Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311328
ทั่วไป:13290342
ทั้งหมด:13601670
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 16, 17, 18 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 12/08/2014 2:36 am    Post subject: Reply with quote

เลิก”ไฮสปีดเทรน”ดัน”ทางคู่” เน้นประโยชน์ขนส่งทั้งคน-สินค้า
อีโคโฟกัส
ไทยโพสต์
จันทร์ 11 สิงหาคม 2557 10:15

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ และเศรษฐกิจให้มีการเติบโต สามารถที่จะแข่งขันกับนานาประเทศได้ ซึ่งในช่วงปลายเดือน ก.ค.2557 ที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาดังกล่าว จึงได้อนุมัติเดินหน้ายุทธศาสตร์ลงทุน โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมทั้งระบบ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 ซึ่ง นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการ ได้ระบุว่า

ต้องยอมรับว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศนั้นขาดการพัฒนามานานหลายปี และยังมีการลงทุนก็ต่ำในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการคมนาคมขนส่งมีเพียง 5-10% เท่านั้น และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จะได้จากปี 2555 จะเห็นว่าคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานของไทยถูกจัดอยู่อันดับที่ 61 ต่ำกว่าประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียซึ่งอยู่ในอันดับที่ 5 และ 25 ตามลำดับ ส่วนด้านคุณภาพ ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ไทยอยู่ในอันดับที่ 41 ส่วนสิงคโปร์และมาเลเซียอยู่อันดับที่ 7 และ 23 ตามลำดับ ด้านรถไฟไทยอยู่อันดับที่ 72 ต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซียอยู่ที่ 10 และ 18 ตามลำดับ ในทางกลับกันประเทศไทยกลับถูกจัดอยู่ในอันดับ 3 ของโลกที่มีอุบัติเหตุทางถนน 0 การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยเป็นอย่างไร

กรอบการดำเนินงานนั้นมุ่งเน้นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม การสร้างมาตรฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การสร้างโอกาสสำหรับการใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน เสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง โดยในระยะเร่งด่วนเน้นระบบรางและถนน เนื่องจากปัจจุบันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมไม่ทันต่อการขยายตัวของเมือง โรงงานอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย รวมถึงการขยายตัวของพื้นที่เมือง ส่งผลให้การขนส่งต้องใช้พลังงานมากขึ้นด้วย โดยแต่ละปีไทยสิ้นเปลืองเงินไปกับค่าพลังงานในภาคการขนส่งกว่า 700,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ระบบรางที่จะมาช่วยลดค่าใช้จ่ายก็ยังพัฒนาไม่เต็มที่ “เส้นทางถนนก็ต้องบำรุงรักษา ขยายโครงข่ายให้สมบูรณ์มากขึ้น ให้เป็นถนนสายหลัก 4 ช่องทางจราจรทั่วประเทศ ด้านทางรถไฟ ยังมีปัญหาการเดินทางไม่สะดวก การขนส่งสินค้ามีต้นทุนสูง ซึ่ง คสช.ได้ให้ความสำคัญในการขยายโครงข่ายรถไฟ หรือโครงสร้างทางถนนทั่วประเทศ จึงเป็นที่มาของการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 รวมระยะเวลา 8 ปี โดยระยะเร่งด่วน คือ การเชื่อมโยงโครงข่ายประตูการค้าระหว่างประเทศ เมืองหลัก และชายแดน โดยการพัฒนาท่าอากาศยาน ด่านการค้าชายแดน ท่าเรือ” นางสร้อยทิพย์ กล่าว

นอกจากจะเน้นการพัฒนาทางด้านรางแล้วยังมียุทธศาสตร์อะไรอีก
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ประกอบด้วย แผนพัฒนา 5 แผนงาน ได้แก่

1.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง
2.การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
3.การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
4.การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ
5.การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ กำหนดระยะเร่งด่วนปีงบประมาณ 2557-2558 เพื่อเชื่อมโยงประตูการค้าของประเทศ และพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินเชียงใหม่ สนามบินภูเก็ต และสนามบินอู่ตะเภาที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์

0 สำหรับแผนการพัฒนาโครงข่าวรถไฟเป็นอย่างไร
การพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ
1.การพัฒนารถไฟแนวทางใหม่ทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน หรือ สแตนดาร์ดเกจ 1.435 เมตร ระยะแรกจะเริ่มก่อสร้างใน 2 เส้นทางก่อน ซึ่งเป็นการต่อยอดจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาไว้ โดยกลับมาทบทวนแบบและใช้ความเร็วแค่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งทำให้สามารถขนทั้งคนและสินค้า และจะเป็นทางเชื่อมขึ้นไปทางเหนือ จีน ลาว และยังลงมาเชื่อมต่อทางมาเลเซียและสิงคโปร์ได้ โดยระยะเร่งด่วน คือ

1.เส้นทางหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด รวมระยะทาง 737 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 392,570 ล้านบาท เนื่องจากจะเป็นเส้นทางเชื่อมจากจีนตอนใต้ผ่านลาว และ

