Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273519
ทั้งหมด:13584815
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 89, 90, 91 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/12/2017 10:18 am    Post subject: Reply with quote

“อาคม” จัด 1.35 แสน ล.พัฒนาถนนภาคเหนือ พร้อมลงทุนโครงข่ายรถไฟ-ขยายสนามบิน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 27 ธ.ค. 2560 09:18

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ครม.นอกสถานที่อย่างเป็นทางการ หรือ ครม.สัญจร จ.สุโขทัย ได้พิจารณาภาพรวมแผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งในภาคเหนือ โดยเส้นทางรถไฟทางคู่ที่กระทรวงสนับสนุน คือเส้นทางเด่นชัย-เชียงใหม่ จะช่วยลดเวลาเดินทางจาก กทม.มายังเชียงใหม่ลง 2 ชั่วโมงเหลือ 12 ชั่วโมง ส่วนเส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย-เชียงของ คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ช่วงต้นปี 2561 โดยนายกรัฐมนตรีให้ไปดูแผนการพัฒนาระบบรางขนาดเล็กเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายหลักไปยังเส้นทางท่องเที่ยวในเมืองรองมากขึ้น

ส่วนการพัฒนาโครงการทางถนน ปัจจุบันภาคเหนือได้รับการจัดสรรงบประมาณ 24% ของการก่อสร้างถนนทั่วประเทศ แบ่งเป็นถนนที่เชื่อมโยงภาคเหนือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ถนนของ สปป.ลาว ที่จะเชื่อมไปยังประเทศจีน และการเชื่อมโยงภาคเหนือกับภาคอื่นๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ให้นโยบายว่าควรมีการก่อสร้างในเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างเมืองท่องเที่ยว ส่วนโครงการที่กระทรวงเร่งรัด ได้แก่ ถนนอุตรดิตถ์-ตาก และเส้นทางสายแม่สอด-น่าน

นายอาคม ยังกล่าวถึงการพัฒนาการคมนาคมขนส่งทางอากาศของพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ การขยายท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยขยายอาคารผู้โดยสารอีกแห่งเพื่อรองรับผู้โดยสารได้ 10 ล้านคน ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2578 และการย้ายอาคารขนส่งสินค้า (Cargo) เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ส่วนสนามบินลำปาง แพร่ น่าน มีแผนจะขยายรันเวย์ สนามบินพิษณุโลก จะจัดซื้อสะพานเทียบเครื่องบินใหม่ และสนามบินแม่สอด จ.ตาก ที่มีการขยายจะให้บริการได้เดือน พ.ค.2561

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.สัญจรจ.สุโขทัย รับทราบแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคเหนือ วงเงินในการดำเนินการในส่วนของเส้นทางถนนระยะทาง 25,506.28 กิโลเมตร งบประมาณระหว่างปี 2557-2561 วงเงิน 135,000 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2017 10:49 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลงทุนใหม่ปี 61 กว่า 1 แสนล้านบาท
Money Channel 10.23 น. 28 ธ.ค. 60

กระทรวงคมนาคม ระบุ แผนการลงทุนใหม่ปี 2561 วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท พร้อมทบทวนรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น ให้เหมาะสม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม บอกว่า แผนการลงทุนของกระทรวงคมนาคมในปี 2561 จะใช้งบประมาณสำหรับโครงการใหม่ประมาณ 1 แสนล้านบาท รวมทั้งยังมีโครงการที่ล่าช้าจากการลงทุนในปี 2560 เช่น โครงการรถไฟทางคู่จำนวน 9 เส้นทาง ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-ปากน้ำโพ, เด่นชัย-เชียงใหม่ และเด่นชัย-เชียงราย เป็นต้น

ส่วนกรณีนายกรัฐมนตรีขอให้ไปศึกษาความคุ้มค่าของโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งทางญี่ปุ่นเสนอแผนการก่อสร้างช่วงแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก มาให้ไทยแล้ว มูลค่า 270,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเสนอหลักการให้ครม.พิจารณาได้ไม่เกิน เดือนมีนาคม 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2018 4:29 pm    Post subject: Reply with quote

มหกรรมลงทุนแห่งปี 2561 ลุย 44 เมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 2 มกราคม 2561 - 11:26 น.

“รัฐบาลทหาร” ต้องแข่งกับเวลา กระทรวงคมนาคมต้องแข่งกับตัวเอง เพื่อผลักดันโครงการใหญ่ให้เป็นจริงแผนปฏิบัติเร่งด่วนปี 2559-2561 มี 51 โครงการ มูลค่า 2.39 ล้านล้านบาท ถ้าสำเร็จจีดีพีจะทะลุ 4%

“อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศว่า ปี 2561 จะเป็นปีที่แผนเร่งด่วนเปิดประมูลและขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเริ่มโครงการและส่งต่อให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการแผนลงทุนมีโครงการต่อเนื่องปี 2559-2560 จำนวน 43 โครงการ วงเงิน 2.29 ล้านล้านบาท โครงการใหม่ปี 2561 จำนวน 8 โครงการ วงเงิน 103,285 ล้านบาท รวม 51 โครงการ มูลค่าลงทุน 2.39 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยุทธศาสตร์คมนาคมขนส่งปี 2558-2565 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แม้ “คมนาคม” อยากเทกระจาดโครงการยักษ์ให้หมด แต่ด้วยข้อจำกัดและได้รับโจทย์จาก “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” มือเศรษฐกิจรัฐบาล คสช. ขอให้จัดลำดับโครงการก่อนหลัง โดยให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นลำดับแรก เพื่อเปิดประมูลให้จบในปี 2561

