Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272872
ทั้งหมด:13584168
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 115, 116, 117 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 24/04/2021 8:35 pm    Post subject: Reply with quote

"ศักดิ์สยาม"สั่งทำข้อมูลด่วน เตรียมชงรัฐบาลเร่งฉีดวัคซีนผู้ปฎิบัติงานด่านหน้า ระบบคมนาคมทุกโหมด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 12:54 น.
ปรับปรุง: วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 12:54 น.

"ศักดิ์สยาม"เตรียมเสนอรัฐบาลเร่งฉีดวัคซีนให้ผู้ปฎิบัติงานให้บริการะบบคมนาคมขนส่ง ด่านหน้า ทั้งเจ้าหน้าที่สนามบิน สถานีรถไฟ รถไฟฟ้า บขส. ชี้เสี่ยงสูง และมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อสู่ประชาชน สั่ง"ปลัดคมนาคม" เร่งทำข้อมูล

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-1 9) พบผู้ติดเชื้อและผู้ปวยเพิ่มขึ้นทวีคูณและกระจายไปทุกจังทวัดอย่างรวดเร็ว กระทรวงคมนาคม
ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะทุกประเภท ซึ่งการปฏิบัติงานของบุคลากรของหน่วยงานในสังกัด โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติหน้าที่ในงานแนวหน้า (Front Line) มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไวรัส COVID-19 และอาจเป็นเหตุของการแพร่กระจายเชื้อ

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัส
COVID-19 จึงมอบให้หน่วยงานในสังกัดพิจารณาสำรวจจัดทำข้อมูลจำนวนบุคลากรในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนเป็นลำดับแรกดังนี้

1. กลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในงานแนวหน้าและสัมผัสกับประชาชนผู้รับบริการโดยตรง เช่น บุคลากรที่ปฏิบัติงานที่ทำอากาศยาน ทำเรือโดยสาร สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ ด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง เป็นต้น

2. บุคลากรภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงาน เช่น พนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ
พนักงานเก็บคำโดยสาร พนักงานเก็บค่าผ่านทาง พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่บนสายการบิน พนักงานอำนวยความสะดวกและบริการประชาซนประจำท่าอากาศยาน สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ และท่าเรือ เป็นต้น

ทั้งนี้ ได้มอบให้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ตั้งคณะทำงานขึ้นมาทำการรวบรวมและพิจารณาผู้ให้บริการในระบบขนส่งสารารณะทุกระบบ ทั้งในส่วนของผู้บริการภาครัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกซนทั้งหมดเป็นการเร่งด่วน เพื่อเสนอรัฐบาลพิจารณาจัดสรรการฉีดวัคซีนให้ผู้ให้บริการทุกคน เป็นลำดับถัดไป หลังจากฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรอื่นที่ สัมผัสใกล้ชิดกับประชาชน โดยกระทรวงคมนาคม จะเร่งแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกลำวต่อไปกระทรวงคมนาคม


“คมนาคม” ขอ “วัคซีนโควิด” ฉีดผู้ปฎิบัติงานด่านหน้าขนส่งทุกระบบ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 14:18 น.


กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอรัฐบาล ทำการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ให้ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้า 2 กลุ่มเสี่ยงในภาคขนส่งทุกระบบ

เมื่อวันที่ 24 เม.ย.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทวีคูณและกระจายไปทุกจังหวัดอย่างรวดเร็ว

กระทรวงในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะทุกประเภท การปฏิบัติงานของบุคลากรของหน่วยงานในสังกัด โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติหน้าที่ในงานแนวหน้า (Front Line) มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไวรัส COVID-19 และอาจเป็นเหตุของการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19

จึงมอบให้หน่วยงานในสังกัดพิจารณาสำรวจจัดทำข้อมูลจำนวนบุคลากรในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนเป็นลำดับแรก ได้แก่ 1. กลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในงานแนวหน้าและสัมผัสกับประชาชนผู้รับบริการโดยตรง เช่น บุคลากรที่ปฏิบัติงานที่ทำอากาศยาน ทำเรือโดยสาร สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ ด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง เป็นต้น


2. บุคลากรภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงาน เช่น พนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ พนักงานเก็บค่าโดยสาร พนักงานเก็บค่าผ่านทาง พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่บนสายการบิน พนักงานอำนวยความสะดวกและบริการประชาชนประจำท่าอากาศยาน สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ และท่าเรือ เป็นต้น


โดยมอบหมายให้นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ตั้งคณะทำงานขึ้นมาทำการรวบรวมและพิจารณาผู้ให้บริการในระบบขนส่งสาธารณะทุกระบบ ทั้งในส่วนของผู้บริการภาครัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนทั้งหมดเป็นการเร่งด่วน

เพื่อเสนอรัฐบาลพิจารณาจัดสรรการฉีดวัคซีนให้ผู้ให้บริการทุกคน เป็นลำดับถัดไป หลังจากฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรอื่นที่สัมผัสใกล้ชิดกับประชาชน โดยกระทรวงฯ จะเร่งแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวโดยเร็วที่สุดโดยเน้นให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้งบประมาณในส่วนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลร่วมไปด้วย

คมนาคม เล็งเสนอรัฐบาลฉีดวัคซีนให้พนักงานแนวหน้าที่มีความเสี่ยงในระบบขนส่งสาธารณะ

24 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:34 น.

23เม.ย.64-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าตนมีความห่วงใยในสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชนผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภท เตรียมจัดหาวัดซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19ให้ผู้บริการภาคคมนาคมขนส่ง พร้อมมอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคม แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อทำการสำรวจและรวบรวมจำนวนผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะทุกระบบสำหรับใช้เป็นข้อมูลประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยด่วน

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่าปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทวีคูณและกระจายไปทุกจังหวัดอย่างรวดเร็ว กระทรวงคมนาคมในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะทุกประเภท การปฏิบัติงานของบุคลากรของหน่วยงานในสังกัด โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติหน้าที่ในงานแนวหน้า (Front Line) มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และอาจเป็นเหตุของการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19


ทั้งนี้จึงมอบให้หน่วยงานในสังกัดพิจารณาสำรวจจัดทำข้อมูลจำนวนบุคลากรในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนเป็นลำดับแรกดังนี้

1. กลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในงานแนวหน้าและสัมผัสกับประชาชนผู้รับบริการโดยตรง เช่น
บุคลากรที่ปฏิบัติงานที่ทำอากาศยาน ทำเรือโดยสาร สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ ด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง เป็นต้น

2. บุคลากรภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงาน เช่น พนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ

พนักงานเก็บค่าโดยสาร นักงานเก็บค่าผ่านทาง พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่บนสายการบิน พนักงานอำนวยความสะดวกและบริการประชาชนประจำท่อากาศยาน สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ และท่าเรือ เป็นต้น

นอกจากนี้ได้มอบให้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ตั้งคณะทำงานขึ้นมาทำการรวบรวมและพิจารณาผู้ให้บริการในระบบขนส่งสาธารณะทุกระบบ ทั้งในส่วนของผู้บริการภาครัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนทั้งหมดเป็นการเร่งด่วน เพื่อเสนอรัฐบาลพิจารณาจัดสรรการฉีดวัคซีนให้ผู้ให้บริการทุกคนเป็นลำดับถัดไป หลังจากฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรอื่นที่สัมผัสใกล้ชิดกับประชาชน โดยกระทรวงฯจะเร่งแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป


คค.เสนอรัฐฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ผู้ปฏิบัติงานแนวหน้าในภาคคมนาคมขนส่งทุกระบบ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หน้า News1
เผยแพร่: วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:15 น.
ปรับปรุง: วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:15 น.


