Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273579
ทั้งหมด:13584875
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2015 5:43 pm    Post subject: Reply with quote

"ประจิน" เผยหารือพัฒนารถไฟไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่นฉลุย รัฐบาลจีนแย้มให้กู้ดอกเบี้ย 2%
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 16:14:43 น.


"ประจิน" เผยหารือพัฒนารถไฟไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่นฉลุย รัฐบาลจีนแย้มให้กู้ดอกเบี้ย 2% เตรียมลงพื้นที่หนองคาย มี.ค.นี้

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การร่วมเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นร่วมกับคณะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ร่วมลงนามในเอกสาร 2 ฉบับ คือบันทึกแสดงเจตจำนงหรือ MOI (Memorandum of Intent) เพื่อศึกษาโครงสร้างทางรถไฟพัฒนาระบบรางของประเทศญี่ปุ่น

ทางกระทรวงคมนาคม ให้ข้อมูล 3 เส้นทางเลือกให้กับญี่ปุ่น คือ เส้นทางแม่สอด-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร ระยะทาง 770 กิโลเมตร, เส้นทางพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-มาบตาพุด จังหวัดระยอง ระยะทาง 339 กิโลเมตร และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 653 กิโลเมตร โดยทางญี่ปุ่นยืนยันจะมาลงทุนร่วมกับไทย เบื้องต้นการลงทุนไทยจะเริ่มลงทุนที่เส้นเดียวทางเดียวก่อน ซึ่งลงทุนร่วมกันคล้ายกับการลงทุนกับจีน ทั้งนี้อยู่ที่ว่าญี่ปุ่นจะสนใจเส้นทางไหน

ส่วนการประชุมเรื่องของเทคโนโลยีการถ่ายทอดถึงกัน เพิ่มเติมจากระดับกลไกคณะทำงานระบบรางไทย-ญี่ปุ่น จากระดับปลัดเป็นระดับรัฐมนตรี โดยเจรจาในเรื่องเทคนิค รวมถึงระบบที่ทางญี่ปุ่นให้ไทยศึกษาพิจารณาว่าเทคโนโลยีรุ่นใด แบบใด อาทิ แบบซินคันเซน หรือธรรมดา และรถไฟฟ้า

พล.อ.อ.ประจินกล่าวถึงความคืบหน้ารถไฟไทย-จีนว่า จากการประชุมร่วมของคณะกรรมการร่วมด้านความร่วมมือ ณ กรุงปักกิ่ง ได้ยืนยันรูปแบบความร่วมมือในการการบริหารความร่วมมือแบบจีทูจี โดยแบ่งความรับผิดชอบ ได้แก่ ฝ่ายจีนจะสำรวจ ออกแบบ ส่วนฝ่ายไทยรับผิดชอบเรื่องการเวนคืนที่ดิน และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

ส่วนที่จะรับผิดชอบร่วมกัน คือ การประเมินราคาก่อสร้างของโครงการ อีกทั้งรูปแบบการลงทุนจะเป็นแบบ EPC (Engineering Procurement Construction) โดยจะแยกงานในแต่ละส่วนและจับคู่บริษัทไทยกับจีนทำงานร่วมกัน ยกเว้นงานก่อสร้างอุโมงค์และวางระบบรางและระบบอาณัติสัญญารจะต้องให้ทางจีนเป็นผู้ดำเนินการหลัก

สำหรับเงินลงทุนจะมีการหารือร่วมกันในวันที่ 10-11 มีนาคมนี้ที่กรุงเทพฯ ทั้งสัดส่วนการลงทุนและดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งทางฝ่ายไทยและจีนเจรจากันว่าดอกเบี้ยที่ต้องการอยู่ที่ประมาณ 2% และครั้งที่ 3 นี้จะมีการลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย เพื่อดูการพัฒนาพื้นที่สถานี ทั้งการพัฒนาสถานีบริการ สถานีชุมทาง สถานีขนถ่ายสินค้า

"คาดว่าครั้งที่ 3 กระทรวงคมนาคมจะลงนามบันทึกความร่วมมือทำงานร่วมกันหรือ MOC กับจีน"

//-------------------

เยอรมันอ้อนลงทุนรถไฟฟ้ากทม.-หิวหิน ยันโฟล์คลุยอีโคคาร์2แน่
มติชน
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 16:30:15 น.

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังนายรอล์ฟ ซูลเช่ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทยและคณะเข้าพบที่กระทรวงอุตสาหกรรม ว่า ทางเยอรมนีแสดงความสนใจลงทุนในไทย 3 เรื่องหลัก คือ

1.สนใจลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ ระยะสั้น คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน เนื่องจากทางเยอรมนี มีบริษัทผู้ลงทุนที่มีความพร้อม คือ กลุ่มซิเมนต์ ที่ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในไทยหลายโครงการแล้ว อาทิ แอร์พอร์ตลิ้งค์

2. คือ ความสนใจลงทุนกำจัดสารปรอทจากน้ำมัน ซึ่งเป็นกากอุตสาหกรรมที่เกิดจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยเฉพาะจากการผลิตของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ที่ปัจจุบันส่งสารปรอทไปกำจัดที่ประเทศเยอรมนีและสวิสเซอร์แลนด์ บริษัทเอกชนผู้รับกำจัดจึงมีความสนใจเข้ามาลงทุนโรงงานในไทย

3.ทางเยอรมนีได้แจ้งยืนยันการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะ 2 (อีโคคาร์2) ของบริษัท โฟล์คสวาเกน ที่ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนถึงรายละเอียดการลงทุน จึงยังไม่ผ่านการพิจารณาออกบัตรส่งเสริมจากสำนักงานคณะส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ดังนั้นหลังจากนี้ทางบริษัทรถยนต์จะเข้ามาหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 16/02/2015 8:45 pm    Post subject: Reply with quote

ดูเหมือนผลประโยชน์ไม่ลงตัวเลยไม่ได้ข้อสรุปเสียที ไม่น่าแปลกใจครับ ชาติไหนก็ต้องเลือกทางเลือกที่ตนได้ผลประโยชน์สูงสุด สำหรับจีน ผมไม่แปลกใจ 100% แน่นอนเพื่อผลประโยชน์ของชาติเค้า บริษัทก่อสร้าง บริษัทสร้างรถไฟ ของจีนเกือบทั้งหมดเป็นมีรัฐบาลจีนเป็นเจ้าของ นั้นหมายความว่าเจอเอาแบบไหน ราคาเท่าไหร่ ถ้าเคลียร์กับรัฐบาลจีนได้ จบ ไม่ต้องผ่านนายหน้าหลายชั้น แต่ของพี่ไทยเรา เอกชนกับรัฐมันคนละคนกัน มีช่องว่าง ต้องมีconnection ขนาดสายไฟฟ้ายังมีloss จากความต้านทาน นับประสาอะไรกับหัวใจ....เอ้ย นับประสาอะไรกับโครงการที่ต้องใช้เงินทุนสูงๆ รีบเคลียร์รีบเคาะตัวเลขเถอะครับ แต่ถามว่าคนของเราพร้อมรึยัง มีระบบที่เป็นมาตรฐาน มีความเป็นมืออาชีพสูงๆ หรือยัง? บุคคลากรส่วนใหญ่ตอนนี้ถือว่าใกล้เคียงแต่ยังไม่ใช่ ลองไปดูแบบระบบที่ใช้กันในการบินพานิชย์ แล้วมาปรับใช้กับระบบราง มีระบบการทำงานการจัดการที่ได้มาตรฐาน พอกันทีกับช่างใส่ช๊อปเปื้อนน้ำมันเครื่องลากแตะเดินโทงๆ ในยานสถานี บนขบวนรถเล่นแขวนถุงดำ ตามทางออก แม่บ้านใช้ไ้ม้ถูพื้นและน้ำยาชนิดถูกที่สุดในท้องตลาด ถูทีนึงทำให้ทำให้ผู้โดยสารบริเวณนั้นมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งโพรงจมูกมากกว่าคนปกติร้อยเท่า ด้ามธงเขียวแดงใช้ด้ามทำจากท่อพลาสติกราวกับว่าเลิกงานแล้วจะต้องไปไลน์แมนตัดสินบอลวัดต่อ ทั้งที่เงินเดือนหลายท่านสูงมากๆ ถ้าเป็นบางอาชีพอุปกรณ์ทำมาหากินหลักอย่างนี้ อาจใช้ด้ามไม้สักทองเลี่ยมทองไปแล้วก็ได้ บางท่านเคลมบอก ใช้ของดีเกินเดี๋ยวโดนขโมย อ๋อ! ถ้าโดนขโมย พี่ก็แจ้งตำรวจรถไฟดิครับ พี่เค้าบอกไม่เอาหรอก ถ้าเกิดหายแถวหลังสวน พี่อยู่กทม ตำรวจรถไฟเค้าก็ให้ไปแจ้งกับ สน.ท้องที่ที่ธงพี่หายอยู่ดี ค่ารถก็ไม่คุ้มแระ 5555 แซวพอเป็นพิธี หวังว่าพรุ่งนี้รถไฟไทยคงจะดีขึ้นนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2015 10:04 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีน ได้ข้อสรุป ต้นมี.ค.นี้
by Rachida Chuabunmee
Voice TV
17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 18:12 น.


