RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311338
ทั่วไป:13295363
ทั้งหมด:13606701
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - คุณคิดเห็นอย่างไรกับการผลักดันจัดตั้ง กระทรวงรถไฟ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับการผลักดันจัดตั้ง กระทรวงรถไฟ
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2013 12:43 am    Post subject: ผู้ว่าประพัทธ์ค้านการตั้งกรมขนส่งทางรางในรุปแบบที่คมนาคมคิด Reply with quote

“ประภัสร์”ชี้ตั้งกรมฯรางแก้ปัญหาไม่ตรงจุด นโยบายผิดพลาดทำร.ฟ.ท.สูญพันธุ์ได้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 เมษายน 2556 23:28 น.

“ประภัสร์”ค้านตั้งกรมขนส่งทางราง ยันไม่ได้แก้ปัญหาร.ฟ.ท.จริงและจะทำให้องค์กรสูญพันธุ์ ชี้สาเหตุที่ร.ฟ.ท.มีหนี้มากเพราะนโยบายของรัฐบาลทุกยุค ไม่ใช่ร.ฟ.ท.บริหารผิดพลาดเอง ยันหากยังอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าฯ กรมรางไม่มีทางเกิด แนะตั้งกรมรถไฟ ปรับเป็นหน่วยราชการ โอนผลตอบแทนเศรษฐกิจ (IRR) มาหักลบเหมือนกรมทางหลวง

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของกระทรวงคมนาคมที่จะจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางขึ้นมากำกับดูแลงานโครงสร้างพื้นฐานทางราง โดยแยกงานก่อสร้างออกจาก ร.ฟ.ท.เพื่อแก้ปัญหาหนี้สิน เนื่องจากหนี้สินของร.ฟ.ท.ที่เกิดขึ้น สาเหตุไม่ได้เกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของ ร.ฟ.ท.แต่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลแต่ละสมัยที่ผ่านมาที่ไม่ให้ปรับขึ้นค่าโดยสารตามต้นทุน รวมถึงนโยบายเชิงสังคมต่างๆ เช่นรถไฟฟรี และได้หารือเบื้องต้นกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแล้ว ซึ่งยืนยันว่ายังไม่อนุมัติเรื่องตั้งกรมการขนส่งทางราง และให้ร.ฟ.ท.หารือกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ให้มีความชัดเจนก่อน

ส่วนแนวคิดที่จะให้กรมขนส่งทางราง ก่อสร้างโครงการบนที่ดินของ ร.ฟ.ท.โดยเจรจาแลกกับหนี้สินของร.ฟ.ท.ยิ่งไม่ถูกต้อง เพราะหากไม่มีที่ดิน ร.ฟ.ท.ก็จะไม่เหลืออะไรเลย และถ้าจะให้ทำหน้าที่เดินรถเพียงอย่างเดียวโดยต้องแข่งขันกับเอกชนในการยื่นขอใบอนุญาต หรือประมูลเส้นทาง ร.ฟ.ท.ไม่สามารถแข่งขันได้ เพราะเสียเปรียบเอกชน
เนื่องจากร.ฟ.ท.มีต้นทุนการบริหารงานสูงกว่าเพราะมีพนักงานมากกว่า 10,000 คน ขณะที่เอกชนอาจมีพนักงานเพียง 200 คน ร.ฟ.ท.ไม่สามารถกำหนดราคาประมูลที่ต่ำกว่าเอกชนได้แน่นอน

“เมื่อวันที่ 17 เม.ย.ที่ผ่านมา ผมไม่ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิจารณาโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและจัดตั้งส่วนราชการระดับกรมหรือองค์กรอื่นที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาระบบการขนส่งและการเดินทางทางราง โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เพราะไม่มีการแจ้งให้เข้าร่วมประชุม แต่ยืนยันว่าวันที่ 29 เม.ย.ซึ่งคณะกรรมการฯจะประชุมอีกครั้ง ผมจะเข้าร่วมแน่นอนเพื่อคัดค้านเรื่องดังกล่าว หากแนวคิดดังกล่าวแก้ปัญหาร.ฟ.ท.ได้จริง ก็ยินดี แต่การตั้งกรมขนส่งทางราง ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องและจะยิ่งเป็นการทำให้ร.ฟ.ท.สูญพันธุ์ไปเลย ผมยืนยันว่าตราบใดที่ยังอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.จะไม่มีกรมขนส่งทางรางเกิดได้แน่นอน””นายประภัสร์กล่าว

โดยวิธีแก้ปัญหา ร.ฟ.ท.ที่ควรนำไปพิจารณา คือ ปรับองค์กรจากรัฐวิสาหกิจกลับมาเป็นราชการเช่น กรมรถไฟหลวงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากหน่วยงานราชการจะไม่มีบัญชีหนี้สินหรือขาดทุน เช่นเดียวกับกรมทางหลวงที่มีหน้าที่ลงทุนสร้างถนนแต่ไม่มีหนี้ เพราะรัฐบาลเป็นผู้แบกรับ ในขณะที่ รัฐบาลให้ร.ฟ.ท.รับผิดชอบงานก่อสร้างระบบรางที่บรรจุอยู่ใน พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาทเพราะอ้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ในการลงทุน มิใช่ผลตอบ แทนทางการเงิน (FIRR) แสดงว่ารัฐบาลไม่สนใจเรื่องรายได้มากไปกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ และควรให้นำตัวเลข EIRR ของแต่ละโครงการมาบันทึกในบัญชีการลงทุนเพื่อหักหนี้สินได้ ดังนั้นการลงทุนโครงการเพิ่มจะไม่มีภาระหนี้เพิ่ม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44954
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/06/2013 10:15 am    Post subject: Reply with quote

ตั้งกรมขนส่งทางราง - ปฏิรูปรถไฟไทย
รายการเผชิญหน้า ทาง Spring News TV 6 มิ.ย.56



ส่วนที่ 2/3 http://www.youtube.com/watch?v=wJ5wnuLhVv8
ส่วนที่ 3/3 http://www.youtube.com/watch?v=xQIOFy10gps
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44954
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/12/2013 8:13 am    Post subject: Reply with quote

สภาที่ปรึกษาฯสนับสนุนตั้งกรมขนส่งทางราง หวังเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
เดลินิวส์ วันพุธ 18 ธันวาคม 2556 เวลา 18:18 น.