Click on the image for full size

ทำให้ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ต้องรีวิวโครงการใหม่จาก 51 โครงการ เหลือ 44 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 1.9 ล้านล้านบาท เช่น ทางคู่สายใต้รวบจาก 3 โครงการ นครปฐม-หัวหิน, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร เป็นโครงการนครปฐม-ชุมพร 422 กม. ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง) และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง รวบเป็นโครงการเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

และตัดบางโครงการออกจากบัญชี เช่น สายสีเขียวคูคต-ลำลูกกา และสมุทรปราการ-บางปู เนื่องจากเคลียร์หนี้ 6 หมื่นล้านบาทจากการโอนทรัพย์สินของสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต ให้กับ “กรุงเทพมหานคร” ยังไม่ลงตัว

ส่วนรายละเอียด 44 โครงการ แยกเป็นกลุ่มโครงการคณะกรรมการ PPP เห็นชอบ หรือ ครม.อนุมัติได้ภายในปี 2561 จำนวน 21 โครงการ ได้แก่ ทางด่วนกะทู้-ป่าตอง ศูนย์ขนส่งชายแดนนครพนม ซื้อรถเมล์ไฟฟ้า 35 คัน มอเตอร์เวย์ 3 สาย มีนครปฐม-ชะอำ, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพฯ-มหาชัย

ส่วนต่อขยายโทลล์เวย์ช่วงรังสิต-บางปะอิน รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และกรุงเทพฯ-หัวหิน สายสีแดง บางซื่อ-หัวหมากและบางซื่อ-หัวลำโพง สายสีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ โมโนเรล จ.ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และขอนแก่น พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ท่าเรือบก จ.ขอนแก่น และศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน

อีก 23 โครงการเป็นกลุ่มโครงการประกวดราคาแล้วเสร็จ หรือเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561 ได้แก่ จุดจอดพักรถบรรทุก จ.บุรีรัมย์ และขอนแก่น ทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงเกษตร-นวมินทร์-วงแหวนตะวันออก

ทางคู่นครปฐม-ชุมพร, ลพบุรี-ปากน้ำโพ, มาบกะเบา-จิระ และทางคู่เฟส 2 มีปากน้ำโพ-เด่นชัย, จิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา, เด่นชัย-เชียงใหม่ และทางคู่สายใหม่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-นครพนม

รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สายสีแดงช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช สายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม โครงการก่อสร้างลานจอดและระบบไฟฟ้าสนามบินกระบี่ ขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินขอนแก่นและพัฒนาระบบตั๋วร่วม

เรื่องคิวเปิดประมูล “อาคม” ย้ำว่า ต้นปี 2561 จะเปิดประมูลทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สีแดง ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา สีส้มศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดยื่นข้อเสนอ ก.พ. ประกาศผู้ได้รับคัดเลือกเดือน พ.ค. เซ็นสัญญาเดือน ส.ค. 2561

ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 จะเปิดประมูลกลางปี และเซ็นสัญญาสิ้นปี 2561 รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ผ่านการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว กำลังเสนอบอร์ด PPP สายกรุงเทพฯ-โคราช เริ่มสร้างแล้วที่สถานีกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. ที่เหลือจะประมูลให้เสร็จในปี 2561 ส่วนรถไฟทางคู่เฟส 2 และทางคู่ 9 เส้นทางสายใหม่ เสนอ ครม.ในเดือน ก.พ.-มี.ค.นี้

ส่วนโครงการที่ไม่อยู่ในแผนเร่งด่วน จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP fast track คือบำรุงรักษามอเตอร์เวย์ 30 ปี สายบางปะอิน-โคราช ระยะทาง 196 กม. แบ่งเป็นค่าก่อสร้างด่านและระบบ 15,611 ล้านบาท ค่าบำรุงรักษา 18,962 ล้านบาท และบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. ค่าก่อสร้าง 12,636 ล้านบาท และค่าบำรุงรักษา 19,558 ล้านบาท

ปี 2561 จึงต้องลุยกันต่อกับเมกะโปรเจ็กต์ที่ผลักดันกันมานานหลายยุคหลายรัฐบาล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2018 2:00 am    Post subject: Reply with quote

“อานนท์”ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ ร.ฟ.ท. พร้อมมอบกระเช้าปีใหม่
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 1 มกราคมส 2561 15:59:00
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ร.ฟ.ท. ประจำศูนย์ปลอดภัยกระทรวงคมนาคมนาคม พร้อมมอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ โดยมี นายวิทยา ยาม่วง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำ (นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับมอบ

ร.ฟ.ท.คาดวันนี้คนเข้ากรุงแน่นสุด มั่นใจไม่มีผู้โดยสารตกค้างแน่
เผยแพร่: 2 ม.ค. 2561 13:26:00 โดย: MGR Online
นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท.เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 2-4 มกราคม 2561 ร.ฟ.ท.ได้เตรียมพร้อมรับประชาชนช่วงเดินทางกลับ โดยจะจัดขบวนพิเศษให้ และเพิ่มโบกี้ทุกสายที่มาจาก จ.เชียงใหม่ อุบลราชธานี หนองคาย และหาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าวันนี้ประชาชนจะเดินทางกลับมากสุด ประมาณ 150,000 คน เป็นผู้โดยสารที่จองตั๋วล่วงหน้า 110,000 คน และผู้โดยสารเดินทางซื้อตั๋วหน้าช่อง 25,000 - 35,000 คน โดยมั่นใจว่าจะไม่มีผู้โดยสารตกค้างอย่างแน่นอน

