Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274177
ทั้งหมด:13585473
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 28, 29, 30 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/12/2014 7:48 pm    Post subject: Reply with quote

การทูตว่าด้วย 'รถไฟ'จากปักกิ่งสู่ 'โตเกียว'

โดย : นครินทร์ ศรีเลิศ Bank_tennis@hotmail.com
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 29 ธันวาคม 2557 01:00

พลันที่การเลือกตั้งเมื่อกลางเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ในประเทศญี่ปุ่นเสร็จสิ้นลงด้วยชัยชนะของ นายชินโซ อาเบะ พรรค LDP และพรรคร่วมรัฐบาลยังคงครองเสียงข้างมากในสภาฯไว้ได้

กำหนดการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ถูกกำหนดขึ้นคร่าวๆ ว่าจะมีขึ้นในเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้

ระหว่างนี้คณะทำงานของกระทรวงต่างประเทศทั้งสองประเทศ กำลังทำงานร่วมกันในการกำหนดรายละเอียด ในการพูดคุยระหว่างรัฐบาลสองประเทศ เป็นที่คาดหมายว่าในการเดินทางไปญี่ปุ่นของพล.อ.ประยุทธ์และคณะในครั้งนี้ จะมีการหยิบยกประเด็นความร่วมมือ ในการพัฒนาเส้นทางรถไฟในประเทศไทยเพิ่มเติม ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้ไทยกับจีนได้มีการลงนาม MOU ในการพัฒนาเส้นทางรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตรเส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด และช่วงแก่งคอย-กรุงเทพฯ ไปก่อนหน้านี้

รวมทั้งได้รับการยืนยันจากพล.อ.ประยุทธ์ หลังจากกลับจากเยือนปักกิ่งอย่างเป็นทางการว่ารถไฟทางคู่ที่ลงนามกับจีน จะได้ก่อสร้างในรัฐบาลนี้อย่างแน่นอน

“การเซ็นความร่วมมือในครั้งนี้จะไม่เหมือนครั้งก่อนๆ เซ็นแล้วได้สร้าง ผมคุยกับทางจีนแล้วจะลงทุนร่วมกัน แล้วแบ่งปันผลประโยชน์ก็ได้ แต่ประเทศไทยต้องเป็นฝ่ายบริหารโครงการ”

เป็นที่เปิดเผยในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ที่เพิ่งจบลงไป โดยอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคมบอกว่าญี่ปุ่นแสดงความสนใจที่จะเข้ามาร่วมศึกษาและลงทุนรถไฟ 3 เส้นทางได้แก่
1. เส้นทางพุน้ำร้อน กาญจนบุรี-ระยอง
2. เส้นทางแม่สอด จ.ตาก-มุกดาหาร และ
3. เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

คนในกระทรวงคมนาคมกระซิบว่าเส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ จีนก็ให้ความสนใจเช่นกันเนื่องจากเชื่อมต่อไปยังเชียงของ จ.เชียงราย และเชื่อมต่อไปยังเมืองคุนหมิงทางตอนใต้ของจีนได้อีกเส้นทางหนึ่ง

ขณะที่เส้นทางรถไฟที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจ เป็นเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East -west economic corridor) ซึ่งเป็นเส้นทางการพัฒนาตามแนวระเบียงเศรษฐกิจที่ญี่ปุ่น มีข้อมูลอยู่พอสมควรจากการศึกษาของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่มีบทบาทอย่างสูงในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะเส้นทางกาญจนบุรี - ระยอง ที่จะเชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่งบริเวณอีสเทิร์นซีบอร์ดและท่าเรือน้ำลึกฯทวาย

ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ญี่ปุ่นให้ความสนใจมาตลอดตั้งแต่มีการศึกษาเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูงในรัฐบาลก่อน

ต่อจากนี้บทบาทของจีนในอาเซียนและในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพื้นที่นี้อยู่ในแผนการขยายเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน ที่จะเปิดทางออกสู่ทะเลมากขึ้นล่าสุดในที่ประชุม GMS จีนก็ประกาศให้การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเบื้องต้น 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และประเทศต่างๆ สามารถขอการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนเส้นทางสายไหมที่จีนลงขันก่อตั้งกว่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นที่คาดหมายว่าเมื่อการจัดตั้งธนาคารโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) แล้วเสร็จ ก็จะเข้ามามีบทบาทในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคนี้มากขึ้น

น่าสนใจว่าประเทศไทยจะรักษาดุลยภาพแห่งความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับสองประเทศนี้ไว้อย่างไร หากเจรจาเรื่อง “รถไฟ” เป็นไปด้วยความราบรื่นบนผลประโยชน์ที่ไทย -ญี่ปุ่น-จีนจะได้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นที่พอใจไม่ว่าจากทางมุมมองของ “ปักกิ่ง” หรือ “โตเกียว” โครงการสามารถเดินหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรม

ประวัติศาสตร์ต้องบันทึกว่าเป็นความสำเร็จในแบบฉบับ “การทูตว่าด้วยรถไฟ” ในสมัยรัฐบาลประยุทธ์
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2015 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับแผนรถไฟฟ้า-แอร์พอร์ตลิงก์ ชง ครม.ทำคลอดลงทุน 2 แสนล้านใน ก.พ.58
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มกราคม 2558 08:43 น.

“ประจิน” ยันลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 3 ล้านล้านโปร่งใส ยุคนี้ไม่มีระบบจัดสรรแบ่งส่วน เร่งตรวจสอบพวกอ้างชื่อส่งศาลเชือด เตรียมส่งศาลฟัน 2-3 คดี ปลื้มผลงาน 3 เดือนคลอดยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 8 ปี และ MOU รถไฟไทย-จีน แต่ยอมรับภาพรวมผลงานยังต่ำจาก KPI ที่กำหนด ขับแผนรถไฟฟ้าสายสีส้ม, ชมพู, เหลือง และแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย วงเงินลงทุนกว่า 2 แสนล้าน ชง ครม.อนุมัติจาก ม.ค.เป็น ก.พ.58

ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย 8 ปี พ.ศ.2558-2565 วงเงินรวมประมาณ 3 ล้านล้านบาทที่แล้วเสร็จ ถือเป็นการทำงานในรอบ 3 เดือนที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า พอใจเพราะเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรม เนื่องจากมีการทำข้อตกลงในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟไทย-จีน โครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กิโลเมตร และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร ซึ่งหวังว่าจะมีความร่วมมือในลักษณะนี้กับประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป ตามมา

ในขณะที่ผลงานรอบ 3 เดือนในภาพรวมนั้น พล.อ.อ.ประจิน ประเมินว่า การทำงานยังล่าช้ากว่าแผน หากวัดตาม KPI ที่ตั้งไว้ที่ 75% ทำงานได้จริงผลออกมาเพียง 65% ซึ่งก็ถือว่าตก และจะเร่งแก้ไขเพราะทุกกระทรวงต้องแข่งกันทำงาน

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า โครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมมีเม็ดเงินลงทุนค่อนข้างมาก ซึ่งขอยืนยันถึงความโปร่งใส และการมีส่วนร่วม โดยเงินลงทุนของกระทรวงคมนาคมจะไม่มีการจัดสรรให้ใคร ให้ข้าราชการทำงานอย่างเต็มที่ เจรจาต่อรองให้เกิดประโยชน์กับภาครัฐ ส่วนเงินที่เหลือ ให้นำไปใช้ในโครงการที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ยุคนี้ไม่ต้องห่วงว่าจะเอาเงินไปให้ใครซึ่งกำลังจะมีการดำเนินคดีเพื่อเป็นตัวอย่างต่อบุคคลที่อ้างชื่อรัฐมนตรี 2-3 คดี เพราะมีข้อมูลจากสายข่าวว่า มีคนแอบอ้างชื่อรัฐมนตรีว่า หากต้องการได้งานให้จ่ายเงินจะประสานให้ ซึ่งกำลังตรวจสอบ และจะดำเนินการแน่นอน ดังนั้น ใครมีหลักฐานส่งมาได้เลยเพราะทำให้เสียชื่อ

โดยในปี 2558 กระทรวงคมนาคม มีแผนงานระยะเร่งด่วน วงเงินรวม 55,986.64 ล้านบาท ทั้งโครงการทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งยอมรับว่าขั้นตอนการในดำเนินงานที่กำหนดไว้ว่าจะเริ่มในช่วงเดือนธันวาคม 2557-เดือนเมษายน 2558 จะล่าช้าไปประมาณ 1 เดือน แต่จะเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการในปี 2558 ให้แล้วเสร็จตามแผนได้แน่นอน โดยโครงการรถไฟฟ้าที่จะต้องเลื่อนเวลาเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการล่าช้าไปอีก 1 เดือน จากกำหนดการเดิมเดือนมกราคม เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เนื่องจากอยู่ระหว่างที่คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ (รฟม.) กำลังพิจารณา คือ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.20 กม.วงเงิน 110,325.76 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กม. วงเงิน 54,644 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 56,691 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 31,103.55 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2562 โครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 38,954.85 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2561 อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคม

ส่วนที่จะนำเสนอ ครม.ขออนุมัติได้ภายในเดือนมกราคม 2558 คือ การขอขยายกรอบวงเงินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต) จำนวน 8,140 ล้านบาท สัญญาที่ 1 จำนวน 4,315 ล้านบาท สัญญาที่ 2 จำนวน 3,352 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 จำนวน 473 ล้านบาท เพื่อปรับแบบให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรางรองรับระบบรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ซึ่งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ดเห็นชอบแล้ว และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 84,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นเส้นทางที่ประชาชนมีความต้องการ และมีแบบเล้ว ส่วนการเวนคืนที่ดินนั้นจะดำเนินการชดเชยโดยให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด

สำหรับแผนปฎิบัติการระยะเร่งด่วน 2558 วงเงินรวม 55,986.64 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็นการขนส่งทางบก วงเงิน 21,937.60 ล้านบาท หรือ 39.18% ขนส่งทางราง วงเงินรวม 27,000.32 ล้านบาท หรือ 48.23% แบ่งเป็นรถไฟทางคู่ วงเงิน 9,219.49 ล้านบาท รถไฟขนส่งมวลชน วงเงิน 17,780.83 ล้านบาท ขนส่งทางน้ำ วงเงิน 2,206.07 ล้านบาท หรือ 3.94% ขนส่งทางอากาศ วงเงิน 4,831.47 หรือ 8.63% (ไม่รวมการลงทุนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) และการเชื่อมต่อโครงข่าย กทม.และปริมณฑล วงเงิน 11.18 ล้านบาท หรือ 0.02% โดยแหล่งเงินลงทุนแบ่งเป็น จากงบประมาณ 19,458.56 ล้านบาท (34.76%) แผนบริหารหนี้สาธารณะ 26,424.88 ล้านบาท (47.20%) รายได้รัฐวิสาหกิจ 6,286.58 ล้านบาท (11.23%) การร่วมทุนภาคเอกชน (PPPs) 3,816.62 ล้านบาท (6.82%)

ทั้งนี้ เป้าหมายจากการลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย 8 ปี มี 13 ประเด็น เช่น ต้นทุนลอจิสติกส์ต่อ GDP ลดลงไม่น้อยกว่า 2% จากปัจจุบันที่ 14.4% การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลลดลงจาก 59% เหลือ 40% ความเร็วเฉลี่ยรถไฟขนส่งสินค้าเพิ่มจาก 39 กม./ชม.เป็น 60 กม./ชม. ขบวนรถโดยสารเพิ่มจาก 60 กม./ชม.เป็น 100 กม./ชม. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มจาก 2.5% เป็น 5% สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำเพิ่มจาก 15% เป็น 19% ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลงลงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี เพิ่มปริมาณผู้โดยสารรถไฟจาก 45 ล้านคน/ปีเป็น 75 ล้านคน/ปี เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2015 1:55 am    Post subject: Reply with quote


ทีดีอาร์ไอเป็นห่วงเรื่องรถไฟเชื่อมกะจีน - ที่เป็นห้วงก็เพราะว่ามีการออกใบปลิวที่ต้องเสียเงินซื้อที่ร้านนายอินทร์ให้งดทำทางคู่ราง 1 เมตร ให้หมด
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=dN23MMy7kp4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2015 2:37 am    Post subject: Reply with quote

เจาะลึกแผนคมนาคม ปี 58 "ออร์เดิร์ฟ"ก่อนถึง"3ล้านล้าน"
หน้า 8 ข่าวสดรายวัน
ปีที่ 24 ฉบับที่ 8801
วันที่ 02 มกราคม พ.ศ. 2558

ในปี 2557 กระทรวงคมนาคม ถือว่าเป็นหนึ่งในกระทรวงหลักที่มีบทบาทอย่างมาก ชื่อ "พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง" รมว.คมนาคม แทบจะโผล่ออกสื่อมากที่สุด เป็นรองแค่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเท่านั้น



เนื่องจากรัฐบาลประกาศเดินหน้าโครงการโครงสร้างพื้นฐาน "3 ล้านล้านบาท" ทั้งทางบก-ราง-เรือ และอากาศ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ในความดูแลของกระทรวงคมนาคมทั้งสิ้น



โครงการนี้แปลงร่างมาจาก "2 ล้านล้าน" ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่มีการปรับเปลี่ยน-เพิ่มเติมบางส่วนและด้วยความที่โครงการมีมูลค่าสูงถึง 3 ล้านล้าน ถือว่าเป็นแผนระยะยาวทำให้กระทรวงคมนาคมต้องวางแนวทาง "เร่งด่วน" เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ด้วยงบลงทุน 68,970 ล้านบาท เรียกว่าเป็น "ออร์เดิร์ฟ" ก่อนจานหลักนั่นเอง

เจาะโครงการ 68,970 ล้านบาท

แผนปฏิบัติการการลงทุนระยะเร่งด่วนในปี 2558 มีวงเงินลงทุน 68,970 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 4 ด้าน



1.ทางถนน วงเงิน 20,860 ล้านบาท เฉลี่ย 30.25%



2.ทางราง วงเงิน 21,500 ล้านบาท เฉลี่ย 31.18% แยกย่อยออกเป็นงบฯ รถไฟทางคู่ วงเงิน 9,249 ล้านบาท และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน วงเงิน 12,200 ล้านบาท



3.ทางน้ำ วงเงิน 2,200 ล้านบาท และ 4.ทางอากาศ วงเงิน 24,300 ล้านบาท เฉลี่ย 35.37%



ส่วนของระบบราง จะเร่งรัดให้เปิดประกวดราคารถไฟทางคู่ ขนาดความกว้าง 1 เมตร จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร, ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร



เร่งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร และนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร



รวมทั้งจะมีการเร่งศึกษาออกแบบรายละเอียด อีก 8 เส้นทาง



ระบบรางทั้งในกรุง-ตจว.



ส่วนรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (ไฮสปีดเทรนเดิม) ในปี 2558 จะเร่งดำเนินการศึกษาทบทวน ออกแบบกรอบรายละเอียด และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เส้นทางหนองคาย-ขอนแก่น-นครราชสีมา-แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด



สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และนครราชสีมา-มาบตาพุด จะทบทวน ปรับแบบกรอบรายละเอียดรวมทั้งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม



เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เตรียมขออนุมัติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ระยะทาง 193 กิโลเมตร และเส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย เร่งศึกษาออกแบบกรอบรายละเอียด



หันมาดูการพัฒนาระบบรางในเขตเมืองหลวงและปริมณฑล การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือรฟม. จะเร่งรัดโครงการและเตรียมการประกวดราคารถไฟฟ้าจำนวน 8 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง 1.รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร 2.รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร



3.รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กิโลเมตร 4.รถไฟฟ้า เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร 5.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก, สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.5 กิโลเมตร และ 6.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 กิโลเมตร



7.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร และ 8.เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.40 กิโลเมตร



พัฒนาถนน 5 เส้นทางหลัก



แผนลงทุนทางถนนปี 2558 จะมีการพัฒนาทางหลวงสายหลักๆ สำคัญดังนี้ เร่งจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อการก่อสร้างทางหลวง พิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2558 เรียบร้อยแล้ว, เร่งรัดก่อสร้างขยายทางหลวง 4 ช่องจราจร 5 เส้นทางสำคัญ ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2558



ได้แก่ เส้นทาง 1.ทล.304 อำเภอกบินทร์บุรี-อำเภอวังน้ำเขียว 2.ทล.304 กบินทร์บุรี-อำเภอปักธงชัย 3.ทล.4 กระบี่-อำเภอห้วยยอด 4.ทล.3138 อำเภอบ้านบึง-อำเภอบ้านค่าย และ 5.ทล.314 อำเภอบางปะกง-ฉะเชิงเทรา ตอน 2



เริ่มงานก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง 1.ทล.212 อำเภอโพนพิสัย-บึงกาฬ ตอน 2.ทล.12 ตาก-แม่สอด ตอน 3 3.ทล.12 กาฬสินธุ์-อำเภอสมเด็จ ตอน 2 และ 4.ทล.3 ตราด-หาดเล็ก ตอน 2



ส่วนการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ จะดำเนินการเร่งรัด 4 โครงการ ได้แก่ 1.เริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ท่าเรือแหลมฉบัง, 2.พัฒนาศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ระยะที่ 1) 3.ศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ หรือ Cruise จ.กระบี่ และอ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 4.เพิ่มประสิทธิภาพขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสัก โดยก่อสร้างระบบป้องกันตลิ่งเพื่อพัฒนาร่องน้ำทางเดินเรือ (ระยะที่ 1)



จัดหนักสนามบินสุวรรณภูมิ



ด้านการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการขนส่งทางอากาศในปี 2558 จะทบทวน สำรวจ ออกแบบ และก่อสร้าง ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย 1.ทางวิ่งสำรองด้านทิศตะวันตก ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2.งานระบบพื้นที่ปฏิบัติการด้านการบิน จะดำเนินการทบทวนวงเงินงบประมาณให้มีความเหมาะสม



3.งานอาคารที่พักผู้โดยสารอเนกประสงค์ พร้อมสะพานเทียบ เครื่องบิน ลานจอดอากาศยาน ระบบขนส่งผู้โดยสารเพื่อเชื่อมกับอาคาร ผู้โดยสารหลัก 4.งานระบบสาธารณูปโภค (ระบบไฟฟ้า ประปา และระบบบำบัดน้ำเสีย)



สำหรับสนามบินภูมิภาคจะเร่งดำเนินการก่อสร้างขยายท่าอากาศยานภูเก็ต และพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา



แผนงานสุดท้ายที่กระทรวงคมนาคมจะเริ่มดำเนินการปี 2558 คือการเร่งรัดจัดซื้อรถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ เอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน โดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบรถปรับ อากาศล็อตแรกภายในต้นปี 2558


Last edited by Wisarut on 07/01/2015 12:04 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2015 1:47 am    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์รถไฟไทย-จีน ดึงอิตาเลียนฮุบเริ่มสร้างปี58

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 มกราคม 2558 เวลา 12:23:08 น.