กระทรวงคมนาคม คาดได้ข้อสรุปรูปแบบการลงทุนรถไฟทางคู่ไทย-จีน ต้นเดือนหน้า ขณะที่ญี่ปุ่น พร้อมร่วมมือพัฒนารถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีแดง โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรางให้แก่ไทย

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าความร่วมมือโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรางไทย-จีนว่า ล่าสุด จีนตกลงในหลักการร่วมลงทุนกับไทยในรูปแบบ EPC หรือ Engineering Procurement and Constuction

โดยฝ่ายไทย จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดินและศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ส่วนจีน รับผิดชอบการสำรวจและออกแบบโครงการ ซึ่งจีนยินดีถ่ายทอดเทคโนโลยีการก่อสร้างระบบรางให้ไทยเต็มที่

สำหรับรูปแบบการลงทุนและการพิจารณาแหล่งเงินทุน ต้องหารือกับธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีน และกระทรวงการคลังของไทย คาดว่าจะได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งที่ 3 วันที่ 10-11 มีนาคมนี้

ภายใต้ความร่วมมือกับจีน จะเริ่มทำการสำรวจออกแบบ 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ -แก่งคอย และแก่งคอย-มาบตาพุด ในเดือนสิงหาคมนี้ และเริ่มก่อสร้างตุ

ส่วนญี่ปุ่น พร้อมร่วมมือพัฒนารถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีแดง รวมทั้งศึกษาการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ในเส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และแม่สอด-มุกดาหาร ตลอดจนเส้นทางเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอนาคตด้วย
//-----------------------

แจกรถไฟไทย-ญี่ปุ่น1เส้นทาง
เดลินิวส์
วันอังคาร 17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 20:12 น.

นายกฯ แจกรถไฟจีทูจีให้ญี่ปุ่น 1 เส้น คาดศึกษาจบสิ้นปีนี้ สั่งลุยประชุมต่อนัดแรกเดือนหน้า ด้านรถไฟไทย-จีน ยันไม่กู้จีน 100% แบ่งใช้งบรัฐเวนคืนที่ดิน


พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในการเดินทางไปหารือของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนั้น ไทยได้ยืนยันว่าพร้อมให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาโครงการรถไฟ ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ด้วยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล 1 เส้นทาง ซึ่งเป็นแบบวิธีเดียวที่ไทยทำกับจีน และหลังจากนี้ทั้ง 2 ฝ่ายจะให้ตั้งคณะทำงานระดับรัฐมนตรีระหว่างไทย-ญี่ปุ่นเพื่อศึกษาราย ละเอียดร่วมกัน โดยให้ญี่ปุ่นเลือกเส้นทางก่อสร้างเพียงเส้นทางเดียว จากแผนที่ศึกษาทั้งหมด 3 เส้นทาง และให้หาข้อสรุปได้ก่อนสิ้นปีนี้

“เดิมญี่ปุ่นสนใจก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แต่ต่อมาไทยได้เสนอยุทธศาสตร์เชื่อมโยงภาคตะวันออกและตะวันตก เพื่อไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งญี่ปุ่นก็สนใจ ทั้งเส้นทางตาก-มุกดาหาร รวมถึงเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ระยอง และแยกไปสระแก้ว เพราะเชื่อมโยงกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายได้ด้วย แต่สุดท้ายญี่ปุ่นจะเลือกเส้นทางใด ต้องรอผลศึกษาชัดก่อน หลังจากนั้น อาจนำไปสู่การลงนามความร่วมมือระดับผู้นำทั้ง 2 ประเทศต่อไป และเดือนมี.ค.นี้ ไทย-ญี่ปุ่นจะเริ่มประชุมเป็นครั้งแรก เพื่อกำหนดคณะทำงาน รายละเอียดขอบเขตการศึกษา กรอบเวลาดำเนินการ จากนั้นจึงตอบได้ว่าจะญี่ปุ่นจะเลือกก่อสร้างเส้นทางไหน”

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า ส่วนความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ในวันที่ 10-11 มี.ค.นี้ จะมีนัดประชุมความร่วมมือ ครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ และหนองคาย เพื่อหารือถึงแนวทางด้านการเงินที่ใช้ในโครงการ รูปแบบการลงทุน การจัดแหล่งเงินทุน ด้วยรูปแบบความร่วมมือและการลงทุนแบบอีพีซี พร้อมกับมีลงนามบันทึกความตกลงร่วมมือ 2 ฝ่าย (เอ็มโอซี) อีกครั้ง พร้อมกับกำหนดเวลาเดือนมี.ค.จะต้องตกลงเลือกบริษัทเข้ามาสำรวจออกแบบ และจากนั้นให้สรุปวงเงิน แหล่งเงิน และสัดส่วนการลงทุนให้จบภายในเดือนก.ย.เพื่อเสนอให้ ครม.รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา เพื่อเริ่มก่อสร้างระยะแรกได้ทันเดือนต.ค.58 และสร้างเสร็จใน 30 เดือน และระยะสองก่อสร้างได้ต้นปี 59 เวลา 36 เดือน

“ตอนนี้ยืนยันแล้วว่าจะไม่กู้จากจีน 100% หลังจากนี้ไทยจะพิจารณาแยกรายละเอียดโครงการทั้งส่วนโครงสร้าง และการดำเนินออกจากกัน หากเป็นการลงทุนเกี่ยวกับงานโยธา หรือโครงสร้างก็อาจเลือกใช้แหล่งเงินทุนภายใน ซึ่งตอนนี้ได้คุยกับกระทรวงการคลังแล้ว อาจเป็นการกู้ หรืออกพันธบัตร หรือตั้งตกองทุน ขณะที่งบประมาณสำหรับเวนคืน จะใช้งบประมาณแผ่นดินทั้งหมด”

ส่วนเงินกู้จากจีน เบื้องต้นไทยพอใจหากจีนเสนอดอกเบี้ยพิเศษให้ 2% แต่ต้องการเพิ่มเวลาปลอดการผ่อนชำระเพิ่มจาก 5 ปี รวมถึงเงื่อนไขการผ่อนชำระที่กำหนดไว้ 15 ปี ขณะเดียวกันฝ่ายไทยยังเสนอให้จีนสร้างศูนย์ควบคุมการก่อสร้างรถไฟในภูมิภาค และการผลิตชิ้นส่วนในไทย เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งภูมิภาคด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2015 11:54 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่"หาเงินกู้ลงรถไฟทางคู่ จีนคิดดอก2.5%ไทยขอ2%

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
18 กุมภาพันธ์ 2558 21:02 น.