ร.ฟ.ท.จัดรถเสริม 4 ขบวน รองรับประชาชนเดินทางกลับวันนี้
เผยแพร่: 2 ม.ค. 2561 12:08:00 ปรับปรุง: 2 ม.ค. 2561 13:37:00 โดย: MGR Online





การรถไฟฯ พร้อมรับมือผู้โดยสารเดินทางกลับกรุงเทพฯ วันนี้ เพิ่มขบวนรถเสริม 4 ขบวน รองรับได้เพิ่มอีกวันละ 12,000 คน คาดช่วงบ่ายหัวลำโพงจะหนาแน่น

นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงความพร้อมในการรับมือผู้โดยสารในเที่ยวกลับเข้ากรุงเทพฯ ว่า การรถไฟฯ ได้เพิ่มขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสารในวันที่ 2 มกราคม 2561 จำนวน 4 ขบวน และวันที่ 3 มกราคม 2561 จำนวน 2 ขบวน รวม 6 ขบวน ขณะที่จำนวนตัวเลขผู้โดยสารที่เดินทางในวันที่ 1 มกราคม 2561 มีจำนวน 95,923 คน

สำหรับในวันหยุดสุดท้ายของเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2561 คาดว่าจะมีประชาชนเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ เป็นจำนวนมากเพื่อเริ่มต้นการทำงานในวันพรุ่งนี้ การถไฟฯ จึงได้จัดขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสารในวันนี้จำนวน 4 ขบวน ในเส้นทาง ศิลาอาสน์-กรุงเทพฯ อุบลราชธานี-กรุงเทพฯ-อุดรธานี-กรุงเทพ และเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 5,000 คน รวมกับขบวนรถที่มีเดินประจำ 242 ขบวนต่อวัน จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้วันละ 12,000 คน

ทั้งนี้ บรรยากาศการเดินทางของผู้โดยสารในส่วนภูมิภาค ผู้ที่เดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ เริ่มหนาแน่น แต่สามารถรองรับผู้โดยสารได้โดยไม่มีตกค้าง ส่วนที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) บรรยากาศทั่วไปยังไม่คึกคัก คาดว่าจะหนาแน่นในช่วงบ่ายที่มีขบวนรถเข้าทยอยเดินทางมาถึงสถานีกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง

สำหรับการเดินทางในช่วงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ซึ่งถือเป็นวันสิ้นปี 2560 มีจำนวนผู้โดยสารเดินทางลดลงจากวันก่อนๆ มีผู้โดยสารที่เดินทางจำนวน 86,292 คน เส้นทางที่มีผู้โดยสารเดินทางหนาแน่นที่สุด คือ สายใต้ มีผู้โดยสารเดินทางจำนวน 27,009 คน รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือ 21,111 คน และสายเหนือ 20,051 คน

ในคืนส่งท้ายปี 2560 ไม่มีรายงานการเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟหรือบริเวณทางตัดเสมอระดับรถไฟ-รถยนต์แต่อย่างใด มีเพียงผู้โดยสารพลัดตกขบวนรถ 1 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ ได้ให้ความสำคัญในด้านปฏิบัติการของทุกหน่วย ทั้งพนักงานในการบริการ ตรวจตราดูแลความเรียบร้อยบนขบวนรถและในสถานี เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ พนักงานรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟประจำตามสถานีที่มีผู้โดยสารใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัยให้ผู้โดยสารบนขบวนรถ ประสานกับหน่วยงานท้องถิ่น อบต. อปพร. เพิ่มเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครประจำตามจุดตัดถนนเสมอระดับทางรถไฟ โดยเฉพาะทางผ่านที่เห็นว่ามีความเสี่ยง หรือมีสถิติอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ตรวจสภาพทางให้มีความปกติมั่นคงปลอดภัยต่อการเดินรถ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสาร ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/01/2018 9:57 am    Post subject: Reply with quote

บทความ : เร่งขับเคลื่อนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
แหล่งที่มา : สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์
วันที่ข่าว : 4 มกราคม 2561
http://nwnt.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNOHT6101040010001

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จะเร่งขับเคลื่อนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการลงทุนไปถึงปี 2561 ประกอบด้วย

-โครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายช่วงที่ 1, กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เริ่มเฟสแรก ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร

-โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะมีการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัท การบินไทย และบริษัท แอร์บัส เป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาธุรกิจการบินและศูนย์ซ่อมอากาศยานในพื้นที่อีอีซี เพื่อสนับสนุนนโยบายการเป็นเมืองศูนย์กลางทางการบินของไทย นอกจากบริษัท แอร์บัสแล้ว ยังมีภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาลงทุนในอีอีซี เช่น สายการบินแอร์เอเชีย และสายการบินลุฟต์ฮันซา โดยรัฐบาลสนับสนุนทุกสายการบินที่จะเข้ามาขยายกิจการในไทย ทั้งในด้านของเส้นทางการบิน รวมถึงศูนย์ซ่อมอากาศยานเพื่อส่งเสริมนโยบายการเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค แต่ภาคเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะเข้ามาช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน ในประเทศไทยได้อย่างไร

-โครงการก่อสร้างรถทางคู่ เฟสแรก 5 เส้นทาง ระยะทาง 702 กิโลเมตร ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางนครปฐม-หัวหิน โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร

-โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 3 สัญญา ระยะทางรวม 136 กิโลเมตร

-โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ 2 สัญญา

ทั้งนี้ เมื่อโครงการผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยนัดหมายกับเอกชนผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลให้มาประชุมรับฟังข้อมูลและลงนามในสัญญา ในปี 2561 เป็นปีที่รัฐบาลจะดูแลเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้มากขึ้น เร่งโครงการสำคัญๆ โดยโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ จะเร่งประสานกับรถไฟไทยให้จัดประชุมและลงนามกับเอกชน ขณะที่ในปี 2561 จะเร่งเดินหน้าตามแผนงานที่วางไว้

ด้านนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟไทย (รฟท.) กล่าวว่า รฟท.ได้รับนโยบายเร่งรัดการลงนามกับภาคเอกชน ในสัญญารถไฟทางคู่ ทั้ง 5 เส้นทาง ไปดำเนินการ หลังจากดำเนินการจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณโครงการเป็นไปอย่างรวดเร็ว ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งในปี 2561 จะมีเม็ดเงินที่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากโครงการดังกล่าว ไม่ต่ำกว่า 6,000-7,000 ล้านบาท

เรียบเรียงโดย พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/01/2018 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

'สมคิด'ย้ำกรมทางหลวงใช้ยางพาราสร้างถนนเต็มที่
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2561 17:27 น.

รองนายกฯสมคิดมอบนโยบายแก่กรมทางหลวง เน้นเชื่อมโยงการขนส่งให้คล่องตัว เอื้อประโยชน์พัฒนาประเทศ ย้ำ ใช้ยางพาราสร้างถนนเต็มที่
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่กรมทางหลวง หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง และคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังนโยบาย

โดย นายสมคิด กล่าวว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายหลักคือการลดความเหลื่อมล้ำดังนั้น รัฐบาลนี้จึงมองเห็นว่าการจะแก้ไขปัญหาให้กับประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความยากจนลงมาให้ได้นั้น ถนนทางหลวง คือตัวหลักซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมไปยังจุดสำคัญ ๆ ในทุกกลุ่มจังหวัด และจะต้องมีเส้นทางระหว่างกลุ่มจังหวัด ต้องให้กลุ่มจังหวัดเป็นศูนย์กลาง มีการวางจุดเชื่อมต่อ มีการวางแผน เน้นจุดเชื่อมต่อในเมืองรอง ในส่วนของการนำยางพารามาใช้ก็ต้องนำมาใช้อย่างเต็มที่ เพราะจากการสำรวจยังมีถนนในหลายพื้นที่ไม่มีการลาดยางลงไป

ในส่วนของรถไฟ ควรมีการพัฒนาอีกอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการใน 2-3 ปีนี้ ต้องทำให้เร็ว ต้องรถไฟนำไม่ใช่ให้รถนำ บางครั้งอาจจำเป็นต้องตั้งบริษัทลูกขึ้นมา และต้องพัฒนาองค์กรเดิมให้แข็งแรงขึ้น และในบางพื้นที่อาจจะเหมาะสมกับรถไฟทางเดียวมากกว่า หรือบางพื้นต้องใช่รถไฟรางคู่ ซึ่งจะช่วยรองรับถนนหนทางในบางพื้นที่ได้

----

บี้พัฒนาถนน-รางหนุนEEC กระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค เพิ่มศักยภาพโลจิสติกส์
ไทยโพสต์ Saturday, January 6, 2018 - 00:08

"สมคิด” บี้คมนาคมเร่งพัฒนาถนนเชื่อมระบบรางรองรับอีอีซี หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ-ลงทุนภูมิภาค ด้าน "อาคม" สนองนโยบายเดินหน้าสร้างถนน 48,000 ล้านบาท พร้องเร่งรวมถึงศึกษาจุดเชื่อมต่อระหว่างโครงการรถไฟทางคู่ 2 เส้น หวังเพิ่มศักยภาพโลจิสติกส์ พร้อมแจงผู้รับเหมาให้เข้าใจทิศทางลงทุนรัฐบาล

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายผู้บริหารที่กรมทางหลวง ว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมทบทวนโครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เพื่อเน้นการเชื่อมโยงด้านหมวดคมนาคมทั้งทางถนน รถไฟเข้าด้วยกันให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ รวมถึงให้ความสำคัญกับการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานขนส่งที่สนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเชื่อมต่อการเดินทางรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน และกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ได้รับทราบนโยบายและจะนำแผนปี 2563-2565 ในส่วนโครงการที่เร่งด่วนมาดำเนินงานก่อน โดยปี 2562-2565 จะใช้งบประมาณก่อสร้างถนนภายในอีอีซีประมาณ 48,000 ล้านบาท รวมถึงศึกษาจุดเชื่อมต่อระหว่างโครงการรถไฟทางคู่ 2 เส้นทางที่อยู่ในแผนพัฒนาระบบคมนาคมภาคตะวันออก (East-West Corridor) ช่วงบ้านไผ่ มุกดาหาร นครพนม และเด่นชัย เชียงราย เชียงของ ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์

ทั้งนี้ เป็นการเชื่อมต่อเส้นทางหลักที่จะเพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ทั้งการขนส่งสินค้าและการเดินทาง เชื่อมต่อไปยังลาวและเวียดนามได้ โดยขณะนี้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ศึกษาความเป็นไปได้ ทั้งนี้ แผนการจัดสรรงบประมาณ ปี 2562 จะต้องเสร็จภายใน 2 เดือน

