RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179817
ทั้งหมด:13491049
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/02/2018 9:11 pm    Post subject: Reply with quote

เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์ | 'รถไฟสายสีแดง' ตลิ่งชัน-ศิริราช เชื่อม 3 ศูนย์การแพทย์-พัฒนาคุณภาพชีวิต
ฐานเศรษฐกิจ 12 February 2018

โครงการ ‘รถไฟสายสีแดง’ ตลิ่งชัน-ศิริราช จัดเป็นรถไฟส่วนต่อขยายของ ‘รถไฟชานเมืองสายสีแดง’ เพื่อแก้ไขปัญหาบริเวณฝั่งธนบุรีและรอบโรงพยาบาลศิริราช จากแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2554 ที่ได้พระราชทานเพื่อต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการเดินทางและสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น

‘ประการสำคัญ’ รถไฟฟ้าเส้นทางนี้ ยังเชื่อมโยงศูนย์การศึกษาด้านการแพทย์ทั้ง 3 แห่ง ของมหาวิทยาลัยมหิดล คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนประชาชน หรือ ผู้ป่วยที่ต้องการเดินทางเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งนักศึกษาและบุคลากรทางการแพทย์ สามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย ด้วยบริการรถไฟฟ้า

Click on the image for full size

โครงข่ายรถไฟฟ้าเส้นทางนี้ จะเป็นการก่อสร้างทางรถไฟตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม ให้สามารถรองรับระบบรถไฟชานเมืองที่เป็นรถไฟฟ้าได้ พร้อมปรับปรุงสถานีจำนวน 3 สถานี ของช่วงระหว่างตลิ่งชัน-ศิริราช ได้แก่ สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน, สถานีจรัญสนิทวงศ์ และสถานีธนบุรี-ศิริราช แม้จะเป็นช่วงสั้น ๆ ระยะทางเพียง 5.7 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 7,469 ล้านบาท แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง

ล่าสุด อยู่ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติประกวดราคา คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ราว 1-2 เดือนนี้ และเริ่มก่อสร้างในปลายปีนี้ ก่อนจะเปิดให้บริการในปี 2564 ดังนั้น หากโครงข่ายรถไฟตามแผนแม่บทสายสีแดงเข้ม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย) ระยะทาง 80.5 กิโลเมตร, สายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก) ระยะทางรวม 54 กิโลเมตร ให้บริการโครงข่ายสีแดงอย่างเสร็จสมบูรณ์ จะช่วยให้ประชาชนเดินทางเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยความรวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย ช่วยรัฐประหยัดพลังงานได้อย่างมาก ประการสำคัญช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการเดินทางและสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,334 วันที่ 25-27 ม.ค. 2561 หน้า 12
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/03/2018 8:26 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งเมกะโปรเจคปลดล็อกอีไอเอ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 15 มี.ค. 61 นโยบายเศรษฐกิจ

Click on the image for full size
ไพรินทร์ ชูโชติถาวร

คมนาคมเรียกประชุมหน่วยงานในสังกัด หลังพบเมกะโปรเจคติดอีไอเอ ทั้งโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส3-รถไฟฟ้าสายสีม่วง-รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน เร่งรัดอีไอเอเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามเป้าหมาย

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในฐานะประธานการประชุมโครงการสำคัญ ที่อยู่ในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)วานนี้ (14มี.ค.) ว่า ที่ประชุมฯ ได้เชิญหน่วยงานที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่เข้าหารือ เพื่อติดตามความคืบหน้าของอีไอเอ เนื่องจากต้องการผลักดันการลงทุนเร่งด่วนให้เป็นไปตามเป้าหมายได้แก่

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟสที่3วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)ได้เสนอรายงานอีไอเอไปแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่29ธ.ค.2560 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

โครงการทางพิเศษสายพระราม3 –ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เสนอรายงานอีไอเอให้ สผ. พิจารณาแล้วเมื่อวันที่3ต.ค.2560และส่งข้อมูลชี้แจงเพิ่มเติมเมื่อวันที่22ม.ค. ที่ผ่านมา โดยโครงการมีแผนเริ่มก่อสร้างในเดือน ก.ค. นี้