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ได้จัดทำข้อเสนอแนะถึงกระทรวงคมนาคมเกี่ยวกับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อนำไปพิจารณา แม้ว่าล่าสุดกฎหมายกู้เงินลงทุนจะไม่สามารถผลักดันได้เสร็จในรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โดยตามข้อเสนอเห็นว่า หากรัฐบาลจะผลักดันโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการก่อนคือ กระทรวงคมนาคมต้องตั้งกรมขนส่งทางรางขึ้น เพื่อให้การขนส่งทางรางสามารถแข่งขันกับการขนส่งทางถนนได้ โดยให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมควรให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า แต่ละพื้นที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอะไรบ้าง โดยเฉพาะกรอบระยะเวลา โครงการใดที่ยังอยู่นอกแผน หรือยังไม่ชัดเจนก็ต้องกำหนดให้ชัดเจน และควรแก้ไขกฎระเบียบ-ข้ออำนวยความสะดวกทางการค้า-บริการ โดยเฉพาะส่วนที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานและงานสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ต่างๆ รวมถึงสนับสนุนจัดทำแผนส่งเสริมให้มีการลงทุนตามเส้นทาง และต้องพัฒนาสถานีรถไฟ และพื้นที่โดยรอบ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการจ้างงาน และการสร้างมูลค่าเพิ่ม

ขณะเดียวกันยังต้องบูรณาการเชื่อมโยงระบบถนนเข้ากับระบบราง เร่งการก่อสร้างรางเพื่อเชื่อมโยงกับการขนส่งทางรางเข้าไปสู่ท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากสนามบินของจังหวัดที่รถไฟความเร็วสูงผ่าน และพัฒนาลานจอดรถรองรับรถไฟความเร็วสูง รวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีให้ประชาชนในชนบทสามารถเข้าถึงประโยชน์จากระบบขนส่งมวลชนรถไฟความเร็วสูงได้ พร้อมจัดระบบขนส่งและจราจร รวมทั้งด้านความปลอดภัยในแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่างรวมทั้งชายฝั่งทะเล รวมทั้งการป้องกันสารปนเปื้อนลงไปในลำน้ำ

นอกจากนี้ควรสร้างจุดพักรถสำหรับรถบรรทุก พร้อมกับกำหนดระยะเวลาที่พนักงานขับรถจะต้องจอดพัก เช่น ทุก 250 กิโลเมตร ทั้งรถบรรทุกและรถโดยสาร เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน รวมทั้งศึกษาผลกระทบจากการเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ของภูมิภาค เพราะจะมีสินค้าขนส่งผ่านแดนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ประเทศไทย และผ่านจากประเทศไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศที่สามเพิ่มขึ้นอย่างมาก อีกทั้งให้ชะลอการบังคับใช้ผังเมืองจังหวัดใหม่ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับระบบโครงสร้างพื้นฐานใหม่ และการทบทวนเมืองศูนย์กลางด้วย

ทั้งนี้ยังต้องกำหนดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ โดยระบุไว้ในทีโออาร์ให้ผู้รับเหมา หรือ ผู้บริหารโครงการ ขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้องให้ความสำคัญต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น การปรับปรุงถนนสายหลัก ตั้งแต่สุไหงโกลก นราธิวาส ยะลา ปัตตานี และสายเบตง-ยะลา ควรเป็นถนนคอนกรีต 4 ช่องจราจร เพื่อให้เป็นเส้นทางขนส่งและมีความปลอดภัยจากการก่อการร้าย และพิจารณาใช้ผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูปในการก่อสร้างระบบรางทางคู่ โดยใช้ยางสำหรับทำรอยต่อของรถไฟ

นายอุทัย กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมยังต้องส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เพื่อให้เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า พร้อมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และออกมาตรการที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านสังคม เช่น ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ควรจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการพัฒนาพื้นที่ ควรพิจารณาประเด็นเชิงสังคม ถึงผลกระทบในแหล่งทำกิน และหรือที่อยู่อาศัยของชุมชนด้อยโอกาสเหล่านั้น และจัดให้มีกลไกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงพื้นที่ รวมถึงให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวอย่างแท้จริงด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 19/12/2013 8:47 am    Post subject: Reply with quote

คงเป็นความฝันต่อไป เพราะ ครม.แค่รักษาการณ์เท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44954
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/06/2014 4:12 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเตรียมเสนอคสช.ยกร่างพ.ร.บ.ขนส่งใหม่ คาดใช้บังคับทัน AEC
ข่าวหุ้น วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2557 เวลา 15:47:22 น.

กระทรวงคมนาคมเร่งยกร่าง พ.ร.บ.บริหารการขนส่งฉบับใหม่ ให้เป็นกฎหมายกลางที่ทันสมัย และบูรณาการบังคับใช้ครอบคลุมการขนส่งทุกรูปแบบ โดยเตรียมสรุปเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาอนุมัติ หวังดำเนินการให้แล้วเสร็จบังคับใช้ได้ทันเปิดรับ AEC

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า กฎหมายด้านการขนส่งส่วนใหญ่ใช้มานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับปัจจุบันที่สภาพเปลี่ยนแปลงไป การยกร่างใหม่และยกเลิกกฎหมายเดิมจะมีปัญหา เพราะมีกฎหมายลูกประกอบเกือบพันฉบับ จึงร่างกฎหมายกลางฉบับใหม่ขึ้นเป็นเครื่องมือเสริมกฎหมายเก่า หน่วยงานสามารถใช้กฎหมายใหม่ได้หากกฎหมายเดิมที่มีไม่ครอบคลุม