นายอาคมกล่าวว่า นายสมคิดยังได้มีการหารือกับผู้รับเหมา ประเภทชั้น 1 และชั้น 2 เพื่อทำความเข้าใจทิศทางการทำงานของรัฐบาลจากนี้ไป 3-4 ปีข้างหน้า จะเกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง จึงต้องการให้ผู้รับเหมาก่อสร้างทำงานอย่างซื่อสัตย์ ไม่ทิ้งงาน เน้นความปลอดภัยเป็นสำคัญ เบิกจ่ายเงินอย่างรวดเร็ว และให้โอกาสผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก รายกลาง และใหญ่ เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานของไทย พร้อมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชนนำยางพาราทำถนนให้มากขึ้น คาดว่าในปี 61 นี้จะเพิ่มปริมาณการใช้น้ำยางดิบได้มากกว่า 40,000 ตัน

อย่างไรก็ตาม ส่วนด้านผู้รับเหมาเอกชนกังวลปัญหาแรงงานที่ขาดแคลน ขอให้รัฐจัดหาแรงงานเข้าระบบ และขอจัดตั้งสภาก่อสร้างไทย เพื่อดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของผู้รับเหมาไทย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างและปัญหาจากการคอร์รัปชัน รวมทั้งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้างในภาพรวมได้

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้นำเสนอผลงานที่ดำเนินการในปี 2560 ถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว และแผนแม่บทที่จะดำเนินการในอนาคต โดยรองนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายกรมทางหลวงชนบทเกี่ยวกับการก่อสร้างถนนโครงข่ายที่เชื่อมถึงกันให้สมบูรณ์เพื่อลดความเลื่อมล้ำทางสังคม อีกทั้งยังเน้นย้ำให้กรมทางหลวงชนบทใช้ยางพาราในการก่อสร้างถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ตามนโยบายของรัฐบาล.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/01/2018 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

ผ่าแผนระบบรางปี’61 ‘ทางคู่-ไฮสปีด-รถไฟฟ้า’
มติชนออนไลน์ วันที่ 6 มกราคม 2561 - 17:58 น.

ที่มา หน้า 2 มติชนรายวัน
เผยแพร่ วันที่ 6 มกราคม 2561

หมายเหตุ – กระทรวงคมนาคมเดินหน้าโครงการระบบรางภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2559 หรือแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 1 และแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 2 ปี 2560 ได้สำเร็จจนสามารถลงนามในสัญญา และก่อสร้างหลายโครงการ ดังนั้นในปี 2561 จึงเป็นปีแห่งการสานต่อโครงการต่างๆ ให้เดินหน้าตามแอ๊กชั่นแพลนที่กำหนดไว้

โครงการระบบรางภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง แอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 1 และแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 2 ปี 2560 ได้สำเร็จจนสามารถลงนามในสัญญาและก่อสร้างหลายโครงการไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 23 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 7.92 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 3.97% ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงินลงทุน 46,643 ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงินลงทุน 45,797 ล้านบาท อยู่ระหว่างรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคเพื่อลงมือก่อสร้างแล้ว

นอกจากนี้ ยังมี รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง 702 กม. รวม 9 สัญญา มูลค่า 69,531 ล้านบาท ก็สามารถลงนามในสัญญาได้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา คือ 1.ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 136 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร วงเงิน 7,560 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ วงเงิน 9,290 ล้านบาท 2.ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 168 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย วงเงิน 6,465 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร วงเงิน 5,992 ล้านบาท 3.ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล วงเงิน 8,198 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน วงเงิน 7,520 ล้านบาท 4.ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกระเทียม วงเงิน 10,050 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ วงเงิน 8,649 ล้านบาท และ 5.ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 5,807 ล้านบาท โดยทั้งหมดจะเริ่มก่อสร้างช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 เพื่อให้แล้วเสร็จตามแผนงานภายในปลายปี 2565

ขณะเดียวกันก็มี รถไฟไทย-จีน หรือ รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.3 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ที่ได้ลงมือก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ไป เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา ส่วนที่เหลืออีก 3 ตอน คือ ตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. ตอนที่ 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. และตอนที่ 4 ช่วงแก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กม. ได้แบ่งประกวดราคาออกเป็น 13 สัญญา จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2561 เช่น ตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร์ จะเปิดประมูลได้ภายในไตรมาสที่ 1 เป็นต้น ตั้งเป้าหมายเปิดบริการปี 2564

ส่วนการดำเนินงานระยะที่ 2 จากนคราชสีมา-หนองคายจะดำเนินการต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ในปี 2561 โดยไทยจะเป็นผู้ดำเนินการเอง จะใช้ผลการศึกษาและแบบการก่อสร้างที่ รฟท.เป็นผู้ดำเนินการนำเสนอ ครม.อนุมัติ ซึ่งการก่อสร้างในระยะที่ 2 กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าไม่มีอะไรยุ่งยากเหมือนระยะที่ 1 เนื่องจากสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ไม่มีภูเขา

สำหรับปี 2561 นี้ การก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์ทางรางที่ต้องเดินหน้าต่อยังมีอีกหลายโครงการเช่นเดียวกัน ทั้งที่อยู่ภายใต้แอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 1 และแอ๊กชั่นแพลน ระยะที่ 2 ที่จะต้องเดินหน้าต่อเนื่อง