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน –ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก)หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้วงเงิน101,112ล้านบาทโดยที่ประชุม คชก. มีมติให้ปรับปรุงรายงานอีไอเอเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2560 และคาดว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะปรับปรุงเสร็จภายในเดือนนี้

โครงการทางเชื่อมระหว่างทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) และทางพิเศษ (ทางด่วน) ศรีรัช – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯหรือโครงการMissing Linkระยะทาง 2.6 กิโลเมตรวงเงิน 6.2 พันล้านบาทโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ส่งข้อมูลชี้แจงอีไอเอเพิ่มเติมต่อ สผ. แล้ว เมื่อวันที่2ก.พ. ที่ผ่านมา

โครงการก่อสร้างทางวิ่ง (Runway) ที่3และ4ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยการประชุม คชก. ครั้งที่2/2561เมื่อวันที่29ม.ค.2561มีมติให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ปรับปรุงและลรายละเอียดในอีไอเอ ซึ่งขณะนี้ ทอท. อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมและคาดว่าจะเสนอให้ คชก. พิจารณาได้ภายในเดือนนี้

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3ท่าอากาศยาน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอความชัดเจนเรื่องแนวทางการจัดทำอีไอเอจาก สผ. เนื่องจากเป็นโครงการฯ ที่เกี่ยวข้องกับรายงานอีไอเอของหลายโครงการ รวมทั้งมีการปรับลดเส้นทางลง 40 กิโลเมตร จากเดิมเป็นช่วงกรุงเทพฯ –ตัวเมืองระยอง เหนือกรุงเทพฯ –ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการขนาดใหญ่ที่คาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี( ครม.) เห็นชอบได้ในเดือน เม.ย. คือ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 7 หมื่นล้านบาท และรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท

และโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย 2 ช่วง คือ ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงิน 7,469 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 10,202 ล้านบาท และ 2.โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงิน 6,570ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2018 11:49 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคมเร่งเมกะโปรเจคปลดล็อกอีไอเอ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 15 มี.ค. 61 นโยบายเศรษฐกิจ


เม.ย.ชงรถไฟฟ้าต่อขยาย”สีม่วงใต้-แดง”
วันที่ 15 มีนาคม 2561 - 19:47 น.

“อาคม” จัดแถวประมูลรถไฟฟ้าต่อขยาย 8 เส้นทาง วงเงินกว่า 2.8 แสนล้าน เร่งชง ครม.อนุมัติให้หมดภายในปี”61 ดีเดย์ เม.ย.คลอดทีโออาร์สายสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” แบ่งก่อสร้าง 6 สัญญา และสีแดง “ตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา”

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าการและรักษาการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปีนี้จะเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง เงินลงทุนรวม 210,454 ล้านบาท ได้แก่ สายสีม่วงใต้เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กม. วงเงิน 101,112 ล้านบาท เตรียมจะประกาศประกวดราคางานโยธาภายในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ วงเงิน 77,385 ล้านบาท แยกเป็น 6 สัญญา มีงานใต้ดิน 4 สัญญา ทางยกระดับ 1 สัญญา และระบบราง 1 สัญญา คาดว่าปลายปี 2562 จะเซ็นสัญญาและเริ่มงานก่อสร้างและแล้วเสร็จในปี 2567

“การเปิดประมูลเลื่อนไปจากเดิมเดือน ก.พ. เพราะรอทางกรมบัญชีกลางอนุมัติการขอยกเว้นเงื่อนไขใน พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ที่จะให้ใช้เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี 10% ของวงเงินก่อสร้าง หรือ 7,700 ล้านบาท สำหรับจ่ายค่าก่อสร้างช่วงแรก ที่เหลือจะกู้ในประเทศ”