วานนี้ (18 ก.พ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการหารือร่วมไทย-จีน ที่จีนจะเสนอการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อสร้างรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน (Standard Gauge)ว่า ทุกอย่างเป็นเรื่องของการเจรจา ต่างฝ่ายต่างยื่นข้อเสนอกันมา ตอนนี้ทางจีนเสนอดอกเบี้ยมาร้อยละ 2.5 และ ทางนี้ต่อรองมาว่าให้ ร้อยละ 2 และเราจะมาดูอีกว่า จะสามารถต่ำกว่า ร้อยละ 2 หรือไม่ ถ้าได้ก็โอเค แต่ถ้าไม่ได้ ส่วนไหนที่ได้ ก็จะกู้มาจำนวนหนึ่งในส่วนที่อาจมีการลงทุนร่วมกัน บางส่วนอาจจะต้องไปกู้แหล่งเงินทุนอื่น ที่ดอกเบี้ยราคาถูกกล่าว
"นี่คือสิ่งที่รัฐบาลจะทำ ไม่ใช่เหมาจ่ายไปทุกวัน เวลาคิดให้นึกถึงคณะทำงาน ที่คิดเยอะไปหมด คิดในหลายๆ ส่วน การลงทุนไม่ใช่การเซ็นเอ็มโอยู แล้วสร้าง แล้วจ่ายเงินในทันที ต้องมีการกู้เงินอีก มีอีกตั้ง 7-8 คณะ การลงทุน การก่อสร้าง การควบคุม เดินรถ การค้าขายบนเส้นางรถไฟ ต้องผ่านการทำผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก่อน รวมถึงประชาพิจารณ์ ต้องทำทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าเซ็นพรุ่งนี้ แล้วมะรืนนี้สร้างซะเมื่อไหร่ โน้นตั้งกันยายน ผมจะเร่งให้เร็วกว่านั้น แต่ก็ยังติดปัญหา ดอกเบี้ยก้ยังตกลงกันไม่ได้ กู้เงินจะกู้ที่ไหน ไม่ใช่สมยอมกันทุกเรื่อง เป็นมิตรกันก็ต้องมีผลประโยชน์ที่ เท่าเทียม ทางจีนเขาก็โอเค ผู้นำพูดกันไม่มีปัญหาเลย แต่ปัญหาที่พบคือกลไกลต่าง ๆ เช่น บริษัทก่อสร้าง ที่ไม่ได้สร้างเอง แต่มีบริษัท ที่ต้องเข้ามาสร้าง แล้วเราต้องเลือกบริษัทอื่นอีก มาร่วมกันลงทุน ที่จะมาก่อสร้างกับบริษัทไทย พวกเราและข้าราชการ คงจะทำรถไฟเองไมได้หรอก เราต้องจ้างคนต่ออีกเหมือนกัน ต่างคนต่างต้องเลือกกัน อยู่ที่การเจรจา ตกลงได้ก็ได้ อย่าไปกังวล อันไหนดอกเบี้ยถูกก็กู้ที่นั่น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

//------------------

“บิ๊กตู่” ต่อรองจีนลดดอกเบี้ยกู้สร้างรถไฟรางคู่ รับพอใจผลงานไม่ได้ ต้องดู รบ.หน้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
18 กุมภาพันธ์ 2558 15:17 น. (แก้ไขล่าสุด 18 กุมภาพันธ์ 2558 16:26 น.)

“ประยุทธ์” อวยพรรับตรุษจีน ชี้คนไทยทุกเชื้อชาติอยู่ใต้พระบารมี ใช้สติแก้ปัญหา ขอกำลังใจทำงาน รับยังพอใจผลงานไม่ได้ ต้องดู รบ.หน้าสานต่อหรือไม่ แจง ต่อรองจีนลดดอกเบี้ยกู้สร้างรถไฟรางคู่เหลือ ถ้าไม่ได้อาจกู้แค่ส่วนที่ร่วมลงทุน ชี้ต้องคิดหลายส่วนไม่ใช่แค่เซ็น MOU ย้ำเป็นมิตรประโยชน์ต้องเท่าเทียม

วันนี้ (18 ก.พ.) ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวอวยพรเนื่องในเทศกาลตรุษจีนว่า “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ขอให้ร่ำให้รวย มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ในวันตรุษจีน หรือในวันตรุษจีน เราเป็นคนไทยด้วยกัน ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาใดเราคือคนไทย ใต้ร่มพระบารมี ขอให้ทุกคนตั้งสติให้ดีๆ ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา และช่วยรัฐบาลทำในสิ่งที่ดี อันไหนไม่ดีก็ติเตือนว่ากันมา บอกมา ให้กำลังใจกันบ้าง ขอแค่นั้นแหละ ปีใหม่ไม่ขออะไรเลย ผมมีความปรารถนาดีกับคนไทยทุกคน”

นายกฯ กล่าวอีกว่า สำหรับเฉพาะคนที่ยังมีรายได้น้อยอยู่ เราได้พยายามทำทุกอย่างอยู่ วางอนาคตให้ได้ ถ้าทุกคนเข้าใจว่าปัญหาไม่ใช่ว่าประชุมวันนี้สั่งวันนี้ จบวันนี้ มันไม่ใช่สักอันเลย ทำงานต้องทำแบบนี้ และถ้าทำงานกันแบบนี้มาหลายๆรัฐบาลคงไม่ต้องถึงวันนี้ จะไม่มีปัญหาที่ว่ามาเลย สิ่งที่ทำออกมาแล้วมันอาจจะมีผลพอใจหรือไม่นั้น มันก็พอใจไม่ได้ เพราะยังไม่ยั่งยืน ยังไม่เกิดขึ้น ต้องไปถามหาจากรัฐบาลต่อไป ถ้าทำได้อย่างที่ตนทำได้ก็โอเค ได้เริ่มไว้ให้หมดแล้ว แต่จะทำต่อหรือเปล่าไม่รู้ ก็อยู่ที่ท่าน

พล.อ.ประยุทธ์ยังกล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการหารือร่วมไทยจีน ที่จีนจะเสนอการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อสร้างรถไฟทางคู่ว่ารางมาตรฐาน (Standard Gauge) ว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของการเจรจา ต่างฝ่ายต่างยื่นข้อเสนอกันมาตอนนี้ทางจีนเสนอดอกเบี้ยมาร้อยละ 2.5 และทางนี้ต่อรองมาว่าให้ ร้อยละ 2 และเราจะมาดูอีกว่าจะสามารถต่ำกว่า ร้อยละ 2 หรือไม่ถ้าได้ก็โอเค แต่ถ้าไม่ได้ ส่วนไหนที่ได้ก็จะกู้มาจำนวนหนึ่งในส่วนที่อาจมีการลงทุนร่วมกัน บางส่วนอาจจะต้องไปกู้แหล่งเงินทุนอื่นที่ดอกเบี้ยราคาถูก

“นี่คือสิ่งที่รัฐบาลจะทำ ไม่ใช่เหมาจ่ายไปทุกวัน เวลาคิดให้นึกถึงคณะทำงาน ที่คิดเยอะไปหมด คิดในหลายๆ ส่วน การลงทุนไม่ใช่การเซ็นเอ้มโอยู แล้วสร้างแล้วจ่ายเงินในทันที ต้องมีการกู้เงินอีก มีอีกตั้ง 7-8 คณะ การลงทุน การก่อสร้าง การควบคุม เดินรถ การค้าขายบนเส้นางรถไฟ ต้องผ่านการทำผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก่อน รวมถึงประชาพิจารณ์ ต้องทำทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าเซ็นพรุ่งนี้แล้วมะรืนนี้สร้างซะเมื่อไหร่ โน้นตั้งกันยายน ผมจะเร่งให้เร็วกว่านั้น แต่ก็ยังติดปัญหา ดอกเบี้ยก็ยังตกลงกันไม่ได้ กู้เงินจะกู้ที่ไหน ไม่ใช่สมยอมกันทุกเรื่อง เป็นมิตรกันก็ต้องมีผลประโยชน์ที่เท่าเทียม ทางจีนเขาก็โอเค ผู้นำพูดกันไม่มีปัญหาเลย แต่ปัญหาที่พบคือกลไกลต่างๆ เช่นบริษัทก่อสร้าง ที่ไม่ได้สร้างเอง แต่มีบริษัททีต้องเข้ามาสร้าง แล้วเราต้องเลือกบริษัทอีก มาร่วมกันลงทุนที่จะมาก่อสร้างกับบริษัทไทย พวกเราและข้าราชการคงจะทำรถไฟเองไมได้หรอก เราต้องจ้างคนต่ออีกเหมือนกัน ต่างคนต่างต้องเลือกกัน อยู่ที่การเจรจา ตกลงได้ก็ได้ อย่าไปกังวล อันไหนดอกเบี้ยถูกก็กู้ที่นั่น” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2015 1:22 pm    Post subject: Reply with quote

เงื้อง่าไฮสปีดเทรน 4 สาย รอ "บิ๊กตู่" กดปุ่ม 1.5 ล้านล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 12:30:08 น.