รัฐบาล จีนเสนอแผนลงทุนสร้างรถไฟไทย-จีน เส้นทาง "หนองคาย-มาบตาพุด" ยกแพ็กเกจ ชงเงินกู้ "ไชน่าเอ็กซิมแบงก์" ดอกเบี้ย 3% ยาว 30-40 ปี พ่วงรับเหมาจีน 3 บริษัท "ไชน่าเรลเวย์-ไชน่าพาวเวอร์-ซีเคซีซี" นำทีมลุยก่อสร้าง ซุ่มเจรจา "อิตาเลียนไทย-เอ.เอส." ดึงเข้าร่วม "เปรมชัย" มั่นใจได้งานเกินครึ่ง "บิ๊กจิน-บิ๊กตู่" ลั่นคิกออฟ ธ.ค. 58 เป็นของขวัญคนไทย ดีเดย์ ก.พ. เตรียม 3 เส้นหารือญี่ปุ่น ด้าน "หม่อมอุ๋ย" ติงใช้เงินกู้ ตปท.หวั่นเสี่ยง

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า อีก 10 เดือนจากนี้ไป หรือประมาณเดือน ต.ค. 2558 แผนลงทุนก่อสร้างรถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ 133 กม. ซึ่งรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนลงนามความร่วมมือ (MOU) แบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) จะได้ข้อสรุปเป็นทางการ จากนั้นวันที่ 1 ธ.ค. 2558 จะเดินหน้าก่อสร้าง



เบื้องต้นประเมินงบฯลงทุนไว้ 392,570 ล้านบาท อาจเพิ่มหรือลดลงกว่านี้บ้าง แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ช่วง ได้แก่ 1.หนองคาย-โคราช 2.โคราช-แก่งคอย 3.แก่งคอย-ระยอง และ 4.แก่งคอย-กรุงเทพฯ เพื่อให้รับกับการเวนคืนที่ดินซึ่งอาจจะมีอุปสรรค แต่จะเร่งรัดให้เร็วขึ้น เพราะคณะทำงานที่ตั้งขึ้นจากหลายภาคส่วน เช่น ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัดที่โครงการตัดผ่าน นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค จะร่วมกันทำงานและชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

กู้เงินจนพ่วงขายข้าว-ยางใช้หนี้

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ส่วนรูปแบบการลงทุนยังไม่สรุป แต่ที่หารือกันจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้างและหาเงินลงทุนให้ ส่วนที่เหลือจะทำงานร่วมกันทั้งการออกแบบ สำรวจเส้นทาง ประมาณราคา จัดหาระบบเทคนิค โดยใช้ของจีนเป็นหลัก ขณะที่การบริหารโครงการจะเป็นของรัฐบาลไทย

"ต้องกู้เงินจีนเป็นเงินสกุลหยวน ซึ่งธนาคารของจีนเสนอให้พิจารณาหลายออปชั่น เช่น แบงก์แห่งหนึ่งเสนอกู้แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3% ระยะเวลาชำระหนี้ 20 ปี อีกรายเสนอให้กู้ 2 แสนล้านบาท ดอกเบี้ย 2.9% ระยะเวลาชำระหนี้ 15 ปี เป็นต้น มาดูว่าแบบไหนเหมาะสมกับไทยจากนั้นจะต่อรอง เพราะดอกเบี้ยกู้ในประเทศปัจจุบันอยู่ที่ 5-5.5% เมื่อจีนคิดดอกเบี้ย 3% จึงน่าสนใจ อย่างไรก็ตามคงต้องต่อรองขยายเวลาชำระหนี้คืน เพราะ 10 ปี หรือ 15 ปีอาจไม่พอ"

ส่วนเงินลงทุนอาจได้มาจากการขายข้าวและยางพาราที่เซ็น MOU ไปพร้อมกัน แต่ไม่ใช่การบาร์เตอร์เทรด เพราะเซ็นคนละฉบับ และเป็นเงินคนละส่วนกัน ทั้งนี้ รถไฟสายนี้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ของ 2 ประเทศที่จะเชื่อมโยงกัน เพื่อขนส่งสินค้าจากจีน ผ่านลาว มาไทย ที่ท่าเรือแหลมฉบัง

ไชน่าเอ็กซิมฯให้กู้ 40 ปี ดบ. 3%

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ความคืบหน้ารถไฟไทย-จีนราง 1.435 เมตร เส้นทางอีสาน ล่าสุดรัฐบาลจีนเสนอใช้รูปแบบเทิร์นคีย์ โดยจีนจะหาเงินลงทุน ออกแบบรายละเอียด และก่อสร้าง โดยให้ไชน่าเอ็กซิมแบงก์เป็นผู้ปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ย 3% ระยะเวลา 30-40 ปี คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี ใช้เงินลงทุนปีละกว่า 1 แสนล้านบาท

ด้านการก่อสร้างจะให้บริษัทผู้รับเหมาไทยเป็นผู้ก่อสร้าง โดยร่วมกับผู้รับเหมาจีนที่ถูกคัดเลือกไว้เรียบร้อยแล้ว เป็นบริษัทที่รัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้น เนื่องจากจีนจะไม่มีแรงงานก่อสร้าง มีแต่ผู้เชี่ยวชาญ ต้องใช้แรงงานจากไทย และเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่รัฐบาลไทยระบุไว้ว่าต้องใช้ผู้รับเหมาไทย

"ขณะนี้กำลังทำแบบรายละเอียดโครงการให้ได้ราคาก่อสร้างที่เหมาะสม เดิมเคยประมาณการลงทุนไว้ 392,570 ล้านบาท คาดว่าแบบรายละเอียดจะรวดเร็ว เพราะแบบเดิมมีอยู่แล้ว จากผลศึกษาระบบรถไฟความเร็วสูง แต่มาปรับใหม่ให้มีความเร็ว 180 กม./ชม. ซึ่งรถไฟสายนี้รัฐบาลให้ความสำคัญมาก และพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น"

3 ยักษ์รับเหมาจีนจีบ ITD

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทได้รับการติดต่อจากผู้รับเหมาจีน 3 ราย ได้แก่ บริษัท ซีเคซีซี, บริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป (ซีอาร์อีซี) และบริษัท ไชน่า พาวเวอร์ ให้ร่วมงานก่อสร้างรถไฟที่รัฐบาลไทยและจีนจะพัฒนาร่วมกัน จากการหารือร่วมกัน จีนมั่นใจว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นได้แน่ในรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากรัฐบาลจีนจัดเงินลงทุนไว้ให้แล้ว ดอกเบี้ย 3% ให้ผ่อนชำระ 30-40 ปี แค่รอการตอบรับจากรัฐบาลไทยว่าจะรับเงื่อนไขที่จีนเสนอหรือไม่

"จากที่ได้หารือกัน ผู้รับเหมาจีนจะลงทุนสร้างพร้อมกันทั้งเส้นให้แล้วเสร็จใน 3-4 ปี รัฐบาลจีนอยากจะให้โครงการเกิดเร็ว ๆ เพราะจะเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงที่นครเวียงจันทน์ประเทศลาว ซึ่งจีนสร้างลงมาจากคุนหมิง"

นายเปรมชัยกล่าวว่า สำหรับรถไฟสายนี้บริษัทมั่นใจจะได้งานก่อสร้างเกิน 50% ของเนื้องาน เนื่องจากบริษัทมีประสบการณ์ก่อสร้างทางรถไฟกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มาร่วม 20 ปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่จึงอาจต้องใช้รับเหมาไทยหลายบริษัทร่วมก่อสร้าง ทราบว่านอกจากอิตาเลียนไทยฯแล้ว รับเหมาจีนได้ติดต่อ บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอ็นจิเนียริ่ง (1964) ด้วย

บิ๊กตู่มอบเป็นของขวัญปี 58

ด้านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า การไปเยือนจีนครั้งที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับจีนที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก และในปี 2558 จะเป็นปีที่ครบรอบ 40 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน พร้อมทั้งได้ยืนยืนว่ารัฐบาลจะเดินหน้าลงทุนโครงการแน่นอน เพื่อพัฒนาการคมนาคมขนส่งของประเทศให้ทันสมัยจะได้เชื่อมโยงกับประเทศอาเซียน เพราะไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค

ทั้งนี้คณะกรรมการร่วมของทั้ง 2 ฝ่ายจะเร่งหารือรายละเอียดโครงการตั้งแต่เดือน ม.ค.นี้เป็นต้นไป เพื่อทำความเข้าใจ หากกฎกติกาการค้า การร่วมลงทุนต่าง ๆ ให้เสร็จโดยเร็วเพื่อดำเนินการก่อสร้างเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทยในปี 2558

นอกจากนี้ยีงขอให้จีนสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความพร้อมของไทยที่จะเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์ควบคุมระบบรถไฟในภูมิภาค รวมทั้งตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการรถไฟ

ขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ มองว่าไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งเงินกู้ที่จีนจัดหาให้ก่อสร้างรถไฟสายนี้ เนื่องจากเป็นเงินตราต่างประเทศ มีความเสี่ยง นึกว่าถูกอาจจะกลายเป็นแพง จึงต้องพิจารณาให้ดี ซึ่งไทยมีทางเลือก เพราะขณะนี้ประเทศไทยมีเงินอยู่มากและดอกเบี้ยก็ถูก เงินไม่ใช่ประเด็น และการเซ็น MOU เป็นแค่การตกลงพัฒนาร่วมกัน

เปิดปูม 3 รับเหมาจีน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบผู้รับเหมาจีน 3 บริษัท พบว่า 1.บริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป (CREC) ก่อตั้งเมื่อ 12 ก.ย. 2550 ด้วยทุนจดทะเบียน 1.28 หมื่นล้านหยวน ถือหุ้น 100% โดย CRECG (China Railway Engineering Corporation Group) รัฐวิสาหกิจจีน ทำธุรกิจการก่อสร้างแบบครบวงจร ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สำรวจ ออกแบบ และเป็นที่ปรึกษาโครงการ อีกทั้งผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ด้านวิศวกรรม รวมถึงนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีบริษัทลูก 46 แห่ง มีส่วนร่วมก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายสำคัญในจีนทุกสาย ระยะทางมากกว่า 50,000 กม. คิดเป็น 2 ใน 3 ของระยะทางรถไฟที่เปิดใช้งานในจีนแผ่นดินใหญ่

2.บริษัท ไชน่า พาวเวอร์ อินเวสต์เมนต์คอร์ปอเรชั่น (CPI) เป็นองค์กรลงทุนในธุรกิจพลังงาน ถ่านหิน อะลูมิเนียม ทางรถไฟและท่าเรือ ก่อตั้งเมื่อ 29 ธ.ค. 2545 ทุนจดทะเบียน 1.2 หมื่นล้านหยวน เป็น 1 ใน 3 บริษัทในจีนที่ได้รับอนุญาตให้พัฒนา สร้างและดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ส่วน "ไชน่าเอ็กซิมแบงก์" หรือธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีน เป็นธนาคารของรัฐ หลังจีนเปิดยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเล เริ่มปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อสนับสนุนโครงการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity)และยังสนับสนุนเส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย (Trans-Asian Railway) และมีส่วนร่วมวางแผนและจัดสรรเงินทุน

สำหรับเส้นทางรถไฟลาว-จีน เส้นทางรถไฟไทย-จีน เส้นทางรถไฟกัมพูชา-จีน และเส้นทางรถไฟเวียดนาม-จีน

