RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273147
ทั้งหมด:13584443
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/01/2014 11:22 pm    Post subject: Reply with quote

′โต้ง-ชัชชาติ′เบิกความกู้ 2 ล้านล. ตุลาการชี้รถไฟเร็วสูงยังไม่จำเป็นสำหรับประเทศไทย
มติชนออนไลน์ วันที่ 08 มกราคม พ.ศ. 2557 เวลา 18:20:28 น.

′โต้ง′ ยกมาตรา 142 และ 143(3) ยันกู้เงิน 2 ล้านล.ได้ ไม่ขัด รธน. มั่นใจใช้หนี้ได้ครบ ′ชัชชาติ′ ชี้สนับสนุน ศก.พอเพียงเพราะทำให้การขนส่งไปสู่ส่วนล่างได้ นัดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแจงใหม่ 15 ม.ค.นี้

เมื่อวันที่ 8 มกราคม ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คน นำโดยนายจรูญ อินทจาร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานในคำร้องที่ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

ในช่วงบ่ายเวลา 13.45 น. ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนต่อ โดยเป็นการไต่สวนพยานในส่วนของฝ่ายรัฐบาล ทั้งนี้ นายเฉลิมพล เอกอุรุ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ชี้แจงว่า เนื่องจากพยานที่จะเข้าเบิกความของวันนี้มีเป็นจำนวนมาก หากให้ทุกคนขึ้นเบิกความทั้งหมดทุกคนเกรงว่ากระบวนการไต่สวนคงต้องใช้ระยะเวลานาน องค์คณะศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมร่วมกันแล้วเห็นว่าวันนี้จะเป็นการไต่สวนพยานในส่วนของรัฐบาลก่อน ส่วนพยานในส่วนของผู้เชี่ยวชาญนั้น ศาลจะนัดมาไต่สวนในภายหลัง โดยศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตให้พยานในส่วนของฝ่ายผู้เชี่ยวชาญ อาทิ นายพิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางกลับได้ โดยศาลจะนัดมาไต่สวนภายหลัง

จากนั้น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้แทนของนายกรัฐมนตรี ได้เบิกความว่า กรณีที่กระทรวงการคลังและรัฐบาล ได้พิจารณาที่จะออกกฎหมายฉบับนี้ เพื่อที่จะนำไปใช้จ่ายลงทุน โดยได้มีการศึกษาถึงแนวทางที่เคยได้มีปฏิบัติตั้งแต่ในอดีต รวมถึงได้พิจารณาถึงความเห็นของกฤษฎีกาที่ได้มีการพิจารณากฎหมายในอดีต และขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การออกกฎหมายที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังเพื่อไปใช้จ่ายลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... และการตรากฎหมายเฉพาะจึงดำเนินการได้ โดยอิงตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 142 และ 143(3) ซึ่งกำหนดให้ ครม. สามารถเสนอร่างพ.ร.บ.การเงิน ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อกู้เงิน การค้ำประกัน และการใช้เงินกู้ การดำเนินการผูกพันทรัพย์สินของรัฐ ครม.จึงพิจารณาและให้ความเห็นว่า ครม.สามารถมีอำนาจที่จะเสนอ พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ โดยเป็นการปฏิบัติไม่ขัดต่อมาตราใดมาตราหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ รวมถึงมีการสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ว่าสามารถทำได้

นายกิตติรัตน์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นและเร่งด่วนระดับหนึ่ง เพราะการดำเนินการในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านคมนาคมขนส่งนั้น จะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาตั้งแต่เริ่มมีการพิจารณาโครงการ การอนุมัติ จนถึงการจัดซื้อจัดจ้าง และมีการดำเนินการจนเสร็จสิ้น ต้องใช้เวลานานหลายปี การดำเนินการที่มีความรวดเร็วตั้งแต่เบื้องต้น จะทำให้โครงการนั้นเสร็จสิ้นได้ สำหรับเรื่องวินัยทางการเงินและการคลัง ซึ่งมีอยู่ 2 เรื่อง
1.การควบคุมเพดานหนี้สาธารณะที่ให้อยู่ระดับไม่เกินร้อยละ 60 ของจีดีพีของประเทศ
2.เรื่องภาระหนี้ ดอกเบี้ย และภาวะเงินต้น ที่จะต้องนำไปชดใช้หนี้ทั้งหมดของประเทศ ต้องไม่เกินร้อยละ15 ของงบประมาณประจำปี ซึ่งเราสามารถควบคุมภาระหนี้ ดอกเบี้ย และภาวะเงินต้น ให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ15 ได้
นอกจากนี้การออกกฎหมายกู้เงินดังกล่าว ก็ได้มีการคำนวณว่าถ้ากู้เงินแล้วจะมีต้องมีการชำระหนี้คืนให้ครบ ซึ่งกระทรวงการคลังก็ได้ทำการวิเคราะห์ว่าหนี้ที่กู้มาจำนวนดังกล่าวสามารถที่จะชำระให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาที่ไม่นานนักเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานกับโครงการดังกล่าวดังนั้นการคำนวณด้านวินัยการคลังในเรื่องการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น และดำเนินการจนมีความมั่นใจว่าจะมีการชำระหนี้ครบทุกบาท

จากนั้น น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และนายชนรรค์ พุทธมิลินประทีป รอง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (สงบ). ขึ้นเบิกความตามลำดับ โดยองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้พยายามสอบถามแนวคิดและความเห็นจากบุคคลทั้งสองถึงคำว่า”เงินแผ่นดิน”ว่าจากความรู้และประสบการณ์การทำงานของบุคคลทั้งสองเห็นเป็นอย่างไรสามารถใช้เงินจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยไม่จำเป็นต้องออกร่าง พ.ร.บ.กู้เงินหรือไม่ รวมไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีความรัดกุมหรือไม่ และอาจเกิดความรั่วไหลหรือไม่ ขณะเดียวกันเมื่อกู้เสร็จแล้วจะต้องใช้หนี้คืนภายในระยะเวลากี่ปีทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย และหากโครงการผ่านไป 2 ปี จะสามารถกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพิ่มอีกได้หรือไม่

