Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273188
ทั้งหมด:13584484
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 54, 55, 56 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/10/2015 6:57 am    Post subject: Reply with quote

สนข.ปูทางเปิดประตูเชื่อมเพื่อนบ้าน เล็งเป้ายอดส่งออกสินค้าเดินหน้าโต
บ้านเมือง วันจันทร์ ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558, 06.34 น.

เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันแผนโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ถือเป็นหน่วยงานหลักที่จะต้องทำการจัดทำรายละเอียด รวมถึงศึกษาความเหมาะสมของโครงการก่อนการก่อสร้างโครงการสร้างพื้นฐานนั้น ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ก็มีบทบาทสำคัญซึ่งปฏิบัติหน้าที่ศึกษารายละเอียดรูปแบบโครงการก่อนจะรายงานต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่สำรวจเส้นทางรถไฟฟ้า (Standard Gauge) เชื่อมไทย-ลาว-จีน ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย โดยเป็นการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสถานีให้เป็นจุดศูนย์กลางของการเดินทางทั้งรูปแบบโดยสาร และรูปแบบการขนส่งสินค้าข้ามแดน เพื่อออกสู่ประเทศที่ 3 และเพื่อเป็นการรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยในฝั่งประเทศไทยก็จะเริ่มที่สถานีจังหวัดหนองคาย เชื่อมทะลุไปยัง สปป.ลาว กระทั่งสุดที่ประเทศจีน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงทั้ง 3 ประเทศเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับโครงการก่อสร้างที่สถานีนาทา จังหวัดหนองคายนั้น จะขยายพื้นที่โดยรอบสถานีจากเดิม 290 ไร่ เป็น 890 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นย่านกองเก็บตู้สินค้าและขนถ่ายสินค้า (CY) เป็นศูนย์กลางรวบรวมและกระจายสินค้าคอนเทนเนอร์ที่จะขนถ่ายสินค้าจากรถบรรทุกมาขึ้นตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รวมถึงโครงการที่จะพัฒนาต่อเนื่อง ให้เป็นด่านศุลกากร ศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักรสำหรับขบวนรถสินค้า ย่านจอดรถไฟ และศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟโดยสาร ซึ่งได้รับข้อมูลรายงานเพิ่มเติมจากกรมการขนส่งทางบก ว่าในปี 2565 ที่จะถึงนี้ จะมีรถบรรทุกสินค้าเข้า-ออกที่สถานีแห่งนี้เฉลี่ยแล้วประมาณวันละ 240 เที่ยว หรือปีละ 87,600 เที่ยว และปี 2575 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ 620 เที่ยวต่อวัน หรือเฉลี่ยปีละ 226,300 เที่ยว สำหรับสัดส่วนด้านการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานนั้น ประกอบด้วย ระบบรถไฟฟ้ามีประมาณ 30% ระบบรถไฟระหว่างเมืองมีประมาณ 20% และสัดส่วนด้านถนนประมาณ 50% แต่หากดูข้อมูลในปัจจุบันสถานีนาทาแห่งนี้ เพิ่งเปิดให้บริการขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบัง-หนองคาย วันละ 1 เที่ยวเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ก็มีความเป็นไปได้ที่ว่าหากมีการเชื่อมต่อตามแนวเส้นทางตามแผนนั้น จะเพิ่มปริมาณด้านการขนส่งสินค้าได้ ซึ่งทาง สปป.ลาวขณะนี้ก็ได้มีการก่อสร้างโครงการเช่นเดียวกัน โดยเริ่มต้นจากสถานีท่านาแล้ง ที่ขณะนี้มีการให้บริการรถไฟที่เชื่อมกันระหว่างจังหวัดหนองคาย โดยให้บริการผ่านบนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งมีระยะทางห่างกันประมาณ 9 กิโลเมตร เปิดให้บริการประชาชนที่สนใจในการเดินทางด้วยการนั่งรถไฟในอัตรา 20 บาท โดยให้บริการวันละ 4 เที่ยวต่อวัน ทั้งนี้ ถือว่าเป็นการให้บริการอย่างสะดวกสบาย เนื่องจากมีระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมต่อเข้าถึงเวียงจันทน์ นอกจากนี้ สปป.ลาว ก็อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารสำนักงานการรถไฟ อาคารที่พักเจ้าหน้าที่ และย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) โดยได้การสนับสนุนเงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (เนด้า) มูลค่า 600 ล้านบาท ปัจจุบันงานแล้วเสร็จ 96% พร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2559 ในอนาคตมีแผนพัฒนาเป็นโลจิสติกส์พาร์ค ซึ่ง สปป.ลาวเตรียมพื้นที่ประมาณ 2,400 ไร่

