Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272893
ทั้งหมด:13584189
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 100, 101, 102 ... 149, 150, 151  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2021 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

เช็คให้ชัวร์!!ความพร้อมสายสีแดง 26 มี.ค.เดินรถเสมือนจริง
วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19.41 น.

"แอร์พอร์ตลิงก์” ลงพื้นที่เช็กความพร้อมรถไฟฟ้าสายสีแดง เตรียมเปิดเดินรถเสมือนจริง 26 มี.ค.นี้ อดใจรอให้บริการประชาชนปลายปี 64 เดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองฉิว


เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แจ้งว่า นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงาน ลงพื้นที่โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเดินรถเสมือนจริงในวันที่ 26 มี.ค.64  ณ สถานีกลางบางซื่อ ทั้งนี้โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีความพิเศษที่ตัวขบวนรถไฟฟ้าที่มีความสวยงามเหมือนรถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตร(กม.)ต่อชั่วโมง(ชม.) สร้างความสะดวกสบาย และความรวดเร็วให้แก่ประชาชนในการเดินทางเส้นทางชานเมือง



สำหรับเส้นทางแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม  และสายสีแดงอ่อน ซึ่งในช่วงแรกเปิดให้บริการ 13 สถานี ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ , สถานีจตุจักร , สถานีวัดเสมียนนารี , สถานีบางเขน ,สถานีทุ่งสองห้อง , สถานีหลักสี่ , สถานีการเคหะ , สถานีดอนเมือง , สถานีหลักหก , สถานีรังสิต , สถานีบางซ่อน , สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท  (อาจมีการเปลี่ยนแปลง) โดยในอนาคตโครงการสายสีแดงเข้มจะมีส่วนต่อขยาย รังสิต - อยุธยา และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน – ศาลายา อย่างไรก็ตามโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีกำหนดเปิดให้บริการแก่ประชาชนที่ในช่วงปลายปี 64 คาดว่าจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมือง ซึ่งต้องการจะเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้เป็นอย่างดี... อ่านต่อที่ :

เตรียมความพร้อมเปิดเดินรถเสมือนจริงรถไฟฟ้าสายสีแดง
Thaimotnews
วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:49 น.

วันที่ 23 มีนาคม 2564 นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและพนักงานเข้าพื้นที่โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเดินรถเสมือนจริงในวันที่ 26 มีนาคม 2564 ณ สถานีกลางบางซื่อ
โครงการระบบรถไฟชานเมือง ( สายสีแดง ) มีความพิเศษที่ตัวขบวนรถไฟฟ้าที่มีความสวยงามเหมือนรถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความสะดวกสบาย และความรวดเร็วให้แก่ประชาชนในการเดินทางเส้นทางชานเมือง โดยแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน ซึ่งในช่วงแรกเปิดให้บริการ 13 สถานี ประกอบด้วยสถานีกลางบางซื่อ , สถานีจตุจักร , สถานีวัดเสมียนนารี , สถานีบางเขน ,สถานีทุ่งสองห้อง , สถานีหลักสี่ , สถานีการเคหะ , สถานีดอนเมือง , สถานีหลักหก , สถานีรังสิต , สถานีบางซ่อน , สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท (อาจมีการเปลี่ยนแปลง) โดยในอนาคตโครงการสายสีแดงเข้มจะมีส่วนต่อขยาย รังสิต - อยุธยา และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน - ศาลายา
โครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) มีกำหนดเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในช่วงปลายปี 2564 คาดว่าจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมืองซึ่งต้องการจะเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้เป็นอย่างดี

แอร์พอร์ตลิงก์เช็กระบบสายสีแดง พร้อมเดินรถเสมือนจริง 26 มี.ค.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:57 น.
ปรับปรุง: วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:57 น.


ผู้บริหารแอร์พอร์ตลิงก์เช็กความพร้อมระบบรถไฟสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ เตรียมเปิดเดินรถเสมือนจริง 26 มี.ค. และเปิดเป็นทางการปลายปี 64 เชื่อมเดินทางพื้นที่ปริมณฑลสู่กลางเมืองสะดวก รวดเร็ว

วันนี้ (23 มี.ค.) นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงานได้เข้าพื้นที่โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเดินรถเสมือนจริงในวันที่ 26 มีนาคม 2564 ณ สถานีกลางบางซื่อ

โดยโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มีความพิเศษที่ตัวขบวนรถไฟฟ้าที่มีความสวยงามเหมือนรถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความสะดวกสบาย และความรวดเร็วให้แก่ประชาชนในการเดินทางเส้นทางชานเมือง โดยแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน ซึ่งในช่วงแรกเปิดให้บริการ 13 สถานี ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ, สถานีจตุจักร, สถานีวัดเสมียนนารี, สถานีบางเขน, สถานีทุ่งสองห้อง, สถานีหลักสี่, สถานีการเคหะ, สถานีดอนเมือง, สถานีหลักหก, สถานีรังสิต, สถานีบางซ่อน, สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท (อาจมีการเปลี่ยนแปลง) โดยในอนาคตโครงการสายสีแดงเข้มจะมีส่วนต่อขยาย รังสิต-พระนครศรีอยุธยา และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-ศาลายา

โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มีกำหนดเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในช่วงปลายปี 2564 ที่จะถึงนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมือง ซึ่งต้องการจะเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้เป็นอย่างดี

ดีเดย์ 26 มี.ค.นี้ แอร์พอรต์ลิงก์ เล็งเปิดเดินรถเสมือนจริง “รถไฟสายสีแดง”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:35 น.

แอร์พอร์ตลิงก์ เดินหน้าเตรียมเปิดเดินรถเสมือนจริงรถไฟสายสีแดง 26 มี.ค.นี้ คาดช่วงแรกเปิดให้บริการ 13 สถานี พร้มเปิดบริการเต็มรูปแบบภายในเดือนพ.ย. 2564

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 23 มีนาคม 2564 นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงานเข้าพื้นที่โครงการระบบรถไฟสายสีแดง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเดินรถเสมือนจริงในวันที่ 26 มีนาคม 2564 ณ สถานีกลางบางซื่อ

สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีความพิเศษที่ตัวขบวนรถไฟฟ้าที่มีความสวยงามเหมือนรถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความสะดวกสบาย และความรวดเร็วให้แก่ประชาชนในการเดินทางเส้นทางชานเมือง โดยแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน ซึ่งในช่วงแรกเปิดให้บริการ 13 สถานี ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ , สถานีจตุจักร , สถานีวัดเสมียนนารี , สถานีบางเขน ,สถานีทุ่งสองห้อง , สถานีหลักสี่ , สถานีการเคหะ , สถานีดอนเมือง , สถานีหลักหก , สถานีรังสิต , สถานีบางซ่อน , สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท ( อาจมีการเปลี่ยนแปลง ) โดยในอนาคตโครงการสายสีแดงเข้มจะมีส่วนต่อขยาย รังสิต - อยุธยา และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน - ศาลายา
ทั้งนี้โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงมีกำหนดเปิดให้บริการแก่ประชาชนที่วไปในช่วงพ.ย. 2564 ที่จะถึงนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมือง ซึ่งต้องการจะเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้เป็นอย่างดี

รถไฟฟ้าสายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” เริ่มทดลองวิ่ง 26 มี.ค.นี้
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:50 น.