กระทรวงคมนาคม เตรียมจัดหาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ให้ผู้บริการภาคคมนาคมขนส่ง มอบหมายให้ปลัดคมนาคมตั้งคณะทำงานสำรวจและรวบรวมจำนวนผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะทุกระบบใช้เป็นข้อมูลประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือจัดหาวัคซีน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 พบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทวีคูณและกระจายไปทุกจังหวัดอย่างรวดเร็ว กระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะทุกประเภท การปฏิบัติงานของบุคลากรของหน่วยงานในสังกัด โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติหน้าที่ในงานแนวหน้า (Front Line) มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไวรัส COVID-19 และอาจเป็นเหตุของการแพร่กระจายเชื้อ

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 จึงมอบให้หน่วยงานในสังกัดพิจารณาสำรวจจัดทำข้อมูลจำนวนบุคลากรในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนเป็นลำดับแรกดังนี้

1. กลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในงานแนวหน้าและสัมผัสกับประชาชนผู้รับบริการโดยตรง เช่น บุคลากรที่ปฏิบัติงานที่ทำอากาศยาน ทำเรือโดยสาร สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ ด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง เป็นต้น

2. บุคลากรภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงาน เช่น พนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ พนักงานเก็บค่าโดยสาร พนักงานเก็บค่าผ่านทาง พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่บนสายการบิน พนักงานอำนวยความสะดวกและบริการประชาชนประจำท่าอากาศยาน สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ และท่าเรือ โดยได้มอบให้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ตั้งคณะทำงานขึ้นมาทำการรวบรวมและพิจารณาผู้ให้บริการในระบบขนส่งสาธารณะทุกระบบ

ทั้งในส่วนของผู้บริการภาครัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนทั้งหมดเป็นการเร่งด่วน เพื่อเสนอรัฐบาลพิจารณาจัดสรรการฉีดวัคซีนให้ผู้ให้บริการทุกคน เป็นลำดับถัดไป หลังจากฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรอื่นที่สัมผัสใกล้ชิดกับประชาชน โดยกระทรวงฯ จะเร่งแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 12/05/2021 4:06 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องความคืบหน้าแลนด์บริดจ์

กัลยา ยืนยง
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 00:01 น.


จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกที่สาม ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่างๆ ทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาลงทุนในไทยได้เหมือนในอดีต ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจึงจะต้องเดินหน้าเพื่อผลักดันแผนงานต่างๆ ที่วางไว้ให้บรรลุเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงทำให้รัฐบาลต้องหันมาผลักดันในเกิดการลงทุนในประเทศมากขึ้นในปี 2564

โดยเฉพาะการลงทุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ของประเทศเพื่อให้มีประสิทธิภาพนั้นถือเป็นปัจจัยสําคัญต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย จะเห็นได้ว่า กระทรวงคมนาคมได้วางรากฐานการส่งที่ยั่งยืน ล่าสุดได้ปัดฝุ่นเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์)

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 มี.ค.2564 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะลงนามสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บมจ.ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์, บจ.ดีเคด คอนซัลแตนท์, บจ.พีเอสเค คอนซัลแทนส์, บมจ.อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป, บจ.ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ และ บจ.ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ วงเงินกว่า 67.8 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน

ล่าสุด ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มีการประชุมถึงความคืบหน้าโครงการดังกล่าว เบื้องต้นที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นโครงการ ซึ่งได้มีการกำหนดกลยุทธ์ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาของโครงการออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม มีการออกแบบท่าเรือให้มีความลึก 16 เมตร ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน แนวเส้นทางสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางรถไฟ และทางหลวงสายหลักได้ สามารถรองรับทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสาร พร้อมทั้งรองรับระบบขนส่งทางท่อ

2.ด้านการพัฒนาพื้นที่หลังท่า จะมีการจัดตั้งพื้นที่หลังท่าเป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมหลังท่าตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3.ด้านการส่งเสริมการขนส่ง มีการศึกษาปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อลดขั้นตอน และเอกสารในการขนส่งสินค้า ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ให้สิทธิพิเศษทางภาษี เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง

4.ด้านสิ่งแวดล้อมและการยอมรับของมวลชน โดยในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน ให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และต้องเกิดประโยชน์กับท้องถิ่น เช่น กำหนดโควตาการรับสมัครเข้าทำงานในโครงการให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบพื้นที่ จัดทำและดำเนินโครงการ/แผนงานความรับผิดชอบต่อสังคม

นอกจากพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาโครงการแล้ว การศึกษานี้ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกทำเลที่ตั้งท่าเรือตามแนวทางที่เป็นสากล ตามแนวทางของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา Port Planning Handbook (UNCTAD,1984) และสมาคมโลกเพื่อการขนส่งทางน้ำ PIANC Outline master planning process for greenfield ports (PIANC 185) โดยมีปัจจัยและสัดส่วนที่ใช้ในการพิจารณา 4 ด้าน ได้แก่ 1.ปัจจัยด้านวิศวกรรม 2.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม 3.ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเงิน และ 4.ปัจจัยด้านสังคมโดยยึดแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ผสานกับเทคโนโลยี และความได้เปรียบทางกายภาพ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ช่วยสร้างโอกาส สร้างงานและรายได้เพิ่มขึ้น

ดูเหมือนว่าโครงการแลนด์บริดจ์นี้จะเริ่มต้นไปได้ด้วยดี โดยกระทรวงคมนาคมก็ได้มอบหมายให้ สนข.รับข้อสังเกตและประเด็นเพิ่มเติม ซึ่งในการคัดเลือกแนวเส้นทางนั้นให้คำนึงถึงการลดระยะวลาในการขนส่งจากท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ที่สั้นและตรงที่สุด รวมถึงพิจารณาเรื่องการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในพื้นที่บริเวณโดยรอบโครงการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ และเกิดการกระจายการพัฒนาไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการต่อการพัฒนาประเทศชาติ โดยให้ครอบคลุมทั้งภายในประเทศ ประเทศในภูมิภาค และจากประเทศต่างๆ ในเวทีโลก.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2021 3:39 pm    Post subject: Reply with quote

ก่อสร้างอ่วม จี้นายกฯรื้อค่า K ราคาเหล็กพุ่ง 80% เมกะโปรเจกต์แบกไม่ไหว
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / อุตสาหกรรม
ออนไลน์เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,680 วันที่ 20 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

รับเหมากระอัก ราคาเหล็กพุ่ง 50-80% กระทบต้นทุนค่าก่อสร้างรัฐ โครงการขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ รถไฟทางคู่ ไฮสปีดไทย-จีนที่มีสัญญากับภาครัฐ จี้นายกฯเร่งแก้ปัญหา ชง 5 ข้อเสนอ ยกเลิกค่า K ชั่วคราว เป็นเวลา 2 ปี หวั่นผู้ประกอบการแบกรับภาระไม่ได้เกิดการทิ้งงาน ต้องลอยแพลูกจ้าง 3 ล้านคน

นอกจาก อุตสาหกรรมก่อสร้างไทย จะได้รับ ผลกระทบรุนแรงจากการระบาดไวรัสโควิด-19 แล้วยังถูกซํ้าเติมจาก ความผันผวนของราคาเหล็ก ที่ปรับตัวสูงเฉลี่ย 50-80% นับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาคาดว่าจะขยับต่อเนื่องไปอีก 1-2 ปีส่งผลให้ภาคเอกชนต้องแบกภาระต้นทุนส่วนต่างโดยเฉพาะ โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐ ที่เซ็นสัญญาแล้ว นับตั้งแต่ กลางปี 2562-2564 จำนวน 50,000-60,000 สัญญาตั้งแต่โครงการขนาดเล็กในท้องถิ่นจนถึงโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงโครงการใหม่เตรียมนำออกประมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ ถนน สะพาน ฯลฯ ที่อ้างอิงราคากลางเดิม เช่นเดียวกับค่าปรับราคาตามความผันผวนเศรษฐกิจหรือค่าเคอยู่ที่บวก-ลบ 4%
ADVERTISEMENT

มองว่าไม่สะท้อนราคาที่แท้จริง และในระยะยาวหากไม่ได้รับการแก้ไข เชื่อว่า ภาครัฐอาจได้รับความเสียหายจากการทิ้งงานของผู้รับจ้าง และอีกหลายโครงการส่งมอบล่าช้า สร้างกระทบต่อ เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศที่รัฐบาลใช้โครงสร้างพื้นฐานขับเคลื่อนขณะต้นตอของปัญหาเกิดจากทุกประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะจีนมีความต้องการใช้เหล็กสูง เพื่อฟื้นฟูประเทศโดยลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ และเนื่องจากต้องใช้เหล็กในปริมาณมาก ทำให้ไม่มีการส่งออกเป็นเหตุให้กระทบในวงกว้างมาถึงปัจุบันเหล็กพุ่งบิ๊กตู่ต้องช่วยนางสาวลิซ่า งามตระกูล พานิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 สมาคมฯได้ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาลให้ช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างทั้งระบบก่อนสถานการณ์จะสายเกินไปเพราะเนื่องจากเป็นเครื่องยนต์ตัวเดียวที่จะใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศได้สำหรับหัวใจสำคัญขอให้ยกเลิกค่าเคบวก-ลบ4% เป็นการชั่วคราวออกไป2ปีนับตั้งแต่ เดือนมกราคม 2564-ธันวาคม 2565 ครอบคลุมโครงการที่เซ็นสัญญาแล้วและ โครงการที่ยังไม่ได้จัดซื้อจัดจ้างโดยให้ยึดราคาวัสดุก่อสร้างที่สะท้อนราคาปัจจุบัน และทุกหน่วยงานควรประเมินราคากลางใหม่ทั้งหมดก่อนนำออกประกวดราคา หากรัฐเพิกเฉย เกรงว่าเอกชนอาจไม่มีใครกล้ารับงาน