2.เส้นทางเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 655 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 348,890 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังคงเดินหน้าพัฒนารถไฟทางคู่ ที่เป็นทางรถไฟเดิมที่รางกว้าง 1 เมตร 6 เส้นทางระยะทางรวม 887 กิโลเมตร วงเงิน 127,472 ล้านบาท ทั้ง 6 เส้นทาง ได้แก่
1. เส้นทางชุมทางจิระ-ขอนแก่น วงเงิน 26,007 ล้านบาท
2.เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงิน 17,293 ล้านบาท
3.เส้นทางนครปฐม-หัวหิน วงเงิน 20,038 ล้านบาท
4.เส้นทางมาบกะเบา-นครราชสีมา วงเงิน 29,855 ล้านบาท
5.เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 24,842 ล้านบาท และ
6.เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 9,437 ล้านบาท โดยจะแล้วเสร็จภายในปี 2563 และจะสามารถแก้ปัญหาการเดินรถไฟที่คับคั่งในปัจจุบันเนื่องจากจะสามารถเพิ่มจำนวนการเดินรถได้จาก 268 เที่ยวต่อวัน เป็น 800 เที่ยวต่อวัน เมื่อเรามองภาพใหญ่ๆ เรามีรถไฟท้องถิ่น รับการขนส่งสินค้าทำให้ไม่แพง

0 ทำไมถึงยกเลิกโครงการรถไฟความเร็วสูง
การเปลี่ยนจากรถไฟความเร็วสูงมาเป็นรถไฟทางคู่ ส่วนหนึ่งมาจากจีนนั้นไม่ทำรถไฟความเร็วสูง แต่จะเป็นรถรถไฟที่มีความเร็วขนาด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแทน นอกจากนี้จากการประชุมร่วมกันของคณะฝ่ายเศรษฐกิจ กับกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เห็นตรงกันว่า จีนใช้รางมาตรฐาน เราก็ต้องปรับตัวให้ได้ โดยส่วนตัวมองว่าต้องมีแบบรองรับ หากเราเจริญเติบโตได้เราก็ไปได้ในประเทศเรา เราจัดตารางเดินรถในประเทศเราได้

นอกจากนี้ ในอนาคตเราจะมีรถไฟทางคู่บนเส้นทางเดิม และต้องปรับเป็นรถไฟฟ้า จึงออกแบบให้เป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด เหมือนกับมาเลเซีย เนื่องจากเรามีงบประมาณไม่เพียงพอ จึงต้องใช้ของเดิมที่มีอยู่ก่อน ตั้งเป้าว่ารถไฟสายใหม่จะเป็นรางมาตรฐานทั้งหมด ส่วนเหตุผลที่ใช้ความเร็วที่ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ได้มีการพูดคุยกัน เพื่อเป็นการขนส่งสินค้าได้ด้วย ถ้าความเร็วขึ้นที่ 200-250 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะทำให้การส่งส่งสินค้าแพงมาก ดังนั้นเราต้องทำให้คุ้มค้า กรณีที่เลี้ยวไปแหลมฉบัง แล้วกรณีสถานีบางซื่อเอาไว้ทำอะไร คนยังไม่เข้าใจ ซึ่งในส่วนของตรงนี้สถานีกลางบางซื่อก็ยังอยู่ แต่ขึ้นอยู่กับการออกแบบว่าจะเชื่อมกับทางคู่เดิมอย่างไร

0 รถไฟฟ้า 10 สายทางที่เคยวางแผนไว้ยังคงเดินหน้าต่อหรือไม่
ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ในส่วนของสายสำคัญๆ ที่อยู่ระหว่างประกวดราคา คือ สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ส่วนสายที่ประกวดราคาในปี 2558 คือสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี, สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ขณะนี้นำเสนอต่อ คสช.ไว้แล้ว

0 ด้านงบประมาณลงทุนจะเอามาจากไหน
ส่วนแนวทางในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่จะเข้ามาพัฒนาโครงการในระยะเร่งด่วนปี 2557-2558 ซึ่งจะมีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.เป็นประธาน โดยมีกรอบเวลาการทำงาน 30 วัน โดยคาดว่าซึ่งภายในเร็วๆ นี้จะได้ข้อสรุป และจะสามารถดำเนินการได้ในต้นปี 2558 และคาดว่าไม่เกิน 4 ปี โครงการจะเสร็จสิ้น

0 นอกจากโครงการเร่งด่วนเกี่ยวกับระบบรางแล้วจะมีโครงการอะไรอีก
ยังมีแผนโครงสร้างพื้นฐานรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษและด่านศุลกากร ซึ่งจะมีการสรุปรายละเอียดอีกครั้งในวันที่ 18 ส.ค.2557 นี้ โดยจะมีการพิจารณาแผนและลำดับความสำคัญการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แผนปรับปรุงด่านศุลกากร/ด่านชายแดน และแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมในพื้นที่พัฒนาและจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานมอบหมายให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ส.ค.นี้

“ตามแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมนั้น จะมุ่งเน้นการพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานทั้งบก น้ำ อากาศ ราง ให้เชื่อมโยงกับ 6 ด่านชายแดนอย่างสะดวก และต้องดูเรื่องการปรับปรุงด่านศุลกากร ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ด่าน ทั้งน้ำประปา ไฟฟ้า ให้ครอบคลุม รวมไปถึงการบริหารจัดการที่ด่าน ซึ่งในภาพรวมหน่วยงานของคมนาคมได้มีแผนโครงข่ายเชื่อมโยงแต่ละด่านไว้แล้ว และพร้อมดำเนินการทันที โดยเป้าหมายในปี 2557-2558 จะมีการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้สมบูรณ์ โดยพัฒนา 5 พื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพ ได้แก่ 1.ด่านแม่สอด จ.ตาก 2.ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว 3.ด่านหาดเล็ก (ท่าเรือคลองใหญ่) จ.ตราด 4.ด่านมุกดาหาร 5.ด่านสะเดา 6.ด่านปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ส่วนที่เหลืออีก 12 ด่านจะทยอยดำเนินการในระยะต่อไป“