โปรเจ็กต์ "รถไฟความเร็วสูง" 4 เส้นทางเชื่อม 4 ภูมิภาค ในยุค "รัฐบาลเพื่อไทย" มูลค่า 783,299 ล้านบาท ถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง

หลัง "บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา"กลับจากประเทศญี่ปุ่นและติดใจ "รถไฟชินคันเซ็น" เลยสั่งเหยียบคันเร่ง "ไฮสปีดเทรน" เส้นทางจากกรุงเทพฯไปยังเมืองท่องเที่ยวยอดนิยม



"ให้ศึกษาแนวคิดสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกรุงเทพฯกับแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม เช่น หัวหิน พัทยา จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วม อาจจะเป็นการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือเชิญชวนเอกชนทั้งในและต่างประเทศที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุน ส่วนงบก่อสร้างจะใช้งบประมาณหรือเงินกู้ จะดูรายละเอียดต่อไป"

นับเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ ที่ "บิ๊ก คสช." เอ่ยถึงรถไฟความเร็วสูง โครงการตกทอดจาก "เพื่อไทย" นับจาก "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา

และปรับโมเดลใหม่ จากไฮสปีดเทรนเป็น "รถไฟทางคู่รางมาตราฐาน" ความเร็วปานกลาง 160-180 กม./ชม. พร้อมชูเส้นทางเชื่อมจีนตอนใต้จากหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุดและแก่งคอย-กรุงเทพฯ 873 กม. ที่ MOU กับจีนเป็นโปรเจ็กต์ไฮไลต์

ล่าสุด "รถไฟไทย-จีน" กำลังเจรจารูปแบบการลงทุน รวมถึงสำรวจเส้นทางและออกแบบรายละเอียด จะเริ่มตั้งแต่มี.ค.นี้เป็นต้นไป มี "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" เจ้ากระทรวงคมนาคมเป็นแม่ทัพขับเคลื่อน ตั้งเป้าจะคิกออฟเฟสแรก "กรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด" ปลายปีนี้

สำหรับสถานะล่าสุดรถไฟความเร็วสูง ทั้ง 4 เส้นทาง (ดูกราฟิก) เฟสแรกศึกษาเส้นทางและทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวมกว่า 1.45 ล้านล้านบาท

เริ่มจากสาย "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" 669 กม. ศึกษาเสร็จแล้วทั้งโครงการ แบ่งเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 384 กม. รออนุมัติอีไอเอ มีค่าก่อสร้าง 212,893 ล้านบาท ส่วนเฟส 2 "พิษณุโลก-เชียงใหม่" เพิ่งเคาะแนวเส้นทาง มีระยะทาง 285 กม. เป็นเส้นทางตัดใหม่ช่วงสุโขทัย-ลำปาง จะเริ่มต้นที่พิษณุโลกจุดเชื่อมต่อจากเฟสแรกไปถึงเชียงใหม่ มี 5 สถานี ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ใช้เงินก่อสร้าง 214,005 ล้านบาท

สาย "กรุงเทพฯ-หนองคาย" 611 กม. จะเป็นแนวเดียวกับรถไฟไทย-จีน รองรับกับโครงข่ายที่ "จีน" ที่เวียงจันทน์ สำหรับความคืบหน้าเฟสแรก "กรุงเทพฯ-นครราชสีมา" 253 กม. รออนุมัติรายงานอีไอเอ จะใช้เงินลงทุน 176,598 ล้านบาท ส่วนเฟส 2 "นครราชสีมา-หนองคาย" 358 กม. กำลังศึกษาโครงการ คาดว่าจะใช้เงินก่อสร้าง 170,725 ล้านบาท

สาย "กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์" 970 กม. พร้อมที่สุด "กรุงเทพฯ-หัวหิน" 211 กม. รออนุมัติรายงานอีไอเอ ใช้เงินลงทุน 98,399 ล้านบาท

สุดท้ายสาย "กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง" ขณะนี้ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" เพิ่งศึกษาโครงการเสร็จ มีแนวเส้นทางพาดผ่าน 4 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวม 193.5 กม. ใช้เงินลงทุน 152,000 ล้านบาท มีจุดเริ่มต้นจากสถานีลาดกระบังไปจนถึงสถานีระยอง มี 6 สถานี ได้แก่ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และระยอง จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี 5 เดือน

ทั้งหมดเป็นความพร้อม ณ เวลานี้ ส่วนจะได้เห็นการเริ่มต้นปีนี้หรือปีหน้าเลยหรือไม่ ยังต้องลุ้น เพราะเวลาของ "รัฐบาล คสช." เองก็เหลือน้อยเต็มที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2015 12:01 pm    Post subject: Reply with quote

แบ่งเค้กรถไฟไทย-จีน-ญี่ปุ่น ลุ้นกลายร่าง 1.435 ม. เป็นไฮสปีดเทรน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
23 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 17:32:16 น.


ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาประเด็นตามสื่อต่างๆ มากพอสมควร

นั่นก็เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เปรยออกมาระหว่างเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า "ประเทศไทยเองอยากให้มีชินคันเซนเช่นกัน อย่างไรก็ดี ต้องขึ้นกับการให้ความสนับสนุนของญี่ปุ่น"

ซึ่งเป็นการพูดขึ้นมาหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ ได้ฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานีรถไฟโตเกียว รถไฟสายต่างๆ และการพัฒนาด้านระบบรางของญี่ปุ่น ก่อนที่จะทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงชินคันเซน จากสถานีโตเกียวไปยังนครโอซาก้า

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทย พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้ชวนเศรษฐีมาทำไฮสปีดเทรนอีกด้วย โดยได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้หารือกันว่าจะสามารถทดลองให้เกิดรถไฟความเร็วสูงสักช่วงได้หรือไม่ สำหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่ เช่น พัทยา หัวหิน ในลักษณะการร่วมลงทุน โดยกำลังประชาสัมพันธ์ให้ภาคเอกชนของไทยที่รวยเยอะๆ มาร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ซึ่งจากที่ไปดูประเทศญี่ปุ่น หากเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ใช้งบประมาณ 4 แสนล้านบาท แต่ไทยมีที่ดินอยู่ ถ้าเศรษฐีไทยมาร่วมลงทุน และต่างประเทศมาร่วมหุ้นบ้างก็น่าจะดี

แต่เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถามเรื่องนี้กับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กลับยังไม่ค่อยชัดเจนนัก

ได้รับคำตอบเพียงว่า กรณีที่นายกฯ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลเตรียมเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนไทยเข้ามาลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางระยะสั้น เช่น กรุงเทพฯ-พัทยา ทราบเรื่องจากการนำเสนอข่าวของสื่อเท่านั้น

แต่เมื่อดูจากหัวข้อข่าวแล้วคาดว่าอาจจะมีทีมงานด้านเศรษฐกิจหรือทีมงานของกระทรวงคมนาคมยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารือ

ดังนั้น จะสอบถามและหารือประเด็นดังกล่าวกับนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

มาถึงตอนนี้จึงยังไม่แน่ว่าแนวคิดนี้จะได้รับการสายต่อให้เป็นรูปธรรมภายในรัฐบาลชุดนี้ได้จริงหรือไม่

แต่หากพิจารณาเรื่องของรถไฟความเร็วสูง ต้องยอมรับว่าได้เริ่มมีการศึกษาและออกแบบจริงในรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งในเบื้องต้นกำหนดไว้ 4 เส้นทาง คือ

1.เส้นทางสายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 จะก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 382 กิโลเมตรก่อน

2.เส้นทางสายใต้ กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ ระยะที่ 1 จะก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตรก่อน

3.เส้นทางสายอีสาน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะที่ 1 จะก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 256 กิโลเมตรก่อน โดยทั้ง 3 เส้นทาง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ศึกษาและออกแบบ

และ 4.เส้นทางสายตะวันออก กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้ศึกษาและออกแบบ

ผลการศึกษากำหนดให้สายเหนือ วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เฉลี่ยการใช้ความเร็วตลอดเส้นทางจะอยู่ที่ประมาณ 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ใช้เวลาเดิน 1 ชั่วโมง 45 นาที สายอีสาน ใช้ความเร็ว 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนสายตะวันออก ได้พิจารณาว่าจะใช้ความเร็วไม่สูงมาก หรืออาจจะใช้เท่ากับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เพราะมีระยะทางไม่ไกล จึงไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วมาก

แต่เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่กลายร่างเป็นรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนใหม่ให้เป็นความเร็วปานกลาง ที่ใช้ความเร็วได้ระหว่าง 160-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยได้ร่วมมือกับรัฐบาลจีนเริ่มดำเนินการในเส้นทางแรก คือ หนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ช่วง เพื่อความรวดเร็ว คือ

1.ช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร

2.ช่วงแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร ซึ่งทั้ง 2 ช่วงนี้จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนตุลาคม 2558 ใช้เวลาก่อสร้าง 30 เดือน หรือประมาณ 2 ปีครึ่ง

ส่วนช่วงที่ 3 คือ แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร

และ 4.ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร จะเริ่มก่อสร้างต้นปี 2559 ใช้เวลาก่อสร้าง 36 เดือน หรือประมาณ 3 ปี

ล่าสุด เมื่อวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พล.อ.อ.ประจิน ได้เดินไปประชุมร่วมกับรัฐบาลจีน เพื่อพิจารณาความร่วมมือโครงการพัฒนารถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงร่วมกันเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือและรูปแบบการลงทุนเบื้องต้น