โดยร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการอนุมัติในหลักการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย.50 และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายอื่น โดยจะมีคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติเป็นผู้กำกับดูแลและบริหารนโยบาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนการกำกับดูแลจะมีคณะกรรมการในแต่ละกลุ่มคือคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบการขนส่งทางราง, ทางน้ำ ,ทางอากาศ,การขนส่งมวลชน

ส่วนความคืบหน้าการจัดตั้งกรมรางนั้น ขณะนี้ได้เสนอเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคมแล้ว ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการคู่ขนานไปกับ พ.ร.บ.บริหารการขนส่ง โดยหลักการกรมรางจะทำหน้าที่ลงทุนด้านทางและรางเพื่อให้รัฐเป็นผู้รับภาระหนี้สินแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการเดินรถเพียงอย่างเดียว โดยมีรถไฟและที่ดินเป็นทรัพย์สิน ส่วนบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์นั้นจะมีการแยกออกจาก ร.ฟ.ท.โดยให้กระทรวงการคลังเข้ามาถือหุ้นแทน โดยรถไฟฟ้าจะเป็นทรัพย์สินของแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนโครงสร้างรางจะเป็นทรัพย์สินของรัฐ จะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการมากกว่าปัจจุบัน

สำหรับการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.บริหารการขนส่ง ในวันนี้จะได้ข้อสรุปและนำเสนอ คสช.ต่อไป ซึ่งตามขั้นตอนจะต้องรอเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นก่อนประกาศใช้ต่อไป และโดยหลักการ พ.ร.บ.บริหารการขนส่งนี้จะไม่ซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกับกฎหมายเดิมที่มีอยู่ แต่จะเป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้น เพื่อเป็นกฎหมายกลางที่มีความครอบคลุมและบังคับใช้กับทุกกิจกรรมการขนส่ง และรองรับกับการเปิดเสรีอาเซียน (AEC) ในปี 58 ซึ่งจะมีรถและผู้ประกอบการจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากขึ้น ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องทุกเรื่องให้เป็นสากล และบังคับใช้

ขณะที่ นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ มีนโยบายให้บูรณาการระบบบริหารจัดการด้านการขนส่งที่กระจายอยู่ในกฎหมายต่างๆ ให้มีกฎหมายกลางที่จะบริหารจัดการ จัดกลุ่มภารกิจด้านนโยบาย การกำกับดูแล และการประกอบการให้ชัดเจน เพื่อสามารถให้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการขนส่งได้ทุกกิจกรรมที่เพิ่มเติมจากกฎหมายเดิมที่มีอยู่ รวมถึงการวางกรอบในการดำเนินกิจการขนส่งที่มีลักษณะเป็นพันธะในการให้บริการสาธารณะและการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมในโครงสร้างพื้นฐานและการประกอบการกิจการขนส่งที่ปรับโครงสร้างได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ซึ่งจะสร้างความมั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัย การบริการ และการสร้างบรรยากาศในการแข่งขันของผู้ประกอบการที่โปร่งใสและเป็นธรรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2014 5:24 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคมเตรียมเสนอคสช.ยกร่างพ.ร.บ.ขนส่งใหม่ คาดใช้บังคับทัน AEC
ข่าวหุ้น วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2557 เวลา 15:47:22 น.


เวอร์ชัน ASTV เป็นแบบนี้ครับ

คมนาคมชง คสช.คลอด พ.ร.บ.บริหารขนส่งฯ รับเปิด AEC ยันตั้งกรมรางแยกแอร์พอร์ตลิงก์ออกจาก ร.ฟ.ท.


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2557 16:49 น.


คมนาคมเร่งยกร่าง พ.ร.บ.บริหารการขนส่ง พ.ศ....ฉบับใหม่ เป็นกฎหมายกลางที่ทันสมัย และบูรณาการบังคับใช้ครอบคลุมทุกกิจกรรมการขนส่ง เตรียมสรุปเสนอ คสช.เห็นชอบ “ผอ.สนข.” หวังบังคับใช้ได้ทันเปิด AEC ชี้กฎหมายปัจจุบันล้าสมัยไม่เป็นมาตรฐานสากล พร้อมเดินหน้าตั้งกรมรางลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแทน ร.ฟ.ท.ที่จะทำหน้าที่เฉพาะเดินรถ

นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ “ร่างพระราชบัญญัติบริหารการขนส่ง พ.ศ. ....” วันนี้ (25 มิ.ย.) ว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้บูรณาการระบบบริหารจัดการด้านการขนส่งที่กระจายอยู่ในกฎหมายต่างๆ ให้มีกฎหมายกลางที่จะบริหารจัดการ จัดกลุ่มภารกิจด้านนโยบาย การกำกับดูแล และการประกอบการให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการขนส่งได้ทุกกิจกรรมที่เพิ่มเติมจากกฎหมายเดิมที่มีอยู่ รวมถึงการวางกรอบในการดำเนินกิจการขนส่งที่มีลักษณะเป็นพันธะในการให้บริการสาธารณะและการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมในโครงสร้างพื้นฐานและการประกอบการกิจการขนส่งที่ปรับโครงสร้างได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ซึ่งจะสร้างความมั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัย การบริการ และการสร้างบรรยากาศในการแข่งขันของผู้ประกอบการที่โปร่งใสและเป็นธรรม

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการ ร่างพระราชบัญญัติบริหารการขนส่ง พ.ศ. ....ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2550 แล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ....ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายอื่น โดยการสัมมนาครั้งนี้จะได้ข้อสรุปและนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งตามขั้นตอนจะต้องเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นก่อนประกาศใช้ต่อไปโดยหลักการ พ.ร.บ.บริหารการขนส่ง พ.ศ. .... นี้จะไม่ซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกับกฎหมายเดิมที่มีอยู่ แต่จะเป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้น เพื่อเป็นกฎหมายกลางที่มีความครอบคลุมและบังคับใช้กับทุกกิจกรรมการขนส่ง และรองรับกับการเปิดเสรีอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ซึ่งจะมีรถและผู้ประกอบการจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากขึ้น ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องทุกเรื่องให้เป็นสากล และบังคับใช้

