Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311331
ทั่วไป:13292220
ทั้งหมด:13603551
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44915
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/03/2013 7:44 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดสารพัด “โครงการ” รบ.ปู ใช้เงินกู้ก้อนประวัติศาสตร์ 2 ล้านล้าน
วันพุธที่ 20 มีนาคม 2013 เวลา 10:00 น. เขียนโดย isranews

ที่มา – เอกสารสรุปรายชื่อโครงการภายใต้แผนงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งประเทศ

ตามที่ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2556 มีมติเห็นชอบ “ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ....” หรือร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงการคลัง ระบุว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงินฉบับนี้แตกต่างจาก พ.ร.บ.กู้เงินฉบับอื่นๆ เนื่องจากมีการแนบรายชื่อโครงการไปกับตัวร่าง พ.ร.บ.กู้เงินด้วย

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้รับเอกสารสรุปโครงการที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งไว้สำหรับใช้งบประมาณจาก พ.ร.บ.กู้เงินดังกล่าว โดยมีการแบ่งออกเป็น 3 ยุทธศาสตร์หลัก มีรายละเอียดดังนี้

-----

1. ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า วงเงิน 354,560 ล้านบาท

1.1 แผนงานพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นโครงข่ายการขนส่งหลักของประเทศ
1) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ
2) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายปากน้ำโพ – เด่นชัย
3) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิยะ
4) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายถนนจีระ – ขอนแก่น
5) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายขอนแก่น – หนองคาย
6) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายถนนจิระ – อุบลราชธานี
7) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายนครปฐม – หัวหิน
8) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์
9) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร
10) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายชุมพร – สุราษฎร์ธานี
11) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่สายสุราษฎร์ธานี – ปาดังเบซาร์
12) โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ (ปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว)
- งานเสริมความมั่นคงโครงสร้าง (Track Strengthening)
- งานเปลี่ยนหรือเสริมความมั่นคงสะพานที่ชำรุดหรือรับน้ำหนักกดเพลามาตรฐาน U.20
- งานติดตั้งรั้วสองข้างทางตามแนวเขตทางรถไฟ
13) โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับ และปรับปรุงเครื่องกั้น
14) โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ
15) โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
16) โครงการก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่แก่งคอย
17) โครงการสะพานข้ามทางรถไฟ จำนวน 83 แห่ง และงานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ รฟท.สำหรับก่อสร้างสะพาน ทล.
18) โครงการแก้ไขและป้องกันปัญหาอุบัติเหตุจรจา ก่อสร้างสะพาน และอุโมงค์ข้ามทางรถไฟ (25 โครงการ)

1.2 แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการชนส่งสินค้าทางลำน้ำและชายฝั่ง
1) โครงการก่อสร้างท่าเรือที่จังหวัดชุมพร
2) โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2
3) โครงการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางน้ำเพื่อการประหยัดพลังงานที่จังหวัดอ่างทอง
4) โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล (ระยะที่ 1)
5) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งในแม่น้ำป่าสัก

1.3 แผนงานพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงกันฐานการผลิตและฐานการส่งออกที่สำคัญของประเทศ
1) แผนพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางถนนด้วยรถบรรทุก จำนวน 15 แห่ง
- เมืองชายแดน 7 แห่ง ได้แก่ เชียงราย ตาก หนองคาย มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา และนราธิวาส
- เมืองหลัก 8 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี และสุราษฎร์ธานี

2) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมทางบ้านภาชี – นครหลวง เชื่อมโยงกับท่าเรือในแม่น้ำป่าสัก ที่ อ.นครหลวง

2. ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วงเงิน 1,042,376 ล้านบาท
2.1 แผนงานพัฒนาประตูการค้าหลักและประตูการค้าชายแดน
1) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านศุลกากร ของกรมศุลกากร
2) โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย
- ระยะที่ 1 : สำรวจและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เวนคืนที่ดิน ก่อสร้าง และควบคุมงาน
- ระยะที่ 2 : ก่อสร้างอาคารศูนย์เปลี่ยนถ่ายและบรรจุสินค้าเพิ่มเติม และอาคารอื่นๆ
3) โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
4) โครงการแผนการพัฒนาทางหลวงชนบทเชื่อมต่อด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง
- โครงการสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- โครงการสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือแหลมฉบัง
- โครงการสนับสนุนท่าเทียบเรือเชียงแสน จ.เชียงราย
2.2 แผนงานพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค
1) โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ – เชียงใหม่
2) โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ – หนองคาย
3) โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ – ปาดังเบซาร์
4) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ต่อจากสนามบินสุวรรณภูมิ – ชลบุรี – พัทยา – ระยอง
5) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ
6) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่ – นครพนม
7) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย บางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าก่อสร้าง และควบคุมงาน)
8) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย บางใหญ่ – บ้านโป่ง – กาญจนบุรี (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน)
9) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย พัทยา – มาบตาพุด (ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน)

3. ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 593,801 ล้านบาท
3.1 แผนพัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง
1) โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน – หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง
2) โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
3) โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง – บางซื่อ – พญาไท
4) โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน
5) โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา
6) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง – บางแค
7) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ
8) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต
9) โครงการถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี
10) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสมุทรปราการ – บางปู
11) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี
12) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ
13) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – หัวลำโพง

3.2 แผนงานพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภายในประเทศ
1) โครงการเร่งรัดขยาย 4 ช่องจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง
2) โครงการแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ปริมณฑลและเมืองใหญ่ในภูมิภาค
3) โครงการก่อสร้างบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค
4) โครงการถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทยพื้นที่ภาคกลางตอนล่างต่อเนื่องภาคใต้ตอนบน (Royal Coast)

แผนงานการส่งเสริมหรือสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศตามยุทธศาสตร์ วงเงิน 9,261 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Kan
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/07/2010
Posts: 189
Location: กรุงเทพ - ชุมทางทุ่งสง