เปิด5ข้อเรียกร้องสำหรับรายละเอียด มาตรการเร่งด่วนที่เสนอนายกรัฐมนตรี ได้แก่1.พิจารณายกเลิกส่วนต่างค่าปรับราคา (ค่า K) ± 4% จากสูตรการคํานวณค่าปรับราคา เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 - ธันวาคม 2565 กับโครงการที่ยังมีนิติสัมพันธ์อยู่ และโครงการที่จะดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างในอนาคต ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวได้เคยถูกพิจารณาโดยมติคณะรัฐมนตรีมาแล้ว เมื่อมีความผันผวนอย่างมากของวัสดุก่อสร้างในปี พ.ศ.25512. ขอให้พิจารณาใช้ฐานดัชนีราคาในเดือนที่คิดราคากลางในการคํานวณค่า K แทนการใช้ดัชนีราคาในเดือนที่เปิดซองประกวดราคา เพื่อให้สะท้อนฐานดัชนีราคาที่ใช้ในการคิด3. พิจารณาเร่งรัดการเบิกเงินชดเชยค่า K ภายใน 60 วัน นับจากวันที่ยื่นขอเบิกจ่ายเงินชดเชย4. พิจารณาการคิดราคากลางให้สะท้อนกับราคาเหล็กเสริมคอนกรีตที่แท้จริงในท้องตลาด โดยใช้ราคาไม่เกิน 30 วันก่อนประกาศประกวดราคาส่วนมาตรการระยะยาว พิจารณาเร่งรัดให้มีการปรับสูตรการคํานวณค่า K ให้สะท้อนโครงสร้างต้นทุนที่เป็นธรรมและใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดรถไฟไทย-จีนหนักสุดนายอังสุรัสมิ์ อารีกุล ประธานกรรมการ บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัดและอดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ ยอมรับว่า บริษัทก่อสร้างได้รับผลกระทบจากเหล็กราคาขยับขึ้น โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่เซ็นสัญญาไปในช่วง2เดือนที่ผ่านมา อย่างรถไฟไทยจีน 4 สัญญา ที่เช็นสัญญาไปเมื่อเดือนมีนาคม เพราะ นอกจากต้องแบกต้นทุนเหล็กแล้วที่ผ่านมาผู้รับจ้างต่างแข่งขันดัมพ์ราคาตํ่าเพื่อให้ได้งานไม่ตํ่ากว่า 20% อีกทั้งแรงงานขาด ได้รับผลกระทบจากโควิดขณะเดียวกันเอกชนยังต้องดูแลให้คนกลุ่มนี้ให้ปลอดจากการระบาดซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สูง
ก่อสร้างอ่วม จี้นายกฯรื้อค่า K ราคาเหล็กพุ่ง 80% เมกะโปรเจกต์แบกไม่ไหว
บวกค่าผันผวนแล้วนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า กรมฯ ได้ขอรับจัดสรรงบประมาณเผื่อเหลือเผื่อขาดบางส่วน เนื่องจากเล็งเห็นว่าในช่วงปลายปี 2563 สถานการณ์ราคาวัสดุการก่อสร้างที่มีความผันผวนสูงขึ้น ส่วนใหญ่โครงการก่อสร้างถนนของกรมจะใช้รูปแบบการก่อสร้างแบบแอสฟัลติกคอนกรีต ขณะที่งานด้านโครงสร้างที่ใช้เหล็กเพื่อก่อสร้างสะพานมีไม่มากรวมทั้งการคิดราคากลางแต่ละโครงการจะดำเนินการให้อยู่ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณที่กรมฯขอรับจัดสรร“ยืนยันว่าราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงขึ้นไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงการถนนของกรมฯ โดยงานที่มีการประกวดราคาไปแล้วสามารถดำเนินการตามสัญญาได้ทันที ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคาได้ดำเนินการตั้งงบประมาณเผื่อบ้างแล้ว ทั้งนี้ในปัจจุบันโครงการถนนของกรมฯ มีทั้งหมด 4,600 โครงการ แบ่งเป็นโครงการที่ประมูลและลงนามสัญญาแล้วจำนวน 4,520 โครงการ โครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคา จำนวน 80 โครงการ”นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า ส่วนการก่อสร้างโครงการถนนของกรมฯ ไม่ได้รับผลกระทบจากราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาหลังจากลงนามสัญญาแต่ละโครงการฯ มีการกำหนดราคากลางเพื่อก่อสร้างแล้ว นับตั้งแต่ 45 วันก่อนดำเนินการก่อสร้าง ขณะเดียวกันเชื่อว่าผู้รับเหมาฯ ได้รับผลกระทบจากราคาเหล็กที่ปรับตัวขึ้น แต่จะได้รับค่าตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน (ค่าเค) คืนด้วยเช่นกันรับความเสี่ยงสายสีส้มจากสถานการณ์ราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่อการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย หรือไม่นั้น รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่าผู้รับเหมาอาจต้องรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น แต่สามารถขอเบิกค่าตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน (ค่าเค) ขณะสายสีส้มตะวันตก ขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาจะนำปัจจัยนี้เรื่องมาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ เพราะอีกนานจะก่อสร้างหารือรัฐ-เอกชนนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากราคาเหล็กในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับขึ้นทั้งในและต่างประเทศกรมได้หารือระหว่างสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างที่เป็นผู้ใช้เหล็ก กับหน่วยงานภาครัฐคือสำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลางที่เป็นผู้พิจารณาค่าตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยน แปลงของค่างาน (ค่า K) ในสัญญาก่อสร้างโครงการภาครัฐ เพื่อพิจารณาค่าดัชนีตัวเลขใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน


Last edited by Wisarut on 19/05/2021 10:59 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2021 10:45 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม”ชงครม.มิ.ย.นี้ คลอดพรบ.ขนส่งทางราง เร่งบังคับใช้ปลายปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: พุธที่ 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 17:25 น.
ปรับปรุง: พุธที่ 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 17:25 น.

“คมนาคม”คาดชงครม.ในมิ.ย.นี้คลอดพ.ร.บ.ขนส่งทางรางและตั้งสถาบันวิจัยระบบรางมีผลบังคับใช้ปลายปี64 กำกับและพัฒนา ยกระดับมาตรฐานขนส่งทางรางของไทยให้สะดวก ปลอดภับและทันสมัย

วันที่ 19 พ.ค. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุม ติดตาม ความก้าวหน้าการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... และการจัดตั้งสถาบันวิจัยเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ด้วย Application “Zoom” โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม

โดยกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้พิจารณาทบทวนปรับปรุงแก้ไข ร่างพระราชบัญญัติฯ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของกระทรวงคมนาคม ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564 และให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มเติมร่างบทบัญญัติ เช่น การจัดสรรความจุ ตารางเวลาเดินรถและเส้นทาง, การสอบสวนอุบัติเหตุ และการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง เป็นต้น

พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เรียบร้อยแล้ว

โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติหลักการต่อไป โดยคาดว่าจะนำเสนอครม.ได้ภายในเดือนมิ.ย.นี้ และจะประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ภายในสิ้นปีนี้

สำหรับความคืบหน้า การจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) นั้น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการในการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

โดยสถาบันฯดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ จัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง พัฒนาบุคลากรด้านระบบราง และจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง



ซึ่งมีเป้าหมายเร่งด่วน คือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศ (Local Content) ได้ตามนโยบาย Thai First รวมทั้งการวิจัยเพื่อสร้างรถไฟ EV มาใช้ในประเทศไทย พร้อมกับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยคาดว่าร่าง พ.ร.ฎ. จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบในช่วงระหว่างเดือนต.ค.- ธ.ค. 2564

อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ...มีสาระสำคัญเกี่ยวกับภารกิจของกรมการขนส่งทางรางในการกำกับดูแลเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาด้านการขนส่งทางราง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ เชื่อมต่อกับการขนส่งระบบอื่น และประเทศเพื่อนบ้าน การกำกับดูแลมาตรฐานด้านความปลอดภัย การบำรุงทาง และการประกอบกิจการ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัยในการเดินทาง

เปิดรายละเอียดร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง VS สถาบันราง
*“คมนาคม” อัพสปีดชงครม.มิ.ย.คลอดกฎหมาย
*สู่นโยบายประเทศ ”คนไทยผลิตรถไฟใช้ได้เอง”
* พลิกโฉมขนส่งทางรางปชช.สะดวกสบายจริงดิ?
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2907879262766906
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2021 10:46 pm    Post subject: Reply with quote

6 ปีรัฐบาลกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

หน้าแรก / Politics
อาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2564 เวลา 14:55 น.

