Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13275982
ทั้งหมด:13587278
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 57, 58, 59 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2015 5:10 pm    Post subject: Reply with quote

“อาคม” โต้รถไฟไทย-จีนไม่ช้า ลงทุนสูงต้องรอบคอบ เล็งสรุปดอกเบี้ยใน ก.พ. 59


โดย MGR Online

30 พฤศจิกายน 2558 17:31 น.



"อาคม"ยันรถไฟไทย-จีน เจรจาตามกรอบข้อตกลง ไม่ล่าช้า เตรียมประชุมครั้งที่ 9 วันที่ 3 ธ.ค.นี้ตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดการออกแบบก่อนทำรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมฉบับปรับปรุงคาดเสร็จในม.ค.-ก.พ.59 พร้อมคุยสรุปดอกเบี้ยด้วย ชี้ลงทุนสูงต้องรอบคอบ ส่วนรถไฟไทย-ญี่ปุุ่น( กาญจนบุรี-แหลมฉบัง-อรัญประเทศ) ม.ค.59ญี่ปุ่นจัดมินิคอนเทนเนอร์ 3 ตู้ทดลองขนสินค้า เผย ผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 แห่ง เชื่อบูมแน่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน เส้นทางโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย, แก่งคอย-มาบตาพุด, แก่งคอย-โคราช, โคราช-หนองคาย ระยะทาง 873 กม. ขณะนี้ถือว่า การดำเนินงานเป็นไปตามกรอบการทำงานร่วมกัน ไม่ได้ล่าช้า
โดยคณะทำงานของกระทรวงคมนาคมได้หารือตรงกับทางผู้อำนวยการคณะกรรมการ พัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) ที่ปักกิ่ง ซึ่งในข้อตกลงความร่วมมือ ทางไทยได้สงวนสิทธิ์ในการตรวจสอบราคาค่าก่อสร้างอย่างละเอียด ซึ่งหลังจากการหารือครั้งที่ 8 ที่ปักกิ่ง ทางจีนยังติดค้างรายละเอียดข้อมูลอีกหลายข้อ รวมถึงรายละเอียดการออกแบบโดยตกลงที่จะส่งมอบให้ครบภายในเดือนธ.ค.นี้

ทั้งนี้จะการประชุมความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 9 ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ ที่ประเทศไทยนั้นจะเป็นการติดตามข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วน โดยในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.59 จะเป็นการสรุปรายละเอียดและทำรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมฉบับปรับปรุง ซึ่งจะรู้ตัวเลขเงินลงทุนทั้งหมด รายละเอียดในส่วนของค่าก่อสร้างการแบ่งสัดส่วนเงินลงทุน เงินกู้ ซึ่งจะสามารถสรุปเรื่องอัตราดอกเบี้ยได้ ส่วนเรื่องที่ปรึกษาโครงการ ที่ปรึกษาทางการเงิน ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการว่าจ้างเรียบร้อยแล้ว และได้ทำการตรวจสอบข้อมูลค่าก่อสร้างที่จีนส่งมาให้

"เราไม่ได้ช้า ทุกอย่างยังอยู่ในกระบวนการ โครงการนี้ใช้เงินลงทุนสูง คงใช้วิธีเขียนใบสั่งซื้อสินค้าก่อนแล้วค่อยมาคิดราคากันทีหลังไม่ได้ ต้องมีความมั่นใจในรายงานการศึกษาดังนั้นต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ มีหลายเรื่องที่ถามเพิ่มเติม เช่น ค่าขนส่งทางรางปัจจุบัน 2.02 บาทต่อตัน ผลศึกษาของจีนเสนอ 2.80 บาทต่อตันแบบนี้ไม่น่าตะเป็นไปได้ ก็ต้องถามกลับไปซึ่งถือเป็นการทำงานของจีนครั้งแรกที่มีการลงรายละเอียดมากกว่าที่จีนไปร่วมมือกับหลายประเทศ"นายอาคมกล่าว

นายอาคมกล่าวว่า การลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือ (MOC : Memorandum of Cooperation) ระหว่าง กระทรวงคมนาคม กับ กระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาเส้นทางรถไฟแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกตอนใต้ (Lower East – West Corridor) เส้นทางกาญจนบุรี (บ้านพุน้ำร้อน) – กรุงเทพฯ – แหลมฉบังและกรุงเทพฯ –อรัญประเทศ ระยะทาง 574
กม. โดยจะเป็นการปรับปรุงทางรถไฟเดิมขนาดราง 1 เมตร (Meter Gauge) ให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นพร้อมทั้งก่อสร้างเส้นทางช่วงที่ขาดประมาณ 42 กม. แบ่งเป็นช่วงจาก จากาญจนบุรี-พุน้ำร้อน ระยะทาง 26 กม.และช่วง อรัญประเทศ-คลองลึก ระยะทาง 6 กม.ถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญสูงในลำดับต้นและมีความเป็นไปได้เนื่องจากมีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของประเทศไทยและเมียนมา เนื่องจากเส้นทางผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 เขต คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (เมียนมา) เขตเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี ซุปเปอร์คลัสเตอร์อีสเทิร์นซีบอร์ด เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และเชื่อท่าเรือน้ำลึก2 แห่ง คือ
แหลมฉบังกับทวาย