นายไพบูลย์ โชคไพรสิน ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การศึกษาออกแบบช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. จะมีมูลค่าโครงการรวม 240,000 ล้านบาท (รวมค่าเวนคืนที่ดินประมาณ 5,000 ล้านบาท ค่างานโยธา งานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถ) และพบว่า ควรใช้รถไฟความเร็ว 200 กม./ชม. ซึ่งเป็นรถความเร็วปานกลางที่มีขายในตลาดจะมีความคุ้มค่าเนื่องจากสามารถวิ่งในความเร็ว 180 กม./ชม. ได้ในขณะที่เส้นทางออกแบบไว้รองรับสำหรับการพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูงโดยใช้รถที่ 300 กม./ชม.ได้ด้วย ส่วนอัตราค่าโดยสารควรอยู่ที่ เริ่มต้น 70 บาท บวก กม.ละ 1.80 บาท ค่าระวางสินค้าอยู่ที่ 20 บาท/TEU-กม. โดยจะสรุปผลการศึกษาในเดือน พ.ย.นี้

นายวิวัฒน์ชัย จิวาศักดิ์อภิมาศ รองประธานหอการค้าฝ่ายโยธาธิการและผังเมือง จ.หนองคาย กล่าวถึงมูลค่าการค้าในช่วงปี 2557 ว่ามีประมาณ 6 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยมีสินค้าส่งออกประมาณ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี และส่วนของ สปป.ลาวนั้นมีมูลค่าด้านเศรษฐกิจประมาณ 8% ทั้งนี้ ในส่วนของปริมาณประชาชนเข้า-ออกประเทศโดยการผ่านที่สะพานมิตรภาพประมาณ 5 ล้านคนต่อปี ซึ่งในปลายปีนี้ จะมีการเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว จ.หนองคายก็ถือเป็นประตูด้านการค้าชายแดนด้วย

นอกจากนี้ สนข.ศึกษาความเหมาะสมของโครงการช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยผลศึกษาที่ออกมาได้ข้อสรุปว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2.4 แสนล้านบาทรวมค่าเวนคืนที่ดินประมาณ 5,000 ล้านบาท สำหรับเส้นทางช่วงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟไทย-จีนช่วงหนองคาย-นครราชสีมา-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 737 กิโลเมตร โดยจะมีจุดเชื่อมระหว่างรถไฟไทย-ลาวอยู่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 จ.หนองคาย จะสร้างสะพานใหม่บริเวณท้ายน้ำ (มุ่งหน้าเวียงจันทน์อยู่ขวามือ) ห่างจากจุดเดิม 30 เมตร เพื่อวางราง 1.435 เมตร รองรับรถไฟความเร็วปานกลาง 160 กม./ชม. จะวิ่งเชื่อมกัน 3 ประเทศ คือ จีน ลาวและไทยในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/10/2015 4:51 pm    Post subject: Reply with quote

รมว.คค.ประชุมความร่วมมือรถไฟไทย-จีน 27- 29 ต.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2558 16:28 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีกำหนดเดินทางไปประชุมคณะกรรมการด้านความร่วมมือการพัฒนาโครงการรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 8 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 27- 29 ตุลาคมนี้ เพื่อหาข้อสรุปผลการสำรวจและออกแบบ โดยเฉพาะช่วงที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย และช่วงที่ 3 เส้นทางแก่งคอย-นครราชสีมา ที่ต้องดำเนินการก่อน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยจีนเสนอที่ร้อยละ 2.5 ขณะที่ไทยต้องการต่ำกว่าร้อยละ 2
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2015 4:08 pm    Post subject: Reply with quote


กว่าจะสร้างเสร็จก็ใช้เวลา 4 ปี
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=DYchnfiS-aY
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2015 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

ก.คมนาคมเตรียมเสนอนายกฯ ใช้ ม.44 เร่งรัดรถไฟรางคู่ 3 เส้นทาง
ครอบครัวข่าว
วันที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 16:05:46 น.

กระทรวงคมนาคม เตรียมสรุปโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ในการเร่งรัดการลงทุน เบื้องต้นชัดเจน โครงการที่เข้าข่าย คือ โครงการรถไฟรางคู่ 3 เส้นทาง

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึง กรณีที่นายกรัฐมนตรีเตรียมใช้มาตรา 44 เพื่อผลักดันโครงการลงทุนเร่งด่วนของกระทรวงคมนาคม 17 โครงการ ว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการหารือร่วมกับ รมว.คมนาคม เพื่อดูว่าโครงการใดจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรา 44 ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุป และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีได้ในสัปดาห์ถัดไป

เบื้องต้นโครงการที่คาดว่า จะต้องใช้มาตรา 44 เข้ามาผลักดัน คือ โครงการรถไฟรางคู่ 3 เส้นทาง คือ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ, สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และสายนครปฐม-หัวหิน ที่ยังติดการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ซึ่งอาจใช้มาตรา 44 เข้ามาเร่งรัดในขั้นตอนดำเนินการ โดยยังไม่มีการลงนามในสัญญาจนกว่าจะผ่านอีไอเอ และเมื่อโครงการผ่านอีไอเอ จะสามารถเดินหน้าได้ทันที ซึ่งน่าจะทันภายในปีนี้

ส่วนอีกโครงการ คือ รถไฟกึ่งความเร็วสูงไทย-จีน ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

//----------

ไม่ทันใจ! "บิ๊กตู่"พร้อมใช้ ม.44 เร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทันที ขอคมนาคมชงมา
มติชน
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 06:51:43 น.

