Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311329
ทั่วไป:13291394
ทั้งหมด:13602723
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 17/09/2013 10:57 am    Post subject: Reply with quote

คงเป็นกรณีศึกษาสำหรับประเทศเพื่อนบ้านที่อาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่มีราคาแพงล้วนๆ แต่ไม่ใช่ของได้มาฟรีๆ นะครับ ดูสิ ต้องเอาเหมืองทองค้ำ เหมืองทองแดงเป็นประกัน แถมยกพื้นที่สองข้างทางรถไฟให้หาประโยชน์ระยะยาวอีกด้วย

ประเทศจีนนั้นกลายเป็นประเทศนายทุนไปแล้วครับ ถึงจะพะยี่ห้อว่าเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ก็เถอะ

หวังว่า หลายๆ คนที่เชียร์ค่ายสังคมนิยมสุดจิตสุดใจนั้น คงต้องคิดใหม่แล้วล่ะ มันทะแม่งหูตั้งแต่มีข่าวข้อเสนอให้ใช้บริษัทจีน และคนงานจีนเท่านั้น โดยอ้างว่ามีเทคโนโลยีสูง ต้องพิถีพิถันทุกขั้นตอน แถมยังแบะท่าว่าพื้นที่สัมปทานสองข้างทางรถไฟให้ทางจีนหาประโยชน์อีกด้วย

ดูหมิ่นฝีมือบริษัทก่อสร้างในไทยเกินไปหน่อย ถ้าไทยตกลง ทางมาเลเซีย สิงคโปร์ คงหยามกึ๋นของรัฐบาลน่าดูล่ะ
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 17/09/2013 11:15 am    Post subject: Reply with quote

เงินสองล้านล้านบาท ถ้าไม่ทำ กระดูกสันหลังคงผุล่ะคราวนี้

ถ้าทำแล้ว ยังเฉื่อยชาเหมือนเดิม เห็นท่าจะต้องยกเครื่องทั้งยวง


Last edited by black_express on 21/09/2013 11:12 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2013 10:34 am    Post subject: Reply with quote

ถ้าทำแล้ว ก็ต้องทำทั้งระบบครับ ที่ผ่านมาทำไปค้างเติ่งไว้แบบสุพรรณบุรี คีรีรัฐนิคม สายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เลยทำให้ไม่เห็นผลประกอบการเป็นรูปธรรม
----
รมว.คมนาคม ย้ำการลงทุนตามแผนในร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ถึงปีละ 260,000 ล้านบาท
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 21 กันยายน 2556

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ย้ำการลงทุนตามแผนในร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะช่วยลดต้นทุนด้านระบบการขนส่ง(โลจิสติกส์)ถึงปีละ 260,000 ล้านบาท

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ว่า ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ....วงเงิน 2 ล้านล้านบาท มีเป้าหมายทยอยลงทุนใน 7 ปี รวม 53 โครงการ ซึ่งจะเน้นการลงทุนระบบราง ทั้งการลงทุนรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีการลงทุนสร้างสถานีขนส่งสินค้าเพื่อกระจายสินค้า 15 แห่ง สร้างด่านศุลกากร 41 แห่ง สร้างถนน 4 เลน มอเตอร์เวย์ พัฒนาทางหลวงชนบทเชื่อมต่อด่านศุลกากรและประเทศเพื่อนบ้าน และสร้างท่าเรือเพิ่มอีก 4 แห่ง ซึ่งงบประมาณ 2 ล้านล้านบาทเป็นเพียงการเตรียมกรอบเงินไว้ แต่เมื่อก่อสร้างจะต้องขออนุมัติแต่ละโครงการอีกครั้งตามขั้นตอน ซึ่งยืนยันได้ถึงความรอบคอบของการพิจารณาแต่ละโครงการ ทั้งนี้โครงการที่สามารถดำเนินการได้ทันที คือการก่อสร้างรถไฟทางคู่และการพัฒนาถนน โดยการดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนการลงทุนจะช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้ถึง 260,000 ล้านบาทต่อปี รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคต่างๆ จึงยืนยันว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างแน่นอน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวอีกว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะใช้เวลา ดำเนินการ 7 ปี จึงจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งการเชื่อมโยงเส้นทางกับประเทศเพื่อนบ้านจะพิจารณาจากจีนเป็นหลัก ส่วนรถไฟทางคู่ขณะนี้มีการเชื่อมโยงเส้นทางกับมาเลเซีย และการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟทางเดี่ยวกับกัมพูชา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/10/2013 8:17 pm    Post subject: Reply with quote

สว.หวั่นหนี้เงินกู้บาน 6 ล้านล้าน
โพสต์ทูเดย์ 07 ตุลาคม 2556 เวลา 19:19 น.

สว.หวั่นหนี้เงินกู้บานพุ่ง 6 ล้านล. เชื่อรถไฟเร็วสูงไม่คุ้มทุน ฟันธงสาย กทม.-เชียงใหม่เจ๊ง หนุนรางคู่-ขนส่งทางน้ำจี้หั่นงบเหลือ 4 เเสนล้าน

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่รัฐสภา การประชุมวุฒิสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินวงเงิน 2 ล้านล้านบาทภายหลังที่ประชุมสภาผู้เเทนราษฎรให้ความเห็นชอบ นายสมชาย แสวงการ สว.สรรหา กล่าวว่า คัดค้านร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจาก รมว.คมนาคมเคยชี้แจงต่อวิปวุฒิว่า เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทไม่ได้กู้ในประเทศ 100% ตามที่ได้แจ้งในตอนแรก แต่เงิน 40% หรือประมาณ 8 แสนล้านบาทกู้จากต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อเทียบเงินกู้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วหากวิกฤตเศรษฐกิจเหมือนปี 2540 ค่าเงินกู้ 8 แสนล้านดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้น 40-50% กลายเป็นเงิน 1.2 ล้านล้านบาท เมื่อบวกกับเงินกู้เดิมอีก 1.8 ล้านล้านบาทก็จะกลายเป็น 3 ล้านล้านบาท

“เป็นธรรมดาที่เงินต้นขิ้น ดอกเบี้ยก็ต้องขึ้น เดิมดอกเบี้ยที่ตั้งไว้ 3.1 ล้านล้านบาทใช้หนี้ 50 ปี อาจจะพุ่งขึ้นเป็น 1 เท่าตัว เมื่อรวมเงินกู้ 3 ล้านล้าน และดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเเล้วอาจสูงถึง 6 ล้านล้านบาท”นายสมชายกล่าว

นายสมชาย กล่าวต่อว่า ไม่เชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงจะสร้างจุดคุ้มทุนได้ เพราะหากคุ้มทุนรัฐต้องได้ค่าใช้จ่ายต่อหัว 2.50 บาทต่อกม. หากสร้างสายกทม.-เชียงใหม่ต้องใช้งบ 3.8 แสนล้านบาท ซึ่งสถาบันทีดีอาร์ไอระบุว่าต้องขนคนเฉลี่ย 9 ล้านคนต่อปีจึงจะคุ้มทุน แต่ขณะนี้มีจำนวนคนเดินทางไป กทม.-เชียงใหม่โดยรถยนต์ เครื่องบิน รถทัวร์เพียง 5 ล้านคนต่อปีเท่านั้น ดังนั้นเท่ากับแค่เริ่มต้นก็ขาดทุนแล้ว อีกทั้งรัฐต้องเติมงบประมาณอีก 2-3 หมื่นล้านบาทด้านค่าพนักงาน ค่าไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ยอดการขาดทุนเพิ่มขึ้น

