RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273910
ทั้งหมด:13585206
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 55, 56, 57 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2015 10:50 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนคืบลงเข็มธ.ค.นี้
By ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2558
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,101 วันที่ 1 – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคมเปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ”ถึงผลการหารือโครงการความร่วมมือพัฒนาเส้นทางรถไฟไทย-จีนเมื่อวันที่29ตุลาคม2558 ที่เมืองปักกิ่งว่ากรณีดังกล่าวมีความคืบหน้าหลายประเด็นโดยเฉพาะเรื่องเฟรมเวิร์กอะกรีเมนต์ที่ฝ่ายจีนนำเสนอแล้วฝ่ายไทยแก้ไขไปแล้วนั้นฝ่ายจีนได้เห็นชอบในหลายประเด็นยังมีเพียงบางประเด็นเท่านั้นที่มีการเสนอปรับแก้ไขเพิ่มเติมส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ผลสรุปยังไม่ชัดเจนเนื่องจากเมื่อรวมสว็อป(swap)เข้าไปด้วยแล้วยังคงมีอัตราสูงกว่าการกู้ในประเทศกว่า0.4-0.6%แต่ในภาพรวมแล้วหลายประเด็นมีความคืบหน้าอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องอัตราดอกเบี้ยควรจะอยู่ที่ระดับตํ่ากว่า2%จึงจะให้คำตอบกับแหล่งทุนในประเทศไทยได้ดังนั้นบางส่วนจึงต้องกู้จากแหล่งทุนในประเทศอย่างแน่นอน

นอกจากนั้นการประชุมร่วมกันครั้งนี้ไม่มีการนำผลการศึกษาตอนที่2และตอนที่4เข้าหารือด้วยทั้งนี้ผลการหารือด้านโครงการความร่วมมือฯทางฝ่ายจีนยังได้เห็นชอบตามที่ฝ่ายไทยเสนอให้เริ่มดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์ควบคุมอาณัติสัญญาณและการเดินรถ(OCC)ที่จีนเสนอให้มีการก่อสร้างขึ้นที่ย่านพื้นที่สถานีเชียงรากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรียบร้อยแล้วโดยกำหนดวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างศูนย์ควบคุมการเดินรถอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่15-20ธันวาคม2558นี้

ประการสำคัญนายวุฒิชาติกัลยาณมิตรผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)เตรียมเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องในวันที่2พฤศจิกายนนี้เพื่อเร่งรัดดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์OCCให้เป็นไปตามแผนที่ฝ่ายไทย-จีนกำหนดไว้โดยพื้นที่ดังกล่าวฝ่ายจีนจะช่วยในการออกแบบซึ่งได้มีการนำเสนอให้กับฝ่ายไทยพร้อมกับการหารือร่วมกันในครั้งนี้ด้วยแล้ว

“ศูนย์OCCจะใช้พื้นที่ประมาณ995.6ไร่สามารถใช้งานได้กับขบวนรถเส้นทางอื่นๆได้ด้วยฝ่ายไทยจึงต้องเร่งดำเนินการก่อนแต่ขณะนี้มีเพียงผลการศึกษาความเป็นไปได้ตามที่กลุ่มทีมคอนซัลติ้งเป็นผู้ดำเนินการจึงต้องเทียบกับผลการศึกษาของจีนอีกครั้งหากฝ่ายไทยเห็นชอบก็จะก่อสร้างได้ตามแผนในเดือนธันวาคมนี้แต่เนื่องจากเชียงรากน้อยจะมีพื้นที่น้อยกว่าที่เชียงรากอีกทั้งยังจะต้องมีการเวนคืนพื้นที่จึงเป็นไปได้ว่าจะมาใช้พื้นที่ที่จุดเชียงรากเพราะหากมีการเวนคืนอาจจะกระทบต่อระยะเวลาดำเนินการได้”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2015 9:49 pm    Post subject: Reply with quote

ทูตจีนสานสัมพันธ์อีสาน ร่วมมือรถไฟไทย-จีน เวนคืนที่ดินกว่าพันไร่
นสพ. โคราชคนอีสาน ฉบับที่ ๒๓๒๑ ประจำวันที่ ๑๖-๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘
‘หนิง ฟู่ขุย’ เอกอัครราชทูตจีนฯ เยือนโคราชพบนักการเมือง/นักธุรกิจ ยืนยันความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน รับข้อเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้รัฐบาลจีนพิจารณา เพื่อสร้างทางคู่มาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร รับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ด้าน ‘ศ.ดร.ยงยุทธ’ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน หวังช่วยส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีและดึงดูดการท่องเที่ยวภาคอีสาน ผลักดันหลักสูตรระบบรางในอุดมศึกษา



ตามที่เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย จัดงานสัมมนาเรื่อง “ความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน” ที่โรงแรมดุสิตปริ๊นเซสโคราช โดยมีนายหนิง ฟู่ขุย (H.E.Mr.Ning Fukui) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และดร.โภคิน พลกุล อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และอดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ร่วมเป็นประธานเปิดการสัมมนา ซึ่งมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ ได้รับความสนใจจำนวนมาก จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักการเมือง ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นักธุรกิจ และชาวนครราชสีมา รวมถึงชาวจีนจากองค์กรและบริษัทภาคเอกชนเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาด้วย

ทูตจีนให้คำมั่นพร้อมสนับสนุน
ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนของจังหวัดนครราชสีมารับทราบข้อมูล พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น เรื่องความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน จากยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๕ โดยกระทรวงคมนาคม กำหนดแผนงานการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมืองไว้ โดยจะเร่งผลักดันให้สามารถดำเนินการก่อสร้างทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตอนใต้) เพื่อให้รถไฟเป็นทางเลือกใหม่ของการเดินทาง และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ ประกอบกับรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการลงนามความตกลงบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ เพื่อดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา, แก่งคอย-กรุงเทพฯ และแก่งคอย-มาบตาพุด ความเร็วเฉลี่ย ๑๘๐ กม./ชม. เพื่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารภายในประเทศเชื่อมภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งยังเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยวางแนวเส้นทางผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พร้อมทั้งเป็นการรองรับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในอนาคต ตามแผนแม่บทของกระทรวงคมนาคมนั้น
นายหนิง ฟู่ขุย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย กล่าวยืนยันว่า “จีนพร้อมให้ความช่วยเหลือ โดยจะสนับสนุนด้านการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ส่วนฝ่ายไทยรับผิดชอบงานโยธาเป็นหลัก ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาของคณะกรรมการ ทั้งนี้ หากจีนจะให้การช่วยเหลือรูปแบบเงินกู้ เชื่อว่าจะเป็นเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ไทยจะไปกู้แหล่งอื่นแน่นอน” พร้อมกันนี้ภายในงานมีการสัมมนาความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายไพศาล พืชมงคล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) และอุปนายกและเลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน, ศ.ดร.ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.), อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเชื่อมไทย-จีน (สคค.ไทย-จีน) สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เป็นต้น