นอกจากนี้ยังต้องรอให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อนุมัติการใช้พื้นที่สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบตรงข้ามท่าวาสุกรี เพื่อเป็นไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นงานก่อสร้างช่วงใต้ดิน โดย รฟม.จะจ่ายค่าชดเชยพร้อมกับสร้างอาคารหลังใหม่ให้หลังงานก่อสร้างแล้วเสร็จ หากไม่ได้รับการอนุมัติ อาจกระทบต่อการแบ่งสัญญางานก่อสร้างช่วงดังกล่าวจะต้องมีระยะทางที่ยาวขึ้น

“ในเดือน มี.ค.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการ รฟม. จะนำเสนอเรื่องผลวิเคราะห์รูปแบบการลงทุน PPP ของสายสีม่วงใต้ในส่วนของการเดินรถ”

นายฤทธิกากล่าวอีกว่า สำหรับสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ 13.4 กม. กรอบวงเงิน 109,342 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุน PPP ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556 เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติก่อสร้างและบริการจัดการเดินรถตามขั้นตอนต่อไป

ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจะให้เอกชนร่วมลงทุน PPP ทั้งก่อสร้างและเดินรถ หรือ รฟม.จะลงทุนงานโยธาให้เอกชนลงทุนงานระบบ หรือ รฟม.ลงทุนเอง 100% ส่วนงานเดินรถจะรวมกับสายสีส้มตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี โดยให้เอกชนร่วมลงทุน PPP วงเงิน 30,000 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการในปี 2568

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ภายในปี 2561 จะนำโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายที่เหลือให้ ครม.อนุมัติให้หมด มีทั้งสิ้น 7 เส้นทาง จำนวน 8 โครงการ รวมระยะทาง 87.6 กม. ได้แก่ สายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ วงเงิน 7,596 ล้านบาท, สายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 19,042 ล้านบาท, สายสีน้ำเงินต่อขยาย บางแค-พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 21,197 ล้านบาท, สายสีส้มตะวันตก ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์

ส่วนแอร์พอร์ตเรลลิงก์ต่อขยายพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง วงเงิน 31,149 ล้านบาท จะนำไปรวมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ด้านสายเขียวเข้ม ช่วงคูคต-ลำลูกกาคลอง 5 วงเงิน 9,803 ล้านบาท และช่วงสมุทรปราการ-บางปู วงเงิน 12,146 ล้านบาท จะชะลอไปก่อน เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างเจรจาโอนทรัพย์สินโครงการส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ที่ รฟม.จะถ่ายโอนให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) รับผิดชอบ โดยรถไฟชานเมืองสีแดงอ่อนจะเสนอในที่ประชุม ครม.ภายในเดือน เม.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/03/2018 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมดันทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” พ่วงรถไฟฟ้า สายสีแดงส่วนต่อขยายเข้าบอร์ดสภาพัฒน์ พ.ค.นี้
วันที่ 27 มีนาคม 2561 - 17:23 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะนำโครงการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภาพัฒน์ฯ พิจารณาในเดือนพ.ค.นี้ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

1.โครงการรถไฟทางคู่เด่นชัย- เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323.10 กม. เงินลงทุน 76,978 ล้านบาท และ

2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 20 กม. วงเงิน 19,042.13 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้ารถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) ระยะทาง 10 กม. เงินลงทุน 7,596 ล้านบาท จากนั้นถึงจะเสนอให้คณรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติและเปิดประมูลก่อสร้างได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2018 11:47 am    Post subject: Reply with quote

เคาะสายสีแดงซื้อรถเพิ่ม 4 ขบวน วิ่ง”ตลิ่งชัน-ศิริราช” ดันชงบอร์ดสศช.อนุมัติ 3 สายวงเงิน2.42 หมื่นล.
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 20:14:


คมนาคม ถกสศช.และร.ฟ.ท.สรุปแผนก่อสร้างและเดินรถไฟสายสีแดง ส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง “ตลิ่งชัน-ศิริราช,ตลิ่งชัน-ศาลายา,รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์”วงเงินรวมกว่า 2.42 หมื่นล.คาดชงบอร์ดสศช.ไม่เกินก.ค.นี้ ยันจำเป็นซื้อรถเพิ่ม 4 ขบวน(16 ตู้) กว่า 1.7 พันล. วิ่งช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณารายละเอียดโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมใน 5 ประเด็นแล้ว ซึ่งหลักการได้ข้อสรุปแล้วเหลือการทำข้อมูลเพิ่มเติมเล็กน้อยโดยให้ร.ฟ.ท.นำเสนอกระทรวงคมนาคมภายใน 2 สัปดาห์ และคาดว่า จะนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) สศช.อย่างช้าภายในเดือนก.ค.จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป

โดย 5 ประเด็น ได้แก่ 1.การจัดหารถเพื่อให้บริการในช่วง ตลิ่งชัน-ศิริราช นั้น ร.ฟ.ท.ยืนยันถึงความจำเป็น โดยเสนอจัดหารถไฟฟ้าจำนวน 4 ขบวน (ขบวนละ 4 ตู้ รวม 16 ตู้) เนื่องจากขบวนรถที่จัดหาในสัญญา 3 สายสีแดงเพื่อให้บริการช่วง บางซื่อ-รังสิต,บางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา เพียงพอสำหรับรองรับความถี่ ช่วงเวลาเร่งด่วนที่ 6 นาที/ขบวน ซึ่งสัญญา 3 มีรถไฟฟ้ารวม 130 ตู้ แบ่งการเดินรถสำหรับช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน82 ตู้ โดยจะเป็น 2 รูปแบบคือ แบบ4 ตู้/ขบวน จำนวน 10 ขบวน และแบบ 6 ตู้/ขบวน จำนวน 7 ขบวน ส่วนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน 48 ตู้ รูปแบบ 6 ตู้/ขบวน จำนวน 8 ขบวน โดยชานชาลาของสายสีแดงสามารถรองรับได้ถึง 10 ตู้

2. การเดินรถภาพรวมในอนาคต สำหรับการเดินรถสายสีแดงทั้งระบบซึ่งมีส่วนต่อขยายออกไป 4 มุมเมืองโดยส่วนเหนือ บางซื่อ-รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์-อยุธยา-บ้านภาชี ,ส่วนใต้ บางซื่อ-หัวลำโพง-มหาชัย-ปากท่อ ,สายตะวันตก บางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา-นครปฐม และตลิ่งชัน-ศิริราช สายตะวันออก บางซื่อ-หัวหมาก-ฉะเชิงเทรา 3.การปรับเปลี่ยนระบบรถไฟดีเซลเป็นรถไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งร.ฟ.ท.ได้ทำแผนเตรียมเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.แล้ว

4. กรณีการแยกทางเฉพาะ(Dedicated Track) ระหว่างรถไฟฟ้าสีแดงกับรถทางไกล สำหรับส่วนเหนือ บางซื่อ-รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์-อยุธยา-บ้านภาชี เนื่องจากมีความหนาแน่นของปริมาณการเดินรถ ส่วนสายตะวันตก บางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา จะใช้ทางร่วม (Shared Track) ได้ โดยจะการติดตั้งระบบควบคุมรถไฟ : ETCS กับหัวรถจักรดีเซล เพื่อควบคุมให้เกิดความปลอดภัย ในการใช้ทางร่วมกัน ซึ่งให้ร.ฟ.ท.ทำข้อมูลอีกเล็กน้อย ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.รายงานว่าได้เสนอบอร์ดของบปี 2562 เพื่อติดตั้งระบบควบคุม ETCS สำหรับรถไฟที่จะเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อโดยจะดำเนินการใน 3 ปี