PostPosted: 21/03/2013 8:40 pm    Post subject: Reply with quote

น่ายินดีที่จะเป็นทางคู่ติดระบบไฟฟ้า แต่รถจักรที่จะจัดซื้อและปรับปรุงทุกโครงการและรถจักรที่ใช้การได้เดิม

รวมเป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้ากว่า 200 คัน ยังไม่นับ รถพ่วง และรถโดยสารนานาชนิดจะเป็นปัญหาในอนาคตหรือไม่อย่างไร

และน่าเสียดายว่าไม่มีการพูดถึง ทางรถไฟ missing link ระหว่างเรากับประเทศเพื่อนบ้านเลยนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44915
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/03/2013 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

ทางคู่ ไม่ได้ติดระบบไฟฟ้าหรอกครับ ผมคิดว่าหนังสือพิมพ์คัดลอกมาผิด Sad
เพราะในฐานเศรษฐกิจก็ใช้คำว่ารถไฟทางคู่ เฉย ๆ ครับ

สำหรับรถไฟเชื่อมเพื่อนบ้านที่เป็น missing link นั้น ถ้าเป็นอรัญประเทศ-คลองลึก ได้งบประมาณแผ่นดินปี 56 เรียบร้อยแล้วครับ ไม่ได้อยู่ใน พรบ.ฉบับนี้
แต่ไม่ได้พูดถึงทางรถไฟเชื่อมพม่าแต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44915
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/03/2013 2:53 pm    Post subject: Reply with quote

ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ....
Arrow http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/hr24/d032856-01.pdf
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44915
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/04/2013 5:57 pm    Post subject: Reply with quote

กดปุ่ม 2 ล้านล. ลอตแรก Q3 ลุย "ไฮสปีดเทรน-มอเตอร์เวย์-ทางคู่"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 04 เม.ย 2556 เวลา 16:56:26 น.

คมนาคมกดปุ่มเคาะประมูลลอตแรกโครงการ 2 ล้านล้านปีนี้ มูลค่ากว่า 5 แสนล้าน ประเดิมรถไฟฟ้า 2 สาย "เขียว-ชมพู" ตั้งไข่ไฮสปีดเทรน 4 สาย ร.ฟ.ท.สบช่องเทกระจาด งานปรับปรุงราง-ทางคู่ 5 สาย ส่วนกรมทางหลวงซอยยิบงานซ่อม-ขยาย 4 เลนเชื่อมเพื่อนบ้าน-มอเตอร์เวย์ไปโคราช สานต่อถนน "รอยัลโคสต์" ไปภาคใต้

Click on the image for full size

ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...หรือร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 และ 3 คาดว่าต้องใช้เวลาถึงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ กว่ากระบวนการในรัฐสภาจะแล้วเสร็จ

ดังนั้นเพื่อให้การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทเดินหน้าไปได้ควบคู่กัน กระทรวงคมนาคมซึ่งรับผิดชอบดูแลเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน กว่า 80-90% ได้เตรียมความพร้อมล่วงหน้าให้สามารถเปิดประมูลแต่ละโครงการได้โดยเร็วที่สุด

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เบื้องต้นมีโครงการในร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่กระทรวงพร้อมเปิดประมูลได้ทันที มูลค่างานรวม 515,176 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีแบบรายละเอียดทั้งหมด และได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว และบางโครงการไม่ต้องทำอีไอเอ

สายสีเขียว-ชมพู จ่อคิวประมูล

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในส่วนของคมนาคมมีโครงการที่พร้อมประมูลในปี 2556 อาทิ รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วงเงิน 58,590 ล้านบาท สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 58,624 ล้านบาท รถไฟทางคู่, ถนน 4 ช่องจราจร, มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-สระบุรี-โคราช เป็นต้น วิธีประมูลมีทั้งอีออกชั่น ของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการรถไฟฯ ส่วนรถไฟฟ้าจะประมูลแบบนานาชาติ


ซื้อรถตั้งไข่ไฮสปีดเทรน 4 สาย

สำหรับรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) คาดว่าจะเปิดประกาศเชิญชวนให้ทั่วโลกประมูลเฉพาะในส่วนการจัดซื้อระบบและรถไฟฟ้าก่อนทั้ง 4 สาย ไตรมาส 3 ปีนี้ คิดเป็นมูลค่างาน 20% หรือ 156,645 ล้านบาท ของเงินลงทุนรวมทั้ง 4 โครงการ 783,229 ล้านบาท ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งจะก่อสร้างถึง จ.นครราชสีมาก่อนในเฟสแรก, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ เฟสแรกถึงหัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง ส่วนงานโยธาจะเปิดประมูลได้ในปี 2557


ร.ฟ.ท.เทกระจาด 1.34 แสนล้าน

ขณะที่นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า โครงการของ ร.ฟ.ท.ที่พร้อมประมูลปีนี้ วงเงินรวม 134,176.60 ล้านบาท เป็นโครงการที่โยกมาจากกรอบวงเงิน 176,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วอนุมัติไว้ แต่ยังไม่ได้รับจัดสรรเงิน เป็นโครงการเร่งด่วนจึงขอจัดสรรงบฯจากเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท

ประกอบด้วย งานปรับปรุงทางรถไฟ 406 ล้านบาท ปรับปรุงรางรับน้ำหนักได้ 100 ปอนด์ 11,388 ล้านบาท ติดตั้งรั้วสองข้างทาง 3,430 ล้านบาท ติดตั้งเครื่องกั้น 4,368 ล้านบาท ปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสี 7,281 ล้านบาท ติดตั้งโครงข่ายคมนาคม 2,152 ล้านบาท แต่ละโครงการเริ่มต้น 2,000-3,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ มีรถไฟทางคู่ 5 สาย ระยะทาง 797 กิโลเมตร วงเงินรวม 105,148 ล้านบาท คือ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กิโลเมตร สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร สายจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร สายนครปฐม-หัวหิน 165 กิโลเมตร และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดประมูลพร้อมกันทั้ง 5 สาย สายละ 1 สัญญา รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 7,688 ล้านบาท กำลังรอบริษัทที่ปรึกษาว่าต้องทำอีไอเอเพิ่มหรือไม่ หากทันจะเปิดประมูลปีนี้เช่นกัน