ทั้งนี้ น.ส.จุฬารัตน์ ชี้แจงแบบกว้างๆ ว่า ตามกฎหมายไม่มีการกำหนดกรอบระยะเวลาที่จะต้องใช้หนี้คืน แต่ได้มีการประมาณการณ์ทางวิชาการว่า โครงการนี้เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เป็นทรัพย์สินของประเทศนับร้อยปี และรัฐบาลมีความสามารถที่จะนำเงินมาจ่ายชำระดอกเบี้ย โดยไม่เป็นภาระมาก โดยสมมติฐานทางวิชาการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้น่าจะชำระได้ภายใน 50 ปี อย่างไรก็ตาม คำถามที่ระบุว่าหากโครงการผ่านไป 2 ปี จะสามารถกู้เงินได้อีกหรือไม่ ยอมรับว่าไม่สามารถทำได้

จากนั้นนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขึ้นเบิกความว่า ภาพรวมของพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นการเตรียมกรอบวงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาทภายในระยะเวลา 7 ปี เพื่อให้มีวงเงินสำคัญที่จะมาดำเนินโครงการได้ สำหรับการลงทุนของโครงสร้างพื้นฐาน แต่ไม่ใช่การอนุมัติโครงการ ซึ่งการอนุมัติโครงการทุกโครงการต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินโดยทุกโครงการต้องทำตามที่กฎหมายเกี่ยวข้อง ทั้งนี้โครงการทั้ง 53 โครงการไม่มีการทำผิดตามรัฐธรรมนูญ เพราะได้ทำการสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ปฏิบัติตามพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม และพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้อง ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างก็เป็นตามระเบียบต่างๆ ที่อยู่ในโครงการใหญ่ของประเทศทั่วไป นอกจากนี้ยังมีรายงานเรื่องการเบิกจ่าย เพื่อให้สามารถติดตามความก้าวหน้าของโครงการได้ รวมทั้งยังแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามโครงการนี้ ได้มีการหารือกับหน่วยงานระดับโลก และหารือกับทางภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อความโปร่งใส่ในการทำโครงการดังกล่าว

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า เรื่องความโปร่งใสตนกังวลเรื่องนี้มากที่สุด แต่ก็ต้องเรียนว่าความโปร่งใสอยู่ที่ระบบ ซึ่งไม่อาจเกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.นี้ จึงต้องมีการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าโครงการนี้สนับสนุนในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพราะทำให้การคมนาคมขนส่งกระจายไปสู่ส่วนล่างได้ ทำให้การขนส่งสะดวกขึ้น ส่วนการก่อหนี้เกินตัวนั้นมองว่าสำนักงานบริหารหนี้ได้คิดเรื่องนี้ไว้แล้ว สำหรับวงเงินของโครงการดังกล่าวนั้นอยู่ที่ 4.2 ล้านล้านบาท แต่ขณะนี้ได้นำมาใช้ในวงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งอยู่ในกรอบวินัยทางการเงินที่กฎหมายได้กำหนดไว้

ขณะที่องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ประเทศไทยต้องการปฏิรูปทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษา ไม่ใช่ระบบคมนาคมอย่างเดียว และขอให้ไปคิดเรื่องนี้ให้รอบคอบก่อนจะลงมือทำ ทั้งนี้เห็นว่ารถไฟความเร็วสูงยังไม่จำเป็นสำหรับประเทศไทย และอยากให้คำนึกถึงภาระหนี้ที่จะเกิดขึ้นอีก 50 ปี ข้างหน้าอีกด้วย

ทั้งนี้ หลังการไต่สวนนานกว่า 3 ชั่วโมงได้เสร็จสิ้นลงในเวลา 16.25 น. นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาล รธน. ได้ชี้แจงกระบวนการไต่สวนวันนี้ว่า ศาลได้ไต่สวนพยานจำนวน 7 ปาก ประกอบด้วย น.ส.รังสิมา รอดรัศมี นายนริศร ทองธิราช นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร นายชนรรค์ พุทธมิลินประทีป และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในส่วนของเลขาคณะกรรมการกฤษฎีกา ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าหนังสือชี้แจงที่ส่งถึงศาลรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 3 มกราคม 2557 เป็นที่ชัดเจนแล้ว ศาลจึงงดการชี้แจงด้วยวาจา

ส่วนพยานที่ศาลเรียก ประกอบด้วย นายภัทรชัย ชูช่วย ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นายพิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ศาลเลื่อนการชี้แจงในวันนี้และให้มาชี้แจงในวันที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 10.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/01/2014 1:40 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดใจผู้อำนวยการ "สนข." ไม่มีเงินกู้...53 โครงการยังไปต่อได้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 15 ม.ค. 2557 เวลา 11:00:12 น.

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "ดร.จุ๊-จุฬา สุขมานพ" ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ผู้กุมบังเหียนแผนงาน 53 โครงการบรรจุในบัญชี วันนี้จะมีคำตอบถึงทางออกหากไม่มีเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท

- แผนสำรองถ้ากฎหมายแท้ง

ต้องหาเงินแหล่งอื่นมาทดแทน มี 2 แหล่งจากเงินกู้และงบประมาณประจำปีเหมือนที่เคยปฏิบัติมา วิธีการก็นำโครงการที่พร้อมเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หาแหล่งเงินมาก่อสร้างเป็นรายโครงการ เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่าร่าง พ.ร.บ.ไม่ผ่านแล้วโครงการจะล้มไปนะ โครงการยังอยู่ แต่ไม่ได้ใช้เงินกู้ตาม พ.ร.บ.เท่านั้น

เราจะเห็นว่าศาลมีประเด็นแค่เรื่องแพ็กเกจใหญ่ ๆ ทำไม่ได้ แต่โครงการไส้ในต่าง ๆ ถึงยังไงกระทรวงคมนาคมก็เดินหน้าต่อ รอเสนอรัฐบาลใหม่โดยโยกโครงการจากใน พ.ร.บ.มาขออนุมัติคณะรัฐมนตรีได้เลย

ไม่รอศาลเพราะศาลไม่ได้ดูอะไรไปมากกว่าเรื่องข้อกฎหมายที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังไปกู้เงิน นั่นก็แสดงว่าถ้าไม่มีอำนาจให้ไปกู้เงินตาม พ.ร.บ.นี้ ก็ไปกู้เงินตามกฎหมายอื่น