ส่งเสริม-เทคโนโลยี-ดึงท่องเที่ยว
ต่อเรื่องนี้เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ ศ.ดร.ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเชื่อมไทย-จีน (สคค.ไทย-จีน) สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เปิดเผยกับ ‘โคราชคนอีสาน’ ว่า โครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา, แก่งคอย-กรุงเทพฯ และแก่งคอย-มาบตาพุด โดยรัฐบาลไทยลงนามความร่วมมือกับรัฐบาลจีนแล้วนั้น สืบเนื่องจากรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ร่วมกับอุปนายกและเลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน เดินทางไปเจรจาการขายข้าวของรัฐบาลที่ค้างอยู่ในสต็อกให้กับรัฐบาลจีน มีการหารือกันถึงความร่วมมือในการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตด้วย เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของไทย ดังจะเห็นได้ว่าสัมพันธภาพไทย-จีน มีมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีตกาล ประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน โดยคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเชื่อมไทย-จีน มองประเด็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและจีนในครั้งนี้ ๓ ด้านสำคัญ ดังนี้ ๑. การส่งเสริมระหว่างกันทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน จากการลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐานฯ เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ สังคม การเดินทางและขนส่งระหว่างภูมิภาคและประเทศ รวมถึงการขนส่งสินค้าต่างๆ จากประเทศไทยถึงสาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านมณฑลยูนนาน คุนหมิง และสามารถขยายไปได้อีก ๔-๕ สายสำหรับการกระจายสินค้าจากด้านตะวันออกเฉียงใต้ หรือจีนตอนใต้ของจีน เพราะเส้นทางรถไฟสายนี้จะเชื่อมไปถึงท่าเรือมาบตาพุดได้ ต้นทุนการขนส่งด้วยระบบรางและผ่านทางเรือจะถูกกว่าทางรถยนต์ ซึ่งทางรัฐบาลจีนก็จะได้เป็นประโยชน์ด้วย
๒. เทคโนโลยีทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ซึ่งจะมีการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบรางหรือรถไฟฟ้า เพราะขณะนี้การพัฒนารถไฟฟ้าของจีนมีความก้าวหน้า จัดอยู่อันดับต้นๆ ของโลก เมื่อมีความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ในส่วนของประเทศไทยก็จะต้องมีโอกาสได้รับเทคโนโลยีดังกล่าวจากจีนด้วย ซึ่งตนเชื่อว่ารัฐบาลจีนจะถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ KNOW HOW ให้กับไทยโดยไม่ปิดบังอำพราง จะทำให้ไทยได้ประโยชน์อย่างมาก ซึ่งในเรื่องนี้ก็มีข้อเสนอจากผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาฯ ที่ต้องการผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หรือโคราช มีความร่วมมือกับรัฐบาลจีนหรือการสนับสนุนให้เปิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับระบบราง หรือรถไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมฯ กำลังติดต่อสถานศึกษาที่มีศักยภาพ และก็ทราบว่าที่โคราชมีมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยี นั่นคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) น่าจะมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาการศึกษาด้านนี้ ซึ่งจะเป็นการเตรียมการสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคตด้วย โดยที่รัฐบาลจีนไม่ต้องส่งบุคลากรมาเพราะค่าใช้จ่ายสูง แต่จะใช้บุคลากรในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นชาวโคราช หรือชาวอีสาน มาเรียนหลักสูตรด้านนี้โดยตรง
๓. PEOPLE WARE ซึ่งจะเน้นเรื่องประชากร เริ่มจากสายสัมพันธ์วัฒนธรรมไทย-จีน ที่มีลูกหลานอยู่จำนวนมาก โดยมีการเดินทางไปเยือนไทย-จีนอยู่เป็นประจำ เพื่อการท่องเที่ยวและมาเยี่ยมญาติพี่น้องทั้งสองฝ่าย ทำให้สัมพันธภาพที่เกิดขึ้นแล้วและอนาคตจะมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นคือการเชื่อมโยงรถไฟสายนี้มีส่วนสำคัญต่อภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปลายปีนี้ เพราะจะสามารถเชื่อมไปถึงสปป.ลาวได้ด้วย และแผนในอนาคตก็สามารถขยายเส้นทางไปยังประเทศกัมพูชา หรือเวียดนาม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเปิดมิติใหม่ด้านการเดินทางและขนส่งผ่านระบบราง อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพราะการขนส่งด้วยรถยนต์ขณะนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ ๑๕.๒ ของ GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ) ขณะเดียวกันช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันสินค้าไทยในตลาดจีนอีกด้วย โดยเฉพาะภาคอีสาน หรือโคราช มีสินค้าอยู่หลายประเภท ทั้งโอทอป งานหัตถกรรมต่างๆ และยังมีวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของชาวจีนมาเที่ยวภาคอีสาน และสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ได้


ให้จีนทบทวนลดหย่อนดอกเบี้ย
“เพราะฉะนั้น โครงการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐานฯ จะเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายไทยและจีน รวมถึงระดับท้องถิ่นตามแนวเส้นทางที่รถไฟแล่นผ่านและระดับภูมิภาคด้วย โดยเฉพาะประชากรในพื้นที่และธุรกิจท้องถิ่นก็จะได้รับประโยชน์อย่างมาก โดยเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (นายหนิง ฟู่ขุย) ก็ให้คำมั่นกับชาวโคราชว่า จีนเป็นประเทศใหญ่ที่รักษาคำพูด เมื่อรัฐบาลจีนและไทยลงนามความร่วมมือกันแล้วก็จะต้องเดินหน้ารถไฟสายนี้ ส่วนจะสามารถก่อสร้างได้เมื่อไหร่นั้น ขณะนี้ยังมีอีกหลายด้านที่ต้องหารือกันเพื่อความชัดเจน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องข้อกฎหมายด้านการลงทุนแบบ PPP ซึ่งรัฐบาลจีนจะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง ราคาเบื้องต้นประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ล้านบาท และมีการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างไทย-จีน โดยในช่วง ๓ ปีแรกจีนจะดำเนินบริหารจัดการ จากนั้นรัฐบาลไทยและจีนและบริหารจัดการร่วมกัน และในระยะที่ ๓ หลังจาก ๗ ปีไปแล้วจึงจะยกให้รัฐบาลไทยเป็นผู้ดูแล ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้นไม่มีปัญหาและยินดีถ่ายทอดให้ไทย เพื่อเตรียมการให้ฝ่ายไทยสามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องดอกเบี้ยด้านการลงทุนก่อสร้าง ประมาณร้อยละ ๒-๔ ซึ่งมีเสียงเรียกร้องจากชาวโคราชให้รัฐบาลจีนช่วยสนับสนุนโดยไม่คิดดอกเบี้ย หรือลดหย่อนในอัตราที่ต่ำได้หรือไม่ โดยท่านหนิง ฟู่ขุย จะนำความคิดเห็นของชาวโคราชจากการสัมมนาครั้งนี้ไปยังรัฐบาลจีน ซึ่งทางรัฐบาลไทยเองก็อยากให้โครงการนี้เกิดขึ้นโดยเร็ว แต่จะทำผลีผลามโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบไม่ได้ อีกทั้งยังมีข้อเสนอให้เกิดการผลักดันเส้นทางรถไฟขนาดทางมาตรฐานฯ ช่วง “นครราชสีมา-มาบตาพุด” โดยตรง


แล่นเฟสแรก‘กรุงเทพฯ-โคราช’
สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทาง (Standard Gauge) ขนาด ๑.๔๓๕ เมตร เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงสายภาคอีสานในอนาคต ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-กรุงเทพฯ และแก่งคอย-มาบตาพุด ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดการก่อสร้าง ช่วง “กรุงเทพฯ-นครราชสีมา” ระยะทาง ๒๕๖ กิโลเมตร ภายหลังทำการศึกษาและออกแบบรายละเอียดความเหมาะสมเสร็จตั้งแต่ปีที่แล้ว และต้องดำเนินการปรับแก้รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในบางส่วน โดยมีจุดเริ่มต้นที่สถานีบางซื่อ ผ่านสถานีดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา มาถึงชุมทางบ้านภาชี จากนั้นแยกเข้าสู่เส้นทางรถไฟสายอีสาน จากบ้านภาชีมุ่งหน้าเข้าสู่จังหวัดสระบุรี ผ่านสถานีปากช่องจะอยู่ที่ราชพัสดุหนองสาหร่าย ห่างจากสถานีเดิมประมาณ ๕ กิโลเมตร จากนั้นเส้นทางจะเลียบอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองไปยังสถานีปลายทางที่สถานีรถไฟนครราชสีมา โดยรวมเส้นทางจะสร้างคู่ขนานแนวรถไฟเดิม ยกเว้นบางช่วงที่ปรับรัศมีโค้งให้มีเหมาะสมกับความเร็วรถไฟ พร้อมทั้งรูปแบบโครงสร้างมีทั้งทางยกระดับกว่า ๑๐๐ กิโลเมตร เพราะผ่านเขตเมือง ทางระดับพื้น ๕๘ กิโลเมตร สะพานบก ๔ กิโลเมตร และอุโมงค์ ๔ แห่งช่วงภาชี-โคราช โดยมีอุโมงค์รถไฟบริเวณผาเสด็จถึงหินลับด้วย และในพื้นที่ประทานบัตรเหมืองหิน โรงปูนซีเมนต์ ๓ บริษัท มี ๒ อุโมงค์ความยาว ๒๐๒ เมตร กับ ๓,๓๒๖ เมตร อุโมงค์รถไฟบริเวณริมอ่างเก็บน้ำลำตะคอง โดยเป็นอุโมงค์ ๒ ช่วง อยู่บริเวณสถานีคลองขนานจิตร ความยาว ๕๕๗ เมตร และ ๑,๒๔๓ เมตร
พร้อมกันนี้ กำหนดสถานีสำหรับรับ-ส่งผู้โดยสาร ตามแนวเส้นทางจากชุมทางภาชีที่แยกมาสายอีสาน จำนวน ๓ สถานี คือ ๑. สถานีสระบุรี จะสร้างอยู่ที่ใหม่ห่างสถานีรถไฟเดิมประมาณ ๓ กิโลเมตร เยื้องห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ สระบุรี ๒. สถานีปากช่อง ได้ข้อสรุปจะสร้างขึ้นใหม่มูลค่าประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท บนพื้นที่ราชพัสดุกว่า ๑๕๐ ไร่ บริเวณตำบลหนองสาหร่าย ใกล้กับตำบลลำสมพุง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ห่างจากสถานีรถไฟปากช่องปัจจุบันกว่า ๕ กิโลเมตร โดยมีกรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อพัฒนาเมืองใหม่ที่อำเภอปากช่องควบคู่กับการสร้างสถานีรถไฟ ๓. สถานีนครราชสีมา ในร่างรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นสถานีรถไฟนครราชสีมา ถนนมุขมนตรี (หัวรถไฟ) ซึ่งอยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ ๒๒๕ ไร่ เป็นที่ตั้งสถานีรถไฟ โรงซ่อมบำรุง บ้านพักพนักงานรถไฟกว่า ๔๐๐ หลัง และพื้นที่ให้เช่าประกอบธุรกิจ คาดว่าต้องใช้งบประมาณในการย้ายบ้านพักพนักงานรถไฟ และเวนคืนชุมชนบริเวณใกล้เคียง และต้องใช้งบประมาณราว ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท เพื่อพัฒนาสถานีให้สอดรับกับโครงการดังกล่าว เพราะจะต้องพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้เข้ามาสนับสนุนค่าโดยสารด้วย