และเพื่อให้การดำเนินงานโครงการต่างๆ มีความเชื่อมโยงกัน จึงจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรขึ้น โดยมีหน้าที่พัฒนาโครงข่ายพื้นฐานทั้งบก น้ำ อากาศ ราง ให้เชื่อมโยงกับ 6 ด่านชายแดนอย่างสะดวกแล้ว จะต้องดูเรื่องการปรับปรุงด่านศุลกากร ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ด่าน ทั้งน้ำประปา ไฟฟ้า ให้ครอบคลุม รวมไปถึงการบริหารจัดการที่
อย่างไรตาม นางสร้อยทิพย์กล่าวย้ำว่า ต้องการให้เห็นเป็นรูปธรรม ทุกขั้นตอนต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน และที่สำคัญประชาชนต้องได้ประโยชน์ โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่สายทางใหม่ 2 เส้นทาง เน้นว่ามีประโยชน์ จะช่วยขนส่งทั้งคนและสินค้า จะทำให้ค่าขนส่งถูกลง ก็ต้องรอดูกันว่ารถไฟที่ว่านี้เราจะได้ใช้กันตอนไหน.

//---------------------------------

เส้นทางรถไฟทางคู่ ปัจจุบันและอนาคต(ที่อนุมัติแล้ว)
รถไฟทางคู่ใหม่ 8 สาย REALIST BLOG
- สีดำ : เส้นทางรถไฟเดิมของประเทศไทย ทั้งที่เป็น ทางเดี่ยว ทางคู่ และทางสาม

- สีแดง : เส้นทางรถไฟทางคู่ใหม่ 6 เส้น ที่เป็นระบบ Meter Gauge รางกว้าง 1 ม. รองรับความเร็วประมาณ 90 กม./ชม.
(เดิมเป็นทางเดี่ยว อนุมัติให้สร้างเพิ่มอีกรางเป็นทางคู่ ) แล้วเสร็จ 2563

- สีน้ำเงิน : เส้นทางรถไฟทางคู่ใหม่ 2 เส้น ที่เป็นระบบ Standard Gauge รางกว้าง 1.435 ม. รองรับความเร็วประมาณ 160-250 กม./ชม.
โดยรถไฟที่จะนำมาใช้งานจะมีความเร็วประมาณ 160 กม./ชม.ในขั้นแรก ซึ่งต่อไปสามารถเปลี่ยนรถไฟเป็นความเร็วสูงได้
(บางเส้นทางเดิมเป็นทางเดี่ยว บางเส้นทางเป็นทางใหม่ โดยอนุมัติให้สร้างทางคู่ใหม่เพิ่ม) แล้วเสร็จ 2564

Info : สนข. / รฟท. & Prachachat Online (30 Jul 2014)


Last edited by Wisarut on 14/08/2014 9:06 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 12/08/2014 10:42 pm    Post subject: Reply with quote

สร้างคนพร้อมสร้างรถไฟฟ้า “รายงานวันจันทร์”-ถอดแบบเรียนระบบราง “เกาหลี, จีน”
โดย ทีมข่าว กทม.
ไทยรัฐ
11 สิงหาคม พ.ศ. 2557 05:30



ในโอกาสที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เตรียมจัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางของไทย ปี 2557 (Thailand Rail Academy Symposium) ครั้งใหญ่ในวันที่ 28–29 สิงหาคม 2557 นั้น เมื่อเร็วๆนี้ สวทน.ได้ระดมผู้เชี่ยวชาญเปิดเวทีเสวนา ทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้ยั่งยืนคุ้มค่าการลงทุน

ผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน ประกอบด้วย ดร.เยี่ยมชาย ฉัตรแก้ว อดีตรองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รฟม., ศ.ดร.วัลลภ สุระกำพลธร ผอ.สวทน., ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี ผอ.กองวิชาการ รฟม., ดร.เทิดเกียรติ ลิมปิทีปราการ สมาพันธ์วิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย และ ดร.ณัฐวุฒิ หลิ่วพิริยะวงศ์ ประธานวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรม ลาดกระบัง เสนอการแก้ปัญหา 5 ด้าน

1.ด้านการสร้างความรู้ กำลังคน และต่อยอดสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง

2.ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและเทคโนโลยี

3.ด้านบูรณาการพัฒนาเมืองที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมการเกษตร และการท่องเที่ยวตามเส้นทางระบบราง

4.ด้านส่งเสริมวิชาการวิศวกรรมขนส่ง

5.ต้องพัฒนาการวิจัยและการผลิตบุคลากร เช่น เกาหลี จีน ซื้อรถไฟไม่กี่ครั้ง เรียนรู้สร้างเอง จนส่งออกได้


สร้างคนพร้อมสร้างรถไฟฟ้า
ศ.ดร.วัลลภกล่าวว่า ยุทธศาสตร์พัฒนาการคมนาคมระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558-2565 วงเงินรวม 2.4 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 5 แผนงาน คือ 1.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง เป็นโครงการรถไฟรางคู่ 17 เส้นทาง 2.การพัฒนาโครงข่ายขนส่งรถไฟฟ้า 10 เส้นทางในกรุงเทพฯ 3.การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวง เพื่อเชื่อมประเทศสู่ประชาคมอาเซียน 4.การพัฒนาโครงข่ายทางน้ำ และ 5.การพัฒนาท่าอากาศยาน