โดยในระหว่างนี้ได้มีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงของเส้นทางแล้ว และในเดือนม.ค. 2559 ทางญี่ปุ่นจะจัดตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุตจำนวน 3 ตู้เข้ามาทดลองเดินรถขนส่งสินค้าเส้นทาง หนองปลาดุก-ท่าเรือแหลมฉบัง จากนั้น ไทยและญี่ปุ่นจะร่วมตั้งบริษัทบริหารการเดินรถซึ่งจะลงทุนในเรื่องการเดินรถการจัดหาขบวนรถเพิ่มและการยกระดับจากทางเดี่ยวเป็นทางคู่

//--------------

'อาคม'ชี้สรุปเงินลงทุน-ดบ.รถไฟไทย-จีนได้ต้นปีหน้า
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558, 16:25

คมนาคม คาดสรุปเงินลงทุน-ดอกเบี้ยโครงการรถไฟไทย-จีนได้ต้นปี 59 ยันไม่ล่าช้า

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน เส้นทางโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย, แก่งคอย-มาบตาพุด, แก่งคอย-โคราช, โคราช-หนองคาย ระยะทาง 873 กม. ขณะนี้ถือว่าการดำเนินงานเป็นไปตามกรอบการทำงานร่วมกัน และไม่ได้มีความล่าช้า

โดยคณะทำงานของกระทรวงคมนาคมได้หารือตรงกับผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) ที่ปักกิ่ง ซึ่งในข้อตกลงความร่วมมือนี้ ไทยได้สงวนสิทธิ์ในการตรวจสอบราคาค่าก่อสร้างอย่างละเอียด ซึ่งหลังจากการหารือครั้งที่ 8 ที่ปักกิ่ง จีนยังติดค้างรายละเอียดข้อมูลอีกหลายข้อ รวมถึงรายละเอียดการออกแบบ โดยตกลงที่จะส่งมอบให้ครบภายในเดือนธ.ค.นี้

สำหรับการประชุมความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 9 ในวันที่ 3 ธ.ค.58 ที่ประเทศไทยนั้น จะเป็นการติดตามข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วน โดยในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.59 จะเป็นการสรุปรายละเอียดและทำรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมฉบับปรับปรุง ซึ่งจะรู้ตัวเลขเงินลงทุนทั้งหมด รายละเอียดในส่วนของค่าก่อสร้าง การแบ่งสัดส่วนเงินลงทุน เงินกู้ ซึ่งจะสามารถสรุปเรื่องอัตราดอกเบี้ยได้ ส่วนเรื่องที่ปรึกษาโครงการ ที่ปรึกษาทางการเงินนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้ดำเนินการว่าจ้างเรียบร้อยแล้ว และได้ทำการตรวจสอบข้อมูลค่าก่อสร้างที่จีนส่งมาให้แล้ว

"เราไม่ได้ช้า ทุกอย่างยังอยู่ในกระบวนการ โครงการนี้ใช้เงินลงทุนสูง คงใช้วิธีเขียนใบสั่งซื้อสินค้าก่อนแล้วค่อยมาคิดราคากันทีหลังไม่ได้ ต้องมีความมั่นใจในรายงานการศึกษา ดังนั้นต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ และถือเป็นการทำงานของจีนครั้งแรกที่มีการลงรายละเอียดมากกว่าที่จีนไปร่วมมือกับหลายประเทศ"นายอาคมกล่าว

รมว.คมนาคม กล่าวว่า การลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงคมนาคม กับกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาเส้นทางรถไฟแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตอนใต้ เส้นทางกาญจนบุรี(บ้านพุน้ำร้อน)-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 กม. โดยจะเป็นการปรับปรุงทางรถไฟเดิมขนาดราง 1 เมตร ให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นพร้อมทั้งก่อสร้างเส้นทางช่วงที่ขาดประมาณ 42 กม. แบ่งเป็นช่วงจากจากาญจนบุรี-พุน้ำร้อน ระยะทาง 26 กม.และช่วงอรัญประเทศ-คลองลึก ระยะทาง 6 กม. ถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญสูงในลำดับต้นและมีความเป็นไปได้ เนื่องจากมีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของประเทศไทยและเมียนมา เนื่องจากเส้นทางผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 เขต คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (เมียนมา) เขตเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี ซุปเปอร์คลัสเตอร์อีสเทิร์นซีบอร์ด เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และเชื่อท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง คือ แหลมฉบังกับทวาย

โดยในระหว่างนี้ได้มีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงของเส้นทางแล้ว และในเดือนม.ค.59 ญี่ปุ่นจะจัดตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต จำนวน 3 ตู้เข้ามาทดลองเดินรถขนส่งสินค้าเส้นทางหนองปลาดุก-ท่าเรือแหลมฉบัง จากนั้นไทยและญี่ปุ่นจะร่วมตั้งบริษัทบริหารการเดินรถ ซึ่งจะลงทุนในเรื่องการเดินรถการจัดหาขบวนรถเพิ่มและการยกระดับจากทางเดี่ยวเป็นทางคู่