นายสมชาย กล่าวด้วยว่า อาจารย์กานดา นาคน้อย จากคณะเศรษฐศาสตร์ ม.คอนเน็ตทิคัต สหรัฐอเมริกา เสนอแนะว่าโครงการนี้มีปัญหาและความขัดแย้งกันเอง เพราะต่างประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูง แต่กลับใช้ระบบต่างจากไทย เช่น รถไฟของใต้หวันที่มักอ้างกันนั้นเป็นระบบที่ให้เอกชนรับสัมปทานเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างหรือจัดการ เมื่อครบกำหนดกิจการก็โอนกิจการและทรัพย์สินคืนแก่รัฐบาล ขณะที่เกาหลีใต้มีการตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนในการสร้างรถไฟ เเละมีเงื่อนไขให้บริษัทร่วมทุนกู้เองด้วย โดยรัฐเอางบมารับภาระหนี้สิน 55% ของราคาโครงการเท่านั้น

ทั้งนี้สหรัฐอเมริกานั้นพบว่าบริษัทที่ขาดทุนทั้งหมดเป็นรถไฟข้ามมลรัฐ เหลือเพียงรถไฟที่ขนส่งเท่านั้น ส่วนญี่ปุ่นและอังกฤษมีการลงทุนรถไฟฟ้ารางคู่และรถไฟความเร็วสูงเอง แต่ขาดทุนจนต้องถูกแปรรูปทั้งหมด เหลือรถไฟที่มีกำไรสามารถบริหารได้ คือ รถไฟของเอกชนในเมืองหลวง โดยรัฐก็ให้การสนับสนุนโดยให้กู้ดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาด โดยนายสมชายกล่าวว่า กรณีต่างประเทศชี้ว่ารถไฟความเร็วสูงเกินความจำเป็นสำหรับประเทศไทยที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาและยากจน

อย่างไรก็ตามนายสมชายยืนยันว่า ไม่ได้ค้านทุกโครงการในงบ 2 ล้านล้านบาท แต่มองว่าต้นทุนการขนส่งนั้น แพงที่สุด คือ ทางบก รองลงมา คือ ทางรางและทางน้ำ แต่ปรากฏว่าในงบ 2 ล้านล้านบาทมีงบประมาณที่พัฒนาการขนส่งทางน้ำเพียง 29,581 ล้านบาทหรือเพียง 1.5% เท่านั้น จึงเห็นว่ารัฐควรถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ หรืแก้ไขร่างให้เหลือเพียงโครงการการขนส่งทางน้ำและการพัฒนาระบบรถไฟรางคู่เท่านั้น ซึ่งรวมทั้ง 2 โครงการคือทางน้ำเเละรางคู่แล้วใช้เงินเพียง 436,708 ล้านบาทเท่านั้น รัฐไม่จำเป็นต้องใช้เงินถึง 2 ล้านล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/10/2013 6:16 pm    Post subject: Reply with quote

กดปุ่ม 2 ล้านล. เฟสแรก ปี′57 29โครงการผ่าน EIA รอตอกเข็ม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 08 ต.ค. 2556 เวลา 17:39:49 น.

เปิดความพร้อมโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน "ชัชชาติ" ยันเดินหน้าตามขั้นตอน เผย 29 โครงการยักษ์ผ่าน EIA รอกดปุ่มได้ทันทีหลังกฎหมายผ่าน ทั้งถนน มอเตอร์เวย์ด่านศุลกากร ทางคู่ ไฮสปีดเทรน พลิกโฉมประเทศ กรมทางหลวง ทางหลวงชนบท รถไฟฯ รฟม.คัดเลือกโครงการจ่อตั้งแท่นประมูลเฟสแรกต้นปี"57 จับตาเค้ก 7 แสนล้าน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ระหว่างรอร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่งของประเทศ พ.ศ....หรือร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภา ตนได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อม โดยให้คัดเลือกและจัดลำดับโครงการที่พร้อมลงทุน และได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) สามารถเดินหน้าลงทุนได้ทันที เตรียมนำมาเปิดประมูลก่อสร้างหลังกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ เบื้องต้นพบว่าจากจำนวนโครงการหลัก ภายใต้แผนลงทุน 2 ล้านล้านบาท จำนวน 53 โครงการ มีโครงการที่จัดทำรายงานอีไอเอ และได้รับอนุมัติแล้ว 29 โครงการ ไม่ต้องจัดทำอีไอเอ 13 โครงการ และอยู่ระหว่างเตรียมจัดทำอีไอเอ 11 โครงการ

Click on the image for full size

เร่งปลดล็อกเวลาอนุมัติอีไอเอ

สำหรับโครงการที่อีไอเอยังไม่ผ่านการพิจารณา มีรถไฟทางคู่ อยู่ระหว่างรออนุมัติ รถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง ยื่นไปแล้ว 1 สายคือเฟสแรกสายเหนือ จากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เร็ว ๆ นี้เป็นสายกรุงเทพฯ-โคราช และกรุงเทพฯ-หัวหิน เวลาจะห่างกันไม่เกิน 1-2 เดือน ส่วนกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ยังอีกนาน เนื่องจากเพิ่งเริ่มศึกษาโครงการ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาอีไอเอไม่น่าจะนาน เพราะการก่อสร้างอยู่ในแนวเขตทางรถไฟเดิม ไม่ได้สร้างผลกระทบให้ประชาชนมากนัก

ขณะเดียวกัน จะหารือร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) หาแนวทางแก้ปัญหาที่ทำให้การพิจารณาล่าช้า เพื่อให้โครงการเดินหน้าเร็วขึ้น แต่ไม่ได้ลัดขั้นตอนทุกอย่างดำเนินการตามกรอบกฎหมาย เพียงแต่จะเพิ่มประสิทธิภาพการพิจารณารายงานอีไอเอสำหรับโครงการ 2 ล้านล้าน โดยร่วมกันพิจารณาว่าที่ผ่านมามีปัญหาติดขัดจุดไหน จะได้แก้ไขตรงจุด ให้โครงการดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้

เดินหน้าทันทีหลัง พ.ร.บ.บังคับใช้

นายชัชชาติกล่าวว่า ในส่วนของโครงการที่มีความพร้อมทุกด้าน สามารถเดินหน้าก่อสร้างได้ทันทีหลังร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ในปี 2557 ที่พร้อมประมูล ได้แก่ ถนน มอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้า 8 สาย มีสายสีเขียว ชมพู แดง ส้ม เหลือง รถไฟทางคู่ ที่เหลือยังไม่ได้ศึกษาโครงการ โดยจะเริ่มประมูลในปีที่ 3 และ 4 ต่อไป มีทางคู่สายใหม่ 6 สาย เช่น สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ สายชุมพร-สุราษฎร์ฯ สายสุราษฎร์ฯ-ปาดังเบซาร์ สายปากน้ำโพ-เด่นชัย สายขอนแก่น-หนองคาย และสายจิระ-อุบลราชธานี

แผนงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง วงเงิน 783,229 ล้านบาท นายชัชชาติกล่าวว่า คาดว่าจะเริ่มประมูลได้กลางปี 2557 รวม 3 สาย ประกอบด้วย สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-หัวหิน ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบประมูล จะแยกสัญญาระหว่างงานคัดเลือกงานระบบก่อน หรือจะดำเนินการไปพร้อม ๆ กับงานก่อสร้าง ส่วนกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2558

"มีบางโครงการที่หนักใจบ้าง คือรถไฟความเร็วสูง เพราะเป็นเรื่องใหม่ และกลัวบางโครงการจะแล้วเสร็จไม่ทัน 7 ปี เช่น ท่าเรือปากบารา เพราะมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ขณะนี้รถไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะก่อสร้างในกรุงเทพฯ อาจจะมีปัญหาเรื่องเวนคืนที่ดินบ้าง แต่ทุกอย่างก็ต้องเดินหน้า" นายชัชชาติย้ำ