นายกรัฐมนตรีพร้อมใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างเต็มที่



นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาล เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมใช้กฎหมายพิเศษหรือมาตรา 44 สั่งลดขั้นตอนเพื่อให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมเกิดขึ้นได้เร็ว เนื่องจากขณะนี้พบว่าโครงการเดินหน้าค่อนข้างช้าเพราะติดขั้นตอน เช่น ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชน โดยโครงการส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนที่จะเริ่มได้ แต่นายกฯ ต้องการให้เร่งและตัดทอนขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลง หากจำเป็นก็ใช้กฎหมายพิเศษให้เริ่มเร็วขึ้น ทั้งนี้ ต้องรอให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เสนอว่าจะให้นายกฯ ใช้กฎหมายพิเศษในโครงการใดบ้างใน 17 โครงการวงเงิน 1.6 ล้านล้านบาท

“หลายโครงการคมนาคมที่ควรจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีนี้เช่น รถไฟฟ้า 3 เส้นทางเช่น โครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟฟ้าเส้นทางกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งโครงการพวกนี้อยู่ในกระบวนการอยู่แล้ว แต่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม บอกว่า มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการซึ่งใช้เวลามาก เช่น การวิเคราะห์โครงการ หรือการทำการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี นายกฯ ก็บอกว่า ตรงนี้หากมีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษเพื่อให้โครงการที่สำคัญเดินหน้าได้รวดเร็วขึ้น ก็พร้อมที่จะดำเนินการ”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2015 7:16 pm    Post subject: Reply with quote

"รถไฟไทย-จีน" อืด-เลื่อนไป พ.ค.ปีหน้า เหตุยังหาข้อสรุปการก่อสร้าง-ดอกเบี้ยไม่ลงตัว
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 31 ต.ค. 2558 เวลา 13:45:48 น.

ผลประชุมรถไฟไทย-จีนยังตกลงกันไม่ได้ ก่อสร้าง ไม่ทันธ.ค.2558 เลื่อนไปเป็นเดือนพ.ค.2559 แต่นำร่องเดินหน้าวางศิลาฤกษ์ศูนย์ควบคุมเดินรถเชียงรากน้อยก่อน ส่วนดอกเบี้ยยังคุยไม่ลงตัว จีนยาหอมให้ดอกดีกว่ากู้ในไทย

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า การประชุม ความร่วมมือไทย-จีน ครั้งที่ 8 เส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 28-29 ต.ค.2558 ที่ผ่านมา ได้ข้อยุติร่างกรอบความร่วมมือเบื้องต้นว่าจะมีการเลื่อนโครงการก่อสร้างออกไปจากเดิมที่กำหนดช่วงเดือนต.ค.-ธ.ค. 2558 ไปเป็นช่วงเดือนพ.ค. 2559 เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปรายละเอียดการก่อสร้างได้ โดยล่าสุดไทยได้ส่งผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการให้จีนปรับปรุงข้อมูลในบางส่วนให้ตรงกัน ซึ่งฝ่ายจีนรับไปดำเนินการและส่งกลับมาภายใน 2 สัปดาห์

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้นกำหนดการวางศิลาฤกษ์และการจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนทั่วไปรับทราบข้อมูลโครงการก่อสร้างรถไฟไทย -จีน คาดว่าจะมีการวางศิลาฤกษ์ที่ศูนย์ควบคุมการเดินรถ (โอซีซี) บริเวณเชียงรากน้อย เดือนธ.ค. 2558 และ ที่ประชุมยังตกลงว่าจะมีการประชุมความร่วมมือไทย-จีน ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ ช่วงปลายเดือนพ.ย. 2558 เพื่อสรุปรายละเอียดต่างๆ อีกครั้ง โดยมอบหมายให้การรถไฟ แห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของฝ่ายจีนไปหารือในรายละเอียดว่าจะมีรูปแบบการจัดงานอย่างไรบ้าง

ส่วนเจรจากำหนดดอกเบี้ยเงินกู้ที่รัฐบาลจะขอกู้จากรัฐบาลจีนในอัตราพิเศษ สำหรับใช้ดำเนินการในโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ยังไม่ได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งนี้ โดยฝ่ายจีนยืนยันว่าจะให้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ดีกว่าการกู้เงินภายในประเทศของไทย ส่วนรูปแบบการก่อสร้างและ รูปแบบการร่วมทุนระหว่างไทย-จีนในการเดินรถนั้น ยังไม่ได้ข้อสรุปจากการประชุมในครั้งนี้

