Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311323
ทั่วไป:13285824
ทั้งหมด:13597147
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 71, 72, 73 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/02/2016 11:58 am    Post subject: Reply with quote

ชี้อุดรฯ เหมาะเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าเกษตรหลังเส้นทางรถไฟไทย-จีนเสร็จ
โดย MGR Online 24 กุมภาพันธ์ 2559 11:26 น. (แก้ไขล่าสุด 24 กุมภาพันธ์ 2559 11:31 น.)

อุดรธานี - ก.คมนาคมเปิดเวทีให้ความรู้รับฟังเสียงชาวอุดรธานี เตรียมพลิกโฉมรถไฟไทย โครงการร่วมพัฒนารถไฟไทย-จีนช่วงโคราช-หนองคาย 354 กม. ตั้งเป้าให้อุดรฯ เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าเกษตรอีสานตอนบน เพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ แนะทุกจังหวัดตามแนวทางรถไฟผ่านเตรียมแผนพัฒนารองรับสอดรับศักยภาพพื้นที่

วันนี้ (24 ก.พ.) ที่ห้องทุ่งศรีเมืองแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ จ.อุดรธานี นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชน ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐาน เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจต่อการพัฒนาโครงการฯ และรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน

โดยมีผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจ อุตสาหกรรม สมาคมการค้าจังหวัด และประชาชน เข้าร่วมการสัมมนาฯ และชมนิทรรศการหลายร้อยคน

นายออมสินกล่าวว่า เป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐานตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 โดย พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ลงนามของฝ่ายรัฐบาลไทย และผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้ลงนามของฝ่ายรัฐบาลจีน ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 57 ที่ผ่านมา

จังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าเกษตรไทยของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพราะมีพื้นที่เป็นฐานการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน และเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเอทานอลที่สำคัญ

อีกทั้งมีศักยภาพด้านการขนส่ง และแรงงานคน ซึ่งหากในอนาคตโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐานเกิดขึ้นจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการลงทุน การค้า การส่งออก และการท่องเที่ยวให้กับจังหวัด สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดที่ต้องการส่งเสริมพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อเป็นประตูการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

โครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐาน ขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) มีแนวเส้นทางแบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ (บางซื่อ)-แก่งคอย ระยะทาง 118 กม. ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 239 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 134 กม. และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 354 กม. รวมระยะทาง 845 กม. ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเดินทางและการขนส่งสินค้าที่มีความเร็วสูงในอนาคต

นายออมสินกล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐานดังกล่าว สามารถทำให้ไทยเชื่อมโยงระบบรางไปถึงจีนได้ โดยผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ และเป็นโอกาสสำคัญยิ่งในการกระจายความเจริญ และรายได้สู่ภูมิภาคตลอดแนวเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่าน หากทุกจังหวัดในแนวเส้นทางรถไฟมีแผนพัฒนารองรับเส้นทางรถไฟสายนี้ได้อย่างสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่อย่างแท้จริง

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทางรถไฟขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะเป็นโครงข่ายระบบรางพื้นฐานของประเทศที่จะสามารถพัฒนาให้เป็นระบบหลักของการขนส่งทางรางได้ภายในระยะเวลา 5 ปี ดังจะเห็นได้จากโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน ระยะทางรวม 993 กิโลเมตร ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น

ซึ่งได้เริ่มการก่อสร้างแล้วเมื่อ 19 ก.พ. 59 และการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ ระยะทางรวม 688 กิโลเมตร ซึ่งหากทางรถไฟดังกล่าวได้ก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยให้การขนส่งในระบบรางของประเทศไทยมีประสิทธิภาพและตรงต่อเวลามากขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนารถไฟขนาดทางมาตรฐาน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 24/02/2016 1:46 pm    Post subject: Reply with quote

เชื่อเถอะครับ ทั้งอุดรธานีและขอนแก่น ต่างมีความประสงค์เป็น Hub ในการขนส่งทางบกจากประเทศเพื่อนบ้านสู่ประเทศไทย

ถึงแม้ว่าโครงการทางรถไฟขนาด 1.435 เมตรจากจีนจะยังอยู่ระหว่างต่อรองผลประโยชน์และการลงทุน แต่ถ้าเราผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ 1.000 เมตรแล้วเสร็จก่อน เราก็มีสิทธิ์ทำตลาดได้ก่อนครับ

ตรงนี้แหละ ที่ผมว่าจีนคงไม่ทำเฉยเมย ปล่อยให้ผลประโยชน์หล่นไป แน่ๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2016 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:
ตรงนี้แหละ ที่ผมว่าจีนคงไม่ทำเฉยเมย ปล่อยให้ผลประโยชน์หล่นไป แน่ๆ

ก็แน่หละสิครับ ตอนนี้นักลงทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่ก็ เริ่มมาซื้อคอนโด ที่ ขอนแก่น อุดร และ โคราชแล้วหละ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2016 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบ”ทางคู่” ข้อเท็จจริงรถไฟไทย
Thai Publica
Date: 25 กุมภาพันธ์ 2016
เปิดดูความคืบหน้าของโครงการ “เมกะโปรเจกต์รถไฟไทย” หลังจากดำเนินการมาเกือบ 2 ปี พบว่ามีความคืบหน้าน้อยมาก แม้ว่าจะเป็นหนึ่งในโครงการในฝันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งตั้งใจจะใช้เป็นโครงการลงทุนภาครัฐในการสร้างความคึกคักและความมั่นใจต่อระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพยายามใช้เหตุผลนี้ก็ตาม

โดยเริ่มต้นปักหมุดโครงการเพียง 2 เดือนเศษหลังจากรัฐประหาร ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2557 คสช. มีมติเห็นชอบในหลักการ “กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (พ.ศ. 2558-2565)” ก่อนที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติเห็นชอบในหลักการ “แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565” และ “แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2558” หรือ Action Plan 2558 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558