5. แผนการก่อสร้างสถานีศิริราช ซึ่งทางโรงพยาบาลศิริราช ได้ประชุมร่วมกับ ร.ฟ.ท.และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในการใช้ประโยชน์พื้นที่ร่วมกัน โดยโรงพยาบาลศิริราชขอใช้พื้นที่ของ ร.ฟ.ท.บริเวณเหนือสถานีศิริราช ก่อสร้างเป็นอาคารสูง 12 ชั้น และอนาคตจะเชื่อมต่อกับสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม–บางขุนนนท์)ของรฟม. จึงมองให้ 3ฝ่าย ทำแผนดำเนินงานในแต่ละโครงการ เพื่อให้การเชื่อมต่อที่สมบูรณ์และประชาชนได้รับความสะดวก

สำหรับรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายช่วงรังสิต- ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท (ค่างานโยธาและระบบราง 3,874.29 ล้านบาท งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 2,197.17 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 295 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ(ICE) 21.97 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 166.97 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาประกวดราคา 10 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วยเวนคืนที่ดิน 5 ล้านบาท)

ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.70 กม. วงเงิน 7,469.43 ล้านบาท (ค่างานโยธาและระบบราง 3,530.96 ล้านบาท งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 1,997.33 ล้านบาท ค่าจัดหาตู้รถไฟฟ้า 1,713.17 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาประกวดราคา 10 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 177.73 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ(ICE) 40.24 ล้านบาท)

ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงินรวม 10,202.18 ล้านบาท (ค่างานโยธาและระบบราง 7,387.65 ล้านบาท งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 2,531.36 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ(ICE) 30.19 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 271.98 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาประกวดราคา 10 ล้านบาท)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2018 7:49 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม”จ่อประมูล 4 รถไฟฟ้า 3 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 24 August 2018 - 12:37 น.

แมสทรานสิต - โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ จตุจักร-สะพานใหม่-คูคต เป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟฟ้าที่ลงทุนก่อสร้างโดยมีต้นทางจากในเมืองพาดผ่านเส้นทางออกนอกเมือง เชื่อมการเดินทางจากที่เคยไกลให้กลายเป็นใกล้
คมนาคมเข็นประมูลรถไฟฟ้า 4 สาย “ม่วง-ส้ม-แดงเข้ม-แดงอ่อน” วงเงินร่วม 3 แสนล้าน จ่อชง ครม.ไฟเขียวเพิ่ม 2 สายทาง ส่วนต่อขยายสีแดงตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายาและรังสิต-ธรรมศาสตร์ ชะลอยาวส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน “บางแค-พุทธมณฑลสาย 4” รอประเมินผู้โดยสารใช้สายสีน้ำเงินทั้งระบบในปี”63 ด้านสีเขียวขยายจากคูคต-ลำลูกกาและสมุทรปราการ-บางปู ยังลูกผีลูกคน หลัง กทม.ยื้อโอนหนี้แสนล้าน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลส่วนที่เหลือ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 365,667 ล้านบาท ให้ครบ 10 สายทาง ตามแผนแม่บทภายในปี 2565 ขณะนี้เตรียมจะเปิดประมูล 4 โครงการ เงินลงทุน 298,831 ล้านบาท ได้แก่ สายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 128,235 ล้านบาท สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน วงเงิน 120,459 ล้านบาท สายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และสายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง วงเงิน 50,137 ล้านบาท

นอกจากนี้มีอีก 2 โครงการเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีสายสีแดงอ่อนตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา วงเงิน 17,671 ล้านบาท และสายสีแดงเข้มรังสิต-ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,570 ล้านบาท รวมถึงเตรียมนำ 3 โครงการที่จะผลักดันต่อไป ได้แก่ สายสีเขียวส่วนต่อขยาย คูคต-ลำลูกกา สายสีเขียวต่อขยายสมุทรปราการ-บางปู และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปลายปีนี้จะเสนอสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กม. เงินลงทุน 1.2 แสนล้านบาทให้ ครม.พิจารณา หลังจากผ่านที่ประชุมบอร์ด รฟม.ภายในเดือน ส.ค.นี้แล้ว เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56) ต่อไป