โฆษกรัฐบาล เผยผลงานรัฐบาล 6 ปีพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบก-ราง-น้ำ-อากาศ เสริมขีดความสามารถประเทศพรึบ


นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้เร่งขับเคลื่อนประเทศด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายและบริการด้านคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางรางและทางอากาศ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยกระดับศักยภาพ SMEs ด้วยการพัฒนา Ditigal Marketing ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้เติบโต กระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้มั่นคงและยั่งยืน ทั้งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศให้เท่าเทียม

โดยภาพรวมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ก่อสร้างและขยายช่องทางจราจรถนน รวมทั้งสิ้นกว่า 11,583 กม. พัฒนาถนนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว 115 โครงการ ระยะทางรวม 801 กม. พัฒนาโครงข่ายมอเตอร์เวย์เพิ่มขึ้นเป็น 260.027 กม. สร้างมอเตอร์เวย์เพิ่มสายพัทยา-มาบตาพุด เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกนอกจากนี้ รัฐบาลยังพัฒนาระบบรถไฟฟ้าทำให้มีโครงข่ายพร้อมให้บริการรวมทั้งสิ้น 169.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการแล้ว 6 สี 9 เส้นทาง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 6 สาย รวม 156 กม. เตรียมผลักดันเข้าเป็นโครงการ PPP ได้แก่ สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง/รังสิต-มธ.รังสิต และสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมาก/ตลิ่งชัน-ศาลายา/ตลิ่งชัน-ศิริราช เป็นต้นรัฐบาลนี้ยังผลักดันการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 9 โครงการ เพิ่มทางคู่เป็น 2,003 กิโลเมตร ส่งผลให้สัดส่วนรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นจาก 9% เป็น 68% ของโครงข่ายทั่วประเทศ และเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง 2 โครงการ ได้แก่รถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมาและรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งได้มีการลงนามในสัญญาร่วมทุนแล้วและอยู่ระหว่างเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่หรือย้ายสาธารณูปโภคและเวนคืนที่ดิน ขณะที่เพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานหลักและท่าอากาศยานภูมิภาคในช่วงปี 2558-2563 เพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยาน ทอท. รวม 101 ล้านคนต่อปี ปริมาณการขนส่งทางน้ำเพิ่มเป็น 355.79 ล้านตัน ท่าเรือแหลมฉบังมีตู้สินค้าผ่านท่ามาเป็นอันดับที่ 21 ของโลก รวมทั้งผลักดันโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เพื่อเพิ่มศักยภาพรองรับตู้สินค้าเป็น 18 ล้าน ที.อี.ยู.ต่อปีนายกรัฐมนตรียังได้ติดตามความเดือดร้อนด้านการเดินทางของประชาชนมาตลอด โดยเร่งรัดแก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างล่าช้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น โครงการก่อสร้างบนถนนพระราม 2, การแก้ไขปัญหา PM 2.5 ที่เกิดจากรถบรรทุก รถโดยสารสาธารณะ เรือโดยสารตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วยการเร่งยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทย SMEs พัฒนา Digital Marketing เพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ให้กับสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ ต่อยอดธุรกิจสู่สากล ด้วยนวตกรรมและการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุน SMEs ในอุตสาหกรรมอาหารไม่ต่ำกว่า 30 บริษัท โดยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ สร้างผู้ประกอบการหน้าใหม่ และล่าสุดสนับสนุนให้ SMEs เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐภายใต้กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมและสนับสนุน (ฉบับที่ 2) 2563 ด้วย รวมทั้งเร่งสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตร โครงการเน็ตประชารัฐ โดยขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ครอบคลุมหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกลจานวน 24,700 หมู่บ้าน ระบบธุรกรรมการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โครงการ e-Payment ภาครัฐ รวมทั้งการเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน ตามแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลมุ่งพลิกโฉมประเทศไทยด้วยหลักการ Thai First คือ “ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน” เพื่อโครงการต่างๆ เกิดการสร้างงานและกระจายรายได้ เพื่อให้คนไทยทั้งประเทศได้รับประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44636
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/05/2021 9:10 am    Post subject: Reply with quote

รัฐพร้อมดึงเอกชนร่วมทุนรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย
แนวหน้า ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เร่ง "ขับเคลื่อนประเทศ" ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายและบริการด้านคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางรางและทางอากาศ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ทั้งนี้ ภาพรวมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ก่อสร้างและขยายช่องทางจราจรถนน รวมทั้งสิ้นกว่า 11,583 กม. พัฒนาถนนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว 115 โครงการ ระยะทางรวม 801 กม. พัฒนา โครงข่ายมอเตอร์เวย์ เพิ่มขึ้นเป็น 260.027 กม. เพิ่มเส้นทาง มอเตอร์เวย์ พัทยา-มาบตาพุด เพื่อส่งเสริมการลงทุนและ การท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออก

นอกจากนี้ รัฐบาลยังพัฒนาระบบรถไฟฟ้าทำให้มีโครงข่ายพร้อมให้บริการรวมทั้งสิ้น 169.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการแล้ว 6 สี 9 เส้นทาง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 6 สาย รวม 156 กม. เตรียมผลักดันเข้าเป็นโครงการ Public Private Partnership หรือ PPP (การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ) ได้แก่ รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง/รังสิต-มธ.รังสิต และสีแดงอ่อน บางซื่อหัวหมาก/ตลิ่งชัน-ศาลายา/ตลิ่งชัน-ศิริราช เป็นต้น

รัฐบาลนี้ยังผลักดันการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 9 โครงการ เพิ่มทางคู่เป็น 2,003 กิโลเมตร ส่งผลให้สัดส่วนรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นจาก 9% เป็น 68% ของโครงข่ายทั่วประเทศ และเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง 2 โครงการ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งได้มีการลงนามในสัญญาร่วมทุนแล้วและอยู่ระหว่างเร่งรัดการ ส่งมอบพื้นที่หรือย้ายสาธารณูปโภคและเวนคืนที่ดินแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2021 4:59 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รัฐพร้อมดึงเอกชนร่วมทุนรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย
แนวหน้า ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564


ลิงก์อยู่นี่
https://www.naewna.com/business/575108
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2021 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ผุดแผนลงทุนปี 65 ดันเมกะโปรเจคต์แสนล้าน
พุธที่ 23 มิถุนายน 2564 เวลา 13:30 น.

“ศักดิ์สยาม” เข็นแผนลงทุนปี 65 บูมเมกะโปรเจคต์ 4 มิติ ลุยหาแหล่งเงินกู้-ระดมทุนฟิวเจอร์ฟันด์ เปิดทางเอกชนร่วมทุนพีพีพี ดันรถไฟทางคู่-มอเตอร์เวย์ 4 เส้นทาง ปลุก MR-MAP เชื่อมแลนด์บริดจ์ หวังเพิ่มเส้นทางโลจิสติกส์ใหม่ของอาเซียน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ‘Empowering Thailand 2021 เคลื่อนอนาคตไทยด้วยการลงทุน’ ว่า ในปี 2564 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 2.5 – 3.5% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว มีวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างไรก็ดี การกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ ภาครัฐถือเป็นส่วนสำคัญต้องร่วมกับเอกชนและธุรกิจ โดยเฉพาะการลงทุนจากภาครัฐ เพราะหลายเครื่องจักรในขณะนี้ยังชะลอตัว


“กระทรวงคมนาคม มีส่วนสำคัญต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบจัดสรร 1.8 แสนล้าน และในปี 2565 ได้รับ 1.1 แสนล้าน ซึ่งขณะนี้งบประมาณปี 2564 กระทรวงฯ เร่งเบิกจ่ายไปแล้ว 50% หรือราว 9 หมื่นกว่าล้าน โดยในปี 2565 ตามงบประมาณที่กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรลดลง แต่ไม่ต้องวิตกกับเรื่องนี้ เพราะนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่า ภาวะโควิด-19 เราต้องดูการลงทุนภาครัฐจากแหล่งงบประมาณอื่นๆ ทั้งนี้ในการจัดหางบประมาณลงทุนจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ ทางกระทรวงฯ ได้พิจารณาพบว่าวิธีการที่จะได้รับการลงทุน เช่น การเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการรัฐ (พีพีพี) การระดมทุนจากกองทุนฟิวเจอร์ฟันด์ และแหล่งเงินกู้จากสำนักงานบริหารหนี้ ซึ่งวิธีการจัดหาแหล่งเงินทุนเหล่าทั้ง 3 แหล่งนี้ จะมาเติมเต็มงบประมาณที่ลดลงในปี 2565 ทำให้เกิดการลงทุนจากโครงการภาครัฐมากกว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรร 1.1 แสนล้านบาท”“ศักดิ์สยาม” ผุดแผนลงทุนปี 65 ดันเมกะโปรเจคต์แสนล้าน
“ศักดิ์สยาม” ผุดแผนลงทุนปี 65 ดันเมกะโปรเจคต์แสนล้าน