ทล.ซอยงานถนน-มอเตอร์เวย์

เช่นเดียวกับที่นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ระบุว่า มีงานกรมทางหลวงพร้อมประมูลและเซ็นสัญญาในปีงบฯ 2556 หรือก่อนเดือนกันยายนนี้ 85,754 ล้านบาท แบ่งประมูลตามมาตรฐานของงาน และชั้นผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนกับกรมไว้ เพื่อกระจายงานให้ผู้รับเหมาได้งานถ้วนหน้า

งานพร้อมประมูลปีนี้ ได้แก่ โครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร 30% หรือ 24,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 45 โครงการ 80,610 ล้านบาท แบ่งประมูลสัญญาละ 500-600 ล้านบาท บูรณะทางสายหลักระหว่างภาค 235 โครงการ 31,600 ล้านบาท ประมูลปีนี้ 20,000 ล้านบาท สัญญาละ 90 ล้านบาท

โครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช 196 กิโลเมตร เฉพาะค่าก่อสร้าง 78,000 ล้านบาท ปีนี้จะเริ่มประมูลก่อน 50% หรือ 39,000 ล้านบาท ผู้รับเหมาจะให้เฉพาะชั้นพิเศษเข้าร่วมประมูล

นอกจากนี้ มีโครงการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 11 โครงการ มูลค่าลงทุน 13,770 ล้านบาท จะประมูลปีนี้ 20% หรือ 3-4 โครงการ 2,754 ล้านบาท แบ่งประมูลสัญญาละ 300-700 ล้านบาท ส่วนสะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่ง 23,280 ล้านบาท รอรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ จะเปิดประมูลปี 2557

"จะทยอยประมูลและเซ็นสัญญางานก่อสร้างตั้งแต่ปีนี้ เช่น งานบูรณะทางสายหลักประมูล 2 ปี คือ ปี 2556-2557 งานขยาย 4 เลน 3 ปี ปี 2556-2558"

สตาร์ตรอยัลโคสต์ 22 โครงการ

ด้านนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ในส่วนของ ทช.มีโครงการพร้อมประมูลทันทีในปีนี้ 10,000 ล้านบาท กว่า 20 โครงการ เช่น ถนนรอยัลโคสต์ 22 โครงการ 4,192 ล้านบาท เฟสแรกจะประมูลก่อน 2,000 ล้านบาท ถนนสายองครักษ์-บางน้ำเปรี้ยว 33 กิโลเมตร 1,796 ล้านบาท ถนนสายแยกทางหลวง 314-ลาดกระบัง 20.33 กิโลเมตร 3,969 ล้านบาท เป็นต้น

เจ้าท่าประมูลเขื่อนแม่น้ำป่าสัก

ส่วนกรมเจ้าท่า (จท.) นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดี จท. เปิดเผยว่า โครงการที่พร้อมประมูลปีนี้หลัก ๆ คือ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งน้ำพังในแม่น้ำป่าสัก วงเงิน 11,387.87 ล้านบาท ขณะที่โครงการอื่น ๆ เช่น ท่าเรือชุมพร ท่าเรือสงขลา แห่งที่ 2 ท่าเรือน้ำลึกปากบารา และสถานีขนส่งทางน้ำที่อ่างทอง ต้องทำอีไอเอก่อน จะเริ่มประมูลในปี 2557

โต้งถก กมธ. 2 ล้านล.นัดแรก

สำหรับความคืบหน้าในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน วาระที่ 2 วันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯจัดประชุมเป็นครั้งแรก ก่อนเริ่มประชุม นายชัย ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมชั่วคราว เนื่องจากอาวุโสสูงสุด ก่อนให้ที่ประชุมเสนอชื่อบุคคลที่จะมาทำหน้าที่เป็นประธาน รองประธาน 6 คน เลขานุการ 1 คน ฯลฯ

ซึ่งที่ประชุมเลือกนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและ รมว.คลัง เป็นประธาน กมธ. ่รองประธาน กมธ. 1.นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ 2.นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหาร

พรรคไทยรักไทย 3.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วิทยาศาสตร์ฯ 4.นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 5.นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย 6.นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เลขานุการคือ นายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ผู้ช่วยเลขานุการ 2 คน 1.นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ผู้ช่วย รมต.ประจำสำนักนายกฯ 2.นายอนุชา บูรพชัยศรี ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์

จากนั้นที่ประชุมได้วางปฏิทินการประชุม นัดประชุมทุกวันจันทร์และอังคาร เริ่มประชุมครั้งแรก 9-30 เมษายนนี้ จากนั้นจะหารือปรับเปลี่ยนการประชุมอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม กรอบการประชุมวันที่ 9 เมษายน จะพิจารณา 1.ความจำเป็นของการลงทุน 2.แหล่งที่มาของเงิน 3.การบริหารจัดการโครงการ 4.กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 04/04/2013 7:19 pm    Post subject: Reply with quote



คมชัดลึก 03 เมษายน 2556 ตอน ระบบราง...2ล้านล้าน ?

ผู้ร่วมรายการ จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร,
รศ.ดร.ครรชิต ผิวนวล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจราจร ขนส่ง,
ดร.วัชระ สัตยาประเสริฐ กรรมการสมาคมวิทยาการจราจรและขนส่งแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44915
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/04/2013 9:13 am    Post subject: Reply with quote

เอกสารประกอบการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ....