ซึ่งกระบวนการ (ทั้งรูปแบบการลงทุนและก่อสร้างในภาพรวม) อาจจะต้องรอนานขึ้น ประเมินน่าจะใช้เวลาเป็น 10 ปีขึ้นไป ไม่ใช่กรอบเวลาดำเนินโครงการเพียง 7 ปีตามที่เราพยายามก่อสร้างให้เสร็จพร้อมกัน

จะเหมือนรถไฟฟ้า กว่าจะได้สร้าง 2-3 สายอย่างทุกวันนี้ใช้เวลาเป็น 10 ปี แต่เลือกออก พ.ร.บ.กู้เงินเพราะต้องการบี้โครงการให้เริ่มและเสร็จภายใน 7 ปีในเวลาที่เราต้องการ และเป็นการเร่งให้เจ้าของโครงการทำให้เสร็จโดยเร็วภายในเวลาเดียวกัน เพราะระบบขนส่งพอเป็นเน็ตเวิร์กเข้ามา 7 สาย (รถไฟฟ้า) เมื่อบวก 1 ถึง 7 มันได้มากกว่า 7

เพราะฉะนั้นนี่คือคำอธิบายที่บอกว่า 1 + 1 ได้มากกว่า 2 ก็เพราะเป็นแบบนี้ จะกระจายและดึงคนได้มากกว่า กรณีของรถไฟฟ้าต้องสร้างหลาย ๆ สายเนื่องจากต้องการสร้างแข่ง เพื่อให้ทันกับจำนวนคนใช้รถยนต์ส่วนตัวที่เพิ่มขึ้น

สิ่งสำคัญก็คือทุกโครงการต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะเดินหน้าได้ รวมถึงผ่านการศึกษารายละเอียดโครงการ ผลตอบแทน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โครงการไหนไม่ผ่านก็ไม่ได้ทำ

- จัดความสำคัญโครงการใหม่

โครงการที่ขออนุมัติใช้เงินกู้จะดูตามความพร้อมเป็นหลัก ดูว่าโครงการไหนพร้อมก่อนก็ทำก่อน เช่น ผ่านอีไอเอแล้วก็ขออนุมัติหมด ตอนนี้มีโครงการพร้อมทำเลย เช่น ปรับปรุงทาง ขยาย 4 เลน เพราะไม่มีทำอีไอเอ

ส่วนโครงการชุดต่อไปจะมีรถไฟทางคู่ 5 สายเร่งด่วนที่รออีไอเอ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ถึงแม้รถไฟฟ้านี้จะใช้เงินกู้แต่ก็ต้องขออนุมัติโครงการก่อน ซึ่งการขออนุมัติจะต้องเสนอรูปแบบด้วยว่าจะใช้เงินจากไหน ถ้าใช้เงินกู้ทางรัฐบาลจะให้กระทรวงการคลังหาแหล่งเงินต่อไป

กรณีโครงการถนนโดยทั่วไปจะเป็นงบประมาณประจำปี แต่งานเชิงโปรเจ็กต์เลย เช่น มอเตอร์เวย์ อาจจะใช้เงินกู้ได้ โดยสายที่เริ่มได้คือบางปะอิน-โคราช เพราะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 2 สายคือ บางใหญ่-กาญจนบุรี กับสายชลบุรี-พัทยา จะเป็นขั้นตอนหาเงินค่าเวนคืนที่ดิน ต้องออก พ.ร.ฎ.ก่อนถึงจะดำเนินการได้

- ความชัดเจนไฮสปีดเทรน

ยังเดินหน้าโครงการต่อ (ตอบทันที) เพราะ พ.ร.บ.เป็นเรื่องของการใช้เงินมาดำเนินโครงการ ถ้าโครงการศึกษาเสร็จและผ่านอีไอเอก็ขออนุมัติได้ สนข.ขอทำแน่ ยกเว้นรัฐบาลใหม่เข้ามามีนโยบายไม่ให้ทำ ก็วัดใจกัน ถ้าไม่ทำก็เลิก

- แหล่งเงินที่จะลงทุน

ก็เหมือนรถไฟฟ้า เมื่อ ครม.อนุมัติโครงการแล้วก็ให้กระทรวงการคลังหาเงินกู้ให้ ดูว่าอันไหนดอกเบี้ยถูกสุดก็เป็นก้อนนั้น ทุกโครงการเป็นแบบนี้หมด ไม่ใช่คมนาคมอย่างเดียว

- ช่วงนี้งานเร่งด่วนสะดุดหรือไม่

งานของกระทรวงคมนาคมจริง ๆ ก็เร่งด่วนหมด แต่คนตัดสินใจไม่มี แผนงานที่จะอนุมัติโครงการก็ต้องรอ แต่ไม่มีเรื่องเร่งด่วนแบบว่าไม่ทำพรุ่งนี้แล้วประเทศจะล่มไปเลย...ยังไม่มีขนาดนั้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/03/2014 9:34 pm    Post subject: Reply with quote

ชำแหละ”ปู”ไร้สมอง ไม่มีแผนงาน แผนเชื่อมโยงอาเซี่ยนล้มเหลว
แนวหน้า วันอังคาร ที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2557, 11.51 น.

4 มี.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมเกียรติ อ่อนวิมล อดีต ส.ว.สุพรรณบุรี และสื่อสารมวลชนอาวุโส ได้ขึ้นเวทีปราศรัยของมวลมหาประชาชนที่สวนลุมพินี เมื่อเวลา 22.00 น. โดยได้กล่าวถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในช่วงหนึ่งว่า ไม่ได้ใส่ใจใยดีต่ออาเซียนมากไปกว่าเพียงเข้าร่วมพิธีการงานเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่างๆ เท่านั้น ละเลยงานอาเซียนไปมาก แม้กระทั่งการประชุมที่สำคัญๆ ฝ่ายไทยก็ไม่มีรัฐมนตรีไปร่วมประชุมด้วยหลายครั้ง วันนี้ประเทศไทยจึงหมดบทบาทในการเป็นผู้นำอาเซียนไปอย่างน่าหดหู่ใจ