ทั้งนี้ไทยมีจุดยุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางอาเซียน เป้าหมายของกระทรวงฯ จึงต้องการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานทุกโหมด ให้สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการเดินทางของอาเซียน ทางกระทรวงฯต้องพร้อมทั้งบก ราง อากาศ และทางน้ำ ซึ่งปัจจุบันไทยมีความพร้อมทางทะเล ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เหลือสร้างเชื่อมต่อการเดินทางจากมหาสมุทรอินเดียมาอ่าวไทย เบื้องต้นกระทรวงฯ ได้มีการศึกษาสามารถเชื่อมต่อได้ผ่านโครงการแลนด์บริดจ์ โดยแต่ละฝั่งทะเลจะมีท่าเรือน้ำลึก และเชื่อมต่อผ่าน MR – Map หรือการเชื่อมต่อด้วยโครงข่ายทางถนนมอเตอร์เวย์ และรถไฟ เลือกใช้เส้นทางที่มีระยะสั้นสุด เพื่อผลักดันให้อนาคตจะเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ใหม่ของภูมิภาคอาเซียน จากเดิมที่ต้องใช้ช่องแคบมะละกา สำหรับการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ ปัจจุบันคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบศึกษาโครงการแล้ว คาดงว่าภายในปี 2565 จะได้ทราบความคืบหน้าของโครงการแลนด์บริดจ์ต่อไป ขณะเดียวกันแผนพัฒนาแลนด์บริดจ์ที่สร้างจะเป็นตัวสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่จะเสร็จในปี 2568 รวมทั้งทางกระทรวงฯ กำลังพัฒนาสนามบิน ท่าเรือ รถไฟความเร็วสูง และโครงการมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อจากศรีนครินทร์ ดังนั้นแลนด์บริดจ์จะเป็นเสมือนประตูของอีอีซี สนับสนุนในการเดินทางทะลุไปมหาสมุทรอินเดีย เชื่อมการขนส่งสินค้า และการค้าระหว่างอีอีซีไปทั่วโลกได้ง่ายขึ้น นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า จากการเริ่มต้นศึกษาแลนด์บริดจ์ ทำให้กระทรวงฯ ได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาทางเลือกการเดินทาง MR-Map บูรณาการรถไฟทางคู่ และมอเตอร์เวย์ ให้เป็นเส้นทางบูรณาการร่วมกัน ตอนนี้อยู่ระหว่างการศึกษา โดยโครงการนี้จะตอบโจทย์ศูนย์กลางการเดินทางทั้งทางบก และทางราง เป็นการวางพื้นฐานให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเดินทางอาเซียน โดยโครงการที่จะสนับสนุนไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน โครงข่ายทางบก ลำดับความสำคัญที่สุด คือ

1.การพัฒนาเส้นทางแลนด์บริดจ์ ซึ่งขณะนี้ทูตและนักลงทุนหลายประเทศเข้ามาสอบถามเรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่ามีคนสนใจมาก กระทรวงฯ ย้ำเสมอว่าในที่สุดการลงทุนเหล่านี้ จะเป็นการเปิดพีพีพี เปิดในรูปแบบการลงทุนนานาชาติ “ศักดิ์สยาม” ผุดแผนลงทุนปี 65 ดันเมกะโปรเจคต์แสนล้าน
“ศักดิ์สยาม” ผุดแผนลงทุนปี 65 ดันเมกะโปรเจคต์แสนล้าน

2.โครงข่ายมอเตอร์เวย์ เส้นทางนครราชสีมา – อุบลราชธานี 3. หนองคาย- แหลมฉบัง และ 4. วงแหวนรอบ 3- กรุงเทพมหานคร ทั้งหมดนี้คาดว่าในปี 2565 จะเห็นรูปแบบที่ชัดเจนของเส้นทางเหล่านี้ และประเมินงบประมาณการลงทุน โดยกระทรวงฯ เน้นย้ำยึดหลักดำเนินการตามระเบียบข้อกฎหมาย ทั้งนี้ด้านการพัฒนาระบบราง เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ โจทย์สำคัญขณะนี้มี 3 เรื่อง คือ 1.รถไฟจะต้องเป็นรางคู่ มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตามแผนทั่วประเทศต้องเป็นรถไฟรางคู่ เพื่อสนับสนุนเอาโลจิสติกส์ไปขนส่งทางราง 30% นอกจากนี้ การลงทุนของ รฟท.เนื่องจากปัจจุบันสถานะทางการเงินมีปัญหา กระทรวงฯ จึงจัดตั้งบริหารสินทรัพย์ รฟท. ซึ่งเชื่อว่าการบริหารสินทรัพย์ต่อจากนี้จะมีประสิทธิภาพ นำเม็ดเงินเข้าองค์กรอย่างต่อเนื่อง และอีก 10 ปี รฟท.จะไม่มีหนี้ 2.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า ต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมี 14 เส้นทางที่เปิดให้บริการและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตามแผนทุกเส้นทางจะแล้วเสร็จในปี 2570 ทำให้ทั่วกรุงเทพฯ มีระยะทาง 554 กิโลเมตร ตอบโจทย์การเดินทาง เชื่อมกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง สนับสนุนการเดินทางรอบกรุงเทพฯ จากเส้นทางที่เป็นวงกลม และกำลังจะมีสายสีแดง และเราจะขยายรถไฟรางเบาในต่างจังหวัดด้วย และ

3. ปัจจุบันระบบรางยังมีการพัฒนารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 2 เส้นทาง คือ รถไฟไทย - จีน และรถไฟเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ดังนั้น จะเห็นได้ว่าระบบรางจะกลายเป็นโลจิสติกส์สำคัญของประเทศในอนาคต


“ศักดิ์สยาม”ยันแผนลงทุนครบทุกมิติ รองรับศก.ฟื้น ดันไทย”ฮับ”คมนาคมอาเซียน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 23 มิถุนายน 2564 เวลา 15:55 น.
ปรับปรุง: พุธที่ 23 มิถุนายน 2564 เวลา 15:55 น.

“ศักดิ์สยาม”โหมลงทุน”คมนาคม”ทุกมิติ ไม่หวั่นปี 65 มีงบแค่ 1.1 แสนล้านบาทลุยเปิด PPPดึงเอกชนร่วมทุน MR-MAP นำร่องเส้นทางแลนด์บริดจ์ ขยายสุวรรณภูมิรับนักท่องเที่ยวเพิ่ม จ่อตั้ง3 บริษัท สายเดินเรือแห่งชาติ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในการปาญกถาพิเศษ “Empowering Thailand 2021 เคลื่อนอนาคตไทยด้วยการลงทุน“ ว่า จากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ทั่วโลก ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจโลกจะหดตัว 3.3% ขณะที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้ประเมินเศรษฐกิจของไทยปี 2564 ขยายตัว 2.5-3.5% หลังเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ซึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากการท่องเที่ยว การส่งออกแล้ว เรื่องการลงทุนเป็นอีกเครื่องมือสำคัญของรัฐ

ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีหน้าที่ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยปี2564 ได้รับงบลงทุน 1.8 แสนล้านบาท โดยเบิกจ่ายไปแล้วกว่า 50% หรือประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ส่วนงบลงทุน ปี 2565 ที่อยู่ระหว่างพิจารณา มีจำนวน 1.1 แสนล้านบาท ลดลงจากปี 64 แต่ไม่ต้องกังวล โดยจะใช้แหล่งเงินทุนทั้งจากการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP) การระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Thailand Future Fund) แหล่งเงินกู้จากสำนักบริหารหนี้ที่จะเข้ามาเติมเต็มงบลงทุนที่ลดลง 7 หมื่นล้านบาท

โดย ยืนยันที่จะเดินหน้าแผนขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นศูนย์การการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านที่ตั้งของประเทศอยู่ศูนย์กลางอาเซียน และเป็นประตูเดินทางจากตะวันออกไปตะวันตก หรือทิศเหนือไปทางใต้ จึงต้องมีการพิจารรณาการลงทุนทุกมิติ ได้แก่

1.ทางบกที่จะสร้างความสะดวก ปลอดภัย 2 .ระบบรางถือว่าเป็นระบบที่จะเป็นอนาคตสำคัญในการลดต้นทุนโลจิตสติกส์ของประเทศได้ 3.ทางอากาศ ซึ่งขณะนี้มีความสำคัญมาก กับนโยบายเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาตินำร่อง ในวันที่ 1 ก.ค. ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้มีสายการบิน จอง slot หรือตารางการบินแล้ว 80-90%

