Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273855
ทั้งหมด:13585151
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/07/2014 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

<--
ทางคู่ชุมทางบ้านภาชี-นครหลวง เป็นสายที่ไม่ค่อยมีชาวบ้านเข้าใจเท่าไหร่ครับว่าจะสร้างเพื่ออะไร งบประมาณ 2,900 กว่าล้าน และมีแผนว่าจะเริ่มสร้างปี 2560
(มีแต่คำอธิบายสั้น ๆ ว่า เพื่อเชื่อมท่าเรือในแม่น้ำป่าสัก ขนส่งสินค้าเชื่อมเรือ-รถไฟ)

ถ้าลงทุนสร้างให้เชื่อมกับโครงข่ายทางรถไฟ ไม่เป็นทางตัน ก็คือเชื่อมกับสายสุพรรณบุรีตามแผนเดิม (ชุมทางบ้านภาชี-สุพรรณบุรี ตามแผน RMAP) ก็น่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่ากว่า ไหน ๆ ก็ลงทุนปรับปรุงทางรถไฟสายสุพรรณบุรี 1,130 ล้านไปแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 22/07/2014 5:57 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ซีพีชี้นิ้่วว่าข้าจะเอาอย่างงี้ ใครจะทำไม Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/07/2014 12:19 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้น คสช.ไฟเขียวเมกะโปรเจ็กต์ ก่อสร้างเฮ-จ้างงานพุ่ง-ต้นทุนถูก
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 28 ก.ค. 2557 เวลา 12:00:31 น.

เกาะติดกันมาอย่างต่อเนื่องกับการนำเสนอร่างยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-2565 เข้าสู่ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และหัวหน้า คสช. เป็นประธาน เพื่อให้สามารถเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศตามแผนงานที่กำหนดได้ อย่างจริงจัง

ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้นำร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม คสช.แล้ว และได้บรรจุเข้าเป็นวาระอื่นๆ เพื่อพิจารณาในช่วงท้าย แต่ปรากฏว่าวาระหลักใช้เวลาในการพิจารณานานจึงกินเวลาของวาระอื่นๆ ทำให้เหลือเวลาพิจารณาร่างยุทธศาสตร์น้อยเกินไป ที่ประชุมจึงได้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน โดยมีกำหนดจะพิจารณาในวันที่ 29 กรกฎาคมนี้

ยุทธศาสตร์เสนอ คสช.

ส่วนร่างยุทธศาสตร์ที่กระทรวงคมนาคมนำเสนอ คสช.หลักๆ ยังเหมือนเดิม คือ แบ่งการดำเนินโครงการออกเป็นยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้ครอบคุลมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯและปริมณฑล ยกตัวอย่าง โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการเร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ที่ต้องการเปิดบริการเร็วกว่าแผนงานที่กำหนด ปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 91.77% ตามกำหนดการจะต้องแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการภายในเดือนธันวาคม 2559 แต่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เจรจาผู้รับเหมาเร่งรัดให้เสร็จเร็วกว่ากำหนดแล้ว คาดว่าจะเปิดบริการได้ต้นปีถึงกลางปี 2559

คืบหน้ารถไฟฟ้าสายต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทางรวมประมาณ 27 กิโลเมตร การก่อสร้างคืบหน้ามากเช่นเดียวกัน ประมาณ 51.84% มีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการปี 2560 ปีเดียวกันกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร ที่การก่อสร้างมีความคืบหน้าแล้ว 32.77% ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กิโลเมตร จะเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมาเข้ามาก่อสร้างได้ปลายปีนี้ จากนั้นจะเดินหน้าก่อสร้างได้ทันที รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี-ตลิ่งชัน ระยะทาง 35.4 กิโลเมตร ระยะแรกจะดำเนินการในช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีก่อน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2559 ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงมีนบุรี-แคราย ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร จะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2559 เช่นเดียวกัน อีก 2 ช่วงที่จะก่อสร้างต่อไป คือ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนศึกษาออกแบบ

ยังมีรถไฟฟ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เช่น รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง เป็นต้น

เดินหน้ารถไฟทางคู่

ยุทธศาสตร์รถไฟ ซึ่งเป็นโครงการรถไฟระหว่างเมือง เช่น รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ 1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร 2.มาบกะเบา-นครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กิโลเมตร 3.ถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร 4.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร และ 5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร ส่วนใหญ่ได้ศึกษาออกแบบและผ่านรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว หาก คสช.อนุมัติก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนประกวดราคาได้ทันที

ขณะเดียวกันยังมีการโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เช่น งานปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับและปรับปรุงเครื่องกั้น โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ และโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม นอกจากนี้ยังจะมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่อีก 6 เส้นทาง ในระยะต่อไป รวม 1,364 กิโลเมตร วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คือ 1.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กิโลเมตร 2.ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กิโลเมตร 3.สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 339 กิโลเมตร 4.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร 5.ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กิโลเมตร และ 6.ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กิโลเมตร และโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 696 กิโลเมตร วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท คือ 1.เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร 2.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร และ 3.ชุมทางบ้านภาชี-อำเภอนครหลวง ระยะทาง 15 กิโลเมตร

สร้างท่าเรืออ่าวไทย-อันดามัน

ด้านยุทธศาสตร์ถนน เช่น โครงการถนนเชื่อมภูมิภาค เชื่อมระหว่างจังหวัด แบ่งเป็น 3 ระดับ เชื่อมในระดับพื้นที่ ระดับเชื่อมเมืองหลัก และระดับเชื่อมต่างประเทศ โครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร รวมถึงโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และโครงการทางพิเศษเชื่อมภูมิภาค 5 โครงการ เช่น โครงการทางพิเศษสายดาวคะนอง-พระราม 2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และยุทธศาสตร์ทางน้ำ โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือทั้งฝั่งอันดามัน อ่าวไทย และแม่น้ำป่าสัก เขื่อนป้องกันตลิ่ง โครงการขุดลอกร่องน้ำ การบำรุงรักษาร่องน้ำ เป็นต้น