เริ่มจากรถไฟทางคู่อีก 9 เส้นทาง วงเงินรวม 398,383.25 ล้านบาทของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คือ
1.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 23,384.91 ล้านบาท
2.ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 339 กม. วงเงิน 51,823.83 ล้านบาท
3.ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,941.80 ล้านบาท
4.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 56,066.25 ล้านบาท
5.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กม. วงเงิน 59,924.24 ล้านบาท
6.ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. วงเงิน 76,978.82 ล้านบาท
7.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. วงเงิน 26,065.75 ล้านบาท
8.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. วงเงิน 35,839.74 ล้านบาท และ
9.ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 60,351.91 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะทยอยนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้

โดยในบรรดารถไฟทางคู่ทั้งหมดนี้มี 2 เส้นทางที่เป็นรถไฟสายใหม่ คือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และช่วงบ้านไผ่-นครพนม ซึ่งช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ได้ศึกษามาตั้งแต่ปี 2503 จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 57 ปีแล้วที่ประชาชนในพื้นที่รอคอยที่จะใช้บริการ ขณะที่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ก็เป็นเส้นทางสายใหม่เช่นเดียวกัน ได้ศึกษาตั้งแต่ปี 2537 ตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่พยายามผลักดันให้มีรถไฟทางคู่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ขนส่งสินค้า และพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่

ยังมี ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าอีกหลายเส้นทาง คือ สายสีม่วง (ด้านใต้) ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 101,112 ล้านบาท ซึ่งตามแผนงานจะได้ตัวผู้ชนะประมูลในเดือนกันยายน และเริ่มก่อสร้างปลายปี 2561 และ สายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ ระยะทาง 12.9 กม. วงเงิน 111,186 ล้านบาท

รถไฟชานเมืองอีก 2 เส้นทาง คือ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) ระยะทาง 10 กม. วงเงิน 7,596 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 20 กม. วงเงิน 19,042.13 ล้านบาท รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 31,149.35 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 7 กม. เงินลงทุน 11,989 ล้านบาท ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. เงินลงทุน 13,701 ล้านบาท และสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 17,262 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/01/2018 8:28 am    Post subject: Reply with quote

ทล.-ทช.ถกผู้ค้ายาง8ม.ค.ดันยอดใช้ในปท.
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ.2561 7:28 น.

อธิบดีกรมทางหลวง เผย 8 ม.ค. ร่วมกับกรมทางหลวงชนบท ถกผู้ค้ายางพารา ดันยอดใช้ในประเทศ เตรียมชงครม.ของบเพิ่ม 5,000 ลบ.เดือนก.พ.
นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยกับสำนักข่าว INN ว่าในวันจันทร์ที่ 8 มกราคมนี้ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทจะหารือกับบริษัทผู้ค้ายางพาราเพื่อหารือแนวทางการใช้ยางพาราเพิ่มให้สอดคล้องกับปริมาณยางพาราของสหกรณ์ที่ยังค้างอยู่ ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางและ สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาล ส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ เพิ่มสัดส่วนการใช้ยางพาราภายในประเทศให้มากขึ้น และลดการส่งออกให้น้อยลง

โดยในส่วนของกรมทางหลวงตั้งเป้า 10,000 ตัน ในปี 2561 และกรมทางหลวงชนบท 10,000 ตัน รวมทั้งหมด 20,000 ตัน ทั้งนี้ ในส่วนของกรมทางหลวงจะเสนอขอนุมัติเพิ่มเติมจำนวน 5,000 ล้านบาท จากเดิมที่ใช้ไปแล้ว 1,000 ล้านบาท ซึ่งจะเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติภายต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2561

นอกจากนี้ กรมทางหลวงจะเร่งหารือร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทยในการสร้างถนนรองรับสถานีรถไฟที่จะเกิดขึ้นในอนาคตพร้อมกับทบทวนแผนการลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีในการขยับโครงการลงทุนของปี 2563-2564 มา รวมในปี 2562 เพื่อให้โครงการมีความชัดเจนและดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนให้เร็วขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2018 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ระนองระดมความคิดเห็นเส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 15:35:00 โดย: MGR Online
ระนอง - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง

ชาวบ้านเชียร์รถไฟชุมพร-ระนอง
เดลินิวส์ พุธที่ 10 มกราคม 2561 เวลา 12.35 น.

สนข. เผยชาวชุมพร-ระนอง หวั่นโดนเวนคืนรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนองได้ไม่คุ้มเสีย แนะออกแบบป้องกันน้ำท่วม เพราะภาคใต้ฝนตกตลอดทั้งปี ย้ำอย่าให้ต้องรอเก้อ

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งความคืบหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนองว่า เมื่อเดือน ธ.ค.60 ที่ผ่านมา สนข. ได้ลงพื้นที่จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น (Focus Group) 5 พื้นที่ ใน จ.ชุมพร และ ระนอง แบ่งเป็น จ.ชุมพร 2 พื้นที่ ได้แก่ ต.ตากแดด และ ต.วังใหม่ ส่วนจ.ระนอง 3 พื้นที่ ได้แก่ อ.กระบุรี อ.ละอุ่น และ อ.เมืองระนอง โดยได้ข้อมูลจากชาวระนองว่า เดิมระนองเคยมีรถไฟ เส้นทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี-คลองละอุ่น หรือที่รู้จักกันในชื่อว่าทางรถไฟสายคอคอดกระอยู่แล้ว ซึ่งเป็นทางรถไฟที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีแนวเส้นทางในพื้นที่ อ.ละอุ่น และ อ.กระบุรี ดังนั้นจึงไม่ต้องการให้รถไฟที่จะสร้างขึ้นใหม่มีแนวเส้นทางทับกับแนวเส้นทางรถไฟเดิม เพราะชาวระนองต้องการอนุรักษ์รถไฟสายประวัติศาสตร์นั้นไว้ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้การออกแบบสถานีรถไฟควรนำวัฒนธรรมท้องถิ่น เอกลักษณ์ของจังหวัดมาใช้ในการออกแบบ เช่น พระราชวังรัตนรังสรรค์ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด รวมทั้งอนาคตต้องการให้สถานีรถไฟเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ทำให้ประชาชนในพื้นที่นำสินค้าท้องถิ่นมาวางขาย เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้สู่ชุมชนด้วย ขณะเดียวกันประชาชนกังวลเรื่องการเวนคืน เนื่องจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือโฉนดที่ดิน หากมีการเวนคืนประชาชนจะไม่ได้รับค่าเวนคืนจะได้รับเฉพาะค่าชดเชยเท่านั้น