นายสมเกียรติ กล่าวว่า ระบอบทักษิณทำลายอาเซียน แผนการเชื่อมโยงอาเซียนยังขาดตกบกพร่อง ทางรถไฟสายเดียวที่บังคับต้องทำให้เสร็จ คือทางรถไฟสายสิงคโปร์ขึ้นมากรุงเทพฯ เลี้ยวซ้ายเข้าพม่า ขึ้นไปคุนหมิงของจีน วกกลับมาเวียดนาม แล้วเข้ามาที่เขมร มาประเทศไทย เข้ากรุงเทพฯ แล้วลงไปสิงคโปร์ เรียกว่าว่าทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง ที่เป็นแผนงานของอาเซียน สมัยที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน มีนายกรัฐมนตรีชื่อบรรหาร ศิลปอาชา แต่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่มีแผนงานอะไรเลย

“แผนการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทก็ไม่อยู่ในแผนที่จะใช้เงินเพื่อการนี้ ทางรถไฟสายอรัญประเทศ-คลองลึก เข้ากัมพูชา ความยาว 6 ก.ม.เท่านั้น ภายในปี 2014 คุณยิ่งลักษณ์ก็ยังไม่คิดจะมีแผนจะทำอะไรทั้งสิ้น ทางหลวงสายกาญจนบุรี-ทวาย ต้องเสร็จภายในปี 2020 ก็ยังไม่มีแผน แถมยังมีทางรถไฟสายกาญจนบุรี-ทวาย ท่าเรือน้ำลึกสตูล ท่าเรือน้ำลึกตรัง ก็ยังไม่ได้มีแผนที่จะสร้าง เพียงแต่ศึกษาความเป็นไปได้กันอยู่ โครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่เกี่ยวข้องกับแผนอะไรต่างๆ ของอาเซียนเลยแม้แต่น้อยนิด แต่ก็เป็นความอยากสร้างที่ไม่มีใครต้องการ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 08/03/2014 6:48 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่รู้ว่า แผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนั้น จะเป็นอย่างไร และแผนการก่อสร้างระบบขนส่งจะสานต่อหรือหยุดชะงักหรือไม่ ก็ต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ หรือชุดเดิมจะมาสานต่อหรือยกเลิกไปนะครับ
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/03/2014 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟ 2 ล้าน ๆ ตกราง?
เดลินิวส์ วันอังคารที่ 11 มีนาคม 2557

รอลุ้นกันมากว่า3เดือนแล้วล่ะ พ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังกู้วงเงิน 2 ล้านล้านบาทใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งตามยุทธศาสตร์และแผนงาน ก็ที่มีรถไฟความเร็วสูงเป็นพระเอกของงานนั่นแหละ

ลุ้นว่ารถไฟจะตกรางก่อนเกิดหรือเปล่าเพราะพ.ร.บ.ที่ผ่านสภาผู้แทนโดยพรรคเพื่อไทยฉลุยโลด และวุฒิสภาซึ่งเป็นแนวร่วมกอดคอกันแก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนที่มาส.ว.ก็โหวตผ่านฉลุยเช่นกันตอนตี3 ในวันพรุ่งนี้ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยตามคำร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

ประเด็นคำถามขัดรัฐธรรมนูญคือเป็นการใช้เงินก้อนใหญ่โดยอยู่นอกวิธีการงบประมาณ

ผู้ร้องเห็นว่ารัฐธรรมนูญตีกรอบการใช้จ่ายเงินแผ่นดินเอาไว้ต้องกระทำผ่านกฎหมาย 3 ฉบับ ว่าด้วยกฎหมายงบประมาณ กฎหมายการโอนงบประมาณ และกฎหมายเงินคงคลัง ทั้งนี้เพื่ออยู่ภายใต้ระบบตรวจสอบที่รัดกุม

ข้อกล่าวหาของผู้ร้องคือพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้านอยู่นอกกรอบดังกล่าวซึ่งเข้าใจว่าเพื่อหนีการตรวจสอบ

สาระสำคัญถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลายก็ตรงกู้มาใช้ในระยะเวลา 7 ปีแต่ระยะเวลาชำระหนี้มหาศาลนี้ยาวถึง 50 ปี พูดได้ว่าแบกหนี้กันข้ามถึง 2 เจนเนอเรชั่น ปู่เป็นคนกู้ลูกกับหลานที่เป็นลูกของลูกรับภาระในการชำระหนี้

เรื่องใหญ่โตขนาดนั้นพ.ร.บ.มีคำชี้แจงที่มาที่ไป 19 มาตราแบบสั้นๆรวมแล้ว 4 หน้ากระดาษ โดยทางรัฐบาลอธิบายว่าในส่วนของรายละเอียดการใช้เงินยังไงต้องรายงานต่อรัฐสภาอยู่แล้ว

ในความเป็นจริงก็แตกต่างเพราะการแจ้งรายการใช้เงินเป็นเพียงบอกให้ทราบไม่ใช่ขออนุมัติ ด้วยรัฐสภาไฟเขียวไปแล้ว 2 ล้านล้านในกรอบใหญ่โครงสร้างพื้นฐานงานขนส่ง

คงอ่านใจศาลลำบากเชื่อว่าตัวตุลาการแต่ละท่านเองก็ลำบากใจเพราะคนรัฐบาลและก๊วนเสื้อแดงปักใจเชื่ออย่างมั่นคงองค์กรอิสระเป็นคนละพวกกับตน ระดับรัฐมนตรี,แกนนำนปช.ถึงขั้นออกปากรัฐบาล,เสื้อแดงทำอะไรก็ผิดส่วนอีกฝ่ายทำอะไรก็ถูก

เท่ากับไม่ปรารถนาจะวิเคราะห์ที่ตัวเนื้อความ ครบถ้วนหรือบกพร่องอย่างไรหรือไม่

ผมนึกถึงพ.ร.ก.เงินกู้เพื่อบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้าน ออกเป็นพ.ร.ก.เพื่อต้องการใช้เงินเร่งด่วนสร้างความเชื่อมั่นประชาชน,นักลงทุนหลังมหาอุทกภัยปี 54 โดยระบุต้องกู้ภายใน 30 มิ.ย.56 กลับพบว่าเบิกจ่ายจริงเพียง 7,250 ล้าน มีการเซ็นไว้ก่อนอีก 4,500 ล้านช่วงก.ค.ถึงพ.ย.ปีเดียวกัน

สะท้อนถึงความไม่พร้อมในงานบริหารโครงการสำคัญๆ ส่งผลให้ความไว้วางใจในการใช้งบประมาณของรัฐบาลถดถอย ยิ่งยากต่อการตรวจสอบอย่าง 2 ล้านล้านก็ยิ่งน่าเป็นห่วง

โทษใครล่ะ ท่านทำตัวแปลกๆแบบนั้นเอง

มั่นใจว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ว่าออกหัวหรือก้อยมีคำอธิบายด้วยเหตุและผลชัดเจน และไม่เกี่ยวกับการอยากมีรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ อยู่ที่วิธีการใช้เงินเท่านั้น.