สมบัติ ตรีวิศวเวทย์

กรรมการผู้จัดการร่วม บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (บีเอ็มเอ็น) ผู้รับสัมปทานพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเครือบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน

การมีระบบรถไฟฟ้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องดีทั้งต่อผู้ประชาชนผู้ใช้บริการและเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเมื่อมีการลงทุนก็จะเกิดการจ้างงาน จึงส่งผลในแง่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่สูงขึ้นด้วย มองว่าการจ้างงานของโครงการรถไฟฟ้าที่มีวงเงินสูงระดับหลายหมื่นล้านบาทจนถึงหลักแสนล้านบาท จะส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องให้ได้ประโยชน์ตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง การจ้างงานมาแน่ กลุ่มก่อสร้างมาแน่ การจ้างงานจะเยอะขึ้นมากๆ

ยกตัวอย่างรถไฟฟ้าสายหนึ่งผู้รับเหมาจะต้องจ้างคนอย่างน้อยหลายร้อยคนจนถึงพันคนด้วยซ้ำ ดังนั้นในแง่ของผู้ประกอบการเราเองก็มองว่าขอให้มีนโยบายของรัฐที่ชัดเจน และขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ไม่มีปัญาทางเรื่องการเมืองเท่านั้นแหละทุกอย่างก็จะเดินหน้าได้ ผมเชื่อว่าเอกชนไทยเก่งมากสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว

ออมสิน ชีวะพฤกษ์
ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

รถไฟคือการขนส่งที่ทำให้ต้นทุนถูกที่สุด เพราะขนส่งปกติทั่วไปต้นทุนอยู่ที่ 2.90 บาทต่อกิโลเมตร แต่ถ้าขนส่งโดยรถไฟจะเหลือประมาณ 0.90 บาทต่อกิโลเมตร ดังนั้นรถไฟจะต้องทำระบบให้ดี คือ จะต้องจัดพื้นที่ให้เป็นฮับให้ได้ เช่น ไปจอดสถานีเอ สถานีเอจะต้องมีพื้นที่ให้รถขนส่งจะเข้ามารับต่อไป ไม่ว่าจะเป็นตู้คอนเทนเนอร์ หรืออะไรได้หมด แทนที่ทุกคนจะวิ่งเข้ามาส่งของเองก็ไปดักรอรับที่จุดตรงนั้นได้เลย รถทั้งหมดจะลดค่าใช้จ่ายได้เยอะ ลดการจราจรได้เยอะ เพราะว่าทุกคนไม่ต้องวิ่งเข้ามาแล้ว ก็ให้รถไฟวิ่งเข้ามาแทน รถไฟ 1 ขบวน มี 8-9 โบกี้ ก็ขนได้เยอะมาก อาจจะนำตู้คอนเทนเนอร์วางไว้บนรถไฟเลยก็ได้ไปถึงก็ยกออกเลย

"ผมฝันว่ารถไฟมีพื้นที่ตั้งเยอะจะเอามาพัฒนาเป็นพื้นที่จอดรถได้ ซึ่งจะช่วยเหลือในเรื่องของเศรษฐกิจได้มาก คือ การจราจรคล่องตัวแน่นอน ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนทุนการขนส่งได้ ก็ช่วยเหลือประเทศชาติได้ด้วย"

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ถ้าทำดีๆ จะลดในเรื่องการขนส่ง เพราะจะเร็วขึ้น เนื่องจากตอนนี้รถไฟไทยวิ่งได้เพียง 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น มีจุดตัดอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเกิดสามารถทำรถไฟทางคู่ให้ดี และให้มีจุดตัดน้อย อาจจะมีอุโมงค์ หรือทางลอด ทางข้ามต่างๆ ก็จะทำให้รถไฟวิ่งได้เร็วขึ้นแน่นอน เมื่อมีคนเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน

ส่วนรถไฟทางคู่ที่จะเกิดก่อน คือ สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ที่อยู่ระหว่างประกวดราคา จากนั้นก็จะเริ่มดำเนินการระยะเร่งด่วนอีก 5 สาย ให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดต่อไป

----

ชงโครงสร้างพื้นฐาน 2.4 ล้านล้าน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2557 10:00

Click on the image for full size

เสนอ'ประยุทธ์'ชี้ขาด ส่งต่อครม.ใหม่เดินหน้าทันที โครงสร้างพื้นฐาน2.4ล้านล้าน ไม่รวม'รถไฟความเร็วสูง'

สนข.เตรียมชง “ประยุทธ์”เคาะยุทธศาสตร์คมนาคม 8 ปี วงเงินกว่า 2.4 ล้านล้านบาท ชงรัฐบาลใหม่เดินหน้าได้ทันที หวังฟื้นเชื่อมั่นระยะยาว แต่ยังไม่รวมรถไฟความเร็วสูง ขณะสศช.เสนอโครงการระบบราง ยันสร้างทางคู่ขนาดราง 1 เมตรเพียงพอรองรับการขนส่งในประเทศ ส่วนรางมาตรฐาน 1.4.35 เมตรสำหรับรถไฟความเร็วสูง

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าสนข.ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของไทยระยะเวลา 8 ปีช่วงปี 2558-2565 กระทรวงคมนาคมได้เตรียมที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อบริหารราชการแผ่นดินพิจารณาแล้ว โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ต้องการให้ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ก่อนที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลเนื่องจากต้องการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการเรื่องนี้ได้ทันทีที่เข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศในช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้

นอกจากนี้การที่มีความชัดเจนเรื่องแผนการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว

สำหรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทยที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้ คสช.พิจารณา ประกอบด้วย 5 แผนงาน ซึ่งยังไม่รวมโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ คสช.ให้มีการศึกษาเพิ่มเติม วงเงินรวมประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท

แผนงานแรก การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง วงเงินประมาณ 6.7 แสนล้านบาท โดยโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการในการดำเนินการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เช่น โครงการรถไฟทางคู่ 17 เส้นทางวงเงินรวมกว่า 4.7 แสนล้านบาท โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณทั่วประเทศ โครงการซ่อมบำรุงรถจักร และรถจักรดีเซลไฟฟ้า โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้า และโครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ เป็นต้น

ส่วนรถไฟความเร็วสูงตามแผนงานที่เสนอให้พิจารณา คสช.อาจจะทางอาจจะไม่รวมโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงไว้ในแผนยุทธศาสตร์เลย หรืออาจเลือกเอาบางโครงการที่มีศักยภาพและมีความจำเป็นในอนาคต ที่ สนข. ได้เสนอไปก่อนหน้านี้ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ 3.8 แสนล้านบาท คสช.อาจพิจารณาดำเนินการในระยะที่ 1 กรุงเทพ - พิษณุโลก วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท

ส่วนเส้นทางกรุงเทพ - หนองคาย วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท อาจมีการปรับแผนในการผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางท่าเรือแหลมฉบัง-หนองคาย ซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมกับ รถไฟความเร็วสูงในประเทศลาวและจีน ซึ่งจะเป็นโครงการที่มีศักยภาพในอนาคตหลังจากที่รถไฟความเร็วสูงในลาวจะสร้างเสร็จ โดยจะต้องมีการศึกษาวงเงินสำหรับโครงการดังกล่าวอีกครั้ง

พัฒนาขนส่งสาธารณะ-ถนนกทม.1.2 ล้านล้าน

แผนงานที่สอง การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ใน กทม.และปริมณฑล วงเงินรวมประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท โดยโครงการสำคัญในแผนงานนี้คือโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง โดยโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑล หรือโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย โดยจะมีการประกวดราคาเพิ่มเติมอีก 112 กิโลเมตร หรืออีก 5 โครงการในระหว่างปี 2557 - 2558

นอกจากนี้ มีโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,416 ล้านบาท ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์สั่งให้มีการดำเนินการให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2558

นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างถนนและสะพานใน กทม.และปริมณฑลเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ขยายตัว ได้แก่ โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อถนนราชพฤกษ์ - ถนนกาญจนาภิเษก แนวเหนือ-ใต้ และโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

สร้างทางหลวงเชื่อมฐานผลิต

สำหรับแผนงานที่ 3 เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศสู่ประชาคมอาเซียน วงเงินประมาณ 6.4 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการโครงการสร้างโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนการเกษตรและการท่องเที่ยว การสร้างโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลักและระหว่างฐานการผลิตหลักของประเทศ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

นอกจากนี้ แผนงานที่ 4 พัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำเพื่อเพิ่มการขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้น 20% วงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือปากบารา โครงการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสัก โดยการก่อสร้างระบบป้องกันตลิ่งเพื่อพัฒนาร่องน้ำทางเดินเรือ เป็นต้น

พัฒนาสุวรรณภูมิเฟส2รวม8.9หมื่นล้าน

สำหรับการพัฒนาท่าอากาศยาน เป็นแผนงานสุดท้าย วงเงินรวมประมาณ 8.9 หมื่นล้านบาท เช่น แผนการเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานในประเทศ เช่น แผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท การพัฒนาท่าอากาศดอนเมืองระยะที่ 2 - 3 (2561 - 2565) รวมทั้งแผนพัฒนาท่าอากาศยานท่าอากาศยานภูเก็ต

"แผนงานที่ 5 นี้จะมีการหารือถึงความเหมาะสมในการลงทุน โดยโครงการลงทุนในการพัฒนาแผนงานนี้แนวทางการลงทุนอาจให้รัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัทการท่าอากาศยาน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงทุนเองเนื่องจากมีศักยภาพเพียงพอ หรืออาจให้เป็นการลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (พีพีพี) รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโดยใช้กลไกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นทางเลือกในการลงทุนเช่นเดียวกับโครงการอื่นๆ ที่มีขนาดการลงทุนเกินกว่า 1 แสนล้านบาทในแผนงานอื่นๆ ก็ให้มีการศึกษาทางเลือกของการลงทุนในรูปแบบต่างๆ"

เผยภาคเอกชนต้องการรางคู่ก่อน

ด้านแหล่งข่าวจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยด้วยว่าในการประชุม ร่วมกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าคสช. ฝ่ายเศรษฐกิจ เมื่อเร็วๆนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการคมนาคมขนส่งของประเทศ ได้แก่ กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ สนข.ได้ให้ข้อมูลกับ พล.อ.อ.ประจิน เกี่ยวกับการลงทุนในระบบรางของประเทศไทย ภายหลังได้มีข้อเสนอว่าในการลงทุนรถไฟทางคู่ที่ คสช.กำลังผลักดัน ควรจะมีการสร้างโดยใช้รางขนาด 1.435 เมตร เพื่อให้รองรับระบบรางในอนาคต

"ส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชนที่ต้องการให้การลงทุนรถไฟทางคู่สามารถรองรับการขนส่ง ทั้งคนและสินค้าได้ในเวลาอันรวดเร็วขึ้น"

ใช้ราง1.435เมตรทั่วประเทศใช้ทุนสูง

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงให้ พล.อ.ประจิน ทราบว่าปัจจุบันเส้นทางรถไฟของประเทศไทยมีประมาณ 4,000 กิโลเมตร หากจะมีการเปลี่ยนแปลงรางเป็นขนาด 1.435 เมตร ทั้งหมด รวมทั้งสร้างรถไฟทางคู่ขึ้นมาใหม่ในขนาดรางเดียวกันจะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล เนื่องจากจะต้องมีการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ด้วย โดยเพื่อให้ใช้วิ่งในรางใหม่ที่จะมีการสร้าง