ทล.พร้อมประมูล 1.8 แสนล้าน

นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมได้รับจัดสรรกรอบวงเงินในร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท 377 โครงการ วงเงินลงทุน 241,080 ล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างใน 7 ปีนี้ โดยจะใช้เวลาประมูล 4 ปี แยกเป็น ปี 2557 วงเงิน 186,600 ล้านบาท เบิกจ่ายจริง 38,190 ล้านบาท ปี 2558 เบิกจ่าย 21,150 ล้านบาท และเบิกจ่ายจริง 55,105 ล้านบาท ปี 2559 จำนวน 27,790 ล้านบาท เบิกจ่ายจริง 70,010 ล้านบาท ปี 2560 จำนวน 5,540 เบิกจ่ายจริง 61,412 ล้านบาท ที่เหลืออีก 16,363 ล้านบาท จะเบิกจ่ายปี 2561

ในส่วนของกรมทางหลวงทุกโครงการพร้อมเปิดประมูลทันทีหลัง พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ แต่จะทยอยก่อสร้างให้แล้วเสร็จใน 4 ปี ได้แก่ โครงการบูรณะสายทางหลักระหว่างภาค, ทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ, ขยาย 4 ช่องจราจร, มอเตอร์เวย์ 3 สาย เริ่มประมูลสายบางปะอิน-โคราช จ่ายค่าเวนคืนสายพัทยา-มาบตาพุด และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี รวมทั้งงานสะพานข้ามทางรถไฟ

ซอยมอเตอร์เวย์ร่วม 10 สัญญา

ตามแผนปีแรกจะประมูลได้ครบหมด มีงานบูรณะทางสายหลัก 235 โครงการ วงเงิน 31,600 ล้านบาท ส่วนงานอื่นจะทยอยประมูลจนถึงปี 2560 เช่น สะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่ง ปี 2557 ประมูล 22 แห่ง ปี 2558 จำนวน 22 แห่ง ปี 2559 จำนวน 20 แห่ง และปี 2560 จำนวน 19 แห่ง ขยาย 4 เลน จาก 80,610 ล้านบาท ปี 2557 ประมูลได้ 50,380 ล้านบาท ขณะที่ถนนเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ปีแรกอยู่ที่ 7,390 ล้านบาท

สำหรับมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช ระยะทาง 196 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 84,600 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการทันทีในปี 2557 ทั้งเวนคืนที่ดิน ซึ่งมีค่าชดเชย 6,630 ล้านบาท และงานประมูลก่อสร้างอีกกว่า 77,970 ล้านบาท โดยจะแบ่งงานมากกว่า 10 ตอน เพื่อเร่งรัดโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

ทช.มี 3 โครงการ ร่วม 8 พันล้าน

ขณะที่นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า กรมมีโครงการประมูลทุกปี ตั้งแต่ปี 2557-2561 เนื่องจากต้องเวนคืนที่ดินให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเปิดประมูล โดยทุกโครงการออกแบบรายละเอียดเสร็จหมดแล้ว และไม่อยู่ในข่ายต้องจัดทำรายงานอีไอเอ ปี 2557 จะเปิดประมูล 3 โครงการ วงเงิน 7,917 ล้านบาท จากทั้งหมด 34,309 ล้านบาท ที่ได้รับจัดสรรจากเงินกู้ 2 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการสนับสนุนสนามบินสุวรรณภูมิ สายแยกทางหลวง 314-ลาดกระบัง ระยะทาง 20.33 กิโลเมตร วงเงิน 3,838 ล้านบาท 2.สะพานข้ามทางรถไฟ 8 แห่ง 1,705 ล้านบาท และ 3.ถนนรอยัลโคสต์ 12 โครงการ 2,376 ล้านบาท ที่เหลือจะประมูลปี 2558 วงเงิน 8,675 ล้านบาท เช่น โครงการสนับสนุนท่าเทียบเรือเชียงแสน 2,773 ล้านบาท สะพานข้ามทางรถไฟ 17 แห่ง 3,314 ล้านบาท ถนนรอยัลโคสต์ 10 โครงการ 1,815 ล้านบาท ปี 2559 จำนวน 2,526 ล้านบาท ปี 2560 จำนวน 3,450 ล้านบาท และปี 2561 จำนวน 562 ล้านบาท

รถไฟฯลุ้นทางคู่ 5 สาย แสนล้าน

ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ปีแรกงาน ร.ฟ.ท.พร้อมประมูลก่อสร้าง 140,271 ล้านบาท จากวงเงินลงทุนทั้งหมดกว่า 1.276 ล้านล้านบาท หลัก ๆ เป็นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของทางรถไฟ เช่น ราง หมอน สะพาน รั้ว เพราะไม่ต้องจัดทำอีไอเอ

รถไฟทางคู่ เฟสแรก 5 สาย 797 กิโลเมตร 118,829 ล้านบาท หลังได้รับอนุมัติอีไอเอสิ้นปีนี้ จะประมูลทันทีปี 2557 ได้แก่
1.สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กิโลเมตร 24,842 ล้านบาท
2.มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร 29,855 ล้านบาท
3.จิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร 26,007 ล้านบาท
4.นครปฐม-หัวหิน 165 กิโลเมตร 20,833 ล้านบาท และ
5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร 17,292 ล้านบาท


8 สาย 3.4 แสนล้าน

นอกจากนี้ มีรถไฟฟ้าใหม่ 8 สาย ของ ร.ฟ.ท.และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มูลค่าลงทุนรวม 342,497 ล้านบาท ได้แก่ สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) 6,243 ล้านบาท สีแดงอ่อน (บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง) 38,469 ล้านบาท

สีแดงเข้ม (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) 5,412 ล้านบาท สีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) 7,527 ล้านบาท สีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) 58,590 ล้านบาท สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 58,624 ล้านบาท สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) 110,326 ล้านบาท และสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 57,306 ล้านบาท


ทางน้ำ-สถานีขนส่งสินค้า รอปี"58

สำหรับการลงทุนทางน้ำของกรมเจ้าท่า (จท.) 29,580 ล้านบาท ที่พร้อมประมูลคือก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งน้ำพังแม่น้ำป่าสัก ระยะที่ 1 วงเงิน 11,387.87 ล้านบาท ส่วนท่าเรือชุมพร ท่าเรือสงขลา แห่งที่ 2 ท่าเรือน้ำลึกปากบารา สถานีขนส่งทางน้ำที่อ่างทอง ต้องทำอีไอเอก่อนประมูลปี 2558

ด้านกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้รับงบฯลงทุน 14,093 ล้านบาท เริ่มประมูลพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า 15 แห่ง ในเมืองชายแดนและเมืองหลัก รับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) 11,856 ล้านบาท ในปี 2557-2558 ส่วนศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่เชียงของ วงเงิน 2,236 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน 200 ไร่ จะเริ่มเวนคืนปี 2557 ก่อสร้างปลายปี 2558 ส่วนการปรับปรุงด่านศุลกากรทั้ง 41 แห่ง ของกรมศุลกากร 12,545 ล้านบาท ปี 2557 จะประมูลและก่อสร้างได้ทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ซึ่งผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร อยู่ระหว่างรอการพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภา โดยจะพิจารณาวาระแรกวันที่ 7 ตุลาคมนี้ คาดว่าวุฒิสภาจะใช้เวลาพิจารณาวาระ 2 และ 3 แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

----

มติ ส.ว. 86:41 รับหลักการกู้ 2 ล้านล้านทำรถไฟขนผัก รัฐบาลแย้มต้องผ่าน EHIA ก่อน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 ตุลาคม 2556 19:17 น.

ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเสียงข้างมาก 86 ต่อ 41 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านทำรถไฟขนผัก “ชัชชาติ” บอกไม่ใช่อนุมัติโครงการได้เลย ต้องทำอีเอชไอเอก่อน “โต้ง ไวท์ไล” วอน ส.ว.เชื่อเถอะนะ รัฐบาลมีปัญญาใช้หนี้ อ้างคำนวณแล้วไม่กระทบรายจ่ายประจำปี

วันนี้ (8 ต.ค.) ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเสียงข้างมาก 86 ต่อ 41 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง เห็นชอบรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. …วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ภายหลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ ทั้งนี้ที่ประชุมวุฒิสภาได้ใช้เวลาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา มี ส.ว. อภิปราย 71 คน ใช้เวลากว่า 18 ชั่วโมง ส่วนรัฐบาลใช้ไป 24 นาที โดยที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจำนวน 25 คน และกำหนดระยะเวลาแปรญัตติภายใน 7 วัน ก่อนสั่งปิดการประชุม

โดยในช่วงท้าย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ชี้แจงว่า การผ่านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะอนุมัติโครงการได้เลย เพราะทุกโครงการต้องดำเนินการตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทุกประการ เท่ากับว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟรางคู่จะต้องผ่านการทำอีเอชไอเอก่อน และถ้าโครงการทำอีเอชไอเอไม่ผ่านโครงการนั้นก็ไม่สามารถทำต่อไปได้

ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงินฯ ร้อยละ 60 เป็นการวางโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นเรื่องอนาคต ขณะนี้มีความตกลงกับ 5 ประเทศเพื่อส่งบุคลากรไปฝึกฝน ดังนั้นเชื่อว่าจะเกิดความตื่นตัว ซึ่งโครงการรถไฟความเร็วสูง รัฐบาลได้มองถึงแง่ความเติบโตของเศรษฐกิจในการสร้างเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตามขณะนี้มีต่างประเทศแสดงความต้องการที่จะเข้ามาร่วมทุนแล้ว ในสัดส่วนต่างชาติ ร้อยละ 49 และนักลงทุนไทย ร้อยละ 51 ทั้งนี้ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานรัฐจะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด ในด้านการดำเนินการยืนยันจะปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ด้านนายวราเทพ รัตนกร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้าน ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมกฤษฎีกาแล้วถึง 2 ครั้ง โดยไม่มีประเด็นใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแน่นอน

ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลัง กล่าวขอบคุณและชี้แจงว่า การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เป็นกรอบวงเงินเพื่อให้รัฐบาลชุดปัจจุบันและอนาคต กู้เงินไม่เกินวงเงินดังกล่าว ขอให้เชื่อมั่นว่ารัฐบาลสามารถควบคุมวินัยการคลังและการชำระหนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ได้เป็นไปตามที่ ส.ว. ให้ความกังวล และที่ผ่านมาหลายรัฐบาลได้ออกกฎหมายเงินกู้จำนวนหลายฉบับ แต่ไม่มีฉบับใดที่มแผนการชำระเงินกู้อย่างเป็นทางการ แม้การชำระหนี้ที่มีการคำนวณไว้ 50 ปีจะชำระหมด ภายใต้ข้อสมมติของอัตราดอกเบี้ยที่จะสูงขึ้น และเงินต้น ได้คำนวณอย่างระวังไม่กระทบต่อกฎหมายรายจ่ายประจำปี โดย 10 ปีแรกจะไม่มีการชำระคืนเงินต้นของยอดกู้เงิน แต่หลังจากนั้นจะคืนเงินต้น จำนวน 2 หมื่นล้านบาทต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2013 9:17 am    Post subject: Reply with quote

2 ล้านล้านบูม...ภาคอีสาน เชื่อม 20 จังหวัดโยงเศรษฐกิจเออีซี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
7 ตุลาคม 2556 เวลา 09:30:53 น.


ทำไม "รัฐบาล" ถึงเลือกภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวทีแรกเปิดกิจกรรมโรดโชว์โปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน...สร้างอนาคตไทย 2020 ตลอดเดือนตุลาคมนี้ โดยนำร่อง "หนองคาย" เป็นจังหวัดแรก ก่อนจะไปต่อที่จังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี และขอนแก่นต่อไป


โผเมืองหลัก-เมืองรอง

พื้นที่เป้าหมายสำหรับภาคอีสานที่จะรองรับโครงการลงทุน 2 ล้านล้านในอนาคต มีการกำหนด "เมืองศูนย์กลาง" อยู่ที่ "ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย-นครราชสีมา-อุบลราชธานี" และวางบทบาทให้ "เลย-กาฬสินธุ์-ชัยภูมิ-ร้อยเอ็ด-บุรีรัมย์-สุรินทร์" เป็นเมืองเศรษฐกิจคู่ขนานควบคู่กับกำหนดประตูการค้าชายแดน หรือเกตเวย์ 4 แห่ง ที่ "ด่านมุกดาหาร-นครพนม-ช่องเม็ก (อุบลราชธานี)-ช่องจอม (สุรินทร์)" เพื่อดึงดูดเศรษฐกิจการลงทุน 3 ประเทศจาก "เวียดนาม-กัมพูชา-ลาว" เตรียมที่จะใช้เงินลงทุนมากกว่า 398,000 ล้านบาท


ทางคู่สร้างได้ทันที 2 สาย

พลิกดูคู่มือบัญชีโครงการใน 2 ล้านล้าน...ชาวอีสานได้อะไรบ้างใน 7 ปีนับจากนี้ จากการคำนวณเม็ดเงินเบื้องต้นตามรายชื่อโครงการ วงเงินลงทุนร่วม 452,491 ล้านบาทยังไม่นับรวมสถานีขนส่งสินค้า ด่านศุลกากร สะพานข้าม และอุโมงค์ลอดทางรถไฟ ที่ระบุแต่วงเงินลงทุนรวมทั้งโครงการแยกเป็น "ระบบราง" มีรถไฟทางคู่ 4 สาย มูลค่า 107,007 ล้านบาท เริ่มประมูลได้ทันทีปี 2557 จำนวน 2 สายแรก คือ "สายมาบกะเบา-ชุมทางจิระ" ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 29,855 ล้านบาท กับ "สายชุมทางจิระ-ขอนแก่น" ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 26,007 ล้านบาท

อีก 2 สายคือ "สายขอนแก่น-หนองคาย" ระยะทาง 174 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 18,585 ล้านบาท กับ "สายชุมทางจิระ-อุบลราชธานี" ระยะทาง 309 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 32,560 ล้านบาท อยู่ระหว่างเตรียมศึกษาโครงการ

ตัดรถไฟใหม่ผ่าน 4 จังหวัด

ส่วนรถไฟสายใหม่มี 1 สาย เส้นทางจาก "บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม" ระยะทาง 347 กิโลเมตร วงเงิน 42,106 ล้านบาท เชื่อมไปยังพรมแดนไทย-ลาว แนวเส้นทางจะต่อจากสถานีบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด จนไปสุดปลายทางที่จังหวัดนครพนม ปัจจุบัน "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" กำลังศึกษารายละเอียดโครงการ ตามแผนประมูลและก่อสร้างในปี 2559 เสร็จในปี 2562

โครงการที่น่าจะเป็นไฮไลต์ "รถไฟความเร็วสูง" สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร วงเงิน 170,450 ล้านบาท เชื่อมพื้นที่ 7 จังหวัดต่อจากกรุงเทพฯ ผ่านไปปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี สิ้นสุดที่หนองคาย

สัมผัสไฮสปีดเทรนโคราช

ตามแผนงานในภาคอีสาน รัฐบาลจะสร้างเฟสแรก "กรุงเทพฯ-นครราชสีมา" ก่อน ระยะทาง 256 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 123,950 ล้านบาท ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะยื่นอีไอเอ กับเริ่มประมูลคัดเลือกระบบได้ในปี 2557 เปิดบริการปี 2562 มี 6 สถานี มีสถานีบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา

ส่วนเฟส 2 จาก "นครราชสีมา-หนองคาย" ระยะทาง 359 กิโลเมตร จะสร้างช้าจากเฟสแรก 2 ปี เริ่มประมูลก่อสร้างในปี 2559 เปิดบริการปี 2564 คาดว่าจะมี 5 สถานี โดยต่อจากนครราชสีมา เป็นสถานีบัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ปัจจุบันได้งบประมาณปี 2557 จำนวน 199 ล้านบาท มาศึกษารายละเอียดโครงการแล้ว

ถนนมีครบทุกโครงข่าย

สำหรับ "ทางถนน" มีโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 6 โครงการ ระยะทางรวม 148 กิโลเมตร ใน 6 จังหวัด คือ บึงกาฬ มุกดาหาร นครพนม ศรีสะเกษ หนองคาย สุรินทร์ วงเงิน 6,350 ล้านบาท ได้แก่ สาย 212 (อ.โพนพิสัย-บึงกาฬ ตอน 1-2) สาย 212 (อ.หว้านใหญ่-อ.ธาตุพนม) สาย 214 (อ.ปราสาท-ช่องจอม ตอน 1-2) สาย 221 (อ.กันทรลักษ์-เขาพระวิหาร ตอน 1-2)

โครงการขยาย 4 ช่องจราจร 13 โครงการ ระยะทางรวม 846 กิโลเมตร ใน 14 จังหวัด มีขอนแก่น อุดรธานี เลย สกลนคร กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด สุรินทร์ หนองบัวลำภู นครพนม และอำนาจเจริญ วงเงินรวม 38,140 ล้านบาทได้แก่ สาย 12 (กาฬสินธุ์-อ.สมเด็จ ตอน 2)

สาย 12 (กาฬสินธุ์-นาไคร้-อ.คำชะอี) สาย 225 (นครสวรรค์-ชัยภูมิ) สาย 229 (อ.แก้งคร้อ-อ.บ้านไผ่) สาย 203 (ร้อยเอ็ด-ยโสธร-อ.เขื่องใน) สาย 24 (อ.ปราสาท-อ.ขุขันธ์-แยกสาย 2085 จ.สุรินทร์) สาย 2085 และ 2178 (กันทรลักษ์-อุบลราชธานี) สาย 210 (อ.วังสะพุง-อ.นากลาง) สาย 22 (อ.หนองหาน-อ.พรรณานิคม) สาย 22 (สกลนคร-นครพนม) สาย 201 (อ.แก้งคร้อ-อ.ชุมแพ) สาย 202 (ยโสธร-อำนาจเจริญ) สาย 220 (ศรีสะเกษ-อ.ขุขันธ์)

มอเตอร์เวย์ 8.4 หมื่นล้าน

โครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 84,600 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 6,630 ล้านบาท ค่าก่อสร้างวงเงิน 77,970 ล้านบาท ล่าสุด "ทล.-กรมทางหลวง" ได้ออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินแล้ว อยู่ระหว่างสำรวจยอดผู้ถูกเวนคืน เตรียมเวนคืน และเปิดประมูลก่อสร้างในปี 2557 ใช้เวลา 4 ปีสร้างเสร็จ

โครงการบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาคบนถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) จำนวน 39 โครงการ ระยะทางรวม 269 กิโลเมตร ใน 4 จังหวัดมี หนองคาย ขอนแก่น อุดรธานี และนครราชสีมา วงเงินรวม 3,838 ล้านบาท

5 สถานี 5 จังหวัดขนส่งสินค้า

นอกจากนี้มี "สถานีขนส่งสินค้า" ใน 5 จังหวัดด้วยกัน คือ หนองคาย มุกดาหาร ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ทันทีในปี 2557-2558

โครงการก่อสร้าง "สะพานและอุโมงค์ข้ามทางรถไฟ" รวม 17 แห่ง ใน 5 จังหวัด มีนครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์

ปิดท้ายด้วยโครงการยกเครื่องด่านศุลกากร ได้แก่ ด่านมุกดาหาร ด่านนครพนม ด่านหนองคาย ด่านเขมราฐ ด่านบึงกาฬ ด่านท่าลี่ สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 และด่านช่องจอม เพื่อเตรียมรับกับการเปิดเออีซีที่จะมาถึงในปี 2558

หากแผนงานทำได้จริง เท่ากับเป็นการพลิกโฉมระบบโครงข่ายคมนาคมพื้นที่ภาคอีสานครั้งมโหฬารอย่างแท้จริง

ชุมทาง...เออีซี

อาจจะเป็นเพราะใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย "ภาคอีสาน" เป็นภาคใหญ่ที่สุดทั้งในแง่อาณาเขตมากถึง 168,856 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 20 จังหวัด ประชากรรวมกันกว่า 22 ล้านคน หรือเกือบ 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ

ที่สำคัญเป็นพื้นที่รอยต่อประเทศเพื่อนบ้าน สามารถเชื่อมการค้าการลงทุน 4 ประเทศ "จีน-เวียดนาม-ลาว-กัมพูชา"

อีสานฐานทัพใหญ่

ทำให้อนาคตของ "ภาคอีสาน" ทั้ง 20 จังหวัดประกอบด้วยเลย ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ยโสธร อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ นครพนม และบึงกาฬ จึงไม่ใช่ดินแดนที่ราบสูงอย่างที่ถูกกล่าวขานในอดีต แต่หากนับถอยหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 ก็พร้อมจะขยับฐานะเป็นศูนย์กลางหรือฮับการค้าและลงทุนของอาเซียน รวมถึงการท่องเที่ยวที่เป็นผลพลอยได้ที่จะตามมา

จะว่าไปแล้ว "ภาคอีสาน" ด้วยศักยภาพของกลุ่มจังหวัดทำให้ปัจจุบันกำลังกลายเป็นดาวเด่นของทุกภาคส่วนธุรกิจที่เริ่มขยายลงทุนกระจายไปยังจังหวัดต่างๆในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาธุรกิจทุกภาคส่วนแห่ลงทุน

โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การค้า ค้าปลีก การขนส่ง ที่เริ่มเข้าไปลงทุนก่อสร้างโครงการรองรับ เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะลงทุนครั้งเดียวรองรับได้ทั้งเออีซี + แผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน

โฟกัสกลุ่มอสังหาฯ จะมีระดับบิ๊ก ๆ เข้าไปยึดหัวหาด ไม่ว่าจะเป็นค่ายแสนสิริเข้าไปลงทุนพัฒนาคอนโดมิเนียม 3 จังหวัด 4 โครงการ ในรอบปีนี้มีที่ "อุดรฯ-ขอนแก่น-โคราช" นอกจากนี้มีค่ายศุภาลัย, แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, พฤกษา เรียลเอสเตท, ซี.พี.แลนด์ เป็นต้น เป็นการลงทุนล้อไปตามนโยบายรัฐบาลที่มีแผนจะลงทุนครบเครื่องทั้งมอเตอร์เวย์ รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ โดยมีสถานีปลายทางที่ "หนองคาย" ประตูหน้าด่านชายแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว

พร้อม ๆ กับปรับสปีดการเดินทางเชื่อม "กรุงเทพฯ-หัวเมืองใหญ่" ตามรายทางให้สะดวกรวดเร็วขึ้น ที่ออกแบบไว้คือใช้เวลาเดินทางด้วยไฮสปีดเทรนไม่เกิน 3 ชั่วโมง ทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นโอกาสธุรกิจในอนาคต เนื่องจากเมืองจะขยายสู่หัวเมืองต่างจังหวัด
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/10/2013 10:45 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมพร้อมประมูล 2 ล้านล. แยก 533 สัญญา-ดึงทั่วโลกร่วม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 17 ต.ค. 2556 เวลา 10:01:29 น.

