RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13276046
ทั้งหมด:13587342
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวการประมูล จัดซื้อรถจักร รถพ่วงใหม่ของ รฟท. (เริ่มปี 2555)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวการประมูล จัดซื้อรถจักร รถพ่วงใหม่ของ รฟท. (เริ่มปี 2555)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/05/2023 7:59 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟท.ลุยซื้อแคร่ขนสินค้า 946 คันกว่า 2.45 พันล้าน ผลศึกษาชี้คุ้มค่ากว่าเช่า เตรียมชง ครม.ใหม่ไฟเขียว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 07:45 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 07:45 น.

รออีก 2 ปีรถโบกี้ขนสินค้ารฟท.ถึงจะมาอีก 946 คัน
*บอร์ดรฟท.ผ่านแล้วให้กู้เงินจัดซื้อ 2,459 ล้าน
*ชงคมนาคมเสนอรัฐบาลชุดใหม่ต้องลุ้นไฟเขียว
*ส่วนรถดีเซลราง184คันเพิ่งตอบคำถามสภาพัฒ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/793684525542117

รฟท.ซื้อแคร่ขนส่งสินค้า 2.45 พันลบ. | ย่อโลกเศรษฐกิจ 19 พ.ค.66
TNN Online
May 19, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=UE8HiJRhy40
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/06/2023 8:19 am    Post subject: Reply with quote

ทำงานอย่างหนักวนในอ่าง แผนจัดซื้อรถไฟโดยสาร
Source - เดลินิวส์
Tuesday, June 27, 2023 07:35

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า โครงการจัดหารถโดยสารดีเซลรางปรับอากาศ 184 คัน พร้อมอะไหล่ วงเงินประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท ยังอยู่ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ โดยที่ผ่านมา รฟท. ส่งข้อมูลตอบกลับ และประสานหารือร่วมกับ สศช. อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง สศช. ให้ความร่วมมือดีมาก เป็นบรรยากาศ ที่ค่อนข้างดี แต่เรื่องนี้จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เมื่อใดเป็นอีกเรื่อง วันนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังทำงานกันอย่างหนัก และขณะนี้เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากเดิมที่ รฟท. เสนอว่าจะเป็นรถดีเซลราง ก็อาจเปลี่ยนเป็นรถพลังงานไฟฟ้า (อีวี) จะไม่กระทบวงเงิน ยังอยู่ในกรอบเดิม

ส่วนโครงการจัดหารถโดยสารทดแทนรถด่วนพิเศษและรถด่วน 182 คัน วงเงินประมาณ 1.03 หมื่นล้านบาท แม้จะมีวาระเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. พิจารณาตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้พิจารณา เพราะ รฟท. ต้องการทำเรื่องนี้ให้รอบคอบ และมีหลายมิติ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อเสนอเรื่องไปกระทรวงคมนาคมแล้ว จะมีนโยบายอะไรอีกหรือไม่ จากบทเรียนที่ผ่านมาเมื่อเสนอกระทรวงคมนาคมแล้ว ไม่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคม หรือเจ้ากระทรวง จึงทำให้เรื่องล่าช้า และที่สำคัญการจัดหารถโดยสารดีเซลรางปรับอากาศ 184 คัน ก็ยังอยู่ที่ สศช. ดังนั้นจึงยังมีเวลา ขอพิจารณาทุกอย่างให้รอบคอบก่อน

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะขอพิจารณาเรื่องเทคโนโลยีของรถอีกครั้งว่าจะสามารถจัดหารถเทคโนโลยีที่มีความก้าวล้ำกว่าปัจจุบันได้หรือไม่ ซึ่งอาจไม่ต้องถึงกับเป็นรถไฟพลังงานไฮโดรเจน แต่อาจเป็นรถไฟอีวีได้หรือไม่ รวมถึงรูปแบบวิธีการจัดหารถ มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ รฟท. ไม่ต้องลงทุนเอง โดยวิธีการได้มาของการจัดหารถ ก็มีหลากหลายวิธี อาทิ จัดซื้อ, การเช่าดำเนินงาน (Operating lease) และการเช่าการเงิน (Financial lease) ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่ รฟท. ใช้วิธีซื้อ จึงต้องมาพิจารณาวิธีการใหม่ๆ บ้าง เหมือนการจัดหาเครื่องบินที่สายการบินไม่ต้องลงทุนจัดซื้อเอง

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า รฟท. เคยหารือนอกรอบกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ถึงวิธีการจัดหาที่ไม่ต้องกู้เงิน เพราะวิธีการที่จะได้มาโดยการหาประโยชน์ร่วมกันมีหลายวิธี แต่จะเป็นการร่วมทุนหรือไม่นั้น ยังไม่ได้หารือในรายละเอียด อย่างไรก็ตามเรื่องการร่วมทุนกับเอกชน ตราบใดที่ทำแล้วเป็นประโยชน์สูงสุด ส่วนตัวก็คิดว่าสามารถทำได้ เพียงแต่หากจะใช้วิธีการร่วมทุนจริง ก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นเรื่องของเครื่องไม้เครื่องมือ ไม่ว่าจะได้รถมาโดยวิธีใด แต่บุคลากรของ รฟท. จะเป็นผู้ขับรถไฟเหมือนเดิม

นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า ในเร็ว ๆ นี้ รฟท. เตรียมเสนอโครงการจัดซื้อรถโบกี้บรรทุกสินค้า (บทต.) หรือแคร่ขนสินค้า 946 คัน วงเงิน 2,459 ล้านบาท ไปยังกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาเห็นชอบต่อไป ซึ่งแคร่ขนสินค้าเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็น และต้องพยายามจัดหาอย่างเร่งด่วน เพื่อรองรับความต้องการในการขนส่งสินค้าทางรางของไทยที่ทวีคูณมากขึ้น โดยทุกวันนี้ตัวเลขการขนส่งสินค้าทางรางที่ไม่เพิ่มขึ้น เพราะ รฟท. ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือ แคร่ก็ไม่มี หัวรถจักรแม้จะเพิ่งได้มาใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ หัวรถจักรที่มีอยู่เดิมก็เสีย การจัดซื้อแคร่นั้น รฟท. มีแผนจัดหาประมาณกว่า 2 พันคัน โดยครั้งนี้เป็นระยะ (เฟส) ที่ 1 ส่วนเฟสที่ 2 และ 3 จะจัดหาในรูปแบบอื่นนอกจากการจัดซื้อหรือไม่ต้องมาพิจารณากันอีกครั้ง.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 28 มิ.ย. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2023 10:47 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ทำงานอย่างหนักวนในอ่าง แผนจัดซื้อรถไฟโดยสาร
Source - เดลินิวส์
วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 07:35 น.
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 28 มิ.ย. 2566 (กรอบบ่าย)