ปัจจุบัน ค่าก่อสร้างรางรถไฟในแต่ละก.ม.ต้องใช้งบประมาณมากกว่าการก่อสร้างทางถนนประมาณ 10 เท่า

เล็งใช้รถไฟความเร็วสูงราง1.435เมตร

แหล่งข่าวกล่าวว่าข้อเสนอที่ต้องการให้ไทยสร้างราง ขนาด 1.435 เมตร เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต แหล่งข่าวกล่าวว่าปัจจุบันขนาดรางรถไฟในประเทศเพื่อนบ้านมีขนาดเท่ากับรางรถไฟของไทยคือขนาด 1 เมตร ซึ่งเมื่อมีการปรับปรุงให้มีสภาพดีขึ้นก็จะสามารถทำความเร็วได้ถึง 90 - 100 ก.ม./ช.ม. และเมื่อมีทางคู่อีกเส้นหนึ่งที่ขนานกันก็จะทำให้การขนส่งโดยระบบรางมีความคล่องตัวขึ้นโดยไม่ต้องเปลี่ยนรางใหม่ทั้งระบบ

ส่วนในอนาคตจะมีรางรถไฟที่ประเทศจีนลงทุนให้ สปป.ลาวขนาดราง 1.435 เมตรนั้นในอนาคตเมื่อไทยศึกษาเส้นทางสำหรับรถไฟความเร็วสูงก็จะมีการลงทุนโดยใช้ขนาดราง 1.435 เมตร ซึ่งก็จะเชื่อมต่อเส้นทางไปยังประเทศจีนได้โดยเบื้องต้นได้ศึกษาการเชื่อมต่อในเส้นทาง กรุงเทพ - หนองคาย

“ตอนที่มีการวางแผนที่จะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง เราได้วางแผนว่าจะสร้างรางขนาด 1.435 เมตรเอาไว้ เนื่องจากเป็นรางที่จะสามารถทำความเร็วได้ในระดับมากกว่า 150 ก.ม./ช.ม.ขึ้นไป ซึ่งตามแผนรถไฟความเร็วสูงจะใช้สำหรับการขนส่งคนหรือสินค้าที่มีมูลค่าสูง ขณะที่รถไฟขนาดรางปกติจะใช้สำหรับขนส่งสินค้าประเภทฮาร์ดแวร์ หรือผู้โดยสารที่ไม่ต้องการความเร่งรีบในการเดินทางมากนัก” แหล่งข่าวกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2014 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

คสช.อนุมัติกรอบแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม 8 ปี
ฐานเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 29 กรกฏาคม 2014 เวลา 17:22 น.

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในวันนี้ (29 ก.ค.)ได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระยะ 8 ปี หรือปี 2558-2565 มุ่งเน้นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 4 ด้าน 5แผนงาน ได้แก่
1.การสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม
2.การสร้างมาตรฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
3.การสร้างโอกาสสำหรับการใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน และ
4.เสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง

ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ประกอบด้วย แผนพัฒนา 5 แผนงาน ได้แก่
1.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง
2.การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
3.การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
4.การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ
5.การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ
กำหนดระยะเร่งด่วนปีงบประมาณ 57-58 เพื่อเชื่อมโยงประตูการค้าของประเทศ และพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ, สนามบินเชียงใหม่ สนามบินภูเก็ต และสนามบินอู่ตะเภาที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอต่อที่ประชุม คสช.ถึงโครงการเร่งด่วน คือ รถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง ได้แก่
1.เส้นทางจิระ(โคราช)-ขอนแก่น ซึ่งผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)แล้ว
2.เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
3.เส้นทางนครปฐม-หัวหิน
4.เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ
5.เส้นทางมาบกะเบา-จิระ(โคราช) และ
6.เส้นทางหัวหิน - ประจวบฯ
รวมระยะทาง 887 กิโลเมตร ใช้งบประมาณราว 127,472 ล้านบาท


พร้อมกันนี้ จะเพิ่มโครงการรถไฟทางคู่เส้นใหม่อีก 2 เส้นทางที่ได้ปรับมาจากโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยจะใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร และใช้ความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งต่ำกว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยจะเริ่มก่อสร้างใน 2 เส้นทางก่อน คือ
1.เส้นทางหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด รวมระยะทาง 737 กปิโลเมตร ใช้งบประมาณ 392,570 ล้านบาท และ
2.เส้นทางเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 655 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 348,890 ล้านบาท


นอกจากนี้ คสช. ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาการลงทุนระบบรางของประเทศไทย รวมถึงการจัดหาหัวรถจักร และระบบอาณัติสัญญาณ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.เป็นประธาน และคณะทำงานประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

----

คสช. อนุมัติแผนโครงสร้างพื้นฐาน ใช้งบในประเทศ เพิ่มรถไฟทางคู่ 2 เส้น
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 29 ก.ค. 2557 18:35

คสช. เห็นชอบยุทธศาสตร์ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ปีงบ 58-65 รวม 4 ด้าน 5 แผนงาน หวังเชื่อมโยงประตูการค้า พัฒนาท่าเรือ-สนามบิน เพิ่มโครงการรถไฟทางคู่เส้นใหม่ 2 เส้นทาง เผยหางบประมาณในประเทศ...