โดยมีโครงการไฮไลท์สำคัญในแผน 2 ส่วน 1) โครงการรถไฟทางคู่ 16 เส้นทาง แบ่งเป็นระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง ระยะที่สอง 6 เส้นทาง และก่อสร้างทางใหม่ 4 โครงการ และ 2) ความร่วมมือรถไฟความเร็วปานกลาง ขนาดราง 1.435 เมตร ระหว่างไทย-จีน เชื่อมโยงหนองคาย-กทม.-มาบตาพุด เข้าไว้ด้วยกัน

คืบหน้ารถไฟทางคู่ 16 สาย เข็นออก 2 สาย
ความคืบหน้าของรถไฟทางคู่ 6 สาย ประกอบด้วย 1) เส้นทางแก่งคอย-คลอง 19-ฉะเชิงเทรา 2) เส้นทางชุมทางจิระ-ขอนแก่น 3) เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 4) เส้นทางนครปฐม-หัวหิน 5) เส้นทางมาบกะเบา-นครราชสีมา 6) เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ เดิม ณ เดือนกันยายน 2557 มีเพียง 2 เส้นทางแรกเท่านั้นที่ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ และพร้อมที่จะประมูลราคาก่อสร้าง ขณะที่อีก 4 เส้นทางยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาอีไอเอ

ล่าสุด ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2559 รัฐบาลสามารถเข็นโครงการออกมาลงนามสัญญาเริ่มก่อสร้างได้เพียง 2 สาย คือ เส้นทางชุมทางจิระ-ขอนแก่น และเส้นทางแก่งคอย-คลอง 19-ฉะเชิงเทรา ลงนามได้ในเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งใช้เวลา 1 ปีครึ่งกว่าการดำเนินการจะแล้วเสร็จ ขณะที่เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และเส้นทางมาบกะเบา-นครราชสีมา ล่าสุดผ่านขั้นตอนของการพิจาราอีไอเอ รอเข้ารับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ส่วนโครงการที่เหลืออีก 2 โครงการ ได้แก่ เส้นทางนครปฐม-หัวหิน และเส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ ยังค้างอยู่ที่การพิจารณาอีไอเอเช่นเดิม

ด้านโครงการก่อสร้างระยะที่สอง 6 เส้นทาง ทั้งหมดยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเมษายน-กรกฎาคม 2559 ประกอบด้วย 1) เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 2) เส้นทางปากน้ำโพ-เด่นชัย 3) เส้นทางชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 4) เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย 5) เส้นทางชุมพร-สุราษฎร์ธานี และ 6) เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา

สุดท้าย โครงการก่อสร้างใหม่ 4 เส้นทาง ประกอบด้วย 1) เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 2) เส้นทางบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 3) เส้นทางแหลมฉบัง-ทวาย และ 4) เส้นทางนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด สองโครงการแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาอีไอเอ ขณะที่อีกสองโครงการยังอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบรายละเอียดเท่านั้น(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

สถานะการดำเนินงานโครงการก่อสร้างสรถไฟทางคู่

รถไฟไทย-จีน เจรจา 9 ครั้ง ส่อล่มเหลือทางเดี่ยว
สำหรับความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทยและจีน ล่าสุดมีการเจรจากว่า 9 ครั้ง เป็นระยะเวลากว่า 1 ปี โดยมีรายละเอียดความคืบหน้าหลังจากลงนามใน MOU เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ดังนี้

– การประชุมครั้งแรกมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 21-22 มกราคม 2558

ได้ข้อสรุปเพียงการแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง ช่วงแรก กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร ซึ่งการก่อสร้างอาจแบ่งเป็น 2 แผนงาน คือ แผนงานในการก่อสร้างช่วงที่ 1 และ 2 และแผนงานในการก่อสร้างช่วงที่ 3 และ 4

– การประชุมครั้งที่ 2 มีขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2558

มีข้อสรุปเพิ่มเติมว่า จะใช้เป็นความร่วมมือแบบ “จ้างเหมาเบ็ดเสร็จ (EPC)” โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกตามช่วงเวลา อาทิ ก่อนก่อสร้าง-จีนรับผิดชอบศึกษาและออกแบบ ไทยรับผิดชอบเวนคืนและทำอีไอเอ ระหว่างก่อสร้าง-ไทยรับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ยกเว้นอุโมงค์ ไหล่เขา ระบบอาณัติสัญญาณที่ต้องการความเชี่ยวชาญจากจีน หลังก่อสร้าง-จีนจะรับผิดชอบในการเดินรถช่วงแรกก่อนถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ไทยจนมีความพร้อมจึงจะคืนการเดินรถให้ เป็นต้น

ส่วนเรื่องแหล่งเงินทุน จีนเสนอให้ไทยกู้ใน 2 รูปแบบ ที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาชำระคืนเงินต้นที่แตกต่างกัน

– การประชุมครั้งที่ 3 มีขึ้นที่จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย วันที่ 10-11 มีนาคม 2558

มีข้อสรุปเพิ่มเติมว่า จะมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีนขึ้นมาเดินรถ โดยจีนถือหุ้นไม่เกิน 40% ไทยถือหุ้น 60% ขึ้นไป ช่วงปีที่ 1-3 ให้จีนเดินรถเป็นหลัก ปีที่ 4-7 ให้ 2 ประเทศร่วมกันเดินรถ และปีที่ 7 เป็นต้นไป ให้ไทยเดินรถเป็นหลัก

ส่วนเรื่องแหล่งเงินทุนยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ฝ่ายไทยเสนอให้ระดมทุนได้จากหลายแหล่ง ทั้งงบประมาณแผ่นดิน กู้จากเอกชน หรือกู้จากจีน

– การประชุมครั้งที่ 4 มีขึ้นที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2558

มีข้อสรุปเพิ่มเติมว่า การสำรวจและออกแบบ 3 ใน 4 ช่วง จะแล้วเสร็จช่วงปลายปี 2558 และเริ่มก่อสร้างได้ตั้งแต่ปลายปี 2558 ไปจนถึงต้นปี 2559 ยกเว้นช่วงที่ 2 กรุงเทพฯ-มาบตาพุด ที่มีประเด็นเรื่องพื้นที่ลุ่มน้ำ A1 ซึ่งไทย-จีนต้องพูดคุยหาข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