และ 4.ทางน้ำ ซึ่งศักยภาพของระบบขนส่งทางน้ำจะสมบูรณ์ได้ จะต้องเชื่อมต่อฝั่งมหาสมุทรอินเดีย-อ่าวไทย ด้วยโครงการแลนด์บริดจ์ โดยมีท่าเรือน้ำลึกระนองและชุมพร และ ก่อสร้างรถไฟทางคู่ กับมอเตอร์เวย์ เชื่อมระหว่างท่าเรือ โดยเลือกแนวเส้นทางที่ตัดตรง และสั้นที่สุดเพื่อให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่ำที่สุด ผู้ขนส่งสินค้าจะได้รับความสะดวกรวดเร็วและสะดวก

รถไฟทางคู่และมอเตอร์เวย์ในโครงการแลนดจ์บริดจ์ จะสนับสนุนพื้นที่อีอีซี.ในการเชื่อมการขนส่งจากอีอีซีไปยังฝั่งอันดามันสั้นยิ่งขึ้น โดยได้เป็นการบูรณาการระบบรางและถนนในแผนแม่บท MR-MAP ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา โดยจะเป็น 3 เส้นทาง แนวเหนือ-ใต้ จากเชียงราย-สงขลา ,หนองคาย-แหลมฉบัง ,จ.บึงกาฬ - สุรินทร์ ส่วนแนวเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก 6 เส้นทาง ตาก-นครพนม, กาญจนบุรี-อุบลราชธานี, กาญจนบุรี-สระแก้ว ,กาญจนบุรี-ตราด ,ชุมพร-ระนอง,ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางเดินทางในภูมิภาค

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า การศึกษาและเวนคืนโครงการใน MR-MAP จะใช้งบประมาณของรัฐ ส่วนการก่อสร้าง บำรุงรักษา จะเปิดPPP ให้เอกชนเข้ามาลงทุน ไทยและต่างชาติโดยจะเริ่มลงทุนเส้นทาง แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนองก่อน เส้นที่2 คือ กาญจนบุรี-อุบลราชธานี 3. หนองคาย-แหลมฉบัง 4. วงแหวนรอบกรุงเทพฯ วงที่3 โดยจะสรุปรายละเอียดในปี65

@ลุยขยายสุวรรณภูมิรับนักท่องเที่ยวฟื้นหลังเปิดประเทศ

ส่วน ทางอากาศมีความสำคัญ เนื่องจากรองรับการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายหลักของประเทศมีการเดินทางผ่านสนามบินถึง 90% โดยมีสนามบินนานาชาติ 6 แห่ง ของ บริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) หรือทอท. ได้แก่ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย และหาดใหญ่ ศักยภาพรองรับไม่เพียงพอ การจะเปิดประเทศ จะต้องสร้าง gateway อย่างไร ซึ่งปัจจุบันสนามบินสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารเกินขีดความสามารถ จำเป็นต้องก่อสร้างรันเวย์ที่3 และขยายอาคารผู้โดยสาร ด้านเหนือ,ด้านตะวันออกและตะวันตก รองรับเพิ่มเป็น 90 ล้านคน/ปี ส่วนสนามบินดอนเมือง จะลงทุนขยาย เป็น 40 ล้านคน/ปี รวมกับ สนามบินอู่ตะเภาอีก 60 ล้านคน/ปี คาดว่าในอนาคตไทยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านคน ซึ่งมากกว่าปัจจุบัน 2-3 เท่า และจะส่งผลให้มีรายได้จากการท่อเที่ยวเพิ่มขึ้นไปด้วย


สำหรับระบบทางราง มีเป้าหมายในการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ จะมีการลงทุนรถไฟทางคู่ ทั่วประเทศ มีเป้าหมายจะผลักดันให้มีการขนส่งทางรางเพิ่มเป็น 30% และเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑลมีทั้งสิ้น 14 เส้นทาง จะแล้วเสร็จครบในปี 2570 ระยะทาง 554 กม.ตอบโจทย์การแก้ปัญหาจราจร และลดมลภาวะ PM 2.5 โดยปัจจุบันรถไฟฟ้าให้บริการได้แก่ สายสีเขียว สายสีน้ำเงิน และสายสีแดงจะเปิดบริการปลายปี 64 นอกจากนี้ในหัวเมืองขนาดใหญ่ มีแผนจะสร้างรถไฟรางเบา เช่น พิษณุโลก ภูเก็ต เชียงใหม่ อุดร นครราชสีมา ส่วนรถไฟความเร็วสูง มีโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

@ ปัดฝุ่นสายเดินเรือแห่งชาติ แยก ตั้ง3 บริษัท ให้เอกชนร่วมทุน

ส่วนทางน้ำ มีการพัฒนาท่าเรือต่างๆ ไว้จำนวนมาก แต่ขาดสร้างสายเดินเรือ จึงได้ให้กรมเจ้าท่า (จท.)การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) โดยดูต้นแบบจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น บมจ.ปตท. (PTT) หรือทอท. ที่ให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมเพื่อให้มีผลกำไรและมีประสิทธิภาพการดำเนินการ ซึ่งในการตั้งสายการเดินแรือแห่งชาติของไทย จะมี 3 สาย คือ 1. สายการเดินเรือในประเทศ 2.สายการเดินเรือฝั่งตะวันออก 3.สายการเดินเรือฝั่งตะวันตก หาก ดำเนินการได้ตามแผน เชื่อว่าประเทศไทยมีอนาคคตที่จะเป็นศูนย์กลางแน่นอน


“ศักดิ์สยาม” ผุดแผนลงทุนปี 65 ดันเมกะโปรเจคต์แสนล้าน
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
พุธที่ 23 มิถุนายน 2564 เวลา 13:30 น.
“ศักดิ์สยาม” เข็นแผนลงทุนปี 65 บูมเมกะโปรเจคต์ 4 มิติ ลุยหาแหล่งเงินกู้-ระดมทุนฟิวเจอร์ฟันด์ เปิดทางเอกชนร่วมทุนพีพีพี ดันรถไฟทางคู่-มอเตอร์เวย์ 4 เส้นทาง ปลุก MR-MAP เชื่อมแลนด์บริดจ์ หวังเพิ่มเส้นทางโลจิสติกส์ใหม่ของอาเซียน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ‘Empowering Thailand 2021 เคลื่อนอนาคตไทยด้วยการลงทุน’ ว่า ในปี 2564 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 2.5 – 3.5% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว มีวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างไรก็ดี การกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ ภาครัฐถือเป็นส่วนสำคัญต้องร่วมกับเอกชนและธุรกิจ โดยเฉพาะการลงทุนจากภาครัฐ เพราะหลายเครื่องจักรในขณะนี้ยังชะลอตัว
ADVERTISEMENT

“กระทรวงคมนาคม มีส่วนสำคัญต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบจัดสรร 1.8 แสนล้าน และในปี 2565 ได้รับ 1.1 แสนล้าน ซึ่งขณะนี้งบประมาณปี 2564 กระทรวงฯ เร่งเบิกจ่ายไปแล้ว 50% หรือราว 9 หมื่นกว่าล้าน โดยในปี 2565 ตามงบประมาณที่กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรลดลง แต่ไม่ต้องวิตกกับเรื่องนี้ เพราะนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่า ภาวะโควิด-19 เราต้องดูการลงทุนภาครัฐจากแหล่งงบประมาณอื่นๆ ทั้งนี้ในการจัดหางบประมาณลงทุนจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ ทางกระทรวงฯ ได้พิจารณาพบว่าวิธีการที่จะได้รับการลงทุน เช่น การเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการรัฐ (พีพีพี) การระดมทุนจากกองทุนฟิวเจอร์ฟันด์ และแหล่งเงินกู้จากสำนักงานบริหารหนี้ ซึ่งวิธีการจัดหาแหล่งเงินทุนเหล่าทั้ง 3 แหล่งนี้ จะมาเติมเต็มงบประมาณที่ลดลงในปี 2565 ทำให้เกิดการลงทุนจากโครงการภาครัฐมากกว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรร 1.1 แสนล้านบาท”“ศักดิ์สยาม” ผุดแผนลงทุนปี 65 ดันเมกะโปรเจคต์แสนล้าน
“ศักดิ์สยาม” ผุดแผนลงทุนปี 65 ดันเมกะโปรเจคต์แสนล้าน