1.รูปแบบความร่วมมือมีการแบ่งความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการ จะร่วมมือกันรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการสำรวจออกแบบ ส่วนไทยจะรับผิดชอบงานเรื่องเวนคืนที่ดิน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนงานด้านการประเมินราคาโครงการก่อสร้างทั้ง 2 ฝ่ายจะรับผิดชอบร่วมกัน

2.รูปแบบการลงทุน จะใช้รูปแบบอีพีซี โดยรัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าของโครงการรับผิดชอบงานโยธาส่วนใหญ่ การพัฒนาสถานีบริการ สถานีขนถ่ายสินค้า และสถานีชุมทางต่างๆ ส่วนฝ่ายจีนจะรับผิดชอบงานด้านการออกแบบและวางระบบเดินรถและอาณัติสัญญาณ รวมไปถึงงานโยธาที่ต้องใช้เทคโนโลยีพิเศษ เช่น การขุดเจาะอุโมงค์ การสร้างเส้นทางเลียบเชิงเขา เป็นต้น

สำหรับงานระบบเดินรถในระยะแรกจีนจะรับผิดชอบ เนื่องจากเทคโนโลยีระบบเดินรถเป็นของฝ่ายจีน โดยระหว่างนั้นฝ่ายไทยจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานการเดินรถ จากนั้นฝ่ายจีนจะโอนงานเดินรถทั้งหมดให้ฝ่ายไทย

ส่วนงานด้านศูนย์ซ่อมบำรุงจีนจะรับผิดชอบในช่วงแรกก่อน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจากนั้นจะโอนงานทั้งหมดให้ไทย ดำเนินการเองทั้งหมด

นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังขอให้จีนเข้ามาตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถไฟฟ้าในไทยด้วย ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะอยู่ที่ 2% ซึ่งไทยจะไม่กู้จากจีนทั้งหมด แต่จะใช้เงินกู้ในประเทศด้วย

ส่วนความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น รัฐบาลไทยได้ลงนามเอกสารความร่วมมือ 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คือ

1.บันทึกแสดงเจตจำนง (เอ็มโอไอ) ความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมไทย-ญี่ปุ่น

และ 2.บันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอซี) ในการส่งเสริมการทำธุรกิจและการลงทุนของไทยในญี่ปุ่น เพื่อผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยจะเป็นการศึกษาและพัฒนา 3 เส้นทางเร่งด่วนในไทย

โดย 2 เส้นทางแรก จะเชื่อมฝั่งตะวันออกและตะวันตกของไทย คือ

1.กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ-จังหวัดฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง

เส้นทางที่ 2 จากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก-จังหวัดมุกดาหาร

และ 3.เส้นทางเชื่อมภาคเหนือ กรุงเทพฯ-จังหวัดเชียงใหม่ เบื้องต้นความร่วมมือในครั้งนี้ได้กำหนดเป็นการศึกษาแนวทางเส้นทาง ความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ และความคุ้มค่าของการลงทุนร่วมกัน โดยในจำนวนเส้นทางดังกล่าวจะให้ญี่ปุ่นเลือกดำเนินการได้เพียง 1 เส้นทางเท่านั้น

ก่อนที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะตกลงร่วมมือกันทางญี่ปุ่นยังหยอดคำหวานให้ไทยได้ชื่นใจด้วยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ญี่ปุ่นมองไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างการ เติบโตในภูมิภาค และไทยยังมีคนญี่ปุ่นอาศัยอยู่ประมาณ 6 หมื่นคน มีบริษัทที่เข้ามาลงทุนในไทยกว่า 4 พันบริษัท ไทยเป็นฐานการผลิตของญี่ปุ่น จึงพร้อมจะร่วมมือกับไทยพัฒนาระบบรางปกติขนาด 1 เมตร รางมาตรฐาน 1.435 เมตร และไฮสปีดเทรนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

แต่ท้ายที่สุดจะกลายร่างเป็นรูปแบบอื่นอีกหรือไม่ คงต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2015 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

เทียบฟอร์ม "จีน-ญี่ปุ่น" เกมชิงไหวชิงพริบ รถไฟ คสช.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
26 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:55:03 น.


กำลังเป็นที่จับจ้องสำหรับ "ปฏิกิริยา-แผนปฏิบัติการของ 2 ขั้วพันธมิตร "จีน-ญี่ปุ่น" ยักษ์ใหญ่แห่งวงการรถไฟที่กำลังจะแผ่ขยายอิทธิพลมายังประเทศไทย ภายใต้บทบาทที่ชูไทยให้เป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การขนส่งของภูมิภาคเอเชีย





ไทยศูนย์กลางอาเซียน

ถึงแม้ไทยมีทำเลที่ตั้งเป็นต้นทุนที่ได้เปรียบ แต่ "ระบบโครงสร้างพื้นฐาน" ยังขาดการลงทุนมานานนับปี จึงเป็นที่มาทำไม "รัฐบาลไทย" ยุค "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ต้องเซ็น MOU กับรัฐบาลจีน พัฒนารถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ 873 กม.

และเซ็น MOI กับรัฐบาลญี่ปุ่น สำรวจความเป็นไปได้ระบบรถไฟราง 1 เมตรเดิม และ 1.435 เมตร ทั้งรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทั่วไปใน 3 เส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ด้านบนและล่าง ได้แก่ แม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-บ้านไผ่-มุกดาหาร, พุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง

กับแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เริ่ม มี.ค.นี้และภายในสิ้นปี "ญี่ปุ่น" ต้องเลือก 1 เส้นทางศึกษารายละเอียดเหมือน "รถไฟไทย-จีน" โดยเส้นทางตะวันออก-ตะวันตกด้านล่างน่าจะเป็นไปได้มากสุด เพราะเชื่อมการขนส่ง 2 ท่าเรือ จาก "ทวาย-แหลมฉบัง" ที่ญี่ปุ่นใช้เป็นฐานส่งออกจากไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพราะประหยัดต้นทุนโลจิสติกส์

นอกจากนี้ "ญี่ปุ่น" ยังสนใจพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล หลังซัพพลายเออร์ญี่ปุ่นมาปักธงสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) และสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) หมุดต่อไปเล็งไปยังสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ, หัวลำโพง-บางแค)

รวมถึงร่วมกับ "ไทย-เมียนมาร์" พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และดึงนักลงทุนอุตสาหกรรมซัพพลายเชนมาลงทุนเขตเศรษฐกิจชายแดน 6 แห่งนำร่อง ได้แก่ ตาก มุกดาหาร ตราด สระแก้ว สงขลา และหนองคาย จึงเป็นเหตุผลทำให้ "ญี่ปุ่น" สนใจสำรวจเส้นทางรถไฟแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกเป็นพิเศษ เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจชายแดนไทยกับ 4 ประเทศ "เมียนมาร์-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม"

เชื่อมการค้าทะเล-เพื่อนบ้าน

กล่าวสำหรับประเทศไทยหากประสบความสำเร็จเท่ากับช่วยหนุนยุทธศาสตร์การค้า "จีน-ญี่ปุ่น" ทะลุไปเมียนมาร์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา โดย "จีน" มียุทธศาสตร์ฟื้นเส้นทางสายไหมการขนส่งทางบกและทะเล โดยลากเส้นทางจากคุนหมิง เวียงจันทน์ ไทย ท่าเรือมาบตาพุด และกรุงเทพฯ เพื่อขนส่งสินค้าจากจีน-ลาวส่งออกทางทะเล ขณะเดียวกันรับนักท่องเที่ยวจีนจากมณฑลยูนนานมาไทย

ส่วน "ญี่ปุ่น" มียุทธศาสตร์สร้างฐานผลิตชายแดนและการค้าแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ด้านบน "แม่สอด-มุกดาหาร" จะเชื่อมการค้ากับเมียนมาร์ที่เมาะละแหม่ง ผ่านไทยที่แม่สอดมาลาว และดานัง เมืองท่าของเวียดนาม

ส่วนด้านล่างจะเชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของเมียนมาร์ ผ่านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี กรุงเทพฯ ไปชายแดนอรัญประเทศ กัมพูชา และโฮจิมินห์ เมืองหลวงของเวียดนาม โดยจะเชื่อมโยง "รถไฟไทย-จีน" ที่กรุงเทพฯ ชุมทางบ้านภาชีและฉะเชิงเทรา

