Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273827
ทั้งหมด:13585123
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/06/2015 12:10 pm    Post subject: Reply with quote

หยุดรถไฟความเร็วสูงจีน–2 ก่อนสร้างความหายนะ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 25 มิ.ย. 2558 05:01

วันนี้มาว่ากันต่อนะครับ ทีมงาน วศ.รปปท. ได้ทำการวิเคราะห์เป็นเอกสาร 2 เล่ม “แนวทางการปฏิรูประบบรถไฟของไทย” เพื่อนำเสนอ แนวทางพัฒนาเร่งด่วนที่เหมาะสมกว่าแผนการลงทุนของกระทรวงคมนาคม ประเมินให้เห็นถึง มูลค่าการลงทุนเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียในเชิงความคุ้มค่าลงทุน ประสิทธิภาพการใช้สอยที่ดินเขตรถไฟ เพื่อลดปัญหาการเวนคืนที่ดิน และโยชน์ใช้สอยด้านโลจิสติกส์ ดังนี้

1.แนวทางการลงทุนของกระทรวงคมนาคม มีทั้ง โครงการรถไฟทางคู่ขนาด 1.00 ม. 6 เส้นทาง และ ทางรถไฟขนาด 1.435 ม. เพื่อเชื่อมต่อกับจีน ใช้ขนคนและสินค้า อนาคตสามารถผันเป็นรถไฟความเร็วสูงได้

เราเห็นว่า เป็นการลงทุนที่แพงมาก แต่ ไม่ตอบโจทย์ความต้องการเร่งด่วนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ โดยเฉพาะความเติบโตด้านการขนส่งสินค้าในประเทศ คือ รถไฟทั้งสองระบบ (1.00 ม. และ 1.435 ม.) ยังเป็น Mixed Operation หมายถึง ขบวนรถสินค้าวิ่งปนกับขบวนรถโดยสาร ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการ การให้ถึงที่หมายได้แน่นอนเสมอไป เป็นต้นเหตุให้ Freight Forwarders ไม่ยอมมาใช้บริการอย่างจริงจัง

เป็นการ ลงทุนสร้างทางที่ซ้ำซ้อนกัน 2 ระบบ รวมเป็นเงิน 500,000 กว่าล้านบาท แต่กลับ ใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า และ แย่งลูกค้ากันเอง ระหว่างราง 1.00 ม. กับราง 1.435 ม.

จากข้อมูล Demand Forecast ที่บริษัทที่ปรึกษาทำรายงานส่ง สนข. ระบุว่า รถไฟทางคู่ระบบไฟฟ้าเพียงชุดเดียว ก็สามารถ รองรับ ความต้องการขนส่งทางรถไฟภายในประเทศ ช่วงที่หนาแน่น (บ้านภาชี-ขอนแก่น) ได้ไม่ต่ำกว่า 20–25 ปีข้างหน้า ส่วนช่วง ขอนแก่น–หนองคาย มีความต้องการขนส่งทางรถไฟน้อยมาก ไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทางรถไฟไปอีก 20 ปี เพียงแต่ปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้น ทันสมัยขึ้นก็พอ

เมื่อเป็นเช่นนี้ การเสียเงินเพื่อสร้างรถไฟทางคู่ชุดที่ 2 ระบบราง 1.435 ม. เพียงเพื่อ ขนส่งสินค้าจากลาวและจีนเป็นหลัก จึงเกิดคำถามว่า ประเทศไทยได้หรือเสียประโยชน์จากการสร้างทางรถไฟสายนี้ (สหพันธ์การขนส่งทางบกฯ ก็ระบุมาแล้วว่า เส้นทางดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์ต่อโลจิสติกส์ของคนไทย) จึงเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเลย

ส่วนที่ กระทรวงคมนาคม อธิบายว่า จะมีคนจีนเป็นล้านๆคนนั่งรถไฟจากทางตอนใต้ของจีนผ่านลาวมาถึงกรุงเทพฯนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้น้อยมาก เพราะ เส้นทางจากคุนหมิงถึงกรุงเทพฯยาวเกิน 2,000 กม. ต้องใช้เวลาเดินทางด้วยรถไฟความเร็วปานกลางไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง หากคิดค่าโดยสารราคาถูก 2.50 บาท/กม. ก็เป็นค่าโดยสารราว 5,000 บาท ค่าตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชีย คุนหมิง–กรุงเทพฯ อยู่ที่ 4,900 บาทเศษ ใช้เวลาเดินทางแค่ 2 ชั่วโมงเศษ รวมเวลารอขึ้นเครื่องบินและตรวจคนเข้าเมือง ก็ใช้เวลาราว 4 ชั่วโมงเท่านั้น

(หมายเหตุ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีคมนาคม เคยให้ตัวเลขว่า คุนหมิง มีประชากร 8 ล้านคน ยูนนาน 45 ล้านคน หากเชื่อมตอนใต้ของจีนทั้งหมดก็มี 170 ล้านคน คิดเฉลี่ยแค่ 5% ประมาณ 10 ล้านคน ที่ต้องเดินทางโดยรถไฟสายนี้ ก็คุ้มค่าแล้ว)

แนวทางที่ กระทรวงคมนาคม เจรจากับจีน การลงทุนนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ จีนเป็นผู้รับผิดชอบหลัก แต่การสร้างทางรถไฟสายนี้ ไทยไม่ค่อยได้ประโยชน์ (ตามที่อธิบายข้างต้น)

การลงทุนหลัก จึงไม่ควรเป็น ภาระของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันกลับกลายเป็นว่า การลงทุนหลักเป็นภาระของประเทศไทย โดยเฉพาะ เงินลงทุนมากกว่าร้อยละ 60 ในการ ก่อสร้างคันทางรถไฟ การวางราง รวมทั้ง การเวนคืนที่ดินจำนวนมาก ต้องใช้งบประมาณของประเทศ และกู้เงินในประเทศ

ส่วน การลงทุนระบบไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ และ ขบวนรถไฟ จะตั้งเป็น บริษัทร่วมทุน โดย ใช้เงินกู้จากประเทศจีน (ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงอีกด้วย)

อ่านมาถึงตรงนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พอมองออกไหม ไทยเสียประโยชน์มากมายแค่ไหน จาก โครงการรถไฟไทย–จีน สมควรจะสร้างหรือไม่ (พรุ่งนี้ว่ากันต่อ)

“ลม เปลี่ยนทิศ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/06/2015 5:13 am    Post subject: Reply with quote

หยุดรถไฟความเร็วสูงจีนญี่ปุ่น–3 ก่อนสร้างความหายนะ
ไทยรัฐออนไลน์ โดย ลม เปลี่ยนทิศ 26 มิ.ย. 2558 05:01

วันนี้เป็นตอนสุดท้ายครับ ข้อเสนอแนวทางปฏิรูปรถไฟไทย ของ วศ.รปปท. ใน “แนวทางใหม่” ให้เหมาะสมกับฐานะการเงินของไทยที่ยังอ่อนแอมาก และให้เข้ากับ นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ เพื่อต่อยอดระบบรถไฟมิเตอร์เกจ (1.00 ม.) ของประเทศให้ทันสมัย สามารถตอบโจทย์ความต้องการของโลจิสติกส์ในประเทศได้ โดยคำนึงถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของประเทศในระยะยาวที่สำคัญที่สุดก็คือ ใช้เงินลงทุนต่ำกว่ามาก