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระยะ 8 ปีในระหว่างปี 58-65 โดยมุ่งเน้นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ 1. การสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม 2. การสร้างมาตรฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 3. การสร้างโอกาสสำหรับการใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน และ 4. เสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง

ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ประกอบด้วย แผนพัฒนา 5 แผนงาน ได้แก่ 1. การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2. การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 3. การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน 4. การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ 5. การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ กำหนดระยะเร่งด่วนปีงบประมาณ 57-58 เพื่อเชื่อมโยงประตูการค้าของประเทศ และพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินเชียงใหม่ สนามบินภูเก็ต และสนามบินอู่ตะเภาที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์

นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอต่อที่ประชุม คสช. ถึงโครงการเร่งด่วน คือ รถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง ได้แก่ 1. เส้นทางจิระ (โคราช)-ขอนแก่น ซึ่งผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว 2. เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 3. เส้นทางนครปฐม-หัวหิน 4. เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ 5. เส้นทางมาบกะเบา-จิระ (โคราช) และ 6. เส้นทางหัวหิน - ประจวบฯ รวมระยะทาง 887 กิโลเมตร ใช้งบประมาณราว 127,472 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน จะเพิ่มโครงการรถไฟทางคู่เส้นใหม่อีก 2 เส้นทางที่ได้ปรับมาจากโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยจะใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร และใช้ความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งต่ำกว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยจะเริ่มก่อสร้างใน 2 เส้นทางก่อน คือ 1. เส้นทางหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด รวมระยะทาง 737 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 392,570 ล้านบาท และ 2. เส้นทางเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 655 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 348,890 ล้านบาท รวมทั้งจะมีการปรับปรุงทางหลวงให้เป็น 4 ช่องจราจรทั่วประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับการค้าชายแดนด้วย

"ในระยะเร่งด่วนเราจะทำรถไฟทางคู่ที่เป็นทางรถไฟเดิมที่รางกว้าง 1 เมตร และจะมีทางคู่ที่เป็นรางมาตรฐานโลกขนาด 1.435 เมตร เป็นการต่อยอดจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ สนข.ได้ศึกษาไว้ โดยกลับมาทบทวนแบบและใช้ความเร็วแค่ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ตรงนี้จะเป็นการขนทั้งคนและสินค้า และจะเป็นทางเชื่อมขึ้นไปทางเหนือ จีน ลาว และยังลงมาเชื่อมต่อทางมาเลเซีย และสิงคโปร์ได้" ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าว

ขณะเดียวกัน ที่ประชุม คสช.ยังได้อนุมัติจัดตั้งคณะทำงานในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่จะเข้ามาพัฒนาโครงการในระยะเร่งด่วนปี 57-58 ซึ่งจะมีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.เป็นประธาน โดยมีกรอบเวลาการทำงาน 30 วัน โดยคาดว่า จะหางบประมาณจากในประเทศ ไม่เกิน 15 วัน จะได้ข้อสรุปและจะสามารถดำเนินการได้ในต้นปี 2558 และคาดว่าไม่เกิน 4 ปี โครงการจะเสร็จสิ้น

นอกจากนี้ จะมีการสั่งซื้อหัวรถจักรและโบกี้โดยสารรถไฟเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประกวดราคา คาดว่าจะได้รับมอบหัวรถจักรและโบกี้โดยสารในเดือน ส.ค.57 ซึ่งจะนำมาใช้ในเส้นทางฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง รวมทั้งจะมีการสั่งซื้อหัวรถจักรใหม่ ซึ่งเป็นการได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่าการซ่อมบำรุงไม่คุ้มค่าในช่วง 3 ปีนี้ จำนวน 50 หัวรถจักร และให้เปลี่ยนไปซื้อหัวรถจักรใหม่ที่คาดว่าจะซื้อได้ราว 36-37 หัวจักร โดยใช้งบประมาณเดียวกันจำนวน 3,056 ล้านบาท รวมทั้งจะมีการปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณมาเป็นระบบไอที ซึ่งจะมีความปลอดภัยสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ม.) ได้เตรียมพร้อมโครงการรถไฟฟ้าในเส้นทางสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี, สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง นำเสนอต่อ คสช.ไว้แล้ว ขณะที่สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ/หัวลำโพง-บางแค) มีความคืบหน้าในการก่อสร้างไปมากแล้ว ส่วนสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ คาดว่าปลายปี 58 จะเริ่มทดลองวิ่ง 6 เดือน จากนั้นจึงจะให้บริการได้.


Last edited by Mongwin on 29/07/2014 8:53 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2014 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้รับเหมาคึก! คสช.ไฟเขียวโครงสร้างพื้นฐานเร่งด่วน1.08 แสนล. ล้มไฮสปีดปรับเป็นทางคู่ขนาด 1.435 ม.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2557 17:55 น.



คสช.เห็นชอบแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม 8 ปี ปลุกผู้รับเหมาคึกรับลงทุนโครงการเร่งด่วน 57-58 วงเงิน 1.08 แสนล. จ่อประมูลรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง พร้อมสั่งทบทวนการศึกษารถไฟความเร็วสูงปรับเป็นรถไฟทางคู่ขนาดราง 1.435 เมตรแทนค่าก่อสร้างรวมต่ำกว่า 30% ประเดิม 2 เส้นทางเชื่อมจีนผ่านหนองคาย-แหลมฉบังและผ่านทางเชียงของ-บ้านภาชี วงเงินรวม 7.4 แสนล. ใช้รถไฟฟ้าวิ่ง 160 กม./ชม. คุ้มค่ากว่าเหตุขนทั้งคนและสินค้า พร้อมอนุมัติต่ออายุรถเมล์-รถไฟฟรี 6 เดือน ถึง 31 ม.ค. 58

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชุดใหญ่ ที่มีพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นประธาน วานนี้ (29 ก.ค.) ได้เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี (พ.ศ. 2558-2565) แล้วโดยมียุทธศาสตร์ 4 ด้าน 5 แผนงาน พร้อมกันนี้ได้อนุมัติหลักการดำเนินโครงการเร่งด่วนในปีงบประมาณ 2557-2558 วงเงินรวมประมาณ 1.08 แสนล้านบาท โดยได้ตั้งคณะทำงานร่วมสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม โดยมีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.เป็นประธาน เพื่อพิจารณาจัดสรรเงินลงทุน ภายใน 30 วัน