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เตรียมความพร้อมเปิดเดินรถเสมือนจริงรถไฟฟ้าสายสีแดง ”ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” วันที่ 26 มี.ค.นี้

วันที่ 23 มี.ค. 2564 นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงานเข้าพื้นที่โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเดินรถเสมือนจริงในวันที่ 26 มีนาคม 2564

สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มีความพิเศษที่ตัวขบวนรถไฟฟ้าที่มีความสวยงามเหมือนรถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง สร้างความสะดวกสบาย และความรวดเร็วให้แก่ประชาชนในการเดินทางเส้นทางชานเมือง



โดยแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน ซึ่งในช่วงแรกเปิดให้บริการ 13 สถานี ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ, สถานีจตุจักร, สถานีวัดเสมียนนารี, สถานีบางเขน, สถานีทุ่งสองห้อง, สถานีหลักสี่, สถานีการเคหะ, สถานีดอนเมือง, สถานีหลักหก, สถานีรังสิต, สถานีบางซ่อน, สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน


เก็บอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท (อาจมีการเปลี่ยนแปลง) โดยในอนาคตโครงการสายสีแดงเข้มจะมีส่วนต่อขยาย รังสิต – อยุธยา และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน – ศาลายา

โดยมีกำหนดเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแก่ประชาชนทั่วไปในช่วงปลายปี 2564 ที่จะถึงนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมือง ซึ่งต้องการจะเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้เป็นอย่างดี

รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. เตรียมเปิดเดินรถเสมือนจริง รถไฟฟ้าสายสีแดง
เที่ยงวันทันเหตุการณ์
วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:41 น.

วันที่ 23 มีนาคม 2564 นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงานเข้าพื้นที่โครงการระบบรถไฟชานเมือง ( สายสีแดง ) เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเดินรถเสมือนจริงในวันที่ 26 มีนาคม 2564 ณ สถานีกลางบางซื่อ
โครงการระบบรถไฟชานเมือง ( สายสีแดง ) มีความพิเศษที่ตัวขบวนรถไฟฟ้าที่มีความสวยงามเหมือนรถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความสะดวกสบาย และความรวดเร็วให้แก่ประชาชนในการเดินทางเส้นทางชานเมือง โดยแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน ซึ่งในช่วงแรกเปิดให้บริการ 13 สถานี ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ , สถานีจตุจักร , สถานีวัดเสมียนนารี , สถานีบางเขน ,สถานีทุ่งสองห้อง , สถานีหลักสี่ , สถานีการเคหะ , สถานีดอนเมือง , สถานีหลักหก , สถานีรังสิต , สถานีบางซ่อน , สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท ( อาจมีการเปลี่ยนแปลง ) โดยในอนาคตโครงการสายสีแดงเข้มจะมีส่วนต่อขยาย รังสิต - อยุธยา และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน - ศาลายา
โครงการระบบรถไฟชานเมือง ( สายสีแดง ) มีกำหนดเปิดให้บริการแก่ประชาชนที่วไปในช่วงปลายปี 2564 ที่จะถึงนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมือง ซึ่งต้องการจะเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้เป็นอย่างดี

“แอร์พอร์ตลิงก์”เช็กความพร้อมรถไฟฟ้าสายสีแดง
*เตรียมทดสอบเดินรถเสมือนจริง 26 มี.ค.นี้
*อดใจรอปลายปี 64 เข้าสู่ใจกลางเมืองฉิว
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2865802740307892
Wisarut wrote:
🚝Red Line รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ระบบขนส่งสาธารณะชานเมืองที่ทันสมัยที่สุด✨ เตรียมพบกับบริการเต็มรูปแบบปลายปี 2564 นี้!!!
Airport Rail Link
วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:24 น.
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/916421968796283/?d=n


Last edited by Wisarut on 24/03/2021 12:49 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2021 10:01 am    Post subject: Reply with quote

สนข.ปลื้มเอกชนตามจีบ หลังจ่อพัฒนาฟีดเดอร์ เชื่อมรถไฟสายสีแดง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:00 น.


สนข.เดินหน้าพัฒนาฟีดเดอร์ ลุยเชื่อมต่อรถไฟสายสีแดง หลังจ่อเปิดให้บริการภายในเดือนพ.ย.นี้ เผยเอกชนตามจีบ เล็งเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อนชงคมนาคม-ขบ.เปิดเส้นทางเดินรถใหม่

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยระบุว่า หลังจากที่ สนข.เริ่มต้นศึกษาโครงข่ายระบบขนส่งรอง (ฟีดเดอร์) เพื่อรองรับการเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า ตั้งแต่ ต.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้มีเอกชนสนใจขอข้อมูลเพื่อเตรียมลงทุนระบบขนส่งดังกล่าวจำนวนมาก อาทิ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)(EA)

“เรามีความจำเป็นที่ต้องทำฟีดเดอร์เพื่อสนับสนุนการเดินทางเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า ซึ่งนโยบายของกระทรวงคมนาคม จะนำร่องรถไฟสายสีแดงที่กำลังจะเปิดให้บริการในเดือน พ.ย.นี้ เป้าหมายเราจะต้องสอบถามความเห็นประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อคัดเลือกระบบฟีดเดอร์ที่ผู้ใช้ต้องการ เส้นทางที่เหมาะสม ขณะเดียวกันแนวเส้นทางฟีดเดอร์ เราจะสรุปจากผลการรับฟังความเห็นทั้งหมด และเสนอให้กับกระทรวงฯ และ ขบ.ในการเปิดเส้นทางเดินรถเส้นทางใหม่ เชื่อว่าจะมีเอกชนสนใจเดินรถจำนวนมาก เพราะขณะนี้ก็มีเอกชนเข้ามาสอบถามข้อมูลโครงการเพื่อไปศึกษาหลายราย แต่การขออนุญาตเดินรถจะต้องเป็นไปตามกระบวนการของ ขบ. สามารถมีเอกชนเดินรถได้หลายราย แต่แนวเส้นทางต้องไม่ทับซ้อนกัน” สำหรับผลการศึกษาของ สนข.ในเบื้องต้น พบว่าฟีดเดอร์ที่จะสอดคล้องกับการใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นรถหมวด 4 ซึ่งจะเป็นรถโดยสารสาธารณะ เชื่อมต่อเส้นทางสายหลัก และเส้นทางสายย่อย แยกไปยังหมู่บ้านหรือแหล่งชุมชนต่างๆ อาทิ รถเมล์เล็กหรือรถสองแถว แต่ฟีดเดอร์เหล่านี้ กระทรวงคมนาคมมีเป้าหมายในการผลักดันให้เป็นต้นแบบโครงข่ายคมนาคมลดมลพิษ ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะคัดเลือกฟีดเดอร์ที่เป็นรูปแบบ Electric Vehicle (EV) ทั้งหมด นายปัญญา ยังกล่าวอีกว่า สนข.จะทำการศึกษาความเหมาะสมของการจัดทำฟีดเดอร์เพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจะนำร่องโครงการรถไฟสายสีแดง คาดการณ์ว่าจะสามารถรวบรวมความเห็นของประชาชน ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง แล้วเสร็จเพื่อนำผลการศึกษาเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในการเปิดเชิญชวนเอกชนลงทุนเดินรถตามเส้นทางต่างๆ ทันต่อการเปิดให้บริการในเดือน พ.ย.นี้ อย่างไรก็ตามสนข.ได้จัดงานสัมมนาปฐมนิเทศ โครงการศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วันนี้ (24 มี.ค.) โดยจะมีประชาชน เอกชนผู้ประกอบการเดินรถขนส่งต่างๆ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น เป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้า ฟีดเดอร์จะเน้นแนวเส้นทางที่ผ่านบริเวณชุมชน เพื่อนำประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าเชื่อมต่อเข้ามาใช้บริการได้อย่างสะดวก

https://www.youtube.com/watch?v=IL9LC8scRyI



สนข.ทุ่ม20 ล้านศึกษาระบบ"ฟีดเดอร์"รับโครงข่ายรถไฟฟ้า
พุธที่ 24 มีนาคม 2564 เวลา 14.54 น.