-การประชุมครั้งที่ 5 มีขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาและกรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2558

มีข้อสรุปความก้าวหน้าของการดำเนินการ โดยฝ่ายจีนได้รายงานความคืบหน้าการศึกษาความเหมาะสมของโครงการการสำรวจและออกแบบแนวเส้นทาง ซึ่งพบปัญหาเรื่องแนวเส้นทางและข้อตกลงกรอบการทำงานที่ยังแตกต่างกันและต้องเจรจาต่อไป ในส่วนของไทยได้รายงานความคืบหน้าการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ซึ่งต่างอยู่ในขั้นดำเนินการและต้องรอผลการศึกษาเบื้องต้นก่อน

ด้านหลักการของรูปแบบการลงทุนในลักษณะการร่วมลงทุนระหว่างไทย-จีน โดยรวมระบบรถไฟและอาณัติสัญญาณเข้ามาในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนด้วย จากเดิมที่ร่วมทุนเฉพาะการเดินรถและการซ่อมบำรุง ซึ่งฝ่ายจีนขอเวลาพิจารณาก่อน

ขณะที่ด้านการเงินยังไม่ได้ข้อสรุป โดยฝ่ายจีนรับปากที่จะพิจารณารูปแบบเงื่อนไขเงินกู้ที่ดีที่สุด ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายยืนยันที่จะเร่งรัดการศึกษาโครงการสำรวจและออกแบบให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2558 เพื่อให้เริ่มการก่อสร้างได้ตามแผนงานในเดือนตุลาคม 2558

-การประชุมครั้งที่ 6 มีขึ้นที่เมืองเฉิงตู ประเทศจีน วันที่ 6–8 สิงหาคม 2558

มีข้อสรุปชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวงเงินก่อสร้าง รูปแบบการลงทุน แผนงานก่อสร้าง ตลอดจนแนวทางร่วมทุนระหว่างไทยกับจีน โดยรูปแบบการลงทุนของโครงการฝ่ายไทยจะลงทุนก่อสร้างโครงสร้างงานโยธา โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้ดำเนินการ จะใช้เงินกู้ในประเทศก่อสร้าง คาดว่าโครงการนี้ใช้เงินก่อสร้างกว่า 2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ วงเงินดังกล่าวถือว่ายังไม่นิ่ง ยังต้องรอผลการศึกษาเบื้องต้นอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงผลการศึกษารายละเอียดโครงการในขั้นต่อไปด้วย

ส่วนงานระบบเดินรถและซ่อมบำรุงซึ่งคาดว่าจะใช้วงเงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท ฝ่ายจีนตกลงจะร่วมลงทุนด้วยเบื้องต้นประมาณ 40% โดยตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาบริหารโครงการร่วมกัน ขณะที่ข้อเสนอให้จีนเข้าร่วมทุนทั้งโครงการยังไม่ได้ข้อสรุปคืบหน้าแต่อย่างใด

สำหรับข้อตกลงด้านการเงินยังเป็นอุปสรรคที่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะคิดอัตราดอกเบี้ยเท่าใด

-การประชุมครั้งที่ 7 มีขึ้นที่ กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 11–12 กันยายน 2558

มีข้อสรุปเพิ่มเติมว่า จีนได้ส่งผลการศึกษาเบื้องต้นแล้ว แต่ฝ่ายไทยมองว่ายังไม่สมมบูรณ์และขอให้ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องประมาณการราคามูลค่าการก่อสร้างโครงการ ประมาณการรายได้จากการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร เป็นต้น ทำให้ยังไม่สามารถสรุปวงเงินโครงการที่ชัดเจนได้ นอกจากนี้ ไทยยังขอให้จีนร่วมลงทุนเพิ่มเติมอีกเป็น 50:50 จากเดิม 60:40 แต่จีนขอกลับไปพิจารณา

ด้านการเงินยังคงเป็นปัญหาโดยจีนยังเสนอมาว่าดอกเบี้ย 3% ยังสูงกว่าเงินกู้ในประเทศของไทยและยังต้องต่อรองให้ลดลงมาอีก ซึ่งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง จะจัดทำข้อมูลเรื่องระบบและขั้นตอนการกู้เงินจากต่างประเทศของไทยให้ฝ่ายจีนได้รับทราบ

-การประชุมครั้งที่ 8 มีขึ้นที่เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน วันที่ 28-29 ตุลาคม 2558

มีข้อสรุปให้เลื่อนโครงการก่อสร้างออกไปจากเดิมที่กำหนดช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2558 เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปรายละเอียดการก่อสร้างได้ ต้องรอให้จีนปรับปรุงข้อมูลผลการศึกษาเบื้องต้นในบางส่วนให้ตรงกันตามการเจรจาครั้งที่ 7 ส่วนรูปแบบการร่วมทุนระหว่างไทย-จีนในการเดินรถที่ไทยเสนอให้ร่วมลงทุนทั้งโครงการที่สัดส่วนเท่ากัน ยังไม่ได้ข้อสรุปจากการประชุมในครั้งนี้เช่นกัน

ด้านการเงิน ฝ่ายจีนยืนยันว่าจะให้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ดีกว่าการกู้เงินภายในประเทศของไทย จึงยังต้องต่อรองให้ปรับลดลงอีก

-การประชุมครั้งที่ 9 มีขึ้นที่ กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 3 ธันวาคม 2558

ข้อสรุปเพิ่มเติมว่านายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ได้ร่วมลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2565 เพื่อใช้เป็นแนวทางดำเนินความร่วมมือระหว่างกันต่อไป