เปิดแพ็กเกจประมูลก่อสร้างใน 2 ล้านล้าน "ก่อสร้าง-ระบบรถไฟฟ้า" แยกชัด 533 สัญญา เคาะอีออกชั่นโครงการทางคู่ ถนนสี่เลน มอเตอร์เวย์ ด่านศุลกากร สถานีขนส่ง ส่วนรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า และระบบรถไฟฟ้า ดึงทั่วโลกร่วมประมูล "ชัชชาติ" ตั้งสำนักงานติดตามแผนลงทุน เปิดทางเอกชนตรวจสอบความโปร่งใส

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงได้สรุปแผนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการภายใต้ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเสร็จแล้ว ในจำนวน 53 โครงการ 533 สัญญา จะมีการประมูล 2 รูปแบบคือ แบบอีออกชั่น (ประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์) และแบบนานาชาติ แยกการประมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ งานก่อสร้างงานโยธากับงานระบบรถไฟฟ้าโดยโครงการภายใต้กรอบวงเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท ในส่วนของรูปแบบการประมูลงานก่อสร้างมี 51 โครงการ วงเงินก่อสร้างรวม 1,536,188 ล้านบาท แบ่งเป็นประมูลอีออกชั่น 39 โครงการ วงเงินรวม 730,683 ล้านบาท แบบนานาชาติ 12 โครงการ วงเงินรวม 795,505 ล้านบาท

เค้กการรถไฟฯ 1 ล้านล้าน

รายละเอียดแต่ละหน่วยงาน คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีจำนวน 28 โครงการ 28 สัญญา วงเงินกว่า 1,010,591 ล้านบาท ตามแผนเริ่มประมูลในปี 2557 เป็นงานประมูลอีออกชั่น 24 โครงการ วงเงิน 430,704 ล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ 11 โครงการ 11 สัญญา วงเงิน 250,060 ล้านบาท, รถไฟสายใหม่ 3 โครงการ 3 สัญญา วงเงิน 112,016 ล้านบาท, รถไฟชานเมือง 5 โครงการ 5 สัญญา วงเงิน 45,589 ล้านบาท

นอกจากนี้ มีงานประมูลอื่น ๆ อาทิ ปรับปรุงทาง ราง หมอน อาณัติสัญญาณ ระบบโทรคมนาคม เครื่องกั้น โรงรถจักรแก่งคอย จำนวนรวม 5 โครงการ 5 สัญญา วงเงิน 23,039 ล้านบาท

ส่วนการประมูลแบบนานาชาติมี 4 โครงการ วงเงิน 579,886 ล้านบาท แบ่งเป็นรถไฟความเร็วสูง 4 โครงการ โดยเฟสแรกคือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-พิษณุโลก, กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง


รับเหมาไทยรองาน ทล.-ทช.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบรถไฟฟ้าในเมือง มี 8 โครงการ 8 สัญญา วงเงิน 215,618 ล้านบาท จะเปิดประมูลก่อสร้างแบบนานาชาติทั้งหมด ประมูลในปี 2557 จำนวน 7 สาย และปี 2558 จำนวน 1 สาย

กรมทางหลวง (ทล.) มีงานประมูล 5 โครงการ 375 สัญญา วงเงิน 227,230 ล้านบาท จะเปิดประมูลอีออกชั่นทั้งหมดในปี 2557 ได้แก่ มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา 1 โครงการ 1 สัญญา วงเงิน 77,970 ล้านบาท, ทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 1 โครงการ 11 สัญญา วงเงิน 13,770 ล้านบาท

โครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร 1 โครงการ 45 สัญญา วงเงิน 80,610 ล้านบาท, บูรณะทางหลวงสายหลัก 1 โครงการ 236 สัญญา วงเงิน 31,600 ล้านบาท และก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ 1 โครงการ 83 สัญญา วงเงิน 23,280 ล้านบาท

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) มีงานประมูล 2 โครงการ 58 สัญญา วงเงิน 27,287 ล้านบาท โดยเปิดประมูลแบบอีออกชั่นทั้งหมดและเริ่มประมูลปี 2557 ได้แก่ โครงการถนนเชื่อมต่อการค้าและการลงทุน 1 โครงการ 36 สัญญา วงเงิน 23,237 ล้านบาท และถนนรอยัลโคสต์ 1 โครงการ 22 สัญญา วงเงิน 4,050 ล้านบาท

กรมเจ้าท่ารอเคาะ 2.8 หมื่น ล.

กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) มีงานประมูล 2 โครงการ 16 สัญญา วงเงิน 9,872 ล้านบาท ใช้รูปแบบอีออกชั่น มีศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า อ.เชียงของ 1 โครงการ 1 สัญญา วงเงิน 1,954 ล้านบาท ทยอยประมูลปี 2558-2560, โครงการสถานีขนส่งสินค้า 1 โครงการ 15 สัญญา วงเงิน 7,918 ล้านบาท ประมูลปี 2560

กรมเจ้าท่า (จท.) มีงานประมูล 5 โครงการ 5 สัญญา วงเงิน 28,060 ล้านบาท โดยประมูลแบบอีออกชั่น ได้แก่ งานก่อสร้างท่าเรือ 4 โครงการ 4 สัญญา วงเงิน 17,410 ล้านบาท, ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง 1 โครงการ 1 สัญญา วงเงิน 10,649 ล้านบาท

สุดท้ายคือ กรมศุลกากร มี 1 โครงการ เป็นงานปรับปรุงด่านศุลกากร จำนวน 41 สัญญา วงเงิน 7,527 ล้านบาท เริ่มดำเนินการปี 2557

รับเหมาเทศรอชิงดำรถไฟฟ้า

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนรูปแบบการประมูลงานระบบรถไฟฟ้าจะประมูลแบบนานาชาติทั้งหมด มีจำนวน 16 โครงการ 16 สัญญา วงเงินรวม 297,595 ล้านบาท โดยมี 2 หน่วยงานต้นสังกัดคือ การรถไฟฯ มี 9 โครงการ 9 สัญญา วงเงิน 186,794 ล้านบาท เริ่มประมูลปี 2557 แยกเป็นรถไฟชานเมือง 5 โครงการ 5 สัญญา วงเงิน 37,554 ล้านบาท กับรถไฟความเร็วสูง 4 โครงการ 4 สัญญา วงเงิน 148,240 ล้านบาท

อีกรายคือ รฟม. มีงานประมูลรถไฟฟ้าในเมือง 7 โครงการ 7 สัญญา วงเงิน 111,800 ล้านบาท เริ่มประมูลปี 2557 ได้แก่ สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค), สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ปี 2558 มีสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต), สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี), สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี), สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และปี 2559 มีสายสีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู)


ชัชชาติดึงคนนอกตรวจสอบ

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการ 2 ล้านล้านทั้ง 533 สัญญา กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการประมูลก่อสร้างแบบโปร่งใส เช่น การกำหนดราคากลาง วิธีการเปิดประมูล ซึ่งวงเงินระบุใน 2 ล้านล้านเป็นแค่กรอบวงเงินลงทุนเท่านั้น

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นให้เข้ามาร่วมตรวจสอบโครงการด้วย และจะมีการตั้งสำนักงานโครงการขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนและบริหารโครงการให้เป็นไปตามกำหนด เริ่มแรกให้ดำเนินการภายใต้กระทรวงคมนาคมก่อน จากนั้นในอนาคตจะเป็นภาพใหญ่หลัง พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้แล้ว