เฟสสอง‘หนองคาย’เชื่อมจีน-ลาว
ส่วน “ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย” นั้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา นำโดยบริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด, บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด, Egis Rail และบริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด ในวงเงิน ๘๖.๙๒ ล้านบาท วางกรอบรายละเอียดแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ ๔ จังหวัดของภาคอีสาน ได้แก่ นครราชสีมา, ขอนแก่น, อุดรธานี และหนองคาย โดยเริ่มทำการศึกษาและออกแบบตั้งแต่วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗ เป็นต้นมา มีกำหนดระยะเวลา ๑๔ เดือน ทั้งนี้ เมื่อกระบวนการศึกษา ออกแบบ และจัดทำรายงานต่างๆ ครบถ้วน ตามขั้นตอนของกฎหมาย และคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ประกวดราคาหาผู้รับเหมาเพื่อดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ ๕ ปีในการดำเนินงาน ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายให้สามารถเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ อีกทั้งยังมีเป้าหมายในอนาคตที่จะเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิง-สปป.ลาว ที่เมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาว และเชื่อมต่อไปยังเมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ผลจากการศึกษาแนวเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม.ที่ ๒๕๓+๐๓๒.๘๙๘ หลังจากออกจากสถานีรถไฟนครราชสีมาและจุดตัดห้าแยกหัวรถไฟมาแล้ว และเลยช่วงทางโค้งก่อนเข้าสู่สถานีรถไฟจิระ และมาสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณ กม.ที่ ๖๐๗+๐๗๓.๘๗๕ ก่อนถึงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒ (หนองคาย-เวียงจันทน์) ห่างจากสถานีรถไฟหนองคายไม่มากนัก รวมระยะทางประมาณ ๓๕๕ กิโลเมตร พร้อมกำหนดมี ๕ สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย นอกจากนี้ยังมีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ๑ แห่ง รวมทั้งลานกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) ที่นาทา อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ซึ่งต้องเวนคืนพื้นที่เอกชนจำนวน ๑,๑๐๐ ไร่, โรงซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Base) ๒ แห่ง ได้แก่ บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟบ้านไร่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ต้องเวนคืนพื้นที่เอกชนประมาณ ๘๑ ไร่ และสถานีรถไฟโนนสะอาด อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี ต้องเวนคืนที่ดินประมาณ ๗๘ ไร่, ลานกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) อีก ๑ แห่ง บริเวณบ้านกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ต้องเวนคืนที่ดินจำนวน ๕๒ ไร่, ทางหลีกสำหรับขบวนรถสินค้า (Freight Siding) ๒ แห่ง ได้แก่ บริเวณอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ต้องเวนคืนจำนวน ๑๖ ไร่ และบริเวณห้วยสามพาด อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ต้องเวนคืนที่ดินจำนวน ๑๑๖ ไร่
สรุปพื้นที่ที่จะต้องเวนคืนแยกตามจังหวัดที่ได้รับผลกระทบในเบื้องต้น จากข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ดังนี้ จ.นครราชสีมา จำนวน ๑๗๓ แปลง เนื้อที่ ๒๖๔-๐-๑๘ ไร่, จ.ขอนแก่น จำนวน ๒๘๔ แปลง เนื้อที่ ๔๕๘-๐-๗๑ ไร่, จ.อุดรธานี จำนวน ๖๔ แปลง เนื้อที่ ๙๐-๒-๔๓ ไร่ และจ.หนองคาย จำนวน ๓๕๙ แปลง เนื้อที่ ๗๔๕-๐-๒๐ ไร่ รวมจำนวนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น ๘๘๐ แปลง เนื้อที่ ๑,๕๕๗-๓-๕๒ ไร่
หากมีความคืบหน้า ‘โคราชคนอีสาน’ จะนำมาเสนอต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2015 9:55 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งรถไฟความเร็วสูงอีสาน เชื่อมไทย-ลาว-จีน เล็งย้ายผู้บุกรุก
นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒๒๙๘ วันอาทิตย์ที่ ๒๑ - วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๘

เร่งศึกษาและออกแบบรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร ‘โคราช-หนองคาย’ รองรับความเร็วสูงในอนาคต ผู้นำชุมชนขอความชัดเจนแนวเส้นทางและค่าชดเชย พร้อมจัดสรรพื้นที่ใหม่ ๘๐ ไร่ ย้าย ๔๘๐ ครัวเรือน หมู่บ้านจัดสรรหวั่น! ได้รับผลกระทบ พบพื้นที่ ‘ขอนแก่น’ กว่า ๒,๐๐๐ ครัวเรือนบุกรุกพื้นที่รถไฟ ล่าสุดกำหนดสถานีหลัก ๕ แห่ง พร้อมลานกองเก็บสินค้า ที่โคราช และขอนแก่น ส่วนเส้นทางนำร่อง ‘กรุงเทพฯ-นคร ราชสีมา’ บริษัทที่ปรึกษาต้องส่งรายงาน EIA ให้ สผ.พิจารณาเพิ่มเติม





เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ห้องประชุมชั้น ๕ อาคาร กาญจนาภิเษก เทศบาลนครนครราชสีมา นายบำรุง เจริญพจน์ รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ที่มีต่อ “โครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย” ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมก่อสร้างทางรถไฟขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร ซึ่งจะนำรถไฟความเร็วระหว่าง ๑๘๐-๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือกึ่งความเร็วสูง (Medium-Speed Rail) มาใช้วิ่งในเส้นทางดังกล่าว ได้รับความสนใจจากผู้นำชุมชนและตัวแทนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นจำนวนกว่า ๘๐ คน

ทุ่มงบศึกษา ๘๖.๙๒ ล้าน

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ รับทราบรายงานแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ ได้มีพิธีลงนามความตกลงบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ โดยช่วง “นครราชสีมา-หนองคาย” จะดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบกรอบรายละเอียด มีระยะเวลาดำเนินการศึกษา ๑๔ เดือน วงเงิน ๘๖.๙๒ ล้านบาท

ดังนั้น โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ ๒ นครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๓๕๕ กิโลเมตร จึงได้เพิ่มเติมขอบเขตงานศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงให้รวมถึงงานศึกษาและออกแบบรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร เพื่อให้สามารถรองรับระบบรถไฟความเร็วสูง (High-Speed Rail) ในอนาคตได้ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด, บริษัท EGIS RAIL, บริษัท พีเคเอส คอนซัลแทนส์ จำกัด, บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด และบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการดังกล่าว โดยกำหนดให้บริษัทที่ปรึกษาเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗ เป็นต้นมา พร้อมทั้งดำเนินการจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ ๑ ต่อร่างข้อเสนอโครงการและขอบเขตการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๓ มกราคม ๒๕๕๘ ที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคายไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้การศึกษาอยู่ในขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม





‘โคราช-หนองคาย’ผ่าน ๔ จว.

กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา นำโดยนายธนากร ไชยธีรภิญโญ รองผู้จัดการโครงการ, นายบุญพา สิบสินสัจวงศ์ วิศวกรโยธา, นายกานต์ กิ่งแก้ว วิศวกรออกแบบ และนางสาวธัญพรรณพร พัฒนเจริญ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการ ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยระบุว่า โครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะที่ ๒ แนวเส้นทางผ่านพื้นที่ ๔ จังหวัดของภาคอีสาน ดังนี้ จังหวัดนครราชสีมา ๕ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา, โนนสูง, คง, บัวใหญ่ และบัวลาย, จังหวัดขอนแก่น ๗ อำเภอ ได้แก่ อำเภอพล โนนศิลา บ้านไผ่ บ้านแฮด เมืองขอนแก่น น้ำพอง และเขาสวนกวาง, จังหวัดอุดรธานี ๕ อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสะอาด กุมภวาปี ประจักษ์ศิลปาคม เมืองอุดรธานี และเพ็ญ, จังหวัดหนองคาย ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอสระใคร และเมืองหนองคาย

จุดสิ้นสุดใกล้สะพานมิตรภาพ

สำหรับจุดเริ่มต้นเส้นทางรถไฟสายนี้ อยู่บริเวณ กม.ที่ ๒๕๓+๐๓๒.๘๙๘ หลังจากออกจากสถานีรถไฟนครราชสีมาและจุดตัดห้าแยกหัวรถไฟมาแล้ว และเลยช่วงทางโค้งก่อนเข้าสู่สถานีรถไฟจิระ และมาสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณ กม.ที่ ๖๐๗+๐๗๓.๘๗๕ ก่อนถึงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๑ (หนองคาย-เวียงจันทน์) ห่างจากสถานีรถไฟหนองคายไม่มากนัก รวมระยะทางประมาณ ๓๕๕ กิโลเมตร ทั้งนี้ เพื่อรองรับในอนาคตเส้นทางรถไฟสายนี้จะเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิง-สปป.ลาว ที่เมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาว และเชื่อมต่อไปยังเมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐานช่วงนครราชสีมา-หนองคายเสร็จสมบูรณ์ โดยมีพื้นที่ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดแนวเส้นทาง ๓๕๕ กิโลเมตร และพื้นที่โดยรอบ ในระยะจากกึ่งกลางแนวเส้นทางออกไปข้างละ ๕๐๐ เมตร ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าวใน ๔ จังหวัด