ทว่า การพัฒนาประเทศไม่ใช่เพียงการจัดซื้อรถไฟหรือการก่อสร้างเท่านั้น แต่เราต้องมองถึงการผลิตกำลังคน เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้เพราะ “คน” เราต้องสร้างบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญทุกระดับเพื่อรองรับโครงการระบบขนส่งทางรางและคมนาคมในครั้งนี้

จากการศึกษาวิเคราะห์คาดว่า ความต้องการกำลังคนในอนาคต ปี 2563 มีจำนวน 31,000 คน ประกอบด้วย วิศวกร 6,000 คน ช่างเทคนิค 12,000 คน และเจ้าหน้าที่ประจำสถานี 13,000 คน ซึ่งการวางระบบในการพัฒนากำลังคนให้เกิดความรู้ความเชี่ยวชาญจะเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทย ต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในอนาคต เช่น การผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ เบาะ ตัวถัง วงจรไอที เป็นต้น อันทำให้เกิดการจ้างงานและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย รัฐควรกำหนดให้เมกะโปรเจกต์ใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในประเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัย ลดการนำเข้าและส่งเสริมการผลิตในประเทศ

ทั้งนี้ สวทน.เตรียมจัดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางของไทย ประจำปี 2556 (Thailand Rail Academy Symposium 2014) ภายใต้แนวคิด Rail Development For National Reform ในวันที่ 28-29 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เวทีระดับชาติด้านการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยี และนิทรรศการระบบขนส่งทางรางครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี โดยกลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมประชุมเป็นนักวิชาการ วิศวกร นักวิจัย นักพัฒนาเมือง และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมระบบราง ส่วนที่ 2 เป็นนิทรรศการ และเวที Rail Best Job Opportunity สำหรับนิสิต นักศึกษา ระดับ ปวส. และปริญญาตรี

สวทน.มีแผนงานในอนาคตที่จะจัดตั้งสถาบันวิชาการระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย (Thailand Rail Academy) ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน เชื่อมโยง ส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยความสะดวก เพื่อพัฒนาบุคลากร สร้างความเชี่ยวชาญ เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ และสั่งสมความรู้ความสามารถของประเทศด้านเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางให้ก้าวไกล เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ.
Back to top
View user's profile Send private message
srinopkun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010
Posts: 2877
Location: นครปฐม

PostPosted: 13/08/2014 8:09 am    Post subject: Reply with quote

..
Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44878
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/08/2014 9:14 am    Post subject: Reply with quote

เว็บไซต์ สวทน ครับ
http://www.sti.or.th/th/

ลงทะเบียนประชุมวิชาการได้ที่นี่ครับ
http://164.115.32.59/thaist/index.php?option=com_content&view=article&layout=edit&id=137
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 13/08/2014 11:03 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่ 'หนองคาย-มาบตาพุด' เปิดประตูสู่เอเซีย
Morning News
NOW26 TV
วันที่ 13 สิงหาคม 2557

Morning News ช่วง Zoom in : รายงานพิเศษ รถไฟทางคู่ "หนองคาย-มาบตาพุด" เปิดประตูสู่เอเซีย "
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44878
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2014 9:00 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ที่มา: Rail network key for urban planning, experts push for dual-track system
Nation 14 Aug 2014
Arrow http://www.nationmultimedia.com/national/Rail-network-key-for-urban-planning-experts-push-f-30240904.html
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2014 9:07 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะแหล่งเงินทุนโครงสร้างพื้นฐาน ของบฯกลางโปะถนน-เงินกู้สร้างรถไฟฟ้า-ทางคู่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
14 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 13:23:42 น.


คมนาคม ถก "บิ๊กจิน" เคาะแหล่งเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน "บก-ราง-น้ำ-อากาศ" 5 แหล่ง ของบฯกลางปีเพิ่มโปะถนน กู้ใน-ต่างประเทศถมรถไฟฟ้า-ทางคู่ ดึงเอกชนร่วมทุนระบบรถ ทางหลวงดันมอเตอร์เวย์ "บางปะอิน-โคราช" มูลค่ากว่า 8 หมื่นล้าน ด้าน กทพ.เตรียมทางด่วน 2 สาย ดันเข้ากองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

นาง สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้ประชุมร่วมกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเร่งรัดโครงการในยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของ ไทย โดยเฉพาะโครงการเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการในปี 2558 เพื่อหาข้อสรุปว่าแต่ละโครงการจะใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ นอกจากเงินงบฯ ประจำปีที่ได้รับจัดสรรปี 2558 วงเงิน 18,506 ล้านบาท

ส่วนใหญ่เป็น ค่าก่อสร้างถนน เวนคืนที่ดิน และศึกษาโครงการ เช่น ค่าเวนคืนรถไฟฟ้าสายสีเขียว สีชมพู สีส้ม สีเหลือง สายเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง รถไฟทางคู่ 5 สายเร่งด่วน ออกแบบสายใหม่ 6 สาย ก่อสร้างถนน 4 เลน เวนคืนมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด สร้างอู่จอดรถเมล์ NGV เป็นต้น