//--------------------------------

คมนาคม คาดสรุปเงินลงทุน-ดอกเบี้ยโครงการรถไฟไทย-จีนได้ต้นปี 59 ยันไม่ล่าช้า
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
จันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2558 15:30:01 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/11/2015 7:57 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม ช่วยเหลือ SMEs เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันที่ข่าว : 30 พฤศจิกายน 2558

กระทรวงคมนาคม หารือร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ช่วยเหลือ SMEs เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเสนอราคาผู้รับเหมาโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคม ว่า ทางสมาคมฯ ได้แสดงความเป็นห่วงผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง เนื่องจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กไม่มีโอกาสที่จะได้รับงานดังกล่าว จึงได้ชี้แจงไปว่า การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ จำเป็นที่หน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้ามารับงาน ให้มีความมั่นใจว่างานจะสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่จะต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ โครงการรถไฟทางคู่ หรือโครงการปรับปรุงทางรถไฟ โดยจะต้องพิจารณาว่าบริษัทใดพร้อมที่จะรับโครงการไปดำเนินการ ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ ยังได้เรียกร้องให้กระทรวงคมนาคมแบ่งแยกโครงการก่อสร้างให้มีขนาดเล็กลง โครงการละ 2 – 3,000 ล้านบาท เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทรับเหมาอีกจำนวนมากสามารถเข้าร่วมงานก่อสร้างได้ ซึ่งจะนำประเด็นดังกล่าวไปพิจารณาช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง ให้สามารถรับงานได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/12/2015 3:42 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.เห็นชอบ Action Plan โครงการลงทุนเร่งด่วนของคมนาคมกว่า 1.7 ล้านลบ.
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 1 ธันวาคม 2558 14:48:17 น.

นายสมศักดิ์ โชติรัตนศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน (Action Plan) มูลค่าการลงทุนรวม 1.7 ล้านล้านบาท

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน (Action Plan) ปี 2559 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในปี 58-65 ที่มีความพร้อมจะเริ่มประกวดราคาได้ตั้งแต่ปี 58-60 มีจำนวนทั้งสิ้น 20 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 1.796 ล้านล้านบาทเศษ ประกอบด้วย 2 กลุ่มย่อย ดังนี้

กลุ่มแรก โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อม และคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว สามารถประกวดราคาได้ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 59 (ต.ค.-ธ.ค.58) มี 6 โครงการ กรอบวงเงินลงทุนรวม 1.86 แสนล้านบาท ได้แก่
1.โครงการรถไฟทางคู่ ถนนจิระ-ขอนแก่น
2.ทางหลวงพิเศษพัทยา-มาบตาพุด
3.ทางหลวงพิเศษ บางปะอิน-โคราช
4.โครงการพัฒนาท่าเรือชายฝั่ง ท่าเทียบเรือ A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง
5.โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 1 และ
6.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2

กลุ่มสอง โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเริ่มประกวดราคาได้ตั้งแต่ปี 59-60 รวมทั้งหมด 14 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 1.610 ล้านล้านบาทเศษ แบ่งเป็นโครงการใหญ่ดังนี้
1.โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่ บ้านโป่ง กาญจนบุรี
2.โครงการรถไฟทางคู่ขนาด 1 เมตร รวม 4 เส้นทาง คือ มาบกะเบา-ถนนจิระ, นครปฐม-หัวหิน, ประจวบฯ-ชุมพร และลพบุรี-ปากน้ำโพ
3.โครงการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร รวม 4 เส้นทาง คือ
3.1.หนองคาย-ขอนแก่น, โคราช-แก่งคอย, ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-มาบตาพุด
3.2.กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่
3.3.กรุงเทพฯ-หัวหิน
3.4.กรุงเทพฯ-ระยอง

และ 4.โครงการพัฒนารถไฟฟ้าขนส่ง 5 เส้นทาง ประกอบด้วย สายสีส้ม, สายสีชมพู, สายสีเหลือง, สายสีแดงอ่อน และสายสีม่วง

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับแหล่งเงินลงทุนใน 20 โครงการนี้ มีสัดส่วนมาจากเงินงประมาณ 4.68% แผนบริหารหนี้สาธารณะ 70.46% ลงทุนร่วมภาคเอกชน(PPP) 20.98% เงินรายได้ 3.09% และเงินจากกองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง 0.79%

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมคาดว่าในปีงบประมาณ 2559 นั้น จะสามารถเบิกจ่ายเงินได้ราว 58,403 ล้านบาท แยกเป็นไตรมาสแรก(ต.ค.-ธ.ค.58) คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 1,808 ล้านบาท ไตรมาส 2(ม.ค.-มี.ค.59) คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 11,138 ล้านบาท ไตรมาส 3(เม.ย.-มิ.ย.59) คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 20,239 ล้านบาท และไตรมาส 4(ก.ค.-ก.ย.59) คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 25,216 ล้านบาท

สำหรับการคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วนปี 59 ที่เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในแนวตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งหากเป็นโครงข่ายทางหลวงจะมี 4 โครงการ คือ 1.ทางหลวงหมายเลข 12 แม่สอด-มุกดาหาร 2.ทางหลวงพิเศษ เชื่อมต่อซุปเปอร์คลัสเตอร์ ระหว่างท่าเรือทวาย-ท่าเรือแหลมฉบัง 3.ทางหลวงพิเศษ เชื่อมต่อซุปเปอร์คลัสเตอร์ ระหว่างท่าเรือทวาย-นครราชสีมา 4.ทางหลวงสายมุกดาหาร ตั้งแต่เริงนกทา-ท่าเรือแหลมฉบัง

ขณะที่โครงข่ายรถไฟตามแนวตะวันออก-ตะวันออก จะมี 2 โครงการ คือ
1.รถไฟตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตกตอนบน ตั้งแต่แม่สอด พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และ
2.รถไฟตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตกตอนล่าง ช่วงกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/12/2015 4:33 pm    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคม เล็งเปิดให้เอกชนเข้าร่วมทุนบริหารเดินรถไฟไทย-ญี่ปุน
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 1 ธันวาคม 2558 15:48:17 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ความร่วมมือไทยและญี่ปุ่นในโครงการพัฒนารถไฟเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เส้นทางบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-สระแก้ว และ ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ที่ได้ลงนามความร่วมมือเมื่อ 26 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้ทำข้อตกลง 3 ขั้นตอน โดยขั้นแรกเป็นการปรับปรุงเส้นทางรถไฟที่เป็นทางเดี่ยวก่อนเพื่อให้เปิดบริการขนส่งสินค้าได้ โดยปัจจุบันมีการขนส่งวันละ 2 เที่ยว และขนส่งผู้โดยสารวันละ 2 เที่ยว ทั้งนี้มีกำหนดการให้เปิดทดลองเดินรถโดยจะใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเล็กมาใช้

ขั้นตอนที่ 2 จะมีการจัดตั้งบรัษัทร่วมทุน เพื่อบริหารการเดินรถและจัดหารถไฟเข้ามาวิ่งเพิ่มเติม โดยขั้นตอนนี้คาดว่าจะสามารถจัดตั้งบริษัทให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/59 โดยจะเป็นการร่วมทุนของฝ่ายไทยโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)และฝ่ายญี่ปุ่น และเพื่อให้บริษัทเดินรถดังกล่าวมีความคล่องตัว บริหารงานแบบเอกชน รฟท.และญี่ปุ่นจะถือหุ้นฝ่ายละไม่เกิน 49% ที่เหลืออีก 2% ต้องหาหน่วยงานอื่นหรือบริษัทเอกชนเข้ามาถือหุ้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่จะเปิดให้เอกชนไทยเข้ามาร่วมทุน โดยอาจจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตรถไฟฟ้า หรือกลุ่มเอกชนที่มีความร่วมมือกัน

"ต้องหารือกับญี่ปุ่น เรื่องรูปแบบจัดตั้งบริษัท ขอบเขตการทำธุรกิจ คิดว่าจะหารือกันภายใน ธ.ค.นี้ หรือ ม.ค.ปีหน้า ถ้าได้ข้อสรุปรฟท.จะเสนอให้บอร์ดรถไฟน และส่งเรื่องมาที่กระทรวงคมนาคม....คาดว่าจะจัดตั้งบรัทได้ภายในไตรมาส 1 ปีหน้า เส้นทางนี้มึความน่าสนใจมากๆ ทั้งเรือ่งการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารที่มาในรูปการท่องเที่ยว" รมว.คมนาคม กล่าว

นายอาคม กล่าวว่า ขั้นตอนที่ 3 จะดำเนินเป็นโครงการทางคู่ ซึ่งอาจจะไม่ทำตลอดเส้นทาง โดยปัจจุบันเส้นทางฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เป็นทางรถไฟทางคู่ โดยคาดว่าในเดือน เม.ย.-พ.ค. 59 ทางญี่ปุ่นสรุปผลการศึกษารถไฟทางคู่เส้นทางนี้จากนั้นจะสามารถสรุปงบลงทุนทั้งหมด

ทั้งนี้ โครงการพัฒนารถไฟเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เส้นทางบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-สระแก้ว และ ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เป็นเส้นทางสำคัญที่ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 แห่ง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเมียนมาร์ เขตเศรษฐกิจพิเศษกาจจนบุรี เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และ การจัดตั้ง Super Cluster ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และที่ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งตามแนวตะวันออก-ตะวันตก(East-West Corridor) ได้แก่ ทางหลวงจากสะพานมิตรภาพด้านแม่สอด-สะพานมิตรภาพฯด้านมุกดาหาร ระยะทาง 777 กม.โดยจะทำเป็น 4 ช่องจราจร, ทางหลวงจากแหลมฉบังไปบ้านพุน้ำร้อน ไม่ใช้มอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และ กาญจนบุรี ระยะทาง 343 กม.

สำหรับเส้นทาง Upper East-West Corridor จากแม่สอด-เพชรบูรณ์-บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 910 กม. ส่วนเส้นทาง Lower East-West Corridor จากพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-สระแก้ว และฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ระยะทาง 574 กม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2015 10:29 pm    Post subject: Reply with quote

ผงะรถไฟไทย-จีน "ไทย"มึนตึ้บ เจอ"จีน"ประเมินต้นทุนขนส่งสูงกว่าเฉย
มติชน
วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 09:15:51 น.





เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมาหนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 873 กม. ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างรอทางจีนจัดทำข้อมูลรายละเอียดที่ยังไม่ชัดเจนส่งกลับมาให้พิจารณาภายในเดือนธันวาคมนี้ส่วนแบบก่อสร้างที่ฝ่ายจีนยังส่งไม่ครบก็ได้ขอให้จัดส่งภายในเดือนธันวาคมเช่นกันจากนั้นระหว่างธันวาคม2558-กุมภาพันธ์2559 จะจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมฉบับปรับปรุง ซึ่งจะใช้ข้อมูลบางส่วนจากจีนและข้อมูลของไทยในการจัดทำและนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

นายอาคมกล่าวว่า หลังจากได้รายละเอียดข้อมูลทั้งหมดแล้วจะสามารถสรุปรายละเอียดตัวเลขมูลค่าโครงการที่ชัดเจนและกำหนดได้ว่าจะใช้เงินกู้เท่าไรเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจนโดยฝ่ายไทยได้ขอสงวนสิทธิ์ในการขอตรวจสอบราคาค่าก่อสร้างที่ฝ่ายจีนประเมินมาด้วยเช่นในรายงานการศึกษาระบุว่าต้นทุนค่าขนส่งทางรางของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.02 บาทต่อตัน แต่ฝ่ายจีนเสนอราคาค่าขนส่งอยู่ที่ 2.8 บาทต่อตัน จึงได้ขอให้ฝ่ายจีนดำเนินการปรับแก้ไขแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าโครงการนี้ดูเหมือนฝ่ายจีนพยายามเอาเปรียบฝ่ายไทย นายอาคมกล่าวว่า เมื่อมีข้อเสนอข้อมูลตัวเลขต่างๆ ไม่ตรงกัน จึงขอให้ฝ่ายจีนดำเนินการปรับแก้ไข เรื่องเหล่านี้มีการพูดคุยกันตลอด และฝ่ายไทยจะตั้งคำถามทุกครั้งในเรื่องของตัวเลขที่ฝ่ายจีนประมาณการมาให้ ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมต้องถามรายละเอียดในรายงานการศึกษาและต้องชัดเจน

"การทำโครงการในบ้านเราจะต้องมีรายละเอียดของโครงการจะไม่มีการเขียนใบสั่งซื้อสินค้าและให้เขาส่งสินค้าเข้ามาแล้วมาคิดราคากันทีหลังเราต้องพิจารณาอย่างรอบคอบมากที่สุด"นายอาคมกล่าว

นายอาคมกล่าวด้วยว่า จากการโรดโชว์ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ มีการหารือร่วมกันจะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับญี่ปุ่น เพื่อดำเนินโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางกาญจนบุรี-กทม.-แหลมฉบังอรัญประเทศ และตกลงกันว่าจะเริ่มทดลองระบบขนส่งทางรถไฟ โดยนำตู้คอนเทนเนอร์ญี่ปุ่นมาวิ่งทดลอง และทดลองรับส่งผู้โดยสารไปด้วย โดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นจะดูแลเรื่องการบริหารจัดการเดินรถ และอาจจะลงทุนในตัวรถเพิ่มเติม โดยต้องคุยรายละเอียดร่วมกันอีก

"การไปญี่ปุ่นคราวนี้ยังไม่ได้คุยว่าใครจะเป็นคนลงเงินร่วมทุนเท่าไรหลังจากนี้ต้องหารือการจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจะหารือถึงการเปิดช่องให้เอกชนมาลงทุนด้วย"นายอาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2015 12:09 am    Post subject: Reply with quote

ท่านทูตจีนยืนยันว่ารัฐบาลจีน จะไม่ยึดที่รถไฟ ตามทางรถไฟ ไทย - จีนไปหากินแน่นอน
http://www.nationmultimedia.com/opinion/Thai-Chinese-relations-entering-a-new-era-of-tangi-30274063.html

รถไฟไทย-จีนวุ่น! สมคิดยุติลงนาม หลังจีนยึกยักตั้งแง่ซื้อยางพารา
มติชน
วันที่ 02 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 09:03:10 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีนว่า ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมของไทยจะประชุมร่วมกับทางการจีนครั้งที่ 9 ที่โรงแรมโอเรียลเต็ล กรุงเทพฯ เบื้องต้นจะยังไม่ลงนามกรอบความร่วมมือ ซึ่งเป็นกรอบการทำงาน ร่วมกัน (เฟรมเวิร์ก)ที่ครม.ได้อนุมัติมาก่อนหน้านี้

เนื่องจากทางการจีนขอเปลี่ยนตัวบริษัทคู่สัญญาที่จะซื้อยางพาราจากรัฐบาลไทยกะทันหันขณะเดียวกันก็ขอเปลี่ยนเงื่อนไขโดยขอซื้อเฉพาะยางพาราใหม่เท่านั้น ซึ่งขัดกับเงื่อนไขเดิมที่ตกลงกันไว้ว่าจะซื้อยางเก่า ดังนั้น หากเรื่องยางพารายังไม่ได้ข้อยุติ รัฐบาลไทยจะยังไม่ลงนามกับสัญญากับจีนเพิ่มเติม