๕ สถานี ๒ ลานกองเก็บสินค้า

จากการศึกษาและออกแบบรายละเอียดแนวเส้นทาง กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้กำหนดตำแหน่งไว้ ๕ สถานีหลัก ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย นอกจากนี้ยังรองรับระบบโลจิสติกส์เพื่อการขนส่งสินค้าสายอีสานเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยกำหนดจุด CY (Container Yard) หรือลานกองเก็บสินค้า บริเวณบ้านกระโดน อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา และบ้านหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น จากก่อนหน้านี้จะเลือกใช้พื้นที่บริเวณตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น เนื่องจากมีชุมชนและความหนาแน่นของประชากรซึ่งต้องเวนคืนพื้นที่จำนวนมาก ทางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจึงขยับสถานที่ตั้งลานกองเก็บสินค้ามายังบริเวณบ้านหนองเม็ก พร้อมทั้งเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ ที่จังหวัดหนองคาย

‘เมืองโคราช’วิ่งยกระดับ ๑๘ จุด

ส่วนการเตรียมความพร้อมของสถานีโรงไฟฟ้าเพื่อรองรับในการเดินรถไฟสายนี้ ตลอดแนวเส้นทางทุกๆ ๕๐ กิโลเมตรนั้น ในเบื้องต้นกำหนดไว้จำนวน ๘ สถานีโรงไฟฟ้า ซึ่งจากการออกแบบเส้นทางรถไฟขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตรนั้น จะนำรถไฟความเร็วระหว่าง ๑๘๐-๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือกึ่งความเร็วสูง (Medium-Speed Rail) มาใช้วิ่งในเส้นทางดังกล่าว ในอนาคตหากมีการเปลี่ยนแปลงสามารถนำรถไฟความเร็วสูง (High-Speed Rail) ที่มีความเร็ว ๒๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปมาวิ่งในรางรถไฟดังกล่าวได้เช่นกัน ทั้งยังต้องมีการแก้ปัญหาหรือวิเคราะห์โครงสร้างทางวิศวกรรม จากจุดตัดทั้งหมด ๒๔๘ จุดตลอดแนวเส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย โดยเฉพาะที่จังหวัดนครราชสีมา ในแนวเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เบื้องต้นมีจำนวน ๑๘ จุด ที่รถไฟจะต้องวิ่งยกระดับในระดับ ๓ คือ สูงจากพื้นที่ดินประมาณ ๑๘-๒๐ เมตร เนื่องจากต้องวิ่งคร่อมแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ และสะพานรถยนต์ข้ามทาง โดยพิจารณาโครงสร้างวิศวกรรมร่วมกับกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทร่วมด้วย

ขอ ๘๐ ไร่ย้าย ๔๘๐ ครัวเรือน

ทั้งนี้ จากการติดตามการประชุมกลุ่มย่อยครั้งนี้ของ ‘โคราชคนอีสาน’ ผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาต่างเห็นดีด้วยที่จะมีการพัฒนาคมนาคมระบบราง โดยยกระดับก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย แต่ยังกังวลเรื่องแนวเส้นทางที่จะถูกเวนคืนและค่าชดเชย โดยเฉพาะผู้นำชุมชน “ราชนิกูล ๓” ที่ต้องถูกเวนคืนราว ๔๘๐ ครัวเรือน ต้องการให้รัฐบาลมีความชัดเจนเรื่องพื้นที่รองรับการอยู่อาศัยแห่งใหม่ เนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ หากมีความชัดเจนในเรื่องนี้พร้อมยินดีย้ายออก รวมไปถึงโครงการหมู่บ้านวรารมณ์วิลล์ ทั้งยังมีปัญหาชุมชนติดทางรถไฟ ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการออกโฉนดที่ดินครั้งแรก พร้อมกับเส้นทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ทำให้เขตทางรถไฟทั้งซ้ายและขวาไม่ครบข้างละ ๔๐ เมตร

ขอให้กันถนนเลียบทางรถไฟ

ด้านนายธนาคม วิมลวัตรเวที ประธานสภาเทศบาลนครนครราชสีมา แสดงความคิดเห็นว่า ที่ผ่านมาเทศบาลนครนครราชสีมา โดยนายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรี มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตเมืองโคราช ด้วยการก่อสร้างถนนตัดใหม่หลายสาย โดยเฉพาะ Local Road (ถนนเลียบทางรถไฟ) หากมีการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะส่งผลกระทบต่อนโยบายในการพัฒนาเส้นทางดังกล่าวของเทศบาลนครนครราชสีมาหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาการขออนุญาตใช้ประโยชน์เขตทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่ทางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะดำเนินการศึกษาหรือกันพื้นที่ในส่วนนี้ไว้ด้วย เพื่อยังคงรักษาเส้นทางจราจรของ Local Road ไว้ เพื่อประโยชน์กับประชาชนที่สัญจรไปมาในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา

‘ขอนแก่น’บุกรุกทางรถไฟนับพัน

อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ตลอดแนวเส้นทางการศึกษาและออกแบบรายละเอียด ระยะทางประมาณ ๓๕๕ กิโลเมตร ส่วนใหญ่พบการบุกรุกพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น บริเวณเขตเทศบาลนครขอนแก่น และเทศบาลเมืองศิลา รวมจำนวนกว่า ๒,๐๐๐ ครัวเรือน รองลงมาอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา รวมไปถึงการทำความเร็วของรถไฟระหว่าง ๑๘๐-๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือกึ่งความเร็วสูง (Medium-Speed Rail) โดยเฉพาะที่บริเวณบ้านดงพลอง ตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบ้านดงพลองเดิม และมีหมู่บ้านตั้งอยู่ด้วย จำเป็นต้องเพิ่มรัศมีโค้งเพื่อรักษาความเร็วในการเดินรถไฟ

กรกฎาคมหยั่งเสียงรอบ ๒

ภายหลังการประชุมกลุ่มย่อยตลอดแนวเส้นทาง ๔ จังหวัดเสร็จสิ้น กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่โครงการ พร้อมทั้งการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อสรุปเป็นข้อมูลและเตรียมจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ ๒ ที่มีต่อ “โครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย” ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย คาดว่าภายในเดือนกรกฎาคมปีนี้





‘กทม.-โคราช’ยังรอสผ.อนุมัติ

ในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ๑.๔๓๕ เมตร เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงสถานีรถไฟบางซื่อ-สถานีรถไฟนครราชสีมา (หัวรถไฟ) ภายหลังทำการศึกษาและออกแบบรายละเอียดความเหมาะสมเสร็จตั้งแต่ปีที่แล้ว ล่าสุดสำนักพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยกับ ‘โคราชคนอีสาน’ ว่า เส้นทางช่วงกรุงเทพฯ (สถานีรถไฟบางซื่อ) – อำเภอเมืองนครราชสีมา (สถานีรถไฟนครราชสีมา) ระยะทาง ๒๕๖ กิโลเมตร ภายหลังศึกษาเสร็จและส่งรายงาน EIA แล้ว ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งล่าสุดได้ให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาไปดำเนินการปรับแก้รายงาน EIA ในบางส่วน

สถานีสระบุรี-ปากช่อง-โคราช

สำหรับแนวเส้นทาง “กรุงเทพฯ-นครราช สีมา” มีจุดเริ่มต้นที่สถานีบางซื่อ ผ่านสถานีดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา มาถึงชุมทางบ้านภาชี จากนั้นแยกเข้าสู่เส้นทางรถไฟสายอีสาน จากบ้านภาชีมุ่งหน้าเข้าสู่จังหวัดสระบุรี ผ่านสถานีปากช่องจะอยู่ที่ราชพัสดุหนองสาหร่าย ห่างจากสถานีเดิมประมาณ ๕ กิโลเมตร จากนั้นเส้นทางจะเลียบอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองไปยังสถานีปลายทางที่สถานีรถไฟนครราชสีมา โดยรวมเส้นทางจะสร้างคู่ขนานแนวรถไฟเดิม ยกเว้นบางช่วงที่ปรับรัศมีโค้งให้มีเหมาะสมกับความเร็วรถไฟ พร้อมทั้งรูปแบบโครงสร้างมีทั้งทางยกระดับกว่า ๑๐๐ กิโลเมตร เพราะผ่านเขตเมือง ทางระดับพื้น ๕๘ กิโลเมตร สะพานบก ๔ กิโลเมตร และอุโมงค์ ๔ แห่งช่วงภาชี-โคราช โดยมีอุโมงค์รถไฟบริเวณผาเสด็จถึงหินลับด้วย และในพื้นที่ประทานบัตรเหมืองหินโรงปูนซีเมนต์ ๓ บริษัท มี ๒ อุโมงค์ความยาว ๒๐๒ เมตร กับ ๓,๓๒๖ เมตร อุโมงค์รถไฟบริเวณริมอ่างเก็บน้ำลำตะคอง โดยเป็นอุโมงค์ ๒ ช่วง อยู่บริเวณสถานีคลองขนานจิตร ความยาว ๕๕๗ เมตร และ ๑,๒๔๓ เมตร