ลิงก์มาแล้วครับ
การจัดหารถไฟโดยสารทุกโครงการ ”ยังวนในอ่าง”
*ผู้ว่าฯ รฟท.บอกทำงานหนักร่วมกับสภาพัฒน์
*นโยบายไม่สอดคล้องกับคมนาคมทำให้ล่าช้า
*รอนโยบายรัฐบาลใหม่รื้อทบทวนแผนทั้งหมด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/814803670096869

รฟท.ปรับสเปกซื้อรถโดยสาร 184 คัน 1.5 หมื่นล้าน หารือ สศช.เปลี่ยนจากระบบดีเซลรางเป็นอีวี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 07:44 น.
ปรับปรุง: วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 07:44 น.

รฟท.หารือ สศช.ปรับแผนจัดซื้อรถโดยสาร 184 คัน 1.5 หมื่นล้านบาทจากรถดีเซลรางไฟฟ้าเป็นรถไฟฟ้า (อีวี) พร้อมยันจัดซื้อแคร่สินค้า 946 คัน 2.45 พันล้านบาท เร่งชง ครม.ชุดใหม่รองรับความต้องการขนส่งสินค้า

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจัดซื้อรถดีเซลรางปรับอากาศจำนวน 184 คัน วงเงินประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยรฟท.ได้ประสานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสภาพัฒน์ฯ ให้ความร่วมมือในการพิจารณา และล่าสุดได้มีการปรับเปลี่ยนจากรถดีเซลรางไฟฟ้าปรับอากาศ (DEMU) เป็นรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EV) แบบแบตเตอรี่ โดยยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ส่วนการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) คงต้องรอรัฐบาลใหม่ต่อไป


นอกจากนี้ รฟท.ยังมีแผนโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศจำนวน 182 คัน ซึ่งยังอยู่ในการศึกษาพิจารณารายละเอียดให้เกิดความรอบคอบและครอบคลุมในทุกมิติ โดยเฉพาะเทคโนโลยีในอนาคต ว่าจะเป็นแบบรถดีเซลรางไฮบริด (เชื้อเพลิงผสม) หรือเป็นรถพลังงานไฟฟ้า (EV) แบบใดมีความเป็นไปได้และเหมาะสม

รวมถึงยังต้องศึกษาพิจารณารูปแบบ และวิธีการจัดหาใหม่ๆ โดยที่รฟท.ไม่ต้องลงทุนเองเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งวิธีการจัดหามีหลายวิธี ได้แก่ การซื้อ การเช่า ซึ่งเป็นวิธีที่รถไฟใช้มา แต่ยังมีวิธีเช่าซื้อ เช่าดำเนินการ (Operating Lease) หรือการเช่าแบบลีสซิ่ง (Financial Lease) ซึ่งรฟท.ไม่เคยใช้ แต่ใช้มากในอุตสาหกรรมการบิน สายการบินเช่าเครื่องบินโดยใช้สถาบันการเงิน

“รฟท.ได้หารือนอกรอบกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เพื่อหาวิธีการจัดหารถโดยไม่ต้องกู้ เช่น การหาประโยชน์ร่วมกันกับผู้ผลิตและแหล่งเงิน แต่ยังไม่ถึงกับการร่วมทุน ซึ่งวิธีการจัดหามีหลายโมเดล ดังนั้นต้องศึกษาให้รอบคอบและเหมาะสมเพื่อสามารถตอบคำถามข้อสงสัยของฝ่ายนโยบายได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะจากประสบการณ์ รฟท.พอเสนอโครงการไปแล้ว หากแนวทางไม่สอดคล้องกับนโยบายอาจทำให้โครงการล่าช้า ตอนนี้ยังมีเวลาในการศึกษาให้รอบคอบ”

ส่วนโครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า (บทต.) จำนวน 946 คัน วงเงิน 2,459.97 ล้านบาท นายนิรุฒกล่าวว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2566 มีมติเห็นชอบแนวทางการจัดซื้อ เนื่องจากมีความคุ้มค่าและเหมาะสมมากกว่าการเช่าดำเนินการ โดยให้ยืนยันข้อมูลไปที่กระทรวงคมนาคมต่อไปเนื่องจากก่อนหน้านี้ กระทรวงฯ มีความเห็นให้พิจารณาเปรียบเทียบแนวทางอื่นๆ

ทั้งนี้ บอร์ด รฟท.มีคำถาม 2 ประเด็นคือ
1. วงเงินเท่าเดิมแต่จำนวนลดลงจากเดิม 965 คัน เหลือ 946 คันที่เคยมีมติเมื่อปี 2563 เป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนค่าวัสดุที่เพิ่มขึ้น
2. สามารถแบ่งการจัดซื้อหรือทยอยเป็นเฟสได้หรือไม่ ซึ่งตามแผนการจัดหาแคร่สินค้าของ รฟท.มีความต้องการรวมประมาณ 2,700 คัน ซึ่งขณะนี้เป็นการจัดหาในเฟสแรก จำนวน 946 คัน ส่วนเฟสที่ 2 และ 3 จะมีการศึกษาพิจารณารูปแบบการจัดหาที่เหมาะสมต่อไป

“รฟท.มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหาแคร่สินค้าเพื่อรองรับความต้องการในการขนส่งที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางได้เพราะ รฟท.ไม่มีเครื่องมือเครื่องจักรที่เพียงพอ โดยหลังจากนี้ จะสรุปข้อมูลรายละเอียดโครงการเสนอกลับไปที่กระทรวงคมนาคม และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่อนุมัติตามขั้นตอนต่อไป”


รฟท.ลุ้นสภาพัฒน์ฯเคาะจัดหารถดีเซลราง 184 คัน มูลค่า 1.4 หมื่นล้าน
วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 9:48 น.