สนข. ทุ่ม 20 ล้าน ศึกษาแผนระบบฟีดเดอร์รับโครงข่ายรถไฟฟ้า นำร่อง 2 สถานี “รังสิต-บางบำหรุ” วิ่งรถมินิบัสไฟฟ้ารับ-ส่ง ระยะรัศมี 3 กม. เชื่อมสายสีแดง ช่วงทดลองเปิดให้บริการ 28 ก.ค.นี้ 


เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 24 มี.ค. ที่โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในพิธีเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) ภายใต้การศึกษาโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลว่า จากข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างเป็นระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางให้กับประชาชน 

ทั้งนี้จำเป็นต้องพัฒนาระบบการเชื่อมต่อการเดินทาง เพื่อให้ผู้สัญจรเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก ทำให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน จึงมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาโครงการดังกล่าว เพื่อรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแผนการพัฒนาการเชื่อมต่อการเดินทาง (ฟีดเดอร์) และแผนการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้า เพื่อให้การเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า สนามบิน และระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  



ด้านนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ดำเนินโครงการดังกล่าว ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท ใช้เวลาศึกษา 18 เดือน เริ่ม ก.ย.63-มี.ค.65 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางประชาชน เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้า ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะรถไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล เบื้องต้นจะจัดทำแผนระบบการขนส่งรองเชื่อมระบบขนส่งหลัก (Feeder) ในเส้นทางที่รถไฟฟ้าเปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน 9 เส้นทาง ระยะทาง 170.38 กม. และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 6 โครงการ 150.76 กม. เช่น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีชมพู และสายสีส้ม เบื้องต้นจะนำร่องกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่จะเปิดทดลองให้บริการประชาชนในวันที่ 28 ก.ค. นี้ และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ พ.ย.64 ซึ่งที่ปรึกษาและทีม สนข. ได้ลงพื้นที่สำรวจโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จึงออกแบบระบบ Feeder ในระยะรัศมี 3 กม. ในสถานีหลักที่คาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบสถานีต่างๆ มีระบบโดยสารสาธารณะที่เดินทางมายังสถานีรถไฟฟ้าได้ ทั้งนี้จะออกแบบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยรอบสถานี เช่น ทางเดินเท้า และสกายวอล์ก หลังคาคลุมกันแดดกันฝน จุดจอดรถโดยสารสาธารณะ จุดจอดและจรสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล รวมทั้งจัดทำแอพพลิเคชั่น เพื่อให้ข้อมูลการให้บริการขนส่งสาธารณะระบบ Feeder ให้ประชาชนทราบด้วย 

นายปัญญา กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาระบุว่า เส้นทาง Feeder ที่จะนำร่องเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ 28 ก.ค.นี้ มี 2 สถานีที่มีศักยภาพ เหมาะสม และมีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมาก โดยจะนำรถมินิบัสไฟฟ้ามาวิ่งให้บริการ ได้แก่ 
1.สถานีรังสิต 6 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางเลียบคลองเปรม-รังสิต (วนซ้าย), เส้นทางเลียบคลองเปรม-รังสิต (วนขวา), เส้นทางพหลโยธิน 87-สถานีรังสิต, เส้นทางสถานีรถไฟฟ้าหลักหก-แยกบางพูน, เส้นทางสถานีรถไฟฟ้ารังสิต-บขส.รังสิต และเส้นทางซอยเจริญชัย-สถานีรังสิต และ 
2.สถานีบางบำหรุ อยู่ระหว่างลงรายละเอียดเพื่อสรุปเส้นทางให้เหมาะสมต่อไป
ส่วนสถานีที่เหลือจะทยอยพิจารณาความเหมาะสม และสอดคล้องกับการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ พ.ย.นี้ ซึ่งประเมินว่า สถานีอื่นๆ ที่มีความเหมาะสม เช่น สถานีตลิ่งชัน สถานีดอนเมือง สถานีหลักสี่ และสถานีวัดเสมียนนารี    

สำหรับเส้นทางฟีดเดอร์ดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางที่ สนข. ศึกษาไว้ให้กับผู้ประกอบการรถโดยสารที่จะมาวิ่งให้บริการ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางได้ตามความเหมาะสม และสอดรับกับความต้องการของประชาชน โดยจะไม่มีเส้นทางที่ทับซ้อนกัน เบื้องต้น สนข. ได้หารือกับผู้ประกอบการไว้แล้ว หลังจากนี้ผู้ประกอบการต้องยื่นความประสงค์เพื่อขออนุญาตกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ก่อนวิ่งให้บริการในเส้นทางที่กำหนดต่อไป ส่วนค่าโดยสารต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่ ขบ. กำหนด ขณะที่ประเภทรถที่จะให้บริการจะกำหนดให้นำเป็นยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มาให้บริการ เช่น รถกะป้อไฟฟ้า รถสองแถวไฟฟ้า และรถมินิบัสไฟฟ้า เพื่อไม่ให้ไปสร้างปัญหามลพิษด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน...



นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในฐานะประธานพิธีเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1(ปฐมนิเทศโครงการ) ภายใต้การศึกษาโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ว่า
การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในประเทศมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีรถไฟฟ้าให้บริการแล้วถึง 170 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 129 กิโลเมตร และภายในปี 2570 จะเปิดให้บริการตามแผน M-Map ได้ถึง 553 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าไม่ได้จบแค่เพียงที่โครงข่ายรถไฟฟ้าเท่านั้น ยังต้องวางแผนรองรับเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก จากบ้านมายังรถไฟฟ้าและจากรถไฟฟ้าไปยังจุดหมายปลายทางได้ อันจะนำมาสู่การลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นการรองรับการเปิดให้บริการ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่จะเปิดให้บริการปลายปี 2564 นี้
ที่ปรึกษาของโครงการจะร่วมกับเจ้าหน้าที่ สนข. ทำการสำรวจและออกแบบระบบเชื่อมต่อการเดินทาง (Feeder) ในพื้นที่ระยะรัศมี 3 กิโลเมตร รอบ ๆ สถานี จำนวนทั้งสิ้น 13 สถานี ได้แก่ (ช่วงบางซื่อ-รังสิต) สถานีบางซื่อ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก สถานีรังสิต (ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบสถานีดังกล่าวมีระบบโดยสารสาธารณะที่จะเดินทางสู่สถานีรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
นอกจากนั้น ที่ปรึกษาของโครงการจะทำการสำรวจและออกแบบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยรอบสถานี เช่น ทางเดินเท้า Skywalk หลังคาคลุมกันแดดกันฝน จุดจอดรถโดยสารสาธารณะ จุดจอดและจรสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่สถานีของประชาชน
สำหรับการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง หรือ Feeder จะมีการนำยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มาให้บริการ เช่น รถกะป้อไฟฟ้า รถสองแถวไฟฟ้า รถมินิบัสไฟฟ้า เพื่อไม่ไปสร้างปัญหามลพิษด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน
นอกจากนี้ จะนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบแอพลิเคชันบนมือถือ มาให้บริการด้านข้อมูลการให้บริการของรถขนส่งสาธารณะ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีทางลาด บล็อกนำทาง ป้ายบอกข้อมูลด้วยเสียง ลิฟต์โดยสาร เพื่อให้ผู้ใช้บริการทุกคนเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าได้อย่างเท่าเทียม ทั้งหมดนี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น
เมื่อแผนพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมต่อการเดินทางได้มีการนำไปสู่การปฏิบัติ ก็จะจูงใจให้ประชาชนทิ้งรถ แล้วหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัย
https://www.thebangkokinsight.com/580791
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2021 1:46 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ทุ่ม20ล้านศึกษาระบบขนส่งเชื่อมต่อรับโครงข่ายรถไฟฟ้านำร่องสายสีแดง

25 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:06 น.