เร่งประมูลจบใน 6 เดือน

นายจุฬา สุขมานพ ผอ.สนข. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" เพิ่มเติมว่า รูปแบบประมูลอีออกชั่นส่วนใหญ่เป็นการเชิญชวนประมูลสำหรับผู้รับเหมาในประเทศ ขณะที่รูปแบบนานาชาติจะเป็นโครงการระดับมาตรฐานสากล เช่น รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง จะต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญมาก่อสร้างให้เพราะเป็นความชำนาญเฉพาะด้าน

ขณะที่ขั้นตอนทั้ง 2 รูปแบบ เบ็ดเสร็จใช้เวลาโดยรวมในขั้นตอนดำเนินการประมาณ 6 เดือน สำหรับโครงการที่จะเปิดประมูลในปี 2557 ทุกโครงการคาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาก่อสร้างในทันที เพื่อเร่งให้งานก่อสร้างไม่ล่าช้าและทำให้โครงการภาพใหญ่เดินไปตามแผนที่วางไว้ โดยจะทยอยประมูลตั้งแต่ปี 2557-2560 และขั้นตอนก่อสร้างจะเริ่มได้ตั้งแต่ปี 2557-2563 หรือให้แล้วเสร็จภายใน 7 ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/10/2013 1:16 pm    Post subject: Reply with quote

2ล้านล.ดันเมืองอุบลขึ้นฮับเออีซี ลาวจีบขอ"รถไฟทางคู่"2สายเชื่อมการค้าถึงดานัง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 22 ต.ค. 2556 เวลา 12:15:16 น.

เมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน บูมท่องเที่ยว การค้าชายแดนอีสานใต้ พ่อเมืองอุบลฯจัดทัพรอ เอกชนหนุนดันเมืองดอกบัวฮับการค้าเชื่อมไทย-ลาว-เวียดนาม บิ๊กพฤกษาฯฟันธงทางคู่-ไฮสปีดเทรน จุดพลุอสังหาฯภูธร "ชัชชาติ" เผยเม็ดเงินลงทุนอีสานทั้งภาคทะลุ 4 แสนล้าน ยาหอมอนาคตได้รถไฟความเร็วสูงเชื่อมจากโคราช ฝั่งลาวเพื่อนบ้านขอทางคู่ 2 สายเชื่อมการค้า "หนองคาย-เวียงจันทน์" และ "ปากเซ-อุบลฯ"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยังคึกคักต่อเนื่องงานโรดโชว์ "สร้างอนาคตไทย 2020" ครั้งที่ 3 ที่ จ.อุบลราชธานี ระหว่างวันที่18-20 ต.ค. 2556 ยังได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงเข้าเยี่ยมชมงานคึกคัก ขณะที่นายชัชชาติสิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานพิธีเปิดงาน นั่งรถทัวร์ บขส.จากกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี เข้าร่วมงานเหมือนครั้งที่ผ่านมา

ชี้ 2 ล้านล้าน ทำจีดีพีพุ่ง 5%

นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการ จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า อุบลฯอยู่ในกลุ่มอีสานใต้ เป็นเมืองใหญ่ติดริมแม่น้ำมูล ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ มี 25 อำเภอ ประชากร 1.8 ล้านคน พรมแดนติดต่อกับประเทศลาว 361 กิโลเมตร และกัมพูชา 67 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ 630 กิโลเมตร ขนาดเศรษฐกิจ 84,137 ล้านบาท ที่ผ่านมา เศรษฐกิจขยายตัว 4.8% รายได้ต่อหัว 44,800 ล้านบาท แรงงานส่วนใหญ่อยู่ภาคเกษตร โครงการ 2 ล้านล้าน ทั้งรถไฟทางคู่ ถนน จะทำให้เศรษฐกิจจังหวัดโตขึ้น 5%

สิ่งสำคัญต้องคำนึงถึงคือการพัฒนาเมืองรองรับความเจริญ ซึ่งกำลังปรับปรุงผังเมืองรวมจังหวัดใหม่ และปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้อง

ยันหนี้สาธารณะไม่เกิน 50%

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน อยู่โค้งสุดท้ายการพิจารณาของวุฒิสภา คาดว่าจะผ่านการพิจารณาเร็ว ๆ นี้ ทุกอย่างทำตามกระบวนการ ไม่ได้เลี่ยงใช้ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี เพราะเป้าหมายลงทุนคนละรูปแบบ

งบฯจะมีกรอบแค่ 1 ปี แต่ใน 2 ล้านล้านบาท ต้องการความชัดเจนโครงการที่จะลงทุน เป็นโครงการใหญ่ และต้องลงทุนต่อเนื่อง 7 ปี สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน หากเส้นทางการคมนาคมเกิดขึ้นและสะดวก แต่รัฐบาลระมัดระวังเรื่องวินัยการคลัง หากมีการลงทุนจะไม่เพิ่มหนี้สาธารณะเทียบกับขนาดเศรษฐกิจประเทศที่ 12 ล้านล้านบาท กว่า 30% เท่านั้น จากปัจจุบันยอดหนี้สาธารณะ 5.4 ล้านล้านบาท และประเทศขาดการลงทุนมานาน ลงทุนปีละไม่ถึง 1 แสนล้านบาท

ทุ่มลงทุนอีสาน 4.3 แสนล้าน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ต่อไปอุบลฯจะเป็นเมืองสำคัญเชื่อมโยงการท่องเที่ยว 3 ชาติ 3 แผ่นดินไทย ลาว กัมพูชา ปี 2556 มีรายได้จากการท่องเที่ยว 3,969 ล้านบาท มูลค่าการค้าชายแดนตั้งแต่ต้นปีถึง ส.ค.อยู่ที่ 9,704 ล้านบาท อนาคตด่านช่องเม็กจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีสานใต้ภาพใหญ่ภาคอีสานจะได้รับเม็ดเงินลงทุนใน 2 ล้านล้าน ที่ 438,695 ล้านบาทสูงสุดคือระบบราง 299,385 ล้านบาท หรือ 68% เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ถนน 133,824 ล้านบาท หรือ 31% เช่น ถนน 4 เลน มอเตอร์เวย์ (บางปะอิน-โคราช) ที่เหลือเป็นสถานีขนส่งสินค้า 3,932 ล้านบาท หรือ 1% และถนนชนบท 1,554 ล้านบาท

สำหรับอุบลฯได้รับจัดสรร 36,572 ล้านบาท มีรถไฟทางคู่ สายจิระ-อุบลราชธานี 309 กิโลเมตร มี 37 สถานี แนวเส้นทางต่อเชื่อมจากเส้นทางมาบกะเบา-จิระ ที่นครราชสีมา จุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานีชุมทางถนนจิระ มาตามแนวรถไฟเดิม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบจนถึงสถานีอุบลฯ จะออกแบบปี 2557 เปิดประมูลก่อสร้างปี 2558 แล้วเสร็จปี 2560

ขอทางคู่เชื่อมหนองคาย-อุบลฯ

"อนาคตจังหวัดอุบลฯจะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจากนครราชสีมามาถึงที่อุบลฯ แต่ต้องตั้งไข่จากกรุงเทพฯ-โคราชก่อน แผนต่อไปมาถึงอุบลฯแน่นอน"

ทั้งนี้ จากการหารือร่วมกับรัฐมนตรีคมนาคมประเทศลาว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา อยากให้รัฐบาลไทยช่วยสร้างรถไฟทางคู่เชื่อมการค้า 2 จุด คือเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์ และเชื่อมปากเซ-อุบลฯ ผมก็เห็นด้วย จะนำไปพิจารณาต่อไป