รฟท. อัปเดตแผนจัดหารถโดยสารดีเซลราง 184 คัน มูลค่า 1.4 หมื่นล้าน เล็งใช้รถไฟ EV ลุ้นสภาพัฒน์ฯ เคาะไฟเขียว ส่วนแผนจัดจัดซื้อแคร่ขนส่งสินค้า ประเดิมเฟสแรก 946 คัน วงเงิน 2.45 พันล้าน เร่งจัดหาด่วน รับความต้องการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น ทดแทนแคร่-หัวรถจักรเก่า

27 มิ.ย. 2566 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงโครงการจัดหารถโดยสารดีเซลรางปรับอากาศ 184 คัน พร้อมอะไหล่ วงเงินประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการเดินทางให้กับประชาชนว่า ในขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ ซึ่งมีแนวโน้มที่ดี โดยที่ผ่านมา รฟท.ได้มีการส่งข้อมูลให้สภาพัฒน์ฯ พิจารณา เบื้องต้นอาจจะเป็นการจัดหารถโดยสารดีเซลรางใหม่ในรูปแบบขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EV on Train) ทั้งนี้ เมื่อผ่านการพิจารณาของสภาพัฒน์ฯ แล้วนั้น จะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ต่อไป

ขณะที่ความคืบหน้าแผนการจัดหารถดีเซลราง 182 คันในอนาคตนั้น รฟท.อยู่ระหว่างการทบทวน และดำเนินการให้รอบคอบในหลายมิติ พร้อมทั้งพิจารณาเรื่องของเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำกว่าในปัจจุบัน อาทิ รถไฟ EV เนื่องจากมีความกังวลว่า หากเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว เรื่องดังกล่าว จะไม่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงฯ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการล่าช้า ส่วนรูปแบบวิธีการจัดหาว่า จะลงทุนเอง หรือเช่า-ซื้อนั้น ได้มีการหารือนอกรอบกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่า มีวิธีการใดบ้างที่ไม่ต้องกู้ และเป็นการหาประโยชน์ร่วมกัน ส่วนจะเป็นการร่วมทุนหรือไม่นั้น ยังไม่ได้มีการหารือในประเด็นนี้

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้า (บทต.) โดยกำหนดให้นำชิ้นส่วนภายในประเทศและต่างประเทศมาประกอบภายในประเทศจำนวน 946 คัน วงเงิน 2,459.97 ล้านบาทนั้น ตามที่การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบโครงการดังกล่าว ในการประชุมบอร์ด รฟท.เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา บอร์ด รฟม.ได้มีคำถามใน 2 ประเด็น คือ 1.เหตุใดวงเงินเท่าเดิม แต่ได้จำนวนโบกี้น้อยลง ซึ่ง รฟท.ได้ให้เหตุผลว่าเกิดจากภาวะอัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้สถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนไป


2.กรณีที่บอร์ด รฟท. ได้เสนอแนะว่า ให้แบ่งการจัดหาออกเป็นระยะ (เฟส) นั้น ประเด็นนี้ รฟท.ได้ชี้แจงว่า รฟท.ได้ดำเนินการจัดซื้อโดยแบ่งออกเป็นเฟสแล้ว กล่าวคือ การจัดหา บตท. ดังกล่าว ตามแผนมีความต้องการประมาณ 2,700 คัน ซึ่งในเฟสแรก จึงได้จัดหา จำนวน 946 คัน เนื่องจากการขนส่งสินค้าในประเทศไทยมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น รฟท.จึงจำเป็นที่จะต้องจัดหาเร่งด่วน เพื่อให้รองรับปริมาณความต้องการ อย่างไรก็ตาม รฟท.จะนำเสนอรายละเอียดโครงการฯ จัดซื้อฯ ไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อนที่จะเสนอ ครม. ชุดใหม่อนุมัติต่อไป

รายงานข่าวจาก รฟท. ระบุว่า สำหรับการจัดหาแคร่สินค้าจำนวน 946 คันนั้นเป็นไปตามยุทธศาสตร์แผนฟื้นฟู รฟท. โดยเป็นการนำมาทดแทนของเก่าที่มีสภาพชำรุด และขยายการรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางรางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรายได้จาก ธุรกิจสินค้ามีกำไรที่ดีมากกว่าด้านผู้โดยสาร แต่ รฟท.มีแคร่สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งเพื่อรองรับรถไฟทางคู่ที่กำลังจะแล้วเสร็จในหลายเส้นทาง รวมถึงการจัดหาหัวรถจักรเข้ามา ภาพรวมจะทำให้ขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มและสร้างรายได้เพิ่มให้ รฟท.

ทั้งนี้ จากการเปรียบเทียบรูปแบบการจัดหาระหว่างวิธีการซื้อของอะไรจำนวน 946 คัน กับรูปแบบการเช่าพร้อมกับซ่อมแซมบำรุงรักษาจำนวน 860 คัน โดยพบว่า ในการจัดซื้อมีราคาเฉลี่ยคันละ 2.6 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลา 30 ปี ประกอบด้วย เงินลงทุนวงเงิน 2,459.97 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ยเงินกู้จำนวน 1,771.33 ล้านบาท และค่าซ่อมบำรุง 4,318.52 ล้านบาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,549.83 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อปี 244.28 ล้านบาท ส่วนกรณีเช่าดำเนินการซ่อมแซมบำรุงรักษาในอัตราค่าเช่าวันละ 1,300 บาทต่อคัน และ 2,250 บาทต่อคัน จะมีค่าใช้จ่ายตลอดโครงการระยะ 30 ปี ประมาณ 12,242.1 ล้านบาท และ 21,188.25 ล้านบาทตามลำดับ หรือเฉลี่ยต่อปี เท่ากับ 360.06 ล้านบาท และ 623.18 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/08/2023 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

กลิ่นความเจริญกำลังมา รฟท.เปลี่ยนสเปคจัดซื้อรถไฟแล้ว!
Nimda Variety
Aug 16, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=Mf4rT2RjQ7c
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/10/2023 7:53 am    Post subject: Reply with quote