ส่วนสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ด รฟม. ก่อนจะเสนอเข้า ครม.ในเดือน ก.ย.นี้ สำหรับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. วงเงิน 17,262 ล้านบาท จะชะลอออกไปก่อนรอประเมินปริมาณผู้โดยสารหลังเปิดบริการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแคในปี 2563 จะเป็นไปตามประมาณการหรือไม่ เนื่องจากแนวเส้นทางอยู่ในพื้นที่ชานเมืองโดยต่อเชื่อมกับจังหวัดนครปฐม อาจจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการน้อย และอาจจะซ้ำรอยกับสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ที่เปิดวันแรกมีผู้โดยสารมาใช้บริการต่ำกว่าที่ประมาณการไว้

“สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงสุดท้ายนี้ต้องรอในปี 2563 ซึ่ง รฟม.จะเปิดดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP net cost ทั้งก่อสร้าง จัดหาระบบและเดินรถ 30 ปีเพราะเป็นส่วนต่อเชื่อมกับสายเดิม”

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 7กม. วงเงิน 11,989 ล้านบาท และสายสีเขียวส่วนต่อขยายสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 13,344 ล้านบาท จะชะลอการขออนุมัติโครงการออกไปจนกว่าจะมีข้อสรุปการโอนหนี้และทรัพย์สินส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาทกับกรุงเทพมหานคร (กทม.)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2018 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

ดันรถไฟสีแดง 3 สาย2.66 หมื่นล. เข้าบอร์ดสศช.ต.ค.นี้ ส่วนทางคู่เฟส2 ยันเป้าปลายปี
เผยแพร่: 5 ก.ย. 2561 20:23 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

-“ปลัดคมนาคม”คาดอนุฯบอร์ดสศช. พิจารณารถไฟสายสีแดงต่อขยาย 3 โครงการ วงเงินกว่า 2.66 หมื่นล. ในก.ย.นี้ ก่อนชงบอร์ดใหญ่และเสนอครม.ในต.ค.-พ.ย. พร้อมทยอยส่งทางคู่เฟส 2 ขออนุมัติต่อเนื่อง ยันเป้าเข้าครม.ได้ปลายปี เผยโปรเจ็กต์วงเงิน 2 ลล. มั่นใจ”ชัยวัฒน์”ว่าที่ปลัดฯคนใหม่ ดันเข้าครม.ขออนุมัติใน Q2/62

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยาย สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ระยะทาง 8.9 กม. วงเงิน 7,596.94 ล้านบาท และสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 6 กม. ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 19.7 กม. วงเงิน 19,042.13 ล้านบาท ว่า กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้สรุปผลการวิเคราะห์โครงการทั้งหมดเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แล้ว โดยคาดวาจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุฯ สศช.ได้ในปลายเดือนก.ย.และเสนอที่ประชุมบอร์ด สศช.ได้ต้นเดือนต.ค. จากนั้นจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายในต.ค.-พ.ย.นี้

ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทางและทางคู่สายใหม่ 1 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,851 กม. มูลค่ารวม 341,667 ล้านบาท นั้น อยู่ระหว่าง จัดทำข้อมูลรายงานการวิเคราะห์ต่างๆ เสนอ สศช. ซึ่งตามเป้าหมายจะเร่งนำเสนอและขออนุมัติครม.ภายในปี 2561 นี้ ทั้งนี้ สศช.ต้องการให้ทำข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการ ความคุ้มค่าและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด

สำหรับแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน ปี 2561 (Action Plan 61) นั้น ได้มอบให้นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งปรับปรุงแผนงานหรือ Time Line ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงว่ามีโครงการใดได้รับอนุมัติแล้ว โครงการต้องเร่งรัด โดยตั้งเป้าให้นำเสนอครม.อนุมัติภายในไตรมาส 2 /2562

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่านายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสนข. ว่าที่ปลัดกระทรวงคมนาคมคนใหม่ จะสามารถผลักดันโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ เนื่องจากมีความรู้ความสามารถและสนข.เองเป็นหน่วยงานที่ศึกษาและจัดทำแผนโครงการลงทุนของกระทรวงคมนาคมโดยตรง