“กฎหมายด้านการขนส่งส่วนใหญ่ใช้มานานแล้วไม่สอดคล้องกับปัจจุบันที่สภาพตลาดเปลี่ยนแปลงไป การยกร่างใหม่และยกเลิกกฎหมายเดิมจะมีปัญหาเพราะมีกฎหมายลูกประกอบเกือบพันฉบับ จึงร่างกฎหมายกลางฉบับใหม่ขึ้นเป็นเครื่องมือเสริมกฎหมายเก่า หน่วยงานสามารถใช้กฎหมายใหม่ได้หากกฎหมายเดิมที่มีไม่ครอบคลุม” นายจุฬากล่าว

สำหรับ พ.ร.บ.บริหารการขนส่ง พ.ศ. ....นี้จะมีคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติบริหารนโยบาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนการกำกับดูแลจะมีคณะกรรมการในแต่ละกลุ่ม คือ คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบการขนส่งทางราง, ทางน้ำ, ทางอากาศ, การขนส่งมวลชน

ส่วนความคืบหน้าการจัดตั้งกรมรางนั้น ขณะนี้ได้เสนอเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคมแล้ว ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการคู่ขนานไปกับ พ.ร.บ.บริหารการขนส่ง พ.ศ....โดยหลักการกรมรางจะทำหน้าที่ลงทุนด้านทางและรางเพื่อให้รัฐเป็นผู้รับภาระหนี้สินแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการเดินรถเพียงอย่างเดียว โดยมีรถไฟและที่ดินเป็นทรัพย์สิน

ส่วนบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์นั้นจะมีการแยกออกจาก ร.ฟ.ท.โดยให้กระทรวงการคลังเข้ามาถือหุ้นแทน โดยรถไฟฟ้าจะเป็นทรัพย์สินของแอร์พอร์ตลิงก์ ส่วนโครงสร้างรางจะเป็นทรัพย์สินของรัฐ จะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการมากกว่าปัจจุบัน


Last edited by Wisarut on 06/08/2014 10:25 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44954
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2014 7:25 am    Post subject: Reply with quote

'วิษณุ'ชี้ตั้ง'ก.ทรัพยากรน้ำ-กรมขนส่งทางราง'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 5 สิงหาคม 2557 15:34

"วิษณุ"ชี้ช่องปฏิรูปราชการ แนะตั้ง"ก.ทรัพยากรน้ำ-กรมขนส่งทางราง"ให้ทบทวน"ดีเอสไอ-ก.ท่องเที่ยวฯ" ควรมีหรือไม่

นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวในรายการของตัวเอง คือ รายการ "อาทิตย์สโมสรกับวิษณุ" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง TNN24 ตอน"สภาปฏิรูปจะปฏิรูปอะไรบ้าง" ว่า ช่วงนี้มีการพูดถึงการปฏิรูปด้านต่างๆของประเทศมากพอสมควร ซึ่งมีการพูดกันพอสมควรแล้วว่าใครจะเป็นผู้เสนอแนวทางในการปฏิรูปคำตอบก็คือ "สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)" เป็นแกนหลัก โดยไม่ได้ตัดสิทธิของประชาชนในการออกความคิดความเห็นที่สามารถส่งไปตามช่องทางต่างๆ แต่คำถามคือจะปฏิรูปอะไรกัน เพราะเวลาพูดถึงความไม่พออกพอใจความเดือดร้อนจากกิจการของรัฐด้านต่างนั้นมีมากมายจนไม่รู้จะปฏิรูปเรื่องใดก่อน

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ในรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 กำหนดให้มีการปฏิรูป11ด้านเป็นอย่างน้อย ซึ่งสามารถเสนอแนวทางปฏิรูปเรื่องอื่นด้านที่12 13 14 ก็สามารถทำได้ แต่ด้านที่จะมีการปฏิรูปการเมือง ที่จะรวมถึงเรื่องกฎเกณฑ์ กติกา มารยาททางการเมือง และการปฏิรูประบบราชการน่าจะเป็นเรื่องใหญ่ที่จะถูกพูดถึงมากที่สุดนับจากนี้ไป

นายวิษณุ กล่าวว่า การปฏิรูประบบราชการ ซึ่งระบบราชการเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่มีงบประมาณมากกว่าระบบอื่นในประเทศ และมีอำนาจมากในการกำหนดกฎเกณฑ์ให้คนปฏิบัติ อำนาจปกครองบังคับบัญชาและอำนาจการอนุมัติ ซึ่งเป็นอำนาจที่อาจจะทำให้คนจนลงและรวยขึ้นก็ได้ เช่นมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่องภาษีก็ย่อมกระทบบความเป็นอยู่ของคน

" เมื่อระบบราชการมีความใหญ่โตมีอำนาจมากและมีผู้คนมากปานนี้ มีงบประมาณเอาไว้หมุนเวียนใช้จ่ายมากปานนี้ แถมยังเป็นระบบที่เก่าแก่นานกว่าระบบใดทั้งหมดของประเทศด้วยซ้ำไป คือเกิดขึ้นมาพร้อมกับการมีประเทศไทยหรือสยามหรือกรุงศรีอยุธยา กรุงสุโขทัยเลยทีเดียวก็ว่าได้ ก็กลายเป็นระบบที่มีปัญหามากเพราะเกี่ยวพันกับชีวิตประชาชนมากในทุกอณูของชีวิตประจำวัน " นายวิษณุ กล่าว