รายละเอียดโครงการภายใต้แผนงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ
กระทรวงการคลัง
Arrow http://songkhlaline.com/download/PITLProjects_V2.pdf

----
น่าสังเกตว่า หน้า 59 ทางรถไฟสายใหม่บ้านภาชี-นครหลวง มีระยะทางประมาณ 15 กม. เท่านั้น
เหตุใดจึงปรากฏในเอกสารอื่น ๆ ว่า 23 กม.
(จะคิดว่าเป็นรถไฟทางคู่ หรือรวมระยะทางในย่านแล้ว ก็ไม่น่าจะใช่นะครับ)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44915
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2013 3:03 pm    Post subject: Reply with quote

รองโฆษก รบ.ยันเดินหน้า พ.ร.บ.กู้เงิน ไม่สน"มาร์ค"ขอให้ถอน
มติชนออนไลน์ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 13:25:51 น.

ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ท.หญิง สุนิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลถอนกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ออกจากการพิจารณาของรัฐสภา ว่า รัฐบาลยืนยันว่ามีความพร้อมในการเดินหน้าโครงการ ซึ่งการที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศึกษารายละเอียดความคุ้มค่าการลงทุนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะรัฐบาลเคยชี้แจงว่าต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส ทุกโครงการต้องผ่านการกลั่นกรองของ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สภาพัฒน์ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ

"รัฐบาลยืนยันว่าโครงการไทยแลนด์ 2020 มีกระบวนการตรวจสอบหลายชั้น เพื่อป้องกันการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นเรื่องดีเพราะได้สะท้อนความรัดกุม ส่วนที่ ปชป.บอกว่าจะติดตามตรวจสอบโครงการต่างๆ รัฐบาลก็ยินดี เพราะมั่นใจว่าทุกขั้นตอนมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และรัฐบาลอยากให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอยู่แล้ว และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็ยืนยันว่าพร้อมจะนำข้อเสนอแนะของทุกฝ่ายไปใช้ในการปรับปรุงโครงการ" ร.ท.หญิงสุนิสากล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44915
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2013 7:58 am    Post subject: Reply with quote

แนะรัฐชั่่งน้ำหนักแผนลงทุน 2 ล้านล้าน คุ้มทุนหรือไม่
เดลินิวส์ วันพุธที่ 24 เมษายน 2556 เวลา 07:00 น.

ทีดีอาร์ไอ ระบุ โครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มี 18 โครงการที่ยังไม่ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ขณะที่ 11 โครงการที่ยังคลุมเครือ หวั่นไม่คุ้มทุน ชี้ ปี 63 หนี้อาจพุ่งถึง 75% ต่อจีดีพี หากลงทุนไม่เหมาะสม แนะรัฐบาลควรดำเนินการอย่างรอบคอบ พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในทุกโครงการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม

กรณีอภิมหาโปรเจกต์ กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินนอกระบบงบประมาณ ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยสภาผู้แทนราษฎรผ่านความเห็นชอบวาระแรกแล้วนั้น เป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อนำมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศครั้งใหญ่ ทำให้เกิดข้อกังขาและคำถามต่างๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะงบประมาณในการก่อสร้างที่มีมูลค่าสูงเกินไป เมื่อเทียบกับความคุ้มค่าการลงทุนในด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA

อย่างไรก็ตามขณะนี้ร่างดังกล่าวอยู่ในวาระที่สองของการแปรญัตติซึ่งยังมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยและประเทศไทยได้ ล่าสุด สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้ออกมานำเสนอบทวิเคราะห์พร้อมข้อเสนอแนะในการเสวนาสาธารณะ "ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เดินหน้าอย่างไรให้ถูกทาง คุ้มค่า และเป็นประชาธิปไตย" ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดย

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า โครงการในการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พัฒนาด้านการขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาทนี้ ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับความคุ้มค่าในการลงทุนเท่าที่ควร และเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. ในส่วนของการใช้เงินนอกงบประมาณที่ให้อำนาจสภาร่วมพิจารณาเพียงครั้งเดียวนั้น เป็นการตรึงอำนาจและขาดความเป็นประชาธิปไตย เนื่องจากให้อำนาจฝ่ายบริหารในการกำหนดรายละเอียดเป็นเวลาถึง 7 ปี ซึ่งเป็นการข้ามช่วงอายุปกติของรัฐสภา เพราะบัญชีท้าย พ.ร.บ.กำหนดเพียงจุดเริ่มต้นและปลายทางของเส้นทางรถไฟ แต่ไม่ได้กำหนดแนวเส้นทางระหว่างทางว่าผ่านพื้นที่ใดจังหวัดใดบ้าง และเป็นการก้าวล่วงอำนาจของสภาชุดต่อไปในการกลั่นกรองให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากปรับเปลี่ยนให้เป็นงบประมาณประจำปีจะทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบได้

นอกจากนี้ นายสมชัยยังตั้งข้อสังเกตว่า โครงการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ที่ยังไม่ตอบโจทย์ในด้านการลดต้นทุนการขนส่งหรือความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การเงินเท่าที่ควร เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงจะเน้นการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเบาและการขนส่งคนเป็นหลัก ซึ่งเป็นการบริการให้กับประชาชนที่มีกำลังพอที่จะโดยสารได้ อาจส่งผลกระทบต่อรายจ่ายของรัฐในการพัฒนาประเทศ เมื่อเทียบกับรถไฟทางคู่ที่ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์และสร้างความสามารถในการแข่งขันระยะยาวของประเทศได้ดีกว่า

ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอ ประเมินเบื้องต้นว่าการลงทุนดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 5.5%ต่อปีในช่วงปี 2557-2563 โดยมีอัตราเงินเฟ้อ 2.75% ต่อปี ซึ่งหากลงทุนคุ้มค่าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง 8.25% ต่อปี แต่หากลงทุนไม่คุ้มค่าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 7.5% ขณะที่ระดับหนี้สาธารณะ จะเพิ่มสูงถึง 75% ต่อจีดีพีในปี 2563 ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐในเรื่องอื่นๆด้วย