ลุ้นญี่ปุ่นเคาะ 3 เส้นทาง

ด้าน พล.อ.อ.ประจินกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากเส้นทางดังกล่าวแล้ว รัฐบาลมีรถไฟอีก 3 เส้นทาง อยู่ระหว่างรอเจรจาร่วมกับประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ 1.สายแม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-มุกดาหาร เชื่อมการค้าชายแดนและรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร 2.สายบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ระยอง เชื่อมโยงการขนส่งด้านใต้ จากท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือทวาย ที่ญี่ปุ่นจะมาร่วมลงทุนด้วย และ 3.สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คาดว่าจะหารือร่วมกันปลายเดือน ม.ค.-ก.พ.นี้ หลังญี่ปุ่นตั้งรัฐบาลเสร็จเรียบร้อย

"จีนได้สายอีสานแล้ว ก็คาดหวังว่าญี่ปุ่นจะสนใจ 3 เส้นนี้ ส่วนจะพัฒนาร่วมกันแบบจีทูจีหรือไม่ ยังต้องให้ผู้ใหญ่หารือกันก่อน กระทรวงคมนาคมเป็นผู้เตรียมความพร้อมให้"

เปิดความพร้อมแต่ละโครงการ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ความพร้อมแต่ละโครงการ เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ต้องออกแบบใหม่คือช่วงหนองคาย-นครราชสีมา และช่วงศรีราชา-แหลมฉบัง ส่วนที่เหลือจะนำแบบรายละเอียดเดิมมาทบทวนใหม่ สายแม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-มุกดาหาร 658 กม. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ศึกษาช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เสร็จแล้ว 358 กม. แต่เป็นทางคู่ 1เมตร ลงทุน 42,106 ล้านบาท ส่วนช่วงแม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น ยังไม่มีการศึกษา แต่ ร.ฟ.ท.จ้างที่ปรึกษาศึกษาช่วงแม่สอด-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ 240 กม.แล้ว สายบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ระยอง ร.ฟ.ท.ศึกษากรุงเทพฯ-ระยองเสร็จแล้ว เป็นรถไฟความเร็วสูง 250 กม./ชม. 193 กม.ลงทุน 152,000 ล้านบาท ช่วงบ้านพุน้ำร้อน-กรุงเทพฯ 180 กม. ไม่ได้ศึกษา

ส่วนสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาเสร็จแล้ว ทั้งโครงการเป็นรถไฟความเร็วสูง 250 กม./ชม. 749 กม. เงินลงทุน 445,304 ล้านบาท ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ยื่นรายละเอียดการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว

ก่อนหน้านี้ ทั้งจีนและญี่ปุ่นได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน 3-4 โครงการนี้แล้ว โดยจีนศึกษากรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ญี่ปุ่นศึกษากรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จึงเป็นไปได้สูงที่ใครออกแบบเส้นทางไหนแล้ว ก็น่าจะได้เป็นผู้ลงทุนโครงการนั้น ๆ .

//--------------------------------------------

งานนี้ EXIM Bank สนับสนุนให้ไทยกู้เงินหยวนมำทำโครงการนี้ คิดดอกร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา 30 - 40 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2015 10:16 pm    Post subject: Reply with quote

'ประยุทธ์'หารือจีนพัฒนารถไฟ วอนซื้อเอสทานนอลไทยเพิ่ม
แนวหน้า
วันจันทร์ ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558, 16.40 น.


5 ม.ค. 58 เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายไบ๊ ชุนหลี่ ประธานสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน เข้าเยี่ยมคารวะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยภายหลังการเข้าพบ ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายกฯกับนายไบ๊ ชุนหลี่ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องความร่วมมือดาวเทียมสื่อสาร แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีความรู้ระหว่างจีนและไทย เรื่องการพัฒนารถไฟ พลังงานทดแทน และความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ใน 1 ปีจากนี้ไป ให้เร่งดำเนินการ และวางแผนความร่วมมือต่อเนื่อง

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงความร่วมมือที่เคยพูดคุยกับนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงที่พบปะกัน โดยระบุถึงความร่วมมือเรื่องรถไฟ พลังงานทางเลือก โรงงานขยะ ผลิตภัณฑ์ยาง และการทดสอบรถยนต์ เป็นต้น อีกทั้งพล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงช่วงที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ที่ดูความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งจีนมีความก้าวหน้าเรื่องดังกล่าวอย่างรวดเร็ว จึงอยากให้ไทยกับจีนมีความร่วมมือในเรื่องนี้ด้วย รวมถึงความรู้ด้านอวกาศการจัดทำแผนที่สามมิติ เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำผังเมือง โดยนายไบ๊ ยินดีให้ความร่วมมือกับไทยในแนวทางดังกล่าวนอกจากนี้นายกฯได้ฝากเพิ่มเติมเรื่องการซื้อไฟฟ้าจากทางการจีน ซึ่งไทยสนใจจะซื้อไฟฟ้าจากไชน่าเซาเทิร์นพาวเวอร์กริด ที่มณฑลยูนาน ประมาณ 3,000 เมกกะวัตต์ ซึ่งอยู่ในช่วงการพิจารณาของทางการจีน และนายกฯได้เสนอให้จีนพิจารณาซื้อเอสทานอลจากไทยเพิ่มขึ้น โดยฝ่ายจีนได้รับไปพิจารณาเช่นกัน

//--------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2015 10:21 pm    Post subject: Reply with quote

"หม่อมอุ๋ย"แจงรมว.เกาหลีใต้เหตุไทยเซ็นเอ็มโอยู"มินิไฮสปีด"กับจีน-แจงยุบแผนน้ำ3.5แสนล.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 5 มกราคม. 2558 เวลา 16:20:47 น.


เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ-หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือกับนายเซาะ ซึง-ฮวาน (H.E. Mr. Suh Seoung-hwan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และคมนาคม สาธารณรัฐเกาหลีว่า ตนได้บอกทางเกาหลีตรงๆว่าเรื่องโครงการตามแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลนี้ คือ 1.คสช.ได้ยุบโครงการตามแผนการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านแล้ว เนื่องจากไม่ผ่านขั้นตอนตามกฎหมายของไทย ถึงแม้ชนะการประมูลแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม เมื่อมีโครงการใหม่ขึ้นมา ซึ่งในส่วนใดที่ต้องเปิดการประมูลก็ต้องชวนมาร่วมด้วย

"ก่อนหน้านี้เขาได้ไปประชุมที่กระทรวงคมนาคมมาด้วยและแผนแม่บทน้ำฉบับใหม่ที่กรมชลประทานมาแล้ว ซึ่งมาวันนี้เขาก็สอบถามถึงเหตุผลว่าทำไมถึงเซ็นข้อตกลง (เอ็มโอยู) ก่อสร้างรถไฟทางคู่ความเร็วปานกลาง 2 เส้นทางที่ผ่านมากับจีนล่ะ ผมก็ตอบเขาไปตรงๆ ว่า เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวเราได้เซ็นกับจีนถึง 2 รัฐบาลไว้แล้ว ครั้งนี้เราจึงต้องรักษาคำพูดของ 2 รัฐบาลที่เซ็นไว้ ซึ่งการที่จะมาพูดเรื่องนี้จึงช้าไปหน่อย ก็ได้บอกเขาไปตรง ๆ แต่เราก็บอกว่ายังมีรถไฟอีกหลายเส้นทางสำหรับขนส่งสินค้า ซึ่งปีนี้จะสร้างอีกประมาณ 700 กว่ากิโลเมตร ซึ่งถ้ามีการเปิดประมูลก็สามารถเข้ามาแข่งได้แต่ก็ต้องแข่งกับบริษัทของไทยนะ เขาก็เข้าใจแล้วว่าไม่มีประโยชน์ที่จะตื๊ออีกต่อไป" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว

//---------------
รมต.ที่ดินฯเกาหลีพบประจิน รมต.ที่ดินฯเกาหลีพบ'ประจิน' ชงคุย2ฝ่ายถกลึกในรายละเอียด
แนวหน้า
วันจันทร์ ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558, 17.03 น.


5 ม.ค.57 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคมสาธารณรัฐเกาหลีเข้าพบว่า เป็นการเข้าพบเพื่อหารือเกี่ยวกับข้อมูลของแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งทางเกาหลีสนใจเข้าลงทุนในส่วนของระบบรางที่ไทยมีแผนลงทุนในอนาคตโดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ที่ผ่านมาไทยลงนาม MOU ร่วมกับจีนแล้ว 1 เส้น คือ กรุงเทพฯ-หนองคาย-มาบตาพุด โดยเส้นที่เหลือที่จะมีการพัฒนาเพิ่มอีกในอนาคตก็จะเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

ทั้งนี้ ทางกระทรวงคมนาคมจะจัดทำข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับการลงทุนตามที่ทางเกาหลีร้องขอมา โดยจะทำการจัดส่งภายในวัน 7-8 ม.ค.นี้ ผ่านทางสถานทูตฯ และมีการเสนอให้มีการเจรจาแบบทวิภาคีระดับรัฐมนตรีขึ้นไปภายในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อให้ความร่วมมือเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเห็นผลเป็นรูปธรรม รวมถึงได้มีการเชิญทางคณะทำงานทางไทยในส่วนด้านคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เดินทางไปเกาหลีประมาณช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 2558

"ในข้อมูลขั้นต้นที่ได้ทำ MOU ร่วมกันเมื่อ 2555 เป็นข้อมูลกว้างๆในเรื่องของความร่วมมือของโครงสร้างพื้นฐาน การให้ความรู้และการแลกเปลี่ยนต่างๆ ยังไม่มีการลงรายละเอียด แต่ในครั้งนี้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคมของเกาหลีอยากเชิญให้ระดับรัฐมนตรีทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อที่จะได้ลงลึกในรายละเอียดของความร่วมมือในเรื่องของการสร้างเส้นทางรถไฟขนาดมาตรฐาน"พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

อย่างไรก็ตามในการลงทุนของโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐานยังไม่การกำหนดว่าจะใช้วิธีลงทุนรูปแบบใด แต่มีตัวอย่างแบบ G to G กับจีน ซึ่งคาดว่าทั้งทางญี่ปุ่นและเกาหลีก็น่าจะสนใจในแนวทางรูปแบบการลงทุนดังกล่าว

//--------------------

เกาหลีสนลงทุนรถไฟทางคู่มาตรฐาน เสนอเปิดโต๊ะเจรจา 2 ฝ่าย


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 มกราคม 2558 18:31 น.