ขณะที่ความคืบหน้าอื่นยังไม่มีข้อสรุปเพิ่มเติมแต่อย่างใด ส่วนกระแสข่าวที่โครงการอาจจะมีมูลค่าสูงไปถึง 5 แสนล้านบาทนั้น อาจจะเกิดจากการเพิ่มสถานีบ้านภาชีเข้ามา และวิธีคิดราคาต้นทุนโครงการที่ยังไม่ตรงกันของไทยและจีน แต่ยังต้องรอผลการศึกษาอย่างเป็นทางการก่อนจึงจะสรุปได้

เปิดหวูดทำสัญลักษณ์เริ่มก่อสร้าง – รอประชุมปลายก.พ.นี้
รถไฟไทย-จีนอยุธยา

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558 ที่สถานีรถไฟเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวแทนรัฐบาลไทย ได้แก่ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และตัวแทนรัฐบาลจีน ได้แก่ นายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐของจีน และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ได้ทำสัญลักษณ์การเริ่มต้นโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน โดยมีการปักธงชาติของทั้ง 2 ประเทศบนแท่นคล้ายรางรถไฟ

ต่อเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 การรถไฟแห่งประเทศไทยและกิจการร่วมค้าซีเคซีเอช ร่วมกันจัดงานพิธีเริ่มงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และพิธีบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น สถานีรถไฟท่าพระ ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

เริ่มต้นจากพิธีสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารเช้า พร้อมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม หลังจากนั้น นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน ต่อมานายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขึ้นกล่าวแสดงความยินดี ในพิธีเริ่มงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และเคาะระฆัง 3 ครั้ง เพื่อเปิดป้ายเริ่มงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่อย่างเป็นทางการ

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เคาะระฆัง 3 ครั้ง เพื่อเปิดป้ายเริ่มงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เคาะระฆัง 3 ครั้ง เพื่อเปิดป้ายเริ่มงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น
รถไฟไทย-จีน3

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ทำพิธีเปิดเพื่อเปิดป้ายเริ่มงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระขอนแก่น
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ทำพิธีเปิดเพื่อเปิดป้ายเริ่มงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระขอนแก่น
ด้านความคืบหน้าอื่นๆ ของโครงการ นายอาคมกล่าวว่า แบ่งเป็น 4 ประเด็น 1) ตอนนี้สรุปผลการศึกษาไทย-จีนเสร็จแล้ว เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป 2) รูปแบบการลงทุน ว่าแต่ละฝ่ายจะลงทุนสัดส่วนเท่าไร นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ ได้สั่งการให้คณะทำงานที่มีนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน จะไปเจรจาต่อไป 3) เมื่อได้รายละเอียดเรื่องรูปแบบการลงทุนแล้ว ก็จะนำไปสู่การทำสัญญา โดยอาจจะลงนามในรูปแบบของ MOU และ 4) ผู้นำของทั้ง 2 ชาติอยากให้เริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2559 คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีครึ่ง – 4 ปี

ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 นายอาคมกล่าวหลังจากไปประชุมหารือเกี่ยวกับประเด็นการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีน เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2559 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่ามีความคืบหน้าโดยฝ่ายไทยเสนอรูปแบบการลงทุนใหม่ให้จีนลงทุนเพิ่มจาก 40:60 เป็น 30:70 และต้องครอบคลุมการก่อสร้างทั้งหมด หลังจากที่เคยเสนอให้มีสัดส่วนการลงทุนเพิ่มที่ 50:50 และครอบคลุมงานก่อสร้างด้วยแล้วแต่ยังไม่ได้ข้อสรุป

นอกจากนี้ ฝ่ายจีนมีข้อเสนอให้ปรับช่วงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพื่อเป็นการลดต้นทุนการดำเนินการก่อสร้าง โดยระยะแรกจะแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง คือกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และนครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน หลังจากนั้นก็ดำเนินการก่อสร้างในช่วงที่ 2 คือ นครราชสีมา-หนองคาย โดยจะมีการหารือกับจีนให้ปรับการก่อสร้างเป็นทางเดี่ยว ขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตรไปก่อน จากแผนเดิมจะเป็นทางคู่ เพื่อศึกษาถึงจำนวนปริมาณของผู้โดยสารว่ามีมากเพียงพอหรือไม่

“รถไฟไทย-จีนไม่ได้ให้รถไฟธรรมดาขึ้นไปวิ่งด้วย ความถี่ก็ไม่ใช่ทุก 5 นาที เมื่อวิ่งสวนกันไม่ได้ก็ต้องจัดเวลาให้ดี หากในอนาคตความต้องการเพิ่มมากขึ้นค่อยทำอีกทาง โดยเรื่องทั้งหมดนี้จะมีการหารือร่วมกันอีกครั้งในการประชุมครั้งที่ 10 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้” นายอาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2016 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

"อาคม"คาดประชุมร่วมไทย-จีนครั้งที่ 10 สรุปเจรจาตั้งบริษัทร่วมทุน ได้

โดย MGR Online
25 กุมภาพันธ์ 2559 16:27 น.

"อาคม" ตั้งเป้าคุย รถไฟไทย-จีนครั้งที่ 10 ได้ข้อสรุปตั้งบริษัทร่วมทุน (SPV) 60:40 และมูลค่าโครงการรวม เพื่อคุมงานตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ตอกเข็ม พ.ค.นี้ ไม่เลื่อน ยันไม่มีเงื่อนไขให้สิทธิพัฒนาพื้นที่สองข้างทางกับจีนแน่นอน พร้อมลงพื้นที่รับฟังความเห็นชาวขอนแก่น แจงประโยชน์โครงการ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูล ความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชน ครั้งที่ 3 ภายใต้โครงการความร่วมมือ ไทย- จีน ในการพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย, แก่งคอย-มาบตาพุด, แก่งคอย-โคราช, โคราช-หนองคาย ระยะทาง 845 กม. ที่จังหวัดขอนแก่น วันที่ 25 ก.พ. ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานกับจีนเพื่อประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีนครั้งที่ 10 ภายในเดือนมี.ค.นี้ เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องการตั้งบริษัทร่วมทุน (จัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ขึ้นมาทำหน้าที่วางแผนโครงการตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งไทยเสนอให้จีนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัทร่วมทุนเป็น 60% ส่วนไทย 40 % และร่วมทุนทั้งโครงการ ตั้งแต่งานก่อสร้าง งานวางราง ระบบอาณัติสัญญาน งานเดินรถและซ่อมบำรุง จากเดิมที่จะตั้งบริษัทร่วมทุนเฉพาะงานเดินรถ เนื่องจากมูลค่าโครงการนั้นสูงมาก รวมถึงมูลค่าโครงการ