25 มี.ค. 2564 นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) ภายใต้การศึกษาโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล ว่า จากข้อสั่งการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลอย่างเป็นระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางให้กับประชาชนนั้น กระทรวงคมนาคมจึงได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โดยเฉพาะการผลักดันให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น และสร้างโครงข่ายให้สมบูรณ์และครอบคลุม เพื่อให้ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา และราคาเหมาะสม

ทั้งนี้ จำเป็นต้องพัฒนาระบบการเชื่อมต่อการเดินทาง เพื่อให้ผู้สัญจรเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก ทำให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน จึงมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาโครงการดังกล่าว เพื่อรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำแผนการพัฒนาการเชื่อมต่อการเดินทาง หรือ Feeder และแผนการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้า เพื่อให้การเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า สนามบิน และระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ด้านนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า สนข. ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา (บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด) ดำเนินโครงการศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้งบประมาณในการศึกษาฯ วงเงิน 20 ล้านบาท ระยะเวลาการศึกษา 18 เดือน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการศึกษาฯ ตั้งแต่ ก.ย. 2563-มี.ค. 2565

สำหรับโครงการศึกษาดังกล่าว เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน ให้สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะรถไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล โดยในเบื้องต้นจะจัดทำแผนระบบการขนส่งรองเชื่อมระบบขนส่งหลัก (Fedder) ในเส้นทางที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน จำนวน 9 เส้นทาง ระยะทาง 170.38 กิโลเมตร (กม.) และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 6 โครงการ ระยะทาง 150.76 กม. เช่น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีชมพู สายสีส้ม เป็นต้น โดยในเบื้องต้น จะนำร่องกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่จะเปิดทดลองให้บริการประชาชนในวันที่ 28 ก.ค. นี้ และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ พ.ย. 2564

ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่สำรวจในโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ของที่ปรึกษาโครงการ และเจ้าหน้าที่ สนข. ได้ออกแบบระบบ Feeder ในระยะรัศมี 3 กม. ในสถานีหลักที่คาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบสถานีต่างๆ มีระบบโดยสารสาธารณะที่จะเดินทางสู่สถานีรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีราคาเหมาะสม พร้อมกันนี้ ที่ปรึกษาของโครงการ จะทำการสำรวจอละออกแบบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยรอบสถานี เช่น ทางเดินเท้า Skywalk หลังคาคลุมกันแดดกันฝน จุดจอดรถโดยสารสาธารณะ จุดจอดและจรสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล เป็นต้น อีกทั้ง จะมีการจัดทำแอปพลิเคชั่น เพื่อให้ข้อมูลการให้บริการขนส่งสาธารณะในระบบ Feeder ให้ประชาชนได้รับทราบด้วย

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาฯ นั้น ระบุว่า เส้นทาง Feeder ที่จะดำเนินการนำร่อง เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงในช่วงเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการ ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ค.นี้ จำนวน 2 สถานี เนื่องจากมีศักยภาพ และมีความเหมาะสม รวมถึงมีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมาก โดยจะนำรถมินิบัสไฟฟ้ามาวิ่งให้บริการ ได้แก่ 1.สถานีรังสิต จำนวน 6 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางเลียบคลองเปรม-รังสิต (วนซ้าย), เส้นทางเลียบคลองเปรม-รังสิต (วนขวา), เส้นทางพหลโยธิน 87-สถานีรังสิต, เส้นทางสถานีรถไฟฟ้าหลักหก-แยกบางพูน, เส้นทางสถานีรถไฟฟ้ารังสิต-บขส.รังสิต และเส้นทางซอยเจริญชัย-สถานีรังสิต 2.สถานีบางบำหรุ

ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปเส้นทางที่มีความเหมาะสมอีกครั้งต่อไป ในส่วนของสถานีที่เหลือนั้น จะทยอยพิจารณาความเหมาะสม และสอดคล้องกับการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ พ.ย.นี้ ซึ่งประเมินว่า สถานีอื่นๆ ที่มีความเหมาะสม เช่น สถานีตลิ่งชัน สถานีดอนเมือง สถานีหลักสี่ สถานีวัดเสมียนนารี เป็นต้น

สนข.ศึกษาฟีดเดอร์เชื่อมสถานีรถไฟฟ้า เร่งผุดนำร่องเข้า “สายสีแดง”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:08 น.
ปรับปรุง: 25 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 20:08 น.

สนข.ศึกษาระบบ Feeder วางโครงข่ายเชื่อมต่อการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินแบบไร้รอยต่อ นำร่องจัดฟีดเดอร์เชื่อม 13 สถานีรถไฟสายสีแดง รองรับการเปิดใช้เดินรถในเดือน พ.ย. 2564

วันที่ 24 มี.ค. นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในการเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) ภายใต้การศึกษาโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ว่า ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าให้บริการแล้วถึง 170 กม. และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 129 กม. และภายในปี 2570 จะเปิดให้บริการตามแผนแม่บทระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-MAP) ระยะทาง 553 กม. นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาท่าอากาศยานสนามบินดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องวางแผนรองรับเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าและสนามบินได้อย่างสะดวก

กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการ เพื่อเป็นการรองรับการเปิดให้ปริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ปลายปี 2564 นี้

ทั้งนี้ ที่ปรึกษาของโครงการจะร่วมกับเจ้าหน้าที่ สนข.ทำการสำรวจและออกแบบระบบเชื่อมต่อการเดินทาง หรือ Feeder ในพื้นที่ระยะรัศมี 3 กม.รอบสถานี จำนวนทั้งสิ้น 13 สถานี ได้แก่ (ช่วงบางซื่อ-รังสิต) สถานีบางซื่อ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก สถานีรังสิต (ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบสถานีดังกล่าวมีระบบโดยสารสาธารณะที่จะเดินทางสู่สถานีรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

นอกจากนั้น ที่ปรึกษาของโครงการจะทำการสำรวจและออกแบบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยรอบสถานี เช่น ทางเดินเท้า Skywalk หลังคาคลุมกันแดดกันฝน จุดจอดรถโดยสารสาธารณะ จุดจอดและจรสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่สถานีของประชาชน

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ขอบเขตการดำเนินงานของโครงการมี 6 ข้อ ได้แก่
1. รวบรวมและศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานีรถไฟฟ้าตาม M-MAP และ 2 สนามบิน
2. ประเมินโครงข่ายเชื่อมต่อและความยากง่ายในการเข้าถึงแต่ละสถานีรถไฟฟ้าและสนามบิน
3. ประเมินวิเคราะห์และสรุปสภาพปัญหาอุปสรรคการเชื่อมต่อการเดินทางและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางหลายรูปแบบ(Intermodal Transfer Facility : ITF) เพื่อเข้าถึงแต่ละสถานีรถไฟฟ้าและ 2 สนามบิน

4. เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาและปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทาง
5. เสนอรูปแบบทางเลือก วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางออกแบบ การจัดวางโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทางเข้าถึง พร้อมคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารของแต่ละสถานีรถไฟฟ้า และ
6. จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป

สำหรับการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง หรือ Feeder จะมีการนำยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มาให้บริการ เช่น รถกะป๊อไฟฟ้า รถสองแถวไฟฟ้า รถมินิบัสไฟฟ้า เพื่อไม่ไปสร้างปัญหามลพิษด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชน นอกจากนี้ จะนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบแอปพลิเคชันบนมือถือมาให้บริการด้านข้อมูลการให้บริการของรถขนส่งสาธารณะ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีทางลาด บล็อกนำทาง ป้ายบอกข้อมูลด้วยเสียง ลิฟต์โดยสาร เพื่อให้ผู้ใช้บริการทุกคนเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าได้อย่างเท่าเทียม ทั้งหมดนี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น

