งหมดนั้น จะสามารถใช้การได้ เนื่องจากเป็นโครงสร้างของโครงการระดับชาติ ที่มีการออกแบบตรวจสอบอย่างถูกต้อง ซึ่งโดยปกติแล้ว โครงสร้างของโครงการลักษณะนี้ จะมีอายุ 50-100 ปี แต่ทั้งนี้ต้องทำการตรวจสอบตามวิศวกรรมวิธีอย่างละเอียดอีกครั้ง ซึ่งทำได้หลายวิธี อาทิ นำเครื่องยิงคอนกรีต มายิงตรวจสอบว่ารับความแข็งแรงได้เท่าไหร่ และเจาะเอาตัวอย่างคอนกรีตไปตรวจสอบ

วิศวกรรมสถานตรวจโฮปเวลล์แค่ภายนอก

นายธเนศ วีระศิริ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ กล่าวกับ ไอ.เอ็น.เอ็น. ผ่านรายการ เปิดข่าวเด่น เจาะประเด็นดัง ทางคลื่น FM 102.75 MHz ว่า ในการลงพื้นที่ตรวจสอบ กรณีโฮปเวลล์ถล่มในวันนี้นั้น จะเป็นการตรวจสอบเชิงกายภาพภายนอก เพื่อดูว่าจะตรวจสอบเชิงลึกอย่างไร ซึ่งหากจะนำตอม่อเหล่านี้มาใช้ วิศวกรผู้รับผิดชอบ ต้องมีการกำหนดว่า จะตรวจสอบอย่างไร เพื่อให้เกิดความมั่นใจต้องตรวจสอบอย่างลึกซึ้งในด้านวิศวกรรม

---------------

ดูคลิปวิดีโอข่าวจาก เนชั่น 77 ช่อง 77 จังหวัดได้ที่นี่ครับ
http://77.nationchannel.com/video/206135/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44801
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/03/2012 10:50 pm    Post subject: Reply with quote

ฟันธงโฮปเวลล์ถล่มเพราะนั่งร้านทรุดตัว
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 5 มีนาคม 2555 22:30 น.

Click on the image for full size
เจ้าหน้าที่วิศวกรรมสถานเข้าตรวจโครงสร้างตอม่อของโฮปเวลล์ที่ถล่มลงมา

วิศวกรรมสถาน ระบุสาเหตุโฮปเวลล์ถล่มเนื่องจากนั่งร้านเหล็กทรุดตัวเพราะมีคนไปเอาชิ้นส่วนออก แนะใช้วิธีเจาะแบ่งแท่งปูนเป็นชิ้นขนาด 15-20 ตันเพื่อความสะดวกในการขนย้าย

วันนี้(5 มี.ค.)เมื่อเวลา 10.00 น. นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วยตัวแทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมเข้าตรวจโครงสร้างตอม่อของโฮปเวลล์ที่ถล่มลงมาเมื่อวันก่อน พร้อมทั้งแนะนำแนวทางในการดำเนินการต่อไปว่าจากการตรวจสอบเบื้องต้น สาเหตุของการถล่มลงมาน่าจะมาจากนั่งร้านเหล็กทรุดตัวลงมาโดยเหตุที่ทรุดตัวนั้นมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหลักน่าจะมาจากการที่มีคนนำเอาชิ้นส่วนของนั่งร้านออกไปนั่นเองกอปรกับนั่งร้านที่สร้างมานั้นเป็นนั่งร้านที่ใช้ในการก่อสร้างชั่วคราว เมื่อเวลาล่วงเลยมาย่อมมีการชำรุดสึกหรอเป็นธรรมดา รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมจากการที่ได้รับผลกระทบจากการวิ่งของรถไฟอีกด้วย ซึ่งในส่วนที่ถล่มลงมานั้น เป็นส่วนของชานชลาที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์

นายสุวัฒน์ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนของการเสียหายคิดว่าหลังจากนี้ไป คงไม่มีการถล่มเพิ่มเติมอีกแล้วในส่วนนี้ สำหรับในส่วนของการเคลื่อนย้ายเศษซากที่ถล่มลงมานั้น ทางวิศวกรรมสถานให้ข้อเสนอแนะว่าควรที่จะทำการแบ่งเศษออกเป็นส่วนๆ โดยใช้เครื่องมือเจาะปูนขนาดใหญ่ แบ่งเศษปูนออกเป็นชิ้นขนาด 10 ตร.ม.ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 15-20 ตัน จากนั้นใช้เครนขนาดใหญ่ในการยกออกไป ซึ่งในการกระทำต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับท่อก๊าชธรรมชาติ ในส่วนของระยะเวลาในการดำเนินการคาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

นอกจากนี้ทางคณะวิศวกรรมสถานยังได้เดินทางไปตรวจสอบตอม่อ บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 ซึ่งอยู่ห่างจากจุดที่ถล่มประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อตรวจดูโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้าง ชานชลาในแบบที่สร้างเสร็จแล้ว ว่ายังมีความคงทนแข็งแรงอยู่หรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
This topic is locked: you cannot edit posts or make replies.    Rotfaithai.Com Forum Index -> อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
Page 3 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©