ปีหน้าลุยทางคู่ 4 สาย 1.3 แสนล้าน! ดึง “หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์” เข้าโครงการด่วน
เดลินิวส์ 11 ตุลาคม 2566 22:02 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“คมนาคม” ลุยชงทางคู่เฟส 2 รวม 4 เส้นทางกว่า 1.3 แสนล้านเข้า ครม. พ.ย.นี้ ดัน “หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์” จากลำดับท้ายขึ้นมาอยู่กลุ่มแรก สนองความต้องการประชาชน กระตุ้นการค้าชายแดนใต้ พร้อมส่งรถไฟฟ้าสายสีแดง ต่อขยาย 3 เส้น เข้าครม. ภายในปี 66 ขีดเส้นปีนี้ต้องเคลียร์ปัญหารถไฟไฮสปีดให้จบ เร่งจัดหารถโดยสาร ส่วนปีหน้ารายได้ต้องเป็นบวก อีก 3 เดือนจะมาติดตามงาน

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ว่า ได้สั่งการให้ รฟท. ปรับแผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ ระยะ(เฟส) ที่ 2 โดยให้นำช่วง ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 7,864 ล้านบาท ขึ้นมาดำเนินการในลำดับแรกๆ พร้อมกับช่วงขอนแก่น-หนองคาย, ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย และช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เนื่องจากเป็นความต้องการของประชาชน และภาคธุรกิจในพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน  และทำให้การค้าชายแดนสะดวกมากขึ้น  ทั้งนี้เดิมช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในอันดับสุดท้ายของแผนการดำเนินงาน 

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้รับรายงานว่าขณะนี้ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 29,748 ล้านบาท ได้ผ่านการพิจารณาความเห็นชอบจากคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. และเสนอมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาแล้ว ส่วนอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 59,399 ล้านบาท, ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 36,683ล้านบาท และช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ทาง รฟท. จะเสนอบอร์ด รฟท. พิจารณาในวันที่ 19ต.ค.66 ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม และ ครม.ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้ ครม. พิจารณาได้ในเดือน พ.ย.66 และเปิดประมูลทั้ง 4 เส้นทางได้ภายในปี 67

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 โครงการมีความพร้อมแล้ว และเป็นโครงการที่ผ่านความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(กก.วล.) แล้ว หาก ครม. เห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที โดยตามแผนงานแต่ละเส้นทางจะทยอยก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ปี 70-72 อย่างไรก็ตามนอกจากนี้ได้เร่งรัดให้ผลักดันโครงการระบบรถไฟชานเมือง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย โดยจะเสนอเข้า ครม. พิจารณาภายในสิ้นปี 66 จำนวน3 เส้นทาง ซึ่งปัจจุบันผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด รฟท. แล้ว 1 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84  กม. วงเงิน 6,468 ล้านบาท  

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 4,616 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท จะเสนอเข้าบอร์ด รฟท. พิจารณาในเร็วๆ นี้ ในส่วนของรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยายที่เดิมจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) นั้น เบื้องต้นจะให้เปิดประมูลในส่วนของงานโยธาก่อน ส่วนการบริหารงานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา(O&M) นั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ระยะ(เฟส)ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้เหลือการลงนามสัญญา 2 สัญญาจากทั้งหมด 14 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. เตรียมลงนามสัญญาเดือน ต.ค.66 และสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ยังมีประเด็นเรื่องการดำเนินงานกับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกัน อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งได้มอบนโยบายให้เร่งเคลียร์ทุกปัญหาให้จบภายในปี 66 เพราะเวลาไม่รอใครเดินหน้าตลอด

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า จากการรับฟังการรายงานผลประกอบการของ รฟท. พบว่า ยังขาดทุน และมีหนี้สะสมกว่า 2 แสนล้านบาท มีจุดอ่อนเรื่องการตลาด ซึ่งเป็นจุดที่จะช่วยเพิ่มรายได้ได้ จึงมอบให้พิจารณาหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ (Outsource) เข้ามาช่วย หรือตั้งทีมของ รฟท. ขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้มอบให้ รฟท. ปรับเป้าหมายการทำกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA)  เป็นบวก โดยต้องให้เกิดขึ้นในปี 67 (ไม่รวมหนี้สะสม) ซึ่งจะเร็วกว่าที่แผนฟื้นฟูกำหนดไว้ว่าไม่เกินปี 76 และในปี 68 ให้เพิ่มขึ้นเป็นกำไร โดยการที่จะทำให้ผลการดำเนินงานไม่ขาดทุน ต้องลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้จากทั้งการขนส่งสินค้า และผู้โดยสาร

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีการขนส่งสินค้าทางราง 3% ของปริมาณขนส่งสินค้าทั้งประเทศ มีรายได้จากการขนส่งสินค้าประมาณ 2พันล้านบาทต่อปี โดยให้หาวิธีเพิ่มการขนส่งสินค้าทางรางให้เป็น 30% หากทำได้รายได้จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะที่การขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 2% ของการเดินทางของประชาชนทั่วประเทศ โดยให้ รฟท. ไปตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มตัวเลขได้อยู่ที่เท่าไหร่ อย่างไรก็ตามตนจะลงมาติดตามงาน รฟท. ที่ได้สั่งการไปทุก 3 เดือน ส่วนเรื่องการจัดหารถโดยสารดีเซลรางปรับอากาศ 184 คัน จะเร่งรัดให้ดำเนินการจัดหาฯ ภายในปีงบประมาณ 67 พร้อมทั้งให้เร่งปรับปรุงคุณภาพรถโดยสาร รวมถึงการบริการที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ส่วนเรื่องการปรับราคาค่าโดยสารที่ได้ปรับไปครั้งสุดท้ายเมื่อปี 38 นั้น ขอให้ รฟท. ทำคุณภาพให้ดีก่อน จากนั้นจึงจะมาว่ากันเรื่องการปรับขึ้นค่าโดยสาร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/03/2024 11:42 pm    Post subject: Reply with quote

“รฟท.” ซ่อมรถไฟปรับอากาศ 10 คัน เปิดบริการปลาย มี.ค.นี้
ฐานเศรษฐกิจ 19 มีนาคม 2567