"ส่วนเงินค่าก่อสร้างส่วนที่เหลือ เช่น รถไฟฟ้า ทางคู่ มอเตอร์เวย์ จะมาจาก งบฯกลางปี เงินกู้ รายได้รัฐวิสาหกิจ ให้เอกชนลงทุนรูปแบบ PPP รวมถึงโครงการที่พร้อมแต่ไม่ได้งบฯปีྲྀ กองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง"

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า นอกจากเร่งรัดโครงการเร่งด่วนแล้ว ยังพิจารณายุทธศาสตร์ตลาดทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งทางเลือกแหล่งเงินลงทุนที่คมนาคมเตรียมไว้จะมาจาก 5 แหล่ง คือ

1.งบฯประจำปี เป็นโครงการของรัฐ เช่น ค่าศึกษาและเวนคืนรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้า ถนน 4 เลน ซ่อมถนน เวนคืนมอเตอร์เวย์ สร้างท่าเรือ บำรุงรักษาร่องน้ำ สถานีขนส่งสินค้า

2.เงินกู้ตาม พ.ร.บ.หนี้สาธารณะในประเทศและต่างประเทศ เป็นงานก่อสร้างโยธารถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และปรับปรุงทางรถไฟ จัดซื้อรถจักร รถโดยสาร รถโบกี้สินค้า ถนนที่ใช้เงินลงทุนสูง

3.รายได้และเงินกู้ รัฐวิสาหกิจ เช่น ขยายสุวรรณภูมิ เฟส 2 สนามบินดอนเมือง ภูเก็ต จัดซื้อเครื่องบินของ บมจ.การบินไทย พัฒนาท่าเรือชายฝั่งท่าเรือแหลมบัง

4.ให้เอกชนร่วมลงทุน เช่น ทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก สายกะทู้-ป่าตอง งานเดินระบบรถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช สายบางใหญ่-กาญจนบุรี

5.กองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยังไม่สรุปแต่อาจใช้กับโครงการที่มีรายได้ เช่น ทางด่วน มอเตอร์เวย์

นาย ชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า กรมมีถนนเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ 2 สาย จะใช้เงินกู้ 5,455 ล้านบาท ได้แก่ สายฉะเชิงเทรา-ลาดกระบัง 20.33 กม. 3,969 ล้านบาท สายองครักษ์-บางน้ำเปรี้ยว 1,486 ล้านบาท สายต่อเชื่อมราชพฤกษ์แนวเหนือ-ใต้ กว่า 6 พันล้านบาท

แหล่งข่าวจากกรมทางหลวงกล่าวว่า เตรียมจะหาเงินกู้ต่างประเทศ เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) สร้างมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช กว่า 7 หมื่นล้านบาท ส่วนการเวนคืนจะใช้งบฯปี 2559 จากทั้งหมดใช้เงินลงทุน 84,600 ล้านบาทขณะที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) อยู่ระหว่างศึกษานำทางด่วนบางสายเข้ากองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ด้าน นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า คสช.ได้เรียกให้เข้าพบเพื่อหารือและรับฟังข้อมูลช่องทางระดมทุนไปใช้ใน โครงการต่าง ๆ เบื้องต้นเตรียมเสนอรูปแบบการลงทุนหลายแนวทาง อาทิ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้สัมปทาน ให้เอกชนเข้ามาร่วมถือหุ้น เป็นต้น จะช่วยให้รัฐได้เม็ดเงินลงทุนและไม่ก่อให้เกิดหนี้สาธารณะ

"ทั้งหมด เป็นเพียงข้อเสนอที่สภาธุรกิจตลาดทุนไทยมีหน้าที่มาให้ข้อมูลรูปแบบการระดม ทุนต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อให้ คสช.นำไปพิจารณาตัดสินใจเอง ส่วนจะเลือกรูปแบบระดมทุนอย่างไร และใช้กับโครงการลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ คสช." นายไพบูลย์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44878
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2014 11:14 am    Post subject: Reply with quote

ไฟเขียวโครงสร้างพื้นฐานแสนล.
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 15 สิงหาคม 2557 10:51

"ประจิน"เคาะงบโครงสร้างพื้นฐานแสนล้าน ระยะเร่งด่วน เดินหน้าก่อสร้างรถไฟรางคู่ 2 เส้นทาง "จิระ-ขอนแก่น" และ "ประจวบฯ -ชุมพร" ขณะสศช.หวังเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังฟื้น จากการลงทุนภาครัฐ เตรียมนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวต่อคสช. เชื่อมโยงแผนพัฒนาฯฉบับ 12-13

คณะกรรมการยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง เคาะงบประมาณพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในปี 2558 วงเงินรวม 6.7 หมื่นล้านบาท ในขณะร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 จะเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในสัปดาห์หน้า แต่เมื่อรวมกับวงเงินที่เหลือในงบประมาณปี 2557 อีก 3.2 หมื่นล้าน รวมแล้วจะมีงบประมาณรวม 9.9 หมื่นล้านบาท

งบประมาณสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน เป็นไปตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เน้นไปที่ระบบรถไฟรางคู่ ถนนและขยายท่าอากาศยาน โดยตัดโครงการรถไฟความเร็วสูงออกไป