มาอ่านข้อเสนอของชมรมวิศวะ จุฬาฯ ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (วศ.รปปท.) ดูครับ

1.เสนอให้ลงทุน สร้างทางคู่ขนาด 1.00 ม. ชุดใหม่ พร้อมระบบไฟฟ้า แยกใช้เป็นทางรถไฟโดยสารที่ทันสมัย วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. และ ปรับปรุงทางเดี่ยวเดิมให้เป็นรถไฟขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ ซึ่งจะสามารถเดินรถได้ทั้งวัน ไม่ต้องหยุดรอรถไฟโดยสารวิ่งแซงอีกต่อไป เพียงแต่จัดหลีกทางเมื่อมีการสวนกันเองเท่านั้น

2.สร้างความมั่นใจไปถึงจุดหมายปลายทางในเวลาที่แน่นอน ทำให้ Freight Forwarders ยินดีกลับมาใช้บริการ เพราะมีค่าบริการต่ำกว่า และมีความยืดหยุ่นในการผันทางได้ดี กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพราะเป็นระบบราง 1.00 เมตรเหมือนกันหมด

3.เป็นการลงทุนที่ต่ำกว่าแนวทางของกระทรวงคมนาคมกว่า 300,000 ล้านบาท ประหยัดเงินให้ชาติ แต่สามารถตอบโจทย์ความต้องการเร่งด่วนด้านโลจิสติกส์ของประเทศได้

4.ภายใน 5 ปี รัฐบาลจะมีเส้นทางที่ชัดเจนในการปฏิรูปการขนส่ง แยกการบริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าออกจากกัน ทำให้สามารถจัดตั้ง “บริษัทร่วมทุน” ภายใต้ พ.ร.บ.รถไฟปัจจุบัน โดยไม่ต้องแก้กฎหมายบริหารแบบเอกชน ให้บริการรถโดยสารทางไกลในมิติใหม่ทันสมัย เหมือนกับรถไฟฟ้า BTS และ MRT ได้

5.เราสามารถชวนให้ บริษัทขนส่งสินค้า เข้ามาร่วมทุน บริหารการขนส่งในรูปแบบโลจิสติกส์ครบวงจร ให้บริการแบบ One Stop Service เป็นการเปลี่ยนศักราชใหม่ของการขนส่งไทย ที่รับประกันความรวดเร็ว ไปถึงที่หมายในเวลาที่แน่นอน การติดต่อการค้าระหว่างประเทศเรายังสามารถขนถ่ายสินค้าไปมากับ ลาว และ จีน ได้ด้วยระบบ Overhead Crane ขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์เฉพาะชายแดนที่มีความกว้างทางรถไฟไม่เท่ากัน ซึ่งไม่เสียเวลามาก เพราะต้องมีการหยุดตรวจสินค้า
ผ่านแดนอยู่แล้ว ทุกวันนี้ไทยก็ช่วยลาวสร้างทางรถไฟ 1.00 ม. ไปถึง ท่านาแล้งในลาวแล้ว

6.เมื่อเรามี รถไฟฟ้าราง 1.00 ม. วิ่งด้วยความเร็วสูง 160 กม.ต่อ ชม. ที่ทันสมัยแล้ว ถ้าจะสร้าง รถไฟความเร็วสูง ในอนาคต ก็แค่เตรียมที่ดินเผื่อไว้ เมื่อมีจำนวนผู้โดยสารมากพอ ทำให้สามารถจัดการที่ดินรถไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาการเวนคืน

7.จากการเปรียบเทียบมูลค่าการลงทุนแบบ Apple to Apple โดยคิดเป็นมูลค่าในอนาคต พบว่า การลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไป ที่ วศ.รปปท. เสนอนี้ ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าแบบของกระทรวงคมนาคมถึง 146,273 ล้านบาท แต่ ตอบโจทย์ และ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ดีกว่า สุดท้าย ประเทศไทยจะได้ทางรถไฟถึง 5 ทาง และได้รถไฟความเร็วสูงด้วย แต่แนวทางการลุงทุนของ กระทรวงคมนาคม นอกจากจะแพงกว่า และ ไม่ตอบโจทย์ แล้ว สุดท้ายยังได้ทางรถไฟแค่ 4 ทาง เท่านั้น

วันนี้ รัฐบาล โดย กระทรวงคมนาคม ได้ถลำลึกไปมากกับ จีน ญี่ปุ่น ทางแก้ที่ วศ.รปปท. เสนอก็คือ ขอเปลี่ยนเนื้อหาการก่อสร้าง จากรถไฟทางคู่ชุดใหม่ 1.435 ม. เป็นทางคู่ชุดใหม่ 1.00 ม. ที่เรามีอยู่แล้ว และตัดขอบเขตการก่อสร้างให้เหลือเฉพาะส่วนที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเส้นทางคู่ 1.00 ม. ที่เรามีอยู่แล้ว และ ปรับปรุงทางคู่ 1.00 ม. ทั้งหมด ให้เป็น ระบบรถไฟฟ้า และ เพิ่มทางเดี่ยวอีก 1 ทางใช้ขนสินค้า แยกจากผู้โดยสาร

ผมก็หวังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะรับฟังความเห็นนี้ ก่อนที่จะ ลงทุนผิดพลาดอย่างมหันต์ สร้างหนี้และความเสียหายให้ลูกหลานอีกหลายแสนล้านบาท.

“ลม เปลี่ยนทิศ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2015 7:55 am    Post subject: Reply with quote

เล็งเพิ่มอีก 2-3 สถานีรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพ-แก่งคอย-โคราช


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
25 มิถุนายน 2558 20:07 น.


“คมนาคม”เตรียมข้อมูลถกร่วม รถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 5 ที่โคราช 30 มิ.ย.-1 ก.ค. เผยจีนขอเปลี่ยน ทำข้อตกลงกรอบการทำงาน (frame work Agreement) แทน MOC ขณะที่ออกแบบสถานีเพิ่มอีก 2-3 แห่ง ช่วง กรุงเทพ-แก่งคอย-โคราช ด้าน”อาคม”ระบุ ไทยเสนอขอจีนร่วมทุนในบริษัทเดินรถ เพื่อช่วยทำตลาดหาผู้โดยสารและสินค้าใช้บริการ แทนการจ้างเดินรถ เร่งสำรวจออกแบบเคาะวงเงินลงทุน ส.ค.นี้ ก่อนสรุปรูปแบบการเงินต่อไป