"ตามกำหนดการเดิมกระทรวงคมนาคมจะเซ็นกรอบความร่วมมือด้านรถไฟในวันที่3 ธ.ค.นี้ จากนั้นในวันที่ 4 ธ.ค.จะเซ็นเรื่องข้าวและยางพารา แต่เมื่อยางพารายังไม่มีข้อสรุป จึงแจ้งไปที่จีนแล้วว่าจะตกลงอย่างไร เพราะนอกจากจะเปลี่ยนคู่สัญญาแล้ว ยังมีเรื่องเงื่อนไขการซื้อยางที่จะไม่ซื้อยางเก่า แต่จะซื้อยางใหม่ในตลาด ทั้งที่การเจรจาตั้งแต่ต้นจีนบอกว่าจะซื้อยางในโครงการมูลภัณฑ์ กันชนของไทย ดังนั้น การเซ็นสัญญาทั้ง 3 ฉบับจำเป็นต้องเลื่อนไปก่อน"

การเลื่อนลงนามออกไปเนื่องจากรัฐบาลไทยกำหนดไว้แล้วว่า ไทยกับจีนต้องลงนามความร่วมมือ 3 ฉบับ ไปพร้อมๆ กัน แต่เมื่อยางพารามีปัญหา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงให้นโยบายทุกหน่วยยุติการลงนามกับรัฐบาลจีนออกไปก่อน จนกว่าไทยและจีนจะได้ข้อสรุปเรื่องสัญญาขายยางพารา

นายอาคมกล่าวอีกว่าส่วนโครงการความร่วมมือไทยญี่ปุ่นหลังจากที่ลงนามในบันทึกความร่วมมือ พัฒนารถไฟไทย-ญี่ปุ่น เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตอนล่าง เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง-สระแก้ว ที่ประเทศญี่ปุ่น จากนี้ 2 ฝ่ายจะร่วมกันปรับปรุงราง ตั้งบริษัทร่วมทุนเดินรถร่วมกันและเริ่มทดสอบการเดินรถ และจะพัฒนาก่อสร้างเป็นทางคู่ในอนาคต

ส่วนการจัดตั้งบริษัท ร่วมทุนในการเดินรถ จะดำเนินการแล้วเสร็จเดือนม.ค.2559

สมคิด"เบรกทางคู่ไทย-จีน ครม.เคาะแอคชั่นแพลนโครงสร้างพื้นฐาน
ไทยโพสต์
วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2558 เวลา 0.00

“สมคิด” สั่งเบรก ถกรถไฟไทย-จีนรอบที่ 9 พร้อมระงับการเซ็นกรอบความร่วมมือ เหตุจีนแจ้งเปลี่ยนเงื่อนไขซื้อยาง “อาคม” เร่งหารือเดินรถร่วมไทย-ญี่ปุ่น ด้าน ครม.ไฟเขียวเดินหน้าแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วน จำนวน 20 โครงการ มูลค่า 1.79 ล้านล้านบาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน ว่า ในวันที่ 3 ธ.ค.2558 นี้ จะมีการประชุมร่วมกับฝ่ายจีนเป็นครั้งที่ 9 ที่โรงแรมโอเรียลเต็ล กรุงเทพฯ นี้จะยังไม่มีการลงนามกรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ซึ่งเป็นกรอบการทำงานร่วมกัน ที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติมาก่อนหน้านี้ เนื่องจากทางการจีนได้ขอเปลี่ยนตัวบริษัทคู่สัญญาที่จะซื้อยางพาราจากรัฐบาลไทย ขณะเดียวกันก็ขอเปลี่ยนเงื่อนไข โดยขอซื้อเฉพาะยางพาราใหม่เท่านั้น ซึ่งขัดกับเงื่อนไขเดิมที่ตกลงกันไว้ว่าจะซื้อยางเก่า ดังนั้นหากเรื่องยางพารายังไม่ได้ข้อยุติ จะยังไม่มีการลงนามกับจีนเพิ่มเติม

“การเลื่อนลงนามออกไป เนื่องจากรัฐบาลไทยกำหนดไว้แล้วว่าไทยกับจีนจะต้องมีการลงนามความร่วมมือ 3 ฉบับไปพร้อมๆ กัน แต่เมื่อยางพารามีปัญหา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงให้นโยบายทุกหน่วยยุติการลงนามกับรัฐบาลจีนออกไปก่อน จนกว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องสัญญาขายยางพารา" นายอาคมกล่าว

นายอาคมกล่าวว่า ส่วนโครงการความร่วมมือไทยญี่ปุ่น หลังจากที่มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperate : MOC) พัฒนารถไฟไทย-ญี่ปุ่น เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตอนล่าง เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง-สระแก้ว เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2558 ที่ผ่านมา ขั้นตอนจากนี้จะดำเนินการปรับปรุงราง เริ่มทดสอบการเดินรถ การร่วมทุนการเดินรถ และก่อสร้างทางคู่ในอนาคต ซึ่งจะดำเนินการไปพร้อมๆ กัน คาดว่าการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในการเดินรถจะดำเนินการแล้วเสร็จเดือนม.ค.2559