“รฟท.” เร่งปรับปรุงขบวนรถไฟปรับอากาศ ชั้น2 จำนวน 10 คัน เตรียมนำร่องให้บริการ 2 คัน ได้ภายในเดือนมี.ค.นี้ หลังตัวแทนเครือข่าย จ.ตรัง วอนนำรถไฟพ่วงวีลแชร์ มาให้บริการรอบใหม่
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงในกรณีที่ตัวแทนเครือข่ายผู้พิการจังหวัดตรัง ขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย พิจารณานำรถโดยสารนั่งปรับอากาศชั้น 2 สำหรับผู้โดยสารที่ใช้รถวีลแชร์กลับมาให้บริการอีกครั้งว่า การรถไฟฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการให้บริการแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย ให้สามารถเข้าถึงการเดินทางทางรถไฟได้อย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้รฟท.ได้สนับสนุนให้มีการออกแบบขบวนรถและสถานี โดยคำนึงถึงหลักอารยสถาปัตย์ universal design ให้เหมาะสมแก่ผู้โดยสารทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการ ผู้สูงวัย เด็ก สตรีมีครรภ์ ตลอดจนผู้โดยสารที่มีสัมภาระขนาดใหญ่ ให้ได้รับความสะดวกในการขึ้น-ลงขบวนรถโดยสาร ตลอดจนเกิดความพึงพอใจสูงสุดในการใช้บริการ

ที่ผ่านมาขบวนรถโดยสารนั่งปรับอากาศชั้น 2 สำหรับผู้พิการ ที่ชะลอการให้บริการแบบชั่วคราวนั้น เนื่องจากรถโดยสารดังกล่าวอยู่ระหว่างการปรับปรุงอยู่ หลังจากที่ผ่านมาได้นำออกมาให้บริการเป็นเวลานาน ตั้งแต่เมื่อปี 2555 จนทำให้รถโดยสารมีความชำรุดทรุดโทรมไปมาก

นายเอกรัช กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีตู้โดยสารนั่งปรับอากาศชั้น 2 อยู่ในแผนการปรับปรุงทั้งสิ้น 10 คัน และจะทยอยเสร็จสมบูรณ์ สามารถนำกลับมาให้บริการตามขบวนต่างๆ ตามปกติได้ จำนวน 2 คัน ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2567 จากนั้นในเดือนเมษายน 2567 จะเสร็จเพิ่มอีก 3 คัน เดือนพฤษภาคม 2567 เสร็จจำนวน 2 คัน และเดือนตุลาคม 2567 เสร็จอีก 2 คัน ส่วนอีก 1 คันที่เหลือมีความชำรุดมากจนไม่สามารถซ่อมแซมได้

ขณะเดียวกันรฟท.ยังมีแผนปรับปรุงตู้โดยสารนั่งปรับอากาศชั้น 2 สำหรับผู้พิการเพื่อทดแทนตู้โดยสารรุ่นเก่าเพิ่มอีก 16 คัน โดยให้เป็นห้องสุขาระบบปิด บันไดขึ้นลงที่รองรับชานชาลาสูง และระบบไฟฟ้าให้สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าจากรถ Power Car เป็นต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการลงนามสัญญาจ้างบริษัทเอกชนเพื่อดำเนินการ คาดจะเริ่มปรับปรุงรถโดยสารได้ในปี 2568

ทั้งนี้เมื่อปรับปรุงเสร็จขบวนรถโดยสารนั่งปรับอากาศชั้น 2 สำหรับผู้พิการ จะประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ทั้งการมีห้องสุขาระบบปิด มีระบบลิฟต์โดยสาร บันไดขึ้นลงเพื่อรองรับชานชาลาสูง พร้อมทั้งมีระบบไฟฟ้าที่สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าจากรถโบกี้จ่ายไฟฟ้ากำลังปรับอากาศหรือรถ Power Car ได้ ตลอดจนการปรับปรุงส่วนอื่น ๆ ให้มีความสะดวกเหมาะสำหรับผู้พิการ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

นอกจากนี้ระหว่างที่ขบวนรถโดยสารนั่งปรับอากาศชั้น 2 สำหรับผู้พิการอยู่ระหว่างการปรับปรุงนั้น การรถไฟฯ ได้เตรียมพร้อม โดยมีขบวนรถโดยสารขบวนรถด่วนพิเศษ CNR (115 คัน) ที่สามารถรองรับการเดินทางสำหรับผู้พิการในเส้นทางสายใต้ สายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ คอยให้บริการครอบคลุมการเดินทางทุกภาคอยู่แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/03/2024 6:36 am    Post subject: Reply with quote

ซื้อรถตรวจทางรถไฟคันแรก
Source - เดลินิวส์
Wednesday, March 27, 2024 04:41

มีแต่มือสอง-เหลือคันเดียว

ขยายสัญญาไฮสปีด431วัน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) มีมติอนุมัติซื้อ รถตรวจสภาพทาง 1 คัน จากบริษัท บรอดแคส ดีพอท (ไทยแลนด์) จำกัด วงเงิน 279,140,000 บาท โดยใช้งบผูกพันของ ปี 67 เพื่อทดแทนรถตรวจสภาพทาง รถ ตท.1 (EM.80) ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 2526 มีสภาพชำรุดเพื่อใช้ตรวจสภาพ ทางเดิมและทางคู่ตามแผนตรวจสภาพทางประจำปีต่อไป ทั้งนี้ปัจจุบัน รฟท. มีรถตรวจสภาพทาง 2 คัน เป็น รถ ตท.1 (EM.80) และรถ ตท.2 (EM120) แต่ใช้งานรถ ตท.2 (EM120) ที่เข้าประจำการตั้งแต่ปี 2527 ได้เพียงคันเดียว

ปัจจุบันรถตรวจสภาพทาง ตท.2 (EM120) ตรวจสภาพทางรถไฟทุกสายทั่วประเทศไทย 4,843 กม.ได้เฉลี่ยปีละ 1.5-2 รอบ ตามเป้าหมายต้องตรวจสภาพทางทุก ๆ 3 เดือน หรือปีละ 4 รอบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลแก้ไขสภาพทางเสียและวางแผนซ่อมบำรุงทางให้มีประสิทธิภาพ ในปี 2567 จะมีทางคู่เพิ่มอีก 772 กม. รวมเป็น 5,615 กม. และในปี 2571 จะมีทางคู่เพิ่มอีก 1,362 กม. รวมเป็น 6,977 กม. ใน 61 จังหวัด จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีรถตรวจสภาพทางคันใหม่ตามมาตรฐานรอบการตรวจสภาพทางปีละ 4 รอบ และเพื่อความปลอดภัยในการให้บริการแก่ผู้โดยสารนับเป็นคันแรกที่ รฟท.จัดซื้อ (รฟท.ก่อตั้งมาแล้ว 127 ปี) ที่ผ่านมาจะเป็นรถมือสองที่ได้รับจากสัญญาในงานโครงการก่อสร้างทางรถไฟ