ส่วนประชาชนชาวชุมพร ให้ความเห็นว่าการออกแบบทางวิศวกรรมโครงการดังกล่าว ควรตระหนักถึงปัญหาน้ำท่วม และออกแบบรองรับกับปริมาณน้ำฝนด้วย เพราะชุมพรมีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี หากมีการสร้างแนวเส้นทางที่มีน้ำท่วมเกรงว่าจะมีปัญหาตามมา รวมทั้งจุดตัดทางรถไฟให้มีระบบความปลอดภัยที่ดี แนวเส้นทางรถไฟไม่ควรสร้างตัดแบ่งถนน เพราะทำให้วิถีชีวิตชุมชนแยกออกจากกัน อย่างไรก็ตามประชาชนเน้นย้ำว่าให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเร็วๆ อย่าให้ต้องรอเก้อ

ทั้งนี้ ช่วงกลางเดือน ม.ค.61 จะประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการดังกล่าว โดยที่ปรึกษาจะนำเสนอร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ร่างรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (ไออีอี) และร่างรายงานออกแบบเบื้องต้น โดยโครงการรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง มีระยะทาง102.5 กม. เบื้องต้นมี 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยก เข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 4 กม. จุดเริ่มต้นแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรและอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด โดยแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งไปยังทิศตะวันตกและขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขต อ.เมือง จ.ชุมพร อ.กระบุรี อ.ละอุ่น และ อ.เมือง จ.ระนอง จนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง หากมีความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจและความคุ้มค่า คาดว่าโครงการดังกล่าว เริ่มสร้างปี 64 แล้วเสร็จปี 67 และเปิดให้บริการได้ในปี 68 ส่วนวงเงินในการลงทุนยังอยู่ระหว่างรอการสรุป

อย่างไรก็ตาม สนข. จะจัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อปิดโครงการและรายงานผลการศึกษา ใน 2 จังหวัดดังกล่าวภายในเดือน ก.พ.61 จากนั้นที่ปรึกษาจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้ สนข. ภายใน ก.พ.61 ก่อนที่ สนข. จะนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมทราบ และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการศึกษารายละเอียดต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2018 8:47 am    Post subject: Reply with quote

อิตาเลียนไทย ปักหมุด 3 แสนล้าน ปาดเค้กเมกะโปรเจ็กต์ คสช. กัดฟันลุยทวาย-เหมืองโพแทช
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 24 มกราคม 2561 - 08:00 น.

สัมภาษณ์

ปี 2560 นับเป็นปีทองของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์พี่ใหญ่วงการรับเหมาก่อสร้างเพราะเป็นปีที่ตุนงานท่วมท้น 1.3 แสนล้าน มากที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา 60 ปี

“เปรมชัย กรรณสูต” บอสใหญ่ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ กล่าวว่า ปี 2560 ได้งานใหม่ในมือประมาณ 1.3 แสนล้านบาท (รวมโรงไฟฟ้าแม่เมาะ 35,000 ล้านบาท) มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 8 หมื่นล้านบาท นับว่าสูงสุดในประวัติการณ์

ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือเพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นงานในประเทศและต่างประเทศสัดส่วน 50:50 จะสามารถรับรู้รายได้ 4 ปี เฉลี่ยปีละ 125,000 ล้านบาท โดยปี 2560 ที่ผ่านมารับรู้รายได้ 6 หมื่นล้านบาท คาดว่าปี 2561 จะถึง 1 แสนล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลมีการผลักดันโครงการขนาดใหญ่เปิดประมูลออกมามากกว่าปี 2560 ถึงเท่าตัวกว่า 1 ล้านล้านบาท ที่บริษัทประเมินไว้จะเข้าร่วมมีหลายโครงการซึ่งล้วนเป็นงานที่ถนัด

ไม่ว่ารถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 9 โครงการ มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท รถไฟไทย-จีน รถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูน-ราษฏร์บูรณะและสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ยังมีงานอื่น ๆ อีก เช่น โครงการบริหารจัดการน้ำ โดยคาดว่าบริษัทจะได้งานในมืออย่างน้อย 3 แสนล้านบาท


“เราพร้อมเข้าร่วมประมูลโครงการจากภาครัฐ ทั้งงานก่อสร้างและร่วมลงทุน PPP ขอให้รัฐเร่งเปิดประมูลโครงการ เราเตรียมพันธมิตรไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะร่วมกับจีนยื่นประมูลโครงการ”