ทั้งนี้ รูปแบบของบริษัทร่วมทุนนั้น จะแบ่งสัดส่วนในการร่วมทุนระหว่างไทยกับจีน ในงานแต่ละส่วนตามความเหมาะสมด้วย เช่น งานก่อสร้าง ไทยอาจจะลงทุนมากกว่าจีน ส่วนงานรางและระบบอาณัติสัญญาณ จีนอาจจะต้องลงทุนในส่วนมากกว่าไทย เป็นต้น ดังนั้น ในแต่ละงานภายใต้ บริษัทร่วมทุนฯ จะมีสัดส่วนการลงทุนไม่เท่ากัน โดยยังคงเป้าหมายเริ่มต้นก่อสร้างโครงการในเดือนพ.ค. 2559 ซึ่งหากจีนไม่ยอมรับข้อเสนอในการเพิ่มสัดส่วนลงทุน หรือร่วมทุนกันทั้งโครงการ จะนำเสนอนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ และกระทรวงการคลังพิจารณาตัดสินใจ

"ครั้งที่แล้วฝ่ายจีน รับข้อเสนอเรื่องสัดส่วนลงทุน 60% ไปพิจารณา ซึ่งจีนระบุว่า โครงการนี้ก่อสร้างในประเทศไทยทหากจีนต้องลงทุนมากกว่า เหมือนที่ลงทุนในสปป.ลาวซึ่ง จีนได้รับเงื่อนไขจากลาวถึง 6 ข้อ ในการพะฒนาพื้นที่สองข้างทางและมีเหมืองแร่เป็นหลักประกัน เป็นต้น ขณะที่ ไทยจียเคยบอกว่า อยากได้สิทธิ์การพัฒนาพื้นที่สองข้างทางสถานีและรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวกับโครงการ ซึ่งเรื่องนี้ ไทยยืนยันกับจีนตั่งแต่ลงนามความร่วมมือว่า เป็นไปไม่ได้ และประเทศไทยไม่เหมือนลาว สิทธิในที่ดินเป็นของการรถไฟฯ"

สำหรับการก่อสร้างนั้น ไทยและจีนมีความเห็นตรงกันในการแบ่งเป็นระยะ โดยช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ (บางซื่อ) - แก่งคอย ระยะทาง 118 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย - นครราชสีมา ระยะทาง 134 กม. และช่วงที่ 4 นครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 354 กม.จะอยู่ในระยะแรก ซึ่งจีนเสนอก่อสร้างช่วงนครราชสีมา - หนองคาย เป็นทางเดี่ยวก่อนในช่วงแรก เพื่อลดต้นทุนโดยจะมีการเตรียมงานด้านโครงสร้างพื้นฐานไว้ เมื่อปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจะสามารถเพิ่มเป็นทางคู่ได้ และไม่มีปัญหาในการเชื่อมต่อเพราะเส้นทางจากลาว เป็นทางเดี่ยว

อย่างไรก็ตาม ในการสัมมนา เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูล ความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชน ครั้งที่ 3นั้นมี ผู้เข้าร่วมการสัมมนาและชมนิทรรศการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการก่อสร้าง รถไฟขนาดทางมาตรฐาน มากกว่า 400 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจ อุตสาหกรรม หอการค้าจังหวัด และประชาชนชาวขอนแก่น โดยชาวชุมชน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ (ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น) โดยขอให้ก่อสร้างช่วงที่ผ่านชุมชน เป็นทางยกระดับ เนื่องจากที่ออกแบบไว้เป็นระดับดินซึ่งนอกจากทำให้ต้องมีการหยุดขบวนรถไฟตัดผ่านทางรถยนต์แล้วยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนบ้านไผ่ จึงยอให้ปรับแบบก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ซึ่งนายอาคม ระบุว่า การออกแบบจะต้องคำนึงถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน แต่การยกระดับรถไฟมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งจะต้องสรุปแบบก่อสร้างให้ชัดเจนก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต้องมาปรับเปลี่ยนแบบในระหว่างการก่อสร้าง

โดยการเชื่อมโยงระบบรางไปถึงจีน ผ่านสปป.ลาว และจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ และเป็นโอกาสสำคัญยิ่งในการกระจายความเจริญ และรายได้สู่ภูมิภาคตลอดแนวเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่าน โดยทุกจังหวัดในแนวเส้นทางรถไฟ จะต้องจัดทำแผนพัฒนารองรับเส้นทางรถไฟสายนี้ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทางรถไฟขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะเป็นโครงข่ายระบบรางพื้นฐานของประเทศไทย ที่จะสามารถพัฒนาให้ระบบรางเป็นการขนส่งหลักได้ ในระยะเร่งด่วน กระทรวงคมนาคมจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 993 กิโลเมตร โดยช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า - แก่งคอย และช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561 ช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร และช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ, ช่วงนครปฐม - หัวหิน และช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระหว่างการพิจาณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คาดว่าจะได้รับการอนุมัติภายในปี 2559

ในอนาคตหากโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐานแล้วเสร็จ จ.ขอนแก่น จะเป็นศูนย์กลาง ด้านคมนาคมขนส่งทางรางที่สำคัญในระดับภูมิภาคอาเซียน ตามแผนพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งทางรางของประเทศไทย พ.ศ. 2558 - 2565 โดย จ.ขอนแก่น จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟ จุดพักและการกระจายสินค้าไปยังจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งพื้นที่ในภาคตะวันออก และประเทศเพื่อนบ้าน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2016 5:32 pm    Post subject: Reply with quote

ทางคู่ 1 ม. เร็วพอๆ กับรถไฟไทย-จีน แต่ถูกกว่า โดย อาจารย์สามารถ ราชพลสิทธิ์ http://www.posttoday.com/social/think/418156
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2016 9:54 pm    Post subject: Reply with quote

อาคม" ย้ำรถไฟไทย-จีนเน้น "กทม.-โคราช-หนองคาย" เร่งเจรจาจีนลดค่าก่อสร้าง
ประชาชาติธุรกิจ
25 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10:40:22 น.