สำหรับ Action Plan 61 มีโครงการสำคัญที่ต้องเร่งผลักดัน ทั้งสิ้น 44 โครงการ ภายใต้กรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นจำนวน 2,021,283.52 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1 โครงการที่คณะกรรมการ PPP จะให้ความเห็นชอบ หรือคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติได้ ภายในปี 2561 จำนวน 21 โครงการ วงเงินการลงทุนรวม914,012.34 ล้านบาท ซึ่งอยู่ใน Action Plan 2559 จำนวน 4 โครงการ ใน Action Plan 2560 จำนวน 11 โครงการ และเป็นโครงการใหม่ จำนวน 6 โครงการ

กลุ่มที่ 2 โครงการที่จะประกวดราคาแล้วเสร็จ หรือเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ ภายในปี 2561 จำนวน 23 โครงการ วงเงินการลงทุนรวม 1,107,271.18 ล้านบาท จำแนกเป็นโครงการที่อยู่ใน Action Plan 2559 จำนวน 4 โครงการ ใน Action Plan 2560 จำนวน 17 โครงการ และโครงการใหม่ จำนวน 2 โครงการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2018 8:22 am    Post subject: Reply with quote

`สมคิด`สั่งคมนาคม ดันเมกะโปรเจ็กอีก 6 แสนลบ.ภายใน 5 เดือนนี้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -8 ต.ค. 61 15:17 น.

"สมคิด"สั่งคมนาคม เร่งผลักดันโครงการใหม่ทั้งรถไฟ-ท่าเรือ-สนามบินในช่วง 5 เดือนนี้ เตรียมชงโครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม/แดงอ่อน รวม 2.4 หมื่นลบ. - รถไฟทางคู่ 4 สาย มูลค่า 1.3 แสนลบ. - สุวรรณภูมิเฟส 2 อีก 4.2 หมื่นลบ. ในปีนี้ ส่วนปีหน้าเตรียมชงรถไฟทางคู่อีก 4 เส้น 1.9 แสนลบ. สั่ง THAI เสนอแผนจัดหาเครื่องบินให่สภาพัฒน์พิจาณา ม.ค.62

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมและติดตามงานที่กระทรวงคมนาคม วันนี้ (8 ต.ค.) ว่า ทางกระทรวงฯ เตรียมเสนอเมกะโปรเจ็กต์เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วงเงิน 6 แสนล้านบาท พร้อมเตรียมเปิดประมูลจัดซื้อจัดจ้างอีก 5 แสนล้านบาท ในระหว่างเดือนตุลาคม 2561-มกราคม 2562
โดยในเดือนตุลาคมมีทั้งหมด 5 โครงการที่จะเสนอ คือ
1) โครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 วงเงิน 1.1 แสนล้านบาท คาดว่าจะลงนามสัญญาได้ในเดือนมีนาคม 2562,
2) ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) สนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท คาดว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และแอร์บัส จะลงนามสัญญาได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562,
3) โครงการทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) นครปฐม-ชะอำ วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท,
4) โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม วงเงิน 1 พันล้านบาท และ
5) ศูนย์เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า เชียงของ จ.เชียงราย วงเงิน 2.3 พันล้านบาท

ส่วนในเดือนพฤศจิกายน 2561 เตรียมเสนอโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย 2 โครงการ มูลค่ารวม 2.4 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
1)รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และ

2) ส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ขณะที่ในเดือนธันวาคม 2561 มี 5 โครงการ ได้แก่
1) รถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี มูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาท,
2)รถไฟทางคู่ ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ มูลค่า 8 พันล้านบาท,
3) รถไฟทางคู่ ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม มูลค่า 6 หมื่นล้านบาท,
4) รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย มูลค่า 2.6 หมื่นล้านบาท,
5)โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 ในสนามบินสุวรรณภูมิ 4.2 หมื่นล้านบาทและ
6) โครงการก่อสร้างทางวิ่ง (Runway) แห่งที่ 3 ในสนามบินสุวรรณภูมิ 2 หมื่นล้านบาท