พร้อมกันนี้ กำหนดสถานีรถไฟความเร็วสูงสำหรับรับ-ส่งผู้โดยสาร ตามแนวเส้นทางจากชุมทางภาชีที่แยกมาสายอีสาน จำนวน ๓ สถานี คือ ๑. สถานีสระบุรี จะสร้างอยู่ที่ใหม่ห่างสถานีรถไฟเดิมประมาณ ๓ กิโลเมตร เยื้องศูนย์การค้าโรบินสัน ๒. สถานีปากช่อง ได้ข้อสรุปจะสร้างขึ้นใหม่มูลค่าประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท บนพื้นที่ราชพัสดุกว่า ๑๕๐ ไร่ บริเวณตำบลหนองสาหร่าย ใกล้กับตำบลลำสมพุง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ห่างจากสถานีรถไฟปากช่องปัจจุบันกว่า ๕ กิโลเมตร โดยมีกรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อพัฒนาเมืองใหม่ที่อำเภอปากช่องควบคู่กับการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง ๓. สถานีนครราชสีมา ในร่างรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นสถานีรถไฟนครราชสีมา ถนนมุขมนตรี (หัวรถไฟ) ซึ่งอยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ ๒๒๕ ไร่ เป็นที่ตั้งสถานีรถไฟ โรงซ่อมบำรุง บ้านพักพนักงานรถไฟกว่า ๔๐๐ หลัง และพื้นที่ให้เช่าประกอบธุรกิจ คาดว่าต้องใช้งบประมาณในการย้ายบ้านพักพนักงานรถไฟ และเวนคืนชุมชนบริเวณใกล้เคียง และต้องใช้งบประมาณราว ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท เพื่อพัฒนาสถานีให้สอดรับกับโครงการดังกล่าว เพราะจะต้องพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้เข้ามาสนับสนุนค่าโดยสารด้วย

ความคืบหน้า ‘โคราชคนอีสาน’ จะนำเสนอต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/11/2015 8:27 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’กางปฏิทินลุยทางรถไฟ จีนลงเสาเข็มกลางธ.ค./ญี่ปุ่นลงมือเส้นกทม.-กาญจน์ต้นปี59
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 8 พฤศจิกายน 2558

“อาคม” เปิดแผนพัฒนารถไฟไทยร่วมกับจีน-ญี่ปุ่น เร่งวางศิลาฤกษ์ศูนย์ควบคุมการเดินรถที่เชียงรากน้อยเดือนธันวาคมนี้ ยืนยันผู้รับเหมาไทยยังได้รับสิทธิ์ร่วมประมูลงานก่อสร้าง ส่วนงานเทคนิคพิเศษให้ฝ่ายจีนรับไปดำเนินการ ดีเดย์เริ่มทำแผนปฏิบัติการทำงาน พ.ค. ปีหน้า ส่วนรถไฟไทย-ญี่ปุ่นแบ่ง 3 ขั้นตอนดำเนินงานพร้อมตั้งบริษัทร่วมทุนเดินหน้าโครงการ

Click on the image for full size

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีนว่า ขณะนี้ทั้งฝ่ายไทย-ฝ่ายจีนได้เห็นชอบร่วมกัน ในการจะจัดพิธีเริ่มต้นโครงการโดยวางศิลาฤกษ์ศูนย์ควบคุมการเดินรถ(OCC) ขึ้น ที่สถานีรถไฟเชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 15-20 ธันวาคม 2558 โดยฝ่ายจีนจะเร่งส่งมอบการออกแบบตัวอาคารศูนย์ควบคุม OCC ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

ส่วนรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ทางฝ่ายจีนตกลงที่จะส่งข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ฝ่ายไทยได้ร้องขอ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ พร้อมกับจะส่งมอบการออกแบบรายละเอียดของระยะที่ 1 คือตอนที่ 1 (กรุงเทพ-แก่งคอย) กับตอนที่ 3 (แก่งคอย-นครราชสีมา) ซึ่งขณะนี้ก้าวหน้าเกือบ 100% แล้ว โดยจะเร่งส่งมอบให้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

ด้านการก่อสร้างนั้นในจุดที่สลับซับซ้อนต้องใช้เทคโนโลยีพิเศษ เช่น การเจาะอุโมงค์ จะเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายจีน ซึ่งเรื่องการก่อสร้างนั้นฝ่ายจีนก็ได้เห็นชอบว่า ฝ่ายไทยจะต้องเข้าไปมีส่วนในเรื่องของการคัดเลือกผู้รับเหมา โดยใช้ผู้รับเหมาของไทยให้มากที่สุด แต่ต้องได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่ฝ่ายจีนกำหนดไว้

ในส่วนรูปแบบการลงทุนกับเรื่องการเงินนั้น ได้ยืนยันกับฝ่ายจีนไปว่า เงื่อนไขทางการเงินโดยเฉพาะในเรื่องของดอกเบี้ยนั้น ประเทศไทยควรจะได้เงื่อนไขพิเศษ ไม่น้อยไปกว่าที่จีนให้กับประเทศอื่น ๆ ซึ่งฝ่ายจีนได้รับปาก

“หลังจากที่เรื่องการออกแบบรายละเอียด ราคาก่อสร้าง ผู้รับเหมา สัญญา แหล่งเงินเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเริ่มงานด้านโครงสร้างพื้นฐานได้ ประมาณเดือนพฤษภาคม 2559 โดยฝ่ายไทยจะทำกำหนดแผนงานการทำงานตลอดช่วงของการดำเนินโครงการนี้ โดยพิธีปฐมฤกษ์เริ่มต้นโครงการระหว่างวันที่ 15-20 ธันวาคมปีนี้”

ส่วนโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นนั้น นายอาคม กล่าวว่า จากการประชุมร่วมไทย-ญี่ปุ่น ของอนุกรรมการของกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยว หรือ MLIT ของญี่ปุ่น ได้ประเมินว่าเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ในการเริ่มก่อสร้างได้ทันที คือเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพ-แหลมฉบัง-สระแก้ว โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1.ขั้นตอนการปรับปรุงรางเดิม ให้สามารถวิ่งได้เร็วกว่าอัตราความเร็วเฉลี่ยในปัจจุบันได้อีก เป็นทางขนาดราง 1 เมตร ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ซึ่งคณะสำรวจฝ่ายญี่ปุ่นลงพื้นที่สำรวจไปแล้ว เมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังทราบผลการสำรวจแล้วทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องทำแผนปรับปรุงร่วมกันต่อไป อย่างเร็วที่สุดน่าจะเริ่มได้ช่วงต้นปี 2559 เป็นต้นไป
ส่วนขั้นตอนที่ 2 เป็นการจัดตั้งบริษัทเดินรถร่วมกัน โดยฝ่ายญี่ปุ่นให้ความสนใจเพื่อให้บริการขนส่งทางรถไฟ โดยปัจจุบันก็ได้มีการขนส่งจากช่วงกาญจนบุรีไปแหลมฉบังตามปกติอยู่แล้ว ญี่ปุ่นจึงเห็นว่ามีความเป็นไปได้ ในการตั้งบริษัทร่วมลงทุนต่อกัน อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นในขั้นตอนที่ 1 นั้นเริ่มจากทางเดี่ยว ยังมีระยะทางอีกประมาณ 30 กิโลเมตร จากกาญจนบุรี-ด่านบ้านพุน้ำร้อนที่จะต้องทำเพิ่มเติม ซึ่งจัดเป็นขั้นตอนที่ 3 ที่จะต้องไปดำเนินการเพื่อเตรียมรองรับเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวาย

และขั้นตอนที่ 3 เป็นการพัฒนาเส้นทางรถไฟจากกาญจนบุรี-แหลมฉบัง-สระแก้ว เป็นระบบทางคู่ พร้อมไปกับการปรับจากรถจักรดีเซลเป็นระบบรถไฟฟ้าใช้หัวรถจักรไฟฟ้า ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการศึกษาเพิ่มเติม พร้อมกับรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,103 วันที่ 8 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/11/2015 5:55 pm    Post subject: Reply with quote

คค.เตรียมวางศิลาฤกษ์ศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟไทย-จีน 19 ธ.ค.นี้
โดย MGR Online 12 พฤศจิกายน 2558 16:06 น.