แมงเม่า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/03/2014 1:14 pm    Post subject: Reply with quote

มติศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสิน ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ผิดทั้งกระบวนการและเนื้อหา ทำให้ร่างกฏหมายนี้ตกทั้งฉบับ
ที่มา: @NationChannel24 13.10 น. 12 มี.ค. 57
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/03/2014 6:03 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดคำวินิจฉัย! ศาลรธน.ชี้กู้เงิน2ล้านล้านขัดรธน.
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 12 มีนาคม 2557 17:46

(ละเอียด)เปิดคำวินิจฉัย ศาลรธน.ชี้ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้าน ขัดรธน. ไม่ชอบทั้งกระบวนการ และเนื้อหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.15 น. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่เอกสารข่าวถึงผลการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องของประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของสมาชิก 2 คำร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1 ) ว่า ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ. … มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือไม่

ทั้งนี้ คำร้องทั้งสองมีข้อเท็จจริง สรุปได้ว่า ตามที่รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ. …แล้ว และอยู่ในช่วงเวลาก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยนั้น ผู้ร้อง เห็นว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และกระบวนการตราไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ของสภาผู้แทนราษฎรมีการกดบัตรแสดงตนและลงคะแนนแทนกัน

ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาคำร้อง คำชี้แจง เอกสารประกอบของผู้ร้อง และการไต่สวนพยานผู้เชี่ยวชาญแล้ว ได้กำหนดประเด็นวินิจฉัย รวม 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ. …ตราขึ้นโดยถูกต้องตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ประเด็นที่สอง ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ. …มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ หรือไม่

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า สำหรับประเด็นที่หนึ่ง ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติได้ว่า นายนริศร ทองธิราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ. สกลนคร พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ใช้บัตรแสดงตนและออกเสียงลงคะแนนในระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2556 พิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ. … ซึ่งเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ มาตรา 122 บัญญัติว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใด และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และมาตรา 126 วรรคสาม บัญญัติว่า สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนนแล้ว เห็นว่า การลงคะแนนเสียงแทนกันในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 และมาตรา 126 วรรคสาม ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 2 เสียง เห็นว่า ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศพ.ศ. …ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

ส่วนประเด็นที่สอง ก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นนี้ มีปัญหาที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยก่อนว่า เงินกู้ตามร่างพ.ร.บ.นี้ เป็นเงินแผ่นดินตามความหมายของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ เห็นว่า คำว่า "เงินแผ่นดิน" ไม่ได้มีการกำหนดความหมายไว้โดยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด แต่เมื่อพิจารณาจากพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2542 มาตรา 4 ประกอบกับความเห็นของพยานบุคคลซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางการเงิน การคลัง และงบประมาณ ตลอดจนบรรดากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า การกู้ตามร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... เป็นเงินแผ่นดินตามความหมายของรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อกู้เงินตามร่างพ.ร.บ.นี้ มีลักษณะเป็นเงินแผ่นดิน การใช้จ่ายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยการเงิน การคลัง เว้นแต่ในกรณี "จำเป็นเร่งด่วน" รัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติและต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพ.ร.บ.โอนเงินงบประมาณรายจ่าย พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่า การดำเนินการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศตามที่ร่างพ.ร.บ. นี้มุ่งประสงค์ ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน

การใช้จ่ายเงินแผ่นดินต้องไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง เพื่อการรักษาเสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และความเป็นธรรมในสังคม ดังนั้น การที่ ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... บัญญัติให้กู้เงินตามร่างพ.ร.บ. บัญญัติให้เงินกู้ตามร่างพ.ร.บ.นี้นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์โดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีรายงานการกู้เงิน ผลการดำเนินงาน และการประเมินผลการดำเนินการตามแผนงานในแต่ละยุทธศาสตร์ต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากที่พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ 2502 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินแผ่นดินบัญญัติไว้ ทำให้การควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายเงินดังกล่าวไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยกรอบวินัยการเงินการคลังที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ร่างพ.ร.บ.ในส่วนดังกล่าวจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ว่า ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศาลจึงมีคำวินิจฉัยว่า ร่างพ.ร.บ.นี้ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.นี้ จึงมีผลให้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ เป็นอันตกไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคสาม ที่ระบุว่า ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินงานเพื่อประกาศใช้ร่างพ.ร.บ.จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย ถ้าศาลวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.นั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราโดยไม่ถูกต้องให้ร่างพ.ร.บ.นั้นเป็นการตกไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/03/2014 12:32 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเกลี่ยใหม่โปรเจ็กต์ 2 ล้านล. "รถไฟฟ้า-รางคู่" สายสีชมพู-ส้ม-เหลืองสะดุดยาว
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 18 มี.ค. 2557 เวลา 21:00:50 น.