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวว่า ได้หารือผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมสำหรับการประชุมร่วม รถไฟไทย-จีนครั้งที่ 5 วันที่ 30 มิ.ย.-1 ก.ค. ที่ จ.นครราชสีมา โดยจะเป็นการติดตามสาระสำคัญจากการประชุมครั้งที่ 4 รวม 4 ประเด็น คือ 1. ความก้าวหน้าของงานที่ฝ่ายไทยและจีนรับผิดชอบ 2. รูปแบบการลงทุน 3. กรอบทางการเงิน 4.การฝึกอบรมบุคลากร และเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี นอกจากนี้จะหารือถึง ข้อตกลงกรอบการทำงาน (frame work Agreement) ซึ่งจีนขอปรับจากที่ไทยเสนอทำบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation : MOC) ,และกำหนดการประชุมร่วมครั้งที่ 6 คาดว่าจะเป็นช่วงเดือนส.ค. 2558 ที่ประเทศจีน โดยขณะนี้การสำรวจตอนที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-แก่งคอย และตอนที่ 3 . แก่งคอย-นครราชสีมา นั้น มีความคืบหน้าโดยจะมีการเพิ่มสถานี2-3 สถานีจากผลศึกษาเดิมของรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้เหมาะสมกับการเดินรถความเร็วปานกลาง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคมกล่าวว่า การร่วมลงทุนนั้นจะมีหลายรูปแบบซึ่งจะต้องรอผลการสำรวจออกแบบสรุปก่อนในเดือนส.ค.นี้จึงจะมีความชัดเจนเนื่องจากจะทราบวงเงินลงทุนของโครงการ โดย รูปแบบการร่วมทุนเบื้องต้นคือ ไทยรับผิดชอบ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งเดินรถ ระบบรถ โดยการเดินรถ ไทยจะว่าจ้างบริษัทจีนเดินรถ ภายใต้เงื่อนไข ปีที่ 1-3 เป็นบุคลากรจีนโดยบุคลากรไทยเข้าร่วม ปีที่4-7 ลดสัดส่วนของบุคลากรจีนลง 50% และปีที่ 7 เป็นต้นไป จะเป็นบุคลากรไทยทั้งหมด
ในขณะที่ไทยเสนอให้จีนร่วมลงทุนเรื่องการเดินรถเพื่อต้องการให้จีนช่วยทำหาตลาด ทั้งผู้โดยสารและสินค้าใช้บริการ หากใช้รูปแบบว่าจ้างจีนเดินรถ เท่ากับไทยจะต้องทำการตลาดฝ่ายเดียว ซึ่งสินค้าอาจจะไม่ลงมา โอกาสในการคุ้มค่าจะน้อยลง

“รูปแบบที่ฝ่ายไทยเสนอไปและที่จีนเสนอ ต้องรอการหารือในครั้งที่ 5 ซึ่งอาจจะยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนเพราะต้องรอการสำรวจออกแบบที่จะทราบวงเงินลงทุนก่อน แต่ในเรื่องการแบ่งความรับผิดชอบ การหาแหล่งเงิน หรือการให้เงินกู้ ทางจีนไม่ขัดข้อง เช่น กรณีใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ ให้ใช้เงินหรือกู้ในประเทศไทย ส่วนอะไรที่เป็นเทคโนโลยีนำเข้าจากจีน จะใช้เงินกู้ของจีน ซึ่งจะเป็นดอกเบี้ยอัตราพิเศษ แต่รายละเอียดยังต้องคุยต่อไป”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/06/2015 8:46 am    Post subject: Reply with quote

พล.อ.อ.ประจิน ประชุม ความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น‏
by Modern Radio - FM 100.5 26 มิ.ย. 2558, 07:44 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม จะเป็นประธานการประชุมหารือเตรียมการ ในการดำเนินการตามข้อตกลง ความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น หรือเอ็มโอซี เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้าง พื้นฐาน ทางรถไฟเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ กาญจนบุรี-กรุงเทพฯแหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ

----

คค.เตรียมหารือแผนพัฒนาร่วมลงทุนรถไฟฟ้าไทย-จีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2558 09:28 น.

การประชุมระดับผู้บริหารกระทรวงคมนาคมวันนี้ (26 มิ.ย.) หารือเกี่ยวกับเตรียมประชุมร่วมคณะทำงานรถไฟฟ้าไทย-จีน เบื้องต้นไทยเสนอให้ตั้งบริษัทร่วมลงทุนไทย-จีน โดยไทยจะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบเดินรถ ระบบไฟฟ้า ระบบราง และได้ว่าจ้างจีนให้บริการเดินรถ โดยการเดินรถในปี 1-3 ให้มีทั้งคนไทยและจีนร่วมให้บริการเดินรถ จากนั้นในปีที่ 4-7 ปี ให้คนจีนลดลงร้อยละ 50 ในปีที่ 7 ขึ้นไป ต้องเป็นคนไทยบริการเดินรถทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม แผนการลงทุนจะสรุปได้ชัดเจนมากขึ้นในการประชุมร่วมกันทั้งสองฝ่ายในครั้งนี้ จากนี้ไปไทยจะมีรางรถไฟสองแบบ คือ ขนาดรางกว้าง 1 เมตร ใช้กับรถไฟทางคู่ เน้นเดินรถภายในประเทศ โดยมีความเร็วสำหรับการบรรทุกสินค้า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วสำหรับรถโดยสารประมาณ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนระบบรางขนาด 1.35 เมตร จะใช้กับรถไฟความเร็วสูง เพราะเป็นรางมาตรฐาน ใช้เชื่อมต่อการเดินทางของรถไฟกับประเทศเพื่อนบ้าน จะมีความเร็วประมาณ 120-150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2015 2:48 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:


คค.เตรียมหารือแผนพัฒนาร่วมลงทุนรถไฟฟ้าไทย-จีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2558 09:28 น.


คาดสรุปลงทุนรถไฟไทย-จีน 30 มิ.ย.นี้
by Rachida Chuabunmee
Voice TV
26 มิถุนายน 2558 เวลา 11:20 น.

กระทรวงคมนาคม เตรียมประชุมร่วมคณะทำงานรถไฟไทย-จีน ปลายเดือน(มิ.ย.)นี้ คาดมีความชัดเจนรูปแบบการลงทุนมากขึ้น ก่อนสรุปเงื่อนไขการลงทุนร่วมกัน

กระทรวงคมนาคม จะจัดประชุมร่วมคณะทำงานรถไฟฟ้าไทย-จีน ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 1 กรกฎาคมนี้(58) ที่โรงแรมภูวนารี รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยจะพิจารณาแผนการลงทุน วางกรอบข้อตกลงร่วมกัน รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบการลงทุน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ในเบื้องต้น ไทยได้เสนอให้ตั้งบริษัทร่วมลงทุนไทย-จีน โดยไทยจะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบเดินรถ ระบบไฟฟ้า ตลอดจนระบบราง และว่าจ้างบุคลากรจีนให้บริการเดินรถ ซึ่งการเดินรถในปี 1-3 ให้มีสัดส่วนบุคลากรไทยและจีนให้บริการเดินรถร่วมกัน จากนั้นปีที่ 4-7 ให้ลดบุคคลากรจีนลง และปีที่ 7 เป็นต้นไป ให้มีบุคลกรไทยให้บริการเดินรถทั้งหมด ซึ่งการประชุมครั้งนี้ จะมีความชัดเจนของแผนการลงทุนมากขึ้น