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
เกาหลีสนลงทุนรถไฟทางคู่มาตรฐาน เสนอเปิดโต๊ะเจรจา 2 ฝ่าย



รมว.คมนาคมเกาหลีพบ “ประจิน” ขอข้อมูลลงทุนรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตร พร้อมเชิญ รมว.คมนาคม และ ร.ฟ.ท.เยือนเกาหลีเปิดโต๊ะเจรจา หวังทำเอ็มโอยูร่วมลงทุน ด้าน “ปลัดคมนาคม” เร่งสปีดรถไฟฟ้า 3 สาย “ชมพู-ส้ม-เหลือง” ดันเสนอ ครม.ใน ม.ค.นี้ พร้อมสั่ง รฟม.สรุปประมูลเร่งเซ็นสัญญาก่อสร้างสายสีเขียวเหนือใน มี.ค.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง นายเซาะ ซึง-ฮวาน (H.E.Mr.Suh Seoung-hwan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคม สาธารณรัฐเกาหลีใต้ วานนี้ (5 ม.ค.) ว่า ทางเกาหลีให้ความสนใจในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน (Standard gauge) 1.435 เมตร ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลไทย ซึ่งทางเกาหลีระบุว่ามีประสบการณ์ทั้งความเร็ว 160 กม.ต่อ ชม. และ 300 กม.ต่อ ชม. และพร้อมร่วมมือกับรัฐบาลไทย จึงต้องการขอข้อมูลแผนโครงการจากไทย ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะเร่งส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ผ่านทางสถานทูตเกาหลีภายใน 2-3 วันนี้ นอกจากนี้ ทางเกาหลีได้เสนอให้มีการเจรจาระดับรัฐมนตรีคมนาคมของสองประเทศ ซึ่งคาดว่าจะได้มีการหารือกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 นี้ พร้อมกันนี้ได้เชิญผู้แทนกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เดินทางไปเยือนเกาหลีใต้ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมอีกด้วย

ทั้งนี้ ไทยและเกาหลีใต้ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระบบราง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2556 ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและการถ่ายทอดความรู้ ไม่ได้ตกลงไปถึงรายละเอียดเรื่องการก่อสร้างแต่อย่างใด จึงเป็นเหตุผลที่ทาง รมว.ที่ดินและคมนาคมเกาหลีเชิญประชุมร่วม 2 ฝ่าย โดยหลักการของไทยนั้น โครงการที่มีความสำคัญระดับรัฐบาลจะใช้รูปแบบ G to G ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร (Meter gauge) จะเปิดประกวดราคาเพื่อให้คนไทยเสนอตัวก่อสร้าง สำหรับรถไฟทางคู่ขนาดราง 1.435 เมตรนั้นยังไม่ได้กำหนดหลักชัดเจน แต่มีตัวอย่างรถไฟทางคู่ เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กิโลเมตร และช่วงแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-จีนแล้ว ขณะที่ทางญี่ปุ่นสนใจเส้นทางรถไฟทางคู่จากทวาย-บ้านพุน้ำร้อน

“เส้นทางที่เหลือจะมีความร่วมมืออย่างไร ขณะนี้ต้องรอระดับนโยบาย ส่วนกระทรวงคมนาคมนั้นพร้อมให้ข้อมูลและรับนโยบายมาดำเนินการต่อ” รมว.คมนาคมกล่าว

ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าว่า จะเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มระยะแรก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตร วงเงิน 95,108 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 56,000 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโล เมตร วงเงิน 54,000 ล้านบา นำส่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ทั้งหมดภายในเดือนมกราคม 2558 นี้ โดยขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ส่งเอกสารรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มายังกระทรวงคมนาคมแล้ว ส่วนรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย- มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรงนั้น คาดว่าอีก 1 สัปดาห์จะส่งมากระทรวงคมนาคมได้

ส่วนการประกวดราคางานโยธารถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคตนั้น ล่าสุดคณะกรรมการประกวดราคาโครงการฯ ที่มีนายสัจจพงศ์ สนั่นเสียง รองผู้ว่าฯ รฟม. (ปฏิบัติการ) ได้สรุปแล้วว่าผู้เสนอราคาทั้ง 4 สัญญา โดยขั้นตอนจากนี้คือการเชิญผู้รับงานแต่ละสัญญามาเจรจาปรับลดราคา ซึ่ง รฟม.ระบุว่าจะสามารถลงนามในสัญญาพร้อมกันทั้ง 4 สัญญาได้ภายในเดือนเมษายน 2558 ซึ่งได้เร่งให้ลงนามสัญญาในเดือนมีนาคม เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้ราคาน้ำมันและเหล็กกำลังปรับตัวลดลง จึงไม่น่าจะต่อรองยาก

นอกจากนี้ ได้กำชับให้ รฟม.เร่งสรุปรูปแบบการหาผู้รับงานเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ว่าจะใช้วิธีประกวดราคา หรือเจรจากับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL โดยต้องสรุปให้ได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ รวมทั้งงานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่ให้สรุปรายละเอียดการหารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เพื่อรายงาน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม พิจารณา และอาจต้องมีการนัดหมาย กทม.และ BTS มาประชุมร่วมกับกระทรวงคมนาคมเพื่อสรุปรอบสุดท้ายอีกครั้ง เนื่องจากจะมีประเด็นเรื่องการให้สิทธิ์เดินรถกับ กทม.ว่าจะเป็นรูปแบบใด หากเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ให้ กทม. ทาง กทม.ต้องจ่ายค่าก่อสร้างกลับคืนให้ รฟม.ด้วย ซึ่งยังติดปัญหาว่า กทม.ยังมีเงินไม่พอที่จะจ่ายค่าก่อสร้างจึงต้องมีการประชุมร่วมในระดับกระทรวง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2015 10:03 pm    Post subject: Reply with quote

เมกะโปรเจ็กต์ กู้เศรษฐกิจปี58 สารพัดโครงการ1.2ล้านล.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
1 มกราคม 2558 เวลา 09:07:30 น.


เปิดแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ 3 ล้านล้าน คมนาคมจัดทัพประมูลเฟสแรก 52 โครงการในปี "58 สนองนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ลงทุนกว่า 1.2 ล้านล้าน ทั้งรถไฟฟ้าหลากสี ทางคู่ 6 สาย มินิไฮสปีดเทรน ถนน 4 เลน มอเตอร์เวย์ 3 สาย ยักษ์รับเหมาตีปีกรักศักราชปีทอง วัสดุ-อสังหาฯรับอานิสงส์ถ้วนหน้า คลัง-สำนักงบฯ มองบวกสถิติเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯดีขึ้นเยอะ



ผู้สื่อข่าวรายงานว่าปี 2558 โจทย์ใหญ่รอท้าทายรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา หนีไม่พ้นภารกิจกอบกู้เศรษฐกิจการค้าการลงทุนที่ซบเซาให้คึกคักมากขึ้น เป้าหมายใหญ่คือผลักดันเศรษฐกิจไทยให้จีดีพีขยายตัวได้ถึง 4.5% หนึ่งในยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนที่รัฐบาลให้ความสำคัญก็คือกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนรวมกว่า3ล้านล้าน

ลงทุนอินฟราฯพระเอกกู้ศก.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ปี 2558 โครงสร้างพื้นฐานจะเป็นจุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจไทย และน่าจะเป็นพระเอกของปีที่จะขับเคลื่อนการลงทุน เพราะประเมินแล้ว โครงการภาครัฐจะเป็นตัวนำทุกด้าน ทั้งระบบราง ระบบถนน เพื่อเชื่อมการค้าการลงทุน ลดต้นทุนโลจิสติกส์การขนส่ง

ทั้งนี้ ความคืบหน้าของแผนงานและแผนเงินในส่วนรับผิดชอบคมนาคมในฐานะเจ้าภาพใหญ่ พบว่ามีโครงการที่เตรียมความพร้อมรอกดเปิดประมูลก่อสร้างนับ 100 โครงการ โดยเฉพาะ "รถไฟฟ้าหลากสี-รถไฟทางคู่-มินิไฮสปีดเทรน" จะเป็นโปรเจ็กต์ไฮไลต์ เพราะใช้เม็ดเงินลงทุนร่วม 1 ล้านล้านบาท

เปิดไส้ในแผน 3 ล้านล้าน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง 8 ปี (2558-2565) มีครบถ้วนทั้งทางบก ราง น้ำ อากาศ คาดว่าใช้เงินลงทุนกว่า 3 ล้านล้านบาท โดยเม็ดเงินการลงทุนจะมาจาก 5 แหล่ง คืองบประมาณ เงินกู้ รายได้จากรัฐวิสาหกิจ การร่วมทุนภาคเอกชนแบบ PPP และกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) ซึ่งกำลังศึกษา จะนำมาใช้กับการลงทุนโครงการไหนบ้าง เช่น สนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 รถไฟฟ้าต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง)

52 โครงการ คิกออฟปีྲྀ

โฟกัสภาพรวมการลงทุนปี 2558 พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า มีโครงการใหญ่พร้อมประมูลและก่อสร้าง 52 โครงการ รวมมูลค่า 1,272,088 ล้านบาท (ดูตาราง) แยกเป็นรถไฟทางคู่ 6 สายทาง เงินลงทุน 129,306 ล้านบาท เร่งประมูลและเปิดใช้พร้อมกันปี 2561 ได้แก่ 1.สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. ตามแผนงานเตรียมประมูล ม.ค.-ก.พ.นี้ คาดว่าเริ่มสร้าง มี.ค. 2.สายจิระ-ขอนแก่น 185 กม. เตรียมเสนอ ครม.อนุมัติ ก.พ. เปิดประมูล มี.ค. เริ่มสร้าง ก.ย.นี้ 3.สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม. ขออนุมัติ ครม.เม.ย. เปิดประมูล พ.ค. คาดว่าเริ่มสร้าง พ.ย.นี้

4.สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม. เสนอ ครม.อนุมัติ เม.ย. เริ่มประมูล พ.ค. คาดว่าก่อสร้าง พ.ย.นี้ 5.สายมาบกะเบา-จิระ 132 กม. ขออนุมัติ ครม. เม.ย. เปิดประมูล พ.ค. คาดว่าเริ่มสร้าง พ.ย. และ 6.สายนครปฐม-หัวหิน 165 กม. เสนอ ครม.อนุมัติ เม.ย. เปิดประมูล พ.ค. คาดว่าเริ่มสร้าง พ.ย.นี้