ที่ปรึกษาคสช. กล่าวอีกว่า เมื่อเราเข้าไปเกี่ยวกันกับระบบราชการแล้วเราไม่พอใจ เช่น อาจพบเจ้าหน้าที่พูดจาไม่สุภาพ มีการเรียกเงินทองเงินสินบน เงินกินเปล่า เงินใต้โต๊ะ ซึ่งบางทีไม่ใช่เรื่องจุกจิกน่ารำคาญแต่มันเป็นเรื่องใหญ่โต เช่นการจะเข้าไปประมูลรับการจัดซื้อจัดจ้างก็ลำบากยากเย็น หลลายคนบ่นว่าแข่งกับคนอื่นไม่กลัวใครดีใครได้ แต่แข่งกับคนที่เส้นใหญ่ให้สินบนเงินทอนเงินกินเปล่าก็สู้ไม่ไหว และบางการไปขอรับการอนุมัติก็ใช้เวลายาวนานและคำตอบออกมาว่าไม่อนุมัติ ด้วยเหตุนี้จึงมีการพูดถึงเรื่องของการปฏิรูประบบราชการ เพราะมีการพูดถึงเรื่องสองมาตรฐานซึ่งจะเท็จหรือจะจริงนั่นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ตราบใดที่มีคนบ่นอย่างนี้ยังเกิดความไม่พอใจไม่สบอารมณ์ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงของระบบราชการ รวมถึงมีการพูดเรื่องระบบนิติธรรมหรือการใช้กฎหมายเป็นใหญ่ก็มีการเรียกหาระบบนิติธรรมนิติรัฐก็แสดงว่ายังไม่พอใจอะไรบางอย่าง

นายวิษณุ กล่าวว่า การปฏิรูประบบราชการหมายถึงการปฏิรูปตำรวจ ฝ่ายปกครอง ศาล อัยการ หรือแม่แต่กิจการราชทัณฑ์ ทนายความและงานที่เกี่ยวกับการให้บริการภาครัฐจะเป็นหัวข้อใหญ่ในการถกแถลงกันยาวนาน

" เชื่อเถอะครับว่าจากนี้ไปเราจะได้ยินเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างของระบบราชการ กระทรวงบวงกรมต่างๆ วิธีทำงานของข้าราชการ ว่าทำอย่างไรหนอให้คนที่ทำงานราชการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและบริการประชาชนอย่างอุทิศกายและใจ ทำราชการด้วยความรวดเร็วว่องไวใให้ความสะดวกไว้เนื้อเชื่อใจแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ รวมทั้งต้องพูดถึงเรื่องอัตรากำลังที่ไม่ให้ระบบราชการใหญ่โตเทอะทะ เต็มไปด้วยผู้คนมากมายหรือว่าทำงานทั้งวันได้พันห้าเดินไปเดินมาได้ห้าพันอย่างที่เพลงร้องประชดกัน ทำอย่างไรให้ข้าราชการมีค่าตอบแทนที่เพียงพอ " นายวิษณุ กล่าว

นายวิษณุ กล่าวว่า ในอดีตโครงสร้างระบบราชการเป็นแบบจตุสดมภ์แบ่งออกเป็น4กรม เวียง วัง คลัง นา จากนั้นตั้งเป็นกระทรวงโดยระยะแรกมี12กระทรววง และปัจจุบันเรามีกระทรวงทั้งหมด20กระทรวง 20กระทรวงมากไปหรือน้อยไป และที่สำคัญหลายกระทรวงมีเหตุมีผลในการตั้งขึ้นมาเพียงพอหรือไม่ เราได้ทดลองกันมา10กว่าปี ถึงเวลาแล้วหรืออยังที่ต้องปรับโครงสร้างเสียใหม่ เพราะฉะนั้นช่วงเวลาที่ผ่านมาจนถึงวันนี้มีการพูดกันมาก เช่น มีการพูดถึงเรื่องว่าน่าจะตั้งกระทรวงทรัพยากรน้ำ เอาหน่วยงานที่เกี่ยวกับน้ำทั้งหมดมาไว้ด้วยกัน เพราะบทเรียนมหาอุทกภัยที่ผ่านมาหน่วยงานน้ำยังกระจัดกระจายกันอยู่ หากนำมารวมกันแล้วบริหารจัดการให้ดีก็น่าจะได้ประโยชน์ มีการพูดกันว่าอาจจะมีการตั้งกรมขึ้นมาสักกรมหนึ่ง เช่น กรมขนส่งทางราง กิจการที่ไม่ได้ขนส่งทางบกแต่เป็นการขนส่งทางราง หมายถึงรถไฟรางเดี่ยว รางคู่ แม้กระทั่งรถไฟความเร็วสูง หรือรถราง รถไฟฟ้า รถลอยฟ้า รถใต้ดิน น่าจะมารวมกันที่กรมขนส่งทางราง โดยรัฐดูแลออกแบบวางมาตรฐาน ก่อสร้างดูเฉพาะเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการเดินรถก็ให้เอกชนรับช่วงต่อ

นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เจตนารมณ์ของการตั้งขึ้นไม่ได้คิดเลยว่าจะให้เป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติแห่งที่2ไม่เช่นนั้นก็จะซ้ำซ้อนกันหรือแย่งกันทำงาน แต่เขาออกแบบให้ทำ "คดีพิเศษ" ที่ตำรวจปกติจะรับมือได้ยาก ไม่ใช่คดีอาชญากรรมธรรมดาหรืออาชญากรรมตามท้องถนน(Street crime) เช่นอาชญากรรมข้ามชาติ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมที่มีความสลับซับซ้อนมาก แต่เมื่ออยู่ไปหรืออยู่มากรมนี้มักจะเหมาเอาหลายคดีเข้ามาเป็นคดีพิเศษ จนกระทั่งไปถึงคดีที่ดูแสนจะธรรมดาก็ระดับเป็นคดีพิเศษเพื่อจะเอามาทำ

" คงต้องคิดกันเสียใหม่แล้วครับว่าตกลงกรมสอบสวนคดีพิเศษตั้งขึ้นมาเพื่อจะทำอะไรแน่ " นายวิษณุ กล่าว

ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายวิษณุ กล่าวว่า ย้อนไป10ปีที่ผ่านมาอาจจะมีความจำเป็นที่ต้องนำมาไว้ในกระทรวงเดียวกัน แต่ตอนนี้คงต้องทบทวนแล้วว่า "ท่องเที่ยว" และ "กีฬา" อยู่ในกระทรวงเดียวกันได้หรือไม่ เพราะในที่สุดข้าราชการในกระทรวงนี้ต้องแบ่งภาคความชำนาญยากมาก เพราะจะไปด้านการท่องเที่ยวหรือด้านกีฬากันแน่ เพราะด้านหนึ่งคือด้านของเศรษฐกิจอีกด้านเป็นเรื่องของนันทนาการ สุขภาพและอนามัย และความเข้มแข็งของคนในชาติ นี่ก็เป็นเรื่องที่ต้องทบทวนกัน

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า พอมาถึงหัวข้อที่2ที่เขาจะต้องพูดถึงหากมีการปฏิรูป คือวิธีทำงานและปฏิบัติราชการ ซึ่งปัญหาใหญ่คือการทุจริตประพฤติมิชอบของวงราชการ เรื่องความล่าช้าในการให้บริการ เจ้าหน้าที่ของรัฐบางฝ่ายบางแผนกมีดุลพินิจมาก และอยู่โดยไม่มีธรรมาภิบาล

" ธรรมาภิบาลคือทำอะไรต้องยึดตัวบทกฎหมายคือกติกาเป็นหลัก สองคือทำอะไรต้องโปร่งใส สามทำอะไรต้องทำด้วยความรับผิดรับชอบ สี่ทำอะไรก็ตามต้องเข้าอกเข้าใจกหัวอกของคน ห้าทำอะไรก็ตามต้องยึดเรื่องของการคุ้มทุนคุ้มค่าประหยัดทั้งเวลาของราชการและประชาชนที่มาติดต่อราชการ และสุดท้ายต้องมีการหมั่นประเมินผล เมื่อประเมินแล้วดีก็ทำให้ดียิ่งขึ้น เมื่อประเมินแล้วแย่ก็ต้องปรับปรับให้ดีขึ้น " นายวิษณุ กล่าว

ที่ปรึกษาคสช. กล่าวว่า ต้องมีกฎกติกาอะไรออกมาหลายอย่างในการติดต่อราชการด้วยความสะดวกสบายในการบริการ และให้เกิดความโปร่งใสสุจริต ซึ่ง2เดือนที่ผ่านมา ท่ามกกลางประกาศของคสช.หลายฉบับแต่มีฉบับหนึ่งระบุว่าการประชุมอะไรก็ตามถ้าไม่มีกฎหมายระบุไว้เป็นพิเศษ แทนที่จะเชิญกรรมการมาประชุมแล้วนับองค์ประชุม สุดท้ายครบหรือไม่ครบองค์ประชุมบ้างการประชุมก็ล่ม ซึ่งวันนี้การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นสะดวกสบายมาก ทำไมเราไม่เปิดให้มีการสื่อสารทางไกลโดยใช้ระบบโทรทัศน์มีการถ่ายทอดเห็นภาพเห็นเสียงแทนแล้วก็นับองค์ประชุมได้แทนที่จะต้องมานับองค์ประชุม เว้นเสียแต่ว่าเป็นเรื่องลับที่จำเป็นต้องมาเจอกัน อย่างนี้ก็ทำให้มีมติคลี่คลายกัน คณะกรรมการที่ประชุมปีละครั้งก็อาจจะประชุมบ่อยขึ้นได้

นายวิษณุ กล่าวว่า เวลานี้มีการเตรียมกฎหมายไว้บางฉบับที่จะเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ในเร็ววันนี้ที่จะเอื้อต่อการไปขอรับบริการจากทางราชการ เช่น ต้องกำหนดให้ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ ท่านต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด หรือระเบียบราชการที่ทำให้เยิ่นเย้อชักช้า ให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกินไป และลับ ลับมากเกินไปก็จะเปลี่ยนให้มีการเปิดเผยอย่างมีเหตุผล คนที่เขาขอดูขอทราบต้องบอกเขาได้ และเป็นเพราะอะไรถึงไม่อนุญาตและไม่อนุมัติ

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า เอกสารราชการที่หลายคนมาติดต่อเรียกให้ขนมาหมด บัตรประชาชน บัตรเปลี่ยนชื่อ ทะเบียนสมรส ทะเบียนบ้าน สุดท้ายเอามาเก็บก็ไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม วันนี้ถ้าเรายอมรับว่าเรามีระบบบัตรประจำตัวประชาชน13หลัก แต่ละอย่างสื่อความและใช้คอมพิวเตอร์ถอดออกมาได้เลยว่าผู้ที่มาติดต่อนั้นเป็นใครมาจากไหน รู้กระทั่งหมู่เลือด ศาสนา และประวัติหลายอย่าง ทำไมเราถึงไม่นำระบบนี้เข้ามาใช้ และลดภาระประชาชนในการถ่ายเอกสารมากมาย

" สมัยที่ผมเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเคยขบขันเรื่องหนึ่งส่วนราชการแห่งหนึ่งมาของบประมาณนำไปสร้างตึก ท่านนายกฯในเวลานั้นถามว่าเอาตึกไปทำอะไร ส่วนราชการตอบว่าเอาไปเก็บเอกสาร เอกสารก็มาจากคนที่เขามาติดต่อราชการแล้วมายื่นไว้ครับ ท่านนายกเลยถามว่าทำไมไม่เผาหรือว่าาทำลาย ส่วนราชการบอกว่าไม่ได้ครับต้องเก็บไว้ 50 ปีก็ต้องเก็บ เวลานี้ไม่มีที่จะเก็บจึงต้องมาของบไว้เพื่อเก็บเอกสารเหล่านั้น ถามว่าท่านมีเวลาดูไหมก็ไม่มีเวลาดู แต่ก็ไม่มีกฎหมายให้ทำลาย " นายวิษณุ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44954
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2014 2:16 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ดันตั้งกรมขนส่งทางรางควบคู่ฟื้นฟู ร.ฟ.ท.เล็งเสนอแผน คสช.ปีหน้า
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557 13:55:05 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในการพัฒนาระบบรถไฟไทยต้องทำ 2 เรื่องควบคู่กันไป คือ ฟื้นฟูกิจการรถไฟ และการจัดตั้งกรมขนส่งทางราง ซึ่งกรมรางทำหน้าที่ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รวมถึงกำกับดูมาตรฐานความปอดภัยและกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม โดยจะต้องมีการออกพ.ร.บ.จัดตั้ง สภาปกติจะใช้เวลา 3-4 ปี แต่ปัจจุบันคาดว่าทางกระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดนำเสนอแผนการจัดตั้งในปี 58 และนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเร่งรัดจะสามารถจัดตั้งได้ภายใน 2 ปี