สำหรับโครงการความร่วมมือรถไฟความเร็วปานกลาง ไทย-จีน เส้นกรุงเทพฯ-หนองคาย รวมระยะทาง 873 ก.ม.มีแบ่งการลงทุนเป็น 4 ช่วง ประกอบด้วย ระยะแรกช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย และช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา เดิมมีแผนเริ่มก่อสร้างเดือนต.ค. 2558 และระยะสองช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย เดิมเริ่มก่อสร้างเดือนก.พ. 2559

อย่างไรก็ตาม คมนาคมยังไม่สามารถหาข้อสรุปในการลงทุน และการก่อสร้างกับรัฐบาลจีนได้ ส่งผลให้แผนการก่อสร้างจะถูกเลื่อนออกไปไม่ทันภายในปีนี้แน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2015 9:36 am    Post subject: Reply with quote

“คลัง” ชงลดขั้นตอน PPP เพื่อสร้างความชัดเจนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

31 ตุลาคม 2558 21:12 น. (แก้ไขล่าสุด 31 ตุลาคม 2558 23:27 น.)




รองนายกฯ ศก. เผยกระทรวงการคลัง เตรียมชงลดขั้นตอนลงทุนรัฐร่วมเอกชนให้เร็วขึ้น เพื่อสร้างความชัดเจนในแผนการลงทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน ชี้ หากที่ประชุม ครม. อนุมัติ ก็ไม่ต้องใช้อำนาจ ม.44 เข้าเร่งรัดในการลงทุนดังกล่าว

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 นี้ กระทรวงการคลัง เตรียมเสนอให้ ครม. อนุมัติการลดขั้นตอนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เป็นการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชน หรือ PPP ที่จะต้องผ่านกระบวนการยื่นพิจารณาขอผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทั้ง อีไอเอ และเอชไอเอ ให้เหลือระยะเวลา 7-9 เดือน จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ปี เพื่อสร้างความชัดเจนในแผนการลงทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานให้กับเอกชน

ขณะเดียวกัน ก็จะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนโครงการได้รวดเร็วขึ้น เช่น โครงการเส้นทางรถไฟเชื่อมตะวันออกสู่ตะวันตก หรือ Economic East-West Corridor จะต้องมีการก่อสร้างรถไฟ ถนนในเส้นทางต่างๆ โดยยืนยันว่า ขณะนี้มีเอกชนรายหลายที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการของรัฐบาล เพราะเส้นก่อสร้างจะเชื่อมโยงกับพื้นที่การค้า และสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งจะมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่อู่ตะเภาด้วย

ดังนั้น นายกรัฐมนตรี ต้องการเร่งรัดให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ หากที่ประชุม ครม. พิจารณาอนุมัติ ยืนยันว่า ไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจมาตรา 44 เข้าเร่งรัดในการลงทุนดังกล่าว

นอกจากนี้ นายสมคิด กล่าวว่า ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 จะมีการประชุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการลงทุน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดขั้นตอนการลงทุนให้รวดเร็ว โดยจะมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล

//-----------


***รถไฟไทย-จีนตกลง ปักหมุดธ.ค.นี้การันตีเกิดแน่

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี กล่าวต่อไปว่า ผลการประชุมความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 8 ในการศึกษาความเหมาะสมการออกแบบและการสำรวจเส้นทางโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย, แก่งคอย-มาบตาพุด, แก่งคอย-โคราช, โคราช-หนองคาย ระยะทาง 873 กม. เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการสรุปกรอบการทำงานร่วมกัน โดยกำหนดที่จะวางวางศิลาฤกษ์ โครงการที่สถานีเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี ในเดือนธันวาคม 2558 และคาดว่าจะเริ่มต้นก่อสร้างโครงการได้ตามแผนเบื้องต้นประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 เนื่องจากต้องให้มีการสรุปการออกแบบรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จ สรุปมูลค่าโครงการสมบูรณ์แล้ว และการจัดหาข้อสรุปด้านแหล่งเงินเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะสรุปรายละเอียดที่หารือร่วมกับจีนครั้งที่ 8 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เพื่อรับทราบต่อไป
สำหรับการเร่งพิธีการวางศิลาฤกษ์นั้น ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นระหว่าง 2 ประเทศ ว่าโครงการนี้จะสามารถเกิดขึ้นจริง ซึ่งระหว่างนี้จะต้องหารือในส่วนที่ยังไม่ได้ข้อสรุป เพื่อจะได้รายละเอียดของโครงการที่ชัดเจน เช่น อัตราดอกเบี้ยซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป โดยที่ผ่านมาไทยก็ยืนยันที่ขออนุมัติดอกเบี้ยที่ 2 % ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดที่จะหารือระหว่างกันเป็นครั้งที่ 9 ปลายเดือนพฤศจิกายนอีกครั้ง
นอกจากนี้ นายชาติชาย กล่าวภายหลังที่ที่ปรึกษาพิเศษนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางเข้าพบนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยได้มีการหารือถึงโครงการความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นให้ความสนใจที่จะลงทุนก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาโดยคาดว่าจะสามารถสรุปเพื่อเสนอครม.ได้ประมาณ เดือนมิถุนายน 2559 และคาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างโครงการตามแผนได้ประมาณปี 2562
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ก่อนตามแผนรัฐบาลที่เร่งรัด คือ ก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก ในตอนล่าง เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพ-แหลมฉบัง โดยตั้งเป้าตามแผนว่าจะสามารถเปิดประมูล และเริ่มการก่อสร้างได้ประมาณ 2559 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับด้านการขนส่งสินค้าเชื่อมจากทางรถไฟเชื่อมท่าเทียบเรือแหลมฉบัง