ทั้งนี้ เป้าหมายในการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมต่อการเดินทางและนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อจูงใจให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งจะบรรเทาปัญหาการจราจรในเมือง ลดฝุ่น PM 2.5 และยังเป็นการรองรับการเติบโตของเมืองในอนาคต
Wisarut wrote:
สนข.ปลื้มเอกชนตามจีบ หลังจ่อพัฒนาฟีดเดอร์ เชื่อมรถไฟสายสีแดง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:00 น.


https://www.youtube.com/watch?v=IL9LC8scRyI



สนข.ทุ่ม20 ล้านศึกษาระบบ"ฟีดเดอร์"รับโครงข่ายรถไฟฟ้า
พุธที่ 24 มีนาคม 2564 เวลา 14.54 น.




https://www.thebangkokinsight.com/580791


Last edited by Wisarut on 26/03/2021 11:27 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2021 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

26 มีนาคม 2564
เริ่มการทดลองเพื่อเดินรถเสมือนจริง
โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ตลิ่งชัน - บางซื่อ - รังสิต
* สำหรับประชาชน หน่วยงาน หรือ สถานศึกษา ที่ต้องการเข้าชม และทดลองใช้บริการแบบหมู่คณะ
สามารถทำหนังสือแจ้งมาที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้หลังวันที่ 26 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป
** เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ ทดลองนั่งฟรี ในเดือน กรกฎาคม 2564
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/4427320700616100
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 11:14 am    Post subject: Reply with quote

ชมการทดลองเดินรถเสมือนจริงรถไฟฟ้าสายสีแดง โดย
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เป็นประธานเปิดการทดลองเพื่อเดินรถเสมือนจริงโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
ช่วงบางชื่อ - รังสิต จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารจากขบวนรถทางไกลสายเหนือ , ช่วงบางชื่อ - ตลิ่งชัน จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารจากขบวนรถทางไกลสายใต้
วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 ระหว่างเวลา 10.00 - 13.00 น.
ณ สถานีกลางบางซื่อ ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานครฯ
https://www.facebook.com/cheerbjt/videos/486284835875894/

Transport Journal Newspaper
tSpnonsore1sdho ·
🎉 วินาทีขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง เคลื่อนขบวนออกจาก “สถานีกลางบางซื่อ” เพื่อไปยังสถานีรังสิต 🚇 ในพิธีเปิดทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วันที่ 26 มี.ค. 2564
.
ทั้งนี้ การรถไฟฯ เตรียมจะเปิดให้ประชาชน ได้ทดลองใช้บริการในเดือน ก.ค. 2564 โดยไม่เก็บค่าบริการ 🎉
https://www.facebook.com/transportjournalnews/posts/3846743742084549


Last edited by Wisarut on 26/03/2021 12:54 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 11:42 am    Post subject: Reply with quote

เห่อของใหม่ 🤣🤣🤣
ตู้เติมเงินและเครื่องขายตั๋วของโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง
https://www.facebook.com/sornraam/posts/10226079218387915
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 2:22 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” กดปุ่มรถไฟฟ้าสายสีแดง นั่งฟรีถึง ธ.ค.64
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 13:26 น.


“ศักดิ์สยาม” กดปุ่มทดลองเดินรถเสมือนจริงรถไฟฟ้าสายสีแดง ”ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” พร้อมเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรี ตั้งแต่ ก.ค.-ธ.ค.นี้ สั่ง ร.ฟ.ท.คิดค่าโดยสารแบบเป็นธรรม ลดภาระประชาชน ราคาเริ่มต้น 12-42 บาท

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะทดลองเดินรถเสมือนจริงโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน ก่อนจะเปิดให้ประชาชนร่วมทดลองใช้บริการฟรีในเดือน ก.ค.นี้ จนถึงเดือน ธ.ค. 2564

ซึ่งจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ โดยจะเชิญ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดในวันดังกล่าวด้วย



“วันนี้เป็นวันแรกที่เปิดเดินรถเสมือนจริง จะดูความพร้อมระบบและการเดินทางเชื่อมต่อต่าง ๆ ก่อนจะเปิดให้ประชาชนใช้บริการ และเมื่อเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงเต็มรูปแบบแล้ว ประชาชนจะต้องได้ประโยชน์ คิดค่าโดยสารที่เป็นธรรม ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน อัตราค่าโดยสารเริ่มต้นอยู่ที่ 12-42 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่ถูกที่สุดในการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้า”

นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่า รถไฟฟ้าสายสีแดงจะมีสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการเดินทางของระบบรางที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรางที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เชื่อมต่อทุกระบบราง รองรับการเดินทางทุกรูปแบบ ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ในการเดินทางจะมีการเชื่อมต่อการเดินทางของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตเมืองและระบบขนส่งรูปแบบอื่น ๆ อาทิ รถสาธารณะ รถโดยสารประจำทาง รถโดยสาร บขส. รถแท็กซี่ มาเชื่อมกับสายสีแดงอีกด้วย

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวว่า ปัจจุบันงานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟชานเมือง และงานก่อสถานีรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน 13 สถานี และงานก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟ ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ

ยังคงเหลืองานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้าสำหรับช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ประกอบด้วย งานระบบราง ระบบควบคุมการเดินรถและระบบอาณัติสัญญาณ ระบบโทรคมนาคม ระบบจำหน่ายตั๋วโดยสาร อุปกรณ์สำหรับศูนย์ซ่อมบำรุง ระบบรักษาความปลอดภัย สถานีไฟฟ้าย่อยและหม้อแปลงไฟฟ้าและระบบขับเคลื่อนรถไฟฟ้า และระบบอื่น ๆ งานจัดหาตู้รถไฟฟ้า รวมถึงการจัดเตรียมอบรมบุคลากรในการบริหารและซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า




สำหรับสถานีกลางบางซื่อ ประกอบด้วย ชั้นที่ 1 พื้นที่จำหน่ายตั๋วโดยสารและจุดเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบรางในกรุงเทพฯ ชั้นที่ 2 ชานชาลา ประกอบด้วย รถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา และชั้นที่ 3 ชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน และชานชาลารถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศและทางราง

“สถานีกลางบางซื่อจะเป็นสถานีใหญ่สุดในอาเซียนแล้ว ยังมีไฮไลต์ของงานคือการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ ซึ่งถือเป็นต้นแบบสถานีอัจฉริยะแห่งแรกของประเทศไทยและอาเซียน ยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัจฉริยะที่ตอบโต้ได้หลายภาษาให้บริการข้อมูลการเดินทาง นำทางในสถานี แนะนำสถานที่และเส้นทางการท่องเที่ยวแก่ผู้โดยสาร”

รวมถึงรักษาความปลอดภัยภายในสถานี ปัญญาประดิษฐ์เพื่อความปลอดภัย พร้อมส่งสัญญาณแบบ Realtime ที่มีระบบตรวจจับคนเดินล้ำเส้นเหลือง และระบบวิเคราะห์ผู้โดยสารที่มีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนแอปพลิเคชั่นที่ให้ข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง

และการให้บริการ Automation Wheelchair รถเข็นอัจฉริยะเพื่อผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ นับเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้ผู้โดยสารสามารถสื่อสารกับหุ่นยนต์ได้จริง ตอบโจทย์การให้บริการด้วยเทคโนโลยี 5G ที่ทันสมัย พร้อมรองรับการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของไทยและอาเซียน

“หลังทดลองเดินรถเสมือนจริงแล้ว ในเดือน ก.ค.นี้ จะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้ก่อนเปิดเชิงพาณิชย์ในเดือน ธ.ค.นี้ โดยขบวนรถวิ่งด้วยความเร็ว 120 กม./ชม. โดยการเดินทางจากสถานีกลางบางซื่อไปสถานีรังสิต มีระยะทาง 26 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 25 นาที

และจากสถานีกลางบางซื่อไปสถานีตลิ่งชัน ระยะทาง 15.26 กม. ใช้เวลา 15 นาที โดยมีสถานีรังสิตเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางของรถไฟสายเหนือและสายอีสานและสถานีตลิ่งชันจะเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายรถไฟสายใต้และสายตะวันตก ซึ่งสายสีแดงจะมาเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น” นายนิรุฒกล่าว

26มี.ค.วันสถาปนากิจการรถไฟ! ปฐมฤกษ์เปิดสายสีแดง
*”ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต”41 กม.วิ่งฉิวแค่ 30นาที
*รฟท.เดินรถเสมือนจริงนาน 4 เดือนเทสต์ให้ชัวร์
*ประชาชนรอแปปได้ทดลองใช้ฟรีตั้งแต่28ก.ค.นี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2867718963449603


Last edited by Wisarut on 26/03/2021 3:21 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 3:19 pm    Post subject: Reply with quote

โฮปเวลล์ ยังมีหวัง เพิกถอนค่าโง่ 2.5 หมื่นล้านบาท
คอลัมน์การเมือง / อ่านระหว่างบรรทัด
สันติสุข มะโรงศรี
วันจันทร์ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.


ค่าโง่โฮปเวลล์ 25,000 ล้านบาท เป็นเหมือนแผลกลัดหนองสำหรับประเทศไทย โครงการที่ล้มเหลว ฝากเสาโด่เด่ไว้เป็นอนุสรณ์ แถมด้วยค่าโง่มหาศาล ที่ผ่านมา ทางการต่อสู้จนถึงชั้นศาลปกครองสูงสุดแล้ว ก็ยังแพ้ ขอรื้อคดีใหม่ ก็ไม่ได้ ศาลปกครองชี้ว่าไม่เข้าเงื่อนไขตามกฎหมาย
แต่ล่าสุด ก็เหมือนได้พบแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

1. ไม่นานมานี้ บริษัทเอกชนคู่กรณีเพิ่งจะส่งหนังสือถึงทางการไทย จี้ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด พร้อมแจ้งว่าถ้าไม่จ่ายตามคำพิพากษาก็จะร้องขอต่อศาลเพื่อขอบังคับคดี อ้างว่าที่ผ่านมาขอเจรจากับหน่วยงานในภาครัฐที่เกี่ยวข้องก็ไม่ปรากฏผลเป็นรูปธรรม

พูดง่ายๆ คือ เค้าตามทวงให้จ่าย ดอกเบี้ยก็ทับถมไปเรื่อยๆ

2. งานนี้ ต้องชื่นชมนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, รัฐมนตรีคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ, ที่ปรึกษานายกฯนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และนายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความ ที่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติจนถึงที่สุด

3. โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร หรือ“โฮปเวลล์” เริ่มมาจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2532 (รัฐบาลพลเอกชาติชาย) มีมติเห็นชอบในหลักการ ให้กระทรวงคมนาคมไปดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง







ตั้งแต่เริ่มต้น โครงการนี้ก็มีข้อพิรุธหลายประการ เช่น

รายละเอียดโครงการไม่ตรงตามมติ ครม.

การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ รวดเร็วผิดปกติ และให้สิทธิประโยชน์มากกว่าตามหลักการที่เป็นมติ ครม.

มีการแทรกแซงรายละเอียดโครงการโดยนักการเมือง และคณะกรรมการฯ มีการ
เอื้อประโยชน์ให้เอกชนต่างชาติบางราย

มีการเสนอเงื่อนไขไม่ตรงตามประกาศของคณะกรรมการฯ

มีความผิดปกติในการร่างสัญญาสัมปทาน และการลงนามในสัญญาสัมปทาน ฯลฯ

ในที่สุด ก็ปรากฏว่า มีเอกชนยื่นข้อเสนอรายเดียว

ลงนามกันในยุครัฐมนตรีคมนาคม ชื่อ นายมนตรี พงษ์พานิช เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2533

เป็นสัญญาร่วมทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และเอกชน ซึ่งเป็น
นักลงทุนต่างชาติ



จากนั้น โครงการก็สร้างล่าช้า ลากยาว ไม่เสร็จไม่สิ้น มีปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ก่อนจะมีการบอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2541

หลังจากนั้น เอกชนก็ดำเนินการเรียกค่าเสียหาย ผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ก่อนจะฟ้องไปที่ศาลปกครอง โดยที่ฝ่ายรัฐ ร.ฟ.ท. ก็เรียกร้องค่าเสียโอกาสด้วยเช่นกัน

เรื่องนี้ คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ ร.ฟ.ท และกระทรวงคมนาคมใช้เงินแก่เอกชน

ร.ฟ.ท. และกระทรวงคมนาคม ฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น ชี้ว่า คดีขาดอายุความ เพราะเอกชนเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้แห่งการเสนอข้อพิพาท คือ วันที่ 30 มกราคม 2541 แต่เสนอข้อพิพาทในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 ทั้งนี้ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีศาลปกครอง พ.ศ. 2542 จึงพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ

ต่อมา เอกชนอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ศาลชี้ว่า ข้อพิพาทนี้เกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการ จึงต้องนับอายุความตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการคือวันที่ 9 มีนาคม 2544 เมื่อเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 เป็นการยื่นภายในกำหนดเวลา 5 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ จึงพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น ให้บังคับไปตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ

22 เม.ย.2562 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา สั่งกระทรวงคมนาคม และ ร.ฟ.ท.จ่ายค่าเสียหายให้ โฮปเวลล์ โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

หลังจากนั้น ทางการได้ร้องต่อศาลปกครองขอพิจารณาคดีใหม่ แต่เงื่อนไขไม่เข้าองค์ประกอบ

4. อาจารย์ชูชาติ ศรีแสง ชี้ว่า เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดครั้งที่ 18/2545 เรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาการฟ้องคดีปกครองเป็นการออกระเบียบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 44 แต่มิได้ดำเนินการตามมาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 197 วรรคสี่



หมายความว่า มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดครั้งที่ 18/2545 ที่กำหนดให้นับเวลาการฟ้องคดีปกครองตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการไม่ได้ดำเนินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงขัดรัฐธรรมนูญ เมื่อขัดรัฐธรรมนูญก็ไม่อาจนำมาใช้บังคับได้

5. พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ยืนยันว่า เมื่อใดศาลรัฐธรรมนูญส่งคำวินิจฉัยฉบับสมบูรณ์มาที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็จะแจ้งกลับไปกระทรวงคมนาคม และ ร.ฟ.ท. ทั้ง 2 หน่วยงานคงนำคำวินิจฉัย ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานข้อมูลใหม่ ไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรื้อฟื้นคดีจ่ายค่าเสียหายโฮปเวลล์ได้ แต่ที่สุดแล้วจะมีผลให้รัฐไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายหรือไม่ เป็นดุลยพินิจของศาลปกครอง ไม่ขอก้าวล่วง

“ผมคิดว่าเป็นข้อมูลใหม่ ที่อาจทำให้ผลการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดที่พิพากษาให้ ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายค่าเสียหายให้โฮปเวลล์ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เพราะทุกคดีมีอายุความ การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นนี้ ก็อาจทำให้มติที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดที่เป็นประเด็นพิพาท ไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้ ซึ่งก็จะมีผลให้การฟ้องคดีของโฮปเวลล์ น่าจะเป็นฟ้องเมื่อคดีขาดอายุความแล้ว” พล.อ.วิทวัสกล่าว

6. ก่อนหน้านี้ รัฐบาล คสช. ที่มีนายกฯชื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยต่อสู้เพิกถอนค่าโง่โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านจนประสบความสำเร็จมาแล้ว หากรัฐบาลปัจจุบัน ผู้นำคือพลเอกประยุทธ์คนเดิมเดินหน้าต่อสู้คดีจนสำเร็จได้จริง ก็จะเป็นผลงานชิ้นโบแดงอีกครั้ง

ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาเช่นนี้ “ให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพัน รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ” และ “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมายกฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้”

เรียกได้ว่า เป็นคุณแก่การเพิกถอนค่าโง่ หรือไม่ต้องถูกบังคับจ่ายค่าโง่ 25,000 ล้านบาทอย่างยิ่ง


เปิดคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็มพลิก “คดีค่าโง่โฮปเวลล์”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 22:51 น.

ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นวินิจฉัยมติที่ประชุมใหญ่ตุลาใหญ่ศาลปกครองสูงสุดขัดรัฐธรรมนูญ เหตุไม่ทำตามมาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคหนึ่งพ.ร.บ.จัดตั้งปี 42 ส่อพลิกคดีโฮปเวลล์ ย้อนท่าทีบิ๊กรัฐบาลชี้สัญญาณดีจ่อรื้อคดีโฮปเวลล์ใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2564 เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำวินิจฉัยกลาง

คำวินิจฉัยที่ 5/2564 ลงวันที่ 17 มี.ค. 2564 เรื่อง ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) โดยการร้องเรียนของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับคดีค่าโง่โฮปเวลล์ มีสาระสำคัญมีดังนี้

สรุปวินิจฉัย 2 ปม
ผู้ตรวจการแผ่นดินรับเรื่องมาจากกระทรวงคมนาคมและ ร.ฟ.ท. และศาลปกครองสูงสุดได้ส่งเอกสารชี้แจงมาแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญสรุปประเด็นที่วินิจฉัย​ได้ 2 ประเด็นคือ

1. มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2545 เรื่อง ปัญหากับระยะเวลาฟ้องคดีทางปกครอง ขัดหรือแย้งกับพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา​คดีปกครอง 2542 หรือไม่ และ

2.หากมติดังกล่าวเป็นการออกระเบียบ จะต้องทำตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา​คดีปกครอง 2542 มาตรา 5 และ 6 วรรคหนึ่ง​หรือไม่ และเป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ​มาตรา 3 วรรคสอง, มาตรา 25 วรรคสาม, มาตรา 188 และมาตรา 197 หรือ​ไม่

มติตุลาการศาลสูงเป็นไปตามพ.ร.บ.ปี’42
ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ในประเด็นที่ 1 มติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวเป็นการออกตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา​คดีปกครอง 2542 เพราะมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2545 เป็นการพิจารณาปัญหาที่เกี่ยวกับที่เกี่ยวกับระยะเวลาฟ้องคดีในกรณีที่เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการ

ประกอบกับ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ไม่ได้บัญญัติบทเฉพาะกาลนับระยะเวลาฟ้องคดีในช่วงเปลี่ยนผ่านในการใช้กฎหมายไว้ จึงมีการนำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมตุลาการใหญ่ศาลปกครองสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นการกำหนดแนวทางแห่งการวินิจฉัยปัญหา มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงถึงคดีใดคดีหนึ่งเป็นการเฉพาะ เป็นการกำหนดวิธีการดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับการฟ้องคดีตามมาตรา 44 แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ

มติศาลสูงไม่ทำตามมาตรา 5-6 พ.ร.บ.ปี’42
ส่วนประเด็นที่ 2 แม้มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2545 เรื่อง ปัญหากับระยะเวลาฟ้องคดีทางปกครอง จะเป็นการออกระเบียบหลักเกณฑ์ตามอำนาจที่มีของมติที่ประชุมใหญ่ของตุลาการศาลปกครองสูงสุด แต่ก็ต้องปฏิบัติตามมาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง

ดั่งเช่น”ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีปกครองที่โอนมาจากเรื่องร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา 2544″ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2544

จึงถือว่ามติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าว ไม่ได้ออกตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง จึงพิจารณาต่อไปว่า มติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวขัดหรือแย้งกับมาตรา 3 วรรคสอง, มาตรา 25 วรรคสาม, มาตรา 188 และมาตรา 197 ของรัฐธรรมนูญหรือ​ไม่


มติที่ประชุมใหญ่ขัดรัฐธรรมนูญ
วินิจฉัยแล้วเห็นว่า จากกระบวนการออกมติที่ประชุมใหญ่ข้างต้น เป็นการออกระเบียบโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา 3 วรรคสองและ มาตรา 197 วรรคสี่ ส่วนมาตราอื่นๆไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

ดังนั้น มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2545 เรื่อง ปัญหากับระยะเวลาฟ้องคดีทางปกครอง เป็นการออกระเบียบตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา​คดีปกครอง 2542 แต่ไม่ได้ดพเนินการตามมาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง จึงขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสองและมาตรา 197 วรรคสี่

วิษณุ-ศักดิ์สยาม ชี้สัญญาณดี”รื้อคดีใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแนวทางการรื้อคดีโฮปเวลล์ขึ้นมาพิจารณาใหม่ ก่อนหน้านี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เคยให้สัมภาษณ์ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวถือว่าเป็นคุณ เป็นสัญญาณบวก ซึ่งหลังจากนี้กระทรวงคมนาคมจะเป็นเจ้าของเรื่อง อย่างไรก็ดีหากต้องการความคิด ความเห็นเรื่องใด สามารถเชิญหน่วยงานต่าง ๆ มาระดมความเห็นได้

ขณะที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เคยระบุไว้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนับว่าเป็นสัญญาณที่ดี ทำให้คมนาคมและ ร.ฟ.ท.มีแนวทางต่อสู้คดีต่อไป

นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางอาญาเพิ่มเติม โดยมี นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ซึ่งเรื่องนี้มีรายละเอียดมากต้องใช้เวลาพิจารณา

และขณะนี้คณะกรรมการสอบสวนความผิดในการละเมิด อยู่ระหว่างการส่งรายชื่อคณะกรรมการ เพื่อแต่งตั้งสอบสวนหาความผิดดังกล่าวมาที่เรา ให้พิจารณา เนื่องจากเรื่องที่เกิดขึ้นเราไม่ได้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นอำนาจที่เราสามารถแต่งตั้งได้ หากเราเกี่ยวข้อง จะเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี(ครม.)เป็นผู้พิจารณา

ย้อนรอยปมต่อสู้คดี
อนึ่ง ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาข้อพิพาทโครงการโฮปเวลล์เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2562 ให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ชนะคดีตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ภาครัฐโดยกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จ่ายค่าชดเชยรวม 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี หรือประมาณ 25,000 ล้านบาท ภายใน 180 วันนับคดีถึงที่สุด

ต่อมาคมนาคมและ ร.ฟ.ท. ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ถึงมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2545 วันที่ 27 พ.ย. 2545 ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายไม่ได้ส่งให้สภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบและไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา มองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถใช้บังคับได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 มาตรา 5 มาตรา 6 และมาตรา 44

รวมถึงการกำหนดให้เริ่มนับอายุความคดีปกครองตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. 2544 ผิดไปจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 มาตรา 51 ให้เริ่มนับระยะเวลาอายุความคดีปกครองตั้งแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี

โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเมื่อปลายปี 2563 และมีคำวินิจฉัยวันที่ 17 มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 6:35 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดค่านั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง เริ่มต้น 12 บาท ตั๋วเดือนจ่าย 25-35 บาท/เที่ยว
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 17:38 น.