ทั้งนี้ไทยมีจุดยุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางอาเซียน เป้าหมายของกระทรวงฯ จึงต้องการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานทุกโหมด ให้สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการเดินทางของอาเซียน ทางกระทรวงฯต้องพร้อมทั้งบก ราง อากาศ และทางน้ำ ซึ่งปัจจุบันไทยมีความพร้อมทางทะเล ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เหลือสร้างเชื่อมต่อการเดินทางจากมหาสมุทรอินเดียมาอ่าวไทย เบื้องต้นกระทรวงฯ ได้มีการศึกษาสามารถเชื่อมต่อได้ผ่านโครงการแลนด์บริดจ์ โดยแต่ละฝั่งทะเลจะมีท่าเรือน้ำลึก และเชื่อมต่อผ่าน MR – Map หรือการเชื่อมต่อด้วยโครงข่ายทางถนนมอเตอร์เวย์ และรถไฟ เลือกใช้เส้นทางที่มีระยะสั้นสุด เพื่อผลักดันให้อนาคตจะเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ใหม่ของภูมิภาคอาเซียน จากเดิมที่ต้องใช้ช่องแคบมะละกา สำหรับการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ ปัจจุบันคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบศึกษาโครงการแล้ว คาดงว่าภายในปี 2565 จะได้ทราบความคืบหน้าของโครงการแลนด์บริดจ์ต่อไป ขณะเดียวกันแผนพัฒนาแลนด์บริดจ์ที่สร้างจะเป็นตัวสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่จะเสร็จในปี 2568 รวมทั้งทางกระทรวงฯ กำลังพัฒนาสนามบิน ท่าเรือ รถไฟความเร็วสูง และโครงการมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อจากศรีนครินทร์ ดังนั้นแลนด์บริดจ์จะเป็นเสมือนประตูของอีอีซี สนับสนุนในการเดินทางทะลุไปมหาสมุทรอินเดีย เชื่อมการขนส่งสินค้า และการค้าระหว่างอีอีซีไปทั่วโลกได้ง่ายขึ้น นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า จากการเริ่มต้นศึกษาแลนด์บริดจ์ ทำให้กระทรวงฯ ได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาทางเลือกการเดินทาง MR-Map บูรณาการรถไฟทางคู่ และมอเตอร์เวย์ ให้เป็นเส้นทางบูรณาการร่วมกัน ตอนนี้อยู่ระหว่างการศึกษา โดยโครงการนี้จะตอบโจทย์ศูนย์กลางการเดินทางทั้งทางบก และทางราง เป็นการวางพื้นฐานให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเดินทางอาเซียน โดยโครงการที่จะสนับสนุนไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน โครงข่ายทางบก ลำดับความสำคัญที่สุด คือ 1.การพัฒนาเส้นทางแลนด์บริดจ์ ซึ่งขณะนี้ทูตและนักลงทุนหลายประเทศเข้ามาสอบถามเรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่ามีคนสนใจมาก กระทรวงฯ ย้ำเสมอว่าในที่สุดการลงทุนเหล่านี้ จะเป็นการเปิดพีพีพี เปิดในรูปแบบการลงทุนนานาชาติ “ศักดิ์สยาม” ผุดแผนลงทุนปี 65 ดันเมกะโปรเจคต์แสนล้าน
“ศักดิ์สยาม” ผุดแผนลงทุนปี 65 ดันเมกะโปรเจคต์แสนล้าน

2.โครงข่ายมอเตอร์เวย์ เส้นทางนครราชสีมา – อุบลราชธา
3. หนองคาย- แหลมฉบัง และ 4. วงแหวนรอบ 3- กรุงเทพมหานคร ทั้งหมดนี้คาดว่าในปี 2565 จะเห็นรูปแบบที่ชัดเจนของเส้นทางเหล่านี้ และประเมินงบประมาณการลงทุน โดยกระทรวงฯ เน้นย้ำยึดหลักดำเนินการตามระเบียบข้อกฎหมาย ทั้งนี้ด้านการพัฒนาระบบราง เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ โจทย์สำคัญขณะนี้มี 3 เรื่อง คือ 1.รถไฟจะต้องเป็นรางคู่ มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตามแผนทั่วประเทศต้องเป็นรถไฟรางคู่ เพื่อสนับสนุนเอาโลจิสติกส์ไปขนส่งทางราง 30% นอกจากนี้ การลงทุนของ รฟท.เนื่องจากปัจจุบันสถานะทางการเงินมีปัญหา กระทรวงฯ จึงจัดตั้งบริหารสินทรัพย์ รฟท. ซึ่งเชื่อว่าการบริหารสินทรัพย์ต่อจากนี้จะมีประสิทธิภาพ นำเม็ดเงินเข้าองค์กรอย่างต่อเนื่อง และอีก 10 ปี รฟท.จะไม่มีหนี้ 2.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า ต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมี 14 เส้นทางที่เปิดให้บริการและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตามแผนทุกเส้นทางจะแล้วเสร็จในปี 2570 ทำให้ทั่วกรุงเทพฯ มีระยะทาง 554 กิโลเมตร ตอบโจทย์การเดินทาง เชื่อมกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง สนับสนุนการเดินทางรอบกรุงเทพฯ จากเส้นทางที่เป็นวงกลม และกำลังจะมีสายสีแดง และเราจะขยายรถไฟรางเบาในต่างจังหวัดด้วย และ 3. ปัจจุบันระบบรางยังมีการพัฒนารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 2 เส้นทาง คือ รถไฟไทย - จีน และรถไฟเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ดังนั้น จะเห็นได้ว่าระบบรางจะกลายเป็นโลจิสติกส์สำคัญของประเทศในอนาคต


Last edited by Wisarut on 25/06/2021 3:28 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2021 5:33 pm    Post subject: Reply with quote

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO Bangkok) เข้าพบ เพื่อหารือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ Mr. Atsushi Taketani ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization: JETRO Bangkok) Mr. Kazuo Hidaka ประธานหอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ (JCC) และคณะเข้าพบ เพื่อหารือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม โดยมี นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม
ในการเข้าพบครั้งนี้กระทรวงฯ ได้สรุปภาพรวมการดำเนินการของกระทรวงฯ ต่อข้อเรียกร้อง ของภาคเอกชนญี่ปุ่นตามข้อสั่งการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนามาตรการต่าง ๆ ตามข้อเสนอแนะของภาคเอกชนญี่ปุ่นให้มีผลเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและรักษาฐานการลงทุนของเอกชนญี่ปุ่นในประเทศไทย ทั้งนี้ JETRO Bangkok ยังให้ความสนใจการดำเนินการของกระทรวงฯ ในประเด็นอื่น ๆ ดังนี้ การคมนาคมขนส่งในพื้นที่กรุงเทพฯ การผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า การเตรียมความพร้อมด้านคมนาคมเพื่อรองรับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ มาตรการการรองรับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และภาพรวมการขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมสู่การปฏิบัติในปี 2564 ซึ่งกระทรวงฯ ได้สานต่อนโยบายเดิมจากปี 2563 มาสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และได้วางแผนการขับเคลื่อนนโยบายเพิ่มเติมปี 2564 เพื่อให้เดินหน้าการพัฒนาระบบคมนาคมเชิงรุก และวางรากฐานการพัฒนาสู่อนาคต
สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือ Phuket Sandbox กระทรวงฯ ได้เตรียมความพร้อมครอบคลุมการคมนาคมขนส่งทั้ง 3 มิติ คือ ทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ โดยจะดำเนินการตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยนั้น จะต้องเป็นการเดินทางเข้ามาแบบเที่ยวบินตรงมาที่ท่าอากาศยานภูเก็ตเท่านั้น และผู้เดินทางจะต้องปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยตลอดระยะเวลาในการเดินทาง และรัฐบาลได้มีการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ ไว้แล้ว รวมถึงให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนให้ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วประมาณ 70% คาดว่าจะดำเนินการครบ 100% ได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2564
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4180741588639421
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44636
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/06/2021 8:10 am    Post subject: Reply with quote

'ศักดิ์สยาม' ขับเคลื่อนคมนาคม ควาน 3 แหล่งเงินลงทุนเปิดประเทศ
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เช้าวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์มติชน รายวันจัดสัมมนาใหญ่แห่งปีในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 44 หัวข้อ "Empowering Thailand 2021 เคลื่อนอนาคตไทยด้วยการลงทุน" โดยได้รับเกียรติจาก "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำทีมคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคมร่วมอภิปราย

ข้อมูลอย่างคับคั่งบนเวทีสัมมนา โดยมีสาระสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้

งบฯลงทุนปี 2565 เหลือ 1.1 แสนล้าน

ภายใต้สถานการณ์โควิด การลงทุนภาครัฐเป็นเครื่องจักรสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศไทย และกระทรวงคมนาคมมีหน้าที่รับผิดชอบในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยตรง

ทั้งนี้ ปีงบประมาณ 2564 กระทรวงได้รับงบฯลงทุน 1.8 แสนล้านบาท ปีงบประมาณ 2565 ที่กำลังพิจารณาในสภาผู้แทน ราษฎร งบฯลงทุนเหลือ 1.1 แสนล้านบาท แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะได้รับนโยบายจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า ในสภาวะที่ต้องใช้งบประมาณไปในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ่งสำคัญที่เราต้องมองหาก็คือวิธีการลงทุนของภาครัฐ โดยดูแหล่งเงินทุนจากแหล่งอื่น ๆ

"กรอบการหาแหล่งเงินนอกงบประมาณ ท่านนายกฯวางไว้ซึ่งเป็นเรื่องดีมาก ๆ มีทั้งช่องทางเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP), การลงทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF-Thailand Future Fund) และแหล่งเงินกู้เพิ่มเติมจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)"

ขณะเดียวกัน กระทรวงคมนาคมเร่งรัดการเบิกจ่าย งบประมาณด้านการลงทุนปี 2564 โดยตั้งแต่ปลัดกระทรวง "ชยธรรม์ พรหมศร" และพี่น้องข้าราชการตั้งแต่ระดับล่างไล่จนถึงระดับบน ทุกคนพิจารณาเร่งรัดการเบิกจ่ายไปแล้วเกิน 50% หรือ 90,000 ล้านบาท เวลาที่เหลืออีก 3 เดือนภายใน 30 กันยายน 2564 มั่นใจว่าเบิกจ่ายได้ 100%

ตีกรอบ-พร้อมรับภูเก็ตแซนด์บอกซ์

แผนขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน มีการวางแผนให้ครบ 4 มิติ "ทางบก-ระบบราง-อากาศ-น้ำ"

โดยมิติทางอากาศ นโยบายเปิดประเทศใน 120 วัน และภูเก็ตแซนบอกซ์ที่จะเริ่มคิกออฟ 1 กรกฎาคม 2564 นี้ นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาต้องบินตรงเข้ามาเท่านั้น ไม่แวะผ่านที่อื่น ดังนั้นไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องการแพร่ระบาดโควิดเช่นกัน

"ท่านนายกฯ (พลเอกประยุทธ์) ท่านรองนายกฯอนุทิน ชาญวีรกูล ได้เข้าไปดูในเรื่องการระดมฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในภูเก็ต การเดินทางของนักท่องเที่ยวมีการจอง slot การบิน ไว้แล้ว 80-90% แต่ก็ต้องดูว่าวันจริงนั้นจะเป็นอย่างไร"

ฟื้นแลนด์บริดจ์เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย

ระบบ "ทางน้ำ" ไทยมีศักยภาพขนาบ 2 มหาสมุทร "อันดามัน-อ่าวไทย" ในอดีตมีความคิดขุดคอคอดกระ แต่วันนี้หมดความจำเป็น ข้อเสนอใหม่คือการสร้างแลนด์บริดจ์ที่ "ชุมพร-ระนอง"

ทั้ง 2 ฝั่งจะมีท่าเรือน้ำลึก 15 เมตรขึ้นไป มีโครงข่าย MRMAP (มอเตอร์เวย์กับรถไฟ) เชื่อมต่อกันด้วย เลือกเส้นทางที่ตรงที่สุด และสั้นที่สุด เพื่อให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่ำที่สุด คาดว่าในปี 2565 จะได้เห็นโครงร่างของโครงการนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนน รถไฟทางคู่ ระบบท่อส่งน้ำมัน

"ศักดิ์สยาม" มองเป็นภาพเดียวกันกับนโยบายโปรโมต EEC (เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) กำหนดแล้วเสร็จในปี 2568 มีการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภา, รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, ลงทุนท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3, ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3, ขยายมอเตอร์เวย์สาย 7 พัทยา-มาบตาพุด (M7) เป็นเส้นเลือดหลักในการเดินทาง รวมทั้งเปิดประตูให้อีอีซีทะลุไปฝั่งมหาสมุทรอินเดีย หรืออันดามันได้สั้นขึ้น

"MR-MAP" ยุทธศาสตร์ลงทุนแนวใหม่

ยุทธศาสตร์ใหม่ด้านการลงทุนที่เป็นลิขสิทธิ์ของ "รมว.ศักดิ์สยาม" รู้จักกันดีในนามโครงการ MR-MAP (Motor-Rail Map) ตัวโครงการมีครบทั้งรถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ รถไฟความเร็วสูง และ service road ออกแบบและก่อสร้างแบบบูรณาการร่วมกัน แผนแม่บทมองเห็นแล้ว 9 เส้นทาง ลากเส้นจากเหนือลงใต้ 3 เส้นทาง, ตะวันออกไปตะวันตก 6 เส้นทาง

"MR-MAP ใช้เวลาพอสมควร แม้เรื่องนี้จะไม่สำเร็จในรุ่นของพวกเรา แต่จะเป็นการวางพื้นฐานในการสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของการเดินทางในภูมิภาคอาเซียนต่อไป"

จุดเน้นย้ำคือ MR-MAP มีเอกอัครราชทูตและนักลงทุนในหลายประเทศสอบถามถึงเรื่องนี้ทุกครั้งที่ได้พบปะกันว่า รูปแบบ และการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร คาดการณ์ไว้แล้วเป็นแบบ PPP เปิดกว้างให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาร่วมด้วย (international bidding) เพราะสิ่งที่สร้างขึ้นมานี้ไม่ใช่แค่ คนไทยที่ได้ใช้ แต่เป็นคนทั้งโลกที่จะได้ใช้ ตามแผนในปี 2565 จึงจะได้เห็นรูปแบบโครงการที่ชัดเจน

"สนามบิน" เกตเวย์ทางอากาศ

ประเทศไทยมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว โดย 90% มาทางอากาศ วันนี้มี 6 สนามบินนานาชาติ ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ แม่ฟ้าหลวง (เชียงราย) และหาดใหญ่ (สงขลา) ซึ่งมีศักยภาพรองรับผู้โดยสารจากต่างประเทศได้ไม่เพียงพอ อาทิ สนามบินสุวรรณภูมิ จำเป็นต้องสร้างรันเวย์แห่งที่ 3 เพิ่มศักยภาพรองรับผู้โดยสาร 90 ล้านคน/ปี และลงทุนอาคารผู้โดยสาร (terminal) เพิ่มอีก 3 แห่ง คือ North-East-West Expansion รองรับได้เกิน 90 ล้านคน/ปี

นอกจากนี้ สนามบินที่ EEC กำลังพัฒนาสนามบินอู่ตะเภารับผู้โดยสาร 60 ล้านคน/ปี คาดว่าสร้างแล้วเสร็จปี 2568 เมื่อรวมกับสนามบินนานาชาติในภูมิภาคจะทำให้ไทยมีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยวปีละ 200 ล้านคน มากกว่าปัจจุบัน 2-3 เท่า

"ระบบราง" ลมหายใจแห่งอนาคต

สำหรับ"ระบบราง" แผนแม่บทมี 1.รถไฟปกติ อัพเกรดจากรางเดี่ยวเป็นทางคู่ความเร็ว 150 กม./ชม. เป้าขนส่งสินค้าผ่านระบบรางเพิ่มขึ้น 30% จาก 5-7% ในปัจจุบัน

2.รถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ปริมณฑล มี 14 เส้นทาง ครบหมดในปี 2570 รวม 554 กิโลเมตร วันนี้เปิดแล้ว "สายสีเขียวน้ำเงิน-ม่วง" และสายสีแดงซึ่งกำลังจะเปิดใช้ปลายปี 2564 นี้

เหลียวมองต่างจังหวัด หัวเมืองใหญ่จะมีรถไฟรางเบา เช่น พิษณุโลก ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี โคราช ควบคู่กับรถไฟความเร็วสูงที่กำลังลงทุนปัจจุบัน 2 เส้นทาง คือ "รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เชื่อม สปป.ลาว" กับ "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)"

ฟื้นนโยบาย "สายการเดินเรือแห่งชาติ"

ด้านการขนส่ง "ทางน้ำ" ไทยยังขาดสายการเดินเรือแห่งชาติ ได้มอบโจทย์ให้ศึกษา 3 แนวทางจัดตั้ง 1.โดเมสติก วิ่งในเส้นทาง อ่าวไทย 2.เดินเรือฝั่งตะวันออก วิ่งไปทางประเทศโซนตะวันออก 3.เดินเรือฝั่งตะวันตก

"ทั้งหมดนี้ถ้าทำตามแผนได้ทั้งหมดก็เชื่อว่าประเทศไทยมีอนาคต สิ่งเหล่านี้สร้างมาไม่ใช่เพื่อใครคนใดคนหนึ่งแต่เพื่อทุกคน เชื่อมั่นประเทศไทยจะผ่านโควิดไปด้วยกัน และไทยจะกลับมาเป็นเสือเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 115, 116, 117 ... 121, 122, 123  Next
Page 116 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©