จับตาจีน-ญี่ปุ่นกินรวบรถไฟ

จากจุดเชื่อมโยง ขณะนี้ "จีน-ญี่ปุ่น" กำลังหยั่งเชิงกันเรื่องวางระบบ "อาณัติสัญญาณ" ที่ว่ากันว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาระบบราง เนื่องจากประเทศใดได้ปักธงสร้างรถไฟเป็นสายแรก เท่ากับจะผูกขาดงานระบบรางและซื้อขบวนรถในอนาคต

และตรงนี้คือเป้าหมายสูงสุดที่ "จีน-ญี่ปุ่น" อยากมาเปิดตลาดรถไฟที่ประเทศไทย

"เส้นทางรถไฟจีนและญี่ปุ่น มีจุดตัดของระบบ 2 ประเทศ ก็ถกกันมากว่าจะเลือกใช้ระบบ ETCS หรือระบบอาณัติสัญญาณของใคร ระหว่างระบบจีนที่ได้ไลเซนส์จากยุโรปและอเมริกา หรือระบบญี่ปุ่น ซึ่งไทยต้องกำหนดให้ชัดเพื่อเป็นมาตรฐานกลางจะได้ไม่ผูกขาด" แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

เดิมพันครั้งนี้มีตัวอย่างจากรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ใช้ซีเมนส์ทั้งรถและระบบ จะซื้อรถยี่ห้ออื่นมาวิ่งก็ไม่ได้ จนบีทีเอสรื้อระบบใหม่ และซื้อรถจากจีนแทน เพราะราคาถูกกว่า

ดังนั้นเพื่อให้ได้จุดลงตัวรัฐบาลไทยจึงมีข้อตกลงดึง "ญี่ปุ่น" มาศึกษาให้ เพราะเป็นประเทศเดียวที่ใช้หลายระบบ

ลุ้นโซ่ข้อกลางรถไฟจีน-ลาว

ขณะเดียวกันโอกาสของ"รถไฟไทย-จีน" จะสร้างได้หรือไม่ ต้องเหลือบมอง "รถไฟจีน-ลาว" มูลค่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มาประกอบด้วย ล่าสุดแม้จะบรรลุแผนร่วมทุนจีน/ลาว สัดส่วน 70/30 แต่ "รัฐบาลลาว" ยังรอคำตอบดอกเบี้ยเงินกู้จากจีน

ดังนั้นแม้จะตั้งแท่นมา 4 ปีเต็ม และถึงแม้ "รัฐบาลลาว" จะย้ำชัดเตรียมเซ็นสัญญาปีนี้ สร้างปี 2559 เสร็จใน 5 ปี แต่สถานะยังไม่ได้ฤกษ์ตอกเสาเข็ม

จากปฏิบัติการที่ "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รมว.คมนาคม บินไปลาว ทางหนึ่งเพื่อเกาะติดข้อมูลมาเป็นข้อต่อรองจีน มีอีกกระแสระบุว่า "บิ๊กจิน" กำลังใช้การทูตจูงใจให้ "ลาว" ยอมเปิดทางให้จีนสร้างผ่านมายังไทย

ประเด็นคือหาก "รถไฟจีน-ลาว" ไม่ได้ตอกเข็ม แล้ว "รถไฟไทย-จีน" จะได้ปักหมุดไหม ในเมื่อสร้างไปก็ไปไม่ถึง ต้นทาง "คุนหมิง" อยู่ดี ขณะที่กับดักอีกตัวคือ "วงเงิน" ที่เป็นจุดเสี่ยงโครงการเพราะจะถูกบีบเรื่องเพดานหนี้สาธารณะ

แหล่งข่าววงในวิเคราะห์ว่า จากปัจจัยภายนอก-ภายใน มีแนวโน้มรถไฟไทย-จีนคงได้แค่ลงนาม MOC (ความร่วมมือ)ศึกษาและหาเงินเวนคืน-ก่อสร้าง ส่วนรถไฟไทย-ญี่ปุ่นมีลุ้นเต็มที่คือลงทุนไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ที่ศึกษาความเหมาะสมไว้เสร็จสรรพแล้ว

แต่การเคาะประมูลก่อสร้างซึ่งเป็นเค้กก้อนใหญ่น่าจะไม่ทันรัฐบาลชุดนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2015 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ เผยคมนาคมเชิญเอกชนรายใหญ่หารือร่วมทุน PPPรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
พฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 17:45:46 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ "ธุรกิจไทยขับเคลื่อนสู่ความมั่งคั่งยั่งยืนด้วยมาตรฐานสากล"ว่า รู้สึกดีใจที่การขับเคลื่อนธุรกิจตรงกับแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ 2010-2015 ในเรื่องของความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพราะเมื่อมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งการเมือง การทหาร และประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จะนำไปสู่ความมั่งคั่งในด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน พร้อมทั้งต้องมีมาตรการป้องกันเสี่ยงที่ดีพอเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป

สำหรับเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลจะดำเนินการคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะแผนพัฒนารถไฟประเทศไทย ซึ่งจะมีการทำรถไฟทางคู่ระยะทางกว่า 900 กม. แต่ในระยะแรกจะทำก่อน 600 กว่ากม. ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ก็ต้องมีการปรับปรุง และพัฒนา

โดยนายกรัฐมนตรี เปิดเผยด้วยว่ากำลังพิจารณาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงใน 3 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-พัทยา หรือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่มีนักธุรกิจไทยบางรายให้ความสนใจและเสนอการร่วมลงทุนแล้ว ในลักษณะการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ผลประโยชน์เท่าเทียมกัน

"กระทรวงคมนาคมกำลังเชิญภาคเอกชนเข้ามาเจรจา ซึ่งมีหลายบริษัทรวมตัวกัน โดยจะเข้ามาร่วมทุนในลักษณะ PPP ไม่ใช่การให้สัมปทานทั้งหมด"

ส่วนการอนุมัติงบประมาณ 4 หมื่นล้านบาทให้กรมทางหลวงชนบทก่อสร้างโครงข่ายถนนเชื่อมโยง โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจทั่วประเทศ

"หากเราไม่มองภาพทั้งระบบคงไปไม่ได้ ดังนั้นการจะขยายการค้าการลงทุนสร้างความเข้มแข็ง ต้องพร้อมทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของสาธารณูปโภค" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พร้อมย้ำว่า รัฐบาลพยายามปรับลดเงื่อนไข การลงทุน ลดขั้นตอนการดำเนินการ และรัฐบาลพร้อมสนับสนุนงานของภาคเอกชน เพื่อกระจายรายได้ให้กับคนจน

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ขณะนี้ด้านการท่องเที่ยวไทยกำลังดีขึ้น เพราะเห็นภาพจากสนามบินที่ต่อคิวกันยาว ซึ่งคิดว่ามีนักท่องเที่ยวต้องการมาเที่ยวในบ้านเมืองที่มีกฎหมายพิเศษ เพราะคงคิดว่าปลอดภัยดี ส่วนเรื่องการบินไทยนั้น ตอนนี้อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างของการบินไทย โดยไม่อยากให้โทษว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากใคร

ขณะที่ด้านการผลิตสินค้าทางการเกษตรเกษตรได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย ไปดูแลในเรื่องของรายได้เกษตรกร ต้นทุนการผลิต รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต เพื่อจะได้เสริมสร้างการค้าการลงทุนขนาดใหญ่ โดยจะมีการตั้งโรงงานทั้งในและนอกประเทศ เพื่อใช้สิทธิพิเศษทางภาษี(GSP) ซึ่งคาดหวังว่านอกจากงบประมาณ 4 หมื่นล้านบาทที่อนุมัติไปแล้ว ก็จะมีเรื่องของการลงทุนเพิ่มเติมอีก ทั้งในด้านของเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ทั้งนี้รัฐบาลพร้อมดำเนินนโยบายเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสู่สังคมสีเขียวและเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ส่วนภาคประชาสังคม ต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดความเท่าเทียมมากขึ้น อีกทั้งให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านพลังงาน ด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นด้วย

นายกรัฐมนตรี ได้แนะนำให้ทุกบริษัทสร้างวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองให้ได้บุคลกรที่มีคุณธรรมและจริยธรรมจะนำไปสู่องค์กรที่ดีและ อยู่ด้วยกันอย่างมีธรรมาภิบาล แต่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ดูแลซึ่งกันและกันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และย้ำว่าไม่ต้องการเป็นศัตรูกับใคร แต่ต้องแก้ปัญหาและต้องการให้ทุกคนยอมรับการเข้ามา เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในองค์กร โดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้เขียนปณิธานทำความดีว่าจะทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัติริย์ทุกวัน ซึ่งยอมรับว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่ต้องทำเพื่อยุติปัญหาที่ผ่านมา ซึ่งอยากให้ผู้ประกอบการในที่นี้ได้เข้าใจถึงเหตุผลที่ตนเองเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้