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2559 ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูล ความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชน ครั้งที่ 3

ภายใต้โครงการ สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐาน โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาและชมนิทรรศการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการก่อสร้าง รถไฟขนาดทางมาตรฐาน มากกว่า 400 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจ อุตสาหกรรม หอการค้าจังหวัด และประชาชนชาวขอนแก่น

นายอาคมกล่าวว่า นับเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการก่อสร้าง รถไฟขนาดทางมาตรฐาน ตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565 โดย พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ลงนามของฝ่ายรัฐบาลไทย และผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้ลงนามของฝ่ายรัฐบาลจีน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ณ ทำเนียบรัฐบาล

โครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐาน ขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) มีแนวเส้นทาง แบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ (บางซื่อ) - แก่งคอย ระยะทาง 118 กม. ช่วงที่ 2 แก่งคอย - มาบตาพุด ระยะทาง 239 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย - นครราชสีมา ระยะทาง 134 กม. และช่วงที่ 4 นครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 354 กม. รวมระยะทาง 845 กม.

"โดยให้ความสำคัญเส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย เป็นลำดับแรก ส่วนแก่งคอย-มาบตาพุดเป็นระยะต่อไป ความคืบหน้าอยู่ระหว่างทำรายละเอียดโครงการหาข้อสรุปมูลค่าลงทุนที่ยังต่างกันอยู่ระหว่างไทยและจีน จะเจรจาให้จีน" คิดค่าก่อสร้างไม่แพวเกินไป

ซึ่งจะเป็นการเดินทางและการขนส่งสินค้าอีกทางเลือกหนึ่งที่มีความเร็วสูงในอนาคตและสามารถทำให้ประเทศไทยเชื่อมโยงระบบรางไปถึงจีนได้ โดยผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ และเป็นโอกาสสำคัญยิ่งในการกระจายความเจริญ และรายได้สู่ภูมิภาคตลอดแนวเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่าน โดยทุกจังหวัดในแนวเส้นทางรถไฟ จะต้องจัดทำแผนพัฒนารองรับเส้นทางรถไฟสายนี้ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ อย่างแท้จริง

นายอาคมกล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทางรถไฟขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะเป็นโครงข่ายระบบรางพื้นฐานของประเทศไทย ที่จะสามารถพัฒนาให้ระบบรางเป็นการขนส่งหลักได้

ในระยะเร่งด่วน กระทรวงคมนาคมจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 993 กิโลเมตร โดยช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า - แก่งคอย และช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561 ช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร และช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ, ช่วงนครปฐม - หัวหิน และช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระหว่างการพิจาณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คาดว่าจะได้รับการอนุมัติภายในปี 2559

ในอนาคตหากโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐานแล้วเสร็จ จ.ขอนแก่น จะเป็นศูนย์กลาง ด้านคมนาคมขนส่งทางรางที่สำคัญในระดับภูมิภาคอาเซียน ตามแผนพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งทางรางของประเทศไทย พ.ศ. 2558 - 2565 โดย จ.ขอนแก่น จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟ จุดพักและการกระจายสินค้าไปยังจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งพื้นที่ในภาคตะวันออก และประเทศเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ การสัมมนาฯ จะจัดขึ้นอีก 3 จังหวัด ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา ในวันที่ 1 มี.ค. 59 ณ โรงแรมดุสิต ปริ้นเซส จ.สระบุรี ในวันที่ 2 มี.ค. 59 ณ โรงแรมเกี่ยวอัน และ จ.ระยอง ในวันที่ 10 มี.ค. 59 ณ โรงแรมโนโวเทล ริมเพ รีสอร์ท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2016 7:38 am    Post subject: Reply with quote

จีนขอสิทธิริมทางรถไฟ
โพสต์ทูเดย์ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 07:02 น.

อาคม" ปฏิเสธไม่รับเงื่อนไขฝ่ายจีน ยื่นขอสิทธิบริหาร 2 แนวข้างทางรถไฟไทย-จีน พ่วงลงทุนสถานี พร้อมสั่งลุยรางคู่ 7 เส้น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยระหว่างการสัมมนารับฟังความคิดเห็นโครงการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาโครงการรถไฟขนาดรางมาตรฐาน ที่ จ.ขอนแก่น โดยยอมรับว่า เมื่อเร็วๆ นี้ฝ่ายจีนได้ยื่นเงื่อนไขต่อฝ่ายไทยว่า หากฝ่ายไทยต้องการให้ฝ่ายจีนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอยนครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอยมาบตาพุด ตั้งแต่การลงทุนก่อสร้างรางรถไฟไปจนถึงร่วมทุนในการเดินรถ ฝ่ายจีนต้องการได้สิทธิในการใช้ประโยชน์พื้นที่ตลอดแนว 2 ข้างทางรถไฟ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟ

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยยืนยันว่า ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อเสนอของฝ่ายจีนได้ และการที่จีนขอสิทธิในการใช้ประโยชน์พื้นที่ 2 ข้างทางรถไฟดังกล่าวไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขการเจรจาโครงการนี้

"ในช่วงที่ผ่านมาฝ่ายไทยและจีนได้มีการหารือร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ ฝ่ายไทยได้เสนอให้ฝ่ายจีนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเพิ่ม จากเดิมที่จะร่วมลงทุนเฉพาะการเดินรถเท่านั้น เป็นให้ฝ่ายจีนเข้ามาร่วมลงทุนตั้งแต่การก่อสร้างทางรถไฟไปเลย แต่ฝ่ายจีนระบุว่าโครงการนี้อยู่ในประเทศไทย หากจะให้จีนลงทุนมากขึ้นจะต้องมีเงื่อนไขเพิ่ม เช่น จีนขอสิทธิในการบริหารพื้นที่ตลอดแนว 2 ข้างทางรถไฟ รวมถึงการดำเนินการในแต่ละสถานีด้วย" นายอาคม กล่าว