Last edited by Wisarut on 03/11/2015 10:18 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2015 10:16 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวจากโพสต์ทูเดย์ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 พบว่า ที่จีนไม่ยอมลดดอกเบี้ยเหลือต่ำกว่าร้อยละ 2 ก็เพราะว่าธนาคารจีนบอกว่า ถ้าลดไปขนาดนั้นจีนขาดทุน ซึ่งจะยอมให้เป็นเช่นนั้นไม่ได้เด็ดขาด - และ ข่าวโพสต์ทูเดย์ 3 พฤศจิกายน 2558 ก็ทำให้ทราบว่า ตอนนี้ ญี่ปุ่นอยากได้ทาง จากบ้านพุน้ำร้อนไปแหลมฉบังและอรัญประเทศ ที่เป็นแต่การสร้างทางคู่ ติดระบบรถไฟฟ้า + การปรับปรุงทาง ที่จะสร้างใหม่แน่ๆ ก็คือ ทางช่วง บ้านพุน้ำร้อนไปบ้านเก่า 36 กิโลเมตร + ทาง bypass เมืองกาญจนบุรี + ทางอรัญประเทศ - ปอยเปตอีก 6 กิโลเมตร แต่ ที่ น่าปวดหัวก็ไม่พ้น ทางช่วงผ่านเทศบาลท่าเรือน้อย ที่ เกี่ยงให้ไปใช้ทางร่วมกะ มอเตอร์เวย์ บางใหญ่ - กาญจนบุรี (บ้านหนองขาว) ที่แม่ม สร้างภาระ ให้ คนอื่นที่จะโดนเวนคืนแทนตัวเองชัดเลย

//-------------------------

การันตีเกิดแน่!ไทย-จีน ตกลงปักหมุดรถไฟ 1.435 เมตร ธ.ค.นี้ ตีตราจองไว้ก่อน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

3 พฤศจิกายน 2558 06:57 น.


เผยผลเจรจารถไฟไทย-จีน สรุปวางศิลาฤกษ์ ในเดือน ธ.ค.58 ปักธงความร่วมมือ การันตีโครงการเกิดแน่ ส่วนการก่อสร้างคาดเริ่มพ.ค. 59 หลังตกลงรายละเอียดมูลค่าลงทุน ดอกเบี้ย ขณะที่ไทยยังยึดดอกเบี้ยไม่เกิน2% เตรียมหารือร่วมครั้งที่9ปลายพ.ย.นี้

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ผลการประชุมความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 8 ในการศึกษาความเหมาะสมการออกแบบและการสำรวจเส้นทางโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย, แก่งคอย-มาบตาพุด, แก่งคอย-โคราช, โคราช-หนองคาย ระยะทาง 873 กม. เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการสรุปกรอบการทำงานร่วมกัน โดยกำหนดที่จะวางวางศิลาฤกษ์ โครงการที่สถานีเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี ในเดือนธันวาคม 2558 และคาดว่าจะเริ่มต้นก่อสร้างโครงการได้ตามแผนเบื้องต้นประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 เนื่องจากต้องให้มีการสรุปการออกแบบรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จ สรุปมูลค่าโครงการสมบูรณ์แล้ว และการจัดหาข้อสรุปด้านแหล่งเงินเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะสรุปรายละเอียดที่หารือร่วมกับจีนครั้งที่ 8 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เพื่อรับทราบต่อไป

สำหรับการเร่งพิธีการวางศิลาฤกษ์นั้น ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นระหว่าง 2 ประเทศ ว่าโครงการนี้จะสามารถเกิดขึ้นจริง ซึ่งระหว่างนี้จะต้องหารือในส่วนที่ยังไม่ได้ข้อสรุป เพื่อจะได้รายละเอียดของโครงการที่ชัดเจน เช่น อัตราดอกเบี้ยซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป โดยที่ผ่านมาไทยก็ยืนยันที่ขออนุมัติดอกเบี้ยที่ 2 % ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดที่จะหารือระหว่างกันเป็นครั้งที่ 9 ปลายเดือนพฤศจิกายนอีกครั้ง