มินิไฮสปีด-รถไฟฟ้าสายใหม่

ส่วนรถไฟทางมาตรฐานราง 1.435 เมตร 3 เส้นทาง ลงทุนรวม 493,775 ล้านบาท ได้แก่ เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด, แก่งคอย-กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-ระยอง จะเริ่มสำรวจ ออกแบบ และประเมินราคาเส้นทางสายไปอีสาน ที่ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับรัฐบาลจีนก่อน ใช้เวลา 10 เดือน นับจาก ม.ค. 2558

รถไฟฟ้าใหม่ 8 เส้นทาง ลงทุน 373,823 ล้านบาท จะเร่งสร้างให้เสร็จภายในปี 2563 ทั้งนี้ ในเดือน มิ.ย.นี้จะเริ่มสายแรก สายสีเขียว (หมอชิต-คูคต) 18.4 กม. โครงการที่เหลือทยอยเสนอ ครม.อนุมัติ ตามแผนเดือน ก.พ. มีสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) 21.2 กม. เริ่มประมูล มี.ค. และเวนคืน มิ.ย. คาดว่าเริ่มสร้างปี 2559

สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 36 กม. สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 30.4 กม. เนื่องจากเป็นระบบโมโนเรล หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หลังเสนอ ครม.อนุมัติ ก.พ.นี้ จะเริ่มงานจัดหาระบบรถไปพร้อมกัน เมื่อได้บริษัทแล้วถึงจะออกแบบงานโยธา คาดว่าเริ่มสร้างปี 2559

สายต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง) 21.8 กม. เสนอ ครม. ก.พ. เปิดประมูล มี.ค. คาดว่าเริ่มสร้าง ก.ย.นี้ ส่วนสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก) สีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) 25.5 กม. เสนอ ครม.อนุมัติ ก.พ. เปิดประมูล มี.ค. เริ่มสร้าง ต.ค.นี้ จะดำเนินการพร้อมสายสีแดงเข้ม (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต) 10 กม. และเร่งศึกษารถไฟฟ้าต่อขยายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) อีก 8 กม. เพื่อเสนอ ครม.อนุมัติปลายปี คาดว่าเริ่มสร้างในปี 2559

เร่งรัดมอเตอร์เวย์ 3 สาย

ขณะที่มอเตอร์เวย์ 3 สายทาง เงินลงทุนรวม 160,420 ล้านบาท จะก่อสร้างสายพัทยา-มาบตาพุด 32 กม. เป็นสายแรก ตามแผนเริ่มเวนคืนและเปิดประมูลในเดือน เม.ย. คาดว่าเริ่มสร้าง ส.ค.นี้ ส่วนสายบางปะอิน-นครราชสีมา 196 กม. กับบางใหญ่-กาญจนบุรี 96 กม. จะเสนอ ครม. ภายใน ม.ค. เพื่อเตรียมหาแหล่งเงินลงทุน คาดว่าเริ่มประมูลและเวนคืนปี 2559

นายชูศักดิ์ เกวี อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า มอเตอร์เวย์ 2 สายนี้จะใช้เงินลงทุนจาก 2 แหล่ง คือเงินกู้ในประเทศและรูปแบบโปรเจ็กต์ไฟแนนซ์ โดยให้เอกชนเป็นผู้หาเงินลงทุนให้ จากนั้นรัฐบาลชำระคืนภายหลัง น่าจะเป็นวิธีการลงทุนที่เร็วที่สุด

ผุดถนน-ท่าเรือรับเออีซี

ส่วนงานถนน พล.อ.อ.ประจินเปิดเผยว่า ปี 2558 เป็นปีที่เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จึงจะเร่งรัดถนน 4 ช่องจราจรกับถนนเชื่อมระหว่างประเทศเชื่อมประตูการค้าชายแดน วงเงินรวม 8,957 ล้านบาท เริ่มประมูล ม.ค.-มี.ค.นี้ คาดว่าเริ่มสร้าง เม.ย. และทยอยเสร็จปี 2558-2561 รวมถึงเร่งพัฒนาขนส่งทางน้ำ ลงทุนรวม 7,098 ล้านบาท มีโครงการท่าเทียบเรือชายฝั่ง A ท่าเรือแหลมฉบัง พัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง ทั้ง 2 โครงการเสนอ ครม.แล้ว คาดว่า ม.ค.นี้จะได้รับอนุมัติ พร้อมเปิดประมูล ก.พ. เริ่มสร้าง ก.ค. อีกทั้งเร่งก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำป่าสักชลสิทธิ์

ทุ่มแสนล้านยกระดับสนามบิน

ด้านการพัฒนาขนส่งทางอากาศ เงินลงทุนรวม 85,547 ล้านบาท แยกเป็นขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 วงเงิน 66,943 ล้านบาท คาดว่าเริ่มประมูลปลายปี 2558

นอกจากนี้ พัฒนาสนามบินอื่น ๆ เช่น สนามบินดอนเมือง ระยะที่ 2 แล้วเสร็จ ส.ค.นี้, ขยายสนามบินภูเก็ต แล้วเสร็จปี 2558-2560, สนามบินอู่ตะเภา, สนามบินแม่สอดรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ, สนามบินเบตง และสนามบินกระบี่

ส่วนโครงการซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน จะรับมอบรถลอตแรก 489 คัน เดือน พ.ค.นี้

เงินลงทุนสูงสุดปีེ-63

"เงินลงทุนเฉพาะปี"58 สำหรับเริ่มโครงการ ทั้งเวนคืน ก่อสร้าง ศึกษา อยู่ที่ 55,986 ล้านบาท จากนั้นทยอยลงทุนปี"59-65 แต่ละปีใช้เงินลงทุนไม่เท่ากัน คาดว่าเฉลี่ยปีละ 1-4 แสนล้านบาท วงเงินมากที่สุดจะเป็นช่วงปี"62-63"

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเวลาของรัฐบาลชุดปัจจุบันมีน้อย พล.อ.อ.ประจินอธิบายว่า จะเร่งเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ให้มากที่สุด เพื่อกระตุ้นการลงทุนของประเทศ ทั้งรถไฟฟ้า 10 สาย ทางคู่ ถนนมอเตอร์เวย์ สนามบิน แต่ก็ดูตามความพร้อม อาจจะทำไม่ได้หมด เพราะจำนวนโครงการมาก และใช้เงินลงทุนสูง ต้องศึกษาแหล่งเงินให้ดี ไม่ก่อหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่ม

ลงทุนน้ำ 10 ปี 9.5 แสนล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้รัฐบาลประยุทธ์ยังมีแผนลงทุนบริหารจัดน้ำฉบับใหม่ในปี 2558 ทั้งโครงการป้องกันน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย หรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยยกเลิก 9 โมดูลเดิม คัดแยกเป็นรายโครงการ และเดินหน้าตามความพร้อม ใช้เวลา 10 ปี (2558-2567) ลงทุนกว่า 9.5 แสนล้านบาท

ได้แก่ โครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 2.3 หมื่นล้านบาท แก้ไขการขาดแคลนน้ำ 6.59 แสนล้านบาท แก้น้ำท่วม 1.8 แสนล้านบาท ปรับปรุงคุณภาพน้ำ 5.84 หมื่นล้านบาท ระบบบริหารจัดการน้ำ 3.03 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงานที่ดูเรื่องน้ำ เช่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การประปานครหลวง (กปน.)

ITD จองรถไฟฟ้า-บิ๊กโปรเจ็กต์

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นโยบายเร่งเปิดประมูลงานรัฐทำให้วงการรับเหมาก่อสร้างคึกคักขึ้นทันตาเห็น โดยต้องจับตา 3 บริษัทยักษ์คือ "อิตาเลียนไทย-ซิโน-ไทย-ช.การช่าง" ขณะที่งานระบบรางอาจจะพ่วงบริษัท เอ.เอ.แอสโซซิเอท (1996) จำกัด, บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บริษัท ทิพากร จำกัด, 5 เสือกรมทางหลวง กับบริษัทรับเหมาจีนและญี่ปุ่น

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปี 2558 จะเป็นปีทองผู้รับเหมาก่อสร้าง เนื่องจากรัฐบาลมีโครงการประมูลใหม่จำนวนมาก โดยเฉพาะงานประมูลคมนาคมที่โดดเด่นที่สุด ทั้งรถไฟฟ้า ทางคู่ มอเตอร์เวย์ ถนน สุวรรณภูมิ เฟส 2 และรถไฟความเร็วปานกลาง ที่ไทยร่วมกับจีนพัฒนา

"บริษัทพร้อมยื่นประมูลทุกโครงการ คาดว่าจะได้ส่วนแบ่งจากงานเปิดประมูลประมาณ 30% ถ้าหากสำเร็จจะทำให้งานในมือเพิ่มขึ้นเกือบ 2 แสนล้านบาท จากปี"57 มีอยู่ 2.3 แสนล้านบาท รวมแล้วคาดว่าอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท รับรู้รายได้ไปอีก 3-4 ปี"

ส่วนแผนบริหารจัดการน้ำ อิตาเลียนไทยฯรอความชัดเจนจากรัฐบาล และพร้อมเข้าประมูลใหม่ ล่าสุดรัฐบาลให้บริษัทขยายเวลาวงเงินหลักประกันซอง (บิดบอนด์) ออกไปอีก 6 เดือน ถึง พ.ค.นี้

ช.การช่างมั่นใจคว้างาน 25%

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ช.การช่าง กล่าวว่า บริษัทเตรียมพร้อมที่จะแข่งขันประมูลงาน มั่นใจว่าจะคว้างานประมาณ 20-25% คาดว่าจะมีงานในมือเพิ่มกว่า 1 หมื่นล้านบาท จากเดิมมีอยู่ 1 แสนล้านบาท รับรู้รายได้อีก 4 ปี เฉลี่ยปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท

"งานอั้นมานาน ปีหน้ามีงานออกมาเยอะ น่าจะเป็นโอกาสที่จะเห็นผู้รับเหมารายใหญ่ร่วมกับรายกลางประมูลงานกันมากขึ้น เพราะโครงการหลายหมื่นล้านจะต้องร่วมกัน 2-3 บริษัท ทุกคนก็อยากได้งาน แต่ต้องแข่งขันกันบนกติกา และศึกษาต้นทุนให้ดี"