พร้อมย้ำว่า ไทยพร้อมร่วมมือทุกประการกับต่างประเทศที่มีความร่วมมือทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งมีอยู่หลายฉบับ แต่พบว่าที่ผ่านมายังไม่มีการดำเนินการ เมื่อถึงวันนี้ตนรับปากจะดำเนินการ ก็นำมาศึกษาและดำเนินการต่อได้จนสำเร็จไปหลายเรื่อง

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทุกบริษัทต้องดูแลสังคมร่วมกับรัฐบาล เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือกัน พร้อมหยอกล้อผู้ประกอบการ ว่าจะให้รัฐบาลใช้อำนาจมาตรา 44 เพื่อให้มาทำงานร่วมกับรัฐบาลดีหรือไม่

นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่าทุกวันนี้คิดจนปวดหัว โดยเฉพาะเรื่องของแม่น้ำ 5 สายของรัฐบาลที่ยังออกนอกเส้นทาง แต่ต้องพยายามรวบรวมให้ไหลลงในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อดำเนินไปสู่การปฎิรูป พร้อมย้ำทุกอย่างต้องว่าไปตามกระบวนการกฎหมาย และสร้างความเป็นธรรมต่อกัน ซึ่งหากทุกคนเข้าสู่กระบวนยุติธรรมทุกอย่างสามารถหาข้อยุติได้

นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าจนส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวนั้นว่า การเบิกจ่ายงบประมาณที่ผ่านมาของรัฐบาลเป็นปกติ มีขั้นตอน กว่าจะเบิกจ่ายได้ต้องผ่าน 6 ขั้นตอน เพราะเป็นเรื่องของการตรวจสอบ วันนี้จึงได้สั่งการให้มีการลดขั้นตอน ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวงมหาดไทยเข้าไปดูแลบูรณาการให้ได้

"การเบิกจ่ายงบอย่างรวดเร็วที่ผ่านมาผ่านไปได้อย่างไร เพราะต้องย้อนดู แต่ไม่อยากว่าใครทุจริต ถึงอย่างไรวันนี้ก็ต้องสร้างใหม่ให้เร็วขึ้นลดขั้นตอนต้องน้อยลง โดยสอนการเรียนรู้การบริหารราชการแผ่นดินสมัยใหม่ให้กับองค์กรการบริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในระดับล่างให้เข้าใจตรงกัน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

โดยขณะนี้โครงการต่างๆ มีการทำสัญญาไปแล้วร้อยละ 20 ทั้งนี้เชื่อว่าการเบิกจ่ายจะเร็วขึ้นในช่วงไตรมาส 2 โดยไตรมาสแรกควรจะออกให้ได้ร้อยละ 30 ดังนั้นในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวต้องเพิ่มการลงทุนของรัฐ เอาเงินของรัฐลงมาให้มาก เพราะฉะนั้นในไตรมาสที่ 1 และ 2 จะมีการอนุมัติงบประมาณมากขึ้น

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ข้าราชการไม่มีปัญหาเรื่องเกียร์ว่าง เพราะมีทั้ง คสช. และกระทรวง ช่วยกันลงไปในพื้นที่ ประกอบกับต้องรายงานให้ตนเองทราบทุกเดือน ถ้าทำตามกติกาและตั้งใจทำก็ไม่ต้องกลัวเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชั่น

อินโฟเควสท์ โดย ฐานิสร์ ทองนอก/กษมาพร/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44641
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2015 9:12 pm    Post subject: Reply with quote

'ประยุทธ์'แจงโครงการพัฒนาขนส่งระบบรางเริ่มวิ่งปี61
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558, 20:20

"ประยุทธ์"แจงโครงการพัฒนาขนส่งระบบราง หวังเริ่มวิ่งได้ปี 2561 ระบุรถไฟความเร็วสูงชัดเจนปีนี้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติถึงเรื่อง เรื่องการพัฒนาระบบรางว่ามีความก้าวหน้า โดยระบบรางในส่วนของ ทางคู่ 1 เมตร นั้น ส่วนแรกจะเป็นโครงการเร่งด่วน 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 903 กิโลเมตร ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปีนี้ ได้แก่ เส้นทางที่มีการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วนะครับ มีการอนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อเวนคืนที่ดินแล้ว 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางช่วงฉะเชิงเทรา – คลอง19– แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร, เส้นทางช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร, เส้นทางช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร เส้นทางที่อยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) มีอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 48 กิโลเมตร, เส้นทางช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร, เส้นทางช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตรก็ขอความร่วมมือจากประชาชนที่อยู่ในเส้นทางดังกล่าวด้วย

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่าในส่วนที่ 2 จะเป็นโครงการระยะต่อไป ซึ่งจะดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดในปีนี้ จำนวน 8 เส้นทาง ได้แก่ หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, ปากน้ำโพ-เด่นชัย,ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-สงขลา, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ และ เด่นชัย-เชียงใหม่

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สำหรับทางขนาด 1.435 เมตร นั้น ก็จะเป็นการพัฒนาโครงข่ายรถไฟที่เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ โดยรัฐบาลไทยจะร่วมมือกับรัฐบาลประเทศต่างๆ ที่สนใจ อันได้แก่ เช่น จีน ญี่ปุ่น หรืออื่นๆ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียดในเรื่องของรูปแบบการลงทุน และการจัดหาแหล่งเงินทุนของแต่ละโครงการ รวมความไปถึงเรื่องการบริหารด้วย

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในส่วนของเส้นทางรถไฟที่จะร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนนั้น ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้มีการหารือคณะทำงานร่วมไทย-จีนไปแล้ว เพื่อเตรียมการออกแบบ เวนคืนที่ดิน เตรียมความพร้อมบุคลากร เทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการถ่ายทอดกันต่อไปนะครับ โดยจะมีการแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วงด้วยกัน ได้แก่ กรุงเทพฯ-แก่งคอย 133 กม. แก่งคอย-มาบตาพุด 246.5 กม. แก่งคอย-นครราชสีมา 138.5 กม. และนครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. ทั้งนี้ จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในช่วงที่ 1 และ 2 ภายในเดือนตุลาคม 2558 และก่อสร้างช่วงที่ 3 และ 4 ภายในเดือนธันวาคม 2558 โดยมีแผนจะให้แล้วเสร็จและเริ่มเดินรถได้ภายในปี 2561

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อ่า สำหรับเส้นทางร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นนั้น ก็กำลังอยู่ระหว่างร่วมกันทำการศึกษาในข้อตกลงใน 3 เส้นทางด้วยกัน โดย 2 เส้นทางแรก จะเป็นเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงฝั่งตะวันออกและตะวันตกของไทย หรือ East-West Corridor ได้แก่ เส้นทางจาก กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง แล้วก็อันที่ 2 คือ เส้นทาง จากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก – มุกดาหาร และ อีกหนึ่งเส้นทาง จะเชื่อมไปยังภาคเหนือ คือเส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขณะนี้ กระทรวงคมนาคมดำเนินการตั้งคณะทำงานเจรจาประสานงานร่วมกันกับญี่ปุ่นในการศึกษาแนวทาง ความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์และแนวทางการลงทุนร่วมกัน

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า 12 สำหรับ แนวคิดเส้นทางความเร็วสูงนั้น ก็มีข้อเสนอของเอกชนไทย ที่อยากจะให้ประเทศมีความทันสมัย และเพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนเมือง การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่เป็นธรรม ตลอดเส้นทางการเดินรถ ตนก็ได้ให้พิจารณาหาข้อมูล หาข้อสรุปให้ได้ว่าจะดำเนินการกันได้อย่างไร ทั้งเส้นทางระยะสั้น และ เส้นทางที่มีประชาชนเดินทางคมนาคมจำนวนมาก เช่น กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง-อู่ตะเภา หรือ กรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งก็อาจจะต้องพิจารณาความคุ้มค่าในการดำเนินการ โดยแนวทางนั้นอาจเป็นในรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุน ที่เรียกว่า PPP หรือการลงทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infra-Fund) โดยรัฐจะเร่งพิจารณาให้เห็นผลชัดเจนในปีนี้นะครับ