โดยการพัฒนาโครงการที่สำคัญระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปี 57-58 คือ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง ซึ่งเป็นรางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) ระยะทางรวม 887 กม. วงเงิน 127,472 ล้านบาท แล้วเสร็จปี 63 โดยเส้นทางที่จะเริ่มดำเนินการได้ก่อน คือ

1. ชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 26,007 ล้านบาท (58-61) เนื่องจากผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว รอกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินเท่านั้น
2. ประจวบคีรีขันธ์ -ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,293 ล้านบาท (58-61) อยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอขออนุมัติ EIA
3. นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 20,038ล้านบาท (58-61)
4. มาบกะเบา-นครราชสีมาระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,855 ( 59-63)
5. ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 24,842 (59-63)
6.หัวหิน -ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. วงเงิน 9,437 ล้านบาท (59-63)

ส่วนเส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย วงเงินรวม 1.13 หมื่นล้านบาท รอเพียงคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (คตร.) ตรวจสอบความโปร่งใสและการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพเท่านั้นพร้อมเดินหน้าประกวดราคาแบบอี-ออกชัน ซึ่งมี ผู้รับเหมา 6 ราย ประกอบด้วย
1. ITD
2. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ร่วมกับบริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด
3. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC
4. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ
5. บริษัท ทิพากร จำกัด ร่วมกับ บริษัท ไชน่าฮาร์เบอร์ จากประเทศจีน และ
6. บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด เสนอราคาแข่งขัน

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟทางคู่จะแก้ปัญหาคอขวด และการรอสับหลีกในจุดที่มีความคับคั่ง เช่น ชุมพร ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะทำให้เดินรถได้เพิ่มจากปัจจุบัน 288 ขบวนต่อวันเป็น 800 ขบวนต่อวันหมด โดย ร.ฟ.ท.จะต้องดำเนินการจัดหาหัวรถจักรใหม่ 50 คัน ตู้รถโดยสาร 115 คัน ตู้สินค้า 308 คัน พร้อมกันระบบอาณัติสัญญาณด้วย

นอกจากนี้คสช.ยังเห็นชอบแนวทางการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ในอนาคต โดยใช้ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standgard Gauge) รถไฟขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ความเร็ว 160 กม./ชม.โดยในระยะเร่งด่วนจะดำเนินการ 2 โครงการ คือ

1. หนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 กม.วงเงิน 392,570 ล้านบาท (58-64)
2.เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 กม. วงเงิน 348,890 ล้านบาท (58-64) โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำผลศึกษารถไฟความเร็วสูงเดิมมาศึกษาทบทวนเพื่อต่อยอดการออกแบบให้สัมพันธ์กับแนวทางดังกล่าว ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงจากจีน-ลาว-ไทย-มาเลเซีย ขนส่งได้ทั้งผู้โดยสารและสินค้า กำหนดค่าโดยสารได้ต่ำ มีประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า ใช้เงินลงทุนต่ำกว่ารถไฟความเร็วสูงเฉลี่ย 30% เพราะใช้ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าต่ำกว่า รวมถึงค่าก่อสร้างเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 350 -400 ล้านบาท/กม. ขณะที่รถไฟความเร็วสูงจะอยู่ที่ 550-600 ล้านบาท/กม. มีความเร็วมากกว่า 200 กม./ชม. ทำให้มีข้อจำกัดในการขนส่งสินค้า

อนุมัติต่ออายุรถเมล์-รถไฟฟรี 6 เดือน

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า คสช.ยังเห็นชอบต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพ ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในเรื่งรถเมล์และรถไฟฟรีออกไปอีก 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 57 - 31 มกราคม 58 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนตามแนวทางเดิม คือรถเมล์ร้อน 800 คัน จำนวน 72 เส้นทาง รถไฟชั้น 3 และชานเมือง 164 ขบวน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2014 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
1. ชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 26,007 ล้านบาท (58-61) เนื่องจากผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว รอกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินเท่านั้น
2. ประจวบคีรีขันธ์ -ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,293 ล้านบาท (58-61) อยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอขออนุมัติ EIA
3. นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 20,038ล้านบาท (58-61)
4. มาบกะเบา-นครราชสีมาระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,855 ( 59-63)
5. ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 24,842 (59-63)
6. หัวหิน -ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. วงเงิน 9,437 ล้านบาท (59-63)

ส่วนเส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย วงเงินรวม 1.13 หมื่นล้านบาท รอเพียงคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (คตร.) ตรวจสอบความโปร่งใสและการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพเท่านั้นพร้อมเดินหน้าประกวดราคาแบบอี-ออกชัน

ได้ของแถม สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ย้ายมาอยู่ในระยะเร่งด่วนด้วยครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2014 12:09 am    Post subject: Reply with quote

คงเพราะเห็นว่าไหนๆจะทำทางคู่สายใต้ทั้งทีทำให้ให้มันเชื่อมต่อกันอย่าเป็นคอขวดเป็นใช้ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/07/2014 12:11 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวไทยพีบีเอส เลยใช้ว่า 5+1 ครับ Very Happy

คสช. อนุมัติแผนลงทุนรถไฟรางคู่ วงเงินกว่า 127,000 ล้านบาท
ThaiPBS Tue, 29/07/2014 - 21:58

Click on the image for full size

คสช. อนุมัติแผนลงทุนโครงการรถไฟรางคู่ ขนาดราง 1 ม. 6 เส้นทาง วงเงินกว่า 127,000 ล้านบาท พร้อมตั้งคณะทำงานศึกษาความชัดเจนของแหล่งเงินทุนสร้างรถไฟฟ้า 4 เส้นทาง ก่อนเสนอ คสช. อีกครั้ง ภายใน 30 วัน


ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติกรอบหลักการแผนยุทธศาสตร์คมนาคมขนส่งของไทย ระหว่างปี 2558 - 2565 รวมทั้งหลักการลงทุนระยะเร่งด่วน ซึ่งใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 - 2558 เช่น การศึกษาและว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา

สำหรับแผนลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร (สนข.) เสนอให้ปรับจากแผนเดิม ทั้งเส้นทาง และความเร็ว โดยใช้รางขนาดเดียวกับจีน คือ 1.435 ม. จำนวน 2 เส้นทาง รวมวงเงินกว่า 74,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนกับจีน คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลได้ในปี 2559

คสช. ยังอนุมัติแผนลงทุนโครงการรถไฟรางคู่ ขนาดราง 1 ม. 6 เส้นทาง คิดเป็นวงเงินกว่า 127,000 ล้านบาท หลังประเมินว่าหากใช้รางขนาดเดียวกับรถไฟความเร็วสูง ต้องเปลี่ยนระบบราง และหัวรถจักรใหม่ทั้งหมด ใช้งบประมาณสูงกว่า 715,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ชุมทางจิระ จ.นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น จะเป็นรถไฟรางคู่เส้นแรก หลังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและอนุมัติแผนการออกแบบแล้ว

ส่วนรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ยังคงอยู่ในยุทธศาสตร์ฉบับนี้ แต่โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการในปีงบประมาณ 2557 - 2558 มี 4 เส้นทาง ซึ่งบางส่วนยังไม่มีความชัดเจนของแหล่งเงินทุน คสช. จึงสั่งตั้งคณะทำงานศึกษา และเสนอกลับเข้าที่ประชุม คสช. อีกครั้ง ภายใน 30 วัน

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2014 10:24 pm    Post subject: Reply with quote



ตอนนี้ CCTV สนใจ ข่าวโครงการทางรถไฟรางมาตรฐาน เร็วสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จาก

1. หนองคาย - นครราชสีมา - แก่งคอย - แหลมฉบัง - มาบตาพุด ระยะทาง 737 กิโลเมตร มูลค่า 392,570 ล้านบาท
2. เชียงของ - เด่นชัย - บ้านภาชี - สระบุรี - แก่งคอย ระยะทาง 655 กิโลเมตร มูลค่า 348,890 ล้านบาท

เนื่องจากโครงการดังกล่าวตอยสนองความต้องการของจีนแดงที่ทำให้เปิดทางออกทางทะเล และ ติดต่อกะไทย และ จะได้ขนข้าว น้ำมันกลั่นจากดรงกลั่นไทยออยล์ และ สินค้าที่จีนต้องการไปคุนหมิงได้
http://www.youtube.com/watch?v=u01I-1fhDko
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2014 5:17 am    Post subject: Reply with quote

'อภิสิทธิ์'ห่วงต้นทุนรถไฟรางคู่ขยายเป็น1.43เมตร
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
1 สิงหาคม 2557 14:04

"อภิสิทธิ์"เห็นด้วยเพิ่มเส้นทางรถไฟรางคู่ แนะดูงบฯให้รอบคอบ ห่วงราคาสูงเกินจริง-ขยายรางเป็น1.43 เมตร



นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงยุทธศาสตร์พัฒนาด้านคมนาคม ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วงเงิน 2.4 ล้านล้านบาทว่า โครงการส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนมาแล้ว โดยเฉพาะรถไฟรางคู่เป็นโครงการที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่ามีประโยชน์ ซึ่งสมัยที่ตนเป็นรัฐบาลก็มีการอนุมัติงบประมาณไว้แล้ว แต่ในรัฐบาลต่อมารอเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ทำให้ไม่ได้ทำ เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีการเพิ่มเส้นทางก็ถือเป็นเรื่องที่ดี

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า แต่การจะตัดสินใจเกี่ยวกับความกว้างของราง ที่จะปรับจาก 1 เมตร เป็น 1.43 เมตร ต้องชัดเจนว่ามีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงกับโครงการที่จะเกิดขึ้นในส่วนที่จีนทำงานร่วมกับลาวใช่หรือไม่ โดยต้องพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าด้วย เพราะแม้ว่าการเพิ่มขนาดรางจะช่วยเพิ่มความเร็ว แต่ต้องศึกษาถึงความคุ้มค่าให้ชัดเจนด้วย ซึ่งตนเข้าใจว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องขยายขนาดรางทั้งหมด เพราะเท่าที่ติดตามโครงการความเร็วสูงที่จีนทำกับลาว มีการปรับมาเป็นความเร็วที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงคิดว่า คสช.อาจจะเอารถไฟรางคู่เพื่อไปเชื่อมในส่วนนี้ใช่หรือไม่

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากให้ดูเกี่ยวกับวงเงินเพราะตัวเลขเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ซึ่งในขณะที่ถูกบรรจุไว้ในกฎหมายเงินกู้ 2 ล้านล้าบาท ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่าหลายโครงการวงเงินสูงเกินไป อย่างไรก็ตามคงไม่จำเป็นที่ต้องปรับขนาดรางรถไฟทั้งหมดให้เป็น 1.43 เมตร เพราะที่ญี่ปุ่นก็ใช้ 2 ระบบคือ ถ้าเป็นรถไฟความเร็วสูงก็ใช้ราง 1.43 เมตร แต่ถ้าเป็นการเดินทางที่ไม่ไกลมากก็ใช้รางขนาด 1 เมตร นอกจากนี้คงต้องรอดูด้วยว่า คสช.วางแนวทางในการใช้จ่ายอย่างไร หากอยู่ในระบบงบประมาณก็พิจารณาตามกระบวนการว่าควรจะเป็นอย่างไร