สำหรับในเดือนมกราคม 2562 ประกอบด้วย 5 โครงการ ได้แก่
1) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย 5.6 หมื่นล้านบาท,
2) รถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท,
3) รถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา มูลค่า 5.7 หมื่นล้านบาท,
4)รถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่มูลค่า 6 หมื่นล้านบาท และในเดือนมกราคม 2562

ขณะเดียวกันมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมประกวดราคา 5 โครงการ ได้แก่
1) โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (Missing Link) สีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร วงเงิน 4.4 หมื่นล้านบาท คาดว่าประกวดราคาได้ในเดือน มกราคม-มีนาคม 2562
2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ วงเงิน 1 แสนล้านบาท คาดว่าประกวดราคาเดือนธันวาคม 2561,
3) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมพัฒนาที่ดิน 2.2 แสนล้านบาท จะประกวดราคาในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2561 และลงนามสัญญาในเดือนกุมภาพันธ์ 2562,
4) รถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงินรวม 8.5 หมื่นล้านบาท ประกวดราคาเดือนมีนาคม 2562 และ
5) ทางพิเศษ(ทางด่วน) พระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท ประกวดราคาพฤศจิกายน 2561-กุมภาพันธ์ 2562

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมจะเร่งเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร และการเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทาง ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงินรวม 1.43 แสนล้านบาท ให้คณะกรรมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) โดยเร็ว

นอกจากนี้วางเป้าหมายให้การบินไทย เสนอโครงการจัดหาฝูงบินใหม่วงเงินราว 1 แสนล้านบาท ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาอีกครั้งในเดือนมกราคม 2562
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2018 9:28 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นจ่อลงทุนส่วนขยายรถไฟสีแดง
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 16 ต.ค. 2561 เวลา 07:46น.

สนข.เผยญี่ปุ่นสนใจลงทุนเพิ่มส่วนขยายสายสีแดง 2 หมื่นล้าน หวังเชื่อมการเดินรถต่อเนื่อง เล็งเปิดใช้ฟรีเฟสแรกปลายปี 2563

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ทางกลุ่มร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และบริษัท Sumitomo Corporation) ซึ่งเป็นเอกชนคู่สัญญาการเดินรถของรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต มีความสนใจที่จะลงทุนในส่วนของโครงการส่วนขยาย ที่มีมูลค่า 2.42 หมื่นล้านบาท เพื่อให้การเดินรถมีความต่อเนื่องไม่ต้องเปลี่ยนขบวนใหม่

ทั้งนี้ รถไฟสายสีแดงส่วนขยาย ประกอบด้วย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 1.02 หมื่นล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 7,460 ล้านบาท และช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,570 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน พ.ย.นี้ ก่อนเดินหน้าเปิดประมูลโครงการต่อไป โดยรูปแบบการลงทุนกำลังศึกษาหาข้อสรุป ซึ่งมีทั้งการเปิดประมูลทั่วไปและการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพีพีพี

สำหรับด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามแผนคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ม.ค. 2564 โดยจะเป็นการทดลองเปิดเดินรถให้ประชาชนใช้บริการฟรีก่อนในช่วงเดือน ธ.ค. 2563 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ก่อนเริ่มเก็บอัตราค่าโดยสารจริงในเดือน ม.ค.ต่อไป

อย่างไรก็ตาม สนข.จะเสนอกระทรวงคมนาคมให้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการระบบรางในเขตเมืองหลวงและปริมณฑล ตั้งขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลแผนพัฒนาโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเริ่มจากสายสีแดงเป็นเส้นทางแรก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2018 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

26ต.ค.61 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) เห็นชอบโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) 3 เส้นทาง ได้แก่
ตลิ่งชัน-ศาลายา,
ตลิ่งชัน-ศิริราช และ
รังสิต- ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ก่อนกระทรวงคมนาคมประมวลเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้อนุมัติโครงการต่อไป
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/1998328880214047
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 12, 13, 14  Next
Page 6 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©