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ว่าล่าสุดโครงการรถไฟไทย-จีน ขณะนี้ ทั้ง 2 ฝ่าย ได้เห็นชอบร่วมกัน ในการจะจัดพิธีเริ่มต้นโครงการโดยวางศิลาฤกษ์ศูนย์ควบคุมการเดินรถ (OCC) ขึ้น ที่สถานีรถไฟเชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คาดว่าพิธีดังกล่าวนั้น จะเกิดขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2558 และจะเริ่มก่อสร้างได้ พ.ค. 2559 พร้อมระบุว่า เส้นทางรถไฟทางคู่ 6 เส้นทางจะประกวดราคาได้ประมาณต้นปี 2559 ซึ่งได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว

ส่วนภาระหนี้สินของการรถไฟฯ ล่าสุดได้มีการนำที่ดินย่านมักกะสัน ไปแลกหนี้กับกระทรวงการคลัง ซึ่งภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังนั้น คาดว่า การรถไฟฯ จะมีหนี้สินเหลือประมาณ 1 หมื่นล้าน และหากมีการพัฒนาการขนส่งสินค้า ตู้โบกี้ที่กำลังสั่งซื้อมา ก็มั่นใจว่า การรถไฟจะฟื้นฟูกิจการได้ดี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/11/2015 1:22 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’เร่งขันนอตระบบราง จี้ติดโครงการร.ฟ.ท.-รฟม.ให้ทำตามแอกชันแพลน
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 17 พฤศจิกายน 2558 259

“อาคม” ขันนอตระบบราง จี้ติดร.ฟ.ท.และ รฟม.เดินหน้าตามแผนปฏิบัติการปี 59 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีชมพูจ่อเสนอครม.ไฟเขียว เช่นเดียวกับทางคู่ ประจวบ-ชุมพร เร่งเสนอครม.ทิ้งทวนปลายปีนี้ ยันทุกโครงการที่เสนอต้องมีรายงานอีไอเอประกอบการพิจารณา สำหรับม.44 ใช้เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น

Click on the image for full size

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการระบบราง ภายใต้ความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ที่ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการ(Action Plan)ปี 2559 ของกระทรวง โดยโครงการที่มีความพร้อมที่จะผลักดันนั้นคือ ส่วนของ รฟม.เตรียมเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรีและสายสีชมพูช่วงมีนบุรี-แคราย เข้าสู่ที่ประชุมครม.ช่วงปลายปีนี้ ขณะเดียวกันโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู นั้นได้นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการร่วมลงทุน(พีพีพี)แล้ว

ส่วนสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ อยู่ระหว่างการปรับแก้ไขรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ที่ขยายเส้นทางออกไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร เพื่อก่อสร้างจุดเดโปแห่งใหม่ซึ่งจะต้องมีการนำเสนอเข้าสู่การเห็นชอบของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)อีกครั้ง เช่นเดียวกับสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรงที่จะต้องเสนอไปยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(กก.วล.) พิจารณาต่อไป ทำให้โครงการสายสีส้มและสายสีชมพูจะเข้าสู่การพิจารณาของครม.ได้ก่อน ส่วนสายสีเหลืองต้องรอผลการปรับแก้อีไอเอให้แล้วเสร็จสมบูรณ์เสียก่อน

“ส่วนที่จะเสนอเพิ่มเติมได้แก่ สายสีเขียวใต้ ช่วงส่วนต่อขยายสมุทรปราการ-บางปู จำนวน 4 สถานี เช่นเดียวกับสายสีเขียวเหนือ ช่วงคูคต-ลำลูกกา อีก 4 สถานี ซึ่งผ่านการรับรองอีไอเอแล้วทั้ง 2 ช่วงก็จะเสนอครม.ภายในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2559 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการ”

ด้านโครงการที่อยู่ในการบริหารจัดการของ ร.ฟ.ท.คือ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน(มิสซิ่งลิงค์)ประกอบด้วย ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก โดยช่วงบางซื่อ-พญาไท ซึ่งเป็นตอนแรกนั้นผ่านอีไอเอแล้ว เหลือเพียงช่วงมักกะสัน-หัวหมากที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม(คชก.) ส่วนสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ได้ผ่านการรับรองอีไอเอแล้ว

ส่วนทางด้านแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ช่วงส่วนต่อขยายพญาไท-ดอนเมือง ได้เลือกช่วงพญาไท-บางซื่อ มาดำเนินการก่อน เนื่องจากช่วงดอนเมืองจะมีเส้นทางที่ใช้พื้นที่ร่วมกันหลายเส้นทาง อาทิ รถไฟไทย-จีน รถไฟไทย-ญี่ปุ่น รถไฟชานเมือง และแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ส่วนช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองนั้นคงต้องรอหารือการปรับแก้ไขรายละเอียดให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ก่อน

เช่นเดียวกับรถไฟทางคู่ เส้นทางที่อยู่ระหว่างการประกวดราคาคือ เส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และเส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ส่วนเส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ซึ่งผ่านอีไอเอเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างการนำเสนอครม.ภายในเดือนธันวาคมนี้ ยกเว้นเส้นทางนครปฐม-หัวหิน เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และเส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพเท่านั้นที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอีไอเอ

นายอาคม กล่าวเพิ่มเติมถึงการใช้ม. 44 มาช่วยในการผลักดันโครงการนั้น ที่ผ่านมาได้หารือกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีแล้ว เพราะวัตถุประสงค์เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาขั้นตอนต่างๆที่ซ้ำซ้อนไม่จำเป็น ใช้เวลานานและเป็นอุปสรรคในการเร่งผลักดันโครงการ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายที่บังคับใช้อยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าจะนำไปใช้ได้กับทุกเรื่อง ประกอบกับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้นำเสนอฟาสต์แทร็กของการร่วมลงทุนพีพีพี ซึ่งสามารถร่นระยะเวลาจากประมาณ 2 ปีให้เหลือเพียง 9 เดือน จะส่งผลให้การอนุมัติโครงการมีความรวดเร็วขึ้น

“ทั้งนี้จะใช้แนวทางการบริหาร การประสานและการตกลงร่วมกัน เพื่อที่จะลดระยะเวลาตรงนี้ให้ได้ ขั้นตอนของกระทรวงคมนาคมจึงต้องเสนอโครงการ เมื่ออนุมัติโครงการก็จะเข้าสู่ขั้นตอนดำเนินการประกวดราคา โดยสรุปมี 2 ขั้นตอนที่สำคัญคือ การนำเสนอโครงการกับขั้นตอนการประกวดราคา ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นๆศึกษามาเรียบร้อยรอบคอบหรือไม่ และมีส่วนของอีไอเอประกอบ ซึ่งทั้ง 2 ส่วนต้องมีความพร้อมทั้งหมดจึงจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.อนุมัติให้ดำเนินการต่อไป พร้อมผลการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการของครม.ด้วย”นายอาคมกล่าว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,105 วันที่ 15 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/11/2015 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.เห็นชอบกรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน คาดหาผู้รับเหมาก่อนพ.ค. 59
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558 17:55:29 น.

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอเกี่ยวกับการจัดทำกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 เพื่อให้โครงการเป็นรูปธรรม ชัดเจนมากขึ้น

และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลยพินิจของ คค. โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยและให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้แทนสำหรับการลงนามดังกล่าว

สำหรับสาระสำคัญของร่างกรอบความร่วมมือฯ มีดังนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันว่าความร่วมมือจะเป็นโครงการรถไฟขนาดทางมาตรฐานสายแรกของประเทศไทย 2 เส้นทาง (โครงการรถไฟ) คือ
1. หนองคาย – โคราช – แก่งคอย – ท่าเรือมาบตาพุด
2. แก่งคอย – กรุงเทพฯ

โครงการรถไฟจะดำเนินการเป็น 4 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ – แก่งคอย
ช่วงที่ 2 แก่งคอย – ท่าเรือมาบตาพุด
ช่วงที่ 3 แก่งคอย – โคราช และ
ช่วงที่ 4 โคราช – หนองคาย
ภายใต้รูปแบบอีพีซี (วิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้าง) และให้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (เอสพีวี) เพื่อลงทุนในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ระบบรถไฟ รวมถึงการเดินรถและการซ่อมบำรุง
(2) ส่วนหนึ่งของงานการก่อสร้าง (รวมถึง แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า การจ่ายกำลังไฟฟ้า ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และระบบอาณัติสัญญาณ)

ทั้งนี้ ฝ่ายจีนจะรับผิดชอบการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (รวมถึงการสำรวจและออกแบบ) ฝ่ายไทยจะให้การสนับสนุนการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนการขอความเห็นชอบ และการเวนคืนที่ดิน ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่ายจะร่วมหารือและทบทวนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการรถไฟ เพื่อให้เหมาะสมกับระบบรถไฟขนาดทางมาตรฐาน และก่อนการก่อสร้างโครงการ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาและปรับปรุง “รายงานการศึกษาทางเทคนิคและเศรษฐกิจ" ที่จัดทำโดยฝ่ายจีนจนกว่าจะเป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย

อนึ่ง รูปแบบการดำเนินโครงการใช้หลักการ Engineering Procurement and Construction(EPC) จะแบ่งแยกความรับผิดชอบงานกันอย่างชัดเจนทั้งเรื่องขอบเขตงาน แหล่งเงินทุน