Click on the image for full size

คมนาคมเกลี่ยใหม่โปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน หลัง พ.ร.บ.กู้เงินล่ม จัดโผโครงการเร่งด่วนของบฯปี"58 ทั้ง 4 เลน ซ่อมทาง ปรับปรุงรางรถไฟ ศูนย์ขนส่งเชียงของ ส่วนรถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ ทางคู่ โยกใช้เงินกู้-ดึงเอกชนลงทุน PPP เผยรถไฟสายใหม่ส่อแววสะดุดยกแผง ทั้ง "ชมพู-ส้ม-เหลือง-แดง ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ ส่วนต่อขยายสายสีม่วง และแอร์พอร์ตลิงก์" เลื่อนสีเขียว "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ตอกหมุดปีหน้า แตะเบรกไฮสปีดเทรน โหมโรงทางคู่ 5 สายแทน

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงจะจัดลำดับความสำคัญของโครงการใหม่หลังไม่มีเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งฯ ขัดรัฐธรรมนูญ โดยจะนำโครงการซึ่งได้จัดลำดับความสำคัญว่าเป็นโครงการที่เร่งด่วนและพร้อมประมูลก่อสร้างไปบรรจุไว้ในร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558

จัดโผถนน-ระบบรางของบฯปี 58

ได้แก่ 1.ด้านถนน เช่น ขยาย 4 เลน บูรณะถนนสายหลัก มอเตอร์เวย์ 2.ระบบราง เช่น ซ่อมทางรถไฟ ติดตั้งเครื่องกั้น อาณัติสัญญาณ ส่วนรถไฟทางคู่ 5 สาย รอการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) นอกจากนี้มีศูนย์เปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย จะเร่งสร้างรองรับการเปิดใช้สะพานข้ามโขงแห่งใหม่

"ต้องรอดูรัฐบาลใหม่ และการบังคับใช้งบประมาณปี"58 จะเร็วหรือช้า แต่มีแนวโน้มว่ากว่าจะเริ่มต้นโครงการใหม่ได้ น่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี"

ส่วนที่คาดว่าจะชะลอยาวคือรถไฟฟ้าสายใหม่ เช่น สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) สีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู) สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และรถไฟชานเมืองสายสีแดง 5 เส้นทาง เช่น ต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (สนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง) สายสีแดง (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์)

หวั่นรถไฟฟ้าใหม่ดีเลย์ยาว

"โครงการเหล่านี้ แม้พร้อมประมูล แต่ต้องรอแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน เพราะใช้เงินลงทุนสูงร่วม 4-5 แสนล้านบาท รวมถึงสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ที่ไม่อยู่ใน 2 ล้านล้านบาท แผนเดิมรถไฟฟ้า 10 สายจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2562 คาดว่าจะล่าช้าไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี หรือปี 2565 เป็นต้นไป สำหรับรถไฟความเร็วสูง 4 สายจะพิจารณาละเอียดอีกครั้ง อาจเลือกบางสายที่พร้อมก่อสร้างก่อน จากเดิมจะสร้างทั้ง 4 สาย เพื่อเชื่อมทั้ง 4 ภูมิภาค จะมุ่งเน้นรถไฟทางคู่เป็นหลักก่อน"

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ได้แบ่งรถไฟฟ้าเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณาคือกลุ่มที่กำลังก่อสร้าง 3 สาย คือสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) สีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) และสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) การเปิดใช้บริการยังอยู่ในปี 2560 แม้มีปัญหาเรื่องแหล่งเงินกู้จ่ายให้ผู้รับเหมา

หมอชิต-คูคต ตอกหมุดสิ้นปี

กลุ่มที่ 2 กำลังเปิดประมูล มีสายเดียวคือสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูตต) วงเงินกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท จะยื่นซองประมูล 11 เมษายนนี้ หากมีรัฐบาลใหม่ ตามกำหนดการจะได้ตัวผู้รับเหมาเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ คาดว่าจะเซ็นสัญญาและก่อสร้างได้ปลายปีนี้ แต่หากการเมืองยืดเยื้ออาจเลื่อนเป็นปี 2558 เปิดบริการปี 2561

กลุ่มที่ 3 กำลังขออนุมัติ มีสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) สีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู) และกลุ่มที่ 4 กำลังออกแบบ มีสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) จะชะลอยาว เพราะขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลใหม่และแหล่งเงินทุน

ส่วนนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จะนำโครงการทั้งหมดใน 2 ล้านล้าน เงินลงทุนกว่า 1.2 ล้านล้านบาท เสนอรัฐบาลใหม่พิจารณาเป็นแพ็กเกจเพื่อขอคำยืนยันว่าจะให้เดินหน้าอีกครั้ง เพราะมองว่าทุกโครงการเร่งด่วนเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศแข่งขันกับต่างประเทศได้

เร่งทางคู่-เวนคืนรถไฟสายใหม่

ที่จะของบฯปี 2558 เป็นโครงการที่โยกมาจากเงินกู้ 1.76 แสนล้านบาท จากมติ ครม.เดิมอนุมัติปี 2553 แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เหลือกรอบวงเงินอยู่ 1.4 แสนล้านบาท เช่น รถไฟฟ้าทางคู่ 5 สาย รวม 797 กิโลเมตร วงเงิน 118,034 ล้านบาท ได้แก่ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร อยู่ระหว่างทำอีไอเอ หากได้รับการอนุมัติจะเปิดประมูลทันที รถไฟสายใหม่จะขอเงินค่าเวนคืนสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-นครพนม รวมถึงค่าศึกษาทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 6 สาย เช่น สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์

แหล่งข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า มีโครงการ 2 ล้านล้าน เสนอของบฯปี 2558-2560 ได้แก่ 1.ถนน 4 เลน 16 โครงการ 2.8 หมื่นล้านบาท เช่น สาย 304 กบินทร์บุรี-ปักธงชัย 2.ซ่อมบำรุงทางสายหลัก 9 โครงการ 3,500 ล้านบาท เช่น สาย 4 ปราณบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ 3.ถนนเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 7 โครงการ 8 พันล้านบาท เช่น สายเลี่ยงเมืองแม่สอด

มอเตอร์เวย์ได้สร้างแค่สายเดียว

นอกนั้นมีส่วนค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์สายพัทยา-มาบตาพุด 1,800 ล้านบาท ส่วนค่าก่อสร้างใช้เงินกองทุนค่าธรรมเนียม ใช้เงินลงทุนทั้งโครงการ 16,000 ล้านบาท ส่วนสายบางปะอิน-โคราช และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี จะใช้เงินกู้และให้เอกชนลงทุน PPP

ขณะที่นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ระบุว่า กรมมีโครงการเสนอขอวงเงินรวม 7,800 ล้านบาท เริ่มปี 2558-2560 อาทิ ถนนรอยัลโคสต์ ถนนเชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง สะพานข้ามแยกรถไฟ ค่าเวนคืนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษก

อสังหาฯฟันธงราคาที่ดินตก

ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า จากที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขัดรัฐธรรมนูญ ทำให้การนับหนึ่งเริ่มโครงการล่าช้าออกไป ราคาที่ดินตามจังหวัดหัวเมืองน่าจะทรงตัวและเริ่มปรับลดลง โดยเฉพาะแปลงที่มีผู้ซื้อไว้เพื่อเก็งกำไร เพราะการซื้อขายที่ดินน่าจะชะลอตัว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจหลายจังหวัดเริ่มชะลอตัวจากปัญหาชาวนายังไม่ได้รับเงินจำนำข้าว ราคาที่ดินจึงมีโอกาสปรับลดลงมาเท่าช่วง 2 ปีก่อน โดย 2 ปีที่ผ่านมา หัวเมืองหลักบางจังหวัด โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น อุดรธานี ฯลฯ ขยับขึ้น 40-100% จาก 4-5 หมื่นบาท เป็น 8 หมื่น-1 แสนบาท/ตร.ว.

เช่นเดียวกับที่นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย และนายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย มองว่า จากนี้ไปราคาที่ดินในจังหวัดที่มีแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและอยู่ใกล้สถานีจะทรงตัวอีกนาน เนื่องจากการซื้อขายชะลอตัว หลัง 2 ปีที่ผ่านมา บางจังหวัดปรับขึ้น 100-300% เช่น เชียงใหม่ นครราชสีมา อุดธานี ฯลฯ

สศค.แนะทำงบฯปี 57 เพิ่ม

ส่วนมุมมองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานยังจำเป็น แม้กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะไม่ผ่าน เงื่อนไขสำคัญสุดที่จะผลักดันลงทุนต่อได้คือต้องมีรัฐบาล หากมีรัฐบาลใหม่ภายในปีงบฯ 2557 นี้ มี 2 วิธีทำได้ทันที คือ 1) จัดทำงบประมาณเพิ่มเติม (งบฯกลางปี) ขาดดุลเพิ่มจากเดิมที่ขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท แม้การจัดเก็บรายได้จะไม่เกินเป้าก็ทำได้ 2) การกู้เงินไม่เกิน 10% ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ

หากไม่จัดทำงบฯกลางปี ในปีงบฯ 2557 ก็ต้องใส่ไว้ในงบฯรายจ่ายประจำปี 2558 โดยเพิ่มสัดส่วนงบฯลงทุนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การขาดดุลงบประมาณสูงขึ้น กระทบเป้าหมายจัดทำงบฯสมดุลในปี 2560ซึ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบการจัดทำงบฯ
ขาดดุลไม่เกิน 20% ของงบฯรายจ่ายประจำปี บวกกับไม่เกิน 80% ของงบฯชำระหนี้เงินต้น แต่เป้าเดิมที่จะลงทุนใน 7 ปีคงไม่ทัน ขณะเดียวกัน ต้องจัดลำดับความสำคัญโครงการใหม่ เลือกที่คุ้มค่าเกิดประโยชน์มาดำเนินการก่อน รถไฟความเร็วสูงอาจล่าช้าออกไป

เพิ่มสัดส่วนลงทุนร่วมรัฐ-เอกชน

นอกจากนี้ ต้องผลักดันเพิ่มการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน (PPP) และจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) ระดมเงินมากขึ้น สศค.ประเมินว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ 3.1% หากมีรัฐบาลใหม่ แต่ถ้ายังไม่มีอาจขยายตัวต่ำกว่า2% ซึ่งได้ปรับสมมติฐานการเบิกจ่ายงบฯลงทุน 2 ล้านล้านบาท รวมถึงงบฯลงทุนระบบน้ำออกแล้ว เป้าหมายการลงทุน 2 ล้านล้านบาท ช่วยให้เศรษฐกิจโตเพิ่มปีละ1% ไม่มีแล้ว

นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า การจัดทำงบฯรายจ่ายเพิ่มเติม หรืองบฯกลางปี มีเงื่อนไขต้องมีสภาผู้แทนราษฎร มีรัฐบาลใหม่ก่อน และต้องมีเวลาเบิกจ่ายใช้เงินอย่างน้อย 3 เดือน ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์ และต้องอยู่บนหลักการรัฐบาลเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมายหากเก็บรายได้ไม่เข้าเป้าทำลำบาก

ส่วนปีงบฯ 2558 สามารถจัดทำงบฯขาดดุลได้สูงสุดถึง 5 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีงบฯ 2557 ที่ขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท แต่ก็ขึ้นกับนโยบายรัฐบาล และอยู่บนเงื่อนไขต้องมีรัฐบาลใหม่ สภาผู้แทนราษฎรก่อน

นักเก็งกำไรที่ดิน ตจว.ซึมราคาวูบ

สำหรับความเคลื่อนไหวในต่างจังหวัด นายกฤช หิรัญกิจ ประธานที่ปรึกษาสมาคมอสังหาริมทรัพย์ จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า หลัง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ถูกชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญ กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุนมาก การลงทุนจะซบเซาลง ราคาที่ดินที่กว้านซื้อเก็งกำไรตกลงทันที อาจต้องปล่อยขายราคาต้นทุน นอกจากนี้ยอดขายอสังหาฯในพื้นที่ก็ชะลอตัวลง 20% จึงเตือนให้ชะลอการลงทุนปีนี้ไว้ก่อน

นายไพจิตร มานะศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลังคาซ่า จำกัด นักลงทุนอสังหาฯรายใหญ่ จ.นครราชสีมา มองว่า จากก่อนหน้านี้ที่ดินในตัวเมืองนครราชสีมาปรับตัวสูงขึ้นถึง 1.5 แสนบาท/ตร.ว.หลังโครงการ 2 ล้านล้านชะงัก ราคาจะตกลง 15-20% นักลงทุนจะชะลอลงทุน แต่เชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่จะดำเนินการต่อ อาจใช้งบฯปกติ หรือออก พ.ร.บ.กู้เงินอื่นทดแทน แต่จะล่าช้าหลายปี