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า บริษัทฯ จะส่งมอบรถตรวจสภาพทางคันใหม่ภายใน 750 วันนับจากวันลงนามในสัญญาการซื้อขาย หรือ

ประมาณเดือน เม.ย. 2569 ด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยของสหรัฐอเมริกา และดีกว่ารถคันที่ใช้งานในปัจจุบัน ส่วนตัวรถผลิตจากจีน รถคันเดิมจะใช้สายตา ประสบการณ์ และความรู้สึกของคนประจำรถตรวจสภาพทาง ขณะที่รถคันใหม่จะใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงตรวจวัดสภาพทาง และมีความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูล บอกพิกัดได้อย่างแม่นยำ ภายในตัวรถจะมีทั้งห้องเครื่องยนต์ ห้องประชุม ห้องวิเคราะห์ข้อมูล และหน้าจอแสดงผลต่าง ๆ อาทิ ด้านเรขาคณิตของทางรถไฟ (Track Geometry), ขนาดหน้าตัดราง(Rail Profile) และการแสดงภาพของทาง เป็นต้น

นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า รถตรวจสภาพทางคันใหม่ สามารถตรวจสภาพทางได้เฉพาะรางรถไฟขนาด 1 เมตรเท่านั้น ในอนาคตจะต้องจัดหารถตรวจสภาพทางสำหรับรางขนาด 1.435 เมตรที่ใช้กับรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ด้วย นอกจากนี้ที่ประชุมมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาทำการตามสัญญา และแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-2 งานโยธา สำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) โดยขยายสัญญาออกไปอีก 431 วันจากเดิมสิ้นสุดวันที่ 2 เม.ย. 2567 เป็นวันที่ 7 มิ.ย.2568 ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องขยายสัญญา เนื่องจาก รฟท. ส่งมอบพื้นที่ในส่วนของกรมป่าไม้ให้กับผู้รับจ้างก่อสร้างอุโมงค์คลองไผ่ บริเวณลำตะคอง ระยะทางประมาณ 4 กม.ล่าช้า.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 28 มี.ค. 2567 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/04/2024 6:06 am    Post subject: Reply with quote

ปี69 เปิดหวูด "รถตรวจสภาพทาง" บูมรถไฟทางเดิม-ทางคู่
ฐานเศรษฐกิจ 03 เม.ย. 2567 | 11:12 น.

KEY
POINTS
บอร์ด รฟท. ไฟเขียวจัดซื้อรถตรวจสภาพทาง 1 คัน วงเงิน 279 ล้านบาท
ลุยเพิ่มประสิทธิภาพรถไฟทางเดิม-รถไฟทางคู่ คาดได้รถภายในเดือนเม.ย. 69
ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.) เร่งรัดก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่กลับพบว่าทั่วประเทศมีรถตรวจสภาพทางเพียง 2 คันเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นรถที่มีสภาพเก่าและใช้งานมานานหลายปี ส่งผลให้รฟท.เร่งจัดซื้อรถตรวจสภาพทางคันใหม่ เพื่ออัพเกรดการตรวจทางในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) มีมติอนุมัติขออนุมัติซื้องานจัดหารถตรวจสภาพทาง จำนวน 1 คัน วงเงิน 279 ล้านบาท จากบริษัท บรอดแคส ดีพอท (ไทยแลนด์) จำกัด โดยวิธีคัดเลือกตามมาตรา 56 (1) (ข) พัสดุที่ต้องการจัดซื้อจัดจ้างมีคุณลักษณะเฉพาะเป็นพิเศษ หรือซับซ้อน หรือต้องผลิต จำหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการโดยผู้ประกอบการที่มีฝีมือโดยเฉพาะหรือมีความชำนาญเป็นพิเศษหรือมีทักษะสูง และผู้ประกอบการนั้นมีจำนวนจำกัด ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 750 วัน เนื่องจากเป็นการสั่งผลิตรถจากประเทศจีน ขณะที่เครื่องมือต่างๆ ภายในรถจะถูกผลิตในสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะได้รถตรวจสภาพทางภายในเดือนเมษายน 2569

ที่ผ่านมาฝ่ายการช่างโยธาของรฟท.ได้รับการจัดสรรงบประมาณลงทุน 280 ล้านบาท เพื่อจัดหารถตรวจสภาพทาง จำนวน 1 คัน โดยกองเครื่องกลบำรุงทางหนัก ศูนย์การผลิตและซ่อมบำรุง ฝ่ายการช่างโยธาตามแผนงานปรับปรุงประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุง ซึ่งที่ประชุมบอร์ดรฟท.มีมติเห็นชอบงบลงทุนประจำปี 2563 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562 ให้ดำเนินโครงการต่อไป

ปัจจุบันฝ่ายการช่างโยธามีรถตรวจสภาพทาง จำนวน 2 คัน ประกอบด้วย รถ ตท.1(EM.80) และ รถ ตท.2(EM.120) ใช้ในการตรวจสภาพทาง โดยรถ ตท.1(EM.80) ซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 2526 ขณะนี้มีสภาพชำรุดคงเหลือรถตรวจสภาพทาง ตท.2(EM.120) ซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 2557 ใช้งานเพียงคันเดียว

“ขณะนี้รถตรวจสภาพทางสามารถตรวจสภาพทางตลอดทางทุกสาย ได้เฉลี่ยปีละ 1.5-2 รอบ เป็นความยาวของระยะทาง 9,686 กิโลเมตร (กม.) โดยตามเป้าหมายต้องตรวจสภาพทางทุกๆ 3 เดือน หรือ ปีละ 4 รอบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขสภาพทางเสียและใช้ในการวางแผนซ่อมบำรุงทางให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นรถตรวจสภาพทางที่มีอยู่ 1 คัน จึงไม่เพียงพอต่อการใช้งานตรวจสภาพทางรถไฟ จึงจำเป็นต้องมีการจัดหารถตรวจสภาพทางเพิ่มเติม จำนวน 1 คัน เพื่อทดแทนรถ ตท.1(EM.80) ที่ชำรุด เพื่อใช้ในการตรวจสภาพรถไฟทางเดิมและรถไฟทางคู่ ให้เป็นไปตามแผนการตรวจสภาพทางประจำปี”