"ในเรื่องของแหล่งเงินทุน งบประมาณจะมาจากหลายแหล่ง ในส่วนของไทยเป็นการระดมทุนในประเทศ จากงบประมาณภาครัฐและเงินกู้ในประเทศ ขณะที่ของจีนจะใช้เงินกู้จากธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีน หรือเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนอื่นๆ ภายใต้เงื่อนไขที่ยอมรับได้ ซึ่งเงินกู้ที่จะมาจากต่างประเทศจะต้องไม่มีดอกเบี้ยที่สูงกว่าแหล่งเงินกู้จากในประเทศ เพื่อให้เราได้ประโยชน์สูงสุด"พล.ต.สรรเสริญ กล่าว

ในด้านการเดินรถและซ่อมบำรุง ช่วง 3 ปีแรก ทางจีนรับผิดชอบเป็นหลัก โดยในช่วง 3-7 ปีไทยและจีนจะรับผิดชอบในสัดส่วนใกล้เคียงกัน แต่หลังจาก 7 ปีไปแล้วทางไทยเป็นผู้รับผิดชอบหลัก แต่จีนจะเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสาระของกรอบความร่วมมือมีผลเมื่อมีการลงนามทั้ง 2 ฝ่าย มีเวลา 5 ปี ต่ออายุโดยอัตโนมัติหากไม่มีบอกยกเลิก แต่ถ้ายกเลิกต้องแจ้งล่วงหน้า 6 เดือน

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า นายอาคม เติมวิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า กรอบความร่วมมือดังกล่าวมีความชัดเจน ทำให้เห็นความก้าวหน้าในโครงการแม้ว่าจะยังมีการเจรจาต่อรองเรื่องของดอกเบี้ยอยู่

นอกจากนี้ ในวันที่ 19 ธ.ค.นี้จะจัดกิจกรรมในเชิงสัญญลักษณ์โดยการวางศิลาฤกษ์ที่ศูนยควบคุมและบริหารการเดินรถ ที่เชียงรากน้อย เพื่อให้เห็นว่า โครงการมีความก้าวหน้าและมีความร่วมมือเกิดขึ้นแล้ว

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ภายในเดือนธ.ค.58 จะมีการกำหนดวันลงนามสัญญากับจีน จะหารือกับจีนอีกครั้ง ในการลงนามครั้งนี้ก็จะลงนามไปพร้อมกับการลงนามซื้อขายข้าว และลงนามซื้อขายยางพาราระหว่างรัฐาลไทยจีน พร้อมกับโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน

โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน จะเริ่มต้นโครงการในวันที่ 19 ธ.ค.58 เป็นพิธีเปิดตัวโครงการ เริ่มจากศูนย์ควบคุมการเดินรถและบริการเดินรถที่สถานีเชียงรากน้อย พร้อมจัดนิทรรศการเปิดตัวโครงการให้เห็นภาพทั้งโครงการทั้งหมด จากนั้นในช่วงเดือน ธ.ค.58 - พ.ค.59 กระทรวงคมนาคมจะดำเนินขั้นตอนปรับปรุงศึกษารายงานความเหมาะสมโครงการให้ครม.อนุมัติ รวมทั้งหาตัวผู้รับเหมาไทยที่จะเข้าร่วมงานก่อสร้าง สำหรับเส้นทางที่ 1 เส้นทางกรุงเทพ-แก่งคอย และเส้นทางที่ 3 เส้นทางแก่งคอย-นครราชสีมา ซึ่งขั้นตอนนี้เห็นชอบร่วมกันว่าทางการจีนได้มอบหมายให้ CREC (China Railway Group Limited) และ CRCC (China Railway Construction Corporation Limited) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของจีนเป็นผู้ดำเนินการ

รมว.คมนาคม กล่าวว่า ฝ่ายไทยได้ขอให้บริษัทก่อสร้างของไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในงานก่อสร้างด้วย ซึ่งทางจีนไม่ขัดข้อง แต่ขอให้เป็นบริษัทที่สามารถดำเนินการได้ตามมาตรฐานงานก่อสร้าง ซึ่งบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ของไทยก็มีศักยภาพและมีขีดความสามารถรวมทั้งเทคโนโลยีที่จะทำได้ และจะขอเข้าไปมีส่วนร่วมภาคการก่อสร้างด้วย

"เราจะมีส่วนรวมคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างกัน คงจะเป็น short list ให้กับจีน และเห็นชอบร่วมกัน โดยคาดว่าจะหาผู้รับเหมาก่อสร้างในโครงการนี้ก่อนเดือนพ.ค.59 โดยจีนบอกว่าเส้นที่ 1 และ 3 ทำได้เร็วก่อน"นายอาคม กล่าว

ทั้งนี้ คาดว่าในเดือนพ.ค.59 จะเริ่มงานก่อสร้างโครงการนี้ โดยใน 6 เดือนนี้ (ธ.ค.58-พ.ค.59) จะมีข้อสรุปให้ความเห็นชอบโครงการ, สัญญางานก่อสร้างระหว่างไทย-จีน, รูปแบบการลงทุน, เงื่อนไขการเงินกู้เป็นเรื่องสุดท้ายที่จะเจรจาต่อไป และจะได้ปรับปรุงรายงานการศึกษาความร่วมมือไทยจีนเพื่อเสนอให้ครม.เห็นชอบต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2015 2:30 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ครม.เห็นชอบกรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน คาดหาผู้รับเหมาก่อนพ.ค. 59
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558 17:55:29 น.


ครม.ไฟเขียวเซ็นร่วมมือสร้างรถไฟไทย-จีน 19 ธ.ค.เปิดตัวศูนย์ OCC เชียงรากน้อย
โดย MGR Online
17 พฤศจิกายน 2558 18:58 น. (แก้ไขล่าสุด 17 พฤศจิกายน 2558 23:06 น.)

ไฟเขียวรถไฟไทย-จีน4แสนล.
โดย ผู้จัดการรายวัน

17 พฤศจิกายน 2558 23:02 น. (แก้ไขล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2558 00:06 น.)

ผู้จัดการรายวัน360 - ครม.เห็นชอบกรอบการลงนามความร่วมมือรถไฟไทย-จีน "อาคม"เผยเตรียมพิธีเปิดตัวศูนย์สั่งการการเดินรถ (OCC) ที่เชียงรากน้อย 19 ธ.ค.นี้ คงเป้าเริ่มก่อสร้างพ.ค.59 ครม.ยังรับทราบผลแก้ปัญหาการบิน "เอียซ่า-ICAO" นายกฯ สั่ง ตั้งกองทุน โครงสร้างพื้นฐาน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (17 พ.ย.) มีมติเห็นชอบการลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ หรือกรอบการทำงานร่วมกัน โครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน เพื่อก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 873 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนพ.ค. 2559

โดยวันที่ 19 ธ.ค.นี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมทำพิธีเปิดตัวโครงการ ศูนย์สั่งการการเดินรถ (OCC) ที่สถานีเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เห็นภาพรวมของโครงการทั้งหมด ซึ่งฝ่ายจีนจะส่ง 2 หน่วยงานมารับผิดชอบการก่อสร้าง ประกอบด้วย 1.บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CRCC) รับผิดชอบการก่อสร้างช่วงที่ 1-2 และ 2.บริษัท ไชน่าเรลเวย์ เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CREC) รับผิดชอบช่วงที่ 3-4

สำหรับ สาระสำคัญใน Framework Of Operationแบ่งเป็น 5 ข้อหลัก คือ1.ก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน แบ่งเป็น 4 ช่วง โดยช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างช่วงที่ 1 และ 3 ก่อน

2.จัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ระหว่างไทย-จีน ซึ่งฝ่ายไทยเบื้องต้นให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นหน่วยงานที่ร่วมทุนอยู่ใน SPV โดยช่วง 3 ปีแรกของการเปิดให้บริการฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบงานเดินรถและซ่อมบำรุง ปีที่ 4-7 ฝ่ายไทยจะเข้าร่วมรับผิดชอบด้วยและตั้งแต่ปีที่ 7 เป็นต้นไปต้องถ่ายโอนงานดังกล่าวมายังฝ่ายไทย

3. การทำงานจะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยฝ่ายจีนเป็นผู้รับผิดชอบการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ การศึกษาทางเศรษฐกิจ สำรวจและออกแบบ และงานก่อสร้างที่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูง ขณะที่ฝ่ายไทยรับผิดชอบงานก่อสร้างพื้นราบ การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการเวนคืนที่ดิน

4.ยอมรับในหลักการว่าธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีน (CEXIM) จะพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับไทยในเงื่อนไขที่ดีที่สุดหากเปรียบเทียบกับแหล่งเงินอื่น และ 5. พัฒนาบุคลากรร่วมกันเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี

นอกจากนี้ที่ประชุมครม.ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกำกับดูแลความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) โดยเห็นชอบให้ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกัย EASA ภายใต้วงเงินดำเนินการไม่เกิน 100 ล้านบาท

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้สั่งการให้เร่งรัดจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งเราไม่ได้ต้องการผลประโยชน์อะไรทั้งสิ้น แต่ตรงนี้ต้องมีผลประโยชน์ตอบแทนให้ผู้ร่วมลงทุนที่เหมาะสม มิเช่นนั้นเขาก็จะไม่ร่วมลงทุน นอกจากนี้อาจจะต้องมีกองทุนสื่อสาร กองทุนสาธารณสุข หรือกองทุนอื่นๆ กองทุนนี้เป็นการลงทุนคู่ขนานกันไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 20/11/2015 1:25 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมประชุมกรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน 3 ธ.ค.นี้
Written by: กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย
20 พฤศจิกายน 2558 12:08 PM