ขณะที่กำไรขั้นต้นของบริษัทมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ประเมินจากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 10% เพิ่มขึ้นจากปี 2559 อยู่ที่ประมาณ 7-8% และปี 2561 คาดว่าจะมากกว่า 10% เนื่องจากงานโครงสร้างพื้นฐาน ในประเทศมีขนาดใหญ่ รวมทั้งงานในต่างประเทศก็ดี

สำหรับงานในต่างประเทศ “เปรมชัย” ขยายความว่า ที่ได้แล้วมี 2 โครงการคือ ทางด่วนยกระดับ 5 หมื่นล้านบาท ความคืบหน้าก่อสร้าง 8% กับรถไฟฟ้ายกระดับ 3 หมื่นล้านบาท ที่เมืองดักการ์ ประเทศบังกลาเทศ

ขณะเดียวกันยังร่วมประมูล สนามบิน อีก 3 หมื่นล้านบาท และมอเตอร์เวย์อีก 1 แสนล้านบาทที่บังกลาเทศ รวมทั้งรถไฟใต้ดิน 3 หมื่นล้านบาท โรงบำบัดน้ำเสีย และจะร่วมประมูลสนามบินที่มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับสนามบินสุวรรณภูมิ ในไตรมาสแรกปี 2561

ด้าน “โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย” เมกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาลเมียนมา เป็นอีกโปรเจ็กต์ที่ “บิ๊กอิตาเลียนไทย” เกาะติดแบบใจหายใจคว่ำ หลังหยุดชะลักมานานหลายเดือนหลังมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่

“โครงการทวาย เราก็ติดตามประชุมร่วมกับพม่าทุกเดือน ซึ่งโครงการกลับมาเริ่มใหม่หลังเปลี่ยนรัฐบาล ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา”

ในส่วนของเราเรียบร้อยแล้ว เหลือฝ่ายพม่าพิจารณา อนุมัติใบอนุญาตการเช่าใช้ที่ดิน ระยะเวลา 75 ปี รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และด้านเทคนิค ซึ่งได้จ้างที่ปรึกษาจากประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัท นิปปอน โคอิ จำกัด และโอเรกอนจาก ยุโรป ดู การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน และระบบพลังงาน ซึ่งอิตาเลียนไทยได้ส่งแบบการก่อสร้างไปให้พม่าตั้งแต่ปี 2559 คาดว่าพม่าจะจ้างที่ปรึกษาต้นปีนี้ โดยใช้เงินจากอิตาเลียนไทย ซึ่งโครงการทวายงานยังเดินหน้าไปเรื่อย ๆ แต่ค่อนข้างช้า ทำให้ตอนนี้เริ่มงานไม่ได้เลย

“การชะลอโครงการทวายมีผลกระทบมาก เพราะโครงการควรเริ่มต้นตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2559 แต่เงียบสนิทไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยใน 1 ปีที่ผ่านมา มั่นใจว่าไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะเริ่มดำเนินการได้” นายเปรมชัยกล่าวและว่า

สำหรับโครงการทวายบริษัทได้จับมือกับ บมจ. สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ลงทุนคนละประมาณ 6,389 ล้านบาท หรือ 200 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เงินกู้อีกประมาณ 19,169 ล้านบาท หรือ 600 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ พัฒนาโครงการในเบื้องต้นได้ลงทุนไปแล้ว 7,000-8,000 ล้านบาท สำหรับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม มีพื้นที่ขาย 13,000 ไร่ ส่วนถนนเชื่อมไปยังทวาย รัฐบาลไทยให้รัฐบาลพม่ากู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยเปิดประมูล และอิตาเลียนไทยก็มีสิทธิเข้าร่วมประมูล ถ้าประมูลได้ เราก็จะเดินหน้าก่อสร้างต่อไป

จากนั้นจะทยอยพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม อินฟราสตรักเจอร์ ท่าเรือ โรงไฟฟ้า 400 เมกะวัตต์ วงเงิน 31,949 ล้านบาท หรือ 1,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐใช้เวลาดำเนินการประมาณ 10 ปี

นอกจาก “ทวาย” ยังมีโครงการเหมือนแร่โพแทช จ.อุดรธานีที่ “บิ๊กอิตาเลียนไทย” ยังไม่สามารถผลักดันไปจนตลอดรอดฝั่งได้ในห้วงเวลาที่ผ่านมา

“เราลงทุนไป 4,000-5,000 ล้านบาท ซื้อสิทธิสัมปทานจากแคนนาดาระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี ตอนนี้ต้องปรับโครงการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเหมืองแร่ใหม่ คาดว่าอีก 6 เดือนจะได้รับใบอนุญาตจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หลังจากนั้นจะขายหุ้นบางส่วนเพื่อนำเงินมาลงทุนโครงการ”

สำหรับโครงการนี้บริษัทถือหุ้น 90% อีก 10% ถือโดยกระทรวงการคลัง จะขายให้จีนประมาณ 20% ทำให้มีเงินทุนโครงการประมาณ 31,949 ล้านบาทหรือ 1,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ มาลงทุนโครงการระยะแรก จะมีกำลังการผลิต 2 ล้านตันต่อปี เงินจำนวนนี้มาจากผู้ถือหุ้นประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และจากเงินกู้ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในอนาคตข้างหน้า จะเพิ่มอีก 31,949 ล้านบาท หรือ 1,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มกำลังผลิตจาก 2 เป็น 4 ล้านตันต่อปี โดยต้องรีไวต์แผนธุรกิจใหม่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าโครงการจะได้รับการอนุมัติ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 89, 90, 91 ... 121, 122, 123  Next
Page 90 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©