“ศักดิ์สยาม” กดค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีแดง เผยถูกที่สุดของการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้า เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว เริ่มต้น 12 บาท นั่งตลอดสายจากตลิ่งชันยันรังสิต เสีย 42 บาท คลอดตั๋วเที่ยว ดึงคนใช้บริการ ราคาเฉลี่ย 25-35 บาท/เที่ยว

วันที่ 26 มี.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ข้อสรุปค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่จะเปิดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบกลางเดือน พ.ย. 2564 นี้

โดยจะเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว เริ่มต้น 12 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ถูกที่สุดของการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้า โดยเก็บค่าโดยสารตามระยะทางเฉลี่ย 1.01 บาท/กม. สูงสุดตลอดสายไม่เกิน 42 บาท

“หากเดินทางจากสถานีกลางบางซื่อ – รังสิต ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 12-38 บาท และจากสถานีกลางบางซื่อ – ตลิ่งชัน อยู่ที่ 12-27 บาท เนื่องจากมีระยะทางสั้นกว่า แต่ถ้าหากใช้บริการตั้งแต่สถานีตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิตจะอยู่ที่ 42 บาท”

อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางประชาชน จะมีบัตรโดยสารแบบตั๋วเที่ยวรายเดือน แบ่งเป็นแบบ 20 เที่ยว ราคา 700 บาท เฉลี่ย 35 บาท/เที่ยว แบบ 40 เที่ยว ราคา 900 บาท เฉลี่ย 30 บาท/เที่ยว และแบบ 50 เที่ยว ราคา 1,250 บาท เฉลี่ย 25 บาท/เที่ยว

มีบัตรนักเรียน เด็กสูงน้อยกว่า 90 ซม. โดยสารฟรี เด็กอายุไม่ต่ำกว่า 14 ปี และส่วนสูงอยู่ระหว่าง 90-120 ซม. ลดค่าโดยสาร 50% และเด็กอายุ 14-23 ปี ลด 10% จากค่าโดยสารปกติ และผู้สูงอายุ ได้รับส่วนลด 50%

ทุ่ม 238 ล้านผุด สกายวอล์กเชื่อมสายสีแดง ไอทีสแควร์-รพ.จุฬาภรณ์
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 17:00 น.


นับถอยหลังรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” จะเปิดหวูดบริการในวันที่ 28 ก.ค. และเปิดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบปลายเดือน พ.ย. 2564

ล่าสุด “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” ไล่รีเช็กความพร้อม และเติมการเชื่อมต่อการเดินทางให้ประชาชนที่มาใช้บริการสามารถเข้าถึงสถานีสะดวกให้ได้มากที่สุด ให้คุ้มค่ากับเวลาที่หมดไปกับการผลักดันการก่อสร้างร่วม 10 ปี และงบประมาณที่รัฐบาลทุ่มให้ร่วม 1 แสนล้านบาท

“นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. วันที่ 18 มี.ค. 2564 เห็นชอบโครงการก่อสร้างทางเดินเชื่อม (สกายวอล์ก) ของสายสีแดง สถานีหลักสี่-โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ระยะทาง 750 เมตร ความกว้างทางเดินประมาณ 4 เมตร พร้อมลิฟต์สำหรับขนย้ายผู้พิการ 2 จุด วงเงินรวม 238 ล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างทั้งหมด

โดยมีกิจการร่วมค้า NWR-AVP (บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บจ.แอ็ดวานซ์ พรีแฟบ) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ระยะเวลาสัญญา 240 วัน นับแต่วันที่แจ้งให้เริ่มงาน ซึ่งหลังบอร์ดเห็นชอบแล้ว จะเป็นขั้นตอนการเซ็นสัญญา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ช่วงกลางปี 2564 จะแล้วเสร็จในปี 2565




สำหรับรูปแบบของสกายวอล์ก มีความยาว 750 เมตร มีความกว้าง 4 เมตร จุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานีหลักสี่หน้าห้างไอทีสแควร์ เชื่อมต่อสกายวอล์กที่ทำไว้เดิม ซึ่งจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ผ่านราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และไปสิ้นสุดที่หน้าโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

โดยตลอดแนวของสกายวอล์กจะอยู่บนถนนกำแพงเพชร 6 หรือโลคอลโรดทั้งหมด มีจุดขึ้น-ลง 2 จุด บริเวณประตู 3 หน้าโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ประกอบด้วย บันไดหลัก 1 ชุด บันไดเลื่อนขึ้น-ลงอย่างละ 1 ชุด ทางลาดและลิฟต์สำหรับผู้พิการ 1 ชุด สามารถบรรทุกรถกอล์ฟขึ้นลงได้

จุดขึ้น-ลงที่ 2 อยู่ประตู 5 หน้าราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกอบด้วย บันไดหลัก 1 ชุด บันไดเลื่อนขึ้น-ลงอย่างละ 1 ชุด ทางลาดและลิฟต์สำหรับผู้พิการ 1 ชุด มีจุดเปลี่ยนระดับ บริเวณหน้าทางขึ้น-ลงสถานีหลักสี่และหัวมุมถนนกำแพงเพชร 6

ทั้งนี้ รูปแบบจะคล้ายสกายวอล์กบริเวณหน้าโรงพยาบาลรามาธิบดี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 8:18 pm    Post subject: Reply with quote

กดค่ารถไฟฟ้า”สายสีแดง”จาก 14 เหลือ 12 บาท
*ก.ค. เปิดให้ทดลองนั่งฟรีตีห้าถึงเที่ยงคืน
*จัดตั๋วเดือนตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต25บาท
*ย้ำ พ.ย.นี้รถไฟเข้าหัวลำโพงแค่ 22 ขบวน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2867987270089439

Wisarut wrote:
เปิดค่านั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง เริ่มต้น 12 บาท ตั๋วเดือนจ่าย 25-35 บาท/เที่ยว
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 17:38 น.


ทุ่ม 238 ล้านผุด สกายวอล์กเชื่อมสายสีแดง ไอทีสแควร์-รพ.จุฬาภรณ์
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 17:00 น.


นับถอยหลังรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” จะเปิดหวูดบริการในวันที่ 28 ก.ค. และเปิดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบปลายเดือน พ.ย. 2564

ล่าสุด “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” ไล่รีเช็กความพร้อม และเติมการเชื่อมต่อการเดินทางให้ประชาชนที่มาใช้บริการสามารถเข้าถึงสถานีสะดวกให้ได้มากที่สุด ให้คุ้มค่ากับเวลาที่หมดไปกับการผลักดันการก่อสร้างร่วม 10 ปี และงบประมาณที่รัฐบาลทุ่มให้ร่วม 1 แสนล้านบาท

“นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. วันที่ 18 มี.ค. 2564 เห็นชอบโครงการก่อสร้างทางเดินเชื่อม (สกายวอล์ก) ของสายสีแดง สถานีหลักสี่-โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ระยะทาง 750 เมตร ความกว้างทางเดินประมาณ 4 เมตร พร้อมลิฟต์สำหรับขนย้ายผู้พิการ 2 จุด วงเงินรวม 238 ล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างทั้งหมด

โดยมีกิจการร่วมค้า NWR-AVP (บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บจ.แอ็ดวานซ์ พรีแฟบ) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ระยะเวลาสัญญา 240 วัน นับแต่วันที่แจ้งให้เริ่มงาน ซึ่งหลังบอร์ดเห็นชอบแล้ว จะเป็นขั้นตอนการเซ็นสัญญา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ช่วงกลางปี 2564 จะแล้วเสร็จในปี 2565

Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 100, 101, 102 ... 149, 150, 151  Next
Page 101 of 151

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©