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการดังกล่าว ว่ามีมติอนุมัติแผนงานเร่งด่วนภายใต้งบประมาณปี 2558 จำนวน 6.7 หมื่นล้านบาท โดยจะใช้ในโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางบก ทางราง ทางน้ำ เช่น สร้างท่าเรือในแม่น้ำ รวมถึงการขยายท่าอากาศสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง

นอกจากนี้ ได้จัดงบสรรประมาณเพื่อศึกษาโครงการรถไฟทางคู่ระบบรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร บางส่วนใหม่ เพราะต้องมีการเปลี่ยนที่ตั้งของสถานีและแนวถนนที่จะมาเชื่อมต่อเพื่อให้สอดคล้องเป็นโครงข่ายเดียวกัน รวมถึงศึกษาถึงกระทบต่อการเวนคืนที่ดิน แต่ยังจะใช้เส้นทางเดิมที่เคยศึกษาไว้

ส่วนงบประมาณที่กระทรวงคมนาคมขอเพิ่มเติมอีก 5,000 ล้านบาท ในปี 2558 ยังต้องรอการแปรญัตติในที่ประชุมงบประมาณว่าจะได้หรือไม่ เพราะงบประมาณในปี 2558 มีจำนวนจำกัด ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาและจัดทำแผนแม่บท (Master plan) ของยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ ระหว่างปี 2558-2565 เพื่อนำมาเสนอในการประชุมอีก 2 ครั้ง โดยคาดว่าการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปลายเดือนนี้

ส่วนสาเหตุที่ลาออกจากคณะกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) เนื่องจากอยู่ในคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ(คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด ที่มีหน้าที่กำกับ ปรับปรุงโครงสร้างและกติกาของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งที่ผ่านมาได้ เมื่อวางพื้นฐานด้านกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ และแผนฟื้นฟูให้กับการบินไทยเรียบร้อย ก็ให้คณะกรรมการและผู้บริหารชุดใหม่รับช่วงต่อ จึงตัดสินใจลาออก ส่วนเป็นการลาออกเพื่อมารับตำแหน่งรัฐมนตรีหรือไม่นั้น พล.อ.อ.ประจิน ปฏิเสธว่า "ไม่ทราบ"

นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่าในปี 2558 รฟท. ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างรถไฟรางคู่ในเส้นทางเดิมจำนวน 2 เส้นทาง จากทั้งหมด 6 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น และเส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ส่วนอีก 3 เส้นทาง อยู่ระหว่างการของบประมาณเพิ่มเติม และอีก 1 เส้นทาง คือ หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์อยู่ระหว่างการออกแบบ

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าแผนโครงสร้างพื้นฐานเร่งด่วน เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า เป็นต้น ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปี 2558 จำนวน 6.7 หมื่นล้านบาท จากงบประมาณของกระทรวงคมนาคมทั้งสิ้น 1.4 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณที่เหลือในปี 2557 อีก 3.2 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 9.9 หมื่นล้านบาท งบประมาณดังกล่าวจะใช้เชื่อมโยงท่าเรือ ท่าอากาศสุวรรณภูมิ ด่านชายแดน 6 แห่ง และโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล

สศช.หวังงบภาคหนุนศก.ครึ่งปีหลัง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะต้องพึ่งพาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในหลายส่วน โดยเฉพาะการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐปี 2558 ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เร่งให้หน่วยงานต่างเบิกจ่ายงบประมาณตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2558 ขณะที่การท่องเที่ยว คสช.ให้ความสำคัญกับการสร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว และมีการกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยการยกเว้นวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนและไต้หวัน

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน คสช.ก็ได้แก้ไขอุปสรรคในการลงทุนเช่น การแก้ไขปัญหาการออกใบอนุญาต ร.ง.4 รวมทั้งการเร่งรัดการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รวมทั้งการติดตามให้ภาคเอกชนที่ได้รับการสนับสนุนมีการลงทุนตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้เม็ดเงินลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง

“ประเด็นทางด้านเศรษฐกิจที่จะต้องมีการเร่งแก้ไขและเสนอเป็นแผนงานให้กับรัฐบาลต่อไปในการดำเนินการได้แก่ การเร่งแก้ไขการส่งออกที่มีการขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนอีกเรื่องที่ต้องมีการเร่งรัดคือเรื่องการจัดตั้งพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษให้แล้วเสร็จ เนื่องจากขณะนี้ใกล้เวลาที่จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพิเศษซึ่งจะช่วยให้มูลค่าการค้าชายแดนขยายตัวได้ปีละ 20% ตามเป้าหมายที่วางไว้” นายอาคมกล่าว

เตรียมเสนอมาตรการศก.ระยะยาว

นายอาคมกล่าวต่อไปว่าขณะนี้ สศช.ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้า คสช. ให้รวบรวมข้อมูลและผลงานเกี่ยวกับมาตรการ และนโยบายเศรษฐกิจ ที่ คสช.ได้ดำเนินการมาตั้งแต่หลังวันที่ 22 พ.ค.2557 ที่ คสช.ได้เข้ามาบริหารประเทศ โดยหลังจากนี้ คสช.จะได้เตรียมที่จะนำเสนอแผนพัฒนาศักยภาพประเทศให้กับรัฐบาลซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12-13 ซึ่งหัวหน้า คสช.อยากเห็นการทำแผนพัฒนาฯที่ต่อเนื่องระยะยาว เพื่อให้การพัฒนาประเทศสามารถผลักดันนโยบายสำคัญด้านต่างๆได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว

นายอาคมกล่าวว่าสำหรับแผนพัฒนาศักยภาพประเทศจะเป็นโรดแมพระยะยาวคล้ายกับที่ สศช.เคยจัดทำวิสัยทัศน์ประเทศไทยปี 2027 ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาประเทศและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต ซึ่ง สศช.จะเสนอให้มีการพัฒนาศักยภาพประเทศโดยมุ่งเน้นใน 5 ประเด็น ได้แก่ 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อยกระดับการพัฒนาโลจิสติกส์และลดต้นทุนการขนส่งของผู้ประกอบการ

2. การพัฒนาข้อกฎหมาย กฎระเบียบและแก้ไขปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินการทำธุรกิจ 3.การพัฒนาคุณภาพของคน แรงงาน และผู้ประกอบการ 4.การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม การศึกษา วิจัยและพัฒนา และ 5.การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ทั้งการผลิตและภาคบริการที่ต้องมีการเพิ่มศักยภาพทุกกลุ่ม ทั้งอุตสาหกรรมการเกษตรและการแปรรูป อุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยสนับสนุนการรวมตัวของผู้ประกอบการในรูปแบบคลัสเตอร์

"โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำการตลาด และการโดยอาศัยการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการในการช่วยเหลือกันให้ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งห่วงโซ่การผลิตซึ่งจะได้ประโยชน์ร่วมกันมากกว่าการมุ่งแข่งขันระหว่างธุรกิจ"

เสนอตั้งกรรมการขีดแข่งขัน

นายอาคม กล่าวว่าสศช.ได้เสนอต่อ คสช.ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ชุดใหม่ให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย.2557เพื่อให้คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่โดยตรงในการผลักดันและพัฒนาอุตสาหกรรมในคลัสเตอร์ต่างๆ โดยคณะกรรมการชุดนี้อาจมี หัวหน้า คสช.หรือนายกรัฐมนตรี เป็นประธานก็ได้ โดยอาจมีการผลักดันบางคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพให้สำเร็จเป็นรูปธรรมก่อน เพื่อเป็นต้นแบบให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป เช่น คลัสเตอร์ยานยนต์และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ คลัสเตอร์เกษตกรกล้วยไม้ คลัสเตอร์ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

"การรวมตัวกันพัฒนาในรูปแบบคลัสเตอร์เป็นรูปแบบที่เราต้องการให้เกิดขึ้น เพราะการรวมตัวกันของผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีจะทำให้เกิดความเข้มแข็ง แต่ไม่ใช่ให้เกิดความเข้มแข็งเพื่อมีอำนาจต่อรองกับภาครัฐ แต่เป็นการรวมตัวเพื่อพัฒนาร่วมกัน ทำผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ และมีงานวิจัยมารองรับเพื่อให้เกิดการพัฒนา"นายอาคมกล่าว

ด้านนายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าปัจจุบันการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มีการรวมกลุ่มและช่วยเหลือกันในรูปแบบคลัสเตอร์เริ่มมีมากขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามภาคเอกชนต้องการข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลทางการตลาดและการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบคลัสเตอร์ควรจะดูกระแสความต้องการสินค้าและบริการของโลกด้วย เช่น ในขณะนี้กระแสการผลิตสินค้าและบริการเพื่อรองรับสังคมของผู้สูงอายุกำลังมีการเติบโต ก็ควรมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมนี้ขึ้นในประเทศไทยด้วยโดยเป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการที่มีความหลากหลาย เช่น โรงพยาบาล อาหารเพื่อสุขภาพ ยารักษาโรค การผลิตเสื้อผ้าสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2014 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

'ประจิน'ถกกรอบลงทุนคมนาคมงบ 58 วงเงิน 6.7 หมื่นล. จ่อเพิ่มอีก 5 พันล.
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
15 สิงหาคม 2557 01:28



"ประจิน" ถกวางกรอบโครงสร้างคมนาคม-ขนส่ง 4 ยุทธศาสตร์ 5 แผนงาน งบ 58 วงเงิน 6.7 หมื่นล้าน พร้อมเพิ่มอีก 5 พันล้าน แปรญัตติในสนช. เล็งปรับเปลี่ยนที่ตั้งสถานีรถไฟทางคู่-มาตรฐาน ไม่ให้กระทบเวนคืน...

เมื่อวันที่ 14 ส.ค. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ และรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคม ว่า ได้พิจารณากรอบโครงสร้างคมนาคมและขนส่งที่ได้รับมอบหมายจาก คสช. ทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ 5 แผนงาน โดยได้จัดทำแผนงานเร่งด่วนการใช้งบประมาณในปีงบประมาณ 58 วงเงิน 6.7 หมื่นล้านบาทที่จะพัฒนาทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านที่ได้ปรากฎในแผนยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ มีงบอีกจำนวน 5 พันล้านบาทที่จะใช้เพิ่มเติมในงบปี 58 ซึ่งต้องรอเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อแปรญัตติ

ขณะที่แผนแม่บทยุทธศาตร์คมนาคมและขนส่งระยะเวลา 8 ปี จะมีการพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติม โดยในส่วนโครงการทางคู่และรางมาตรฐานในเส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย- กรุงเทพ-มาบตาพุด อาจมีการปรับเปลี่ยนที่ตั้งสถานี เนื่องจากบางแห่งกระทบการเวนคืนและปรับการเชื่อมต่อทางถนน