นอกจากนี้รฟท.มีแผนการตรวจสภาพทางของรถตรวจสภาพทางตท.2(EM.120) ประจำปี 2567-2571 ซึ่งรถที่ตรวจสภาพทางเก่าจะต้องมีประสิทธิภาพ 70% และในปี 2570 จะดำเนินการซ่อมรถ ตท.2 (รถเก่า) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรถ โดยรถตรวจสภาพทาง 2 คัน สามารถรองรับการตรวจสภาพทางคู่ระยะที่ 1 และทางคู่สายใหม่ เด่นชัย - เชียงราย – เชียงของและทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม

ทั้งนี้ในอนาคต รฟท.ได้วางแผนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่และทางรถไฟสายใหม่ ปัจจุบันฝ่ายการช่างโยธาดูแลรับผิดชอบทางประธานความยาว 4,843 กิโลเมตร (กม.) และทางหลีกความยาว 726 กิโลเมตร (กม.) โดยในปี 2567 จะมีทางคู่เพิ่ม 772 กิโลเมตร (กม.) รวมความยาวทางประธานเป็น 5,615 กิโลเมตร (กม.) หากสามารถจัดซื้อรถตรวจสภาพทางคันใหม่พร้อมใช้งานได้จะช่วยประหยัดเวลาในการตรวจทางรถไฟในอนาคตได้มากขึ้น

สำหรับรถตรวจสภาพทาง (TRACK GEOMETRY VEHICLE) ประกอบด้วย 1.ห้องควบคุมและห้องคนขับ CAB 1-2 2. ห้องวิเคราะห์ข้อมูล 3. ห้องเครื่องยนต์ 4. ห้องประชุม โดยรถ 1 คันมีผู้ควบคุม จำนวน 3 คน ส่วนระบบการตรวจวัดสภาพทาง มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งความเร็วและระบบการถ่ายโอนข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งระบุพิกัด GPS สภาพทางรถไฟที่เสีย โดยใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงในการตรวจวัดสภาพทาง ทั้งนี้ประสิทธิภาพของรถรุ่นนี้สามารถตรวจแนวราง,หน้าตัดของราง รวมทั้งองค์ประกอบความสมบูรณ์ของทาง ซึ่งสามารถตรวจสภาพรางได้ 700 กิโลเมตร (กม.) ต่อเดือน เร็วกว่า 4 เท่า เมื่อเทียบกับการตรวจสภาพรางโดยใช้คนที่สามารถตรวจสภาพรางได้เพียง 240 กิโลเมตร (กม.) ต่อเดือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/04/2024 7:52 am    Post subject: Reply with quote

“สุรพงษ์” สั่ง รฟท.ปรับสเปกจัดหารถใหม่ มุ่ง EV หรือไฮบริด เบรกซ่อมใหญ่รถจักรอายุเกิน 30 ปีหวั่นไม่คุ้มเทียบซื้อใหม่
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Wednesday, April 03, 2024 12:43

“สุรพงษ์” สั่ง รฟท.ปรับสเปกจัดหารถจักรล้อเลื่อน มุ่งไฟฟ้าหรือไฮบริดลดโลกร้อน ชี้ยังมีเวลาประเมินและพิจารณา หวังมีรถใหม่พร้อมกับทางคู่เสร็จสมบูรณ์ช่วงปี 70-71 ปัจจุบันใช้ AI ผลิตเร็วไม่ถึง 2 ปี พร้อมเบรกซ่อมใหญ่รถจักรอายุเกิน 30 ปี สั่งประเมินความคุ้มค่าเปรียบเทียบกับซื้อใหม่

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจัดหารถจักรและล้อเลื่อน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า มีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)​ คือ การจัดหารถสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ (บทต.) พร้อมอะไหล่ จำนวน 946 คัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)​ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนโครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ บริการเชิงพาณิชย์ พร้อมอะไหล่ จำนวน 184 คัน อยู่ในขั้นตอนเตรียมนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.พิจารณาอนุมัติ จากนั้น รฟท.จะเสนอมาที่กระทรวงคมนาคมตามขั้นตอน

นายสุรพงษ์กล่าวว่า ภาพรวมของแผนจัดหารถจักรล้อเลื่อน รถสินค้าต่างๆ ของรฟท.นั้น ขณะนี้ต้องมีการพิจารณาแผนงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้พลังงานเพื่อให้เป็นไปตามภาวะในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญเรื่องลดโลกร้อน ขณะที่แผนการจัดหารถจักร ล้อเลื่อนของ รฟท.มีการกำหนดไว้นานแล้ว สเปกส่วนใหญ่จะเป็นระบบเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ตอนนี้ก็ต้องมาพิจารณาปรับเปลี่ยนเรื่องเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่น อาจจะเป็นไฮบริด หรือพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญร่วมกันศึกษาพิจารณาให้มีความเหมาะสมที่สุด

“นโยบายต้องการให้ระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพฯ และกรุงเทพชั้นในเป็นพื้นที่กรีน ซึ่งรถเมล์ ขสมก.มุ่งหน้าเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด ต่อไปก็จะกำหนดรถแท็กซี่ รถขนส่งอื่นๆ จะต้องใช้รถยนต์สันดาปน้อยที่สุด ส่วนรถไฟนั้น จะมีการกำหนดรัศมีพื้นที่รอบกรุงเทพฯ ที่ต้องใช้รถไฟพลังงานไฟฟ้า หรือรถไฟไฮบริดขับเคลื่อนเข้ามาเพื่อลดมลพิษทางอากาศในเขตเมืองให้มากที่สุด”

นอกจากนี้ รฟท.จะต้องวางแผนระยะเวลาจัดหารถจักร ล้อเลื่อนให้สอดคล้องกับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ที่จะทยอยแล้วเสร็จ เพราะหากเร่งซื้อรถเข้ามาแต่ทางคู่ยังไม่เสร็จรถก็มาจอดรอ ไม่มีรายได้ ไม่มีการใช้งานที่คุ้มค่า ซึ่งแผนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะแรก และระยะที่ 2 ส่วนใหญ่จะทยอยแล้วเสร็จในปี 2570-2571 ดังนั้น ก่อนทางคู่จะเสร็จสมบูรณ์ก็ควรจะเริ่มมีรถใหม่เข้ามา ประมาณช่วงปี 2570 เพื่อให้มีเวลาในการทดลอง และการเชื่อมกับระบบอาณํติสัญญาณต่างๆ ด้วย จะเป็นการจัดหาในเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เสียโอกาสและคุ้มค่าด้วย