รร.แชงกรี-ลา 20 พ.ย. – ธนาคารกรุงเทพจัดสัมมนาฉลอง 40 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ระบุยุทธศาสตร์จีนที่มุ่งฟื้นฟูเส้นทางสายไหมจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโลกที่กำลังซบเซาดีขึ้นบ้าง ขณะที่ รมว.คมนาคมเตรียมประชุมกรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน 3 ธันวาคมนี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปาฐกถาพิเศษในโอกาสครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน โดยยืนยันว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการเชื่อมโยงระบบขนส่งไทยและจีนคืบหน้าอย่างมาก ซึ่งโครงการเริ่มตั้งแต่ปี 2553 แต่ในช่วง 2 ปีความชัดเจนระบบขนส่งระหว่างไทยกับจีนโดยเฉพาะการสร้างทางรถไฟฟ้าคืบหน้า โดยวันที่ 19 ธันวาคมนี้จะมีการวางศิลาฤกษ์ที่เชียงรากน้อย และวันที่ 3 ธันวาคมจะมีการประชุมร่วมไทยและจีน นอกจากนี้ จะมีการเจรจาการค้าเพิ่ม ทั้งนี้ เห็นได้ว่ารถไฟเส้นทางต่าง ๆ ตามกรอบความร่วมมือไทยและจีน แสดงให้เห็นว่าไม่เพียงกับไทยจีนเท่านั้นจะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญจีนจะเข้ามาลงทุนรถไฟเส้นทางต่าง ๆ แต่ไทยได้มีการยืนยันว่าคุณภาพการก่อสร้างไม่แพ้ประเทศใดและมีมาตรฐาน ซึ่งจีนเห็นชอบให้ไทยเป็นผู้ก่อสร้าง ด้านการออกแบบหรือตัวรถไฟทางจีนจะดำเนินการเองทั้งหมด ซึ่งการก่อสร้างทางรถไฟดังกล่าวจะสอดรับกับที่ไทยดำเนินการรื้อฟื้นพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามชายแดนต่าง ๆ นอกจากจะร่วมมือด้านอาเซียนยังส่งเสริมให้การค้าไทย จีน และประเทศต่าง ๆ มีระบบขนส่งรวดเร็ว

ดังนั้น จึงอยากให้นักลงทุนเตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตภายใต้กรอบอาเซียน ความร่วมมือบวก 3 บวก 6 ซึ่งตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปกรอบความร่วมมือการค้าต่าง ๆ จะเป็นรูปธรรม นักลงทุนไทยจะต้องกล้าที่ออกไปลงทุน ซึ่งขณะนี้หลายประเทศโดยเฉพาะจีนพร้อมให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุน ประกอบกับรัฐบาลมีแนวทางส่งเสริมให้นักลงทุนต่างประเทาศเข้ามาลงทุนในไทย นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้นักลงทุนไทยไปลงทุนต่างประเทศ เชื่อว่าในอนาคตการเชื่อมโยงเส้นทางต่าง ๆ ระบบราง น้ำ อากาศ จะเปิดโอกาสให้ขยายการค้าและการลงทุน

นายหนิง ฟู่ขุย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย กล่าวว่า แม้จีนจะประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวและอยู่ระดับปานกลางเฉลี่ยร้อยละ 6.9 ถือเป็นตัวเลขไม่ตกต่ำ เศรษฐกิจจีนใหญ่อันดับ 2 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของการนำสินค้าของโลกเฉลี่ยแต่ละปีมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจีนยังเป็นผู้ค้าอันดับ 1 ของไทย แต่ขณะนี้จีนอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างและแก้ไขปัญหาในประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจมั่นคง โดยกำหนดเป้าหมายอัตราการเติบโตปี 2563 เฉลี่ยร้อยละ 6-7 โดยจะมีมูลค่ามากกว่า 17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีรายได้ต่อคนต่อปีระดับประชาชนปานกลางเฉลี่ย 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเศรษฐกิจจีนจะต้องเติบโตระยะเวลา 5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6-7 และอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีเศรษบกิจโตเป็นอับดับ 1 ของโลกแทนสหรัฐได้อย่างแน่นอน ซึ่งขณะนี้ความสัมพันธ์การค้าไทยและจีนตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมาเป็นไปทิศทางที่ดี ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนคนไทยไปลงทุนประเทศจีน และที่ผ่านมาจีนเข้าไปลงทุนและทำการค้ากับไทย โดยไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของจีน นำเข้าสินค้ายางพาราค่อนข้างมาก และถึงวันนี้จีนก็พร้อมเข้ามาลงทุนกับไทย

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาหัวข้ออนาคตความสัมพันธ์จีน-ไทย ภายใต้เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลอง 40 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ว่า จีนวางแผนทดแทนเส้นทางสายไหมทางบกในอดีตด้วยทางหลวงสมัยใหม่ โครงข่ายรถไฟ และรถไฟความเร็วสูง ขณะที่เส้นทางสายไหมทางทะเลจะเชื่อมโยงจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มุ่งสู่ตะวันออกกลางและยุโรป ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt One Road ซึ่งคาดว่าจะมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจตลอดจนเม็ดเงินลงทุนเกิดขึ้นสูงถึง 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโลกที่กำลังอยู่ในภาวะซบเซาขณะนี้ให้ดีขึ้นได้บ้าง สำหรับไทยซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของเส้นทางสายไหมและเป็นตัวเชื่อมจากอาเซียนไปยังจีนตะวันตก ก็จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวโดยเติบโตร้อยละ 6-7 เกิดจากปัญหาหนี้เสียจากภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจจีนจะประสบปัญหาค่อนข้างมาก จึงเชื่อว่าไทยต้องให้ระยะเวลาจีนในการแก้ไขปัญหาภายในอย่างน้อย 4-5 ปี และขณะนี้จีนมองกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะเข้ามาลงทุน โดยไทยอยู่ในกลุ่มประเทศต้น ๆ จึงอยากแนะนำนักธุรกิจไทยไม่ควรละเลยเข้าไปลงทุน ขณะเดียวกันแม้เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวก็ถือเป็นโอกาสทำให้นักลงทุนจากจีนหันกลับมาลงทุนในไทยมากขึ้น

นอกจากนี้ คาดว่าจากการวางแผนแก้ปัญหาความยากจนของประชากรจีนที่มี 70 ล้านคนในประเทศให้สำเร็จภายใน 5 ปี จะทำให้จีนมีความต้องการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการพัฒนาเส้นทางสายไหมจึงเป็นเส้นทางสำคัญที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างจีนกับอาเซียน ดังนั้น มองว่าไทยกับจีนควรมีความร่วมมือกันในการเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมของภูมิภาค เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท ทั้งทางบก ทางน้ำ ที่เชื่อมต่อภูมิภาค ขณะที่จีนมีความพร้อมและองค์ความรู้ด้านระบบคมนาคมโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จึงมองว่าไทยและจีนควรร่วมมือในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน.-
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 20/11/2015 11:40 pm    Post subject: Reply with quote

Mitsui เข้าพบ 'อาคม' สนใจลงทุนรถไฟ
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 18:56 น.

Mitsui พบรัฐมนตรีคมนาคม ระบุสนใจลงทุนโครงการรถไฟ เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-สระแก้ว-แหลมฉบัง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง Mr.Shingo Sato ประธานบริษัท Mitsui & co.,(Thailand) Ltd.พร้อมคณะเข้าเยี่ยมคารวะ ว่า ในวันนี้ได้มีการหารือเกี่ยวกับโครงการรถไฟโดยทางบริษัท Mitsui สนใจในเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-สระแก้ว-แหลมฉบัง ในการลงทุนด้านการเดินรถและบำรุงรักษา พร้อมกันนี้ได้มีการหารือรูปแบบการดำเนินการจะเป็นอย่างไร โดยทางกระทรวงคมนาคมได้พูดคุยถึงแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วยรวมถึงได้กล่าวกับทางบริษัท Mitsui ว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี มีแผนที่จะเดินทางไปญี่ปุ่นช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งจะมีการลงนามในเอกสารความร่วมมือในเส้นทางดังกล่าวด้วย

อย่างไรก็ตาม การลงนามเอกสารความร่วมมือจะมี 3 ขั้นตอนคือ 1.การเริ่มต้นโครงการรางเดี่ยวที่มีขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. ได้ทำการปรับปรุงรางที่ชำรุด หากทางทีมงานญี่ปุ่นเข้ามาแล้วก็คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินงานให้บริการได้เลย 2.การจัดตั้งบริษัทการเดินรถไฟร่วมกันตามกรอบความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น และ 3.การพัฒนาไปสู่โครงการรถไฟทางคู่กับรถไฟฟ้า
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 55, 56, 57 ... 121, 122, 123  Next
Page 56 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©