นายอาคมกล่าวว่า ครม.เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน (Action Plan) ปี 2559 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในปี 2558-2565 ที่มีความพร้อมจะเริ่มประกวดราคาได้ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยระยะเร่งด่วน 20 โครงการ มูลค่า 1.79 ล้านล้านบาท

สำหรับโครงการที่มีความพร้อมและได้รับการอนุมัติจาก ครม. ซึ่งจัดให้อยู่ในกลุ่ม 1 ที่มีความพร้อมมากที่สุด และจะประกวดราคาภายในปี 2558 หรือไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2559 มี 6 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 186,000 ล้านบาท คือ
1.รถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น
2.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) สายพัทยา-มาบตาพุด
3.มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา
4.การพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือเอ) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง
5.การพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 1 และ
6.การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะ 2.

//-------------

หวั่นความสัมพันธ์ไทย-จีนสั่นคลอน
เดลินิวส์
วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2558 เวลา 8:15 น.
หวั่นความสัมพันธ์ไทย-จีนสั่นคลอน “สมคิด” เบรกลงนามความร่วมมือ รถไฟทางคู่-ข้าว-ยางพารา หลังจีนยึกยัก ไม่ซื้อยางพาราเก่า

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะยังไม่ลงนามกรอบความร่วมมือรถไฟไทยจีน เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราช สีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนารถไฟทางคู่ไทย-จีน ครั้งที่ 9 ในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ เนื่องจากทางการจีน ได้ขอเปลี่ยนตัวบริษัทคู่สัญญาที่จะซื้อยางพาราจากรัฐบาลไทย ขณะเดียวกันเปลี่ยนเงื่อนไขจะขอซื้อยางพาราใหม่เท่านั้น ซึ่งขัดกับเงื่อนไขเดิมที่ตกลงกันไว้ว่าจะซื้อยางเก่า ดังนั้นหากเรื่องยางพารายังไม่ได้ข้อยุติ จะยังไม่ลงนามกับจีนเพิ่มเติม “แม้ครม.จะได้อนุมัติมาแล้ว เพื่อให้กระทรวงคมนาคมลงนามกรอบความร่วมมือด้านรถไฟวันที่ 3 ธ.ค.นี้ จากนั้นวันที่ 4 ธ.ค.จะลงนามเรื่องข้าว และยางพารา แต่ยางพารายังไม่มีคำตอบ ก็ได้แจ้งไปที่จีนแล้วว่าจะตกลงอย่างไร เพราะนอกจากจะเปลี่ยนคู่สัญญาแล้ว ยังมีเรื่องเงื่อนไขการซื้อยางที่จะไม่ซื้อยางเก่า แต่จะซื้อยางใหม่ในตลาด ทั้งที่การเจรจาตั้งแต่ต้น จีนบอกว่าจะซื้อยางในโครงการมูลพันธ์กันชนของไทย ดังนั้นทุกสัญญาก็ต้องเลื่อนไปก่อน โดยเรื่องยางพาราจะเป็นเรื่องของกระทรวงเกษตร ส่วนข้าวเป็นของกระทรวงพาณิชย์” สำหรับการเลื่อนลงนามออกไป เนื่องจากรัฐบาลไทยกำหนดไว้แล้ว ว่าไทยกับจีนจะต้องลงนามความร่วมมือ 3 ฉบับไปพร้อม ๆ กัน แต่เมื่อยางพารามีปัญหานายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงให้นโยบายทุกหน่วยยุติการลงนามกับรัฐบาลจีนออกไปก่อนจนกว่าไทยและจีนจะได้ข้อสรุปเรื่องสัญญาขายยางพารา ส่วนความคืบหน้าการพัฒนารถไฟไทย-ญี่ปุ่น เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตอนล่างเมื่อวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น จะดำเนินการ 3 ขั้นตอนไปพร้อมกัน ทั้งการปรับปรุงราง การทดสอบการเดินรถ ตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อการเดินรถ และก่อสร้างทางคู่ในอนาคต โดยการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน จะทำเสร็จเดือนม.ค.59 ซึ่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะศึกษาและเสนอมาที่คณะคณะกรรมการร.ฟ.ท.เพื่อเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา“
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2015 3:48 pm    Post subject: Reply with quote

"สมคิด"ยัน19ธ.ค.วางศิลาฤกษ์รถไฟไทย-จีนตามกำหนด ลั่น! แค่ลือไม่เคยสั่งชะลอลงนาม
มติชน
วันที่ 02 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 12:23:54 น.