"กรมรางจะช่วยฟื้นฟู ร.ฟ.ท.เนื่องจากจะแยกส่วนงานการลงทุนก่อสร้างออกมาให้กรมรางรับผิดชอบ เหมือนกรมทางหลวง (ทล.) ที่ได้รับงบประมาณในการ ลงทุนก่อสร้างถนน ส่วนการกำกำกับดูแลความปลอดภัยและกำหนดค่าโดยสารจะเป็นบทบาทเช่นเดียวกับ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) โดยร.ฟ.ท.ยังคงทำหน้าที่ในการเดินรถ รวมถึงเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่ารางเพื่อเดินรถ" นายชัยวัฒน์กล่าวในการเสวนาเรื่อง"พัฒนาระบบขนส่งรางของประเทศไทย ทำอย่างไร?"

สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่นั้น สนข.จะรับผิดชอบการพัฒนาในระดับนโยบาย และการนำไปสู่การปฎิบัติ เพื่อนำเสนอขออนุมัติ คสช. โดยในระหว่างที่กรมรางยังจัดตั้งไม่แล้วเสร็จ ให้ ร.ฟ.ท. ทำหน้าที่ก่อสร้างไปก่อน และในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบรางในจังหวัดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต โคราช สงขลา ซึ่งกรมรางจะเข้ามาทำหน้าที่ในการทำแผนและนำเสนอการลงทุน ส่วนการเดินรถจะให้องค์กรท้องถิ่นรับผิดชอบ ดังนั้น เมื่อจัดตั้งกรมรางแล้วเสร็จจะทำให้การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางเป็นรูปธรรมได้มากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2014 2:22 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.ดันตั้งกรมขนส่งทางรางควบคู่ฟื้นฟู ร.ฟ.ท.เล็งเสนอแผน คสช.ปีหน้า
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557 13:55:05 น.


คมนาคมเร่งตั้งกรมรางคุมขยายเส้นทางทั้งระบบ -ร.ฟ.ท.-รฟม. เดินรถอย่างเดียว
มติชน
วันที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16:07:33 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งพิจารณาการก่อตั้งกรมการขนส่งทางราง(กรมราง) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) เพื่อให้การพัฒนาระบบรางมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการทำงานของกรมรางจะมีลักษณะคล้ายกับกรมการขนส่งทางบก รวมกับกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ทำหน้าที่ขยายโครงสร้างพื้นฐานทางราง ซึ่งภายหลังพิจารณาแล้วเสร็จจะนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)พิจารณาต่อไป

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า การก่อตั้งกรมราง จะช่วยให้การก่อสร้างทางรถไฟดำเนินการได้รวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มีมาตรการกำกับดูแลด้านการบริการ ความปลอดภัย และอื่นๆที่เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลในเรื่องนี้โดยตรงจึงส่งผลให้การดำเนินโครงการต่างๆล่าช้า คาดว่าในปี 2558 จะเห็นการจัดตั้งเป็นรูปเป็นร่าง หาก คสช.เห็นชอบให้ดำเนินการ รวมกระบวนการตั้งกรมรางจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ซึ่งเร็วกว่าปกติที่ใช้เวลาประมาณ 3-4 ปีจึงจะก่อตั้งได้สำเร็จ

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ในอนาคตกรมรางต้องไปพิจารณาขยายระบบรางเข้าไปยังเมืองใหญ่เพื่ออำนวยความสะดวก และแก้ไขปัญหาการจราจรด้วย เช่น การก่อสร้างรถไฟฟ้าที่เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต และหาดใหญ่ เป็นต้น โดยจะต้องมีการจัดเตรียมแผนดำเนินการไว้ล่วงหน้า โดยกรมรางอาจจะลงทุนก่อสร้าง และให้ท้องถิ่นเป็นผู้ให้บริการเดินรถเองก็ได้ เป็นต้น

สำหรับการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) จะยังอยู่เหมือนเดิมแต่จะเปลี่ยนบทบาทใหม่ไปเป็นผู้ให้บริการอย่างเดียว ส่วนการขยายเส้นทางเป็นหน้าที่ของกรมราง ส่วนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ก็จะทำหน้าที่คล้ายกับ ร.ฟ.ท.โดยเป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า ยกเว้นกรมรางจะมีนโยบายให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าในบางเส้นทางที่จะกำหนดขึ้นในอนาคต โดยการจัดตั้งกรมรางเป็นแผนเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูรถไฟเพื่อลดภาระหนี้ด้วย

//--------------
สนข.ดันตั้ง"กรมราง"แยกลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยฟื้นฟูร.ฟ.ท.ยั่งยืน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 สิงหาคม 2557 14:15 น.