นายอาคม กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 10 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ประมาณกลางเดือน มี.ค.นี้ ฝ่ายไทยและจีนจะเจรจาเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อพัฒนาโครงการรถไฟไทย-จีน โดยจะตกลงสัดส่วนการร่วมลงทุนในบริษัทดังกล่าวให้ชัดเจนว่าแต่ละฝ่ายจะลงทุนเท่าใด ส่วนมูลค่าโครงการขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะต้องรอความเห็นจากบริษัทที่ปรึกษาของฝ่ายไทยก่อน

"การศึกษากรอบวงเงินลงทุนจะ ไม่ล่าช้าจนทำให้โครงการชะงัก ทุกอย่างจะยังเป็นไปตามกรอบเวลาเดิม คือ ต้องสรุปรายละเอียดการลงทุนและเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ ในขณะที่เส้นทางรถไฟไทย-จีน จะทำให้ไทยเชื่อมโยงระบบรางผ่านลาวไปถึงจีน ซึ่งช่วยสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า กระจายความเจริญ และสร้างรายได้สู่ภูมิภาคตลอดแนวที่รถไฟวิ่งผ่าน" นายอาคม กล่าว

นายอาคม ระบุว่า การพัฒนาโครงการไฟไทย-จีน จะเดินหน้าควบคู่กับการลงทุนรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทาง 993 กิโลเมตร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งตอบโจทย์ในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2016 5:53 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จีนขอสิทธิริมทางรถไฟ
โพสต์ทูเดย์ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 07:02 น.


“อาคม” สกัดจีนใช้ที่ข้างทางรถไฟ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 2559 06:01


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นโครงการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาโครงการรถไฟขนาดรางมาตรฐาน ที่จังหวัดขอนแก่นว่า ในการประชุมความร่วมมือรถไฟไทย-จีนอย่างเป็นทางการครั้งที่ 10 เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 845 กิโลเมตร ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เร็วๆนี้ กระทรวงคมนาคมมีประเด็นสำคัญที่ต้องเจรจากับทางจีนคือ การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนต้องทำให้เกิดความชัดเจนว่าแต่ละฝ่ายมีสัดส่วนการลงทุนเท่าไหร่ และในอนาคตสัดส่วนการลงทุนจะเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน

ทั้งนี้ ยอมรับว่าการหารือร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการในครั้งที่ผ่านมา ที่ไทยได้เสนอให้ฝ่ายจีนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียงการลงทุนเดินรถเป็นหลัก โดยจะให้จีนลงทุนตั้งแต่เริ่มก่อสร้างไปเลยนั้น ทางฝ่ายจีนระบุว่าโครงการดังกล่าวอยู่ในประเทศไทยและหากจะให้จีนลงทุนมากขึ้นต้องมีเงื่อนไขเพิ่ม เช่น การขอสิทธิประโยชน์ 2 ข้างทางที่จีนจะดำเนินการในแต่ละสถานี รวมทั้งทำโครงการที่จะเป็นประโยชน์ตามแนวเส้นทาง แต่ทางไทยยืนยันแล้วว่าสิทธิประโยชน์ 2 ข้างทางจะไม่อยู่ในเงื่อนไขการเจรจากับจีน ดังนั้น ต้องเจรจาเงื่อนไขอื่นต่อไป

สำหรับการศึกษามูลค่าโครงการนั้น ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดว่ามูลค่าโครงการที่จีนเสนอมาเปรียบเทียบกับข้อมูลฝ่ายไทยจะมีมูลค่าเท่าไหร่ จึงยังไม่สามารถเปิดเผยได้ คงต้องรอความเห็นจากบริษัทที่ปรึกษาก่อน แต่ยืนยันว่าการศึกษาวงเงินลงทุนจะไม่ล่าช้าและทำให้โครงการชะงัก โดยการพัฒนาโครงการรถไฟไทย-จีนจะเป็นไปตามกรอบเวลาเดิมที่จะต้องมีการสรุปรายละเอียดการลงทุนและเริ่มก่อสร้างภายในปี 2559 ซึ่งการพัฒนาโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วยทำให้ไทยเชื่อมโยงระบบรางไปถึงจีนได้ โดยผ่านลาว จะช่วยสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ กระจายความเจริญ และรายได้สู่ภูมิภาค ทั้งในเรื่องของการท่องเที่ยวตลอดแนวเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่าน และการขนส่งสินค้าต่างๆ เพราะรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร จะทำความเร็วและขนส่งสินค้าได้มากกว่าขนาดราง 1 เมตร และจะดำเนินการคู่ขนานกับการพัฒนาระบบรางขนาด 1 เมตร ภายใต้โครงการรถไฟทางคู่ในเส้นทางต่างๆทั่วประเทศด้วย เพราะเป็นโครงข่ายระบบรางพื้นฐานของไทยที่จะสามารถพัฒนาให้ระบบรางเป็นการขนส่งหลักได้ ซึ่งระยะเร่งด่วนกระทรวงคมนาคมจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง รวม 993 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44804
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2016 11:55 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีน "รถไฟสายการทูต" "รัฐบาลบิ๊กตู่" โหมลงทุนทางคู่แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 27 ก.พ. 2559 เวลา 10:01:30 น.