นอกจากนี้ นายชาติชาย กล่าวภายหลังที่ที่ปรึกษาพิเศษนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางเข้าพบนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยได้มีการหารือถึงโครงการความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นให้ความสนใจที่จะลงทุนก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาโดยคาดว่าจะสามารถสรุปเพื่อเสนอครม.ได้ประมาณ เดือนมิถุนายน 2559 และคาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างโครงการตามแผนได้ประมาณปี 2562

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ก่อนตามแผนรัฐบาลที่เร่งรัด คือ ก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก ในตอนล่าง เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพ-แหลมฉบัง โดยตั้งเป้าตามแผนว่าจะสามารถเปิดประมูล และเริ่มการก่อสร้างได้ประมาณ 2559 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับด้านการขนส่งสินค้าเชื่อมจากทางรถไฟเชื่อมท่าเทียบเรือแหลมฉบัง

//-----------

ญี่ปุ่นถก"อาคม"ย้ำพร้อมลุยรถไฟ3สาย
ไทยโพสต์
3 พฤศจิกายน 2558 - 00:00

ญี่ปุ่นดอดพบ “อาคม” หารือความคืบหน้าระบบราง 3 โครงการ มั่นใจรถไฟสายแรกกาญจนบุรี-อรัญประเทศ เริ่มสร้างภายในปี 59 เตรียมสรุปโครงการเสนอ "สมคิด จาตุศรีพัทักษ์" ภายในเดือน พ.ย.นี้

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นาย Hiroto Izumi ที่ปรึกษาพิเศษนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม พร้อมหารือความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระบบรางระหว่างไทยกับญี่ปุ่น พร้อมติดตามการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างกันทั้ง 3 โครงการ โดยเฉพาะ

1. เส้นทางรถไฟสาย กาญจนบุรี (บ้านพุน้ำร้อน) -กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 กม. คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างได้ก่อนเป็นโครงการแรกภายในปี 2559 โดยจะสรุปรายละเอียดแนวเส้นทางเพื่อนำเข้าหารือในโอกาสที่นายสมคิด จาตุศรีพัทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเดินทางเยือนญี่ปุ่นในช่วงปลายเดือน พ.ย.นี้

ทั้งนี้ เส้นทางดังกล่าวมีขนาดความกว้างของราง 1 เมตร และเป็นแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายของประเทศพม่า และเป็นการร่วมทุน 3 ประเทศ คือ ไทย ญี่ปุ่นและพม่า ซึ่งขณะนี้ทางญี่ปุ่นให้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางรถไฟสายนี้แล้ว และจะเร่งสรุปรายละเอียดแนวเส้นทางทั้งหมด เพื่อนำเข้าหารือในที่ประชุมร่วมกันที่ญี่ปุ่นในปลายเดือน พ.ย.นี้ จากนั้นจะมีการเจรจาและวางกรอบแนวทางการดำเนินโครงการและรูปแบบการลงทุนต่อไป

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 715 กม. ญี่ปุ่นจะศึกษาและสำรวจความเหมาะสม รวมถึงความเป็นไปได้โครงการ เพื่อให้ได้ข้อสรุปภายใน มิ.ย.2559 ส่วนการก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มได้ภายในปี 2562 เนื่องจากโครงการนี้ทางญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูงแบบชินคันเซ็นตลอดเส้นทาง จึงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียด และในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้เริ่มสำรวจเส้นทางรถไฟเชื่อมแนวระเบียงตะวันตกและตะวันออก อ.แม่สอด จ.ตาก-พิษณุโลก-มุกดาหาร ระยะทาง 718 กม.แล้ว.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2015 3:55 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมยืนยันรถไฟไทย-จีน,ไทย-ญี่ปุ่นยังเดินหน้า
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 03 พฤศจิกายน 2558, 10:44

ปลัดกระทรวงคมนาคม ยืนยันรถไฟไทย-จีน,ไทย-ญี่ปุ่น ยังเดินหน้า เตรียมประชุม 6 พ.ย. หวังลดอุปสรรคปัญหาการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รัฐบาลยังยืนยันถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนของการเจรจา โดยฝ่ายไทยต้องการเดินหน้าโครงการต่อไป ขณะที่โครงการความร่วมมือระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาแนวเส้นทาง และอัตราผลตอบแทนด้านการลงทุนเชื่อว่าจะมีความชัดเจน และสามารถออกแบบรายละเอียดได้ภายในปี 2559

ส่วนเส้นทางระบบรางอีก 1 เส้นทางที่ญี่ปุ่นสนใจคือ เส้นทางรถไฟเชื่อมโยงจากกาญจนบุรี-กรุงเทพ-อรัญประเทศ-แหลมฉบัง ถือว่าเป็นระเบียงเศรษฐกิจฝั่งตะวันออกไปฝั่งตะวันตกตอนล่างของไทย ล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ต้องการเร่งรัดแผนดังกล่าว ขณะที่กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าโครงการดังกล่าวจะไม่มีปัญหาล่าช้าเนื่องจากมีแนวเส้นทางทางรถไฟเดิมวิ่งอยู่แล้ว ญี่ปุ่นจึงต้องทำการสำรวจ รางช่วงไหนไม่แข็งแรง และจำเป็นต้องปรับให้เป็นทางคู่ เพื่อดำเนินการให้เส้นทางมีความสมบูรณ์ได้ในอนาคต