ทั้งนี้ หลังการประชุมร่วมระหว่าง 2 ฝ่ายครั้งนี้ แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปทั้งหมด แต่จะมีความคืบหน้าเรื่องรูปแบบการลงทุน เพื่อให้สามารถศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุน รวมถึงการคำนวณต้นทุนและรายละเอียดของการกำหนดแหล่งที่มาของเงินทุน เพื่อพิจารณาเงื่อนไขข้อตกลงร่วมกันที่ชัดเจนอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2015 10:21 am    Post subject: Reply with quote

คุณโมนลุกลุงสิงห์สนามหลวงรางานข่าวว่าตอนนี้จีนแดงส่งคนมาสำรวจรถไฟสายไทย - จีนแล้ว


Mone Sawadsri wrote:
25 มิถุนายน เวลา 18:53 น. ·
ที่ปากซอยหน้าบ้าน ผมพบแรงงานต่างด้าวกลุ่มหนึ่ง
กำลังง่วนอยู่กับเครื่องวัดความแน่นของดินมาหลายวันแล้ว
หะแรกก็นึกว่าคงมาจากพม่า กัมพูชา หรือไม่ก็ลาว
เพราะบริเวณดังกล่าวกำลังมีการก่อสร้างรถไฟฟ้า
สุดท้ายเพิ่งรู้ความจริงว่า พวกเขาไม่ได้มาจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่มาจาก “เมืองจีน” เพื่อเตรียมก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
...
ไม่เพียงเท่านั้น แนวรั้วซึ่งกำลังเป็นปัญหาระหว่างชุมชนกับการรถไฟฯ
ก็ได้ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนเป็นที่เรียบร้อย
เนื่องจากได้มีการ “ก่อสร้างรั้ว” ในบางพื้นที่ขึ้นมาบ้างแล้ว!
...
เวลาผ่านไปไม่นาน ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่ภาครัฐวางแผนล่วงหน้า
จะเป็นหายนะที่คืบคลานเข้ามาอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่คิดไว้
ในอนาคต คนในชุมชนคงต้องร่วมใจแก้ปัญหากันอย่างจริงจัง
เพราะไม่เช่นนั้น รั้วกั้นเพื่อก่อสร้างรถไฟความเร็งสูง
จะทำให้ชุมชนไม่สามารถเดินทางออกไปยังโลกภายนอกได้
แต่ในตอนนี้ ถ้าต้องพบคนงานหน้าบ้านและจำเป็นต้องทักทาย
ผมคงต้องกล่าวกับเขาอย่างสุภาพด้วยภาษาจีนวันละคำ
...
คงต้องเริ่มจากคำว่า “หนี ห่าว” ไปก่อนล่ะกระมัง...

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=987495527957012&id=100000897212448&comment_id=987999781239920&ref=notif&notif_t=like
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/06/2015 1:33 pm    Post subject: Reply with quote

คาดเริ่มรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่นปี 2561
VoiceTV by Phakaphong Udomkalayalux 27 มิถุนายน 2558 เวลา 10:43 น.

กระทรวงคมนาคม คาดการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ - เชียงใหม่ ระหว่างไทยและญี่ปุ่น เริ่มในปี 2561 ส่วนรถไฟเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ จะก่อสร้างในปี 2560 จากเดิมจะเริ่มในปี 2559 หลังญี่ปุ่นของศึกษาโครงการในไทยเป็นเวลา 1 ปี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยการหารือเพื่อดำเนินการตามบันทึกความร่วมมือเพื่อการทำงานร่วมกัน หรือ MOC ระหว่างไทยและญี่ปุ่น โดยโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะมีการศึกษาความเหมาะสมฉบับเต็ม และการสำรวจ ออกแบบ จะใช้เวลา 1 ปี โดยกลางปี 2559 จะได้ข้อสรุปเบื้องต้นเพื่อขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในต้นปี 2561 เพื่อให้มีความมั่นใจ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีชินคังเซ็นของญี่ปุ่น โดยอาจแบ่งการก่อสร้างคือ กรุงเทพ - พิษณุโลก และ พิษณุโลก - เชียงใหม่ รวม 672 กิโลเมตร และใช้เวลาก้อสร้าง 4-5 ปี โดยเจ้าหน้าที่ของญี่ปุุ่นจะเริ่มเข้ามาศึกษาพื้นที่ในไทย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - สิงหาคมนี้

ส่วนการก่อสร้างรถไฟเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 กิโลเมตร คาดว่าจะเริ่มในปี 2560 ทั้งนี้ไทยและญี่ปุ่น ยังต้องหารือรูปแบบการลงทุน และแหล่งเงินทุน โดยไทยจะเสนอให้ใช้รูปแบบร่วมลงทุน และแบ่งความรับผิดชอบของทั้ง 2 ประเทศ

ก่อนหน้านี้ ไทยและญี่ปุ่น ได้ลงนาม MOC เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา และมีกำหนดก่อสร้างภายในปี 2559 โดยตั้งคณะทำงาน 3 ชุด ส่วนแหล่งเงินจะมาจากองค์กรของญี่ปุ่น

----

คมนาคม เร่งหารือญี่ปุ่น คาดรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ เริ่มก่อสร้างปี 61
ฐานเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2015 เวลา 14:22 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตัวแทนจากกระทรวงก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศญี่ปุ่น ได้ประชุมกับกระทรวงคมนาคมในโครงการความร่วมมือการพัฒนารถไฟระหว่างไทย-ญี่ปุ่น หารือใน 3 ประเด็น คือ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่, รถไฟทางคู่ เส้นทางกรุงเทพ-กาญจนบุรี-สระแก้ว และการขนส่งสินค้าทางราง เส้นทางแรกที่จะทำการศึกษาคือ เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ จะเริ่มจากการทบทวนผลการศึกษาความเป็นไปได้และการออกแบบเบื้องต้นจากข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว ใช้ระยะเวลา 3 เดือน โดยทางญี่ปุ่นจะศึกษาความเหมาะสมฉบับเต็ม หลังจากนั้นจะทำการสำรวจออกแบบคาดว่าจะเริ่มไดัในปี 2559 ใช้เวลา 1 ปี คาดว่าจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นกลางปี 2559 ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีเพื่อขอหลักการในการดำเนินโครงการ และเริ่มการก่อสร้างภายในต้นปี 2561
ขณะเดียวกันโครงการนี้ ทางประเทศญี่ปุ่นมีข้อกังวลและต้องการใช้ความรอบคอบในการสำรวจออกแบบ และศึกษาสภาพกายภาพภูมิศาสตร์อย่างละเอียด เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นมีมาตรฐาน และมีความปลอดภัยมากที่สุดในโลก

สำหรับการก่อสร้างจะเแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ เส้นทางกรุงเทพ -พิษณุโลก และ เส้นทางพิษณุโลก -เชียงใหม่ โดยกระทรวงคมนาคม ได้ขอให้ทางญี่ปุ่นส่งทีมสำรวจเส้นทางโดยเร็ว คาดจะเริ่มสำรวจได้ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม

ทั้งนี้ในส่วนของรูปแบบการร่วมทุน นั้นมีความเห็นว่ารูปแบบการร่วมทุนเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด แม้ว่าตามหลักการต้องทำการศึกษาความเป็นไปได้ให้แล้วเสร็จก่อน จึงจะมีการหารือถึงรูปแบบการลงทุนได้ แต่ทางไทยเห็นควรว่า ต้องทำการหารือกันตั้งแต่ต้น โดยทางญี่ปุ่นเสนอว่าอาจจะหาบริษัทที่ปรึกษามาช่วยดูในส่วนของรูปแบบการลงทุนและการเงิน ซึ่งหลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายจะมีการประชุมร่วมกันทุกๆ 3 เดือน

----

คมนาคมแบ่ง 3 ทีมศึกษาความเป็นไปได้โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 มิถุนายน 2558 09:22 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือการดำเนินงานโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ร่วมกับคณะทำงานของกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยว (MLIT) ว่า ได้มีการกำหนดแบ่งทีมศึกษาสำรวจออกแบบเป็น 3 ทีม คือ ทีมทำงานกำหนดแผนงานรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ทีมทำงานกำหนดแผนงานเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และทีมศึกษาระบบการขนส่งสินค้าทางรถไฟ

ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดแผนการทำงานในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ไว้คร่าวๆ และได้ให้ไทย-ญี่ปุ่นไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม โดยจะเริ่มศึกษาความเป็นไปได้อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 12 เดือนในการสำรวจ และในกลางปี 2559 จะได้ข้อสรุปเบื้องต้นเพื่อขออนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรีในการดำเนินโครงการนี้ ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างช่วงต้นปี 2561

นายอาคม เปิดเผยว่า ทางญี่ปุ่นย้ำว่าระบบรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นถือว่าเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดในโลก ต้องมีความละเอียดรอบครอบในการสำรวจ ออกแบบ ฉะนั้นกำหนดการที่คาดว่าจะก่อสร้างนั้นอาจจะเป็นปี 2561 แม้เส้นทางนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ของไทยจะได้มีการศึกษาเบื้องต้นไว้แล้วก็ตาม แต่ทางญี่ปุ่นขอศึกษาทางกายภาพ ภูมิภาคอย่างละเอียดก่อน

สำหรับเส้นทางรถไฟที่ญี่ปุ่นสนใจมี 2 เส้นทาง คือ รถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตร หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูง 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กิโลเมตร และรถไฟทางคู่กึ่งความเร็วสูง เส้นทางบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 กิโลเมตร

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวอีกว่า ตามแผนการก่อสร้างจะแบ่งเป็น 2 ตอน คือ กรุงเทพ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กิโลเมตร พิษณุโลก-เชียงใหม่ 288 กิโลเมตร รวม 672 กิโลเมตร ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 4-5 ปี

ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นเบื้องต้นได้เสนอรูปแบบการร่วมลงทุน ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมที่สุด แต่ยังไม่สามารถสรุปสัดส่วนและรูปแบบการลงทุนได้ในขณะนี้ เพราะต้องสรุปผลการศึกษาออกแบบให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะสรุปแบบการลงทุนได้ชัดเจน พร้อมกันนี้ยังมีการตกลงที่จะประชุมร่วมกันทุก 3 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/06/2015 3:21 pm    Post subject: Reply with quote

จ่อชิงเค้กหมอนคอนกรีต ยักษ์รับเหมา-ผู้ผลิตคอนกรีตรับรถไฟทางคู่
วันจันทร์ ที่ 29 มิถุนายน, 2558 ฐานเศรษฐกิจ

แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคมเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากแผนเร่งผลักดันโครงการรถไฟและรถไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) จึงคาดการณ์จะมีการใช้วัสดุในการก่อสร้างจำนวนมากในปลายปีนี้และปี 2559 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หมอนคอนกรีตอัดแรง” มีความต้องการใช้งานค่อนข้างสูงถึง 6.7 แสนชิ้น เนื่องจากการรถไฟฯจะมีโครงการรถไฟทางคู่หลายเส้นทาง ในเฟสแรกนี้จำนวน 6-8 เส้นทาง ทั้งนี้ เส้นทางที่คาดว่าจะสามารถเปิดขายเอกสารประกวดราคาได้ในปีนี้ได้แก่ เส้นทางฉะเชิงเทรา–คลองสิบเก้า–แก่งคอย, เส้นทางชุมทางถนนจิระ–ขอนแก่น และเส้นทางประจวบคีรีขันธ์–ชุมพร

Click on the image for full size

นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน เส้นทางบางซื่อ–พญาไท–มักกะสัน–หัวหมาก และสายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ–หัวลำโพงหรือมิสซิ่งลิงก์ และโครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง ช่วงพญาไท – บางซื่อ– ดอนเมือง ในส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่รฟม.เป็นเจ้าของโครงการ ประกอบไปด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เส้นทางแคราย–มีนบุรี สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ– มีนบุรี และสายสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว–สำโรง

ขณะที่นายประสาธน์โฆสรัสวดีรองประธานบริหารฝ่ายจัดหาทางวิศวกรรมและฝ่ายจัดซื้อทั่วไปบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์จำกัด(มหาชน) บริษัทก่อสร้างชั้นนำ เปิดเผย ว่า ได้เตรียมความพร้อมผลิตวัสดุที่จะใช้กับโครงการรถไฟที่รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมเร่งผลักดันในปีนี้และปี 2559 ซึ่งมีทั้งผลิตเซ็กเมนต์ หมอนคอนกรีต พรีแคสต์ ชีตไพล์คอนกรีตที่ใช้งานกับทางด่วนและรถไฟฟ้าครั้งละไม่ตํ่ากว่าหลักหมื่นชิ้น ปริมาณคอนกรีตที่ใช้หลักล้านคิว โดยโรงงานของอิตาเลียนไทยจะเน้นผลิตเพื่อใช้งานเองเป็นหลัก ซึ่งมีการจัดระบบการผลิตเป็นแต่ละงาน หากไลน์การผลิตเดิมไม่เพียงพอจึงจะขยายเพิ่ม ในขณะนี้กำลังการผลิตยังเพียงพอกับความต้องการ

นายอาทิตย์ทีปกรสุขเกษมกรรมการผู้จัดการบริษัทผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรีจำกัด(มหาชน) หรือ CCP กล่าวว่า บริษัทมีความสนใจขยายธุรกิจจากผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำหรับงานโครงสร้างพื้นฐานด้านถนนและทางนํ้าเป็นหลัก มาผลิตหมอนคอนกรีตอัดแรง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับกลุ่มทุนจีนซึ่งสนใจจะร่วมทุนคาดจะได้ข้อยุติในเร็วๆนี้ ทั้งนี้ประเมินค่าทางการตลาดหมอนคอนกรีตค่อนข้างสูงมาก บริษัทสนใจจะผลิตป้อนให้กับบริษัทรับเหมาในรายกำลังการผลิตของเขาไม่เพียงพอ ถือว่าจะได้รับงานระยะยาว

ด้านนายกมลวรรธนคณินกรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์คอนกรีตบริษัทไทยเนชั่นแนลโปรดัคท์จำกัดหรือทีเอ็นพีหนึ่งในผู้ประกอบการผลิตหมอนคอนกรีตให้กับโครงการรถไฟของการรถไฟฯกล่าวว่าปัจจุบันมีผู้ประกอบการผลิตหมอนคอนกรีตรถไฟจำนวนไม่กี่รายและทีเอ็นพีถือว่าอยู่ในระดับ 3 มีการผลิตวันละ 1,200 ก้อนป้อนให้กับบริษัทรับเหมาชั้นนำของไทยที่สั่งซื้อไปดำเนินการสายต่างๆดังนั้นหากจะผลิตป้อนให้กับรถไฟฟ้าก็สามารถทำได้โดยจะต้องปรับปรุงสายการผลิตอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

“หากดูรายละเอียดโครงการรถไฟของร.ฟ.ท.จะเห็นว่ามีไม่น้อยกว่า 10 โครงการ แต่ละเส้นทางจะต้องใช้หมอนคอนกรีตจำนวนมาก จึงมองว่ายังมีศักยภาพและเป็นโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันส่งให้กับผู้รับเหมาทุกรายที่สั่งซื้อ”

ปัจจุบันธุรกิจนี้ยังมีผู้ผลิตน้อยรายกว่าปริมาณการนำไปใช้งานฉะนั้นโอกาสการผลิตจึงยังมีอีกมากตลาดยังเปิดกว้างจากกรณีที่รัฐบาลมีแผนเร่งผลักดันอีกหลายเส้นทาง ซึ่งทีเอ็นพีน่าจะครองมาร์เก็ตแชร์ทางการตลาดไม่ตํ่ากว่า 30% อยู่ในลำดับ 3 รองจากกลุ่มอิตาเลียนไทยและไทยพีคอน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/07/2015 5:44 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งแบบรถไฟไทย-จีนจบใน ส.ค. ดันตั้ง บ.ร่วมทุนคุมเบ็ดเสร็จเดินรถ, ซ่อม, อาณัติสัญญาณ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 กรกฎาคม 2558 16:58 น.

Click on the image for full size

คมนาคมเร่งสรุปผลสำรวจออกแบบและรูปแบบลงทุนรถไฟไทย-จีน คาดชง ครม. ก.ย.นี้เห็นชอบกรอบข้อตกลงกรอบการทำงาน (Frame Work Agreement) “ประจิน” เผยอาจขยับแผนเริ่มก่อสร้างจาก ต.ค. เป็น ธ.ค. มอบ ร.ฟ.ท.เจรจาแบบก่อสร้างหลังจีนขอให้ย้ายแนวท่อก๊าซ ปตท. ช่วง กทม.-บ้านภาชี ด้าน “อาคม” เผยไทยขอตั้งบริษัทร่วมทุน เดินรถ, ซ่อมบำรุง, ระบบรถ, อาณัติสัญญาณ เพื่อความคล่องตัว

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วม รถไฟไทย-จีนครั้งที่ 5 ว่า ผลการหารือเบื้องต้นทางจีนได้เสนอทำข้อตกลงกรอบการทำงาน (Frame Work Agreement) แทนทำบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation : MOC) ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดแผนงานเพิ่มเติมในเรื่องการสำรวจออกแบบ จะต้องสรุปในวันที่ 21 ส.ค. หรือขยายเวลาให้อีกไม่เกิน 30 วัน, การฝึกอบรม, จำนวนและที่ตั้งสถานี แนวเส้นทาง, มูลค่าโครงการ เป็นต้น โดยจะมีการประชุมร่วมครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 6-8 ส.ค. 2558 ที่เมืองซีอาน ประเทศจีน เพื่อติดตามความคืบหน้าและสรุป Frame Work Agreement โดยคาดว่าจะเสนอ ครม.เห็นชอบได้ต้นเดือน ก.ย. และส่วนการก่อสร้างนั้นจะขยับจากเป้าหมายเดิมที่จะเริ่มในเดือน ต.ค. เป็นเดือน ธ.ค. 2558

โดยจากการลงพื้นที่สำรวจของทางจีน ทั้งการสำรวจทางอากาศและภาคพื้นดิน เห็นว่าแนวเส้นทางตามผลศึกษาเดิมของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) นั้นมีหลายจุดมีข้อจำกัด ทั้งเรื่องชุมชนและสาธารณูปโภคจึงขอปรับเปลี่ยน ซึ่งจะกระทบต่อการออกแบบ การเวนคืน และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เดิม จึงให้คณะทำงานร่วม 2 ฝ่าย และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ร่วมหารือกับจีนภายใน 2 สัปดาห์ หรือภายในวันที่ 15 ก.ค.นี้จะต้องได้ข้อสรุปว่าแนวเส้นทางจะปรับจากเดิมจุดใดบ้าง เพิ่มกี่สถานี เพื่อสรุปเรื่องเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (EIA)

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การร่วมลงทุนนั้นจะมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะต้องรอผลการสำรวจออกแบบสรุปในเดือน ส.ค.นี้ก่อนเพื่อให้มีความชัดเจนวงเงินลงทุนของโครงการ โดยรูปแบบการร่วมทุนเบื้องต้นคือ ไทยรับผิดชอบลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งเดินรถ ระบบรถ โดยก่อนหน้านี้ไทยเสนอขอตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีน ในส่วนของการเดินรถและการซ่อมบำรุง และได้เสนอเพิ่มเติมในเรื่องร่วมทุนระบบรถและล้อเลื่อน (Roling Stock) และระบบอาณัติสัญญาณด้วย โดยจะเป็นบริษัทเดียวหรือ 2 บริษัท สัดส่วนเท่าใดนั้นต้องรอให้จีนพิจารณา ส่วนแหล่งเงินนั้นจะมีทั้งงบประมาณ และเงินกู้ ซึ่งจีนยืนยันจะพิจารณาดอกเบี้ยอัตรามิตรภาพที่เป็นประโยชน์ให้ไทยมากที่สุด ซึ่งจีนไม่มีปัญหาหากไทยต้องการกู้เงินหลายสกุลแต่ยืนยันว่าเงินหยวนมีดอกเบี้ยดีและมั่นคงที่สุด ส่วนเงื่อนไขในสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะต้องหารือกันอีกเนื่องจากมีประเด็นกรณีข้อพิพาทที่ไทยต้องการให้มีอนุญาโตตุลาการ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หลังสรุปการสำรวจออกแบบและทราบวงเงินลงทุนจะทราบถึงจำนวนรถว่าจะมีกี่ขบวน การลงทุนระบบอาณัติสัญญาณ และจะต้องหาคนกลางเข้ามาประเมินว่าวงเงินลงทุนที่จีนสำรวจออกแบบนั้นเหมาะสมหรือไม่ นอกจากนี้ ไทยจะต้องหาที่ปรึกษาเข้ามาช่วยดูเรื่องการจัดหาแหล่งเงินและที่ปรึกษาด้านการก่อสร้างอีกด้วย