มีรถไฟความเร็วสูงเมืองขยายตัว

ด้านนายสุทัศน์ ตริยางกูรศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท สินทรัพย์ก้าวหน้า คอร์ปอเรชั่นจำกัด กล่าวว่า ไม่ได้รถไฟความเร็วสูงแต่มีทางคู่ ก็ถือว่าดีต่อเศรษฐกิจจังหวัด และเห็นด้วยที่มีสถานีขนสินค้า จะทำให้การขนส่งสินค้ามีมากขึ้น ประหยัดค่าขนส่งการค้าชายแดนไทยลาวด่านช่องเม็กจะเติบโตสูง

"ศูนย์ขนถ่ายสินค้า อยากจะได้เหมือนท่าเรือ เพราะด่านช่องเม็กจะมีมูลค่าการส่งออกอีกสูงมาก หากเป็นไปได้ อยากขอให้อุบลฯเป็นฮับด้านการขนส่งสินค้าเชื่อมกับเพื่อนบ้านไทย ลาว กัมพูชา ไปถึงเวียดนาม ด้านเมืองดานัง หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จะดีต่อภาคอีสานมาก ส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่น ผ่านดานังได้ ผ่านทางหลวงหมายเลข 8"

สภาพัฒน์หนุนลงทุน

ขณะที่นายปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สศช.พยายามเสนอการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นแพ็กเกจ แต่ไม่เคยถึงใกล้การลงทุนจริงเหมือนครั้งนี้ เนื่องจากโจทย์ของประเทศที่จำเป็นต้องลงทุน จากราคาน้ำมันแพง ต้นทุนการขนส่งทางถนนสูงเกินไป การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ทุกอย่างชี้ถึงความจำเป็นจะต้องลงทุน ภาพของอุบลฯ ปี 2020 หรือ 5 ปีหลังเข้าสู่เออีซี เกิดการเชื่อมโยงขนส่งสินค้า ได้ลูกค้าใหม่ โครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวนำการค้า การลงทุน ศักยภาพของพื้นที่จะเกิดขึ้น สร้างฐานรายได้ใหม่ ความเจริญจะตามมา

บิ๊กพฤกษาฯชี้ดันอสังหาฯโต

เช่นเดียวกับมุมมองของนายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ที่มองว่า การลงทุนก่อสร้างเชื่อมรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑล ทำให้การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว ตลาดอสังหาฯในแนวรถไฟฟ้าโตขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 10% และค่าใช้จ่ายการเดินทางของประชาชนเฉลี่ยวันละ 100-150 บาท ลดลงเมื่อการเชื่อมต่อดีขึ้น

"สำหรับอุบลฯ ผมเคยมาศึกษาลงทุนปี"40 แต่ตลาดเล็ก เมื่อ 2-3 ปีที่แล้วก็มาอีกและยังไม่ตัดสินใจ แต่ถ้ามีรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง อสังหาฯจะขยายตัวมาทางนี้มากขึ้น เพราะคนจะชอบเดินทางด้วยความเร็ว ความเจริญของเมืองจะตามมา และการลงทุนรถไฟความเร็วสูง เกิดการขยายตัวด้านท่องเที่ยว"

โอกาสทองอุตฯท่องเที่ยวอีสาน

ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ กรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลงทุน 2 ล้านล้าน จะเป็นโอกาสของการท่องเที่ยว ปีนี้โตที่ 28.14% แต่กระจุกตัวในกรุงเทพฯ และ 12 จังหวัด เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต หากเดินทางสะดวกจะผ่องถ่ายนักท่องเที่ยวแต่ละพื้นที่ได้มาก

"เป็นโอกาสของภาคอีสาน ที่รัฐบาลลงทุนให้ ไม่ต้องมองจุดคุ้มทุน เพราะไม่มีที่ไหน ๆจะคุ้มทุน ถ้ามีรถไฟสะดวกมาทางอีสาน เหนือ จะดีต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวแน่นอน"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2013 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

มติวุฒิสภาเห็นชอบวงเงิน 2 ล้านล้าน 74ต่อ 43 เสียง "สมชาย"หวั่นระบบพ่อค้าใช้ศาลรธน.สร้างความชอบธรรม เผย รถไฟเร็วสูงลงหัวหินหวังปั่นราคาที่ดิน
เมื่อวันที่ 18 พ.ย. การประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ.......
โพสต์ทูเดย์ 18 พฤศจิกายน 2556 เวลา 16:26 น.
อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1gXBk58
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44893
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/11/2013 9:29 am    Post subject: Reply with quote

กระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ รวมทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้รองรับเศรษฐกิจอาเซียน
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยยะลา 25 พฤศจิกายน 2556

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุ โครงการ พรบ. 2 ล้านล้านบาท คือ พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ ขณะนี้ ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏร และวุฒิสภาแล้ว แต่ยังต้องรอการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ก่อน และถ้าผ่านเป็นกฎหมายได้ ก็จะสามารถดำเนินการได้

โดยงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท รัฐบาลของประเทศไทย สามารถที่จะลงทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งกรอบการลงทุนจะต้องไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ใน ช่วงระยะเวลา 7 ปี คือปี 2557 -2563 โดยก่อนจะมีการดำเนินโครงการใดๆ จะต้องมีการปฏิบัติให้ครบถ้วนตามกฎหมายทุกประการ ส่วน เงินกู้นั้นจะสอดคล้องกับระยะเวลาที่จะต้องมีการชำระเงินค่าก่อสร้าง ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ และระยะเวลาดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากเงินกู้ จะเกิดขึ้นช้าๆกับระยะเวลาการเบิกถอนเงิน ซึ่งในทางปฏิบัติควรลงทุนและหาโครงการใดๆที่มีความเหมาะสมทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เพื่อประกันความพร้อมในการลงทุนของภาครัฐอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 7 ปี

สำหรับ โครงการคมนาคมขนส่งโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 3 โครงการหลัก คือโครงการในโครงข่ายถนน โดยจะมีการขยายถนน 4 ช่องจราจร การบูรณะโครงการถนนสายหลัก การก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง การก่อสร้างทางหลวงระหว่างประเทศ การก่อสร้างทางหลวงเพื่อสนับสนุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แหลมฉบัง ท่าเรือเชียงแสน และทางหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในเขต กทม.และปริมณฑล รวมทั้งทางหลวงชนบทเพื่อเชื่อมต่อด้านการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย โครงการในโครงข่ายราง โครงการนี้ไม่ได้เป็นโครงการใหม่ที่รัฐบาลคิดขึ้นมาแต่ประการใด แต่เป็นโครงการที่ถูกอนุมัติมาแล้วในรัฐบาลในอดีต ซึ่งรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงสามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของรัฐบาล โดยเส้นทางสายใต้จะเชื่อมโยงจาก กทม.ไปถึงปาดังเบซาร์ มีประโยชน์คือ ทำให้จังหวัดที่ไกลกันมาก สามารถเดินทางถึงกันได้ด้วยเวลาอันสั้น และจะใช้ต้นทุนในการเดินทางน้อยกว่า ค่าโดยสารเครื่องบิน และโครงการในโครงข่ายทางน้ำและชายฝั่ง โดยจะมีการปรับปรุงท่าเรือแม่น้ำป่าสัก โครงการหลักจะเป็นท่าเรือที่ชุมพร ท่าเรือสงขลา และท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา ซึ่งจะลดภาระการขนส่งทางถนน และทางรางลงได้ การสร้างระบบคมนาคมในแต่ละโครงข่ายควรมีความเชื่อมโยงกัน สามารถที่จะเดินทางถึงกันได้อย่างคล่องตัว นอกจากนี้ ควรมองถึงอนาคตในเศรษฐกิจอาเซียน เราจะต้องพัฒนาไปจนถึงด่านชายแดน และจะต้องมีการปรับปรุงด่านศุลกากรควบคู่กัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 121, 122, 123  Next
Page 10 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©