สำหรับการประชุมในวันที่ 6 พ.ย.นี้ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจเรียกประชุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางลดอุปสรรคปัญหา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคม ประเด็นดังกล่าวในส่วนของกระทรวงคมนาคม ได้เตรียมเสนอการลดอุปสรรคที่ทำให้หลายโครงการมีความล่าช้า เช่น ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อหลายโครงการเช่นโครงการรถไฟทางคู่ หลายเส้นทาง คาดว่าหากรัฐบาลจริงจังต่อการลดอุปสรรคดังกล่าวจะทำให้โครงการลงทุนเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2015 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

การันตีเกิดแน่!ไทย-จีน ตกลงปักหมุดรถไฟ 1.435 เมตร ธ.ค.นี้ ตีตราจองไว้ก่อน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 พฤศจิกายน 2558 06:57 น.

รถไฟไทย-จีนวางศิลาฤกษ์ ธ.ค.นี้
วันอังคาร ที่ 03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558, 07.39 น.

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการร่วมประชุมกับทางประเทศจีนครั้งที่ 8 โครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ว่าที่ประชุมได้มีการสรุปกรอบการทำงานร่วมกันระหว่างไทยและจีน ถึงการกำหนดที่จะวางศิลาฤกษ์ที่สถานีเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี ในเดือนธันวาคม 2558 และคาดว่าจะเริ่มโครงการก่อสร้างตามแผนเบื้องต้นประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 ภายหลังได้มีการสรุปการออกแบบรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จ รวมถึงการสรุปมูลค่าโครงการสมบูรณ์แล้ว และการหาข้อสรุปด้านแหล่งเงินเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถเริ่มโครงการได้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมได้เสนอรายละเอียดที่หารือร่วมกับจีนครั้งที่ 8 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เพื่อรับทราบต่อไป

“สำหรับการเร่งพิธีการวางศิลาฤกษ์นั้น ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นระหว่าง 2 ประเทศ ว่าโครงการนี้จะสามารถเกิดขึ้นจริง ซึ่งระหว่างนี้จะต้องหารือในบางส่วนที่ไม่ได้ข้อสรุป เพื่อจะได้รายละเอียดของโครงการที่ชัดเจนต่อไป ทั้งรูปแบบการลงทุนโครงการ อัตราดอกเบี้ยซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะอนุมัติที่เท่าไหร่ โดยที่ผ่านมาไทยก็ยืนยันขออนุมัติดอกเบี้ยที่ 2% ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดที่จะหารือระหว่างกันเป็นครั้งที่ 9 ปลายเดือนพฤศจิกายนอีกครั้ง” นายชาติชาย กล่าว

นอกจากนี้ นายชาติชาย กล่าวภายหลังที่ที่ปรึกษาพิเศษนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางเข้าพบนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยได้มีการหารือถึงโครงการก่อสร้างรถไฟ ไทย-ญี่ปุ่น ที่ประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจที่จะลงทุนก่อสร้าง อย่างเช่นเส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาโดยคาดว่าจะสามารถสรุปเพื่อเสนอ ครม.ได้ประมาณเดือนมิถุนายน 2559 และคาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างโครงการตามแผนได้ประมาณปี 2562 อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ก่อนตามแผนรัฐบาลที่เร่งรัด คือก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก หรือ อีสต์เวสต์คอริดอร์ ในตอนล่าง เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพ-แหลมฉบัง โดยตั้งเป้าตามแผนว่าจะสามารถเปิดประมูล และเริ่มการก่อสร้างได้ประมาณปี 2559 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับด้านการขนส่งสินค้าจากทางรถไฟเชื่อมท่าเทียบเรือแหลมฉบัง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2015 12:28 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่” รับรองไม่ทำให้รัฐเสียเปรียบสร้างรถไฟจีน-ญี่ปุ่น ส่วนไม่ให้ขยายสุวรรณภูมิแล้วจะทำยังไง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

3 พฤศจิกายน 2558 18:40 น. (แก้ไขล่าสุด 3 พฤศจิกายน 2558 18:47 น.)