กำลังเป็นที่จับตาวาระสุดท้าย"รถไฟไทย-จีน" ภายใต้การขับเคลื่อนของ "รัฐบาลบิ๊กตู่" จะเป็นไปได้ดั่งหวัง หรือจะเป็นได้แค่ "รถไฟสายการทูต" ยังต้องลุ้นกันไปอีกยาว ๆ เมื่อทุกอย่างยังไม่มีท่าทีจะลงเอยในเร็ววัน

ที่สำคัญรูปแบบการลงทุนยังไม่ตกผลึก ถึงที่สุดแล้ว "จีน" จะโอเคหรือเซย์เยสกับสูตรใหม่ที่ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เขย่าใหม่ ให้จีนลงทุนใน "SPV-บริษัทร่วมทุน" ทั้งโครงการร่วมกันสัดส่วน 60% ไทย 40% เพื่อไม่ให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะเม็ดเงินลงทุนสูงถึง 5.3 แสนล้านบาท ทั้งสองรัฐบาลต้องแบกความเสี่ยงโครงการร่วมกัน

ทำให้ขณะนี้สถานะโครงการจึงดูอึมครึม จนเริ่มมีกระแสโครงการอาจจะไม่ได้ก่อสร้างในรัฐบาลชุดนี้ หากจีนยังยืนกรานจะไม่ปรับลดค่าก่อสร้าง และไม่ร่วมลงทุนตามที่ไทยเสนอ มีแนวโน้มจะลากการเจรจากันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ข้อยุติ หากไม่ทัน "รัฐบาล คสช." ก็ไปว่ากันต่อรัฐบาลหน้า

เพราะโครงการความร่วมมือ "รถไฟไทย-จีน" ในยุครัฐบาลที่ผ่านมา จาก "ประชาธิปัตย์" มาถึง "เพื่อไทย" ก็ได้แค่เซ็น MOU ร่วมกัน ซึ่ง "รัฐบาลปัจจุบัน" คงมีบทสรุปที่ไม่ต่างกัน

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เป็นไปได้รถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด 873 กม. ใช้เงินลงทุนกว่า 5.3 แสนล้านบาท จะยังไม่มีการก่อสร้างในเร็ว ๆ นี้ เพราะจีนยังไม่ตกลงรูปแบบการลงทุน ที่รัฐบาลไทยอยากให้รัฐบาลจีนลงทุน 60% ของทั้งโครงการ และอัตราดอกเบี้ยที่จะต้องพิเศษจริง ๆ

"ทางไทยรอได้ ไม่รีบ หากจีนอยากจะให้เร็วต้องรีบตัดสินใจ เพราะโครงการนี้จีนได้ประโยชน์เต็ม ๆ ทั้งเส้นทางรถไฟเป็นยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจากคุนหมิงลงมาทางตอนใต้ของไทย และมีทางขนสินค้าออกทางทะเลเพิ่ม รวมถึงได้ขายเทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้าด้วย"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันรัฐบาลให้ความสำคัญลงทุนรถไฟทางคู่รางขนาด 1 เมตร ระยะเร่งด่วน 6 สายทาง ระยะทาง 905 กม. ลงทุนกว่า 1.29 แสนล้านบาท เป็นลำดับแรกก่อน ได้แก่ สายฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย, จิระ-ขอนแก่น, มาบกะเบา-จิระ, ลพบุรี-ปากน้ำโพ, ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และนครปฐม-หัวหิน โดยทั้งหมดจะสร้างเสร็จในปี 2561-2563

"ส่วนรถไฟไทย-จีน เป็นรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างประเทศ ขณะนี้มองว่ายังไม่จำเป็น แต่จะไปยกเลิกคงไม่ได้ เพราะโครงการเป็นความร่วมมือรัฐบาลต่อรัฐบาล เหมือนเป็นสัญญาสุภาพบุรุษที่เจรจากันมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว มาถึงรัฐบาลปัจจุบันได้ปรับความเร็วจากรถไฟความเร็วสูง 250 กม./ชม. เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง 160-180 กม./ชม ต้องเจรจากันไปจนกว่าจะได้ข้อสรุปที่พอใจ"

ด้าน "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำความก้าวหน้าของโครงการผ่านรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ว่า รถไฟราง 1.435 เมตร เป็นรถไฟอนาคต เพื่อจะเตรียมการสู่การใช้รถไฟความเร็วสูง วันนี้ยังไปไม่ถึงตรงนั้น เพราะการใช้บริการ ขีดความสามารถของผู้ใช้บริการโดยสารยังไม่พร้อม แต่เตรียมการไว้ก่อน สร้างรางให้สามารถเป็นรถไฟความเร็วสูงได้ในอนาคต ขณะนี้นำรถไฟความเร็วปานกลางมาวิ่งก่อน

"หลายอย่างมีการปรับเปลี่ยน เช่น ราคา สถานี ความยาวของรถไฟ ฉะนั้นความร่วมมือไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย ใช้ขนผู้โดยสารอย่างเดียว เพราะจำเป็น ส่วนช่วงหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย และแก่งคอย-มาบตาพุด จะมีท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมจะใช้ทั้งขนคนและส่งทั้งสินค้า เดิมมีการพัฒนาทั้งหมดตลอดเส้น ตอนนี้ไม่ได้ ดูความพร้อม บางเส้นทางยังไม่สมบูรณ์ มีคนบุกรุกมาก ต้องขยายเส้นทางและเวนคืน"

นายกรัฐมนตรี ยังย้ำว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานถนนและรางต้องทบทวนอีกครั้ง เพราะการลงทุนเป็นช่วง ๆ ใช้เงินมหาศาล ต้องหาเงินมาลงทุนในช่วงแรก ต้องมีการปรับแก้ ไม่ใช่รัฐบาลไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ตราบใดที่ยังไม่ได้เซ็นสัญญา วันนี้ถ้ายังไม่จำเป็นจะเป็นรถไฟความเร็วสูง ก็ใช้รถความเร็วปานกลาง 100-180 กม./ชม. เร็วกว่าจากปัจจุบันรถไฟวิ่ง 80 กม./ชม. ต้องค่อย ๆ พัฒนาเป็นเส้น ๆ ไปตามหลักความเร่งด่วน ภายในประเทศก็สร้างทางคู่ 1 เมตร

เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 71, 72, 73 ... 121, 122, 123  Next
Page 72 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©