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้จะนัดหารือกรณีแนวเส้นทางช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ซี่งตามแนวทางรถไฟจะมีท่อก๊าซของ ปตท.ระยะทาง ประมาณ 40 กม. ซึ่งทางจีนขอให้ย้ายแนวท่อก๊าซออก ซึ่งจะต้องมีการศึกษา EIA พบว่าจะกระทบต่อระยะเวลาการก่อสร้าง ดังนั้นจะหารือเพื่อออกแบบเลี่ยง นอกจากนี้ จะหารือถึงที่ตั้งศูนย์ควบคุมระบบการเดินรถซึ่งจีนเสนอที่บางซื่อ ในขณะที่ ร.ฟ.ท.จัดพื้นที่ไว้บริเวณเชียงรากน้อย เนื่องจากมีความพร้อมและจะเป็นศูนย์กลางควบคุมการเดินรถไฟทั่วประเทศ รองรับอนาคตได้ดีกว่า ส่วนบางซื่อพื้นที่มีความแออัดแล้ว รวมถึงรูปแบบการก่อสร้างช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ต้องใช้ทางร่วมกันหลายโครงการอีกด้วย

----

ที่ประชุม กก.รถไฟไทย-จีนคาดออกแบบแนวเส้นทางแล้วเสร็จไม่เกิน 21 ส.ค.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 กรกฎาคม 2558 17:14 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 5 ว่า การประชุมครั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายได้หารือถึงความก้าวหน้าของการดำเนินการที่แต่ละฝ่ายรับผิดชอบ โดยฝ่ายจีนได้รายงานความคืบหน้าการศึกษาความเหมาะสมของโครงการสำรวจและออกแบบแนวเส้นทาง แผนการวางระบบสื่อสารด้วยไฟเบอร์ออฟติค และแผนการฝึกอบรมบุคลากร ในส่วนของไทย ได้รายงานความคืบหน้าการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ของโครงการ ทั้งนี้ คาดว่าประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะสรุปจำนวนสถานี และสัดส่วนแนวเส้นทางเดิมและเส้นทางใหม่เพื่อใช้ในการออกแบบเส้นทางรถไฟ ช่วงที่1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย และช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา โดยตั้งเป้าว่าการออกแบบแนวเส้นทางรถไฟจะแล้วเสร็จไม่เกิน 21 สิงหาคมนี้

นอกจากนี้ ในส่วนของข้อตกลงกรอบการทำงานนั้นรายละเอียดยังไม่ชัดเจน ในส่วนของกรอบแผนงานและยังไม่สอดคล้องกับการศึกษาที่ไทยได้เสนอทำบันทึกความร่วมมือไว้ดังนั้นจึงต้องทำการศึกษาและกำหนดรายละเอียดกรอบการทำงานให้แล้วเสร็จภายใน 28 สิงหาคมนี้ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติประมาณกลางเดือนกันยายน 2558 อย่างไรก็ตาม หากแผนการศึกษาไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ จะขยายระยะเวลาออกไปอีก 30 วัน เป็น 21 ตุลาคม 2558 หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบในเดือนพฤศจิกายน 2558 และเริ่มก่อสร้างในเดือนธันวาคม จากเดิมที่จะเริ่มก่อสร้างในเดือนตุลาคม 2558

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวอีกว่า ในวันนี้จากการประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการก่อสร้างทั้ง 3 ระยะ รวมถึงการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ และการปรับปรุงหลักสูตรในสถานศึกษา เพื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถและซ่อมบำรุงของเอเชียในอนาคตอีกด้วย

ส่วนแผนการก่อสร้างรถไฟทางคู่นั้นอาจจะต้องมีการปรับแบบเล็กน้อย เนื่องจากการสำรวจแนวเส้นทางช่วง กรุงเทพฯ-บ้านภาชี พบในส่วนของท่อก๊าซระยะทาง 30-40 กิโลเมตร

ด้านรูปแบบการลงทุนนั้น นายอาคมเติม พิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การลงทุนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ไทยรับผิดชอบลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนที่ 2 ไทยเสนอขอให้จีนพิจารณาในลักษณะการร่วมลงทุนระหว่างไทย-จีน ใน 2 ส่วน คือระบบอาณัติสัญญาณ การเดินรถและการซ่อมบำรุง ซึ่งทางฝ่ายจีนจะรับไปพิจารณาและนำกลับมาหารือในการประชุมครั้งถัดไป โดยหลักการเบื้องต้นจะเป็นการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน

ในส่วนของการเงิน ยังคงยึดหลักการเดิม คือ ใช้เงินกู้จากหลายแหล่ง โดยจีนไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นเงินสกุลหยวนเท่านั้น แต่จีนยินดีที่จะพิจารณาให้ไทยกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งรายละเอียดจะต้องหารือกันอีกครั้ง เนื่องจากจะต้องรอศึกษาแนวเส้นทางให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อน ซึ่งคาดว่าการสำรวจออบแบบรายละเอียดจะแล้วเสร็จในวันที่ 21 สิงหาคมนี้

สำหรับการประชุมความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคมนี้ จะมีการประชุมที่เมืองซีอาน ประเทศจีน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/07/2015 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

จีนผงะท่อน้ำมันปตท.ขวางแนวรถไฟกรุงเทพฯ-แก่งคอย - "ประจิน"ขีดเส้นแบบ-ที่ตั้งสถานีต้องจบ21ส.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 01 ก.ค. 2558 เวลา 18:20:50 น.

จีนผงะท่อน้ำมัน ปตท.ขวางแนวรถไฟกรุงเทพฯ-แก่งคอย พาดยาว 36 กม. "ประจิน" ขีดเส้นแบบ-ที่ตั้งสถานีต้องจบ 21 ส.ค.นี้ เร่งทันปักหมุด 23 ต.ค.58

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 5 ว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ฝ่ายไทยและจีนได้เดินทางด้วยรถไฟจากสถานีหัวลำโพงไปยังสถานีชุมทางแก่งคอย

เพื่อสำรวจเส้นทางเนื่องจากยังมีปัญหาอุปสรรคเรื่องพื้นที่จะต้องย้ายชุมชนริมทางรถไฟและท่อน้ำมันของปตท.ที่อยู่ในแนวรถไฟระยะทางประมาณ36กิโลเมตรและการเพิ่มจุดที่ตั้งสถานีที่จะจอดเพิ่ม4 แห่ง ในเส้นทางช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราช ที่ตั้งเป้าจะเริ่มสร้างวันที่ 23 ตุลาคมนี้ หรืออย่างช้าเดือนธันวาคม 2558

"จะเร่งสรุปรายละเอียดสถานีและแบบก่อสร้างที่จะต้องปรับช่วงกรุงเทพฯ-ชุมทางบ้านภาชี ที่มีแนวท่อน้ำมัน ซึ่งจีนให้รื้อและโครงสร้างที่ทับซ้อนกันหลายโครงการ จากนั้นจะเร่งให้การประเมินราคาก่อสร้างให้เสร็จวันที่ 21 สิงหาคมนี้ หากไม่ทันจะให้เวลาอีก 30 วัน หรือวันที่ 21 กันยายนนี้ จากนั้นจะนำไปสู่การพิจารณารูปแบบการลงทุน เงินกู้และอัตราดอกเบี้ย และการลงนามกรอบดำเนินการกับจีนนั้นจะเป็นประมาณกลางเดือนกันยายน หลังเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว"

พล.อ.อ.ประจินกล่าวอีกว่า นอกจากนี้การประชุมครั้งนี้ได้ข้อสรุปจะสร้างศูนย์ควบคุมเดินรถที่เชียงรากน้อยจากเดิมจีนเสนอที่บางซื่อ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่ารูปแบบการลงทุนจะชัดเจนหลังวันที่ 21 สิงหาคมนี้ โดยหลักมี 2 รูปแบบ คือ ไทยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและให้จีนร่วมลงทุนงานรับรถ ระบบอาณัติสัญญาณและการเดินรถโดยตัังบริษัทใหม่ร่วมกัน ซึ่งจีนยังไม่สรุป จะหารือครั้งที่ 5 วันที่ 6-8 สิงหาคมนี้ ที่เมืองซีอาน ประเทศจีน

----

คมนาคม ยังไม่สรุปลงทุนรถไฟไทย-จีน
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2558 17:05น.