สนข.ดันตั้ง"กรมขนส่งทางราง"ควบคู่ แผนฟื้นฟูรถไฟ เพื่อลดภาระลงทุน แยกส่วนก่อสร้างออกจากเดินรถคาด "คมนาคม" เร่งชงคสช.ในปีหน้า ดันตั้งได้ใน 2 ปี พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบรางในเมืองใหญ่ โดยให้กรมรางเป็นแกนลงทุนก่อสร้าง

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังการบรรยาย "แผนการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย"ในการเสวนาเรื่อง พัฒนาระบบขนส่งรางของประเทศไทย ทำอย่างไร? วันนี้ (8 ส.ค.) ว่า การพัฒนาระบบรถไฟไทยต้องทำ2 เรื่องควบคู่กันไป คือการฟื้นฟูกิจการรถไฟ และการจัดตั้งกรมขนส่งทางราง ซึ่งกรมรางทำหน้าที่ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รวมถึงกำกับดู
มาตรฐานความปลอดภัยและกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม โดยการจัดตั้ง
จะต้องมีการออกพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้ง กรมขนส่งทางราง ซึ่งหากมีสภาปกติจะใช้เวลา3-4 ปี แต่ปัจจุบันคาดว่าทางกระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดนำเสนอแผนการจัดตั้งในปี 2558 และประสานกับหน่วยงานที่เก่ยวข้องเช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเร่งรัดจะสามารถจัดตั้งได้ภายใน 2 ปี

ทั้งนี้ กรมรางจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟู ร.ฟ.ท.เนื่องจากจะแยกส่วนงานการลงทุนก่อสร้างออกมาให้กรมรางรับผิดชอบ เหมือนกรมทางหลวงทางหลวง (ทล.) ที่ได้รับงบประมาณในการลงทุนก่อสร้างถนน ส่วนการกำกำกับดูแลความปลอดภัยและกำหนดค่าโดยสารจะเป็นบทบาทเช่นเดียวกับ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) โดยร.ฟ.ท.ยังคงทำหน้าที่ในการเดินรถ รวมถึงเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่ารางเพื่อเดินรถ

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ในการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่นั้น สนข.จะรับผิดชอบการพัฒนาในระดับนโยบาย และการนำไปสู่การปฎิบัติ เพื่อนำเสนอขออนุมัติ คสช. โดยในระหว่างที่กรมรางยังจัดตั้งไม่แล้วเสร็จ จะให้ ร.ฟ.ท. ทำหน้าที่ก่อสร้างไปก่อนและในอนาคต จะมีการพัฒนาระบบรางในจังหวัดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต โคราช สงขลา ซึ่งกรมรางจะเข้ามาทำหน้าที่ในการทำแผนและนำเสนอการลงทุน ส่วนการเดินรถจะให้องค์กรท้องถิ่นรับผิดชอบ ดังนั้นเมื่อจัดตั้งกรมรางแล้วเสร็จจะทำให้การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางเป็นรูปธรรมได้มากขึ้น

ปัจจุบันปัญหาอุปสรรคของการขนส่งทางราง คือ ปัญหาการบริหารจัดการภายในของร.ฟ.ท. การขนส่งสินค้าไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากความไม่แน่นอนในการจัดส่งสินค้า ปัญหาความไม่สมบูรณ์ของโครงข่าย เป็นต้น นอกจากนี้ รถไฟยังมีปัญหาตกรางบ่อย รถทำความเร็วไม่ได้ เนื่องจากทางและขบวนรถเก่า เสียเวลาในการรอสับหลีก ระบบควบคุมการเดินรถยังใช้แรงงานคน (Manual) ปัญหาความสะอาดและคุณภาพ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2014 11:13 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชง คสช.ตั้งกรมขนส่งทางราง แยกส่วนก่อสร้างออกจากเดินรถ คาดตั้งได้ใน 2 ปี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 2557 เวลา 16:35:22 น.


ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย ว่า การพัฒนาระบบรถไฟให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานของไทยทั้งรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้า จะต้องทำ 2 เรื่องควบคู่กันไป คือ การฟื้นฟูกิจการรถไฟ และการจัดตั้งกรมขนส่งทางราง โดยกระทรวงยกร่างโครงสร้างเสร็จแล้ว คาดว่าจะเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากเป็นนโยบายเร่งด่วนของปลัดกระทรวงคมนาคมจะให้แล้วเสร็จในปี 2558

ซึ่งกรมรางทำหน้าที่ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รวมถึงกำกับดูมาตรฐานความปลอดภัยและกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม โดยจะต้องมีการออกพระราชบัญญัติจัดตั้ง กรมขนส่งทางราง จะใช้เวลา 3-4 ปี แต่หากเร่งรัดจริง สามารถจัดตั้งได้ภายใน 2 ปี

ทั้งนี้ กรมรางจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟู ร.ฟ.ท.เนื่องจากจะแยกส่วนงานการลงทุนก่อสร้างออกมาให้กรมรางรับผิดชอบโดยใช้งบประมาณเหมือนกรมทางหลวงลงทุนก่อสร้างถนน ส่วนการกำกับดูแลความปลอดภัยและกำหนดค่าโดยสารจะเป็นบทบาทเช่นเดียวกับ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) โดย ร.ฟ.ท.ยังคงทำหน้าที่ในการเดินรถ รวมถึงเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่ารางเพื่อเดินรถ

"ในระหว่างที่กรมการขนส่งทางรางยังจัดตั้งไม่แล้วเสร็จ จะให้ ร.ฟ.ท.ทำหน้าที่ก่อสร้างไปก่อนในส่วนของรถไฟทางคู่ 6 สายเร่งด่วน"

นอกจากนี้ ในอนาคตกรมการขนส่งทางรางจะมีบทบาทกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางในจังหวัดใหญ่ ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต โคราช สงขลา โดยจะเข้ามาทำหน้าที่ในการทำแผนและนำเสนอการลงทุน ส่วนการเดินรถจะให้องค์กรท้องถิ่นรับผิดชอบ ดังนั้นเมื่อจัดตั้งกรมรางแล้วเสร็จจะทำให้การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางเป็นรูปธรรมได้มากขึ้น


Last edited by Wisarut on 10/08/2014 3:49 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 11, 12, 13  Next
Page 5 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©