เช่นเดียวกับนายสุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการลงทุนระยะยาวตามร่าง พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี โดยมองว่าหากโครงการนี้ถูกดำเนินการอย่างรอบคอบและคุ้มค่าจะเป็นการสร้างรากฐานให้แก่ประเทศ ซึ่งในส่วนของผลกระทบต่อความเสี่ยงด้านการคลังยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่ขณะเดียวกันยังมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงหลายประการในโครงการนี้ เนื่องจากมีโครงการจำนวนมากที่ยังไม่ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้ด้านความคุ้มค่าทางการเงินอย่างละเอียด ถึง 11 โครงการ รวมวงเงินสูงกว่า 9 แสนล้านบาท โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง ตนมองว่าไม่มีทางถึงจุดคุ้มทุนอย่างแน่นอน เพราะจำนวนผู้โดยสารในปีแรกจะเป็นดัชนีชี้วัดว่าโครงการประสบความสำเร็จหรือไม่ และหากจะคุ้มค่าการลงทุนจะต้องมีผู้โดยสารในปีอย่างน้อย 9 ล้านคน พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ตั้งเป้าผู้โดยสาร 6 แสนคนต่อวัน แต่ปัจจุบันมีเพียง 2 แสนคนเท่านั้น อีกทั้งยังมีโครงการที่ยังไม่ได้ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีก 18 โครงการ วงเงินกว่า 5 แสนล้านบาท สิ่งเหล่านี้รัฐบาลไม่ควรมองข้าม

นอกจากนี้บทวิเคราะห์ของทีดีอาร์ไอได้ให้ข้อเสนอแนะ 9 ข้อ ในการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ดังนี้
1. เพิ่มรายละเอียดระดับโครงการในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ เพื่อให้รัฐสภาได้กลั่นกรองและให้ความเห็นชอบในรายละเอียดที่เหมาะสม
2. ให้โครงการลงทุนทุกโครงการต้องผ่านการศึกษาความเป็นไปได้โดยหน่วยงานที่เป็นกลางและมีผู้ตรวจสอบอิสระ (Independent Peer Review) ตรวจสอบผลการศึกษาอีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้การศึกษาความเป็นไปได้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัดกุมขึ้น ทั้งในส่วนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการ เช่น ราคา ความถี่ของการให้บริการ รวมถึงรายละเอียดตัวแปรที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น อัตราคิดลด (discount rate) เป็นต้นในการนี้ให้มีจัดสรรเงินกู้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทุกโครงการที่ยังไม่ได้ศึกษาเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและสามารถเกิดโครงการได้ทันในระยะเวลา 7 ปี
3. กำหนดให้ฝ่ายบริหารไม่สามารถเพิ่มโครงการใหม่ในบัญชีท้าย พ.ร.บ. แทนโครงการที่ไม่ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้
4. หากดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โครงการใดมีเงินกู้ที่เหลือจ่าย ให้กระทรวงการคลังนำเงินเหลือจ่ายไปชำระคืนเงินกู้เท่านั้น ไม่ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
5. การลงทุนในอนาคตควรอยู่ในรูปเงินในงบประมาณเท่านั้น ทั้งนี้ควรมีการจัดทำแผนแม่บทการคมนาคมขนส่งที่ศึกษาอย่างรอบคอบและเป็นระบบ ในกรณีที่ติดปัญหาเพดานการกู้เงินในงบประมาณ อาจออกเป็น พ.ร.บ. ยกระดับเพดานการกู้เงินเป็นการชั่วคราว โดยระบุว่าเพดานส่วนเกินต้องนำมาใช้ในโครงการลงทุนที่ระบุใน พ.ร.บ. เท่านั้น


6. ให้มีบทเฉพาะกาลกำหนดให้รัฐบาลจัดทำงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง (medium-term/multi-year budgeting) เสนอต่อรัฐสภาและประชาชนทุกปีเพื่อให้รัฐสภา/สาธารณชนรับรู้ประมาณการรายได้ในระยะปานกลาง แผนการหารายได้ของรัฐบาลเพิ่มเติม สมมติฐานที่รัฐบาลใช้ในการประเมินความเสี่ยงทางการคลัง รวมทั้งต้นทุนค่าเสียโอกาสของโครงการลงทุนว่าไปเบียดบังการใช้จ่ายภาครัฐในส่วนอื่นอย่างไร
7. จัดแบ่งกลุ่มโครงการตามลักษณะการเป็นบริการสาธารณะและกิจการเชิงพาณิชย์ โดยกำหนดคำจำกัดความของการบริการสาธารณะอย่างชัดเจน เช่น รถไฟความเร็วสูง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่ผู้มีรายได้น้อย ไม่ควรถือเป็นบริการสาธารณะที่ยอมปล่อยให้ขาดทุนในระยะยาวจนไปเบียดบังรายจ่ายภาครัฐในเรื่องที่สำคัญอื่นๆ เช่นรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคม รายจ่ายเพื่อพัฒนาคนและทรัพยากรมนุษย์ และควรแยกการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอุดหนุนบริการสำหรับผู้มีรายได้น้อยออกจากกันอย่างชัดเจน
8. ในด้านการบริหาร รัฐต้องมีความชัดเจนของหนี้สะสม และหนี้จากการลงทุนระบบรางใหม่ ว่าจะมีการบริหารจัดการอย่างไร ที่สำคัญต้องมีการปฏิรูปองค์กรและการกำหนดตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพอย่างชัดเจน
9. ให้มีการประเมินผลหลังการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ (Ex-post Evaluation)

ด้านนายนิตินัย ศิริสมรรถการ ประธานกรรมการบริษัท มาเก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด กล่าวสนับสนุนความคิดเห็นของทีดีอาร์ไอที่อยากให้มีการศึกษา วิเคราะห์เป็นรายโครงการ เนื่องจากหวั่นว่าจะซ้ำรอยแอร์พอร์ตลิงค์ที่เปิดเดินรถยังไม่แล้วเสร็จและปล่อยให้รกร้าง เสมือนสร้างภาระทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ขณะที่เรื่องหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่ใช่ประเด็นหลัก แม้จะมีหนี้ถึง 50 ปี แต่หากมีผลตอบแทนกลับมาทุกปี ก็ไม่น่าเป็นห่วง