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ที่อาคารสำนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ถนนพระราม 9 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวถึงกรณีสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (เอฟเอเอ) ของสหรัฐอเมริกาประกาศลดอันดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินของไทยจากประเภทที่ 1 มาเป็นประเภทที่ 2 เนื่องจากมาตรฐานการบินของไทยไม่เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ)ว่า ต้องยอมรับว่ามาตรฐานของเรายังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร หากคิดเป็นมูลค่าการเงิน ถือว่ามีผลไม่มากเท่าไร แต่ในเรื่องของความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ ถือว่ามีผลกระทบพอสมควร อย่างไรก็ตาม ต้องมองในแง่สร้างสรรค์ ทำให้เกิดการพัฒนาตัวเองให้กลับมามีมาตรฐานสากลอีกครั้ง

"กรมการบินพลเรือน (บพ.) จะต้องพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ไม่ใช่ทำอะไรไม่ได้มาตรฐาน ทำไปเรื่อยๆ และจะมาบอกว่าคนนู้นคนนี้มาแกล้งก็ไม่ได้ บพ.ต้องปรับแก้ไข ไม่ใช่เพียงโครงสร้างองค์กรที่เป็นเปลือกนอก แต่รวมทั้งกระบวนการทำงาน และคนด้วย" รองนายกฯกล่าวและว่า ส่วนที่กังวลว่าจะกระทบด้านการท่องเที่ยว ขอยืนยันว่าคนยังมาท่องเที่ยวในไทยอยู่

ส่วนกรณีการเลื่อนลงนามความร่วมมือในโครงการรถไฟไทย-จีน ในวันที่ 3 ธันวาคมนี้ ออกไปก่อนนั้น นายสมคิด กล่าวว่า ขอให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดูข้อความเอกสารที่จีนส่งมาให้ก่อน หากเงื่อนไขรายละเอียด และเอกสารความร่วมมือพร้อม ก็ไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งทุกอย่างต้องทำให้เสร็จก่อนรองนายกรัฐมนตรีจีนจะเดินทางมาประเทศไทย ส่วนวันที่ 19 ธันวาคม ที่จะจัดพิธีเริ่มต้นโครงการโดยวางศิลาฤกษ์ศูนย์ควบคุมการเดินรถ (OCC) ที่สถานีรถไฟเชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างไทย-จีนนั้น ยังมีอยู่ แต่ป็นเพียงสัญลักษณ์ ต้องดูเงื่อนไขเอกสารด้วยว่าจะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

นายสมคิด กล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รถไฟไทย-จีนด้วยว่า ขอให้นายอาคมหารือกับจีนก่อน โดยไทยต้องได้ประโยชน์ จีนก็ต้องได้เช่นกัน "หากเราได้ จีนไม่ได้ หรือจีนได้ เราไม่ได้ก็ต้องเจรจากัน ส่วนข่าวลือที่บอกว่า ผมบอกให้มีการชะลอลงนามรถไฟไทยจีนไปก่อนนั้น ไม่เป็นความจริง" นายสมคิด กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2015 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
Source: Bangkok Post
http://www.bangkokpost.com/news/general/782121/somkid-shelves-rail-project-with-china
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2015 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

รบ.กำชับการรถไฟฯ เร่งทำ TOR ให้เปิดใช้งานสถานีกลางบางซื่อทันปี 62
โดย MGR Online 2 ธันวาคม 2558 15:46 น.

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อ ว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ ที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลาง(HUB) ของการคมนาคมขนส่งทางรางของประเทศ และของภูมิภาค ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อของการขนส่งทางรางหลายสาย อาทิ ทางรถไฟฟ้าสายสีแดง เส้นทางแอร์พอร์ตลิงก์ เชื่อมต่อจากสถานีมักกะสัน บางซื่อ และดอนเมือง และเส้นทาง Lower east west corridor เชื่อมต่อระหว่าง กาญจนบุรี ไปแหลมฉบัง โดยพื้นที่ของสถานีกลางบางซื่อ มีทั้งสิ้น 2,325 ไร่ แต่มีการจัดสรรเพื่อใช้ในการพัฒนา 218 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 โซน อาทิ โซนสำหรับธุรกิจโรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า อาคารบ้านพักของเจ้าหน้าที่ และพื้นที่จอดรถ

ทั้งนี้ นายออมสิน ยอมรับว่า การพัฒนาพื้นที่บางจุดยังมีความล่าช้า โดยเฉพาะการพัฒนาในพื้นที่โซน c ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งหมอชิต แต่ปัจจุบันได้หมดสัญญาเช่าพื้นที่จากการรถไฟแล้ว และอยู่ในระหว่างการจัดหาสถานที่แห่งใหม่ ขณะเดียวกันยังกล่าวว่า ขณะนี้มีเอกชนจำนวนมาก สนใจที่จะร่วมลงทุนในพื้นที่โดยรอบของสถานีกลางบางซื่อ แต่อาจจะติดขัดในเรื่องของกระบวนการทำงานของภาครัฐ ที่ยังคงล่าช้า โดยเฉพาะการสำรวจผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)

อย่างไรก็ตาม นายออมสิน ย้ำว่า รัฐบาลพยายามเร่งรัด เพื่อให้เกิดการลงทุนโดยเร็ว โดยได้กำชับให้การรถไฟเร่งทำ TOR กับภาคเอกชน เพื่อให้สามารถเปิดใช้งานสถานีกลางบางซื่อได้ภายในปี 2562
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2015 9:50 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รบ.กำชับการรถไฟฯ เร่งทำ TOR ให้เปิดใช้งานสถานีกลางบางซื่อทันปี 62
โดย MGR Online 2 ธันวาคม 2558 15:46 น.


Plans for Bang Sue Grand Station area well on track
SASITHORN ONGDEE
THE NATION December 3, 2015 1:00 am
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 57, 58, 59 ... 121, 122, 123  Next
Page 58 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©