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เผยยังไม่สรุปลงทุนรถไฟไทย-จีน เร่งสำรวจออกแบบแล้วเสร็จ 21 ส.ค.นี้ ก่อนสรุปรูปแบบการเงิน

นายอาคมเติม พิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงรูปแบบการลงทุนว่า สำหรับการลงทุนยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยรูปแบบการ่วมทุนเบื้องต้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ไทยรับผิดชอบลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนที่ 2 ไทยเสนอขอให้จีนพิจารณาในลักษณะการร่วมลงทุนระหว่างไทย-จีน ใน 2 ส่วน คือระบบอาณัติสัญญาณ การเดินรถและการซ่อมบำรุง ซึ่งทางฝ่ายจีนจะรับไปพิจารณาและนำกลับมาหารือในการประชุมครั้งถัดไป โดยหลักการเบื้องต้นจะเป็นการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ทั้งนี้ ในด้านการเงิน ยังคงยึดหลักการเดิม คือ ใช้เงินกู้จากหลายแหล่ง โดยไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นเงินสกุลหยวนเท่านั้น ซึ่งเบื้องต้นทางฝ่ายจีนได้เสนอให้กู้ผ่านแหล่งเงินกู้จากจีนทั้งหมด เนื่องจากจีนได้ยื่นข้อเสนอว่าจะคิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และได้ให้ข้อมูลว่าสกุลเงินหยวน เป็นสกุลเงินที่มีความมั่นคงมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม สำหรับรายละเอียดทั้งหมดจะต้องหารือกันอีกครั้ง เนื่องจากต้องรอผลการศึกษาแนวเส้นทาง ซึ่งคาดว่าการสำรวจและออกแบบจะแล้วเสร็จในวันที่ 21 สิงหาคม2558 นี้ สำหรับการประชุมความร่วมมือรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 6 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม ที่ประเทศจีน

----

คมนาคมสรุปเส้นทางรถไฟไทย-จีน 15 ก.ค.นี้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 01 กรกฎาคม 2558, 18:45

"พล.อ.อ.ประจิน" เผย คมนาคมเตรียมสรุปเส้นทางรถไฟไทย-จีน 15 ก.ค. นี้ คาดเพิ่มสถานีในเส้นทางอีก 3-4 สถานี

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงผลประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 5 ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะ ขณะที่ฝ่ายจีนมีนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีนเป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ฝ่ายจีนได้ทดลองนั่งรถไฟจากสถานีหัวลำโพงมายังสถานีแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งถือเป็นการสำรวจเส้นทาง

ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมครั้งนี้ภายใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า หรือภายในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ กระทรวงคมนาคมจะเร่งสรุปเรื่องของเส้นทางการก่อสร้าง ทั้งจุดก่อสร้าง ราง หรือ Track ที่ตั้งสถานี ซึ่งทั้งหมดจะมีส่วนสำคัญ ในส่วนของการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือเวนคืนและการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยหลังจากได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วจะนำไปสู่การออกแบบรายละเอียด ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ นอกจากนี้ ทางฝ่ายจีนยังพร้อมให้ความช่วยเหลือร่วมมือในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของระบบรถไฟความเร็วสูงของไทย ซึ่งจะแบ่งการอบรมออกเป็น 2 ชุด ตั้งแต่การอบรมระยะเวลา 6 เดือน จนถึงการอบรมที่จะใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมถึงปี 2559

ในส่วนของการประชุมและสำรวจเส้นทาง ไทยพยายามหารือถึงข้อสรุปกับจีน ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายไทยพยายามให้แนวเส้นทางอยู่ในเขตทางรถไฟเดิมมากที่สุด แต่จากการลงพื้นที่สำรวจของจีน ตลอดแนวเส้นทางพบว่ามีอุปสรรคในเขตทางก่อสร้างส่วนหนึ่ง เช่น แนวท่อก๊าซระยะทาง 36 กิโลเมตร บริเวณอำเภอภาชี รวมถึงการเข้ามาอยู่อาศัยของชุมชนข้างแนวเขตทาง ซึ่งจีนเสนอให้มีการเลี่ยงเส้นทางหรือย้ายแนวท่อก๊าซออกไป โดยฝ่ายไทยเห็นว่าการรื้อย้ายแนวท่อก๊าซคงเป็นเรื่องที่ดำเนินการได้ยาก อย่างไรก็ตาม ระดับโครงสร้างรองรับรางของรถไฟความเร็วสูงที่สูงกว่าระดับแนวท่อก๊าซเชื่อว่าจะทำให้การก่อสร้างไม่มีปัญหาด้านความปลอดภัย ส่วนชุมชนที่มาอาศัยในเขตทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก็จะลงไปดำเนินการเจรจาแก้ปัญหาต่อไป ส่วนกระทรวงคมนาคมยืนยันว่าการเปลี่ยนแนวเส้นทางจากแนวเดิมจะต้องมีไม่เกินร้อยละ 20 ของแนวเส้นทางทั้งหมด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบทั้งในเรื่องของการเวนคืนและการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากล่าช้าออกไปจะกระทบกับโร้ดแมปกรอบเวลาของโครงการที่ตั้งเป้าหมายจะให้มีการเริ่มก่อสร้างได้ภายในปลายปีนี้

ขณะเดียวกันการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งสถานี ยอมรับว่าจะมีการก่อสร้างเพิ่มสถานีในสายทางอีก 3-4 สถานี เพื่อประโยชน์ในการเดินทางของประชาชนที่อยู่ในแนวเส้นทางและการขนส่งสินค้า เนื่องจากเดิม การออกแบบแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคายนั้น อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องมีสถานีถี่มาก แต่เมื่อมีการปรับโครงการเป็นรถไฟรางมาตรฐานสามารถเพิ่มจำนวนสถานีในพื้นที่สำคัญได้ ทั้งนี้ ในส่วนของการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในแนวเส้นทางและจำนวนสถานีทั้งหมดของโครงการรถไฟไทย-จีน จะมีการประชุมและสรุปผลวันที่ 15 กรกฎาคมนี้

ขณะเดียวกันการหารือร่วมกัน 2 ฝ่าย จีนมีความประสงค์ที่จะให้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือกรอบการทำงานระหว่าง 2 ฝ่าย ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะมีการจัดทำและนำเข้าขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต้นเดือนกันยายนปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 121, 122, 123  Next
Page 45 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©