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับทางรถไฟความเร็วสูงนั้นหลายคนก็มีความกังวลว่าราคามันแพงเกินไปไหม ตนดูตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นนะครับ ในช่วงแรกอาจจะราคาสูง คนยังใช้บริการไม่เต็มที่ เขาใช้รายได้ที่ได้มาจากการค้าขายหรือสัมปทานในตลอด 2 เส้นทางนะครับ ในการที่จะจัดทำศูนย์การค้า ทำอะไรล่ะ ทำตลาดนะครับ ที่ตนมองเห็นนะครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชน คงไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งรับไป เพราะว่าอาจจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อชาติไม่เท่าที่ควร แล้วก็อาจจะสร้างความไม่ไว้วางใจกับสังคม กับประชาชนโดยรวมด้วย

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตนให้พิจารณานอกจากศูนย์การค้าอะไรแล้วนี่ ถ้าคิดจะทำร่วมกัน ก็อาจจะให้ลงทุนในเรื่องของการจัดตั้งอาคารที่อยู่อาศัยให้กับคนที่มีรายได้น้อย สร้างตลาด สร้างอะไรต่างๆ ให้เขามีรายได้ เราจะได้ขยับขยายชุมชนเมืองที่แออัดอยู่ในขณะนี้ แล้วก็มีพื้นที่สำหรับการค้าขายให้กับประชาชนที่เราจำเป็นต้องจัดระเบียบในขณะนี้ด้วยนะครับ อันนี้มันจำเป็น นี่คือเหตุผลหลักของผม ในเรื่องของรถไฟความเร็วสูงนั้น แน่นอน การลงทุนก็ต้องสูงตามไปด้วย แต่ถ้าเรามีภาคเอกชนมาร่วมด้วยนี่ผมคิดว่าขณะนี้ก็หลายบริษัท หรือหลายกลุ่ม นักธุรกิจขนาดใหญ่ก็ให้ความสนใจนะครับ แล้วก็พร้อมจะร่วมมือกับรัฐบาล ก็ต้องดูข้อตกลงกันให้ชัดเจนขึ้นนะครับ อย่ากังวลในเรื่องนั้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2015 11:44 pm    Post subject: Reply with quote

คค.ขอแรงทหารร่วมสำรวจพื้นที่ ผลักดันแผนรถไฟรางคู่ให้ทันกำหนด


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 มีนาคม 2558 19:44 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมคณะกรรมการบริหารโครงการ และคณะอนุกรรมการที่ปรึกษารถไฟทางคู่ ขนาดราง 1.435 เมตร ไทย-จีน ว่า มีการขอความร่วมมือกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงการคลัง ในการส่งเจ้าหน้าที่ทหาร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาร่วมสำรวจพื้นที่ และผลักดันงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เสร็จตามแผนช่วงที่ 1 กรุงเทพ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร ให้ทันเดือนสิงหาคมถึงกันยายนนี้ และช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย 355 กิโลเมตร ให้ทันเดือนธันวาคม ตามแผนที่รัฐบาลกำหนดไว้


กลาโหมพร้อมหนุนสำรวจเส้นทางรถไฟไทย-จีนเต็มที่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 มีนาคม 2558 19:37 น.



“ประจิน”หารือ คณะที่ปรึกษาโครงการ รถไฟไทย-จีน “รมช.กลาโหม”พร้อมสนับสนุน เดินหน้าสำรวจออกแบบ มี.ค. นี้ ดันเฟส 1,2 เสร็จใน 6 เดือน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย (คบร.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการที่ปรึกษา ที่มีพล.อ. อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นประธานวันนี้ (5 มี.ค.) ว่า เป็นการเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร เพื่อประชุมร่วมกับจีน ครั้งที่ 3 ในวันที่ 10 มีนาคม ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะสามารถสรุปรายละเอียดในการจัดทำบันทึกความร่วมมือเพื่อการทำงานร่วมกัน (Memorandum of Cooperation : MOC) รูปแบบการลงทุน เงื่อนไขทางการเงิน ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ เป็นต้น ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อทำให้สามารถเริ่มการสำรวจและออกแบบทั้ง 4 ช่วงได้ในเดือนมีนาคมนี้

ทั้งนี้ กก. ในคณะอนุฯที่ปรึกษานั้น มีหลายกระทรวงเกี่ยวข้องเพื่อให้คำแนะนำทั้งด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินโครงการราบรื่นตั้งแต่เริ่มต้นสำรวจ ออกแบบ ก่อสร้าง และเดินรถ รวมถึงให้ข้อคิดเห็นในการทำ MOC ให้ชัดเจนและเป็นสากล สามารถปฎิบัติได้จริง โดยกระทรวงกลาโหม จะให้การสนับสนุนในเรื่องแผนที่ภาพถ่าย อุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ในการสำรวจเส้นทางพร้อมกับล่ามและช่วยประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนในรูปแบบต่างๆ ส่วนกระทรวงมหาดไทย จะประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาลและอบต. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยดูแลกระบวนการด้านสิ่งแวดล้มให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน กระทรวงการคลัง ช่วยในเรื่องรูปแบบลงทุนและเงื่อนไขทางการเงิน เป็นต้น

“เป็นการเตรียมความพร้อม ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่แนวเส้นทางรถไฟผ่าน ทั้ง สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น หนองคาย และระยองเข้าร่วมเพื่อช่วยประสานงานและประชาสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่ และในวันที่ 11 มี.ค.นี้จะแถลงรายละเอียดที่ชัดเจนทุกด้าน พร้อมทั้งลงพื้นที่ จ.หนองคาย เพื่อดูจุดที่คาดว่าจะเป็นเชื่อมต่อกับทางลาว”พล.อ.อ.ประจินกล่าว

//---------------

คมนาคม ผนึกทหารลงสำรวจพื้นที่
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 5 มีนาคม 2558 เวลา 19:01 น.

เร่งสานฝันให้เป็นจริง คมนาคม ผนึกทหาร อบต เทศบาล กระทรวงทรัพย์ ช่วยลงพื้นที่สำรวจ สร้างรถไฟกึ่งเร็วสูงไทย-จีน หวังให้เสร็จตามแผน เริ่มก่อสร้างได้ ต.ค.นี้

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังประชุมร่วมคณะกรรมการบริหารโครงการและคณะอนุกรรมการที่ปรึกษารถไฟทางคู่ ขนาดราง 1.435 เมตรไทย-จีนว่า ได้มีการขอความร่วมมือกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงการคลัง ในการส่งเจ้าหน้าที่ ทหาร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาร่วมสำรวจและผลักดันงานในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เสร็จตามแผน ช่วงที่ 1 กรุงเทพ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม. ให้ทันเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ และช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. ให้ทันเดือนธ.ค.ตามแผนที่รัฐบาลกำหนดไว้

“เดิมทีทางทหารจะเข้ามาช่วยในเรื่องการให้ของแผนที่ทางอากาศในการสำรวจเส้นทางต่างๆ แต่ตอนนี้ขอให้ทหารลงมาช่วยในพื้นที่ราบในการสำรวจด้วย เพื่อให้งานเดินหน้าได้เร็วขึ้น ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ก็ขอให้อบต.และเทศบาลมาช่วยอีกแรงหนึ่ง เพราะมีความรู้ในพื้นที่ได้ดี ส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ จะเข้ามาดูเรื่องการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพื่อทำให้เสร็จภายใน 6 เดือน ขณะที่กระทรวงการคลัง จะดูเรื่องงบประมาณและแผนลงทุน ซึ่งหน่วยงานทั้งหมดนี้ ได้เป็นส่วนหนึ่งของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาที่ ครม.ได้แต่งตั้งขึ้นมาในการช่วยทำงานความร่วมมือโครงการ”


//------------------

กองทัพรับลูกสำรวจเส้นทางรางคู่พร้อมส่งล่าวดิวงานต่างประเทศ
แนวหน้า
วันศุกร์ ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558, 10.55 น.


6 มี.ค. 58 เมื่อเวลา 08.30 น. ที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2รอ.) พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอแรงทหารในการสำรวจเส้นทางสร้างรถไฟรางคู่ให้เสร็จตามกำหนดว่า กองทัพบกมีส่วนเข้าไปช่วยเหลือทั้งเรื่อง แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ที่จะต้องดูในเรื่องรายละเอียด ร่วมกับล่ามภาษา ซึ่งต่อไปจะต้องมีการติดต่อประสาน ในเรื่องรายละเอียดที่ต้องเชื่อมโยงกับต่างประเทศ

ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ มีความสามารถในการจัดล่ามภาษาไปช่วยเหลือ นอกจากนี้ยังให้เจ้าหน้าที่ทหารลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชน ในการวางเส้นทางรถไฟที่ต้องตัดผ่านแหล่งชุมชน ตลอดจนสภาพแวดล้อม โดยกองทัพจะทำงานร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 121, 122, 123  Next
Page 34 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©