ด้านน.ส.สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้หารือแผนงานเร่งด่วนที่จะเชื่อมการคมนาคมทั้งท่าเรือ สนามบินสุวรรณภูมิ ถนนที่เชื่อมต่อด่านชายแดน 6 ด่าน และโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑล รวมทั้งโครงการรถไฟทางคู่ 6 เส้นทางและรถไฟทางคู่รางมาตรฐานอีก 2 เส้นทางที่จะเร่งผลักดันดำเนินการในงบประมาณปี 58 จากงบประมาณในปี 58 ที่มี 1.4 แสนล้านบาท แบ่งออกมา 6.7 หมื่นล้านบาท รวมกับงบปี 57 ที่นำมาใช้ในแผนเร่งด่วนด้วยอีก 3.2 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ทันกับการพิจารณางบประมาณในปี 58.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2014 7:31 pm    Post subject: Reply with quote

"คมนาคม" ทุ่มแสนล้านเชื่อมเกตเวย์ เสริมแกร่ง "บก-ราง-น้ำ-อากาศ"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
15 สิงหาคท 2557 เวลา 14:55:31 น.

Click on the image for full size
นับถอยหลังถึงปลายปี 2558 เหลือเวลา 17 เดือนประเทศไทยจะเข้าสู่โหมดเสรีต้อนรับ "เออีซี-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" งานนี้ "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" สั่งเร่งระบบโครงสร้างพื้นฐานเสริมการค้าชายแดน ล้อไปกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัดที่ประกาศนำร่องไปก่อนหน้านี้
...

ลุ้นรถไฟเชื่อมด่านมุกดาหาร

"ด่านมุกดาหาร" ลงทุน 49,879 ล้านบาทมีถนน 4 ช่องจราจร ที่กำลังก่อสร้างมีสายกาฬสินธุ์-บ้านนาไคร้ ตอน 1 ระยะทาง 8 ก.ม. จะแล้วเสร็จ ต.ค.ปีหน้าในปี 2559-2561 ก่อสร้าง 3 สาย มีกาฬสินธุ์-อ.สมเด็จ ตอน 2 ระยะทาง 19 กม. 760 ล้านบาท, กาฬสินธุ์-นาไคร้-คำชะอี 107 กม. 5,400 ล้านบาท และหว้านใหญ่-ธาตุพนม 23 กม. 1,050 ล้านบาท อนาคตจะมีจุดพักรถบรรทุกที่ อ.คำชะอี รถไฟทางคู่สายใหม่ "บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม" 336 กม. ซึ่งกำลังศึกษาและออกแบบ จะเริ่มปี 2560 สร้างถนนเชื่อมอรัญฯ-เขมร

"ด่านอรัญประเทศ" จ.สระแก้ว ลงทุน 2,099 ล้านบาท มีเฉพาะโครงข่ายถนน 3 สาย ที่กำลังก่อสร้าง คือ ถนน 304 จากอ.พนมสารคาม-สระแก้ว ตอน 3 ระยะทาง27 กม. จะเสร็จต้นปี 2558 อีก 2 สายเริ่มก่อสร้างปี 2559 มีสายอรัญประเทศ-ชายแดนไทย-กัมพูชา 22 กม.1,340 ล้านบาท และสาย33 ช่วงท่าข้าม-หนองเอี่ยน 12 กม. 370 ล้านบาท

ท่าเรือคลองใหญ่ได้ใช้กล"งป"58

"ด่านคลองลึก" จ.ตราด ลงทุน 3,595 ล้านบาท มีท่าเทียบเรือคลองใหญ่ของ "กรมเจ้าท่า" จะแล้วเสร็จ ก.ค.ปีหน้า จะสร้างปี 2558 มี ถ.ตราด-หาดเล็ก ตอน 1 ระยะทาง 35 กม. 1,400 ล้านบาท ในปี 2559-2561 มี ถ.ตราด-หาดเล็ก ตอน 2 ระยะทาง 32 กม. 900 ล้านบาทจุดพักรถบรรทุกที่อ.เขาสมิง และรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร จากแหลมฉบัง-มาบตาพุด

ทุ่ม 7 หมื่นล้านหนุนไทย-มาเลย์

"ด่านสะเดา-ปาดังเบซาร์" จ.สงขลา ลงทุนรวม 74,710 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการในอนาคต เริ่มปี 2560 ไม่ว่ามอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่-สะเดา 64 กม.,รถไฟทางคู่ระบบไฟฟ้าหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ที่ได้งบฯศึกษาโครงการในปีหน้ายังมีจุดพักรถบรรทุกที่ อ.รัตภูมิ ท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 และท่าเรือน้ำลึกปากบาราและการพัฒนาสนามบินเบตง จ.ยะลา

ทั้งหมดเป็นแค่โครงข่ายเชื่อมประตูค้าชายแดน ยังไม่นับรวมประตูการค้าระหว่างประเทศที่จะพัฒนาสนามบิน 5 แห่ง ทั้งสุวรรณภูมิเฟส 2 ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ อู่ตะเภา ควบคู่พัฒนาท่าเรือชายฝั่งแหลมฉบังมาเสริมทัพหน้า เชื่อมโยงการค้าของประเทศไทยไปไกลทั่วโลก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 16, 17, 18 ... 121, 122, 123  Next
Page 17 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©