ขณะที่นายสุรสีห์ แห่งศรีสุวรรณ ผู้อำนวยการโครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร นครราชสีมา ชี้ว่า นักลงทุนที่ซื้อที่ดินโดยรอบโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง-รถไฟรางคู่ ตั้งแต่ จ.สระบุรีจนถึงเมืองนครราชสีมาจะกระทบหนัก และอสังหาฯจะหยุดเติบโต เช่นเดียวกับการลงทุนอุตสาหกรรม

ส่วนนายบุญชู ภุชงค์ประเวศ ประธานหอการค้า จ.นครปฐม กับนายจิรศักดิ์ ฉันทวิลาศ กรรมการผู้จัดการ บจ.ฉันทวิลาศ (2002) ผู้รับเหมาและให้บริการขนส่งหิน ดิน ทราย งานก่อสร้างในนครปฐม มองว่ากรณีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการลงทุนในไทยในระยะยาว จะเริ่มเห็นสัญญาณชะลอการลงทุนชัดเจนปลายปีนี้ นอกจากนี้พื้นที่หัวเมืองใหญ่ ราคาที่ดินจะปรับลดลงรวดเร็ว อสังหาฯ ค้าปลีก และธุรกิจที่ต่อเนื่องจะชะลอตัวด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/03/2014 11:38 pm    Post subject: Reply with quote

หั่นงบเหลือ 1.1 ล้านล. - ตัดทิ้ง โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 21:01 น. ข่าวสดออนไลน์

วันที่ 20 มี.ค. นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการทบทวนเพื่อจัดทำแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อนำเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณา ภายหลังพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทขัดรัฐธรรมนูญ ว่า กระทรวงคมนาคมเห็นว่าทั้ง 53 โครงการตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีความสำคัญที่จะต้องดำเนินการต่อ เนื่องจากเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ

ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้เร็วกระทรวงได้ปรับลดโครงการที่ไม่จำเป็นออก 2 โครงการ คือโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) วงเงินลงทุน 8 แสนล้านบาท และโครงการสร้างด่านศุลกากร 41 แห่งทั่วประเทศ วงเงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท รวมทั้งยังมีตัดวงเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด 3 หมื่นล้านบาท ออกจากแผนกู้เงินเดิมอีกด้วย ทำให้เหลือโครงการที่จะดำเนินการ 51 โครงการ ส่งผลให้วงเงินลงทุนรวมอยู่ที่ 1.1 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดิมตั้งไว้ที่ 2 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม จากการหารือสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เสนอให้กระทรวงจัดทำแผนการลงทุนระยะยาว 7 ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดคาดว่าจะแล้วเสร็จและนำแผมมาหารือกับสบน. และสำนักงบประมาณ เพื่อสรุปแผนทั้งหมดได้ภายในเดือยเม.ย.นี้ จากนั้นจะเสนอรัฐบาลใหม่พิจารณาต่อไป

นายจุฬากล่าวต่อว่า เบื้องต้นในปีแรกกระทรวงคาดว่าจะมีการเสนอขอจัดสรรงบลงทุนรวมทั้งสิ้น 9 หมื่นล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ โครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร โครงการขุดคลองแม่น้ำป่าสัก จ.พระนครศรีอยุธยา และโครงการจ่ายค่าเวนคืนการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/05/2014 10:36 pm    Post subject: Reply with quote

คสช. ทบทวนแผนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน รถไฟเร็วสูง น้ำ ราง อากาศ ถนน ยัน2สัปดาห์รู้ผล ย้ำเน้นประโยชน์ประเทศ
เดลินิวส์ วันพุธ 28 พฤษภาคม 2557 เวลา 20:45 น.

พล อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผอ.ทอ. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยหลังประชุมรับทราบนโยบายผู้บริหารหน่วยงานช้าราชการ และรัฐวิสาหกิจกระทรวงคมนาคมว่า จะนำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ทั้งระบบน้ำ ราง ถนน อากาศ และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งอยู่ในโครงการ 2 ล้านล้านบาท นำไปเสนอให้ประธาน คสช. เพื่อทบทวนจัดทำแผนแม่บทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์

“โครงการโครงสร้างพื้นฐานทุกด้าน คสช.จะให้ความสำคัญและเดินหน้าต่อในทุกระบบเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันได้ โดยโครงการไหนหากทำก่อนก็จะเริ่มก่อนเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญแต่ต้องมาดูรายละเอียด ข้อขัดข้องว่ามีอุปสรรคใดบ้าง เช่น งบประมาณ กระบวนการพิจารณา กฎหมาย ที่ดิน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเข้าไปดูว่าตรงไหนต้องปรับปรุง ถ้าโครงการไหนพร้อมก็จะเดินหน้าได้ทันที แต่ถ้าใช้งบประมาณมาก เราจะนำมาปัดฝุ่นเพื่อให้ระบบคมนาคมเดินหน้าได้สมบูรณ์”

ทั้งนี้โครงการขยายสนามบินสุวรรณภูมิให้รอบรับผู้โดยสาร 60 ล้านคน และสนามบินดอนเมืองเป็น 30 ล้านคนคาดจะเดินหน้าต่อได้ ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นโครงการที่ให้ความสนใจโดยพิจารณาว่าเส้นทางใดทั้งกรุงเทพ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-หนองคาย เพื่อดูว่าโครงการใดขัดข้องบ้าง ซึ่งจะใช้เวลาศึกษาและน่าจะดำเนินการต่อได้หากสามารถแก้ไขอุปสรรคด้านต่างๆ ด้าน

พล อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การจัดทำงบประมาณยืนยันว่าจะใช้ได้ทันตามกำหนดแน่นอน ทั้งงบประมาณปี 57 จะเร่งรัดการเบิกจ่ายให้งบที่ค้างอยู่เดินได้ไปตามเป้าหมาย รวมถึงเร่งรัดการทำงบประมาณปี 58 ที่ปีนี้ขอเพิ่มจากงบปี 57 ถึง 3 เท่า ให้เสร็จโดยเร็ว โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสม เพื่อเบิกจ่ายใช้งบประมาณให้ทันวันที่ 1 ต.ค.57
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 11, 12, 13 ... 121, 122, 123  Next
Page 12 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©