ซิโน-ไทยฯพร้อมแข่งราคา

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ กล่าวว่า บริษัทเตรียมพร้อมเข้าประมูลงาน หลังจากที่ได้งานสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สัญญาที่ 3-4 แล้ว ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ส่วนรายได้คาดว่าจะอยู่ที่กว่า 2 หมื่นล้านบาท

คลังชี้เร่งเบิกจ่ายงบฯดีขึ้น

นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในปี 2558 ความหวังเศรษฐกิจไทยจะอยู่ที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการเปิดเออีซี ล่าสุดตนได้หารือกับญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการยืนยันว่ายังเลือกลงทุนในประเทศไทย เพราะเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

อย่างไรก็ตาม ปี 2558 จะต้องจับตาการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่จะมีความผันผวน ราคาน้ำมันที่ยังไม่นิ่ง และปัญหาภัยธรรมชาติ ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรด้วย

ขณะที่นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ปี 2558 จะเห็นผลบวกจากการเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯลงทุนมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีมติ ครม.ให้เร่งทำสัญญาก่อหนี้ภายในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ โดยช่วงไตรมาสแรกแม้ว่าโครงการต่ำกว่า 500 ล้านบาทจะทำสัญญาไม่ได้ 100% ตามที่กำหนด แต่ก็ทำได้มากขึ้นกว่าที่ผ่าน ๆ มา ดังนั้นแนวโน้มจะส่งผลดีต่อการเบิกจ่ายในระยะต่อไปแน่นอน

ซีเมนต์-อสังหาฯรับอานิสงส์

นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย หรือเอสซีจี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การเปิดประมูลงานภาครัฐจะส่งผลดีต่อธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ประเมินความต้องการใช้ซีเมนต์ปีนี้น่าจะเติบโต 6% หรือมีดีมานด์ 37-39 ล้านตัน จากปี 2557 ที่คาดการณ์ติดลบ 1% เนื่องจากการลงทุนภาครัฐชะลอตัว ทำให้ความต้องการใช้ซีเมนต์ในประเทศลดลง

นายภากร เลี่ยวไพรัตน์ ผู้ช่วยรองผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีพีไอ โพลีน ผู้ผลิตปูนทีพีไอ เปิดเผยว่า ปัจจุบันยังไม่ได้เจรจาออร์เดอร์คอนกรีตผสมเสร็จกับผู้รับเหมาที่ชนะประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียว บริษัทคาดหวังส่วนแบ่งประมาณ 20% จากงานนี้

แหล่งข่าวจาก บมจ.ปูนซีเมนต์เอเซียเปิดเผยว่า เบื้องต้นคาดหวังส่วนแบ่งคอนกรีตผสมเสร็จงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวประมาณ 10% ส่วนรถไฟทางคู่ยังไม่สามารถประเมินได้ โดยประเมินว่าจะเริ่มเห็นการก่อสร้างอย่างเร็วไตรมาส 3-4/58

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัย เปิดเผยว่า หากเริ่มลงมือสร้างสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) จะส่งผลดีต่อโครงการที่อยู่อาศัยเกาะแนวรถไฟฟ้า ส่วนโครงการรถไฟทางคู่จะส่งผลกับธุรกิจอสังหาฯทางอ้อมมากกว่า เนื่องจากเศรษฐกิจภูมิภาคจะดีขึ้นจากการคมนาคมสะดวก ส่วนการกระตุ้นดีมานด์ที่อยู่อาศัยยังไม่ชัดเจน

นายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บมจ.แสนสิริ เปิดเผยว่า แสนสิริพัฒนาโครงการในจังหวัดที่เป็นแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ ได้แก่ จ.ระยอง โคราช ขอนแก่น อุดรธานี หากรัฐบาลเริ่มก่อสร้างโครงการจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเปิดพื้นที่ใหม่ในการพัฒนาโครงการ

ปัจจัยถ่วง:เงินลงทุนรัฐล่าช้า

ผู้สื่อข่าว"ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า จากการที่เครื่องยนต์เศรษฐกิจหลักหลาย ๆ ตัวอ่อนกำลังไป โดยเฉพาะภาคส่งออกซึ่งเป็นสัดส่วน 70% ของจีดีพี ทางกระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลข 11 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 209,188 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.42% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

ส่งผลทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์อัตราเติบโตการส่งออกปี 2557 ติดลบ 0.5% และคาดว่าแนวโน้มการส่งออกปี 2558 จะมีอัตราการเติบโตเพียง 1% เท่านั้น เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะตลาดส่งออกในกลุ่มยูโรและญี่ปุ่น

ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี) ระบุว่า ล่าสุดได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 ลงมาอยู่ที่ 3.5% จากเดิมคาดว่าจะโต 4.0% เหตุผลเนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนยังประสบปัญหาในหลายหมวดสินค้า

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบจากปัญหาการเบิกจ่ายและการดำเนินโครงการรัฐที่ล่าช้า ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน แม้ในปี 2558 จะมีการใช้งบประมาณลงทุนในโครงการรถไฟทางคู่กว่า 6.8 หมื่นล้านบาท แต่ก็คาดว่าเม็ดเงินนี้จะกระจายเข้าสู่ระบบอย่างเต็มที่ในปี 2559-2560

ดังนั้นจึงยังไม่มั่นใจว่าปี 2558 แผนกระตุ้นด้วยเม็ดเงินลงทุนจากภาครัฐจะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน

//---------------

กก.ลอจิสติกส์กางแผนบูรณาการปี 59 ลุย 47 โครงการ งบกว่า 1.06 แสนล้าน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 มกราคม 2558 08:55 น.

“คมนาคม” เตรียมสรุปแผนบูรณาการงบประมาณด้านพัฒนาลอจิสติกส์ ปี 59 เผย 6 กระทรวงหลักและ สศช.ทำแผนเสนอ 47 โครงการ วงเงินรวมกว่า 1.06 แสนล้าน สั่งตรวจสอบรายโครงการอีกรอบ หวั่นงานซ้ำซ้อนกับงบพัฒนาเขต ศก.พิเศษ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการประจำปีงบประมาณ 2559 เรื่องการพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (ลอจิสติกส์) ซึ่งมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานนั้น ได้เร่งดำเนินการพิจารณาตามกรอบเวลาและหลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณซึ่งกำหนดให้จัดทำข้อเสนองบประมาณประจำปี2559 แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาจัดทำงบประมาณฯ ด้านลอจิสติกส์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งเบื้องต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม, กระทรวงการคลัง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงแรงงาน, กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำข้อเสนอรวม 47 โครงการ วงเงินรวมประมาณ 106,520 ล้านบาท

โดยกระทรวงคมนาคมเสนอสูงสุดที่ 40 โครงการ วงเงินประมาณ 106,347 ล้านบาท ประกอบด้วย สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จำนวน 3 โครงการวงเงิน 105 ล้านบาท กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 223.80 ล้านบาท เช่น โครงการก่อสร้างอาคารลานชาลาขนถ่ายสินค้าและคลังสินค้าสถานีขนส่งสินค้าพุทธมณฑล

กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 11 โครงการ วงเงิน 20,070 ล้านบาท เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1290 อ.เชียงแสน-อ.เชียงของ ตอน 3 โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1421 สายเชียงราย-ขุนตาล ตอน 1 โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 12 สายตาก-แม่สอด ตอน 4 โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ 4 ช่องจราจร ทล.13 สายกาฬสินธุ์-นาไคร้ ตอน 2 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง 98 กม. เป็นต้น

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 1,133 ล้านบาท เช่นโครงการ สายแยก ทล.1098-ทล.1 อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นต้น กรมเจ้าท่า (จท.) จำนวน 6 โครงการ วงเงิน 2,439.23 ล้านบาท เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน โครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งพังในแม่น้ำป่าสัก โครงการขุดลอกร่องน้ำเศรษฐกิจ เป็นต้น

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 16 โครงการ วงเงิน 82,376.92 ล้านบาท เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการก่อสร้างรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-มหาสารคาม- ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เป็นต้น

//---------------------

"ประเทศไทย" ได้อะไรจาก 3 ล้านล้าน
คอลัมน์ ดาต้าเบส
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 มกราคม 2558 เวลา 12:33:15 น.

เป็นที่ชัดเจนแล้ว โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งไทยใน 8 ปี (2558-2565) ของ "คมนาคม" จะใช้เงินลงทุนกว่า 3 ล้านล้าน เพื่อพลิกโฉมระบบคมนาคมไทยให้ทันสมัยและมีต้นทุนขนส่งที่ถูกลง ให้ทัดเทียมนานาชาติ โดยเฉพาะคลื่นลงทุนเสรีที่จะเริ่มต้นปลายปี 2558

เม็ดเงินก้อนโตที่ "รัฐบาลประยุทธ์" เคาะ จะลงทุนครบทุกสาขา "ทางบก" มีถนนจะเชื่อมเมืองเศรษฐกิจและประตูการค้าชายแดน มอเตอร์เวย์ช่วยการเดินทางระหว่างเมือง ซ่อมแซมถนนหลักและรอง และแก้ปัญหาจราจรในเมืองใหญ่



"ระบบราง" จัดเต็มรถไฟสายใหม่ที่สร้างเพิ่มให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงขยายทางรถไฟสายเก่าจากทางเดี่ยวเป็นทางคู่ รถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 180 กม./ชั่วโมง และรถไฟฟ้าหลากสี

"ทางน้ำ" จะพัฒนาท่าเรือชายฝั่งแหลมฉบัง ที่เป็นคอขวดให้มีความคล่องตัวมากขึ้น รับการขนส่งทั้งทางเรือและรถไฟในอนาคต

สุดท้าย "ทางอากาศ" อาจจะเป็นเพราะ "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รมว.คมนาคม เคยเป็นแม่ทัพฟ้ามาก่อน ถึงรู้ความสำคัญทางอากาศมีต่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารได้อย่างไร ในแผนฉบับใหม่จึงจัดแผนลงทุนสนามบินเต็มสูบ ทั้งสุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2015 2:51 pm    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กจิน"นัดถกคณะทำงานร่วมรถไฟไทย-จีน เร่งก่อสร้างเสร็จใน2 ปี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มกราคม 2558 14:30 น.