อย่างไรก็ตาม วงสัมมนาได้มีการเสนอแนะให้มีการจัดสรรการศึกษาความเป็นไปได้ของทุกๆโครงการถึงความคุ้มค่ากับการลงทุนภายในระยะเวลา 7 ปี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกที่ ถูกทาง ถูกวิธี โดยเฉพาะการบริหารโครงการรัฐต้องมีความชัดเจนของหนี้สะสม และหนี้จากการลงทุนระบบรางใหม่ ว่าจะมีการบริหารจัดการอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นภาระประเทศ ที่สำคัญที่สุดต้องมีบุคคลที่ได้รับการยอมรับเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบความโปร่งใส โดยมีการประเมินผลหลังการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44915
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2013 10:14 am    Post subject: Reply with quote

สองล้านล้านบาท ประเทศไทยได้อะไร โดย พิชัย นริพทะพันธุ์
มติชนออนไลน์ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 22:32:12 น.

พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว. พลังงาน (ที่มา:มติชนรายวัน 23 เมษายน 2556)

การที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาซียนได้นั้น นอกจากประเทศไทยจะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยแล้ว การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาการเชื่อมต่อทางคมนาคม เพื่อรองรับกับการเป็นประเทศศูนย์กลางก็เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และการที่ประเทศไทยที่จะก้าวจากการเป็นประเทศที่กำลังจะพัฒนาขึ้นมาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้นั้นประเทศไทยจะต้องมีการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนส่วนใหญ่ พร้อมกับการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานในทุกด้าน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานทางด้านคมนาคม ซึ่งจากประวัติศาสตร์ของประเทศที่พัฒนาแล้วทุกประเทศพบว่าเมื่อระบบคมนาคมถูกพัฒนาให้ดีขึ้นแล้วรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ปัญหาหลักของประเทศไทยคือ การมีค่าใช้จ่ายของการขนส่งต่อรายได้ประชาชาติที่สูงเกินไป และการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การพัฒนาระบบคมนาคมทั้งหมดจึงเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดสำหรับประเทศไทยที่จะเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และก้าวขึ้นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในอนาคต อีกทั้งยังแก้ปัญหาการใช้พลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของประเทศด้วย

ดังนั้น การที่รัฐบาลโดยการนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้นำพระราชบัญญัติการลงทุน สองล้านล้านบาท เข้าพิจารณเพื่อขออนุมัติจากรัฐสภา หรือที่เรียกให้เข้าใจกันง่ายๆ ว่าเป็น พ.ร.บ.ไทยแลนด์ 2020 ซึ่งเป็นเรื่องการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ จึงเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาประเทศ และการลงทุนจะมีรายละเอียดและผลดีกับประเทศดังนี้

การพัฒนาทางบก จะเป็นการพัฒนาระบบรางและระบบถนน จากการศึกษาพบว่าการลงทุนกว่า 80% เป็นการลงทุนในระบบราง โดยจะมีระยะทางรถไฟเพิ่มขึ้นใน 7 ปี จาก 4,043 กม. เป็น 5,097 กม. และการทำรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นจาก 358 กม. เป็น 3,215 กม. ครอบคลุมจาก 47 จังหวัด เป็น 53 จังหวัด เพิ่มจำนวนเที่ยววิ่งจาก 200 เที่ยว/วัน เป็น 800 เที่ยว/วัน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายการบรรทุกสินค้าทุกชนิดให้ถูกลง โดยจะสามารถขนสินค้าทางรางที่มีต้นทุนการขนส่งต่ำได้เพิ่มขึ้นเกือบห้าเท่า จากปีละ 11 ล้านตันต่อปี เป็นมากกว่า 50 ล้านตันต่อปี และขนส่งผู้โดยสารที่มีรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลางที่ยังต้องอาศัยรถไฟในการเดินทางจะเพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน-เที่ยวต่อปี เป็นมากกว่า 75 ล้านคน-เที่ยวต่อปี และน่าจะถึง 90 ล้านคนได้ และจะทำให้สามารถขนส่งทางรถไฟได้เร็วขึ้นเพราะไม่ต้องจอดรอสลับรางเวลาที่รถไฟต้องสวนกัน โดยจะมีโครงข่ายระบบรถไฟทางคู่เร่งด่วน 5 สายสำคัญ จำนวน 767 กม. มูลค่า 101,435 ล้านบาท กำหนดให้เสร็จภายในปี 2560

ในปัจจุบัน เขตอุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่มาบตาพุดมีความหนาแน่นมากและขยายตัวได้ยากแล้ว ในขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นยังคงหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยที่ปีที่แล้วไทยมีการให้การส่งเสริมการลงทุนมีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท และเชื่อได้ว่าการลงทุนจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต เพื่อรองรับกับการที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ดังนั้น แนวรถไฟรางคู่ที่สร้างใหม่นี้ตัดขึ้นภาคเหนือและภาคอีสานแล้วต่อมาลงที่ท่าเรือแหลมฉบัง จะเป็นแนวของเขตอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่เพื่อรองรับการลงทุนที่จะเพิ่มขึ้นเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้เกิดกระจายความเจริญและการพัฒนาไปในจังหวัดต่างๆ ตามแนวรถไฟทางคู่นี้ โดยรัฐบาลจะต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เหล่านี้ให้เพียงพอเพื่อรองรับกับการขยายตัวของการลงทุนไปพร้อมกันด้วย

ระบบรถไฟทางคู่นี้จะมีขนาดรางที่มีระยะห่าง 1 เมตร หรือที่เรียกว่า Meter Gauge เหมือนกับระบบเดิมที่มีอยู่ และเป็นขนาดรางเดียวกับรางของประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีแนวทางที่จะเชื่อมต่อระบบรถไฟเดิมนี้กับประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต

ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง จะมี 4 สาย คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กม. กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 256 กม. กรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 221 กม. กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กม. ทั้งหมดรวม 1,447 กม. มูลค่า 481,066 ล้านบาท หรือ ประมาณ 24% ของเงินลงทุน ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2561 ยกเว้นสาย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่จะเสร็จในปี 2565 โดยจะมีอัตราค่าโดยสารตามระยะทางอยู่ประมาณ 2 บาท/กม. เมื่อแล้วเสร็จในอีก 7 ปีข้างหน้า

รถไฟความเร็วสูงนี้จะมีขนาดรางระยะห่าง 1.435 เมตรหรือที่เรียกว่า Standard Gauge โดยเส้นทางอีสานจะเชื่อมต่อไปถึงประเทศจีนโดยผ่านประเทศลาว ซึ่งคงต้องรอให้ประเทศจีนกับประเทศลาวเจรจาตกลงผลประโยชน์กันให้ลงตัวได้เสียก่อน และเมื่อสามารถเชื่อมกับประเทศจีนได้แล้ว การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนจะมีเพิ่มขึ้นอีกมาก และในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายอื่นก็มีแผนงานที่จะเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเช่นกัน

ส่วนที่มีความกังวลกันว่ารถไฟความเร็วสูงจะมีราคาการให้บริการที่สูง และจะไม่มีผู้ใช้บริการเพียงพอนั้น ขออธิบายว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ความต้องการในการเดินทางจะมีมากขึ้นจากประชาชนที่มีรายได้สูงขึ้นและจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาเพิ่มขึ้น

สำหรับกรุงเทพมหานครที่จะเป็นเมืองศูนย์กลางของอาเซียนนั้น นอกจากรถไฟความเร็วสูงทั้งสี่สายจะใช้กรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางแล้ว กรุงเทพฯยังมีโครงข่ายรถไฟฟ้าอีก10 สาย คือ
1) มธ.รังสิต-มหาชัย
2) ศาลายา-หัวหมาก
3) แอพอร์ตลิงก์
4) ลำลูกกา-บางปู
5) ยศเส-บางหว้า
6) บางซื่อ-ท่าพระพุทธมณฑลสาย 4
7) บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ
8) จรัญสนิทวงศ์-ราชดำเนิน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี
9) แคราย-มีนบุรี
10) ลาดพร้าว-สำโรง
รวมระยะทาง 464 กม. มูลค่า 895,884.86 ล้านบาท หรือคิดเป็น 45% ของเงินลงทุนสองล้านล้านบาท

ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า 10 สาย และรถไฟความเร็วสูงจะทำให้กรุงเทพมหานครสามารถขยายเขตเมืองให้กว้างขึ้นเพื่อรองรับการเป็นเมืองศูนย์กลางของอาเซียน และเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถมีที่อยู่อาศัยที่ไกลขึ้น ตามจุดสถานีต่างๆ และสามารถเดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครได้ง่ายขึ้นในเวลาที่สามารถควบคุมได้

ทั้งนี้ อยากขอให้รัฐบาลมีการกำหนดจุดสถานีสำหรับรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนส่วนใหญ่ให้มากที่สุด

ส่วนในระบบถนน จะมีการลงทุนโครงข่ายทางหลวง และ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ใช้เงินลงทุนสัดส่วนประมาณ 15% โดยจะมีโครงการดังนี้
1) การขยายช่องทางหลวงแผ่นดินให้เป็น 4 ช่องจราจร (เพิ่ม 42 โครงการ 1,739 กม.)
2) ก่อสร้างทางหลวงเชื่อมต่อด่าน (12 โครงการ 213 กม.)
3) บูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค (144 โครงการ 2,027 กม.)
4) ขยายโครงข่ายมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง
4.1) บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา
4.2) บางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี
4.3) พัทยา-มาบตาพุด (เพิ่ม 326 กม. รวม 529 กม.)

5) เพิ่มสถานีขนส่งสินค้า และพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่ง มีสถานีขนส่งสินค้า 15 แห่ง ในจังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมและด่านการค้าชายแดน คาดว่าจะมีสินค้าขนส่งผ่านสถานีถึง 750.16 ล้านตัน/ปี
6) เติมเต็มโครงข่าย Thailand Riviera สาย Royal Coast จากเดิมที่ 155 กม. กำลังก่อสร้าง 31.5 กม. โดยเพิ่มอีก 328.6 กม. รวม 515.1 กม. จากระยะทางทั้งสิ้น 683 กม.
7) ก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น สนันสนุน Gateway และแก้ปัญหาจราจร พัฒนา 10 โครงการ 160 กม.
รวมถึงโครงการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระบบขนส่งของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ไทย-ลาว 11 โครงการ ไทย-กัมพูชา 3 โครงการ ไทย-มาเลเซีย 5 โครงการ และ ไทย-พม่า 8 โครงการ

สำหรับการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางอากาศ จะมีการขยายสนามบินสวรรณภูมิเฟส 2 ใช้งบประมาณ 51,607.149 ล้านบาท ซึ่งในปัจจุบันสนามบินสุวรรณภูมิได้ถูกใช้จนเต็มประสิทธิภาพแล้ว โครงการพัฒนาสนามบินภูเก็ต ที่การท่องเที่ยวเติบโตเร็วกว่าการพัฒนาสนามบินมาก ทั้งนี้ อยากให้มีการแตรียมพร้อมและพัฒนาระบบจัดการน่านฟ้าของไทยเพื่อรองรับความหนาแน่นของเที่ยวบินในอนาคต โดยที่ประเทศไทยมีการบริหารจัดการเที่ยวบินกว่า 500,000 เที่ยว ในปีที่แล้ว และคาดว่าจะเพิ่มเป็นกว่า 600,000 เที่ยวในปีนี้ โดยจะมีการเติบโตมากกว่า 10% และประเทศไทยน่าจะเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นเป็นล้านเที่ยวบินในอนาคต อีกทั้งอยากให้พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้สามารถใช้งานเป็นสนามบินพาณิชย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