//-------------------------------

หนุนรถไฟทางคู่ลงแหลมฉบัง
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อวันอังคารที่ 29 กรกฏาคม 2014 เวลา 14:04 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,970
วันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สนข.หนุน "บิ๊กจิน" พัฒนารถไฟทางคู่ ขนาดราง 1.435 เมตร ในเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมโยงเชียงของ-แหลมฉบัง,หนองคาย-แหลมฉบัง พร้อมแนะนำผลศึกษาไฮสปีดเทรนที่ถูกพับโครงการมาใช้เป็นฐาน ชี้ภายหลังยังติดตั้งระบบไฮสปีดเทรนเพิ่มเข้าไปได้ ด้านประธานสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีนเผยตั้งศูนย์บริการโลจิสติกส์ภาคเหนือตอนล่างรองรับไว้แล้ว แหล่งข่าวระดับสูงของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ต่อกรณีที่พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ(ผบ.ทอ.) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ มีแนวคิดจะพัฒนารถไฟทางคู่จากภาคเหนือเส้นทางเชียงของ-แหลมฉบังและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเส้นทางหนองคาย-แหลมฉบังโดยจะใช้ขนาดรางเป็น 1.435 เมตรนั้น เห็นว่าน่าจะใช้ผลการศึกษาของโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ถูกพักโครงการไปก่อนหน้านี้ กลับมาดำเนินการแทน และหากมีความจำเป็นต้องใช้รถไฟความเร็วสูงในอนาคตก็สามารถติดตั้งระบบไฮสปีดเทรนเข้าไปเพิ่มได้อีกด้วย
"เสียดายโอกาสของประเทศไทยที่ต้องล่าช้าไปอีกไม่น้อยกว่า 1 ปี สิ่งสำคัญขณะนี้โครงการไฮสปีดเทรนอยู่ระหว่างการขอรับรองผลการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม คาดว่าไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่แนวเส้นทางกำหนดเอาไว้แล้ว หากผ่านอีไอเอก็สามารถก่อสร้างได้ทันที ไม่ต้องรอกระบวนการศึกษารอบใหม่ให้เสียเวลาอีกนาน"

ด้านพล.อ.ศิริ ทิวะพันธุ์ ประธานสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน กล่าวว่า สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการโลจิสติกส์ภาคเหนือตอนล่าง ที่จังหวัดพิษณุโลกเพื่อรองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของคสช.ที่จะตั้งเขตเศรษฐกิจในพื้นที่โซนต่างๆโดยเฉพาะแม่สอดให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยพิษณุโลกถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางกระจายไปสู่พื้นที่ต่างๆได้อย่างเหมาะสมทั้งภาคเหนือไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกหรือภาคใต้โดยระบบโครงข่ายคมนาคม
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)กล่าวว่าล่าสุดเส้นทางภาคเหนือได้ปิดซ่อมทางครบทั้งหมดแล้ว เปลี่ยนหมอน เปลี่ยนรางเป็น 100 ปอนด์ และแก้ไขจุดที่เป็นปัญหาซึ่งพบว่าสามารถเพิ่มความเร็วได้มากขึ้น แต่จุดที่น่ากังวลคือช่วงจากเด่นชัย-เชียงของเนื่องจากผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำสำคัญตลอดจนผืนป่าจำนวนมาก อาจต้องเวนคืนกว่า 1,000 แปลง โดยยืดเยื้อมานานหลาย 10 ปีแล้วแต่ยังดำเนินการไม่สำเร็จในด้านผลการรับรองอีไอเอ
"หากยังใช้ขนาดราง 1 เมตรน่าจะเร่งดำเนินการได้ทันที เพราะมีพื้นที่รองรับไว้แล้วโดยสามารถก่อสร้างได้มากถึง 12 ทางในหลายช่วงการเดินทาง แต่ยังเป็นห่วงเรื่องกรณีศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหากจะต้องดำเนินการก่อสร้างทางเพิ่มใหม่ซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบสิ่งแวดล้อม ประการสำคัญขนาดราง 1.435 เมตรที่เพิ่มความเร็วได้ยังพบว่ามีหลายจุดต้องปรับปรุงแน่ๆ อาจล่าช้าอีกหลายปี จึงน่าจะใช้ราง 1 เมตรให้เต็มประสิทธิภาพมากกว่าจึงค่อยเพิ่มเป็น 1.435 เมตรในภายหลังหากรองรับไม่ได้แล้ว"
ทั้งนี้ทราบว่าผลจากการหารือร่วมกับหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคสช. และพล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครั้งล่าสุดเมื่อ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทราบว่าแนวคิดของหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคสช.เสนอให้ทำรถไฟทางคู่เป็น 4 ทางจากเชียงของ-แหลมฉบังคู่ขนานไปกับทางคู่เดิมที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันที่มีอยู่แล้ว 1 ทางเริ่มจากสถานีเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นต้นไป โดยมอบหมายให้วิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร เร่งสรุปผลการศึกษาแล้วนำเสนอเพื่อประชุมหารือร่วมกันอีกครั้งภายในปลายเดือนนี้ ทั้งนี้ได้มีการเตรียมพื้นที่ประมาณ 200-300 ไร่รองรับเอาไว้แล้วอีกด้วย
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า มี 2 แนวทางให้พิจารณาโดย
1. แนวทางแรกจะก่อสร้างรางขนาด 1.435 เมตรเพิ่มอีก 2 เส้นทางและ
2. แนวทางที่ 2 เพิ่มขนาดราง 1 เมตรอีก 1 เส้นทางคู่ขนานเส้นทางปัจจุบัน รวมเป็น 4 เส้นทางหลักเพื่อขนสินค้าและผู้โดยสารแยกออกจากกันให้ชัดเจน เพิ่มความถี่ได้มาก และยังลดจุดรอหลีกให้น้อยลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลาได้มากขึ้น โดยประเด็นหลักอาจเลือกสร้างทางคู่ขนาด 1 เมตรคู่ขนานกันไปก่อนก็ได้จนกว่าจะเต็มพิกัดเกินกว่าจะรองรับได้ไหวจึงจะก่อสร้างขนาด 1.435 เมตรเพิ่มมาในภายหลัง"
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 121, 122, 123  Next
Page 15 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©