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
บิ๊กจินนัดถกคณะทำงานร่วมรถไฟไทย-จีน เร่งก่อสร้างเสร็จใน2 ปี
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม



"ประจิน"เผย 20-22 ม.ค.นี้ คณะกรรมการพัฒนารถไฟทางคู่ ไทย-จีน เตรียมหารือร่วมกันครั้งแรกหลัง ทำ MOU พร้อมตั้งเป้าเร่งก่อสร้างให้เสร็จใน 2 ปี หริอในปี 60 จากแผนเดิมสร้าง 4 ปี เสร็จปี 62

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าความร่วมมือกับรัฐบาลจีนในการพัฒนารถไฟไทย-จีนว่า ภายหลังลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ไทย-จีน ในการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน หรือ Standard Gauge 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประ มาณ 133 กิโลเมตร ความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทยพ.ศ.2558-2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 แล้วนั้น ในวันที่ 20-22 มกราคมนี้ ทางรัฐบาลไทยและจีนจะมีการหารือกรอบการทำงานครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย

โดยจะมีการหารือถึงรูปแบบการตั้งคณะกรรมการบริหารงานร่วมกัน 2 ฝ่าย การจัดทำแผนงาน เพื่อความสะดวกในการวางแผนสำรวจออกแบบ การประมาณการณ์ด้านราคา และบทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย ซึ่งประเด็นสำคัญคือ การเวนคืนที่ดินและเส้นทางจะใช้เส้นทางเดิมหรือเส้นทางใหม่ที่จะต้องพิจารณา จากนั้น
วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์จะมีการประชุมถึงรูปแบบการลงทุนและแหล่งที่มาของงบประมาณที่จะนำมาลงทุน ซึ่งมอบหมายให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นร่วมกันพิจารณาแหล่งทุน

"ทั้ง 2 ครั้งจะประชุมที่กรุงเทพมหานคร จากนั้นช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมจะมีการลงพื้นที่สำรวจการก่อสร้าง เมื่อดำเนินสำรวจออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้จะทราบถึงตัวเลขงบประมาณที่ต้องนำมาลงทุน สำหรับรูปแบบการก่อสร้างจะนำเทคโนโลยีของจีนมาวางระบบรางและการเดินรถคาดว่าก่อนสิ้นปี 2558 จะมีความชัดเจนถึงหน่วยงานที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการเดินรถและแนวทางในการบริหารจัดการรถไฟทางคู่เส้นทางดังกล่าว โดยตั้งเป้าการก่อสร้างต้องแล้วเสร็จก่อนแผน 2 ปี หรือภายในปี 2559-2560 จากแผนดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวมีระยะการดำเนินงาน 4 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2562 "พล.อ.อ.ประจินกล่าว

//-----------------------------------

คค.เตรียมหารือจีนโครงการพัฒนารถไฟ มั่นใจเสร็จใน 2 ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มกราคม 2558 12:56 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนารถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นแรกเส้นทางหนองคาย-ขอนแก่น-แก่งคอย-มาบตาพุด ซึ่งจะเป็นรถไฟขนาดรางมาตรฐานมีความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ว่า ไทยได้ลงนามเอ็มโอยูความร่วมมือกับจีนที่จะร่วมกันพัฒนาโครงการไปแล้ว โดยวันที่ 20-22 มกราคมนี้ จะมีการเปิดโต๊ะเจรจาจีนนัดแรก หลังจากนั้นจะหารือร่วมกันต้นเดือนกุมภาพันธ์ อีกรอบ หากการเจรจามีความชัดเจนแล้วจะเร่งเดินหน้าออกแบบรายละเอียดโครงการทันที โดยมั่นใจว่าการออกแบบจะเสร็จเดือนสิงหาคม 2558 หลังจากนั้นจะทำให้ทราบวงเงินชัดเจนว่ามูลค่าโครงการจะเป็นเท่าใด
สำหรับการบริหารการเดินรถนั้น ขณะนี้จะเป็นหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แต่จะมีการหาหุ้นส่วน หรือพาร์ทเนอร์ ร่วมการเดินรถหรือไม่นั้น เป็นเรื่องในอนาคต
ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจิน ยืนยันว่า จะเดินหน้าเร่งรัดให้โครงการรถไฟขนาดรางมาตรฐานเสร็จโดยเร็ว ถือเป็นภารกิจเร่งด่วน โดยมั่นใจว่าโครงการจะเสร็จภายใน 2 ปี ลดลงจากกรอบเดิม 4 ปี ถือเป็นการลดเวลาลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง

//----------------

'ประจิน'เผยคืบหน้ารถไฟไทย-จีน จ่อหารือตั้งคกก.บริหาร20-22มค.
แนวหน้า
วันศุกร์ ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558, 14.08 น.

9 ม.ค.58 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายถึงความคืบหน้าการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับรัฐบาลจีน 2 ฉบับ เกี่ยวกับการพัฒนารถไฟระหว่างประเทศไทย - จีน ขนาดรางมาตรฐานความกว้าง 1.435 เมตร ว่า ในวันที่ 20 - 22 ม.ค.นี้ จะมีการหารือครั้งแรกของระหว่างรัฐบาลไทย - จีน ซึ่งเนื้อหาในการหารือจะมีในส่วนของการตั้งคณะกรรมการบริหารงานร่วมกัน

ซึ่งในระหว่างวันที่ 5 - 7 ก.พ.58 จะมีการหารือการเจราจาด้านการลงทุนทั้งในส่วนของไทย - จีน ว่าจะใช้งบประมาณจำนวนเท่าไร และใช้ระยะเวลากี่ปีในการดำเนินโครงการ และภายหลังจากการประชุมหารือแล้วเสร็จทั้ง 2 ครั้ง จะเป็นการลงพื้นที่ในช่วงปลายเดือน ก.พ. ถึงต้นเดือน มี.ค.เพื่อสำรวจพื้นที่ในการตั้งไซต์งาน โดยจะมีการแบ่งเป็น 4 ส่วน เพื่อให้ดำเนินงานได้เร็วขึ้น สำหรับแผนการดำเนินโครงการดังกล่าวนั้นมีระยะการดำเนินงาน 4 ปี ซึ่งทางไทยจะดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี

ทั้งนี้ จะมีการแบ่งแผนงานว่าจะมีการดำเนินในกี่ส่วนเพื่อสะดวกในการวางแผน การออกแบบและประมาณการณ์ด้านราคา และการแบ่งหน้าที่บทบาทการทำงานของทั้ง 2 ฝ่าย โดยประเด็นสำคัญคือ การออกแบบและการเวนคืนที่ดินการสร้างเส้นทางนั้น จะใช้เส้นทางเดิมหรือเส้นทางใหม่

อย่างไรก็ตาม ด้านแหล่งเงินกู้นั้นทางจีนจะเป็นผู้นำรายชื่อสถาบันการเงินที่จะเข้าโครงการ พร้อมเงื่อนไขมานำเสนอและพิจารณาร่วมกัน ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลา 6 เดือน ประมาณตั้งแต่ มี.ค.- ส.ค.จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับรูปแบบการศึกษาและแหล่งเงินกู้ จากนั้นจะร่วมกันเจราจาว่าเงินที่จะดำเนินการงวดแรกมีจำนวนเท่าใด สำหรับผลตอบแทนที่จีนจะได้คือ การนำเทคโนโลยีรถไฟขนาดรางมาตรฐานของจีนมาเป็นต้นแบบครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานด้านระบบเทคโนโลยี ส่วนผู้ที่จะมาดูแลรับผิดชอบการเดินรถนั้น จะมีการตัดสินใจว่าจะให้หน่วยงานใดเข้ามาบริหารจัดการ ภายในสิ้นปีนี้จะได้ข้อสรุปที่จัดเจน

//--------------------

รมว.คมนาคม ลั่น! รถไฟเชื่อมไทย-จีน ต้องเสร็จเร็ว อีก 2 ปีได้ใช้
มติชน
วันที่ 09 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 17:44:40 น.



พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU กับรัฐบาลจีน ด้านการพัฒนารถไฟระหว่างประเทศไทย-จีน ว่า ในวันที่ 20-22 มกราคมนี้ ทางรัฐบาลไทยและจีนจะมีการหารือกรอบการทำงานครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย อาทิ เรื่องการตั้งคณะกรรมการบริหารงานร่วมกัน การแบ่งแผนงาน การออกแบบและประมาณการณ์ด้านราคาและกำหนดหน้าที่การทำงานของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งประเด็นสำคัญคือ การเวนคืนที่ดินและเส้นทางจะใช้เส้นทางเดิมหรือเส้นทางใหม่ที่จะต้องพิจารณา จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ระหว่างวันที่ 5-7 จะเป็นการหารือครั้งที่ 2 ด้านแหล่งเงินกู้ โดยจีนจะเป็นผู้นำรายชื่อสถาบันการเงินที่จะเข้าโครงการพร้อมเงื่อนไขมานำเสนอและพิจารณาร่วมกัน ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ของโครงการฯ คาดว่าจะใช้ระยะเวลา 6 เดือนตั้งแต่มีนาคม-สิงหาคม จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับรูปแบบการศึกษาและแหล่งเงินกู้

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในแผนดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวนั้นมีระยะการดำเนินงาน 4 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2562 แต่ทางไทยจะดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ภายในปี 2559-2560
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2015 12:06 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมคาดรถไฟ 1.435 เมตรเสร็จใน 2ปี
by Patshaya Mahatthanotham
Voice TV
9 มกราคม 2558 เวลา 14:24 น.

กระทรวงคมนาคม คาด การออกแบบโครงการพัฒนารถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร จะเสร็จในเดือนสิงหาคมปีนี้

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 20-22 มกราคมนี้ ไทยจะเปิดโต๊ะเจรจากับจีนนัดแรก หารือ กรอบแนวทางรายละเอียดการลงทุน โครงการพัฒนารถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร หนองคาย-ขอนแก่น-แก่งคอย-มาบตาพุด ความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ได้ลงนามเอ็มโอยูกับจีนไปแล้ว

หลังจากนั้น ต้นเดือนกุมภาพันธ์ จะหารือ เรื่องที่มาและรายละเอียดสัดส่วนการลงทุน หากการเจรจามีความชัดเจน จะเร่งเดินหน้าออกแบบโครงการทันที คาดว่าการออกแบบ จะเสร็จในเดือนสิงหาคมปีนี้ และจะทำให้ทราบวงเงินการลงทุนที่ชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 28, 29, 30 ... 121, 122, 123  Next
Page 29 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©