นายกรัฐมนตรี ขอรับรองรัฐบาลไม่ทำอะไรให้เสียเปรียบ เผย คุยก่อสร้างรถไฟลดดอกเบี้ยอีกได้หรือไม่ จ่อทำเป็นสัญลักษณ์ร่วมมือไทย - จีน ไปก่อน ส่วนฝั่งตะวันตกเชื่อมตะวันออกของญี่ปุ่นก็อีกเรื่อง ยันไม่ได้ให้คนใดคนหนึ่ง หากสนใจก็เข้ามา รับแนวคิดใช้ ม.44 เร่งรัดลดเวลาให้เร็วขึ้น เผยยังไม่มียกเลิกเที่ยวบิน แต่ถ้าเพิ่มต้องผ่านด่าน ICAO ก่อน ถามพวกไม่ให้ขยายสนามบินสุวรรณภูมิระยะที่ 2 แล้วมันจะทำยังไง ชี้ ปัญหาของชาติพวกบางกลุ่มสร้างการรับรู้ผิด ๆ แล้วไปขยายเป็นเรื่องใหญ่ บอกถ้าตนทำไม่ได้รัฐบาลเลือกตั้งก็ทำไม่ได้

วันนี้ (3 พ.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 15.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ในเรื่องการลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานก็มีความก้าวหน้า และขอรับรองว่ารัฐบาลชุดนี้จะไม่ทำอะไรให้เสียเปรียบ ขณะนี้มีการพูดคุยเรื่องดอกเบี้ยว่าจะลดได้อีกหรือไม่ ทั้งนี้ ในเรื่องการก่อสร้างจะทำในเชิงสัญลักษณ์ไปก่อน ในฐานะที่ปีนี้เป็นปีที่ 40 ของไทยและจีน ในส่วนของเส้นทางประวัติศาสตร์เราก็จะทำเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นว่าเราจะมีการดำเนินการร่วมกันต่อไป ส่วนเรื่องอื่นก็จะมีการต่อรองกันไป การลงทุนในด้านตะวันตก และตะวันออกกับญี่ปุ่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเราไม่ได้ให้ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ หากสนใจก็เข้ามาลงทุนแต่หากไม่สนใจเราก็หาคนอื่นทำ

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกระทรวงคมนาคมเสนอให้นายกฯ ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในการดำเนินเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การใช้มาตรา 44 ใช้เพื่อให้ดำเนินการได้ง่ายขึ้น ลดเวลาให้เร็วขึ้น แต่ไม่ได้ไปยกเลิกกฎหมาย ไม่ใช่ว่าตนจะไปสั่งอะไร เดี๋ยวก็ถูกกล่าวหาในเรื่องของการเอื้อประโยชน์

พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงกรณีความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) ว่า วันนี้เราได้ตั้งองค์กรและบุคลากรที่มีคุณสมบัติในการที่จะเป็นกรรมการต่าง ๆ ในกรมการบินพลเรือนเพื่อให้เข้าไปกำกับดูแล ซึ่งเราต้องทำใหม่ทั้งหมดและอยู่ในวาระเร่งด่วน แต่ขณะนี้การยกเลิกเที่ยวบินต่าง ๆ ยังไม่มี แต่หากเราจะไปเพิ่มเที่ยวบินใหม่ต้องผ่านตรงนี้ก่อนนั่นคือปัญหาของเรา

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ส่วนความมั่นคงปลอดภัยของสนามบิน เราก็กำลังเข้าไปดูอยู่ว่าทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย เพราะวันหน้าเราต้องเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว เมื่อ 2 วันที่แล้วก็ยังคงมีปัญหาเรื่องความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งตนก็กำลังจะขยายสนามบินในระยะที่ 2 ก็มีคนมาบ่นว่าทำไม่ได้ติดโน่นติดนี่ แต่ก็บ่นว่าสนามบินแออัด เครื่องบินลงไม่ได้ แต่ก็ไม่ให้สร้างสนามบิน มันจะทำอย่างไร

“นี่แหละคือสิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศไทย เพราะมีคนอยู่ไม่กี่คน ไม่กี่กลุ่มที่ไปสร้างการรับรู้ผิด ๆ แล้วเราก็ไปขยายให้เป็นเรื่องใหญ่โต ก็เพราะมันทำอะไรไม่ได้สักอย่าง ถามหน่อยแล้วท่านจะเรียกร้องกับใคร ถ้าผมทำไม่ได้รัฐบาลเลือกตั้งก็ทำไม่ได้เอาแบบนี้ดีกว่า ง่าย ๆ สนามบินวันนั้นก็แออัด เราก็ให้เจ้าหน้าที่มาชี้แจงว่าเขาทำอย่างไร ระบบคอมพิวเตอร์ก็เสีย ก็กำลังไปให้หาระบบสำรอง ทุกอย่างใช้เงินทั้งนั้น มันจะเอาเงินจากที่ไหน เพราะมีเรื่องใช้เงินรออยู่ทุกอาทิตย์ ทุกวัน ของใหม่ก็ต้องทำ ของเก่าก็ต้องแก้ เรียกร้องก็จะเอา มันจะเอาเงินที่ไหนผมยังไม่รู้เลย ไม่บ่นแล้วขี้เกียจบ่น แค่ตอบคำถามนะไม่ได้บ่น” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 54, 55, 56 ... 121, 122, 123  Next
Page 55 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©