การพัฒนาโครงข่ายเส้นทางน้ำ จะมีการสร้างท่าเรือเพิ่ม การขยายท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และการดำเนินโครงการท่าเรือปากบารา ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเชื่อมต่อสองฝั่งของมหาสมุทร ซึ่งหากประเทศไทยสามารถพัฒนาโครงการเอ็นเนอยีบริดจ์ที่เป็นช่องทางการขนถ่ายน้ำมันของภูมิภาคได้แล้วประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล

การลงทุนดังกล่าวจะเป็นการทยอยการลงทุนปีละประมาณ 3 แสนล้านบาท เป็นแวลา 7 ปี ซึ่งเมื่อลงทุนแล้วจะทำให้ประชาชนจะมีรายได้เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของไทยจะมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ประชาชาติไม่น่าจะเกิน 50%

สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วงและอยากให้รัฐบาลระมัดระวัง ก็คงเป็นเรื่องประสิทธิภาพของการใช้เงินลงทุน รวมถึงลำดับความสำคัญก่อนหลังของแต่ละโครงการและที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเรื่องการตรวจสอบความโปร่งใสนี้สามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้างระบบรางในแต่ละชนิดต่อหน่วยกิโลเมตร ตลอดจนราคารถไฟชนิดต่างๆ กับราคาในต่างประเทศที่มีลักษณะเศรษฐกิจที่คล้ายกัน ซึ่งก็ไม่น่าที่จะต่างกันนัก

ส่วนที่มีการกล่าวถึงเรื่องการคืนทุนใน 50 ปีนั้น อาจจะทำให้ประชาชนสับสน เพราะการกู้ยืมของรัฐอาจจะไม่เหมือนกับการกู้ยืมของเอกชน ซึ่งหากรัฐสามารถทำให้รายได้ประชาชาติเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระดับที่เหมาะสมแล้ว เรื่องการชำระคืนก็จะเป็นการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่ายในอนาคต โดยรัฐต้องพยายามอย่าให้หนี้สาธารณะมีสัดส่วนที่สูงกว่ารายได้ประชาชาติมากนัก เนื่องจากฐานรายได้ของรัฐบาลไทยที่ส่วนใหญ่มาจากภาษีอากรยังอยู่ในระดับที่ต่ำ เจ้าหนี้จะไม่แน่ใจในความสามารถในการใช้หนี้ แต่หากรัฐลงทุนแล้วทำให้พื้นฐานเศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นจากฐานภาษีที่เพิ่มสูงขึ้น การสร้างหนี้นั้นๆ ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา

การคำนวณผลตอบแทนหากมองว่าหลังจากลงทุนครบแล้ว จะทำให้ประเทศไทยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและลดการใช้พลังงานลดลงได้อย่างน้อย 2% ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งหากคำนวณจากรายได้ประชาชาติปัจจุบันแล้วจะมีมูลค่าประมาณกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี แต่ในอนาคตอีก 7 ปี รายได้ประชาชาติของประเทศไทยจะโตเพิ่มขึ้นอีกมาก ดังนั้นการลด 2% ของค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการใช้พลังงานจะมีมูลค่ามากกว่า สามแสนล้าน หรือ อาจจะถึงสี่แสนล้านบาทต่อปีได้

ดังนั้น หากมองในเรื่องการที่จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในแต่ละปีได้ถึงขนาดนี้ การลงทุนก็ถือว่าเกินคุ้มแล้ว

ในเรื่องที่มีความเห็นว่าทำไมไม่ใส่การลงทุนนี้ในงบประมาณปกติ ขออธิบายว่า ในข้อกฎหมายมีการกำหนดไม่ให้มีการกู้ยืมเกิน 20% ของงบประมาณในแต่ละปี ซึ่งงบประมาณจะต้องใช้ลงทุนในการพัฒนาประเทศในทุกด้าน หากรวมการลงทุนในเรื่องนี้เข้าไปจะทำให้มีการกู้เงินเกินเพดานการกู้ยืม ซึ่งทำไม่ได้ นอกจากนี้การกำหนดเป็น พ.ร.บ.เพราะรัฐบาลเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับประเทศ จึงจำเป็นจะต้องมีความต่อเนื่องในการดำเนินการ สามารถสร้างระบบคมนาคมทั้งหมดเสร็จในระยะเวลา 7 ปี โดยไม่หยุดชะงัก หรือ มีการเปลี่ยนแปลงโครงการกลางคัน ซึ่งหลังจากลงทุนเสร็จแล้ว จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาขึ้นไปอีกมาก และจะก้าวขึ้นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในที่สุด

นอกจากการพัฒนาระบบคมนาคมแล้ว การที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ ประเทศไทยจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี และเป็นที่ยอมรับของประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะต้องช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้พัฒนาไปพร้อมๆ กับประเทศไทย ซึ่งสุดท้ายแล้วประเทศไทยจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องเขตแดนของกลุ่มประเทศอาเซียนจะหมดลงเหมือนกับปัญหาเขตแดนของประเทศในยุโรปที่หมดลงเมื่อมีการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ประเทศไทยและทุกประเทศในกลุ่มอาเซียนควรจะมุ่งหน้าหาประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นร่วมกันมากกว่า และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความสามัคคีของคนในชาติ ที่จะต้องมีจุดมุ่งหมายเดียวกันที่ต้องการเห็นประเทศไทยเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

จึงอยากให้คนไทยทุกคนได้เห็นอนาคตนี้ร่วมกันและเร่งผลักดันให้ประเทศไทยได้พัฒนาก้าวไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 121, 122, 123  Next
Page 7 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©