@เบรกซ่อมใหญ่รถจักรอายุเกิน 30 ปี สั่งประเมินความคุ้มค่าเปรียบเทียบกับซื้อใหม่

ส่วนแผนการซ่อมปรับปรุงรถจักรเก่าที่มีอายุใช้งานเกิน 30 ปี ตอนนี้ให้พิจารณาประเมิน ให้ซ่อมปรับปรุงรถจักรที่มีสภาพพอใช้ได้ อายุยังไม่มากนัก หรือใช้งบซ่อมไม่สูงมาก ส่วนรถจักรที่ซ่อมแล้วไม่คุ้ม หรือมีค่าซ่อมแพงกว่าซื้อใหม่ ก็ควรปรับแผนไปจัดหาใหม่มาทดแทนเพราะจะคุ้มค่ามากกว่า ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงที่ยังรอทางคู่เสร็จ ยังมีเวลาในการพิจารณา และปัจจุบันเทคโลยีการผลิตใช้ AI มาช่วย มีการกระจายการผลิตไปทั่วโลก แล้วนำชิ้นส่วนมาประกอบกัน ดังนั้น การผลิตรถไฟในขณะนี้ใช้เวลาน้อยลง ไม่ถึง 2 ปี เหมือนในอดีต

นายสุรพงษ์กล่าวว่า ล่าสุด รฟท.ปรับปรุงแผนธุรกิจดีขึ้น แต่การขนส่งโดยเฉพาะจำนวนผู้โดยสารในปัจจุบันยังไม่สร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรม ต้องอาศัยนักท่องเที่ยวมาช่วยด้วย ซึ่งนโยบายวีซ่าฟรี ทำให้เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้ระบบรางด้วย ส่วนการขนส่งสินค้านั้นนโยบายต้องการชิฟต์โหมดการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักจากถนนขึ้นรางให้มากที่สุดเพราะต้นทุนต่ำกว่า ซึ่งเมื่อเป็นระบบรถไฟทางคู่การเดินรถใช้เวลาน้อยลงและตรงเวลา กำหนดเวลาได้ชัดเจน ขนส่งต่างๆ จะกำหนดเวลาเพื่อไปส่งลงเรือได้สะดวก ตรงเวลา ไม่ต้องขนส่งทางรถบรรทุกเพื่อไปรอลงเรือ ปัญหาตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่ไม่มีรถจักร ไม่มีแคร่สินค้า แต่ปัญหาอยู่ที่รถไฟส่วนใหญ่ยังเป็นทางเดี่ยว ทำให้ผู้ขนส่งยังไม่นิยมเพราะยังกำหนดเวลาในการขนส่งไม่ได้แน่นอน

รายงานข่าวแจ้งว่า ช่วงต้นปี 2566 รฟท.ได้เปิดประมูลโครงการจ้างซ่อมปรับปรุงรถจักร HID (HITACHI 8FA-36C) จำนวน 21 คัน อายุใช้งาน 30 ปี มีราคากลาง 777 ล้านบาท แต่ไม่มีเอกชนยื่นประมูล และยังเตรียมประมูล โครงการจ้างซ่อมปรับปรุงรถ DAWOO จำนวน 39 คัน อายุใช้งานเฉลี่ย 25 ปี ราคากลาง 975 ล้านบาทอีกด้วย


@เปิดแผนจัดหารถจักร ล้อเลื่อน 14 โครงการภายใน 10 ปี

สำหรับแผนจัดหารถจักรล้อเลื่อน (รถโดยสารและรถสินค้า)​ ของ รฟท.มี 14 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการช่วง10 ปี ได้แก่ 1. จัดหารถสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ (บทต.) พร้อมอะไหล่ จำนวน 946 คัน วงเงิน 2,459.97 ล้านล้านบาท 2. จัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ บริการเชิงพาณิชย์ พร้อมอะไหล่ จำนวน 184 คัน วงเงิน 23,270 ล้านบาท 3. จัดหารถสับเปลี่ยน พร้อมอะไหล่ จำนวน 17 คัน วงเงิน 1,989 ล้านบาท 4. จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า พร้อมอะไหล่ จำนวน 113 คัน วงเงิน 22,035 ล้านบาท 5. จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า พร้อมอะไหล่ จำนวน 60 คัน วงเงิน 11,700 ล้านบาท 6. จัดหารถดีเซลรางปรับอากาศ บริการเชิงสังคม พร้อมอะไหล่ จำนวน 216 คัน วงเงิน 27,317 ล้านบาท 7. จัดหารถดีเซลรางเชิงสังคม รองรับทางคู่และทางสายใหม่ พร้อมอะไหล่ จำนวน 332 คัน วงเงิน 41,987 ล้านบาท

8. จัดหารถดีเซลรางเชิงพาณิชย์ รองรับทางคู่และทางสายใหม่ พร้อมอะไหล่ จำนวน 188 คัน วงเงิน 23,776 ล้านบาท 9. จัดหารถโดยสารชุด พร้อมอะไหล่ จำนวน 182 คัน วงเงิน10,892 ล้านบาท 10. จัดหารถโดยสารชุดสำหรับทางสายใหม่ จำนวน 273 คัน วงเงิน 15,560 ล้านบาท 11. จัดหารถโดยสารชุดจำนวน 273 คัน ทดแทนรถเร็ว วงเงิน 15,560 ล้านบาท 12. จัดหารถบรรทุกตู้สินค้า เพิ่มการขนส่ง (บริการสินค้า) จำนวน 990 คัน วงเงิน 2,574 ล้านบาท 13. จัดหารถบรรทุกตู้สินค้า เพิ่มการขนส่ง (บริการสินค้า) จำนวน 957 คัน วงเงิน 2,489 ล้านบาท 14. จัดหารถตู้สินค้า บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ (บทต.) พร้อมอะไหล่ จำนวน 1,155 คัน วงเงิน 3,003 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50
Page 50 of 50

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©